query_id
stringlengths
1
4
query
stringlengths
11
185
positive_passages
listlengths
1
9
negative_passages
listlengths
1
30
630
ภาพยนตร์ เรื่องจูราสสิค เวิลด์ ออกฉายในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อไหร่?
[ { "docid": "928221#2", "text": "การถ่ายทำมีขึ้นที่สหราชอาณาจักรและฮาวาย ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2560 ออกฉายครั้งแรกที่เมืองแมดริด ประเทศสเปน เมื่อ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ต่อมาจึงออกฉายในสหรัฐอเมริกาเมื่อ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2561 โดยยูนิเวอร์แซลพิคเจอร์ส (ในประเทศไทยออกฉายเมื่อ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2561[8]) ทำรายได้รวมทั่วโลกไปกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้กลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดอันดับ 3 ประจำปี พ.ศ. 2561 ได้รับเสียงวิจารณ์แบบก้ำกึ่งจากนักวิจารณ์ ซึ่งกล่าวว่าหนังมีจุดเด่นที่การแสดงของคริส แพรตต์ การกำกับของบาโยนา งานภาพ และบางช่วงบางตอนที่ \"มืดหม่นจนน่าตกใจ\" และมีจุดด้อยที่บทภาพยนตร์ นักวิจารณ์บางคนมองว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่มีอะไรแปลกใหม่กว่าภาพยนตร์เรื่องก่อน ๆ ในชุดภาพยนตร์<i data-parsoid='{\"dsr\":[5858,5876,2,2]}'>จูราสสิค พาร์ค ซึ่งอาจบ่งบอกว่าหมดยุคของภาพยนตร์ชุดนี้แล้ว ภาคต่อซึ่งยังไม่มีชื่อเรื่องมีกำหนดออกฉายวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2564 โดยเทรวอร์โรว์จะกลับมาทำหน้าที่เป็นผู้กำกับภาพยนตร์อีกครั้ง", "title": "จูราสสิค เวิลด์ อาณาจักรล่มสลาย" } ]
[ { "docid": "126552#0", "text": "โดราเอมอน ตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ () เป็นโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาว ผลงานของ ฟูจิโกะ เอฟ. ฟูจิโอะ มีความยาวทั้งสิ้น 92 นาที ภาพยนตร์ชุดนี้ถือเป็นตอนแรกของโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ ออกฉายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1980 และเข้าฉายในประเทศไทยเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1982 (พ.ศ. 2525) โดยใช้ชื่อตอนว่า \"โดเรม่อนผจญไดโนเสา\" \"(สะกดตามต้นฉบับ)\" โดยผู้นำเข้ามาฉาย คือ สมโพธิ แสงเดือนฉาย โดยเข้าฉายใน 2 โรงภาพยนตร์ คือ เมโทร และ สามย่าน นับเป็นโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์เรื่องยาวที่เข้ามาฉายในประเทศไทยเป็นเรื่องแรก ได้รับความนิยมมากเมื่อเข้าฉาย ด้วยการทำรายได้มากถึง 2 ล้านบาท และในส่วนฉบับหนังสือการ์ตูน ได้ลิขสิทธิ์จัดพิมพ์โดยเนชั่นเอ็ดดูเทนเมนท์", "title": "โดราเอมอน ตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ" }, { "docid": "725355#0", "text": "จูราสสิค พาร์ค 3 () เป็นภาพยนตร์ในแนววิทยาศาสตร์ในปี 2001 เป็นภาพยนตร์ภาคต่อจาก \"จูราสสิค พาร์ค: กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์\" และ \"เดอะ ลอสต์ เวิลด์: จูราสสิค พาร์ค\" แฟรนไชส์คลาสสิคของสตีเวน สปีลเบิร์ก ซึ่งในภาคสามนี้ได้โจ จอห์นสตัน มาเป็นผู้กำกับแทน ภาพยนตร์นำแสดงโดยแซม นีล, อเล็สซานโดร นิโวลา, วิลเลี่ยม เมซี่, ที เลโอนี และ เทรเวอร์ มอร์แกน", "title": "จูราสสิค พาร์ค 3" }, { "docid": "928221#1", "text": "ภาพยนตร์เรื่องนี้ดำเนินเรื่องบนเกาะสมมติในบริเวณอเมริกากลาง ชื่อว่าเกาะอิสลานูบลาร์ อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกชายฝั่งของคอสตาริกา ตัวละครหลักคือ Owen Grady และ Claire Dearing ซึ่งทั้งสองเดินทางไปช่วยเหลือเหล่าไดโนเสาร์บนเกาะซึ่งกำลังจะประสบภัยพิบัติภูเขาไฟระเบิด ซึ่งอาจทำให้ไดโนเสาร์บนเกาะเสียชีวิตทั้งหมดได้ นักแสดงที่กลับมารับบทเดิมจากภาคก่อน ๆ ที่สำคัญได้แก่ คริส แพร็ตต์, Bryce Dallas Howard, B. D. Wong, และเจฟฟ์ โกลด์บลุม โดยมีนักแสดงใหม่อีกหลายคน เช่น Rafe Spall, Justice Smith, Daniella Pineda, เจมส์ ครอมเวล, Toby Jones, Ted Leving, Isabella Sermon, และ Geraldine Chaplin", "title": "จูราสสิค เวิลด์ อาณาจักรล่มสลาย" }, { "docid": "919591#1", "text": "ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับเลือกเข้าฉายในเทศกาลภาพยนตร์ Shiver International Film Festival 2017 ประเทศแคนาดา โดยทางเทศกาลได้จำกัดความภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า \"สนุก หลุดโลก ราวกับถูกลิขิตให้เป็นหนังคัลท์คลาสสิค\" ก่อนเข้าฉายอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ที่โรงภาพยนตร์ Bangkok Screening Room ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน ถึง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560", "title": "หญ้าตัดฅน" }, { "docid": "87920#3", "text": "แบรีออนิกซ์ปรากฏตัวในภาพยนตร์ชุดจูราสสิค พาร์ค ในภาคแรกๆเพียงแค่มีรายชื่อในปาร์คหรือแค่ถูกกล่าวถึง และต่อมาก็ได้ปรากฏตัวออกมาในจูราสสิค เวิลด์ อาณาจักรล่มสลายได้ออกมาไล่ตัวเอกในห้องควบคุมขณะที่ภูเขาไฟระเบิด", "title": "แบรีออนิกซ์" }, { "docid": "928221#4", "text": "หมวดหมู่:ภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2561 หมวดหมู่:ภาพยนตร์อเมริกัน หมวดหมู่:ภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ หมวดหมู่:ภาพยนตร์ไดโนเสาร์ หมวดหมู่:ภาพยนตร์ภาคต่อ หมวดหมู่:ภาพยนตร์โดยแอมบลินเอ็นเตอร์เทนเมน หมวดหมู่:ภาพยนตร์โดยยูนิเวอร์แซลพิกเจอส์", "title": "จูราสสิค เวิลด์ อาณาจักรล่มสลาย" }, { "docid": "924505#3", "text": "ชื่อ \"สไตกิโมล็อก\" มาจากแม่น้ำสติกซ์ที่มีตำนานว่าได้ผ่านยมโลกในตำนานกรีก ส่วน Moloch เป็นชื่อของเทพเจ้าชาวคะนาอันมีหัวหนาทีมีไว้เพื่อดึงดูดคู่\nปรากฏในภาพยนตร์ จูราสสิค เวิลด์ อาณาจักรล่มสลาย ช่วยตัวเอกออกจากกรงใต้ดินและไปป่วนงานประมูลไดโนเสาร์ของตัวร้าย", "title": "สไตกิโมล็อก" }, { "docid": "215993#0", "text": "ณ ขณะรัก หรือชื่ออื่นว่า อะโมเมนต์อินจูน () เป็นภาพยนตร์ไทย ออกฉายในประเทศไทยเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ผลงานกำกับของ ณัฐพล วงศ์ตรีเนตรกุล นำแสดงโดย ชาคริต แย้มนาม, กฤษดา สุโกศล แคลปป์, เดือนเต็ม สาลิตุล, สินิทธา บุญยศักดิ์, นภัสกร มิตรเอม, สุเชาว์ พงษ์วิไล, มยุริญ ผ่องผุดพันธ์ และ ฮิโระ ซะโนะ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับเกียรติให้ฉายเปิดเทศกาลและฉายอย่างเป็นทางการครั้งแรกของโลกที่ “เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ครั้งที่ 13” ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อเดือนตุลาคม 2551 เนื้อหาของเรื่องเป็นเรื่องราวความรักและความสัมพันธ์ที่เคยพลาดของคน 6 คนที่ผ่านบทเพลงที่ทำให้พวกเขามาพบกัน โดยเป็นเหตุการณ์ 2 ห้วงเวลาในปี 2515 และ 2542 มีเพลงประกอบภาพยนตร์คือ เพลง \"ความคิด\" เนื้อร้อง-ทำนอง-ขับร้อง อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข ", "title": "ณ ขณะรัก" }, { "docid": "184594#0", "text": "อนาสตาเซีย () เป็นภาพยนตร์การ์ตูน กำกับและอำนวยการสร้างโดยดอน บลัธและแกรี โกลด์แมน โดยนำเค้าโครงเรื่องมาจากประวัติศาสตร์ของประเทศรัสเซีย ผลิตโดยทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ ออกฉายรอบปฐมทัศน์ที่นครนิวยอร์กเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 ส่วนในประเทศไทย เข้าฉายเมื่อวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1998", "title": "อนาสตาเซีย (ภาพยนตร์การ์ตูนปี 1997)" }, { "docid": "14919#10", "text": "และภาค 4 ในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ชื่อ \"Jurassic World\" เป็นภาคล่าสุด ทีเล่าด้วยสวนสนุกไดโนเสาร์เปิดทำการเต็มรูปแบบบนเกาะอิสลานูบลาร์ (ที่เดียวกับในภาคแรก) แต่ก็เกิดเรื่องโกลาหลเมื่อไดโนเสาร์ตัดต่อพันธุกรรม Indominus rex หลุดออกมาและออกอาละวาดไปทั่วสวน ในภาคเรื่องนี้ทำรายได้ทั่วโลกไปแล้วกว่า 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ที่ทำร้ายได้สูงสุดในชุด \"จูราสสิค พาร์ค\" ปัจจุบันอยู่ในอันดับที่ 3 ของภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดของปี ค.ศ. 2015 และอยู่ในอันดับที่ 5 ของภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด", "title": "จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์" }, { "docid": "761248#1", "text": "ก่อนอัลบั้มจูราสสิค เวิลด์ จิอัคคิโนเคยแต่งเพลงให้กับวิดีโอเกมของจูราสสิค พาร์คมาก่อน คือเกม (1999) และ(1997) ในอัลบั้มจูราสสิค เวิลด์นี้ เขายังใส่ธีมของจูราสสิค พาร์ค ซึ่งแต่งโดยจอห์น วิลเลียมส์ลงในเพลงของเขาด้วย", "title": "จูราสสิค เวิลด์ (เพลงประกอบภาพยนตร์)" }, { "docid": "761248#2", "text": "เพลงทั้งหมดแต่งโดยไมเคิล จิอัคคิโน ยกเว้นที่หมายเหตุไว้", "title": "จูราสสิค เวิลด์ (เพลงประกอบภาพยนตร์)" }, { "docid": "249009#0", "text": "ห้าแพร่ง () เป็นภาพยนตร์แนวสยองขวัญ โดยมีโครงเรื่องเกี่ยวกับผีและความกลัวเช่นเดียวกับ \"สี่แพร่ง\" แต่จะถ่ายทอดผ่านภาพยนตร์สั้น 5 เรื่อง เข้าฉายเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 และมีการจัดฉายรอบสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ณ โรงภาพยนตร์เอสเอฟ เวิลด์ ซีเนมา ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดยมีการถ่ายทอดสดบรรยากาศงานผ่านเว็บไซต์ทางการของภาพยนตร์ นับเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่มีการถ่ายทอดสดบรรยากาศการจัดฉายรอบสื่อมวลชนทางอินเทอร์เน็ต เป็นหนังสยองขวัญ ที่ทำสถิติรายได้เปิดตัวสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของวงการหนังไทย ภาพยนตร์เรื่อง \"ห้าแพร่ง\" ทำรายได้จากการเข้าฉายในประเทศไทยจำนวน 113.5 ล้านบาท (เฉพาะกรุงเทพฯและปริมณฑล)", "title": "ห้าแพร่ง" }, { "docid": "761231#0", "text": "จูราสสิค พาร์ค ()เป็นนวนิยายแนวแฟนตาซีวิทยาศาสตร์และระทึกขวัญที่ประพันธ์โดยไมเคิล ไครซ์ตัน (Michael Crichton) ในปี ค.ศ. ๑๙๙๑ และได้นำมาทำเป็นภาพยนตร์ในชื่อจูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์กำกับโดยสตีเวน สปีลเบิร์กออกฉายในปีค.ศ.1993", "title": "จูราสสิค พาร์ค (นวนิยาย)" }, { "docid": "761248#0", "text": "Jurassic World Original Motion Picture Soundtrack อัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ของจูราสสิค เวิลด์ แต่งโดย ไมเคิล จิอัคคิโน ตัวอัลบั้มถูกวางจำหน่ายทั้งในรูปแบบดิจิทัลและแผ่นซีดีวันที่ 9 มิถุนายน 2015 โดยค่ายแบ็คลอตมิวสิค (Black Lot Music)", "title": "จูราสสิค เวิลด์ (เพลงประกอบภาพยนตร์)" }, { "docid": "718576#8", "text": "\"จูราสสิค เวิลด์\" ได้รับรางวัลชนะเลิศ:ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2015 โคลิน เทรวอร์โรว์ยืนยันว่าตนจะไม่กลับมาทำหน้าที่ผู้กำกับภาพยนตร์ภาคต่อ แต่จะทำหน้าที่เขียนบทร่วมกับดีเรค คอนนอลลีและจะได้คริส แพร็ตต์และไบรซ์ ดัลลาส โฮเวิร์ดกลับมารับบทเดิม โดยจะได้เจ. เอ. บาโญนามารับหน้าที่เป็นผู้กำกับ ภาพยนตร์ถ่ายทำช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงกรกฎาคม ค.ศ. 2017 ต่อมาในวันที่ 22 มิถุนายน ปีเดียวกัน มีการเปิดเผยว่าภาพยนตร์ภาคต่อจะใช้ชื่อว่า \"จูราสสิค เวิลด์ อาณาจักรล่มสลาย\" (\"Jurassic World: Fallen Kingdom\") \"จูราสสิค เวิลด์ อาณาจักรล่มสลาย\" เข้าฉายในสหรัฐ วันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 2018", "title": "จูราสสิค เวิลด์" }, { "docid": "816670#1", "text": "ในปี ค.ศ. 2002 เทร์วอร์โรว์กำกับภาพยนตร์สั้นเรื่องแรกชื่อ \"Home Base\" และภาพยนตร์สารคดี \"Reality Show\" ในปี ค.ศ. 2004 นอกจากนี้เขายังทำหน้าที่ผู้เขียนบท โดยในปี ค.ศ. 2008 เทรวอร์โรว์ร่วมงานกับเดเรก คอนนอลลี ซึ่งรู้จักกันมาตั้งแต่เขายังเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย ในปี ค.ศ. 2012 เทรวอร์โรว์กำกับภาพยนตร์เรื่อง \"Safety Not Guaranteed\" ซึ่งคอนนอลลีเป็นผู้เขียนเรื่อง ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการตอบรับในทางที่ดีและได้รับหลายรางวัล เทรวอร์โรว์และคอนนอลลีร่วมงานกันอีกครั้งใน \"จูราสสิค เวิลด์\" และ \"จูราสสิค เวิลด์ อาณาจักรล่มสลาย\" ภาพยนตร์ลำดับที่ 4 และ 5 ในชุด \"จูราสสิค พาร์ค\"", "title": "โคลิน เทรวอร์โรว์" }, { "docid": "996244#1", "text": "แกลลิมิมัสมีคอที่ค่อนข้างยาว ขายาวและแข็งแรง แถมยังมีหางที่ช่วยรักษาสมดุล จึงเหมาะกับการวิ่ง ซึ่งเวลาเจอไดโนเสาร์กินเนื้อพวกมันก็ต้องวิ่งหนีอย่างเดียว เพราะมันไม่มีฟันหรือเล็บคมๆไว้ป้องกันตัว เวลาวิ่งสามารถทำความเร็วได้ถึง 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง \nแกลลิมิมัสเป็นญาติกับออร์นิโทไมมัส ไดโนเสาร์ที่มีลักษณะคล้ายกัน แต่ถูกพบคนละที่ โดยออร์นิโทไมมัสถูกพบที่ทวีปอเมริกาเหนือ ส่วนแกลลิมิมัสถูกพบที่ทวีปเอเชีย \nคาดว่าแกลลิมิมัสมีญาติอยู่ที่ประเทศไทยคือ กินรีไมมัส\nแกลลิมิมัสปรากฏตัวในภาพยนตร์ชุดจูราสสิค พาร์คโดยปรากฏครั้งแรกในจูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ เป็นตัวประกอบของเรื่อง ไม่มีบทบาทอะไรมากนอกจากวิ่งหนีไทรันโนซอรัส เร็กซ์", "title": "แกลลิมิมัส" }, { "docid": "718576#6", "text": "ผู้รอดชีวิตที่เหลืออพยพกลับแผ่นดินใหญ่และเกาะเหลือแค่เหล่าไดโนเสาร์ เกรย์กับแซคพบพ่อแม่ส่วนโอเวนและแคลร์ตัดสินใจว่าพวกเขาจะร่วมมือกัน\"เพื่อความอยู่รอด\" ในฉากสุดท้ายไทแรนโนซอรัสเดินขึ้นมายืนอยู่บนแท่นจอดคอปเตอร์และส่งเสียงคำราม\"จูราสสิค เวิลด์\" ทำรายได้ทั่วโลกไปแล้วกว่า 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดในชุด \"จูราสสิค พาร์ค\" และเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดของยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส \"จูราสสิค เวิลด์\" เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้เปิดตัวสูงที่สุดในบ็อกซ์ออฟฟิศทั่วโลกเป็นอันดับที่ 3 ปัจจุบันอยู่ในอันดับที่ 2 ของภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดของปี ค.ศ. 2015 และอยู่ในอันดับที่ 4 ของภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด", "title": "จูราสสิค เวิลด์" }, { "docid": "14919#6", "text": "แกรนต์ ทิมและเล็กซ์พบเศษเปลือกไข่ แกรนต์สันนิษฐานว่าไดโนเสาร์กำลังขยายพันธุ์ เนื่องจาก กบบางชนิดเช่นเวสต์แอฟริกันบูลฟร็อกสามารถเปลื่ยนเพศในภาวะที่เพศตรงข้ามขาดแคลน ทำให้ไดโนเสาร์ที่มียีนส์ของพวกมันมีความสามารถนั้นเช่นกัน เมื่อพวกเขาถึงศูนย์รับรอง แกรนต์ทิ้งเด็กทั้งสองไว้ที่นั่นในขณะที่เขาออกตามหาคนอื่น เขาเจอกับแซตต์เลอร์ หลังจากกลับไปเจอคนอื่นๆที่บังเกอร์แล้วแกรนตต์และแซตต์เลอร์กลับไปที่ศูนย์รับรอง ที่ซึ่งเด็กทั้งสองกำลังหนีจากแรปเตอร์สองตัว ทั้งสี่กลับไปที่ห้องควบคุม ซึ่งเล็กซ์สามารถกู้ระบบกลับมาได้ พวกเขาโทรศัพท์เรียกเฮลิคอปเตอร์ พวกแรปเตอร์ตามมาอีกครั้งและล้อมพวกเขาไว้ ทันใดนั้นไทแรนโนซอรัสปรากฏตัวและฆ่าแรปเตอร์ทั้งสอง แฮมมอนด์กับมัลคอล์มนั่งรถจี๊ปมารับพวกเขาหน้าศูนย์และมุ่งหน้าไปยังลานจอดคอปเตอร์ แกรนต์บอกแฮมมอนด์ว่าเขาไม่รับรองพาร์คซึ่งแฮมมอนด์ก็เห็นด้วย ทั้งหมดขึ้นคอปเตอร์และทิ้งจูราสสิค พาร์คไว้เบื้องหลังจูราสสิค พาร์ค เมื่อออกฉายกลายเป็นภาพยนตร์ยอดนิยมแห่งปีภายในระยะเวลารวดเร็ว ทำรายได้ถล่มทลายทุกประเทศที่เข้าฉาย ไม่แม้แต่เว้นประเทศไทย สามารถทำรายได้ถึง 395 ล้านเหรียญในสหรัฐอเมริกา และทำสถิติเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้มากที่สุดในโลกนานถึง 3 ปี ก่อนที่จะถูกทำลายสถิติลงโดยสตาร์ วอร์ส ฉบับฉายใหม่ ในปี พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) แต่ก็ยังทำรายได้มากที่สุดจนถึงปัจจุบันเป็นอันดับ 17 ของ Box Office ทั่วโลก", "title": "จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์" }, { "docid": "618654#2", "text": "ภาพยนตร์เรื่องนี้ผลิตโดยวอลท์ดิสนีย์พิคเจอร์ส ลูคัสฟิล์ม และแบด โรบอท โปรดักชันส์ จัดจำหน่ายโดยวอลท์ ดิสนีย์ สตูดิโอ โมชั่น พิคเจอร์ส เป็นภาพยนตร์ลำดับที่เจ็ดในมหากาพย์ \"สตาร์ วอร์ส\" โดยเปิดฉายรอบปฐมทัศน์โลก ณ โรงภาพยนตร์สามแห่งในฮอลลีวูดบูลเลอร์วาร์ด ลอสแอนเจลิส ได้แก่ เอลกาปิตันเธียเตอร์ ดอลบีเธียเตอร์ และทีซีแอลไชนีสเธียเตอร์ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และมีกำหนดออกฉายเป็นการทั่วไปสำหรับภูมิภาคอเมริกาในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สำหรับประเทศไทยออกฉายครั้งแรกในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้สร้างสถิติรายได้เปิดตัวสูงที่สุดตลอดกาล แซงหน้า \"จูราสสิค เวิลด์\" ที่ออกฉายในปีเดียวกัน นอกจากนี้ยังเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้รวมทั่วโลกเกินหนึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัฐโดยใช้เวลาเร็วที่สุด คือ 12 วัน และเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดในภูมิภาคอเมริกาเหนืออีกด้วย ปัจจุบัน \"อุบัติการณ์แห่งพลัง\" เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้เปิดตัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 2, อันดับที่ 1 ของภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดในปี พ.ศ. 2558 และอันดับที่ 3 ของภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาล ภาพยนตร์ภาคต่อคือ \"\" และ \"Episode IX\" มีกำหนดฉาย พ.ศ. 2560 และ 2562 ตามลำดับ", "title": "สตาร์ วอร์ส: อุบัติการณ์แห่งพลัง" }, { "docid": "14919#0", "text": "จูราสสิค พาร์ค (ชื่อภาษาอังกฤษ: Jurassic Park; ชื่อภาษาไทย: กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์) เป็นนิยายโดย ไมเคิล ไครชตัน (Michael Crichton) ออกตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) ต่อมาถูกนำมาถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์โดย สตีเว่น สปีลเบิร์ก (Steven Spielberg) ความยาว 127 นาที ฉายในปี พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) และฉายในประเทศไทยวันแรกเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2536", "title": "จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์" }, { "docid": "126899#6", "text": "สไปโนซอรัสได้ปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง Jurassic Park III และกลายเป็นตัวชูโรงแทน T-REX ในภาพยนตร์ได้เปรียบเทียบการต่อสู้ของไดโนเสาร์นักล่า 2 พันธุ์มาประจันหน้ากัน ซึ่งท้ายที่สุด สไปโนซอรัส ซึ่งได้เปรียบที่ขนาดตัว และ น้ำหนักที่มากกว่า เป็นฝ่ายหักคอ T-REX ล้มไป แต่ในความจริงแล้ว สไปโนซอรัส ไม่ได้ดุร้ายเหมือนในหนังด้วยซ้ำ\n(เป็นเพียงแค่ภาพยนตร์ที่ถูกสร้างขึ้นเท่านั้น ) แต่ในภาพยนตร์ จูราสสิค เวิลด์ สไปโนซอรัส มาในรูปแบบโครงกระดูกและก็ถูก ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ พุ่งชนจนโครงกระดูกพังทลาย (เบื้องหลังคือ เป็นการกู้ศักดิ์ศรีและชื่อเสียง ราชาไดโนเสาร์ ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ หรือ ทีเร็กซ์คืนมา) ", "title": "สไปโนซอรัส" }, { "docid": "718576#7", "text": "\"จูราสสิค เวิลด์\" เปิดตัวสัปดาห์แรกในประเทศไทย (11-17 มิถุนายน 2558) ด้วยรายได้ 164 ล้านบาท และสามารถทำเงินตลอดการฉายได้ 301 ล้านบาท ถือเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดเป็นอันดับที่ 3 ในประเทศไทยปี 2558 รองจาก \"เร็ว..แรงทะลุนรก 7\" (423 ล้านบาท) และ \"\" (369 ล้านบาท) ซึ่งถือว่ากระแส \"จูราสสิค เวิลด์\" ในไทยไม่แรงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่เข้าฉาย", "title": "จูราสสิค เวิลด์" }, { "docid": "6939#12", "text": "แม้จะได้รับคำวิจารณ์ที่หลากหลาย แต่ \"สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 1: ภัยซ่อนเร้น\" ก็ประสบความสำเร็จในแง่ของรายรับ ด้วยการทำลายสถิติบ็อกซ์ออฟฟิศจากการเปิดตัว ภาพยนตร์ชุดนี้ได้ทำลายสถิติ \"เดอะ ลอสต์ เวิลด์ จูราสสิค พาร์ค\" ด้วยรายรับภายในวันเดียวกว่า 28 ล้านดอลลาร์สหรัฐของวันเปิดตัว (ก่อนที่ \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์\" จะทำลายสถิติลงใน ค.ศ. 2001) และสามารถสร้างรายรับรวมได้ที่ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในช่วงระยะเวลาห้าวัน (ก่อนที่ \"สไปเดอร์แมน\" จะทำลายสถิติลงใน ค.ศ. 2002) ภาพยนตร์ชุดนี้ยังเป็นภาพยนตร์ที่สามารถทำรายได้ที่ 200 ล้าน และ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทำลายสถิติของ \"\" และ \"ไททานิก\" โดย \"สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 1: ภัยซ่อนเร้น\" จัดเป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดใน ค.ศ. 1999 ที่สามารถทำรายได้กว่า 431 ล้านดอลลาร์สหรัฐในอเมริกาเหนือ และ 493 ล้านเหรียญสหรัฐในต่างแดน", "title": "สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 1: ภัยซ่อนเร้น" }, { "docid": "928221#0", "text": "จูราสสิค เวิลด์ อาณาจักรล่มสลาย ([Jurassic World: Fallen Kingdom]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help)) เป็นภาพยนตร์บันเทิงคดีวิทยาศาสตร์แนวผจญภัยจากประเทศสหรัฐอเมริกา ออกฉายในปีพ.ศ. 2561 กำกับโดย J. A. Bayona เป็นภาคต่อของ จูราสสิค เวิลด์ (พ.ศ. 2558) และเป็นภาพยนตร์ลำดับที่ห้าในภาพยนตร์ชุด จูราสสิค ปาร์ค เขียนบทโดย Derek Connolly และโคลิน เทรวอร์โรว์ (ผู้กำกับภาพยนตร์ จูราสสิค เวิลด์) โดยมีสตีเวน สปีลเบิร์ก (ผู้กำกับภาพยนตร์ จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์) มารับหน้าที่ผู้อำนวยการสร้างฝ่ายบริหาร", "title": "จูราสสิค เวิลด์ อาณาจักรล่มสลาย" }, { "docid": "718576#0", "text": "จูราสสิค เวิลด์ ()  เป็นภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ผจญภัย กำกับโดยโคลิน เทรวอร์โรว์ ออกฉายในกลางปี ค.ศ. 2015 เป็นภาพยนตร์ลำดับที่สี่ในชุด จูราสสิค พาร์ค บทภาพยนตร์เป็นผลงานการเขียนร่วมกันโดยริค แจฟฟา, อแมนดา ซิลเวอร์, ดีเรค คอนนอลลี และเทรวอร์โรว์ นำแสดงโดยคริส แพร็ตต์, ไบรซ์ ดัลลาส โฮเวิร์ด, วินเซนต์ ดิโอโนฟริโอ, ไท ซิมป์สกินส์, นิก รอบินสัน, โอมาร์ ไซ, บี ดี วองและอีร์ฟาน ข่านโดยวองเป็นนักแสดงเพียงคนเดียวที่เคยร่วมแสดงในภาพยนตร์ชุดจูราสสิค พาร์คมาก่อน ในภาพยนตร์เรื่องนี้ สวนสนุกไดโนเสาร์เปิดทำการเต็มรูปแบบบนเกาะอิสลานูบลาร์ (ที่เดียวกับในจูราสสิค พาร์ค ภาคแรก) แต่ก็เกิดเรื่องโกลาหลเมื่อไดโนเสาร์ตัดต่อพันธุกรรมอินดอมินัส เร็กซ์หลุดออกมาและออกอาละวาดไปทั่วสวน", "title": "จูราสสิค เวิลด์" }, { "docid": "314127#1", "text": "ภาพยนตร์ทำรายได้ 786 ล้านเหรียญทั่วโลก น้อยกว่าภาคแรก 300 ล้านเหรียญ ยังเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินได้มากที่สุดตลอดกาลเป็นอันดับที่ 52\n4 ปีให้หลังเมื่อจูราสสิคพาร์คถูกทำลาย บนเกาะที่ไม่ห่างไกลนักไดโนเสาร์จำนวนมากสามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างลับๆเและเป็นอิสระ แต่เรื่องร้ายแรงกำลังจะเกิดขี้น มันคือเแผนการโยกย้ายไดโนเสาร์สู่กลางเมืองใหญ่ จอห์น แฮมมอนต์(รับบทโดยริชาร์ด แอทเทนเบอโรห์)ผู้ลงจากตำแหน่งประธานบริษัท InGen พบโอกาสในการไถ่ถอนความผิดเมื่อคราวสร้างความหายนะในจูราสสิค พาร์ค จึงส่งเอียน มัลคอล์ม(เจฟฟ์ โกลด์บลัม)ไปยังเกาะดังกล่าวก่อนกลุ่มคนร้ายจะไปถึง ณ ที่นั้นคนสองกลุ่มเผชิญหน้ากันและร่วมกันผจญกับความหฤโหดของสิ่งมีชีวิตล้านปี เพื่อความอยู่รอดพวกเขาต้องรวมตัวกันเป็นทีมฝ่าอันตราย พวกเขาจะต้องเอาชีวิตรอดและหนีออกจากเกาะแห่งนั้นให้จงได้จูราสสิค เวิลด์ Jurassic World", "title": "เดอะ ลอสต์ เวิล์ด จูราสสิค พาร์ค" }, { "docid": "718576#1", "text": "22 ปี หลังเหตุการณ์บนเกาะ อิสลา นูบลาร์ มีการสร้างสวนสนุกแห่งใหม่ชื่อ จูราสสิค เวิลด์ เป็นสวนสนุกไดโนเสาร์ที่ดำเนินการเต็มรูปแบบ สองพี่น้อง แซค (นิค โรบินสัน)และเกรย์ มิทเชลล์ (ไท ซิมป์สกินส์) เดินทางไปยังเกาะนี้เพื่อพบกับแคลร์ เดียริง(ไบรซ ดัลลาส โฮเวิร์ด) ผู้เป็นน้าและดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการของสวน เมื่อมาถึงเกาะแล้วทั้งสองได้รับการดูแลโดยผู้ช่วยของแคลร์ชื่อซารา (เคธี แมคเกรธ) ในขณะเดียวกัน ไซมอน มัซรานี (อีร์ฟาน ข่าน) นายทุนผู้เป็นเจ้าของสวนได้เดินทางมาถึง และให้แคลร์พาไปชมไดโนเสาร์ดัดแปลงพันธุกรรมตัวใหม่ อินดอมินัส เร็กซ์ ซึ่งผสมมาจากดีเอ็นเอของ \"อเบลิซอรัส\", \"คาร์โนทอรัส\", หมึกกระดอง, ปาด, \"จิกแกนโนโตซอรัส\", \"มาจุงกาซอรัส\", \"รูกอปส์\", \"ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์\", และ \"เวโลซีแรปเตอร์\" ระหว่างการตรวจเยี่ยมครั้งนี้ มัซรานีได้บอกให้แคลร์เชิญโอเวน เกรดี (คริส แพรตต์) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลและฝึก\"เวโลซีแรปเตอร์\"มาร่วมประเมิน เพื่อดูว่าสถานที่ดูแลอินดอมินัสนี้มีช่องโหว่ที่ต้องแก้ไขหรือไม่", "title": "จูราสสิค เวิลด์" } ]
3611
ระบบนิเวศในน้ำมีกี่ประเภท?
[ { "docid": "682575#0", "text": "ระบบนิเวศในน้ำ (English: aquatic ecosystem) คือ ระบบนิเวศน้ำซึ่งจัดเป็นสังคมของสิ่งชีวิตที่อยู่ในน้ำ สังคมของสิ่งมีชีวิตจะขึ้นอยู่กับลักษณะและสภาพแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตนั้นอาศัยอยู่ ระบบนิเวศในน้ำจะแบ่งออกเป็น สองประเภทคือ ระบบนิเวศทางทะเลและระบบนิเวศน้ำจืด", "title": "ระบบนิเวศในน้ำ" } ]
[ { "docid": "454954#0", "text": "ระบบนิเวศทางทะเล () เป็นระบบนิเวศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ของระบบนิเวศในแหล่งน้ำทุกชนิด ซึ่งรู้จักกันดีในพื้นที่ มหาสมุทร, กลุ่มดินเค็ม และ เขตน้ำขึ้น-น้ำลง, ปากแม่น้ำ และ ทะเลสาบน้ำเค็ม, ป่าโกงกาง และ แนวปะการัง, ทะเลน้ำลึก และ สัตว์ทะเลหน้าดิน สามารถเทียบได้กับแหล่งน้ำจืด ซึ่งมีปริมาณเกลือเข้มข้นกว่า ระบบนิเวศทางทะเล ครอบคลุมพื้นที่ 3 ใน 4 ส่วนของโลก ซึ่งถือได้ว่าสิ่งมีชีวิตที่เป็นพืชได้สนับสนุนกันและกันกับสัตว์ ในทางกลับกันเราอาจจะมองเห็นห่วงโซ่อาหารได้หลากหลายอย่าง", "title": "ระบบนิเวศทางทะเล" }, { "docid": "8268#3", "text": "อาณาจักรเห็ดราประกอบไปด้วยความหลากหลายมากมายด้วยระบบนิเวศ การดำเนินชีวิต และสัณฐาน ตั้งแต่ไคทริดน้ำเซลล์เดียวไปจนถึงเห็ดขนาดใหญ่ ถึงกระนั้น ความหลากหลายทางชีวภาพที่แท้จริงของอาณาจักรเห็ดรายังไม่มีข้อมูลมากนัก ซึ่งได้มีการประมาณจำนวนสายพันธุ์ไว้ที่ 1.5 - 5 ล้านสายพันธุ์ โดยทีเพียง 5 % เท่านั้นที่ได้รับการจำแนกประเภทแล้ว นับตั้งแต่การสำรวจในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 โดยคาร์ล ลินเนียส คริสเตียน เฮนดริก เพอร์ซูน และเอเลียส แมกนัส ฟรีส์ เห็ดราจำแนกประเภทตามสัณฐาน (เช่นสีของสปอร์ หรือลักษณะในระดับเล็ก ๆ) หรือรูปร่าง ความก้าวหน้าในอณูพันธุศาสตร์ได้เปิดทางให้สำหรับการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ เพื่อจัดลำดับตามอนุกรมวิธาน ซึ่งบางครั้งได้ขัดแย้งกับกลุ่มพันธุ์ที่ได้จัดไว้ก่อนในอดีตแล้ว การศึกษาในไม่กี่คริสต์ศตวรรษที่ผ่านมาได้ช่วยให้มีการตรวจสอบการจัดจำแนกประเภทใหม่ภายในอาณาจักรเห็ดรา ซึ่งได้แบ่งออกเป็นหนึ่งอาณาจักรย่อย เจ็ดไฟลัม และสิบไฟลัมย่อย", "title": "เห็ดรา" }, { "docid": "454954#1", "text": "ระบบนิเวศทางทะเล มีความสำคัญมากต่อสมดุลโดยรวมของนิเวศบนบก และในน้ำ, ตามที่ศูนย์วิจัยทรัยากรณ์โลก ได้ระะบุว่า เพียงบริเวณชายฝั่งทะเลเพียงอย่างเดียว มีปริมาณความหลากหลายทางชีวภาพสูงถึง 1 ใน 3 ส่วนของโลก (เช่น บึงเกลือ หญ้าทะเล ป่าชายเลน) จัดอยู่ในประเภทผู้ผลิตที่มีปริมาณมากที่สุดในภูมิภาค, ในระบบนิเวศทางทะเลอื่นๆ เช่น แนวปะการัง ก็ยังเป็นแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตอีกมากมาย", "title": "ระบบนิเวศทางทะเล" }, { "docid": "455169#0", "text": "ชีวนิเวศ () หมายถึง สภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น พื้นที่ทาง ภูมิศาสตร์ที่คล้ายคลึงกันบนโลก ซึ่งเป็นชุมชนกลุ่มสิ่งมีชีวิต ของพืชและสัตว์ รวมไปถึงสิ่งมีชีวิตในดิน ซึ่งมักจะหมายถึงระบบนิเวศ ซึ่งบางส่วนของโลกจะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับชนิดการแพร่กระจายขององค์ประกอบสิ่งมีชีวิต (Abiotic Factor) และองค์ประกอบของสิ่งไม่มีชีวิต ในพื้นที่ขนาดใหญ่\nประเภทของชีวนิเวศ แบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ คือ\nไบโอมบนบก (terrestrial biomes) ใช้เกณฑ์ปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิเป็นตัวกำหนด ไบโอมบนบกที่มีอยู่ในโลกนี้แบ่งออกได้หลายไบโอม แต่ไบโอมบนบกที่สำคัญที่จะกล่าวถึง ได้แก่ ไบโอมป่าดิบชื้น ไบโอมป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น ไบโอมทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น ไบโอมสะวันนา ไบโอมป่าสน ไบโอมทะเลทราย และไบโอมทุนดรา เป็นต้น", "title": "ชีวนิเวศ" }, { "docid": "682575#18", "text": "ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศในน้ำจะถูกย่อยสลายเมื่อความสามารถของระบบนิเวศในการดูดซับความเครียด(stress)ได้รับมากเกิน ความเครียดในระบบนิเวศทางน้ำสามารถเป็นผลลัพธ์ทางการเปลี่ยนแปลงกายภาพ เคมี และทางชีวภาพของสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพครอบคลุมถึงอุณหภูมิของน้ำ การไหลของน้ำ และแสงที่ส่องถึง การเปลี่ยนแปลงทางเคมีรวมถึงการเปลี่ยนแปลงอัตราการกระตุ้นสารอาหารทางชีวภาพ เป็นวัตถุดิบในการใช้เผาผลาญออกซิเจนและสารพิษ การเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพครอบคลุมถึงเก็บเกี่ยวที่มากเกินสายพันธุ์ในเชิงพาณิชย์และการเปิดตัวของสายพันธุ์ที่แปลกใหม่ ประชากรมนุษย์สามารถกำหนดความเครียดที่มากเกินไประบบนิเวศทางน้ำ มีตัวอย่างมากมายของความเครียดที่มากเกินไปกับผลกระทบเชิงลบ ประวัติศาสตร์สิ่งแวดล้อมของทะเลสาบขนาดใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือแสดงให้เห็นถึงปัญหานี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการที่หลายเท่าของความเครียด(stress) เช่น มลพิษของน้ำ การเก็บเกี่ยวที่มากกเกินไป และการแพร่กระจายสายพันธุ์ต่างถิ่น Norfolk Broadlands ในอังกฤษแสดงให้เห็นถึงการปฏิเสธในลักษณะเดียวกับมลพิษและการแพร่กระจายพันธุ์ ทะเลสาบ Pontchartrain ตามแนวอ่าวเม็กซิโกแสดงให้เห็นถึงผลกระทบของความเครียดที่แตกต่างกันรวมทั้งการก่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำ หนองน้ำ การบุกรุกน้ำเค็ม", "title": "ระบบนิเวศในน้ำ" }, { "docid": "682575#1", "text": "ระบบนิเวศทางทะเลครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 71% ของพื้นผิวของโลก ซึ่งประกอบด้วยน้ำ 97% ของพื้นที่ ซึ่งจัดเป็นแหล่งผลิตหลักโดยสุทธิ ถึง 32% ของโลก ระบบนิเวศทางทะเลนั้นจะแตกต่างกับระบบนิเวศน้ำจืดที่ปริมาณสารละลายในน้ำโดยระบบนิเวศทางทะเลนั้นจะมีปริมาณของ เกลือ ละลายอยู่ ประมาณ 85% คือ เกลือโซเดียม และ คลอรีน น้ำทะเลจึงมีความเค็มเฉลี่ย 35 ส่วนในล้านล้านส่วน (ppt) ความเค็มที่เกิดขึ้นจึงแตกต่างกันระหว่างระบบนิเวศทางทะเลที่ต่างกัน", "title": "ระบบนิเวศในน้ำ" }, { "docid": "741166#0", "text": "แพลงก์ตอนพืช หรือ ไฟโทแพลงก์ตอน () มีรากศัพท์จากภาษากรีกว่า φυτόν (\"ฟิตอน\") หมายถึง \"พืช\" และ πλαγκτός (\"พลังค์ตอส\") หมายถึง \"ผู้เดินทาง\" หรือ \"ผู้เร่ร่อน\" คือแพลงก์ตอนที่สามารถสังเคราะห์แสงและสร้างอาหารเองได้ สิ่งมีชีวิตกลุ่มหลักของแพลงก์ตอนพืชประกอบด้วย ไดอะตอม สาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีทอง ไดโนแฟลกเจลเลต และไซยาโนแบคทีเรีย (สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน) ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ เนื่องจากเป็นผู้ผลิตปฐมภูมิของห่วงโซ่และสายใยอาหาร พบได้ทั้งในระบบนิเวศน้ำจืด ระบบนิเวศน้ำเค็ม ตลอดจนในระบบนิเวศน้ำกร่อย แพลงก์ตอนพืชส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกสาหร่าย ทั้งที่เป็นโพรแคริโอตและยูแคริโอต โดยในแหล่งน้ำจืดจะพบสาหร่ายสีเขียว โดยเฉพาะในอันดับเดสมิด เป็นกลุ่มหลัก ส่วนในแหล่งน้ำเค็มอย่างทะเลและทะเลสาบ พบว่าแพลงก์ตอนพืชกลุ่มหลักคือกลุ่มไดอะตอมและไดโนแฟลกเจลเลต", "title": "แพลงก์ตอนพืช" }, { "docid": "310504#3", "text": "ในตู้เลี้ยง ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้าได้รับความนิยมไม่ใช่เฉพาะแค่ความสวยงาม แต่ยังสามารถกำจัดตะไคร่น้ำประเภทต่าง ๆ ที่ขึ้นในตู้ (ซึ่งทำให้แลดูสกปรกและอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของปะการัง) ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย เนื่องจากเป็นปลาที่กินพืชเป็นอาหารหลัก และในธรรมชาติ ถือเป็นปลาที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ", "title": "ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า" }, { "docid": "682575#16", "text": "พื้นที่ชุ่มน้ำเป็นบริเวณที่มีพื้นที่ราบลุ่ม มีน้ำท่วมขังอาจจะชั่วคราวหรือถาวร พื้นที่แหล่งน้ำอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเกิดจากมนุษย์สร้างขึ้นทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล และพื้นที่ของทะเล ในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุดมีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตรพื้นที่ชุ่มน้ำจัดเป็นระบบนิเวศที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลกเพราะมีความใกล้ชิดของน้ำและดิน มีประโยชน์อย่างมากต่อพืชและสัตว์", "title": "ระบบนิเวศในน้ำ" }, { "docid": "4775#15", "text": "ค. เขตที่ราบฝั่งทะเล อยู่ทางด้านตะวันออกของจังหวัด ติดกับชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย บริเวณนี้นับเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญยิ่งของจังหวัดในด้านการประมง การท่องเที่ยว เขตนี้ได้แก่ บางส่วนของอำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอบ้านแหลม อำเภอท่ายาง และอำเภอชะอำ ลักษณะพื้นที่ชายฝั่งเพชรบุรี เหนือแหลมหลวงไปทางทิศเหนือเป็นพื้นที่ชายฝั่งหาดโคลน มีระบบนิเวศป่าชายเลน ด้านทิศใต้ของแหลมหลวงลงไปด้านทิศใต้เป็นหาดทราย มีระบบนิเวศเป็นหาดทราย แหลมหลวงซึ่งอยู่ในพื้นที่ตำบลแหลมผักเบี้ยจึงเป็นแหลมที่แบ่งระบบนิเวศป่าชายเลน ออกจากระบบนิเวศหาดทราย เหนือแหลมหลวงขึ้นไปด้านทิศเหนือมีลักษณะเป็นหาดโคลนเพราะอยู่ใกล้พื้นที่ชุมน้ำของแม่น้ำสายใหญ่ ได้แก่ แม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำบางตะบูน แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง เมื่อฤดูน้ำหลากน้ำจากแม่น้ำได้พัดพาตะกอนลงสู่ทะเลเป็นจำนวนมาก จึงส่งผลให้พื้นที่ของชายฝั่งแถบนี้มีตะกอนในน้ำสูง ส่งผลให้ชายฝั่งมีโคลนจำนวนมาก ซึ่งเหมาะแก่ระบบนิเวศป่าชายเลน เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเล บริเวณอ่าวไทยในเขตอำเภอบ้านแหลมถือว่าเป็นอ่าวที่พบหอยหลากชนิด เช่น หอยเสียบ หอยปากเป็ด หอยตระกาย หอยตลับ หอยหลอด หอยแครง เป็นต้น โดยเฉพาะหอยแครง เป็นแหล่งที่พบมากที่สุดในโลก ภายหลังได้มีการตัดไม้ป่าชายเลนนำไปเผาถ่าน ทำลายป่าเพื่อทำนากุ้งกุลาดำ จึงส่งผลให้ป่าชายเลนถูกทำลายเป็นจำนวนมาก", "title": "จังหวัดเพชรบุรี" }, { "docid": "4208#32", "text": "ระบบนิเวศที่เป็นที่อยู่อาศัยภายในชีวนิเวศ () ที่ก่อตัวเป็นระบบการตอบสนองแบบบูรณาการทั้งหมดและแบบไดนามิกที่มีทั้งความซับซ้อนทางกายภาพและทางชีวภาพ แนวคิดพื้นฐานที่สามารถสืบย้อนไปยังปี 1864 ในงานตีพิมพ์ของ George Perkins Marsh (\"มนุษย์และธรรมชาติ\") ภายในระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิตถูกเชื่อมโยงกับองค์ประกอบทางกายภาพและทางชีวภาพของสภาพแวดล้อมของพวกมันเข้ากับสิ่งที่พวกมันถูกปรับแต่งขึ้นมา ระบบนิเวศเป็นระบบการปรับแต่งที่ซับซ้อนที่ซึ่งปฏิสัมพันธ์ของกระบวนการชีวิตก่อตัวเป็นรูปแบบที่มีการจัดระเบียบตัวเองตลอดช่วงเวลาและพื้นที่ที่แตกต่าง ระบบนิเวศมีการแบ่งประเภทกว้างๆเป็น บก น้ำจืด บรรยากาศหรือทะเล ความแตกต่างจะเกิดจากธรรมชาติของสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ไม่เหมือนใครปั้นแต่งความหลากหลายทางชีวภาพในแต่ละประเภท ส่วนเพิ่มเติมที่ผ่านมาเร็วๆนี้กับนิเวศวิทยาระบบนิเวศเป็นระบบนิเวศเทคนิค () ซึ่งได้รับผลกระทบหรือเป็นผลจากกิจกรรมของมนุษย์", "title": "นิเวศวิทยา" }, { "docid": "682575#24", "text": "สิ่งมีชีวิตชนิดนี้จะกินสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองได้และใช้สารอินทรีย์ในร่างกายของเป็นแหล่งพลังงานและเป็นวัตถุดิบในการสร้างพลังงานชีวมวลให้ตัวมันเอง สิ่งมีชีวิตน้ำกร่อยจะทนต่อเกลือและอยู่รอดได้ในระบบนิเวศทางทะเล ในขณะเดียวกันสิ่งมีชีวิตที่ทนน้ำเค็มได้เล็กน้อย จะมีบางสายพันธุ์เท่นนั้นที่อยู่ในระบบนิเวศน้ำจืดได้", "title": "ระบบนิเวศในน้ำ" }, { "docid": "682575#12", "text": "เป็นบริเวณเล็กๆของน้ำจืดที่มีน้ำตื้นและบึงแบ่งออกเป็น 4 โซน คือ โซนพันธุ์พืช โซนน้ำเปิด โซนโคลนใต้น้ำ โซนพื้นผิว ขนาดและความลึกของแอ่งมักจะแตกต่างกัน ใยอาหารมาจากพืชน้ำและสาหร่ายที่ลอยอย่างอิสระ โดยปกติจะมีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตไม่กี่ตัวอย่าง รวมทั้ง สาหร่าย หอย ปลา ด้วงแมลง น้ำ กบ เต่า นาก และหนูมัสคแร็ต นักล่าขั้นสูงอาจรวมถึง ปลาที่มีขนาดใหญ่ นกกระสาหรือจระเข้", "title": "ระบบนิเวศในน้ำ" }, { "docid": "682575#5", "text": "ระบบนิเวศน้ำจืดครอบคลุม 0.80% ของผิวโลก และคิดเป็น 0.009% ของน้ำทั้งหมด จัดเป็นแหล่งผลิตหลักโดยสุทธิ 3% ของโลก ระบบนิเวศน้ำจืดประกอบด้วย 41% ของพันธุ์ปลาชื่อดังของโลก ระบบนิเวศน้ำจืดมีสามบริเวณ", "title": "ระบบนิเวศในน้ำ" }, { "docid": "4208#72", "text": "แรงการปั่นป่วนในอากาศและน้ำจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและการกระจายระบบนิเวศ การขึ้นรูปและเป็นไดนามิค ในระดับของโลก ระบบนิเวศได้รับผลกระทบจากรูปแบบการไหลเวียนของลมสินค้าโลก พลังลมและแรงปั่นป่วนที่มันสร้างขึ้นจะมีผลต่อความร้อน สารอาหาร และโปรไฟล์ทางชีวเคมีของระบบนิเวศ ตัวอย่างเช่นลมที่พัดบนผิวน้ำของทะเลสาบสามารถสร้างความปั่นป่วน ผสมกับกำแพงน้ำและมีอิทธิพลต่อโปรไฟล์ของสิ่งแวดล้อมในการสร้างโซนของชั้นความร้อน สร้างผลกระทบต่อโครงสร้างของปลา สาหร่าย และส่วนอื่น ๆ ของระบบนิเวศในน้ำ ความเร็วของลมและความปั่นป่วนที่เกิดจากมันยังมีอิทธิพลต่ออัตราการคายน้ำและการระเหยและงบประมาณการใช้พลังงานในพืชและสัตว์ ความเร็วลม อุณหภูมิ และความชื้นสามารถเปลี่ยนแปลงเมื่อลมเดินทางผ่านคุณลักษณะของดินและระดับความสูงที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ลมตะวันตก () เข้ามาปะทะกับภูเขาชายฝั่งทะเลและภูเขาภายในของตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ(ที่ทำให้เกิดพื้นที่แห้งแล้งที่เรียกว่าเงาฝน () ขึ้นที่อีกด้านหนึ่งหรือบนด้านใต้ลม () ของภูเขา) เมื่อลมลอยสูงขึ้น อากาศจะขยายตัวและความชื้นจะควบแน่น; ปรากฏการณ์นี้เรียกว่าการยกเนื่องจากภูเขา () และสามารถทำให้เกิดฝน หิมะหรือลูกเห็บได้ กระบวนการด้านสิ่งแวดล้อมนี้จะสร้างการแบ่งพื้นที่ในความหลากหลายทางชีวภาพ เนื่องจากสายพันธุ์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพเปียกชื้นถูกจำกัดเป็นช่วงตามหุบเขาชายฝั่งและไม่สามารถที่จะโยกย้ายข้ามระบบนิเวศที่แห้งแล้ง (เช่นที่ลุ่มน้ำโคลัมเบียในภาคตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ) เพื่อผสมกับสายเลือดพื่น้องที่ถูกแยกออกจากกลุ่มไปอยู่ในระบบภูเขาภายใน", "title": "นิเวศวิทยา" }, { "docid": "781294#18", "text": "มีหลายสายพันธุ์ที่ไม่ได้พึ่งพาอินทรียวัตถุโดยสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะอยู่บริเวณปล่องแบบน้ำร้อนยกตัวอย่างเช่นความสัมพันธ์ทางชีวภาพระหว่างหนอนท่อและแบคทีเรียเคมีบำบัด ซึ่งปล่องแบบน้ำร้อนนี้เป็นหนึ่งในระบบนิเวศที่ไม่กี่แห่งบนโลกที่ไม่ต้องอาศัยแสงแดดในการจัดหาพลังงาน[15]", "title": "ทะเลลึก" }, { "docid": "415585#2", "text": "น้ำพิษของงูนั้นแตกต่างกันตั้งแต่เป็นสารประกอบโมเลกุลเล็กของเพปไทด์ที่มีกรดอะมิโนไม่กี่ชนิดไปจนถึงสารประกอบประเภทเอนไซม์ที่เป็นโมเลกุลเชิงซ้อน หรือเป็นสารประเภทโปรตีนที่ไม่ใช่เอนไซม์และมีน้ำหนักโมเลกุลมาก น้ำพิษของูจำแนกตามลักษณะโครงสร้างของเคมีและผลทางสรีรวิทยาที่เกิดขึ้น เช่น Hemolysin และ Hemorrhagin ทำลายเนื้อเยื่อบุผนังของหลอดเลือดและเซลล์เม็ดเลือดแดง Myotoxin ทำลายกล้ามเนื้อกระดูก Neurotoxin มีผลต่อจุดประสานของเซลล์ประสาทหรือตรงรอยต่อระหว่างกล้ามเนื้อกับแขนงประสาท เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วน้ำพิษของงูในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) มีผลต่อประบบประสาทและน้ำพิษของงูในวงศ์งูหางกระดิ่ง (Viperidae) มีผลต่อระบบไหลเวียนและเซลล์เม็ดเลือดแดง อย่างไรก็ตามน้ำพิษของงูทั้ง 2 วงศ์นี้อาจส่งผลต่อทั้ง 2 ระบบก็ได้", "title": "งูพิษ" }, { "docid": "65588#4", "text": "ในที่ลุ่มชื้นแฉะที่เป็นน้ำเค็มมีความหลากหลายในชนิดพืชพรรณค่อนข้างมาก วัฏจักรทางอาหารและที่อยู่สำหรับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการวิถีชีวิตเฉพาะ (niche specialisation) มาก ทำให้พื้นที่ชุ่มน้ำประเภทนี้กลายเป็นระบบนิเวศที่ให้ผลิตผลสูงที่สุดในพื้นที่ประเภทอื่นใดบนโลก\nพื้นที่ชุ่มน้ำ มีความหมายครอบคลุมถึงแหล่งน้ำเกือบทุกประเภท ได้แก่ ห้วย หนอง คลอง บึง บ่อ กระพัง (ตระพัง) บาราย แม่น้ำ ลำธาร แคว ละหาน ชายคลอง ฝั่งน้ำ สบน้ำ สระ ทะเลสาบ แอ่ง ลุ่ม กุด ทุ่ง กว๊าน มาบ บุ่ง ทาม พรุ สนุ่น แก่ง น้ำตก หาดหิน หาดกรวด หาดทราย หาดโคลน หาดเลน ชายทะเล ชายฝั่งทะเล พืดหินปะการัง แหล่งหญ้าทะเล แหล่งสาหร่ายทะเล คุ้ง อ่าว ดินดอนสามเหลี่ยม ช่องแคบ ชะวากทะเล ตะกาด หนองน้ำ กร่อย ป่าพรุ ป่าเลน ป่าชายเลน ป่าโกงกาง ป่าจาก ป่าแสม รวมทั้งนาข้าว นากุ้ง นาเกลือ บ่อปลา อ่างเก็บน้ำ เป็นต้น โดยมีประเภทหลักที่สำคัญ คือ", "title": "พื้นที่ชุ่มน้ำ" }, { "docid": "205680#4", "text": "ความหลากหลายระหว่างระบบนิเวศเป็นความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งซับซ้อน สามารถเห็นได้จากความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศประเภทต่างๆ เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ บึง หนอง ชายหาด แนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ หรือแม้กระทั่งชุมชนเมืองของเราเอง ในระบบนิเวศเหล่านี้ สิ่งมีชีวิตก็ต่างชนิดกัน และมีสภาพการอยู่อาศัยแตกต่างกัน", "title": "ความหลากหลายทางชีวภาพ" }, { "docid": "682575#3", "text": "ประเภทของสิ่งมีชีวิตที่พบในระบบนิเวศทะเลประกอบด้วยสาหร่ายสีน้ำตาลไดโนแฟลกเจลลา , ปะการัง , หมึก , cephalopods และฉลาม ปลาจะถูกจับในระบบนิเวศทางทะเลมากที่สุดจัดเป็นแหล่งที่มาของอาหารเชิงพาณิชย์ที่ได้จากประชากรสัตว์", "title": "ระบบนิเวศในน้ำ" }, { "docid": "4208#15", "text": "ความหลากหลายทางชีวภาพใช้อธิบายความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ยีนจนถึงระบบนิเวศและครอบคลุมทุกระดับขององค์กรทางชีวภาพ คำนี้มีการตีความไปหลายอย่างและมีหลายวิธีที่จะชี้ ใช้วัด ใช้บอกลักษณะ และใช้แทนความหมายขององค์กรที่ซับซ้อนของมัน ความหลากหลายทางชีวภาพจะรวมถึงความหลากหลายของสายพันธุ์ ความหลากหลายของระบบนิเวศ และความหลากหลายทางพันธุกรรมและนักวิทยาศาสตร์มีความสนใจในวิธีการที่ความหลากหลายนี้ส่งผลกระทบต่อกระบวนการทางนิเวศวิทยาที่ซับซ้อนในการดำเนินงานในระดับที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ได้อย่างไร ความหลากหลายทางชีวภาพมีบทบาทสำคัญใน'การบริการของระบบนิเวศ' ซึ่งโดยความหมายแล้วหมายถึงการรักษาระดับและการปรับปรุงคุณภาพของชีวิต การป้องกันการสูญพันธุ์ของสายพันธุ์เป็นวิธีหนึ่งที่จะรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและเป้าหมายนั้นวางอยู่บนหลายเทคนิคที่รักษาความหลากหลายทางพันธุกรรม ที่อยู่อาศัย และความสามารถในสายพันธุ์ที่จะโยกย้ายถิ่น ลำดับความสำคัญและเทคนิคการจัดการของการอนุรักษ์จำเป็นต้องใช้วิธีการและการพิจารณาที่แตกต่างกันเพื่อแสดงถึงขอบเขตของระบบนิเวศอย่างเต็มที่ของความหลากหลายทางชีวภาพ 'ทุนธรรมชาติ'ที่รองรับประชากรมีความสำคัญในการรักษาระดับของ'การบริการแบบระบบนิเวศ' และการย้ายถิ่นของหลายๆสายพันธุ์ (เช่นการวิ่งของปลาแม่น้ำและการควบคุมแมลงนก) ได้รับการระบุว่าเป็นหนึ่งในกลไกที่การเสียหายจากการให้บริการพวกนั้นได้ประสบมา ความเข้าใจในความหลากหลายทางชีวภาพมีการใช้งานในทางปฏิบัติสำหรับสายพันธุ์และการวางแผนการอนุรักษ์ในระดับระบบนิเวศเมื่อพวกเขาให้คำแนะนำการจัดการแก่บริษัทที่ปรึกษา รัฐบาล และอุตสาหกรรม\nที่อยู่อาศัยของสายพันธุ์หนึ่งสามารถอธิบายสภาพแวดล้อมที่สายพันธุ์นั้นเกิดและชนิดของชุมชนที่จะเกิดเป็นผลตามมา เพื่อให้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น \"ที่อยู่อาศัยที่สามารถกำหนดได้ว่าเป็นภูมิภาคในพื้นที่สิ่งแวดล้อมที่จะประกอบด้วยหลายมิติซ้อนกัน แต่ละมิติเป็นตัวแทนของตัวแปรสิ่งแวดล้อมแบบชีวนะหรืออชีวนะ นั่นคือ องค์ประกอบหรือลักษณะของสภาพแวดล้อมใดๆที่เกี่ยวข้องโดยตรง (เช่นอาหารสัตว์ ชีวมวลและคุณภาพ) หรือโดยอ้อม (เช่นระดับความสูง) กับการใช้สถานที่โดยสัตว์\" ยกตัวอย่างเช่นที่อยู่อาศัยอาจจะเป็นสภาวะแวดล้อมที่อยู่ในน้ำหรือบนบกที่สามารถแบ่งประเภทต่อไปว่าเป็นระบบนิเวศแบบภูเขาหรือภูมิอากาศแบบอัลไพน์ การเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยจะให้หลักฐานที่สำคัญของการแข่งขันในธรรมชาติที่ประชากรหนึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับแหล่งที่อยู่อาศัยที่สมาชิกส่วนใหญ่ของสายพันธุ์อื่นครอบครองอยู่ ตัวอย่างเช่น ประชากรของสายพันธุ์หนึ่งของสัตว์เลื้อยคลานเขตร้อน (Tropidurus hispidus) มีลำตัวแบนเมื่อเทียบกับประชากรหลักที่อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าเปิด ประชากรนี้อาศัยอยู่ในหินโผล่แยกต่างหากที่ซ่อนอยู่ในหุบเขาที่ร่างกายแบนของมันทำให้มันมีความได้เปรียบในการคัดเลือก การเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยยังเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์การพัฒนาชีวิตของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและในแมลงที่เปลี่ยนจากสัตว์ที่มีที่อยู่อาศัยในน้ำมาเป็นสัตว์ที่อยู่บนบก คำว่าเขตชีวชาติ () และเขตที่อยู่อาศัยบางครั้งใช้แทนกันได้ แต่เขตชีวชาติหมายถึงสภาพแวดล้อมของชุมชน ในขณะที่เขตที่อยู่อาศัยหมายถึงสภาพแวดล้อมของสายพันธุ์", "title": "นิเวศวิทยา" }, { "docid": "76309#6", "text": "กระบวนการย่อยสลายสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท\nการจัดการระบบนิเวศ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีในระยยนิเวศมากกว่า 1 ชนิด F. Stuart Chapin ได้นิยามไว้ว่า “การประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางนิเวศวิทยาในการจัดการทรัพยากรเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนของระบบนิเวศในระยะยาวและ การส่งมอบสินค้าและบริการของระบบนิเวศที่สำคัญ” Norman Christensen และ coauthors นิยามว่า “การจัดการเป้าหมายอย่างชัดเจน ดำเนินการตามนโยบาย ระเบียบการ การปฏิบัติและสามารถปรับตัวได้จากการตรวจสอบและกระบวนการที่จำเป็นเพื่อรักษาโครงสร้างของระบบนิเวศและการวิจัยบนพื้นฐานความเข้าใจที่ดีที่สุดของเรามีปฏิสัมพันธ์ทางนิเวศวิทยา” และ Peter Brussard และ colleaguesนิยามว่า “การจัดการพื้นที่ที่มีความหลากหลายแบบนิเวศบริการและชีวภาพ มีเก็บทรัพยากรเพื่อที่มนุษย์ใช้อย่างเหมาะสมและการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน”", "title": "ระบบนิเวศ" }, { "docid": "76309#2", "text": "ระบบนิเวศมีทั้งปัจจัยภายนอกและภายในควบคุม ปัจจัยภายนอก เช่น ภูมิอากาศ วัสดุกำเนิด (parent material) ซึ่งสร้างดินและภูมิลักษณ์ ควบคุมโครงสร้างโดยรวมของระบบนิเวศและวิธีที่สิ่งต่าง ๆ เกิดในนั้น แต่ปัจจัยดังกล่าวไม่ได้รับอิทธิพลจากระบบนิเวศ ปัจจัยภายนอกอื่นรวมเวลาและชีวชาติศักยะ (potential biota) ระบบนิเวศเป็นสิ่งพลวัต คือ อยู่ภายใต้การรบกวนเป็นระยะและอยู่ในกระบวนการฟื้นตัวจากการรบกวนในอดีตบางอย่าง ระบบนิเวศในสิ่งแวดล้อมคล้ายกันที่ตั้งอยู่ในส่วนของโลกต่างกันสามารถมีลักษณะต่างกันมากเพราะมีชนิดต่างกัน การนำชนิดต่างถิ่นเข้ามาสามารถทำให้เกิดการเลื่อนอย่างสำคัญในการทำหน้าที่ของระบบนิเวศ ปัจจัยภายในไม่เพียงควบคุมกระบวนการของระบบนิเวศ แต่ยังถูกระบบนิเวศควบคุมและมักอยู่ภายใต้วงวนป้อนกลับ (feedback loop) เช่นกัน ขณะที่ทรัพยากรป้อนเข้าปกติถูกกระบวนการภายนอก เช่น ภูมิอากาศและวัสดุกำเนิด ควบคุม แต่การมีทรัพยากรเหล่านี้ในระบบนิเวศถูกปัจจัยภายใน เช่น การผุสลายตัว การแข่งขันรากหรือการเกิดร่ม ควบคุม ปัจจัยภายในอื่นมีการรบกวน การสืบทอด (succession) และประเภทของชนิดที่มี แม้มนุษย์อยู่ในและก่อให้เกิดผลภายในระบบนิเวศ แต่ผลลัพธ์รวมใหญ่พอมีอิทธิพลต่อปัจจัยภายนอกอย่างภูมิอากาศ", "title": "ระบบนิเวศ" }, { "docid": "682575#13", "text": "ระบบนิเวศแหล่งน้ำไหลเป็นโซนที่สำคัญ โครงสร้างของกลุ่มสิ่งมีชีวิตน้ำไหลขึ้นอยู่กับความเร็วของน้ำ แหล่งน้ำไหลนี้จึงแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ", "title": "ระบบนิเวศในน้ำ" }, { "docid": "682575#19", "text": "ระบบนิเวศประกอบด้วยชุมชนของสิ่งมีชีวิตซึ่งมีโครงสร้างโดยการมีปฏิสัมพันธ์ทางชีวภาพและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชัวิตและปัจจัยบางประการที่สำคัญของสิ่งไม่มีชีวิตของระบบนิเวศในน้ำครอบคลุมถึงชนิดของสารตั้งต้น ความลึกของน้ำ ระดับของสารอาหาร อุณหภูมิ ความเค็ม และการไหล มันมักจะเป็นเรื่องยากที่จะกำหนดความสำคัญที่เทียบเคียงกันของปัจจัยเหล่านี้ได้โดยไม่ต้องทดลอง ดินตะกอนอาจกำหนดสถานะของพืชน้ำ แต่พืชน้ำอาจดักตะกอนและเพิ่มตะกอนผ่านถ่านหินชนิดร่วน", "title": "ระบบนิเวศในน้ำ" }, { "docid": "76309#0", "text": "ระบบนิเวศ คือกลุ่มอินทรีย์ (พืช สัตว์และจุลินทรีย์) ร่วมกับองค์ประกอบอชีวนะของสิ่งแวดล้อมของพวกมัน (เช่น อากาศ น้ำและดินอนินทรีย์) ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กันเป็นระบบ ถือว่า ส่วนประกอบชีวนะและอชีวนะเชื่อมกันผ่านวัฏจักรสารอาหารและการถ่ายทอดพลังงาน ระบบนิเวศนิยามเป็นเครือข่ายปฏิสัมพันธ์ระหว่างอินทรีย์ด้วยกันและระหว่างอินทรีย์กับสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศมีขนาดเท่าใดก็ได้ แต่ปกติครอบคลุมพื้นที่เฉพาะจำกัด แม้นักวิทยาศาสตร์บางส่วนกล่าวว่า ทั้งโลกก็เป็นระบบนิเวศหนึ่งด้วย", "title": "ระบบนิเวศ" }, { "docid": "205680#5", "text": "ความแตกต่างหลากหลายระหว่างระบบนิเวศ ทำให้โลกมีถิ่นที่อยู่อาศัยเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ ระบบนิเวศแต่ละประเภทให้ประโยชน์แก่การดำรงชีวิตของมนุษย์แตกต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่งให้ \"บริการทางสิ่งแวดล้อม\" (environmental service) ต่างกันด้วย อาทิ ป่าไม้ทำหน้าที่ดูดซับน้ำ ไม่ให้เกิดน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ส่วนป่าชายเลนทำหน้าที่เก็บตะกอนไม่ให้ไปทบถมจนบริเวณปากอ่าวตื้นเขิน ตลอดจนป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งจากกระแสลมและคลื่นด้วย เป็นต้น", "title": "ความหลากหลายทางชีวภาพ" }, { "docid": "682575#17", "text": "ระบบนิเวศทางน้ำมีหน้าที่ที่สำคัญมากกับสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การหมุนเวียนสารอาหาร น้ำบริสุทธิ์ บรรเทาน้ำท่วม เป็นแหล่งพลังงานของน้ำใต้ดินและเป็นที่อยู่ของสัตว์ป่า นอกจากนี้ระบบนิเวศในน้ำยังใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของมนุษย์ และมีความสำคัญมากในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดยเฉพาะในบริเวณชายฝั่งทะเล", "title": "ระบบนิเวศในน้ำ" }, { "docid": "669134#36", "text": "\"หลายชั้น\" หมายถึงการรวมตัวกันของสายพันธุ์จากระดับห่วงโซ่อาหารหรือโภชนาการที่แตกต่างกันในระบบเดียวกัน[45] นี้เป็นหนึ่งในความแตกต่างที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติแบบโบราณของเกษตรกรรมเชิงผสมในน้ำ (English: aquatic polyculture) ซึ่งอาจจะเป็นเพียงเกษตรกรรมร่วมของสายพันธุ์ปลาที่แตกต่างกันจากระดับชั้นห่วงโซ่อาหารเดียวกัน ในกรณีนี้สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ทั้งหมดอาจแชร์กระบวนการทางชีวภาพและทางเคมีที่มีประโยชน์ต่อการทำงานร่วมกันไม่กี่อย่างซึ่งอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในระบบนิเวศ ในความเป็นจริงบางระบบการเกษตรแบบผสมดั้งเดิมอาจรวมความหลากหลายมากขึ้นของสายพันธุ์ที่ครอบครองระบบนิเวศน์ใหม่ที่หลากหลาย โดยเป็นวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง (ความเข้มต่ำ, การจัดการต่ำ) ภายในบ่อเดียวกัน \"การผสมผสาน\" ใน IMTA หมายถึงการเพาะเลี้ยงที่เข้มข้นมากขึ้นของสายพันธุ์ที่แตกต่างกันในความใกล้ชิดของสายพันธ์อื่นซึ่งกันและกันที่เชื่อมต่อกันด้วยสารอาหารและการถ่ายโอนพลังงานผ่านน้ำ", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" } ]
2939
มหายานมาจากธาตุศัพท์ภาษาอะไร?
[ { "docid": "32409#1", "text": "มหายาน (, ; ; ; ) มาจากธาตุศัพท์ภาษาบาลี-สันสกฤต มหา + ยาน แปลว่า พาหนะที่ใหญ่ เป็นคำเรียกที่อาศัยการเปรียบเทียบ จากคำว่า หีนยาน ซึ่งแปลว่า พาหนะที่เล็ก ๆ มหายานยังมีความหมายว่า “ยานที่สูงสุด” ตามความเชื่อของพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายาน คำว่ามหายาน ไม่เพียงแต่เป็นยานใหญ่และสูงสุดเท่านั้น หากเป็นยานที่รื้อขนสรรพสัตว์ได้ทุกประเภททุกวัย รวมทั้งสัตว์โลกทุกรูปนาม เพื่อไปสู่พระนิพพาน และยานนี้ยังหมายถึงยานที่จะไปถึงพุทธภูมิ แล้วสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า", "title": "มหายาน" }, { "docid": "84186#1", "text": "ซึ่งคำ มหานิกาย นั้น มาจากธาตุศัพท์ภาษาบาลี มหนฺต + นิกาย แปลว่าพวกมาก กล่าวโดยสรุป มหานิกายก็คือ พระสงฆ์สายเถรวาทลังกาวงศ์ดั้งเดิมในประเทศไทยส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่พระสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย", "title": "มหานิกาย" } ]
[ { "docid": "32409#2", "text": "คำว่า มหายาน จึงเป็นการเปรียบเทียบหมายถึงการขนสัตว์ให้ข้ามพ้นวัฏสงสารได้มากกว่าสาวกยาน ในคัมภีร์มหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์ คุรุนาคารชุนะ ปราชญ์ฝ่ายมหายาน ได้อธิบายความหมายของมหายานไว้ว่า \"“พระพุทธธรรมมีเอกรสเดียว คือ รสแห่งวิมุตติ ความรอดพ้นจากปวงทุกข์ แต่ชนิดของรสมี 2 ชนิด คือ ชนิดแรกเพื่อตัวเอง และชนิดที่สองเพื่อตัวเองและสรรพสัตว์ด้วย”\" อันหมายความว่า ฝ่ายสาวกยานมุ่งเพียงความหลุดพ้นเป็นอรหันต์สิ้นกิเลสเฉพาะตน ไม่มีปณิธานในการโปรดสรรพสัตว์ให้ถึงความหลุดพ้นด้วย แต่ฝ่ายมหายานย่อมมีอุคมคติตรงกันข้าม กล่าวคือ ย่อมมุ่งพุทธภูมิมีปณิธานจะตรัสรู้เป็นพระพุทธะเพื่อขนสัตว์ให้พ้นทุกข์จนหมดสิ้น อธิบายว่า พุทธศาสนิกชนฝ่ายสาวกยานโดยทั่วไปมุ่งแต่สาวกภูมิเป็นสำคัญ ฉะนั้น จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สาวกยาน ส่วนพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานย่อมมุ่งพุทธภูมิทั้งนั้น จึงมีอีกชื่อว่า โพธิสัตวยาน หรือ พุทธยาน", "title": "มหายาน" }, { "docid": "240873#1", "text": "คำว่า “หีนยาน” และ “มหายาน” ปรากฏครั้งแรกในคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาสูตร ต่อมามีคณาจารย์พระพุทธศาสนาช่วงพุทธศตวรรษที่ 6 ได้ปฏิรูปคำสอนและการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา โดยถือเอาวิถีทางพระโพธิสัตว์เป็นอุดมคติแทนที่การบรรลุเป็นพระอรหันต์ในชาตินี้ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่ศาสนาพุทธยุคแรก จึงเรียกกลุ่มตนเองว่า มหายาน และเรียกกลุ่มเดิมว่า หีนยาน โดยมีนิกายเถรวาทเป็นหนึ่งในนั้น อย่างไรก็ตามหีนยานกลุ่มที่มหายานวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดคือนิกายสรวาสติวาท (ซึ่งต่อมาได้แตกออกเป็นไวภาษิกะและเสาตรานติกะ)", "title": "หีนยาน" }, { "docid": "17004#106", "text": "สุนัต การขริบหนังที่อวัยเพศชาย เป็นคำที่ยืมจากภาษามลายู ซูนัต ซึ่งมีความหมายเดียวกัน ยืมมาจากภาษาอาหรับ ซุนนะหฺ แปลว่า แนวทาง. เข้าสุนัต ขริบหนังที่อวัยเพศชาย ยืมจากคำแรกของวลี มาซุก ญาวี (แปลว่า เข้าญาวี)ในภาษามลายู หมายถึง เข้า(ศาสนาของ)คนญาวี(มลายูมุสลิม) ด้วยการขลิบหนังอวัยวะเพศ", "title": "อภิธานศัพท์ศาสนาอิสลาม" }, { "docid": "42893#0", "text": "มหากรุณาธารณี (, : ธารณีว่าด้วยความกรุณาอันยิ่งใหญ่) หรือ นิลกัณฐธารณี ( : ธารณีว่าด้วยพระผู้มีศอสีนิล) เป็นชื่อบทสวด (ธารณี) สำคัญในพระพุทธศาสนามหายาน เป็นธารณีประจำองค์พระอวโลกิเตศวร ปางสหัสภุชสหัสเนตร (พันหัตถ์พันเนตร) ในภาษาจีนเรียกธารณีนี้ว่า ไต่ปุ่ยจิ่ว (; \"ต้าเปยโจ้ว\" ตามสำเนียงจีนกลาง) มีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานภาษาสันสกฤตของอินเดีย พระภควธรรมเถระชาวอินเดียนำเข้าไปแปลในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ถัง และมีฉบับแปลเป็นภาษาทิเบตด้วย", "title": "มหากรุณาธารณี" }, { "docid": "32409#13", "text": "มหายานชั้นแรกดูเหมือนจะมีทัศนะตรงกับเถรวาทที่ว่า พระพุทธเจ้ามีพระกายเพียง 2 เท่านั้นคือ ธรรมกาย และนิรมานกาย ธรรมกายนั้นมีพระพุทธวจนะที่ตรัสโดยตรงในบาลีอัคคัญญสูตรแห่งทีฆนิกาย ส่วนนิรมาณกายนั้นได้แก่พระกายของพระศาสดาที่ประกอบด้วยขันธ์ 5 ในคัมภีร์ฝ่ายมาธยมิกชั้นแรก ก็ยังไม่พบกายที่ 3 ธรรมกาย ตามนัยแห่งเถรวาทหมายถึงพระคุณทั้ง 3 ของพระพุทธเจ้า อันได้แก่ พระปัญญาคุณ, พระวิสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ มหายานได้สร้างแนวความคิดตรีกายขึ้นด้วยวิธีเพิ่มกายอีกกายหนึ่งเข้าไป คือ สัมโภคกาย ซึ่งเป็นกายของพระพุทธองค์อันสำแดงปรากฏให้เห็นเฉพาะหมู่ พระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ เป็นทิพยภาวะมีรัศมีรุ่งเรืองแผ่ซ่านทั่วไป เพราะฉะนั้น แม้จนกระทั่งบัดนี้ พระโพธิสัตว์ก็ยังอาจจะเห็นพระศากยมุนีพุทธเจ้าได้ในรูปสัมโภคกาย พระพุทธองค์ยังทรงอาจสดับคำสวดมนต์ต์ของเรา แม้พระองค์จะดับขันธปรินิพพานไปแล้วก็ดี ทั้งนี้ก็ด้วยการดับขันธปรินิพพานนั้นเป็นเพียงการสำแดงให้เห็นปรากฏในรูปนิรมานกายเท่านั้น ส่วน ธรรมกาย นั้น ก็เป็นสภาวะอมตะ ไร้รูปร่างลักษณะ เป็นอจินไตย(นึกคิดหรือเดาไม่ได้หรืออยู่นอกเหนือความคิดออกไป) ไม่มีเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด แผ่คลุมอยู่ทั่วไป ความคิดเรื่องสัมโภคกายนี้ มหายานได้รับจากนิกายมหาสังฆิกะ และในหมู่คณาจารย์ของมหายานก็ไม่มีความเห็นพ้องกันในเรื่องนี้", "title": "มหายาน" }, { "docid": "32409#0", "text": "มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน", "title": "มหายาน" }, { "docid": "32409#4", "text": "นอกจากนี้ พระนาคารชุนได้กล่าวไว้ในทวาทศนิกายศาสตร์อีกว่า\n“มหายานคือยานอันประเสริฐกว่ายานทั้ง 2 เหตุนั้น จึงชื่อว่า 'มหายาน'\nพระพุทธเจ้าทั้งหลายอันใหญ่ยิ่ง ทรงอาศัยซึ่งยานนี้ และยานนี้จะสามารถนำเราเข้าถึงพระองค์ได้ เหตุนั้นจึงชื่อว่า 'มหา'\nอนึ่ง ปวงพระพุทธเจ้าผู้มหาบุรุษได้อาศัยยานนี้ เหตุนั้น จึงชื่อว่า 'มหา' และอีกทั้งสามารถดับทุกข์อันไพศาลของสรรพสัตว์และประกอบประโยชน์อันยิ่งใหญ่ให้ถึงพร้อม เหตุนั้นจึงชื่อว่า 'มหา'\nอนึ่ง พระโพธิสัตว์ทั้งปวง มีพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (เจ้าแม่กวนอิม), พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์, พระเมตไตรยโพธิสัตว์, พระมัญชุศรีโพธิสัตว์, พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ และพระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์ เป็นต้น ปวงมหาบุรุษได้ทรงอาศัย เหตุนั้นจึงชื่อว่า 'มหา' \nอนึ่ง เมื่ออาศัยยานนี้แล้ว ก็ย่อมเข้าถึงที่สุดแห่งธรรมทั้งปวง เหตุนั้นจึงชื่อว่า 'มหา'”", "title": "มหายาน" }, { "docid": "42893#1", "text": "มหากรุณาธารณีเป็นมนตร์อันเกิดจากความเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ของพระอวโลกิเตศวร ที่มีต่อสรรพสัตว์ที่ตกทุกข์ในโลก ในคัมภีร์กล่าวว่าธารณีนี้มีชื่อต่าง ๆ กัน เช่น มหาไวปุลยสัมปุรณธารณี, อกิญจนมหากรุณาธารณี, อายุวัฒนธารณี, วิกรมอุตตรภูมิธารณี, มโนมัยอิศวรธารณี เป็นต้น อักษรหนึ่งตัวและประโยคหนึ่งในบทธารณีมนตร์นี้ ล้วนขยายเป็นอรรถธรรม อันจะนำเข้าถึงพระสัมมาสัมโพธิญาณ", "title": "มหากรุณาธารณี" } ]
2231
ใครเป็นผู้ประดิษฐ์ตู้เย็นเครื่องแรกของโลก?
[ { "docid": "201704#5", "text": "วิลเลียม คัลเลน (William Cullen) ประดิษฐ์ตู้เย็นเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยกลาสโกว (University of Glasgow) ในปี 1748 หลังจากนั้นในปี 1805 เมื่อโอลิเวอร์ อีวาน (Oliver Evans) ได้ประดิษฐ์ตู้เย็นที่ใช้ไอทำความเย็น ต่อมาในปี 1902 วิลลิส ฮาวิแลนด์ คาริเออร์ (Willis Haviland Carrier) ได้ประดิษฐ์เครื่องปรับอากาศ ในปี 1850 ถึง ปี 1851, ดร. จอห์น โกรี (John Gorrie) ประดิษฐ์เครื่องทำน้ำแข็ง ในปี 1857 เจมส์ แฮริสัน (James Harrison) วิศวกรชาวออสเตรเลียได้ประดิษฐ์ตู้เย็นที่ทำความเย็นด้วยการอัดไอเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเนื้อแช่แข็ง ต่อมาเฟอร์ดินานด์ คารี่ (Ferdinand Carré) ชาวฝรั่งเศสได้พัฒนาระบบให้ซับซ้อนในปี 1859 โดยใช้แก๊สแอมโมเนียซี่งระเหยเร็วเป็นตัวระบายความร้อนแทนอากาศ jojo", "title": "ตู้เย็น" } ]
[ { "docid": "201704#12", "text": "ตู้เย็นที่กินไฟมากสุดคือแบบละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ เพราะต้องมีตัวเป่าความชื้นออกจากใบของพัดลมในตู้เย็น และยังต้องมีการเพิ่มอุณหภูมิเป็นพัก ๆ แบบที่รองลงมาได้แก่แบบไม่มีระบบละลายน้ำแข็งเลย แต่ว่าน้ำแข็งที่เกาะในตู้เย็นก็ทำให้กินไฟมากขึ้น ผู้ใช้ควรหมั่นละลายน้ำแข็ง และแบบที่มีปุ่มกดละลายน้ำแข็งกินไฟที่สุด แต่ผู้ใช้มักไม่ซื้อตู้เย็นประหยัดไฟเนื่องจากมีราคาแพง[5]", "title": "ตู้เย็น" }, { "docid": "84652#28", "text": "แม้ว่าจะมีการประดิษฐ์เกิดขึ้นมากมายเพราะเขา แต่ก็มีผู้มีบางคนโต้แย้งว่า ที่แท้แล้ววัตต์คิดค้นนวัตกรรมต้นฉบับเพียงอันเดียวจากสิทธิบัตรจำนวนมากที่เขาจด อย่างไรก็ตามไม่มีใครแย้งเรื่องที่นวัตกรรมเดียวนั้นเขาได้ประดิษฐ์จริง ก็คือ เครื่องสันดาปแยก (separate condenser) ซึ่งเป็นการฝึกหัดเพื่อเตรียมแนวความคิดที่สร้างชื่อแก่เขา เพราะเขาตั้งใจให้สิทธิบัตรเชื่อถือได้ในความปลอดภัย และทำให้แน่ใจได้ว่า ไม่มีใครได้ฝึกหัดและคิดค้นสิ่งประดิษฐ์นั้นได้อย่างเขา", "title": "เจมส์ วัตต์" }, { "docid": "169681#7", "text": "ตู้รับจดหมาย เป็นพยานวัตถุที่สามารถระบุวันที่จดหมายมาถึง จดหมายในตู้รับจดหมายยังคงเรียงตามลำดับการรับก่อนหลังอยู่หรือไม่ ไฟแสงสว่างหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่พบในสถานที่เกิดเหตุเปิดหรือปิดอยู่ เช่นโทรทัศน์อาจเปิดทิ้งเอาไว้ หรืออาจจะดับเพราะเสียเนื่องจากเปิดทิ้งไว้ตั้งแต่วันที่เกิดเหตุ แพทย์และพนักงานสอบสวนต้องตรวจที่สวิตช์ด้วยว่าอยู่ใน ตำแหน่งที่เปิดหรือปิด จดหมายที่พบในที่เกิดเหตุ ส่วนใหญ่เป็นจดหมายลาตายหรือจดหมายที่ระบายความอัดอั้นตันใจ เป็นพยานวัตถุที่พบในที่เกิดเหตุในคดีฆ่าตัวตาย ส่วนมากจดหมายที่พบในที่เกิดเหตุเป็นลายมือของผู้ตาย แต่แพทย์และพนัดงานสอบสวนต้องตรวจสอบจดหมายลาตายอย่างละเอียดถี่ถ้วน ว่าจดหมายเป็นลายมือของผู้ตายหรือไม่ ปากกาที่ใช้เขียนยังอยู่หรือไม่ มีกี่ฉบับ มีลายนิ้วมือคนอื่นในกระดาษหรือไม่ จุดที่อาจใช้ซ่อนอาวุธอย่างฉุกละหุก หลังตู้สูง ซอกระหว่างเฟอร์นิเจอร์กับผนัง ซอกระหว่างหนังสือในตู้ทุกอัน ในเตาไฟ เตาอบ เตาไมโครเวฟ ตู้เย็น หม้อข้าว ฯลฯ", "title": "พยานวัตถุ" }, { "docid": "663576#9", "text": "รูปร่างของ evaporator ในสมัยนี้รูปร่างกะทัดรัด สามารถซ่อนและติดตั้งได้มิดชิด (ช่องเย็นด้านหน้า) ถ้าจะกล่าวถึงจุดของตัวให้ความเย็น (Evaporator Unit) จะมีอุปกรณ์ต่างๆปกติจะมีติดมาเป็นชุด คือ\nส่วนประกอบทั้ง 5 รายการ ปกติจะจัดไว้เป็นชุดแต่หากเกิดชำรุดขึ้นมาในบางชิ้นก็สามารถแยกชิ้นเพื่อเปลี่ยนได้ ดังนั้น Evaporator เป็นสถานที่ที่ให้น้ำยาเหลวมาเดือดส่วนที่รองรับหรือท่อทางนั้นก็คือ ทองแดงหรืออลูมิเนียมผสม (แข็งกว่าอลูมิเนียม) ช่องเย็นทุกแบบก็สร้างโดยอาศัยท่อทองแดงหรือลูมิเนียม การที่เครื่องจะเย็นจัด ทน ไม่ใช่เพราะช่องเย็นมีปัจจัยมากมาย เช่น ขึ้นอยู่กับการทำงานของเอ็กเพ็นชั่นวาล์ว\nคอยล์เย็นจะเป็นตัวลดอุณหภูมิของอากาศที่ผ่านและปรับระดับความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศที่ผ่านคอยล์เย็นออกมา อุณหภูมิของอากาศที่ผ่านคอยล์เย็นออกมา ควรอยู่ที่ประมาณ 70 องศาฟาเรนไฮต์ หรือประมาณ 21.11องศาเซลเซียส มีความชื้นสัมพัทธ์ 50% การที่จะให้ได้ตามความต้องการมีการเลือกตัวคอยล์เย็นมักจะฝังอยู่ภายในตู้เย็นแอร์เลย เมื่ออากาศผ่านคอยล์เย็นถ้าอุณหภูมิต่ำลงมากจนถึงจุดน้ำค้าง (ความชื้นสัมพัทธ์ถึง100%) ไอน้ำอากาศจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ดังนั้นตัวตู้แอร์เองจะต้องมีท่อน้ำทิ้งต่อออกไปทิ้งนอกรถและยังต้องยากันรั่วที่บริเวณตู้แอร์เพื่อกันไม่ให้น้ำหยดเข้ามาในรถได้", "title": "การปรับอากาศรถยนต์" }, { "docid": "17490#20", "text": "เป็นเรื่องปกติในปัจจุบันที่จะใช้เซลล์แสงอาทิตย์ขนาดเล็กมากให้พลังงานให้กับอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น เครื่องคิดเลข นอกจากนี้เซลล์แสงอาทิตย์ยังใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ที่ไม่มีสายส่งไฟฟ้า เราได้พัฒนาตู้เย็นที่เรียกว่าความเย็นจากแสงอาทิตย์ (Solar Chill) ที่สามารถปฏิบัติงานโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ หลังจากทดสอบแล้วจะถูกนำไปใช้ในองค์กรสิทธิมนุษยชนเพื่อช่วยให้บริการวัคซีนในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้า และจะถูกนำไปใช้โดยผู้ที่ไม่ต้องการพึ่งพาสายส่งไฟฟ้าเพื่อรักษาความเย็นของอาหาร", "title": "พลังงานแสงอาทิตย์" }, { "docid": "201704#2", "text": "ตู้เย็นขนาดใหญ่รวมทั้งเครื่องทำน้ำแข็งขนาดใหญ่ในโรงงานมักใช้แก๊สแอมโมเนียซึ่งเป็นอันตรายในการทำการทำความเย็น ทำให้ไม่ปลอดภัยในการใช้ในบ้านเรือน ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1930s ที่สหรัฐอเมริกาได้สังเคราะห์สารเคมีราคาถูก ไม่เป็นพิษ ไม่ติดไฟ เช่น แก๊สฟรีออน", "title": "ตู้เย็น" }, { "docid": "43498#5", "text": "นอกจากนี้ \"ลุงขาว\" ยังเป็นนักประดิษฐ์ มีผลงานประดิษฐ์เครื่องคั้นน้ำอ้อยแบบลูกกลิ้งทองเหลือง เครื่องปั่นสายไหม และยังได้ประดิษฐ์หุ่นโครงเป็นเหล็ก ข้างนอกเป็นไม้พ่นสีขนาดเท่าคนติดมอเตอร์ มีสายบังคับให้เดินหน้า ถอยหลัง พร้อมลำโพงที่หน้าอก ที่สามารถฟังและพูดตอบกับผู้ชมได้ ประดิษฐ์กล่องไฟมีตัวหนังสือที่เดินได้ ซึ่งได้มีขึ้นก่อนป้ายไฟปัจจุบันที่เป็นชนิด LED ถึง 30 ปี หรือกระทั่งการฉายหนังผ่านตู้ทีวีที่มีแต่กระจกด้านหน้าและสามารถฉายออกพร้อมกันได้หลายๆจอ โดยใช้เทคนิคการสะท้อนภาพผ่านปริซึม แทนการฉายขึ้นจอผ้า ทำให้ผู้ชมใรู้นถิ่ธุรกันดารรู้สึกเหมือนได้ดูโทรทัศน์ โดยที่ขณะนั้นโทรทัศน์ยังเป็นของใหม่มากสำหรับเมืองไทย", "title": "ลุงขาวไขอาชีพ" }, { "docid": "160748#5", "text": "สารเคมีชื่อ คลอโรฟลูออโรคาร์บอน หรือ CFCs ที่ใช้ในเครื่องทำความเย็นเช่นตู้เย็นและสเปรย์ต่างๆ จะทำปฏิกิริยากับโมเลกุลโอโซน ทำให้โมเลกุลลดลงกลายเป็นโมเลกุลของออกซิเจน ซึ่งมีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เพราะถ้าปราศจากโอโซนแล้ว รังสีอัลตราไวโอเลตจะสาดส่องพื้นโลกมากเกินไป ชั้นโอโซนซึ่งเป็นเหมือนเกราะกรองแสงที่คอยปกป้องโลกไม่ให้ร้อนจนเกินไปกันรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังและแสบตา การ CFCs ที่ใช้กันทั่วโลกทำให้ชั้นโอโซนมีรูโหว่เหนือขั้วโลกทั้งสองข้าง", "title": "ชั้นโอโซน" }, { "docid": "94147#5", "text": "ในส่วนของเครื่องปรับอากาศรุ่นใหม่ นิยามคำว่าอินเวอร์เตอร์คือการพัฒนากระบวนการทำงานของเครื่องปรับอากาศให้ดียิ่งขึ้นหลักๆคือแรงลมเย็นที่ไม่ปล่อยของเสียทำลายสิ่งแวดล้อมเรียกว่าสารทำความเย็น R32 รวมถึงการปรับการทำงานของคอมเพรสเซอร์ให้ประหยัดไฟและทนทานกว่าเดิม คำว่า INVERTER จึงมีในเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่นด้วยไม่ว่าจะเป็นเครื่องซักผ้าหรือตู้เย็นจึงมั่นใจได้ว่าเทคโนโลยีนี้จะช่วยยกระดับการใช้ชีวิตในบ้านได้อย่างแน่นอน", "title": "เครื่องปรับอากาศ" }, { "docid": "201704#14", "text": "ตู้เย็นที่มีช่องแช่แข็งอยู่ด้านบนจะกินไฟน้อยกว่าแบบที่มีช่องแช่แข็งอยู่ด้านล่างในความจุที่เท่ากัน ส่วนแบบที่มีช่องแช่แข็งอยู่ด้านข้าง จะกินไฟมากที่สุด [6] นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ได้ผลิตตู้เย็นตามแบบของไอสไตน์ ที่ประดิษฐ์ครั้งแรกในปี 1930 โดยตู้เย็นนี้ไม่ใช้ไฟฟ้า และไม่มีส่วนของก๊าซที่ทำลายชั้นบรรยากาศ[7]", "title": "ตู้เย็น" }, { "docid": "219271#5", "text": "แม้ว่าจะไม่ใช่วิธีการดั้งเดิมในการดื่มชา ชาเย็นได้แพร่หลายเป็นอย่างมากในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศจีน ตั้งแต่ช่วงปลายยุค ค.ศ. 1980 ด้วยชาแบบขวดและแบบกระป๋อง มีชาหลากหลายรูปแบบที่ขายในจีน เช่น ชาเขียว ซึ่งวางขายตามร้านค้าทั่วไป หลายครอบครัวชงชาเย็นดื่มเองจากการที่ใส่น้ำแข็งจำนวนมากลงในชาร้อน หรือ นำชาร้อนไปแช่เย็น โดยปกติแล้วชาเย็นจะมีสีดำ, สีเขียว, ชาอูหลง(乌龙茶)และในรูปแบบของชาสมุนไพร ชาสมุนไพรเย็นเป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงฤดูร้อน โดย หยิน (阴) หรือสมุนไพรเย็น ใช้สำหรับการชงชา เช่น เก๊กฮวย, ชากูดิง(苦丁茶)ชาเย็นที่ยังมีความอุ่นอยู่เป็นที่นิยมในสมัยโบราณ แต่ชาที่นำไปแช่เย็นใช้สำหรับการพบปะผู้คนในยุคของพรรคคอมมิวนิสต์ เกิดเปิดประเทศทุนนิยมและการเปิดตลาดค้าขายในช่วงปี ค.ศ. 1990 ทำให้ตู้เย็นเป็นเครื่องใช้สำคัญในบ้าน ตู้เย็นในครัวเรือนชาวจีนมีเพิ่มเป็นร้อยละ 95 จากร้อยละ 7 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ถึง พ.ศ. 2552", "title": "ชาเย็น" }, { "docid": "475477#4", "text": "ความสมดุลของโอโซนในชั้นสตราโตสเฟียร์จะถูกกำหนดโดยอัตราการเกิดโอโซนในธรรมชาติและอัตราการทำลายโอโซน โอโซนสามารถถูกทำลายได้โดยการเกิดปฏิกิริยากับสารจำพวกอนุมูลอิสระเช่น กลุ่มไฮดรอกซิลที่รุนแรง (HO) กลุ่มไนตริก (NO) กลุ่มคลอรีน (Cl) และกลุ่มโบรมีน (Br) ซึ่งสารทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นสารเคมีที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ที่ส่งผลต่อโอโซนในชั้นสตราโตสเฟียร์ แต่การเพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมต่างๆ ในโลกทำให้มีการใช้สารเคมีกลุ่มที่ทำลายโอโซนมากขึ้นโดยเฉพาะสารคลอรีน (Cl) และโบรมีน (Br) ที่จะเป็นองค์ประกอบของสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “CFCs” เป็นสารที่มีคุณสมบัติในการดูดความเย็นและมีอายุยืนยาวสลายตัวยาก CFCs เป็นสารที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมและอุปกรณ์ทำความเย็น เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และสเปรย์", "title": "การลดลงของโอโซน" }, { "docid": "201704#0", "text": "ตู้เย็น เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำความเย็นโดยประกอบด้วยสองส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนฉนวนป้องกันความร้อน (ป้องกันไม่ให้ความร้อนไหลเข้ามา) และ ส่วนทำความเย็น (ปั๊มที่นำความร้อนออกไปสู่ภายนอกซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า) คนส่วนใหญ่ใช้ตู้เย็นเก็บอาหาร เพื่อป้องกันการเน่าเสีย เนื่องจากแบคทีเรียเติบโตช้ากว่าในอุณหภูมิต่ำ ตู้เย็นมีหลายประเภทตั้งแต่แบบที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจุดเยือกแข็ง (ช่องธรรมดา) แบบที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งเล็กน้อย (ช่องแช่แข็ง, ช่องฟรีซ) ก่อนที่จะมีตู้เย็นประเทศในเขตหนาวใช้กล่องน้ำแข็ง (icebox) ในการรักษาอาหาร", "title": "ตู้เย็น" }, { "docid": "206442#19", "text": "ต่อมาในวันพุธที่ 1,8 วันอังคารที่14,21 และ 28 เมษายน 2552 จะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนหลักที่มีหมายเลข 1-6 ทั้งด้านบนและด้านล่าง 12 แผ่นป้าย (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ ตู้เย็น และ เครื่องปรับอากาศ พานาโซนิค) โดยมีแผ่นป้ายรูปโลกยิ้ม 6 แผ่นป้าย ซึ่งมีเงินรางวัลแผ่นป้ายละ 10,000 บาท และแผ่นป้ายเลข 0 จำนวน 6 แผ่นป้าย ซึ่งเป็นแผ่นป้ายเปล่าไม่มีเงินรางวัลแต่อย่างใด แต่ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดแผ่นป้ายโลกยิ้มได้ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก" }, { "docid": "764#29", "text": "พ.ศ. 2469 ไอน์ชไตน์กับลูกศิษย์เก่าคนหนึ่งคือ ลีโอ ซีลาร์ด นักฟิสิกส์ชาวฮังการีผู้ต่อมาได้ร่วมในโครงการแมนฮัตตัน และได้รับยกย่องในฐานะผู้ค้นพบห่วงโซ่ปฏิกิริยา ทั้งสองได้ร่วมกันประดิษฐ์ ตู้เย็นไอน์ชไตน์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ไม่มีชิ้นส่วนเคลื่อนไหวเลย และใช้พลังงานนำเข้าเพียงอย่างเดียวคือพลังงานความร้อน สิ่งประดิษฐ์นี้ได้จดสิทธิบัตรในปี พ.ศ. 2473[22][23]", "title": "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" }, { "docid": "644105#12", "text": "การพัฒนานมปั่นแบบอัตโนมัติในปี 1930. หลังจากการประดิษฐ์สารฟรีออนสำหรับทำความเย็นตู้เย็นเพื่อทำให้อาหารเก็บได้, ซึ่งการทำแบบอัตโนมัตินี้น่าเชื่อถือ และสามารถผลิตไอศกรีมได้. ในปี 1936 นักประดิษฐ์เอิร์ล ปรินซ์ ใช้หลักการพื้นฐานนี้เบื้องหลังการให้ความเย็นในรูปแบบของเครื่องผลิตไอศกรีม และพัฒนามาเป็นเครื่องผสมเครื่องดื่ม. \"การผสมใส่แกนแบบ 5 แกนสามารถผลิตนมปั่นได้ 5 แบบในครั้งเดียว\" การผลิตอัตโนมัติแบบนี้ สามารถจ่ายไอศกรีม โดยการดึงคันโยกและเปลี่ยนถ้วยกระดาษที่รอ และนมปั่นได้ต่อกัน.", "title": "นมปั่น" }, { "docid": "201704#3", "text": "ก่อนการประดิษฐ์ตู้เย็นประเทศในเขตหนาวได้มีการตัดน้ำแข็งก้อนใหญ่จากทะเลสาบในฤดูหนาวมาเก็บในขี้เลื่อยไว้ใช้ตลอดปี ในประเทศไทยคนส่วนมากเก็บอาหารไว้ในตู้กับข้าวซึ่งป้องกันแมลงและหนูมารบกวนเท่านั้น ไม่สามารถป้องกันการเน่าเสีย คนไทยมีวิธีอื่น ๆ อีกมากเพื่อถนอมอาหาร เช่น หมัก ดอง แช่อิ่ม ตากแห้ง รมควัน นอกจากนี้คนไทยยังเก็บน้ำฝนไว้ในโอ่งดินซึ่งทำให้น้ำเย็นตามธรรมชาติ", "title": "ตู้เย็น" }, { "docid": "669#100", "text": "กลุ่มอาคารหอพักมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต หรือ หอพักใน แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ อาคารหอพักคู่โดม สำหรับนักศึกษาหญิง และอาคารหอพักเคียงโดม สำหรับนักศึกษาชาย ประกอบไปด้วยเตียงนอน โต๊ะหัวเตียง ตู้เสื้อผ้า โต๊ะเขียนหนังสือ เก้าอี้ เครื่องตรวจจับควันไฟ ห้องน้ำรวม ระบบโทรทัศน์วงจรปิด เครื่องทำน้ำร้อน เครื่องกรองน้ำ เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ ตู้กดบริการเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ ห้องอ่านหนังสือรวม และบริการซักรีด อาคารหอพักโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เป็นหอพักสำหรับนักศึกษาในคณะกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ ตั้งแต่ฐานะชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป แบ่งเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งเอ สำหรับนักศึกษาหญิง และฝั่งบี สำหรับนักศึกษาชาย ประกอบไปด้วย ตู้เย็น ไมโครเวฟ โทรทัศน์สัญญาณจานดาวเทียม เครื่องทำน้ำร้อน–น้ำเย็น เครื่องกรองน้ำ เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ ตู้กดบริการเครื่องดื่ม โทรศัพท์สายตรงภายในหอ ฟรีอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย ห้องฟิตเนส อุปกรณ์กีฬา และห้องน้ำในตัว กลุ่มอาคารทียูโดม-โดมเพลส เป็นกลุ่มอาคารหอพักกลุ่มใหม่ของมหาวิทยาลัย โดยตัวกลุ่มอาคารอยู่ภายนอกมหาวิทยาลัย ฝั่งตรงข้ามประตูเชียงราก เครื่องใช้มาตรฐานในห้องพักเหมือนกับกลุ่มอาคารหอพักเอเชี่ยนเกมส์ แต่เพิ่มเติม โต๊ะเอนกประสงค์ โคมไฟ และมีสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ บริการหนังสือพิมพ์", "title": "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" }, { "docid": "779775#5", "text": "เป็นโรงเรียนประจำ นักเรียนต้องพักอาศัยอยู่ภายในหอพัก แยกชาย หญิง บริเวณโรงเรียนปฏิบัติตามกฎของหอพักอย่างเคร่งครัด และอนุญาตให้กลับบ้านได้ในวันเสาร์ อาทิตย์ โดยเป็นไปตามระเบียบของโรงเรียน มีผู้ดูแลหอพักชายและหญิง ผู้ดูและประจำชั้น ห้องพักเป็นห้องเดี่ยวพร้อมเครื่องปรับอากาศ Wi-Fi แต่ละชั้นมีตู้เย็น ตู้น้ำดื่ม โทรทัศน์ อาคารมี 2 ปีก แต่ละปีก มี 12 ห้อง 1 ปีกมี 2 ฝั่งๆละ 6 ห้อง รวมชั้นละ 24 คนต่อชั้น มีระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าออก ห้องน้ำเป็นห้องน้ำรวมชั้นละ 4 ห้องพร้อมเครื่องทำน้ำอุ่น", "title": "โรงเรียนกำเนิดวิทย์" }, { "docid": "201704#30", "text": "การทำความเย็นเป็นการถ่ายเทความร้อนภายในตู้เย็นออกไป ซึ่งเกิดจากเครื่องอัดไอ (compressor) ทำหน้าที่อัดแก๊สของสารทำความเย็น (Refrigerant substant) ให้เป็นของเหลวในคอยล์ร้อนหรือเครื่องควบแน่น(Conderser) จากนั้นส่งผ่านไปยังหลอดรูเล็ก (Capillary tube) และไปยังคอยล์ร้อนหรือเครื่องระเหย (evaporator) ทำให้ความดันของของเหลวลดลงจนเปลี่ยนสถานะจากแก็สกลายเป็นไอ ซึ่งของเหลวได้รับความร้อนแฝงจากวัตถุต่างๆที่อยู่ใกล้เครื่องระเหย โดยวิธี การนำความร้อน การพาความร้อน หรือการแผ่รังสี เพื่อทำให้อุณหภูมภายในตู้เย็นเย็นลง จากนั้นแก๊สความดันต่ำของสารทำความเย็นจะถูกดูดโดยเครื่องอัดไอและอัดออกไปยังเครื่องควบแน่น เพื่อถ่ายเทความร้อนออกไปจากระบบ ทำให้สารทำความเย็นจะเข้าไปรับความร้อนที่เครื่องระเหยใหม่อีกครั้ง อีกทั้งความเย็นจากสารทำความเย็นที่ดูดกลับมาบางส่วนสามารถนำมาช่วยในการระบายความร้อนให้กับเครื่องอัดไอ(compressor)การทำงานของระบบทำความเย็นนี้จะวนซ้ำไปเรื่อยเสมอ[8]", "title": "ตู้เย็น" }, { "docid": "2795#8", "text": "คบเพลิงแห่งเวลา ทำให้เห็นการไหลของเวลา ถ้าคุณใช้กับคนที่ไม่รู้คุณค่าของเวลา มันจะทำให้คนที่ไม่รู้คุณค่าของเวลากลับตัวได้ (ตอน เวลาไหลไปๆ) ครอบครัวเคลื่อนที่(ตราประทับ) ถูกทำเพื่อให้ท่านสามารถพูดคุยกับคนในครอบครัวได้ โดยนิ้วโป้งคือคุณพ่อ นิ้วชี้คือคุณแม่ นิ้วกลางคือพี่ชายหรือน้องชาย นิ้วนางคือพี่สาวหรือน้องสาว แต่ถ้าปั้มที่นิ้วก้อยจะเป็นตัวเอง ครีมตรงกันข้าม [1]ถ้าทาครีมนี้แล้ว เมื่อไปจับของที่ร้อน จะรู้สึกเย็น และถ้าเป็นของเย็น จะรู้สึกร้อน (ตอน หิมะร้อนร้อนจ้า) ครีมใต้ทะเลลึก [4,พิเศษ1] ทาครีมนี้ให้ทั่วตัว ไม่ว่าจะดำน้ำลงไปลึกแค่ไหน ตัวจะไม่ถูกกดตามแรงดันน้ำ ใช้กับน้ำเย็นก็ได้ (ตอน ผจญภัยใต้ทะเลลึก) ครีมมนุษย์หมาป่า [11] ถ้าทาครีมนี้แล้วเห็นของกลมๆ จะกลายเป็นมนุษย์หมาป่าทันที แต่ผ่านไปสักครู่หนึ่งก็หมดฤทธิ์ (ตอน ครีมมนุษย์หมาป่า) ครีมสัตว์เลี้ยง [37] ทาที่ก้อนหิน แล้วขัดดีๆ จะกลายเป็นสัตว์เลี้ยงของเราได้ ยิ่งขัดก็ยิ่งเชื่อง (ตอน เรื่องของก้อนหินที่น่ารัก) คลื่นเสียงสร้างชีวิต [43] ไม่มีข้อมูล(ตอน แจ็ค เบ็ตตี้ และเจอนี่) ค้อนขอพร เมื่อเคาะที่หัวแล้วขอพรจะได้ในสิ่งที่ต้องการ แต่มักจะมีผลข้างเคียงหรือผลลัพธ์ที่ไม่ค่อยน่าพอใจ (ตอน ค้อนขอพร) ค้อนตุ๊กตาต่อ ถ้าเอาค้อนนี้ไปทุบคน หรือสิ่งของ ส่วนนั้นก็จะแยกออกมา และสามารถต่อกลับเข้าไปเหมือนเดิมได้ (ตอน ก้นซึเนะโอะหายสาบสูญ) ค้อนเปลี่ยนขนาด เป็นหนึ่งในอุปกรณ์วิเศษชนิดหนึ่ง ถ้าชูลงที่ด้านสีชมพูจะเล็กลง ส่วนด้านสีฟ้าจะทำให้ใหญ่แบบปกติ ค้อนแบ่งภาค ใช้แบ่งร่างตามความต้องการของใจ ใช้หลัก \"แบ่งใจ แบ่งกาย\" ถ้าใจไม่ค่อยอยากจะทำ ร่างที่แบ่งออกมาจะมีสีจางกว่าร่างจริง ค้อนแยกร่าง เมื่อใช้ค้อนนี้เคาะที่ตัว จะประกฎร่างอีกร่างหนึ่งขึ้นมา ค้อนแห่งความหลัง [5] เมื่อทุบศีรษะแล้วความทรงจำจะปรากฏเป็นภาพขึ้นมาผ่านทางดวงตา (ตอน ค้อนแห่งความหลัง) คัตเตอร์ตัดวิว [42] สามารถตัดวิวที่เราชอบไปไว้ที่ไหนก็ได้ แต่ถ้าตัดรูปคน ก็จะเคลื่อนไหวเหมือนของจริง (ตอน คัตเตอร์ตัดวิว) คันเบ็ดยกของสบาย [38] หากคุณใช้สิ่งนี้เกี่ยวกับอะไรแล้วสามารถยกของสิ่งนั่นได้สบาย (ตอน คันเบ็ดยกของสบาย) คูปองสั่งหนังสืออนาคต สามารถสั่งซื้อหนังสือในอนาคตได้ เพียงแค่คุณเขียนหนังสือที่อยากได้ แล้วนำไปใส่ในตู้ไปรษณีย์ แล้วหนังสือที่เราอยากได้ก็จะส่งมาให้คุณ (ตอน คูปองหนังสืออนาคต) เครื่องเก็บและฉายภาพเงา สามารถดูเงาของใครก็ได้ ด้วยการดูดเงาของสิ่งของหรือคน แล้วนำมาฉายที่ผนัง (ตอน เครื่องเก็บและฉายภาพเงา) เครื่องแกะรอยผู้ส่งไปรษณีย์ [15] เครื่องนี้มีลักษณะเป็นตู้ไปรษณีย์ขนาดเล็ก แค่คุณนำจดหมายมาใส่ในช่อง สิ่งนี้จะช่วยบอกข้อมูลและที่อยู่ของผู้ส่งมาได้ มีประโยชน์มากในการใช้ตรวจสอบกับจดหมายที่ไม่ระบุที่อยู่อย่างชัดเจน เครื่องโกหกที่เป็นจริง [4] เป็นของวิเศษที่มีลักษณะเป็นปากแหลมๆ คล้ายปากนก ถ้านำมาติดที่ปาก ไม่ว่าจะพูดโกหกเรื่องอะไร ก็จะกลายเป็นความจริงไปหมดทุกเรื่อง (ตอน โกหกที่เป็นจริง) เครื่องกำเนิดไต้ฝุ่น [14] เครื่องนี้สามารถทำให้เกิดความกดอากาศต่ำเกิดเป็นพายุไต้ฝุ่น และยังสามารถควบคุมพายุในทิศทางที่ต้องการได้ (ตอน เครื่องกำเนิดไต้ฝุ่น) เครื่องค้นหาภาพนึกคิด เพียงนำสายคาดไปคาดบนศีรษะ เมื่อคิดสิ่งของที่หายแล้ว จะมีการบอกว่าสิ่งของนั้นๆ อยู่ที่ไหน เครื่องควบคุมกล้ามเนื้อ ให้ยิงเครื่องรับสัญญาณไปที่ผู้รับ จากนั้นสวมแผงควบคุมไว้บนศีรษะเรา ผู้รับสัญญาณจะเคลื่อนไหวตามที่เราคิดไว้เหมือนกัน เครื่องควบคุมประสาทการเคลื่อนไหว [42] ไม่มีข้อมูล(ตอน เครื่องควบคุมประสาทการเคลื่อนไหว) เครื่องจองล่วงหน้า (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นแรกๆ นั้น เรียกว่า \"เครื่องสั่งจอง\") ถ้าอยากจองของที่ต้องการหรืออยากทำอะไรล่วงหน้า ให้เขียนไว้ในบัตร แล้วใส่ในเครื่องนี้ (ตอน โดรายากิและภาพยนตร์จองไว้แล้ว) เครื่องฉายภาพตัดขวาง [36] ไม่มีข้อมูล(ตอน เครื่องฉายภาพถ่ายรังสี) เครื่องซักผ้าหอมสะอาด ไม่ใช้ผงซักฝอก หรือน้ำยาปรับผ้านุ่ม หากใส่เสื้อผ้าสกปรกลงไปในเครื่อง ก็จะหอม และสะอาด เครื่องดื่มช่างไม้ ถ้าดื่มเข้าไปแล้ว มือกับนิ้วจะกลายเป็นเครื่องมือช่างไม้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือ เครื่องดื่มแดนร้าง หากใครดื่มแล้ว จะไม่มีใครอยู่รอบคุณเลย [38](ตอน เครื่องดื่มแดนร้าง) เครื่องดูดฝน ในวันฝนตก ถ้าใช้เครื่องนี้ มันจะดูดฝนที่ตกลงมา รอบๆ ตัวเราไปหมด ทีนี้เราก็ไม่เปียกฝนแล้ว เครื่องดูดเมฆ ถ้าผูกไว้กับตัว ก็จะดูดเมฆไปหมดประดุจเครื่องดูดฝุ่น เครื่องตรวจวัดอายุ ถ้าหากชี้ไปที่ใคร เราจะรู้ถึงอายุของสิ่งของ สถานที่ สัตว์หรือคนทันที เครื่องทดสอบความฝัน [พิเศษ 2] เรื่องนี้สามารถวิ่งและหยิกแก้มเราไปพร้อมๆ กัน เพื่อทดสอบว่า \"ไม่ได้ฝันไป\" เครื่องทำไข่ เครื่องนี้จะทำให้ของทุกอย่างที่ใส่ลงไปในช่องรับไข่กลายเป็นไข่ เครื่องทำเมฆ ของวิเศษที่สามารถทำเมฆได้ โดยขึ้นโครงลวด สามารถดัดเป็นรูปอะไรก็ได้ตามที่ต้องการ แล้วนำปุยเมฆซึ่งมีลักษณะเป็นลูกกลมๆ ใส่ลงไปในเครื่องทำเมฆแล้วนำมาพ่นที่โครง โครงลวดที่ดัดไว้จะมีปุยเมฆมาห่อหุ้ม เหมือนเมฆที่อยู่บนท้องฟ้า เราสามารถที่จะนั่งอยู่บนก้อนเมฆได้ ถ้าต้องการให้เมฆลอยก็ติดใบพัดไว้ เมฆก็จะลอยได้ (ตอน เมฆที่สร้างด้วยมือสนุกเนอะ) เครื่องทำหุ่นยนต์ ถ้าติดของวิเศษชิ้นนี้ไว้ที่สิ่งของใด สิ่งนั้นจะกลายเป็นหุ่นยนต์ทันที (ตอน การจลาจลของเครื่องทำหุ่นยนต์) เครื่องทำให้รู้คุณค่า ถ้ากดปุ่มสีแดงแล้วพูดอะไรก็ได้ จะทำให้เรารู้ถึงคุณค่าของสิ่งนั้นๆ เช่น ถ้าพูดว่า \"อาหาร\" ก็จะทำให้อดอาหารจนรู้คุณค่า ถ้าอยากจะหยุด ก็กดปุ่มสีขาว (ตอน เครื่องทำให้รู้คุณค่า) เครื่องบรรลุความหวัง [42] เพียงพูดสิ่งที่เราต้องการให้เป็นจริงกับเครื่องนี้ แล้วหมุนปรับระดับความหวัง (มีตั้งแต่ความหวังต่ำถึงความหวังสูง) เครื่องนี้จะทำให้ความฝันและ/หรือความต้องการของเราเป็นจริง แต่ถ้าให้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าพอใจสำหรับคุณแล้วล่ะก็ สามารถแก้ไขด้วยการปรับระดับให้ลดลงหรือสูงขึ้นได้ (ตอน ทำเกินไปแล้ว! เครื่องบรรลุความหวัง) เครื่องบันทึกประสบการณ์ [31] ไม่มีข้อมูล(ตอน สนุกด้วยเครื่องบันทึกประสบการณ์) เครื่องประดิษฐ์ [30] เป็นเครื่องที่สอนเราสร้างเครื่องมือตามที่เราต้องการ โดยแค่พูดว่าอยากได้เครื่องมืออะไร ก็จะมีคู่มือการทำออกมาให้ (ตอน ประดิษฐ์ด้วยเครื่องประดิษฐ์) เครื่องปรับความสูง ถ้าใช้เครื่องนี้ละก็ จะปรับความสูงให้เราอยู่สูงเท่าไรก็ได้ แล้วเราก็จะมองเห็นสิ่งที่อยู่ข้างล่างทั้งหมด เครื่องปริ๊นท์เอนกประสงค์ [43] ไม่มีข้อมูล เครื่องปรุงสร้างผลิตภัณฑ์จากน้ำ [23] ไม่มีข้อมูล(ตอน เครื่องปรุงสร้างผลิตภัณฑ์จากน้ำ) เครื่องเปลี่ยนความรู้สึกของบ้าน [31]เมื่อนำแผ่นอารมณ์ใดใส่ลงไปในเครี่อง บ้านก็จะเปลี่ยนไปตามอารมณ์นั้น (ตอน บ้านสุขสำราญพานทุกข์) เครื่องเปลี่ยนเป็นของเล่นแกล้งคน [36] ไม่มีข้อมูล(ตอน เครื่องเปลี่ยนเป็นของเล่นแกล้งคน) เครื่องปั๊มร่างกาย [12] ทำให้ร่างกายบางส่วนพองใหญ่ขึ้นได้ เมื่อเอาออกก็จะแฟบลงทันที (ตอน ยักษ์ออกมาแล้ว) เครื่องเปลี่ยนวิวฝาผนัง [31] ถ้ากดสวิตซ์ ก็จะมีวิวขึ้นมาเอง (ตอน เครื่องเปลี่ยนวิวที่ฝาผนัง) เครื่องเปลี่ยนวิวหน้าต่าง ภาพที่เห็นจากหน้าต่างบ้านอื่นๆ สามารถดูได้จากหน้าต่างบานนี้ ไม่ว่าที่ไหนจากหน้าแบบใดก็ดูได้ (ตอน บอกลากับกระจก) เครื่องแปลงเป็นระบบเครื่องกล เป็นเครื่องที่สามารถเลือกบุคคลใดบุคคลหนึ่งมาเป็นเครื่องกลที่กำหนดได้ (ปรากฏในรวมเล่มฉบับที่ 29) (ตอน เครื่องแปลงเป็นระบบเครื่องกล) เครื่องผลิตก้อนอากาศ (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นแรกๆ นั้น เรียกว่า \"เครื่องสร้างบล็อกอากาศ\")เครื่องนี้จะช่วยอัดอากาศให้เป็นก้อน มีฤทธิ์แค่ 1 ชั่วโมงเท่านั้น เครื่องผลิตลูกอมเส้นเสียง พออัดเสียงเข้าไป ก็จะกลายเป็นลูกอมออกมา ถ้าอมเข้าไป เราก็จะพูดเป็นเสียงของคนๆ นั้น (ตอน อมลูกอมแล้วกลายเป็นนักร้องซะเลย) เครื่องเผชิญหน้ากับสิ่งที่ไม่รู้ (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นแรกๆ นั้น เรียกว่า \"เครื่องเผชิญหน้าสิ่งที่ไม่คาดฝัน\") มนุษย์ต่างดาวที่ได้รับสัญญาณซึ่งออกจากเครื่องนี้ไป ไม่ว่าจะอยู่ไกลแค่ไหน UFO จะบินมา แต่ถ้าหากเรียกมาโดยไม่มีธุรกิจอาจจะเกิดสงครามอวกาศได้ (ตอน เครื่องเผชิญกับสิ่งที่ไม่รู้) เครื่องฝึกหลบภัย [11] เครื่องนี้มีไว้สำหรับซ้อมการหนีภัยที่กำลังจะมาถึง (ตอน เครื่องฝึกหลบภัย) เครื่องพิมพ์พลังสูง เป็นของวิเศษที่สามารถตกแต่ง ดัดแปลง และสั่งพิมพ์ภาพถ่ายได้ตามใจนึก (ตอน เครื่องพิมพ์พลังสูง) เครื่องเพาะโคลน ใช้สำหรับการก๊อบปี้สิ่งมีชีวิต โดยอาศัยตัวอย่างจากร่างต้นแบบ (ตอน ไจแอนท์เด็กดี นอนเสียนะ) เครื่องร่อนรุ่นเล็ก [30] เป็นเครื่องร่อนที่แม้แต่เด็กเล็กก็เล่นได้อย่างปลอดภัย (ตอน เครื่องร่อนรุ่นเล็ก) เครื่องรับซื้อของคืนอัตโนมัติ [29] เมื่อใส่สิ่งของเข้าไป เครื่องจะตีราคาออกมาเป็นเงิน (ตอน เครื่องรับซื้อของคืนอัตโนมัติ) เครื่องรางช่วยลูกช้างด้วย ไม่มีข้อมูล เครื่องเล่นเกมของจริง ใช้สำหรับเล่นเกมกับคนจริงๆ คนที่โดนใช้จะกลายเป็นเกมให้คุณเล่น (ตอน เครื่องเล่นเกมของจริง) เครื่องเล่นฝัน [38] เมื่อใส่เทปไปในเครื่องแล้วนอนลงจะฝันเห็นเรื่องแบบนั้น มีเทปวิดีโอหลายชนิด เช่น หนังคาวบอย และอื่นๆอีกมาก (ตอน เครื่องเล่นฝัน) เครื่องวาดภาพทุกเวลาทุกสถานที่ [41] ไม่มีข้อมูล(ตอน เครื่องวาดภาพทุกเวลาทุกสถานที่) เครื่องส่งก๊อปปี้ [29] ไม่มีข้อมูล(ตอน ซึบาซะจังมาที่บ้าน) เครื่องส่งคลื่นเขย่าประสาท เป็นเครื่องที่ใช้เสียงในการทำให้ปลวก ตัวเห็บ แมลงสาบ ออกไปจากบ้าน (ตอน เครื่องส่งคลื่นเขย่าประสาท) เครื่องส่งพลังชั้นสาย หรือ แว่นตา คือของวิเศษชนิดหนึ่งที่สามารถมีพลังมากกว่าคนอื่นเป็น 100 เท่า (ปรากฏเห็นครั้งแรกในโดราเอมอน ชุดโดเรมี ตอน ออโรร่า ย้อนอตีด เปลี่ยนประวัติศาสตร์) เครื่องสปาย [1] มีลูกตา และหูที่สามารถลอยไปสอดแนมเป้าหมายที่ต้องการได้ในระยะไกล และนำภาพและเสียงกลับมายังมอนิเตอร์รูปหัวคน (ตอน แผนสปายลับสุดยอด) เครื่องสร้างคลื่นรบกวน ถูกผลิตเพื่อไล่หนู แมลงสาบได้ แต่ต้องใช้เสียงดังในการกำจัด เช่น เสียงเพลงของไจแอนท์ เครื่องสอดใส่ตัวแสดงนำ ถ้ากดสวิตช์ไปที่ตัวแสดงนำของเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น นิตยสาร การ์ตูน หรือข่าว เราก็สามารถเป็นตัวนำได้ (ตอน เครื่องสอดใส่ตัวแสดงนำ) เครื่องสัญญารับล่วงหน้า [พิเศษ 3] ถ้าสัญญาไว้กับเครื่องนี้ ก็สามารถแสดงผลลัพธ์ให้ได้ก่อนล่วงหน้า แต่ต้องทำตามสัญญาด้วย เช่น ถ้าคืนนี้สัญญาว่าพรุ่งนี้จะต้องได้กินข้าวแน่ คืนนี้ขอให้อิ่มก่อน เราก็จะอิ่ม เมื่อถึงพรุ่งนี้ เราก็ต้องกินข้าวในส่วนของเมื่อวานด้วย เครื่องสั่งของทางโทรศัพท์ [30] ถ้าติดไว้ที่หูโทรคัพท์(ด้านที่พูด) จะสามารถส่งของไปยังผู้รับ หรือจะรับของจากผู้ส่งผ่านทางโทรศัพท์ได้ (ตอน คนโทรศัพท์กวนเมืองกลางดึก) เครื่องสั่นคลอนความมั่นใจ [37] ไม่มีข้อมูล(ตอน เครื่องสั่นคลอนความมั่นใจ) เครื่องสับเปลี่ยนที่ ใช้ชอล์กขีดเป็นรูปวงกลม แล้วใช้เครื่องนี้หาสถานที่ที่ต้องจะสับเปลี่ยน จากนั้นกดปุ่ม แล้วภายในวงกลมที่เราขีดไว้จะเป็นสถานที่เราเลือกแทน เครื่องสับเปลี่ยนร่าง [11] ใช้สลับร่างกายบางส่วนของคนสองคนได้ เช่น หัว มือ หรือขา (ตอน เล่นสับเปลี่ยนชิ้นส่วนของร่างกาย) เครื่องสารพัดดูด [42] ไม่มีข้อมูล(ตอน เครื่องสารพัดดูด) เครื่องหมายบอกยศ เป็นเครื่องหมายที่ใช้บอกยศของคนที่ติด คนที่ยศต่ำกว่าเราจะไม่กล้าหาเรื่องแน่นอน (ตอน เครื่องหมายบอกยศ) เครื่องหมายห้าม ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ห้ามไม่ให้ทำได้ แค่เขียนสิ่งที่จะห้ามลงไปแล้วปักไว้ (ตอน เครื่องหมายห้าม) เคสหลับไปทำไป [38]เขียนเรื่องที่จะทำใส่กระดาษแล้วใส่ในเคสสอดใต้หมอนก็จะละเมอทำเรื่องนั้น (ตอน เคสหลับไปทำไป) แคตตาล็อกห้องตามสั่ง ภายในแคตตาล๊อกมีห้องต่างๆ ให้เลือกตามชอบ มีประตูกระดาษและประตูเชื่อมต่อห้อง สามารถจำกัดห้องและคนได้(ตอน แคตตาล็อกห้องตามสั่ง) แคปซูลกาลเวลา ใส่อะไรลงไปไม่ว่าจะผ่านไปนานเท่าไร ก็ยังคงเหมือนเดิม แคปซูลแคมป์ปิคนิค [พิเศษ 1] พอปักลงในพื้นดิน จะกลายเป็นที่พักสำหรับแคมป์ ข้างในจัดไว้พร้อมสรรพ แคปซูลลูกข่าง [พิเศษ 2] สามารถใช้อำพรางตัวได้ บังคับให้กลิ้งโดยควบคุมความเร็วได้ และห้องควบคุมภายในไม่หมุนตามไปด้วย แคมปิ้งเซ็ตรูปบ้านนก เป็นบ้านนกขนาดเล็ก มาพร้อมกับลิฟต์เมื่อขึ้นแล้วตัวเราจะเล็กลง นำมาใช้ครั้งแรกในโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ ตอน โนบิตะและอัศวินแดนวิหค", "title": "รายชื่อของวิเศษของโดราเอมอน" }, { "docid": "201704#13", "text": "ตู้เย็นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่กินไฟมาก (เกือบจะมากที่สุด รองจากเครื่องปรับอากาศ) ในช่วงยี่สิบปีมานี้มีการแข่งขันของผู้ผลิตในการพัฒนาตู้เย็นประหยัดไฟมากขึ้น ตู้เย็นที่มีคุณภาพดีในปัจจุบันกินไฟประมาณ 1 ยูนิต (กิโลวัตต์-ชั่วโมง) ต่อวัน สำหรับตู้เย็นหรือเครื่องทำน้ำแข็งขนาดใหญ่อาจกินไฟถึง 4 ยูนิตต่อวัน", "title": "ตู้เย็น" }, { "docid": "201704#1", "text": "ช่องแช่แข็งของตู้เย็นที่ขายอยู่ทั่วไปมีอุณหภูมิประมาณ -18°C (ประมาณ 0°F) สำหรับตู้เย็นที่ใช้ในบ้านมักมีช่องธรรมดาและช่องแช่แข็งรวมกัน และมักใช้เครื่องทำความเย็นร่วมกัน (บางครั้งก็แยกกัน) ตู้เย็นรุ่นใหม่ ๆ มักมีเครื่องทำน้ำแข็งติดตั้งมาพร้อมกัน", "title": "ตู้เย็น" }, { "docid": "523779#1", "text": "แอลจีถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2501 ในนาม โกลสตาร์ (GoldStar) ผลิตสินค้าอิเล็คทรอนิกส์หลายหลายชนิด อาทิ วิทยุ, โทรทัศน์, ตู้เย็น, เครื่องซักผ้า, และเครื่องปรับอากาศ หรือแอร์ ต่อเกิดการควบรวมกิจการกันระหว่างบริษัท ลัคกี้ (Lucky) กับบริษํทโกลสตาร์ (GoldStar) และได้ตั้งชื่อบริษัทขึ้นใหม่โดยใช้อักษรตัวแรกของทั้งสองบริษัทมารวมกัน จึงได้ชื่อ LG กล่าวกันว่าในปี 2552 แอลจีทุ่มเงินไปกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อชื่อโดเมน LG.com ในปี 2549 แอลจีได้ก้าวขึ้นมาเป็นแบรนด์ชั้นนำระดับโลก มีการบันทึกการเติบโตของแบรนด์ถึง 14 เปอร์เซ็นต์ ในปัจจุบัน แอลจีเป็นผู้ผลิตจอภาพพลาสมาอันดับหนึ่งของโลก ด้านล่างแสดงข้อมูลประวัติแอลจีไล่เลียงตามปีพุทธศุกราช", "title": "แอลจี อีเลคทรอนิคส์" }, { "docid": "201704#22", "text": "ไม่ควรวางตู้เย็นใกล้ผนังเกินไป เพราะทำให้ระบายความร้อนได้ไม่ดี ไม่ควรวางตู้เย็นหรือเครื่องทำน้ำเย็นไว้ในห้องปรับอากาศ เพราะทำให้เสียค่าไฟสองต่อ โดยตู้เย็นดูดความร้อนเป่าออกมาหลังเครื่องทำให้ห้องร้อนขึ้น]]", "title": "ตู้เย็น" }, { "docid": "201704#11", "text": "ในปัจจุบันประชาชนหันมาสนใจการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น แก๊สฟรีออน (freon) โดยมีส่วนของซีเอฟซี (chlorofluorocarbons, CFCs) ที่ทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศ ตู้เย็นรุ่นเก่าส่วนใหญ่ใช้แก๊สฟรีออนซึ่งมักรั่วออกสู่บรรยากาศ (สังเกตง่าย ๆ ได้จากการที่ต้องเติมน้ำยาทำความเย็นของตู้เย็น หรือน้ำยาแอร์ในเครื่องปรับอากาศ) ตู้เย็นรุ่นใหม่มักใช้สารทำความเย็นที่ไม่มีส่วนของซีเอฟซี เช่น HFC-134a (1,2,2,2-tetrafluoroethane) ซึ่งไม่ทำลายชั้นโอโซน", "title": "ตู้เย็น" }, { "docid": "201704#6", "text": "ตู้เย็นทำความเย็นโดยปั๊มความร้อนในการทำความเย็น โดยในแต่ละรอบของการทำความเย็น สารทำความเย็นเช่น R134a เข้าไปในเครื่องอัดความดันหรือที่เรียกกันว่าคอมเพรสเซอร์ (compressor) ที่มีความดันต่ำอุณหภูมิที่จุดเดือด แล้วอัดไอนั้น พออัดจนมีความดันสูงไอก็จะร้อน (สังเกตจากเวลาสูบลมจักรยาน) ไอร้อนความดันสูงเข้าไปในเครื่องควบแน่น (condenser) แล้วออกมาเป็นของเหลวความดันสูงที่จุดเดือด หลังจากนั้นก็ไปที่แผงระบายความร้อน สารทำความเย็นที่เป็นของเหลวอุณหภูมิเย็นลงแล้วไหลไปที่ใกล้กับส่วนที่ต้องการให้เย็น ความดันลดลงอย่างรวดเร็ว กลายเป็นก๊าซอุณหภูมิต่ำ (เหมือนเวลาปล่อยลมออกจากล้อจักรยาน แล้วก็ไหลไปเป็นวงจรเรื่อย ๆ", "title": "ตู้เย็น" }, { "docid": "3648#22", "text": "สินค้าออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ ทองแดงและของที่ทำด้วยทองแดง กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ", "title": "ประเทศอียิปต์" }, { "docid": "478101#1", "text": "รถตู้ใหญ่สามารถดัดแปลงให้มีฉนวนและเครื่องทำความเย็น เพื่อใช้บรรทุกสินค้าที่อาจบูดเสียได้ง่าย เนื่องจากรถตู้ใหญ่ไม่สามารถถอดตู้ออกจากตัวแคร่ได้ ทำให้ในปัจจุบันนิยมขนส่งสินค้าโดยใช้ตู้สินค้าซึ่งยกไปมาระหว่างรถบรรทุกและรถข้างโถงบรรทุกตู้สินค้าได้ อย่างไรก็ตามรถตู้ใหญ่ยังมีความสำคัญในด้านการขนส่งสินค้าชิ้นเล็ก สินค้าเกษตรและอุปกรณ์การบำรุงทางรถไฟ", "title": "รถตู้ใหญ่" } ]
2003
ไข้แตกต่างจากภาวะตัวร้อนเกินที่ควบคุมไม่ได้ใช่หรือไม่?
[ { "docid": "314074#2", "text": "ไข้แตกต่างจากภาวะตัวร้อนเกินที่ควบคุมไม่ได้ (uncontrolled hyperthermia) โดยภาวะตัวร้อนเกินเป็นการเพิ่มของอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าอุณหภูมิเป้าหมายที่ร่างกายพยายามรักษาให้คงที่ สาเหตุเกิดจากการสร้างความร้อนของร่างกายมากเกินปกติ และ/หรือการปรับอุณหภูมิของร่างกายที่ไม่เพียงพอ", "title": "ไข้" }, { "docid": "314074#10", "text": "การติดเชื้อเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของไข้ ในขณะที่อุณหภูมิสูงขึ้นสาเหตุอื่นจะยิ่งพบบ่อยมากขึ้น การติดเชื้อที่มักพบเกี่ยวกับไข้สูงเกิน ได้แก่ เอ็กแซนทีมา ซับบิตัม (Exanthema subitum), หัด (rubeola), และการติดเชื้อไวรัสลำไส้ (enterovirus) การลดอุณหภูมิร่างกายทันทีให้ต่ำกว่า 38.9 °C (102.0 °F) พบว่าช่วยเพิ่มอัตรารอดชีวิต ไข้สูงเกินแตกต่างจากภาวะตัวร้อนเกิน กล่าวคือในไข้สูงเกินกลไกการควบคุมอุณหภูมิร่างกายยังมีการตั้งอุณหภูมิเป้าหมายที่สูงกว่าอุณหภูมิร่างกายปกติ จึงทำให้ร่างกายต้องสร้างความร้อนเพื่อให้ไปถึงอุณหภูมิที่ตั้งไว้ แต่ภาวะตัวร้อนเกินอุณหภูมิร่างกายจะสูงจนเกินอุณหภูมิเป้าหมายที่ร่างกายตั้งไว้", "title": "ไข้" } ]
[ { "docid": "339822#1", "text": "สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดคือเป็นลมเพราะความร้อนและผลข้างเคียงจากยา การเป็นลมเพราะความร้อนเป็นภาวะตัวร้อนเกินเฉียบพลันเกิดจากการได้รับความร้อนหรือทั้งความร้อนและความชื้นที่มากเกิน ทำให้กลไกการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายทำงานไม่ไหวและไม่สามารถรับมือกับความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นอย่างควบคุมไม่ได้ นอกจากนี้ภาวะตัวร้อนเกินยังเป็นผลข้างเคียงจากยาที่พบได้ไม่บ่อย โดยเฉพาะในยาที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ไข้สูงอย่างร้ายเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยในยาสลบบางประเภท", "title": "ภาวะไข้สูง" }, { "docid": "314074#16", "text": "ตรงข้ามกับภาวะตัวร้อนเกิน ซึ่งอุณหภูมิเป้าหมายของร่างกายยังคงปกติที่เดิม และร่างกายมีความร้อนสูงมากเกินจากกลไกการกักเก็บความร้อนส่วนเกินที่ไม่พึงประสงค์และการสร้างความร้อนที่มากเกิน ภาวะตัวร้อนเกินมักเป็นผลจากการอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ร้อนเกิน (เป็นลมเพราะความร้อน) หรือปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากยา ไข้สามารถแยกได้จากภาวะตัวร้อนเกินจากสภาวะแวดล้อมรอบตัวและการตอบสนองต่อยาลดไข้", "title": "ไข้" }, { "docid": "760831#1", "text": "ภาวะตัวเย็นเกินมีสองสาเหตุหลัก สาเหตุตรงต้นแบบเกิดจากการได้รับความเย็นสุดขีด อาจเกิดจากภาวะใด ๆ ซึ่งลดการผลิตความร้อนหรือเพิ่มการเสียความร้อน โดยทั่วไปมีภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ แต่ยังมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะเบื่ออาหาร และสูงอายุ เป็นต้น ปกติร่างกายรักษาอุณหภูมิกายไว้ใกล้ระดับคงที่ 36.5–37.5 °C โดยอาศัยการปรับอุณหภูมิกาย หากอุณหภูมิกายต่ำลง จะมีความพยายามเพื่อเพิ่มอุณหภูมิกาย เช่น สั่น มีกิจกรรมใต้อำนาจจิตใจที่เพิ่มขึ้นและสวมเครื่องนุ่งห่มอบอุ่น อาจวินิจฉัยภาวะตัวเย็นเกินได้จากอาการของบุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือโดยการวัดอุณหภูมิกายของบุคคล", "title": "ภาวะตัวเย็นเกิน" }, { "docid": "568200#13", "text": "ปรากฏการณ์นี้แสดงให้เห็นถึงกระบวนการบางอย่างในสมอง คือ แม้ว่าระบบสายตาที่ซับซ้อนจะเกิดความเสียหายแล้ว คนไข้ยังสามารถใช้ระบบสายตาที่ง่าย ๆ เพื่อนำทางการเคลื่อนไหวของมือ ไปสู่วัตถุตัวกระตุ้น ถึงจะไม่สามารถเห็นว่ากำลังเข้าไปคว้าจับอะไร ดังนั้น ข้อมูลทางตาสามารถควบคุมพฤติกรรมโดยที่ไม่ต้องก่อให้เกิดความรู้สึกคือการเห็น สมรรถภาพในการเห็นที่ไม่มีการรับรู้ของผู้มีสภาวะนี้ บอกเป็นนัยว่า การรับรู้ไม่ใช่เป็นคุณสมบัติหรือองค์ประกอบที่จำเป็นในทุก ๆ เขตภายในสมอง และบอกเป็นนัยว่า เขตบางเขตเท่านั้นในสมองมีบทบาทสำคัญในการรับรู้สิ่งเร้า", "title": "สภาวะเห็นทั้งบอด" }, { "docid": "339822#0", "text": "ภาวะตัวร้อนเกิน หรือ ภาวะไข้สูง () เป็นการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิร่างกายเนื่องจากระบบการปรับอุณหภูมิกายล้มเหลว ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อร่างกายสร้างหรือได้รับความร้อนมากเกินกว่าที่สูญเสียไป เมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงมากเกินพอ ภาวะตัวร้อนเกินเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และต้องการการรักษาทันทีเพื่อป้องกันความพิการและการเสียชีวิตที่อาจตามมา", "title": "ภาวะไข้สูง" }, { "docid": "737349#0", "text": "โรคลมเหตุร้อนหรืออาการเป็นลมเพราะความร้อน () เป็นอาการเจ็บป่วยจากความร้อนแบบรุนแรงอย่างหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีอุณหภูมิกายสูงเกิน 40.6 องศาเซลเซียส จากการได้รับความร้อนจากสิ่งแวดล้อม โดยสูญเสียการควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย ภาวะนี้แตกต่างจากไข้ ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการทางสรีรวิทยาในร่างกายที่เพิ่มจุดควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้สูงขึ้น ในภาษาอังกฤษเรียกภาวะนี้ว่า heat stroke ซึ่งคำว่า stroke ในที่นี้เป็นการใช้คำผิดความหมาย โรคนี้ไม่มีความสัมพันธ์กับการขาดเลือดหรือการตกเลือดในสมอง (stroke)", "title": "โรคลมเหตุร้อน" }, { "docid": "969346#5", "text": "กระบวนการปรับการตอบสนองของประสาทที่สำคัญต่อการได้ยินเชื่อว่า จะทำงานบิดเบือนไปเมื่อได้รับข้อมูลเสียงที่ผิดปกติจากหูชั้นใน\nซึ่งเกิดขึ้นเมื่อหูชั้นในเสียหายและมีผลให้เสียการได้ยิน\nวิธีการตรวจสอบพื้นฐานจะคล้าย ๆ กับการตรวจการได้ยินธรรมดา (audiogram)\nแต่ที่ต่างก็คือนอกจากกจะวัดขีดเริ่มเปลี่ยนการได้ยินที่เสียงความถี่ต่าง ๆ ก็ยังวัดระดับเสียงดังที่ทำให้รู้สึกไม่สบายที่ความถี่เหล่านั้นด้วย\nเป็นระดับที่เรียกว่า \"loudness discomfort level\" (LDL, ระดับความดังที่รู้สึกไม่สบาย) หรือ \"uncomfortable loudness level\" (ULL)\nในคนไข้อาการหูไวเกิน ระดับนี้จะต่ำกว่าคนปกติพอสมควร และปกติจะเป็นตลอดพิสัยการได้ยินโดยมาก", "title": "ภาวะหูไวเกิน" }, { "docid": "24465#29", "text": "เมื่อถึงระยะฟื้นตัวแพทย์จะหยุดให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเพื่อป้องกันภาวะสารน้ำเกิน ถ้าเกิดมีภาวะสารน้ำเกินขึ้นโดยที่อาการและสัญญาณชีพอื่น ๆ ปกติ การหยุดสารน้ำเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอโดยไม่ต้องให้ยาขับสารน้ำออก ทั้งนี้แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาขับปัสสาวะ เช่น ฟูโรซีไมด์ เพื่อกำจัดของเหลวส่วนเกินออกได้ หากไม่ได้อยู่ในระยะวิกฤต", "title": "ไข้เด็งกี" }, { "docid": "314074#15", "text": "ไฮโปทาลามัสทำงานคล้ายเทอร์มอสแตตของร่างกาย เมื่ออุณหภูมิเป้าหมายที่ร่างกายพยายามรักษาสูงขึ้น ร่างกายจะพยายามเพิ่มอุณหภูมิทั้งโดยการสร้างความร้อนขึ้นและการกักเก็บความร้อนในร่างกาย การหดตัวของหลอดเลือดมีบทบาททั้งลดการสูญเสียความร้อนออกทางผิวหนังและทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหนาว ตับช่วยสร้างพลังงานเพิ่ม ซึ่งหากกลไกดังกล่าวยังไม่เพียงพอที่ทำให้อุณหภูมิของเลือดในสมองสูงจนเท่ากับอุณหภูมิเป้าหมายในไฮโปทาลามัส ผู้ป่วยจะเริ่มหนาวสั่นเพื่อเป็นการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเพื่อช่วยผลิตความร้อนเพิ่ม เมื่ออาการไข้หยุดอุณหภูมิเป้าหมายของไฮโปทาลามัสจะลดลง แล้วกระบวนการในร่างกายจะย้อนกลับทาง กล่าวคือหลอดเลือดขยายตัว ร่างกายหยุดกระบวนการสร้างความร้อนและหยุดสั่น และมีเหงื่อออกเพื่อทำให้ร่างกายเย็นลงเพื่อให้ถึงอุณหภูมิเป้าหมายใหม่ที่ลดลง", "title": "ไข้" }, { "docid": "314074#0", "text": "ไข้ หรือ อาการตัวร้อน () เป็นอาการแสดงทางการแพทย์ที่พบบ่อย หมายถึงการเพิ่มของอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าค่าปกติคือ 36.5–37.5 °C (98–100 °F) อันเป็นผลจากการปรับสูงขึ้นของอุณหภูมิเป้าหมายที่ร่างกายพยายามรักษาให้คงที่ การสูงขึ้นของอุณหภูมิเป้าหมายนี้กระตุ้นให้ความตึงตัวของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นและสั่นสะท้าน", "title": "ไข้" } ]
2843
ปฏิญญากรุงเทพมายถึงอะไร?
[ { "docid": "220118#0", "text": "ปฏิญญาอาเซียน (English: ASEAN Declaration) หรือ ปฏิญญากรุงเทพฯ (English: Bangkok Declaration) เป็นเอกสารในการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้รับการลงนาม ณ กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยในขณะนั้นมีสมาชิกผู้ก่อตั้งจำนวน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซียและฟิลิปปินส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสกัดการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเวียดนาม โดยกำหนดหลักการเบื้องต้นของอาเซียน อย่างเช่น การร่วมมือกัน มิตรภาพและการไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวต่อสถานการณ์ภายในประเทศสมาชิกทั้งหมด[1] วันดังกล่าวมีการจัดการเฉลิมฉลองเป็น วันอาเซียน[2]", "title": "ปฏิญญากรุงเทพฯ" } ]
[ { "docid": "393340#0", "text": "ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิม () ผ่านโดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติระหว่างสมัยประชุมที่ 62 ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติในนครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2550 ", "title": "ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง" }, { "docid": "413548#0", "text": "ปฏิญญาร่วมจีน-อังกฤษ หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ปฏิญญาร่วมของรัฐบาลสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยปัญหาฮ่องกง ลงนามโดยนายกรัฐมนตรีจ้าว จื่อหยางและมาร์กาเรต แทตเชอร์ แห่งรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2527 ในกรุงปักกิ่ง", "title": "ปฏิญญาร่วมจีน-อังกฤษ" }, { "docid": "393340#2", "text": "ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิมแถลงสิทธิปัจเจกและสิทธิร่วมของปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิม เช่นเดียวกับสิทธิในวัฒนธรรม อัตลักษณ์ ภาษา การจ้างงาน สาธารณสุข การศึกษาและประเด็นอื่น ปฏิญญาฯ ยัง \"ให้ความสำคัญแก่สิทธิปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิมในการธำรงรักษาและเสริมสร้างสถาบัน วัฒนธรรมและประเพณีของตน และเพื่อติดตามการพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการและความปรารถนาของพวกเขาเอง\" มัน \"ห้ามการเลือกปฏิบัติต่อปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิม\" และยัง \"สนับสนุนการมีส่วนอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพวกเขา และสิทธิของพวกเขาในการคงความแตกต่าง และติดตามวิสัยทัศน์ด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของพวกเขาเอง\" ", "title": "ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง" }, { "docid": "878887#2", "text": "ในวันที่ดนตร์ทะเลาะกับลิตาอย่างหนักที่หัวหินบวกกับมีงานด่วนเข้ามา เขาจึงตัดสินใจกลับกรุงเทพ เพื่อเคลียร์ปัญหาเรื่องงาน มายด์รู้ข่าวจึงชวนดนตร์ไปทานข้าวที่คอนโด ดนตร์ตัดสินใจไปเพราะลึกๆ แล้ว เขาอยากทำความรู้จักกับมายด์มากขึ้น ในที่สุดคืนนั้นดนตร์ก็เผลอใจมีสัมพันธ์กับมายด์ นั่นคือครั้งแรกที่ดนตร์นอกใจลิตา จนเขารู้สึกผิดมาก แต่มายด์กลับบอกดนตร์ว่า เธอรู้กติกาดีขอเพียงดนตร์ไม่ทิ้งเธอไปก็พอ ดนตร์รู้สึกใจชื้นขึ้นบ้าง แต่แล้วเหตุการณ์กลับไม่เป็นอย่างที่คิด เพราะมายด์เริ่มไม่พอใจ และเรียกร้องมากขึ้นเกินกว่าที่เขาจะให้ได้ ดนตร์ตัดสินใจบอกเลิกมายด์ เธออาละวาดทำร้ายตัวเอง จนดนตร์ต้องรีบพาไปโรงพยาบาล ร้อนถึงเพื่อนสนิทอย่าง มี่ และ แบงค์ ที่ต้องยื่นมือเข้าช่วย และที่โรงพยาบาลทำให้ดนตร์ได้รู้จักกับ หมออิน ที่รู้จักมายด์ดี เขาเตือนดนตร์ว่าถ้าไม่อยากเดือดร้อนก็เลิกยุ่งกับมายด์", "title": "กับดักเสน่หา" }, { "docid": "61610#64", "text": "พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสดับ ก็ตรัสอนุโมทนา และทูลขอปฏิญญากะพระมหาบุรุษว่า ถ้าพระองค์ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว ขอได้ทรงพระกรุณาเสด็จมายังพระนครราชคฤห์ แสดงธรรมโปรด ครั้นพระมหาบุรุษทรงรับปฏิญญาแล้ว ก็ถวายบังคมลากลับเข้าพระนคร", "title": "พุทธประวัติ" }, { "docid": "386360#1", "text": "หนึ่งในเกณฑ์สมาชิกภาพ คือ สมาชิกตามที่มุ่งหวังนั้นจะต้องตกลงลงนามหรือเข้าร่วมกับสนธิสัญญา แถลงการณ์และความตกลงทั้งหมดในอาเซียน เริ่มตั้งแต่ที่ระบุไว้ในปฏิญญากรุงเทพเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 และที่เพิ่มเติมและพัฒนาขึ้นในสนธิสัญญา แถลงการณ์และความตกลงของอาเซียนในกาลต่อมา ความกังวลร่วมกันอย่างหนึ่งซึ่งจะต้องหยิบยกขึ้นผ่านการเจรจา คือ ความสามารถของสมาชิกที่คาดหวังในการเข้าร่วมกับเขตการค้าเสรีอาเซียน และการจัดการความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่นทั้งหมด อีกหนึ่งวิธีกำหนดเป้าหมายของสมาชิกที่มุ่งหวังที่สำคัญคือ การเข้าร่วมในการประชุมอาเซียนและการมีส่วนร่วมในโครงการความร่วมมือต่าง ๆ[4]", "title": "การขยายตัวของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" }, { "docid": "371986#0", "text": "ปฏิญญาชูมาน เป็นปฏิญญาที่ประกาศเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1950 โดยเป็นข้อเสนอของรัฐบาลฝรั่งเศส จากรอแบร์ ชูมาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น ให้จัดตั้งประชาคมรูปแบบใหม่ที่มีอำนาจบริหารจัดการปัญหาในระดับนานาชาติได้ กล่าวคือเป็นองค์กรที่อำนาจมากกว่ารัฐบาลของแต่ละชาติ เนื่องมาจากประสบการณ์ของสงครามโลกทั้งสองครั้งทำให้ฝรั่งเศสตระหนักว่าบางสิ่งบางอย่าง เช่น ความยุติธรรม ไม่สามารถถูกกำหนดได้โดยอำนาจของรัฐใดรัฐหนึ่งเพียงลำพัง โดยปฏิญญานี้นำไปสู่การจัดตั้งองค์กรระดับนานาชาติที่มีอำนาจควบคุมดูแลอุตสาหกรรมถ่านหินและเหล็กกล้าในฝรั่งเศส เยอรมนีตะวันตก และประเทศอื่น ๆ เรียกกันว่า ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรป (ECSC) และนำไปสู่การปรับโครงสร้างของการบริหาร และเป็นจุดเริ่มต้นขององค์กรที่คล้ายคลึงกันหลายองค์กรในยุโรป ซึ่งต่อมาได้พัฒนาจนกลายเป็นสหภาพยุโรปในปัจจุบัน โดยเหตุการณ์นี้ได้ถูกเฉลิมฉลองทุกปีในฐานะที่เป็น วันยุโรป และชูมานเองก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปอีกด้วย", "title": "ปฏิญญาชูมาน" }, { "docid": "413548#1", "text": "ปฏิญญาดังกล่าวมีผลใช้บังคับด้วยการแลกเปลี่ยนตราสารให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 และจดทะเบียนจากทั้งจีนและอังกฤษที่สหประชาชาติเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2528 ในปฏิญญาร่วม รัฐบาลจีนแถลงว่า จีนได้ตัดสินใจคงการใช้อธิปไตยเหนือฮ่องกง (รวมทั้งเกาะฮ่องกง เกาลูน และดินแดนใหม่) ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 และรัฐบาลอังกฤษแถลงว่า จะส่งมอบฮ่องกงคืนให้แก่จีนโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 รัฐบาลจีนยังได้แถลงนโยบายพื้นฐานเกี่ยวกับฮ่องกงในตราสารด้วย", "title": "ปฏิญญาร่วมจีน-อังกฤษ" }, { "docid": "886241#2", "text": "กันสมาย สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ภาควิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และกำลังจะสำเร็จการศึกษาในปี 2018 ด้วยเกียรตินิยมอันดับสอง", "title": "ชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์" }, { "docid": "386360#5", "text": "อาเซียนถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 เมื่อรัฐมนตรีต่างประเทศของห้าประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย ประชุมกันที่อาคารกระทรวงการต่างประเทศของไทยในกรุงเทพมหานคร และลงนามปฏิญญาอาเซียน ซึ่งรู้จักกันมากกว่าในชื่อ ปฏิญญากรุงเทพ รัฐมนตรีทั้งห้า อันประกอบด้วย อดัม มาลิก แห่ง สาธารณรัฐอินโดนีเซีย นาร์ซิโซ รามอส แห่ง สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ อับดุล ราซัค แห่ง สหพันธรัฐมาเลเซีย เอส. ราชารัตนัม แห่ง สาธารณรัฐสิงคโปร์ ถนัด คอมันตร์ แห่ง ราชอาณาจักรไทย ซึ่งถูกพิจารณาว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งองค์กร[8]", "title": "การขยายตัวของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" }, { "docid": "940943#0", "text": "ปฏิญญาพันมุนจ็อมสำหรับสันติภาพ ความรุ่งเรือง และความเป็นเอกภาพของคาบสมุทรเกาหลี () ปฏิญญาที่ลงนามระหว่างผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือกับประธานาธิบดีเกาหลีใต้เมื่อวันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561 ระหว่างการประชุมสุดยอดระหว่างเกาหลี พ.ศ. 2561 โดยปฏิญญาฉบับนี้มุ่งหมายให้ผู้นำของเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ต้องดำเนินการเพื่อนำไปสู่การยุติสงครามเกาหลีเป็นการถาวร โดยในขณะที่ลงนามนั้น ทั้งสองประเทศอยู่ในภาวะสงบศึกนับตั้งแต่ พ.ศ. 2496 นอกจากนี้ยังนำไปสู่การปลดอาวุธนิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี", "title": "ปฏิญญาพันมุนจ็อม" }, { "docid": "770307#32", "text": "ต่อมาในปี 1964 สมาคมแพทย์แห่งโลก (World Medical Association ตัวย่อ WMA) ออก \"ปฏิญญาเฮลซิงกิ\" (Declaration of Helsinki)\nซึ่งมีคำสั่งโดยเฉพาะกับแพทย์ในเรื่องการทำงานวิจัยสุขภาพ และเน้นเงื่อนไขเพิ่มเติมต่าง ๆ ในกรณีที่ \"งานวิจัยทำร่วมกับการให้การดูแลทางการแพทย์\"\nความแตกต่างที่สำคัญระหว่างประมวลกฎหมายเนือร์นแบร์กปี 1947 กับปฏิญญาเฮลซิงกิปี 1964 ก็คือ ประมวลกฎหมายเป็นหลักที่แนะนำต่อบุคคลในอาชีพแพทย์โดยผู้พิพากษาในคดี ส่วนปฏิญญาเป็นหลักที่บังคับผู้ทำอาชีพแพทย์โดยแพทย์ด้วยกันเอง\nวรรคที่ 29 ของปฏิญญากล่าวถึงการรักษาแบบหลอกโดยตรงคือ", "title": "การศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก" }, { "docid": "103462#1", "text": "อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยตราสารที่เรียกว่า ปฏิญญาอาเซียน หรือที่รู้จักในชื่อ ปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) โดยหากพิจารณาจากเนื้อหาของตราสารและสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศในช่วง พ.ศ. 2510 พิจารณาได้ว่าอาเซียนจำต้องอาศัยรูปแบบความร่วมมือเชิงมิตรภาพในภูมิภาคและเลี่ยงการกำหนดสิทธิหน้าที่ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ตลอดเวลาที่ผ่านมา ผู้นำในภูมิภาคได้อาศัยอาเซียนเป็นเวทีดำเนินความร่วมมือบนพื้นฐานของความยินยอมและความสมัครใจของสมาชิกเป็นหลัก การดำเนินการอยู่บนพื้นฐานของการปรึกษาหารือหรือการอาศัยฉันทามติ โดยเลี่ยงการอ้างสิทธิหน้าที่และการแทรกแซงทางการเมืองระหว่างสมาชิก (non intervention) ซึ่งแนวปฏิบัตินี้ที่เรียกว่า “The ASEAN Way” ได้ช่วยให้ความร่วมมือดำเนินมาได้โดยปราศจากความขัดแย้งรุนแรงแม้ว่าสมาชิกแต่ละประเทศจะมีระบบกฎหมายและนโยบายทางการเมืองที่แตกต่างกัน ดังนั้น เมื่ออาเซียนมิได้มุ่งที่จะนำกฎหมายระหว่างประเทศมาเป็นฐานในการดำเนินการ จึงมิได้มีการจัดทำสนธิสัญญาหรือกฎบัตรอาเซียนมาตั้งแต่ต้น", "title": "กฎบัตรอาเซียน" }, { "docid": "393340#4", "text": "จากนั้นปฏิญญาฉบับร่างถูกส่งถึงคณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งจัดตั้งคณะทำงานขึ้นอีกชุดหนึ่งเพื่อพิจารณาข้อความ อีกหลายปีต่อมา คณะทำงานนี้ประชุมกัน 11 ครั้งเพื่อพิจารณาและแก้ไขปรับปรุงร่างปฏิญญาและข้อกำหนดของร่าง ความคืบหน้าในร่างปฏิญญาเป็นไปอย่างล่าช้า เพราะมีบางรัฐกังวลเกี่ยวกับข้อกำหนดบางประการของปฏิญญา อาทิ สิทธิในการกำหนดการปกครองด้วยตนเองของปวงชนท้องถิ่น และการครอบครองทรัพยากรธรรมชาติซึ่งมีอยู่ในดินแดนดั้งเดิมของปวงชนท้องถิ่นนั้น ปฏิญญารุ่นสุดท้ายได้รับความเห็นชอบเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2549 โดยประเทศสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ 47 ประเทศ อันเป็นองค์กรสืบทอดจากคณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยมีรัฐสมาชิก 30 รัฐเห็นชอบ สองรัฐไม่เห็นชอบ สิบสองรัฐไม่ลงคะแนน และอีกสามรัฐขาดประชุม", "title": "ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง" }, { "docid": "393340#5", "text": "ต่อมา ปฏิญญาฯ ถูกส่งต่อไปยังสมัชชาใหญ่ ซึ่งได้มีการลงมติยอมรับข้อเสนอเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2550 ระหว่างสมัยประชุมสามัญที่ 61 มี 143 ประเทศลงมติเห็นชอบ สี่ประเทศไม่เห็นชอบ และสิบเอ็ดประเทศงดออกเสียง รัฐสมาชิกสี่ประเทศที่ลงมติไม่เห็นชอบมีออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา โดยทุกประเทศข้างต้นกำเนิดขึ้นเดิมเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร และมีประชากรอพยพส่วนใหญ่มิใช่ปวงชนท้องถิ่น และมีประชากรท้องถิ่นส่วนน้อย นับแต่นั้น ทั้งสี่ประเทศได้เปลี่ยนไปลงนามปฏิญญาดังกล่าว ประเทศที่ไม่ออกเสียงได้แก่ อาเซอร์ไบจาน บังกลาเทศ ภูฏาน บุรุนดี โคลอมเบีย จอร์เจีย เคนยา ไนจีเรีย สหพันธรัฐรัสเซีย ซามัวและยูเครน ส่วนรัฐสมาชิกอีก 34 รัฐไม่มาลงมติ โคลอมเบียและซามัวได้เปลี่ยนไปลงนามเอกสารนับแต่นั้น", "title": "ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง" }, { "docid": "2069#2", "text": "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (ASA, Association of South East Asia) ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย จนเมื่อทั้งสองประเทศฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างกัน จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค \"สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้\" และถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม \"ปฏิญญากรุงเทพ\" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อาดัม มาลิกแห่งอินโดนีเซีย, นาร์ซิโซ รามอสแห่งฟิลิปปินส์, อับดุล ราซัคแห่งมาเลเซีย, เอส. ราชารัตนัมแห่งสิงคโปร์ และถนัด คอมันตร์แห่งไทย ซึ่งถือว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งองค์กร[7]", "title": "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" }, { "docid": "393340#1", "text": "ขณะที่ปฏิญญาสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติจะมิใช่ตราสารอันมีผลผูกพันตามกฎหมายภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ แต่สหประชาชาติแถลงว่า ปฏิญญาฯ \"แสดงถึงพัฒนาการอันรวดเร็วของบรรทัดฐานกฎหมายระหว่างประเทศ และปฏิญญาฯ ยังสะท้อนพันธกรณีของสหประชาชาติที่จะขับเคลื่อนไปยังทิศทางที่แน่นอน\" สหประชาชาติอธิบายว่าปฏิญญาฯ ว่าเป็น \"มาตรฐานสำคัญในการปฏิบัติต่อปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิม ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญมุ่งสู่การกำจัดการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิมกว่า 370 ล้านคนของโลกอย่างไม่ต้องสงสัย และช่วยพวกเขาในการต่อสู้กับการเลือกปฏิบัติและการถูกเบียดตกขอบ (marginalisation)\"", "title": "ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง" }, { "docid": "59938#5", "text": "ในยุคที่วังสราญรมย์ยังเป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศอยู่ สถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่ที่ชาติสมาชิกก่อตั้งอาเซียน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ลงนามในปฏิญญากรุงเทพ (หรือปฏิญญาอาเซียน) ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ก่อตั้งสมาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการ โดยผู้ลงนามฝ่ายไทย คือ พ.อ. ถนัด คอมันตร์", "title": "พระราชวังสราญรมย์" }, { "docid": "491748#32", "text": "ปฏิญญาแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรี\nปฏิญญาแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรีได้รับมาจากสหประชาชาติใน ค.ศ. 1993 (พ.ศ. 2536) ให้คำจำกัดความคำว่า “ความรุนแรงต่อสตรี” ไว้ว่า “การกระทำใดก็ตามเกี่ยวข้องกับความรุนแรงทางเพศที่ส่งผลให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย จิตใจ หรือทางเพศหรือความทุกข์ทรมานแก่สตรี ตลอดจนการข่มขู่ในการกระทำดังกล่าว การใช้อำนาจบังคับหรือการถูกริดรอนเสรีภาพไม่ว่าจะเกิดขึ้นในที่สาธารณะหรือชีวิตส่วนตัว” [157] ปฏิญญากำหนดไว้ว่าสตรีมีสิทธิเป็นอิสระจากความรุนแรง ผลที่ตามของแนวทางนี้ คือ ในปี พ.ศ. 2542 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศให้วันที่ 25 พฤศจิกายนเป็นวันสากลในการขจัดความรุนแรงต่อสตรี", "title": "สิทธิสตรี" }, { "docid": "398568#3", "text": "กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมกำเนิดมาจากกระบวนการเดียวกันกับที่นำไปสู่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ได้มีการเสนอ \"ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิสำคัญของมนุษย์\" ที่การประชุมซานฟรานซิสโกใน ค.ศ. 1945 ซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งสหประชาชาติ และคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติได้รับมอบหมายให้ร่างปฏิญญานั้น ช่วงต้นของกระบวนการ เอกสารถูกแบ่งออกเป็นปฏิญญาซึ่งระบุหลักการทั่วไปของสิทธิมนุษยชน และอนุสัญญาหรือกติกาซึ่งมีฉันทามติผูกมัด ซึ่งปฏิญญานั้นได้พัฒนาไปเป็นปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งผ่านมติรับเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948", "title": "กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม" }, { "docid": "3818#34", "text": "นอกจากนี้ สหประชาชาติยังได้ให้ความสนใจแก่ชาวพื้นเมืองจำนวนกว่า 370 ล้านคนทั่วโลก โดยในปฏิญญาสิทธิชนพื้นเมืองได้รับรองจากสมัชชาใหญ่ในปี ค.ศ. 2007[35] ปฏิญญาดังกล่าวสรุปเน้นถึงความเป็นเอกเทศและการรวมกันของสิทธิทางวัฒนธรรม ภาษา การศึกษา รูปพรรณ การจ้างงานและสุขภาพ ด้วยเหตุนั้น จึงมีประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นภายหลังยุคอาณานิคม ซึ่งขัดกับวิถีชีวิตของชนพื้นเมืองมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ ปฏิญญาสิทธิชนพื้นเมืองมีเป้าหมายเพื่อที่จะธำรงรักษา สร้างความแข็งแกร่งและสนับสนุนการเจริญเติบโตของสถาบันชนพื้นเมือง วัฒนธรรมและประเพณี และยังมีการห้ามลำเอียงในการต่อต้านชนพื้นเมือง และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชนพื้นเมือง ซึ่งต้องคำนึงถึงอดีต ปัจจุบันและอนาคต[35]", "title": "สหประชาชาติ" }, { "docid": "386360#0", "text": "การขยายตัวของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นกระบวนการซึ่งขยายสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการรับรัฐสมาชิกใหม่เข้ามา กระบวนการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นเมื่อสมาชิกก่อตั้งห้าประเทศ ที่ได้ลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ใน พ.ศ. 2510 นับตั้งแต่นั้น ประเทศสมาชิกอาเซียนได้เพิ่มเป็นสิบประเทศ โดยประเทศล่าสุดที่เข้าร่วมกับอาเซียนคือ กัมพูชา ใน พ.ศ. 2542 ปัจจุบัน การเจรจารับเข้าเป็นสมาชิกกำลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนกับสองรัฐ ได้แก่ ปาปัวนิวกินี[1][2] กับติมอร์-เลสเต[3]", "title": "การขยายตัวของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" }, { "docid": "531948#0", "text": "ปฏิญญา วิโรจน์แสงประทีป หรือที่รู้จักในชื่อ พีรวัศ กุลนันท์วัฒน์ ชื่อเล่น แอม เป็นนักแสดงและพิธีกรชาวไทย เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงจากการประกวดดัชชี่บอยแอนด์เกิร์ล 2003 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย และอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ปริญญาโท มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เริ่มเป็นที่รู้จักจากละคร เรื่อง \"น้องใหม่ร้ายบริสุทธิ์\" ปัจจุบันมีผลงานละครออกมาเรื่อย ๆ ส่วนทางด้านพิธีกร เป็นพิธีกรรายการ เส้นทางบันเทิง, เพื่อเธอ เป็นต้น", "title": "พีรวัศ กุลนันท์วัฒน์" }, { "docid": "353799#5", "text": "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (ASA, Association of South East Asia) ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย จนเมื่อทั้งสองประเทศฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างกัน จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค \"สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้\" และถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม \"ปฏิญญากรุงเทพ\" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อาดัม มาลิกแห่งอินโดนีเซีย, นาร์ซิโซ รามอสแห่งฟิลิปปินส์, อับดุล ราซัคแห่งมาเลเซีย, เอส. ราชารัตนัมแห่งสิงคโปร์ และถนัด คอมันตร์แห่งไทย ซึ่งถือว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งองค์กร", "title": "ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย" }, { "docid": "398570#1", "text": "ในตอนเริ่มต้น มีการแสดงความคิดเห็นหลายมุมมองว่ารูปร่างของตราสารสิทธิจะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นอย่างไร ใน ค.ศ. 1948 สมัชชาใหญ่วางแผนให้ตราสารรวมไปถึง UDHR, กติกาหนึ่งและมาตรการการนำไปปฏิบัติ คณะกรรมาธิการร่างตัดสินใจเตรียมเอกสารสองฉบับ ฉบับหนึ่งในรูปปฏิญญา ซึ่งจะระบุหลักการทั่วไปหรือมาตรการของสิทธิมนุษยชน ส่วนอีกฉบับหนึ่งในรูปอนุสัญญา ซึ่งจะนิยามสิทธิและข้อจำกัดของสิทธิเฉพาะ ดังนั้น คณะกรรมการธิการได้ส่งต่อให้คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนร่างมาตราของปฏิญญาระหว่างประเทศและอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ในสมัยประชุมที่สอง ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1947 คณะกรรมาธิการได้ตัดสินใจใช้คำว่า \"ตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ\" กับชุดของตราสารที่กำลังเตรียมนี้ และจัดตั้งคณะทำงานสามคณะ คณะหนึ่งทำงานเกี่ยวกับปฏิญญา คณะหนึ่งเกี่ยวกับอนุสัญญา (ต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น \"กติกา\") และอีกคณะหนึ่งเกี่ยวกับการนำไปปฏิบัติ คณะกรรมาธิการทบทวนปฏิญญาฉบับร่างในสมัยประชุมที่สาม ในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ค.ศ. 1948 โดยนำข้อคิดเห็นที่ได้รับจากรัฐบาลต่าง ๆ ไปพิจารณาด้วย อย่างไรก็ดี คณะกรรมาธิการไม่มีเวลาพอจะพิจารณากติกาและคำถามของการนำไปปฏิบัติ ดังนั้น ปฏิญญาจึงถูกเสนอผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติไปยังสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ซึ่งประชุมในกรุงปารีส", "title": "ร่างตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ" }, { "docid": "393340#3", "text": "ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิมใช้เวลาจัดทำนานถึง 25 ปี แนวคิดในการจัดทำเริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2525 เมื่อคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติจัดตั้งคณะทำงานว่าด้วยปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิม (WGIP) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเป็นผลจากการศึกษาโดยผู้เสนอรายงานการประชุมพิเศษ José R. Martínez Cobo ว่าด้วยปัญหาการเลือกปฏิบัติที่ปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิมเผชิญ คณะทำงานดังกล่าว ซึ่งได้รับมอบหมายให้พัฒนามาตรฐานสิทธิมนุษยชนซึ่งจะคุ้มครองปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิม เริ่มต้นทำงานใน พ.ศ. 2528 โดยร่างปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของปวงชนท้องถิ่นดั้งเดิม ร่างปฏิญญาแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2536 และถูกเสนอต่อคณะอนุกรรมการว่าด้วยการป้องกันการเลือกปฏิบัติและการคุ้มครองชนกลุ่มน้อย ซึ่งให้การรับรองในปีถัดมา ระหว่างนี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศได้เห็นชอบอนุสัญญาว่าด้วยชนพื้นเมืองและชนเผ่า พ.ศ. 2532", "title": "ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง" }, { "docid": "386360#2", "text": "ปฏิญญากรุงเทพมิได้วางเงื่อนไขสมาชิกภาพใด นอกเหนือไปจากว่าประเทศนั้นจะต้องตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหลักความสัมพันธ์ระหว่างรัฐทั่วไป อาเซียนไม่มีเกณฑ์สมาชิกภาพที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของรัฐบาล ระบบและทิศทางของอุดมการณ์ นโยบายเศรษฐกิจหรือระดับการพัฒนา หากมีเกณฑ์ดังกล่าวมากำหนดสมาชิกภาพแล้ว องค์การความร่วมมือในภูมิภาคจะไม่อาจเกิดขึ้นได้เลยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งทำให้องค์การดังกล่าวมีความหลากหลาย[5] และเพื่อจะได้รับการยอมรับเป็นรัฐสมาชิกอาเซียน รัฐนั้นจะต้องมีสถานเอกอัครราชทูตอยู่ในทุกประเทศสมาชิกในปัจจุบันของกลุ่ม[6]", "title": "การขยายตัวของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" }, { "docid": "370660#0", "text": "ปฏิญญามอสโก ได้มีการลงนามระหว่างการประชุมมอสโก เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1943 ชื่ออย่างเป็นทางการของแถลงการณ์ดังกล่าวคือ \"แถลงการณ์ของสี่ชาติเกี่ยวกับความมั่นคงทั่วไป\" เอกสารดังกล่าวได้รับการลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสหภาพโซเวียต แถลงการณ์ดังกล่าวมีสี่ส่วนแยกจากกัน", "title": "ปฏิญญามอสโก" }, { "docid": "332627#7", "text": "ปฏิญญาที่พระองค์มีรับสั่งถึง คือ ปฏิญญาพ็อทซ์ดัม ซึ่งสี่ชาติใหญ่ร่วมกันเรียกร้องให้ญี่ปุ่นยอมแพ้โดยไม่มีเงื่อนไข ในตอนนั้น ประชาชนคนไหนไม่รู้จักคำประกาศนี้ ก็อาจไม่เข้าใจชัดเจนในทันทีว่านั่นหมายถึงการยอมแพ้ของญี่ปุ่น ", "title": "เกียวกุอง โฮโซ" } ]
3270
อสังหาริมทรัพย์ คืออะไร ?
[ { "docid": "11112#0", "text": "อสังหาริมทรัพย์ (English: immovable (คอมมอนลอว์); realty (ซีวิลลอว์)) ในทางกฎหมาย ได้แก่ที่ดิน และทรัพย์สินอื่นที่ติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น เช่น อาคาร บ้านเรือน", "title": "อสังหาริมทรัพย์" } ]
[ { "docid": "279667#20", "text": "11. ถ้าอสังหาริมทรัพย์ที่ตกอยู่ภายในภาระติดพันและประโยชน์ที่ได้รับจากภาระติดพันตกเป็นของคน ๆ เดียวกัน เจ้าของอสังหาริมทรัพย์จะให้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระติดพันก็ได้ แต่ถ้ายังมิได้เพิกถอนทะเบียน ภาระติดพันยังคงมีอยู่ในส่วนบุคคลภายนอก (ป.พ.พ. ม.1398)", "title": "ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์" }, { "docid": "593895#42", "text": "2. ภาษีอสังหาริมทรัพย์ (Property Tax) เป็นการเก็บภาษีที่ผูกพันกับบุคคลที่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิอสังหาริมทรัพย์ และขึ้นทะเบียนก่อนวันที่ 1 มกราคมของปีงบประมาณนั้น โดยกฎหมายได้ระบุข้อกำหนดที่ผู้ครอบครองจะต้องจ่ายภาษีอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในเทศบาลนั้นเมื่อปีงบประมาณซึ่งจะเริ่มขึ้นในเดือนเมษายนของทุกปี อีกทั้งการจัดเก็บภาษียังรวมถึงการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ระหว่างปีงบประมาณนั้นอีกด้วย นอกจากนั้นการกำหนดภาษีอสังหาริมทรัพย์ยังครอบคลุมถึงการถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน บ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ ที่มีการเสื่อมราคา (Depreciable Assets) และอสังหาริมทรัพย์บางประเภทไม่ได้รวมอยู่ในข้อบัญญัติของภาษีอสังหาริมทรัพย์ เช่น การถือครองกรรมสิทธิ์ของรถยนต์ (Automobile) และพาหนะขนาดเล็ก (Light Vehicle) ซึ่งจะถูกคำนวณและจัดเก็บภาษี ในกรอบของกฎหมายการจัดเก็บภาษีรถยนต์ (Automobile Tax) และภาษีพาหนะขนาดเล็ก (Light Vehicle Tax) ตามลำดับ ข้อบังคับของภาษีชนิดนี้จำเป็นจะต้องลงทะเบียนต่อหน่วยงานภาษีรังวัดที่ดิน (The Tax Cadastre) ซึ่งอัตราภาษีจะอยู่ที่การประเมินราคาของอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ และการประเมินราคารังวัดที่ดินนั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงทุก ๆ 3 ปี ตามราคาตลาด โดยที่เทศบาลจะคำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 1.4 ต่อปี และเพื่อให้ระบบการจัดเก็บภาษีเทศบาลเป็นไปตามนโยบายการปลูกสร้างบ้านเรือน (Housing Policy) กฎหมายได้กำหนดถึงการลดหย่อนภาษีตามลักษณะของบ้านและที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย เช่น ที่ดินสำหรับที่อยู่อาศัย (Land for Housing) โดยการลดหย่อนภาษีในอัตรา 1 ต่อ 6 ของที่ดินที่มีขนาดไม่เกิด 200 ตารางเมตร และลดหย่อนภาษี 1 ใน 3 สำหรับที่ดินที่มีเนื้อที่เกิน 200 ตารางเมตร สำหรับสิ่งปลูกสร้างหรือบ้านใหม่ สามารถลดหย่อนภาษีได้ 1 ใน 2 ของจำนวนที่จะต้องจ่ายภาษี โดยกฎหมายกำหนดให้เพียงแค่ 3 ปีแรกเท่านั้น และกฎหมายยังระบุถึงรายละเอียดในการลดหย่อนภาษีในสิ่งปลูกสร้างอีก 2 ประเภท คือบ้านประเภทเพื่อการอยู่อาศัยแน่นอน โดยมีข้อกำหนดเพิ่มเติมว่าจะต้องสร้างในช่วง และมีพื้นที่ใช้สอยระหว่าง 50 ถึง 280 ตารางเมตร และอาคารที่อยู่อาศัยแบบกันอัคคีภัยซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป และประกอบด้วยเนื้อที่ใช้สอย ต่อชั้นระหว่าง 50 ถึง 280 ตารางเมตร จะได้รับการลดหย่อนภาษี 1 ใน 2 ของจำนวนที่จะต้องเสียภาษี ใน 5 ปีแรกเท่านั้นโดยการลดหย่อนภาษีในสิ่งปลูกสร้างทั้ง 2 นั้น กฎหมายกำหนดให้เป็นสิ่งปลูกสร้างที่สร้างระหว่าง วันที่ 2 มกราคม 1963 ถึง 31 มีนาคม 2006 เท่านั้น ประการสุดท้ายยังมีการกำหนดการยกเลิกภาษี ให้กับอสังหาริมทรัพย์ในกรณีต่าง ๆ หลายกรณีด้วยการ อาทิเช่น การงดเว้นการจัดเก็บภาษีให้กับ ที่ดินมีมูลค่าต่ำกว่า 300,000 เยน ที่อยู่อาศัยมีมูลค่าต่ำกว่า 200,000 เยนและสินทรัพย์ที่มีการเสื่อมราคา (Depreciable Assets) ที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1,500,000 เยน นอกจากนั้น อสังหาริมทรัพย์ ที่ครอบครองโดยองค์กรเพื่อสังคมซึ่งใช้สังหาริมทรัพย์นั้นเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ ซึ่งอาจใช้ไปในวัตถุประสงค์ที่เจาะจง เช่น ใช้เป็นที่ฝังศพ และถนนสาธารณะ ก็จะได้รับการงดเว้นการจัดเก็บภาษี ", "title": "การคลังสาธารณะของญี่ปุ่น" }, { "docid": "532500#1", "text": "เป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2532 โดยในวันที่ 21 มิถุนายน 2537 บริษัทได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้รับบริษัทเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โดยใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ว่า “LPN”\nบริษัท บริษัทย่อย และบริษัทร่วม ประกอบธุรกิจใน 2 ส่วน ทั้งการผลิตและการให้บริการที่ต่อเนื่องกันตลอดทั้งกระบวนการ ได้แก่ ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจการให้บริการด้านการบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร", "title": "แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์" }, { "docid": "257266#2", "text": "ในปี 2546 ธนพล ศิริธนชัย ได้ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) โดยเป็นผู้ผลักดันธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของบริษัท และเป็นผู้พลักดันยูนิเวนเจอร์ ร่วมกับ คุณอรฤดี ณ ระนอง ประธานอำนวยการ ให้เข้าสู่ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจหลักแทนที่ การผลิตและจำหน่ายผงสังกะสีอ๊อกไซด์ โดยย้ายเข้าสู่หมวดธุรกิจกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2549", "title": "ธนพล ศิริธนชัย" }, { "docid": "268744#26", "text": "กรรมสิทธิ์ (English: ownership) คือ สิทธิทั้งปวงที่ผู้เป็นเจ้าของมีอยู่เหนือทรัพย์สิน อันได้แก่ สิทธิใช้สอย จำหน่าย ได้ดอกผล กับทั้งสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตน และสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย[1] ครอบครอง (English: possession) คือ การที่บุคคลที่เข้ายึดถือทรัพย์สิ่งหนึ่งเพื่อตนเอง ทำให้ได้ไปซึ่ง \"สิทธิครอบครอง\" (English: possessory right)[17] ไม่ถึงกับเป็นกรรมสิทธิ์แต่อาจเติบใหญ่เป็นกรรมสิทธิ์ได้[18] ภาระจำยอม (English: servitude) คือ ข้อผูกพันอันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์จำต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น อสังหาริมทรัพย์เช่นนั้นเรียก \"ภารยทรัพย์\" (English: servient estate) เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นซึ่งเรียก \"สามยทรัพย์\" (English: dominant estate)[1] สิทธิอาศัย (English: right of habitation) คือ สิทธิที่บุคคลจะอาศัยในโรงเรือนของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า[19] สิทธิเหนือพื้นดิน (English: right of superficies) คือ สิทธิในการเป็นเจ้าของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งเพาะปลูกบนที่ดินหรือใต้ดินในที่ดินของผู้อื่น[20] สิทธิเก็บกิน (English: usufruct) คือ สิทธิที่บุคคลสามารถครอบครอง ใช้ และถือเอาซึ่งประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น[21] ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ (English: charge on immovable) คือ การที่อสังหาริมทรัพย์ตกอยู่ในเหตุอันยังให้ผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับชำระหนี้เป็นคราว ๆ จากอสังหาริมทรัพย์นั้น หรือได้ใช้และถือประโยชน์แห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นตามที่ระบุกันไว้[22]", "title": "ทรัพย์สิน" }, { "docid": "525674#1", "text": "เป็นพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ คอนโดมิเนียมติดสถานีขนส่งมวลชนระบบรางในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ภายใต้ชื่อ \"IdeO\" บ้านจัดสรร ภายใต้ชื่อ \"อนันดา\" และ \"สิรินดา\" การรับจ้างบริหารโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดย บจ. อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ วัน (\"ADO\") นอกจากนี้ บริษัทยังประกอบธุรกิจภายใต้บริษัทย่อยอื่นๆ ได้แก่ ธุรกิจศูนย์ออกกำลังกาย (Sport club) ธุรกิจการเป็นตัวแทนการซื้อขายห้องชุด ธุรกิจรับบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ให้กับนิติบุคคลบ้านจัดสรร และนิติบุคคลอาคารชุด ธุรกิจสนามแข่งรถ พีระ อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ธุรกิจสนามแข่งรถโก-คาร์ท", "title": "อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์" }, { "docid": "719047#12", "text": "กว่า 25 ปี ที่อยู่ในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ ปฏิมา จีระแพทย์ ได้สร้างผลงานมากมาย อาทิ ในขณะที่ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการอสังหาริมทรัพย์หอการค้าร่วมต่างประเทศ ในประเทศไทย ได้จัดทำแผนการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยระยะเวลาการเช่า อสังหาริมทรัพย์เป็น 90 ปี เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลไทย ในนามคณะกรรมการอสังหาริมทรัพย์ หอการค้าร่วมนานาชาติ (เจเอฟซีซีที) ศึกษารวบรวมข้อมูลสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ และสิทธิการเช่า สำหรับอสังหาริมทรัพย์ในประเทศแทบอาเซียน และจัดทำแผนการขยายระยะเวลาสิทธิการเช่าต่อรัฐบาลไทย ผ่านทางสำนักงานผู้แทนการค้าไทยในนามคณะกรรมการอสังหาริมทรัพย์ สภาหอการค้านานาชาติ (เจเอฟซีซีที) วางแผนแม่บท ที่ดินของการท่าเรือแห่งประเทศไทย เนื้อที่รวม 2,353 ไร่ และศึกษาความเป็นไปได้ และให้คำปรึกษาการประมูลขายที่ดิน ศูนย์ธุรกิจตลาดทุน ให้กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บนเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ ทำการวิจัย ศึกษา และจัดทำ แผนบริหารจัดการสถานกีฬา ภายในสนามกีฬา หัวหมาก เนื้อที่ 265 ไร่ สำหรับการกีฬาแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการพื้นที่พาณิชยกรรมและพื้นที่โฆษณาบนสถานีรถไฟฟ้า BTS ทั้ง 23 สถานี", "title": "ปฏิมา จีระแพทย์" }, { "docid": "594182#42", "text": "2. ภาษีอสังหาริมทรัพย์ (Property Tax) เป็นการเก็บภาษีที่ผูกพันกับบุคคลที่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิอสังหาริมทรัพย์ และขึ้นทะเบียนก่อนวันที่ 1 มกราคมของปีงบประมาณนั้น โดยกฎหมายได้ระบุข้อกําหนดที่ผู้ครอบครองจะต้องจ่ายภาษีอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในเทศบาลนั้นเมื่อปีงบประมาณซึ่งจะเริ่มขึ้นในเดือนเมษายนของทุกปี อีกทั้งการจัดเก็บภาษียังรวมถึงการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ระหว่างปีงบประมาณนั้นอีกด้วย นอกจากนั้นการกําหนดภาษีอสังหาริมทรัพย์ยังครอบคลุมถึงการถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน บ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ ที่มีการเสื่อมราคา(Depreciable Assets)และอสังหาริมทรัพย์บางประเภทไม่ได้รวมอยู่ในข้อบัญญัติของภาษีอสังหาริมทรัพย์ เช่น การถือครองกรรมสิทธิ์ของรถยนต์(Automobile) และพาหนะขนาดเล็ก (Light Vehicle) ซึ่งจะถูกคํานวณและจัดเก็บภาษี ในกรอบของกฎหมายการจัดเก็บภาษีรถยนต์ (Automobile Tax) และภาษีพาหนะขนาดเล็ก (Light Vehicle Tax) ตามลําดับ ข้อบังคับของภาษีชนิดนี้จําเป็นจะต้องลงทะเบียนต่อหน่วยงานภาษีรังวัดที่ดิน (The Tax Cadastre) ซึ่งอัตราภาษีจะอยู่ที่การประเมินราคาของอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ และการประเมินราคารังวัดที่ดินนั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงทุก ๆ 3 ปี ตามราคาตลาด โดยที่เทศบาลจะคํานวณภาษีในอัตราร้อยละ 1.4 ต่อปี และเพื่อให้ระบบการจัดเก็บภาษีเทศบาลเป็นไปตามนโยบายการปลูกสร้างบ้านเรือน (Housing Policy) กฎหมายได้กําหนดถึงการลดหย่อนภาษีตามลักษณะของบ้านและที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย เช่น ที่ดินสําหรับที่อยู่อาศัย (Land for Housing) โดยการลดหย่อนภาษีในอัตรา 1 ต่อ 6 ของที่ดินที่มีขนาดไม่เกิด 200 ตารางเมตร และลดหย่อนภาษี 1 ใน 3 สําหรับที่ดินที่มีเนื้อที่เกิน 200 ตารางเมตร สําหรับสิ่งปลูกสร้างหรือบ้านใหม่ สามารถลดหย่อนภาษีได้ 1 ใน 2 ของจํานวนที่จะต้องจ่ายภาษี โดยกฎหมายกําหนดให้เพียงแค่ 3 ปีแรกเท่านั้น และกฎหมายยังระบุถึงรายละเอียดในการลดหย่อนภาษีในสิ่งปลูกสร้างอีก 2 ประเภท คือบ้านประเภทเพื่อการอยู่อาศัยแน่นอน โดยมีข้อกําหนดเพิ่มเติมว่าจะต้องสร้างในช่วง และมีพื้นที่ใช้สอยระหว่าง 50 ถึง 280 ตารางเมตร และอาคารที่อยู่อาศัยแบบกันอัคคีภัยซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป และประกอบด้วยเนื้อที่ใช้สอย ต่อชั้นระหว่าง 50 ถึง 280 ตารางเมตร จะได้รับการลดหย่อนภาษี 1 ใน 2 ของจํานวนที่จะต้องเสียภาษี ใน 5 ปีแรกเท่านั้นโดยการลดหย่อนภาษีในสิ่งปลูกสร้างทั้ง 2 นั้น กฎหมายกําหนดให้เป็นสิ่งปลูกสร้างที่สร้างระหว่าง วันที่ 2 มกราคม 1963 ถึง 31 มีนาคม 2006 เท่านั้น ประการสุดท้ายยังมีการกําหนดการยกเลิกภาษี ให้กับอสังหาริมทรัพย์ในกรณีต่าง ๆ หลายกรณีด้วยการ อาทิเช่น การงดเว้นการจัดเก็บภาษีให้กับ ที่ดินมีมูลค่าต่ำกว่า 300,000 เยน ที่อยู่อาศัยมีมูลค่าต่ำกว่า 200,000 เยนและสินทรัพย์ที่มีการเสื่อมราคา (Depreciable Assets) ที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1,500,000 เยน นอกจากนั้น อสังหาริมทรัพย์ ที่ครอบครองโดยองค์กรเพื่อสังคมซึ่งใช้สังหาริมทรัพย์นั้นเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ ซึ่งอาจใช้ไปในวัตถุประสงค์ที่เจาะจง เช่น ใช้เป็นที่ฝังศพ และถนนสาธารณะ ก็จะได้รับการงดเว้นการจัดเก็บภาษี ", "title": "ระบบการคลังสาธารณะประเทศญี่ปุ่น" }, { "docid": "279667#15", "text": "6. ถ้าภาระติดพันแตะต้องเพียงส่วนหนึ่งแห่งอสังหาริมทรัพย์ เจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้นอาจเรียกให้ย้ายไปยังส่วนอื่นก็ได้ แต่ต้องแสดงได้ว่าการย้ายนั้นเป็นประโยชน์แก่ตนและรับเสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ต้องไม่ทำให้ความสะดวกของผู้รับประโยชน์ลดน้อยลง (ป.พ.พ. ม.1392)", "title": "ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์" }, { "docid": "515878#1", "text": "ภายหลังจากการสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน มะห์มูดได้รับปริญญาสาขาการจัดการอสังหาริมทรัพย์ เขายังสำเร็จการศึกษาด้านหลักและการปฏิบัติทางอสังหาริมทรัพย์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ฟูลเลอร์ตัน ในสหรัฐอเมริกา", "title": "ฟารูก มะห์มูด" }, { "docid": "515878#3", "text": "มะห์มูดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียงของอินเดียที่ได้รับการเลือกตั้งในสมาคมอสังหาริมทรัพย์นานาชาติ ที่สหรัฐอเมริกา เขาเป็นตัวแทนของอินเดียเข้าร่วม \"คณะทำงานระดับมันสมอง\" ที่กรุงปารีส และเป็นสมาชิกสหพันธ์อสังหาริมทรัพย์นานาชาติ และที่ปรึกษานานาชาติของคณะเอฟเอ็นเอไอเอ็ม (ประเทศฝรั่งเศส) ตลอดจนเป็นสมาชิกของเอฟอาร์ไอซีเอสที่สถาบันผู้สำรวจรังวัด และเป็นรองประธานสภาโบรกเกอร์โลก รวมถึงปัจจุบันเป็นประธานสมาคมนายหน้าซื้อขายอสังหาริมทรัพย์บังกาลอร์ (บีอาร์เอ-ไอ) มะห์มูดเป็นตัวแทนของประเทศอินเดียในการประชุมเวิลด์คองออฟเกรสเอฟไอเอบีซีไอที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย", "title": "ฟารูก มะห์มูด" }, { "docid": "542957#1", "text": "ขั้นตอนแรก REIT Manager จะต้องยื่นคำขออนุญาตเสนอขายใบทรัสต์กับ ก.ล.ต. เพื่อให้สามารถจัดตั้ง REIT ได้ เมื่อ ก.ล.ต.อนุมัติ REIT Manager จะเสนอขายใบทรัสต์ผ่านผู้จัดจำหน่าย โดยเงินที่ได้รับจากการขาย REIT จะถูกฝากไว้กับทรัสตี และนำเงินก้อนดังกล่าวไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์\nการกำกับดูแล REIT จะมีลักษณะทำนองเดียวกับการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน เช่น ต้องมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีกรรมการอิสระ มีเกณฑ์ที่ให้สิทธิผู้ถือใบทรัสต์คล้ายผู้ถือหุ้น หลักการในการกำกับดูแล REIT จะมีความยืดหยุ่นกว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ สามารถลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ได้ทุกประเภท โดยต้องมีวัตถุประสงค์ที่จะจัดหาผลประโยชน์เพื่อให้ได้ค่าเช่า แต่ต้องไม่เป็นการเช่าเพื่อทำธุรกิจที่ไม่เหมาะสมหรือผิดกฎหมาย การทำรายการได้มาหรือจำหน่ายไปของอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าที่มีขนาดรายการตั้งแต่ 30% ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทรัสต์ และการทำรายการกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง จะทำได้ต่อเมื่อได้รับมติเสียงข้างมากจากผู้ถือใบทรัสต์ รวมทั้ง REIT Manager จะต้องมีกรรมการอิสระไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดและไม่น้อยกว่า 3 คน เพื่อเป็นปากเป็นเสียงรักษาสิทธิแทนผู้ถือใบทรัสต์ รวมทั้ง ก.ล.ต. จะกำหนดให้ REIT manager บริหารกองทรัสต์ได้เพียงกองเดียว ความพิเศษของ REIT อีกประการหนึ่ง คือ บริษัทที่มีความชำนาญด้านการลงทุนและการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ที่มีความพร้อมในการจัดการ REIT สามารถขอรับความเห็นชอบจาก สำนักงาน ก.ล.ต.เพื่อบริหารจัดการ REIT ได้ด้วย \nรายได้ของ REIT มาจากการลงทุนหลายทางประกอบด้วย", "title": "กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์" }, { "docid": "279667#17", "text": "8. ถ้ามีการแบ่งแยกอสังหาริมทรัพย์ ภาระติดพันยังคงมีอยู่ทุกส่วนที่แยกออก แต่ถ้าในส่วนใดภาระติดพันนั้นไม่ใช้และใช้ไม่ได้ตามรูปการ เจ้าของอสังหาริมทรัพ์ส่วนนั้นจะเรียกให้อสังหาริมทรัพย์ตนพ้นจากภาระติดพันก็ได้ (ป.พ.พ. ม.1394)", "title": "ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์" }, { "docid": "947124#0", "text": "จาเร็ด คอเรย์ คุชเนอร์ (; เกิด 10 มกราคม 1981) เป็นนักลงทุน, ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์, บรรณาธิการเจ้าของหนังสือพิมพ์ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาอาวุโสของพ่อตา ดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ คนปัจจุบัน เขาเป็นลูกชายคนโตของนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ชาร์ล คุชเนอร์ และสมรสกับ อิวานกา ทรัมป์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาอาวุโสประธานาธิบดีและธิดาของทรัมป์ คุชเนอร์เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ บริษัท Kushner และบริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และ Observer Media ซึ่งเป็นผู้จัดพิมพ์ของ New York Observer เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นเจ้าของ Cadre ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์แบบออนไลน์", "title": "จาเร็ด คุชเนอร์" }, { "docid": "630688#8", "text": "ดร.โสภณ มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรวิชาชีพต่าง ๆ โดยเป็นนายกสมาคมผู้ประกอบกิจการประเมินค่าทรัพย์สิน, ประธานมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย, ประธานมูลนิธิอิสรชน, รองประธานสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย, รองประธาน สมาคมอสังหาริมทรัพย์นานาชาติ, สมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิ สมาคมนักประเมินราคาอิสระไทย, กรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต, กรรมการคณะกรรมการเศรษฐกิจพอเพียง, กรรมการคณะกรรมการอสังหาริมทรัพย์, กรรมการชมรมจรรยาบรรณ หอการค้าไทย, กรรมการสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์, ที่ปรึกษาสมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย, ที่ปรึกษาสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร, ที่ปรึกษาสมาคมนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์, ที่ปรึกษาสมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย, ที่ปรึกษาสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทย, ที่ปรึกษาสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย, ที่ปรึกษาสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย", "title": "โสภณ พรโชคชัย" }, { "docid": "279667#10", "text": "1. เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ตกอยู่ภายในภาระติดพัน ไม่มีสิทธิทำการเปลี่ยนแปลงในอสังหาริมทรัพย์นั้นซึ่งทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ผู้รับประโยชน์ (ป.พ.พ. ม.1388)", "title": "ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์" }, { "docid": "23817#9", "text": "3.การลงทุนเกินตัว และฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์\nธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้เติบโตอย่างมากในช่วงปี 2530-2539 ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน สนามกอล์ฟ สวนเกษตร เนื่องจากผู้ประกอบการมีการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศและระดมทุนในตลาดหลัก ทรัพย์ของประเทศที่กำลังร้อนแรงได้ง่าย เพื่อมาลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศ นอกจากนั้นแล้ว ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทำให้เกิดความต้องการเก็งกำไร ซึ่งได้ดึงดูดให้มีผู้เข้ามาลงทุนในธุรกิจอย่างมากจนกลายเป็นภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่", "title": "วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540" }, { "docid": "296424#12", "text": "\"...ทรัพย์สินที่เป็นวัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูปนี้ จะเป็นสังหาริมทรัพย์ เช่น สร้อยคอ ปากกา นาฬิกา หรือจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน ก็ได้เช่นกัน และการส่งมอบอสังหาริมทรัพย์สามารถทำได้โดยการทำให้ผู้ยืมได้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ เช่น การส่งมอบกุญแจบ้านหรือกุญแจประตูรั้วที่ล้อมรอบที่ดินที่ยืม [เป็นต้น]...[อนึ่ง] ปัจจุบันนี้มีพระราชบัญญัติ...กำหนดถึงการให้ใช้ลิขสิทธิ์หรือเครื่องหมายการค้าไว้เป็นการเฉพาะแล้ว\"", "title": "ยืมใช้คงรูป" }, { "docid": "877240#8", "text": "ในปี ค.ศ. 2015 คาดว่าการถือครองอสังหาริมทรัพย์ของทรัมป์จะมีมูลค่าประมาณ 3.5 พันล้านดอลลาร์ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินทางพาณิชย์รวมทั้งสิ้น 1.3 พันล้านดอลลาร์ อสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยของเขาอยู่ที่ 410 ล้านดอลลาร์ และสิ่งอำนวยความสะดวกสโมสรของเขาที่ 866 ล้านดอลลาร์ และอีกส่วนหนึ่งคือ 940 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่เขามีสัดส่วนการถือหุ้นไม่ถึง 100% โดยการถือครองอสังหาริมทรัพย์ของทรัมป์ นั้นถือเป็นส่วนสำคัญของสินทรัพย์ของเขาและทำให้รายได้ของเขามีรายได้มากขึ้นโดยมีสัญญาอนุญาตด้านอสังหาริมทรัพย์ข้อเสนอด้านการตลาดและการตลาดมากมายและค่าลิขสิทธิ์ที่ให้กระแสเงินสดเป็นล้าน ในปี 2015 ทรัมป์ ได้รับรายได้จากคอนโดมิเนียม 71 ล้านดอลลาร์และการเก็บรายได้ค่าเช่าจากอาคารของเขาเป็นประจำทุกปีจำนวน 41.9 ล้านดอลลาร์", "title": "เดอะทรัมป์ ออร์แกไนเซชั่น" }, { "docid": "542957#3", "text": "REIT เป็นการลงทุนที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนมากเหมือนกับการลงทุนโดยตรงและมีข้อจำกัดน้อยกว่าการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากโครงสร้าง REIT มีความเป็นสากลและมีความยืดหยุ่นในการลงทุนและบริหารจัดการมากกว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์", "title": "กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์" }, { "docid": "279667#28", "text": "4. อสังหาริมทรัพย์ที่ตกอยู่ภายในภาระติดพันตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับประโยชน์ หรือเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้รับโอนภาระติดพันมายังตน (ป.พ.พ. ม.1434 ประกอบกับ ม.1389)", "title": "ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์" }, { "docid": "532661#15", "text": "บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ เป็นหนึ่งในผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยปัจจุบันบริษัทดำเนินการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ผ่านบริษัท ยู ซิตี้ จำกัด (มหาชน) ซึ่งลงทุนในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศ และการลงทุนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ร่วมกับแสนสิริ เพื่อพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร", "title": "บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์" }, { "docid": "279667#8", "text": "นอกจากนี้ ในกรณีที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีหนี้จะต้องชำระตามภาระติดพัน ถ้าไม่ชำระ ผู้รับประโยชน์อาจขอให้ศาลตั้งผู้รักษาทรัพย์เพื่อจัดการทรัพย์สินของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์และชำระหนี้แทนเจ้าของผู้นั้นด้วย หรืออาจร้องขอให้ศาลสั่งให้เอาทรัพย์สินของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ออกขายทอดตลาด แล้วนำเงินที่ได้จ่ายให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามจำนวนที่เขาควรได้ แต่ถ้าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์สามารถหาประกันมาให้ได้ ศาลจะไม่ออกคำสั่งเช่นนั้นหรือจะถอนคำสั่งตั้งผู้รักษาทรัพย์ดังกล่าวก็ได้ (ป.พ.พ. ม.1433)", "title": "ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์" }, { "docid": "542957#4", "text": "ตารางเปรียบเทียบ REIT กับกองทุนอสังหาริมทรัพย์REIT ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์", "title": "กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์" }, { "docid": "279667#0", "text": "ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ () เป็นทรัพยสิทธิประเภทหนึ่งที่ตัดทอนกรรมสิทธิ์ของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ กล่าวคือ อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภาระติดพันอันเป็นเหตุให้ผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับชำระหนี้เป็นคราว ๆ จากอสังหาริมทรัพย์นั้น หรือได้ใช้และถือประโยชน์แห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นตามที่ระบุกันไว้ เช่น อนุญาตให้เพื่อนสามารถเข้าอาศัยในบ้านพักตากอากาศชายทะเลได้ในเดือนเมษายนของทุกปีเป็นเวลาสามสิบปี หรืออนุญาตให้เพื่อนได้รับเงินหนึ่งล้านบาทจากค่าเช่าที่ดินที่ตนเก็บมาทุกครั้งเป็นเวลาสามสิบปี เป็นต้น", "title": "ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์" }, { "docid": "11112#2", "text": "อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ที่ดิน ทรัพย์อันติดกับที่ดิน หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน รวมทั้งสิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินด้วย จากนิยามดังกล่าว อาจแบ่งอสังหาริมทรัพย์ออกได้ดังนี้", "title": "อสังหาริมทรัพย์" }, { "docid": "542957#0", "text": "กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust: REIT) เป็นกองทรัพย์สินที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มีลักษณะเป็นกองทรัสต์ ไม่ใช่นิติบุคคลเหมือนกองทุนอสังหาริมทรัพย์ โดยกองทรัพย์สินที่ต้องลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต้องไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท ถือกรรมสิทธิ์โดยทรัสตี(Trustee) ซึ่งทรัสตีมีอำนาจดูแลและบริหารจัดการทรัพย์สินในกองทรัสต์รวมทั้งดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการกองทรัสต์(REIT manager) เพื่อประโยชน์ของผู้ถือใบทรัสต์ โดยผู้ถือใบทรัสต์จะเป็นผู้รับประโยชน์ในทรัพย์สินของกองทรัสต์ โดย REIT จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์", "title": "กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์" }, { "docid": "11112#1", "text": "ถ้าจะมีการกระทำการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน อาคาร บ้านเรือน ในทางกฎหมายกำหนดให้ต้องทำสัญญาหนังสือ ให้เป็นลายลักษณ์อักษร เช่นโฉนด หรือทะเบียนที่ดินเป็นเอกสารที่แสดงความเป็นเจ้าของที่ดินแปลงนั้นๆ ทั้งนี้ก็เพราะว่าอสังหาริมทรัพย์ เป็นทรัพย์สินทีมีมูลค่าสูงจึงต้องมีกฎหมายควบคุมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา", "title": "อสังหาริมทรัพย์" }, { "docid": "877240#2", "text": "เดอะทรัมป์ ออร์แกไนเซชั่น มีความสนใจในด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ,การลงทุน ,การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์การขาย และการตลาดและการจัดการทรัพย์สิน บริษัทยังเป็นเจ้าของดำเนินการลงทุนและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย ,โรงแรม ,รีสอร์ท ,อาคารที่อยู่อาศัย และสนามกอล์ฟในประเทศต่างๆ รวมถึงการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์หลายพันหลายพันตารางฟุต (หลายเฮกตาร์) ของอสังหาริมทรัพย์ที่สำคัญในแมนฮัตตัน ", "title": "เดอะทรัมป์ ออร์แกไนเซชั่น" } ]
1913
บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ มีใครเป็นผู้ก่อตั้ง?
[ { "docid": "230186#0", "text": "บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (เดิม: บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด) เป็นบริษัทที่ดำเนินการผลิต ละคร เกมโชว์ วาไรตี้ ให้กับช่องวัน และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด ผู้ถือใบอนุญาตประกอบกิจการดิจิทัลทีวีช่องวันในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จาก กสทช. ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ในชื่อ บริษัท จีเอ็มเอ็มวัน ทีวี เทรดดิง จำกัด โดยจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และ กลุ่มของนายถกลเกียรติ วีรวรรณ ประกอบไปด้วย ถกลเกียรติ วีรวรรณ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด และบริษัท วัน ทำ ดี จำกัด ถือหุ้นในสัดส่วน 51% ต่อ 49% ด้วยทุนจดทะเบียน 900,000,000 บาท ภายหลังได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 1,275,000,000 บาท และได้บริษัท ประนันท์ภรณ์ จำกัด บริษัทในกลุ่มปราสาททองโอสถ ของ ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ มาร่วมเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 3,810,000,000 บาท", "title": "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์" }, { "docid": "230186#2", "text": "หลังจากก่อตั้ง เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ นายถกลเกียรติ ได้รวม เอ็กแซ็กท์ และ ซีเนริโอ เข้ามาเป็นบริษัทเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการบริหาร และภายหลังจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ได้รวมเอา บริษัท มีมิติ จำกัด เข้า เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ เพื่อร่วมผลิตเกมโชว์ลงช่องวันและจีเอ็มเอ็ม 25 และเพื่อเพิ่มความสะดวกในการบริหารให้เป็นหนึ่งเดียว", "title": "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์" }, { "docid": "280834#3", "text": "บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด เป็นบริษัทบริหารสถานีโทรทัศน์ ผลิตสื่อ และบริหารนักแสดง บริหารงานโดย ถกลเกียรติ วีรวรรณ และมี บริษัท ประนันท์ภรณ์ จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท", "title": "รายชื่อกลุ่มบริษัทและธุรกิจในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่" } ]
[ { "docid": "230186#1", "text": "ในยุคเริ่มแรก ถกลเกียรติ วีรวรรณ หนึ่งในกรรมการบริษัทของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ก่อตั้ง บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และควบตำแหน่งทั้งเป็นผู้จัดละครโทรทัศน์ ผู้กำกับ และผู้จัดการทั่วไป โดยรับจ้างผลิตละคร เกมโชว์ ทอล์คโชว์ วาไรตี้โชว์ เพื่อป้อนลงสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ซึ่งเริ่มจัดตั้งบริษัทในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 และเริ่มออกอากาศละครซิตคอม เรื่อง \"3 หนุ่ม 3 มุม\" เป็นรายการแรกของบริษัท ต่อมา ในปี พ.ศ. 2535 ได้สร้างละครดราม่าเรื่องแรกของบริษัทเรื่อง รักในรอยแค้น และในปี พ.ศ. 2546 ถกลเกียรติ ได้ก่อตั้ง บริษัท ซีเนริโอ จำกัด โดยถือหุ้นเอง 75% และให้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ถือหุ้น 25% โดยมีจุดประสงค์เดียวกับเอ็กแซ็กท์ คือเป็นบริษัทที่ดำเนินการผลิต ละคร เกมโชว์ วาไรตี้ และละครเวที เพื่อป้อนลงช่องต่าง ๆ ตลอดมา", "title": "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์" }, { "docid": "280834#7", "text": "บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด โดย ซีเนริโอ เป็นหนึ่งในผู้ผลิตละครเวทีชั้นนำของประเทศไทย โดยบริษัทฯ เป็นผู้บริหารโรงละครบอรดเวย์ เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ ร่วมกับเมืองไทยประกันชีวิต และธนาคารไทยพาณิชย์ และยังเป็นผู้พัฒนาละครเวทีหลากหลายเรื่องดังนี้บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด โดย บริษัท แอ็กซ์ สตูดิโอ จำกัด เป็นผู้บริหารสตูดิโอถ่ายทำรายการโทรทัศน์ขนาดใหญ่ในตำบลบางคูวัด อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ภายใต้ชื่อ แอ็กซ์ สตูดิโอ ปัจจุบันสตูดิโอดังกล่าวเป็นสตูดิโอถ่ายทำรายการหลักของทั้งช่องวัน 31 และ จีเอ็มเอ็ม 25", "title": "รายชื่อกลุ่มบริษัทและธุรกิจในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่" }, { "docid": "630031#2", "text": "เจ้าของดั้งเดิมของ เอ็นบีเอ็น, เดอะ นิวคาสเซิล บรอดแคสติ่ง แอนด์ เทเลวิชั่น คอร์ปเปอร์เรชั่น (เอ็นบีทีซี) ถูกก่อตั้งในเดือนพฤษภาคมปี 1958 เพื่อเริ่มต้นการเตรียมการสำหรับการจัดสรรใบอนุญาตโทรทัศน์ที่จะเกิดขึ้น. ผู้ถือหุ้นหลักใน เอ็นบีทีซี คือ บริษัท ยูไนเต็ด บรอดแคสติ่ง (เป็นเจ้าของโดย ครอบครัวเล็ม, เจ้าของสถานีวิทยุ 2เคโอ), บริษัท แอร์เซล บรอดแคสติ่ง (เจ้าของสถานีวิทยุท้องถิ่น 2เอชดี), และ เดอะ \"นิวคาสเซิล มอร์นิ่ง เฮอร์ราด แอนด์ ไมเนอร์ แอดโวเคด\" (ที่ถูกซื้อโดย จอห์นเวลล์ แอนด์ ซัน จำกัด). ให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของ คณะกรรมการควบคุมบีบีซีของออสเตรเลีย, อย่างน้อย 50% ของ บริษัท จะต้องเป็นเจ้าของท้องถิ่น. 750,000 หุ้นที่ได้รับการทำใช้ได้โดย เดอะ เอ็นบีทีซี (10 เพนนีเทียบเท่ากับ 1 ดอลล่าร์ออสเตรเลลีย). ประมาณ 2,000 คนซื้อหุ้น.", "title": "เอ็นบีเอ็น เทเลวิชั่น" }, { "docid": "352374#7", "text": "ละครในปี พ.ศ. 2560 เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้นำมาสร้างใหม่เพื่อออนแอร์ลงช่องวัน เดิมทีมีแผนให้ ชนะ คราประยูร ซึ่งเคยกำกับเวอร์ชันที่แล้วมากำกับเวอร์ชันนี้ด้วย แต่ภายหลังได้เปลี่ยนผู้กำกับเป็นสันต์ ศรีแก้วหล่อ ที่เคยฝากผลงานละครฟอร์มดีของค่ายไว้มากมาย อาทิ ฟ้าเพียงดิน, เลือดขัตติยา, แก้วลืมคอน, รักหลอก ๆ อย่าบอกใคร, ลิขิตรัก ลิขิตเลือด, ละอองดาว, หัวใจศิลา, แก้วล้อมเพชร, ชิงชัง, ตราบาปสีขาว, เรือนแพ, ดอกโศก, คู่กรรม, แผนรัก แผนร้าย, อีสา-รวีช่วงโชติ, บัลลังก์เมฆ, พิษสวาท ฯลฯ", "title": "แต่ปางก่อน" }, { "docid": "280834#5", "text": "หลังการประมูล จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ก่อตั้ง บริษัท จีเอ็มเอ็มวัน ทีวี เทรดดิ้ง จำกัด โดยบริษัทถือหุ้นจดทะเบียน 100% หลังก่อตั้ง บริษัทฯ ได้แยก เอ็กแซ็กท์ ซีเนริโอ และมีมิติ ออกจากจีเอ็มเอ็ม มีเดีย และรวมเข้ากับ จีเอ็มเอ็มวัน ทีวี เทรดดิ้ง ภายหลังบริษัทนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ใน พ.ศ. 2559", "title": "รายชื่อกลุ่มบริษัทและธุรกิจในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่" }, { "docid": "230186#3", "text": "เอ็กแซ็กท์และซีเนริโอ ได้ผลิตรายการโทรทัศน์และละครโทรทัศน์ต่างๆ ทั้งเกมโชว์ ควิซโชว์ เกมโชว์สำหรับเด็กและเยาวชน ทอล์คโชว์ วาไรตี้โชว์ วาไรตี้โชว์ซิตคอม ละครโทรทัศน์ ละครซิทคอม ละครซีรีส์ และเรียลลิตี้โชว์เป็นจำนวนกว่า 250 รายการ เพื่อนำเสนอออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์, สถานีโทรทัศน์ไอทีวี และสถานีโทรทัศน์วัน \nปัจจุบันเอ็กแซ็กท์และซีเนริโอมีรายการโทรทัศน์และละครโทรทัศน์ที่กำลังออกอากาศอยู่เป็นจำนวน 12 รายการ เป็นรายการประเภทเกมโชว์ วาไรตี้โชว์ ละครโทรทัศน์และละครซิตคอม ออกอากาศทางช่องวัน 31", "title": "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์" }, { "docid": "289604#7", "text": "ปี พ.ศ. 2554 รุ่งธรรมได้ร่วมทุนกับบริษัท จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี จำกัด ก่อตั้ง บริษัท มีมิติ จำกัด ขึ้น มีจุดประสงค์ที่จะสร้างปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ให้กับวงการโทรทัศน์ไทย โดยเฉพาะรายการประเภทเกมโชว์ ควิซโชว์ และเรียลลิตี้ ปัจจุบัน มีมิติ เป็นส่วนหนึ่งของ บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด", "title": "รุ่งธรรม พุ่มสีนิล" } ]
459
สงครามดอกกุหลาบ เกิดจากความขัดแย้งของใคร?
[ { "docid": "156009#0", "text": "สงครามดอกกุหลาบ (English: Wars of the Roses) เป็นชุดสงครามราชวงศ์ที่ผู้สนับสนุนราชวงศ์แพลนแทเจเนตสองสายที่เป็นคู่แข่งชิงราชบัลลังก์อังกฤษกัน ได้แก่ ราชวงศ์แลงแคสเตอร์และราชวงศ์ยอร์ก (ซึ่งสัญลักษณ์ตราประจำตระกูล คือ ดอกกุหลาบสีแดงและสีขาวตามลำดับ) ทั้งสองฝ่ายรบกันเป็นช่วงห่าง ๆ กันระหว่างปี 1455 ถึง 1485 แม้จะมีการสู้รบที่เกี่ยวข้องอีกทั้งก่อนหน้าและหลังช่วงนี้ สงครามดังกล่าวเป็นผลจากปัญหาทางสังคมและการเงินหลังสงครามร้อยปี ชัยชนะบั้นปลายเป็นของผู้เรียกร้องเชื้อสายแลงแคสเตอร์ค่อนข้างห่าง เฮนรี ทิวดอร์ ผู้กำราบพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ยอร์ก และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมสองราชวงศ์ หลังจากนั้น ราชวงศ์ทิวดอร์ปกครองอังกฤษและเวลส์เป็นเวลา 117 ปี", "title": "สงครามดอกกุหลาบ" } ]
[ { "docid": "228211#1", "text": "การสิ้นสุดของสงครามเป็นการสิ้นสุดของราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทและเป็นการเริ่มการปกครองอังกฤษของราชวงศ์ใหม่ราชวงศ์ทิวดอร์โดยมีสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 7 เป็นปฐมกษัตริย์ ในทางประวัติศาสตร์ยุทธการบอสเวิร์ธฟิลด์ถือว่าเป็นยุทธการสุดท้ายของสงครามดอกกุหลาบสงครามดอกกุหลาบและเป็นจุดสิ้นสุดของยุคกลางในราชอาณาจักรอังกฤษ แม้ว่าจะมียุทธการที่เกิดขึ้นหลังจากยุทธการนี้โดยผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์จากฝ่ายราชวงศ์ยอร์คที่ไม่สำเร็จก็ตาม ยุทธการครั้งนี้เป็นการต่อสู้แบบสงครามยุคกลางยุทธการสุดท้ายและพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 ทรงเป็นกษัตริย์อังกฤษองค์สุดท้ายที่เสด็จสวรรคตในสนามรบ", "title": "ยุทธการที่บอสเวิร์ธฟิลด์" }, { "docid": "390184#25", "text": "กุหลาบจุฬาลงกรณ์ คือ ดอกกุหลาบพันธุ์หนึ่ง ไม่มีหนามที่ลำต้น มีขนาดดอกที่ใหญ่มาก สีชมพู และมีกลิ่นหอมจัด เกิดการการเพาะพันธุ์ของชาวยุโรปผู้หนึ่ง และชาวยุโรปผู้นั้นได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ตั้งชื่อกุหลาบงามพันธุ์ที่เขาผสมขึ้นใหม่ว่า “King of Siam” ซึ่งเป็นดอกกุหลาบที่โปรดของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี และทรงถวายนามกุหลาบนั้นว่า \"กุหลาบจุฬาลงกรณ์\"", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช" }, { "docid": "156009#84", "text": "นอกจากจะเป็นบทวิจัยที่ลึกซึ้งแล้ว แต่ละยุทธการก็ยังมีแผนผังแสดงที่ตั้งของแต่ละฝ่ายและทิศทางของการต่อสู้ด้วย เป็นเว็บไซต์ที่มีบทความเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับสงครามดอกกุหลาบโดยเฉพาะในบทความหัวข้อ ทหารและการสงครามระหว่างสงครามดอกกุหลาบ เป็นเว็บไซต์ที่มีแผนที่, ลำดับเหตุการณ์ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสงคราม และ สรุปย่อของยุทธการต่างๆ แต่ละยุทธการในสงคราม", "title": "สงครามดอกกุหลาบ" }, { "docid": "156009#26", "text": "พระเจ้าเฮนรีทรงหายจากการเสียพระสติในปี ค.ศ. 1455 และกลับไปตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ใกล้ชิดกับพระองค์ในราชสำนัก โดยการนำของพระนางมาร์กาเร็ตแห่งอองชู ผู้กลายเป็นผู้นำฝ่ายแลงแคสเตอร์โดยปริยาย ริชาร์ด ดยุกแห่งยอร์กก็ถูกบังคับให้ออกจากราชสำนัก พระนางมาร์กาเร็ตทรงสร้างพันธมิตรขึ้นเพื่อต่อต้านและลดอำนาจของริชาร์ด ความขัดแย้งในที่สุดก็นำไปสู่สงครามในปี ค.ศ. 1455", "title": "สงครามดอกกุหลาบ" }, { "docid": "156009#24", "text": "ความขัดแย้งระหว่างฝักฝ่ายขุนนางต่างๆ ที่มีกองกำลังส่วนตัว และความฉ้อโกงของราชสำนักของพระเจ้าเฮนรีที่ 6 เป็นผลให้เกิดความคุกรุ่นที่พร้อมที่จะนำไปสู่สงครามกลางเมือง เมื่อมีพระมหากษัตริย์ที่อ่อนแออำนาจจึงตกไปอยู่ในมือของผู้ที่อยู่ใกล้ชิดพระองค์ ในกรณีนี้คือในมือของดยุกแห่งซัมเมอร์เซตและฝ่ายแลงแคสเตอร์ ริชาร์ดและฝ่ายยอร์คที่อยู่ไกลจากอำนาจก็พบว่าอำนาจร่อยหรอลงไปทุกวัน เช่นเดียวกับอำนาจของพระมหากษัตริย์ แต่อำนาจฝ่ายแลงคาสเตอร์เพิ่มมากขึ้นเมื่อพระเจ้าเฮนรีพระราชทางดินแดนต่างๆ ให้แก่ฝ่ายแลงคาสเตอร์", "title": "สงครามดอกกุหลาบ" }, { "docid": "156009#6", "text": "แม้ว่าดอกกุหลาบจะใช้บ้างบางครั้งระหว่างสงคราม แต่ผู้เข้าร่วมสงครามส่วนใหญ่แล้วจะติดตราของเจ้าของที่ดินผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นระบบที่ไม่เป็นทางการที่เจ้าของที่ดินสัญญาว่าจะปกป้องคุ้มครองผู้ที่ทำมาหากินในที่ดินโดยการให้ใช้ตราและสัญลักษณ์ การขยายตัวของระบบนึ้ทำให้อำนาจของพระมหากษัตริย์เสื่อมลงและเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสงครามขึ้น ตัวอย่างของการใช้สัญลักษณ์ก็ได้แก่กองกำลังของพระเจ้าเฮนรีที่ 7 ที่บอสเวิร์ธที่ใช้ธงมังกรแดง และกองกำลังยอร์คที่ใช้สัญลักษณ์หมีขาว ความสำคัญของดอกกุหลาบมาเกิดขึ้นเมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 7 หลังจากยุติสงครามแล้วทรงรวมดอกกุหลาบแดงและขาวเป็นดอกกุหลาบแดงขาวดอกเดียวที่เรียกว่า “กุหลาบทิวดอร์”", "title": "สงครามดอกกุหลาบ" }, { "docid": "156009#75", "text": "สงครามดอกกุหลาบไม่ได้ช่วยอิทธิพลของอังกฤษในฝรั่งเศสที่เริ่มลดลงอยู่แล้ว เมื่อเสร็จสิ้นสงครามดินแดนที่เคยได้มาระหว่างสงครามร้อยปีก็ไม่มีเหลืออยู่อีกเลยนอกไปจากคาเลส์ซึ่งก็มาเสียให้แก่ฝรั่งเศสระหว่างรัชสมัยของพระนางแมรี แม้ว่าพระมหากษัตริย์อังกฤษจะพยายามรณรงค์ในยุโรป แต่อังกฤษก็ไม่สามารถยึดดินแดนใดใดที่เสียไปคืนมาได้ ดัชชี และราชอาณาจักรต่างๆ ในยุโรปมีบทบาทโดยตรงต่อผลของความพยายามของอังกฤษ โดยเฉพาะเมื่อพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสและดยุกแห่งเบอร์กันดียุยงฝักฝ่ายในอังกฤษให้มีความขัดแย้งกันเองโดยการสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินหรือทางการทหาร หรือให้ที่พำนักแก่พระราชวงศ์ ขุนนาง หรือผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ผู้มาลี้ภัย ซึ่งเป็นสร้างสถานการณ์ที่ช่วยเพิ่มความแตกแยกขึ้นในอังกฤษซึ่งเป็นผลทำให้อ่อนแอลง", "title": "สงครามดอกกุหลาบ" }, { "docid": "259148#0", "text": "ความบาดหมางระหว่างเพอร์ซีย์และเนวิลล์ () เป็นการปะทะกันอย่างประปรายระหว่างตระกูลสำคัญสองตระกูลทางตอนเหนือของอังกฤษและผู้ติดตามที่มีส่วนที่ทำให้เกิดสงครามดอกกุหลาบ", "title": "ความบาดหมางระหว่างเพอร์ซีย์และเนวิลล์" }, { "docid": "211837#1", "text": "มาร์กาเร็ตทรงเป็นผู้นำกองทัพของแลงคาสเตอร์ในสงครามดอกกุหลาบหลายครั้ง; และเพราะการที่พระสวามีมีพระอาการเหมือนคนเสียสติเป็นพัก ๆ มาร์กาเร็ตจึงแทบจะกลายเป็นผู้ปกครองราชอาณาจักรในนามของพระสวามี ในเดือนพฤษภารมปี ค.ศ. 1455 มาร์กาเร็ตเป็นผู้เรียกประชุมสภาองค์มนตรีที่ไม่รวมฝ่ายยอร์คเข้าในการประชุมด้วยซึ่งทำให้เป็นชนวนของความขัดแย้งที่ยืนยาวกว่าสามสิบปี และทำลายขุนนางและผู้คนไปเป็นจำนวนมากมาย", "title": "มาร์กาเรตแห่งอ็องฌู" }, { "docid": "156009#80", "text": "บุคคลสำคัญอื่นๆ ดูที่: รายชื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสงครามดอกกุหลาบ", "title": "สงครามดอกกุหลาบ" }, { "docid": "156009#44", "text": "หลังจากนั้นเอ็ดเวิร์ดและวอริกก็นำกองทัพใหญ่ขึ้นไปทางเหนือไปปะทะกับกองทัพของฝ่ายแลงแคสเตอร์ที่มีกำลังพอ ๆ กันที่โทว์ทัน ยุทธการที่โทว์ทันไม่ไกลจากยอร์กที่เกิดขึ้นเป็นยุทธการที่ใหญ่ที่สุดในสงครามดอกกุหลาบ ทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าปัญหาทั้งหมดต้องตกลงกันให้เป็นที่สิ้นสุดกันในวันนั้นโดยไม่มีฝ่ายใดที่จะยอมประนีประนอมแม้แต่เพียงก้าวเดียว ทหารที่เข้าร่วมต่อสู้มีทั้งหมดด้วยกันประมาณ 40,000 ถึง 80,000 คนโดยมีผู้เสียชีวิตราว 20,000 คนระหว่างการต่อสู้ หรือหลังจากการต่อสู้ ซึ่งเป็นผู้เสียชีวิตที่เป็นจำนวนอันมหาศาลที่เกิดขึ้นภายในวันเดียวบนแผ่นดินอังกฤษ ในยุทธการครั้งนี้เอ็ดเวิร์ดและผู้สนับสนุนได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด ผู้นำของฝ่ายแลงแคสเตอร์เสียชีวิตไปเกือบทั้งหมด เมื่อได้ข่าวการพ่ายแพ้พระเจ้าเฮนรีและพระนางมาร์กาเรตผู้ประทับรออยู่ที่ยอร์กพร้อมกับพระราชโอรสก็เสด็จหนีขึ้นเหนือ ผู้ที่รอดมาได้จากยุทธการก็สลับข้างไปสนับสนุนพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ผู้ที่ไม่ยอมสนับสนุนก็ถูกไล่ขึ้นไปทางพรมแดนทางตอนเหนือและเวลส์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงเปลี่ยนหัวของพระราชบิดา พระอนุชาเอ็ดมันด์ เอิร์ลแห่งรัทแลนด์ และเอิร์ลแห่งซอลสบรีที่เสียบประจานไว้หน้าเมืองยอร์ก ด้วยหัวของขุนนางแลงแคสเตอร์ผู้พ่ายแพ้เช่นหัวของจอห์น คลิฟฟอร์ด บารอนที่ 9 แห่งคลิฟฟอร์ด ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้มีบทบาทในการสังหารเอิร์ลแห่งรัทแลนด์หลังจากยุทธการที่เวกฟิลด์", "title": "สงครามดอกกุหลาบ" }, { "docid": "259148#1", "text": "การปะทะกันครั้งแรกเกิดขึ้นราวคริสต์ทศวรรษ 1450 ก่อนที่สงครามดอกกุหลาบจะเกิดขึ้น ความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันระหว่างสองตระกูลนี้นำไปสู่สงครามที่เกิดขึ้นหลายครั้งต่อมา", "title": "ความบาดหมางระหว่างเพอร์ซีย์และเนวิลล์" }, { "docid": "218962#4", "text": "วันหนึ่ง เจ้าชายผู้หนึ่งได้ยินเสียงราพันเซลร้องเพลง เขาจึงขี่ม้าไปที่หอ และมองขึ้นที่โฉมงามในหน้าต่าง ความรักเกิดขึ้นในหัวใจเขา เจ้าชายกลับมาฟังราพันเซลร้องเพลงทุกๆ วัน เขาพยายามที่ค้นหาวิธีหนึ่งที่จะบอกเธอเรื่องความรักของเขา เมื่อเขารอ เขาได้ยินแม่มดเรียกราพันเซล และเห็นเธอปีนผมเปียขึ้น วันถัดไป เจ้าชายปลอมเสียงเรียกแบบแม่มดเจ้าชายปีนขึ้นไปข้างในหอ ราพันเซลตกใจ เธอไม่เคยเจอใครมาก่อนนอกจากแม่มด แต่เจ้าชายพูดกับเธอด้วยความอ่อนโยน เขาบอกเธอว่าเขาได้ตกหลุมรักกับเธอ ราพันเซลฟังด้วยหัวใจเธอ เธอยื่นมือเธอให้เจ้าชายในการสมรส เจ้าชายเยี่ยมราพันเซลทุกๆ บ่าย และมอบดอกกุหลาบให้ภรรยาเขาทุกครั้ง ทั้งสองวางแผนในการหลบหนีออกจากหอ ราพันเซลซ่อนแอบดอกกุหลาบทั้งหลาย โดยแยกดอกออกเป็นกลีบๆ ไว้ในชุดเธอ", "title": "ราพันเซล" }, { "docid": "156009#76", "text": "เมื่อสงครามยุติลงก็เท่ากับเป็นการสิ้นสุดของกองทัพส่วนตัวของขุนนางผู้มีอำนาจ ระเจ้าเฮนรีผู้ทรงต้องการที่จะยุติความขัดแย้งระหว่างขุนนางก็ทรงพยายามโดยการควบคุมขุนนางอย่างไม่ให้ห่างพระหัตถ์ และไม่ทรงอนุญาตให้ขุนนางมีสิทธิในการรวบรวมกองกำลัง อาวุธ และ เลี้ยงกองทัพเพื่อที่จะไม่ให้สามารถก่อความขัดแย้งระหว่างกัน หรือลุกขึ้นมาต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ได้ ฉะนั้นอำนาจทางทหารของบารอนจึงลดถอยลงไปเป็นอันมาก และราชสำนักทิวดอร์อันมีอำนาจกลายเป็นสถานที่สำหรับการตัดสินข้อขัดแย้งระหว่างขุนนางด้วยอิทธิพลของพระเจ้าแผ่นดิน", "title": "สงครามดอกกุหลาบ" }, { "docid": "156009#12", "text": "ความขัดแย้งระหว่างราชวงศ์แลงแคสเตอร์และราชวงศ์ยอร์กเริ่มขึ้นเมื่อพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 ถูกโค่นราชบัลลังก์โดยเฮนรี โบลลิงโบรก ดยุกแห่งแลงแคสเตอร์ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องกันในปี ค.ศ. 1399 ก่อนหน้านั้นรัฐบาลของพระเจ้าริชาร์ดก็ไม่เป็นที่นิยมของประชาชนและขุนนางอยู่แล้ว ความตั้งใจแรกของเฮนรี โบลลิงโบรกเมื่อเดินทางกลับมาจากการลี้ภัยก็เพื่อที่จะมาอ้างสิทธิในการเป็นดยุกแห่งแลงแคสเตอร์ของตนเอง แต่เมื่อมาถึงโบลลิงโบรคก็ได้รับการสนับสนุนจากขุนนางส่วนใหญ่ให้ทำการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง โบลลิงโบรกจึงทำการโค่นราชบัลลังก์และราชาภิเษกเป็นพระเจ้าเฮนรีที่ 4", "title": "สงครามดอกกุหลาบ" }, { "docid": "259148#6", "text": "ความบาดหมางของทั้งสองตระกูลก็ดำเนินต่อมาจนกระทั่งเกิดสงครามดอกกุหลาบและตลอดสงคราม", "title": "ความบาดหมางระหว่างเพอร์ซีย์และเนวิลล์" }, { "docid": "156009#8", "text": "สงครามเป็นการต่อสู้ระหว่างขุนนางหรือชนชั้นเจ้านาย ทหารผู้อยู่ในอารักขา และทหารรับจ้างจากต่างประเทศ ผู้สนับสนุนของแต่ละฝ่ายก็ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์กับราชวงศ์เช่นอาจจะเป็นญาติพี่น้องสายเลือดเดียวกัน ความสัมพันธ์ที่เกิดจากการเสกสมรสระหว่างขุนนางกับราชวงศ์ใดราชวงศ์หนึ่งผู้ไต่เต้าขึ้นมามีอำนาจ และ การมอบหรือการยึดตำแหน่งขุนนางและที่ดิน", "title": "สงครามดอกกุหลาบ" }, { "docid": "228231#0", "text": "จอร์จ แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 1 แห่งแคลเรนซ์ () (21 ตุลาคม ค.ศ. 1449 - 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1478) จอร์จ แพลนแทเจเนต เป็นบุตรชายคนที่สามของริชาร์ด แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 3 แห่งยอร์ก และซิซิลิ เนวิลล์ และเป็นพระอนุชาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 และพระเชษฐาของพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 \nดยุคแห่งแคลเรนซ์มีบทบาทสำคัญในความขัดแย้งในการอ้างสิทธิในการครองราชบัลลังก์ที่ทำให้เกิดสงครามดอกกุหลาบ และถูกประหารชีวิตในข้อหากบฏต่อแผ่นดินในการวางแผนโค่นราชบัลลังก์ของพระเชษฐาพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4", "title": "จอร์จ แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 1 แห่งแคลเรนซ์" }, { "docid": "156009#23", "text": "ความขัดแย้งในราชสำนักก็เช่นเดียวกันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปในประเทศที่ตระกูลขุนนางต่างก็เกิดความขัดแย้งกันเป็นการส่วนตัวและไม่ยอมรับอำนาจจากทางราชสำนักและอำนาจทางศาลมากขึ้นทุกขณะ กรณีที่มีชื่อเสียงคือความบาดหมางระหว่างเพอร์ซีย์และเนวิลล์ ในหลายกรณีเป็นการต่อสู้ระหว่างขุนนางเก่ากับขุนนางใหม่ที่เพิ่งได้รับอำนาจเพิ่มขึ้นและอิทธิพลขึ้นมาในสมัยพระเจ้าเฮนรีที่ 4 ความบาดหมางระหว่างเพอร์ซีย์และเนวิลล์ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างตระกูลเพอร์ซีย์หรือเอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบอร์แลนด์ซึ่งเป็นตระกูลเก่ากับตระกูลเนวิลล์ที่เพิ่งรุ่งเรืองขึ้นมาก็เป็นความขัดแย้งเช่นที่ว่านี้ อีกกรณีหนึ่งก็คือความขัดแย้งระหว่างตระกูลคอร์เทเนย์สและตระกูลบอนวิลล์สในคอร์นวอลล์และเดวอนเชอร์ ปัจจัยหนึ่งของปัญหานี้คือบรรดาทหารจำนวนมากที่กลับมาหลังจากการพ่ายแพ้ในฝรั่งเศส ขุนนางที่มีปัญหาความขัดแย้งก็ใช้ทหารเหล่านี้ในการโจมตี หรือใช้ในการข่มขู่ฝ่ายตรงข้ามหรือเข้าไปข่มขู่เจ้าหน้าที่หรือผู้พิพากษาในศาล", "title": "สงครามดอกกุหลาบ" }, { "docid": "156009#72", "text": "แม้ว่านักประวัติศาสตร์จะยังคงโต้แย้งกันถึงความกระทบกระเทือนของความขัดแย้งของสงครามดอกกุหลาบต่อชีวิตในยุคกลางของอังกฤษ แต่ที่แน่คือสงครามครั้งนี้เป็นสงครามที่สร้างความระส่ำระสายทางการเมืองและความเปลี่ยนแปลงทางดุลยภาพของอำนาจทางการเมือง สิ่งที่ได้รับผลกระทบกระเทือนมากที่สุดคือการสลายตัวของราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทที่มาแทนที่ด้วยผู้นำของราชวงศ์ทิวดอร์ผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงในอังกฤษเป็นอันมากในปีต่อๆ มา หลังจากสมัยของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีแล้วราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทที่ยังพอมีเหลืออยู่บ้างแต่ก็ไม่มีผู้ใดที่จะอ้างได้ว่ามีสิทธิในราชบัลลังก์โดยตรงได้ โดยเฉพาะเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงหนุนหลังให้ฝักฝ่ายย่อยขัดแย้งกันเอง", "title": "สงครามดอกกุหลาบ" }, { "docid": "956302#7", "text": "กุหลาบจุฬาลงกรณ์ คือ ดอกกุหลาบพันธุ์หนึ่ง ไม่มีหนามที่ลำต้น มีขนาดดอกที่ใหญ่มาก สีชมพู และมีกลิ่นหอมจัด เกิดการการเพาะพันธุ์ของชาวยุโรปผู้หนึ่ง และชาวยุโรปผู้นั้นได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ตั้งชื่อกุหลาบงามพันธุ์ที่เขาผสมขึ้นใหม่ว่า “King of Siam” ซึ่งเป็นดอกกุหลาบที่โปรดของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี และทรงถวายนามกุหลาบนั้นว่า \"กุหลาบจุฬาลงกรณ์\"", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพชรบูรณ์" }, { "docid": "228175#0", "text": "ริชาร์ด แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งยอร์คที่ 3 () (21 กันยายน ค.ศ. 1411 - 30 ธันวาคม ค.ศ. 1460) ริชาร์ด แพลนทาเจเน็ทเป็นสมาชิกในราชวงศ์ยอร์คผู้มีตำแหน่งหน้าที่ระดับสูงในฝรั่งเศสในปลายสงครามร้อยปีและในอังกฤษในระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 6 ความขัดแย้งของดยุคแห่งยอร์คกับพระเจ้าเฮนรีเป็นสาเหตุที่ทำความปั่นป่วนทางการเมืองในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสงครามดอกกุหลาบ แม้ว่าริชาร์ด แพลนทาเจเน็ทจะมิได้เป็นพระมหากษัตริย์แต่ก็เป็นบิดาของพระเจ้าแผ่นดินสองพระองค์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4และพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 ริชาร์ด แพลนทาเจเน็ทปกครองอังกฤษในฐานะผู้พิทักษ์แห่งอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1453 ถึงปี ค.ศ. 1454 ซึ่งทำให้ถือกันว่าเป็นขุนนางที่มีอำนาจและอิทธิพลมากที่สุดที่ไม่ได้รับการสวมมงกุฏ ", "title": "ริชาร์ด แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 3 แห่งยอร์ก" }, { "docid": "156009#78", "text": "บันทึกที่เขียนระหว่างสงครามดอกกุหลาบได้แก่:", "title": "สงครามดอกกุหลาบ" }, { "docid": "156009#5", "text": "ชื่อ “สงครามดอกกุหลาบ” เชื่อกันว่ามิได้เป็นชื่อที่ใช้กันในระหว่างสงครามแต่ที่มาของชื่อมาจากตราประจำพระราชวงศ์ทั้งสอง กุหลาบแดงแห่งแลงแคสเตอร์ และ กุหลาบขาวแห่งยอร์ค สงครามดอกกุหลาบเป็นชื่อที่มานิยมเรียกกันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังจากการพิมพ์หนังสือชื่อ “แอนน์แห่งไกเออร์สไตน์” (Anne of Geierstein) โดยเซอร์วอลเตอร์ สกอตต์ สกอตต์ใช้ชื่อที่มาจากบทละครเรื่อง “พระเจ้าเฮนรีที่ 6 ตอนที่ 1” โดยวิลเลียม เชกสเปียร์ซึ่งสองฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันเลือกดอกกุหลาบสีต่างกันที่วัดเทมเพิล", "title": "สงครามดอกกุหลาบ" }, { "docid": "156009#7", "text": "นอกจากนั้นแล้วชื่อของทั้งสองราชวงศ์ก็ไม่มีความเกี่ยวข้องแต่อย่างใดกับเมืองยอร์กและเมืองแลงแคสเตอร์ หรือเทศมณฑลยอร์กเชอร์และแลงคาเชอร์แม้ว่าการแข่งขันคริกเกตหรือรักบีระหว่างสองเทศมณฑลนี้จะใช้คำว่า “สงครามดอกกุหลาบ” ก็ตาม อันที่จริงแล้วอาณาบริเวณที่เกี่ยวข้องกับดัชชีแลงแคสเตอร์ส่วนใหญ่อยู่ในกลอสเตอร์เชอร์ นอร์ธเวลส์ และเชสเชอร์ ขณะที่อสังหาริมทรัพย์และปราสาทของดัชชียอร์กตั้งอยู่ทั่วไปในอังกฤษแม้ว่ส่วนใหญ่จะอยู่ในภูมิภาคชายแดนเวลส์ระหว่างเวลส์และอังกฤษ", "title": "สงครามดอกกุหลาบ" }, { "docid": "156009#74", "text": "แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งการชี้ให้เห็นถึงความเสียหายอันใหญ่หลวงของสงครามดอกกุหลาบก็อาจจะเป็นเครื่องมือที่พระเจ้าเฮนรีที่ 7 ทรงใช้ในการช่วยแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ในการนำมาซึ่งความสันติในบั้นปลายก็เป็นได้ แต่จะอย่างไรก็ตามผลกระทบกระเทือนต่อชนชั้นพ่อค้าและแรงงานในการเป็นสงครามอันยืดเยื้อในการล้อมเมืองหรือปล้นเมืองก็ยังน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศสหรือประเทศอื่นๆ ในยุโรปที่ประสบกับสงครามอันยาวนาน แม้ว่าจะมีการล้อมที่เนิ่นนานอยู่บ้างเช่นการล้อมปราสาทฮาร์เล็ค แต่ก็เป็นการล้อมสถานที่ที่ไกลผู้ไกลคน ในบริเวณที่มีประชากรหนาแน่นถ้ามีการสู้รบกันขึ้นก็จะสร้างความเสียหายอันไม่ควรค่าให้แก่ทั้งสองฝ่าย ฉะนั้นการต่อสู้ส่วนใหญ่จึงเป็นการต่อสู้ที่มีการนัดกันล่วงหน้าในการเลือกจุดที่จะทำการต่อสู้ (pitched battle)", "title": "สงครามดอกกุหลาบ" }, { "docid": "891725#7", "text": "กุหลาบจุฬาลงกรณ์ คือ ดอกกุหลาบพันธุ์หนึ่ง ไม่มีหนามที่ลำต้น มีขนาดดอกที่ใหญ่มาก สีชมพู และมีกลิ่นหอมจัด เกิดการการเพาะพันธุ์ของชาวยุโรปผู้หนึ่ง และชาวยุโรปผู้นั้นได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ตั้งชื่อกุหลาบงามพันธุ์ที่เขาผสมขึ้นใหม่ว่า “King of Siam” ซึ่งเป็นดอกกุหลาบที่โปรดของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี และทรงถวายนามกุหลาบนั้นว่า \"กุหลาบจุฬาลงกรณ์\"", "title": "โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี" }, { "docid": "156009#20", "text": "พระเจ้าเฮนรีที่ 6 แทบจะไม่มีส่วนร่วมในความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยความคิดเห็นทั่วไปแล้วเป็นพระมหากษัตริย์ที่อ่อนแอไม่มีสมรรถภาพ นอกจากนั้นก็ยังมีพระอาการเสียพระสติเป็นระยะ ๆ ซึ่งอาจจะเป็นอาการที่เป็นกรรมพันธุ์มาจากพระเจ้าชาลส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศส พระอัยกาเมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1450 ก็เป็นที่ตกลงกันว่าไม่ทรงมีความสามารถในการทำหน้าที่เป็นพระพระมหากษัตริย์ได้อีกต่อไป", "title": "สงครามดอกกุหลาบ" }, { "docid": "156009#83", "text": "พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ ราชวงศ์แพลนแทเจเนต ราชวงศ์แลงแคสเตอร์ ราชวงศ์ยอร์ก ราชวงศ์ทิวดอร์ สงครามสืบราชบัลลังก์ เจ้าชายในหอคอย รายชื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสงครามดอกกุหลาบ", "title": "สงครามดอกกุหลาบ" } ]
2418
จังหวัดนราธิวาส มีพื้นที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "7013#0", "text": "นราธิวาส เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นหนึ่งในจังหวัดชายแดนใต้สุดของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลตะวันออกของแหลมมลายู ห่างจากกรุงเทพฯ ทางรถยนต์ประมาณ 1,149 กิโลเมตร โดยมีเนื้อที่ประมาณ 4,475.43 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,797,143.75 ไร่ ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดปัตตานีในเขตอำเภอสายบุรี อำเภอไม้แก่น และอ่าวไทย ทิศตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทยและรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศใต้ติดต่อกับรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดยะลาในเขตอำเภอบันนังสตา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้และภูเขา 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด มีป่าพรุประมาณ 361,860 ไร่ ทางแถบทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดทิวเขาสันกาลาคีรีซึ่งเป็นแนวกั้นพรมแดนไทย-มาเลเซีย ลักษณะพื้นที่จะมีความลาดเอียงจากทิศตะวันตกไปสู่ทิศตะวันออก พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่บริเวณติดกับอ่าวไทยและที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำ 4 สาย คือ แม่น้ำบางนรา แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำตากใบ และแม่น้ำโก-ลก มีประชากรจำนวน 796,239 คน แยกเป็นชาย 393,837 คน หญิง 402,402 คน โดยจังหวัดนราธิวาสมีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการอุตสาหกรรมอยู่ที่อำเภอสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่และมีความเจริญกว่าตัวจังหวัดมาก", "title": "จังหวัดนราธิวาส" } ]
[ { "docid": "386369#81", "text": "วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ธนน เวชกรกานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่มจังหวัดนราธิวาส ได้ประกาศให้พื้นที่ทั้งจังหวัดเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ อย่างไรก็ตาม ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ รายงานสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสว่า มีพื้นที่เดือดร้อน 63 ตำบล 221 หมู่บ้าน มีผู้ประสบภัย 48,583 คน รวม 13,473 ครัวเรือน เจ้าหน้าที่ได้อพยพชาวบ้าน 82 ครัวเรือน 388 คน นอกจากนี้ ในพื้นที่อำเภอจะแนะ มีผู้เสียชีวิตเนื่องจากมีโรคประจำตัวและยืนแช่น้ำเป็นเวลานานอีก 1 ราย", "title": "อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554" }, { "docid": "343829#1", "text": "โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ขนาด 400 เตียง ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 180 ถนนระแงะมรรคา ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 71 ไร่ 90 ตารางวา เปิดให้บริการด้านสุขภาพอนามัยแก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดใกล้เคียง เมื่อปี พ.ศ. 2484 แรกเริ่มเป็นเพียงสุขศาลาเท่านั้น จวบจนปี พ.ศ. 2495 กระทรวงสาธารณสุขได้ยกฐานะขึ้นเป็นโรงพยาบาลชื่อว่า \"โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์\" โดยมีนายแพทย์สุรินทร์ พรหมพิทักษ์ เป็นผู้อำนวยการคนแรก ขณะนั้นมีเตียงผู้ป่วย 16 เตียง ต่อมาได้ดำเนินการพัฒนาเรื่อย ๆ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-4 จนมีขีดความสามารถตามมาตรฐานของโรงพยาบาลทั่วไป กระทรวงสาธารณสุข", "title": "โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์" }, { "docid": "195016#6", "text": "สุดท้ายอังกฤษยอมจำนนต่อเหตุผลและยอมรับให้เป็นจังหวัดนราธิวาสในประเทศไทยต่อไป ฝ่ายอังกฤษจึงยอมเลื่อนการปักปันเขตแดนถอยลงไปทางใต้จนถึงลำน้ำแม่น้ำโก-ลก ทำให้พื้นที่ทางตอนเหนือแม่น้ำตากใบของจังหวัดนราธิวาสอยู่ในการปกครองของราชอาณาจักรไทยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีผลให้ 4 อำเภอชายแดนไทย คือ อำเภอตากใบ อำเภอแว้ง อำเภอสุไหงปาดี และ อำเภอสุไหงโก-ลก ไม่ต้องผนวกเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซีย วัดชลธาราสิงเหจึงเป็นที่รู้จักในอีกนามหนึ่งว่า \"วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย\"", "title": "วัดชลธาราสิงเห" }, { "docid": "7013#2", "text": "จังหวัดนราธิวาส เดิมมีฐานะเป็นเพียงเมืองหนึ่งในอาณาจักรลังกาสุกะซึ่งพบหลักฐานโบราณคดีค่อนข้างน้อยเช่น ซากเจดีย์ 3 องค์บริเวณวัดเขากง อายุ1,300ปี(ต่อมาถูกรื้อถอนแล้วสร้างพระพุทธทักษิณมิ่งมงคลแทน) พระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์นิกายมนตยานบิรเวณวัดเขากงเช่นกัน ต่อมา กลายเป็นอำเภอหนึ่ง เรียกว่า อำเภอบางนรา ขึ้นกับเมืองสายบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดหัวเมืองภาคใต้ ต่อมาได้โอนไปขึ้นกับเมืองระแงะ ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดหัวเมืองเช่นกัน โดยประวัติความเป็นมาของนราธิวาสนั้น มีความชื่อมโยงกับเรื่องราวของเมืองปัตตานี เมืองสายบุรี และเมืองระแงะ", "title": "จังหวัดนราธิวาส" }, { "docid": "78627#1", "text": "ด้วยพื้นที่จำนวนมากในจังหวัดนราธิวาส เป็นที่ลุ่มต่ำมีน้ำขังตลอดปี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ซึ่งมีเนื้อที่ ทั้งหมดประมาณ 300,000 ไร่ ประชากรจำนวนมากไม่มีที่ทำกิน แม้เมื่อระบายน้ำออกหมดแล้วยังยากที่จะใช้ประโยชน์ทางการเกษตรให้ได้ผล ทั้งนี้เนื่องจากดินมีสารไพไรท์ทำให้เกิดกรดกำมะถัน เมื่อดินแห้งทำให้ดินเปรี้ยว ควรปรับปรุงดินให้ดีขึ้น ดังนั้นจึงเห็นสมควรที่จะมีการปรับปรุงพัฒนาโดยให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินการศึกษา และพัฒนาพื้นที่พรุร่วมกันแบบผสมผสาน และนำผลสำเร็จของโครงการไปเป็นแบบอย่างในการที่จะพัฒนาพื้นที่พรุในโอกาสต่อไป", "title": "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง" }, { "docid": "7013#1", "text": "ชื่อนราธิวาสเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ. 2458 ชื่อเดิมของพื้นที่นี้คือ มนารา หรือ มนารอ () ซึ่งมีความหมายว่า \"หอคอย\" ที่กลายมาจากคำว่า กูวาลา มนารา () ที่มีความหมายว่า \"กระโจมไฟ\" หรือ \"หอคอยที่ปากน้ำ\" ส่วนชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธจะเรียกว่า บางนรา หรือ บางนาค ต่อมาในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองขึ้นใหม่ว่า นราธิวาส อันมีความหมายว่า \"อันเป็นที่อยู่ของคนดี\"", "title": "จังหวัดนราธิวาส" }, { "docid": "70280#0", "text": "ท่าอากาศยานนราธิวาส () ตั้งอยู่ที่บ้านทอน ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม ปัจจุบันมีทางวิ่ง 2,500 เมตรเพื่อรองรับอากาศยานลำใหญ่ในอนาคต เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2556 ได้เปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์ เดินทางจากท่าอากาศยานนราธิวาสไปท่าอากาศยานเมืองญิดดะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ด้วยเครื่องบินของสายการบินไทย", "title": "ท่าอากาศยานนราธิวาส" }, { "docid": "298601#1", "text": "ที่ตั้งและอาณาเขต เทศบาลเมืองนราธิวาสตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำบางนรา โดยมีเขตเทศบาล ดังนี้\nด้านเหนือ ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ที่ริมทะเลหลวง ห่างจากฝั่งเป็นระยะ 10 เมตร และห่างจากปากแม่น้ำบางนราไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นระยะ 1,600 เมตร เป็นเส้นขนานกับริมทะเลหลวงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ถึงปากแม่น้ำบางนรา ห่างจากทะเลไปทางทิศเหนือ ระยะ 10 เมตร ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 2\nด้านตะวันออก จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นตรงไปทางทิศใต้ ถึงฝั่งตะวันตกของปากแม่น้ำบางนรา และเลียบตามฝั่งตะวันตกของแม่น้ำบางนราไปทางทิศใต้ถึงปากคลองยะกังเป็นหลักเขตที่ 3\nด้านใต้ จากหลักเขตที่ 3 เลียบตามฝั่งเหนือของคลองยะกังไปทางตะวันตกถึงปากคลองขุด ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 4\nด้านตะวันตก จากหลักเขตที่ 4 เลียบตามฝั่งตะวันออกของคลองขุด ไปทางทิศเหนือถึงฟากใต้ของถนนสุริยะประดิษฐ์ ซึ่งเป็นหลักเขตที่ 5\nเทศบาลเมืองนราธิวาสเดิมชื่อ \"บางนรา\" ลักษณะเป็นหมู่บ้านชายทะเล และเป็นท่าเรือสำคัญในแถบนี้ ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งชุมชนเป็นเทศบาลเมืองนราธิวาส เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 และได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนราธิวาสใหม่ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2499", "title": "เทศบาลเมืองนราธิวาส" }, { "docid": "369459#7", "text": "ปี พ.ศ. 2551 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเป็น แม่ทัพภาคที่ 4 ทำให้โครงการต่าง ๆที่ดำเนินการไว้ โดยเฉพาะในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี และพื้นที่ บ.บอเกาะ ต.สากอ อ.สุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ที่เป็นพื้นที่นำร่องและเห็นเป็นรูปธรรม จะได้ขยายสู่ทั่วทุกพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมกันนี้ได้กำหนดยุทธศาสตร์ 4 ด้านดังนี้ 1. การเมืองนำการทหาร 2. การแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี 3. ยึดหลักกฎหมายอย่างเสมอภาคและเป็นธรรมบนหลักสิทธิมนุษยชน 4. การพัฒนาสมดุลยั่งยืนดังนั้นภายใต้อุดมการณ์ วิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ การแก้ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้", "title": "พิเชษฐ์ วิสัยจร" } ]
923
มีหลักฐานว่าชาวฮั่นถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยใด?
[ { "docid": "6332#1", "text": "มีหลักฐานว่าชาวฮั่นถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยหวงตี้ (黃帝) อาศัยอยู่ในแถบดินแดนจงหยวน และกระจายอยู่ทั่วประเทศจีนมายาวนานกว่า 5,000 ปี นับตั้งแต่สมัยเซี่ย ซาง โจว ชุนชิว-จั้นกั๋ว จนมาเริ่มเป็นปึกแผ่นในสมัยฉินและฮั่น สมัยฮั่นนี่เองที่เริ่มมีคำเรียก 'ฮั่น' ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีความเชื่อตามแบบลัทธิเต๋า", "title": "ชาวฮั่น" } ]
[ { "docid": "6332#39", "text": "ไม่ว่าจะมีนิยามของกลุ่มชาติพันธุ์ในจีนสมัยก่อนหรือไม่ยังคงเป็นคำถามที่น่าสงสัย อย่างไรก็ตามตลอดระยะเวลาประวัติศาสตร์ ชาวจีนส่วนใหญ่คิดว่าแต่ละคนเป็นพลเมืองของราชอาณาจักรใดๆโดยเฉพาะ ถึงกระนั้นก็ตามความเป็นเอกภาพหนึ่งเดียวภายใต้การปกครองของหลากหลายราชวงศ์ที่นำโดยชาวฮั่นนับพันๆปีได้นำมาซึ่งอัตลักษณ์ร่วมกัน นักวิชาการชาวจีนมากมายเช่น โห ปิงตี้ เชื่อว่านิยามของชาติพันธุ์ฮั่นเป็นของโบราณ นับย้อนไปถึงราชวงศ์ฮั่นนั่นเอง", "title": "ชาวฮั่น" }, { "docid": "976686#3", "text": "เว็บบอร์ดคอมมูนิตี้โรลเพลย์แห่งนี้จัดเป็นประเภท Serious Role-Play เป็นประเภทเดียวกับบอร์ดโรลเพลย์ตะวันตก หรือ เกมจำลองบทบาทต่างๆ ที่ทุกท่านสามารถพบเห็นได้ใน Steam นิยามของ Serious Role-Play ได้ถูกนิยามไว้ว่าในรัชสมัยราชวงศ์ฉินที่สอง ฮ่องเต้หูไห่ มีพระนามเดิมว่าองค์ชายหูไห่ เป็นพระราชโอรสองค์รองของ ฉินซีฮ่องเต้ ปกครองอ่อนแอ ผลพวงจากพระราชบิดา \"ฉินซีฮ่องเต้\" ที่ทรงสร้างความทุกข์เข็ญ ปกครองโหดเหี้ยมทารุณย์ฝังแค้นในหมู่ราษฎร์ทั้งแผ่นดิน หลังฉินซีฮ่องเต้ทรงสิ้นพระชนม์ชีพไม่นาน หนึ่งปีหลังจากนั้น เฉินเซิ่ง (陈胜) และ อู๋กว่าง (吴广) ได้นำจอบเสียม เหลาไม้ไผ่มาเป็นอาวุธ ปลุกระดมชาวบ้านลุกขึ้นสู้ต่อต้านต้าฉิน จากนั้นกองกำลังกบฎน้อยใหญ่ก็ค่อยๆ ลุกขึ้นสู้ตาม หนึ่งในนั้นมี กองกำลังหลิวปังที่ลุกขึ้นสู้จากเพ่ยเสี้ยนเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และ กองกำลังเซี่ยงอวี่ ที่แข็งแกร่งที่สุดในสมัยนั้น กลุ่มกบฎจากเล็กๆ รวมกลายเป็นกลุ่มใหญ่และร่วมกันตีต้าฉิน \nเรื่องราวหลังจากนั้นนำพาไปสู่สงครามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ การขับเคี่ยวอย่างสูสี อย่าง สงครามฉู่–ฮั่น กินเวลากว่าสี่ปี\nราชวงศ์ฮั่นอยู่ยาวนานมาสี่รัชกาล ความรุ่งเรืองในรัชสมัยฮั่นเหวินตี้-ฮั่นจิ่งตี้ ได้สร้างความผาสุกและเงินทองมากมาย เสบียงสมบูรณ์พร้อมขับไล่ชงหนูไปจากชายแดนเหนือกลับสู่ทางเหนือที่ๆ พวกชงหนูจากมา จนได้ถือกำเนิดองค์ชายน้อยที่มีบารมียิ่งใหญ่นำพายุคทองแห่งราชวงศ์ฮั่นและยุคแห่งวีรบุรุษมากมาย ", "title": "The Legend of Wulin" }, { "docid": "6332#36", "text": "ทุกวันนี้ชาวฮั่นทั่วไปสวมใส่เสื้อผ้าตามแบบตะวันตก ส่วนน้อยสวมใส่เสื้อผ้าแบบชาวฮั่นดั้งเดิมเป็นประจำ อย่างไรก็ตามชุดแบบจีนสงวนไว้สำหรับ เครื่องแต่งกายในศาสนาและพิธีการ ตัวอย่างเช่น พระในลัทธิเต๋าสวมใส่ชุดเดียวกับบัณฑิตในสมัยราชวงศ์ฮั่น ชุดพิธีการในญี่ปุ่นอย่างเช่นพระในลัทธิชินโตเหมือนมากกับชุดพิธีการในจีนในสมัยราชวงศ์ถัง ในปัจจุบันชุดจีนแบบดั้งเดิมที่นิยมมากที่สุดสวมใส่โดยหญิงสาวมากมายในโอกาสสำคัญๆ เช่น งานแต่งงานและงานปีใหม่เรียกว่ากี่เพ้า อย่างไรก็ตามเครื่องแต่งกายเหล่านี้ไม่ใช่มาจากชาวฮั่นแต่มาจากการดัดแปลงชุดแต่งกายของชาวแมนจู ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ปกครองประเทศจีนระหว่างศตวรรษที่ 17 ถึงต้นศตวรรษที่ 20", "title": "ชาวฮั่น" }, { "docid": "122807#1", "text": "ทางด้านการขุดค้นพบ ในสมัยก่อนนั้นชาวญี่ปุ่นยุคใหม่ยังไม่พบหลักฐานใด ๆ ที่แสดงว่าญี่ปุ่นมีคนอาศัยอยู่ตั้งแต่ก่อนสมัยโจมอน (14,000-400 ปีก่อนค.ศ.) และในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมาค้นพบหลักฐานที่ยืนยันว่า มีชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่ในแผ่นดินตั้งแต่ก่อนสมัยโจมอนแล้ว และหลักฐานที่แสดงถึงการเคยมีมนุษย์นั้น ชิ้นที่เก่าที่สุดมีอายุ 35,000 ปีก่อนค.ศ. ตอนนี้จึงสรุปได้เพียงว่าเริ่มมีมนุษย์มาตั้งถิ่นฐานในญี่ปุ่นตั้งแต่ช่วง 35,000 ปีก่อนค.ศ. แต่ในอนาคตอาจค้นพบหลักฐานเพิ่มเติมที่จะบอกว่ามีมนุษย์มาตั้งถิ่นฐานในญี่ปุ่นก่อน 35,000 ปีก่อน ค.ศ. ก็เป็นได้", "title": "ยุคหินญี่ปุ่น" }, { "docid": "216555#1", "text": "ตลอด 17 ปีในรัชกาล เกิดความขัดแย้งกันระหว่างตระกูลของพระสนมและขันที ในรัชสมัยนี้กระดาษแผ่นแรกของโลกก็ถือกำเนิดขึ้น เมื่อมีขันทีชื่อไช่หลุน (ค.ศ. 55 - 121) ได้ผลิตกระดาษขึ้นมาใช้ในราชสำนัก เมื่อ ค.ศ. 105 (พ.ศ. 648)", "title": "จักรพรรดิฮั่นเหอ" }, { "docid": "494954#1", "text": "เมืองนี้ถือกำเนิดจากการเป็นชุมชนที่อาศัยของชาวโรมัน ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถูกปล้นทำลายโดยชาวฮั่นและชาวกอท ตกอยู่ภายใต้การปกครองของตระกูลวิสกอนตีประมาณ ค.ศ. 1359 และกลายเป็นนครรัฐที่สำคัญของอิตาลี", "title": "ปาวีอา" }, { "docid": "129615#19", "text": "หมู่บ้านคุ้งตะเภาตั้งอยู่ตรงข้ามกับหมู่บ้านท่าเสา ที่มีหลักฐานประวัติการมีอยู่ของชุมชนมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ดังปรากฏในจดหมายเหตุของลาลูแบร์ (Du Royaume de Siam) ราชทูตแห่งราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ชาวฝรั่งเศส ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 23 บริเวณแถบหมู่บ้านคุ้งตะเภาจึงเป็นบริเวณที่มีความเจริญมาช้านานแล้ว แต่คงไม่มีหลักฐานชัดเจนปรากฏความมีตัวตนของหมู่บ้านคุ้งตะเภาในเอกสารอื่นใดในสมัยอยุธยา", "title": "หมู่บ้านคุ้งตะเภา" }, { "docid": "115385#0", "text": "thumbnail|250px|หอต้าเฉิง (Dàchéng) อาคารหลักของวัดขงจื๊อในชูฟู่ ลัทธิขงจื๊อ หรือ<b data-parsoid='{\"dsr\":[117,134,3,3]}'>ศาสนาขงจื๊อ[1] (English: Confucianism) เป็นระบบด้านจริยธรรมและปรัชญาของจีน ซึ่งพัฒนาจากการสอนของขงจื๊อ (551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.) นักปรัชญาชาวจีน ลัทธิขงจื๊อถือกำเนิดขึ้นเป็น \"งานสอนด้านจริยธรรม-สังคมการเมือง\" ในยุคชุนชิว แต่ภายหลังพัฒนาส่วนที่เป็นอภิปรัชญาและจักรวาลวิทยาในสมัยราชวงศ์ฮั่น[2] หลังการละทิ้งลัทธิฟาเฉียในประเทศจีนหลังราชวงศ์ฉิน ลัทธิขงจื๊อได้กลายมาเป็นอุดมการณ์แห่งรัฐอย่างเป็นทางการของจีน กระทั่งถูกแทนที่ด้วย \"หลัก 3 ประการแห่งประชาชน\" ของนายแพทย์ ซุนจงซาน เมื่อมีการสถาปนาสาธารณรัฐจีน ตามด้วยคอมมิวนิสต์ลัทธิเหมาหลังสาธารณรัฐจีนถูกแทนที่ด้วยสาธารณรัฐประชาชนจีนในจีนแผ่นดินใหญ่", "title": "ลัทธิขงจื๊อ" }, { "docid": "11140#2", "text": "ตัวอักษรจีน เผยแพร่มาสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านหนังสือต่างๆ จากประเทศจีน หลักฐานอักษรจีนที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น คือ ตราประทับทองคำที่ได้รับจากฮ่องเต้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกในพ.ศ. 600 ชาวญี่ปุ่นเริ่มเรียนรู้ภาษาจีนโบราณด้วยตัวเองตั้งแต่เมื่อใดนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด เอกสารลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของญี่ปุ่นนั้น คือ หนังสือตอบกลับทางการทูตจากกษัตริย์ทั้งห้าแห่งวา (倭の五王 Wa no go-ō) (วา (倭,和 [Wa]) เป็นชื่อแรกของประเทศญี่ปุ่นที่ถูกบันทึกในประวัติศาสตร์) ถึง ซุ่นฮ่องเต้ ((劉) 宋順帝) แห่งราชวงศ์หลิวซ่ง (劉宋) ของจีน ซึ่งเขียนขึ้นโดยชาวจีนที่อาศัยในประเทศญี่ปุ่น เมื่อพ.ศ. 1021 และได้รับการยกย่องว่าใช้สำนวนอุปมาอุปมัยได้อย่างยอดเยี่ยม ต่อมา จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นทรงก่อตั้งองค์กรที่เรียกว่า “ฟุฮิโตะ” ขึ้นเพื่ออ่านและเขียนภาษาจีนโบราณ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นต้นมา เอกสารภาษาจีนที่เขียนในญี่ปุ่นมักจะได้รับอิทธิพลจากภาษาญี่ปุ่น ซึ่งแสดงว่าอักษรจีนได้รับการยอมรับโดยทั่วไปในญี่ปุ่น", "title": "คันจิ" }, { "docid": "888831#3", "text": "ในช่วงระหว่างระยะเวลา 100 ปี แห่งการที่เวียดนามตกภายใต้อิทธิพลและอยู่ในฐานะอาณานิคมของจีน นโยบายการเปลี่ยนเป็นจีน หลังจากการเข้ารวบรวมดินแดนหนานเยฺว่ ได้นำไปสู่ การผสมผสานรวมกันของกองกำลังทหารจักรวรรดิฮั่น, การตั้งถิ่นฐานและการไหลบ่าเข้ามาของชาวจีนฮั่น, เจ้าหน้าที่และทหารรักษาการณ์, นักวิชาการ, ข้าราชการ, รวมไปถึงผู้หลบหนีลี้ภัยทางการเมืองและเชลยศึกกับชาวพื้นเมืองดั้งเดิม ในเวลาเดียวกันเจ้าหน้าที่ผู้ปกครองของจีนต่างสนใจที่จะใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและศักยภาพทางการค้า พวกเขาจึงกอบโกยที่ดินอุดมสมบูรณ์ซึ่งได้จากการยึดครองและขับไล่ชนพื้นเมืองเวียดนาม โดยให้ชาวจีนฮั่นผู้มาอยู่ใหม่ได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานแทน การปกครองของจีนฮั่นทำให้เกิดอิทธิพลใหม่ ๆ ต่อชาวเวียดนามในท้องถิ่นและการปกครองเวียดนามเป็นไปในสภาพฐานะเป็นจังหวัดของจีน โดยดำเนินการเป็นด่านพรมแดนของจักรวรรดิฮั่น ราชวงศ์ฮั่นได้หมดหวังที่จะขยายการเกษตรบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงเนื่องจากประสบกับการต่อต้านของชนพื้นเมืองอยู่ตลอด จึงเปลี่ยนดินแดนเวียดนามเป็นเมืองท่าแหล่งค้าขายที่จะทำหน้าที่เป็นจุดอุปทานที่สะดวกและเป็นเส้นทางการค้าขายสำหรับเรือสำเภาจีนฮั่นซึ่งได้ทำให้จีนมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการค้าทางทะเลที่กำลังเติบโตกับดินแดนภาคใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การจัดตั้งเป็นสถานีการค้าที่โดดเด่นได้มีหลักฐานการติดต่อกับอินเดียโบราณและจักรวรรดิโรมันที่นำเรือมาค้าขาย ในช่วงศตวรรษแรกของการปกครองของจีนเวียดนามได้รับการผ่อนปรนและโดยอ้อมโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายท้องถิ่นอย่างฉับพลัน ในขั้นต้นการปฏิบัติของชาวเวียดนามพื้นเมืองถูกปกครองในระดับท้องถิ่น แต่ถูกตัดสิทธิ์ในด้านการปกครองตนเอง โดยผู้ปกครองห้ามเป็นชาวพื้นเมืองเวียดนามโดยตรง เจ้าหน้าที่ปกครองท้องถิ่นจะต้องเป็นเจ้าหน้าที่ชาวจีนฮั่นที่ถูกส่งมาจากจีนเท่านั้น อย่างไรก็ตามในสมัยศตวรรษแรกคริสต์ศักราช ราชวงศ์ฮั่นได้พยายามที่เสาะหาครอบครองดินแดนใหม่ ๆ โดยใช้นโยบายกลืนชาติต่างๆเป็นจีน โดยการเพิ่มภาษีและจัดตั้งการปฏิรูปการแต่งงานให้ผู้ปกครองชาวจีนฮั่นแต่งงานกับชนพื้นเมืองเพื่อเป็นการกลืนชาติเวียดนามให้เป็นจีน โดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งเป้าไปที่การเปลี่ยนเวียดนามให้กลายเป็นสังคมปรมาจารย์ที่มีความรับผิดชอบทางการเมืองมากขึ้น ", "title": "การปกครองเวียดนามของจีนครั้งแรก" }, { "docid": "8184#78", "text": "Template:CJKV) ในปี พ.ศ. 2278 - พ.ศ. 2339 ถือพระอรหันต์องค์ที่ 17 เป็นอรหันต์สยบมังกร องค์ที่ 18 เป็นองค์ปราบเสือคือองค์พระสังกัจจายน์ การถือกำเนิดของ 18 อรหันต์ ยังไม่มีคัมภีร์เล่มใดกล่าวยืนยันหลักฐานได้แน่นอน เนื่องจากในสมัยนั้นจิตกรชาวจีนได้วาดภาพพระอรหันต์เพิ่มขึ้นอีกสององค์ จึงกลายเป็น 18 อรหันต์ ทำให้ภาพของ 18 อรหันต์กลายเป็นที่สามารถพบเห็นอย่างแพร่หลายต่อมา และมักประดิษฐานพระอรหันต์ 18 องค์ไว้สองข้างของพระอุโบสถใหญ่โดยเฉพาะวัดจีนนิกายมหายาน[46]", "title": "วัดเส้าหลิน" }, { "docid": "15219#33", "text": "ถือกำเนิดขึ้นมาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 โดยไม่ได้ถูกนำเข้ามาจากชาติตะวันตกตามเรื่องเล่ากัน การค้าประเวณีในไทยเริ่มเป็นที่แพร่หลายกับชาวตะวันตก ในช่วงที่มีการติดต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับชาวตะวันตก มีหลักฐานเป็นศัพท์ในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เรียกว่า รับจ้างทำชำเราแก่บุรุษ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ ใน ประมวลกฎหมายตรา 3 ดวง – บทพระไอยการลักษณะผัวเมีย มีการบัญญัติผู้ค้าประเวณีว่า หญิงนครโสเภณี และสมัยสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีสถานประกอบการเรียกว่า โรงหญิงนครโสเภณี โดยทั่วไปมีโคมสีเขียวตั้งข้างหน้า จึงเรียกกันว่า สำนักโคมเขียว ทั้งนี้ก่อนปี พ.ศ. 2499 การค้าประเวณีไม่ถือว่า ผิดกฎหมาย แต่เริ่ม พระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503 กำหนดว่าการค้าประเวณีเป็นความผิดอย่างชัดเจน แต่ในสังคมยุคใหม่เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในช่วงสงครามเวียดนาม โดยในช่วงนั้นการค้าประเวณีจะเป็นการลักลอบค้าประเวณี และปัจจุบันธุรกิจค้าประเวณีในประเทศไทยเป็นธุรกิจแอบแฝง", "title": "การค้าประเวณี" }, { "docid": "638691#2", "text": "ในช่วงของราชวงศ์ฮั่น รูปแบบการเชิดมังกรแบบต่าง ๆ ได้ถูกกล่าวถึง ในสมัยจีนโบราณ มังกรจีน คือผู้กำหนดการตกของฝน ตัวอย่างเช่น มังกร อิ้งหลง (Yinglong) ถูกยกย่องให้เป็นเทพแห่งฝน, และเสินหลง (Shenlong) มีอำนาจในการกำหนดให้มีลมเท่าใด มีฝนเท่าใด ระบำฝนจะจัดขึ้นในช่วงเวลาหน้าแล้งซึ่งจะมีมังกรเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งด้วยเสมอ. ตามหนังสือที่เขียนขึ้นโดยต่ง จ้งซู (Dong Zhongshu) ในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีชื่อหนังสือว่า \"ชุนชิวฝานลู่\" ในส่วนที่เกี่ยวกับพิธีกรรมขอฝน จะมีการใช้มังกรที่ทำจากดินเหนียว และเด็ก ๆ และผู้ใหญ่ก็จะออกมาเต้น จำนวนมังกร ความยาวและสีสันของมังกรจะแตกต่างกันไปตามในแต่ละปีไม่เหมือนกัน. การบันเทิงที่เป็นที่นิยมที่สุดในช่วงของราชวงศ์ฮั่นก็คือ \"ไป่ซี่\" (百戲) การแสดงวาไรตี้โชว์ที่เรียกว่า \"เซี่ยงเหริน\" (象人) จะมีการแต่งตัวรูปแบบหลากหลาย เช่น สัตว์ต่าง ๆ ปลา มังกร ในเรียงความบทกวีของจาง เหิง ที่ชื่อว่า \"ซีจิงฟู่\" (西京賦) ได้มีการบันทึกการแสดงไว้หลากหลาย เช่น การแสดงที่มีการแต่งกายเป็นมังกรเขียวและเป่าขลุ่ย และปลามังกรแสดงการเปลี่ยนร่างเป็นมังกร การแสดงบางอย่างปรากฏให้เห็นบนเห็นแกะสลักสมัยราชวงศ์ฮั่น อุปกรณ์ประกอบฉากเป็นอะไรที่ยุ่งยากที่การเต้นสมัยใหม่ไม่สามารถนำมาใช้ได้ และนักแสดงต้องเป็นผู้ทำให้มังกรดูมีน้ำหนักเบา\nมังกรในสมัยราชวงศ์ฮั่นก็ได้มีการกล่าวถึงในสมัยของราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ่งด้วยเหมือนกัน มังกรที่มีรูปร่าง คล้ายกับโคมมังกร (หลงเติง; 龍燈) ที่ใช้ในงานเทศกาลโคมไฟ พรรณนาอยู่ในการจัดงานของราชวงศ์ซ่งที่ชื่อว่า \"ตงจิงเมิ่งฮว๋าลวู่\" โดยได้มีการสร้างมังกรจากแก้วและผ้า ข้างในบรรจุเทียนจำนวนมาก สำหรับโคมไฟมังกรอาจจะหิ้วเดินขบวนกันไปตามถนนในช่วงค่ำคืนของเทศกาลโคมไฟ ซึ่งอาจจะนำไปประยุกต์กับการเชิดสิงโตในรูปแบบปัจจุบันที่มักจะจัดกันในตอนกลางวัน ซึ่งไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการเชิดสิงโตแบบสมัยใหม่เริ่มกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อใด ในสมัยปัจจุบัน รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้มีการปรับปรุง ประยุกต์ และประชาสัมพันธ์การเต้นรำแบบพื้นเมืองหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยให้การเชิดสิงโตเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในประเทศจีน และสังคมชาวจีนทั่วโลก", "title": "การเชิดมังกร" }, { "docid": "52891#12", "text": "ชนเผ่าเยอรมันต่าง ๆ เข้ามาแทนที่จักรวรรดิโรมัน ได้แก่ ชาวแองเกิลส์และชาวแซกซันในอังกฤษ ชาวแฟรงก์ในฝรั่งเศส ชาววิซิกอธในสเปน ชาวแวนดัลในแอฟริกา ชาวออสโตรกอธในอิตาลี แต่จักรวรรดิโรมันตะวันออกนั้นยังอยู่ยั้งยืนยง แต่ในยุโรปตะวันตกนั้น อารยธรรมโรมันค่อย ๆ สูญสลาย เมื่อบ้านเมืองไม่มีขื่อแป การค้าขายและคุณภาพชีวิตจึงเสื่อมลง มีเพียงคริสตจักรที่ยังคงประดิษฐานมั่นคงเป็นที่พึ่งของประชาชน สมัยนี้จึงเรียกว่ายุคมืดซึ่งไม่เกี่ยวกับความมืดมนแต่อย่างใดแต่เป็นสมัยที่บันทึกและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่มีหรือครุมเครือ", "title": "สมัยกลาง" }, { "docid": "130015#29", "text": "สมัยคุปตะเป็นสมัยที่ศิลปวัฒนธรรมอินเดียรุ่งเรือง เป็นยุคทองของศาสนาฮินดูและพุทธ คัมภีร์ปุราณะก็ถือกำเนิดในสมัยนี้ แต่ราชวงศ์คุปตะก็เสื่อมลง ด้วยการรุกรานจากพวกหุนะ หรือ พวกฮั่น (Huns) หรือ เฮฟทาไลท์ (Hephthalites) จากเอเชียกลาง พวกหุนะบุกทะลุทะลวงเข้ามายึดได้ตั้งแต่เทือกเขาฮินดูกูชถืงแคว้นมัลละ ราชวงศ์คุปตะอ่อนแอลงและแตกออกเป็นอาณาจักรย่อยๆ ขณะที่ราชวงศ์คุปตะยังคงครองแคว้นมคธอยู่แต่สูญเสียการควบคุมอาณาจักรอื่น", "title": "ประวัติศาสตร์อินเดีย" }, { "docid": "526084#1", "text": "ลัทธิบัวขาว มีหลักความเชื่อที่ผสมผสานระหว่างศาสนามาณีกีกับศาสนาพุทธ มีหลักปฏิบัติคือการกินเจอย่างเคร่งครัด ให้บุรุษกับสตรีมีปฏิสัมพันธ์กันได้ค่อนข้างเสรีซึ่งขัดกับธรรมเนียมจีนสมัยนั้น และปกปิดพิธีกรรมของตนเป็นความลับ โดยให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเป็นเพียงการไหว้เจ้า หลักฐานเกี่ยวกับลัทธิบัวขาวปรากฏครั้งแรกในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ตรงกับสมัยราชวงศ์หยวนที่จักรวรรดิมองโกลปกครองแผ่นดินจีน ชาวฮั่นในสมัยนั้นไม่พอใจที่คนต่างชาติมาปกครองอย่างกดขี่ จึงรวมกลุ่มกันตั้งเป็นสมาคมทางศาสนาและดำเนินการเคลื่อนไหวทางการเมื่อเพื่อปลดปล่อยประเทศจากการปกครองของคนต่างชาติ ลัทธิบัวขาวมีส่วนร่วมในขบวนการนี้ด้วย จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แนวทางการเมืองนี้ทำให้ลัทธิบัวขาวถูกทางการปราบปรามอย่างหนัก", "title": "ลัทธิบัวขาว" }, { "docid": "121131#1", "text": "ฮอกกี้เป็นกีฬาเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่ากีฬาประเภทนี้เริ่มมาจากประเทศใดก่อน มีหลักฐานภาพวาดอียิปต์โบราณเก่าแก่ 4000 ปีที่มีลักษณะคล้ายกีฬาฮอกกี้ และอีกหลักฐานประมาณ 44 ปี ก่อนคริสต์ศักราช พบหลักฐานโดยชาวกรีกโรมัน สมัยโบราณได้เล่นกีฬานี้กันอยู่แล้ว อุปกรณ์การเล่นและวิธีเล่นคล้ายคลึงกับการเล่นฮอกกี้ในสมัยปัจจุบัน แต่แตกต่างกันที่ไม้ตีฮอกกี้สมัยกรีกและโรมันจะสั้นกว่าในปัจจุบัน ลูกบอลสมัยนั้นทำด้วยหนัง ภายในอัดด้วยขนสัตว์ ", "title": "ฮอกกี้" }, { "docid": "97402#14", "text": "ในราว 30 ปีมานี้มีนักวิชาการบางกลุ่มเคยเข้าใจผิดพลาดเกี่ยวกับอาณาจักรโคตรบูรหลายประเด็น นักวิชาการบางกลุ่มเคยเข้าใจว่ากลุ่มอารยธรรมของอาณาจักรโคตรบูรเป็นอันเดียวกันกับอารยธรรมของอาณาจักรทวารวดีและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางศิลปกรรมของอาณาจักรทวารวดี แต่จากการตรวจสอบหลักฐานทางโบราณคดีและหลักฐานทางเอกสารโดยเฉพาะคัมภีร์ท้องถิ่นของอีสานและลาวกลับพบว่า อาณาจักรทวารวดีเคยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรสาเกตนครในแถบลุ่มน้ำชี-มูล ซึ่งอาณาจักรสาเกตนครเป็นอาณาจักรที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรโคตรบูร ดังนั้นอารยธรรมในแถบอีสานตอนกลาง อีสานใต้ และแอ่งโคราชจึงน่าจะได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงมากกว่าลุ่มน้ำเจ้าพระยา จากนั้นจึงพัฒนาไปเป็นอารยธรรมแถบรอยต่อของแอ่งโคราชกับลุ่มน้ำเจ้าพระยา และจากการตรวจสอบยุครอยต่อทางอารยธรรมของเมืองโบราณและแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีสมัยอาณาจักรโคตรบูรทั่วภาคอีสานและลาว มักค้นพบอารยธรรมประเภทที่ยังไม่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียสมัยราชวงศ์คุปตะและหลังคุปตะซ้อนอยู่ในตัวเมืองโบราณและรอบอาณาบริเวณเหล่านั้น ซึ่งได้แก่ หลักหินหรือหินตั้ง ฆ้องบั้ง กลองกบ ตั่งหินหรือหินสลักลายดาวหรือดวงตะวัน ไหดินเผาเขียนลายขด เป็นต้น จึงทำให้เชื่อแน่ว่าอาณาจักรโคตรบูรถือกำเนิดก่อนสมัยพุทธกาล โดยเชื่อมต่อกับอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ด้วย อีกทั้งยังมีพัฒนาการการก่อกำเนิดก่อนอาณาจักรทวารวดีในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยาวราว 10-12 พุทธศตวรรษ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีนักวิชาการคนใดออกมากล่าวชี้แจงและนำเสนอถึงความผิดพลาดด้านการศึกษาดังกล่าว", "title": "อาณาจักรโคตรบูร" }, { "docid": "43808#10", "text": "เมื่อถึงสมัยฮั่นตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการปกครอง ภาษาอักษร การศึกษาวัฒนธรรม ขนบประเพณีต่างก็ได้รับการกลืนกลายเป็นหนึ่งเดียว เกิดเป็นวัฒนธรรมร่วมกันที่เรียกว่า‘วัฒนธรรมของชนชาติฮั่น’นับแต่นั้นมา ชนชาติฮั่นซึ่งมีความเจริญมากกว่า จึงมักได้รับการยอมรับให้เป็นกลุ่มผู้นำในดินแดนแถบนี้ และนี่คือผลแห่งวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์และการหลอมกลืนโดยธรรมชาติ ในภายหลังยุคสมัยฮั่นต่อมา แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงผู้ปกครองหรือราชวงศ์อีกมากมาย แต่กลุ่มผู้นำยังคงเป็นชาวฮั่นตลอดมา", "title": "ราชวงศ์ฮั่น" }, { "docid": "393141#3", "text": "การใช้เงินไซซีในประเทศจีนเริ่มปรากฏหลักฐานการใช้ในสมัยราชวงศ์ฮั่น (Han Dynasty) ซึ่งมีเงินไซซีที่ทำด้วยโลหะเงินและทองคำสำหรับใช้ในการค้าขายรายใหญ่ๆ โดยเงินไซซีทองคำจะใช้เป็นรางวัลบำเหน็จความชอบในราชการด้วย สำหรับการซื้อขายรายย่อยๆ จะใช้เงินเหรียญที่ชาวตะวันตกเรียกว่า cash coin ซึ่งส่วนใหญ่ทำด้วยทองเหลืองและทองแดงลักษณะเป็นเหรียญกลมแบน มีรูตรงกลางสำหรับห้อยกับเชือกเป็นพวงเพื่อสะดวกในการพกพา", "title": "เงินไซซี" }, { "docid": "251765#1", "text": "หลังจากการโยกย้าถิ่นฐานมาจากเอเชียกลางชนบัลการ์ก็มาตั้งถิ่นฐานในบริเวณเสต็ปป์ (steppe) ทางตอนเหนือของCaucasusและในบริเวณรอบฝั่งแม่น้ำวอลกา (ต่อมา คอเคซัส) ระหว่าง ค.ศ. 377 ถึว ค.ศ. 453 ชนบัลการ์ก็ร่วมในการปล้นของชนฮั่นในการปล้นทำลายยุโรปตะวันตกและยุโรปกลาง หลังจากการเสียชีวิตของอัตติลาในปี ค.ศ. 453 และการล่มสลายของจักรวรรดิฮั่น (Hunnic Empire) ต่อมา ชนบัลการ์ก็แตกแยกกันไปทางตะวันออกและทางตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบจากบริเวณเสต็ปป์ในยูเครนชี้ให้เห็นว่าชนบัลการ์สมัยแรกมีลักษณะที่ตรงกับผู้คนในวัฒนธรรมที่ขี่ม้าเร่ร่อน (nomadic equestrians) ของเอเชียกลางผู้ที่ย้ายถิ่นฐานตามฤดูเพื่อหาแหล่งหญ้าใหม่สำหรับเลี้ยงสัตว์ แต่ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 ชนบัลการ์ก็เริ่มตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง ทำการเกษตรกรรม และมีอาชีพต่างๆ เช่นช่างตีเหล็ก ช่างสลักหิน และช่างไม้ หลักฐานการค้นคว้าเกือบทุกหลักฐานอ้างว่าชนซาร์มาเชียน (Sarmatians) ที่เป็นชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ข้างเคียงเป็นผู้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชนบัลการ์ นักประวัติศาสตร์บางคนถึงกับกล่าวว่าชนบัลการ์มีส่วนผสมของชนซาร์มาเชียนดั้งเดิม แต่ที่มาและภาษาของชนบัลการ์เป็นหัวข้อที่โต้แย้งกันมาเป็นเวลากว่าร้อยปีแล้ว ทฤษฎีล่าสุดกล่าวว่าชนบัลการ์ชั้นสูงอาจจะพูดภาษากลุ่มเตอร์กิกและมีความเกี่ยวข้องกับชนฮั่น และเมื่อพิจารณาความเกี่ยวโยงทางประวัติศาสตร์ของยุโรปตะวันออกต่อมาทำให้เห็นได้ว่ามีความเกี่ยวข้องที่ใกล้ชิดกับชนอลันส์ (Alans) - อีกกลุ่มหนึ่งที่พูดภาษากลุ่มอิหร่าน แหล่งข้อมูลร่วมสมัยเช่นโพรโคพิอัส (Procopius), อากาไธอัส (Agathias) และเมนันเดอร์ โพรเท็คเตอร์ (Menander Protector) เรียกชนบัลการ์ว่า “ฮั่น” ขณะที่แหล่งข้อมูลอื่นเช่นพระสังฆราชไบแซนไทน์สังฆราชมิคาเอลที่ 2 แห่งอันติโอค (Patriarch Michael II of Antioch) เรียกว่า “ชนซิเธียน” หรือ “ชนซาร์มาเชียน” แต่การเรียกชื่อหลังอาจจะมาจากประเพณีการเรียกชื่อกลุ่มชนตามที่ตั้งหลักแหล่งทางภูมิศาสตร์ก็เป็นได้ เนื่องจากการขาดหลักฐานที่แน่นอนนักวิชาการสมัยปัจจุบันจึงกล่าวถึงชนบัลการ์พร้อมทั้งคำอธิบายถึงที่มา", "title": "ชนบัลการ์" }, { "docid": "28307#7", "text": "ชาวจีนรู้จักการบริโภคชามาแล้วกว่าพันปี ชาวบ้านในสมัยราชวงศ์ฮั่นใช้ชาเป็นยารักษาโรค (แม้ว่าการดื่มชาเพื่อช่วยให้กระปรี้กระเปร่านั้นเริ่มขึ้นเมื่อใด) จีนถือเป็นประเทศแรกที่รู้จักการดื่มชา โดยมีหลักฐานมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสต์ศักราช", "title": "ชา" }, { "docid": "52232#1", "text": "ในยุคโบราณ เขตมณฑลกวางตุ้งปัจจุบันมีชาวฮั่นอาศัยอยู่น้อย การอพยพเข้ามาของชาวฮั่นเริ่มขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่น ภาษาจีนของชาวฮั่นได้ผสมผสานเข้ากับภาษาของชาวพื้นเมือง สมัยราชวงศ์สุ่ยภาคกลางของจีนเกิดสงครามบ่อย ชาวจีนฮั่นจำนวนมากจึงอพยพลงใต้ คาดว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่ภาษาจีนกวางตุ้งเริ่มพัฒนาขึ้นมา ในสมัยราชวงศ์ถัง การอพยพของชาวจีนเข้าสู่กวางตุ้งยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีบางส่วนกระจายไปยังพื้นที่ใกล้เคียงคือมณฑลกวางสี ในยุคนี้ ภาษาจีนกวางตุ้งได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนในภาคกลาง เริ่มมีการจัดมาตรฐาน แต่ในเวลาเดียวกันก็มีการพัฒนาคำศัพท์ และลักษณะเฉพาะของตนขึ้นมา", "title": "ภาษาจีนกวางตุ้ง" }, { "docid": "888831#2", "text": "ในช่วง 111 ปีก่อนคริสตกาล ราชวงศ์ฮั่นของจีนได้ส่งกองทัพเข้ารุกรานและโค่นล้มผู้สืบทอดของเจ้า ถัว (เจี่ยวด่า) และรวมดินแดนอาณาจักรหนานเยฺว่ซึ่งรวมอาณาจักรเอิวหลัก เข้ากับราชวงศ์ฮั่น ภายใต้ชื่อใหม่ว่า เจียวจื่อ (เกียวจิ), โดนแบ่งการปกครองของอาณาจักรโบราณที่ยึดมาได้เป็น 9 กองบัญชาการ โดยมีหลักฐาน 3 กองบัญชาการในหนังสือประวัติศาสตร์เวียดนาม:ทั้ง 9 เขตได้รับการปกครองดูแลจาก ลองเบียน, ใกล้กับเมืองฮานอยเมืองหลวงของเวียดนามในปัจจุบัน; ทั้งหมดถูกปกครองโดยข้าราชการชาวจีนฮั่นที่ถูกส่งมาจากจีน โดยชาวพื้นเมืองเวียดนามจะเรียกผู้ปกครองเหล่านั้นว่า \"หลักเหิ่ว\" () และ \"หลักเตื๊อง\" ()", "title": "การปกครองเวียดนามของจีนครั้งแรก" }, { "docid": "624975#2", "text": "กลุ่มผู้หญิงได้เล่น \"ฟุตบอล\" มาเป็นเวลานานเท่าที่เคยมีการแข่งขัน หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีการแข่งในสมัยโบราณ นั่นคือชู่จู๋ที่เล่นกันในหมู่ผู้หญิงของช่วงรัชสมัยราชวงศ์ฮั่น (สากลศักราช 25–220) โดยมีภาพปูนเปียกของผู้หญิงสองคนในรัชสมัยราชวงศ์ฮั่น (สากลศักราช 25–220) ซึ่งกำลังเล่นชู่จู๋อยู่ อย่างไรก็ตามนอกจากนี้ ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับความถูกต้องของยุคสมัยอยู่จำนวนหนึ่ง โดยประมาณถึงความเก่าแก่ที่สุดว่าอาจอยู่ในช่วง 5,000 ปีก่อนสากลศักราช นอกจากนี้ ยังมีบันทึกการแข่งขันประจำปีในสกอตแลนด์ซึ่งได้บันทึกในช่วงต้นของยุคคริสต์ทศวรรษ 1790 ส่วนการแข่งขันนัดแรกที่ได้รับการบันทึกโดยสมาคมฟุตบอลสกอตแลนด์ เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1892 ที่กลาสโกว์ และสำหรับประเทศอังกฤษ ได้มีบันทึกการแข่งขันฟุตบอลหญิงที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1895 ", "title": "ฟุตบอลหญิง" }, { "docid": "142395#2", "text": "ชาวจีนใช้แผนภูมิสวรรค์มาตั้งแต่สหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล จากหลักฐานบนกระดูกทำนาย (oracle bone) ในสมัยราชวงศ์ซาง (商朝) ด้วยความหมายของการตั้งชื่อวัน (คล้ายกับชื่อวันในสัปดาห์ในปัจจุบัน) การใช้แผนภูมิสวรรค์แทนชื่อวันมีใช้เรื่อยมาจนกระทั่งสมัยราชวงศ์โจว (周朝) มีการใช้แผนภูมิสวรรค์นับการครบรอบฤดูกาล (ฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง) ส่วนการนับแทนปีเริ่มขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (西漢) เมื่อประมาณ 202 ปีก่อนคริสตกาล ถึง ค.ศ. 8 ซึ่งอยู่ในช่วงปลายของยุคไฟสงครามของจีน", "title": "แผนภูมิสวรรค์" }, { "docid": "133828#11", "text": "ในเรื่องของชาวจีนที่ไปเป็นกษัตริย์ปกครองโคโจซ็อนนี้ปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ของเกาหลีในสองยุคสมัย จึงมักทำให้สับสนว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในยุคสมัยใดกันแน่ เหตุการณ์แรกคือเรื่องของ จี้จื่อ หรือ กีจา นี้เกิดในช่วงของโคโจซ็อนยุคกลาง ตรงกับยุคสมัยราชวงศ์โจว แต่อีกเหตุการณ์หนึ่งนั้นเกิดขึ้นสมัยโคโจซ็อนยุคปลาย ซึ่งตรงกับยุคสมัยราชวงศ์ฮั่นของจีน เหตุการณ์ครั้งหลังนี้ยังนำมาสู่การก่อตั้งอาณาจักรแห่งใหม่ขึ้นอีกแห่งทางตอนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ในประวัติศาสตร์ช่วงหลังนี้กล่าวถึงขุนพลชาวจีนผู้หนึ่งนามว่า เหว่ยมั่ง ในพ.ศ. 349 เหว่ยมั่งเป็นขุนพลจากแคว้นเอี๋ยน ที่ลี้ภัยเข้าไปอยู่ในอาณาจักรโคโจซ็อน แล้วเข้ารับใช้กษัตริย์จุน ที่ปกครองโคโจซ็อนในขณะนั้น", "title": "อาณาจักรโชซ็อนโบราณ" }, { "docid": "23110#79", "text": "จากข้อมูลในสมัยราชวงศืชิงตอนต้นและตอนกลาง พัฒนาการทางด้านสังคมมีการเจริญเติบโตสูง ประชากรเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงศตวรรษที่ 18 มีหลักฐานที่บ่งบอกว่าประชากรที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วของจักรวรรดิ ในขณะเดียวกันราชสำนักชิงก็จะมักระมัดระวังจับตาพฤติกรรมความเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันของชาวฮั่นตลอด เนื่องจากมีกลุ่มชาวฮั่นได้รวมตัวกันต่อต้านราชสำนักชิงที่มีชาวแมนจูมาปกครอง มีสมาคมลับผู้เป็นแกนนำชูอุดมการณ์ “โค่นชิงฟื้นหมิง” คือ พวกหงเหมิน (洪门) แต้จิ๋วว่า “อั่งมึ้ง” ในเมืองไทยเรียก “อั้งยี่” คำว่า อั้งหรือหง (洪) ในที่นี้เป็นคนละคำกับ อั้งหรือหง (红) ที่แปลว่า สีแดง อักษร 洪 (หง,อั้ง) ตัวนี้หมายถึง น้ำหลาก,ไหลหลาก และใช้เป็นแซ่คือ แซ่อั้ง ในภาษาแต้จิ๋ว หรือแซ่หงในภาษาจีนกลาง[9]", "title": "ราชวงศ์ชิง" }, { "docid": "244366#1", "text": "สตราโบถือกำเนิดมาในครอบครัวผู้มีฐานะดีจากอาเมเซียในปอนตัส (ปัจจุบันคืออมัสยาในตุรกี) ที่เพิ่งเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน แม่ของสตราโบเป็นชาวจอร์เจีย สตราโบได้รับการศึกษาจากนักภูมิศาสตร์และนักปรัชญาหลายคน โดยเริ่มในนิสา และต่อมาในกรุงโรม สตราโบเป็นเป็นนักปรัชญาลัทธิสโตอิกและเป็นผู้สนับสนุนลัทธิจักรวรรดินิยมของโรมัน ต่อมาก็ได้เดินทางอย่างกว้างขวางไปยังหลายดินแดนที่รวมทั้งอียิปต์ และราชอาณาจักรคูช ไม่ปรากฏหลักฐานว่า “หนังสือภูมิศาสตร์สตราโบ” เขียนขึ้นเมื่อใด แต่ความเห็นภายในเนื้อหาของหนังสือบ่งว่าเขียนเสร็จในรัชสมัยของจักรพรรดิไทบีเรียส บ้างก็กล่าวว่าร่างฉบับแรกเขียนราว ค.ศ. 7 แต่บ้างก็ว่าราว ค.ศ. 18 เวลาสุดท้ายที่กล่าวถึงเป็นการตายของจูบาที่สองในปี ค.ศ. 23 กษัตริย์แห่งมอรูเชียผู้ที่ถูกกล่าวว่า “เพิ่งสิ้นพระชนม์” ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า “เพิ่ง” หมายความว่าภายในปีหนึ่ง สตราโบหยุดเขียนในปีนั้นหรือปีต่อมา (ค.ศ. 24) เมื่อเสียชีวิต", "title": "สตราโบ" } ]
2723
งานวิจัยต่อ ๆ มาแสดงว่า ชาย 65% เคยแอบดูใช่หรือไม่?
[ { "docid": "773798#8", "text": "งานวิจัยต่อ ๆ มาแสดงว่า ชาย 65% เคยแอบดู ซึ่งแสดงนัยว่า พฤติกรรมนี้แพร่กระจายไปทั่วในกลุ่มประชากรทั่วไป\nและโดยเข้ากับผลที่พบนี้ มีงานวิจัยที่พบว่า การแอบดูเป็นพฤติกรรมทางเพศผิดกฎหมายที่สามัญที่สุดทั้งในกลุ่มคนไข้และกลุ่มประชากรทั่วไป\nและพบด้วยว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยชาย 42% ที่ไม่เคยถูกตัดสินว่าผิดในอาชญากรรมเคยแอบดูคนอื่นในสถานการณ์ที่เกี่ยวกับเพศ\nส่วนงานวิจัยก่อนหน้านั้นแสดงว่า ชาย 54% มีจินตนาการเกี่ยวกับการแอบดู และ 42% ได้เคยแอบดูแล้วจริง ๆ", "title": "โรคถ้ำมอง" } ]
[ { "docid": "773798#11", "text": "งานวิจัยเบื้องต้นแสดงว่า คนแอบดูมีสุขภาพจิตดีกว่าคนโรคกามวิปริตอื่น ๆ\nคือเทียบกับกลุ่มอื่นที่ศึกษาแล้ว คนแอบดูมีโอกาสน้อยกว่าที่จะเป็นคนติดเหล้าหรือยาเสพติด\nงานวิจัยต่อจากนั้นแสดงว่า เทียบกับคนประชากรทั่วไป (ไม่ใช่คนมีโรคกามวิปริต) คนแอบดูมีโอกาสที่จะมีปัญหาทางจิต ดื่มเหล้าและใช้ยาเสพติด และมีความต้องการทางเพศสูงกว่าโดยทั่วไป\nงานวิจัยนี้ยังแสดงด้วยว่า คนแอบดูมีคู่นอนมากกว่าเทียบต่อปี และมีโอกาสที่จะมีคู่เพศเดียวกันสูงกว่ากลุ่มประชากรทั่วไป", "title": "โรคถ้ำมอง" }, { "docid": "773798#9", "text": "งานวิจัยระดับชาติปี 2006 ของประเทศสวีเดนพบว่า กลุ่มประชากรทั้งชายหญิงในอัตรา 7.7% เคยแอบดู\nนอกจากนั้นแล้ว ยังเชื่อกันว่า การแอบดูเกิดขึ้นประมาณ 150 เท่าของที่มีรายงานทางตำรวจ\nงานวิจัยปี 2006 นี้ แสดงด้วยว่าการแอบดูเกิดร่วมกับการแสดงอนาจาร (exhibitionism) ในระดับสูง\nคือพบว่า คนที่แอบดู 63% รายงานว่าได้แสดงอนาจารด้วย", "title": "โรคถ้ำมอง" }, { "docid": "773798#13", "text": "งานวิจัยแสดงว่า โดยเหมือนกับโรคกามวิปริตอื่น ๆ การแอบดูสามัญในชายมากกว่าในหญิง\nแต่ก็มีงานวิจัยที่พบว่า ทั้งชายและหญิงรายงานว่าตนมีโอกาสที่จะแอบดูพอ ๆ กัน\nแต่ความแตกต่างระหว่างเพศจะสูงกว่าถ้าให้โอกาสการแอบดูจริง ๆ\nถึงกระนั้น โดยเปรียบเทียบแล้ว มีงานวิจัยน้อยมากในเรื่องการแอบดูในผู้หญิง จึงมีข้อมูลน้อยมาก\nและกรณีศึกษาหนึ่งจากบรรดางานศึกษาที่น้อยนิดเป็นเรื่องเกี่ยวกับหญิงที่เป็นโรคจิตเภทด้วย\nซึ่งจำกัดการแสดงนัยทั่วไปในกลุ่มประชากรทั่วไป", "title": "โรคถ้ำมอง" }, { "docid": "344437#111", "text": "มีงานศึกษาหนึ่งในปี 2002 ที่สำรวจตัวอย่างบุคคล 3,032 คนในประเทศสหรัฐอเมริกาในวัยระหว่าง 25-74 ปี\nและพบว่า 17.2% ของผู้ใหญ่ทั้งหมดรู้สึกเจริญรุ่งเรือง โดยมีผู้ใหญ่อีก 56.6% ที่มีสุขภาพจิตดีพอประมาณเท่านั้น\nปัจจัยสามัญของการมีชีวิตที่เจริญรุ่งเรืองรวมทั้ง การมีการศึกษา ความสูงวัย การมีคู่ชีวิต และฐานะที่ดี\nงานศึกษาจึงแสดงว่า มีโอกาสที่จะปรับปรุงชีวิตของคนอเมริกันเพราะว่าเพียง 20% เท่านั้นที่รู้สึกว่าตนมีชีวิตที่เจริญรุ่งเรือง", "title": "จิตวิทยาเชิงบวก" }, { "docid": "773798#7", "text": "การแอบดูมีความชุกสูงในกลุ่มประชากรที่ศึกษาโดยมาก\nแม้ว่าตอนแรกจะเชื่อว่า มีจำกัดเพียงแค่ชนกลุ่มน้อยในประชากรทั้งหมด\nแต่ความคิดนี้เปลี่ยนไปหลังจากนักเพศวิทยาคนดัง ศ.ดร.แอลเฟร็ด คินซีย์ ค้นพบว่า 30% ของชายชอบใจการร่วมเพศโดยเปิดไฟ\nแม้ว่าพฤติกรรมนี้จะไม่ได้พิจารณาว่าเป็นการแอบดูโดยมาตรฐานการวินิจฉัยปัจจุบัน แต่ในสมัยนั้น ความประพฤติที่ปกติและที่ผิดปกติยังไม่ได้จำแนก", "title": "โรคถ้ำมอง" }, { "docid": "764178#18", "text": "งานวิจัยที่ศึกษาจินตนาการทางเพศของชายรักต่างเพศ 200 คนโดยใช้การทดสอบโดยคำถาม Wilson Sex Fantasy Questionnaire พบว่า ชายที่มีระดับกามวิปริตสูง (รวมทั้งความใคร่เด็ก) มีพี่ชายมากกว่า\nมีอัตราส่วนของนิ้วชี้ต่อนิ้วนาง (2D:4D digit ratio) ที่ต่ำกว่าซึ่งแสดงว่าได้รับฮอร์โมนเพศชายก่อนกำเนิดในระดับที่ต่ำกว่า\nและมีโอกาสสูงขึ้นที่จะถนัดมือซ้าย\nซึ่งแสดงนัยว่า การกระจายหน้าที่สมองไปยังซีกสมองทั้งสองข้าง (brain lateralization) มีปัญหา ซึ่งอาจจะมีบทบาทในความสนใจทางเพศที่ผิดแปลกออกไป", "title": "โรคใคร่เด็ก" }, { "docid": "405824#52", "text": "ประเทศแอฟริกาใต้มีจำนวนการข่มขืนเด็ก (รวมทั้งทารก) ที่สูงที่สุดในโลก\nงานสำรวจปี 2002 พบว่า เด็กชาย 11% และเด็กหญิง 4% ยอมรับว่า ได้บังคับคนอื่นให้มีเพศสัมพันธ์กับตน\nในงานสำรวจทำในเด็ก 1,500 คน เด็กชาย 1 ใน 4 ที่สัมภาษณ์กล่าวว่า การข่มขืนเรียงคิวเป็นเรื่องสนุก\nมีกรณีข่มขืนและทารุณกรรมเด็กกว่า 67,000 รายงานในปี 2000 ในประเทศแอฟริกาใต้ เทียบกับ 37,500 กรณีในปี 1998\nกลุ่มสงเคราะห์เด็กต่าง ๆ เชื่อว่า กรณีที่ไม่ได้รายงานอาจเป็นจำนวน 10 เท่าของตัวเลขเหล่านั้น\nการประทุษร้ายเด็กเพิ่มขึ้นมากที่สุดในเด็กอายุต่ำกว่า 7 ขวบ\nเรื่องไม่จริงเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์กับพรหมจารี เป็นเรื่องที่สามัญอย่างยิ่งในประเทศ ซึ่งมีจำนวนประชากรติดเอชไอวีมากที่สุดในโลก\nนักสังคมสงเคราะห์ท่านหนึ่งให้ข้อสังเกตว่า \"ผู้ประทุษร้ายเด็กบ่อยครั้งเป็นญาติของผู้เสียหาย แม้แต่พ่อหรือผู้ดูแลของเด็กเอง\"", "title": "การทารุณเด็กทางเพศ" }, { "docid": "638514#58", "text": "80% ของผู้หญิงชาวแอฟริกันอเมริกันที่มีเนื้องอกแบบไม่เป็นอันตรายในปลายวัย 40 ของเธอ ตามที่สถาบันแห่งชาติของวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม. หญิงชาวแอฟริกันอเมริกามีโอกาส 2 ใน 3 ที่มีแนวโน้มที่เป็นเนื้องอกมากกว่าผู้หญิงผิวขาว. ในผู้หญิงแอฟริกันอเมริกันเนื้องอกดูเหมือนจะเกิดขึ้นกับวัยของผู้ที่มีอายุน้อย, เติบโตได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดอาการ. ซึ่งจะนำไปสู่การผ่าตัดมากขึ้นสำหรับผู้ป่วยชาวแอฟริกันอเมริกา,สำหรับการผ่าตัดลอกเนื้องอกมดลูกและการผ่าตัดมดลูก. เพิ่มความเสี่ยงเนื้องอกในแอฟริกัน-อเมริกันที่จะนำไปสู่ประสบการณ์การรักษาที่เลวร้ายและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอกก่อนวัยอันควรและการผ่าตัดคลอดของพวกเธอ.", "title": "เนื้องอกมดลูก" }, { "docid": "864684#14", "text": "งานศึกษาคนไข้ 50 คนที่วินิจฉัยว่ามี OCD พบว่า 40% มีความคิดทางศาสนาหรือดูหมิ่นศาสนาและความสงสัยในตัวเอง\nซึ่งสูงกว่า 38% ที่หมกมุ่นกับความสกปรกและความเปื้อนที่สัมพันธ์กับ OCD อย่างสามัญกว่า แม้อัตราที่มากกว่าจะไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ\nงานศึกษาหนึ่งแสดงว่า เรื่องที่คิดอาจต่างกันขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม และความคิดดูหมิ่นศาสนาอาจจะสามัญในชายมากกว่าหญิง", "title": "ความคิดแทรกซอน" } ]
3416
บริษัทสำนักงานใหญ่ ไมโครซอฟท์ ตั้งอยู่ที่ใด?
[ { "docid": "4697#4", "text": "หลังจากการเปิดตัวของ แอทแอร์ 8000 วิลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สาม (หรือ บิลล์ เกตส์) ได้เรียกวิศวกรมาช่วยสร้างไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่, Micro Instrumentation and Telemetry Systems (MITS) , ได้สาธิตแสดงการใช้งานของ การเขียนโปรแกรมภาษาเบสิกสำหรับระบบให้กับ MITS หลังจากการสาธิตครั้งดังกล่าว, MITS ก็ยอมรับการใช้งานของโปรแกรม แอทแอร์ เบสิก.ในขณะที่ บิลล์ เกตส์ ยังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, เขาก็ได้ย้ายไปที่รัฐนิวเม็กซิโก และได้ก่อตั้งไมโครซอฟท์ที่นั่น บริษัทในเครือของไมโครซอฟท์ที่ตั้งอยู่ต่างประเทศแห่งแรกคือ บริษัทไมโครซอฟท์แห่งประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งเมื่อ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1978 และในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1979 บริษัทก็ย้ายสำนักงานใหญ่อีกครั้ง โดยตั้งอยู่ที่รัฐวอชิงตัน สตีฟ เบลล์เมอร์ ได้เข้าทำงานกับไมโครซอฟท์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1980 และได้เป็นซีอีโอถัดจาก บิลล์ เกตส์ ในเวลาต่อมา", "title": "ไมโครซอฟท์" } ]
[ { "docid": "617855#0", "text": "ไมโครซอฟท์ โมบาย () เป็นบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเอสโป ประเทศฟินแลนด์ ปัจจุบันเป็นผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกโดยเกิดจากการที่เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศเข้าซื้อกิจการด้านโทรศัพท์ของโนเกียทั้งหมด ในราคา 7.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อมาในวันที่ 25 เมษายน 2557 ไมโครซอฟท์ได้เปลี่ยนชื่อโนเกียเป็นไมโครซอฟท์ โมบาย ซึ่งจะเป็นในฐานะบริษัทลูก", "title": "ไมโครซอฟท์ โมบาย" }, { "docid": "445603#8", "text": "ไชโยโปรดักชั่นส์ มีที่ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 464 ถนนสุคนธสวัสดิ์ แขวงและเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 10230 และมีโรงถ่ายตั้งอยู่ที่ ถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 52 ตำบลเชียงรากน้อย อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13180 ซึ่งใช้เป็นโรงถ่ายทำมาตั้งแต่อดีต ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นที่พักอาศัยของสมโพธิ และใช้เป็นที่เก็บสินค้าและสิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับอุลตร้าแมนกว่า 1 ล้านชิ้น โดยเรียกว่า \"อุลตร้าแมนแลนด์\"", "title": "สมโพธิ แสงเดือนฉาย" }, { "docid": "4697#30", "text": "กลุ่มผลิตภัณฑ์ธุรกิจของไมโครซอฟท์ที่สำคัญเช่น ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ซึ่งเป็นสายงานหลักของบริษัทในด้านซอฟต์แวร์สำนักงาน โดยประกอบด้วย ไมโครซอฟท์ เวิร์ด , ไมโครซอฟท์ แอคเซส , ไมโครซอฟท์ เอกเซล , ไมโครซอฟท์ เอาต์ลุค , ไมโครซอฟท์ เพาวเวอร์พอยท์ ,ไมโครซอฟท์ พับลิชเชอร์ , ไมโครซอฟท์ วิซโอ , ไมโครซอฟท์ โปรเจกต์ , ไมโครซอฟท์ แมป พอยท์ , ไมโครซอฟท์ อินโฟพาธ และ ไมโครซอฟท์ วันโน้ต", "title": "ไมโครซอฟท์" }, { "docid": "741565#0", "text": "เดอะมอลล์ โคราช หรือ ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ ช็อปปิ้ง เซ็นเตอร์ นครราชสีมา () ตั้งอยู่ริมถนนมิตรภาพ ในพื้นที่อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เปิดบริการวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2543 โดยเป็นโครงการศูนย์การค้าขนาดใหญ่ในจังหวัดนครราชสีมา (มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ในเครือเดอะมอลล์กรุ๊ป กว่า 350,000 ตารางเมตร) บนเนื้อที่ 57 ไร่ ติดถนนมิตรภาพ ดำเนินการโดยบริษัท เดอะมอลล์ราชสีมา จำกัด ในเครือเดอะมอลล์กรุ๊ป โดยมีมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 5,400 ล้านบาท รองรับกลุ่มเป้าหมายในจังหวัดนครราชสีมากว่า 2.8 ล้านคน และจังหวัดใกล้เคียง ทั้งนี้ เดอะมอลล์ โคราช ถือเป็นศูนย์การค้าในเครือเดอะมอลล์แห่งแรกในต่างจังหวัด (นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล)", "title": "เดอะมอลล์ โคราช" }, { "docid": "42150#6", "text": "แอมเวย์ประเทศไทยได้ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 สำนักงานใหญ่แห่งแรกตั้งอยู่บนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ด้วยพื้นที่ 700 ตารางเมตร มีพนักงาน 10 คน มีผลิตภัณฑ์จำหน่ายเพียง 7 ชนิด สินค้าที่โด่งดังที่สุดก็คือ LOC และ SA8 หลังจากนั้นแอมเวย์ประเทศไทยได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบัน สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหงกรุงเทพมหานครด้วยพื้นที่สำนักงานกว่า 9,440 ตารางเมตร และมีร้านสะดวกซื้อแอมเวย์ ช็อป 83 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งเป็นอันดับ 2 โลก รองมาจากจีน และมีผลิตภัณฑ์คุณภาพจำหน่ายกว่า 500 รายการ พร้อมเป็นบริษัทขายตรงที่เป็นเครือข่ายผู้บริโภค (Consumer Network) ที่มียอดธุรกิจเป็นอันดับ 1 ของไทย และของโลก มีนักธุรกิจแอมเวย์ที่มีการต่ออายุสมาชิกภาพรวมกว่า 320,000 รหัส และสมาชิกผู้ซื้อสินค้าใช้อีกกว่า 700,000 รหัส", "title": "แอมเวย์" }, { "docid": "204669#4", "text": "สำนักงานใหญ่ โรงงาน และโชว์รูมใหญ่ของแคเตอร์แฮม แต่เดิมจะตั้งอยู่ในเมืองแคเตอร์แฮม มณฑลเซอร์รีย์ ในอังกฤษ ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 บริษัทได้ย้ายสำนักงานใหญ่และโรงงานไปที่เมืองดาร์ตฟอร์ด มณฑลเคนต์ ในอังกฤษ ทั้งนี้ โชว์รูมและศูนย์บริการเดิมในเมืองแคเตอร์แฮมยังคงเปิดทำการอยู่เช่นเดิม", "title": "แคเตอร์แฮม" }, { "docid": "361953#2", "text": "บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ระหว่างสะพานกรุงเทพ และสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน มีพื้นที่ 20 ไร่ 1 งาน 82 ตารางวา เป็นพื้นที่อู่จำนวน 2 อู่ สามารถซ่อมเรือขนาดระวางบรรทุก 3,000 - 4,000 ตัน ได้ 3 ลำในเวลาเดียวกัน และยังมีสำนักงานธุรกิจตั้งอยู่ที่อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี อีกแห่งหนึ่ง มีพื้นที่ 44 ไร่ 2 งาน เป็นลักษณะอู่ลอย", "title": "อู่กรุงเทพ" }, { "docid": "643758#7", "text": "แต่เดิมสำนักงานใหญ่ของบริษัทโคลด์ สโตนตั้งอยู่ที่เมืองเทมเป รัฐอริโซนา ในเวลาต่อมาจึงได้ย้ายไปยังเมืองสก็อตเดล ซึ่งอยู่ในมลรัฐเดียวกัน กระทั่งในเดือนมกราคม ปี 2005 โคล สโตนได้ย้ายสำนักงานใหญ่ไปยังที่อยู่ปัจจุบันซึ่งเป็นอาคารสองขั้น ที่มีพื้นที่เป็นห้องเรียน แลปพัฒนาสินค้าและร้านขายปลีกที่ใช้สำหรับการเทรนนิ่ง", "title": "โคลด์ สโตน ครีมเมอรี่" }, { "docid": "4697#0", "text": "ไมโครซอฟท์ ( ; ) เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลก มีฐานการผลิตอยู่ที่เมืองเรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา โดยผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ที่มีกำลังการตลาดมากที่สุดคือ ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และ ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ", "title": "ไมโครซอฟท์" }, { "docid": "36067#0", "text": "ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ () เป็นชุดโปรแกรมสำนักงาน พัฒนาโดยไมโครซอฟท์ซึ่งสามารถใช้งานได้ในระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และแอปเปิล แม็คอินทอช\nไมโครซอฟท์ ออฟฟิศยังมีการส่งเสริมให้ใช้บริการผ่านระบบเครื่องแม่ข่าย (Server) และ บริการผ่านหน้าเว็บ (Web Based)\nในรุ่นใหม่ๆ ของไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ เราจะเรียกมันว่า ระบบสำนักงาน (Office system) แทนแบบเก่าคือ ชุดโปรแกรมสำนักงาน (Office Suite) ซึ่งการเรียกว่า ระบบสำนักงานจะรวมการทำงานกับเครื่องแม่ข่ายเอาไว้ด้วย\nในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 ที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้ประกาศเรื่อง \"\"ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 2007\"\" ที่จะเปลี่ยนแปลงหน้าจอการใช้งาน (User Interface) และ รูปแบบไฟล์แบบ XML เป็นหลัก\nรุ่นเสถียรล่าสุด คือไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 2007 ซึ่งออกจำหน่ายในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2550", "title": "ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ" } ]
3659
เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เสียชีวิตเมื่อไหร่?
[ { "docid": "384639#0", "text": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สิ้นพระชนม์เมื่อวันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 16:37 นาฬิกา ณ ตึก 84 ปี ชั้น 5 ด้านตะวันออก โรงพยาบาลศิริราช พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุมัติหมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระศพระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม - 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ ระหว่างวันที่ 8 - 12 เมษายน พ.ศ. 2555 ซึ่งพระราชพิธีจะมีขึ้น ณ พระเมรุ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" } ]
[ { "docid": "384639#37", "text": "ดูบทความหลักที่ พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นพระราชพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รัฐบาลไทยขึ้นจัดเพื่อแสดงความจงรักภักดีและความอาลัยแด่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี โดยกำหนดวันพระราชพิธีระหว่างวันที่ 8-12 เมษายน พ.ศ. 2555 โดยกำหนดการพระราชพิธีสำคัญ ได้แก่ การบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ในวันที่ 8 เมษายน พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพในวันที่ 9 เมษายน พระราชพิธีเก็บพระอัฐิ ในวันที่ 10 เมษายน การบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระอัฐิ ในวันที่ 11 เมษายน การเชิญพระอัฐิขึ้นประดิษฐานที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และการเชิญพระผอบพระสรีรางคารไปบรรจุยังวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ในวันที่ 12 เมษายน", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "384639#4", "text": "สำนักพระราชวัง มีประกาศเรื่อง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ความว่า", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "574091#4", "text": "สำนักราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวัง เปิดเผยหนังสือลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554 เรื่องการก่อสร้างพระเมรุและกำหนดวันพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ความว่า", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "574091#37", "text": "ขบวนเชิญพระโกศพระอัฐิสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ไปประดิษฐาน ณ พระวิมานวังรื่นฤดี ประกอบด้วย รถจักรยานยนต์นำขบวน จากกองสันดิบาล ตำรวจนครบาล รถยนต์พระที่นั่งเชิญพระโกศพระอัฐิ เป็นรถยนต์คาร์ดิลแลคสีขาว ซึ่งเป็นรถยนต์พระที่นั่งส่วนพระองค์ขององค์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ปักธงราชวงศ์ใหญ่ฝ่ายใน และรถยนต์ข้าราชบริพารจากกองราชพาหนะ สำนักพระราชวัง ขบวนเคลื่นออกจากท้องสนามหลวงไปตามถนนราชดำเนินเลี้ยวเข้าสู่ถนนนครสวรรค์ขึ้นทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไปลงถนนสุขุมวิท เลี้ยวเข้าถนนสุขุมวิท 38 ถึงยังวังรื่นฤดี มีข้าหลวงฝ่ายในของวังรื่นฤดีเฝ้ารับพระอัฐิ จากนั้นนางสุรัสวดี กุวานนท์ แม็คซี่ เชิญพระโกศพระอัฐิไปยังท้องพระโรงวังรื่นฤดี เชิญขึ้นบนพระตำหนัก เข้าสู่ห้องนมัสการประดิษฐานบนพระวิมาน นางสุรัสวดี กุวานนท์ แม็คซี่ จุดธูปเทียนบูชาพระพุทธรูป และจุดธูปเทียนบูชาพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอัฐิพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และพระอัฐิสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นอันเสร็จพิธี", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#53", "text": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชูปโภคสำหรับสมเด็จเจ้าฟ้า ซึ่งสร้างขึ้นมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีรายการดังต่อไปนี้[53]", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#66", "text": "เป็นหนังสือเฉลิมพระเกียรติพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีและสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีเรียบเรียงโดยคุณหญิงวนิตา ดิถียนต์ และ ดร.ชัชพล ไชยพร สำนักนายกรัฐมนตรีให้จัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีทรงเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา จำนวน 711 หน้า โดยผู้เรียบเรียงได้มอบลิขสิทธิ์ให้แก่มูลนิธิเพชรรัตน-สุวัทนา", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "574091#58", "text": "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชดำริให้ไปจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นการถาวรขึ้นที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม แทนการจัดนิทรรศการชั่วคราวที่พระเมรุอย่างในอดีต ซึ่งจำเป็นต้องรื้อถอนไป ถ้านำงบประมาณส่วนนี้ไปจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติเป็นการถาวรภายในพระราชวังสนามจันทร์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีกับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีทรงร่วมกันบูรณะก็จะเป็นประโยชน์ยั่งยืนกว่า ทั้งนี้จะได้เป็นการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทั้งสามพระองค์ด้วย โดยจัดแสดงภายในพระที่นั่งพิมานปฐม พระที่นั่งอภิรมย์ฤดี และพระที่นั่งวัชรีรมยา โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน กล่าวคือ", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "574091#53", "text": "อักษร พ. และ ร. ลงยาสีชมพู หมายถึงวันอังคารอันเป็นวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และเป็นพระกุลทายาทแห่งจุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เสด็จพระราชสมภพในวันอังคารดุจเดียวกัน", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "574091#56", "text": "กรมศิลปากรจัดทำ 3 บทเพลงถวายอาลัยสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นเพลงชุด “เพชรรัตนาลัย” โดยนำคำประพันธ์มาบรรจุลงในทำนองเพลงไทยเดิม ประกอบด้วย เพลงเพชร-ใบไม้ร่วง-พสุธากันแสง บันทึกลงแผ่นซีดีวันที่ 29 มีนาคม มีการแถลงข่าวภาพรวมภารกิจงานของกรมศิลปากร ในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ อย่างเป็นทางการ และจะมีการมอบซีดีให้สื่อมวลชนและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อทำหน้าที่เผยแพร่สู่สาธารณชนทางสื่อต่างๆ คือ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เสียงตามสายในแหล่งชุมชน ตลอดจนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการฯ และเนื้อเพลงฯ ทางสื่อสิ่งพิมพ์ ก่อนช่วงพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ ขณะเดียวกันทางกระทรวงวัฒนธรรมได้นำบทเพลง ลงเว็บไซต์ของกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อให้ประชาชนสามารถดาวน์โหลดได้ เนื่องจากซีดีที่จัดทำไว้มีจำนวนจำกัด ทั้งนี้ เพื่อเป็นสื่อกลางให้พสกนิกรชาวไทย ได้ร่วมกับรัฐบาล ในการถวายพระเกียรติ และสำนึกในพระกรุณาธิคุณ ตลอดจนถวายความอาลัยแด่ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#69", "text": "เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ฉลองพระชนมายุ 80 พรรษา เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 มีลักษณะดังนี้[70] ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระรูปสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงฉลองพระองค์ชุดไทย ทรงสายสะพายและสายสร้อยเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ พระอังสาเบื้องซ้ายประดับเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1, เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1, และเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า \"สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี\" ด้านหลัง กลางเหรียญมีอักษรพระนามย่อ \"พ.ร.\" ภายใต้มงกุฎขัตติยราชนารี และมีพระวชิระ ดอกบัว และดารารัศมีประดับอยู่โดยรอบ ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า \"พระชนมายุ ๘๐ พรรษา ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘\" เบื้องล่างมีข้อความบอกราคาและ \"ประเทศไทย\" ตามลำดับ เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ฉลองพระชนมายุ 84 พรรษา เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 มีลักษณะดังนี้[71] ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระรูปสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงฉลองพระองค์ชุดไทย ทรงสายสะพายและสายสร้อยเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ พระอังสาเบื้องซ้ายประดับเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1, เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1, และเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า \"สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี\" ด้านหลัง กลางเหรียญมีอักษรพระนามย่อ \"พ.ร.\" ภายใต้มงกุฎขัตติยราชนารี ล้อมด้วยลายไทยประดิษฐ์ ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า \"พระชนมายุ ๘๔ พรรษา ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒\" เบื้องล่างมีข้อความว่า \"ประเทศไทย\" โดยมีจุดกลมคั่นระหว่างข้อความเบื้องบนกับเบื้องล่าง เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555 มีลักษณะดังนี้ ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระรูปสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงฉลองพระองค์ชุดไทย ทรงสายสะพายและสายสร้อยเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ พระอังสาเบื้องซ้ายประดับเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1, เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1, และเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 ภายในวงขอบเหรียญเบื้องล่างมีข้อความว่า \"สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี\" ด้านหลัง กลางเหรียญเป็นรูปพระเมรุมาจัดวาง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศของพระองค์ หลังรูปพระเมรุมีรูปแสงพระอาทิตย์แผ่รัศมีผ่าน ปุยเมฆ สื่อความหมายว่าแสงสุดท้ายและเป็นการน้อมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#9", "text": "พระนามของสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 นั้นได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2468[9] และมีคำนำพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ (ภาติกา หมายถึง หลานสาวที่เป็นลูกสาวของพี่ชาย) โดยก่อนหน้านี้มีการสมโภชได้มีการคิดพระนามไว้ 3 พระนาม ได้แก่ 1. สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชอรสา สิริโสภาพัณณวดี 2. สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนจุฬิน สิริโสภิณพัณณวดี 3. สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี[10] ท้ายที่สุด พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงเลือกพระนามสุดท้ายพระราชทาน[8] โดยพระนาม แปลว่า เจ้าฟ้าพระราชธิดาผู้มีพระชาติกำเนิดเป็นศรีดั่งดวงแก้ว เป็นพัชรแห่งมหาวชิราวุธ มีพระฉวีพรรณสิริโฉมงามพร้อม[11]", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#70", "text": "บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัดออกตราไปรษณียากรที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ดังต่อไปนี้", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#83", "text": "อาริยา สินธุ, สกุลไทย ชัชพล ไชยพร, พระผู้ทรงเป็น “เพชรรัตน” แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระราชสุดาได้ จากฟ้ามาแทน โดย ชัชพล ไชยพร พระประวัติ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ข่าวการสิ้นพระชนม์, INN News.", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "384639#28", "text": "ในการประโคมงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี กรมศิลปากรได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมในการประโคมย่ำยามด้วย ดังนั้น จึงมี 2 หน่วยงานเข้าร่วมประโคม คือ", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#80", "text": "ทุนจุฬาเพชรรัตน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุนเพชรรัตน มหาวิทยาลัยศิลปากร ทุนเพชรรัตน สำนักงานบรรเทาทุกข์ สภากาชาดไทย ทุนเพชรรัตนการุญ ศิริราชมูลนิธิ ทุนเพชรรัตนการุณ กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 15 ทุนเพชรรัตนอุปถัมภ์ โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ทุนสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทุนสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ สำนักงานอาสากาชาด สภากาชาดไทย ทุนสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ นิธิวัดราชบพิธ ทุนสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ กองทุนสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม ทุนสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี โรงเรียนราชินี ทุนสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี โสสะมูลนิธิแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#68", "text": "กรมธนารักษ์ออกเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ดังต่อไปนี้", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "384639#47", "text": "หมายกำหนดการ พระราชพิธีพระราชทานเพลงิ พระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พุทธศักราช ๒๕๕๕", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "574091#2", "text": "ทั้งนี้คณะกรรมการอำนวยการจัดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ปฏิบัติงานไปพลางก่อน เนื่องจากจะมีการเปลี่ยนรัฐบาลชุดใหม่", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#3", "text": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 16.37 นาฬิกา ณ ตึก 84 ปี โรงพยาบาลศิริราช สิริพระชนมายุ 85 พรรษา 8 เดือน 3 วัน[1][2]", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#51", "text": "สมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (30 ธันวาคม พ.ศ. 2468 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478) สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "384639#49", "text": "หมวดหมู่:สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี หมวดหมู่:การสิ้นพระชนม์ในพระบรมวงศานุวงศ์ไทย", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "574091#3", "text": "ต่อมาเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี มีผลให้คำสั้งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 130/2554 เมื่อวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 สิ้นสุดลง เพื่อให้การดำเนินการจัดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีเป็นไปโดยเรียบร้อยสมพระเกียรติ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(6) แห่งพระราชบัญญัติบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2539 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ประกอบด้วย พระบรมวงศานุวงศ์(หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล) ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ประธานรัฐสภา ประธานศาลฎีกา ประธานวุฒิสภา และองคมนตรี(นายพลากร สุวรรณรัฐ) เป็นคณะที่ปรึกษา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นกรรมการและเลขานุการ มีหัวหน้าหน่วยงานและผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "574091#52", "text": "สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดทำเข็มที่ระลึก สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เนื่องในโอกาสพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เพื่อให้ประชาชนร่วมกับรัฐบาลน้อมเกล้าฯ แสดงความจงรักภักดี และนำรายได้ทูลเกล้าฯ ถวายสมทบมูลนิธิเพชรรัตน - สุวัทนา ซึ่งมี อักษรพระนาม พ.ร. ภายใต้พระชฎามหากฐินรัชกาลที่ 6 และอุณาโลมเลียนลักษณะเลข 6 ทำด้วยโลหะชุบทอง หมายถึง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระอิสริยยศสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชธิดาในรัชกาลที่ 6 มีพระขัตติยชาติอันประเสริฐดั่งทองนพคุณ", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "384639#45", "text": "วันที่ 4 เมษายน 2555 มีการพระราชทานเพลิงพระบุพโพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ซึ่งเป็นพระราชพิธีโบราณที่จัดขึ้นสืบต่อกันมาในการพระราชทานเพลิงพระศพเจ้านาย ในช่วงเช้าของวันเดียวกันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลเรือเอกหม่อมเจ้าปุสาน สวัสดิวัตน์ เสด็จแทนพระองค์ ไปในการพระราชทานเพลิงพระบุพโพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "384639#13", "text": "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล พระราชทานพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ดังนี้", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#65", "text": "จัดงานพระราชพิธีฉลองพระชนมายุ 84 พรรษา สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี จัดพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์จำนวน 285 รูป ถวายเป็นพระกุศล โดยในกรุงเทพมหานครจัด ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร สำหรับจังหวัดอื่นๆ นั้น ขอเชิญชวนประชาชนร่วมทำบุญตักบาตรตามความเหมาะสมต่อไป กิจกรรมการบริจาคโลหิตถวายเป็นพระกุศล จัดทำสารคดีพระประวัติ พระกรณียกิจ และพระเกียรติคุณ เผยแพร่ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย จัดทำหนังสือเรื่อง \"ดวงแก้วแห่งพระมงกุฎเกล้า\" ฉบับพ็อคเก็ตบุ๊ค จัดทำหนังสือจดหมายเหตุการจัดงานฉลองพระชนมายุ 84 พรรษา สมเด็จพระเจ้า ภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี กรมธนารักษ์จัดทำเหรียญที่ระลึก บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จัดทำดวงตราไปรษณียากรที่ระลึก พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ออกแบบภาพวัว เพื่อจัดทำเสื้อจำหน่ายให้แก่มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ จัดทำนาฬิกาที่ระลึกจำหน่าย", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "393672#3", "text": "ท่านผู้หญิงศรีนาถ สุริยะ เป็นทั้งคุณข้าหลวงในพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และพระอาจารย์ในพระองค์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ซึ่งทรงไว้วางพระทัยมาก ท่านผู้หญิงเคยตามเสด็จ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ประพาสสหรัฐอเมริกา", "title": "ศรีนาถ สุริยะ" }, { "docid": "574091#42", "text": "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปทรงบรรจุพระสรีรางคาร สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ณ เสาวภาประดิษฐาน สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#64", "text": "โดยใช้ชื่อการจัดงานเป็นภาษาไทยว่า \"งานฉลองพระชนมายุ 84 พรรษา สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี\" สำหรับชื่องานภาษาอังกฤษ คือ \"The Celebrations of the 84th Birthday Anniversary of Her Royal Highness Princess Bejaratana\" นอกจากนี้ยังมีการจัดพระราชพิธี รัฐพิธี และกิจกรรม ดังนี้", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#56", "text": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเรียงลำดับตามปีที่ได้รับพระราชทาน ดังนี้", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" } ]
2093
มหายาน แต่เดิมคือนิกายอะไร?
[ { "docid": "77973#15", "text": "พระพุทธศาสนามหายานเริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 6-7 โดยเป็นคณะสงฆ์ที่มีความเห็นต่างจากนิกายเดิมที่มีอยู่ 18 - 20 นิกายในขณะนั้น แนวคิดของมหายานพัฒนามาจากแนวคิดของนิกายมหาสังฆิกะและนิกายที่แยกไปจากนิกายนี้ จุดต่างจากนิกายดั้งเดิมคือคณะสงฆ์กลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับการเป็นพระโพธิสัตว์และเน้นบทบาทของคฤหัสถ์มากกว่าเดิม จึงแยกออกมาตั้งนิกายใหม่ เหตุที่มีการพัฒนาลัทธิมหายานขึ้นนั้นเนื่องจาก\nคณาจารย์ที่สำคัญของนิกายมหายานคือ พระอัศวโฆษ พระนาคารชุน พระอสังคะ พระวสุพันธุ เป็นต้น หลังจากการก่อตัว พุทธศาสนามหายานซึ่งมีจุดเด่นคือสามารถปรับตัวให้เข้ากับความเชื่อดั้งเดิมที่แตกต่างไปในแต่ละท้องถิ่นได้ง่ายกว่าพุทธศาสนาเถรวาทซึ่งเป็นแบบดั้งเดิมได้แพร่กระจายออกจากอินเดียไปในทวีปเอเชียหลายประเทศ", "title": "ประวัติศาสนาพุทธ" } ]
[ { "docid": "981709#0", "text": "นวยาน (เทวนาครี: नवयान, ) แปลว่า \"ยาน (พาหนะ) ใหม่\" เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาพุทธในประเทศอินเดีย ที่เกิดขึ้นจากการตีความศาสนาขึ้นใหม่ของภีมราว รามชี อามเพฑกร () ผู้มีชาติกำเนิดมาจากชนชั้นทลิต (, \"มิควรข้องแวะ\") ในยุคที่อินเดียตกเป็นอาณานิคม เขาได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ กระทั่งในปี พ.ศ. 2478 เขามีความประสงค์เปลี่ยนศาสนาจากฮินดูไปนับถือศาสนาพุทธ อามเพฑกรได้ศึกษาคติและหลักธรรมคำสอนทางศาสนาเช่นจตุราริยสัจและอนัตตา ซึ่งเขาปฏิเสธความเชื่อเรื่องดังกล่าว แต่ได้นำคำสอนทางศาสนาไปตีความใหม่เรียกว่า นวยาน หรือ \"ยานใหม่\" แห่งพุทธศาสนา บางแห่งก็เรียกนิกายนี้ว่า ภีมยาน () ตามชื่อต้นของอามเพฑกรคือ \"ภีมราว\" ต่อมาเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2499 อามเพฑกรได้ประกาศละจากนิกายหีนยานและมหายาน รวมทั้งศาสนาฮินดู ทว่าเขาก็เสียชีวิตลงหลังการเปลี่ยนศาสนาจากฮินดูไปนับถือนวยานได้เพียงหกสัปดาห์", "title": "นวยาน" }, { "docid": "32409#0", "text": "มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน", "title": "มหายาน" }, { "docid": "240873#1", "text": "คำว่า “หีนยาน” และ “มหายาน” ปรากฏครั้งแรกในคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาสูตร ต่อมามีคณาจารย์พระพุทธศาสนาช่วงพุทธศตวรรษที่ 6 ได้ปฏิรูปคำสอนและการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา โดยถือเอาวิถีทางพระโพธิสัตว์เป็นอุดมคติแทนที่การบรรลุเป็นพระอรหันต์ในชาตินี้ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่ศาสนาพุทธยุคแรก จึงเรียกกลุ่มตนเองว่า มหายาน และเรียกกลุ่มเดิมว่า หีนยาน โดยมีนิกายเถรวาทเป็นหนึ่งในนั้น อย่างไรก็ตามหีนยานกลุ่มที่มหายานวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดคือนิกายสรวาสติวาท (ซึ่งต่อมาได้แตกออกเป็นไวภาษิกะและเสาตรานติกะ)", "title": "หีนยาน" }, { "docid": "32409#11", "text": "แม้ไม่อาจกำหนดให้แน่ชัดลงไปได้ว่า พระพุทธศาสนานิกายมหายานเริ่มถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด แต่ที่แน่ชัดคือ พระเจ้ากนิษกะมหาราช กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์กุษาณะ (ศตวรรษที่ 1 แห่งคริสต์ศักราช) ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกพระองค์แรกของนิกายมหายาน ได้ทรงปลูกฝังพระพุทธศาสนามหายานอย่างมั่นคงในราชอาณาจักรของพระองค์ และทรงส่งธรรมทูตออกเผยแพร่ยังนานาประเทศ เปรียบได้กับพระเจ้าอโศกมหาราชของฝ่ายเถรวาท", "title": "มหายาน" }, { "docid": "32409#4", "text": "นอกจากนี้ พระนาคารชุนได้กล่าวไว้ในทวาทศนิกายศาสตร์อีกว่า\n“มหายานคือยานอันประเสริฐกว่ายานทั้ง 2 เหตุนั้น จึงชื่อว่า 'มหายาน'\nพระพุทธเจ้าทั้งหลายอันใหญ่ยิ่ง ทรงอาศัยซึ่งยานนี้ และยานนี้จะสามารถนำเราเข้าถึงพระองค์ได้ เหตุนั้นจึงชื่อว่า 'มหา'\nอนึ่ง ปวงพระพุทธเจ้าผู้มหาบุรุษได้อาศัยยานนี้ เหตุนั้น จึงชื่อว่า 'มหา' และอีกทั้งสามารถดับทุกข์อันไพศาลของสรรพสัตว์และประกอบประโยชน์อันยิ่งใหญ่ให้ถึงพร้อม เหตุนั้นจึงชื่อว่า 'มหา'\nอนึ่ง พระโพธิสัตว์ทั้งปวง มีพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (เจ้าแม่กวนอิม), พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์, พระเมตไตรยโพธิสัตว์, พระมัญชุศรีโพธิสัตว์, พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ และพระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์ เป็นต้น ปวงมหาบุรุษได้ทรงอาศัย เหตุนั้นจึงชื่อว่า 'มหา' \nอนึ่ง เมื่ออาศัยยานนี้แล้ว ก็ย่อมเข้าถึงที่สุดแห่งธรรมทั้งปวง เหตุนั้นจึงชื่อว่า 'มหา'”", "title": "มหายาน" }, { "docid": "32409#36", "text": "อย่างไรก็ตาม ในหมู่คณาจารย์ของนิกายมหายานก็ยังมีความคิดเห็นแตกต่างกันออกไปในประเด็นนี้ เช่น นิกายสุขาวดีถือว่าพระอมิตาภะมีอยู่จริงและสุขาวดีอยู่ทางทิศตะวันตกของโลกนี้อย่างแน่นอน ขณะที่คณาจารย์บางท่านอธิบายว่าพระอมิตาภะแท้จริงแล้วก็คือพุทธภาวะที่บริสุทธิ์มีในสรรพสัตว์ และถือว่าวิสุทธิภูมินั้นก็อยู่ภายในจิตของเราเอง ดังที่ท่านเว่ยหล่างแห่งนิกายเซนกล่าวว่า \"คนหลงสวดภาวนาถึงพระอมิตาภะปรารถนาไปอุบัติยังสุขาวดี แต่บัณฑิตพึงชำระจิตของตนให้สะอาด...\" และในวิมลกีรตินิรเทศสูตรก็มีข้อความว่า \"เมื่อจิตบริสุทธิ์แล้ว พุทธเกษตรก็ย่อมบริสุทธิ์\" ดังนี้เป็นต้น", "title": "มหายาน" }, { "docid": "32409#10", "text": "หลังจากพระพุทธองค์ปรินิพพานได้ 100 ปี อันเป็นช่วงเวลาที่มีการสังคายนาครั้งที่ 2 ได้มีคณะสงฆ์กลุ่มหนึ่งเรียกว่า มหาสังฆิกะ ซึ่งมีจำนวนมาก ได้แยกตนออกไปต่างหากจากกลุ่มเถรวาทเดิม การแยกตัวของมหาสังฆิกะนี้มีมูลเหตุจากความเห็นที่แตกต่างเรื่องหลักปฏิบัติของภิกษุ หลังจากนั้นมหาสังฆิกะได้แยกกลุ่มนิกายย่อยออกไปอีก 18 นิกาย เนื่องจากมีทัศนะ อุดมคติ การตีความหลักธรรม และวัตรปฏิบัติที่แตกต่างกัน หลังจากนั้นภิกษุบางรูปในนิกายทั้ง 18 นี้ ได้แยกตนออกมาตั้งคณะใหม่โดยถือปรัชญาและหลักจริยวัตรของตน กระทั่งในราวพุทธศตวรรษที่ 5 จึงได้เกิดกลุ่มคณะสงฆ์และคฤหัสถ์ที่เรียกตนเองว่า \"มหายาน\" ขึ้น แม้จะมีที่มาไม่แน่ชัด แต่สันนิษฐานได้ว่าพัฒนาจากนิกายมหาสังฆิกะ ผสมผสานกับปรัชญาของนิกายพุทธศาสนาอื่นทั้ง 18 นิกาย รวมทั้งนิกายเถรวาทด้วย ก่อกำเนิดเป็นลัทธิมหายาน", "title": "มหายาน" }, { "docid": "765205#12", "text": "พระพุทธศาสนาได้รับอิทธิพลด้านนิกายแต่เดิมเป็นในแบบพุทธศาสนามหายาน และเถรวาท ดังปรากฏหลักฐานเป็นศาสนสถานการก่อสร้างปราสาทนครธม ที่เป็นอุดมคติและแนวคิดอันเนื่องด้วยศาสนาพุทธนิกายมหายาน แต่ในเวลาเดียวกันพุทธศาสนาในแบบเถรวาทก็ซ้อนทับอยู่กับพุทธมหายาน และศาสนาพราหมณ์และค่อย ๆ พัฒนาตัวเองจนกระทั่งกลายเป็นศาสนาของประชากรส่วนใหญ่ในประเทศกัมพูชาพร้อมกับการศูนย์หายไปของพุทธศาสนามหายานในประเทศกัมพูชา แต่ในเวลาเดียวกันพระพุทธศาสนาเถรวาทก็กลายเป็นศาสนาหลักของชาวกัมพูชา จนกระทั่งเมื่อมีการก่อตั้งพุทธศาสนาแบบธรรมยุตินิกาย ด้วยเหตุผลทางการเมือง การปกครองระหว่างไทย กัมพูชา พระพุทธศาสนาในแบบไทย ที่เป็นสัญลักษณ์ของความทันสมัย พัฒนา และปฏิรูป ที่เคยเกิดขึ้นในสังคมไทย และชนชั้นปกครองกัมพูชาก็เชื่อและคาาดหวังอย่างนั้น จึงทำให้พระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชารับพระพุทธศาสนาในแบบธรรมยุติกนิกายไปเผยแผ่ในกัมพูชา และกลายเป็นศาสนาสำหรับราชสำนักในกัมพูชาไปพร้อม ๆ กัน จึงทำให้ศาสนานิกายเดิมซึ่งเป็นสมาชิกส่วนใหญ่กลายเป็นอีกนิกายหนึ่งในสังคมกัมพูชาไปโดยปริยาย", "title": "ศาสนาพุทธในประเทศกัมพูชา" }, { "docid": "32409#23", "text": "ในบรรดาพระสูตรเหล่านี้ ปรัชญาปารมิตาสูตรจัดว่าเป็นสูตรดั้งเดิมที่สุด เป็นมูลฐานทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องศูนยตา นอกจากนี้ก็มีอวตังสกสูตร เป็นสูตรสำคัญที่สุดของนิกายมหายาน เพราะเป็นพระสูตรที่เชื่อกันว่า พระพุทธองค์ทรง สั่งสอนเองเป็นเวลา 3 สัปดาห์ในขณะที่พระองค์เข้าสมาธิ เข้าใจกันว่า ใจความสำคัญขอ'พระสูตรนี้ น่าจะเป็นของ พระโพธิสัตว์มากกว่า ซึ่งเราจะพิจารณาได้จากข้อความในหนังสือพระพุทธศาสนานิกายมหายานของคณะสงฆ์จีนนิกาย \n(ม.ป.ป. : 228-229)", "title": "มหายาน" }, { "docid": "32409#7", "text": "หลังจากพระโคตมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 3 เดือน พระสาวกผู้ได้เคยสดับสั่งสอนของพระองค์จำนวน 500 รูป ก็ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ใช้เวลาสอบทานอยู่ 7 เดือน จึงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นับเป็นบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎก คำสอนที่ลงมติกันไว้ในครั้งปฐมสังคายนาและได้นับถือกันสืบมา เรียกว่า เถรวาท แปลว่า คำสอนที่วางไว้เป็นหลักการโดยพระเถระ คำว่า เถระ ในที่นี้ หมายถึงพระเถระผู้ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก และพระพุทธศาสนาซึ่งถือตามหลักที่ได้สังคายนาครั้งแรกดังกล่าว เรียกว่า นิกายเถรวาท อันหมายถึง คณะสงฆ์กลุ่มที่ยึดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งถ้อยคำ และเนื้อความที่ท่านสังคายนาไว้โดยเคร่งครัด ตลอดจนรักษาแม้แต่ตัวภาษาดั้งเดิมคือภาษาบาลี", "title": "มหายาน" } ]
2614
ตำรวจตระเวนชายแดนจะอยู่เฉพาะตามชายแดนใช่หรือไม่ ?
[ { "docid": "105582#0", "text": "ตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) (Border Patrol Police) เป็น ตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อเป็นกำลังเสริม แทนการใช้กำลังทหาร ในรักษาความสงบตามแนวตะเข็บชายแดน อันเนื่องจากสนธิสัญญากรุงเจนีวาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสกำหนดห้ามไม่ให้มีกำลังทหารในระยะ 25 กิโลเมตรจากแนวชายแดนตะวันวี่ จุดประสงค์หลักในการจัดตั้ง ตชด.ในช่วงแรกคือป้องกันกองกำลังคอมมิวนิสต์ที่เข้ามารุกรานในประเทศ", "title": "ตำรวจตระเวนชายแดน" } ]
[ { "docid": "335906#33", "text": "(๑) กองบัญชาการตำรวจนครบาล (๒) - (๑๐) ตำรวจภูธรภาค ๑ – ๙ (๑๑) กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (๑๒) กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (๑๓) กองบัญชาการตำรวจสันติบาล (๑๔) สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (๑๕) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (๑๖) กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว (๑๗) สำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ (๑๘) สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ (๑๙) สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (๒๐) กองบัญชาการศึกษา (๒๑) โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (๒๒) โรงพยาบาลตำรวจ หมายเหตุ ปัจจุบันศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ถูกยุบเนื่องจากไม่มีความจำเป็นและได้ยกฐานะกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยวเป็นกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยวแทนที่ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2560", "title": "ตำรวจไทย" }, { "docid": "219920#43", "text": "พลตำรวจเอกวสิษฐ เดชกุญชร อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ,อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย,นักเขียน พลตำรวจเอกวิเชียร พจน์โพธิ์ศรี อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ปลัดกระทรวงคมนาคม พลตำรวจตรีวชิระ ทองวิเศษ อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 พลตำรวจโทธรณิศ ศรีสุข (ผู้กองแคน) ผู้บังคับหมวด(สัญญาบัตร 1) กองร้อยรบพิเศษที่ 1 กองกำกับการ 1 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน -วีรบุรุษผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน3 จังหวัดชายแดนภาคใต้", "title": "โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน" }, { "docid": "198112#0", "text": "นเรศวร 261 เป็นหน่วยตำรวจที่มีขีดความสามารถในการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ การยุทธส่งทางอากาศ การรบพิเศษ และการปฏิบัติการพิเศษ เพื่อตอบโต้ต่อภัยคุกคามที่เป็นทหาร และไม่ใช่ทหาร ในการสงครามพิเศษ และการแก้ไขปัญหา การก่อความไม่สงบ, การก่อการร้าย ทุกรูปแบบ ด้วยการปฏิบัติการปกปิด รับผิดชอบการปฏิบัติการทั่วประเทศ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2526 ปัจจุบันเป็นหน่วยระดับกองกำกับการ มีผู้กำกับการเป็นหัวหน้าหน่วยราชการ ขึ้นตรงกับกองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน", "title": "นเรศวร 261" }, { "docid": "34460#6", "text": "พลตำรวจเอกโกวิท เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อ พ.ศ. 2537 รับคำชมเชยจาก พล.ต.อ.เภา สารสิน อธิบดีกรมตำรวจสมัยนั้น และรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ว่าเป็นผู้นำหน่วยที่มีความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว กระทั่งขึ้นนั่งเก้าอี้ผบช.ตชด. ในปี พ.ศ. 2537 ต่อมาขึ้นเป็นผู้ช่วยผบ.ตร. รับผิดชอบงานบริหาร ก่อนจะดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2543 ได้คุมพื้นที่ชายแดนภาคใต้ กระทั่งปี พ.ศ. 2547 ได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ", "title": "โกวิท วัฒนะ" }, { "docid": "105582#9", "text": "กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1", "title": "ตำรวจตระเวนชายแดน" }, { "docid": "594002#1", "text": "ละครเรื่องนี้มีเนื้อหาที่ย้อนยุคไปในช่วงปี พ.ศ. 2512-2520 ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ชื่อว่า \"ผาปืนแตก\" เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นเมื่อ \"เชน พนัญเชิง\" หนุ่มเลือดร้อนที่ไปเป็นตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อตามล่า \"ฟ้าลั่น คำรามศึก\" แต่เชนก็ต้องสูญเสีย \"ทองสุก\" เพื่อนรักของเชนไปในระหว่างการรบ จนกระทั่งวันหนึ่ง เชนได้ออกจากหน่วยตระเวนชายแดนและกลับมาที่หมู่บ้านผาปืนแตกอีกครั้ง แต่ต้องพบกับข่าวร้าย เมื่อ \"เนื้อทอง\" คู่รักของเขานั้น ต้องเข้าพิธีวิวาห์กับศัตรูคนสำคัญอย่าง \"ชาติ ตะลุมพุก\" ทำให้เชนวางแผนจะพาตัวเนื้อทองออกมา แต่กลับกลายเป็นว่าเชนกลับลักพาตัว \"วัลภา\" มาแทน จึงเกิดเรื่องราววุ่นวายต่างๆตามมา", "title": "เพลงรักผาปืนแตก" }, { "docid": "105582#11", "text": "กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 2", "title": "ตำรวจตระเวนชายแดน" }, { "docid": "105582#8", "text": "ธงชัยประจำกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนนี้ มีลักษณะและการได้มาเช่นเดียวกันกับธงชัยเฉลิมพลของทหารทุกประการ โดยสำนักราชเลขาธิการได้บันทึกหลักฐานเกี่ยวกับ \"ธงชัยเฉลิมพลประจำกองตำรวจ\" นี้ไว้ ตามหลักฐานต่างๆปรากฏชื่อธงดังกล่าว ได้แก่ \"ธงชัยเฉลิมพลประจำกองตำรวจ\" \"ธงชัยประจำกอง\" \"ธงชัย\" \"ธงประจำกอง\" ซึ่งล้วนก็คือธงเดียวกัน", "title": "ตำรวจตระเวนชายแดน" }, { "docid": "81263#0", "text": "ทหารพราน เป็นกำลังทหารราบเบากึ่งทหารซึ่งลาดตระเวนตามแนวชายแดนไทยและเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพไทย ทหารพรานทำงานร่วมกับตำรวจตระเวนชายแดน แต่ถูกฝึกและติดอาวุธให้ทำการรบ ขณะที่ตำรวจตระเวนชายแดนเป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายมากกว่า และทหารพรานในสังกัดกองทัพเรือนั้น ขึ้นการบังคับบัญชากับกองพลนาวิกโยธิน", "title": "ทหารพราน" }, { "docid": "105582#4", "text": "แนวความคิดของรัฐบาลและกรมตำรวจในการจัดตั้ง ตชด. ก็เพื่อเสริมกำลังตำรวจภูธรในการรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนและป้องกันการรุกรานของคอมมิวนิสต์ ประหยัดการใช้กำลังทางทหารในยามปกติรักษาสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้านฝึกกำลังตำรวจเพื่อทำหน้าที่คล้ายทหาร และกำลังแบบทหารฝึกกำลังให้กับประเทศใกล้เคียง ในการต่อต้านคอมมิวนิสต์วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งตำรวจตระเวนชายแดนเป็นการเตรียมกำลังตำรวจให้พร้อม เพื่อจะปฏิบัติการต่อต้านการรบนอกแบบโดยเฉพาะการรบแบบกองโจรเป็นการเตรียมกำลังตำรวจ ให้พร้อมที่จะสนับสนุนการปฏิบัติการของกองทัพอื่น ๆ ได้ทันที ถ้าสงครามเกิดขึ้นทำการคุ้มครองพื้นที่ของประเทศที่เป็นป่าเขาทั่วไปที่การคมนาคมทุกชนิดเข้าไปไม่ถึงด้วยการเดินเท้า หรือโดยการส่งลงทางอากาศทำการปราบปรามโจรผู้ร้ายที่ใช้รอยต่อของจังหวัดและของประเทศเป็นที่ซุกซ่อนกับการสกัดกั้นการลักลอบลำเลียงของหนีภาษี และยาเสพติดเมื่อไม่มีเหตุการณ์ สามารถพัฒนาสร้างสรรค์ให้เกิดการกินดีอยู่ดีแก่ประชาชน", "title": "ตำรวจตระเวนชายแดน" }, { "docid": "359073#20", "text": " \nเนื่องจากกลุ่มปราสาทนี้ตั้งอยู่ในเขตชายแดนประเทศไทย และเคยเป็นเขตอันตราย \nเพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการเดินทางเข้าชม ควรติดต่อหน่วยตำรวจตระเวนชายแดนที่ตั้งด่านอยู่ที่หมู่บ้าน", "title": "กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิ" }, { "docid": "33634#36", "text": "หน่วยตำรวจที่ปฏิบัติการมี 3 กลุ่ม คือ ตำรวจตระเวนชายแดน พลร่ม โดยรายชื่อปฏิบัติการเท่าที่รวบรวมได้ดังนี้ พลตำรวจตรี อังกูร ทัตตานนท์ ผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน พล.ต.ต.สุวิทย์ โสตถิทัต พล.ต.ท.เจริญฤทธิ์ จำรัสโรมรัน รองผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ผู้บังคับการกองปราบปราม พล.ต.ต.สงวน คล่องใจ ผู้บัญชาการกองปราบปราม ", "title": "เหตุการณ์ 6 ตุลา" }, { "docid": "409939#4", "text": "หลังผู้นำหมู่บ้านและราษฏรบ้านโพธิ์ทองได้ยื่นฏีกา ขอพระราชทานจัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ณ บ้านโพธิ์ทอง เนื่องจากสถานศึกษาอยู่ห่างไกล มีความยากลำบาก เส้นทางอันตรายและไม่ปลอดภัยในการเดินทางไปเล่าเรียนเนื่องจากเป็นหมู่บ้านแนวชายแดน เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนเกี่ยวกับสถานศึกษาภาคบังคับของเด็กนักเรียนในพื้นที่กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 จึงเข้าสำรวจพื้นที่การก่อตั้งและขออนุมัติจัดตั้งและได้รับอนุมัติให้ก่อตั้งขึ้นโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอาคารเรียนและอาคารประกอบรวมเป็นเงิน 5,523,655.58 บาท และทรงพระราชทานชื่อ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน“ท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์” บ้านโพธิ์ทอง หมู่ที่ 7 ตำบลตะเคียน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ “ท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์”", "title": "หม่อมราชวงศ์สุประภาดา เกษมสันต์" }, { "docid": "198112#3", "text": "กรมตำรวจ จึงได้พิจารณาหน่วยงานที่มีขีดความสามารถสูง และมีอาวุธยุทโธปรณ์เพียงพอ จึงได้พิจารณาสั่งการให้ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน รวบรวมข้าราชการตำรวจที่สมัครใจเข้ารับการฝึกฝนเพื่อเป็นบุคลากรของหน่วยปฏิบัติการพิเศษที่จะตั้งขึ้นนี้ โดยอาศัยครูฝึกของกองกำกับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เป็นหลักในการดำเนินการฝึก และเริ่มการฝึกโดยใช้พื้นที่ของ กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศ (ค่ายนเรศวร) อ.ชะอำ จว.เพชรบุรี และเริ่มการฝึกครั้งแรกเมื่อ 19 ก.ย. 2526 จนได้รับคำสั่งอนุมัติให้จัดตั้งหน่วยใน วันที่ 18 ธ.ค. 2527 เป็นหน่วยงานพิเศษในสังกัดกองกำกับการสนับสนุนทางอากาศตำรวจตระเวนชายแดน ต่อมาปลายปี 2529 ตามพระราช\nกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 14 หน่วยปฏิบัติการพิเศษนเรศวร 261 ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนราชการระดับ กองร้อย ในอัตราการจัดของกองกำกับการสนับสนุนทางอากาศตำรวจตระเวนชายแดน คือ กองร้อยที่ 4 กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ต่อมาในปี 2548 ได้มี พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ยกฐานะขึ้นเป็นหน่วยระดับ \" กองกำกับการ \" คือ \" กองกำกับการ 3 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน \" มาจนปัจจุบัน", "title": "นเรศวร 261" }, { "docid": "35773#62", "text": "ที่รหัสโรงเรียนชื่อโรงเรียนที่อยู่ ตำบล / อำเภอ / รหัสไปรษณีย์วันสถาปนาระดับที่เปิดสอน1โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านถ้ำเสือเลขที่ - ม.5 บ.ถ้ำเสือ พระธาตุผาแดง แม่สอด 63110อ.1 - ป.62โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยน้ำขุ่นเลขที่ - ม.8 บ.ห้วยน้ำขุ่น มหาวัน แม่สอด 63110อ.1 - ป.63โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนท่านผู้หญิงทวี มณีนุตรเลขที่ - ม.6 บ.ขุนห้วยแม่สอด พระธาตุผาแดง แม่สอด 63110อ.1 - ป.64โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนศึกษาสงเคราะห์ 2เลขที่ - ม.10 บ.โกช่วย แม่กุ แม่สอด 63110อ.1 - ป.6", "title": "อำเภอแม่สอด" }, { "docid": "116392#49", "text": "นอกจากนั้น กองกำลังเขมรแดงยังโจมตีตามแนวชายแดนลาวและโจมตีหมู่บ้านในบริเวณชายแดนไทยด้านจังหวัดปราจีนบุรี (ในขณะนั้น ปัจจุบันคือจังหวัดสระแก้ว) หลายครั้ง วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2520 มีกลุ่มชาวเขมรข้ามแดนมาปล้นสะดมที่บ้านน้อยป่าไร่ บ้านกกค้อ และบ้านหนองดอ อำเภออรัญประเทศ โดยกองกำลังเขมรเข้าโจมตีบ้านหนองดอก่อน จากนั้นจึงโจมตีบ้านกกค้อที่อยู่ใกล้เคียงกัน ทำให้ที่บ้านหนองดอ มีผู้เสียชีวิต 21 ศพ ที่บ้านกกค้อ มีผู้เสียชีวิต 8 ศพ กองกำลังเขมรที่เข้าโจมตีที่บ้านน้อยป่าไร่ ซึ่งกองกำลังตำรวจตระเวนชายแดนประจำการอยู่ เกิดการปะทะกัน ทำให้ฝ่ายไทยเสียชีวิต 1 ศพคือ จ.ส.ต. ภิรมย์ แก้ววรรณา ในที่สุดกองกำลังฝ่ายเขมรได้ล่าถอยไป[47]วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2520 กองกำลังกัมพูชาข้ามแดนเข้ามาโจมตีที่บ้านสันรอจะงันและบ้านสะแหง อำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี ทำให้มีการปะทะกับตำรวจตระเวนชายแดนและทหารไทย โดย พ.อ. ประจักษ์ สว่างจิตรเป็นผู้นำทหารไทยในการผลักดันกองกำลังกัมพูชาออกไป[47]", "title": "เขมรแดง" }, { "docid": "34460#3", "text": "ในระหว่าง พ.ศ. 2513 - 2518 สถานการณ์รบสู้กับคอมมิวนิสต์อยู่ในขั้นรุนแรง พล.ต.อ.โกวิท ในฐานะผบ.กองร้อยเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดนในขณะนั้น ได้ออกปราบปรามในพื้นที่ภาคเหนือตามแนวตะเข็บชายแดนไทย-พม่า คุ้มครองการก่อสร้างเส้นทางในพื้นที่อันตราย โดยเฉพาะเขต อ.อุ้มผาง จ.ตาก รวมระยะทาง 120 กิโลเมตร", "title": "โกวิท วัฒนะ" }, { "docid": "187171#11", "text": "เนื่องจากกลุ่มปราสาทนี้ตั้งอยู่ในเขตชายแดนประเทศไทย และเคยเป็นเขตอันตราย เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการเดินทางเข้าชม ควรติดต่อหน่วยตำรวจตระเวนชายแดนที่ตั้งด่านอยู่ที่หมู่บ้าน", "title": "ปราสาทตาเมือนธม" }, { "docid": "27351#7", "text": "วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 ขณะเสด็จไปรับตำรวจตระเวนชายแดนที่บาดเจ็บจากการเหยียบกับระเบิด ที่ ตำบลบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้ก่อการร้ายได้ระดมยิงมาที่เฮลิคอปเตอร์ที่ประทับ หม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี รังสิต ทรงถูกยิงถึงแก่พระชนม์ ซึ่งก่อนการสิ้นพระชนม์พระองค์ยังมีพระสติสัมปชัญญะดี ทรงเป็นห่วงตำรวจตระเวนชายแดนอยู่ตลอด มีรับสั่งว่า \"“ตชด.เป็นอย่างไรบ้าง เอาออกมาได้หรือยัง ให้รีบไปส่งโรงพยาบาล อย่าให้พวกมันรู้ว่าฉันถูกยิง มันจะเหิมเกริม”\" และ \"“ฉันไม่เป็นไรแล้ว ตชด.มาหรือยัง ให้รีบไปส่งโรงพยาบาลด่วน”\" ผู้เห็นเหตุการณ์ยังเล่าอีกว่า พระองค์ตรัสขอให้พระมหาวีระและครูบาธรรมชัยกราบถวายบังคมลาพระเจ้าอยู่หัวแทน ทรง \"ขอนิพพาน\" และตรัสเป็นประโยคสุดท้ายว่า ทรงเห็นนิพพานแล้ว พระนิพพานที่พระองค์เห็นนั้น สวยงดงาม และ \"แจ่มใสเหลือเกิน\"", "title": "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต" }, { "docid": "35773#61", "text": "โรงเรียนและศูนย์การเรียนในสังกัด กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 346 (ร้อย ตชด.346) กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 (กก.ตชด.34) \"ค่ายพระเจ้าตาก กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 3 (บก.ตชด.ภาค 3) ค่ายดารารัศมี", "title": "อำเภอแม่สอด" }, { "docid": "105582#15", "text": "กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 4", "title": "ตำรวจตระเวนชายแดน" }, { "docid": "105582#14", "text": "กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 31 (ค่ายเจ้าพระยาจักรี อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก) กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 (ค่ายพญางำเมือง อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา) กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 (ค่ายสมเด็จพระบรมราชชนนี อ.สันทราย จ.เชียงใหม่) กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 (ค่ายพระเจ้าตาก อ.เมืองตาก จ.ตาก)", "title": "ตำรวจตระเวนชายแดน" }, { "docid": "105582#10", "text": "กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 11 (ค่ายบดินทรเดชา อ.มะขาม จ.จันทบุรี) กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 12 (ค่ายเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว) กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 13 (ค่ายพระพุทธยอดฟ้า อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี) กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 14 (ค่ายพระมงกุฎเกล้า อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ จ.ประจวบคีรีขันธ์)", "title": "ตำรวจตระเวนชายแดน" }, { "docid": "105582#13", "text": "กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 3", "title": "ตำรวจตระเวนชายแดน" }, { "docid": "105582#5", "text": "การที่จะมอบหมายให้หน่วยทหารที่มีอยู่ในขณะนั้น ปฏิบัติหน้าที่ในบริเวณแนวชายแดนก็ขัดต่อสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสที่ระบุห้ามมิให้นำกำลังทหารไปวางไว้ ในระยะ 25 กิโลเมตร จากแนวแบ่งเขตชายแดน ไทย - ลาว และกัมพูชา และหากจะพิจารณาใช้กำลังตำรวจภูธรเข้าปฏิบัติภารกิจดังกล่าวตำรวจภูธรก็มีภารกิจหน้าที่ในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและการรักษาความสงบเรียบร้อย และการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจนไม่มีกำลังเพียงพอที่จะปฏิบัติหน้าที่ในบริเวณแนวชายแดนได้ ในที่สุด รัฐบาลก็ได้พิจารณาจัดตั้งหน่วยกำลัง \"ตำรวจตระเวนชายแดน\" ขึ้นในปี พ.ศ. 2494 โดยกำหนดให้หน่วยจะต้องมีคุณลักษณะ 3 ประการ ดังนี้", "title": "ตำรวจตระเวนชายแดน" }, { "docid": "105582#12", "text": "กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 (ค่ายสุรินทรภักดี อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์) กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 (ค่ายสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี) กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 23 (ค่ายศรีสกุลวงศ์ อ.เมืองสกลนคร จ.สกลนคร) กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24 (ค่ายเสนีย์รณยุทธ อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี)", "title": "ตำรวจตระเวนชายแดน" }, { "docid": "105582#16", "text": "กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 (ค่ายอาภากรเกียรติวงศ์ อ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร) กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 42 (ค่ายศรีนครินทรา อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช) กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 43 (ค่ายรามคำแหง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา) กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 (ค่ายพญาลิไทย อ.เมืองยะลา จ.ยะลา)", "title": "ตำรวจตระเวนชายแดน" }, { "docid": "105582#7", "text": "ตำรวจตระเวนชายแดนได้รับพระราชทานธงชัยประจำหน่วยตำรวจจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมกับหน่วยอื่นของตำรวจอีก 5 หน่วย เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2495 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินในการพระราชพิธีตรึงหมุดธงชัยเฉลิมพลประจำกองตำรวจด้วยพระองค์เอง ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2495 ผืนธงมีลักษณะเช่นเดียวกับธงชาติ ภายในยอดธงบรรจุเส้นพระเจ้าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และบรรจุพระพุทธรูปองค์เล็กเรียกว่า \"พระยอดธง\" เอาไว้ ธงชัยจึงถือเป็นตัวแทนของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งเหล่าข้าราชการตำรวจทั้งหลาย และปวงชนชาวไทยให้ความเคารพ", "title": "ตำรวจตระเวนชายแดน" }, { "docid": "588515#67", "text": "วันที่ 30 มกราคม กลุ่มกปปส.ภาคใต้เดินทางไปปิดล้อมทางเข้า-ออก ศูนย์ไปรษณีย์ทุ่งสง ปิดล้อมทางเข้า-ออก ศูนย์ไปรษณีย์เขต 9 หาดใหญ่ และเดินทางไปกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 ค่ายอาภากรเกียรติวงศ์ หลังมีข่าวว่าบัตรเลือกตั้งอยู่ที่กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41 วัตถุประสงค์ของการเดินทางเพื่อไม่ให้มีการเคลื่อนบัตรเลื่อนตั้งและหีบเลือกตั้ง", "title": "วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557" } ]
2510
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับแรกเขียนขึ้นเมื่อใด ?
[ { "docid": "69653#11", "text": "รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยชื่อว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” จากนั้น ราชอาณาจักรไทยก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้หากแบ่งกลุ่มรัฐธรรมนูญด้วยการวัดที่ระดับการเลือกสมาชิกสภานิติบัญญัติ จะสามารถแบ่งได้เป็นสามกลุ่มดังนี้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบางฉบับมีการให้อำนาจฝ่ายบริหารโดยไม่มีการถ่วงดุล ทำให้ฝ่ายบริหารมีความเฉียบขาดในการจัดการเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง ซึ่งอาจทำให้เกิดความฉับไวในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน แต่ก็นำมาซึ่งการใช้อำนาจรัฐในทางที่ผิดโดยมีการสั่งลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปแล้วเป็นจำนวนมาก\nมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยถึง 4 ฉบับที่มีบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งในฉบับต่อๆ มานั้นหมายเลขมาตราได้เลื่อนไป แต่ผู้คนก็ยังนิยมกล่าวถึงกรณีการใช้อำนาจเด็ดขาดของนายกรัฐมนตรีว่า \"ใช้อำนาจตามมาตรา 17\"", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" } ]
[ { "docid": "52457#0", "text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 102 ก ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 มี 39 มาตรา เป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ หลังจากที่ได้กระทำการรัฐประหารเป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549" }, { "docid": "741532#20", "text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มอบ \"ข้อสังเกตพระราชทาน\" และให้รัฐบาลแก้ให้เป็นไปตามข้อสังเกตดังกล่าวจำนวน 3 มาตรา ได้แก่มาตรา 5 มาตรา 17 และมาตรา 182ซึ่งยังไม่เคยปรากฏมาก่อนที่กษัตริย์มอบข้อสังเกตพระราชทานและมีพระราชกระแสรับสั่งให้แก้ไขตามพระราชประสงค์ อีกทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการแก้ไขภายหลังการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2559 ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติยังได้อ้างถึงอำนาจตามมาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560" }, { "docid": "965695#0", "text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๙๒ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 ของไทย โดยหากเทียบรัฐธรรมนูญสี่ฉบับก่อนหน้าถือได้ว่าเป็นฉบับที่ดีที่สุด จัดร่างโดยสภาผู้แทนราษฎร และประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492 และถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหารตนเอง รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 2 ปี เศษ\nรัฐธรรมนูญฉบับนี้ อำนาจนิติบัญญัติ ให้มีรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนวุฒิสภาโดยกำหนดให้มีสมาชิกในสภานี้ทั้งสิ้น 100 คน", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492" }, { "docid": "28664#1", "text": "รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 นี้ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ริเริ่มขึ้นโดยพรรคชาติไทย นายบรรหาร ศิลปอาชานายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองเข้ามาดำเนินการและได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา และมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 99 คน โดย 76 คนเป็นตัวแทนของแต่ละจังหวัด และอีก 23 คนมาจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งฉบับเดียวของประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้ 15 ฉบับมาจากคณะรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้งหรือรัฐบาลทหาร รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกเรียกว่าเป็น \"รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน\" เนื่องจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่าง", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540" }, { "docid": "98888#14", "text": "ในกรณีที่เสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบให้ใช้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สภาร่างรัฐธรรมนูญจะสิ้นสุดลง คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ได้เคยประกาศใช้บังคับมาแล้วฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันออกเสียงประชามติ และนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญต่อไป", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550" }, { "docid": "69653#6", "text": "รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวบางฉบับใช้บังคับเป็นเวลานาน เช่น ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ซึ่งเกิดขึ้นจากรัฐประหารจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ใช้บังคับเป็นเวลา 9 ปีเศษ แต่รัฐธรรมนูญฉบับถาวรหลายฉบับใช้บังคับในระยะเวลาสั้น ๆ เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่มีหลักการสอดคล้องกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่ไม่สอดคล้องกับโครงสร้างอำนาจทางการเมืองซึ่งไม่ได้อยู่ในมือของประชาชนอย่างแท้จริง ทว่าตกอยู่ในมือของกลุ่มข้าราชการประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายทหารระดับสูง ด้วยเหตุนี้รัฐธรรมนูญที่มุ่งจะใช้บังคับเป็นการถาวรจึงมักถูกยกเลิกโดยรัฐประหาร โดยคณะผู้นำทางทหาร เมื่อคณะรัฐประหาร ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น คณะปฏิวัติ คณะปฏิรูป หรือคณะรักษาความสงบเรียบร้อย ยึดอำนาจได้สำเร็จก็จะประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแล้วจึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร และเมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่มุ่งใช้บังคับถาวรแล้วก็จะมีการเลือกตั้ง และตามด้วยการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญฉบับถาวร แต่เมื่อรัฐบาลบริหารประเทศไปได้ระยะหนึ่งก็จะถูกรัฐประหาร และประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับถาวร แล้วก็ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พร้อมทั้งจัดให้การร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรใหม่อีก หมุนเวียนเป็นวงจรการเมืองของรัฐไทยมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานนับหลายสิบปี นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" }, { "docid": "673043#0", "text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 4 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2490 หรือหนึ่งวันหลังการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน มีจอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย หรือ ผู้บัญชาการทหารบก ในปัจจุบันเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490" }, { "docid": "634923#3", "text": "ทั้งนี้ ในอารมภบทของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ระบุว่า การจัดให้มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 อยู่ในแนวทางการแก้ปัญหาระยะที่ 2 จากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้กำหนดไว้ทั้งสิ้น 3 แนวทาง ซึ่งแนวทางการแก้ปัญหาระยะที่ 2 จะจัดให้มีรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว จัดตั้งสภาขึ้นทำหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ ให้มีคณะรัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินแก้ไขสถานการณ์อันวิกฤติให้กลับคืนสู่สภาวะปกติ จัดตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติและองค์กรต่างๆ เพื่อให้มีการปฏิรูปในด้านการเมืองและด้านอื่นๆ และให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก่อนจะส่งมอบภารกิจเหล่านี้แก่ผู้แทนปวงชนชาวไทยและคณะรัฐบาลที่จะเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินในระยะต่อไป ซึ่งในการดำเนินการนี้จะให้ความสำคัญแก่หลักการพื้นฐานยิ่งกว่าวิธีการในระบอบประชาธิปไตย จึงจำเป็นต้องใช้เวลาสร้างบรรยากาศแห่งความสงบเรียบร้อยและปรองดอง เพื่อนำความสุขที่สูญหายไปนานกลับคืนสู่ประชาชน และปฏิรูปกฎเกณฑ์บางเรื่องที่เคยเป็นชนวนความขัดแย้ง จึงให้มีรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จนกว่าจะได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะจัดทำขึ้นตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ต่อไป", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557" }, { "docid": "52457#1", "text": "คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ได้แต่งตั้งทีมงานนักกฎหมายเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวนี้ ซึ่งเริ่มต้นประกอบด้วยมีชัย ฤชุพันธุ์ ซึ่งเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญหลายฉบับ, บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และวิษณุ เครืองาม แต่หลังการประกาศชื่อ สองคนนี้ได้ลาออกเนื่องจากได้รับเสียงวิจารณ์ว่าเคยร่วมงานกับขั้วอำนาจเก่าของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549" }, { "docid": "69653#5", "text": "สำหรับประเทศไทย ในส่วนที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญนั้นนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2 ลักษณะคือ รัฐธรรมนูญ มุ่งจะใช้บังคับเป็นการถาวรโดยที่มีการยกร่างกันอย่างเป็นระบบ กับรัฐธรรมนูญที่มุ่งจะใช้บังคับเป็นการชั่วคราวซึ่งมักเรียก ธรรมนูญการปกครอง", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" }, { "docid": "69653#9", "text": "ก่อนที่ราชอาณาจักรไทยจะมีรัฐธรรมนูญนั้น ราชอาณาจักรไทยมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ไทยเชิงการเมืองการปกครอง เมื่อคณะราษฎร ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการสายทหารบก ทหารเรือ และสายพลเรือน จำนวน 99 คน โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้า ร่วมกันยึดอำนาจการปกครองประเทศจากพระมหากษัตริย์ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทรงตัดสินพระทัยที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยสงบ ดังความตามพระราชหัตถเลขา (ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ) ที่ทรงเขียนในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2475 ไม่ลงวันที่ พระราชทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ซึ่งได้แปลเป็นภาษาไทยในหนังสือเรื่อง \"เกิดวังปารุสก์\" เล่ม 2 ความดังนี้", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" } ]
342
วชิราวุธวิทยาลัย ก่อตั้งขึ้นเมื่อไหร่?
[ { "docid": "7052#3", "text": "พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานกำเนิดโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2453 เพื่อให้โรงเรียนแห่งนี้เป็นสถาบันที่ให้การศึกษาอย่างแท้จริงแก่กุลบุตรชาวไทย และเป็นเสมือนพระอารามหลวงประจำรัชกาล ซึ่งมิได้โปรดฯ ให้สร้างขึ้น เพราะมีพระราชดำริว่า ในรัชสมัยของพระองค์พระอารามหลวงต่างๆ มีอยู่มากแล้ว หากจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอารามหลวงขึ้นอีกก็จะเป็นพระราชภาระในการปฏิสังขรณ์อีกโดยมิควร ประกอบกับในรัชสมัยของพระองค์นั้นการศึกษาได้เปลี่ยนแปลงไป มิได้อยู่กับวัดดังเช่นกาลก่อน นักเรียนต้องการครูบาอาจารย์ที่เป็นคฤหัสถ์ เพื่อทำการอบรมสั่งสอน[1] ดังนั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนขึ้นตามแบบโรงเรียนรัฐบาลของประเทศอังกฤษ และพระราชทานนามโรงเรียนแห่งนี้ว่า \"โรงเรียนมหาดเล็กหลวง\"[2]", "title": "วชิราวุธวิทยาลัย" } ]
[ { "docid": "51099#1", "text": "ผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนคือ มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ขณะท่านมีบรรดาศักดิ์เป็น \" พระยาสุขุมนัยวินิต \" ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จการมณฑลนครศรีธรรมราช และเป็นพระอาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยในเดือนมกราคม พุทธศักราช 2439 ในวาระโอกาสวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เจ้าพระยายมราชได้ขอพระราชทานพระนามของพระองค์ในขณะนั้นมาเป็นนามของโรงเรียน ว่าโรงเรียน \"มหาวชิราวุธ\" ปัจจุบันเป็นสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ และลูกมหาวชิราวุธทุกคนที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันแห่งนี้ ต่างมีความรักภาคภูมิใจในสถาบัน และภูมิใจใน ตราวชิราวุธ อันเป็นลัญจกรประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์อันเป็นมิ่งมงคลยิ่งของสถาบัน", "title": "โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา" }, { "docid": "7052#14", "text": "ผู้บังคับการ เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูงสุดในการดูแลจัดการวชิราวุธวิทยาลัย เป็นทั้งหัวหน้าฝ่ายบริหาร และครูใหญ่ รวมทั้งผู้รับใบอนุญาตผู้จัดการโรงเรียน ทั้งนี้ ผู้ที่จะเข้าดำรงตำแหน่งผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย ต้องเป็นผู้ที่ผ่านพระบรมราชานุมัติจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว", "title": "วชิราวุธวิทยาลัย" }, { "docid": "51896#3", "text": "รวม 3 สมัยแรกมีอายุตั้งแต่เปิดโรงเรียนจนปิดทำการรวม 28 ปี มีชาวราชวิทย์รวม 28 รุ่น และถูกโอนไปรวมกับโรงเรียนมหาดเล็กหลวง เป็นวชิราวุธวิทยาลัย เป็นเวลา 38 ปี มีการก่อตั้งสมาคม ชื่อ สมาคมราชวิทยาลัยฯ เมื่อปี พ.ศ. 2474 เหตุที่ไม่ใช่คำว่าสมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนราชวิทยาลัย เพราะตอนขอจดทะเบียนโรงเรียนราชวิทยาลัยถูกโอนไปรวมแล้ว(ได้รับโปรดเกล้าฯอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อปีพ.ศ. 2554)", "title": "โรงเรียนราชวิทยาลัย" }, { "docid": "768818#1", "text": "ผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนคือ มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ขณะท่านมีบรรดาศักดิ์เป็น \" พระยาสุขุมนัยวินิต \" ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จการมณฑลนครศรีธรรมราช และเป็นพระอาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยในเดือนมกราคม พุทธศักราช 2439 ในวาระโอกาสวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เจ้าพระยายมราชได้ขอพระราชทานพระนามของพระองค์ในขณะนั้นมาเป็นนามของโรงเรียน ว่าโรงเรียน \"มหาวชิราวุธ\" ปัจจุบันเป็นสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ และลูกมหาวชิราวุธทุกคนที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันแห่งนี้ ต่างมีความรักภาคภูมิใจในสถาบัน และภูมิใจใน ตราวชิราวุธ อันเป็นลัญจกรประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์อันเป็นมิ่งมงคลยิ่งของสถาบัน", "title": "โรงเรียนมหาวชิราวุธ" }, { "docid": "104954#5", "text": "ปนัดดา เข้าประกวดนางสาวไทยหลังจากเป็นอาจารย์ได้ 1 เทอม และได้ตำแหน่งนางสาวไทยในปี พ.ศ. 2543 หรือ ปี ค.ศ. 2000 ซึ่งนับเป็นปีแรกของการประกวดนางสาวไทย ที่เป็นความร่วมมือของสมาคมนักเรียนเก่า วชิราวุธวิทยาลัย กับทางไอทีวี ซึ่งจัดการถ่ายทอดสดผ่านทางไอทีวี โดยแต่เดิมนั้นการประกวดนางสาวไทย เป็นความร่วมมือของสมาคมนักเรียนเก่า วชิราวุธวิทยาลัย กับทางช่อง 7 โดยจัดการถ่ายทอดสดผ่านทางช่อง 7 ซึ่งในการประกวดนางสาวไทย ในปี 2543 นี้ ทาง วชิราวุธวิทยาลัย ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในการกำหนดนิยามของการประกวดนางสาวไทยว่า \"ทูตวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวไทย\" โดยจะมอบตำแหน่ง \"ทูตวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวไทย แก่ผู้ชนะเลิศการประกวดนางสาวไทยปี 2543 อีก 1 ตำแหน่ง และในปี 2543 เป็นต้นมาการประกวดนางสาวไทย ไม่มีการประกวดโดยการสวมใส่ชุดว่ายน้ำ ซึ่ง ปนัดดา วงศ์ผู้ดี ได้ชื่อเป็นนางสาวไทยคนแรก ที่เป็นทั้งนางสาวไทยและทูตวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวไทยพร้อมกัน ซึ่งเธอยังได้ตำแหน่ง ขวัญใจช่างภาพสื่อมวลชน อีกหนึ่งตำแหน่งด้วย\nในสมัยมัธยม โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนีย์) เธอได้เป็นนางนพมาศและถือป้ายงานกีฬา 5 พระเกี้ยว ปี 2534 และเป็นนางนพมาศกรุงเทพมหานคร ถ้วย พล.ตรี จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปี 2534", "title": "ปนัดดา วงศ์ผู้ดี" }, { "docid": "4261#67", "text": "อาคารมหาวชิราวุธ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารมหาวชิราวุธ วชิรพยาบาล อาคารเทพวารวดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารวชิรมงกุฎ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อาคารวชิรมงกุฎ วชิราวุธวิทยาลัย ประตูอัศวพาหุ วชิราวุธวิทยาลัย ประตูเยาวราช วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งตามพระอิศริยศในขณะนั้น สมเด็จพระบรมโอสาธิราชฯ ทั้งสร้างถวายพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช (พระเยาวราช พระยุพราช ) สวนรื่นฤดี สถานที่ปลูกพลับพลาที่ประทับ ครั้นเสด็จมาก่อตั้งและเปิดค่ายวชิราวุธ จังหวัดนครศรีธรรมราช", "title": "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "359304#2", "text": "เดิมแต่แรกนั้น ในสมัยที่ ยังเป็น โรงเรียนราชวิทยาลัย ได้มีการจัดกีฬาหน้าพระที่นั่ง กับโรงเรียนในสังกัดกรมมหาดเล็ก(เป็นโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2459 ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 33 หน้า 1109) ทุกๆ ปีจะมีการแข่งกีฬาหน้าพระที่นั่ง ในวันแข่งขันกีฬาประจำปีนั้นทั้งครูและนักเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ทุกคนจะต้องไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพร้อมกัน ณ สนามโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ( วชิราวุธวิทยาลัย ในปัจจุบัน ) เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นยุคสมัยที่การเงินของประเทศอยู่ในภาวะคับขัน เศรษฐกิจตกต่ำ จึงได้ทรงตัดทอนรายจ่ายในพระราชสำนัก และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยกโรงเรียนราชวิทยาลัยไปรวมกับโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ให้เป็น โรงเรียนเดียวกัน ซึ่งโปรดพระราชทานนามนามให้ใหม่ว่า วชิราวุธวิทยาลัย เมื่อวันที่ 16 เมษายน พุทธศักราช 2469 เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์เฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สืบไป", "title": "งานรักบี้ฟุตบอลประเพณีราชวิทย์-วชิราวุธ" }, { "docid": "359304#5", "text": "สรุปผลการแข่งขัน ทีม ภปร. ราชวิทยาลัย ชนะ 16 ครั้ง ทีมวชิราวุธวิทยาลัยชนะ 8 ครั้ง เสมอ 2 ครั้ง", "title": "งานรักบี้ฟุตบอลประเพณีราชวิทย์-วชิราวุธ" }, { "docid": "359304#0", "text": "การแข่งขันรักบี้ฟุตบอลประเพณีราชวิทยาลัย - วชิราวุธวิทยาลัย เป็นการแข่งขันรักบี้ฟุตบอลประเพณีและการแปรอักษรของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา เพื่อชิงถ้วยพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่างโรงเรียนชายล้วนเก่าแก่ 2 สถาบันของประเทศไทย ได้แก่ โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ หรือ สนามกีฬากองทัพบก เพื่อเป็นการเชื่อมความสามัคคีของครูอาจารย์ นักเรียนทั้งฝ่ายนักกีฬาและฝ่ายกองเชียร์ และยังรวมไปถึงกลุ่มนักเรียนเก่าทั้งสองสถาบัน ให้มีความ Esprit de Corp ( มาจากภาษาฝรั่งเศส แปลว่า จิตวิณญาณของคณะ ) และความสามัคคีระหว่างพี่น้องทั้งสองสถาบัน โดยเงินรายได้ที่ได้จากการแข่งขันจะสมทบทุนการกุศลหมด ", "title": "งานรักบี้ฟุตบอลประเพณีราชวิทย์-วชิราวุธ" }, { "docid": "7052#12", "text": "หนึ่งในประเพณีของวชิราวุธวิทยาลัย คือ การร้องเพลงในงานสำคัญต่างๆ รวมถึงเพลงเชียร์กีฬา โดยเพลงที่มักจะได้ยินบ่อยๆ มีดังนี้", "title": "วชิราวุธวิทยาลัย" }, { "docid": "203431#7", "text": "สถาบันที่ครูได้ถ่ายทอดวิชาดนตรีไว้ให้ ได้แก่ วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย และโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย", "title": "พิษณุ แช่มบาง" }, { "docid": "7052#15", "text": "ลำดับรายนามตำแหน่งระยะเวลาดำรงตำแหน่ง1พระโอวาทวรกิจ (เหม ผลพันธิน)อาจารย์ใหญ่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง17 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 - 8 กันยายน พ.ศ. 24552พระอภิรักษ์ราชฤทธิ์ (ศร ศรเกตุ)อาจารย์ใหญ่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง8 กันยายน พ.ศ. 2455 - 11 เมษายน พ.ศ. 24583พระยาบริหารราชมานพ (ศร ศรเกตุ)ผู้บังคับการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง11 เมษายน พ.ศ. 2458 - 26 มีนาคม พ.ศ. 24604พระยาบรมบาทบำรุง (พิณ ศรีวรรธนะ)ผู้บังคับการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง26 มีนาคม พ.ศ. 2460 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 24695พระยาปรีชานุสาสน์ (เสริญ ปันยารชุน)ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 - 16 เมษายน พ.ศ. 24766พระยาบรมบาทบำรุง (พิณ ศรีวรรธนะ)ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย4 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 24787พระพณิชยสารวิเทศ (ผาด มนตธาตุผลิน)ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย1 สิงหาคม พ.ศ. 2478 - 1 มกราคม พ.ศ. 24868มหาอำมาตย์ตรี พระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ อิศรเสนา)ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย1 มกราคม พ.ศ. 2486 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 25189ศาสตราจารย์ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยาผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 253910ศาสตราจารย์ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิชผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย30 มิถุนายน พ.ศ. 2539 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 255011ดร.สาโรจน์ ลีสวรรค์ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย28 มิถุนายน พ.ศ. 2550 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 255912ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุรวุธ กิจกุศลผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย9 มิถุนายน พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน", "title": "วชิราวุธวิทยาลัย" }, { "docid": "51896#43", "text": "ราชวิทยาลัยยามสิ้นชื่อ ถือกำเนิดสมาคม เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับราชสมบัติสืบต่อมาเป็นรัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นยุคสมัยที่การเงินของประเทศอยู่ในภาวะคับขัน เศรษฐกิจตกต่ำ จึงได้ทรงตัดทอนรายจ่ายในพระราชสำนัก และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยกโรงเรียนราชวิทยาลัยไปรวมกับโรงเรียนมหาดเล็กหลวง โปรดให้ย้ายนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์(ค้นว้าล่าสุดจากทะเบียนของวชิราวุธวิทยาลัยมีถึง19หรือ20คน) และ ครูชาวต่างประเทศบางคนที่ยังไม่หมดสัญญาจ้าง ไปสมทบกับโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ซึ่งโปรดพระราชทานนามนามให้ใหม่ว่า วชิราวุธวิทยาลัย เมื่อวันที่ 16 เมษายน พุทธศักราช 2469 เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์เฉลิมพระเกียรติแด่ สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สืบไป", "title": "โรงเรียนราชวิทยาลัย" }, { "docid": "860592#4", "text": "ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการวชิราวุธวิทยาลัยเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการฯ ได้พิจารณาเห็นว่า ศาสตราจารย์ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับกรรมการอำนวยการ ประกอบกับเป็นผู้ที่ทราบกิจการของวชิราวุธวิทยาลัยด้วยดีตลอดมา คณะกรรมการอำนวยการฯ จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในตำแหน่งนายกกรรมการอำนวยการวชิราวุธวิทยาลัยนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุมัติให้ ศาสตราจารย์ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยสืบแทนพระยาภะรตราชาที่ถึงอนิจกรรม แต่ในเวลานั้นศาสตราจารย์ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา ยังคงดำรงตำแหน่งเลขาธิการพระราชวังอยู่ ราชเลขาธิการจึงได้หารือไปยังสำนักพระราชวัง เมื่อสำนักพระราชวังตอบรับว่า การดำรงตำแหน่งผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยไม่ขัดหรือเป็นผลเสียแก่การปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการพระราชวังแต่อย่างใด ราชเลขาธิการจึงได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุมัติให้ศาสตราจารย์ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย มาตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ตลอดระยะเวลาที่ศาสตราจารย์ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยติดต่อกันมา 4 วาระ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2539 นั้น ท่านได้สืบทอดการจัดการอบรมนักเรียนตามแนวทางที่พระยาภะรตราชาได้เคยปฏิบัติไว้ แต่ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมแก่ยุคสมัยไปบ้าง เช่น มีการปรับเวลาเรียนจากวันละ 5 ชั่วโมงเป็น 6 คาบเรียนตามมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ ปรับเวลาเลิกเรียนในตอนบ่ายจาก 13.00 น. เป็น 13.30 น. มีการจัดสร้าง \"ครัวรวม\" เพื่อประกอบอาหารจัดเลี้ยงนักเรียนทุกคณะแทนการให้แต่ละคณะเป็นผู้ประกอบจัดเลี้ยงซึ่งได้ปฏิบัติติดต่อกันมาช้านานการกันเอง ในส่วนของการบริหารงานโรงเรียนในสมัยที่ศาสตราจารย์ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นผู้บังคับการนั้น ได้มีการเชิญอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารการศึกษาจากภาควิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาศึกษาและนำเสนอโครงสร้างการบริหารงานของวชิราวุธวิทยาลัยต่อคณะกรรมการอำนวยการวชิราวุธวิทยาลัย ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการวชิราวุธวิทยาลัยได้พิจารณาอนุมัติให้เริ่มทดลองใช้โครงสร้างใหม่นั้นแทนโครงสร้างการบริหารงานเดิมที่ใช้กันมาแต่ครั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวง โครงสร้างการบริหารงานใหม่ที่คณะกรรมการอำนวยการฯ ได้อนุมัติให้เริ่มใช้งานมาตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 นั้น เมื่อได้ทดลองใช้ไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก็ได้พบความไม่เหมาะสมบางประการ เฉพาะอย่างยิ่งการแบ่งซอยหน่วยงานในแต่ละฝ่ายที่แยกย่อยเกินความจำเป็น จึงได้มีการปรับโครงสร้างให้กระชับขึ้นโดยยุบรวมหน่วยงานย่อยๆ ที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันเข้าด้วยกันจัดเป็นแผนก และมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบงานในแต่ละแผนกมาตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 นอกจากนั้นในสมัยที่ศาตราจารย์ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยอยู่นั้น วิทยาการแขนงต่างๆ ได้พัฒนาก้าวหน้าไปเป็นอันมาก เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในแวดวงการศึกษา ท่านผู้บังคับการ ศาตราจารย์ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา ก็ได้ริเริ่มให้วชิราวุธวิทยาลัยจัดซื้อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จำนวน 10 ชุด มาใช้ในการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 6 เป็นครั้งแรกเมื่อปีการศึกษา 2532 แล้วจึงจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่มเติมพร้อมกับขยายการสอนไปยังระดับชั้นอื่นๆ รวมทั้งเริ่มนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ประมวลผลในงานธุรการของโรงเรียน สิ่งที่ศาตราจารย์ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา ได้ริเริ่มไว้ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย คือ การจัดตั้งงานแนะแนวการศึกษาขึ้นในฝ่ายวิชาการ โดยท่านเห็นความจำเป็นที่ว่า โรงเรียนประจำนั้นนอกจากผู้กำกับคณะ และครูผู้สอนจะต้องเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตน ปัญหาชีวิต พฤติกรรมการปรับตัวและปัญหาอื่นๆ แล้ว สมควรที่จะมีหน่วยงานด้านการแนะแนวขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมข้อมูลด้านต่างๆ ของนักเรียน และยังเป็นหน่วยงานที่จะส่งเสริมให้นักเรียนมีแนวทางที่จะศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปอีกด้วย", "title": "กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา" }, { "docid": "61480#1", "text": "อดิศัย โพธารามิก หรือ ดร.อดิศัย โพธารามิก จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จาก โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย พ.ศ. 2500 \nก่อตั้ง บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล และได้งานโครงการโทรศัพท์ต่างจังหวัด 1.5 ล้านเลขหมาย โครงการสื่อสารภายในประเทศด้วยดาวเทียม (TDMA) ระบบสื่อสารเพื่อบริการธุรกิจผ่านดาวเทียม (ISBN) และเคเบิลใยแก้วใต้น้ำ โดยมีตำแหน่งเป็นซีอีโอของ ทีทีแอนด์ทีและจัสมิน", "title": "อดิศัย โพธารามิก" }, { "docid": "1849#3", "text": "พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เกิดที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ชื่อ \"เปรม\" นั้น พระรัตนธัชมุนี (แบน คณฺฐาภรโณ) เป็นผู้ตั้งให้ ส่วนนามสกุล \"ติณสูลานนท์\" พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2462 เป็นบุตรชายคนรองสุดท้อง จากจำนวน 8 คน ของรองอำมาตย์โทหลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) ต้นตระกูลติณสูลานนท์ กับนางวินิจทัณฑกรรม (ออด ติณสูลานนท์) มีพี่น้องคือ\nพล.อ.เปรม สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา สงขลา ในหมายเลขประจำตัว 167 และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2480 จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเทคนิคทหารบก รุ่นที่ 5 สังกัดเหล่าทหารม้า (โรงเรียนนี้ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2477 ต่อมาคือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า)", "title": "เปรม ติณสูลานนท์" }, { "docid": "101982#6", "text": "ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ทดลองจัดการประกวด \"นางงามวชิราวุธ\" ขึ้นในงานวชิราวุธานุสรณ์ ซึ่งเป็นงานที่สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดขึ้นโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ องค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และ อีกวัตถุประสงค์คือ เพื่อสร้างความบันเทิง แก่ประชาชนผู้มาเที่ยวงาน ส่วนสถานที่จัดงานคือบริเวณพระราชอุทยานสราญรมย์ จากการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ จุดมุ่งหมายของการจัดประกวด นางสาวไทย ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยการใช้ตำแหน่งนางสาวไทย เป็นสื่อเผยแพร่ชื่อเสียง ให้แก่ประเทศ และ ใช้รูปแบบของการเข้าร่วมประกวดนางงาม ระดับชาติทำให้ชาวต่างชาติรู้จักประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ดังนั้นในปี พ.ศ. 2507 คณะกรรมการการจัดงานวชิราวุธานุสรณ์ ได้มีการเปลี่ยนชื่อการประกวดมาเป็นการประกวด \"นางสาวไทย \"", "title": "นางสาวไทย" }, { "docid": "359304#1", "text": "สำหรับการแข่งขันรักบี้ฟุตบอลประเพณี ราชวิทยาลัย - วชิราวุธวิทยาลัย ครั้งที่ 22 จัดขึ้น พ.ศ. 2554 โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นเจ้าภาพ สำหรับสถิติที่ผ่านมาของทั้งสองทีมพบกันมาแล้ว 19 ครั้ง ปรากฏว่า ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ชนะไปได้ 12 ครั้ง วชิราวุธ ชนะ 6 ครั้ง และเสมอกัน 1 ครั้ง", "title": "งานรักบี้ฟุตบอลประเพณีราชวิทย์-วชิราวุธ" }, { "docid": "163422#14", "text": "ดำรงตำแหน่งกรรมการในมูลนิธิ และโครงการต่างๆ เช่น ประธานมูลนิธิดำรงราชานุภาพ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี กรรมการมูลนิธิบุรฉัตรมูลนิธิ , กรรมการอำนวยการโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยตั้งแต่ พฤศจิกายน 2551 - พฤศจิกายน 2557และ 2560 จนถึงปัจจุบัน, ดำรงตำแหน่งประธานคณะที่ปรึกษาโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยด้านการบริหาร ตั้งแต่ มิถุนายน 2551 จนถึง 2560, ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการบริหารโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ตั้งแต่ กรกฎาคม 2561", "title": "หม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล" }, { "docid": "358028#0", "text": "เพชร มาร์ มีชื่อจริงว่า พิทรี่ วิคเตอร์ เอดวาร์ด มาร์ เป็นโปรดิวเซอร์และนักดนตรีชาวไทยและคอมเมนเตเตอร์ประจำรายการ เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ลูกครึ่งไทย-สก๊อตแลนด์ เป็นบุตรของสจ๊วต และวี มาร์ บิดาเป็นผู้ก่อตั้งวงปี่สก๊อตโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย และมารดาเป็นผู้มีชื่อเสียงแวดวงไฮโซ ", "title": "เพชร มาร์" }, { "docid": "51099#20", "text": "โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ สงขลา สำนักงานศึกษาธิการเขต เขตการศึกษา 3 จังหวัดสงขลา โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย อ.หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โรงเรียนปาดังศึกษา อ.สะเดา จังหวัดสงขลา โรงเรียนพิชัยรัตนาคาร จังหวัดระนอง วิทยาลัยเทคนิคระนอง จังหวัดระนอง โรงเรียนป่าบอนพิทยาคม กิ่งอำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง โรงเรียนบ้านควนโพธิ์ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง", "title": "โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา" }, { "docid": "7052#17", "text": "งานรักบี้ฟุตบอลประเพณีราชวิทย์-วชิราวุธ", "title": "วชิราวุธวิทยาลัย" }, { "docid": "7052#0", "text": "วชิราวุธวิทยาลัย เป็นโรงเรียนประจำชายล้วน สถาปนาขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระองค์พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อสร้างโรงเรียนแก่กุลบุตรชาวไทยแทนการสร้างพระอารามซึ่งมีอยู่มากแล้วนั้น ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้มีพระบรมราชโองการให้รวมโรงเรียนมหาดเล็กหลวง กรุงเทพ และโรงเรียนราชวิทยาลัยเข้าด้วยกัน โดยให้นักเรียนย้ายมาเรียนรวมกันที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงกรุงเทพ พร้อมทั้งได้พระราชทานนามโรงเรียนขึ้นใหม่ว่า “วชิราวุธวิทยาลัย” เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียนสืบต่อไป", "title": "วชิราวุธวิทยาลัย" }, { "docid": "7052#1", "text": "วชิราวุธวิทยาลัยมีตึกที่พักนักเรียน เรียกว่า \"คณะ\" เป็นเสมือนบ้านของนักเรียน แบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ คณะเด็กโต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม แบ่งออกเป็น ๖ คณะ คือ คณะผู้บังคับการ คณะดุสิต คณะจิตรดา คณะพญาไท คณะจงรักภักดี คณะศักดิ์ศรีมงคล ส่วนคณะเด็กเล็กสำหรับนักเรียนชั้นประถม แบ่งออกเป็น ๓ คณะ คือ คณะสนามจันทร์ คณะนันทอุทยาน และ คณะสราญรมย์ นอกจากนี้ ทางโรงเรียนยังส่งเสริมให้นักเรียนได้เล่นกีฬาต่าง ๆ เช่น รักบี้ฟุตบอล แบดมินตัน นอกจากนี้ ยังมีการจัดการแข่งขันรักบี้ประเพณีกับมาเลย์ คอลเลจ (Malay College Kuala Kangsar) จากประเทศมาเลเซีย เป็นประจำทุก ๆ ปี", "title": "วชิราวุธวิทยาลัย" }, { "docid": "7052#6", "text": "ในรัชกาลปัจจุบันเมื่อพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีและสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จนิวัติประเทศไทยเป็นการถาวรในปี พ.ศ. 2502 ทั้งสองพระองค์ทรงมีพระประสงค์จะสนองพระเดชพระคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็นพระบรมชนกนาถ และ พระราชสวามี จึงทรงต้องพระประสงค์จะอุปถัมภ์กิจการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มไว้ ดังนั้นพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีและสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี จึงทรงรับวชิราวุธวิทยาลัยไว้ในพระอุปถัมภ์ โดยจะทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อบำรุงวชิราวุธวิทยาลัย และทรงเสด็จพระดำเนินมาบำเพ็ญพระกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้เมื่อพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี จะเสด็จสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ก็ยังทรงพระราชทานเงินเพื่อบำรุงไว้เช่นเดิมจนถึงปัจจุบัน", "title": "วชิราวุธวิทยาลัย" }, { "docid": "7052#8", "text": "วชิราวุธวิทยาลัยส่งเสริมให้นักเรียนได้เล่นกีฬา รวมทั้ง มีการจัดการแข่งขันกีฬาภายในทุกปี โดยมีการแบ่งประเภทกีฬาออกเป็นภาคการศึกษา ดังนี้", "title": "วชิราวุธวิทยาลัย" }, { "docid": "120143#6", "text": "หอสมุดภะรตราชา เป็นอาคารชั้นเดียว ซึ่งพระยาภะรตราชาได้บริจาคทุนทรัพย์จำนวน 200,000 บาท สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นหอสมุดวชิราวุธวิทยาลัย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดหอสมุดเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2506 และต่อมาในคราวฉลองหนึ่งศตวรรษชาตกาลพระยาภะรตราชา เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2529 คณะนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยนำโดย พล.ต.ต.จักร จักษุรักษ์ ได้พร้อมกันบริจาคทุนทรัพย์ก่อสร้างอาคารหอสมุดไปทางทิศตะวันออกของอาคารเดิมเพิ่มเติมอีก 1 หลัง พร้อมทั้งทำทางเชื่อมต่ออาคารทั้งสองเข้าด้วยกัน และได้ขออนุญาตขนานนามอาคารหอสมุดทั้งส่วนเก่าและที่ต่อเติมใหม่นั้นว่า “หอสมุดภะรตราชา” เพื่อเป็นเกียรติแด่ท่านพระยาภะรตราชาสืบมาแต่บัดนั้น", "title": "พระยาภะรตราชา (หม่อมหลวงทศทิศ อิศรเสนา)" }, { "docid": "860592#5", "text": "ในระหว่างที่ ศาสตราจารย์ ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพระราชวังและผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยพร้อมกันนั้น ท่านได้มอบหมายให้ครูจิต พึ่งประดิษฐ์ รองผู้บังคับการเป็นผู้ดูแลความเรียบร้อยในโรงเรียนแทน แต่ทุกวันตอนเช้าก่อนที่จะไปปฏิบัติงานประจำที่สำนักพระราชวัง ท่านจะแวะมาปฏิบัติหน้าที่ที่วชิราวุธวิทยาลัยทุกวัน ตราบจนเกษียณอายุราชการจากตำแหน่งเลขาธิการพระราชวังเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 แล้วจึงได้มาปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัยเต็มเวลา และได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรีเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2522", "title": "กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา" }, { "docid": "78665#2", "text": "รับการศึกษาชั้นประถมที่ โรงเรียนราชินี และมาต่อชั้นมัธยมศึกษาและเตรียมอุดมศึกษา ที่วชิราวุธวิทยาลัยและโรงเรียนเทพศิรินทร์ แล้วเดินทางไปศึกษาต่อที่ โรงเรียน จีลอง แกรมมา สกูล จบการศึกษาด้านวิศวกรรมเครื่องกล เมลเบิร์น เทคนิคอล คอลเลจ ประเทศออสเตรเลีย ศึกษาวิชาตำรวจและสายตรวจวิทยุ ที่สหรัฐอเมริกา ศึกษาวิชาบรรเทาสาธารณภัยที่ประเทศอังกฤษ 2 ปี ก่อนเข้ารับราชการตำรวจเมื่อปี 2498 โดยเป็นตำรวจสังกัดกองตำรวจยานยนต์ สมัย พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นอธิบดีกรมตำรวจ ต่อมาในปี 2503 ได้ย้ายมาสังกัดกองตำรวจดับเพลิง ได้เลื่อนยศเป็น ร.ต.อ. ในตำแหน่งหัวหน้าแผนกช่าง จนขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจดับเพลิง เมื่อปี 2516 และเป็น ผช.ผบช.น. อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งรถวิทยุสายตรวจนครบาล และรถวิทยุตำรวจทางหลวง ก่อตั้งอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยและลูกเสือดับเพลิง และก่อตั้งหน่วยดับเพลิงของประชาชน 111 สถานี รวมถึงเป็นประธานผู้ก่อตั้งสโมสรกีฬาราชประชา และดำรงตำแหน่งนายกสมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัย แห่งประเทศไทย ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี อย่างต่อเนื่องมาหลายวาระตั้งแต่ ปี 2533 ได้สร้างราชประชาสปอร์ตชูเล่ย์ สำหรับเก็บตัวนักกีฬา และศูนย์ฝึกดับเพลิงและกู้ภัยที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา", "title": "หม่อมราชวงศ์เจตจันทร์ ประวิตร" }, { "docid": "378227#6", "text": "การรับน้องภายใต้ระบบอาวุโสด้วยหลักการโซตัส (SOTUS) เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อมีการตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวงหรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน และเมื่อมีการก่อตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนซึ่งกลายเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อมา ก็มีการนำเอาระบบโซตัสเข้าไปใช้ ตั้งแต่ 23 กันยายน 2445", "title": "โซตัส" } ]
1012
ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ ตั้งอยู่ภายในพระบรมมหาราชวัง บริเวณทางเข้าวัดอะไร?
[ { "docid": "227803#1", "text": "ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ ตั้งอยู่ภายในพระบรมมหาราชวัง บริเวณทางเข้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเปิดให้ประชาชนได้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.00 น.", "title": "ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์" } ]
[ { "docid": "227803#22", "text": "- เหรียญกษาปณ์เงินตราพระบรมรูป-ไอราพต ราคาหนึ่งบาท หรือ “เหรียญหนวด” ผลิตในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ยังไม่ได้นำออกใช้ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานเป็นที่ระลึก ในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว", "title": "ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์" }, { "docid": "227803#21", "text": "- เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกทองคำและเงินตรามหามงกุฎ-กรุงสยาม ราคา 4 บาท หนัก 60 กรัม หรือนิยมเรียกโดยทั่วไปว่า “เหรียญแต้เม้ง” เป็นเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกที่ผลิตขึ้นเป็นครั้งแรก ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 60 พรรษา", "title": "ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์" }, { "docid": "227803#24", "text": "เหรียญแต้เม้ง สมัยรัชกาลที่ 4 เหรียญรางวัลความสำเร็จด้านการพัฒนามนุษย์ (UNDP) สมัยรัชกาลที่ 9", "title": "ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์" }, { "docid": "227803#29", "text": "หมวดหมู่:พิพิธภัณฑ์ในกรุงเทพมหานคร หมวดหมู่:กรมธนารักษ์ หมวดหมู่:เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย", "title": "ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์" }, { "docid": "227803#10", "text": "พระราชพิธีโสกันต์หรือการโกนจุก เป็นพระราชพิธีที่แสดงให้เห็นว่าพระโอรสและพระธิดา ได้ก้าวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ตามโบราณราชประเพณี โดยพระโอรสจะโสกันต์เมื่อพระชนมายุ 11 – 13 พรรษา และพระธิดาโสกันต์ตั้งแต่พระชนมายุ 11 พรรษา ทรัพย์สินที่จัดแสดงในห้อง อาทิ ทับทรวงทองคำประดับอัญมณีสำหรับประดับพระอุระ พระเกี้ยวทองคำประดับเพชรสำหรับสวมมวยพระเกศา เป็นต้น ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พระราชพิธีโสกันต์มีมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว", "title": "ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์" }, { "docid": "227803#23", "text": "นอกจากนี้ยังจัดแสดงเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก และเหรียญที่ระลึก ที่ผลิตในรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ เหรียญขัดเงา (Proof Coin) เหรียญขัดเงาที่มีความหนา 2 เท่า (Piedfort) เหรียญที่มีภาพ 3 มิติ (Hologram) และเหรียญกษาปณ์ที่ใช้เทคนิคการพิมพ์สีลงบนโลหะเงินบริสุทธิ์ (Colored Coin) ฯลฯ", "title": "ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์" }, { "docid": "227803#3", "text": "แสดงลำดับเรื่องราวความเป็นมาของการจัดตั้งศาลาเครื่องราชอิสริยยศฯ พร้อมทั้งจัดแสดงโต๊ะที่ทรงลงพระปรมาภิไธยและสมุดทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเปิดศาลาเหรียญกษาปณ์ไทยและศาลาเครื่องราชอิสริยยศและเครื่องราชอิสริยาภรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2519 และปี พ.ศ. 2521", "title": "ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์" }, { "docid": "208562#1", "text": "แต่เดิมภารกิจในการดูแลรักษาและจัดเก็บทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน เป็นหน้าที่ของ \"กรมเก็บ\" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นในบริเวณพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2433 ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น \"กรมพระคลังมหาสมบัติ\" ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการคัดแยก \"ทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน\" ออกจาก \"ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์\" และเก็บรักษาไว้ใน \"กรมพระคลังมหาสมบัติ\" ต่อจากนั้นได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวง และกรม พ.ศ. 2476 โดยให้ยุบกรมพระคลังมหาสมบัติและจัดตั้งเป็น \"กองคลังกลาง\" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น \"กรมคลัง\" และในภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น \"กรมธนารักษ์\" ในที่สุด\nด้วยเหตุที่การเก็บรักษาทรัพย์สินมีค่า ที่มีความสำคัญของแผ่นดินเป็นภารกิจหลักของกรมธนารักษ์ ในปี พ.ศ. 2519 นายสุนทร เสถียรไทย อธิบดีกรมธนารักษ์ในขณะนั้น จึงมีดำริให้ กองคลังกลางดำเนินการคัดเลือกทรัพย์สิน เพื่อนำออกจัดแสดงในทำนองเดียวกับการจัดรูปแบบของพิพิธภัณฑ์ แต่เป็นเพียงการจัดแสดงทรัพย์สินเฉพาะอย่าง ซึ่งใช้พื้นที่ไม่กว้างขวางใหญ่โตเท่าใดนัก หลังจากที่ได้ทำการแบ่งทรัพย์สินออกเป็นหมวดต่างๆ เห็นว่าควรนำเหรียญกษาปณ์ไทยและเงินตราโบราณออกจัดแสดง เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบถึง 'วิวัฒนาการเหรียญกษาปณ์ไทย' เป็นลำดับแรก โดยได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ใช้ส่วนหนึ่งของอาคารสำนักงานพระคลังข้างที่ หลังศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง เป็นสถานที่จัดแสดง และเรียกชื่อตามทรัพย์สินที่จัดแสดงว่า “ศาลาเหรียญกษาปณ์ไทย” ", "title": "สำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน" }, { "docid": "8771#20", "text": "แผนที่ภายในพระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม อาคารสำนักพระราชวัง พิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ศาลาลูกขุนใน ศาลาสหทัยสมาคม พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ พระที่นั่งราชฤดี พระที่นั่งสนามจันทร์ หอศาสตราคม หอพระสุราลัยพิมาน หอพระธาตุมณเฑียร พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระที่นั่งพิมานรัตยา พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท พระที่นั่งราชกรัณยสภา ศาลาเปลื้องเครื่อง เขาไกรลาสจำลอง สวนศิวาลัย พระที่นั่งบรมพิมาน พระที่นั่งมหิศรปราสาท พระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท พระที่นั่งสีตลาภิรมย์ พระพุทธรัตนสถาน พระที่นั่งไชยชุมพล พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท เขตพระราชฐานชั้นใน", "title": "พระบรมมหาราชวัง" }, { "docid": "227803#25", "text": "จัดนิทรรศการชั่วคราวในวาระโอกาสสำคัญๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์", "title": "ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์" }, { "docid": "227803#12", "text": "เครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร", "title": "ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์" }, { "docid": "227803#17", "text": "- เงินตราที่ใช้ในดินแดนสุวรรณภูมิ ได้แก่ เงินฟูนัน เงินทวารวดี และเงินนโม", "title": "ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์" }, { "docid": "227803#0", "text": "ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเงินตราไทย ปัจจุบันอยู่ในการกำกับดูแลของสำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลรักษา (อนุรักษ์ จัดเก็บ จัดทำทะเบียน) ทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน อันได้แก่ เครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเงินตราไทย ฯลฯ ให้ปลอดภัยอยู่ในสภาพที่ดีตามหลักการอนุรักษ์ และนำออกจัดแสดงเพื่อเผยแพร่ให้คนไทยได้รับรู้ และเกิดความภาคภูมิใจในมรดกของชาติ รวมทั้งให้ชาวต่างชาติได้รู้จักศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย", "title": "ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์" }, { "docid": "227803#9", "text": "พระเกี้ยวทองคำประดับเพชรซีกสำหรับสวมมวยพระเกศา ศีรษะเข็มขัดทองคำประดับเพชรและสายเข็มขัดทองคำ", "title": "ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์" }, { "docid": "227803#4", "text": "พิธีเปิดศาลาเหรียญกษาปณ์ไทย วันที่ 19 เมษายน 2519 โต๊ะและเก้าอี้ทรงลงพระปรมาภิไธย สมุดทรงลงพระปรมาภิไธย", "title": "ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์" }, { "docid": "227803#5", "text": "จัดแสดงทรัพย์สินประเภทเครื่องราชอิสริยยศหมวดต่างๆ ได้แก่ เครื่องศิราภรณ์ เครื่องสิริมงคล เครื่องภูษณาภรณ์ เครื่องอุปโภค เครื่องศัสตราวุธ ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงถึงเกียรติยศ เครื่องประกอบเกียรติยศและบำเหน็จความชอบที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นมาแต่โบราณกาล เพื่อพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการที่มีความดีความชอบต่อแผ่นดิน ตามชั้นยศและฐานันดรศักดิ์ของผู้ได้รับพระราชทานที่แสดงให้เห็นถึงความวิจิตรงดงามของลวดลายเครื่องยศในแต่ละยุคสมัย และความคิดสร้างสรรค์ของฝีมือช่างโบราณ อาทิ พระประคำ 108 เม็ด พระดิ่งทองคำสายสร้อยทอง พระตะกรุดทองคำสายสร้อยทอง แหวนนพรัตน์ พระสังวาลทองคำประดับเพชร พระแสงดาบนาคสามเศียรทองคำลงยาประดับเพชร และพานพระศรีทองคำพร้อมเครื่อง เป็นต้น", "title": "ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์" }, { "docid": "28724#15", "text": "สำหรับเครื่องทรงฯ ชุดเดิมได้รับการเก็บรักษาไว้เป็นโบราณวัตถุอันล้ำค่า และจัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเครื่องทรงฯ ชุดใหม่ ชุดใดที่มิได้ทรง จะเก็บรักษาและจัดแสดงไว้ที่ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ไทย ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อให้ประชาชนได้ชื่นชม ซึ่งเปิดให้บริการทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ยกเว้นวันที่มีพระราชพิธี", "title": "พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร" }, { "docid": "227803#16", "text": "จัดแสดงเงินตราไทยในยุคสมัยต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นวิวัฒนาการผลิตและการใช้เงินตรา ที่ใช้ในสุวรรณภูมิจนถึงเหรียญกษาปณ์ในรัชกาลปัจจุบัน เงินตราที่จัดแสดง ได้แก่", "title": "ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์" }, { "docid": "208562#7", "text": "ทรัพย์สินที่ได้รับการอนุรักษ์เรียบร้อยแล้ว จะถูกคัดเลือกนำออกจัดแสดงที่ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ ในพระบรมมหาราชวัง และที่ศาลาธนารักษ์ 1 จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนของชาติและประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสชื่นชม ศึกษาหาความรู้ และร่วมภาคภูมิใจในทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย ตลอดจนศิลปะด้านงานช่างฝีมือไทยโบราณที่ได้รังสรรค์ผลงานอย่างประณีต วิจิตรบรรจง งดงามมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่น ", "title": "สำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน" }, { "docid": "227803#8", "text": "จัดแสดงทรัพย์สินที่ประกอบในพระราชพิธี ได้แก่ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก และพระราชพิธีโสกันต์ โดยแสดงประวัติความเป็นมาของพระราชพิธี ที่มีมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ทำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ และเครื่องราชอิสริยยศที่มีมาช้านาน ทรัพย์สินที่ใช้ประกอบในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก อาทิ ชฎาพระกลีบ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 ทำด้วยทองคำลงยาประดับเพชร มีส่วนประกอบ คือ มีใบสนและกรรเจียก ส่วนยอดค่อนข้างแบนจำหลักเป็นกลีบ ปลายสะบัดไปข้างหลัง เป็นยอดเดี่ยวปลายมนช้อยขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2411 นอกจากนั้นยังมีทรัพย์สินอื่น ซึ่งล้วนแต่มีความหมายที่เป็นมงคลสำหรับใช้ในพระราชพิธี ได้แก่ จั่นหมากทองคำ จั่นมะพร้าวทองคำ แผ่นทองคำจำหลักเขียนรูปราชสีห์ ดอกพิกุล และดอกจำปาทองคำ และดอกจำปาเงิน", "title": "ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์" }, { "docid": "227803#14", "text": "จัดแสดงเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศนี้ ได้เคยโปรดเกล้าฯ พระราชทานประกอบพระอิสริยยศสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 มีลักษณะพิเศษ คือ ลงยาสีชมพู ประกอบด้วย พระสุพรรณบัฏพระนามาภิไธย พานพระศรีทองคำลงยาเครื่องพร้อม หีบพระศรีทองคำลงยาประดับเพชร พระสุพรรณศรีทองคำลงยา กาทองคำทรงกระบอก ขันน้ำเสวยทองคำลงยาพร้อมจอกทองคำลงยา ขันสรงพระพักตร์ทองคำลงยาพร้อมพานรอง และที่ชาทองคำพร้อมถ้วยฝาหยก นอกจากนี้ยังได้จัดแสดงภาพเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารด้วย", "title": "ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์" }, { "docid": "227803#6", "text": "นอกจากนี้ยังจัดแสดงต้นเค้าเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มให้สร้างเพื่อเป็นบำเหน็จความชอบในราชการแผ่นดิน แทนการพระราชทานเครื่องยศ อาทิ ไอราพตเครื่องต้นและองค์รองของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ดวงตราประจำตำแหน่งต่างๆ อันเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบของผู้ได้รับพระราชทาน", "title": "ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์" }, { "docid": "227803#15", "text": "เครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร", "title": "ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์" }, { "docid": "227803#26", "text": "นอกจากการจัดแสดงทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินแล้ว ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ ยังมีของที่ระลึกประเภทผลิตภัณฑ์เหรียญจำหน่ายแก่ผู้ที่สนใจ ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ", "title": "ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์" }, { "docid": "227803#2", "text": "ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ จัดแสดงทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน ได้แก่ เครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญกษาปณ์ และเงินตราโบราณ โดยแบ่งส่วนการจัดแสดงเป็น 2 ชั้น มีห้องจัดแสดงทรัพย์สิน 8 ห้อง ดังนี้", "title": "ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์" }, { "docid": "227803#20", "text": "- เหรียญบรรณาการ เป็นเหรียญกลมแบนรุ่นแรกที่ผลิตจากเครื่องผลิตเหรียญกษาปณ์ ที่สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียแห่งอังกฤษ ส่งมาเป็นเครื่องราชบรรณาการ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว", "title": "ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์" }, { "docid": "227803#28", "text": "หนังสือเครื่องอิสริยยศพระบรมราชวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ โดย ศาสตราจารย์ ดร. หม่อมราชวงศ์สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ หนังสือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 12 สิงหาคม 2535 หนังสือวิวัฒนาการเงินตราไทย กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง", "title": "ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์" }, { "docid": "574091#35", "text": "ต่อจากนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ตามขบวนเชิญพระอัฐิเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง หลังจากนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยรวรางกูร เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เพื่อทรงรอรับพระอัฐิ ยาตราขบวนพระอิสริยยศเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง พระวอสีวิกากาญจน์เชิญพระสรีรางคารแยกเข้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พักไว้ที่พระศรีรัตนเจดีย์ และขบวนพระที่นั่งราเชนทรยานเทียบที่เกยพระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท \nริ้วขบวนที่ ๔ เชิญพระอัฐิและพระสรีรางคารประดิษฐาน ณ พระบรมมหาราชวัง โดยเคลื่อนจากมณฑลพระราชพิธี ถนนกลางท้องสนามหลวง ถนนราชดำเนินใน ถนนหน้าพระลาน เข้าสู่พระบรมมหาราชวังทางประตูวิเศษไชยศรี ริ้วขบวนเริ่มด้วยตำรวจม้า ๒ นาย ธงสามชาย ประตูหน้า คู่แห่ทหารบก ทหารเรือ และ ทหารอากาศ รวม ๒๗๖ นาย เครื่องประโคม ประกอบด้วยกลองชนะลายทอง ทอง และเงิน จ่าปี่ จ่ากลอง แตรฝรั่ง สังข์ เจ้าพนักงานประโคมกลองชนะจัดจากนักเรียนเตรียมทหาร ๒๐๐ นาย พระที่นั่งราเชนทรยาน และพระวอสีวิกากาญจน์ ขนาบด้วยเครื่องอภิรุมชุมสายและเครื่องสูงทองแผ่ลวด ขบวนเสด็จของพระบรมวงศ์ ขบวนเชิญเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องราชูปโภค และเครื่องประกอบพระอิสริยยศ และขบวนของสมาชิกในราชสกุล", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "28724#13", "text": "เครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรทั้ง 3 ฤดู กรมธนารักษ์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้นำออกจัดแสดง ณ ศาลาเครื่องราชอิสริยยศและเหรียญกษาปณ์ไทย ภายในพระบรมมหาราชวัง ระหว่างที่รอการผลัดเปลี่ยนตามฤดูกาล ซึ่งเครื่องทรงฯ ทั้ง 3 ฤดูเริ่มมีสภาพชำรุดไปตามกาลเวลา เนื่องจากมีอายุกว่า 200 ปี และในโอกาสฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี สำนักพระราชวังได้ทำการบูรณะซ่อมแซมเครื่องทรงพระพทุธมหามณีรัตนปฏิมากรทั้ง 3 ฤดู ในส่วนที่ชำรุด และได้มีการใช้ต่อเนื่องมาโดยตลอด จึงทำให้เครื่องทรงฯ ชำรุดมากขึ้น ต้องทำการซ่อมแซมอีก แต่ด้วยเป็นศิลปโบราณวัตถุที่มีลวดลายที่ละเอียดอ่อนบอบบางและเป็นฝีมือช่างโบราณช่วงสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาต่อกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงทำให้ไม่สามารถหาช่างฝีมือมาซ่อมแซมให้เหมือนเดิมได้", "title": "พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร" } ]
2716
ไซโทโครม มีอยู่ในร่างกายมนุษย์หรือไม่?
[ { "docid": "935301#0", "text": "ไซโทโครม P450 3A5 (; ชื่อย่อ: CYP3A5; ) เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งในกลุ่มออกซิไดซิงเอนไซม์ตระกูลไซโตโครม P450 ที่มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกายมนุษย์ โดยโปรตีน CYP3A5 ในมนุษย์จะถูกเข้ารหัสโดยยีน \"CYP3A5\" ซึ่งยีนนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P บน โครโมโซมคู่ที่ 7 โลคัส 7q22.1 CYP3A5 เป็นเอนไซม์ที่พบได้ในเนื้อเยืื่อหลายชนิดในร่างกาย ส่วนมากมักอยู่ที่เนื้อเยื่อของเซลล์ตับ ต่อมลูกหมาก ทางเดินอาหาร ไต ต่อมหมวกไต อย่างไรก็ตาม CYP3A5 ที่อยู่ในเนื้อเยื่ออื่นที่นอกเหนือจากเซลล์ตับจะสามารถแสดงออกได้โดดเด่นมากกว่า", "title": "CYP3A5" }, { "docid": "934614#0", "text": "ไซโทโครม P450 3A4 (; ชื่อย่อ: CYP3A4; ) เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกายมนุษย์ ส่วนใหญ่พบได้ที่ตับและลำไส้ โดยเอนไซม์นี้จะทำหน้าที่ออกซิไดซ์โมเลกุลอินทรีย์แปลกปลอมขนาดเล็ก (ซีโนไบโอติค) เช่น สารพิษ หรือยา เพื่อให้ร่างกายสามารถกำจัดสารแปลกปลอมเหล่านี้ออกไปได้ ยารักษาโรคส่วนใหญ่มักถูกทำให้หมดฤทธิ์ได้โดยเอนไซม์ CYP3A4 แต่ในทางตรงกันข้าม กลับมียาบางชนิดที่ถูกทำให้มีฤทธิ์ในการรักษาได้ด้วยเอนไซม์นี้ อย่างไรก็ตาม สารบางอย่าง เช่น น้ำเกรปฟรูต และยาบางชนิดอาจมีฤทธิ์รบกวนการทำงานของเอนไซม์ CYP3A4 ได้ โดยผลที่เกิดขึ้นจากอันตรกิริยาระหว่างสารเหล่านี้กับเอนไซม์ CYP3A4 อาจเพิ่มหรือลดประสิทธิภาพการรักษาของยาที่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้วยเอนไซม์ CYP3A4 ได้", "title": "CYP3A4" }, { "docid": "935636#0", "text": "ไซโทโครม P450 2A6 (; ชื่อย่อ: CYP2A6; ) เป็นโปรตีนในมหาสกุลไซโทโครม P450 ซึ่งเป็นระบบเอนไซม์ออกซิเดซอเนกประสงค์ของร่างกายมนุษย์ โดยการแสดงออกของ CYP2A6 นั้นจะถูกควบคุมโดยยีน \"CYP2A6\" บน โครโมโซมคู่ที่ 19 โลคัส 19q13.2 และถือเป็นยีนอีกชนิดหนึ่งในกลุ่มยีน cytochrome P โดย CYP2A6 ของมนุษย์จะมีหน้าที่ในกระตุ้นการเกิดเมแทบอลิซึมของสารซีโนไบโอติคในร่างกาย นอกจากนี้ CYP2A6 ยังถือเป็นเอนไซม์หลักที่จะมีการแสดงออกเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของนิโคตินและโคตินีน เมื่อมีสารทั้งสองเข้ามาในระบบ นอกเหนือจากนั้นจะเป็นการเมแทบอไลซ์ยาชนิดต่างๆ สารก่อมะเร็ง อัลคาลอยด์จำพวกคูมารีน โดย CYP2A6 เป็นเอนไซม์เพียงชนิดเดียวในร่างกายมนุษย์ที่มีความสามารถในการกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยา 7-hydroxylation เพื่อเมแทบอไลซ์คูมาริน โดยสารที่เกิดจากปฏิกิริยาการเมแทบอไลซ์นี้คือ 7-hydroxycoumarin ซึ่งใช้เป็นตัวชี้วัดการทำงานของ CYP2A6", "title": "CYP2A6" }, { "docid": "935716#0", "text": "ไซโทโครม P450 2B6 (; ชื่อย่อ: CYP2B6; ) เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งในกลุ่มออกซิไดซิงเอนไซม์ตระกูลไซโตโครม P450 ที่มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกายมนุษย์ โดยโปรตีน CYP3A5 ในมนุษย์จะถูกเข้ารหัสโดยยีน \"CYP2B6\" ซึ่งยีนนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P บนแขนด้านยาวของโครโมโซมคู่ที่ 19 โลคัส 19q13.2 โดย CYP2B6 จะทำงานร่วมกับ CYP2A6 ในการเมแทบอไลซ์นิโคติน รวมไปถึงยาหรือสารเคมีอื่นๆ", "title": "CYP2B6" }, { "docid": "935588#1", "text": "เอนไซม์ในมหาสกุลไซโทโครม P450 ซึ่งรวมถึง CYP2A7 นั้นจัดเป็นเอนไซม์ชนิดมอนอออกซีจีเนส ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการเร่งปฏิกิรยาการเกิดเมแทบอลิซึมของยาชนิดต่างๆ รวมไปถึงการสังเคราะห์คอเลสเตอรอล สเตอรอยด์ และกรดไขมันชนิดอื่นๆ โดยเอนไซม์เหล่านี้จะเคลื่อนที่เข้าสู่ร่างแหเอนโดพลาซึม แล้วถูกกระตุ้นด้วยกลูโคคอร์ติคอยด์จึงจะสามารถแสดงคุณสมบัติของเอนไซม์นั้นๆได้ และเป็นที่น่าสนใจว่า CYP2W1 นั้นเป็นเอนไซม์ที่จะแสดงออกในสภาวะที่ร่างกายเกิดเนื้องอก ซึ่งหมายความว่าจะไม่พบการแสดงออกของ CYP2W1 ในเนื้อเยื่อปกติของมนุษย์", "title": "CYP2W1" }, { "docid": "935507#1", "text": "เอนไซม์ในมหาสกุลไซโทโครม P450 ซึ่งรวมถึง CYP2A7 นั้นจัดเป็นเอนไซม์ชนิดมอนอออกซีจีเนส ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการเร่งปฏิกิรยาการเกิดเมแทบอลิซึมของยาชนิดต่างๆ รวมไปถึงการสังเคราะห์คอเลสเตอรอล สเตอรอยด์ และกรดไขมันชนิดอื่นๆ โดยเอนไซม์เหล่านี้จะเคลื่อนที่เข้าสู่ร่างแหเอนโดพลาซึม แล้วถูกกระตุ้นด้วยกลูโคคอร์ติคอยด์จึงจะสามารถแสดงคุณสมบัติของเอนไซม์นั้นๆได้ อย่างไรก็ตาม สารที่เป็นซับสเตรตของ CYP2A7 นั้นยังไม่มีการจำแนกและระบุได้แน่ชัด โปรตีน CYP2A7 ที่พบในมนุษย์ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 2 ไอโซฟอร์ม ทั้งนี้ CYP2A7 ถือเป็นสมาชิกของกลุ่มเอนไซม์ขนาดใหญ่ของไซโทโครม P450ที่มียีนควบคุมอยู่บนโครโมโซม 19q เช่นเดียวกันเอนไซม์อื่นในสกุลย่อย CYP2A, CYP2B และ CYP2F", "title": "CYP2A7" } ]
[ { "docid": "935301#3", "text": "โปรตีนในไซโทโครม P450 นั้นจัดเป็นโปรตีนที่เป็นมอนอออกซีจีเนสซึ่งจะเร่งการเกิดปฏิกิริยาต่างๆของร่างกายได้อย่างหลากหลาย ซึ่งรวมไปถึง การเกิดเมแทบอลิซึมของยา การสังเคราะห์คอเลสเตอรอล สเตอรอยด์ และไขมันชนิดอื่นๆ โดยโปรตีนเหล่านี้จะอยู่ในร่างแหเอนโดพลาซึมของเซลล์เนื่อเยื่อแล้วถูกระตุ้นด้วยกลูโคคอร์ติคอยด์หรือยาบางชนิด นอกจากเอนไซม์นี้จะทำหน้าที่เมแทบอลิซึมยา เช่น ไนเฟดิปีน และไซโคลสปอรินแล้ว ยังทำหน้าที่ในการเมแทบอไลซ์ฮอร์โมนเพศอย่าง เทสโทสเทอโรน โปรเจสเตอโรน และแอนโดรสตีนีไดโอนอีกด้วย ทั้งนี้ นอกจากยีน CYP3A5 ซึ่งเป็นยีนในกลุ่มยีนไซโทโครม P450 บนโครโมโซม 7q21.1. แล้ว ยังมียีนเทียมชื่อว่า \"CYP3A5P1\" ในกลุ่มยีนดังกล่าว ซึ่งยีนเทียมชนิดนี้มีความคล้ายคลึงกันกับยีน CYP3A5 เป็นอย่างมาก ซึ่งความคล้ายคลึงกันของทั้งสองยีนนี้ก่อให้เกิดความยากลำบากในการระบุลำดับโคลนบางลำดับว่าเป็นตัวแทนของยีน CYP3A5 หรือยีนเทียม CYP3A5P1", "title": "CYP3A5" }, { "docid": "935716#2", "text": "เอนไซม์ CYP2B6 ถือเป็นหนึ่งในระบบเอนไซม์ไซโทโครม P450 ซึ่งมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อกระบวนการการเปลี่ยนแปลงยา สารซีโนไบโอติค และสารเคมีอื่นๆ ในร่างกายมนุษย์ ยีน CYP2B6 ซึ่งเป็นยีนที่ควบคุมเอนไซม์นี้มีความใกล้ชิดกันกับยีนเทียม CYP2B6 เป็นอย่างมาก ทำให้การแยกไอโซฟอร์มของเอนไซม์ต่างๆที่ถูกผลิตออกจากมายีนทั้งสองนี้เป็นไปได้อย่างลำบาก โดยยีนทั้งสองนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P บนแขนด้านยาวของโครโมโซมคู่ที่ 19 ตำแหน่งโลคัส 19q13.2 และมียีนบรรพบุรุษร่วมกันกับ CYP2B11, Cyp2b10 และ CYP2B1 ที่พบในสุนัข หนูเมาส์ และหนูแรท ตามลำดับ แต่เอนไซม์ CYP2B6 ของมนุษย์ถือเป็นไอโซไซม์เดียวในสกุลย่อย CYP2B ที่สามารถแสดงออกได้ ซึ่งแตกต่างจากเอนไซม์ในสกุลย่อยนี้ที่พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสายพันธุ์อื่นๆ", "title": "CYP2B6" }, { "docid": "132168#12", "text": "มีด้วยทั้งหมด 3 แบบ\nศาสตราจะสถิตอยู่ในเซลล์ของผู้เชื่อมต่อ หากยังไม่สำแดงฤทธิ์จะมีสภาพเช่นเดียวกับร่างกายมนุษย์ทั่วไป มีพลังทำลายล้างสูงแต่แลกด้วยชีวิตของผู้เชื่อมต่อ(อายุขัยสั้น) เช่น แขนซ้ายของอเลน วอคเกอร์ และเขี้ยวของอเลสเตอร์ โครวรี่\nเป็นรูปแบบที่มีจำนวนมากที่สุด เกิดจากการปรามพลังอินโนเซนส์ให้อยู่ในรูปของอาวุธที่เหมาะสมกับผู้เชื่อมต่อคนนั้นๆ เช่น ปืนผู้พิพากษาของเสนาธิการครอส มาเรี่ยน , ชาริตี้เบลล์ของดีชา บารี่ หรือ ค้อนแพนเมอร์ของราวี่\nรูปแบบใหม่ที่เพิ่งถือกำเนิด เกิดจากเลือดของผู้เชื่อมต่อ ดังนั้นจึงตอบสนองกับผู้เชื่อมต่อได้ดีกว่ารูปแบบติดตัว อินโนเซนส์รูปแบบผลึกอันแรกคือดาร์คบู๊ตของรินารี่ ลี และต่อมาคือดาบของคันดะ ยู (ในรัตติกาลที่208) ซึ่งอินโนเซนส์ของทั้งสองวิวัฒน์มาจากรูปแบบติดตัว", "title": "ดี.เกรย์แมน" }, { "docid": "733194#2", "text": "ใน ไมโทคอนเดรีย และ คลอโรพลาสต์ ไซโทโครมต่อไปนี้มักจะพบใน การขนส่งอิเล็กตรอน และวิถีเมทาบอลิซึมที่เกี่ยวข้อง:", "title": "ไซโทโครม" } ]
3990
ภาษาชวา มีตัวอักษรหรือไม่ ?
[ { "docid": "70623#0", "text": "อักษรชวา (ภาษาชวา: \"อักซาราจาวา\") หรือ ฮานาจารากา () เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาชวา โดยก่อนหน้าที่จะใช้อักษรชวาเขียน ราว พ.ศ. 1900 ภาษาชวาเขียนด้วยอักษรปัลลวะ อีก 200 ปีถัดมาเขียนด้วยอักษรกวิ จนราว พ.ศ. 2200 อักษรชวาหรือจารากันจึงพัฒนาขึ้นมา อักษรนี้ถูกห้ามใช้ในช่วงที่ญี่ปุ่นยึดครองอินโดนีเซียระหว่าง พ.ศ. 2483 -2488 ราวพ.ศ. 2000 มีการเขียนภาษาชวาด้วยอักษรอาหรับเช่นกัน เรียกว่าเปกอลหรือกันดิล ตั้งแต่เนเธอร์แลนด์นำการเขียนด้วยอักษรละตินเข้ามาเผยแพร่ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2300 ทั้งอักษรชวาและอักษรอาหรับจึงถูกแทนที่ด้วยอักษรละติน ปัจจุบันอักษรชวาใช้ทางวิชาการและการประดับตกแต่ง ผู้ที่อ่านได้จะได้รับการยกย่องมากอักษรนี้เคยใช้เขียนภาษาบาหลีและภาษาซุนดา แต่ถูกแทนที่ด้วยอักษรละตินหมดแล้ว", "title": "อักษรชวา" }, { "docid": "70623#2", "text": "ตัวอักษรโลหะสำหรับอักษรชวาผลิตขึ้นครั้งแรกเมื่อราว พ.ศ. 2373 โดยชาวดัตช์ อักษรแบบตัวเขียนผลิตขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 25 ใน พ.ศ. 2469 ได้จัดมาตรฐานการสะกดคำภาษาชวา อย่างไรก็ตาม การใช้อักษรชวาถูกห้ามในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นเข้ามายึดครอง ในปัจจุบันไม่มีหนังสือพิมพ์หรือวารสารตีพิมพ์ด้วยอักษรชวา และใช้ในงานวิชาการเท่านั้น การใช้ในชีวิตประจำวันถูกแทนที่ด้วยภาษาอินโดนีเซียซึ่งใช้สอนในโรงเรียน และสอนอักษรนี้เป็นรายวิชาหนึ่ง รัฐบาลท้องถิ่นในชวากลางใช้อักษรชวาในป้ายคู่กับภาษาอินโดนีเซียตั้งแต่ พ.ศ. 2555", "title": "อักษรชวา" }, { "docid": "70623#7", "text": "ชาวซุนดาบางส่วนใช้อักษรชวาในการเขียนภาษาซุนดา แต่ได้ดัดแปลงตัวอักษรและเปลี่ยนชื่อเรียกขากจากจารากันในภาษาชวาเป็นจาจารากัน มี 18 ตัวโดยตัดตัว \"dha\" และ \"tha\" ออกไป \nรูปลักษณ์ของอักษรชวาและอักษรบาหลีคล้ายคลึงกัน แต่ใช้ยูนิโคดต่างกัน", "title": "อักษรชวา" }, { "docid": "70623#1", "text": "อักษรชวาและอักษรบาหลีเป็นอักษรรุ่นใหม่ของอักษรกวิซึ่งสืบทอดมาจากอักษรพราหมี พัฒนาขึ้นในชวาเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 14 ใช้ในการเขียนเอกสารทางศาสนาในใบลาน อักษรกวิได้พัฒนามาเป็นอักษรชวาเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 22 อักษรชวาใช้ในศาลในสุรการ์ตาและยอร์กยาการ์ตา และแพร่หลายในเกาะชวาและหมู่เกาะซุนดาน้อย ใช้เขียนเอกสารทางประวัติศาสตร์ และอื่นๆ", "title": "อักษรชวา" } ]
[ { "docid": "70623#5", "text": "เป็นอักษรที่เรียกอักษรมุรทาและมหาปรานา ใช้เขียนคำขึ้นต้นของชื่อบุคคลที่เป็นที่เคารพ โดยการใช้คล้ายกับการใช้อักษรตัวใหญ๋ของอักษรละตินที่ใช้เขียนภาษาชวาในปัจจุบัน", "title": "อักษรชวา" } ]
3464
อินเทอร์เน็ตถูกนำมาใช้ครั้งแรกเมื่อใด ?
[ { "docid": "4274#1", "text": "อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้พัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน", "title": "อินเทอร์เน็ต" } ]
[ { "docid": "563278#30", "text": "เคเบิลอินเทอร์เน็ตหรือการเข้าถึงด้วยเคเบิลโมเด็มให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านสาย coaxial ใยแก้วไฮบริดที่เดิมพัฒนาขึ้นมาเพื่อขนส่งสัญญาณโทรทัศน์ สายทองแดงหรือใยแก้วนำแสงอาจเชื่อมต่อโหนดไปยังสถานที่ของลูกค้าที่จุดเชื่อมต่อที่รู้จักกันว่าเคเบิลดรอพ ในระบบเคเบิลโมเด็ม ทุกโหนดสำหรับสมาชิกเชื่อมต่อไปยังสำนักงานกลางของบริษัทเคเบิล ที่รู้จักกันว่าคือ \"head end\" แล้วบริษัทเคเบิลจะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ความหลากหลายของวิธีการ -. ปกติจะใช้สายเคเบิลใยแก้วนำแสงหรือดาวเทียมดิจิทัลและการส่งสัญญาณไมโครเวฟ. เหมือน DSL, เคเบิลบรอดแบนด์ให้การเชื่อมต่ออย่างต่อเนื่องกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต. ช่วงดาวน์โหลด, ทิศทางสู่ผู้ใช้, อัตราบิตสามารถมากสุดได้ถึง 400 Mbit/s สำหรับการเชื่อมต่อธุรกิจ, และ 100 Mbit/s สำหรับการบริการที่อยู่อาศัยในบางประเทศ. ช่วงอัปโหลด, ออกมาจากผู้ใช้, มีความเร็วตั้งแต่ 384 กิโลบิต/วินาทีจนถึง 20 Mbit/s. การเข้าถึงแบบเคเบิลบรอดแบนด์มีแนวโน้มที่จะให้บริการลูกค้าที่เป็นธุรกิจน้อยกว่าเพราะเคเบิลทีวีที่มีอยู่มีแนวโน้มที่จะให้บริการอาคารที่อยู่อาศัยมากกว่าและอาคารเพื่อการพาณิชย์ไม่ค่อยมีการเดินสายโคแอกเชียลภายในอาคาร. นอกจากนี้เนื่องจากสมาชิกเคเบิลบรอดแบนด์แชร์สายท้องถิ่นเดียวกัน, การสื่อสารอาจถูกดักไว้โดยสมาชิกที่อยู่ใกล้เคียง สายเคเบิลเครือข่ายให้รูปแบบการเข้ารหัสอย่างสม่ำเสมอสำหรับการเดินทางของข้อมูลไปและกลับจากลูกค้า แต่แผนการเหล่านี้อาจจะถูกขัดขวาง. ", "title": "การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต" }, { "docid": "562049#28", "text": "3) การเชื่อมต่อแบบไร้สาย (Wireless)\nระบบเครือข่ายไร้สาย (WLAN = Wireless Local Area Network) คือ ระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีรูปแบบในการสื่อสารแบบไม่ใช้สาย โดยใช้การส่งคลื่นความถี่วิทยุในย่านวิทยุ RF และ คลื่นอินฟราเรด ในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผ่านอากาศ, ทะลุกำแพง, เพดานหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ โดยปราศจากความต้องการของการเดินสาย นอกจากนั้นระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังมีคุณสมบัติครอบคลุมทุกอย่างเหมือนกับระบบ LAN แบบใช้สายที่สำคัญก็คือ การที่ไม่ต้องใช้สายทำให้การเคลื่อนย้ายการใช้งานทำได้โดยสะดวก ไม่เหมือนระบบ LAN แบบใช้สาย ที่ต้องใช้เวลาและการลงทุนในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์\nประโยชน์ของระบบเครือข่ายไร้สาย \n1. mobility improves productivity & service มีความคล่องตัวสูง ดังนั้นไม่ว่าเราจะเคลื่อนที่ไปที่ไหน \nหรือเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปตำแหน่งใด ก็ยังมีการเชื่อมต่อ กับเครือข่ายตลอดเวลา ตราบใดที่ยังอยู่ใน\nระยะการส่งข้อมูล\n2. installation speed and simplicity สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งสายเคเบิล และไม่รกรุงรัง \n3. installation flexibility สามารถขยายระบบเครือข่ายได้ง่าย เพราะเพียงแค่มี พีซีการ์ดมาต่อเข้ากับโน้ตบุ๊ค หรือพีซี ก็เข้าสู่เครือข่ายได้ทันที\n4. reduced cost- of-ownership ลดค่าใช้จ่ายโดยรวม ที่ผู้ลงทุนต้องลงทุน ซึ่งมีราคาสูง เพราะในระยะยาวแล้ว ระบบเครือข่ายไร้สายไม่จำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษาและการขยายเครือข่ายก็ลงทุนน้อยกว่าเดิมหลายเท่า เนื่องด้วยความง่ายในการติดตั้ง\n5. scalability เครือข่ายไร้สายทำให้องค์กรสามารถปรับขนาดและความเหมาะสมได้ง่ายไม่ยุ่งยาก เพราะสามารถโยกย้ายตำแหน่งการใช้งานโดยเฉพาะระบบที่มีการเชื่อมระหว่างจุดต่อจุด เช่น ระหว่างตึก\nการประยุกต์ใช้งานการสื่อสารบรอดแบนด์\nการใช้งานระบบบรอดแบนด์ถูกใช้ สำหรับการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ซึ่งลักษณะของการสื่อสารข้อมูลเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ สื่อที่ใช้ในการส่งผ่านข้อมูลมีความหลากหลาย เช่น ชนิดใช้สายนำสัญญาณหรือผ่านคลื่นวิทยุในอากาศแบบไร้สาย ซึ่งอาจมีการผสมผสานสื่อต่างๆ เข้าด้วยกันในการใช้งานบรอดแบนด์ เช่น ผู้ส่งข้อมูลอยู่บนเครือข่ายไร้สายในขณะที่ผู้รับข้อมูลอาจอยู่บนเครือข่ายที่ใช้สายนำสัญญาณ การใช้งานโดยเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดความต้องการในการถ่ายโอนข้อมูลปริมาณมากจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นเอกสาร ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียงและข้อมูลสื่อประสมต่างๆ ผ่านโปรแกรมสำหรับการท่องอินเทอร์เน็ต คือ \nเว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) หรือโปรแกรมประยุกต์อื่นๆ เช่นการใช้งานเพื่อการศึกษาโดยการส่งข้อมูลภาพการเรียนการสอนระยะไกล (Distance learning) หรือการแพทย์ระยะไกล (Telemedicine) เช่นการให้การวิเคราะห์รักษาผู้ป่วยโดยแพทย์จากระยะทางไกลจากผู้ป่วย ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีบรอดแบนด์ได้ถูกใช้ในด้านธุรกิจ เช่นการประชุม วีดิทัศน์ระยะไกล (Video teleconferencing) เป็นต้น", "title": "บรอดแบนด์" }, { "docid": "4817#56", "text": "อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายทั่วโลกของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถสื่อสารกันด้วยอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล คอมพิวเตอร์บนอินเทอร์เน็ตใด ๆ จะมี IP address ไม่ซ้ำกันที่จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ สามารถหาเส้นทางไปถึงได้ เครื่องที่ส่งจะมี IP address ของผู้ส่ง และ IP address ของผู้รับ ดังนั้น อินเทอร์เน็ตจึงเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน", "title": "โทรคมนาคม" }, { "docid": "563278#15", "text": "อัตราการส่งข้อมูล, รวมทั้งที่ให้ไว้ในบทความนี้, มักจะถูกกำหนดและลงโฆษณาในแง่ของอัตราการดาวน์โหลดสูงสุดหรือจุดสูงสุด(พีค) ในทางปฏิบัติอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดเหล่านี้ไม่ค่อยน่าเชื่อถือสำหรับลูกค้า. อัตราการส่งข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงแบบ end-to-end จะลดลงเนื่องจากปัจจัยหลายประการ. คุณภาพการเชื่อมโยงของสื่อกลางทางกายภาพที่แปรตามระยะทาง, และสำหรับการเข้าถึงแบบไร้สาย จะขึ้นกับภูมิประเทศ, อากาศ, สิ่งก่อสร้างที่บดบัง, ตำแหน่งเสาอากาศและการรบกวนจากแหล่งวิทยุอื่น ๆ คอขวดเครือข่ายอาจมีอยู่ที่จุดใดก็ได้บนเส้นทางจาก end-user ไปยังเซิร์ฟเวอร์ระยะไกลหรือบริการที่กำลังถูกนำมาใช้ และไม่เพียงแต่จะเกิดขึ้นที่จุดเชื่อมโยงแรกหรือจุดสุดท้ายก่อนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของ end-user เท่านั้น", "title": "การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต" }, { "docid": "5554#0", "text": "อินเทอร์เน็ต2 () หรือ UCAID เป็นเครือข่ายในการวิจัยที่เกิดจากการร่วมมือกันของมหาวิทยาลัย 207 แห่งในสหรัฐอเมริกา และได้การสนับสนุนจากบริษัทไอทีชั้นนำหลายแห่ง มีจุดประสงค์เพื่อทดลองเทคโนโลยีด้านเครือข่ายใหม่ๆ เช่น IPv6, IP multicasting และ quality of service ก่อนจะนำมาใช้จริงในอินเทอร์เน็ต", "title": "อินเทอร์เน็ต2" }, { "docid": "510954#0", "text": "ในอินเทอร์เน็ต หุ่นเชิด () หมายถึงอัตลักษณ์ออนไลน์ที่ใช้เพื่อหลอกหลวงผู้อื่น คำว่าหุ่นเชิดมีที่มาจากการเคลื่อนไหวตุ๊กตาหุ่นเชิดด้วยมือไปมา และเดิมใช้อ้างถึงอัตลักษณ์ปลอมของบุคคลหนึ่งบุคคลใดในสังคมอินเตอร์เน็ตเพื่อกล่าวถึงหรือกล่าวโต้ตอบกับตัวเอง ประหนึ่งว่าหุ่นเชิดคือคนอีกคนหนึ่ง ปัจจุบันนี้ คำว่าหุ่นเชิดหมายความรวมถึงการใช้อัตลักษณ์ที่ไม่ถูกต้องเพื่อสนับสนุน ปกป้องหรือชื่นชมบุคคลที่สามหรือองค์กรอื่นใด หรือการใช้หุ่นเชิดเพื่อหลบเลี่ยงการถูกระงับการใช้งานหรือการถูกแบน ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างการใช้นามแฝง และการใช้หุ่นเชิดคือ หุ่นเชิดจะใช้ในทำนองว่าบุคคลนั้น ๆ เป็นบุคคลที่สามที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้เชิดหุ่น ในสังคมออนไลน์หลายแห่งมีนโยบายว่าด้วยการบล็อกหุ่นเชิดเพื่อป้องกันความเสียหายด้วย", "title": "หุ่นเชิด (อินเทอร์เน็ต)" }, { "docid": "242325#0", "text": "ต่อไปนี้เป็นรายชื่อรหัสสถานภาพในการตอบรับเอชทีทีพีจากเครื่องให้บริการ ซึ่งมีทั้งรหัสที่กำหนดโดยมาตรฐานอินเทอร์เน็ตของคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) และกำหนดโดยเอกสารขอความเห็น (RFC) เอกสารลักษณะเฉพาะอื่น ๆ และรหัสที่มีการใช้งานโดยทั่วไปเพิ่มเข้ามา ตัวเลขแรกของรหัสสถานภาพ (หลักร้อย) เป็นตัวระบุประเภทของการตอบรับหนึ่งในห้าประเภท ซึ่งเครื่องลูกข่ายเอชทีทีพีสามารถรับรู้ประเภททั้งห้านี้ได้เป็นอย่างน้อย อินเทอร์เน็ตอินฟอร์เมชันเซอร์วิสเซส (IIS) ของไมโครซอฟท์ใช้รหัสย่อยเป็นทศนิยมเพิ่มเติมเพื่อแสดงข้อมูลให้เจาะจงมากยิ่งขึ้น แต่จะไม่นำมาแสดงไว้ในนี้ วลีเหตุผลที่อยู่ถัดจากรหัสสถานภาพเป็นตัวอย่างมาตรฐาน ซึ่งสามารถเขียนหรือแปลให้เป็นอย่างอื่นเพื่อให้มนุษย์สามารถอ่านเข้าใจได้ ถ้าหากรหัสสถานภาพใดไม่มีการระบุหมายเหตุ แสดงว่ารหัสนั้นเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน HTTP/1.1", "title": "รายชื่อรหัสสถานภาพของเอชทีทีพี" }, { "docid": "120426#42", "text": "รัฐบาลพยายามบล็อกเว็บไซต์ทั้งหมดและบริการที่นำข่าวหรือข้อมูลเกี่ยวกับพม่า ป้องกันการเข้าถึงอีเมลล์ แต่ผู้ประท้วงสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้[67] ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในย่างกุ้งรายงานถึงการเซ็นเซอร์การโพสต์ภาพและวีดีโอในบล็อก ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในพม่าพยายามใช้อินเทอร์เน็ตฟอรัมเพื่อหาข้อมูลภายนอกที่ไม่ถูกควบคุมโดยรัฐบาล ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในขณะนั้น ในวันที่ 28 กันยายน มีรายงานว่ารัฐบาลได้สกัดกั้นการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทั้งหมด [68][69]อินเทอร์เน็ตใช้งานได้อีกครั้งในราววันที่ 6 ตุลาคม", "title": "การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์" }, { "docid": "26787#0", "text": "ไวไฟ[1] (English: Wi-Fi หรือ WiFi) เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมที่ช่วยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายโดยใช้คลื่นวิทยุ คำ ๆ นี้เป็นเครื่องหมายการค้าของ Wi-Fi Alliance ที่ได้ให้คำนิยามของไวไฟว่าหมายถึง \"ชุดผลิตภัณฑ์ใด ๆ ที่สามารถทำงานได้ตามมาตรฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย (แลนไร้สาย) ซึ่งอยู่บนมาตรฐาน IEEE 802.11\" อย่างไรก็ตามเนื่องจากแลนไร้สายที่ทันสมัยส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับมาตรฐานเหล่านี้ คำว่า \"ไวไฟ\" จึงนำมาใช้ในภาษาอังกฤษทั่วไปโดยเป็นคำพ้องสำหรับ \"แลนไร้สาย\" เดิมทีไวไฟออกแบบมาใช้สำหรับอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ และใช้เครือข่าย LAN เท่านั้น แต่ปัจจุบันนิยมใช้ไวไฟเพื่อต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ เช่นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เครื่องเล่นเกมส์ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต กล้องดิจิทัลและเครื่องเสียงดิจิทัล สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่าแอคเซสพอยต์รือ ฮอตสปอต และบริเวณที่ระยะทำการของแอคเซสพอยต์ครอบคลุมอยู่ที่ประมาณ 20 ม.ในอาคาร แต่ระยะนี้จะไกลกว่าถ้าเป็นที่โล่งแจ้ง", "title": "ไวไฟ" }, { "docid": "128729#0", "text": "อาชญากรรม(ทาง)คอมพิวเตอร์ หรือ อาชญากรรมไซเบอร์ หมายถึงอาชญากรรมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อาชญากรรม(บน)อินเทอร์เน็ต ก็เป็นอีกคำหนึ่งซึ่งหมายถึงการแสวงหาผลประโยชน์อย่างผิดกฎหมายบนอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์นั้นอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือก่ออาชญากรรม หรืออาจตกเป็นเป้าหมายของการกระทำก็ได้ Dr. Debarati Halder และ Dr. K. Jaishankar ได้นิยามอาชญากรรมไซเบอร์ไว้ว่าเป็น \"ความผิดที่กระทำขึ้นต่อปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มของปัจเจกบุคคล ด้วยเหตุจูงใจทางอาญา ที่เจตนาทำให้เหยื่อเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือทำร้ายร่างกายหรือจิตใจของเหยื่อ โดยทางตรงหรือทางอ้อม โดยใช้เครือข่ายโทรคมนาคมสมัยใหม่ อาทิ อินเทอร์เน็ต (ห้องแช็ต อีเมล กระดานประกาศ และกลุ่มข่าว) และโทรศัพท์เคลื่อนที่ (เอสเอ็มเอส/เอ็มเอ็มเอส)\" อาชญากรรมเช่นนั้นอาจคุกคามความมั่นคงและสภาวะทางการคลังของรัฐ ปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมชนิดนี้ได้กลายมาเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการเจาะระบบเครือข่าย การละเมิดลิขสิทธิ์ สื่อลามกอนาจารเด็ก และการล่อลวงเด็ก นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องความเป็นส่วนตัวเมื่อสารสนเทศที่เป็นความลับถูกสกัดกั้นหรือถูกเปิดเผย โดยทางกฎหมายหรือไม่ก็ตาม", "title": "อาชญากรรมคอมพิวเตอร์" }, { "docid": "49907#5", "text": "KnowledgeVolution เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาในรูปแบบเผยแพร่รหัสต้นฉบับ (Source Code) หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าโอเพนซอร์ซ ให้ผู้ที่สนใจไม่ว่าจะเป็นองค์กรใด ๆ สามารถนำไปติดตั้งใช้งานทั้งในเครือข่ายแบบอินทราเน็ตหรืออินเทอร์เน็ต โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ", "title": "โกทูโนว์" }, { "docid": "563278#36", "text": "Fiber-to-the-home (FTTH) เป็นหนึ่งในสมาชิกของครอบครัว Fiber-to-the-x (FTTx) ได้แก่ Fiber-to-the-building (FTTB), Fiber-to-the-premises (FTTP ), Fiber-to-the-desk (FTTD), Fiber-to-the-curb (FTTC) และ Fiber-to-the-โหนด (FTTN). วิธีการเหล่านี้ทั้งหมดนำข้อมูลมาใกล้ชิดกับผู้ใช้ด้วยใยแก้วนำแสง ความแตกต่างระหว่างแต่ละวิธีการส่วนใหญ่ก็คือวิธีการที่จะทำอย่างไรจะนำใยแก้วนำแสงให้ใกล้ชิดกับผู้ใช้มากที่สุด วิธีการจัดส่งทั้งหมดเหล่านี้มีความคล้ายคลึงกับระบบไฮบริด fiber-coaxial (HFC) ที่ใช้เพื่อการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตด้วยสายเคเบิล", "title": "การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต" }, { "docid": "226539#1", "text": "พลเมืองเครือข่ายอาจใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมของกลุ่มสังคมต่าง ๆ เช่นการแลกเปลี่ยนทัศนะ รวบรวมข้อมูล ใช้อินเทอร์เน็ตดั่งทรัพยากรทางปัญญาและทางสังคม และตัดสินใจในเรื่องสำหรับชุมชนที่รวมตัวกันเอง โดยทั่วไปแล้ว พลเมืองเครือข่ายจะเป็นผู้ใช้คนใดก็ได้ของเว็บบอร์ดบนอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่ทั่วโลก", "title": "พลเมืองเครือข่าย" }, { "docid": "563278#37", "text": "ใยแก้วนำแสงสามารถให้อัตราการส่งข้อมูลที่สูงขึ้นมากในระยะทางที่ไกลกว่ามาก อินเทอร์เน็ตที่มีความจุสูงส่วนใหญ่และแบ็คโบนของเคเบิลทีวีจะใช้เทคโนโลยีใยแก้วนำแสง จากนั้นข้อมูลจะถูกเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีอื่น ๆ (DSL, เคเบิลทีวี, โทรศัพท์บ้าน) สำหรับการส่งมอบสุดท้ายให้กับลูกค้า. ", "title": "การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต" }, { "docid": "4274#6", "text": "-ด้านธุรกิจและพาณิชย์ การใช้อินเทอร์เน็ตกับงานธุรกิจณิชย์นั้นช่วยให้สามารถตัดสินใจซื้อขายสินค้าและบริการได้อย่างรวดเร็วและสะดวก นับว่าเป็นตลาดที่กว้างขวางและมีประสิทธิภาพในการติดต่อซื้อสินค้าและบริการ เพราะคนเราสมัยนี้นิยมความสะดวกสบายและรวดเร็วทันใจ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนโลกก็ตามก็สามารถเปิดเว็บไซต์เพื่อเลือกสินค้าหรือหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ หรือแม้กระทั่งปรึกษาก็ได้ฉับไว", "title": "อินเทอร์เน็ต" }, { "docid": "563278#27", "text": "วงจรเช่าเป็นการกำหนดให้สายเคเบิลสายใดสายหนึ่งให้ผู้เช่าได้ใช้แต่เพียงผู้เดียว ผู้ใช้อาจเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต, ธุรกิจและองค์กรขนาดใหญ่อื่น ๆ ใช้ในการเชื่อมต่อระบบแลนหรือเครือข่ายมหาวิทยาลัยเข้ากับอินเทอร์เน็ต โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายโทรศัพท์ทั่วไปหรือผู้ให้บริการอื่น ๆ สายเคเบิลดังกล่าว อาจเป็นลวดทองแดง, ใยแก้วนำแสงและวิทยุ, วงจรเช่าถูกนำมาใช้เพื่อให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยตรง", "title": "การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต" }, { "docid": "200170#1", "text": "ในขณะที่ การตลาดแบบดั้งเดิม (Traditional Marketing) จะมีรูปแบบที่แตกต่างจาก E-Marketing อย่างชัดเจน โดยการตลาดแบบดั้งเดิมนั้นจะมีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย จะไม่เน้นทำกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และมักจะใช้วิธี การแบ่งส่วนตลาด (Marketing Segmentation) โดย ใช้เกณฑ์สภาพประชากรศาสตร์ หรือสภาพภูมิศาสตร์ และสามารถครอบคลุมได้บางพื้นที่ ในขณะที่ถ้าเป็น E-Marketing จะสามารถครอบคลุมได้ทั่วโลกเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้ธุรกิจต่างๆ จึงได้ให้ความสนใจกับอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างมาก รวมถึงได้มีการนำเอาแนวคิด E-Marketing มาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อทำการตลาดออนไลน์ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด", "title": "การตลาดบนอินเทอร์เน็ต" }, { "docid": "201836#19", "text": "แต่แล้ว วันที่ 27 พฤษภาคม 2005 TNA ก็ได้ออกอากาศ Impact! เทปสุดท้ายก่อนที่จะหมดสัญญาไปกับ FSN ซึ่งช่วงนั้นถือเป็นวิบากกรรมของ TNA พอสมควรเนื่องจากไม่สามารถที่จะหาสถานีโทรทัศน์ช่องใหม่สำหรับการออกอากาศ Impact! ได้ ทำให้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2005 TNA จับมือกับ RealNetworks ทำการออกอากาศ Impact ผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยอาศัยโปรแกรม RealPlayer ในการรับชม แต่ใช่ว่า TNA จะยอมฉาย Impact! ของพวกเขาในอินเทอร์เน็ตตลอดไป พวกเขาอาศัยจังหxxxดังกล่าวในการหาสถานีโทรทัศน์ช่องใหม่ โดยเดิมมีข่าวว่าพวกเขาอาจจะนำ Impact! ไปฉายทางช่อง WGN โดยจะได้เวลาวันจันทร์เพื่อแข่งกับ RAW ของ WWE แต่สุดท้ายก็ไม่ได้เซ็นสัญญากับทาง WGN แต่อย่างใด กระทั่งเหมือนราชรถมาเกย TNA ก็ส้มหล่นได้เซ็นสัญญากับ Spike TV ซึ่งเพิ่งหมดสัญญากับทาง WWE ไป และ WWE ก็นำรายการ RAW ของพวกเขาย้ายไป USA Network ทำให้ TNA ได้รับโอกาสในการนำมวยปล้ำของพวกเขามาฉาย (ปกติ WWE ทำสัญญากับ Spike TV ไม่อนุญาตให้รายการมวยปล้ำของสมาคมอื่นใดมาฉายทาง Spike TV ยกเว้น WWE เท่านั้น) โดยได้เวลาในช่วง 5 ทุ่มของคืนวันเสาร์ ซึ่งเดิมเป็นเวลาของรายการ WWE Velocity (ซึ่งภายหลังนำไปออกอากาศผ่านอินเทอร์เน็ต และมีข่าวว่าอาจจะยุบรายการเพื่อนำ ECW มาฉายแทน) แต่ว่าในความจริง ช่วงเวลาดังกล่าวนี้ ถือเป็นช่วงเวลาของรายการ WCW Saturday Night และ WWE Saturday Night Main Event ในช่วงยุค 1985 – 1992 อีกด้วย ซึ่งทาง TNA ได้ตกลงเซ็นสัญญากับ Spike TV ในฤดูใบไม้ร่วงปี 2005", "title": "อิมแพ็ก เรสต์ลิง" }, { "docid": "111531#0", "text": "ประวัติอินเทอร์เน็ต เป็นการศึกษาความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต ความคิดเรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์เครือข่ายเดียวที่สามารถให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต่างระบบกันสามารถสื่อสารกันได้นั้นได้มีการพัฒนาผ่านขั้นตอนหลายขั้นตอนด้วยกัน การหลอมรวมกันของการพัฒนาเหล่านั้นได้นำไปสู่เครือข่ายของเครือข่ายทั้งหลายที่รู้จักกันในชื่อว่า อินเทอร์เน็ต การพัฒนาเหล่านั้นมีทั้งในแง่การพัฒนาเทคโนโลยี และการรวมโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายและระบบโทรคมนาคมที่มีอยู่เดิมเข้าด้วยกัน", "title": "ประวัติศาสตร์อินเทอร์เน็ต" }, { "docid": "294558#4", "text": "การ์ตูนดังกล่าวแสดงถึงความเข้าใจในความเป็นส่วนตัวในอินเทอร์เน็ตที่ให้ความสำคัญกับความสามารถที่ผู้ใช้จะรับหรือส่งข้อความแบบไม่ระบุตัวตน ลอเรนซ์ เลสซิก แนะว่า \"ไม่มีใครรู้\"เพราะชุดโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตไม่ได้บังคับให้ผู้ใช้ระบุตัวตน แม้ว่าการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตภายในพื้นที่ เช่น ในมหาวิทยาลัยของผู้ใช้อาจจะบังคับก็ตาม แต่การเข้าถึงก็จะเก็บสารสนเทศนี้ไว้เป็นส่วนตัว และไม่ได้เป็นเนื้อแท้ของธุรกรรมอินเทอร์เน็ตแต่อย่างใด", "title": "บนอินเทอร์เน็ต ไม่มีใครรู้ว่าคุณเป็นหมา" }, { "docid": "563278#9", "text": "จุดเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไร้สาย(Wireless Internet access points)มีพร้อมให้ใช้ในสถานที่สาธารณะเช่นห้องโถงสนามบินในบางกรณีเพียงสำหรับการใช้งานช่วงสั้น ๆ ในขณะที่รอ บางจุดอาจให้คอมพิวเตอร์แบบหยอดเหรียญ. ศัพท์ต่างๆที่ถูกนำมาใช้เช่น \"ตู้อินเทอร์เน็ตสาธารณะ\", \"จุดเข้าถึงสาธารณะ\" และ \"โทรศัพท์เว็บหยอดเหรียญ\" โรงแรมหลายแห่งยังมีเทอมินอลสาธารณะ ตามปกติมีค่าธรรมเนียมการใช้", "title": "การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต" }, { "docid": "359045#57", "text": "ไดอานาสิ้นพระชนม์ในช่วงที่การใช้อินเทอร์เน็ตกำลังเฟื่องฟูทั่วโลก และหนังสือพิมพ์ในอังกฤษหลายสำนักเพิ่งเปิดให้บริการเว็บไซต์ข่าวออนไลน์บนอินเทอร์เน็ต ซึ่ง BBC News ได้นำเสนอข่าวการเลือกตั้งทั่วไปในอังกฤษตั้งแต่ต้นปี 2540 และความสนใจจากสื่อมวลชนและผู้คนมากมายที่มีต่อการสิ้นพระชนม์ของไดอานา ทำให้เว็บไซต์ BBC News ได้นำเสนอข่าวการสิ้นพระชนม์บนหน้าเว็บทันที และรายงานข่าวพิธีพระศพและเหตุการณ์อิ่น ๆ ที่เกิดขึ้นตามมา ข่าวการสิ้นพระชนม์ไดอานาทำให้สำนักงาน BBC News ได้ตระหนักว่าบริการข่าวสารออนไลน์บนอินเทอร์เน็ตที่กำลังจะเปิดตัว มีความสำคัญเพียงใด และวันที่ 4 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน เว็บไซต์ BBC News ได้เปิดบริการข่าวสารออนไลน์บนอินเทอร์เน็ตอย่างเต็มรูปแบบ", "title": "การสิ้นพระชนม์ของไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์" }, { "docid": "113628#2", "text": "เมื่อกล่าวถึงลิงก์ ความหมายโดยนัยคือลิงก์ที่ปรากฏในเอกสารเอชทีเอ็มแอลซึ่งพบได้มากมายบนอินเทอร์เน็ต ลิงก์ในเอชทีเอ็มแอลสร้างขึ้นจากแท็ก codice_1 (ย่อมาจาก anchor) โดยมีแอตทริบิวต์ codice_2 (ย่อมาจาก hypertext reference ) เป็นตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต (URL) ข้อความที่อยู่ระหว่างกลางแท็กเปิดและปิดจะกลายเป็นข้อความที่สามารถคลิกได้ และทำให้เว็บเบราว์เซอร์เปิดยูอาร์แอลตามที่กำหนดไว้ใน codice_2 ตัวอย่างเช่น\nเว็บเบราว์เซอร์จะแสดงผลไฮเปอร์ลิงก์ในลักษณะที่แตกต่างจากข้อความรอบข้าง เช่นอาจจะด้วยสีสัน แบบอักษร หรือการตกแต่งอื่น ๆ ที่ต่างออกไป ซึ่งสามารถปรับแต่งได้ด้วยแคสเคดดิงสไตล์ชีตส์ (SS) เพื่อบ่งบอกผู้ใช้ว่าข้อความใดเป็นลิงก์ที่คลิกได้ เมื่อนำเมาส์ไปวางไว้เหนือลิงก์ ตัวชี้ตำแหน่งจะปรากฏเป็นรูปมือกำลังชี้ มียูอาร์แอลหรือคำอธิบายอื่นปรากฏที่แถบสถานภาพ และตัวลิงก์อาจมีการเปลี่ยนลักษณะไปขึ้นอยู่กับสไตล์ชีต", "title": "ไฮเปอร์ลิงก์" }, { "docid": "563278#19", "text": "แม้ว่าการเชื่อมต่อกับ LAN อาจให้อัตราข้อมูลที่สูงมากภายใน LAN แต่ความเร็วในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่แท้จริงจะถูกจำกัดโดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) LAN อาจมีทั้งแบบใช้สายและไร้สาย อีเทอร์เน็ต บนสายเกรียวคู่และ Wi-Fi เป็นสองเทคโนโลยีส่วนใหญ่ที่ใช้ในการสร้างระบบแลนในวันนี้ แต่ ARCNET, Token ring, LocalTalk, FDDI, และเทคโนโลยีอื่น ๆ เคยถูกนำมาใช้ในอดีตที่ผ่านมา", "title": "การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต" }, { "docid": "10977#0", "text": "อีเมล (English: e-mail, email) หมายถึง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (English: electronic mail) คือวิธีการหนึ่งของการแลกเปลี่ยนข้อความแบบดิจิทัล ซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นหลัก ข้อความนั้นจะต้องประกอบด้วยเนื้อหา ที่อยู่ของผู้ส่ง และที่อยู่ของผู้รับ (ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่ง) เป็นอย่างน้อย บริการอีเมลบนอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้เริ่มมีการจัดตั้งมาจากอาร์พาเน็ต (ARPANET) และมีการดัดแปลงโค้ดจนนำไปสู่มาตรฐานของการเข้ารหัสข้อความ อีเมลที่ส่งกันในยุคคริสต์ทศวรรษ 1970 นั้นมีความคล้ายคลึงกับอีเมลในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงจากอาร์พาเน็ตไปเป็นอินเทอร์เน็ตในคริสต์ทศวรรษ 1980 ทำให้เกิดรายละเอียดแบบสมัยใหม่ของการบริการ โดยส่งข้อมูลผ่านเกณฑ์วิธีถ่ายโอนไปรษณีย์อย่างง่าย (SMTP) ซึ่งได้เผยแพร่เป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 10 () เมื่อ พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) และเปลี่ยน ไปเป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 11 () การแนบไฟล์มัลติมีเดียเริ่มมีการทำให้เป็นมาตรฐานใน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) ด้วย ไปจนถึง และภายหลังก็เรียกกันว่าส่วนขยายสื่อประสมในระบบอินเทอร์เน็ตแบบอเนกประสงค์ (MIME)", "title": "อีเมล" }, { "docid": "14556#6", "text": "ซึ่งสถานที่การทำงานที่ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ๆ และสามารถที่จะเข้าถึงได้ตลอดเวลาบนโลกคือ อินเทอร์เน็ตดังนั้น จึงเป็นการจำลองสำนักงานในโลกจริงไว้บนโลกของอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ทุกคนในหน่วยงานหรือสำนักงานได้เข้าทำงานได้ทุกทีทุกเวลา", "title": "การทำงานร่วมโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย" }, { "docid": "422873#1", "text": "เว็บไซต์ไนน์แก๊กมีการนำเสนอในรูปแบบคล้ายบล็อก โดยโพสต์แต่ละโพสต์จะเรียกว่า \"แก๊ก\" และในแต่ละหน้าจะแสดงแก๊กทั้งหมด 9 แก๊ก อันเป็นที่มาของชื่อเว็บไซต์ แก๊กต่าง ๆ เหล่านี้จะประกอบด้วยรูปภาพทั้งหมด (ในบางครั้งอาจพบเป็นวิดีโอยูทูบ) โดยอาจมีคำบรรยายภาพ พร้อมกับหัวเรื่องซึ่งอธิบายแก๊กต่าง ๆ เหล่านี้อย่างสั้น ๆ เนื้อหาของแก๊กต่าง ๆ มักจะเป็นการนำอินเทอร์เน็ตมีมที่มีอยู่แล้วมาใช้ซ้ำ เช่น การใช้ตัวละครการ์ตูนที่มีรูปหน้าโมโห (Rage comic) ลอลแคท (Lolcat; ภาพแมวพร้อมคำบรรยายภาพโดยเจตนาจะให้เกิดอารมณ์ขัน) ภาพสเก็ตซ์ชีวิตประจำวันในเชิงขำ ๆ แก๊กเกี่ยวกับสามัญทัศน์ของผู้ชาย ผู้หญิง นักการเมือง หรือประเด็นอื่น ๆ ข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่อศิลปินและนักแสดง กับผลงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น ที่เกี่ยวกับจัสติน บีเบอร์หรือโรเบิร์ต แพททินสัน) ประเด็นเกี่ยวกับเกรียนบนอินเทอร์เน็ต (Trolling) ชีวิตมนุษย์ในแง่ขำขันหรือแง่โศกเศร้า การล้อเลียนหรือความเห็นต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน คำพูด เป็นต้น ในบางครั้งไนน์แก๊กยังมีการเรียกให้รวมใจเป็นหนึ่งเดียวด้วยเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย", "title": "9แก๊ก" }, { "docid": "17149#13", "text": "คอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตก็ไม่จำเป็นต้องมีเลขที่อยู่ไอพีที่ไม่ซ้ำกับใครในโลก เช่นเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่สื่อสารระหว่างกันผ่านทีซีพี/ไอพีเป็นต้น ช่วงเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 จำนวน 3 ช่วงจึงถูกสงวนไว้ในอาร์เอฟซี 1918 สำหรับใช้กับเครือข่ายส่วนตัว เลขที่อยู่เหล่านี้จะไม่ถูกนำไปใช้จัดเส้นทางบนอินเทอร์เน็ต และการใช้งานเลขที่อยู่เหล่านี้ก็ไม่ต้องรายงานต่อหน่วยงานทะเบียนฯ แต่อย่างใด", "title": "เลขที่อยู่ไอพี" }, { "docid": "16927#8", "text": "ถึงแม้ในโลกจริงจิซาเมะไม่ต้องการเป็นที่สนใจและถอยห่างปฏิสัมพันธ์ แต่ชีวิตสันโดษของจิซาเมะนั้นกลับตาลปัตร จิซาเมะบ้าคลั่งคอสเพลย์อย่างหนัก และเมื่ออยู่คนเดียวในห้องที่บ้าน เธอมักแต่งคอสเพลย์น่ารัก ไม่สวมแว่น ทำผมทรงต่าง ๆ ถ่ายรูปตนเองและเขียนอนุทินลงอินเทอร์เน็ตทุกวัน โดยใช้นามแฝงว่า \"ชิอุ\" ซึ่งที่โลกไซเบอร์นี้ เธอได้รับความนิยมในฐานะเน็ตไอดอลเป็นอันมาก มีผู้ติดตามเว็บเพจของเธอไม่ขาดสาย และบางทีเธอก็แต่งคอสเพลย์แนว \"ปลุกใจเสือป่า\" ตามที่แฟนคลับยุด้วย ชุดที่จิซาเมะชอบที่สุดคือ ชุดกะลาสี (ชุดนักเรียนญี่ปุ่น) ใส่หูแมว และบางทีก็ใส่หางแมวด้วย จิซาเมะยังเป็นนักเลงคอมพิวเตอร์มือฉมัง และเจนจัดระบบคอมพิวเตอร์ ในเรื่องยังปรากฏว่า ไม่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ใดที่เธอไม่อาจเจาะเข้าถึง และเธอมักใช้โปรแกรม \"โฟโต้ช๊อก\" (Photoshock, ตั้งชื่อล้อเลียนโฟโตชอป (Photoshop)) แต่งเติมรูปถ่ายตนเองให้ดูดีก่อนนำลงอินเทอร์เน็ต", "title": "ฮาเซกาว่า จิซาเมะ" }, { "docid": "4817#59", "text": "สำหรับอินเทอร์เน็ต โพรโทคอลสื่อทางกายภาพและการเชื่อมโยงข้อมูลสามารถแปรผันกัน หลายครั้งในรูปของแพ็กเก็ตที่เดินทางไปรอบโลก นี่เป็นเพราะว่าอินเทอร์เน็ตไม่มีข้อจำกัด ในสื่อทางกายภาพหรือโปรโทคอลในการเชื่อมโยงข้อมูลที่จะถูกนำมาใช้ สิ่งนี้นำไปสู่​​การพัฒนาของสื่อและโพรโทคอลที่เหมาะสมที่สุดกับสถานการณ์เครือข่ายท้องถิ่น ในทางปฏิบัติ การติดต่อสื่อสารระหว่างทวีปส่วนใหญ่จะใช้ Asynchronous Transfer Mode (ATM ) โพรโทคอล (หรือที่ทันสมัยเทียบเท่า​​) บนใยแก้วนำแสง นี้เป็นเพราะการสื่อสารระหว่างทวีปส่วนใหญ่ อินเทอร์เน็ตจะใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันกับเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน หรือ PSTN", "title": "โทรคมนาคม" } ]
1193
อุทยานแห่งชาติออบหลวงมีขนาดพื้นที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "141144#0", "text": "อุทยานแห่งชาติออบหลวง เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งหนึ่งในพื้นที่อำเภอจอมทอง อำเภอฮอด และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 100 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 553 ตารางกิโลเมตร (345,625 ไร่) พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานเป็นภูเขาสลับซับซ้อนและสูงชัน มีอาณาเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ แหล่งน้ำหลักคือลำน้ำแม่แจ่ม ซึ่งมีลักษณะเป็นเกาะแก่งเมื่อไหลผ่านหุบเขา ในอุทยานมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ จำแนกได้หลายประเภท สามารถพบสัตว์ป่าได้หลายชนิด เช่น เลียงผา เสือ หมี เป็นต้น นอกจากนี้ภายในอุทยานแห่งชาติยังมีน้ำพุร้อน น้ำตก ถ้ำ และแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์", "title": "อุทยานแห่งชาติออบหลวง" } ]
[ { "docid": "141144#10", "text": "บ่อน้ำร้อนเทพพนม – ห่างจากออบหลวงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือราว 14 กิโลเมตร ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1088 เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติเกิดจากความร้อนใต้พิภพ น้ำมีความร้อนสูงถึง 99 องศาเซลเซียส บริเวณโดยรอบเป็นที่ราบราว 10 ไร่ มีลำห้วยโป่งไหลผ่าน ลำน้ำแม่แจ่ม – มีกิจกรรมล่องแก่งเรือยาง มีสองระยะ คือ ระหว่างสะพานแม่นาเปิน–ท่าพระเสด็จ ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร และระหว่างบ้านอมขูด–บ้านท่าเรือ ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร", "title": "อุทยานแห่งชาติออบหลวง" }, { "docid": "141144#12", "text": "เป็นหินขนาดใหญ่ชนิดแกรนิตชนิดมิคมาไทด์ทั้งแท่ง ปรากฏออกสีน้ำตาลดำ ขนาดยาว 300 เมตร สูง 80 เมตร มีลักษณะคล้ายช้างตัวใหญ่นอนหมอบอยู่ ห่างจากออบหลวงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 400 เมตร[1] บนยอดดอยเป็นจุดชมวิว สามารถมองเห็นน้ำตกแม่บัวคำ ออบหลวง และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ด้านตะวันตกของดอยผาช้างมีเพิงผาคล้ายถ้ำ เรียกว่า \"ถ้ำผาช้าง\" คาดว่าเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบภาพเขียนรูปสัตว์และคนหลายภาพ เขียนด้วยสีขาวและสีแดงอมดำเข้ม กรมศิลปากรยืนยันว่าเป็นครั้งแรกที่พบภาพเขียนโบราณในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ซึ่งพบเมื่อปี พ.ศ. 2527 โดยนายสายันต์ ไพรชาญจิตร และนายประทีป เพ็งตะโก นักโบราณคดีของกองโบราณคดี สันนิษฐานว่าภาพเขียนมีอายุราว 7,500–8,500 ปี", "title": "อุทยานแห่งชาติออบหลวง" }, { "docid": "141144#16", "text": "จากเว็บไซต์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช", "title": "อุทยานแห่งชาติออบหลวง" }, { "docid": "141144#2", "text": "ต่อมากรมป่าไม้ได้โอนวนอุทยานออบหลวงมาอยู่ในความดูแลของกองอุทยานแห่งชาติ สังกัดกรมป่าไม้ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2531 กองอุทยานแห่งชาติได้ทำการสำรวจพื้นที่เพิ่มเติมรอบวนอุทยานเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ พื้นที่เพิ่มเติมรอบวนอุทยานประกอบด้วย ป่าจอมทอง ป่าแม่แจ่ม–แม่ตื่น และป่าแม่แจ่ม ทั้งหมดแต่เดิมเป็นป่าถาวรของชาติตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2509 จากนั้นได้ยกฐานะเป็นป่าสงวนแห่งชาติโดยเรียงลำดับเวลาดังนี้ ป่าแม่แจ่ม–แม่ตื่นเมื่อปี พ.ศ. 2509 ป่าจอมทองเมื่อปี พ.ศ. 2510 และป่าแม่แจ่มเมื่อปี พ.ศ. 2517 ป่าทั้งหมดมีสภาพสมบูรณ์ รวมพื้นที่ประมาณ 630 ตารางกิโลเมตร เมื่อทำการสำรวจเสร็จสิ้น กองอุทยานแห่งชาติได้รวมป่าข้างต้นทั้งหมดเข้ากับวนอุทยานฯและจัดตั้งเป็น อุทยานแห่งชาติออบหลวง เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ถือเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 68 ของประเทศ", "title": "อุทยานแห่งชาติออบหลวง" }, { "docid": "5262#62", "text": "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว อำเภอเชียงดาว ดอยม่อนจอง อำเภออมก๋อย ดอยอ่างขาง อำเภอฝาง ทะเลสาบดอยเต่า อำเภอดอยเต่า น้ำพุร้อนฝาง อำเภอฝาง น้ำพุร้อนสันกำแพง อำเภอแม่ออน ปางช้างแม่แตง อำเภอแม่แตง ม่อนแจ่ม อำเภอแม่ริม สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก อำเภอแม่อาย อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อำเภอเมืองเชียงใหม่ อุทยานแห่งชาติออบหลวง อำเภอฮอด อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง", "title": "จังหวัดเชียงใหม่" }, { "docid": "5262#14", "text": "อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อุทยานแห่งชาติแม่ปิง อุทยานแห่งชาติออบหลวง อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง อุทยานแห่งชาติศรีลานนา อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ อุทยานแห่งชาติผาแดง อุทยานแห่งชาติแม่โถ อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง อุทยานแห่งชาติออบขาน อุทยานแห่งชาติแม่วาง", "title": "จังหวัดเชียงใหม่" }, { "docid": "141144#1", "text": "แรกเริ่มกรมป่าไม้ได้ทำการจัดตั้ง \"วนอุทยานออบหลวง\" ขึ้นในบริเวณอุทยานแห่งชาติในปัจจุบัน ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2509 ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหางดง อำเภอฮอด และตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในความดูแลของสำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ โดยกรมป่าไม้เห็นว่าบริเวณนี้มีสภาพภูมิประเทศที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ประกอบด้วยโขดผา ลำน้ำที่ไหลผ่านหลืบเขาที่ชาวบ้านเรียกกันมาก่อนหน้านี้ว่า ออบหลวง ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นแปลว่า ช่องแคบขนาดใหญ่ ตามลักษณะภูมิประเทศ ในอดีตพื้นที่ดังกล่าวเป็นสถานที่พักของคนงานบริษัทบอร์เนียว ซึ่งคอยเก็บไม้สักที่ลำเลียงมาตามลำน้ำแม่แจ่ม", "title": "อุทยานแห่งชาติออบหลวง" }, { "docid": "83466#0", "text": "อุทยานแห่งชาติเขาหลวง เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในท้องที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ถูกจัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี กำหนดให้ป่าเขาหลวงและป่าอื่นๆ ในท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราช รวม 14 ป่า เป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้ทำการสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพพื้นที่บริเวณป่าเขาหลวงจะถูกวาตภัย ในปี พ.ศ. 2505 ทำให้ไม้ขนาดใหญ่ล้มโค่นเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นป่าแห่งนี้ยังมีคุณค่าควรแก่การเก็บรักษาไว้ เพื่อประโยชน์ในการพักผ่อนหย่อนใจ การศึกษา ค้นคว้าวิจัยและคุ้มครองรักษาพันธุ์สัตว์ป่า นับว่าควรค่าแก่การจัดเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งต่อมาได้มีมติคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ จากการประชุมครั้งที่ 1/2517 เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2517 เห็นชอบในหลักการให้จัดตั้งเป็นอุทยาน โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาหลวงในท้องที่ตำบลดอนตะโก ตำบลกะทูน ตำบลเขาพระ ตำบลพิปูน ตำบลยางค้อม อำเภอพิปูน ตำบลละอาย อำเภอฉวาง ตำบลสวนขัน ตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ตำบลพรหมโลก ตำบลบ้านเกาะ ตำบลอินทคีรี ตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี และตำบลเขาแก้ว ตำบลท่าดี ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา ตำบลกรุงชิง ตำบลนบพิตำ ตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 91 ตอนที่ 216 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2517 นับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่ 9 ของประเทศ", "title": "อุทยานแห่งชาติเขาหลวง" }, { "docid": "141144#7", "text": "ในอุทยานแห่งชาติออบหลวงสามารถพบป่าไม้ได้หลายประเภท แตกต่างตามระดับความสูง จำแนกได้ดังนี้[1]", "title": "อุทยานแห่งชาติออบหลวง" }, { "docid": "14101#0", "text": "ทุ่งแสลงหลวง หรือที่รู้จักกันดีในนาม “ทุ่งหญ้าสะวันนาแห่งเมืองไทย” เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ มีเนื้อที่ประมาณ 789,000 ไร่หรือ 1,262.40 ตารางกิโลเมตร ทุ่งแสลงหลวงมีพื้นที่ครอบคลุม อ.วังทอง อ.นครไทย อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก และใน อ.เขาค้อ อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ สำหรับชื่อของอุทยานแห่งชาติมีการสันนิษฐานว่ามีการตั้งชื่อตามพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในพื้นที่ป่าแห่งนี้ คือ ต้นแสลงใจ ซึ่งมีขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ประกอบกับมีสภาพภูมิประเทศเป็นเนิน มีป่าหลายชนิด และสัตว์ป่าชุกชุม เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2502 ป่าทุ่งแสลงหลวงและพื้นที่ป่าอื่น ๆ ในจังหวัดต่าง ๆ ได้รับการก่อตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงมีสภาพธรรมชาติ และลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้สัตว์ป่านานาชนิดซึ่งเป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การไปท่องเที่ยว", "title": "อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง" }, { "docid": "231196#0", "text": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 สายดอนไชย–อุโมงค์ เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร มีแนวเส้นทางเริ่มจากทางแยกถนนพหลโยธิน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1) อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ผ่านอำเภอลี้ อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอป่าซาง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน และตัดเข้าตัวเมืองเชียงใหม่ สิ้นสุดที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เส้นทางนี้เป็นเส้นทางลัดจากถนนพหลโยธิน ที่สามารถเชื่อมต่อไปยังสถานที่สำคัญ เช่น อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติออบหลวง โดยไม่ต้องผ่านตัวเมืองเชียงใหม่ และสามารถใช้เป็นเส้นทางเชื่อมต่อเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 108 เข้าสู่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้โดยไม่ต้องเริ่มจากตัวเมืองเชียงใหม่ แต่ไม่เป็นที่นิยมนักเนื่องจากช่วงอำเภอเถิน ถึงอำเภอลี้ (รอยต่อระหว่างจังหวัดลำปางและจังหวัดลำพูน) เป็นทางแคบ ตัดขึ้นภูเขาสูง และคดเคี้ยวมาก จึงไม่เหมาะในการสัญจรในเวลากลางคืน โดยส่วนที่แคบและคดเคี้ยวนั้นคือส่วนที่ตัดผ่านอุทยานแห่งชาติดอยจง ", "title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106" }, { "docid": "246834#0", "text": "อุทยานแห่งชาติแม่ยม ตั้งอยู่ในพื้นที่ครอบคลุมของอำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอสอง จังหวัดแพร่ มีพื้นที่ประมาณ 284,218.75 ไร่ หรือ 454.75 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงทั้งด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของพื้นที่ ลาดมายังแม่น้ำยมที่ไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่ มีเทือกเขาอย่างดอยหลวง ดอยยาว ดอยขุนห้วยแปะ และดอยโตน เป็นต้น ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำและลำห้วย อย่างเช่น น้ำแม่ปุง น้ำแม่ลำ น้ำแม่เต้น น้ำแม่สะกึ๋น น้ำแม่เป๋า ห้วยผาลาด ห้วยแม่ปง ห้วยแม่พุง ห้วยแม่แปง ห้วยเค็ด ห้วยปุย ห้วยเลิม และห้วยแม่ปุ๊ เป็นต้น และมีลำน้ำแม่งาว ไหลมารรจบกับแม่น้ำยมที่บริเวณอุทยาน", "title": "อุทยานแห่งชาติแม่ยม" }, { "docid": "141144#6", "text": "บริเวณออบหลวงเป็นหินแปรเกรดสูง มีขนาดต่าง ๆ กัน เกิดจากการแปรสัณฐานในช่วงยุคไทรแอสซิก (200–250 ล้านปีก่อน) หินที่เป็นองค์ประกอบของพื้นที่ได้แก่ หินแกรนิต แกรโนไดออไรท์ สลับกับหินบะซอลต์และหินตระกูลแกรนิตชนิดมิคมาไทด์ ซึ่งประกอบด้วย แร่ควอตซ์และเฟลด์สปาร์ จากยุคไทรแอสซิกและครีเทเชียส สำหรับท้องน้ำของลำน้ำแม่แจ่มมีเกาะแก่ง หินขนาดต่าง ๆ ริมฝั่งแม่น้ำบางช่วงมีหาดทราย เกิดจากน้ำพัดพาตะกอนมาสะสม นอกจากนี้ยังพบก้อนหินกลมประเภทกรวดท้องน้ำของหินควอร์ตไซต์ ควอตซ์ แจสเปอร์ เป็นต้น[2]", "title": "อุทยานแห่งชาติออบหลวง" }, { "docid": "17494#15", "text": "จังหวัดเชียงใหม่ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อุทยานแห่งชาติขุนขาน อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา อุทยานแห่งชาติผาแดง อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ อุทยานแห่งชาติแม่โถ อุทยานแห่งชาติแม่วาง อุทยานแห่งชาติศรีลานนา อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง อุทยานแห่งชาติออบขาน อุทยานแห่งชาติออบหลวง จังหวัดลำพูน อุทยานแห่งชาติแม่ปิง อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล จังหวัดเชียงราย อุทยานแห่งชาติดอยหลวง อุทยานแห่งชาติขุนแจ อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก จังหวัดลำปาง อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน อุทยานแห่งชาติดอยจง อุทยานแห่งชาติแม่วะ อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท อุทยานแห่งชาติเขลางค์บรรพต จังหวัดพะเยา อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง อุทยานแห่งชาติแม่ปืม อุทยานแห่งชาติภูซาง จังหวัดอุตรดิตถ์ อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน อุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์ อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ อุทยานแห่งชาติแม่เงา อุทยานแห่งชาติสาละวิน จังหวัดน่าน อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อุทยานแห่งชาติขุนสถาน อุทยานแห่งชาติศรีน่าน อุทยานแห่งชาติขุนน่าน อุทยานแห่งชาติแม่จริม อุทยานแห่งชาตินันทบุรี อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน จังหวัดแพร่ อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย อุทยานแห่งชาติแม่ยม อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง", "title": "ภาคเหนือ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "141144#5", "text": "พื้นที่อุทยานแห่งชาติออบหลวงส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันและสลับซับซ้อน มีที่ราบน้อยมาก กลุ่มภูเขาวางตัวในแนวเหนือ–ใต้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัย มีอาณาเขตติดต่อกับดอยอินทนนท์ พื้นที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 280–1,980 เมตร[1] ยอดเขาที่สูงที่สุดอยู่ทางตอนเหนือของพื้นที่ ภูเขาที่สำคัญได้แก่ ดอยผาดำ ดอยเลี่ยม ดอยปุยหลวง ดอยคำ เป็นต้น แหล่งน้ำที่สำคัญคือ ลำน้ำแม่แจ่ม ซึ่งเป็นเขตแบ่งอำเภอจอมทองและอำเภอฮอด ไหลผ่านกลางพื้นที่อุทยานแห่งชาติจากทิศตะวันตกไปตะวันออก เฉพาะในเขตอุทยานแห่งชาติมีความยาวประมาณ 27 กิโลเมตร แม่น้ำไม่คดเคี้ยวมาก ภูมิประเทศที่แม่น้ำไหลผ่านมีลักษณะเป็นหุบเขา ตลิ่งแม่น้ำในอุทยานแห่งชาติมีลักษณะเป็นเกาะแก่ง มีโขดหินขนาดใหญ่ เกิดจากการกัดเซาะของน้ำ แหล่งน้ำอื่นในอุทยานแห่งชาติได้แก่ ห้วยแม่แตะ ห้วยแม่เตี๊ยะ ห้วยแม่สอย ห้วยแม่แปะ ห้วยแม่จร ห้วยแม่หึด ห้วยแม่หลวง ห้วยแม่นาเปิน ห้วยแม่บัวคำ ห้วยแม่ลอน ห้วยบง ห้วยแม่ฮอด ห้วยทราย และห้วยแม่ป่าไผ่ บางส่วนไหลลงแม่น้ำแม่แจ่ม ซึ่งในที่สุดก็ลงมารวมกับแม่น้ำปิงทั้งหมด[1] ถือเป็นต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำปิงตอนล่าง", "title": "อุทยานแห่งชาติออบหลวง" }, { "docid": "141144#8", "text": "ป่าเต็งรัง – ครอบคลุมราว 70% ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ พบทั่วไปในบริเวณภูเขา ความสูงไม่เกิน 800 เมตร เช่น บริเวณที่ทำการอุทยานฯ พันธุ์ไม้สำคัญที่พบได้แก่ เหียง พลวง เต็ง รัง และมะขามป้อม มักประสบปัญหาไฟไหม้ป่าทุกปี โดยเฉพาะช่วงฤดูแล้ง ป่าเบญจพรรณ – พบทั่วไปตั้งแต่ระดับความสูง 400–800 เมตร พบขึ้นอยู่ตามริมห้วยและริมหุบเขาสองฝั่งลำน้ำแม่แจ่ม พื้นที่น้ำตกแม่นาเปิน เป็นต้น พันธุ์ไม้สำคัญที่พบได้แก่ สัก ประดู่ แดง มะค่าโมง เก็ดแดง เก็ดดำ ขะเจ๊าะ ตะแบก รกฟ้า และไผ่ชนิดต่าง ๆ ป่าดิบแล้ง – พบทั่วไปบริเวณไหล่เขาและหุบเขาใกล้ลำห้วย เช่น บริเวณห้วยแม่นาเปิน ห้วยแม่บัวคำ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ กะบาก ยาง ตะเคียน มะค่าโมง แคหิน และปาล์มหลายชนิด ป่าสนเขา – พบขึ้นอยู่ในระดับความสูงราว 800–1,000 เมตร เช่น ดอยป่ากล้วย ดอยเลี่ยม ดอยผาดำ อำเภอจอมทอง และดอยคำ ดอยหมู่ติง ดอยปุยหลวง อำเภอฮอด มีทั้งสนสองใบและสนสามใบ ป่าดิบเขา – พบขึ้นกระจายอยู่ในระดับสูงเหนือป่าสนเขาขึ้นไป พันธุ์ไม้สำคัญที่พบได้แก่ ก่อเดือย ก่อแป้น ก่อเลือด มะขามป้องดง ยมหอม หว้า จำปีป่า เป็นต้น ไม้พื้นล่างที่พบได้แก่ เฟิน กล้วยไม้ดิน มอสชนิดต่าง ๆ", "title": "อุทยานแห่งชาติออบหลวง" }, { "docid": "141144#3", "text": "อุทยานแห่งชาติออบหลวงมีพื้นที่ครอบคลุมตำบลดอยแก้ว ตำบลสบเตี๊ยะ ตำบลแม่สอย ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง ตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม และตำบลหางดง ตำบลนาคอเรือ ตำบลบ่อหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้[1]", "title": "อุทยานแห่งชาติออบหลวง" }, { "docid": "141144#11", "text": "ออบหลวง – เป็นช่องแคบเขาขาดมีหน้าผาหินขนาบลำน้ำแม่แจ่ม หน้าผามีความสูงถึงระดับน้ำปกติประมาณ 32 เมตร ส่วนที่แคบสุด 2 เมตร[2] ความยาวช่องแคบประมาณ 300 เมตร ตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 น้ำตกแม่จอน – ส่วนหนึ่งของห้วยแม่จอนหลวง เขตตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง น้ำตกมีหน้าผาขนาดใหญ่ สูงราว 100 เมตร กว้าง 80 เมตร เป็นหินแกรนิตผสมหินแปรสีขาวเจือสีเทาอ่อน น้ำตกแม่เตี๊ยะ – ส่วนหนึ่งของห้วยแม่เตี๊ยะ ในเขตตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง มีความสูงประมาณ 80 เมตร กว้าง 40 เมตร มีน้ำตลอดปี เข้าถึงได้โดยการเดินเท้าจากบ้านแม่เตี๊ยะประมาณ 8 กิโลเมตร น้ำตกแม่บัวคำ – ส่วนหนึ่งของห้วยแม่บัวคำ เขตตำบลหางดง อำเภอฮอด สูงประมาณ 50 เมตร ลดหลั่นลงมาเป็นเพิงชั้น ถ้ำตอง – ตั้งอยู่ในดอยผาเลียบ ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง ปากถ้ำมีขนาดประมาณ 5×10 เมตร สูง 3 เมตร หน้าถ้ำมีห้วยแม่แปะไหลผ่าน ปัจจุบันบริเวณปากถ้ำถูกใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของสำนักวิปัสสนาถ้ำตอง ถ้ำตุ๊ปู่ – ในตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง เป็นถ้ำหินปูนขนาดเล็ก ปากถ้ำมีขนาดประมาณ 1×1.5 เมตร ภายในกว้างขวางมีรูปร่างค่อนข้างกลม มีหินงอกหินย้อยอยู่ทั่วไป เส้นทางศึกษาธรรมชาติดอยคำ – มีระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร", "title": "อุทยานแห่งชาติออบหลวง" }, { "docid": "83593#3", "text": "ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีหนังสือที่ 177/2518 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2518 ให้นายเชาวลิต เลิศชยันตี นักวิชาการป่าไม้ตรี ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูล ปรากฏว่า ป่าเขาหลวงมีสภาพป่าธรรมชาติสมบูรณ์มีทิวทัศน์สวยงาม เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงสุโขทัย เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ดังนั้นในเดือนเมษายน พ.ศ. 2518 กองอุทยานแห่งชาติ จึงเริ่มดำเนินการจัดตั้งป่าเขาหลวงเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติรามคำแหง” ซึ่งได้อัญเชิญสมญานามของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงแสนยานุภาพเป็นอัจฉริยะทางด้านความคิดของกรุงสุโขทัย มาเป็นชื่อของอุทยานแห่งชาติ เพื่อเทิดพระเกียรติแด่องค์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และเป็นสิริมงคลแก่อุทยานแห่งชาติ ตลอดจนเพื่อเป็นการรำลึกถึงสถานที่อันมีค่าทางประวัติศาสตร์ชาติไทย ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2518 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2518 เห็นชอบในหลักการให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาหลวงในท้องที่ตำบลบ้านด่าน ตำบลลานหอย อำเภอบ้านด่านลานหอย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย และตำบลนาเชิงคีรี ตำบลศรีคีรีมาศ ตำบลน้ำพุ อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 97 ตอนที่ 165 ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2523 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 18 ของประเทศ", "title": "อุทยานแห่งชาติรามคำแหง" }, { "docid": "141144#14", "text": "เป็นเส้นทางเดินเท้าศึกษาธรรมชาติระยะทาง 1,200 เมตร[1] เริ่มต้นจากออบหลวง จากการสำรวจโดยกองโบราณคดี กรมศิลปากร ร่วมมือกับทีมวิจัยจากประเทศฝรั่งเศศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 ได้ขุดค้นพบโบราณวัตถุและหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์จำนวนมาก เช่น เครื่องมือหินกระเทาะทำจากหินกรวดท้องน้ำ แกนและสะเก็ดหิน ขวานหินขัด ชิ้นส่วนเครื่องประดับ ภาชนะสัมฤทธิ์ ภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ ทั้งยังพบโครงกระดูกมนุษย์ในยุคสัมฤทธิ์ มีอายุระหว่าง 2,500–3,500 ปีก่อนคริสตกาล", "title": "อุทยานแห่งชาติออบหลวง" }, { "docid": "85805#6", "text": "อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา\nมีน้ำตกให้เที่ยวหลายแห่ง แต่ส่วนใหญ่เส้นทางยังไม่สะดวกนัก เนื่องจากยังอยู่ในระหว่างพัฒนาพื้นที่ น้ำตกที่เดินทางเข้าถึงสะดวกที่สุดคือ น้ำตกห้วยทรายขาว ซึ่งอยู่บริเวณเดียวกับที่ตั้งที่ทำการอุทยานฯ เป็นน้ำตกขนาดเล็ก มีแอ่งน้ำให้นักท่องเที่ยวลงเล่นน้ำได้แต่ในช่วงฤดูแล้งน้ำจะน้อยมาก จะมีน้ำเยอะช่วงเดือนพฤษภาคมแต่น้ำจะขุ่น น้ำจะใสช่วงหลังฝน ชั้นบนของน้ำตกเป็นแอ่งน้ำและมีทรายอยู่เนื่องจากน้ำพัดเอาทราย มาจากการกัดกร่อนของหินทราย ชั้นบน อากาศบริเวณน้ำตกชื้นจนทำให้มีมอสจับอยู่ มีแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆในอุทยานฯ ได้แก่ น้ำตกแม่ฝางหลวง น้ำตกดอยเวียงผา น้ำตกห้วยหาน และจุดชมวิวดอยเวียงผา อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผามีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 583 ตารางกิโลเมตร สภาพป่าในพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นป่าดิบเขาและป่าเบญจพรรณ นอกจากนี้ยังมีป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง และป่าสนเขา นกที่พบ เช่น นกกินปลี และนกพญาไฟ สัตว์ป่าที่พบส่วนใหญ่จะเป็นขนาดกลางและสัตว์ขนาดเล็ก ได้แก่ กระรอก กระต่าย หมูป่า อีเห็น เก้ง เลียงผา เสือไฟ เม่น หมีควาย เป็นต้น", "title": "อำเภอไชยปราการ" }, { "docid": "141144#17", "text": "ออบหลวง ออบหลวง", "title": "อุทยานแห่งชาติออบหลวง" }, { "docid": "141144#15", "text": "กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช", "title": "อุทยานแห่งชาติออบหลวง" }, { "docid": "76151#18", "text": "ตั้งอยู่ที่ตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติ ออบหลวง น้ำตกแม่เตี๊ยะตั้งอยู่บริเวณกลางป่าลึก ตัวน้ำตกสูงประมาณ 80 เมตร กว้างประมาณ 15 เมตร น้ำตกมีทั้งหมด 4 ชั้น มีระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร มีน้ำตลอดปี ชาวสบเตี๊ยะนำน้ำจากที่นี่ไปใช้ในการเกษตร เหมาะสำหรับเป็นแหล่ง ศึกษาธรรมชาติ\nการเดินทาง จากเชียงใหม่โดยรถยนต์ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ถึงอำเภอจอมทอง เลี้ยวขวาข้างที่ว่าการอำเภอ หรือเลี้ยวขวาข้างวัดสบเตี๊ยะ มีระยะทางโดยรวม 15 กิโลเมตร หรือโดยสารรถประจำทาง เชียงใหม่-จอมทอง จากนั้นต่อรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง", "title": "อำเภอจอมทอง" }, { "docid": "141144#13", "text": "แหล่งโบราณคดีของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์", "title": "อุทยานแห่งชาติออบหลวง" }, { "docid": "85806#0", "text": "แม่วาง () เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ที่ครอบคุมอุทยานถึง 3 อุทยานได้แก่ อุทยานแห่งชาติแม่วาง อุทยานแห่งชาติออบขาน อุทยานแห่งชาติอินทนนท์", "title": "อำเภอแม่วาง" }, { "docid": "4529#95", "text": "มหาวิทยาลัย ที่มีบริเวณกว้างใหญ่ที่สุดของประเทศไทย คือ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ภายในวิทยาเขตเดียว มากกว่า 10,000 ไร่ ปัจจุบันมีนักศึกษากำลังศึกษาอยู่มากกว่า 8,500 คน เป็นจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุด ในภาคใต้ คือ 1,552,530 คน (ข้อมูล: ที่ทำการปกครองจังหวัดนครศรีธรรมราช ข้อมูล ณ 31 ธันวาคม 2558) ทิวเขานครศรีธรรมราช เป็นทิวเขาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของไทย มีภูเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อนและเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง มียอดเขาสูงที่สุดในภาคใต้ คือ ยอดเขาหลวง มีความสูง 1,835 เมตร จากระดับน้ำทะเล และเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขานครศรีธรรมราช ปัจจุบันอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาหลวง", "title": "จังหวัดนครศรีธรรมราช" }, { "docid": "296863#0", "text": "อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน ครอบคลุมพื้นที่เทือกเขาสูงตอนปลายแห่งทิวเขาหลวงพระบาง ประกอบด้วยผืนป่าสมบูรณ์ ถ้ำขนาดใหญ่ น้ำตก และจุดชมทะเลหมอกในท้องที่อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน และอำเภอเชียงคำ, อำเภอปง จังหวัดพะเยา ", "title": "อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน" }, { "docid": "141144#4", "text": "ทิศเหนือ – อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ทิศใต้ – จรดห้วยแม่ป่าไผ่ และเขตสหกรณ์นิคมแม่แจ่ม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ทิศตะวันออก – จรดบ้านแม่สอย โครงการป่าสงวนแห่งชาติป่าจอมทองที่ 2 เขตสุขาภิบาลหางดง และเขตสหกรณ์นิคมแม่แจ่ม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ทิศตะวันตก – จรดห้วยบง ตำบลบ่อหลวง อำเภอฮอด และห้วยอมขูด เขตสงวนป่าองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้แม่แต่ม ตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่", "title": "อุทยานแห่งชาติออบหลวง" } ]
3854
ใครเป็นผู้ค้นพบการกายภาพบำบัด?
[ { "docid": "63859#4", "text": "แพทย์อย่างเช่น ฮิปโปกราเตส และ เฮกเตอร์ เป็นผู้ที่ซึ่งเชื่อว่า เป็นบุคคลกลุ่มแรกที่ริเริ่มการรักษาทางกายภาพบำบัดในสมัยโบราณ ได้นำการรักษาโดยการนวดและการทำธาราบำบัด มาใช้รักษาผู้ป่วย ตั้งแต่ 460 ปีก่อนคริสตกาล [5] หลักฐานในสมัยแรกสุดที่ถูกบันทึกไว้เกี่ยวกับกายภาพบำบัดจัดว่า กายภาพบำบัด คือกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลุ่มหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เมื่อย้อนไปในปี 1894 เมื่อพยาบาลสี่คนในอังกฤษ รวมตัวกันเพื่อจัดตั้ง ชมรมผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด [6] ประเทศอื่นๆ ก็ได้ดำเนินการเช่นกันและเริ่มมีการทำหลักสูตรการสอนที่เป็นระบบ เช่นเมื่อปี 1913 ได้มีโรงเรียนกายภาพบำบัด ที่มหาวิทยาลัยโอทาโก ในนิวซีแลนด์[7], และในสหรัฐอเมริกา ในปี 1914 ที่ Reed College ในพอร์ทแลนด์ รัฐ ออริกอน [8]", "title": "กายภาพบำบัด" } ]
[ { "docid": "755588#2", "text": "สี่ปีผ่านไป เขาและเธอต่างมีชีวิตของตัวเอง โจนาธานทำงานเป็นโปรดิวเซอร์ทีวีให้ อีเอสพีเอ็น ในนิวยอร์ก และหมั้นหมายกับฮัลเลย์ บูคานัน (บริดเจ็ต มอยนาแฮน) แต่ถึงกระนั้นเขาก็ยังตระเวนตามหาหนังสือ \"Love in the Time of Cholera\" ตามร้านหนังสือมือสอง ส่วนซาร่า เธอย้ายมาแคลิฟอร์เนีย ทำงานเป็นนักกายภาพบำบัด และหมั้นกับหนุ่มนักดนตรีนิวเอจ (จอห์น คอร์เบตต์) และเช่นกันที่เธอยังเช็กแบงก์ 5 ดอลลาร์ทุกใบ เพื่อหาชื่อ และเบอร์โทรศัพท์ที่เขียนด้วยหมึกสีแดง", "title": "กว่าจะค้นเจอ ขอมีเธอสุดหัวใจ" }, { "docid": "63859#18", "text": "หลังระดับปริญญาบัณฑิตแล้ว จะสามารถเข้าศึกษาต่อในบางสถาบัน ปรกติแล้วจะใช้เวลา 3 ปีสำหรับศึกษาตามหลักสูตรในสาขาเฉพาะที่เกี่ยวข้อง เช่นสรีรวิทยาการออกกำลังกาย สำหรับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ได้เปิดหลักสูตรใหม่หลังปริญญาบัณฑิต จะเปิดให้นักศึกษาสามารถสมัครเข้าศึกษาเป็นเวลา 3 ปี ในระดับปริญญาบัณฑิต ในหลักสูตร ชีวการแพทย์ หรือ วิทยาศาสตร์ (เริ่มต้นในปี 2008) แล้วตามด้วย 3 ปีในหลักสูตรกายภาพบำบัดเป็นหลักสูตรหลังปริญญา หรือ DPT และเช่นเดียวกัน มหาวิทยาลัยบอนด์ ในรัฐควีนส์แลนด์ ก็ได้เปิดหลักสูตร DPT สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาทางกายภาพบำบัด", "title": "กายภาพบำบัด" }, { "docid": "43047#2", "text": "ต่อมา ในปี พ.ศ. 2543 กรรมการบริหารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมีมติเห็นชอบจัดตั้ง \"คณะสหเวชศาสตร์\" ขึ้น โดยได้เปลี่ยนชื่อจาก คณะกายภาพบำบัด เป็นคณะสหเวชศาสตร์ เพื่อให้การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยครอบคลุมสาขาอื่น ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยและประชาชน", "title": "คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "461505#5", "text": "Future GPX Cyber Formula Zero เป็นภาคต่อของภาค Double One ในระหว่างการแข่งขันไซเบอร์ฟอร์มูล่าระดับโลกครั้งที่ 12 ฮายาโตะได้ค้นพบสิ่งที่เรียกว่า \"มิติ 0\" ซึ่งทำให้ประสาทสัมผัสของผู้ขับสูงกว่าคนทั่วไป และสามารถมองเห็นเหตุการณ์ในอนาคต และอ่านใจนักแข่งอื่นได้ แต่เพราะความตื่นตกใจ ทำให้เขาพลาดจนเกิดอุบัติเหตุจนต้องทำกายภาพบำบัด เขาจึงตัดสินใจที่จะเลิกเป็นนักแข่งไซเบอร์ฟอร์มูล่า และขอหมั้นหมายกับอาสึกะ ในภาคนี้จะเน้นเนื้อเรื่องไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างอาสึกะและฮายาโตะ ในตอนจบ ฮายาโตะได้ช่วยเฮนรี่ทำแต้ม จนเฮนรี่ได้ตำแหน่งแชมป์เปี้ยนของไซเบอร์ฟอร์มูล่าในการชิงแชมป์โลกครั้งที่ 13", "title": "ไซเบอร์ฟอร์มูล่า" }, { "docid": "160792#3", "text": "ระยะเวลาการตาย เป็นการค้นหาระยะเวลาการตายว่าผู้ตายตายมานานเท่าใด มีความสำคัญทางกฎหมายมากทั้งทางอาญาและทางแพ่ง ในทางกฎหมายอาญานอกจากจะสามารถช่วยบอกถึงเวลาของการฆาตกรรม ว่าเกิดขึ้นเมื่อใด แล้วยังมีส่วนช่วยเหลือในการตั้งข้อสงสัยใครหรือตัดผู้ต้องสงสัยคนใดออกได้ นอกจากนี้อาจใช้ช่วยยืนยันหรือหักล้างข้อแก้ตัวของผู้ต้องสงสัย ส่วนในทางกฎหมายแพ่งอาจจะช่วยบอกได้ว่าใครเป็นทายาทผู้รับมรดกหรืออื่น ๆ เช่น กรณีที่เกี่ยวข้องกับการรับเงินประกันชีวิต", "title": "การเปลี่ยนแปลงหลังการตาย" }, { "docid": "63859#5", "text": "งานวิจัยก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพบำบัด งานวิจัยทางกายภาพบำบัดฉบับแรก ถูกตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา เมื่อ เดือนมีนาคม ปี 1921 ใน The PT Review ในปีเดียวกันนั้น แมรี่ แมคมิลลาน ได้ก่อตั้ง สมาคมกายภาพบำบัด (ปัจจุบันคือ สมาคมกายภาพบำบัดแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ APTA) ในปี 1924 มูลนิธิ Georgia Warm Spring ได้สนับสนุนองค์กรนี้ โดยกล่าวว่า กายภาพบำบัดคือการรักษาสำหรับโรคโปลิโอ [9]", "title": "กายภาพบำบัด" }, { "docid": "63859#9", "text": "เพราะว่าองค์ความรู้ทางด้านกายภาพบำบัดนั้น ค่อนข้างกว้าง นักกายภาพบำบัดบางคนจึงต้องศึกษาเพิ่มเติมในขอบเขตที่ลึกลงไป ในขณะที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ทางกายภาพบำบัดให้ศึกษาหลากหลาย ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทางที่เป็นที่รู้จักดังนี้", "title": "กายภาพบำบัด" }, { "docid": "63859#23", "text": "ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา การรักษาทางกายภาพบำบัด เป็นหัวข้อที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ว่าขาดหลักฐานทางด้านการวิจัย[25] ช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 การสำรวจของนักกายภาพบำบัดชาวอังกฤษ และ ออสเตรเลีย พบว่าน้อยกว่า 5% ของผู้ตอบแบบสำรวจ ระบุว่า ได้อ่านงานวิจัยสม่ำเสมอและนำไปใช้เป็นแนวทางในการรักษา[26][27] แม้จะมีทรรศนะคติที่ดีมากต่อเรื่อง “เวชปฏิบัติอิงหลักฐาน'' (evidence based practice) แต่นักกายภาพบำบัดส่วนใหญ่ ก็ยังใช้หลักการรักษา ที่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนเพียงเล็กน้อย และแม้จะมีการเรียกร้องเป็นจำนวนมากให้มีการเปลี่ยนแปลงไปใช้ หลักฐานทางการวิจัยและหลักทางวิทยาศาสตร์ เป็นแนวทางในการต้ดสินใจรักษา แต่นักกายภาพบำบัดส่วนใหญ ก็ยังคงปฏิบัติตามหลักการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และเพื่อจะลบล้างข้อจำกัดนั้น สหพันธ์กายภาพบำบัดโลก (World confederation for physical therapy) (WCPT) สมาคมกายภาพบำบัดสหรัฐอเมริกา (APTA) และศาสตราจารย์จำนวนหนึ่ง ได้ใช้และรวบรวมแนว “เวชปฏิบัติตามแนวทางหลักฐานอ้างอิง” (evidence based practice) ไว้เป็นแหล่งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ [28]", "title": "กายภาพบำบัด" }, { "docid": "836603#2", "text": "กติกา จะเหมือนกันกับรูปแบบแรก แต่จะเพิ่มเติมรอบพิเศษคือ จะมีรอบคัดเลือกค้นหาผู้ท้าชิง ซิ่งกติกาก็คือ ว่าที่ผู้ท้าชิง จะต้องเอาเพลงมาดวลกันเช่นเดิม แต่รอบค้นหาผู้ท้าชิงจะต้องร้องเพลงเสียงสด โดยไม่มีดนตรี ซึ่งหลังจากการเป่ายิงฉุบเพื่อจัดลำดับการร้องก่อนหลังแล้ว ว่าที่ผู้ท้าชิงจะต้องร้องเพลงที่ตัวเองเลือกออกมา 1 ท่อน ซิ่งระหว่างร้องเพลง พิธีกรจำการจับเวลาด้วยเครื่อง Silder Auditon โดยการปล่อยลูกแก้ว หากลูกแก้วไหลจนสุดทาง จะต้องหยุดร้องทันที หลังจากร้องครบ 2 คน หากใครสามารถเอาชนะในรอบคัดเลือกหาผู้ท้าชิงได้ จะได้เป็นผู้ท้าชิงที่จะได้ไปดวลกับแชมป์ โดยผู้ท้าชิงจะต้องร้องเพลงเดิมที่ใช้ในการร้องในรอบคัดเลือกค้นหาผู้ท้าชิงในแมทช์นั้นทันที", "title": "ศึกวันดวลเพลง เด็ก" }, { "docid": "41061#0", "text": "คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดและเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการเรียนการสอนด้านกายภาพบำบัดในประเทศไทย และเป็นสถาบันที่ผลิตนักกายภาพบำบัดเป็นแห่งแรกของประเทศ ปัจจุบันเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี โท เอก และประกาศนียบัตรบัณฑิต ในสาขากายภาพบำบัด และหลักสูตรระดับปริญญาตรี ในสาขากิจกรรมบำบัด นับได้ว่าเป็นคณะที่มีบทบาทต่อการบริการสังคมมากที่สุดแห่งหนึ่ง\nคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170", "title": "คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล" }, { "docid": "63859#16", "text": "ในสหรัฐอเมริกา นักกายภาพบำบัด จะต้องจบการศึกษาจากสถาบันที่ได้รับการรับรองหลักสูตร ก่อนที่จะเข้ารับการสอบผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด (National licensing examination) กฎหมายแห่งชาติยังระบุด้วยว่า ให้นักกายภาพบำบัด ผ่าน การทดสอบข้อสอบกลาง (National Physical Examination) [19]ภายหลังจากการสำเร็จการศึกษาจากสถาบันที่ได้รับการรับรองหลักสูตร ก่อนที่จะเข้าทำการปฏิบัติกับผู้ป่วย กล่าวคือ นักกายภาพบำบัดที่จบในสหรัฐอเมริกา จะผ่านการสอบ เพื่อที่จะประกอบวิชาชีพ 2 ครั้ง นอกจากนี่ นักกายภาพบำบัด จะต้องยื่นใบสมัครต่อรัฐ ในแต่ละรัฐที่ทำการปฏิบัติต่อผู้ป่วยด้วย ซึ่งในแต่ระรัฐจะมีระเบียบข้อบังคับต่อนักกายภาพบำบัด ที่แตกต่างกันออกไป จากข้อมูลของ สมาคมกายภาพบำบัดสหรัฐอเมริกา (APTA) มีสถาบันที่ได้รับการรับรองหลักสูตร 210 แห่ง ในปี 2008 ในจำนวนนี้ 23 แห่งได้เปิดสอนระดับปริญญาโท และ 187 แห่งเปิดสอนหลักสูตร ดอกเตอร์ด้านกายภาพบำบัด (Doctor of Physical therapy หรือ DPT) และ หลักสูตรทั้งหมดของสหรัฐอเมริกากำลังเปลี่ยนเป็น DPT[20]", "title": "กายภาพบำบัด" }, { "docid": "333077#3", "text": "หลักสูตรกายภาพบำบัดบัณฑิต ได้ผ่านการรับรองจากสภากายภาพบำบัดเรียบร้อยแล้ว เน้นการผลิตนักกายภาพบำบัด ที่มีความรู้ความสามารถในการบริการสุขภาพแบบองค์รวมเชิงรุก การส่งเสริมสุขภาพของประชาชน การป้องกันการแกไข้ และการฟื้นฟูความเสื่อมสภาพ ความพิการโดยได้มีการเปิดรับนิสิตตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 เป็นต้นมา\nตัวอย่างอาชีพของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา ได้แก่\nนักกายภาพบำบัด ประจำโรงพยาบาลและหน่วยงานสาธารณสุข ศูนยศึกษาพิเศษเพื่อเด็กพิการ รวมถึงสถานส่งเสริมสุขภาพ สโมสรและทีมกีฬา สถาบันเสริมความงามต่างๆ ของภาครัฐและเอกชน นักกายภาพบำบัดอิสระ หรือเปิดคลินิกกายภาพบำบัด อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐและเอกชน นักวิชาการ นักวิจัย ประกอบธุรกิจอื่น เช่น ผู้แทนจำหน่ายเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์และทางกายภาพบำบัด", "title": "คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา" }, { "docid": "63859#17", "text": "ในออสเตรเลียเรียกนักกายภาพบำบัดว่า Physiotherapist มีหลักสูตรการศึกษาที่เปิดสอนต่างกัน ระดับปริญญาบัณฑิต ใช้เวลาศึกษา 4 ปี ประกอบด้วยการศึกษาวิชาทฤษฏีพื้นฐานที่สำคัญเช่น กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา ชีววิทยา ฟิสิกส์ จิตวิทยา วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว และ goniometry เป็นต้น หลังจากการศึกษาทฤษฏีต่างๆแล้วนักศึกษากายภาพบำบัด จะต้องศึกษา และฝึกปฏิบัติทางคลินิค ซึ่งจะเจาะจงไปในผู้ป่วยกลุ่ม ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ผู้ป่วยทางระบบประสาทกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยเด็ก ผู้ป่วยกลุ่มสูงวัย ผู้ป่วยระบบหลอดเลือดหัวใจและทรวงอก และผู้ป่วยสตรี โดยปรกติแล้วการฝึกปฏิบัตินั้น จะค่อยๆดำเนินไปตลอดภาคการศึกษา โดยนักศึกษาจะต้องเพิ่มพูนความชำนาญ และการระวังรักษามากขึ้นไปในตัวด้วย ในปีการศึกษาสุดท้ายจะมีการสอบปฏิบัติทางคลินิค เพื่อประเมินผล รวมไปถึงการทำงานวิจัยด้วย โดยปรกติ หลักสูตรจะเปิดสำหรับผู้ที่ไม่ได้ศึกษาระดับปริญญาตรีมาก่อน เมื่อจบการศึกษาแล้วจะได้วุฒิ กายภาพบำบัดบัณฑิต (Bachelor of Physiotherapy)", "title": "กายภาพบำบัด" }, { "docid": "63859#10", "text": "นักกายภาพบำบัดในระบบหลอดเลือดหัวใจและปอด จะรักษาผู้ป่วยทั้งหลาย ที่มีความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด หรือ ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจและปอด เป้าหมายหลัก และการทำหัตถการต่อผู้ป่วย ในส่วนนี้ (รวมไปถึงการเพิ่มความทนทานของการทำงาน และการใช้ชีวิตได้โดยอิสระของผู้ป่วย) คือ เพื่อระบายของเสียออกจากปอด ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยที่เป็น Cystic fibrosis หรือ ผังผืดที่ถุงลม (โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากมีเสมหะเหนียวแห้ง), ผู้ป่วยที่มีความผิดปรกติที่ระบบหัวใจ รวมถึง หัวใจวาย, ผู้ป่วยหลังทำการผ่าตัดเปลี่ยนทางเดินหลอดเลือดหัวใจ (CABG) หรือ Bypass, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือ COPD, Pulmonary fibrosis หรือ พังผืดเกาะในปอด คือตัวอย่างส่วนหนึ่ง สำหรับผู้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านกายภาพบำบัดระบบหัวใจและหลอดเลือด", "title": "กายภาพบำบัด" }, { "docid": "63859#12", "text": "กายภาพบำบัดทางด้านระบบประสาท จะดูแลเฉพาะเจาะจงลงไปในผู้ป่วยแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นผู้ที่มีภาวะโรค หรือ ความผิดปรกติทางระบบประสาท ทั้งหมดนี้รวมถึง โรคอัลไซเมอร์, โรคที่สมองได้รับการกระทบกระเทือน,โรคสมองพิการแต่กำเนิด, มัลติเพิล สเคอร์โรซิส (โรคที่เกิดกับระบบประสาทส่วนกลาง แล้วส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง), โรคพาร์กินสัน, การบาดเจ็บของเส้นประสาทหลัง, Stroke ปัญหาหลักๆของผู้ป่วยที่มีภาวะโรคเกี่ยวกับระบบประสาท รวมทั้ง ภาวะอ่อนแรง (Paralysis) คือ การสูญเสียรูปแบบการทำงานที่เคยทำเองได้ นักกายภาพบำบัดที่ทำการรักษา จะทำการเพิ่มพัฒนาการในส่วนที่เสียไป", "title": "กายภาพบำบัด" }, { "docid": "63859#22", "text": "ภายหลังจากจบหลักสูตรแล้ว นักศึกษาจะต้องผ่านการสอบประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดต่อสภากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย จึงจะมีสิทธิเข้าทำการให้การรักษาหรือฟื้นฟูต่อผู้ป่วยด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด และสามารถใช้คำนำหน้าชื่อ กภ. ในการปฏิบัติงานได้[24]", "title": "กายภาพบำบัด" }, { "docid": "63859#7", "text": "ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสำหรับกายภาพบำบัดในสหรัฐอเมริกา เริ่มขึ้นในปี 1974 ในสาขาของ ออร์โธปิดิกส์ หน่วยงานใน APTA ก็ได้รวมตัวเพื่อนักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่อง ออร์โธปิดิกส์ ในปีเดียวกัน ได้เกิด สหพันธ์ออร์โธปิดิกส์หัตถการนานาชาติ (the International Federation of Orthopedic Manipulative Therapy) ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับ หัตถการขั้นสูงนับตั้งแต่นั้นมา [12] ในช่วงทศวรรษที่ 1980 เกิดการตื่นตัวทางทางด้านเทคโนโลยีและ คอมพิวเตอร์ ทำให้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆมากขึ้นสำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพ จากผลของความก้าวหน้านี้ ก่อให้เกิดเครื่องมือการรักษาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ยกตัวอย่างเช่น เครื่องกำเนิดคลื่นเหนือเสียง หรือ Ultrasound, เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า, เครื่องผลักประจุไฟฟ้า iontophoresis, และล่าสุดคือ การรักษาด้วยเลเซอร์เย็น ซึ่งผ่านการรับรองโดยองค์การอาหารและยา ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2002 [13]", "title": "กายภาพบำบัด" }, { "docid": "150251#2", "text": "ส่วนการได้รับอนุญาตให้เป็นนักกายภาพบำบัดนั้น เนื่องจากว่าเขาเรียนมาจากโรงพยาบาลกาย วิทยาลัยแห่งวิชากายภาพบำบัดในช่วงปี 1983 ถึง 1986 เขาจบปริญญาตรี (hons) ในสาขาชีววิทยาและอนุปริญญาสาขากายภาพบำบัด เขาเป็นสามาชิกของวิทยาลัยแห่งกายภาพบำบัดการกีฬา และเป็นสมาชิกของสมาคมนักกายภาพบำบัดอาชีพแห่งรัฐอีกด้วย เขามีความเชี่ยวชาญด้านเอ็นร้อยหวายอย่างมาก เนื่องจากว่าเคยมีประสบการณ์กับโทนี อดัมส์ หรือแม้แต่เคยเป็นที่ปรึกษาให้กับนักกายภาพบำบัดของสโมสรฟุตบอลเบอร์มิงแฮมในช่วงที่เดวิด ดันน์ได้รับบาดเจ็บอยู่บ่อย ๆ ด้วย", "title": "แกรี่ เลวิน" }, { "docid": "63859#20", "text": "จุดเริ่มต้นของเวชศาสตร์ฟิ้นฟูในประเทศไทยนั้น เริ่มต้นขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยพลตรีนายแพทย์ขุนประทุมโรคประหาร ซึ่งปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ได้นำวิธีธาราบำบัดมาใช้รักษาผู้ป่วยเป็นครั้งแรก ต่อมา ก็ได้มีการส่งแพทย์ชาวไทยเพื่อไปเรียนด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูที่ประเทศสหรัฐอเมริกาหลายคน แต่ด้วยปัญหาด้านการจัดหาทุนจึงได้ระงับโครงการไปชั่วคราว ต่อมาเริ่มงานทางด้านกายภาพบำบัดขึ้นที่โรงพยาบาลศิริราช และได้ก่อตั้งเป็นภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด ขึ้นที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เมื่อปี พ.ศ. 2507 และหลังจากนั้นเพียง 1 ปี ก็มีการก่อตั้งโรงเรียนกายภาพบำบัด สังกัดภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด ขึ้นในปี พ.ศ. 2508 ที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในขณะนั้น แห่งแรกของประเทศขึ้น และพัฒนาจนเป็นคณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์ และปัจจุบัน คือ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล [22]", "title": "กายภาพบำบัด" }, { "docid": "63859#6", "text": "การรักษา ในช่วงทศวรรษที่ 1940 มีหลักที่ประกอบไปด้วย การออกกำลัง การนวด และการดึง ในช่วงต้นของทศวรรษที่ 1950 วิธีการใช้มือกดหรือทำการเคลื่อนไหวโดยตรง (Manipulation) ลงบนกระดูกสันหลัง และข้อต่อของกระดูกระยางค์ ได้ถูกนำมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศเครือจักรภพอังกฤษ[10][11] ในช่วง 10 ปีหลังจากนั้น นักกายภาพบำบัด ได้เริ่มมีบทบาทในโรงพยาบาล สำหรับผู้ป่วยนอก ในส่วนของคลินิคผู้ป่วยทางออโธปิดิกส์, โรงเรียนรัฐบาล, วิทยาลัย/มหาวิทยาลัย, การดูแลผู้สูงวัย, ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู, โรงพยาบาล, และศูนย์การแพทย์", "title": "กายภาพบำบัด" }, { "docid": "265692#8", "text": "กายภาพบำบัดได้ถูกออกแบบให้ผู้สูงวัยได้พัฒนาศักยภาพทางด้านนี้ เช่นการทรงตัว ซึ่งเปรียบเสมือนการที่นั่งวิ่งพยายามเพิ่มความเร็วในการวิ่งต่อหนึ่งรอบ กายภาพบำบัดนั้นจำต้องจดจ่อที่จะพัฒนาส่วนใดส่วนหนึ่ง แต่ทางวิทยศาสตร์ก็สามารถบอกได้น้อยมากว่าควรพัฒนาส่วนไหนของร่างกาย สมัยนี้คนดูแลส่วนมากจึงเล็งที่จะพัฒนาด้านการเดินและการทรงตัวแทน การวิจัยในปัจจุบันเผยว่าการพัฒนาศักยภาพของหลังและ ความเร็วของข้อพับเป็นอีกส่วนสำคัญของการเพิ่มสภาพคล่อง", "title": "การดูแลผู้สูงวัย" }, { "docid": "63859#1", "text": "กายภาพบำบัด จะกระทำโดย นักกายกายภาพบำบัด (Physical therapist หรือ Physiotherapist หรือย่อว่า PT) หรือผู้ช่วยนักกายภาพบำบัด (Physical Therapy Assistant) ภายใต้การดูแลและแนวทางของนักกายภาพบำบัด [1] อย่างไรก็ตาม ได้มีการใช้การรักษาทางกายภาพบำบัดบางอย่างโดยผู้ประกอบวิชาชีพสุขภาพอื่นๆ เช่น ไคโรแพรคเตอร์ , แพทย์ทางด้านการจัดกระดูก และโปรแกรมการรักษาทางกายภาพบำบัด ยังเกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการสาธารณสุขอื่นๆอีกด้วย[2]", "title": "กายภาพบำบัด" }, { "docid": "63859#19", "text": "ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. 2547 ได้ให้ความหมายของวิชาชีพกายภาพบำบัดไว้ว่า \"เป็นวิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจประเมิน การวินิจฉัย และการบำบัดความบกพร่องของร่างกาย ซึ่งเกิดเนื่องจากภาวะของโรคหรือการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติ การป้องกัน การแก้ไขและการฟื้นฟูการเสื่อมสภาพความพิการของร่างกาย รวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจ ด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด หรือการใช้อุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด\" [21]", "title": "กายภาพบำบัด" }, { "docid": "63859#3", "text": "นักกายภาพบำบัด ปฏิบัติงานในหลายลักษณะงาน เช่น ในส่วนของผู้ป่วยนอก คลินิค หรือสำนักงาน, แผนกผู้ป่วยใน เกี่ยวกับเวชกรรมฟื้นฟู, ผู้ป่วยที่ทำการฟื้นฟูอยู่บ้าน, วงการการศึกษา หรือศูนย์วิจัย, โรงเรียน, สถานพักฟื้น,โรงงานอุตสาหกรรม,ศูนย์ฟิตเนส และ สถานการฝึกสอนนักกีฬา [4]", "title": "กายภาพบำบัด" }, { "docid": "22657#8", "text": "โคลอมโบลงความเห็นว่า \"ตั้งแต่ไม่มีใครได้มองไปถึงการทำงานเหล่านี้ ถ้าอาจจะมีชื่อของสิ่งที่ข้าค้นพบ ขอเรียกว่า ความรักหรือความงามแห่งวีนัส\" คำอ้างนี้ถูกค้านโดยกาเบรียล ฟอลลอพพิโอ ผู้ค้นพบท่อนำไข่ ซึ่งเป็นศิษย์ของโคลัมโบที่พาดัว โดยอ้างว่าเขาเป็นคนแรกที่ค้นพบคลิตอริส", "title": "ปุ่มกระสัน" }, { "docid": "63859#11", "text": "กายภาพบำบัดในผู้สูงวัย (Geriatric) ครอบคลุมขอบเขตที่กว้างขวาง เกี่ยวข้องกับคนในทุกช่วงอายุ แต่มักจะเน้นไปที่ผู้สูงวัย ซึ่งมีหลากหลายสภาวะที่เกิดเมื่อคนก้าวเข้าสู่วัยชรา ตัวอย่างเช่น โรคข้ออักเสบ ภาวะกระดูกบาง มะเร็ง โรคอัลไซเมอร์ การเปลี่ยนข้อสะโพก และข้อต่ออื่นๆ ภาวะการสูญเสียการทรงตัว การกลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่อยู่ เป็นต้น กายภาพบำบัดในผู้สูงวัย จะช่วยผู้ป่วยในภาวะที่กล่าวมา เช่น การให้โปรแกรมพิเศษที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น ลดอาการปวด และเพิ่มสมรรถภาพทางร่างกาย", "title": "กายภาพบำบัด" }, { "docid": "27944#14", "text": "คณะสหเวชศาสตร์ ประกอบด้วย 5 ภาควิชา เปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีใน 4 สาขาวิชาชีพ ได้แก่ เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด โภชนาการและการกำหนดอาหาร และรังสีเทคนิค โดยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด ได้ผ่านการรับรองจากสภาเทคนิคการแพทย์และสภากายภาพบำบัดเป็นที่เรียบร้อยแล้วทำให้บัณฑิตสามารถขอขึ้นทะเบียนสอบและขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวได้ ", "title": "คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "63859#13", "text": "นักกายภาพบำบัดระบบกล้ามเนื้อกระดูก หรือนักกายภาพบำบัดออโธปิดิกส์ จะทำการวินิจฉัย จัดการรักษา ภาวะที่เกิดความผิดปรกติ หรือบาดเจ็บในส่วนของระบบกล้ามเนื้อกระดูก รวมไปถึงการฟื้นฟูในผู้ป่วย ภายหลังการทำศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ นักกายภาพบำบัดที่เชี่ยวชาญด้านนี้ มักจะปฏิบัติงานที่ คลินิคผู้ป่วยนอก และทำการรักษาผู้ป่วยหลังผ่าตัดข้อ,การบาดเจ็บเฉียบพลันจากกีฬา, ข้อเสื่อม, ผู้ที่ทำการตัดแขนขา, การขยับ หรือเคลื่อนข้อต่อ, การฝึกเพื่อเพิ่มความแข็งแรง, ประคบร้อน/เย็น, กระตุ้นไฟฟ้า (เช่น ความเย็นรักษา, ไอออนโตโฟเรซีส, ไฟฟ้าวินิจฉัยและรักษา[14]) นอกจากนั้น การรักษาฉุกเฉินทางกายภาพบำบัดยังใช้ ภาพสะท้อนจากเสียง (เช่น Ultrasound) เพื่อช่วยประกอบแนวทางในการรักษา เช่นในกรณีของ กล้ามเนื้อหดตัวฉับพลัน [15][16][17][18] ผู้ที่ได้รับความเจ็บปวดจากการบาดเจ็บ หรือโรค ที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อ กระดูก เส้นเอ็น จะได้รับการตรวจรักษาโดยนักกายภาพบำบัดทางออโธปิดิกส์", "title": "กายภาพบำบัด" }, { "docid": "63859#14", "text": "กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเด็ก ช่วยการตรวจหาปัญหาสุขภาพตั้งแต่แรกเริ่ม และใช้รูปแบบที่กว้างและหลากหลายในการรักษความผิดปกติในประชากรเด็ก นักกายภาพบำบัดเด็ก จะมีความชำนาญเป็นพิเศษในการวินิจฉัย ให้การรักษา และการจัดการในเด็กทารก เด็ก และวัยรุ่น เกี่ยวกับ ภาวะที่ผิดปกติตั้งแต่กำเนิดทั้งหลาย การพัฒนาการ ระบบกล้ามเนื้อประสาท ระบบกระดูก และภาวะโรคหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลังจากการคลอดแล้ว การรักษาจะมุ่งเน้นไปที่ การเพิ่มทักษะเกี่ยวกับการควบคุมกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และมัดเล็ก การทรงตัวและความสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อ รวมไปถึงการแปลผลทางการรับรู้ การรับสัมผัส ผู้ป่วยส่วนหนึ่งของนักกายภาพบำบัดในเด็ก คือเด็กที่มีการพัฒนาการล่าช้า, สมองพิการแต่กำเนิด, Spina bifida (ความผิดปกติที่เกิดจากการสร้างหลอดประสาทที่ไม่สมบูรณ์), Torticollis", "title": "กายภาพบำบัด" } ]
2363
บรรพบุรุษของกระซู่คืออะไร?
[ { "docid": "87409#5", "text": "กระซู่มีสามสปีชีส์ย่อย:\nบรรพบุรุษของแรดได้วิวัฒนาการแยกตัวออกจากสัตว์กีบคี่อื่นครั้งแรกในสมัยตอนต้นยุคแรกเริ่มที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมถือกำเนิดขึ้นมา (Eocene) การเปรียบเทียบทางไมโตคอนเดรียดีเอ็นเอ (Mitochondrial DNA) แสดงว่าบรรพบุรุษของแรดในปัจจุบันแยกตัวจากบรรพบุรุษของม้าราว ๆ 50 ล้านปีมาแล้ว ในวงศ์ที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน แรดปรากฏขึ้นครั้งแรกในตอนปลายยุคอีโอซีนในทวีปยูเรเชีย และบรรพบุรุษของแรดในปัจจุบันมีการกระจายพันธุ์จากเอเชียในยุคไมโอซีน (Miocene)", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#13", "text": "การวิเคราะห์ทางพันธุศาสตร์ในประชากรของกระซู่สามารถระบุเชื้อสายทางพันธุกรรมที่ต่างกันได้สามสาย ช่องแคบระหว่างสุมาตราและมาเลเซียไม่เป็นอุปสรรคต่อกระซู่เหมือนกับภูเขาบารีซัน (Barisan) ดังนั้นกระซู่ในสุมาตราตะวันออกและมาเลเซียตะวันตกจึงมีความใกล้ชิดกันมากกว่ากระซู่ในอีกด้านของภูเขาในสุมาตราตะวันตก กระซู่ในสุมาตราตะวันออกและมาเลเซียแสดงความแตกต่างทางด้านพันธุกรรมเพียงเล็กน้อย ซึ่งหมายถึงประชากรไม่ได้แยกจากกันในสมัยไพลสโตซีน อย่างไรก็ตามประชากรกระซู่ทั้งในสุมาตราและมาเลเซียที่มีความใกล้เคียงกันในทางพันธุกรรมมากจนสามารถผสมพันธุ์กันได้อย่างไม่เป็นปัญหา กระซู่ในบอร์เนียวนั้นต่างออกไปเป็นพิเศษว่าเพื่อการอนุรักษ์ความผันแปรของพันธุกรรมควรจะฝืนผสมข้ามกับเชื้อสายประชากรอื่น เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีการศึกษาการอนุรักษ์ความผันแปรของพันธุกรรมโดยศึกษาความหลากหลายของจีนพูล (gene pool) ในประชากรโดยการระบุบไมโครแซททัลไลท์ โลไซ (microsatellite loci) ผลทดสอบในเบื้องต้นพบว่าเมื่อเปรียบเทียบระดับของความหลากหลายในประชากร กระซู่นั้นมีความหลากหลายน้อยกว่าแรดแอฟริกาที่ใกล้สูญพันธุ์ แต่ความหลากหลายทางพันธุกรรมของกระซู่ยังคงต้องมีการศึกษาต่อไป", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#6", "text": "กระซู่มีลักษณะที่ได้รับมาจากบรรพบุรุษสมัยไมโอซีนน้อยที่สุดในบรรดาแรดด้วยกัน ในการศึกษาหลักฐานทางบรรพชีวินวิทยาในอายุซากดึกดำบรรพ์สกุล \"Dicerorhinus\" อยู่ในตอนต้นยุคไมโอซีนหรือประมาณ 23–16 ล้านปีมาแล้ว ข้อมูลทางโมเลกุลแสดงว่า \"Dicerorhinus\" แยกจากสปีชีส์อื่นย้อนไปไกลถึง 25.9 ± 1.9 ล้านปี มีสมมุติฐานสามข้อที่ความสัมพันธ์ระหว่างกระซู่กับแรดชนิดอื่น ข้อหนึ่งกระซู่เป็นญาติใกล้ชิดกับแรดขาวและแรดดำหลักฐานก็คือแรดทั้งสองชนิดมีสองนอ กลุ่มที่สอง นักอนุกรมอื่น ๆ คิดว่ากระซู่มีลักษณะคล้ายคลึงกับชนิดที่เป็นพี่น้องคือแรดชวาเพราะการกระจายพันธุ์ซ้อนทับกันมาก กลุ่มสุดท้ายที่เพิ่งมีการวิเคราะห์เมื่อเร็ว ๆ นี้เสนอว่าแรดแอฟริกาสองชนิด แรดเอเชียสองชนิด และกระซู่ แสดงให้เห็นถึงเชื้อสายที่แยกเป็นสามสายเมื่อประมาณ 25.9 ล้านปีมาแล้ว ด้วยเหตุนี้จึงไม่ชัดเจนเหมือนดังที่แยกไว้ในตอนแรก", "title": "กระซู่" } ]
[ { "docid": "87409#2", "text": "กระซู่เป็นสัตว์สันโดษมักอยู่เพียงลำพังตัวเดียวยกเว้นช่วงจับคู่ผสมพันธุ์และเลี้ยงดูลูกอ่อน กระซู่เป็นแรดที่เปล่งเสียงร้องมากที่สุดการสื่อสารของกระซู่ยังรวมถึงการทำร่องรอยด้วยเท้า บิดงอไม้หนุ่มเป็นรูปแบบต่าง ๆ และการถ่ายมูลและละอองเยี่ยว มีการศึกษาในกระซู่มากกว่าแรดชวาซึ่งเป็นสัตว์สันโดษเหมือนกัน เพราะโปรแกรมที่นำกระซู่ 40 ตัวมาสู่กรงเลี้ยงที่มีเป้าหมายเพื่ออนุรักษ์สปีชีส์นี้ไว้ ในตอนแรกโปรแกรมนี้ถือว่าประสบความล้มเหลว มีกระซู่ตายจำนวนมากและไม่มีการให้กำเนิดลูกกระซู่เลยเกือบ 20 ปี การสูญเสียกระซู่ในโปรแกรมมากกว่าการสูญเสียกระซู่ในป่าเสียอีก", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#18", "text": "อาหารของกระซู่มีใยอาหารสูงและมีโปรตีนพอสมควร ดินโป่งเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของกระซู่ โป่งอาจเป็นบริเวณเล็ก ๆ ที่มีน้ำเกลือหรือโคลนภูเขาไฟไหลซึมออกมา ดินโป่งยังมีความสำคัญของวัตถุประสงค์ทางสังคมสำหรับกระซู่เพศผู้จะมาที่โป่งและจับกลิ่นกระซู่เพศเมียที่เป็นสัด อย่างไรก็ตาม กระซู่บางตัวนั้นอาศัยอยู่ในที่ ๆ ไม่มีโป่งหรืออาจเป็นเพราะกระซู่ตัวนั้นไม่สนใจจะใช้ดินโป่งก็เป็นได้ กระซู่อาจได้แร่ธาตุสำคัญที่ต้องการจากการกินพืชที่มีแร่ธาตุนั้นแทน", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#28", "text": "นอกจากกระซู่สองสามตัวในสวนสัตว์และภาพในหนังสือแล้ว กระซู่เป็นที่รู้จักน้อยมาก มักถูกข่มให้ด้อยลงด้วยแรดอินเดีย แรดดำ และแรดขาว อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็ว ๆ นี้ คลิปวิดีโอของกระซู่ในถิ่นอาศัยตามธรรมชาติและในศูนย์เพาะพันธุ์ได้ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์สารคดีธรรมชาติหลายเรื่อง ภาพยนตร์ที่แพร่หลายคือภาพยนตร์สารคดีภูมิศาสตร์เอเชีย \"The Littlest Rhino (แรดน้อย)\" Natural History New Zealand (ธรรมชาติประวัติศาสตร์นิวซีแลนด์) ได้ฉายภาพยนตร์เกี่ยวกับกระซู่ที่ถ่ายโดยตากล้องอิสระเชื้อสายอินโดนีเซีย อาไลน์ โจมโปส์ต (Alain Compost) ในสารคดีปี พ.ศ. 2544 \"The Forgotten Rhino (แรดที่ถูกลืม)\" ซึ่งมีเนื้อเรื่องหลักเป็นแรดชวาและแรดอินเดีย", "title": "กระซู่" }, { "docid": "87409#15", "text": "มีช่องทางเพียงเล็กน้อยที่จะศึกษาถึงระบาดวิทยาในกระซู่ มีรายงานว่าแมลงดูดกินเลือดเป็นอาหาร เช่น หมัด ไร เห็บ และแมลงวันตัวเบียนในสกุล \"gyrostigma\" เป็นสาเหตุการตายของกระซู่ในกรงเลี้ยงในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นที่รู้กันว่ากระซู่เป็นโรคพยาธิในเลือดได้ง่ายซึ่งมีตัวเหลือบเป็นพาหะนำปรสิตจำพวก trypanosome มา ในปี ค.ศ. 2004 กระซู่ห้าตัวในศูนย์อนุรักษ์กระซู่ตายภายใน 18 วันหลังจากติดโรค กระซู่ไม่มีศัตรูทางธรรมชาติอื่นนอกจากมนุษย์ เสือโคร่งและหมาป่าอาจสามารถล่าลูกกระซู่ได้ แต่ลูกกระซู่จะอยู่กับแม่ตลอดเวลา ความถี่ของการถูกล่าจึงไม่อาจเป็นที่ทราบได้ ถึงแม้กระซู่จะมีอาณาเขตซ้อนทับกับช้างและสมเสร็จแต่สัตว์เหล่านี้ไม่ปรากฏการแข่งขันกันทางด้านอาหารและถิ่นอาศัย ช้างและกระซู่จะใช้ด่านร่วมกัน สัตว์เล็ก ๆ อย่างกวาง หมูป่า และหมาป่า ก็จะใช้ด่านที่กระซู่และช้างสร้างขึ้นด้วยเช่นกัน", "title": "กระซู่" }, { "docid": "233101#3", "text": "ตรงกลางแผงเป็นภาพร่างของพระเยซูถูกแบบไปยังที่บรรจุพระศพ ชายที่มีหนวดที่อยู่ข้างหลังคือโจเซฟแห่งอาริมาเธียผู้ยกที่เก็บศพของตนเองให้เป็นที่เก็บร่างพระ เยซู บุคคลทางซ้ายที่สวมเสื้อยาวสีส้มแดงของภาพอาจจะเป็นนักบุญจอห์น และผู้ที่คุกเข่าคือนักบุญแมรี แม็กดาเลน บุคคลอีกสองคนในภาพไม่ทราบว่าเป็นใคร บ้างก็เสนอว่าผู้อยู่ด้านในคือนิโคเดอมัส (Nicodemus) และสตรีอีกผู้หนึ่งคือแมรี ซาโลเม ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในภาพคือพระแม่มารี", "title": "บรรจุร่างพระเยซู (มีเกลันเจโล)" }, { "docid": "87409#21", "text": "การศึกษาการสืบพันธุ์ของกระซู่เกิดขึ้นในกรงเลี้ยง เมื่อกระซู่อยู่ในช่วงจับคู่จะเริ่มมีพฤติกรรมเปล่งเสียงร้องมากขึ้น ชูหางขึ้น ถ่ายปัสสาวะ มีการสัมผัสทางร่างกายมากขึ้นโดยทั้งเพศผู้และเมียจะใช้จมูกชนสัมผัสฝ่ายตรงข้ามบริเวณศีรษะและอวัยวะเพศ รูปแบบการขอความรักนี้จะคล้ายกับแรดดำ กระซู่หนุ่มเพศผู้มักก้าวร้าวกับเพศเมีย บางครั้งอาจเกิดการบาดเจ็บหรือตายได้ในระหว่างการจับคู่ ในธรรมชาติกระซู่เพศเมียสามารถวิ่งหนีจากเพศผู้ที่ก้าวร้าวได้ในกรณีแบบนี้ แต่ในกรงเลี้ยงมันไม่สามารถทำได้ การที่เพศเมียไม่สามารถวิ่งหนีได้นี้เองอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อัตราความสำเร็จในการขยายพันธุ์กระซู่ในกรงเลี้ยงต่ำ", "title": "กระซู่" }, { "docid": "117890#16", "text": "โกลด์ (Gore) และ ไบรท์ (Burai)\nมนุษย์สายพันธุ์ใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นมาพร้อมกับโก เพื่อใช้ในการขึ้นขับชินดราก็อนเมื่อมันถูกพัฒนาจนเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งเป็นโคลนนิ่งของเรียวมะและฮายาโตะ ทว่าเกิดการผิดพลาดในการพัฒนาการในตนเองจึงทำให้เกิดอาการผิดปกติและกาวร้าวรุ่นแรง (จากภาคมังงะและภาคดั่งเดิม โกลด์ (Gore) เป็นราชาจักวรรดิไดโนเสาร์และ ไบรท์ (Burai) เป็นราชาจักวรรดิฮัคกิ)", "title": "เก็ตเตอร์โรโบ ศึกวันอวสานโลก" } ]
2061
ภาพยนตร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ภาค1 มีชื่อตอนว่าอะไร?
[ { "docid": "4336#13", "text": "เมื่อเรื่องราวของแฮร์รี่ พอตเตอร์เปิดฉากขึ้น เป็นที่แน่ชัดว่ามีเหตุการณ์บางอย่างที่สำคัญเกิดขึ้นในโลกพ่อมด แม้แต่มักเกิลเองก็ยังสังเกตเห็นสัญญาณบางอย่างได้ เบื้องหลังทั้งหมดของเรื่องและบุคลิกของแฮร์รี่ พอตเตอร์ค่อย ๆ เปิดเผยออกมาตลอดทั้งเรื่อง ในแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ โดยแฮร์รี่ได้ค้นพบว่า เมื่อครั้งเป็นเด็ก เขาได้เป็นพยานการฆาตกรรมบิดามารดาของตนโดยพ่อมดมืดผู้หลงใหลในอำนาจ ลอร์ดโวลเดอมอร์ ผู้ซึ่งขณะนั้นพยายามฆ่าเขาด้วยเช่นกัน[19] ด้วยเหตุผลที่ยังไม่เปิดเผยในทันที คาถาที่โวลเดอมอร์พยายามปลิดชีพแฮร์รี่สะท้อนกลับไปยังตัวเขาเอง แฮร์รี่รอดชีวิตโดยหลงเหลือแผลเป็นรูปสายฟ้าบนหน้าผากเป็นอนุสรณ์ถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น และโวลเดอมอร์ได้หายสาบสูญไป ด้วยการเป็นวีรบุรุษโดยไม่ได้ตั้งใจจากการสิ้นสุดยุคสมัยแห่งความหวาดกลัวของโวลเดอมอร์ แฮร์รี่ได้กลายมาเป็นตำนานมีชีวิตในโลกพ่อมด อย่างไรก็ดี ด้วยคำสั่งของพ่อมดผู้ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียง อัลบัส ดัมเบิลดอร์ แฮร์รี่ซึ่งกำพร้าพ่อแม่ ถูกทิ้งไว้ในบ้านของญาติมักเกิลผู้ไม่น่าพิสมัยของเขา ครอบครัวเดอร์สลีย์ พวกเดอร์สลีย์ให้ความคุ้มครองเขาให้ปลอดภัยแต่ปกปิดพลังที่แท้จริงจากเขาด้วยหวังว่าเขาจะเติบโตขึ้น \"อย่างปกติ\"[19]", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" } ]
[ { "docid": "898311#19", "text": "\"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2\" ถูกประกาศเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2008 ว่าจะเป็นตอนที่สองของภาพยนตร์ต่อจาก \"เครื่องรางยมทูต ภาค 1\" เยตส์และโคลฟส์ทำหน้าที่กำกับและเขียนบทเช่นเดิม โดยโคลฟส์เริ่มงานเขียนบทในภาคที่สองเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2009 หลังเขียนบทภาคแรกเสร็จ \"เครื่องรางยมทูต ภาค 2\" นั้นถ่ายทำร่วมกับ \"เครื่องรางยมทูต ภาค 1\" ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 ถึง 12 มิถุนายน ค.ศ. 2010 โดยถือว่าเป็นการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องเดียว มีการยืนยันว่าจะมีการถ่ายซ่อมช่วงต้นฤดูหนาวปี ค.ศ. 2010 สำหรับฉากสุดท้ายและฉากส่งท้ายของภาพยนตร์ ซึ่งแต่เดิมนั้นจะถ่ายทำที่ สถานีรถไฟลอนดอนคิงส์ครอส แต่ถ่ายทำที่ลิฟส์เดนสตูดิโอแทนเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2010 เป็นการปิดฉากของภาพยนตร์ชุด \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" ที่ดำเนินการถ่ายทำมาตลอดสิบปี", "title": "โลกเวทมนตร์" }, { "docid": "338365#5", "text": "ภายในฤดูใบไม้ร่วงปี 2001 ทอมก็เริ่มเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกใน บทบาท เดรโก มัลฟอย เด็กชายอันธพาลที่เป็นคู่อริกับ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ใน ภาพยนตร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับ ศิลาอาถรรพ์ หลังจากนั้นทอมก็ได้ร่วมแสดงในทุกภาคของแฮร์รี่ พอตเตอร์ จนถึงปี 2009", "title": "ทอม เฟลตัน" }, { "docid": "197283#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ () เป็นภาพยนตร์แนวแฟนตาซีออกฉายเมื่อ ค.ศ. 2002 กำกับโดย Chris Columbus และจัดจำหน่ายโย Warner Bros. Pictures ดัดแปลงจากนวนิยายชื่อเดียวกันของ J. K. Rowling ซึ่งเคยตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1998 เป็นภาคต่อของ \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์\" (2001) และเป็นภาพยนตร์ลำดับที่ 2 ในชุดภาพยนตร์\"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" เป็นผลงานการเขียนบทของ Steve Kloves และอำนวยการสร้างโดย David Heyman เล่าเรื่องการผจญภัยของแฮร์รี่ พอตเตอร์ ในปีที่สองของการศึกษาในโรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ ซึ่งทายาทของซัลลาซาร์ สลิธีริน ได้เปิดห้องแห่งความลับ และปลดปล่อยสัตว์ร้ายภายในออกมาทำให้ผู้คนในโรงเรียนกลายเป็นหิน นำแสดงโดย Daniel Radcliffe รับบทแฮร์รี่ พอตเตอร์ Rupert Grint รับบทรอน วีสลีย์ และ Emma Watson รับบทเฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ นอกจากนี้ยังเป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่ Richard Harris มารับบทเป็นศาสตราจารย์อัลบัส ดัมเบิลดอร์ ก่อนที่จะเสียชีวิตในปีเดียวกันกับที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉาย", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "4336#43", "text": "ความสำเร็จของนวนิยายชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้สร้างความมั่งคั่งให้แก่ เจ. เค. โรว์ลิง ผู้ประพันธ์ ตลอดไปจนถึงสำนักพิมพ์และผู้ถือสิทธิ์ด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ทั้งหมด โรว์ลิงได้รับผลตอบแทนมากจนกระทั่งนับได้ว่าเป็นนักเขียนเพียงคนเดียวที่ติดอันดับ \"มหาเศรษฐี\" ของโลก[80] มีการจำหน่ายหนังสือไปแล้วกว่า 400 ล้านเล่มทั่วโลก และช่วยนำกระแสนิยมให้แก่ภาพยนตร์ชุดดัดแปลงโดย วอร์เนอร์บราเธอร์ส ด้วย ภาพยนตร์ดัดแปลงในแต่ละตอนต่างประสบความสำเร็จไปตามกัน สามารถติดอันดับเป็นภาพยนตร์ทำเงินตลอดกาลในทุกภาคที่เข้าฉาย[81][82] ชุดภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นได้รับการต่อยอดไปสู่รูปแบบวิดีโอเกมและสินค้าจดลิขสิทธิ์กว่า 400 รายการ ซึ่งมูลค่าโดยประมาณของแบรนด์แฮร์รี่ พอตเตอร์นั้นมีมูลค่าสูงกว่ากว่า 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] ทำให้โรว์ลิงกลายเป็นมหาเศรษฐีระดับพันล้าน[83] ในรายงานเปรียบเทียบบางแห่งยังกล่าวว่าเธอร่ำรวยกว่าสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเสียอีก[84][85] ทว่าโรว์ลิงชี้แจงว่าเรื่องนี้ไม่เป็นความจริง[86]", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "381610#2", "text": "ภาพยนตร์เปิดตัวด้วยการยกย่องสนับสนุนทันที และปัจจุบันกำลังเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ได้รับเสียงตอบรับดีที่สุดในปี พ.ศ. 2554 ในบ็อกซ์ออฟฟิศ ภาค 2 กำลังทำลายสถิติในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา รวมทั้งภาพยนตร์ทำรายได้เปิดตัวสูงสุดตลอดกาลที่ 43.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในวันเปิดตัวที่ 91 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในสัปดาห์เปิดตัวที่ 169.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ยังได้ทำลายสถิติสัปดาห์เปิดตัวทั่วโลก เช่นเดียวกับสถิติวันเปิดตัวในสหราชอาณาจักร ออสเตรเลียและอีกหลายประเทศ อีกทั้งยังเป็นภาพยนตร์ชุดเดียวในชุดแฮรี่ พอตเตอร์ที่ทำรายได้เกิน 1 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาลเป็นลำดับที่ 3 จึงนับได้ว่า ภาพยนตร์ตอนดังกล่าวประสบความสำเร็จในด้านรายได้และการเปิดตัวที่สุดในบรรดาภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2" }, { "docid": "209544#0", "text": "เดวิด เยตส์ เกิดปี ค.ศ. 1963 เป็นผู้กำกับภาพยนตร์จากประเทศอังกฤษ มีผลงานแรกในการกำกับภาพยนตร์คือเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ เขาได้มากำกับภาพยนตร์ในภาคที่5,6และ7ทั้งสองตอน ถึงแม้ว่าเยตส์จะเป็นผู้กำกับมือใหม่และประสบการณ์น้อยแต่เขาก็สามารถแสดงฝีมือการกำกับได้อย่างยอดเยี่ยมในภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ ทำให้เขากลายเป็นผู้กำกับหน้าใหม่ที่กำกับภาพยนตร์ได้ยอดเยี่ยมไปในไม่ช้า และเขายังได้กำกับภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ทุกภาคที่เหลืออีกด้วย", "title": "เดวิด เยตส์" }, { "docid": "898311#0", "text": "โลกเวทมนตร์ () (หรือชื่อเดิม โลกเวทมนตร์ของเจ. เค. โรว์ลิง ()) เป็น และ จักรวาลสมมติ ที่เป็นฉากหลังของภาพยนตร์มาจากนวนิยายแฟนตาซี ชุด \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" ของนักเขียน เจ. เค. โรว์ลิง จัดจำหน่ายโดยบริษัท วอร์เนอร์บราเธอส์ และผลิตโดยบริษัท เฮย์เดย์ฟิล์มส์ ซึ่งตั้งแต่ ค.ศ. 2000 ได้ผลิตภาพยนตร์ออกมาแล้ว 10 เรื่อง แบ่งเป็นภาพยนตร์ชุด \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" แปดภาคและภาพยนตร์ \"สัตว์มหัศจรรย์\" สองภาค และยังมีอีกสามเรื่องอยู่ในขั้นตอนการผลิต ภาพยนตร์ชุดนี้ทำรายได้มาแล้วกว่า 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก เป็นแฟรนไชส์ภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาลอันดับที่สาม รองจากจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล และ สตาร์ วอร์ส", "title": "โลกเวทมนตร์" }, { "docid": "107269#7", "text": "ในภาคนี้ บรรดานักเรียนฮอกวอตส์ ปี 5 ต้อง สอบ ว.พ.ร.ส. (วิชาพ่อมดระดับสามัญ)นักเรียนทั้งหลายต่างกดดันเป็นที่สุดโดยเฉพาะแฮร์รี่ เมื่อกระทรวงเวทมนตร์เริ่มครอบงำโรงเรียนฮอกวอตส์ ไม่มีใครเชื่อว่า ลอร์ดโวลเดอมอร์ กำลังเข็มแข็งขึ้นเรื่อยมาหลังจากการประลองเวทไตรภาคี สิ้นสุดลง จนสุดท้ายแฮร์รี่ก็ต้องเจ็บปวดอีกครั้งเมื่อพบกับความสูญเสียครั้งสำคัญ(อีกครั้ง) ทางกระทรวงจะทราบความจริง หรือไม่ และความกดดันของโรงเรียนจะเป็นเช่นไร ต้องติดตาม...เดวิด เยตส์ ได้รับเลือกให้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ หลังจากที่ Mike Newell (ผู้กำกับภาพยนตร์\"แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนี\"), Jean-Pierre Jeunet, Matthew Vaughn, และ Mira Nair ปฏิเสธที่จะกำกับ เยตส์เชื่อว่าที่เขามีความเหมาะสมจะกำกับภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเพราะทางสตูดิโอเห็นว่าเขาสามารถกำกับภาพยนตร์ที่ \"มีความสุดขั้วและเต็มไปด้วยอารมณ์\" ซึ่งมี \"เบื้องหลังทางการเมือง\" ได้ดี จากผลงานเก่าของเขาคือละครโทรทัศน์เรื่อง \"Sex Traffic\" นอกจากนี้แล้ว Steve Kloves ผู้เขียนบทที่เคยเขียนบทภาพยนตร์\"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" 4 ภาคก่อนหน้านี้ ติดภารกิจ จึงมีการจัดให้ Michael Goldenberg มาเขียนบทแทน", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "381610#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 () เป็นภาพยนตร์แฟนตาซี-ผจญภัยภาคต่อในปี พ.ศ. 2554 ที่ดัดแปลงจากบทประพันธ์ชื่อเดียวกันของเจ. เค. โรว์ลิ่ง อันเป็นตอนสุดท้ายของหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2" }, { "docid": "570803#10", "text": "ทางไลออนส์เกท บริษัทจัดจำหน่ายภาพยนตร์นี้ได้ออกมาประกาศว่าจะมีภาคต่อจากภาพยนตร์นี้ตามหนังสือที่ ซูซาน คอลลินส์ ประพันธ์ไว้ มีชื่อว่า \"ม็อกกิ้งเจย์\" โดยจะแบ่งเป็นสองภาค คือ \"\"เกมล่าเกม 3 ม็อกกิ้งเจย์ ภาค 1\"\" กำหนดฉายในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 และ \"\"เกมล่าเกม 3 ม็อกกิ้งเจย์ ภาค 2\"\" กำหนดฉายในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 คล้ายกับตอนสุดท้ายของภาพยนตร์ชื่อดังอย่าง \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" และ \"ทไวไลท์\" ที่ตอนจบจะแยกออกเป็นสองภาค ต่อมาในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ไลออนเกทก็ได้มายืนยันว่า ผู้กำกับภาพยนตร์ทั้งสองจะเป็น ฟรานซิส ลอว์เรนซ์ ซึ่งจะถ่ายทำทั้งสองภาคกลับไปกลับมา", "title": "เกมล่าเกม 2 แคชชิ่งไฟเออร์" }, { "docid": "21799#0", "text": "แดเนียล จาคอบ แรดคลิฟฟ์ (English: Daniel Jacob Radcliffe เกิดวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2532)[1] มีชื่อเสียงจากการเป็นนักแสดงในบท แฮร์รี่ พอตเตอร์ ในภาพยนตร์ชุด<i data-parsoid='{\"dsr\":[798,818,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์ เขาเคยแสดงภาพยนตร์ครั้งแรกเมื่ออายุ 10 ขวบในภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง เดวิด คอปเปอร์ฟิลด์ ออกอากาศทางช่องบีบีซีวัน เมื่อปี พ.ศ. 2542 ตามมาด้วยภาพยนตร์เรื่องพยัคฆ์สายลับซ่อนลาย เมื่อปี พ.ศ. 2544 เมื่ออายุ 11 ขวบ เขาได้รับเลือกเป็นแฮร์รี่ พอตเตอร์ ในภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์</i>เรื่องแรก และแสดงบทดังกล่าวเป็นเวลา 10 ปี จนภาพยนตร์เรื่องที่แปดออกฉายในปี พ.ศ. 2554", "title": "แดเนียล แรดคลิฟฟ์" }, { "docid": "4336#58", "text": "และเมื่อภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 ซึ่งเป็นภาคสุดท้ายของภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์เข้าฉายก็ได้สร้างสถิติต่าง ๆ มากมาย อาทิ ภาพยนตร์ที่เปิดตัววันแรกสูงสุดตลอดการ ทำรายได้วันแรกสูงถึง 91 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำลายสถิติเดิมของแวมไพร์ ทไวไลท์ 2 นิวมูน[124] ภาพยนตร์ที่ทำรายได้สุดสัปดาห์ที่สูงสุดทำลายสถิติของแบทแมน อัศวินรัตติกาล โดยทำรายได้สัปดาห์แรกที่ 169 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[125]ซึ่งต่อมาถูกทำลายสถิติโดยดิ อเวนเจอร์สและไอรอนแมน 3 และทำลายสถิติภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดทั่วโลกสัปดาห์แรกของที่แฮร์รี่ พอตเตอร์ภาคหกเคยทำไว้ โดยทำเงินรวมทั่วโลกในสัปดาห์แรกสูงถึง 483 ล้านดอลลาร์สหรัฐในสัปดาห์เปิดตัว[126] และทำรายได้ปิดที่ 1,341 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง ณ ตอนนั้นสามารถรั้งอยู่ในอันดับที่ 3 ของภาพยนตร์ทำเงินตลอดกาลเป็นรองเพียงแค่ภาพยนตร์เรื่องอวตารและไททานิกเท่านั้น นอกจากนั้นยังได้รับคำวิจารณ์ในด้านบวกอย่างล้นหลาม โดยเว็บไซต์ Rotten Tomatoes ได้ให้คะแนนภาพยนตร์เรื่องนี้ไว้สูงถึง 96%[127]ซึ่งเป็นคะแนนที่สูงที่สุดในภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ จึงถือว่าภาคสุดท้ายของภาพยนตร์ชุดนี้ประสบความสำเร็จทั้งรายได้และคำวิจารณ์ก็ว่าได้", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "144418#0", "text": "รูเพิร์ต อเล็กซานเดอร์ ลอยด์ กรินต์ ( เกิดเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2531) เป็นนักแสดงชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงจากบทรอน วีสลีย์ หนึ่งในตัวละครหลักจากภาพยนตร์ชุด\"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" กรินต์ได้รับเลือกให้เล่นบทรอน วีสลีย์เมื่ออายุ 11 ขวบ โดยก่อนหน้านั้นเขาเคยแสดงละครเวทีในโรงเรียนและในชมรมละครเวทีท้องถิ่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544-2554 เขาแสดงในภาพยนตร์\"แฮร์รี่ พอตเตอร์\"ทั้งแปดภาคร่วมกับแดเนียล แรดคลิฟฟ์ รับบทแฮร์รี่ พอตเตอร์ และเอ็มมา วอตสัน รับบท เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์", "title": "รูเพิร์ต กรินต์" }, { "docid": "4336#55", "text": "ภาพยนตร์เรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ถูกแบ่งเป็นสองตอน[116] กำกับโดยเดวิด เยตส์และสตีฟ โคลฟ ทำหน้าที่เขียนบทเช่นเดิม และทาง เจ. เค. โรว์ลิงยังได้มีส่วนร่วมในการควบคุมงานฝ่ายสร้างสรรค์ของภาพยนตร์ภาคสุดท้ายในฐานะผู้อำนวยการสร้างอีกด้วย[117] รวมแล้วตั้งแต่ภาคแรกจนถึงภาคสุดท้ายใช้ในการถ่ายทำเวลานานกว่า 10 ปี", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "898311#2", "text": "ภาพยนตร์เรื่องแรกของโลกเวทมนตร์นั้นคือ \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์\" (2001) ซึ่งตามด้วยภาคต่ออีกเจ็ดภาค เริ่มจาก \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ\" ในปี ค.ศ. 2002 และจบที่ \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2\" ในปี ค.ศ. 2011 ต่อมา ภาพยนตร์ชุด \"สัตว์มหัศจรรย์\" เริ่มจาก \"สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่\" (2016) เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่เป็นภาคแยกและภาคก่อนของภาพยนตร์ชุด \"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" และภาคต่อ \"\" ฉายเมื่อ ค.ศ. 2018 ขณะที่ยังมีภาพยนตร์อีกสามเรื่องอยู่ในขั้นตอนการผลิต โดยภาพยนตร์เรื่องถัดไปมีกำหนดฉายปี ค.ศ. 2020", "title": "โลกเวทมนตร์" }, { "docid": "4336#64", "text": "หลังจาก แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต วางแผงได้ไม่นานนัก ทางประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการวางแผนและทำแบบแปลนการสร้างสวนสนุกที่ยูนิเวอร์แซลออร์แลนโดรีสอร์ต เมืองออร์แลนโด รัฐฟลอริดา โดยจำลองสถานที่ต่าง ๆ ในวรรณกรรมแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่เกี่ยวกับสถานที่ในโลกเวทมนตร์เช่น ฮอกวอตส์และหมู่บ้านฮอกส์มี้ด เป็นต้น สวนสนุกแห่งนี้วางแผนการสร้างโดย จิม ฮิล มีแบบจำลองปราสาทฮอกวอตส์ รวมไปถึงหมู่บ้านฮอกส์มีดส์อีกด้วย ผู้สร้างสวนสนุกยังได้เชิญ เจ. เค. โรว์ลิง ให้มาร่วมทำการเนรมิตสวนสนุกแห่งนี้ เพื่อทำให้เหมือนกับสถานที่ในหนังสือของเธอให้มากที่สุด ซึ่งโรว์ลิงก็ตอบตกลง สวนสนุกตั้งอยู่ในไอส์แลนด์ส ออฟ แอดเวนเจอร์ซึ่งเป็นเกาะรวมเครื่องเล่นแนวผจญภัยของยูนิเวอร์แซลออร์แลนโดรีสอร์ท โดยได้ใช้ชื่อว่าอย่างเป็นทางการว่าโลกมหัศจรรย์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์และเปิดให้เข้าชมในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553[135] โดยมีทั้งนักแสดงจากภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ อาทิ แดเนียล แรดคลิฟฟ์ (แฮร์รี่ พอตเตอร์), ไมเคิล แกมบอน (ศาสตราจารย์ดัมเบิลดอร์), รูเพิร์ท กรินท์ (รอน วีสลีย์) แมทธิว ลิวอิส (เนวิลล์ ลองบัตท่อม) และทอม เฟลตัน (เดรโก มัลฟอย) รวมถึง เจ.เค. โรว์ลิ่ง และผู้ประพันธ์เพลงให้กับภาพยนตร์ 3 ภาคแรกอย่าง จอห์น วิลเลียมส์ มาร่วมงานครั้งนี้ด้วย", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "4336#54", "text": "ในปี พ.ศ. 2542 เจ. เค. โรว์ลิง ขายสิทธิ์การสร้างภาพยนตร์จากหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์สี่เล่มแรกให้กับวอร์เนอร์บราเธอร์ส ในราคาหนึ่งล้านปอนด์สเตอร์ลิง[112] โรว์ลิงยืนยันให้นักแสดงหลักเป็นชาวสหราชอาณาจักร รวมถึงต้องใช้ภาษาอังกฤษบริเตนในบทสนทนา ภาพยนตร์สองภาคแรกกำกับโดยคริส โคลัมบัส ภาคที่สามโดยอัลฟอนโซ กวารอน ภาคที่สี่โดยไมค์ นิวเวลล์ และภาคที่ห้าถึงภาคสุดท้ายโดยเดวิด เยตส์[113] บทภาพยนตร์ของสี่ภาคแรกเขียนโดยสตีฟ โคลฟ โดยร่วมงานกับโรว์ลิง บทภาพยนตร์มีความเปลี่ยนแปลงจากหนังสือบ้างตามรูปแบบการนำเสนอของภาพยนตร์และเงื่อนไขเวลา อย่างไรก็ตาม โรว์ลิงได้กล่าวว่าบทภาพยนตร์ของโคลฟนั้นมีความซื่อตรงต่อหนังสือ[114] ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ทุกภาค มีนักแสดงหลักคือแดเนียล แรดคลิฟฟ์ เอ็มม่า วัตสันและรูเพิร์ท กรินท์ แสดงเป็นแฮร์รี่ พอตเตอร์ เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ และรอน วีสลีย์ตามลำดับ โดยสามคนนี้ได้รับเลือกในปี พ.ศ. 2543 จากเด็กหลายพันคน[115]", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "222054#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1 () เป็นภาพยนตร์แฟนตาซี-ผจญภัยภาคต่อที่ดัดแปลงจากบทประพันธ์ของเจ. เค. โรว์ลิ่ง ซึ่งดัดแปลงมาจากนิยายเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ ตอนที่ 7 ในชื่อ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายของหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ แต่เนื่องจากในภาคสุดท้ายนั้นมีรายละเอียดมากและทางผู้สร้างต้องการให้หนังจบลงอย่างสมบูรณ์แบบ จึงแบ่งออกเป็น 2 ตอนคือ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูตตอนที่ 1 และตอนที่ 2 สำหรับตอนที่ 1 เริ่มถ่ายทำเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 และจะเข้าฉายในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ตอนที่ 2 จะเข้าฉายในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ภาพยนตร์มีนักแสดงนำได้แก่ แดเนียล แรดคลิฟฟ์ รูเพิร์ท กรินท์ และเอ็มม่า วัตสัน กำกับการแสดงโดย เดวิด เยตส์ เขียนบทโดยสตีฟ โคลฟ อำนวยการสร้างโดย เดวิด เฮย์แมน และเดวิด แบร์รอน", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1" }, { "docid": "231183#35", "text": "วิลเลี่ยมส์ได้กลับมาร่วมงานกับโคลัมบัสอีกครั้ง ในปี ค.ศ.2001 ในผลงานภาพยนตร์ของ Warner Bros. เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์ (Harry Potter and the Sorcerer's Stone) ที่ดัดแปลงมาจากนิยายอังกฤษชื่อดังที่ประพันธ์โดย เจ.เค. โรว์ลิง (J.K. Rowling) วิลเลี่ยมส์ทำดนตรีในภาคต่ออีกสองภาค คือ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับห้องแห่งความลับ (Harry Potter and the Chamber of Secrets) ใน ค.ศ.2002 กับ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับนักโทษแห่งอัซคาบัน (Harry Potter and the Prisoner of Azkaban) ใน ค.ศ.2004 ในปี ค.ศ.2005 วิลเลี่ยมส์จำเป็นต้องปฏิเสธที่จะทำดนตรีประกอบให้กับภาคต่อของแฮร์รี่ พอตเตอร์ เนื่องจากวิลเลี่ยมส์ กำลังทำดนตรีประกอบให้กับหนังเรื่องอื่นอยู่ ซึ่งในปีนั้นเอง วิลเลี่ยมส์มีงานทำดนตรีให้กับภาพยนตร์ถึง 4 เรื่อง (ขณะนั้นวิลเลี่ยมส์อายุ 73 ปี) ตั้งแต่ภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ภาคที่ 4 แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนี (Harry Potter and the Goblet of Fire) เป็นต้นมา จนถึงภาคสุดท้ายในปี ค.ศ.2011 วิลเลี่ยมส์ก็ไม่ได้กลับมาทำดนตรีประกอบให้อีกเลย แต่เพลง Hedwig's theme ที่วิลเลี่ยมส์ประพันธ์ขึ้น ก็ได้ถูกใช้เป็นเพลงธีมหลักในทุกภาคของแฮร์รี่ พอตเตอร์", "title": "จอห์น วิลเลียมส์" }, { "docid": "209021#3", "text": "Warner Bros. ผู้ผลิตภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ และเป็นผู้ถือเครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับสื่อแฮร์รี่ พอตเตอร์ รูปแบบดีวีดีของภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ในตอน \"ห้องแห่งความลับ\" \"นักโทษแห่งอัซคาบัน\" และ \"ถ้วยอัคนี\" ก็ปรากฏลำดับเวลาด้วยเช่นกัน Warner Bros. ซึ่งเดิมพัฒนาลำดับเวลาดังกล่าวโดยเป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ\" ในปี ค.ศ. 2002 โรวลิ่งได้ทบทวนและปรับปรุงแก้ไขหลายครั้งจนกระทั่งเธอเห็นควรให้ใช้เป็นลำดับเวลา \"อย่างเป็นทางการ\"", "title": "ลำดับเวลาในแฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "197263#1", "text": "ภาพยนตร์นำแสดงโดยแดเนียล แรดคลิฟฟ์ เป็นแฮร์รี่ พอตเตอร์ รูเพิร์ต กรินต์ เป็นรอน วีสลีย์ และเอ็มมา วัตสัน เป็นเฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ ภาพยนตร์มีภาคต่ออีก 7 ภาค เริ่มจาก \"แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ\"", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "137619#8", "text": "ด้วยภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี ทำให้ทั้งวอตสันและภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ มาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญครั้งใหม่ ภาพยนตร์ทำสถิติสำหรับสัปดาห์ออกฉายสัปดาห์แรกของภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นภาพยนตร์ไม่ได้เริ่มฉายในสหรัฐอเมริกาในวันสุดสัปดาห์ของเดือนพฤษภาคม และเป็นภาพยนตร์ที่ฉายสัปดาห์แรกในสุดสัปดาห์ในสหราชอาณาจักร นักวิจารณ์ชื่นชมการเติบโตของวอตสันและการแสดงวัยรุ่นของเธอ หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ชมการแสดงของเธอว่า \"เอาจริงเอาจังอย่างน่าประทับใจ\"[35] สำหรับวอตสัน เรื่องขบขันในภาพยนตร์ส่วนมากเกิดจากความเครียดในหมู่ตัวละครหลักสามคนขณะที่พวกเขากำลังเติบโต เธอกล่าวว่า \"ฉันชอบทุกตอนที่เราทะเลาะกัน ฉันคิดว่ามันเหมือนจริงมากที่พวกเขาทะเลาะกันและที่จะมีปัญหามากมาย\"[36] หลังจากภาพยนตร์เรื่องถ้วยอัคนีได้เข้าชิงสามรางวัล วอตสันชนะรางวัลออตโตเหรียญทองแดง[37][38] ต่อมาในปีนั้น วอตสันกลายเป็นคนที่อายุน้อยที่สุดบนปกนิตยสารทีนโว้ก[39] เมื่อเธอปรากฏตัวอีกครั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552[40] ในปี พ.ศ. 2549 วอตสันรับบทเฮอร์ไมโอนี่ในละคร<i data-parsoid='{\"dsr\":[17690,17712,2,2]}'>เดอะควีนส์แฮนด์แบก ตอนพิเศษของแฮร์รี่ พอตเตอร์เพื่อธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษาของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร[41]", "title": "เอ็มมา วอตสัน" }, { "docid": "197263#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ () เป็นภาพยนตร์แฟนตาซีออกฉายเมื่อ ค.ศ. 2001 กำกับโดย คริส โคลัมบัส และจัดจำหน่ายโดยวอร์เนอร์บราเธอส์พิกเจอส์ เนื้อเรื่องยึดจากนวนิยายในชื่อเดียวกันของเจ. เค. โรว์ลิง ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาคแรกในภาพยนตร์ชุด\"แฮร์รี่ พอตเตอร์\" เขียนเรื่องโดยสตีฟ โคลฟส์ และผลิตโดยเดวิด เฮย์แมน เนื้อเรื่องเล่าเกี่ยวกับการเรียนปีแรกของแฮร์รี่ พอตเตอร์ที่ฮอกวอตส์ ที่เขาพบว่าเขาเป็นพ่อมดที่มีชื่อเสียงและเริ่มศึกษาวิชาเวทมนตร์", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "4336#56", "text": "ภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ประสบความสำเร็จอย่างมากในเรื่องรายได้ของภาพยนตร์ทั้ง 8 ภาค ทำรายได้รวมมากกว่า 7,725 ล้านดอลลาร์สหรัฐและภาพยนตร์ชุดที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาลเป็นอันดับที่สองรองจากจักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล[118] โดยภาคที่ทำรายได้ไปมากที่สุดคือแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2 ซึ่งทำรายได้ไปกว่า 1,341 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[119]", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "4336#57", "text": "ภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์แต่ละภาคได้รับคำวิจารณ์จากแฟนหนังสือมากมาย ในภาคแรกและภาคที่สองซึ่งกำกับโดยคริส โคลัมบัส ตัวภาพยนตร์เองได้รับการดัดแปลงเล็กน้อยแต่ก็ยังคงเนื้อเรื่องในหนังสือไว้ แต่เนื้อหาของภาพยนตร์ก็เป็นภาพยนตร์ที่เหมาะสำหรับเด็ก จึงทำให้เด็กชมภาพยนตร์ภาคแรกและภาคสองมากกว่าผู้ใหญ่ ในภาคที่สามกำกับโดยอัลฟอนโซ กวารอน ที่ได้ปรับเปลี่ยนตัวปราสาทฮอกวอตส์และใช้บรรยากาศแบบมืดครื้ม แต่ก็มีการปรับเปลี่ยนเนื้อเรื่องมากกว่าเดิมทำให้ฉากแอ็กชันที่มีในหนังสือลดลงไป ส่วนในภาคที่สี่กำกับโดยไมค์ นิวเวลล์ เน้นหนักในเรื่องฉากแอ็กชันและฉากต่อสู้ที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิมมาก แต่การทำฉากแอ็กชันมากเกินไป จึงทำให้เนื้อหาและบทบาทตัวละครในเรื่องลดลงตามไปด้วย และในภาคที่ห้าที่กำกับโดยเดวิด เยตส์ที่ได้มีการปรับเปลี่ยนเนื้อเรื่องและตัดเนื้อเรื่องบางตอนออกไป เนื่องจากเนื้อหาในหนังสือที่มากกว่าเล่มอื่น ๆ ฉากแอ็กชันจึงลดลงทำให้ภาพยนตร์ออกมาในแนวดรามา แต่ทางทีมงานก็ได้ใช้เทคนิคพิเศษมากกว่าภาคก่อน ๆ ทำให้ภาพยนตร์ภาคที่ห้านี้ทำรายได้ไปถึง 939 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[120] ส่วนในภาคที่หกเดวิด เยตส์ทำหน้าที่กำกับภาพยนตร์เช่นเคยโดยจะเน้นบทดรามามากกว่าฉากแอ็กชันซึ่งมีอยู่น้อยมากและจะเน้นในเรื่องความสัมพันธ์ของตัวละครต่าง ๆ แทน[121] ซึ่งก็ได้รับคำวิจารณ์ที่แตกต่างกันออกไป แต่อย่างไรก็ตามภาพยนตร์ภาคที่หกนี้ก็ได้สร้างสถิติใหม่นั่นก็คือ ภาพยนตร์ทำเงินทั่วโลกสูงสุดในสัปดาห์แรก โดยทำเงินไปทั้งสิ้น 394 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[122]ทำลายสถิติของไอ้แมงมุม 3ที่เปิดตัวด้วยรายรับทั่วโลก 381 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำรายได้รวมไป 934 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายหลังภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1เข้าฉายและทำรายได้รวม 955 ล้านดอลลาร์สหรัฐ [123] โดยเนื้อเรื่องจะเกี่ยวกับการเดินทางตามหาฮอร์ครักซ์ของพวกแฮร์รี่และจบลงที่การตายของด๊อบบี้ ทำให้โทนหนังของภาคนี้จะเป็นแนวโร้ดมูฟวี่หรือภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับการเดินเสียเป็นส่วนใหญ่", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "91329#3", "text": "ได้มีการประกาศชื่อของหนังสือฉบับภาษาไทยของ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ภาค 7 อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550 โดย น.ส.คิม จงสถิตย์วัฒนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายบริหารทั่วไป สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ แถลงเปิดตัวชื่อภาษาไทยหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ เล่ม 7 (อวสาน) มีชื่อตอนว่า \"แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเครื่องรางยมทูต\" ซึ่งได้รับการอนุมัติรูปแบบตัวอักษรหน้าปก ฉบับภาษาไทยจากสำนักพิมพ์เจ้าของลิขสิทธิ์แล้ว โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ร่วมกับกรุงเทพมหานคร ได้จัดงานเปิดตัวหนังสือฉบับภาษาไทยและวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เวลา 24.00 น. ณ อุทยานเบญจสิริ ถ.สุขุมวิท", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต" }, { "docid": "4336#3", "text": "หนังสือทั้งเจ็ดเล่มถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์โดยวอร์เนอร์บราเธอร์สจำนวนแปดภาค โดยเนื้อเรื่องในหนังสือเล่มที่เจ็ด ผู้สร้างได้แบ่งออกเป็นสองตอน ภาพยนตร์ชุด<i data-parsoid='{\"dsr\":[5767,5787,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นชุดภาพยนตร์ทำรายได้สูงสุดตลอดกาล นอกจากนี้ ยังได้มีการผลิตสินค้าควบคู่กันอีกจำนวนมาก ซึ่งทำให้ชื่อยี่ห้อแฮร์รี่ พอตเตอร์มีมูลค่ามากกว่า 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 เนื้อหาที่ไม่ได้เปิดเผยในหนังสือได้เริ่มเผยแพร่ในรูปแบบอีบุ๊กผ่าน \"พอตเตอร์มอร์\"[11] ได้มีการต่อยอดความสำเร็จของแฮร์รี่ พอตเตอร์ไปในหลายรูปแบบ อาทิเช่น สวนสนุกโลกมหัศจรรย์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์, สตูดิโอทัวร์ในลอนดอน, ภาพยนตร์ภาคแยกซึ่งดัดแปลงมาจากเนื้อหาของหนังสือสัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่ และภายหลังได้มีการดัดแปลงแฮร์รี่ พอตเตอร์สู่รูปแบบละครเวที ใช้ชื่อว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเด็กต้องคำสาป เปิดการแสดงในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ที่โรงละครพาเลซเธียเตอร์ เมืองลอนดอน โดยบทละครเวทียังได้ถูกพิมพ์จำหน่ายโดยสำนักพิมพ์ลิตเติ้ลบราวน์ ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์เดียวกันที่ตีพิมพ์นิยายผู้ใหญ่ของโรว์ลิ่งภายใต้ชื่อ โรเบิร์ต กัลเบรธอีกด้วย[12]", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์" }, { "docid": "10882#1", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์ แสดงโดยแดเนียล แรดคลิฟฟ์ ในภาพยนตร์<i data-parsoid='{\"dsr\":[1081,1101,2,2]}'>แฮร์รี่ พอตเตอร์</i>ทุกภาคที่สร้างมา", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร)" }, { "docid": "222054#3", "text": "ส่วนในด้านของผู้กำกับการแสดงทางค่ายวอร์เนอร์ บราเดอร์สได้เลือกให้เดวิด เยตส์ ผู้กำกับจากภาค5และภาค6มารับหน้าที่การกำกับในตอนสุดท้ายของภาพยนตร์ชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ทั้งสองตอน ทำให้เยตส์เป็นผู้กำกับที่รับหน้าที่กำกับการแสดงในภาพยนตร์ชุดนี้กว่า 4ภาค มากที่สุดในบรรดาผู้กำกับของแฮร์รี่ พอตเตอร์ ซึ่งในการเตรียมงานถ่ายทำทั้งหมดเป็นไปอย่างราบรื่น ทางผู้สร้างต้องสร้างป่าโบราณจำลองในสตูดิโอเพื่อถ่ายทำฉากกวางสาวสีเงิน ซึ่งกการเซ็ตฉากและสเปเชี่ยลเอ็ฟเฟ็คที่ใช้มีรายจ่ายที่สูงมาก ทำให้ภาพยนตร์ตอนแรกมีทุนสร้างถึง 250ล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว ในส่วนของการเตรียมงานทั้งหมดใช้เวลาไป 250 วัน ในขณะที่การถ่ายทำใช้เวลาไป 478 วัน", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 1" }, { "docid": "197313#0", "text": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน () ภาพยนตร์ลำดับที่ 3 โดยวอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส จากวรรณกรรมเยาวชน แฮร์รี่ พอตเตอร์ และ คริส โคลัมบัส ผู้กำกับภาคที่ 1 และ 2 กับเดวิด เฮย์แมนเป็นผู้เขียนบทภาพยนตร์ จากนิยายโดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง นำแสดงโดย แดเนียล แรดคลิฟฟ์, รูเพิร์ท กรินท์, เอ็มม่า วัตสัน,ไมเคิล แกรมบอลล์ ที่มารับตำแหน่งดัมเบิลดอร์แทนคนก่อนเนื่องจาก คนรับตำแหน่งดัมเบิลดอร์คนก่อนเสียชีวิต ", "title": "แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน (ภาพยนตร์)" } ]
3890
ซามูไรหมายถึงอะไร?
[ { "docid": "54270#0", "text": "ซามูไร (侍) แปลเป็นภาษาไทยว่าทหาร คำว่า ซามูไร มีต้นกำเนิดจากคำว่า ซะบุระอุ ซึ่งเป็นคำกริยาในภาษาญี่ปุ่นโบราณ ที่มีความหมายว่า รับใช้ ฉะนั้น ซามูไรก็คือคนรับใช้นั่นเอง", "title": "ซามูไร" } ]
[ { "docid": "54270#103", "text": "ซามูไรที่ไม่มีความสัมพันธ์กับตระกูลหรือไดเมียว () คนใดเลย จะถูกเรียกว่า โรนิง () ในภาษาญี่ปุ่น โรนิง มีความหมายว่า “คนคลื่น” หรือผู้ที่มีอนาคตอยู่ที่การเร่ร่อนอย่างไร้จุดหมายไปตลอดกาลเหมือนกับคลื่นในทะเล คำๆ นี้หมายถึงซามูไรที่ไม่ได้รับใช้เจ้านายของเขาอีกแล้ว เนื่องจากเจ้านายของเขาถึงแก่กรรม หรือเป็นเพราะตัวซามูไรเองถูกเนรเทศออกจากกลุ่ม หรืออาจจะเป็นเพราะซามูไรผู้นั้นเลือกที่จะเป็นโรนิงเองก็ได้", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "205316#0", "text": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์ หรือ ซามูไร เซนไท ชินเคนเจอร์ () เป็นภาพยนตร์แนวขบวนการนักสู้ลำดับที่ 33 ของประเทศญี่ปุ่น เริ่มออกอากาศที่ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 จนถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 ทางสถานีทีวีอาซาฮี ทุกเช้าวันอาทิตย์ เวลา 7.30-8.00 น. ในช่วงซูเปอร์ฮีโร่ ไทม์ โดยออกอากาศทั้งหมด 49 ตอน , ตอนพิเศษทางโรงภาพยนตร์อีก 3 ตอน คือ ซามูไร เซนไท ชินเคนเจอร์ ฉบับจอเงิน[1] , ซามูไร เซนไท ชินเคนเจอร์ VS โกออนเจอร์ ฉบับจอเงิน BANG![2][3] ฉายวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 2010 และ เทนโซ เซนไท โกเซย์เจอร์ VS ชินเคนเจอร์ เอพพิค ON จอเงิน ตอนพิเศษทางโอวีเอ อีก1ตอน คือ คาเอรุเทคิตะ ซามูไร เซนไท ชินเคนเจอร์ โทคุเบทสึบาคุ (การกลับมาของซามูไร เซนไท ชินเคนเจอร์ ฉบับพิเศษ)ในวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 2010 และ รับเชิญในมาสค์ไรเดอร์ดีเคด ในตอนที่24 และ 25", "title": "ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์" }, { "docid": "54270#122", "text": "เดอะ ลาสท์ ซามูไร (มหาบุรุษซามูไร) เป็นภาพยนตร์ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับช่วงเวลาแห่งการสิ้นสลายของชนชั้นซามูไรในญี่ปุ่น เนื้อเรื่องเป็นการผสมรวมระหว่างประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจริงและเรื่องราวที่ถูกแต่งขึ้น ออกฉายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546 และได้รับเสียงตอบรับอย่างดีจากผู้ชมในแถบทวีปอเมริกาเหนือ โครงเรื่องของภาพยนตร์เรื่องนี้มีพื้นฐานที่แตะมาจากเหตุการณ์กบฏซะสึมะ ในปี พ.ศ. 2420 โดยการนำของไซโง ทะคะโมะริ และเรื่องราวของร้อยเอกจูล์ส บรูเนต์ (Jules Brunet) ทหารชาวฝรั่งเศสที่ไปร่วมต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับเอะโนะโมะโตะ ทะเกะอะกิ ในสงครามโบะชิง ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้แสดงให้เห็นถึงวิถีการดำเนินชีวิตและกลยุทธ์ต่าง ๆ ในการทำสงครามของซามูไร โดยมีสื่อกลางคือผู้กองนาธาน อัลเกร็น (แสดงโดยทอม ครูซ) ทหารชาวอเมริกันที่ถูกกลุ่มซามูไรกลุ่มสุดท้ายในญี่ปุ่นจับตัวไปเป็นเชลย โกสท์ ด็อก: เดอะ เวย์ ออฟ เดอะ ซามูไร (โกสต์ด็อก ดับนรกเส้นทางซามูไร) เป็นเรื่องราวของนักฆ่าผิวดำในสังคมอเมริการ่วมสมัย ผู้ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากตำราฮางากุเระ (ตำราญี่ปุ่นว่าด้วยหลักปฏิบัติของซามูไร) นำแสดงโดยฟอเรสท์ วิทเทคเกอร์ เพลงประกอบภาพยนตร์ในเรื่องนี้เป็นเพลงแนวฮิพฮ็อพที่ทันสมัย สร้างอารมณ์ที่ขัดแย้งกับความเก่าแก่ของตำราฮางากุเระซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของเรื่องนี้ได้อย่างมาก คิลบิล (นางฟ้าซามูไร) ของผู้กำกับเคว็นติน ทาแรนติโน ก็เป็นภาพยนตร์ฮอลีวูดอีกเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับซามูไร โดยเฉพาะในด้านของอาวุธที่ซามูไรใช้ ภาพยนตร์เรื่องนี้เรียกได้ว่าเป็นตัวแทนที่ออกมายกย่องเกียรติศักดิ์ของดาบคะตะนะเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม ตัวภาพยนตร์เองก็ไม่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรื่องราวของซามูไรจริง ๆ มากเท่าที่ควร แรงบันดาลใจเบื้องต้นของภาพยนตร์เรื่องนี้จะมาจากอนิเมะหรือการ์ตูนญี่ปุ่นมากกว่า เช่นกันกับเรื่อง ซามูไร แวมไพร์ ไบเกอรส์ ฟรอม เฮล ภาพยนตร์แนวคัลท์ต้นทุนต่ำที่เนื้อเรื่องมีการบิดเบือนวัฒนธรรมแท้จริงของซามูไร ทางผู้สร้างได้พยายามทำให้ตัวละครหลักของเรื่องมีภาพของความเป็นทายาทในตระกูลซามูไรอย่างเต็มที่ แต่อย่างไรก็ตาม ตัวภาพยนตร์ที่แท้จริงกลับไปเหมือนเนื้อเรื่องในการ์ตูนญี่ปุ่นหรือในหนังสือการ์ตูนช่วงปลายยุคคริสต์ศตวรรษที่ 12 มากกว่า", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "748405#1", "text": "คำว่า \"ซาชิมิ\" หมายถึง \"ร่างกายที่ถูกเจาะ\" กล่าวคือ 刺身 = \"ซาชิมิ\" ซึ่ง 刺し = \"ซาชิ\" (เจาะ, ทิ่มแทง) และ 身 = \"มิ\" (ร่างกาย เนื้อสัตว์) คำนี้มีใช้ตั้งแต่ยุคมูโรมาจิ และเป็นไปได้ว่าได้รับการบัญญัติขึ้นเมื่อคำว่า 切る = คิรุ (ตัด) ซึ่งเป็นขั้นตอนการทำอาหารถูกมองว่าอัปมงคลเกินไปสำหรับบุคคลที่ไม่ใช่ซามูไร คำนี้อาจแผลงมาจากการฝึกแทงหางและครีบปลาให้เป็นแผ่นบาง ๆ ในการระบุชนิดของปลาที่กำลังกิน", "title": "ซาชิมิ" }, { "docid": "54270#110", "text": "(): มีความหมายในทำนองว่า “สุภาพบุรุษ” คำๆ นี้ถูกใช้สำหรับซามูไรอย่างเช่นในคำว่า บุชิ () ซึ่งแปลว่า นักรบ หรือ ซามูไร เป็นต้น", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "54270#72", "text": "ซามูไรสามารถหย่าขาดจากภรรยาของเขาได้ด้วยเหตุผลหลาย ๆ อย่าง แต่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้มีตำแหน่งสูงกว่าก่อน ซึ่งในความเป็นจริงการหย่าของซามูไรเกิดขึ้นมาน้อยมาก เหตุผลในการหย่าอาจจะเป็นเพราะว่า ภรรยาของเขาไม่สามารถให้บุตรชายแก่เขาได้ แต่วิธีการรับเด็กชายมาเลี้ยงก็สามารถใช้เป็นแนวทางแทนการหย่าได้เช่นกัน ซามูไรสามารถหย่าโดยใช้เหตุผลส่วนตัวที่ว่าเขาไม่ชอบภรรยาของเขาได้ แต่โดยทั่วไปเหตุผลนี้มักจะไม่ยกมาอ้างกัน เพราะมันจะสร้างความอับอายให้แก่ซามูไรระดับสูงที่จัดการแต่งงานให้ได้ แต่แม้ว่าโดยทั่วไปผู้ที่เป็นฝ่ายหย่าก่อนจะเป็นฝ่ายของซามูไร ฝ่ายหญิงก็สามารถเป็นฝ่ายที่เริ่มการหย่าก่อนได้เหมือนกัน หลังจากการหย่าแล้ว ฝ่ายซามูไรจะได้รับเงินค่าสินสอด ซึ่งมีไว้ป้องกันการหย่า กลับคืนมา", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "229946#5", "text": "เนื้อเรื่องมีฉากในเมืองเอะโดะ (คือโตเกียวในปัจจุบัน เอะโดะเปลี่ยนชื่อเป็นโตเกียวในปี พ.ศ. 2405) ประเทศญี่ปุ่น ในยุคเอโดะ ยุคที่มนุษย์ต่างดาวที่เรียกกันว่า \"ชาวสวรรค์\" () ได้มาตั้งรกรากบนโลกมนุษย์ ชาวสวรรค์ได้ออกคำสั่งริบยศถาบรรดาศักดิ์และยึดดาบของซามูไรไป ทำให้ยุครุ่งเรืองของซามูไรได้จบสิ้นลง ชาวสวรรค์ได้มีอำนาจเหนือเอโดะมากยิ่งขึ้น แต่ยังมีคนหนึ่งที่ยังยึดมั่นในจิตวิญญาณของซามูไร เขาชื่อ ซากาตะ กินโทกิ เคยเป็นนักรบซามูไรต่อต้านชาวสวรรค์ ปัจจุบันเปิด\"ร้านรับจ้างสารพัด\" () มีผู้ช่วยคือ ชิมูระ ชินปาจิ หนุ่มแว่นที่ทำงานเพื่อเรียนรู้จิตวิญญาณของซามูไร และคางุระ เด็กหญิงชาวสวรรค์เผ่ายาโตะ ทั้งสามทำงานรับจ้างเพื่อหาเงินมาจ่ายค่าเช่าบ้านและเลี้ยงชีวิตในยุคมืดของซามูไร", "title": "กินทามะ" }, { "docid": "240951#1", "text": "ซากาตะ กินโทกิ เป็นอดีตซามูไรที่มีชีวิตอยู่ในยุคมืดของซามูไร ปัจจุบันเป็นเจ้าของร้านรับจ้างสารพัด ณ ย่านคาบุกิโจ เมืองเอโดะ โดยเช่าชั้นสองของร้านโอโทเซะสแน็กเปิดเป็นร้านรับจ้างสารพัด ในอดีตเคยเป็นซามูไรขับไล่ต่างแดน คือ ซามูไรที่ต่อสู้เพื่อขับไล่ชาวสวรรค์หรือมนุษย์ต่างดาวที่พยายามกดดันเอโดะให้เปิดประเทศ โดยตัวเขาเป็นที่รู้จักในหมู่ซามูไรว่าเป็นชิโรยาฉะ (มีความหมายว่า \"ปิศาจขาว\") หลังจากสงครามต่อต้านชาวสวรรค์ไม่ประสบความสำเร็จ กินโทกิจึงรู้ว่าไม่สามารถปกป้องเพื่อนพ้องได้ จึงวางมือจากการเป็นซามูไร แล้วมาเปิดร้านรับจ้างสารพัดแทน", "title": "ซากาตะ กินโทกิ" }, { "docid": "54270#134", "text": "ข้อมูลเกี่ยวกับซามูไรในคอลัมน์ \"รู้ไปโม้ด\" โดยน้าชาติ ประชาชื่น เว็บไซต์เกี่ยวกับนักเขียนและนักประวัติศาสตร์ทางด้านซามูไร ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ซามูไร", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "54270#116", "text": "เดอะ เซเว็น ซามูไร (เจ็ดเซียนซามูไร)]] เรื่องของหมู่บ้านเกษตรกรรมหมู่บ้านหนึ่งที่ได้ว่าจ้างซามูไรพเนจรกลุ่มหนึ่งเพื่อมาปกป้องพวกตนจากโจรป่า โยจิมโบ หนังที่เล่าเรื่องราวของอดีตซามูไรคนหนึ่งที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับสงครามระหว่างกลุ่มอิทธิพลสองกลุ่มที่อยู่ในเมืองเดียวกัน ด้วยการเข้าไปทำงานรับใช้ทั้งสองฝ่าย เดอะ ฮิดเด็น ฟอร์เทรซ ภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับชาวนาผู้โง่เขลาสองคนที่เข้าไปช่วยนายพลผู้เป็นตำนานคนหนึ่งในการอารักขาเจ้าหญิง", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "54270#99", "text": "คำว่า บุชิ หรือ บูชิ ( อ่านแบบญี่ปุ่นจะออกว่า บุ๊ฉิ แปลตามตัวอักษรว่า \"นักรบ\" หรือ \"ทหาร\") ปรากฏขึ้นครั้งแรกในช่วงต้นของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นที่เรียกว่า โชกุ นิฮงงิ () (พ.ศ. 1340) คำว่า “บึชิ” มีรากฐานมาจากภาษาจีน ต่อมาได้ถูกนำมาเพิ่มไว้ในภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิมสำหรับคำว่า นักรบ: สึวะโมะโนะ และ โมะโนะโนะฟุ คำว่า \"บุชิ\" และคำว่า \"ซามูไร” ได้กลายมาเป็นความหมายเดียวกันในช่วงใกล้จะสิ้นสุดศตวรรษที่ 12", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "54270#84", "text": "อาวุธที่ซามูไรใช้มีอยู่หลายชนิด แต่ดาบคะตะนะก็ไม่ได้เป็นอาวุธที่สำคัญที่สุดของซามูไร เพราะว่าซามูไรไม่สามารถนำคะตะนะติดตัวเข้าไปในบางสถานที่ได้ วะกิซะชิ คือ อาวุธติดตัวซามูไรที่สำคัญที่สุด หลักบูชิโดได้สอนว่าจิตวิญญาณของซามูไรก็คือคะตะนะของพวกเขาแต่ละคน และบางครั้งซามูไรก็ถูกจินตนาการให้ต้องพึ่งพาคะตะนะเพื่อการต่อสู้ด้วย แนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่ขัดแย้งกับหน้าไม้ของยุโรป หรือดาบของอัศวินที่ส่วนใหญ่ใช้เป็นแค่เครื่องมือในการต่อสู้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ดาบคะตะนะมักจะไม่ถูกนำมาใช้เป็นอาวุธในสมรภูมิกัน จนกระทั่งยุคคะมะกุระ ตัวดาบคะตะนะเองก็ยังไม่ได้เป็นอาวุธหลักจนกระทั่งเกิดยุคเอโดะขึ้นมา", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "54270#13", "text": "หลังจากช่วงเวลาดังกล่าว กลุ่มซามูไรผู้ทรงอำนาจก็กลายเป็นนักรบชนชั้นนำ (บุเกะ) ผู้ซึ่งมีเพียงชื่อเท่านั้นที่ดำรงอยู่ภายใต้สำนักกลุ่มผู้ปกครองชนชั้นสูง หรือราชสำนัก เมื่อซามูไรเริ่มเข้าไปเป็นเจ้าของเครื่องจรรโลงใจต่างๆ ของกลุ่มชนชั้นสูง อย่างศิลปะลายมือ บทกวี และเพลง ในทางกลับกัน สำนักผู้ปกครองชนชั้นสูงบางสำนักก็เข้าไปเป็นเจ้าของธรรมเนียมต่างๆ ของซามูไรบ้าง แต่ถึงแม้ว่าจักรพรรดิหลายๆ พระองค์จะสร้างแผนการอันชั่วร้ายและกฎระยะสั้นต่างๆ ออกมาเพื่อลดบทบาทของกลุ่มซามูไร อำนาจที่แท้จริงในขณะนั้นก็ยังอยู่ในกำมือของโชกุนและซามูไรอยู่ดี", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "54270#68", "text": "การแต่งงานของซามูไรจะถูกจัดขึ้นมาโดยผู้ที่แต่งงานแล้วและมียศศักดิ์เท่ากับหรือเหนือว่าซามูไรผู้เป็นเจ้าบ่าวเท่านั้น (นี่เป็นพิธีสำคัญสำหรับซามูไรที่มียศศักดิ์ต่ำกว่า และเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับซามูไรที่มียศศักดิ์สูงกว่า) ซามูไรส่วนมากมักจะแต่งงานกับผู้หญิงที่มาจากตระกูลซามูไรเหมือนกัน แต่สำหรับซามูไรที่มียศต่ำลงมา การแต่งงานกับหญิงสามัญชนถือเป็นเรื่องที่อนุโลมได้ ส่วนเรื่องของสินสมรส (สินเดิม) ฝ่ายเจ้าสาวจะเป็นผู้ที่นำมาให้เอง เพื่อใช้เริ่มต้นชีวิตใหม่ของพวกเขา", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "54270#61", "text": "ชุโด () คือ ประเพณีแห่งสายใยรักที่เกิดขึ้นระหว่างซามูไรผู้แก่กล้าวิชากับซามูไรที่ยังไร้ประสบการณ์ ที่เปรียบได้ดัง “ดอกไม้แห่งจิตวิญญาณของซามูไร” ที่ได้ก่อร่างสร้างพื้นฐานที่แท้จริงของลัทธิความงามของผู้ที่เป็นซามูไรขึ้นมา ประเพณีนี้มีความคล้ายคลึงกับประเพณีของกรีกโบราณที่ชายวัยผู้ใหญ่มักจะมีความสัมพันธ์ทางเพศกับเด็กผู้ชาย", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "54270#18", "text": "พายุฝนในปี พ.ศ. 1817 (ค.ศ. 1274) และพายุไต้ฝุ่นในปี พ.ศ. 1824 (ค.ศ. 1281) ช่วยให้กองกำลังซามูไรที่ทำหน้าที่ปกป้องญี่ปุ่นไล่ผู้บุกรุกชาวมองโกลกลับไปได้ แม้ว่าฝ่ายตรงข้ามจะมีกำลังพลที่มากกว่าอย่างมากก็ตาม ลมพายุทั้งสองนี้ได้กลายเป็นที่รู้จักกันในชื่อ คะมิ-โนะ-คะเซะ (หรือเรียกอย่างสั้นว่า \"คะมิกะเซะ\") ซึ่งมีความหมายตามตัวอักษรว่า ลมแห่งเทพเจ้า หรือที่แปลกันอย่างง่ายว่า ลมพระเจ้า ไต้ฝุ่นคะมิกะเซะได้สร้างความเชื่อให้แก่ชาวญี่ปุ่นว่าแผ่นดินต่างๆ ของพวกเขาอยู่ภายใต้การปกป้องของเทพเจ้าและสิ่งเหนือธรรมชาติ", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "17806#4", "text": "ในญี่ปุ่นนั้นก็เหมือนกับในที่อื่นๆ ทั่วโลก ที่มีความนิยมมาช้านานที่จะมีการเล่นดนตรีในช่วงอาหารค่ำ หรืองานปาร์ตี้ โดยปกติ ธรรมเนียมดังกล่าวปรากฏในปกรณัมญี่ปุ่นสมัยแรกสุด นับเป็นเวลานานมาแล้ว ที่การร้องและการเต้นรำถือเป็นหนึ่งในความบันเทิงของผู้ใหญ่ในพื้นที่ชนบท มีการเล่นละครโน ในปาร์ตี้น้ำชา โดยเชิญแขกให้มาร่วมชมและร้องชมเชยการแสดง การร้องเพลงและเต้นรำยังเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในหมู่ซามูไรด้วย ทั้งนี้คาดว่าซามูไรทุกคนจะสามารถเต้นรำหรือร้องเพลงได้ ในสมัยไทโชของญี่ปุ่น ร้านอุตะโคะเอะ คิซซา (หมายถึง ร้านกาแฟร้องเพลง) เริ่มเป็นที่นิยมและลูกค้าจะร้องไปกับวงดนตรีที่บรรเลงกันสดๆ", "title": "คาราโอเกะ" }, { "docid": "54270#96", "text": "คำว่า ซามูไร ซึ่งถูกเขียนด้วยอักษรจีน (หรือคันจิ) มีความหมายที่แท้จริงว่า “ผู้ที่ให้การรับใช้อย่างใกล้ชิดแก่เหล่าขุนนาง หรือผู้ที่มีตำแหน่งสูง” ในช่วงก่อนยุคเฮอัง ชาวญี่ปุ่นเรียกคำนี้ว่า ซะบุระปิ ต่อมาก็เปลี่ยนมาเรียกว่า ซะบุไร จนกระทั่งยุคเอโดะ ถึงจะเรียกว่า ซามูไร เหมือนในปัจจุบัน", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "39734#14", "text": "\"โอซากะ\" หมายถึง เนินเขาใหญ่ ในสมัยก่อน โอซากะเป็นที่รู้จักกันในชื่อ \"นานิวะ\" และไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเปลี่ยนเป็นโอซากะตั้งแต่เมื่อใด แต่มีหลักฐานพบการเรียกชื่อเมืองว่าโอซากะจากข้อความที่ปรากฏในหนังสือ ปี ค.ศ. 1496 ในสมัยก่อน โอซากะ เขียนเป็นคันจิว่า 大坂 แต่คันจิตัวหลังมักอ่านผิดเป็น 士反 ซึ่งมีความหมายว่า \"กบฏซามูไร\" เป็นความหมายที่ไม่ค่อยจะดีนัก ในสมัยปฏิรูปเมจิ ปี ค.ศ. 1870 จึงได้มีการเปลี่ยนคันจิของโอซากะใหม่เป็น 大阪 และใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน และคันจิตัวหลัง คือ 阪 (อ่านออกเสียงแบบองโยมิว่า \"ฮัน\") ก็ใช้กันอย่างกว้างขวางว่ามีความหมายถึงนครโอซากะ และจังหวัดโอซากะเท่านั้น ", "title": "โอซากะ" }, { "docid": "62246#5", "text": "ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 1817 ชาวมองโกลของกุบไลข่านบุกญี่ปุ่นที่อ่าวฮากาตะ ด้วยกองทัพเรือ 800 ลำ และกำลังพลสามหมื่นนาย เหล่าซามูไรต้องการจะสู้กันตัวต่อตัวอย่างมีมารยาทเยี่ยงสุภาพบุรุษกับนักรบระดับผู้นำ แต่ไม่ได้ผล พวกซามูไรต้องปะทะสู้ที่ชายหาดกับฝูงธนูอาบยาพิษและระเบิด เป็นสงครามที่ไม่มีระเบียบและตกเป็นรอง พายุไต้ฝุ่นช่วยทำลายกองเรือของชาวมองโกลจนหมดสิ้น การรบครั้งแรกเหมือนการหยั่งเชิงของชาวมองโกลเพื่อดูกำลังของศัตรู อีกเจ็ดปีต่อมาพวกมองโกลกลับมาอีกครั้งด้วยกองเรือ 4,000 ลำ พร้อมกองทหารอีกสองแสน พวกซามูไรรบพุ่งกับลูกธนูอย่างกล้าหาญ พวกเขาตัดเรื่องมารยาททิ้งไป ตกกลางคืนเหล่าซามูไรพายเรือลอบเข้าโจมตีพวกมองโกลประชิดตัวด้วยการใช้ดาบที่ช่ำชอง ดาบทหารมองโกลไม่มีทางสู้ดาบซามูไรได้เลย ระหว่างสงครามพายุไต้ฝุ่นก็ทำลายกองเรือของมองโกลอีกครั้ง กองเรือสองในสามจมไปกับทะเลพายุ ทหารมองโกลจมน้ำตายนับหมื่น พวกที่ว่ายน้ำเข้าฝั่งก็ตายด้วยคมดาบอย่างหมดทางสู้ ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าเมืองนี้ถูกปกป้องจากพระเจ้า และตั้งชื่อลมพายุนี้ว่า \"คามิกาเซะ\" (Kami-Kaze) หมายถึงลมศักดิ์สิทธิ์ หรือลมผู้หยั่งรู้ หลังจากนั้นพวกมองโกลก็ไม่ได้กลับมาตีญี่ปุ่นอีกเลย", "title": "คาตานะ" }, { "docid": "54270#129", "text": "ขณะที่ซามูไรกำลังมีชีวิตโลดแล่นอยู่ในการ์ตูนเรื่องต่างๆ ของญี่ปุ่น หนังสือการ์ตูนสัญชาติอเมริกันหลายๆ เรื่องก็ได้หยิบเอาลักษณะเฉพาะของซามูไรไปปรับแต่งใหม่ให้เข้ากับตัวละครของพวกเขาเองเช่นเดียวกัน ที่เห็นได้ชัดก็คือ วูล์ฟเวอรีน หนึ่งในยอดมนุษย์แห่งมาร์เวล ยูนิเวอร์ส ที่ปรากฏตัวครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ 80 ก็มีความพยายามที่จะใช้อุดมการณ์และฐานคติของซามูไรเกี่ยวกับวิธีการในการควบคุมความอารมณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นในของเขา นอกจากนั้น ลักษณะของโรนิง หรือซามูไรที่ไร้เจ้านาย ก็ยังถูกนำไปใช้เป็นตัวละครของการ์ตูนอเมริกาบางเรื่องด้วย เช่นเรื่อง โรนิน ของแฟรงค์ มิลเลอร์ และ อุซะงิ โยจิมโบ ของสแตน ซาไก", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "420408#0", "text": "บูชิโด (, หมายถึง \"วิถีนักรบ\") เป็นคำภาษาญี่ปุ่นใช้อธิบายจรรยาบรรณแบบญี่ปุ่นและวิถีชีวิตซามูไร ซึ่งมีส่วนคล้ายคลึงกับมโนทัศน์วีรคติของยุโรปอยู่บ้าง บูชิโดถือกำเนิดขึ้นจากประมวลศีลธรรมซามูไร และเน้นความมัธยัสถ์ ความภักดี ความชำนาญในศิลปะป้องกันตัว และรักษาไว้ซึ่งเกียรติกระทั่งตาย (honor unto death) บูชิโดเกิดจากลัทธิขงจื๊อใหม่ระหว่างช่วงสันติภาพแห่งรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ และตามตำราลัทธิขงจื๊อ บูชิโดยังได้รับอิทธิพลจากศาสนาชินโตและศาสนาพุทธ ซึ่งเปิดให้การดำรงอยู่ของซามูไรให้เติมด้วยปัญญาและความสงบเยือกเย็น บูชิโดพัฒนาขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึง 12 และเอกสารแปลหลายฉบับในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 แสดงอิทธิพลของบูชิโดที่มีอย่างกว้างขวางทั่วญี่ปุ่น แม้นักวิชาการบางคนได้แสดงความเห็นว่า \"คำว่า บูชิโด ด้วยตัวมันเองนั้นมีอยู่น้อยมากในวรรณกรรมก่อนสมัยใหม่\" ", "title": "บูชิโด" }, { "docid": "54270#39", "text": "ตามหลักการแล้ว พันธะที่เกิดขึ้นระหว่างซามูไรกับเจ้านายของพวกเขา (ส่วนใหญ่ก็คือไดเมียว) มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากจากสมัยเก็มเปสู่สมัยเอโดะ ในช่วงนี้ ซามูไรจะให้ความสำคัญต่อคำสอนของปราชญ์ขงจื๊อและเม่งจื๊ออย่างมาก ตำราของปราชญ์ทั้งสองเป็นที่ต้องการของชนชั้นซามูไรที่มีการศึกษา", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "54270#120", "text": "แต่อย่างไรก็ตาม ฐานคติเกี่ยวกับซามูไรที่สื่อออกมาผ่านภาพยนตร์ ในฐานะที่มีความแตกต่างกับอัศวินของยุโรป ได้นำไปสู่ช่องว่างขนาดใหญ่ระหว่างนักรบหรือวีรบุรุษของญี่ปุ่นกับของส่วนอื่นๆ ในโลก เนื่องจากซามูไรนั้น ไม่จำเป็นจะต้องสูงหรือมีกล้ามเป็นมัดเพื่อให้ดูแข็งแรง พวกเขาสามารถที่จะเป็นซามูไรทั้งที่มีความสูงเพียง 150 เซนติเมตร หรืออ่อนแอ หรือว่าพิการก็ได้ เรื่องของขนาดและพลังจึงไม่ใช่ปัจจัยทางด้านความงามที่ยั่วยวนใจชาวญี่ปุ่นเท่าไรนัก ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายที่สุดสามารถพบได้ในเรื่อง ซาโตอิจิ (ไอ้บอดซามูไร) ซามูไรตาบอดผู้มีฝีมือ ซึ่งถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์และภาพยนตร์ทางจอเงินอยู่หลายตอน", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "54270#133", "text": "นอกจากเกมต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว ก็ยังมีเกมอย่าง ทากาดะ ชิงเง็ง, เซ็งโงกุ มูโซว, เบรฟว์ เฟ็นเซอร์ มูซาชิ, โอนิมูชา, เวย์ ออฟ เดอะ ซามูไร, เก็นจิ และ เซเว็น ซามูไร 20XX HAKUOUKIที่มีซามูไรเป็นตัวเอกเช่นกัน", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "54270#101", "text": "เมื่อมาถึงตอนต้นยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่น โดยเฉพาะยุคอะซุชิโมะโมะยะมะและต้นยุคเอโดะ เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ความหมายของคำว่า ซามูไร (ซึ่งนำมาใช้แทนคำว่า ซะบุไร ในตอนนั้น) ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "54270#114", "text": "ละครชุดทางโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับซามูไรอีกเรื่องหนึ่งคือ อะบะเร็มโบะ โชงุง ละครเรื่องนี้ประกอบไปด้วยตัวละครที่เป็นซามูไรทุกระดับชั้นไล่ตั้งแต่โชกุนลงมาถึงซามูไรระดับล่างที่สุด รวมไปถึงโรนิง ที่ถือได้ว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญของเรื่องนี้ด้วย", "title": "ซามูไร" }, { "docid": "52331#0", "text": "โรนิน () คือชื่อเรียกของซามูไร ที่ไร้สังกัดในช่วงสมัยการปกครองระบบขุนนางของประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ. 1728 – พ.ศ. 2411) เหตุที่ทำให้ซามูไรเหล่านี้กลายเป็นโรนิง มาจากการที่เจ้านายของพวกเขาล่มสลาย หรือสูญเสียความนิยมหรือสิทธิพิเศษไป เมื่อซามูไรไร้ผู้ที่เป็นเจ้านายของตนแล้ว เขาก็จะมิใช่ซามูไรอีกต่อไป เพราะคำว่า ซามูไร มีที่มาจากคำกริยาที่ว่า \"\"ซาบุเรา\"\" ซึ่งแปลว่า \"รับใช้\" ความหมายของซามูไรจึงแปลว่า \"ผู้รับใช้\" เมื่อไม่มีเจ้านาย พวกเขาก็ไม่ใช่ผู้รับใช้อีก", "title": "โรนิง" }, { "docid": "4575#1", "text": "บาโช เกิดในอิงะ ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดมิเอะ ในตระกูลซามูไร ภายหลังจากการใช้ชีวิตหลายปีภายใต้วิถีชีวิตซามูไร เข้าได้ค้นพบว่าการเป็นนักประพันธ์นั้นเหมาะกับเขามากกว่า เขาจึงได้ละทิ้งวิถีชีวิตซามูไร บาโชได้เริ่มใช้ชีวิตแบบกวีเมื่อได้รับใช้เจ้านายในฐานะซามูไร ในตอนแรกเขาได้ตั้งชื่อตนเองว่า \"โทเซ\" (桃青 \"Tosei\") ตามบทกวีโทเซ ซึ่งหมายถึงผลพีชเล็ก ๆ ด้วยบาโชมีความยกย่องนับถือในตัวกวีจีนชื่อหลี่ไป๋ (李白 Lǐ Bái) ซึ่งหมายถึงลูกพลัมสีขาว", "title": "มัตสึโอะ บาโช" } ]
2903
พุ่มพวง ดวงจันทร์ เป็นนักร้องครั้งแรกตอนอายุเท่าไหร่ ?
[ { "docid": "64704#8", "text": "ในปี พ.ศ. 2518 เมื่ออายุได้ 15 ปี ไวพจน์ เพชรสุพรรณ นำวงดนตรีมาแสดงที่วัดทับกระดาน เธอได้ร่วมร้องเพลงและแสดงความสามารถจนไวพจน์เห็นความสามารถ เกิดความเมตตา จึงรับเป็นบุตรบุญธรรมและพาไปอยู่กรุงเทพฯ เริ่มต้นอาชีพด้วยการเป็นหางเครื่องและนักร้องพลาง ๆ ก่อนที่ไวพจน์ จะแต่งเพลงและอัดแผ่นเสียงชุดแรกให้ ชื่อเพลง \"แก้วรอพี่\" เพลงแต่งแก้กับเพลง \"แก้วจ๋า\" โดยใช้ชื่อในการร้องเพลงว่า น้ำผึ้ง เมืองสุพรรณ ซึ่งจากการอยู่ในวงดนตรีไวพจน์ เพชรสุพรรณ ทำให้เธอสนิทสนมกับธีระพล แสนสุข ทำให้ต้องแยกออกจากวงดนตรีไวพจน์ เพชรสุพรรณ มาเริ่มงานกับศรเพชร ศรสุพรรณ โดยทำงานเป็นทั้งหางเครื่องและนักร้องในวง และย้ายมาอยู่กับขวัญชัย เพชรร้อยเอ็ด", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" } ]
[ { "docid": "64704#7", "text": "รำพึง ชื่นชอบการร้องเพลงลูกทุ่งตั้งแต่เด็ก ถึงแม้ว่าเธอจะอ่านหนังสือไม่ออกแต่ก็มีความจำดีเยี่ยม เธอเริ่มหัดร้องเพลงและเข้าประกวดตามงานต่าง ๆ ตั้งแต่อายุ 8 ปี โดยใช้ชื่อว่า \"น้ำผึ้ง ณ ไร่อ้อย\" เธอเข้าประกวดล่ารางวัลไปทั่ว ตั้งแต่อำเภอศรีประจันต์ บางปลาม้า แล้วข้ามจังหวัดไปถึงอำเภอเสนา ผักไห่ มหาราช วิเศษชัยชาญ บ้านแพรก หนองโดน พระพุทธบาท สระบุรี และต่อมาอยู่กับวงดนตรีที่กรุงเทพฯ กับ ดวง อนุชา ตั้งแต่อายุประมาณ 10 ขวบ แต่ยังไม่ได้เป็นนักร้องอาชีพก็กลับบ้านอำเภอสองพี่น้อง", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "64704#0", "text": "พุ่มพวง ดวงจันทร์ (4 สิงหาคม พ.ศ. 2504 – 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535) ชื่อเล่น ผึ้ง ชื่อจริง รำพึง จิตรหาญ เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่ง เจ้าของฉายา ราชินีลูกทุ่ง ได้ชื่อว่ามีน้ำเสียงออดอ้อน หวาน จำเนื้อร้องได้แม่นทั้งที่ไม่รู้หนังสือ และเป็นแม่แบบให้แก่นักร้องรุ่นหลัง", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "611783#1", "text": "เริ่มเข้าสู่วงการโดยยุคสมัยที่พุ่มพวง ดวงจันทร์ เสียชีวิต ได้มีการจัดประกวดร้องเพลงของพุ่มพวง ดวงจันทร์ และหญิงได้ส่งเพลงเข้าประกวดและผ่านเข้ารอบ 30 คนสุดท้าย ทางพี่ทีมงานเขาเห็นความอดทนของเราจึงขอให้ อ.นพนันท์ ขวัญประภา นักแต่งเพลงชื่อดังแต่งเพลงให้ 3 เพลง โดยเพลงที่โด่งดัง คือเพลงสงสารชาวเรือ และนำไปเปิดตามสถานีวิทยุต่าง ๆ ซึ่งการตอบรับดีมากเพราะตอนนั้นไม่มีนักร้องลูกทุ่งภาคใต้เลย ทางผู้จัดการได้มีการนำไปฝากร่วมทำงานกับ ยิ่งยง ยอดบัวงาม ประมาณปี 2537 ซึ่งตอนนั้นโด่งดังมากับเพลง \"สมศรี 1992\"", "title": "ดวงจันทร์ สุวรรณี" }, { "docid": "64704#13", "text": "พุ่มพวงเข้าสู่วงการภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2526 และแสดงหนังเรื่องแรก \"สงครามเพลง\" สร้างโดยฉลอง ภักดีวิจิตร และอีกหลายเรื่อง ในช่วงที่แสดงภาพยนตร์เรื่อง \"มนต์รักนักเพลง\" ได้พบกับ (ไกรสร แสงอนันต์) ผลงานการแสดงของเธอในฐานะนางเอก อย่างเช่น \"สงครามเพลง\", \"รอยไม้เรียว\", \"ผ่าโลกบันเทิง\", \"นักร้อง นักเลง\", \"นางสาวกะทิสด\", \"มนต์รักนักเพลง\", \"ลูกสาวคนใหม่\", \"อีแต๋น ไอเลิฟยู\", \"หลงเสียงนาง\", \"จงอางผงาด\", \"ขอโทษทีที่รัก\", \"คุณนาย ป.4\", \"อาจารย์เด๋อเจอพุ่มพวง\", \"สาวนาสั่งแฟน\", \"เสน่ห์นักร้อง\", \"นางสาวยี่ส่าย\" (ภาพยนตร์โทรทัศน์) เป็นต้น", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "64704#18", "text": "ในปี พ.ศ. 2527 พุ่มพวงจดทะเบียนสมรสกับนายไกรสร ลีละเมฆินทร์ อดีตพระเอกภาพยนตร์ ที่ใช้ชื่อในวงการว่า ไกรสร แสงอนันต์ ต่อมาพุ่มพวงฝึกหัดเขียนหนังสือจนสามารถเขียนชื่อตัวเองได้ เพื่อประโยชน์ทางนิติกรรมต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2530 มีบุตรชายชื่อ สันติภาพ (ต่อมาเปลี่ยนชือเป็น สรภพ) หรือ \"เพชร\" หรือ \"บ่อยบ๊อย\" ลีละเมฆินทร์ ซึ่งก็เป็นนักร้องลูกทุ่ง นอกจากนี้ยังมี จันทร์จวง ดวงจันทร์ ดวงใจ ดวงจันทร์ และสลักจิต ดวงจันทร์ น้องสาวพุ่มพวงก็เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งเช่นกัน", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "64704#11", "text": "พุ่มพวง ดวงจันทร์ เข้ามาอยู่สังกัดอโซน่า โปรโมชั่น ในปี พ.ศ. 2525 ผลงานในระหว่างปี 2525-2535 ของเธอมีมากมายอย่างเช่น \"จะให้รอ พ.ศ.ไหน\" (มิ.ย. 2525) \"นัดพบหน้าอำเภอ\" (2526) \"สาวนาสั่งแฟน\" (2527) \"ทิ้งนาลืมทุ่ง\" (2527) \"คนดังลืมหลังควาย\" (2528) \"อื้อฮื้อ ! หล่อจัง\" (2528) \"ห่างหน่อย – ถอยนิด\" (2529) \"ชั่วเจ็ดที-ดีเจ็ดหน\" (2529) \"เรื่องของสัตว์โลก\" (2529) และ \"คิดถึงน้องบ้างนะ\" (2530) ซึ่งสามชุดหลังเป็นชุดที่ออกหลังที่พุ่มพวงออกจากค่ายอโซน่า โปรโมชั่นแล้ว", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "64704#9", "text": "ในปี พ.ศ. 2519 ครูเพลงลูกทุ่งชื่อดัง มนต์ เมืองเหนือ รับเป็นลูกศิษย์ และเปลี่ยนชื่อจากน้ำผึ้ง เมืองสุพรรณเป็น \"พุ่มพวง ดวงจันทร์\" จากการตั้งชื่อโดย มนต์ เมืองเหนือ และได้บันทึกเสียงจากการแต่งของก้อง กาจกำแหง ร้องแก้ขวัญชัย เพลงนั้นคือ \"รักไม่อันตรายและรำพึง\" และตั้งวงดนตรีเป็นของตนเอง โดยการสนับสนุนของคารม คมคาย นักจัดรายการวิทยุ มนต์ เมืองเหนือแต่ไม่ประสบความสำเร็จก็มาสังกัดบริษัทเสกสรรเทป-แผ่นเสียงผลงานของพุ่มพวง ดวงจันทร์เริ่มประสบความสำเร็จในเวลาต่อมาหลังจากได้รับการสนับสนุนจากประจวบ จำปาทองและปรีชา อัศวฤกษ์นันท์ให้ตั้งวงร่วมกับเสรี รุ่งสว่าง ในชื่อวง เสรี-พุ่มพวง จากจุดนี้ก็ได้รับความสำเร็จขึ้น", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "64704#24", "text": "ส่วนสื่อสิงพิมพ์ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ เคยนำเสนอแฟชั่นหน้าคู่กลาง ราวปี 2538 เดือนมิถุนายน กับแนวความคิด “ชีวิตพุ่มพวง ดวงจันทร์” ใช้ “งานรำลึกพุ่มพวง ดวงจันทร์” มาเป็นฉากหลังของแฟชั่น มีนางแบบคือ ยุ้ย ญาติเยอะ ที่มีหน้าตาละม้ายพุ่มพวงและยังถือเป็นเงาเสียงของพุ่มพวงในสมัยประกวดคอนเสิร์ตคอนเทสต์ โดยจำลองชีวิตของพุ่มพวงตั้งแต่การออกจากโรงเรียนเพื่อทำงาน การเป็นสาวไร่อ้อย จนถึงนักร้อง โดยมีการใช้ภาพจริงประกอบ", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "153666#9", "text": "ในปี พ.ศ. 2523 ครูฉลองแต่งเพลงให้ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ร้องและปี 2525 2526 2527 ห้างอโซน่ามาขอซื้อลิขสิทธิ์ให้พุ่มพวงร้องบันทึกเทปวางจำหน่ายร้องเพลงคู่กันเพลงหนึ่งเขียนให้ พุ่มพวง ร้องอีกเพลงหนึ่งเขียนให้นักร้องชายร้องเนื้อเพลงขึ้นต้นว่า… \"นึกไว้ แล้ว ๆ เชียว ว่า… นึก….ทุกอย่างคนงาม ๆ สักวันก็ลืมด้ามเคียว\" ส่วนเพลงทำนองเดียวกับเพลงนี้ให้ชื่อว่า คนดังลืมหลังควาย บันทึกแล้วดังเปรี้ยง ขายเพลงที่แต่งได้ 3,000 บาท ในสมัยนั้นสุชาติ เทียนทอง , สรวง สันติ เขาขาย 2,000 บาท หลังจากนั้นปรับเป็นเพลงละ 5,000 บาท ตอนหลังจึงมาขึ้นเป็นเพลงละ 10,000 บาท", "title": "ฉลอง ภู่สว่าง" } ]
3100
พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ มรณภาพเมื่อไหร่?
[ { "docid": "908995#0", "text": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ หรือ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม (27 มกราคม พ.ศ. 2432 - 8 กันยายน พ.ศ. 2504) เป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ชาวจังหวัดอุบลราชธานี พระป่ากรรมฐานศิษย์องค์สำคัญของ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" } ]
[ { "docid": "908995#24", "text": "ปี พ.ศ. 2489 ในขณะที่พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้กลับไปพำนักจำพรรษา ณ วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา นั้น พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ได้มรณภาพ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 ณ ณ วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ในการนี้ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ได้บัญชาให้จัดพิธีฌาปนากิจโดยไม่ชักช้า พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม จึงได้จัดพิธีฌาปนากิจ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2489", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" }, { "docid": "908995#13", "text": "ปี พ.ศ. 2470 ในวันเพ็ญ เดือน 3 ก่อนเข้าพรรษา คณะพระธุดงค์กรรมฐานของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ปักหลักอยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี และได้จัดประชุมคณะสงฆ์ขึ้นในช่วงวันมาฆบูชา ซึ่งในการนี้ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้ปรารภถึงการออกธุดงค์วิเวกเพียงลำพังเพื่อพิจารณาค้นคว้าในปฏิปทาสัมมาปฏิบัติอันเป็นธรรมอันสูงสุด และได้มอบภารธุระทุกอย่างให้แก่ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ศิษย์อาวุโสเป็นผู้บริหารปกครองหมู่คณะสงฆ์ แนะนำพร่ำสอน ตามแนวทางที่ท่านได้ให้ไว้แล้วต่อไป", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" }, { "docid": "908995#9", "text": "ปี พ.ศ. 2463 พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้ธุดงค์วิเวกไปพักจำพรรษาเพียงลำเพียงรูปเดียว ณ ถ้ำผาบิ้ง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เมื่อได้โอกาสดีจึงเร่งความเพียรแต่ต้นพรรษา จนถึงกลางเดือน 9 ได้เกิดความอัศจรรย์ทางจิต เกิดความรู้ความเห็นแจ่มแจ้งในพระธรรมวินัย จึงเร่งความเพียรต่อไปตลอดไตรมาส ได้เกิดความเข้าใจว่า \"\"พระพุทธเจ้าทรงเป็นวิภัชวาที (ผู้จำแนกธรรม) ตรัสจำแนกขันธ์ 5 ในตัวเรา หรือ กายกับใจ ออกเป็นพระธรรมวินัยถึง 84000 พระธรรมขันธ์ เมื่อกล่าวความจริงแล้ว ตัวคนเรา หรือ กายกับใจ นี้เป็นตัวอริยสัจทั้ง 4 คือ ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา รวมกันเป็นธรรมแท่งเดียว\"\" ในตอนนี้ท่านบันทึกต่อว่า \"\"ความรู้ที่เกิดขึ้นในตอนนี้ ละเอียดเฉียบแหลมคมคายมาก รู้จักตัดสินพระธรรมวินัยได้เด็ดขาด ทำให้การปฏิบัติพระธรรมและพระวินัยเป็นไปอย่างเด็ดเดี่ยวมั่นคงและกล้าหาญ\"\"", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" }, { "docid": "908995#8", "text": "ในการกลับมาจังหวัดอุบลราชธานีในครั้งนี้ ได้รับบัญชาจาก สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ในขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ \"พระราชมุนี\" เจ้าอาวาสวัดสุปัฏนารามวรวิหารและเจ้าคณะมณฑลอุบลราชธานี ให้ช่วยสั่งสอนพุทธบริษัทในวัดสุปัฎน์ (วัดสุปัฏนารามวรวิหาร) และวัดสุทัศน์ (วัดสุทัศนาราม) อีกด้วย และหลังออกจากพรรษาในปี พ.ศ. 2461 ท่านได้ออกธุดงค์ติดตามหา หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และพำนักจำพรรษาในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" }, { "docid": "908995#23", "text": "ปี พ.ศ. 2487 พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้ไปพำนักจำพรรษา ณ วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจาก พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล พระน้องชายอาพาธและพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าแสนสำราญแห่งนี้ อีกทั้ง สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ก็อาพาธและได้มาพักรักษาตัวอยู่ที่วัดสุปัฏนารามวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเจ้าประคุณสมเด็จฯก็ได้บัญชาให้ท่านมาอยู่พำนักจำพรรษาในที่ใกล้ๆไปมาเยี่ยมเยียนกันได้ง่าย", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" }, { "docid": "908995#6", "text": "ปี พ.ศ. 2458 หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้กลับจากเขาสาริกา จังหวัดนครนายก ไปพักจำพรรษา ณ วัดบูรพาราม จังหวัดอุบลราชธานี มีกิตติศัพท์ขจรไปว่า ท่านได้สำเร็จธรรมจากเขาสาริกา ดังนั้น พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม จึงได้ไปศึกษากรรมฐานกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านให้กรรมฐาน \"กายคตาสติ\" ข้อ \"ปัปผาสะ ปัญจกะ\" (คือ \"หทยํ ยกนํ กิโลมกํ ปิหกํ ปปฺผาสํ\") ให้เป็นบทบริกรรม ในช่วงปีนี้ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้ถวายตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พร้อมกับเพื่อนสหธรรมิกคือ พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล เมื่อได้ถวายตัวเป็นศิษย์และได้ฝึกทำสมาธิกับครูบาอาจารย์ จิตใจสงบดี มีความสังเวชสลดใจเกิดความเบื่อหน่ายในการประกอบคันถธุระ เชื่อแน่ว่ายังไม่หมดเขตสมัยมรรคผลนิพพาน เพราะหนทางการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีอยู่ จึงตกลงบำเพ็ญด้านวิปัสสนาธุระสืบไป และได้ออกธุดงค์ติดตาม หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต นับแต่นั้นมาไป ซึ่งท่านได้ธุดงค์วิเวกตามป่าเขาสถานที่ต่างๆในเขตจังหวัดมุกดาหาร จังหวัดนครพนม จังหวัดหนองคาย", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" }, { "docid": "908995#12", "text": "ในปีนี้ ท่านได้ทำการอบรม พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ป.ธ.5 ผู้เป็นพระน้องชาย ในทางวิปัสสนาธุระ จนกระทั่งพระมหาปิ่นผู้เป็นน้องชายได้ตัดสินใจออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมกรรมฐานศึกษาด้านวิปัสสนาธุระ และเผยแผ่พระธรรมคำสอนสู่ประชาชนเคียงบ่าเคียงไหล่พระพี่ชาย ชื่อเสียงขจรหอมฟุ้งร่ำลือไปไกล จนมีผู้จนเลื่อมใสศรัทธาอย่างกว้างขวางมาจนถึงปัจจุบัน", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" }, { "docid": "908995#16", "text": "ปี พ.ศ. 2475 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ในขณะที่ดำรงสมณศักดิ์ที่ \"พระธรรมปาโมกข์\" และดำรงตำแหน่งเป็น \"เจ้าอาวาสวัดสุทธจินดาวรวิหาร\" และ \"เจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา\" ได้บัญชาให้ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระและหลักธรรมคำสอนให้แก่ประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมา ดังนั้น พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม จึงนำหมู่คณะสงฆ์ อาทิ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ เดินทางมุ่งสู่งจังหวัดนครราชสีมา", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" }, { "docid": "908995#21", "text": "ปี พ.ศ. 2485 พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้เดินทางไปจังหวัดนครจัมปาศักดิ์ ประเทศไทย ในขณะนั้น เพื่อรับสรีระสังขาร หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งได้มรณภาพในอิริยาบถนั่งกราบพระประธานครั้งที่ 3 ในพระอุโบสถวัดอำมาตยาราม อำเภอวรรณไวทยากร จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ ประเทศไทย ในขณะนั้น (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของแขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว) เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 สิริอายุ 82 ปี พรรษา 62 คณะศิษย์ได้เชิญศพของท่านกลับมา ณ วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และได้ประกอบพิธีฌาปนกิจในวันที่ 15 - 16 เมษายน พ.ศ. 2486", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" }, { "docid": "908995#26", "text": "ปี พ.ศ. 2504 พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้จัดงานผูกพัทธสีมาพระอุโบสถวัดป่าสาลวันขึ้น ในการนี้ ได้ถือโอกาสจัดประชุมใหญ่คณะสงฆ์พระกรรมฐาน ทั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคอื่นๆ ได้มีตัวแทนพระภิกษุสงฆ์มาร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก เพื่อปรึกษาหารือข้อปัญหาทางพระวินัย และระเบียบการเดินธุดงค์ของคณะพระกรรมฐาน เพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจมีขึ้นเนื่องจากการเดินธุดงค์ไปต่างถิ่นห่างไกลครูบาอาจารย์ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 และเมื่อเสร็จการประชุมแล้ว คณะสงฆ์ได้พร้อมเพรียงกันสวดถอดถอน และผูกพัทธสีมาพระอุโบสถวัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 7 -8 พฤษภาคม พ.ศ. 2504", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" }, { "docid": "908995#10", "text": "หลังจากออกพรรษาในปี พ.ศ. 2463 ท่านได้เดินทางไปหาหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งพำนักอยู่ที่จังหวัดสกลนคร และธุดงค์ติดตามต่อไปในเขตจังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร และในช่วงนี้ได้ท่านได้พำนักกับ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์ของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต อีกด้วย", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" }, { "docid": "908995#14", "text": "ปี พ.ศ. 2471 \"พระครูพิศาลอรัญเขต\" ในกาลต่อมาก็คือ พระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์และเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่นในขณะนั้น ได้ทำหนังสือไปนิมนต์พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ศิษย์อาวุโสในองค์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ให้มาช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาธรรมปฏิบัติให้แก่ประชาชนจังหวัดขอนแก่น ท่านจึงได้กราบเรียนปรึกษาหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เมื่อเห็นว่าเหมาะสมดีแล้ว จึงมอบให้เป็นหน้าที่ของพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม รับนิมนต์", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" }, { "docid": "908995#20", "text": "ในปีนี้ ช่วงที่พำนักอยู่ \"วัดป่าไพโรจน์\" พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้เดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเป็นประธานในการจัดงานถวายมุทิตาจิต หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล อายุครบ 80 ปี โดยจัดขึ้น ณ วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี", "title": "พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)" } ]
610
นิวเคลียสคืออะไร?
[ { "docid": "19853#0", "text": "นิวเคลียส (English: nucleus, พหูพจน์: nucleuses หรือ nuclei (นิวคลีไอ) มีความหมายว่า ใจกลาง หรือส่วนที่อยู่ตรงกลาง โดยอาจมีความหมายถึงสิ่งต่อไปนี้ โดยคำว่า นิวเคลียส (Nucleus) เป็นคำศัพท์ภาษาละตินใหม่ (New Latin) มาจากคำศัพท์เดิม nux หมายถึง ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว (English: nut)", "title": "นิวเคลียส" } ]
[ { "docid": "296136#4", "text": "ในระดับนิวเคลียส พลังงานยึดเหนี่ยวก็เท่ากับพลังงานที่ถูกใช้ปลดปล่อยให้เป็นอืสระเมื่อนิวเคลียสหนึ่งถูกสร้างขึ้นจากนิวคลีออนหรือนิวเคลียสอื่น ๆ พลังงานยึดเหนี่ยวนิวเคลียส () นี้(หมายถึงพลังงานยึดเหนี่ยวของนิวคลีออนทั้งหลายให้เป็นหนึ่งนิวไคลด์) ได้มาจาก'แรงนิวเคลียส' (ปฏิสัมพันธ์ที่เหลือค้างอย่างแรง)และเป็นพลังงานที่ต้องใช้เพื่อแยกนิวเคลียสหนึ่งให้แตกออกเป็นนิวตรอนและโปรตอนอิสระในจำนวนที่เท่ากันกับที่พวกมันถูกยึดเหนี่ยวกันไว้ โดยที่นิวคลีออนเหล่านั้นจะต้องมีระยะห่างจากกันเพียงพอที่จะไม่ทำให้แรงนิวเคลียร์สามารถทำให้อนุภาคเหล่านั้นมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอีกต่อไป 'มวลส่วนเกิน' เป็นแนวคิดที่สัมพันธ์กันที่เปรียบเทียบเลขมวลของนิวเคลียสหนึ่งกับมวลที่วัดได้อย่างแท้จริงของมัน", "title": "พลังงานยึดเหนี่ยว" }, { "docid": "19858#15", "text": "รัศมีของนิวเคลียส (\"R\") ถูกพิจารณาว่าเป็นหนึ่งในปริมาณพื้นฐานที่ทุกแบบจำลองจะต้องคาดการณ์เอา สำหรับนิวเคลียสที่เสถียร (ไม่ใช่นิวเคลียสที่มีรัศมีหรือนิวเคลียสบิดเบี้ยวอื่น ๆ ที่ไม่เสถียร) รัศมีของนิวเคลียสจะมีค่าโดยประมาณเป็นสัดส่วนกับรากที่สามของเลขมวล (\"A\") ของนิวเคลียสและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในนิวเคลียสที่มีนิวคลีออนจำนวนมาก เมื่อพวกมันจัดเรียงตัวแบบทรงกลมมากขึ้น:", "title": "นิวเคลียสของอะตอม" }, { "docid": "47849#13", "text": "ด้วยเอกสารของ Yukawa รูปแบบที่ทันสมัย​​ของอะตอมได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว ศูนย์กลางของอะตอมจะมีลูกกลมแน่นของนิวตรอนและโปรตอน ซึ่งถูกยึดเข้าด้วยกันโดยแรงนิวเคลียสที่แข็งแกร่ง นอกเสียจากว่ามันจะมีขนาดใหญ่เกินไป นิวเคลียสที่ไม่เสถียรอาจสลายตัวไห้แอลฟา ที่พวกนิวเคลียสปล่อยนิวเคลียสของฮีเลียมที่มีพลังออกมา หรือการสลายที่ให้บีตาพวกนิวเคลียสปลดปล่อยอิเล็กตรอน (หรือโพซิตรอน) ออกมา หลังจากหนึ่งในการสูญสลายเหล่านี้ นิวเคลียสที่เป็นผลลัพธ์อาจจะถูกปล่อยให้อยู่ในสภาพที่ถูกกระตุ้น และในกรณีนี้มันจะสูญสลายไปสู่สภาพพื้นดินโดยการปลดปล่อยโฟตอนพลังงานสูง (การสลายให้แกมมา)", "title": "ฟิสิกส์นิวเคลียร์" }, { "docid": "404685#0", "text": "การแปรนิวเคลียส () เป็นการแปลงธาตุเคมีหรือไอโซโทปหนึ่งเป็นอีกอย่างหนึ่ง หรือกล่าวได้ว่า อะตอมของธาตุสามารถเปลี่ยนเป็นอะตอมของธาตุอื่นด้วย \"การเปลี่ยนสภาพ\" การแปรนิวเคลียสเกิดขึ้นโดยปฏิกิริยานิวเคลียร์ (ซึ่งอนุภาคภายนอกทำปฏิกิริยากับนิวเคลียส) หรือโดยการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี (ซึ่งไม่ต้องอาศัยอนุภาคภายนอก)", "title": "การแปรนิวเคลียส" }, { "docid": "215735#1", "text": "การหลอมนิวเคลียสสองนิวเคลียสที่มีมวลต่ำกว่าเหล็ก-56 (ที่ พร้อมกับนิกเกิล-62 มีพลังงานยึดเหนี่ยวต่อนิวคลีออนที่ใหญ่ที่สุด) โดยทั่วไปจะปลดปล่อยพลังงานออกมา ในขณะที่การหลอมนิวเคลียสที่หนักกว่าเหล็กจะ \"ดูดซับ\" พลังงาน การทำงานที่ตรงกันข้ามเรียกว่า \"การแบ่งแยกนิวเคลียส\" ซึ่งหมายความว่าโดยทั่วไปองค์ประกอบที่เบากว่าเท่านั้นที่สามารถหลอม เช่นไฮโดรเจนและฮีเลียม และในทำนองเดียวกันโดยทั่วไปองค์ประกอบที่หนักกว่าเท่านั้นที่สามารถแบ่งแยกได้ เช่นยูเรเนียมและพลูโทเนียม มีเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์แบบสุดขั้วอย่างมากที่สามารถนำไปสู่​​ช่วงเวลาสั้น ๆ ของการหลอมด้วยนิวเคลียสที่หนักกว่า นี้เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิด nucleosynthesis ที่เป็นการสร้างธาตุหนักในช่วงเหตุการณ์ที่เรียกว่ามหานวดารา", "title": "การหลอมนิวเคลียส" }, { "docid": "13985#0", "text": "โปรตอน (English: proton หรือ ภาษากรีก: πρώτον / proton = ตัวแรก) เป็น อนุภาคย่อยของอะตอม สัญลักษณ์ p หรือ p+ มีประจุไฟฟ้าเป็นบวกมีค่าประจุมูลฐาน (English: elementary charge) เท่ากับ +1e และมีมวลน้อยกว่ามวลของนิวตรอนเล็กน้อย โปรตอนและนิวตรอนแต่ละตัวมีมวลประมาณ 1 หน่วยมวลอะตอม (u) เมื่อโปรตอนและนิวตรอนอยู่รวมกันในนิวเคลียส พวกมันจะทำตัวเป็น \"นิวคลีออน\" ในนิวเคลียสของอะตอมใด ๆ จะพบโปรตอนอย่างน้อยหนึ่งตัว จำนวนโปรตอนในนิวเคลียสเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติและเป็นตัวบอก เลขอะตอม ของธาตุนั้น คำว่าโปรตอนเป็นภาษากรีกแปลว่า \"ตัวแรก\" ชื่อนี้ถูกกำหนดให้กับนิวเคลียสของไฮโดรเจนโดยนาย Ernest Rutherford ในปี 1920 ในหลายปีก่อนหน้านั้น นายรัทเธอร์ฟอร์ดได้ค้นพบว่านิวเคลียสของไฮโดรเจน (ที่รู้กันว่าเป็นนิวเคลียสที่เบาที่สุด) สามารถสกัดดได้จากหลายนิวเคลียสของไนโตรเจนโดยการชนกัน เพราะฉะนั้น โปรตอนจึงเป็นตัวเลือกที่จะเป็นอนุภาคมูลฐานตัวหนึ่งและเป็นกล่องโครงสร้างของไนโตรเจนและนิวเคลียสของอะตอมหนักกว่าอื่น ๆ ทั้งหมด", "title": "โปรตอน" }, { "docid": "24475#16", "text": "นอกจากคุณสมบัติทาง[[แม่เหล็กไฟฟ้า]]ที่กล่าวข้างต้นแล้ว ประจุยังเป็นคุณสมบัติที่ไม่เปลี่ยนแปลงสัมพัทธ์ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพ คือ หากอนุภาคมีประจุ q ไม่ว่าประจุนั้นจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่าไร ก็จะยังมีประจุ q คุณสมบัตินี้ได้รับการยืนยันโดยการแสดงให้เห็ว่า ค่าประจุในหนึ่งนิวเคลียสของฮีเลียม มี 2 โปรตอน และ 2 นิวตรอนในนิวเคลียสของฮีเลียม และเคลื่อนที่ไปมาด้วยความเร็วสูง มีค่าเท่ากับประจุของนิวเคลียส 2 นิวเคลียสของ[[ดิวเทอเรียม]] ซึ่งมีโปรตอนและนิวตรอนอย่างละหนึ่งตัวในนิวเคลียส และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่ต่ำกว่าที่อยู่ในนิวเคลียสของฮีเลียมมาก", "title": "ประจุไฟฟ้า" }, { "docid": "215735#4", "text": "ต้นกำเนิดของพลังงานที่ปล่อยออกมาในการหลอมรวม () ขององค์ประกอบเบาจะเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ของสองแรงที่ตรงข้ามกัน แรงหนึ่งคือแรงนิวเคลียสซึ่งรวมแรงจากโปรตอนและนิวตรอนเข้าด้วยกัน อีกแรงหนึ่งคือแรงคูลอมบ์ซึ่งเป็นสาเหตุให้โปรตอนทั้งหลายผลักกันเอง โปรตอนจะมีประจุบวกและผลักกันเอง แต่พวกมันก็ยังคงอยู่ติดกัน แสดงให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของอีกแรงหนึ่งที่เรียกว่าแรงดึงดูดของนิวเคลียส แรงนี้ถูกเรียกว่าแรงนิวเคลียร์ที่แข็งแกร่ง มันเอาชนะแรงผลักไฟฟ้าในระยะที่ใกล้กันมาก ผลของแรงนี้จะไม่สังเกตได้นอกนิวเคลียส นั่นคือความแรงจะขึ้นอยู่กับระยะทาง ทำให้มันเป็นแรงวิสัยใกล้ แรงเดียวกันยังดึงนิวคลีออน (นิวตรอนและโปรตอน) ให้อยู่ด้วยกัน เนื่องจากว่าแรงนิวเคลียสจะแข็งแกร่งกว่าแรงคูลอมบ์สำหรับนิวเคลียสของอะตอมที่มีขนาดเล็กกว่าธาตุเหล็กและนิกเกิล การสร้างนิวเคลียสเหล่านี้ขึ้นจากนิวเคลียสที่เบากว่าโดยการหลอม จะปลดปล่อยพลังงานมากขึ้นจากแรงดึงดูดสุทธิของอนุภาคเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม สำหรับนิวเคลียสที่มีขนาดใหญ่กว่า จะไม่มีพลังงานถูกปล่อยออกมา เนื่องจากแรงนิวเคลียสเป็นแรงพิสัยใกล้และไม่สามารถกระทำต่อเนื่องกับนิวเคลียสขนาดใหญ่ที่อยู่นิ่งๆได้ ดังนั้นพลังงานจะไม่ถูกปล่อยออกมาอีกต่อไปเมื่อนิวเคลียสดังกล่าวถูกทำขึ้นโดยการหลอม; แต่พลังงานจะถูกดูดซึมในกระบวนการดังกล่าวแทน", "title": "การหลอมนิวเคลียส" }, { "docid": "19858#21", "text": "ศัพท์หลายคำในสูตรมวลกึ่งเชิงประจักษ์ที่สามารถใช้ในการประมาณพลังงานยึดเหนี่ยวของนิวเคลียสจำนวนมากได้รับการพิจารณาว่าเป็นผลรวมของห้าประเภทของพลังงาน (ดูด้านล่าง) จากนั้นภาพของนิวเคลียสที่เป็นหยดของเหลวที่ไม่อัดแน่นจะเป็นผลมาจากการแปรเปลี่ยนที่สังเกตได้ของพลังงานยึดเหนี่ยวของนิวเคลียส:", "title": "นิวเคลียสของอะตอม" }, { "docid": "19858#6", "text": "นิวเคลียสของอะตอมจะประกอบด้วยอนุภาคนิวตรอนและอนุภาตโปรตอน ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นชัดถึงอนุภาคมูลฐานอื่น ๆ ที่เรียกว่าควาร์ก ที่จะถูกยึดเข้าด้วยกันโดยแรงนิวเคลียร์ที่แข็งแกร่ง ในการผสมกันของอนุภาคที่เสถียรและแน่นอนชุดหนึ่งของแฮดรอนที่เรียกว่าแบริออน แรงนิวเคลียร์ที่แข็งแกร่งจะขยายออกไปจนไกลพอจากแบริออนแต่ละตัวเพื่อที่จะหลอมรวมนิวตรอนและโปรตอนเข้าด้วยกันต้านกับแรงไฟฟ้​​าที่ผลักออกระหว่างโปรตอนด้วยกันที่มีประจุบวก แรงนิวเคลียร์ที่แข็งแกร่งมีระยะทำการที่สั้นมากและเป็นลดลงเป็นศูนย์อย่างรวดเร็วเพียงแค่เลยขอบของนิวเคลียส การปฏิบัติการร่วมกันของนิวเคลียสประจุบวกก็คือเพื่อที่จะยึดอิเล็กตรอนประจุไฟฟ้าลบให้อยู่ในวงโคจรของพวกมันรอบนิวเคลียส การสะสมของอิเล็กตรอนประจุลบที่โคจรรอบนิวเคลียสจะแสดงความเป็นพี่น้องกันเพื่อการกำหนดรูปแบบการทำงานบางอย่างและจำนวนของอิเล็กตรอนที่จะทำให้วงโคจรของพวกมันมีเสถียรภาพ องค์ประกอบทางเคมีที่อะตอมจะแสดงออกมาแบบไหนจะถูกกำหนดโดยจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียสนั้น โดยที่อะตอมที่เป็นกลางจะมีจำนวนของอิเล็กตรอนที่โคจรรอบนิวเคลียสเท่ากันกับจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียส องค์ประกอบทางเคมีของแต่ละอะตอมจะสามารถสร้างรูปแบบการทำงานของอิเล็กตรอนที่มีเสถียรมากยิ่งขึ้นโดยการทำงานร่วมกันเพื่อแบ่งปันอิเล็กตรอนของพวกมัน การแบ่งปันของอิเล็กตรอนเพื่อสร้างวงโคจรรอบนิวเคลียสที่เสถียรทำให้เกิดวิชาการด้านเคมีของโลกแมคโครของเรา", "title": "นิวเคลียสของอะตอม" }, { "docid": "6531#2", "text": "นิวไคลด์จะมีความหมายต่อนิวเคลียสมากกว่าจะมีความหมายต่ออะตอม กลุ่มนิวเคลียสที่เหมือนกันเป็นสมาชิกของนิวไคลด์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นแต่ละนิวเคลียสของคาร์บอน-13 นิวไคลด์จะประกอบด้วย 6 โปรตอนและ 7 นิวตรอน แนวคิดของนิวไคลด์ (หมายถึงสายพันธุ์ของนิวเคลียสแต่ละอย่าง) จะเน้นคุณสมบัติของนิวเคลียสมากกว่าคุณสมบัติทางเคมี ในขณะที่แนวคิดของไอโซโทป (การจัดกลุ่มอะตอมทั้งหมดของแต่ละองค์ประกอบ) จะเน้นด้านเคมีมากกว่าด้านนิวเคลียส เลขนิวตรอนจะมีผลกระทบอย่างมากต่อคุณสมบัติของนิวเคลียส แต่ผลกระทบต่อคุณสมบัติทางเคมีจะมีเพียงเล็กน้อยจนไม่ต้องนำมาคิดสำหรับองค์ประกอบส่วนใหญ่ แม้ในกรณีขององค์ประกอบที่มีน้ำหนักเบามากที่สุดที่อัตราส่วนของเลขนิวตรอนต่อเลขอะตอมจะแตกต่างกันอย่างน้อยที่สุดระหว่างไอโซโทปที่มักจะมีเพียงผลขนาดเล็กเท่านั้น แม้ว่ามันจะมีผลอยู่บ้างในบางสถานการณ์ (สำหรับไฮโดรเจนที่มีองค์ประกอบที่หนักที่สุด ผลไอโซโทปจะมากพอที่จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทางชีววิทยา) เนื่องจากไอโซโทปเป็นคำที่เก่ากว่า มันจึงเป็นที่รู้จักกันดีกว่านิวไคลด์ และบางครั้งมันยังคงถูกใช้ในบริบทที่นิวไคลด์อาจจะเหมาะสมมากกว่าเช่นในเทคโนโลยีนิวเคลียร์และเวชศาสต​​ร์นิวเคลียร์", "title": "ไอโซโทป" }, { "docid": "19853#1", "text": "นิวเคลียสของอะตอม (English: atomic nucleus) - ส่วนใจกลางของอะตอมของธาตุทุกชนิด ส่วนนี้ประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานที่สำคัญ ๒ ชนิด คือ โปรตอน และ นิวตรอน (สำหรับอะตอมของไฮโดรเจนธรรมดา นิวเคลียสมีแต่โปรตอนเท่านั้น ไม่มีนิวตรอน), ส่วนที่สำคัญยิ่งของเซลล์ ลักษณะเหนียวข้นเป็นก้อนประกอบด้วยส่วนย่อย ๆ อีกหลายชนิด มักอยู่ตอนกลางของเซลล์ที่ยังอ่อนอยู่ และอาจร่นไปอยู่ริมเซลล์เมื่อแก่เข้า นิวเคลียสของเซลล์ (cell nucleus) - ออร์แกเนลล์ที่พบในเซลล์ยูแคริโอต ซึ่งเห็นได้เมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ ในเบื้องต้นจะมีโครโมโซมของเซลล์นั้นๆ นิวเคลียส (ระบบประสาท) - กลุ่มของเซลล์ประสาทในระบบประสาทส่วนกลาง นิวเคลียสของดาวหาง (comet nucleus) - แกนแข็งในใจกลางของดาวหาง นิวเคลียสของดาราจักร (galaxy nucleus) - พื้นที่ใจกลางของดาราจักร", "title": "นิวเคลียส" }, { "docid": "746428#0", "text": "ผลผลิตจากฟิชชัน () หรือ ผลผลิตจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน () เป็นชิ้นส่วนที่เหลือหลังจากนิวเคลียสของอะตอมขนาดใหญ่ผ่านขบวนการนิวเคลียร์ฟิชชั่น โดยปกตินิวเคลียสขนาดใหญ่เช่นของยูเรเนียมจะทำการ fission โดยแยกออกเป็นสองนิวเคลียสในขนาดที่เล็กกว่า พร้อมกับนิวตรอนไม่กี่ตัว กับการปล่อยพลังงานความร้อน (พลังงานจลน์ของนิวเคลียส) และรังสีแกมมาออกมา ทั้งสองนิวเคลียสในขนาดที่เล็กกว่าดังกล่าวเป็น\"ผลผลิตจากฟิชชัน\" (โปรดดูเพิ่มเติม ผลผลิตจากฟิชชัน (แบ่งตามองค์ประกอบ))", "title": "ผลผลิตจากฟิชชัน" }, { "docid": "69820#20", "text": "นอกจากนี้ เนื่องจากแรงผลักเป็นสัดส่วนกับผลผลิตของทั้งสองประจุ ปฏิกิริยาระหว่างนิวเคลียสที่หนักด้วยกันจะหาได้ยากกว่าปฏิกิริยาระหว่างนิวเคลียสหนักและนิวเคลียสเบา และจำเป็นต้องมีระดับพลังงานเริ่มต้นที่สูงกว่าอีกด้วย ในขณะที่ปฏิกิริยาระหว่างสองนิวเคลียสเบาเป็นสิ่งที่พบมากที่สุด", "title": "ปฏิกิริยานิวเคลียร์" }, { "docid": "574954#4", "text": "โดยประวัติแล้ว ปมประสาทฐาน (basal ganglia) โดยรวมๆ มีบทบาทในการควบคุมการเคลื่อนไหว\nและโดยเป็นส่วนหนึ่งของปมประสาทฐาน นิวเคลียสมีหางในยุคแรกๆ ได้รับการสันนิษฐานว่ามีบทบาทหลักในการควบคุมการเคลื่อนไหวภายใต้อำนาจจิตใจ (หรือโดยสมัครใจ) แต่ในเร็วนี้ๆ งานวิจัยได้แสดงว่า นิวเคลียสมีหางมีบทบาทอย่างสำคัญในการเรียนรู้และความทรงจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการประมวลฟี้ดแบ็กที่ได้รับ \nคือว่า โดยทั่วๆ ไป การทำงานทางประสาทจะปรากฏในนิวเคลียสมีหางเมื่อบุคคลนั้นกำลังรับฟี้ดแบ็ก ผู้มีภาวะ hyperthymesia ปรากฏว่ามีขนาดของนิวเคลียสมีหางและสมองกลีบขมับที่ใหญ่กว่าปกติ", "title": "นิวเคลียสมีหาง" }, { "docid": "574954#1", "text": "นิวเคลียสมีหางอยู่ใกล้ศูนย์กลาง (medial) ของสมอง อยู่คร่อมทาลามัส มีอยู่ในซีกทั้งสองของสมอง นิวเคลียสแต่ละตัวมีรูปร่างคล้ายอักษรโรมัน C มีหัวใหญ่ ( ) ด้านหน้า และมีตัว ( ) กับหาง ( ) ที่เล็กลงมาตามลำดับ บางส่วนของนิวเคลียสมีหางบางครั้งเรียกว่า \"หัวเข่า\" ( )\nหัวและตัวของนิวเคลียสมีหางรวมกันเป็นปีกหน้าส่วนด้านล่างของ lateral ventricle หลังจากลำตัวที่ยื่นออกไปด้านหลังศีรษะสักระยะหนึ่ง ส่วนหางก็ม้วนกลับมาด้านหน้า กลายเป็นปีกล่างส่วนเพดานของ lateral ventricle ซึ่งหมายความว่าการผ่าแบ่งหน้าหลัง (coronal) ที่ตัดผ่านส่วนหาง ก็ย่อมจะตัดผ่านตัวและหัวของนิวเคลียสมีหางด้วย", "title": "นิวเคลียสมีหาง" }, { "docid": "104741#1", "text": "โครงสร้างหลักของนิวเคลียสคือ เยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear envelope) ซึ่งเป็นเยื่อสองชั้นที่หุ้มทั้งออร์แกเนลล์และทำหน้าที่แยกองค์ประกอบภายในออกจากไซโทพลาซึม (cytoplasm) อีกโครงสร้างหนึ่งคือ นิวเคลียร์ลามินา (nuclear lamina) ซึ่งเป็นโครงสร้างร่างแหภายในนิวเคลียส ทำหน้าที่เป็นโครงร่างค้ำจุน ให้ความแข็งแรงแก่นิวเคลียส คล้ายไซโทสเกลเลตอน (cytoskeleton) ภายในเซลล์ เนื่องจากเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีลักษณะเป็นเยื่อเลือกผ่านที่โมเลกุลส่วนใหญ่ผ่านทะลุเข้าออกไม่ได้ ดังนั้นเยื่อหุ้มนิวเคลียสจึงต้องมีนิวเคลียร์พอร์ (nuclear pore) หรือช่องที่จะให้สารเคลื่อนผ่านเยื่อ ช่องเหล่านี้ทะลุผ่านเยื่อทั้งสองของเยื่อหุ้มนิวเคลียสให้โมเลกุลขนาดเล็กและไอออนเคลื่อนที่เข้าออกนิวเคลียสได้ การเคลื่อนที่เข้าออกของสารโมเลกุลใหญ่ เช่น โปรตีน ต้องมีการควบคุมและต้องใช้โปรตีนช่วยขนส่งสาร (carrier proteins", "title": "นิวเคลียสของเซลล์" }, { "docid": "754830#3", "text": "ในแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของกลศาสตร์ควอนตัมสำหรับกระบวนการการแปลงภายใน, wavefunction ของอิเล็กตรอนที่เปลือกชั้นใน (ปกติจะเป็น \"s\" อิเล็กตรอน) จะแทรกซึมเข้าไปในเนื้อของ นิวเคลียส ซึ่งหมายความว่ามีความเป็นไปได้ที่แน่นอนของการค้นหาอิเล็กตรอนภายในนิวเคลียส เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ อิเล็กตรอนอาจเชื่อมไปยังสภาวะของพลังงานที่ถูกกระตุ้นของนิวเคลียสและใช้พลังงานจากการเปลี่ยนผ่านนิวเคลียสโดยตรง โดยปราศจากรังสีแกมมาช่วงกลางที่ถูกผลิตในครั้งแรก พลังงานจลน์ของอิเล็กตรอนที่ถูกปล่อยออกมาจะเท่ากับพลังงานการเปลี่ยนผ่านในนิวเคลียส, ลบด้วยพลังงานยึดเหนี่ยวของอิเล็กตรอนที่ยึดเหนี่ยวเข้ากับอะตอม", "title": "การแปลงภายใน" }, { "docid": "215735#0", "text": "การหลอมนิวเคลียส () ในทางฟิสิกส์นิวเคลียร์ เป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์อย่างหนึ่งที่นิวเคลียสของอะตอมหนึ่งตัวหรือมากกว่าเข้ามาอยู่ใกล้กัน แล้วชนกันที่ความเร็วสูง รวมตัวกันกลายเป็นนิวเคลียสของอะตอมใหม่ที่หนักขึ้น ในระหว่างกระบวนการนี้ มวลของมันจะไม่เท่าเดิมเพราะมวลบางส่วนของนิวเคลียสที่รวมต้วจะถูกเปลี่ยนไปเป็นพลังงานโปรตอน ", "title": "การหลอมนิวเคลียส" }, { "docid": "363391#1", "text": "ดาวฤกษ์ที่มีอายุมากขึ้นจะสะสมฮีเลียมเอาไว้ ซึ่งเป็นผลผลิตจากห่วงโซ่ปฏิกิริยาโปรตอน-โปรตอนและวงจรซีเอ็นโอซึ่งเกิดขึ้นที่แกนของดาว ผลผลิตที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นต่อเนื่องของฮีเลียมกับไฮโดรเจนหรือนิวเคลียสฮีเลียมอื่นๆ จะทำให้เกิด ลิเทียม-5 และเบริลเลียม-8 ขึ้นมาตามลำดับ ธาตุทั้งสองนี้ไม่เสถียรอย่างรุนแรงและแทบจะสลายตัวกลับไปเป็นนิวเคลียสขนาดเล็กตามเดิมในทันที เมื่อดาวฤกษ์ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนจนหมด แกนของดาวจะเริ่มยุบตัว จนกระทั่งอุณหภูมิในใจกลางเพิ่มสูงขึ้นถึง ~100×10 K (8.6 keV) ถึงจุดนี้นิวเคลียสฮีเลียมจะหลอมเข้าด้วยกันในอัตราที่สูงพอจะเอาชนะอัตราการเกิดผลผลิตของมัน คือเบริลเลียม-8 และสลายตัวกลับไปเป็นนิวเคลียสฮีเลียมสองตัว นั่นหมายความว่าจะมีนิวเคลียสเบริลเลียม-8 น้อยลงในแกนกลาง ซึ่งสามารถหลอมกับนิวเคลียสฮีเลียมตัวอื่นและกลายไปเป็นคาร์บอน-12 ซึ่งเป็นธาตุที่เสถียรกว่า", "title": "กระบวนการทริปเปิล-อัลฟา" }, { "docid": "494374#11", "text": "การตรวจสอบเชิงทฤษฎีเมื่อไม่นานมานี้ได้แสดงให้เห็นว่าในบริเวณ Z=106–108 and N≈160–164 \"เกาะ/คาบสมุทร\" สักแห่งอาจเสถียรโดยคำนึงถึงนิวเคลียร์ฟิชชั่นและการปล่อย β ออกมา นิวเคลียสหนักยิ่งยวดเช่นนั้นสลายตัวโดยการปล่อยอนุภาคออกมาเท่านั้นยิ่งไปกว่านั้น ไม่ใช่ใจกลางของเกาะมหัศจรรย์ดังที่เคยคาดการณ์ไว้ ในทางตรงกันข้าม นิวเคลียสที่มี Z=110 และ N=183 () ดูเหมือนว่าจะอยู่ใกล้ใจกลางของ \"เกาะมหัศจรรย์\" ที่เป็นไปได้ (Z=104–116 และ N≈176–186) ในบริเวณ N≈162 รอดชีวิตจากการสลายตัวแบบบีตา-เสถียรและนิวเคลียร์ฟิชชั่นและครึ่งชีวิตของการสลายตัวให้อนุภาคแอลฟาที่ทำนายไว้ของไอโซโทปนี้อยู่ราว ~3.2 ชั่วโมง มากกว่า (~28 วินาที) ซึ่งมีนิวเคลียสรูปทรงผิดเพี้ยนที่มหัศจรรย์สองเท่า อย่างไรก็ตาม นิวเคลียสหนักยิ่งยวด นั้นยังไม่เคยถูกสังเคราะห์ขึ้นในห้องทดลอง (พ.ศ. 2552) ส่วนสำหรับนิวเคลียสหนักยิ่งยวดที่ Z>116 และ N≈184 นั้นครึ่งชีวิตของการสลายตัวให้อนุภาคแอลฟานั้นได้ถูกทำนายว่าน่าจะต่ำกว่าหนึ่งวินาที นิวเคลียสที่ Z=120, 124, 126 และ N=184 นั้นน่าจะเป็นนิวเคลียสทรงกลมมหัศจรรย์คู่และเสถียรเมื่อคำนึงถึงนิวเคลียร์ฟิชชั่นการคาดการณ์จากแบบจำลองควอนตัมทันเนลลิ่งได้แสดงให้เห็นว่านิวเคลียสที่หนักยิ่งยวดเช่นนั้นจะสลายตัวโดยการปล่อยอนุภาคแอลฟาออกมาภายในไมโครวินาทีหรือน้อยกว่านั้น", "title": "หมู่เกาะแห่งเสถียรภาพ" }, { "docid": "426171#0", "text": "ในทางประสาทกายวิภาคศาสตร์ นิวเคลียส () หมายถึงกลุ่มของเซลล์ประสาทที่อยู่กันอย่างหนาแน่นภายในสมอง ในภาพตัดกายวิภาคบริเวณนิวเคลียสจะเป็นส่วนเนื้อเทา (gray matter) ที่ถูกรายล้อมด้วยเนื้อขาว (white matter) ซึ่งเป็นส่วนใยประสาท นิวเคลียสมีลักษณะโครงสร้างซับซ้อนประกอบด้วยเซลล์ประสาทหลายชนิดเรียงตัวกันเป็นกลุ่มหรือเป็นชั้นๆ เพื่อทำหน้าที่ร่วมกัน ในสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังประกอบด้วยนิวเคลียสต่างๆ มากนับร้อยนิวเคลียส ", "title": "นิวเคลียส (ระบบประสาท)" }, { "docid": "197250#6", "text": "การสลายให้ β สามารถเกิดขึ้นได้ภายในนิวเคลียสเมื่อค่าสัมบูรณ์ของพลังงานยึดเหนี่ยวของนิวเคลียสลูกสาวมีค่ามากกว่าของนิวเคลียสพ่อแม่เท่านั้น คือนิวเคลียสลูกสาวอยู่ในสถานะพลังงานต่ำ", "title": "อนุภาคบีตา" }, { "docid": "6621#29", "text": "จำนวนโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียสอะตอมสามารถเปลี่ยนแปลงได้ แม้จะต้องใช้พลังงานสูงมากเพราะมีแรงยึดเหนี่ยวที่เข้มมาก ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นเกิดขึ้นเมื่ออนุภาคอะตอมหลายตัวรวมตัวกันทำให้เกิดเป็นนิวเคลียสใหม่ที่หนักกว่าเดิม เช่นจากการชนกันของนิวเคลียสสองตัว ยกตัวอย่างเช่นที่แกนกลางของดวงอาทิตย์ โปรตอนต้องการพลังงาน 3–10 keV เพื่อเอาชนะแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกัน หรือ กำแพงคูลอมบ์ (coulomb barrier) แล้วหลอมรวมเข้าด้วยกันกลายเป็นนิวเคลียสเพียงอันเดียว[53] ส่วนปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันจะเกิดขึ้นในทางตรงกันข้าม คือการที่นิวเคลียสหนึ่งแตกตัวออกเป็นนิวเคลียสขนาดเล็กกว่า 2 ตัว โดยมากเกิดขึ้นจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี นิวเคลียสยังอาจเปลี่ยนแปลงได้จากการยิงด้วยอนุภาคขนาดเล็กพลังงานสูง หรือโฟตอน ถ้าสามารถเปลี่ยนแปลงจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสได้ อะตอมก็จะเปลี่ยนคุณลักษณะไปเป็นธาตุชนิดอื่น[54][55]", "title": "อะตอม" }, { "docid": "6621#31", "text": "การเกิดฟิวชั่นของนิวเคลียสสองตัวให้กลายเป็นนิวเคลียสเดียวที่ใหญ่ขึ้น โดยที่มีหมายเลขอะตอมต่ำกว่าเหล็กและนิกเกิล หรือจำนวนนิวคลีออนรวมประมาณ 60 เรียกว่ากระบวนการคายความร้อน ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานออกมามากกว่าพลังงานที่ต้องใช้ในการรวมตัวกัน[57] กระบวนการปลดปล่อยพลังงานเช่นนี้เองที่ทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นในดาวฤกษ์ซึ่งสามารถเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับนิวเคลียสธาตุหนัก พลังงานยึดเหนี่ยวต่อนิวคลีออนในนิวเคลียสเริ่มต้นลดจำนวนลง นั่นคือกระบวนการฟิวชั่นที่สร้างนิวเคลียสที่มีหมายเลขอะตอมสูงกว่า 26 และมวลอะตอมมากกว่า 60 เรียกว่ากระบวนการดูดความร้อน นิวเคลียสมวลมากเหล่านี้ไม่สามารถสร้างปฏิกิริยาฟิวชั่นต่อเนื่องที่รักษาสภาวะสมดุลอุทกสถิตของดาวฤกษ์เอาไว้ได้[52]", "title": "อะตอม" }, { "docid": "19858#0", "text": "นิวเคลียส ของอะตอม () เป็นพื้นที่ขนาดเล็กที่หนาแน่นในใจกลางของอะตอม ประกอบด้วยโปรตอน และนิวตรอน (สำหรับอะตอมของไฮโดรเจนธรรมดา นิวเคลียสมีแต่โปรตอนเท่านั้น ไม่มีนิวตรอน) นิวเคลียสถูกค้นพบในปี 1911 โดยเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด ที่ได้จาก'การทดลองฟอยล์สีทองของ Geiger-Marsden ในปี 1909'. หลังจากการค้นพบนิวตรอนในปี 1932 แบบจำลองของนิวเคลียสที่ประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอนได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วโดย Dmitri Ivanenko และเวอร์เนอร์ ไฮเซนเบิร์ก เกือบทั้งหมดของมวลของอะตอมตั้งอยู่ในนิวเคลียสกับอยู่ในขนาดที่เล็กมากของ'เมฆอิเล็กตรอน' โปรตอนและนิวตรอนจะหลอมรวมกันเพื่อก่อตัวขึ้นเป็นนิวเคลียสด้วยแรงนิวเคลียร์", "title": "นิวเคลียสของอะตอม" }, { "docid": "69820#0", "text": "ปฏิกิริยานิวเคลียร์ () ในสาขาฟิสิกส์นิวเคลียร์และเคมีนิวเคลียร์ หมายถึงกระบวนการที่นิวเคลียส 2 ตัวของอะตอมเดียวกัน หรือนิวเคลียสของอะตอมหนึ่งและอนุภาคย่อย ของอีกอะตอมหนึ่งจากภายนอกอะตอมนั้น ชนกัน ทำให้เกิดนิวเคลียสใหม่หนึ่งตัวหรือมากกว่าหนึ่งตัวที่มีจำนวนอนุภาคย่อยแตกต่างจากนิวเคลียสที่เริ่มต้นกระบวนการ ดังนั้นปฏิกิริยานิวเคลียร์จะต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอย่างน้อยหนึ่งนิวไคลด์ ไปเป็นอย่างอื่น หากนิวเคลียสหนึ่งมีปฏิกิริยากับอีกนิวเคลียสหนึ่งหรืออนุภาคอื่นและพวกมันก็แยกออกจากกันโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของนิวไคลด์ใด ๆ กระบวนการนี้เป็นแต่เพียงประเภทหนึ่งของการกระเจิงของนิวเคลียสเท่านั้น ไม่ใช่ปฏิกิริยานิวเคลียร์", "title": "ปฏิกิริยานิวเคลียร์" }, { "docid": "215735#7", "text": "มันต้องใช้พลังงานอย่างมากในการที่จะบังคับให้นิวเคลียสหลอมละลาย แม้แต่ธาตุที่มีน้ำหนักเบาที่สุดเช่นไฮโดรเจน เป็นเพราะว่านิวเคลียสทุกตัวมีประจุบวกอันเนื่องมาจากโปรตอนในตัวมัน และเป็นอย่างเช่นกกแรงผลักของประจุ นิวเคลียสจะต่อต้านอย่างแรงถ้าถูกวางอยู่ใกล้กัน เมื่อถูกเร่งให้มีความเร็วสูง พวกมันสามารถเอาชนะแรงผลักไฟฟ้าสถิตนี้และจะถูกบังคับให้อยู่ใกล้พอสำหรับแรงดึงดูดนิวเคลียร์จนมีความแข็งแรงพอที่จะบรรลุการหลอม การหลอมของนิวเคลียสที่เบากว่า ซึ่งจะสร้างนิวเคลียสที่หนักขึ้นและมักจะเป็นนิวตรอนอิสระหรือโปรตอน โดยทั่วไปจะปลดปล่อยพลังงานมากขึ้นกว่าที่มันได้รับเพื่อที่จะบังคับให้นิวเคลียสทั้งหลายอยู่ด้วยกัน นี้เป็นกระบวนการคายความร้อนแบบหนึ่งที่สามารถผลิตปฏิกิริยาด้วยตนเองอย่างยั่งยืน สถานีจุดระเบิดแห่งชาติของสหรัฐ ซึ่งใช้การหลอมในภาชนะปิดที่เฉื่อยแบบขับเคลื่อนด้วยเลเซอร์ () ได้รับการคาดการณ์ว่าจะสามารถสร้างปฏิกิริยาการหลอมที่คุ้มทุนได้", "title": "การหลอมนิวเคลียส" }, { "docid": "19858#20", "text": "แบบจำลองของนิวเคลียสรุ่นแรกมองนิวเคลียสว่าเป็นหยดของเหลว () ที่กำลังหมุน ในแบบจำลองรูปแบบนี้การแลกเปลี่ยนของแรงแม่เหล็กไฟฟ้​​าระยะทำการไกลกับแรงนิวเคลียร์ระยะทำการค่อนข้างสั้นร่วมกันก่อให้เกิดพฤติกรรมที่คล้ายกับแรงตึงผิวในหยดของเหลวในขนาดที่แตกต่างกัน สูตรนี้ประสบความสำเร็จในการอธิบายถึงปรากฏการณ์ที่สำคัญมากมายของนิวเคลียสเช่นปริมาณของพลังงานยึดเหนี่ยวของพวกมันที่มีการเปลี่ยนแปลงในขณะที่ขนาดและองค์ประกอบของพวกมันมีการเปลี่ยนแปลง (ดู สูตรมวลกึ่งเชิงประจักษ์) แต่มันก็ไม่ได้อธิบายถึงความมั่นคงพิเศษที่เกิดขึ้นเมื่อนิวเคลียสมี \"เลขมายา\" พิเศษของโปรตอนหรือนิวตรอน", "title": "นิวเคลียสของอะตอม" }, { "docid": "244392#2", "text": "การสลายให้กัมมันตรังสีมีหลายประเภท (ดูตารางด้านล่าง) การสลายหรือการสูญเสียพลังงานจากนิวเคลียส เกิดขึ้นเมื่ออะตอมที่มีนิวเคลียสประเภทหนึ่งที่เรียกว่า \"นิวไคลด์รังสีพ่อแม่\" () (หรือไอโซโทปรังสีพ่อแม่)) แปลงเป็นอะตอมตัวหนึ่งที่มีนิวเคลียสตัวหนึ่งที่อยู่ในสถานะที่แตกต่างกัน หรือที่มีนิวเคลียสตัวหนึ่งที่มีจำนวนโปรตอนและนิวตรอนที่แตกต่างกัน ผลิตภัณฑ์นี้เรียกว่า\"นิวไคลด์ลูก\" () ในการสูญสลายบางครั้ง นิวไคลด์ของพ่อแม่และของลูกมีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกัน จึงเป็นผลให้กระบวนการสลายตัวทำการผลิตอะตอมของธาตุที่แตกต่างกัน กระบวนการนี้เรียกว่า การแปรนิวเคลียส ()", "title": "การสลายให้กัมมันตรังสี" } ]
121
พระธัมมชโย คือใคร?
[ { "docid": "65106#0", "text": "พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย หรือ ไชยบูลย์ สุทธิผล เป็นพระภิกษุชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ประธานมูลนิธิธรรมกาย และเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลอาญา ในข้อหาสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงิน และรับของโจร", "title": "พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย" } ]
[ { "docid": "65106#40", "text": "วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 สมชาย สุรชาตรี โฆษกประจำสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แถลงว่าตามเอกสารของมหาเถรสมาคมเมื่อปี 2542 ไม่มีคำสั่งหรือเอกสารที่ระบุว่าพระธัมมชโยเป็นปาราชิก ขาดจากความเป็นภิกษุตามพระลิขิตดังกล่าว ด้านพนม ศรศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ยังเปิดประเด็นอีกด้วยว่าไม่แน่ใจว่าพระลิขิตนั้นเป็นของปลอมหรือไม่ และย้ำว่าพระธัมมชโยยังไม่ปาราชิก ต่อมาวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พระพรหมเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี) กรรมการและโฆษกมหาเถรสมาคมเผยว่า มหาเถรสมาคมเห็นว่าพระธัมมชโยไม่มีเจตนาขัดพระลิขิต และไม่มีเจตนาฉ้อโกง จึงถือว่าพ้นมลทิน และในปี 2549 ได้มีมติถวายคืนสมณศักดิ์ให้กับพระธัมมชโย อีกทั้งในปี 2554 ยังได้เลื่อนสมณศักดิ์จากยศพระราชภาวนาวิสุทธิ์เป็นพระเทพญาณมหามุนี และพระธัมมชโยก็ได้ดำรงสมณเพศต่อมา และได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ \"พระเทพญาณมหามุนี\" เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2554", "title": "พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย" }, { "docid": "27865#14", "text": "โดยพระธัมมชโยได้มีความตั้งใจว่า \"จะเป็นรายการที่ทำให้ผู้ชมมีจิตใจผ่องใส ไม่เศร้าหมอง เพลิดเพลินกับธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จิตใจจะผูกพันอยู่กับพระรัตนตรัยและบุญกุศล\" และ \"มีรายการที่เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย เช่น รายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา, นานาเทศนา, พุทธประวัติ, ชาดก 500 ชาติ, New News, ข่าว DNN ข่าว DMC News, ไปวัดไปวา, ปฏิบัติการกุ๊กกิ๊ก, พลังมด ฯลฯ\" ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 รายการปรโลกนิวส์ยังได้ถ่ายทอดบทบรรยายโดยพระธัมมชโยเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายและอดีตชาติของสตีฟ จอบส์ ซึ่งได้กล่าวไว้ว่าหลังจากได้เสียชีวิตแล้ว ตัวเขาก็ได้ไปบังเกิดใหม่เป็น \"เทพบุตรภุมมเทวาระดับกลางสายวิทยาธรกึ่งยักษ์\"", "title": "วัดพระธรรมกาย" }, { "docid": "65106#38", "text": "โดยคณะกรรมาการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติมีความเห็นว่า พระธัมมชโยอาบัติปาราชิกตามพระลิขิตจริง อีกทั้งมหาเถรสมาคมได้มีมติครั้งที่ 191/2542 และครั้งที่ 193/2542 ซึ่งเป็นมติรับทราบและให้ดำเนินการตามพระดำริสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตั้งแต่ปี 2542 แต่ในทางปฏิบัติพบว่ามีการดำเนินการเพียงรับโอนที่ดินให้ตกเป็นของวัดเท่านั้น ส่วนกรณีอาบัติปาราชิกและต้องขาดจากความเป็นพระนั้น กลับละเว้นไม่ดำเนินการมาเป็นเวลา 16 ปีเพื่อให้พระธัมมชโยพ้นจากการเป็นภิกษุสงฆ์ คณะกรรมการฯ จึงได้เร่งรัดให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบต้องบังคับการให้เป็นไปตามมติมหาเถรสมาคม", "title": "พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย" }, { "docid": "65106#42", "text": "แต่ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 สมชาย สุรชาตรี ได้ให้สัมภาษณ์ว่ามติมหาเถรสมาคมเกี่ยวกับพระธัมมชโยเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์นั้นไม่มีจริง ในวันนั้นแค่รายงานเรื่องให้มหาเถรสมาคมทราบเรื่องเท่านั้น ต่อมาวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 มหาเถรสมาคมได้นำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุม ภายหลังจากการประชุมพระพรหมเมธีได้แถลงว่า เรื่องของพระธัมมชโยที่ถือว่ายุติลงแล้วตั้งแต่ปี 2542 ที่ประชุม มส.ไม่สามารถนำกลับมาพิจารณาใหม่ได้เพราะจะทำให้ มส. เป็นอาบัติปาราชิกทั้งคณะตามข้อกำหนดของพระธรรมวินัย", "title": "พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย" }, { "docid": "65106#37", "text": "วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558 คณะกรรมาการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ นำโดย ไพบูลย์ นิติตะวัน ประชุมเพื่อพิจารณาสถานภาพของพระธัมมชโย และเชิญผู้แทนมหาเถรสมาคมมาชี้แจง กรณีไชยบูลย์ สุทธิผล (พระธัมมชโย) ได้อาบัติปาราชิกขาดจากความเป็นภิกษุมาตั้งแต่ พ.ศ. 2542 ตามพระลิขิตสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกใน 2 กรณี คือ กรณีการไม่ยอมคืนที่ดินให้วัดพระธรรมกาย และการกล่าวหาว่าพระไตรปิฎกมีความบกพร่องจึงเป็นเหตุให้บิดเบือนคำสอน ซึ่งถือเป็นขั้นอนันตริยกรรม", "title": "พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย" }, { "docid": "65106#39", "text": "คณะกรรมาการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนายังให้ความเห็นว่า เรื่องนี้จะต้องให้รัฐบาลซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ บังคับการให้เป็นไปตามมติมหาเถรสมาคม และพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราช โดยพระลิขิตสำคัญที่ทรงมีพระวินิจฉัยให้พระธัมมชโยพ้นจากความเป็นสงฆ์ ด้วยอาบัติปาราชิก ต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด ลงวันที่ 26 เมษายน 2542 นั้น มีใจความสำคัญดังนี้", "title": "พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย" }, { "docid": "65106#45", "text": "ในกลุ่มวัดพระธรรมกาย พระเทพญาณมหามุณี (พระธัมมชโย) และมูลนิธิมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง นั้นคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้หารือร่วมกับหัวหน้าพนักงานอัยการร่วมสอบสวนแล้ว พิจารณาเห็นว่า", "title": "พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย" }, { "docid": "65106#43", "text": "ศาลจังหวัดเลยอนุมัติหมายจับพระธัมมชโย กรณีบุกรุกป่าสงวนภูเรือ", "title": "พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย" }, { "docid": "437242#0", "text": "ธรณีนี่นี้ใครครอง เป็นละครโทรทัศน์ไทย จากบทประพันธ์ \"กาญจนา นาคนันทน์\" โดยนามปากกาของ นงไฉน ปริญญาธวัช ซึ่งได้รับรางวัลประเภทนวนิยายดีเด่นสะท้อนชีวิตในสังคมไทย จากงานวันสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2518 ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2541 โดย บริษัท โนพลอบเล็ม จำกัด ออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 นำแสดงโดย \"แอนดริว เกร้กสัน\" และ\"ปิยธิดา วรมุสิก\" ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 บริษัท โนพลอบเล็ม จำกัด ได้นำมาสร้างใหม่อีกครั้ง บทโทรทัศน์ \"ปารดา กันตพัฒนกุล\" กำกับการแสดงโดย \"ยุทธนา ลอพันธ์ไพบูลย์\" นำแสดงโดย \"ณเดชน์ คูกิมิยะ\" และ\"อุรัสยา เสปอร์บันด์\" ออกอากาศในปี พ.ศ. 2555 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3", "title": "ธรณีนี่นี้ใครครอง" }, { "docid": "437242#8", "text": "ธิติมา ผู้ผลิตธรณีนี่นี้ใครครอง ทั้งในปี พ.ศ. 2541 และ พ.ศ. 2555 กล่าวถึงการวางตัวเลือก ณเดชน์มาแสดงนำในบทอาทิจ และอุรัสยาในบทดรุณีว่า หลังจากที่เคยเห็นสองคนนี้แสดงร่วมกันใน \"ดวงใจอัคนี\" ระหว่างนั้นธิติมาได้อ่านนวนิยายเรื่อง \"ธรณีนี่นี้ใครครอง\" แล้วรู้สึกว่าตัวละครในนิยายมีความคล้ายคลึงกับทั้งสองคน โดยมียุทธนา ลอพันธุ์ไพบูลย์ ผู้กำกับละครได้แสดงความคิดเห็นสนับสนุนไว้ว่า \"\"อาทิจเหมือนณเดชน์ตรงที่เป็นคนที่มาจากต่างจังหวัด มุ่งมั่น ซื่อ มีน้ำใจ และมีอารมณ์ขันนิดหน่อย\"\" แต่ในส่วนของบทดรุณี ยุทธนามองว่าไม่ค่อยตรงกับอุรัสยาเท่าไหร่นัก แต่ก็กล่าวว่ามั่นใจในการแสดงดังนี้ \"\"เชื่อว่าญาญ่าจะเล่นเป็นดรุณีที่เหวี่ยงวีน ขี้อิจฉาได้ดีแน่นอน ที่สำคัญวัยของญาญ่าตรงกับดรุณีในนิยายพอดี\"\" จนในที่สุดธิติมาได้ตัดสินใจเลือกณเดชน์ และอุรัสยาเข้ามาแสดงละครเรื่องนี้ในฉบับปี พ.ศ. 2555", "title": "ธรณีนี่นี้ใครครอง" } ]
812
ตับอักเสบ บี จะเกิดในตับอย่างเดียวหรือไม่ ?
[ { "docid": "91454#8", "text": "คนเป็นพาหะ (English: Carrier) ที่สำคัญของเชื้อไวรัสนี้พบเชื้อนี้ในประชากรโลกกว่า 200 ล้านคน ประเทศไทยมีความชุกคนของพาหะร้อยละ 8 - 10 คือ ประมาณ 5 ล้านคนที่มีเชื้อไวรัสนี้ในร่างกาย พบเชื้อได้ในเลือด น้ำเหลือง สิ่งคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด น้ำลาย น้ำตา น้ำนม เป็นต้น ทำให้มีโอกาสแพร่ เชื้อได้หลายทาง ทางเข้าของเชื้อ ได้แก่", "title": "ตับอักเสบ" } ]
[ { "docid": "313219#3", "text": "ประมาณไว้ว่าประชากรโลกราวหนึ่งในสามจะต้องเคยรับเชื้อนี้อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต ในจำนวนนี้นับรวมถึงผู้ติดเชื้อแบบเรื้อรัง 343 ล้านคน ปี ค.ศ. 2013 มีผู้ติดเชื้อแบบเรื้อรังเพิ่มขึ้นอีก 129 ล้านคน ในปีหนึ่งๆ มีผู้เสียชีวิตจากโรคตับอักเสบ บีกว่า 750,000 คน ในจำนวนนี้ 300,000 คนเสียชีวิตจากมะเร็งตับ ปัจจุบันโรคนี้พบได้บ่อยเฉพาะในเอเชียตะวันออกและแอฟริกาใต้สะฮารา ในพื้นที่นี้ประชากรผู้ใหญ่ประมาณ 5-10% จะมีการติดเชื้อแบบเรื้อรัง ในขณะที่ในยุโรปและอเมริกาเหนือจะพบได้ไม่ถึง 1% แต่เดิมนั้นโรคนี้เคยมีชื่อว่า serum hepatitis (ตับอักเสบชนิดซีรัม) งานวิจัยในปัจจุบันกำลังพยายามผลิตวัคซีนต่อไวรัสตับอักเสบบีที่สามารถผสมได้ในอาหาร นอกจากพบในมนุษย์แล้วยังอาจพบเชื้อนี้ทำให้เกิดโรคในสัตว์วงศ์ลิงใหญ่ได้อีกด้วย", "title": "ตับอักเสบ บี" }, { "docid": "91454#24", "text": "ตับอักเสบเนื่องจากเซลล์ขนาดยักษ์ (English: Giant cell hepatitis) เป็นรูปแบบที่หายากของโรคตับอักเสบที่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในทารกแรกเกิดและเด็ก การวินิจฉัยทำบนพื้นฐานของการปรากฏตัวของเซลล์ตับยักษ์หลายนิวเคลียสจากการตรวจชิ้นเนื้อตับ[37] สาเหตุของตับอักเสบเนื่องจากเซลล์ขนาดยักษ์ไม่เป็นที่รู้จัก แต่สภาพที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัส, โรคแพ้ภูมิตัวเองและความเป็นพิษของยา[38][39]", "title": "ตับอักเสบ" }, { "docid": "91454#27", "text": "มีหลายโรคที่สามารถแสดงอาการและ/หรือมีผลการทดสอบการทำงานของตับผิดปกติที่คล้ายกับโรคตับอักเสบ ในกรณีที่รุนแรงของการขาดอัลฟา 1 antitrypsin (A1AD) โปรตีนส่วนเกินในเซลล์ตับจะทำให้เกิดการอักเสบของตับและตับแข็ง[46] ความผิดปกติของเมแทบอริซึมบางอย่างทำให้เกิดความเสียหายต่อตับผ่านกลไกที่หลากหลาย ในโรคเหล็กสะสมในเนื้อเยื่อ (English: hemochromatosis) และโรควิลสัน การสะสมของสารพิษในอาหารส่งผลให้เกิดการอักเสบของตับและตับแข็ง[47]", "title": "ตับอักเสบ" }, { "docid": "91454#18", "text": "ยาและสารเคมีอื่น ๆ จำนวนมากสามารถทำให้ตับอักเสบได้ ในสหรัฐ สาร acetaminophen, ยาปฏิชีวนะ, และยาระบบประสาทส่วนกลางอยู่ในกลุ่มที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของตับอักเสบที่เกิดจากยา สาร acetaminophen หรือที่รู้จักกันในชื่อพาราเซตามอล เป็นสาเหตุนำของตับล้มเหลวเฉียบพลันในสหรัฐอเมริกา[21] สมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยังอาจทำให้ตับอักเสบได้อีกด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของตับอักเสบที่เกิดจากยาในประเทศเกาหลี[22] ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคตับอักเสบที่เกิดจากยาได้แก่อายุที่มากขึ้น, เพศหญิง, และโรคตับอักเสบที่เกิดจากยาก่อนหน้านี้ ความแปรปรวนทางพันธุกรรมเป็นที่เข้าใจกันมากขึ้นว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักที่สำคัญสำหรับโรคตับอักเสบที่เกิดจากยา[23][24]", "title": "ตับอักเสบ" }, { "docid": "91454#4", "text": "ตับอักเสบที่เกิดจากไวรัสเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของโรคตับอักเสบทั่วโลก[6] สาเหตุที่พบบ่อยอื่น ๆ ของโรคตับอักเสบที่ไม่ใช่ไวรัสได้แก่สาเหตุจากสารพิษและยา, แอลกอฮอล์, ภูมิต้านทาน ไขมันตับและความผิดปกติของระบบแทบอริซึม[7] สาเหตุที่พบน้อยกว่าได้แก่การติดเชื้อจากแบคทีเรีย, ปรสิต, เชื้อรา, เชื้อ mycobacteria และโปรโตซัวบางชนิด[8][9] นอกจากนี้ภาวะแทรกซ้อนบางอย่างของการตั้งครรภ์และการไหลเวียนของเลือดที่ไปที่ตับลดลงสามารถทำให้เกิดโรคตับอักเสบได้[8][10] Cholestasis (การอุดตันการไหลของน้ำดี) เนื่องจากความผิดปกติของตับที่เรียกว่า hepatocellular dysfunction, การอุดตันทางเดินน้ำดีหรือน้ำดีตีบตันก็ทำให้เกิดความเสียหายที่ตับและทำให้ตับอักเสบ[11][12]", "title": "ตับอักเสบ" }, { "docid": "465697#0", "text": "วันตับอักเสบโลก ตรงกับวันที่ 28 กรกฎาคมของทุกปี มีความมุ่งหมายเพื่อเพิ่มความตระหนักถึงตับอักเสบ บี และตับอักเสบ ซี ตลอดจนสนับสนุนการป้องกัน การวินิจฉัยและการรักษาทั่วโลก", "title": "วันตับอักเสบโลก" }, { "docid": "36508#10", "text": "ตับอักเสบ (English: Hepatitis) เป็นภาวะที่พบบ่อยของการอักเสบของตับ มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ บี ซีและอี นอกจากนี้อาจเกิดจากสารพิษ กรรมพันธุ์ หรือภาวะภูมิแพ้ตนเอง บางส่วนของการติดเชื้อเหล่านี้จะติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้การอักเสบยังอาจเกิดจากไวรัสอื่น ๆ ในตระกูล Herpesviridae เช่น'ไวรัสเริม' การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือไวรัสตับอักเสบซีเป็นสาเหตุหลักของโรคมะเร็งตับ ตับแข็ง (English: Cirrhosis) เกิดจากการสะสมของเนื้อเยื่อแข็งที่ทดแทนเซลล์ตับที่ตายไป โดยมักเกิดจากเชื้อไวรัส ภาวะพิษสุราเรื้อรัง หรือการได้รับสารพิษต่างๆ และไขมันในตับ นอกจากนี้ความเสียหายของตับยังอาจเกิดจากยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยา paracetomol และยาที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง ฮีโมโครมาโทซิส (Hemochromatosis) เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ที่เกิดจากการสะสมของเหล็กในกระแสเลือด จนทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ตับ ท่อน้ำดีตีบตัน (English: Biliary atresia) บัดด์ ไคอารี่ ซินโดรม (Budd-Chiari syndrome) เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดดำตับ(รวมถึงการเกิดลิ่มเลือด (English: thrombosis)) ที่ระบายตับ มันปรากฏขึ้นด้วยอาการปวดท้อง น้ำในช่องท้องและการขยายตัวของตับ[4] กิลเบิร์ต ซินโดรม (Gilbert's syndrome) เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้เกิดความผิดปกติในการสังเคราะห์บิลิรูบิน", "title": "ตับ" }, { "docid": "985836#8", "text": "ยังมีวัคซีนอื่น ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสที่ก่อมะเร็ง\nวัคซีนฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัส เช่น Gardasil และ Cervarix ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูก\nวัคซีนตับอักเสบ บีป้องกันไม่ให้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ จึงลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งตับ\nการฉีดวัคซีนเหล่านี้แนะนำในประเทศทั้งหมดถ้ามีงบประมาณพอ", "title": "การป้องกันโรคมะเร็ง" }, { "docid": "310321#0", "text": "โรคตับจากแอลกอฮอล์ () เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคตับในประเทศตะวันตก (ในเอเชียสาเหตุส่วนใหญ่จะเป็นตับอักเสบจากไวรัส) มีสาเหตุมาจากการดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมาก ทั่วโลกมีผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำหลายล้านคนแต่มีเพียงผู้ที่ดื่มหนักจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่เกิดมีความเสียหายของตับ การเสียหายของตับที่เกิดจากแอลกอฮอล์ไม่ได้เกิดขึ้นทันทีแต่ค่อยๆ เกิดขึ้นในเวลาประมาณ 10-15 ปี กลไกการทำลายตับของแอลกอฮอล์นั้นยังไม่เป็นที่เข้าใจแน่ชัด เป็นที่ทราบกันว่าแอลกอฮอล์ทำให้มีสารพิษเช่น acetaldehyde ซึ่งสามารถทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ตับได้ แต่ยังเป็นที่ถกเถียงอยู่ว่าทำไมจึงมีโรคตับจากแอลกอฮอล์เกิดขึ้นในคนบางคนเท่านั้น เมื่อแอลกอฮอล์ทำให้เกิดความเสียหายต่อตับแล้วจะทำให้การทำงานของตับค่อยๆ แย่ลงอย่างช้าๆ เนื่องจากตับมีความสามารถในการเจริญขึ้นใหม่ได้อย่างมาก แม้จะถูกทำลายไปถึง 75 % ก็ยังสามารถทำงานได้เป็นปกติ ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยโรคตับจากแอลกอฮอล์มีอาการปรากฏให้เห็นแล้วจึงมักเป็นระยะที่มีความเสียหายของตับเกิดขึ้นมากจนส่วนใหญ่ไม่สามารถรักษาให้กลับเป็นปกติได้ และมักมีการอักเสบเรื้อรังเกิดเป็นแผลเป็นเรียกว่าตับแข็งหรือโรคตับระยะสุดท้าย", "title": "โรคตับจากแอลกอฮอล์" }, { "docid": "91454#26", "text": "ตับอักเสบเนื่องจากไวรัสมีการวินิจฉัยส่วนใหญ่ผ่านการทดสอบในห้องปฏิบัติการทางคลินิก บางส่วนของการทดสอบเหล่านี้ทำปฏิกิริยากับไวรัสหรือชิ้นส่วนของไวรัส เช่นทดสอบหาแอนติเจนพื้นผิวของไวรัสตับอักเสบชนิด B (English: Hepatitis B surface antigen (HBsAg)) หรือการทดสอบกรดนิวคลีอิก[43][44] หลายครั้งของการทดสอบเหล่านี้เป็นการทดสอบทางเซรุ่มวิทยาที่ตอบสนองกับภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย สำหรับบางสาเหตุหลักของโรคตับอักเสบเนื่องจากไวรัส เช่นตับอักเสบจากไวรัสชนิดบี มีการทดสอบทางเซรุ่มวิทยาหลายอย่างเพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการวินิจฉัย[45]", "title": "ตับอักเสบ" }, { "docid": "306726#8", "text": "โรคติดเชื้อปรสิตบางชนิดก็เป็นปัจจัยเสี่ยงเช่นกัน เช่นการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ \"Opisthorchis viverrini\" (พบในประเทศไทย ลาว และมาเลเซีย) หรือ \"Clonorchis sinensis\" (พบในญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม) ซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง (chronic liver disease) ไม่ว่าจะจากการเป็นโรคตับอักเสบจากไวรัส (เช่น ไวรัสตับอักเสบบีหรือซี) โรคตับจากแอลกอฮอล์ หรือตับแข็งจากสาเหตุอื่นๆ ต่างเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งท่อน้ำดี งานวิจัยหนึ่งพบว่าการติดเชื้อเอชไอวีก็อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งท่อน้ำดีเช่นกัน แม้ว่าจะยังไม่ชัดเจนว่าเป็นจากการติดเชื้อเอชไอวีเองหรือปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง (เช่น การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี) ก็ตาม", "title": "มะเร็งท่อน้ำดี" }, { "docid": "313219#0", "text": "ตับอักเสบ บี () เป็นโรคตับชนิดหนึ่งที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ติดเชื้อครั้งแรกส่วนใหญ่ไม่มีอาการ บางรายจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตัวเหลือง อ่อนเพลีย ปัสสาวะเข้ม และปวดท้องได้ ส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่ประมาณ 2-3 สัปดาห์ และมีเพียงส่วนน้อยที่อาการดำเนินไปอย่างรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตในการติดเชื้อครั้งแรกนี้ ระยะฟักตัวอาจยาวนานได้ถึง 30-180 วัน ผู้ป่วยที่ติดเชื้อนี้ตั้งแต่แรกเกิดจะเกิดตับอักเสบเรื้อรังได้ถึง 90% ในขณะที่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อในภายหลังที่อายุมากกว่า 5 ปี จะเกิดตับอักเสบเรื้อรังเพียง 10% ผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบบีส่วนใหญ่จะไม่มีอาการอยู่เป็นเวลานาน แต่ในระยะท้ายๆ อาจเกิดตับแข็งหรือมะเร็งตับขึ้นได้ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตถึง 15-25% ของผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสบี", "title": "ตับอักเสบ บี" }, { "docid": "304058#0", "text": "มะเร็งเซลล์ตับ หรือ เฮปาโตเซลลูลาร์ คาร์ซิโนมา () เป็นมะเร็งที่กำเนิดขึ้นในตับ มะเร็งเซลล์ตับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 จากการเสียชีวิตจากมะเร็งทุกชนิดทั่วโลก โดยมีผู้ป่วยอยู่กว่า 500,000 คน อุบัติการณ์ของมะเร็งเซลล์ตับพบมากในเอเชียและแอฟริกาซึ่งมีการระบาดของโรคตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบบีและซีอยู่มาก โรคตับอักเสบจากไวรัสนี้มีส่วนอย่างมากในการทำให้เกิดโรคตับเรื้อรังและนำไปสู่มะเร็งเซลล์ตับในที่สุด", "title": "มะเร็งเซลล์ตับ" }, { "docid": "313219#2", "text": "ตั้งแต่ ค.ศ. 1982 มีการผลิตวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีขึ้นสำเร็จ องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ทารกแรกเกิดทุกรายรับวัคซีนนี้ทันทีที่เกิดหากสามารถทำได้ หลังจากนั้นทารกต้องรับวัคซีนซ้ำอีก 2-3 ครั้ง เมื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันได้เต็มที่ ซึ่งเมื่อให้อย่างถูกต้องวัคซีนจะสามารถป้องกันโรคได้ถึง 95% วัคซีนนี้ได้รับการบรรจุให้เป็นหนึ่งในรายการวัคซีนมาตรฐานที่รัฐบาลสร้างนโยบายสนับสนุนแล้วในกว่า 180 ประเทศ นอกจากการใช้วัคซีนแล้วยังมีการสนับสนุนมาตรการการป้องกันการติดเชื้อด้วยวิธีอื่นๆ อีก ได้แก่ การตรวจหาเชื้อในเลือดบริจาค การใช้ถุงยางอนามัย เป็นต้น ในระยะแรกของการติดเชื้อ การรักษาจะเน้นไปที่การบรรเทาอาการต่างๆ ที่เกิดกับผู้ป่วย (เช่น ยาลดไข้ ยาต้านการอาเจียน) ส่วนในผู้ป่วยติดเชื้อเรื้อรังนั้นอาจต้องใช้ยาต้านไวรัสเช่นทีโนโฟเวียร์ หรืออินเตอร์เฟียรอน แต่ยาเหล่านี้ยังมีราคาสูง ในบางรายหากตับอักเสบเรื้อรังรุนแรงมากจนเสียการทำงานถาวร (เช่น ตับแข็ง) อาจจำเป็นต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ", "title": "ตับอักเสบ บี" }, { "docid": "885014#1", "text": "เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของตับอักเสบจากไวรัสที่พบบ่อยมี 5 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดไม่มีความเกี่ยวข้องกันโดยตรงทางสายพันธุ์ เพียงแต่ทำให้มีอาการตับอักเสบได้เหมือนกัน ไวรัสเหล่านี้ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี ดี และอี นอกจากนี้ยังมีไวรัสอื่นๆ ที่ทำให้เกิดไวรัสตับอักเสบได้ แต่ไม่ได้ถูกเรียกชื่อเป็นไวรัสตับอักเสบโดยเฉพาะ ไวรัสเหล่านี้ เช่น ซัยโตเมกาโลไวรัส เอพสไตน์บาร์ไวรัส ไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกีที่ทำให้เกิดไข้เลือดออก เป็นต้น", "title": "ตับอักเสบจากไวรัส" }, { "docid": "435719#1", "text": "ตับวายเรื้อรังส่วนใหญ่มักพบร่วมกับภาวะตับแข็ง ซึ่งอาจเป็นผลจากโรคตับชนิดต่างๆ เช่น โรคตับจากการดื่มแอลกอฮอล์ ตับอักเสบจากไวรัส เช่นไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ตับอักเสบจากภูมิคุ้มกัน โรคกรรมพันธุ์ หรือสาเหตุทางเมตาบอลิกอื่นๆ (เช่น ธาตุเหล็กหรือสังกะสีสะสม ตับอักเสบจากไขมัน เป็นต้น)", "title": "ตับวาย" }, { "docid": "10649#69", "text": "วัคซีนได้รับการพัฒนาเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสสารก่อมะเร็งบางชนิด[94] วัคซีน Human papillomavirus (Gardasil และ Cervarix) ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูก[94] วัคซีนตับอักเสบจากไวรัสชนิด บี ป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสตับอักเสบชนิด บี ดังนั้นมันจึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งตับ[94] การบริหารงานเพื่อการฉีดวัคซีน human papillomavirus และไวรัสตับอักเสบชนิด B จะแนะนำให้ทำเมื่อมีทรัพยากรพอเพียง[95]", "title": "มะเร็ง" }, { "docid": "91454#13", "text": "ไวรัสตับอักเสบ ชนิดซี เป็นไวรัสที่ไม่สมบูรณ์ ต้องอยู่ร่วมกับไวรัสตับอักเสบ บี พบเชื้อนี้ในกลุ่มผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นที่มีเชื้อไวรัส บี ทางติดต่อเช่นเดียวกับ ไวรัสตับอักเสบ บี ไวรัสตับอักเสบชนิด ซี เป็นสาเหตุที่สำคัญของ ตับอักเสบที่เกิดขึ้นภายหลังการได้รับเลือด/ผลิตภัณฑ์เลือด เดิมเรียกว่า ไวรัสตับอักเสบ ชนิด ไม่ใช่เอ ไม่ใช่บี", "title": "ตับอักเสบ" }, { "docid": "91454#46", "text": "ในเดือนมีนาคมปี 2015 องค์การอนามัยโลกออกแนวทางเป็นครั้งแรกสำหรับการรักษาโรคตับอักเสบจากไวรัสชนิด บี เงื่อนไขนี้มีผลกระทบต่อประมาณ 240 ล้านคนทั่วโลก แนวทางเหล่านี้สำหรับป้องกัน ดูแลและรักษาบุคคลที่ต้องมีชีวิตอยู่กับโรคตับอักเสบจากไวรัสชนิดบี[62]", "title": "ตับอักเสบ" }, { "docid": "91454#21", "text": "ตับอักเสบเนื่องจากภูมิคุ้มกันเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติที่ทำกับเซลล์ตับ[28] โรคนี้คาดว่าเป็นความบกพร่องทางพันธุกรรมเนื่องจากมันมีความเกี่ยวข้องกับแอนติเจนบางอย่างของเม็ดเลือดขาวของมนุษย์[29] อาการของโรคตับอักเสบเนื่องจากภูมิคุ้มกันมีความคล้ายคลึงกับโรคเกี่ยวกับตับอื่น ๆ และอาจจะมีทิศทางของอาการผันผวนจากอ่อนไปรุนแรงมาก ผู้หญิงที่เป็นโรคนี้อาจมีประจำเดือนผิดปกติหรืออาจเป็นโรคไร้ประจำเดือนไปเลย โรคนี้เกิดขึ้นในคนทุกเพศทุกวัย แต่มากที่สุดในหญิงวัยสาว คนที่เป็นโรคตับอักเสบเนื่องจากภูมิต้านทานอาจเป็นโรคที่เกี่ยวกับภูมิต้านทานอื่น ๆ[30]", "title": "ตับอักเสบ" }, { "docid": "313219#9", "text": "การติดเชื้อตับอักเสบบีส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา เนื่องจากผู้ติดเชื้อแทบทั้งหมดสามารถกำจัดเชื้อได้เอง มีไม่ถึง 1% ที่อาจต้องได้รับการรักษาในระยะแรกด้วยยาต้านไวรัส ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง (ตับอักเสบเต็มขั้น) หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง แต่ในทางกลับกันบางครั้งก็จำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัสกับผู้ป่วยตับอักเสบบีเรื้อรัง เพื่อลดโอกาสการเกิดตับแข็งและมะเร็งตับ ผู้ป่วยกลุ่มที่ควรได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส เช่น ผู้ติดเชื้อเรื้อรังที่มีระดับเอนไซม์ ALT สูงตลอด และตรวจพบดีเอ็นเอของไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้น ระยะในการรักษาอยู่ที่ 6 เดือน ถึง 1 ปี แล้วแต่ชนิดยาและพันธุกรรมของผู้ป่วย", "title": "ตับอักเสบ บี" }, { "docid": "91454#36", "text": "โรคตับอักเสบเรื้อรังที่มีเนื้อร้ายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย (periportal) (หรือตับอักเสบอินเตอร์เฟซ) แบบมีหรือไม่มีพังผืด[53] (ก่อนหน้านี้เป็นตับอักเสบเรื้อรังที่ยังมีอาการอยู่) เป็นกรณีของโรคตับอักเสบที่เกิดขึ้นมานานกว่า 6 เดือนด้วยการอักเสบที่พอร์ทัล, เกิดพังผืด, เกิดการหยุดชะงักของแผ่นขั้ว และเกิดเนื้อร้ายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย", "title": "ตับอักเสบ" }, { "docid": "91454#15", "text": "ระยะฟักตัวของเชื้อนี้ ประมาณ 15 - 160 วัน เฉลี่ย 50 วัน ทำให้เกิดโรคตับอักเสบเฉียบพลัน เชื่อว่าเชื้อ ไวรัสนี้ยังทำให้เกิดโรคตับอักเสบเรื้อรัง และเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับได้เช่นเดียวกับไวรัสตับอักเสบชนิด บี", "title": "ตับอักเสบ" }, { "docid": "91454#0", "text": "ตับอักเสบ (English: Hepatitis) เป็นภาวะทางการแพทย์ที่มีการอักเสบของตับและเกิดการทำลายของเซลล์ตับ ทำให้การทำหน้าที่ต่าง ๆ ของตับผิดปกติ ร่างกายอาจแสดงอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยหรือไม่แสดงอาการเลยแต่มักจะนำไปสู่อาการดีซ่าน (English: jaundice) (การเปลี่ยนเป็นสีเหลืองของผิวหนัง, เยื่อบุผิวในช่องจมูกและปากที่สร้างน้ำเมือกหล่อลื่น และเยื่อตา) อาการเบื่ออาหาร และอาการไข้ พบผู้ป่วยด้วยโรคนี้ได้ในทุกวัย ทั้งชายและหญิง ส่วนใหญ่เป็นโรคตับอักเสบเฉียบพลันถ้าเป็นโรคนี้น้อยกว่าหกเดือน ส่วนน้อยอาจเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังถ้าเป็นโรคนี้นานกว่านั้น", "title": "ตับอักเสบ" }, { "docid": "465697#1", "text": "มีประชากรโลกประมาณ 500 ล้านคนป่วยเป็นตับอักเสบ บี หรือตับอักเสบ ซี หรือคิดเป็น 1 ใน 12 ของประชากรโลก หากไม่ได้รับการรักษา ตับอักเสบ บีหรือซีอาจนำไปสู่โรคตับแข็งหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ รวมทั้งมะเร็งตับหรือตับล้มเหลว ขณะที่คนจำนวนมากกังวลว่า ตนจะติดโรคเอดส์มากกว่าตับอักเสบ แต่ในความเป็นจริง ทุกปีมีผู้เสียชีวิตจากตับอักเสบ บีหรือซี 1.5 ล้านคน ซึ่งมากกว่าเสียชีวิตจากเอชไอวี/เอดส์\nในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 วันตับอักเสบโลกได้รับการสนับสนุนทั่วโลกจากองค์การอนามัยโลก เป็นหนึ่งในสี่วันสร้างความตระหนักด้านสุขภาพ ร่วมกับมาลาเรีย วัณโรคและเอชไอวี/เอดส์", "title": "วันตับอักเสบโลก" }, { "docid": "91454#44", "text": "ผลของโรคตับอักเสบขึ้นอยู่อย่างมากกับโรคหรือเงื่อนไขที่เป็นสาเหตุของอาการ สำหรับสาเหตุบางอย่าง เช่นการติดเชื้อจากไวรัสตับอักเสบชนิด A ที่ไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยอาจจะไม่ประสพกับอาการใด ๆ และจะฟื้นตัวได้เองโดยไม่มีผลกระทบระยะยาว สำหรับสาเหตุอื่น ๆ โรคตับอักเสบอาจทำให้เกิดความเสียหายไม่สามารถแก้ไขได้กับตับและต้องทำการปลูกถ่ายตับ[57] เซตย่อยที่อ้างถึงในการจำแนกปี 1993 เป็น \"เฉียบพลันอย่างหนัก\" (English: hyperacute) ความล้มเหลวตับสามารถเกิดขึ้นได้ในเวลาน้อยกว่าหนึ่งสัปดาห์[58]", "title": "ตับอักเสบ" }, { "docid": "313219#7", "text": "การติดเชื้อแบบเรื้อรังของไวรัสตับอักเสบบีอาจไม่แสดงอาการ หรืออาจก่อให้เกิดการติดเชื้อตับเรื้อรัง (ตับอักเสบเรื้อรัง) ไปจนถึงโรคตับแข็งในเวลาหลายปี การติดเชื้อชนิดนี้เพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งเซลล์ตับ (มะเร็งตับ) อย่างมาก ทั่วทวีปยุโรป โรคไวรัสตับอักเสบบีและซีเป็นต้นเหตุของโรคมะเร็งเซลล์ตับในประมาณ 50% ของผู้ป่วย คนที่เป็นพาหะนำโรคแบบเรื้อรังได้รับคำแนะนำให้งดการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเป็นตัวการเพิ่มความเสี่ยงของโรคตับแข็งและมะเร็งตับ ไวรัสตับอักเสบบีถูกพบว่าเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาของ membranous glomerulonephritis (MGN)", "title": "ตับอักเสบ บี" }, { "docid": "127425#0", "text": "โรคตับแข็ง () เป็นภาวะซึ่งเป็นผลจากโรคตับเรื้อรัง มีลักษณะเฉพาะคือการมีเนื้อเยื่อพังผืดเกิดขึ้นในเนื้อตับ ดึงรั้งเนื้อตับดีจนเป็นผิวตะปุ่มตะป่ำเรียกว่า regenerative nodule ทำให้ตับเสียการทำงานลงไป ตับแข็งมักเกิดขึ้นเป็นผลจากพิษสุราเรื้อรัง ตับอักเสบจากไวรัส (โดยเฉพาะจากไวรัสตับอักเสบบีและซี) และโรคตับคั่งไขมัน รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ อีกหลายอย่าง", "title": "โรคตับแข็ง" }, { "docid": "313219#8", "text": "อาการอื่นที่ไม่เกี่ยวกับตับพบได้ใน 1-10% ของผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ได้แก่ โรค serum-sickness–like โรคโพลีอาเทอร์ไรติส โนโดซา (โรคแพน) เมมเบรนัสโกลเมอรูโลสเคลอโรซิส (membranous glomerulonephritis) และ กลุ่มอาการจานอตตี–กรอสตี โรค serum-sickness–like ที่เกิดจากไวรัสตับอักเสบบีมักตามด้วยโรคดีซ่าน อาการได้แก่มีไข้ ผื่นบนผิวหนัง และโรคโพลีอาเทอร์ไรติส โนโดซา ประมาณ 30–50% ของคนที่มีอาการโรคโพลีอาเทอร์ไรติส โนโดซาเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบ โรคไตที่มาจากไวรัสตับอักเสบพบได้ในผู้ใหญ่บางส่วน ทว่าส่วนใหญ่แล้วพบในเด็ก", "title": "ตับอักเสบ บี" }, { "docid": "91454#22", "text": "โรคตับที่มีไขมันสูงแต่ไม่มีแอลกอฮอล์ (English: Non-alcoholic fatty liver disease (NAFLD)) เกิดกับผู้ที่มีไขมันในตับสูงแต่มีประวัติการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เล็กน้อยหรือไม่มีเลย ในช่วงเริ่มต้นมักจะไม่มีอาการของโรค ขณะที่โรคก้าวหน้าขึ้น อาการทั่วไปของโรคตับอักเสบอาจพัฒนาเป้นแบบเรื้อรัง[31] NAFLD มีความสัมพันธ์กับภาวะ metabolic syndrome, โรคอ้วน, โรคเบาหวานและไขมันในเลือดสูง[32] NAFLD ที่รุนแรงอาจนำไปสู่​​การอักเสบ, พังผืด และโรคตับแข็ง โดยอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า non-alcoholic steatohepatitis (NASH) การวินิจฉัยต้องไม่รวมสาเหตุอื่น ๆ ของโรคตับอักเสบเช่นการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป[33] ในขณะที่การถ่ายภาพทางการแพทย์สามารถแสดงให้เห็นถึงไขมันสะสมจำนวนมากในตับ การตรวจชิ้นเนื้อตับเท่านั้นที่สามารถแสดงให้เห็นถึงลักษณะของการอักเสบและการเกิดพังผืดของ NASH[34] NASH ได้รับการยอมรับว่าเป็นสาเหตุที่สามที่พบบ่อยที่สุดของโรคตับในประเทศสหรัฐอเมริกา[31]", "title": "ตับอักเสบ" } ]
659
งูจงอางที่ยาวที่สุดในโลก มีความยาวเท่าไหร่?
[ { "docid": "82926#0", "text": "งูจงอาง (English: King Cobra) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นงูพิษขนาดใหญ่ โดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 3.5 - 4.5 เมตร [1] จัดเป็นงูพิษที่มีขนาดยาวที่สุดในโลก ซึ่งตัวที่ยาวเป็นสถิติโลกมีความยาวถึง 559ร เป็นงูจงอางไทยลำตัวสีดำ ถูกจับได้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ค.ศ. 1925 น้ำหนักประมาณ 15 - 30 กิโลกรัม มีลูกตาดำและกลม หัวใหญ่กลมทู่ สามารถแผ่แม่เบี้ยได้เช่นเดียวกับงูเห่า ลำตัวเรียวยาว ว่ายน้ำเก่ง มีหลายสีแต่โดยทั่วไปจะมีสีน้ำตาลแดงอมเขียว หรือลำตัวสีเขียวอมเทา สีดำ สีนํ้าตาล และสีเขียวอ่อนเกือบขาว ส่วนพบเยอะที่สุดคือ สีดำและเขียวอมเทา และ สีนํ้าตาล น้อยสุดก็สีเขียวอ่อนเกือบขาว ท้องมีสีเหลืองจนเกือบขาว มีสีแดงเกือบส้มที่บริเวณใต้คอ มีพิษ มีผลทางระบบประสาท (Neurotoxin) ที่รุนแรง พิษของงูจงอางสามารถทำให้คนหรือสัตว์ตายได้[2] โดยมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 75%[2][3][4] เนื่องจากปริมาณพิษที่ฉีดออกจากเขี้ยวพิษมีมาก งูจงอางมีนิสัยค่อนข้างดุร้าย แต่ถ้าไม่จวนตัวหรือถูกรุกรานก่อนจะไม่ทำร้าย อาหารของงูจงอางคืองูอื่น ๆ เช่น งูสิง งูทางมะพร้าว งูเห่า งูเหลือม งูหลาม งูน้ำ งูสามเหลี่ยม งูกินปลา งูทับสมิงคลา งูเขียว และ งูจงอาง ที่มีขนาดเล็กกว่า กบหรือตะกวดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์อื่นทีมีขนาดเล็ก เช่น หนู เป็นต้น", "title": "งูจงอาง" } ]
[ { "docid": "82926#8", "text": "งูพิษ หรือ งูพิษอันตราย (Dangerous Venomous Snakes) มีความหมายเหมือนกันกับคำว่า \"งูที่มีความสำคัญในทางการแพทย์\" (Snakes of Medical Importance) ซึ่งจะหมายความถึงงูที่มีกลไกของพิษ (Venom apparatus) และปริมาณน้ำพิษที่มีความรุนแรง ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทและระบบโลหิตต่อร่างกายของสัตว์และมนุษย์ ทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่นาน ซึ่งกลไกลของพิษของงูโดยเฉพาะงูจงอาง ที่มีปริมาณพิษร้ายแรงน้อยกว่างูเห่าแต่ปริมาณน้ำพิษมากกว่า สามารถทำให้ผู้ที่ได้รับพิษเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งลักษณะกลไกพิษของงูจงอาง มีดังนี้", "title": "งูจงอาง" }, { "docid": "476321#0", "text": "งูไทปันธรรมดา (Coastal taipan หรือ Common taipan) เป็นงูไทปันขนาดใหญ่ มีพิษร้ายแรงของวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า มันมีถิ่นกำเนิดในพื้นที่ชายฝั่งของทางเหนือและทางตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย และเกาะนิวกินี มีความยาวได้ถึง 3 เมตร จากการศึกษาแอลดี 50 มันเป็นงูบกที่มีพิษร้ายแรงเป็นอันดับสามในโลก", "title": "งูไทปันธรรมดา" }, { "docid": "57723#0", "text": "หนอนริบบิ้น (Lineus longissimus) เป็นสัตว์ในไฟลัมนีเมอร์เทีย เป็นหนึ่งในสัตว์ที่มีลำตัวยาวที่สุดเท่าที่รู้จักกัน มีรายงานว่ามีการพบตัวอย่างสัตว์ชนิดนี้ที่มีความยาวมากกว่า 30 เมตร และมีการคาดคะเนว่าหนอนชนิดนี้อาจเติบโตได้ยาวถึง 60 เมตร ทำให้มันเป็นสัตว์ที่มีความยาวที่สุดในโลก ลำตัวของหนอนชนิดนี้มีสีน้ำตาล มีแถบริ้วเป็นสีสว่าง พบได้ทั่วไปตามชายฝั่งของเกาะบริเตน ตัวอย่างหนึ่งที่ถูกพบในปี 1864 ซึ่งเกยตื้นที่เซนต์แอนดรูว์ สกอตแลนด์ หลังจากเกิดพายุ สามารถวัดได้ความยาวมากกว่า 55 เมตร แต่การวัดความยาวต้องทำด้วยความระมัดระวังและละเอียดมาก เนื่องจากร่างกายของสัตว์จำพวก Nemertean มีความยืดหยุ่น และสามารถยืดออกมากกว่าความยาวปกติได้ง่าย", "title": "หนอนริบบิ้น" }, { "docid": "82926#29", "text": "เมื่องูจงอางตัวเมียฟักไข่ จะคอยเฝ้าดูแลและรักษาไข่ที่ซ่อนอยู่ในรังเพื่อให้ปลอดภัยจากศัตรูทุกชนิด เมื่อลูกงูฟักเป็นตัวอ่อนหรืองูที่ยังไม่โตเต็มวัย พังพอนเป็นศัตรูตัวฉกาจ และมีชะมด อีเห็นและเหยี่ยวรุ้งคอยไล่ล่า นอกจากนี้ยังมีเห็บเกาะกัดดูดเลือดลูกงูจงอางอีกด้วย ลูกงูจงอางแรกฟักออกจากไข่ จะมีขนาดของลำตัวยาวประมาณ 50 เซนติเมตร โตเท่ากับนิ้วมือ โดยทั่วไปหากไม่เคยรู้จักหรือพบเห็นลูกงูจงอางมาก่อน จะเข้าใจว่าเป็นงูเขียวดอกหมากหรืองูก้านมะพร้าว เนื่องจากมองดูคล้ายคลึงกัน แต่จะมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างคือ มีความดุร้ายตั้งแต่ยังเล็ก เมื่อพบเห็นสิ่งใดผิดแปลก จะแผ่แม่เบี้ยอยู่ตลอดเวลา เตรียมพร้อมการจู่โจมทันที", "title": "งูจงอาง" }, { "docid": "567513#2", "text": "มาีลำตัวเรียวยาว ชนิดที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ \"Ramphotyphlops braminus\" ที่มีความยาวประมาณ 14-18 เซนติเมตร และชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ \"Rhinotyphlops schlegelii\" ที่ยาว 90 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันมากทั้งพื้นที่แห้งแล้งจนถึงป่าดิบชื้น ส่วนมากอาศัยอยู่ในโพรงและในจอมปลวกโดยใช้เส้นทางเดินของปลวกทั้งบนพื้นดินและต้นไม้ กินมดและปลวก รวมถึงสัตว์ขาปล้องที่มีลำตัวนุ่มนิ่มเป็นอาหาร แพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนทั่วทั้งโลกทั้งที่เป็นพื้นแผ่นดินใหญ่และเกาะกลางมหาสมุทร", "title": "วงศ์งูดิน" }, { "docid": "812806#1", "text": "แชมป์ มีบันทึกว่าพบเห็นครั้งแรกโดย ซามูแอล เดอ แชมเพลน นักสำรวจชาวฝรั่งเศสที่ชื่อของเขาถูกนำมาตั้งเป็นชื่อทะเลสาบ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1609 ว่ามันเหมือนงูตัวยาว 20 ฟุต ตัวหนาเหมือนถังไม้ มีหัวเหมือนม้า โดยแชมป์มักถูกอธิบายจากพยานผู้ที่อ้างว่าเคยพบเห็นหลายคนได้ว่า มีตัวยาวบาง มีความเก่าแก่โบราณเหมือนไดโนเสาร์ คอยาวเหมือนงู มีความยาวระหว่าง 6–25 ฟุต", "title": "แชมป์ (สัตว์ประหลาด)" }, { "docid": "82926#7", "text": "โดยรวมลักษณะทางกายวิภาคของงูจงอางในแต่ละภาคจะเหมือนกัน มีความแตกต่างเพียงแค่ขนาดของลำตัวเท่านั้น ซึ่งลักษณะทางกายวิภาคของงูจงอาง มีดังนี้[15] โดยงูจงอางที่พบในภาคใต้ที่เรียกกันว่า งูบองหลา นั้นมีความยาวกว่างูจงอางที่พบในภาคอื่น โดยมีความยาวเฉลี่ย 4 เมตร และอาจยาวได้ถึง 5 เมตร รวมถึงมีลวดลายบนลำตัวที่แคบกว่าด้วย[10]", "title": "งูจงอาง" }, { "docid": "3753#45", "text": "จากดาวเคราะห์ทั้งหมดในระบบสุริยะ ฤดูกาลของดาวอังคารมีความใกล้เคียงกับโลกมากที่สุด เนื่องจากความเอียงของแกนการหมุนของดาวทั้งสองที่คล้ายคลึงกัน ระยะเวลาของแต่ละฤดูกาลบนดาวอังคารมีความยาวประมาณสองเท่าของฤดูกาลบนโลก เพราะดาวอังคารมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่า หนึ่งปีของดาวอังคารจึงยาวนานร่วมสองปีของโลก อุณหภูมิบนพื้นผิวดาวอังคารผันแปรจากค่าต่ำสุดที่ประมาณ –143 องศาเซลเซียส ที่บริเวณแผ่นขั้วดาวในฤดูหนาว จนถึงค่าสูงสุดที่ประมาณ 35 องศาเซลเซียส (95 องศาฟาเรนไฮต์) ในฤดูร้อนบริเวณศูนย์สูตร การมีช่วงอุณหภูมิที่กว้างมากเช่นนี้เป็นผลมาจากบรรยากาศที่เบาบางจนไม่สามารถกักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้มากนัก การมีความกดอากาศที่ต่ำ และการที่มีค่าความเฉื่อยความร้อนต่ำของดินบนดาวอังคาร ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ถึงดาวอังคารคิดเป็น 1.52 เท่าเมื่อเทียบกับระยะจากดวงอาทิตย์ถึงโลก ทำให้ดาวอังคารได้รับแสงจากดวงอาทิตย์เพียงร้อยละ 43 ต่อหน่วยพื้นที่เมื่อเทียบกับโลก", "title": "ดาวอังคาร" }, { "docid": "8230#33", "text": "ภายในประเทศไทยและอินโด-มลายูมีงูอยู่จำนวนมากกว่า 100 ชนิด เช่นงูหลาม งูเหลือม (Pythonidae) ซึ่งเป็นงูที่มีขนาดใหญ่ สามารถเจริญเติบโตจนมีความยาวได้ถึง 10 เมตร ซึ่งงูชนิดนี้เป็นงูที่คล้ายคลึงกับ งูอนาคอนดา ซึ่งเป็นงูที่อยู่ในวงศ์ Boidae ซึ่งเป็นงูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก", "title": "งู" }, { "docid": "401048#4", "text": "เป็นวงศ์ของงูที่มีพิษร้ายแรง สมาชิกในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ งูเห่า (\"Naja kaouthia\"), งูจงอาง (\"Ophiophagus hannah\") ซึ่งเป็นงูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ โดยความยาวเต็มที่อาจยาวได้ถึง 5.5 เมตร รวมถึงงูทะเลด้วย ซึ่งถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ย่อย Hydrophiinae ซึ่งเป็นหนึ่งในวงศ์ย่อยของวงศ์นี้เลยทีเดียว", "title": "วงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า" }, { "docid": "82926#31", "text": "งูจงอางมีการกระจายพันธุ์ตลอดทั้งเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพื้นที่ทางตอนใต้ของเอเชียตะวันออก (ภาคใต้ของประเทศจีน) ที่ซึ่งพบเห็นได้ไม่บ่อยนัก[19] งูจงอางเป็นงูป่าโดยกำเนิดอย่างแท้จริง โดยจะอยู่กันเป็นคู่ อาศัยอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำทะเลได้ถึง 2,000 เมตร บนภูเขาหรือในป่าไม้ งูจงอางจะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำลำธาร ตามบริเวณซอกหินหรือในโพรงไม้ หรือในป่าไผ่ทึบที่มีไผ่ต้นเตี้ย ๆ จำนวนมาก รวมทั้งในบริเวณป่าไม้ที่มีความชื้นแฉะที่มีความอบอุ่น และมีต้นไม้สูง ๆ หนาทึบ แต่ไม่ใช่ป่าดงดิบที่ไม่ค่อยมีแสงสว่างส่องลอดผ่านมาสู่พื้นดิน และอากาศอบชื้น งูจงอางสามารถขึ้นต้นไม้ได้เป็นอย่างดีและรวดเร็ว แต่ตามปกติแล้วมักจะอยู่ตามพื้นดินมากกว่าอยู่บนต้นไม้", "title": "งูจงอาง" }, { "docid": "350575#3", "text": "อย่างไรก็ตาม นักชีววิทยาและศาสตราจารย์ทางด้านสมุทรศาสตร์ เอ็ดเวิร์ด แอล. บอสฟิลด์ และ พอล เอช. เลบลอนด์ ได้อธิบายว่า แคดโบโรซอรัส เป็นงูทะเลขนาดใหญ่ที่มีผู้พบเห็นอาศัยอยู่ในทะเลแถบแวนคูเวอร์และคาบสมุทรโอลิมปิกในแคนาดา และมีรายงานพบที่บริเวณใกล้เคียงกับออริกอนและอะแลสกา รวมถึงตามแนวชายฝั่งของอ่าวไอซ์แลนด์ โดยมีชื่อเล่นเรียกกันสำหรับคนในท้องที่ว่า \"แคดดี\" (Caddy) มีผู้พบเห็นนับร้อยตลอดระยะเวลาหลายร้อยปี ลักษณะคล้ายกับสัตว์ประหลาดลอคเนสส์ ในสก็อตแลนด์ ตัวมีความยาวเหมือนงูทะเลขนาดใหญ่ความยาวกว่า 100 ฟุต หัวของมันคล้ายกับสัตว์ประเภทม้า, แกะ หรือ อูฐที่ยืดออกมาเล็กน้อย คอมีความยาวเกือบหนึ่งในสามของความยาวลำตัว มีครีบคู่หน้าหนึ่งคู่ มีความเร็วในการว่ายน้ำและความยืดหยุ่นตัวสูง หางมีลักษณะแผ่ยาว สีของแคดโบโรซอรัส เป็นลักษณะสีเขียวเข้มไปจนถึงสีน้ำตาลหรือสีเทา ตาอยู่บนหัวที่มีขนาดใหญ่ และเชื่อว่าแคดโบโรซอรัสสามารถหายใจใต้น้ำได้โดยอวัยวะพิเศษนับล้านหน่วยที่ฝังอยู่ใต้ผิวหนัง ซึ่งไม่เหมือนกับสัตว์อื่นใดในโลก", "title": "แคดโบโรซอรัส" }, { "docid": "82926#32", "text": "งูจงอางเป็นงูที่ออกล่าเหยื่อได้ทั้งในเวลากลางวันที่มีแสงแดดไม่ร้อนจัดมากนัก และในเวลาพลบค่ำ โดยจะเลื้อยออกไปหาเหยื่อตามถิ่นอาศัยที่มีอาหารชุกชุม อาหารหลักของงูจงอางคืองูชนิดอื่น ๆ เช่น งูทางมะพร้าว งูสิงหางลายหรือแม้กระทั่งงูเหลือมตัวเล็ก ๆ ที่มีขนาดไม่โตนัก นอกจากจะกินงูด้วยกันเองแล้ว ในบางครั้งงูจงอางอาจจะกินสัตว์จำพวกตะกวด กิ้งก่า ตุ๊กแก เหี้ย เป็นอาหารอีกด้วย หรือแม้ในบางครั้งงูจงอางก็กินลูกงูจงอางด้วยกันเอง เคยมีผู้ยิงงูจงอางเพศผู้ได้ และเมื่อผ่าท้องออกพบลูกงูจงอางอยู่ในนั้น แสดงว่างูจงอางกินแม้กระทั่งงูจงอางด้วยกัน เพียงแต่ยังเล็กอยู่เท่านั้น แต่เมื่อโตเต็มวัยก็ยังไม่เคยพบว่างูจงอางกินงูจงอางด้วยกันเอง[20]", "title": "งูจงอาง" }, { "docid": "82926#6", "text": "งูจงอางเป็นงูที่มีความผันแปรในเรื่องของขนาดลำตัวและสีสันของเกล็ดอย่างชัดเจน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับแหล่งที่อยู่อาศัยและสภาพทางภูมิศาสตร์ เช่น งูจงอางที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบทางภาคใต้ของประเทศไทย จะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่โตกว่างูจงอางในแถบภาคอื่น ๆ รวมทั้งสีของเกล็ดก็แตกต่างด้วยเช่นกัน งูจงอางในแถบภาคใต้จะมีสีน้ำตาลอมเขียวหรือสีเขียวอมเทา ลักษณะลวดลายของเกล็ดบริเวณลำตัวไม่ค่อยชัดเจน แตกต่างจากงูจงอางในแถบภาคอื่น ๆ เช่น งูจงอางในภาคเหนือ จะมีเกล็ดสีเข้มจนเกือบดำ ซึ่งมักจะเรียกกันว่า จงอางดำ และมีนิสัยดุร้ายกว่างูจงอางในแถบภาคใต้[14] ส่วนงูจงอางในแถบภาคกลางและหลาย ๆ จังหวัดในแถบภาคอีสาน มักจะมีสีเกล็ดเป็นลายขวั้นตามขวาง ลักษณะเป็นบั้ง ๆ เกือบตลอดทั้งตัว มีนิสัยดุร้ายเช่นเดียวกับงูจงอางแถบภาคเหนือและภาคใต้ แต่มีขนาดของลำตัวที่เล็กกว่า ว่องไวและปราดเปรียว", "title": "งูจงอาง" }, { "docid": "529747#2", "text": "เป็นงูที่มีลำตัวกลม มีความยาวประมาณ 60 เซนติเมตร หางสั้นมาก มีเกล็ดปกคลุมลำตัวเรียบเป็นมัน เกล็ดด้านท้องใหญ่กว่าเกล็ดด้านหลังเล็กน้อย ลำตัวมีเป็นปล้องสีแดงสลับสีดำคล้ายคลึงกับงูปะการัง หรืองูคอรัล ซึ่งอยู่ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) ที่มีพิษร้ายแรง แต่ความกว้างของปล้องสีแดงและปล้องสีดำไม่เท่ากัน และขอบของปล้องไม่เป็นเส้นตรง อาศัยอยู่ในโพรงหรือหลบซ่อนตัวอยู่ใต้กองใบไม้ในพื้นที่ป่า ออกหากินในเวลากลางคืน แต่อาจพบได้ในพื้นที่เกษตรกรรมหรือพื้นที่ ๆ มีกิจกรรมของมนุษย์ กินงู และจิ้งเหลนด้วงเป็นอาหาร ออกลูกเป็นตัว พบกระจายพันธุ์อยู่ในบริเวณตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ จัดเป็นงูไม่มีพิษ ", "title": "งูปะการังแปลง" }, { "docid": "415558#1", "text": "งูในสกุลงูแมมบานั้น เป็นงูที่มีลำตัวเรียวยาว มีส่วนหัวขนาดเล็ก มีตากลมโต มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 1.5-2 เมตร พบใหญ่ที่สุดได้ถึง 4 เมตร และเป็นงูที่มีความว่องไวมาก สามารถเลื้อยคลานได้เร็วถึง 12-20 กิโลเมตร/ชั่วโมง บนพื้นดิน จนถูกจัดให้เป็นงูที่เลื้อยไวที่สุดบนโลกมาแล้ว", "title": "งูแมมบา" }, { "docid": "567618#2", "text": "มีลักษณะลำตัวเรียวยาวมาก มีความยาวของลำตัวตั้งแต่ 15-25 เซนติเมตร แต่บางชนิด เช่น \"Leptotyphlops macrolepis\" และ \"L. occidentalis\" มีความยาวกว่า 30 เซนติเมตร แต่ในชนิด \"\"L. carlae\" กลับมีความยาวเพียง 10 เซนติเมตร นับเป็นงูชนิดที่ีมีขนาดเล็กที่สุดในโลก", "title": "วงศ์งูเส้นด้าย" }, { "docid": "331760#0", "text": "วาฬสีน้ำเงิน (; ชื่อวิทยาศาสตร์: \"Balaenoptera musculus\") เป็นวาฬบาลีน (Balaenopteridae) และถือเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก วาฬสีน้ำเงินในขนาดปกติโดยทั่วไปจะยาวประมาณ 30–35 เมตร แต่ถ้าขนาดเล็กจะมีความยาวน้อยกว่า 30 เมตร (วาฬสีน้ำเงินแคระ หรือ \"B. m. brevicauda\") แต่ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมีความยาว 56 เมตร โดยวัดจากช้างในปัจจุบันที่ยาวที่สุดในโลกจำนวนแปดเชือก น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ ประมาณ 100–200 ตัน เฉพาะลิ้นก็มีน้ำหนักเกือบเท่าช้างหนึ่งตัว หัวใจมีขนาดเท่ารถยนต์คันหนึ่ง และเส้นเลือดบางเส้นกว้างขนาดที่มนุษย์พอจะลงไปว่ายน้ำได้ และครีบหางก็มีขนาดกว้างกว่าปีกของเครื่องบินโดยสารขนาดเล็ก จัดเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเท่าที่เคยมีมา มีขนาดใหญ่กว่าไดโนเสาร์ชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก", "title": "วาฬสีน้ำเงิน" }, { "docid": "83822#0", "text": "งูเหลือม (; ) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นงูขนาดใหญ่ ลำตัวยาวเฉลี่ยประมาณ 3.5-6 เมตร จัดเป็นงูที่ยาวที่สุดของโลกซึ่งตัวที่ยาวที่สุดยาวถึง 9.6 เมตร ถูกจับได้เมื่อปี ค.ศ. 1917 ที่ เกาะซีลิเบท เป็นหมู่เกาะแห่งหนึ่งในมาเลเซีย โดยมีความยาวกว่างูอนาคอนดา (\"Eunectes murinus\") ที่พบในทวีปอเมริกาใต้ แต่มีน้ำหนักน้อยกว่า อาจจะหนักน้อยกว่างูอนาคอนดาได้ถึงครึ่งเท่าตัว", "title": "งูเหลือม" }, { "docid": "82926#5", "text": "งูจงอางมีพฤติกรรมการฉกกัดแบบติดแน่น ไม่กัดฉกเหมือนงูเห่า จึงกัดแล้วจะย้ำเขี้ยว (lock jaw) น้ำพิษมีสีเหลืองและมีลักษณะเหนียวหนืด พิษงูทำลายประสาทเช่นเดียวกับงูเห่าแต่เกิดอาการเร็วและรุนแรงกว่า เนื่องจากมีน้ำพิษปริมาณมาก เพราะงูจงอางมีขนาดโตกว่างูเห่า ผู้ถูกกัดจะมีอาการหนังตาตก ขากรรไกรแข็ง พูดไม่ชัด กลืนน้ำลายไม่ได้ แน่นหน้าอก ตาพร่า อ่อนเพลีย เป็นอัมพาต อาจตายเพราะการหายใจล้มเหลว [11] น้ำพิษของงูจงอางสามารถฉีดออกมาได้ถึง 380-600 มิลลิกรัมในการฉกกัดแต่ละครั้ง[12] ซึ่งอาจมีปริมาณมากถึง 10 เท่าของงูเห่า ทำให้เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อ ที่อันตรายคือกล้ามเนื้อที่ใช้หายใจหยุดทำงาน ดังนั้นหากถูกกัดจะถึงแก่ความตายอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่ถึง 15 นาที [13]", "title": "งูจงอาง" }, { "docid": "82926#2", "text": "งูจงอางเป็นงูพิษที่มีลักษณะหัวกลมมน เกล็ดบริเวณส่วนหัวใหญ่ มีเขี้ยว 2 เขี้ยวที่ขากรรไกรด้านบน หน้าตาดุดัน จมูกทู่ มองเผิน ๆ คล้ายกับงูสิงดง ที่บริเวณขอบตาบนมีเกล็ดยื่นงองุ้มออกมา ทำให้หน้าตาของงูจงอางมองดูดุและน่ากลัว ส่วนบริเวณท่อนหางจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันมากที่สุด มีม่านตากลม ลำคอมีขนาดสมส่วน ลำตัวขนาดใหญ่เรียวยาว แผ่แม่เบี้ยได้เช่นเดียวกับงูเห่า งูจงอางที่ยังไม่โตเต็มวัย จะมีขนาดลำตัวเท่ากับงูเห่าดงแต่จะยาวกว่า ทำให้คนทั่วไปที่พบเห็นและไม่เคยเห็นงูจงอางมาก่อน จะเข้าใจผิดว่าเป็นงูเห่าและเรียกว่างูเห่าดง", "title": "งูจงอาง" }, { "docid": "82926#27", "text": "งูจงอางตัวเมียเมื่อได้รับการผสมพันธุ์แล้ว จะมีระยะเวลาการตั้งท้องนานประมาณ 25-70 วัน โดยทั่วไปลักษณะของไข่งูจงอาง จะมีลักษณะเป็นรูปทรงไข่หรือรูปทรงรียาว มีสีขาวถึงสีครีม เปลือกไข่ค่อนข้างนิ่มแต่ไม่แตก (Leathery) และจะมีขนเส้นเล็ก ๆ บริเวณเปลือกไข่สำหรับดูดซับความชื้นภายในรัง ไข่ของงูจงอางจะไม่ติดกันเป็นแพเหมือนกับไข่ของงูกะปะ มีขนาดประมาณ 3.50 - 6.00 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายไข่เป็ดและจะฟักออกมาเป็นตัวอ่อนในตอนต้นของฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม", "title": "งูจงอาง" }, { "docid": "82926#22", "text": "งูจงอางมีลักษณะและรูปร่างที่เหมือน ๆ กัน คือมีขนาดของลำตัวใหญ่และยาว จะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยในเรื่องของขนาด ซึ่งเกิดจากจากวิวัฒนาการของสายพันธุ์และธรรมชาติเป็นผู้กำหนด งูจงอางเป็นงูพิษที่มีขนาดใหญ่ มีตากลมสีดำใช้สำรวจหาเหยื่อที่อยู่ในระยะไกลได้ ซึ่งการที่งูจงอางมีขนาดใหญ่ สาเหตุหลักเนื่องมาจากต้องการอาหารในการดำรงชีพมาก แต่มีข้อจำกัดด้วยขนาดตัวที่มีขนาดใหญ่ ทำให้การล่าอาหารในบางครั้งอาจเป็นไปด้วยความยากลำบาก และในเรื่องการปรับอุณหภูมิในร่างกายความใหญ่ของร่างกายทำให้ต้องใช้เวลาในการปรับอุณหภูมิเป็นเวลานาน รวมทั้งพฤติกรรมการล่า หาอาหาร และสืบพันธุ์ สามารถขึ้นต้นไม้และอาศัยความเร็วในการจู่โจมเหยื่อ โดยใช้หางในการเกาะเกี่ยวต้นไม้ ทำให้สามารถห้อยตัวลงไปดึงกิ้งก่าหรือนกจากต้นไม้ได้", "title": "งูจงอาง" }, { "docid": "82926#3", "text": "ตามปกติจะหากินที่พื้นดินแต่ก็สามารถขึ้นต้นไม้ได้อย่างคล่องแคล่ว เป็นงูที่ใช้วิธีการฉกกัดและรัดเหยื่อไม่เป็น ซึ่งไม่สมกับขนาดของลำตัวที่เพรียวยาว ปกติจะเลื้อยช้าแต่จะมีความว่องไวและปราดเปรียวเมื่อตกใจ ถ้าพบเจอสิ่งใดแล้วไม่หยุดชูคอขึ้น จะเลื้อยผ่านไปเงียบ ๆ แต่ถ้าขดตัวเข้ามารวมเป็นกลุ่มแล้วยกหัวสูงขึ้น แสดงว่าพร้อมจู่โจมสิ่งที่พบเห็น[7] เวลาเลื้อยหัวจะเรียบขนานไปกับพื้น แต่เมื่อตกใจหรือโกรธสามารถยกตัวขึ้นชูคอได้สูงประมาณ 1 ใน 3 ของขนาดความยาวลำตัว เทียบความสูงได้ในระดับประมาณเอวของคน จังหวะที่ยกตัวชูสูงขึ้นในครั้งแรกจะมีความสูงมากและค่อย ๆ ลดลงมาอยู่ในระดับปกติตามเดิม ไม่ส่งเสียงขู่ฟ่อ ๆ เมื่อมีสิ่งใดเข้าใกล้เช่นเดียวกับงูเห่า ที่สามารถพ่นลมออกจากทางรูจมูกซึ่งเป็นเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะของงูเห่า[8] แผ่แม่เบี้ยได้เหมือนงูเห่าแต่จะแคบและไม่มีลายดอกจันที่บริเวณศีรษะด้านหลัง มีลายค่อนข้างจางพาดตามขวาง มีลักษณะเป็นบั้ง ๆ แทน[9]", "title": "งูจงอาง" }, { "docid": "82610#1", "text": "งูทะเลทั่วโลกมีทั้งหมดประมาณ 50 ชนิด[1] พบตั้งแต่มหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย เชื่อว่าเป็นงูบกที่พัฒนาการลงมาสู่น้ำ โดยปกติ งูทะเลจะอาศัยอยู่ตามชายฝั่งน้ำตื้นที่อบอุ่น หากินปลาเป็นอาหารหลัก มีรูปร่างคล้ายงูบก แต่มีส่วนที่แตกต่างออกไปคือ เกล็ด บางชนิดมีเกล็ดเป็นมัน บางชนิดมีเกล็ดฝังอยู่ใต้ผิวหนัง ลำตัวลื่นคล้ายปลา หางแบนราบคล้ายใบพาย ซึ่งเป็นวิวัฒนาการใช้สำหรับว่ายน้ำ สีสันลำตัวเป็นปล้อง จึงทำให้จำแนกด้วยตาเปล่าได้ยากว่าชนิดไหนเป็นชนิดไหน โดยทั่วไปงูทะเลมีความยาวเต็มที่ประมาณ 50 - 70 เซนติเมตร แต่ก็มีบางชนิดที่ยาวได้ถึง 2 เมตร และมักอาศัยตามทะเลโคลนหรือทะเลที่มีน้ำขุ่นมากกว่าทะเลน้ำใส[2]", "title": "งูทะเล" }, { "docid": "82926#1", "text": "งูจงอางจัดอยู่ในสกุล Ophiophagus ซึ่งเป็นงูเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุลนี้ โดยมีรากศัพท์จากภาษาละตินมีความหมายว่า \"กินงู\" ซึ่งหมายความถึงการล่าเหยื่อของงูจงอาง เพราะงูในสกุลนี้ กินงูอื่นเป็นอาหาร พบในประเทศไทย ประเทศอินเดีย ประเทศพม่า ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยมีมากในป่าจังหวัดนครสวรรค์ เพชรบูรณ์ และนครราชสีมา และในป่าทุกภาค แต่ชุกชุมทางภาคใต้มากที่สุด[5]ซึ่งในภาษาใต้เรียกว่า งูบองหลา[6] ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535", "title": "งูจงอาง" }, { "docid": "8230#0", "text": "งู เป็นสัตว์เลื้อยคลานอันดับหนึ่ง ไม่มีขา ไม่มีเปลือกตา มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัว ลักษณะลำตัวยาวซึ่งโดยขนาดของความยาวนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของงู ปราดเปรียวและว่องไวในการเคลื่อนที่ มีลิ้นสองแฉกเพื่อใช้สำหรับรับความรู้สึกทางกลิ่น จัดอยู่ในชั้น Reptilia, ตระกูล Squamata, ตระกูลย่อย Serpentes โดยทั่วไปแล้วงูจะกลัวและไม่กัด นอกเสียจากถูกรบกวนหรือบุกรุก จะเลื้อยหลบหนีเมื่อมีสิ่งใดเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่ ออกล่าเหยื่อเมื่อรู้สึกหิว โดยกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร ยกเว้นงูบางชนิดที่กินงูด้วยกันเอง เช่น งูจงอาง สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืดและในเวลากลางคืน[1]", "title": "งู" }, { "docid": "82926#14", "text": "เขี้ยวพิษ (Venom Fangs) เขี้ยวพิษของงูจงอาง มีลักษณะโค้งงอ มีจำนวน 2 ชุดคือ เขี้ยวพิษจริงและเขี้ยวพิษสำรอง เทียบได้กับลักษณะของเข็มฉีดยา เมื่องูจงอางฉกกัด เขี้ยวพิษจะฝังเข้าไปในเนื้อของเหยื่อหรือผู้ที่ถูกกัดและฉีดพิษเข้าสู่ร่างกายของเหยื่อ ลักษณะเขี้ยวพิษของงูจงอางจัดอยู่ในกลุ่ม Proteroglypha ซึ่งเป็นกลุ่มของงูมีพิษที่มีลักษณะเขี้ยวพิษอยู่ด้านหน้าของขากรรไกรด้านบน เขี้ยวพิษทั้ง 2 จะยึดแน่นติดกับขากรรไกรด้านบน หดพับงอเขี้ยวไม่ได้ ลักษณะของเขี้ยวพิษจะไม่ยาวนัก มีร่องตามแนวยาว (Vertical Groove) อยู่บริเวณด้านหน้าของตัวเขี้ยว จำนวน 1 ร่อง เพื่อสำหรับให้น้ำพิษจากต่อมผลิตพิษไหลผ่าน", "title": "งูจงอาง" }, { "docid": "92401#3", "text": "เคยมีการสันนิษฐานว่าจมูกที่ยาวของมีไว้เพื่อใช้ในการว่ายน้ำ แต่เหตุผลข้อนี้ก็ต้องตกไป เพราะตัวเมียก็ว่ายน้ำเหมือนกัน แต่ตัวเมียกลับมีจมูกที่เล็กกว่าครึ่งหนึ่งของตัวผู้ นักชีววิทยาบางกลุ่มก็สันนิษฐานว่า จมูกมีหน้าที่ในการระบายอากาศจากภายในร่างกาย เนื่องจากตัวผู้มีขนาดตัวและมีกระเพาะที่ใหญ่มาก ภายในร่างกายจึงมีความร้อนมาก บ้างก็อธิบายโดยใช้หลักการของชาร์ล ดาร์วิน ว่า ตัวเมียจะชอบตัวผู้ที่มีจมูกใหญ่ เมื่อนานเข้าตัวผู้ที่มีจมูกเล็กจึงลดจำนวนลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งเหลือแต่ตัวที่จมูกใหญ่ คล้ายกับว่ายิ่งตัวผู้มีจมูกยาวใหญ่เท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นที่สนใจของตัวเมียมากขึ้นเท่านั้น ", "title": "ลิงจมูกยาว" } ]
2429
วิดีทัศน์ คืออะไร ?
[ { "docid": "33660#0", "text": "วีดิทัศน์ หรือ วิดีโอ (English: video)[1] เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความบันเทิงในบ้าน ใช้ต่อพ่วงกับโทรทัศน์ มีระบบหลัก ๆ คือ NTSC PAL และ SECAM", "title": "วิดีโอ" } ]
[ { "docid": "333419#2", "text": "ด้านการศึกษา กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการภาพยนตร์และวิดีทัศน์ มหาวิทยาลัยรังสิต (เดิมศึกษาที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ)", "title": "ศรัณย์ ศิริลักษณ์" }, { "docid": "928178#0", "text": "อาการกลัวงู () เป็นโรคกลัวอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ พึงแยกแยะระหว่างผู้ไม่ชอบงูหรือกลัวพิษงูหรืออันตรายที่เกี่ยวข้องกับงู ผู้มีอาการกลัวงูไม่เพียงแต่กลัวเมื่อสัมผัสตัวเป็น ๆ เท่านั้น แต่ยังกลัวการคิดถึงงู หรือเห็นงูในวิดีทัศน์หรือภาพนิ่ง", "title": "อาการกลัวงู" }, { "docid": "314381#0", "text": "จูดี เดวิส () เกิดเมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1955 เป็นนักแสดงชาวออสเตรเลีย เป็นทีู่รู้จักในบทบาทจากเรื่อง \"Husbands and Wives\", \"A Passage to India\" และมินิซีรีส์ทางโทรทัศน์เรื่อง \"\"", "title": "จูดี เดวิส" }, { "docid": "827654#0", "text": "ซูเปอร์เนเชอรัล () เป็นภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์แฟนตาซีสยองขวัญอเมริกา สร้างขึ้นโดย อีริก คริปก์ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 2005 ที่ช่อง The WB ที่ต่อมาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของช่อง The CW นำแสดงโดย จาเร็ด พาดาเล็คกี เป็น แซม วินเชสเตอร์ และ เจนเซน แอคเคิลส์ เป็น ดีน วินเชสเตอร์ โดยเรื่องราวเกี่ยวกับสองพี่น้องที่ออกไล่ล่าปีศาจ ,ผี ,สัตว์ประหลาดและสิ่งมีชีวิตมหัศจรรย์อื่น ๆ ผลิตโดย Warner Bros. Television ร่วมกับบริษัท วันเดอร์แลนด์ ซาวด์ แอนด์ วิชัน และมีอีริก คริปก์ เป็นผู้อำนวยการสร้างการผลิต พร้อมด้วย แม็กจี, โรเบิร์ต ซิงเกอร์, ฟิลิป สกริสเซี่ย, เซรา แกมเบิล, เจเรมี คาร์เวอร์, จอห์น ชิแบน, เบน เอ็ดลันด์, อดัม กลาส และอดีตผู้อำนวยการสร้างและผู้กำกับ คิม แมนเนอร์ ซึ่งเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดในระหว่างการผลิตฤดูกาลที่สี่", "title": "ซูเปอร์เนเชอรัล (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์)" }, { "docid": "994160#2", "text": "ปัจจุบันกำลังศึกษาระดับปริญญาตรีที่ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต สาขาภาพยนตร์และวิดีทัศน์", "title": "เกศรินทร์ น้อยผึ้ง" }, { "docid": "868133#1", "text": "ปวรพัฒน์ จารุศักดิ์วีรกุล ชื่อเล่น วิคเตอร์ เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 อายุ 20 ปี มีพี่น้อง 2 คน โดยเขาเป็นลูกคนที่ 1 และมีน้องชาย 1 คน ชื่อน้องต้นกล้า จบการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนแม่พระฟาติมา มัธยมศึกษาตอนต้นถึงตอนปลายจากโรงเรียนอุดมศึกษา ทาวน์อินทาวน์ และกำลังศึกษาระดับปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์และวิดีทัศน์ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นคนกรุงเทพโดยกำเนิด", "title": "ปวรพัฒน์ จารุศักดิ์วีรกุล" }, { "docid": "19540#3", "text": "จิตรกรรมภูมิทัศน์ (Landscape art) ได้แก่งานจิตรกรรมภาพวิวทิวทัศน์ หรือสื่ออื่นที่แสดงภูมิทัศน์ ภาพถ่ายภูมิทัศน์ (Nature photography) ได้แก่งานการถ่ายภาพภาพวิวทิวทัศน์ ภูมิทัศน์สถาปัตยกรรม หรือภูมิสถาปัตยกรรม (Landscape architecture) ได้แก่ศิลปะและวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการวางแผน การออกแบบ และการจัดการงานภูมิทัศน์สาธารณะ งานภูมิทัศน์และสวนส่วนบุคคลซึ่งสามารถแบ่งเป็นสาขาย่อยได้ดังนี้ การออกแบบภูมิทัศน์ (Landscape design) ได้แก่การออกแบบที่ว่างทั้งในเมืองและชนบท ภูมิทัศน์วิศวกรรม (Landscape engineering) ได้แก่งานด้านเทคนิคในงานภูมิสถาปัตยกรรม การวางแผนภูมิทัศน์ (Landscape planning) ได้แก่การวางแผนพื้นที่ขนาดใหญ่ และ/หรืองานพัฒนาโครงการภูมิทัศน์ระยะยาว การจัดการงานภูมิทัศน์ (Landscape management) ได้แก่การดูแลและจัดการภูมิทัศน์มนุษย์สร้างและภูมิทัศน์ธรรมชาติ งานภูมิทัศน์สวน (Landscape gardening) ได้แก่งานออกแบบสวนในคฤหาสก์ขนาดใหญ่ ซึ่งนิยมทำและมีความสำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 18-19 ในยุโรป โดยเฉพาะประเทศอังกฤษ นับเป็นต้นตอของภูมิสถาปัตยกรรม ภูมิทัศน์ชุมชน (Urban landscape) ได้แก่การออกแบบหรือปรับปรุงคุณภาพทางทัศนียภาพในสภาพแวดล้อมที่เป็นส่วนของเมือง โดยเฉพาะที่เป็นชุมชนให้มีความร่มรื่น สวยงาม มีเอกลักษณ์และร่มรื่น ภูมิทัศน์นิเวศวิทยา (Landscape ecology) ได้แก่สาขาย่อยในวิชานิเวศวิทยาที่ว่าด้วยการศึกษาสาเหตุ ผลกระทบและกระบวนการของรูปลักษณ์ภูมิทัศน์ของพื้นที่ที่ถูกเปลี่ยนแปลง ภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural landscapes) ได้แก่ “การรวมเข้าด้วยกันในงานของธรรมชาติและงานของมนุษย์” เป็นการแสดงให้เห็นภาพของวิวัฒนาการของสังคมมนุษย์และการตั้งถิ่นฐานตามกาลเวลาที่ล่วงเลยมา ซึ่งได้รับอิทธิพลจากข้อจำกัดทางกายภาพและ/หรือโอกาสในสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและจากการสืบทอดทางสังคม เศรษฐกิจและพลังอิทธิพลทางวัฒนธรรมทั้งที่เกดภายในและที่ได้รับจากภายนอก", "title": "ภูมิทัศน์" }, { "docid": "693#1", "text": "เป้าหมายโดยทั่วไปของคอมพิวเตอร์วิทัศน์ได้แก่", "title": "คอมพิวเตอร์วิทัศน์" }, { "docid": "314608#1", "text": "แพควินได้รับเสียงวิจารณ์ที่ดีในบท ซูกี สแตกเฮาส์ ในซีรีส์ทางช่องเอชบีโอเรื่อง \"True Blood\" ที่เธอได้รับรางวัลลูกโลกทองคำในสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ประเภทซีรีส์ดรามาทางโทรทัศน์ ในปี 2009", "title": "แอนนา แพควิน" }, { "docid": "961579#10", "text": "ยูทูบ อวอร์ด หรือรางวัลยูทูบ ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 2007 โดยที่จะมอบให้ผู้ใช้ที่สร้างวิดีทัศน์ที่เป็นที่ชื่นชอบของเหล่าผู้ใช้ยูทูบอื่น โดยจะเป็นการคัดเลือกด้วยการเลือกวิดีทัศน์ของปีที่แล้ว มารับรางวัลในปีต่อไปหลังจากปีนั้น", "title": "ประวัติยูทูบ" }, { "docid": "693#5", "text": "ในปัจจุบัน เครื่องจักรวิทัศน์ และ การจัดการรูปภาพทางการแพทย์ ที่ใช้วิธีการต่าง ๆ ทางคอมพิวเตอร์วิทัศน์ ได้รับการพัฒนา และ จัดจำหน่าย ในตลาดโลก คิดรวมเป็นมูลค่า หลายหมื่นล้านบาทต่อปี", "title": "คอมพิวเตอร์วิทัศน์" }, { "docid": "961579#2", "text": "โดเนนเมนเริ่มแรกคือ เปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 พร้อมกับการรวมวิดีทัศน์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2004 เป็นการเริ่มค้นคลิปวิดีทัศน์แห่งแรกในยูทูบ ชื่อวิดีทัศน์ Me at the zoo เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2005 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ ยาวีด คาริม ถ่ายที่สวนสัตว์ซานดิอิโก", "title": "ประวัติยูทูบ" }, { "docid": "693#0", "text": "คอมพิวเตอร์วิทัศน์ () เป็นสาขาหนึ่งของวิทยาการคอมพิวเตอร์ ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับการดึงสารสนเทศจากรูปภาพหรือวีดิทัศน์ เครื่องมือที่ใช้ในคอมพิวเตอร์วิทัศน์ได้แก่ คณิตศาสตร์โดยเฉพาะ เรขาคณิต พีชคณิตเชิงเส้น สถิติ และ การวิจัยดำเนินงาน (การหาค่าเหมาะที่สุด) และการวิเคราะห์เชิงฟังก์ชัน โดยเครื่องมือเหล่านี้ใช้ในการสร้างขั้นตอนวิธีหรือ ขั้นตอนวิธี ในการแยกส่วนภาพ และ การจัดกลุ่มภาพเพือให้คอมพิวเตอร์สามารถ \"เข้าใจ\" ทัศนียภาพ หรือคุณลักษณะต่าง ๆ ในภาพ", "title": "คอมพิวเตอร์วิทัศน์" }, { "docid": "961579#19", "text": "เจมส์ เซน วิศวกรด้านซอฟต์แวร์ประจำยูทูบ ได้เปิดเผยว่าในเดือนเมษายน ค.ศ. 2011 วิดีทัศน์ในร้อยละ 30 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 99 ของเว็บไซต์", "title": "ประวัติยูทูบ" }, { "docid": "543728#2", "text": "นับแต่เริ่มต้นรายการครั้งแรก ผู้ผลิตใช้วิธีดำเนินรายการสดทางวิทยุกระจายเสียง ซึ่งเปิดเข้าโดยพิธีกรกล่าวนำ แล้วส่งต่อให้นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร กล่าวเนื้อหาจนจบกระแสความ แล้วจึงส่งกลับไปยังพิธีกรกล่าวปิดรายการ โดยมีการถ่ายทอดเสียงไปออกอากาศทางโทรทัศน์ตามเวลาจริง แล้วแสดงภาพถ่ายของนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งชื่อรายการบนหน้าจอในระยะแรก ซึ่งใช้เวลาเพียง 30 นาทีคือ 08:00-08:30 น. ต่อมาในรายการประจำวันที่ 15 และ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เปลี่ยนรูปแบบเป็นการบันทึกวิดีทัศน์ โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวเนื้อหาจากหน้ากล้อง สลับกับภาพวิดีทัศน์ภารกิจ ตามที่นายกรัฐมนตรีกำลังกล่าวถึงในขณะนั้น แต่ออกอากาศเพียง 15-20 นาทีเท่านั้น", "title": "รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน" }, { "docid": "771186#3", "text": "แมตช์เล่นที่โรงแรมโฟร์ซีซันส์ในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ในเดือนมีนาคม 2559 และมีการสตรีม (stream) วิดีทัศน์สดพร้อมคำบรรยายโดย ไมเคิล เรดมอนด์ (มืออาชีพ 9 ดั้ง) และคริส การ์ล็อก เอจา ฮวง สมาชิกทีมดีปไมด์และผู้เล่นโกะ 6 ดั้งมือสมัครเล่น วางหมากบนกระดานให้แอลฟาโกะ ซึ่งดำเนินการผ่านกูเกิลคลาวด์แพลตฟอร์มโดยมีเซิร์ฟเวอร์ตั้งอยู่ในสหรัฐ", "title": "แอลฟาโกะพบอี เซ-ดล" }, { "docid": "19417#7", "text": "ห้องสมุดประชาชนสวนลุมพินี เสนอบริการในรูปแหล่งค้นคว้าความรู้จากหนังสือและวิดีทัศน์ เปิดบริการเวลา 08.00 – 20.00 น. วันอังคาร – อาทิตย์", "title": "สวนลุมพินี" }, { "docid": "961579#0", "text": "ยูทูบก่อตั้งขึ้นโดยพนักงานของบริษัทเพย์แพล ซึ่งเป็นเว็ปไชต์สำหรับการแบ่งปันวิดีทัศน์ โดยที่สมาชิกของยูทูบสามารถอัปโหลดและสำรวจวิดีทัศน์ได้ โดเนนเมนของยูทูบมีว่า \"codice_1\" ซึ่งเผยแพร่ครั้งแรกในวันจันทร์ ที่ 14 เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 เวลา 9:13 นาฬิกา", "title": "ประวัติยูทูบ" }, { "docid": "961579#4", "text": "ในช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 2006 เว็บไซต์อย่างยูทูบ ได้กลายเป็นเว็บไซต์ที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งมีวิดีทัศน์ที่ถูกอัปโหลดมากถึง 65,000 วิดีทัศน์ ในเดือนกรกฎาคม ยูทูบมีผู้เข้าชมเฉลี่ยแล้วได้ถึง 100 ล้านครั้งต่อวัน เว็บไวต์ยังติดอันดับที่ 15 ของเว็บไซต์ที่มียอดผู้เข้าชมเป็นอย่างมากที่สุดในโลก จัดอันดับโดย อเล็กสาร์ ซึ่งทำให้มีมายสเปกตกอันดับมา ยูทูบเป็นเว็ปไซต์ที่มีผู้เข้าชม 20 ล้านคนต่อเดือนตามการบันทึกของเนลสัน/เน็ตแรงติงก์ โดยแยกออกมาเป็นผู้ชมเพศหญิง ร้อยละ 44 และเพศชาย ร้อยละ 56 โดยอยู่ในช่วงอายุประมาณ 12-17 ปีที่เข้าเว็ปไซต์มากที่สุดในยูทูบ ความเด่นของยูทูบคือการตลาดที่เป็นรูปธรรม เว็ปไซต์ Hitwise.com ได้กล่าวว่า ยูทูบได้ทำการตลาดวิดีทัศน์ออนไลน์ในสหราชอาณาจักรถึง ร้อยละ 64", "title": "ประวัติยูทูบ" }, { "docid": "213857#12", "text": "สตูดิโออัลบัมที่สองของสวิฟต์ชื่อ เฟียร์เลส วางจำหน่ายวันที่ 11 พฤศจิกายน 2008[36] ซิงเกิลนำ \"เลิฟสตอรี\" ออกจำหน่ายในเดือนกันยายน 2008 ขึ้นสูงสุดอันดับที่สี่บนชาร์ต<i data-parsoid='{\"dsr\":[34846,34858,2,2]}'>บิลบอร์ด</i>ฮอต 100[55] และอันดับหนึ่งในออสเตรเลีย[56] มีซิงเกิลออกจำหน่ายอีกสี่ซิงเกิลตลอดปี 2008-2009 ได้แก่ \"ไวต์ฮอร์ส\" \"ยูบีลองวิทมี\" \"ฟิฟทีน\" และ \"เฟียร์เลส\" เพลง \"ยูบีลองวิทมี\" เป็นซิงเกิลที่ขึ้นอันดับสูงที่สุดในอัลบัม ขึ้นถึงอันดับที่สองบนชาร์ต<i data-parsoid='{\"dsr\":[35723,35735,2,2]}'>บิลบอร์ด</i>ฮอต 100[57] อัลบัมเปิดตัวที่อันดับหนึ่งบนชาร์ต<i data-parsoid='{\"dsr\":[36272,36284,2,2]}'>บิลบอร์ด 200 เป็นอัลบัมที่ขายดีที่สุดในสหรัฐในปี 2009[58] สวิฟต์ออกทัวร์ของตนเองครั้งแรกส่งเสริมอัลบัม<i data-parsoid='{\"dsr\":[36834,36847,2,2]}'>เฟียร์เลส ในทัวร์ชื่อเฟียร์เลสทัวร์[59] ทำรายได้ได้มากกว่า 63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[60] ภาพยนตร์คอนเสิร์ต เทย์เลอร์ สวิฟต์: เจอร์นีย์ทูเฟียร์เลส ออกอากาศทางโทรทัศน์และจำหน่ายเป็นดีวีดีและบลูเรย์[61] สวิฟต์ยังแสดงรับเชิญในทัวร์ชื่อ เอสเคปทูเก็ตเทอร์เวิลด์ทัวร์ ของคีท เออร์เบิน[62]", "title": "เทย์เลอร์ สวิฟต์" }, { "docid": "19432#4", "text": "นักออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมและวิศวกรสำรวจ เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรทางกายภาพที่มีอยู่ และที่มีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบทางกายภาพที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เป็นผู้วางแผนผัง กำหนดจัดวาง คาดการณ์การใช้งานอย่างเป็นเหตุ-ผล เป็นผู้ที่รู้ซึ้งถึงความสัมพัน์ระหว่างการจัดวางองค์ประกอบทางธรรมชาติและกิจกรรมให้เกิดประโยชน์ มีความเหมาะสม ทั้งรู้ทรงของพื้นที่ ที่ว่าง ตลอดจนรักษาไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งรวมไปถึงงานภูมิทัศน์อ่อน (งานพืชพรรณ เช่น การออกแบบปลูกต้นไม้ และการสรรค์สร้างพื้นที่สีเขียวกลางแจ้งทุกประเภท บุคคลเหล่านี้ทำงานภาครัฐทั้งในส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น บางคนอาจทำงานภาคเอกชนหรือทำงานอิสระ รับเป็นที่ปรึกษาส่วนราชการ อุตสาหกรรม พาณิชกรรมและเอกชนรายบุคคล\nผู้จัดการภูมิทัศน์ ใช้ความรู้ด้านวัสดุพืชพรรณและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติในการให้คำแนะนำในการดูแลรักษาระยะยาวและในการพัฒนาภูมิทัศน์ บุคคลเหล่านี้ทำงานเกี่ยวกับพืชสวน การจัดการสถานที่ ป่า การอนุรักษ์ธรรมชาติและเกษตรกรรม \nนักวิทยาศาสตร์ภูมิทัศน์ มีทักษะพิเศษเช่น ปฐพีวิทยา อุทกวิทยา ภูมิสัณฐาน หรือพฤกษศาสตร์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาในงานภูมิทัศน์ งานของบุคคลเหล่านี้อาจไล่ตั้งแต่การสำรวจบริเวณไปจนถึงการประเมินสิ่งแวดล้อมของบริเวณขนาดใหญ่เพื่อการวางแผนหรือการจัดการ และอาจทำรายงานผลกระทบในโครงการพัฒนาหรือในความสำคัญเฉพาะของพรรณไม้หรือสัตว์บางชนิดในพื้นที่\nนักวางแผนภูมิทัศน์ เกี่ยวข้องและดูแลในด้านตำแหน่งที่ตั้ง วิวทิวทัศน์ นิเวศวิทยาและการใช้ที่ดินในเชิงนันทนาการของเมือง ชนบท และพื้นที่ชายฝั่ง งานที่บุคคลกลุ่มนี้ทำรวมถึงการเขียนรายงานด้านนโยบายและยุทธวิธี และลงท้ายด้วยการส่งผังรวมสำหรับการพัฒนาโครงการใหม่ การประเมินและและประมาณค่าพร้อมทั้งการจัดทำแผนการจัดการเพื่อนำไปใช้ในการทำแผนนโยบาย บางคนอาจมีสร้างสมความชำนาญเฉพาะเพิ่มเติม เช่น งานภูมิทัศน์โบราณคดี หรือกฎหมายที่เกี่ยวของกับภูมิทัศน์", "title": "ภูมิสถาปัตยกรรม" }, { "docid": "33660#3", "text": "ศาสตราจารย์คุณบรรจบ พันธุเมธา กรรมการท่านหนึ่ง ได้เสนอคำ วีติ ซึ่งเป็นคำสันสกฤตที่อาจจะแปลงอักขระเป็น วีดิ ในภาษาไทยได้และมีเสียงใกล้เคียงกับ video ด้วย คำ วีติ ในภาษาสันสกฤตแปลว่า enjoyment, pleasure เมื่อนำคำ \"ทัศน์\" มาลงท้ายในลักษณะเดียวกับคำโทรทัศน์ จะลงรูปเป็น วิดีทัศน์ ซึ่งหากจะแปลความหมายอย่างง่าย ๆ ก็อาจแปลได้ว่า เครื่องที่แสดงภาพเพื่อความเพลิดเพลิน แต่ถ้าแปลตรงตามตัวก็แปลว่า \"เกี่ยวกับภาพเพื่อความเพลิดเพลิน\"[2]", "title": "วิดีโอ" }, { "docid": "961579#17", "text": "เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2010 ยูทูบได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบหน้าเว็บใหม่ เพื่อทำให้สะดวก และเพิ่มเวลามากขึ้น ผู้บริหารผลิตภัณฑ์กูเกิ้ล ชีวาร์ ราจารแมนท์ ได้กล่าวไว้ว่า: \"พวกเราจำเป็นต้องกลับหลัง เพื่อจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นก่อน\" ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2010 มีผู้ชมดูเว็บไซต์ยูทูบกว่า 2 พันล้านครั้งต่อวัน ซึ่งเท่ากับผู้ชมในช่วงเวลายอดนิยมที่ชมรายการใหญ่ 3 รายการในสหรัฐมารวมกัน ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2011 ยูทูบได้รายงานในเว็บของตนว่า มีผู้ชมดูอัปโหลดวิดีทัศน์ในเว็บไซต์กว่า 3 พันล้านครั้งต่อวัน ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2012 ยูทูบได้แจ้งว่ามีผู้ชมอัปโหลดวิดีโอรวมแล้ว 4 พันล้านวิดีทัศน์ต่อวัน", "title": "ประวัติยูทูบ" }, { "docid": "653374#3", "text": "เมื่อ พ.ศ. 2555 เข้าศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์และวิดีทัศน์ มหาวิทยาลัยรังสิต", "title": "เด่นคุณ งามเนตร" }, { "docid": "740199#3", "text": "หลังจากพูดคุยกับเพื่อนเธอ สวิฟต์รู้สึกแน่วแน่ในความคิดเกี่ยวกับความเศร้าโศกเพียงใดสำหรับคนคนหนึ่งที่คนรักต้องไปแต่งงานกับอีกคน ในคืนนั้น สวิฟต์ฝันว่าคนรักเก่าของเธอคนหนึ่งแต่งงานกับผู้หญิงอีกคน นี่เป็นสัญญาณที่บอกว่าเธอต้องแต่งเพลงเกี่ยวกับการขัดขวางงานแต่งงาน หลังจากย้อนคิด เธอสรุปว่า \"สำหรับฉันแล้ว ฉันชอบคิดว่ามันคือความดีต่อสู้กับความชั่ว และผู้หญิงคนนี้ก็เป็นแค่คนชั่วคนหนึ่ง\" สวิฟต์ตั้งชื่ออัลบั้มตามเพลง \"สปีกนาว\" เพราะว่ามันตรงกับมโนทัศน์ของอัลบั้ม โดยแต่ละเพลงจะเป็นการสารภาพบางอย่างต่อคนคนหนึ่ง ซึ่งจะแตกต่างกันไป \"มันชื่อว่า \"สปีกนาว\" และมันเป็นมโนทัศน์และเป็นเนื้อหาหลักของทั้งอัลบั้มมากกว่าที่ฉันจะบอกคุณได้\" เธอกล่าว เพลงออกจำหน่ายเป็นซิงเกิลวิทยุในวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 2010 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเคาต์ดาวน์ทู\"สปีกนาว\" ที่จัดโดยร้านไอทูนส์ ในระหว่างสัปดาห์ที่จำหน่ายอัลบั้มสปีกนาว สวิฟต์แสดงเพลง \"สปีกนาว\" ในรายการ\"เลตโชว์วิดเดวิด เลตเทอร์แมน\" ", "title": "สปีกนาว (เพลง)" }, { "docid": "942582#8", "text": "ผลตอบรับของละคร ทำให้เป็นการแจ้งเกิดนักแสดงรองของเรื่องนี้ได้สำเร็จ ทั้ง ธนภัทร กาวิละ และ มารี เบิร์นเนอร์ ที่ได้การตอบรับที่ดีจากบทที่เล่น รวมถึงยังทำให้สังคมเริ่มมีความตระหนักถึงโรคจิตเภทและวิธีการรักษาเพื่อไม่ให้เป็นอย่างตัวละครในเรื่อง และกระแสตอบรับที่ดีนี้เอง ยังทำให้ ธนภัทร และ น้ำทิพย์ ได้รับเกียรติจากทางรัฐบาลไทยและกองทัพบกให้เข้าร่วมรายการ เดินหน้าประเทศไทย ตอนพิเศษ โดยธนภัทรได้เป็นตัวแทนในเรื่องของสถานที่ท่องเที่ยวในชุมชน จังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งออกอากาศทางโทรทัศน์เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2561 และน้ำทิพย์ได้เป็นตัวแทนของผู้หญิงยุคใหม่ ที่มีความต้องการที่จะแก้ไขปัญหาความรุนแรงภายในครอบครัว อันสอดคล้องกับบทอรุณาในละครที่ต้องประสบปัญหาครอบครัว ซึ่งตอนดังกล่าวออกอากาศทางโทรทัศน์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561", "title": "เมีย 2018 รักเลือกได้" }, { "docid": "835045#3", "text": "\"เรียงตามวิดีทัศน์ประชาสัมพันธ์ชุดแรกที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2559", "title": "รักชั้นนัย" }, { "docid": "75217#4", "text": "ต้นไม้ใหญ่ให้สีสัน ผิวสัมผัสและความเปรียบต่างที่ทำให้สิ่งแข็งที่เป็นรูปเหลี่ยมทรงเรขาคณิตในภูมิทัศน์เมืองให้แลดูอ่อนนุ่ม ต้นไม้ใหญ่สามารถประกอบกันเป็นกรอบช่องมองวิวที่งดงามและอาจเป็นฉากบังวิวหรือสิ่งไม่น่าดูได้ด้วย ดอก สี เปลือก ลำต้น โครงสร้างของกิ่งก้านสาขาที่สง่างามสามารถกระตุ้นให้ผู้มองเกิดความปีติและน่าสนใจ การจัดวางต้นไม้อย่างมีแบบแผนจะช่วยส่งเสริมสัดส่วนของงานสถาปัตยกรรมและเสริมขนาดส่วนของเนื้อที่ใช้สอยภายนอกอาคารให้ดีขึ้น", "title": "การป่าไม้ในเมือง" }, { "docid": "622642#93", "text": "วันที่ 15 พฤศจิกายน มีนายทหารกระชากตัวผู้สื่อข่าวหญิงซึ่งบันทึกภาพวิดีทัศน์เพื่อทำข่าวตามปกติที่ค่ายสุรนารี และยังมีนักข่าวอีกสองคนที่ถูกกระชากเสื้อและไล่ออกจากห้องเช่นกัน[164]", "title": "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557" }, { "docid": "44958#31", "text": "ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 เซลีนได้แสดงคอนเสิร์ตสาธารณะเฉลิมฉลองครบรอบ 400 ปีเมืองควิเบกซึ่งขับร้องเพลงภาษาฝรั่งเศสทั้งหมด ณ แปลนออฟอับราฮัม ควิเบกซิตี้ ประเทศแคนาดา โดยมีผู้ชมทั้ง ณ บริเวณการแสดงและผ่านทางโทรทัศน์ประมาณ 490, 000 คน โดยเรียกคอนเสิร์ตดังกล่าวว่า \"เซลีนซูร์เลแปลน\" โดยออกจำหน่ายดีวีดีและบลูเรย์คอนเสิร์ตดังกล่าวเมื่อวันที่ 11 พฤศจกายน พ.ศ. 2551ในแคนาดา และวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ในฝรั่งเศส ปลายเดือนตุลาคมในปีเดียวกันเซลีนได้ออกจำหน่ายอัลบั้มรวมเพลงฮิต \"\" ซึ่งออกจำหน่ายใน 2 รูปแบบคือซีดีแผ่นเดียวและสองแผ่น โดยในรูปแบบหลังได้ใช้ชื่อว่า \"มายเลิฟ: อัลติเมตเอสเซนเชียลคอลเลกชัน\"", "title": "เซลีน ดิออน" } ]
1310
ไอโฟน 6 เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "646200#0", "text": "ไอโฟน 6 (English: iPhone 6) และ ไอโฟน 6 พลัส (English: iPhone 6 Plus) เป็นสมาร์ตโฟนจอสัมผัส ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ (English: Operating System) ชื่อ iOS พัฒนาโดยบริษัท แอปเปิล อินค์ ถือว่าเป็นไอโฟนรุ่นที่ 8 ซึ่งเป็นผู้สืบทอดของ ไอโฟน 5เอส และ ไอโฟน 5ซี อุปกรณ์ชุดนี้เป็นส่วนหนึ่งของตระกูล iPhone โดยเปิดตัวออกสู่ตลาด เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2014 iPhone 6 และ iPhone 6 พลัสได่มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่ารุ่นก่อนเช่นมีจอแสดงผลขนาดใหญ่ 4.7 นิ้วและ 5.5 นิ้ว มีหน่วยประมวลผลที่เร็วขึ้น มีกล้องที่ผ่านการอัพเกรดแล้ว มีการเชื่อมต่อแบบ LTE และ Wi-Fi ที่ดีขึ้น และสนับสนุนสำหรับการชำระเงินบนมือถือด้วยการส์่อสารแบบใกล้สนาม (English: near-field communications)[11][12]", "title": "ไอโฟน 6" } ]
[ { "docid": "337696#11", "text": "หลังจากผ่านเหตุการณ์ร้ายๆ มาไม่นาน ถึงเวลาแล้วที่สาวกคนต่อไปจะเริ่มแผนการณ์ที่น่าสะพรึงกลัวยิ่งกว่าครั้งไหน \nเริ่มต้นจากการพบศพ ของหนึ่งในนักโทษคดียาเสพติดทั้ง 6 คนที่ได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระ ถูกฆ่าอย่างเลือดเย็น โดยสภาพเหยื่อถูกทรมาณอย่างหนัก ภายหลังมีการพบศีรษะผู้เคราะห์ร้ายถูกซ่อนไว้ในเค้กงานแต่งงานที่ทั้ง การิน ลัลทริมา และรุทร ไปร่วมงาน ในช่วงเวลาพร้อมกันนั้นเอง ทั้งสามก็ได้เผชิญหน้ากับ ปีศาจร้าย ที่เข้ามาท้าทายพวกเขา และยังถูกมันคุกคามอย่างหนักรุณแรงขึ้นเรื่อยๆ จนแทบเอาชีวิตไม่รอด ส่งผลร้ายถึงสภาพจิตใจอันบอบชํ้าอย่างหนักเกือบถึงขีดสุด กับสิ่งที่ไม่สามารถเอาชนะได้ ทางเดียวที่เหลืออยู่ก็คือ การไขปริศนาเกี่ยวกับ \nทัณฑ์วิญญาณสถาน หรือการที่ทรมาณศพของคนตายเพื่อให้วิญญาณสับสนและหลงทาง ศพทุกศพที่ผ่านไปได้เปิดเผยถึงความจริงอันมากมายถึงเบื่องหลังการฆาตกรรม แต่กลับกันแม้ยิ่งเผชิญกับมันมากขึ้นเท่าไหร่ ตัวของการินเอง ก็ยิ่งดำดิ่งสู่ความมืดมากขึ้นเท่านั้น สถานการณ์จึงบีบเขา ให้จำเป็นต้องเลือกระหว่างหยุดพิธีกรรมนี้ หรือ เผชิญกับอันตรายอีกครั้งเพื่อทวงชัยชนะกลับมาให้จงได้", "title": "รายชื่อตอนในการิน ปริศนาคดีอาถรรพ์" }, { "docid": "7998#4", "text": "\"ความอดทนและอดกลั้น ต่ออุปสรรคและการดูถูกเหยียดหยาม เป็นเสมือนเสื้อกันความหนาวให้กับเรา อากาศยึ่งเย็นเท่าไหร่ เราก็ยิ่งต้องสวมใส่เสื้อผ้าเพื่อปกป้องตัวเองมากยึ่งขึ้นเท่านั้น...\"", "title": "เลโอนาร์โด ดา วินชี" }, { "docid": "646200#16", "text": "ไม่นานหลังจากที่ปล่อยออกสู่ตลาด ก็มีรายงานว่าตัวเครื่องของ iPhone 6 พลัสมีความเสี่ยงต่อการคดงอหากถูกกดทับเช่นเมื่อถูกเก็บไว้ในกระเป๋าคับ ๆ ของผู้ใช้ ในขณะที่ปัญหาดังกล่าวจะไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะกับ iPhone 6 พลัสเท่านั้น ข้อบกพร่องการออกแบบได้เป็นที่รู้จักในหมู่ผู้ใช้สื่อสังคมว่าเป็น \"bendgate.\"[31][32] การศึกษาโดย'รายงานผู้บริโภค'พบว่า iPhone 6 และ 6 พลัสทนทานมากกว่า HTC One เล็กน้อย แต่ทนทานน้อยกว่ามากเมื่อเทียบโทรศัพท์อื่น ๆ ที่ผ่านการทดสอบ[33]", "title": "ไอโฟน 6" }, { "docid": "17455#7", "text": "มีผมที่ยาวขึ้น ไม่มีคิ้ว มีนัยน์ตาเป็นสีฟ้า และมีสายฟ้ารอบตัว เป็นร่างที่พัฒนามาจากซุปเปอร์ไซย่า 2 โดยร่างนี้เกิดจากการฝึกฝนอย่างหนัก โดยจะมีพลังและความเร็วเพิ่มขึ้นจากเดิม 400 เท่า เป็นร่างที่ใช้พลังงานมากและร่างกายจะได้รับภาระอย่างหนัก จึงไม่ค่อยได้ใช้สักเท่าไหร่ โดยจะปรากฏตัวครั้งแรกในช่วงที่สู้กับจอมมารบู", "title": "ซง โกคู" }, { "docid": "142162#5", "text": "Spanning tree มันจะคุยกันโดยแต่ละตัวจะส่งข้อมูลเป็นชุดข้อมูลขนาดเล็ก ที่เรียกว่า Bridge Protocol Data Unit หรือ BPDU ทุกครั้งที่ส่ง BPDU มันจะบอกว่าตัวไหนคือ Root Bridge หรือใครคือ Root ID จากนั้นมันก็วิ่งไปที่ root ว่ามีค่า Cost เท่าไหร่ แล้วข้อมูล BPDU ใครเป็นคนส่งก็ดูจาก portที่มันส่ง BPDU มันก็จะบอกว่า Root Bridge คือตัวไหน และค่า Cost เท่าไหร่", "title": "เกณฑ์วิธีต้นไม้แบบทอดข้าม" }, { "docid": "646200#9", "text": "ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างชิปประมวลผลร่วม M8 และ M7 เดิม​​คือ M8 ได้รวมบารอมิเตอร์ซึ่งเป็นตัววัดการเปลี่ยนแปลงระดับความสูงอีกด้วย นายฟิล ชิลเลอร์กล่าวว่าชิป A8 จะเพิ่มประสิทธิภาพของ CPU (เมื่อเปรียบเทียบกับรุ่น 5 S) อีก 25% และเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานกราฟิกอีก 50% และปล่อยความร้อนออกน้อย ในรายงานช่วงต้นชี้ว่าประสิทธิภาพของกราฟิก (English: Graphic Processing Unit (GPU)) ของรุ่น A8 อาจจะหนีออกไปจากรุ่นก่อนหน้านี้สองเท่าของผลการดำเนินงานในแต่ละรุ่นเป็นประจำทุกปี โดยทำคะแนน 21204.26 ใน Basemark X เมื่อเทียบกับ 20253.80, 10973.36 และ 5034.75 เมื่อเทียบกับ 5S, 5 และ 4S ตามลำดับ[26]", "title": "ไอโฟน 6" }, { "docid": "740071#1", "text": "ตัวเครื่อง 6เอส มีการออกแบบคล้ายกับไอโฟน 6 แต่มีการปรับเปลี่ยนวัสดุให้มีความแข็งแรง ชิพประมวลผลแบบใหม่ ปรับปรุงกล้องหลังจากเดิม 8 เมกะพิกเซล เป็น 12 เมกะพิกเซล โดยสามารถถ่ายวิดีโอความละเอียด 4K นอกจากนี้ไอโฟส 6เอส มีการแนะนำถึงคุณสมบัติพิเศษเพิ่มระบบสัมผัสแบบสามมิติ (3D Touch) ซึ่งปรับไปตามแรงน้ำหนักในการกด", "title": "ไอโฟน 6เอส" }, { "docid": "478165#39", "text": "วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555 ซัมซุงได้เปิดเผยว่ากาแลคซีเอส 3 นั้นถูกขายแล้ว 20ล้านเครื่องใน 100วัน และทำให้ขายได้เป็น 3 และ 6 เท่ามากกว่า กาแลคซีเอส 2 และกาแลคซีเอส ตามลำดับ โดยการวางขายในทวีปยุโรป มากถึงร้อยละ 25 โดยมียอดขาย 6ล้านเครื่อง ตามมาด้วย ทวีปเอเชีย 4.5ล้านเครื่อง และ สหรัฐอเมริกา 4ล้านเครื่อง ส่วนการขายในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของกาแลคซีเอส 3 สามารถขายได้ 2.5ล้านเครื่อง[14] และในเวลาเดียวกันซัมซุงได้ยืนยันว่า การขายเอส 3 นั้น ยอดขายดีกว่า ไอโฟน 4เอส ในสหรัฐอเมริกา[136]", "title": "ซัมซุง กาแลคซีเอส 3" }, { "docid": "646200#7", "text": "เพื่อรองรับขนาดทางกายภาพขนาดใหญ่ของสายพันธ์ iPhone 6 ปุ่มเปิดปิดเครื่องถูกย้ายไปอยู่ด้านข้างของตัวเครื่องแทนที่จะอยู่ด้านบนเพื่อปรับปรุงการเข้าถึงของตัวมัน[11][12] iPhone 6 ใช้แบตเตอรี่แบบ 1,810 mAh ในขณะที่ iPhone 6 พลัสมีแบตเตอรี่แบบ 2,915 mAh ที่แตกต่างจากรุ่นก่อนหน้านี้อีกอย่างคือกล้องหลังไม่ได้เรียบราบไปกับด้านหลังของอุปกรณ์และมี \"รอยนูน\" เล็กน้อยรอบเลนซ์ มันใช้ชิปประมวลผลแบบ dual-core 1.4 GHz ไซโคลน (ARM v8-based)[25]", "title": "ไอโฟน 6" }, { "docid": "646200#10", "text": "ทางด้านการสนับสนุนการส่อสารแบบ LTE มีการขยายมากขึ้นบนสายพันธ์ iPhone 6 ด้วยการสนับสนุนมากกว่า 20 แบนด์ของ LTE (7 แบนด์มากกว่า iPhone 5S)[27] ความเร็วในการดาวน์โหลดทำได้ถึง 150 Mbit/s และสนับสนุน VoLTE. ประสิทธิภาพการทำงานของ Wi-Fi ได้รับการปรับปรุงด้วยการสนับสนุนข้อกำหนด 802.11ac ที่ให้ความเร็วสูงสุดถึง 433 Mbit/s ซึ่งจะเร็วกว่าถึง 3 เท่าของ 802.11n[27] มาพร้อมกับการสนับสนุนการโทรแบบ Wi-Fi (English: Wi-Fi Calling) ถ้ามีการให้บริการ", "title": "ไอโฟน 6" }, { "docid": "807909#0", "text": "ไอโฟน 7 และ ไอโฟน 7 พลัส เป็นสมาร์ตโฟนที่ผลิตและจัดจำหน่ายโดยบริษัทแอปเปิล เปิดตัวเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2559 และวางจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 16 เดือนและปีเดียวกัน โดยนอกจากมีสีเงิน สีทองกุหลาบ และสีทองเช่นเดียวกับไอโฟน 6 เอส/6 เอส พลัส แล้ว ยังเพิ่มสีดำด้าน และสีดำเงา (เจ็ตแบล็ค) ส่วนด้านความสามารถของโทรศัพท์นั้น ตัวโทรศัพท์สามารถกันน้ำและกันฝุ่นในระดับ IP67 นำพอร์ตหูฟัง 3.5 มิลลิเมตรออก และใช้พอร์ตไลท์นิงในการต่อหูฟังแทน นอกจากนี้ในรุ่น 7 พลัส ยังมีการปรับปรุงกล้องโดยเพิ่มเลนส์อีกหนึ่งตัว และสามารถซูมได้สูงสุด 10x", "title": "ไอโฟน 7" }, { "docid": "97970#0", "text": "ภาษาญ้อ หรือ ภาษาไทญ้อ (Nyaw) เป็นกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ ที่พูดกันในหมู่ชาวไทญ้อ ซึ่งมีอยู่ในประเทศไทยราว 50,000 คน (พ.ศ. 2533) ในจังหวัดสกลนคร หนองคาย นครพนม มหาสารคาม ปราจีนบุรี และสระบุรี พบได้มากที่ อำเภอนาหว้า อำเภอท่าอุเทน อำเภอโพนสวรรค์ อำเภอศรีสงคราม อำเภอเมืองสกลนคร อำเภออรัญประเทศ เป็นต้น ส่วนใหญ่อพยพมาจากทางตอนเหนือของแขวงหลวงพระบาง ประเทศลาว\nภาษาญ้อจัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได ภาษากลุ่มคำ-ไท สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไต-แสก มีลักษณะคล้ายคลึงกับภาษาไทยถิ่นอีสานและภาษาลาวสำเนียงหลวงพระบาง มีพยัญชนะ 19 เสียง สระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 3 เสียง วรรณยุกต์ 4 เสียง พยัญชนะควบกล้ำ 6 เสียง\nไปกะเลอ,ไปสิเลอ,ไปเตอ = ไปไหน\nอะเตอ,สิเลอ = อะไร\nอะเผอ,เผอ,ไผ,ผู้เลอ = ใคร\nท่อเลอ,เท่าเลอ = เท่าไหร่\nบ่จั๊ก,บ่ฮู้ = ไม่รู้\nคูมื้อ = ทุกวัน\nเฮ็ดสิเลอ,เอ็ดสิเลอ = ทำอย่างไร\nเฮียน = บ้าน\nเมียเฮียน,เมือเฮียน = กลับบ้าน\nโตผุเจ้า = ตัวเราเอง\nโตนาไปกะเลอ = เธอจะไปไหน\nสินี้,ซินี้ = อย่างนี้\nขี้กะแจ๊ม = 🦎จิ้งจก", "title": "ภาษาญ้อ" }, { "docid": "646200#19", "text": "เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2014 ชุมชนแอปเปิล 9to5Mac โพสต์ข้อความอ้างว่าผู้ใช้ iPhone 6 และ iPhone 6 พลัสบางคนได้บ่นบนเว็บไซต์เครือข่ายสังคมว่าโทรศัพท์ฉีกผมของเขาเมื่อเขาถือโทรศัพท์ใกล้กับหูของเขาเมื่อมีการโทรเข้าหรือโทรออก[36] ข้อบกพร่องการออกแบบที่สองนี้ถูกเรียกว่า \"hairgate\" ผู้ใช้ทวิตเตอร์อ้างว่าตะเข็บระหว่างหน้าจอแก้วและอลูมิเนียมด้านหลังของ iPhone 6 เป็นตัวสร้างปัญหาโดยไปจับกับผมที่เข้าไปข้างใน[37][38]", "title": "ไอโฟน 6" }, { "docid": "293272#0", "text": "พาวเวอร์ป๊อปเกิร์ลส์ () เกิร์ลกรุปลำดับแรกของสังกัด ทรูแฟนเทเชีย แนวเพลงวาไรตี้ป๊อป เป็นการรวมตัวเฉพาะกิจของศิลปินหญิง 3 คน จากรายการ ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ซีซั่นที่ 2 มีผลงานเพลงในช่วงปี พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2549 เพียงอัลบั้มเดียว ได้แก่ อัลบั้ม \"\"ภารกิจลับ...ภารกิจรัก\"\"หลังจากสิ้นสุดฤดูกาล ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ซีซั่นที่ 2 ในปลายปี พ.ศ. 2548 ทางต้นสังกัด \"ทรูแฟนเทเชีย\" (หรือ ยูบีซีแฟนเทเชีย ในขณะนั้น) ได้สร้างสรรค์ผลงานอัลบั้มรวม \"\"ปฏิบัติการเร่ขายฝัน\"\" โดยอัลบั้มนี้ได้ทดลองนำศิลปินหญิง 3 คน ได้แก่ \"ลูกตาล\" , \"เปรี้ยว\" , \"พัดชา\" มาทำงานร่วมกันในเพลงคัฟเวอร์ \"ไม่อ้วนเอาเท่าไหร่\" ซึ่งเป็นบทเพลงลำดับที่ 6 ของอัลบั้ม นับว่าเป็นการเปิดตัวการทำงานร่วมกันของศิลปินสาวทั้งสามคนเป็นครั้งแรก", "title": "พาวเวอร์ป๊อปเกิร์ลส์" }, { "docid": "740071#0", "text": "ไอโฟน 6เอส และ ไอโฟน 6เอส พลัส เป็นสมาร์ตโฟนที่ผลิตและจัดจำหน่ายโดยบริษัทแอปเปิล เปิดตัวเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558 และวางจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 25 เดือนและปีเดียวกัน โดยนอกจากมีสีเงิน สีเทาสเปซเกรย์ และสีทองเช่นเดียวกับไอโฟน 6/6 พลัส แล้ว ยังเพิ่มสีทองกุหลาบ (โรสโกลด์) ", "title": "ไอโฟน 6เอส" }, { "docid": "204546#7", "text": "แต่เมื่อภาพยนตร์เข้าฉาย ปรากฏว่าชยามาลานพยายามที่จะดำเนินเรื่องราวด้วยวิธีการตามแบบ \"The Sixth Sense\" ที่แม้แต่ให้นักแสดงคนเดิม คือ บรูซ วิลลิส รับบทนำและมีตัวละครเด็กผู้ชาย อย่าง โจเซฟ คล้ายกับ โคล เซียร์ ใน \"The Sixth Sense\" แต่ \"Unbreakable\" ทำได้น่าเบื่อและไม่น่าติดตามเท่า อีกทั้งการหักมุมตอนท้ายเรื่องก็ไม่มีอะไรน่าแปลกใจเท่าที่ควร ทำให้เสียงวิจารณ์ออกมาในลักษณะที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ โดยบรูซ วิลลิส มีบทรับเชิญท้ายเครดิตของหนังเรื่อง split และ glass จะเป็นการมาเจอกันอีกครั้งของ บรูซ วิลลิส และ ซามูเอล แอล แจ็กสัน และ เจมส์ แม็คอวอย มาร่วมกันแสดงด้วยกัน", "title": "เฉียดชะตา...สยอง" }, { "docid": "67029#4", "text": "ไอโฟน XR ไอโฟน XS Max ไอโฟน XS ไอโฟน X ไอโฟน 8พลัส ไอโฟน 8 ไอโฟน 7พลัส ไอโฟน 7 ไอโฟน เอสอี ไอโฟน 6เอสพลัส ไอโฟน 6เอส ไอโฟน 6พลัส ไอโฟน 6 ไอโฟน 5เอส ไอโฟน 5ซี ไอโฟน 5 ไอโฟน 4เอส ไอโฟน 4 ไอโฟน 3จีเอส ไอโฟน 3จี ไอโฟน 2จี", "title": "ไอโฟน" }, { "docid": "332348#4", "text": "โดยในด้านของละครโทรทัศน์ จิมเริ่มงานแสดงด้วยละครโทรทัศน์เรื่อง \"ม่ายค่ะ\" ของบริษัท เอ็กแซ็กท์ ที่ออกอากาศอย่างต่อเนื่องทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 และมีผลงานละครโทรทัศน์ตามมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ พริกขี้หนูกับหมูแฮม, ลูกสาวเจ้าพ่อ, รักนิดๆ คิดเท่าไหร่, กว่าจะรู้เดียงสา, 6/16 ร้ายบริสุทธิ์ เป็นต้น ปัจจุบันเป็นนักแสดงในสังกัดสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7", "title": "เจจินตัย อันติมานนท์" }, { "docid": "668146#3", "text": "แอปเปิลวอตช์ได้ใช้ชิปประมวลผลเอส 1 ชิปรุ่นใหม่จากแอปเปิล ซึ่งกล่าวว่าเป็น \"สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในชิปตัวเดียว\" นอกจากนี้ยังใช้ \"แทปติกเอนจิน\" (Taptic Engine) เพื่อกระตุ้นบริเวณข้อมือเมื่อมีการได้รับแจ้งเตือน และมีเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ แอปเปิลวอตช์เข้ากันได้กับไอโฟน 5, ไอโฟน 5ซี, ไอโฟน 5เอส, ไอโฟน 6 และไอโฟน 6 พลัส หรืออุปกรณ์ที่ใช้ไอโอเอส 8.2 หรือสูงกว่า โดยการเชื่อมต่อผ่านทางวายฟายหรือบลูทูท 4", "title": "แอปเปิลวอตช์" }, { "docid": "139528#4", "text": "ปี 2525 อัลบั้มชุดแรก \"รักปักใจ\" ในนามวง \"สาว สาว สาว\" กับสังกัดรถไฟดนตรีและจัดจำหน่ายโดยอีเอ็มไอ (ประเทศไทย) ซึ่งมีเพลงแนะนำคือ “แพะยิ้ม” อัลบั้มชุดนี้เป็นการนำเอาเพลงเก่ามาทำใหม่ และไม่เหมาะกับวัยของ 3 สาวเท่าไหร่นัก ชื่อเสียงของ “สาว สาว สาว” เลยไม่เป็นที่รู้จักเท่าไหร่ ระบบในสมัยนั้นตัวเพลงจะทำหน้าที่ขายตัวเองมากที่สุดโดยไม่มีปัจจัยอื่นมาสนับสนุน ประกอบกับภาพลักษณ์ของทางวงไม่ชัดเจน", "title": "เสาวลักษณ์ ลีละบุตร" }, { "docid": "778896#1", "text": "เมื่อผู้โดยสารได้ขึ้นมาที่รถแท็กซี่แคชแค็บแล้ว จะได้ยินเสียงต้อนรับก่อนโดยที่ไม่รู้ตัวว่ามันคือรถ cash cab ซึ่งตลอดการเดินทาง ผู้โดยสารจะต้องตอบคำถามของโชเฟอร์แท็กซี่ให้ถูก โดยมีเวลาคิดหาคำตอบข้อละ 30 วินาที เพื่อสะสมเงินรางวัล และตอบผิดได้โดยที่ยังไม่ถูกไล่ลงจากรถเพียง 2 ครั้ง มี 2 ตัวช่วย คือ โทรถามคนรู้จัก กับถามคนข้างทาง ซึ่งแต่ละตัวช่วยจะสามารถใช้ได้ 1 ตัวช่วยต่อข้อคำถาม และมีเวลา 30 วินาทีในการใช้ (ในเวอร์ชั่นของไทย คำถามข้อแรก-ข้อที่ 5 จะมีมูลค่าข้อละ 250 บาท ข้อที่ 6-10 จะมีมูลค่า 500 บาท และข้อที่ 11 ขึ้นไป (ถ้ายังไม่ถึงจุดหมายปลายทางแต่ทำภารกิจ one minute challenge ได้สำเร็จ) จะมีมูลค่าข้อละ 1,000 บาท) ถึงจุดหมายปลายทางและตอบถูกสะสมได้เท่าไหร่ ก็จะได้เงินที่สะสมตามนั้น แต่ถ้าตอบคำถามผิดรวมครบ 3 ครั้ง เกมโอเวอร์ทันที แล้วจะทำให้ผู้โดยสารต้องถูกไล่ลงจากรถตรงเส้นทางนั้นๆ ไป ", "title": "แคช แค็บ" }, { "docid": "323213#2", "text": "ข้อแตกต่างระหว่างไอโฟน 4 และไอโฟนรุ่นก่อนหน้าได้แก่ การออกแบบโฉมใหม่ ที่มีการหุ้มขอบด้วย สเตนเลนสตีลไร้ฉนวนซึ่งทำหน้าที่เป็น เสาอากาศ ของเครื่อง ตัวเครื่องจะอยู่กึ่งกลางระว่าง กระจกอลูมิโนซิลิเกต ชนิดพิเศษ ที่เพิ่มความแข็งแรง วางไว้สองด้านหน้าหลัง ภายในเครื่องมีซีพียู แอปเปิล A4 พร้อม ram 512 MB ของ eDRAM ซึ่งมีความเร็วเป็นสองเท่า ของรุ่นก่อนหน้า และเร็วเป็นสี่เท่า ของไอโฟนรุ่นแรกสุด หน้าจอขอไอโฟน 4 มีขนาด 89 มม. (3.5 นิ้ว) โดยใช้แอลอีดีแบล็กลิต ขนาด แสดงผลด้วยความละเอียด 960×640 พิกเซล ซึ่งชื่อการค้าว่าว่า เรตินาดิสเพลย์ (Retina Display)", "title": "ไอโฟน 4" }, { "docid": "885964#0", "text": "ริโกะ ทาชิบานะ เกิดใน โตเกียว เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1984. ทาชิบานะเป็นนักแสดงหญิงที่มีความความสูงถึง 172 เซนติเมตร (ประมาณ 5' 8\") ซึ่งความสูงที่แท้จริงของเธออยู่ที่ 168 เซนติเมตร (5' 6\"). ส่วนตัวแล้วเธอไม่ค่อยชอบรูปสูงโปร่งของเธอเท่าไหร่ เธอบอกว่าเธอคิดเสมอว่าผู้ชายมักจะสนใจสาวตัวเล็กๆน่ารักๆมากกว่า.\" เช่น ความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับมนุษย์เงินเดือน อายุประมาณ 30 ปี, เขาถ่ามเธอว่า ต้องการให้ช่วยอะไรไหม, และเธอบอกกับเขาว่า \"Good boy, good boy.\"", "title": "ริโกะ ทาชิบานะ" }, { "docid": "315330#3", "text": "การกระโดดเข้าเป็นผู้ฝึกศิลปะการต่อสู้นั้น ทำให้เขาพบกับโลกของนักสู้ และมีนักสู้ฝีมือดีมากมายที่มาประลองกับเขา แม้ว่าเขาจะสามารถล้มคนเหล่านั้นได้เท่าไหร่ แต่ก็มีคู่ต่อสู้ที่มีฝีมือเหนือกว่าปรากฏตัวเสมอ บางครั้งเกือบต้องเสียชีวิตเพราะเจอคู่ต่อสู้ที่มีฝีมือมากกว่า แต่ด้วยไหวพริบกับทั้งความช่วยเหลือของอาจารย์และเพื่อนๆ ทำให้เขารอดมาได้ทุกครั้ง\nเรียงจากความอาวุโส อายุมากไปถึงอายุน้อย ในจำนวนอาจารย์ทั้ง 6 คน ฮายาโตะเป็นคนที่มีอายุมากที่สุด ส่วนชิงุเระอายุน้อยที่สุด", "title": "เคนอิจิ ลูกแกะพันธุ์เสือ" }, { "docid": "646200#22", "text": "หมวดหมู่:ไอโอเอส (แอปเปิล) หมวดหมู่:ไอโฟน หมวดหมู่:ผลิตภัณฑ์ที่เปิดตัวในปี พ.ศ. 2557 หมวดหมู่:โทรศัพท์มือถือจอสัมผัส", "title": "ไอโฟน 6" }, { "docid": "578978#4", "text": "เริ่มมีผลงานเพลงตั้งแต่ปี 2538 โดยวงที-สเกิ๊ตนั้น ประกอบสมาชิก 3 คนด้วยกัน คือ อัสมา กฮาร (มาร์) ดวงพร สนธิขันธ์ (จอย) และ ธิติยา นพพงษากิจ (กิ๊ฟท์) มีผลงาน 2 อัลบั้มเต็ม และ 1 อัลบั้มพิเศษก่อนที่ทางค่ายคีตา เรคคอร์ดส จะปิดตัวลงไปเมื่อปี 2539 ผลงานเด่นคือเพลง ไม่เท่าไหร่, เจ็บแทนได้ไหม, ฟ้องท่านเปา, เรื่องมันเศร้า และเพลง ทักคนผิด เป็นต้น ผลงานอัลบั้มชุดแรกชื่อว่า \"T-Skirt\" ออกวางจำหน่ายกลางปี 2538 โดยรายชื่อเพลงมีดังนี้ 1.ไม่เท่าไหร่ 2.เจ็บแทนได้ไหม 3.เรื่องมันเศร้า 4.อย่าเล่นอย่างนี้ 5.ทักคนผิด 6.ฟ้องท่านเปา 7.วันที่ไม่เหงา 8.ทำให้เสร็จ 9.ซึ้ง ๆ หน่อย 10. เพื่อนกัน", "title": "อัสมา กฮาร" }, { "docid": "67029#1", "text": "แอปเปิลได้เปิดเผยไอโฟนรุ่นแรกโดย สตีฟ จอบส์ ในงานแม็คเวิลด์ วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2550 และวางจำหน่ายครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ไอโฟนได้ชื่อว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ยอดเยี่ยมประจำปีจากนิตยสารไทม์ ประจำปี 2550[1] โดยมีรุ่นถัดมาคือ ไอโฟน 3G ไอโฟน 3GS ไอโฟน 4 ไอโฟน 4S ไอโฟน 5 ไอโฟน 5C ไอโฟน 5S ไอโฟน 6 ไอโฟน 6พลัส ไอโฟน 6S ไอโฟน 6Sพลัส และ ไอโฟนSE โดยApple.Inc ได้เปิดตัวไอโฟนSE ซึ่งเปิดตัวเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2559 ที่กลับไปใช้ขนาดหน้าจอเดียวกับไอโฟน 5S เนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งไม่ชอบขนาดหน้าจอของไอโฟน 6, 6S, 6พลัสและ 6Sพลัส ซึ่งมีขนาดใหญ่เกินไป โดยไอโฟน SE มีสเปคเครื่องที่ดีกว่า iPhone 5S เช่น ในเรื่องของความเร็ว ที่เร็วกว่าสองถึงสามเท่า รวมทั้งปรับส่วนต่าง ๆ ให้เกือบเทียบเท่าไอโฟน 6S ต่อมาได้พัฒนาไอโฟนรุ่นต่อไปคือไอโฟน7 และไอโฟน7 พลัส ไอโฟนรุ่นล่าสุดคือ ไอโฟน8 ไอโฟน8 พลัส ไอโฟนสิบ (เท็น)", "title": "ไอโฟน" }, { "docid": "776427#2", "text": "นายกรัฐมนตรีอังกฤษวินสตัน เชอร์ชิลได้ปฏิญาณว่า\"ไม่ว่าจะเสียเท่าไหร่ เราจะต้องจมเรือบิสมาร์คให้ได้\" ภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่เรือหลวงฮูดอัปปางลงเรือเกือบทุกลำในกองทัพเรืออังกฤษถูกส่งออกไปภายใต้การบังคับบัญชาของพลเรือเอกจอห์น โทเวย์ โดยส่งเรือบรรทุกเครื่องบินไป 1 ลำ เรือประจัญบาน 3 ลำ เรือลาดตระเวน 3 ลำและเรือพิฆาต 6 ลำ", "title": "ยุทธนาวีครั้งสุดท้ายของบิสมาร์ค" }, { "docid": "891515#0", "text": "ไอโฟน เอสอี (iPhone SE) เป็นสมาร์ตโฟนที่ออกแบบและผลิตโดยบริษัท แอปเปิล ไอโฟนรุ่นนี้เปิดตัว\nเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2559 ที่สำนักงานใหญ่บริษัทแอปเปิล และวางจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 31 มีนาคม 2559 สำหรับประเทศไทยวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2559 \nไอโฟน เอสอี นี้พัฒนาต่อยอดจาก ไอโฟน 5เอส โดยยังคงขนาดหน้าจอ 4 นิ้ว และมีรูปลักษณ์เหมือนกับ ไอโฟน 5เอส เกือบทั้งหมด แต่เลือกใช้ชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์ภายในรุ่นใหม่จาก ไอโฟน 6เอส นั้นรวมไปถึงโปรเซสเซอร์, กล้องหลัง และอื่นๆ รองรับฟีเจอร์ใน ไอโอเอส 10 เช่น แอปเปิลเพย์ และไลฟ์โฟโต้ อีกทั้งรุ่นนี้ยังมีสีใหม่คือ สีโรสโกลด์ นอกเหนือจากสีมาตรฐานคือ สีสเปซเกรย์, สีเงิน และสีทอง ไอโฟนรุ่นนี้มีการวางจำหน่ายอีกครั้ง มีตัวเลือกความจุใหม่เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560", "title": "ไอโฟน เอสอี" } ]
1598
กกต.คือหน่วยงานใด?
[ { "docid": "11232#0", "text": "คณะกรรมการการเลือกตั้ง (English: Election Commission of Thailand) หรือย่อว่า กกต. (ECT) เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีหน้าที่หลักเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งหรือการสรรหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี รวมทั้งการออกเสียงประชามติ ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม", "title": "คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)" } ]
[ { "docid": "27972#13", "text": "ผู้อำนวยการ กกต.เขต จังหวัดสงขลา ประกาศลาออกจากตำแหน่งทั้ง 7 เขต เนื่องจากไม่พอใจการทำงานของ กกต. กลาง กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 7 หน่วยเลือกตั้ง ประท้วงการเลือกตั้ง โดยบางหน่วยไม่ไปรับบัตรเลือกตั้งที่ กกต.จังหวัด และบางหน่วยไปรับบัตรเลือกตั้ง แต่ไม่เปิดทำการ มีผู้ฉีกบัตรเลือกตั้ง เพื่อประท้วงการเลือกตั้ง ในจังหวัดสงขลา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดยะลา จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีผู้ประท้วงการเลือกตั้ง โดยลงชื่อและรับบัตรเลือกตั้ง แล้วส่งบัตรเลือกตั้งคืนให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง โดยไม่มีการกาเครื่องหมายใดๆ ที่จังหวัดพัทลุง", "title": "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป เมษายน พ.ศ. 2549" }, { "docid": "596288#13", "text": "ประสิทธิภาพในการหยุดคลื่นกระแทก, ชั้นหนาของเคฟลาร์, โฟม และพลาสติก ต่างมีความจำเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างสาหัส ตั้งแต่ความจำเป็นในการป้องกันทั้งร่างกาย ส่งผลให้ชุดกันระเบิดมีความหนัก (ตั้งแต่ 37 กก. หรือมากกว่า), ร้อนไปจนถึงระดับที่ก่อให้เกิดความเครียดต่อความร้อน และยากต่อการสวมใส่ ด้วยเหตุนี้ จึงมักมีหนึ่งคนที่สวมใส่ชุดเพื่อเข้าใกล้วัตถุระเบิดสำหรับการปลดชนวนหลังจากที่ได้รับการพิสูจน์เอกลักษณ์แล้ว น้ำหนักของชุดกันระเบิดมักแลกมาซึ่งความสามารถในการป้องกัน จึงมีการจัดระเบียบของชุดกันระเบิดที่สามารถนำมาใช้ได้ เพื่อที่ว่าหน่วยงานสามารถเลือกสำหรับการป้องกันโดยไม่ต้องมีน้ำหนักมากเกินจำเป็นหากเป็นไปได้ ซึ่งชุดกันระเบิดที่มีส่วนประกอบอย่างน้อยที่สุดจะประกอบด้วย แจ็คเก็ต, ที่กำบัง และหมวกนิรภัยที่มีน้ำหนักอย่างน้อยที่สุดอยู่ที่ 5 กิโลกรัม โดยสิ่งเหล่านี้จะเป็นรายการที่เหมาะสมต่อการเก็บกู้ทุ่นระเบิด ซึ่งไม่ใช่การทำลายล้างวัตถุระเบิด", "title": "บอมบ์สูท" }, { "docid": "6621#41", "text": "ถึงแม้จะเป็นอะตอมที่มีมวลมากที่สุด มันก็ยังเบาเกินกว่าที่เราจะไปทำอะไรด้วยโดยตรงได้ นักเคมีจึงนิยมใช้หน่วย โมล แทน โมลมีนิยามว่า หนึ่งโมลของธาตุใด ๆ จะมีจำนวนอะตอมเท่ากันเสมอ (ประมาณ 6.022×1023) ที่เลือกใช้จำนวนนี้ก็เพื่อว่า ถ้าธาตุใด ๆ มีเลขอะตอมเป็น 1 u แล้ว โมลอะตอมของธาตุนั้นจะมีมวลใกล้เคียงกับ 0.001 กก. หรือ 1 กรัม อาศัยคำนิยามของหน่วยมวลอะตอมนี้ คาร์บอน-12 จึงมีมวลอะตอมเท่ากับ 12 u พอดี และหนึ่งโมลของอะตอมคาร์บอนมีน้ำหนักเท่ากับ 0.012 กก.[70]", "title": "อะตอม" }, { "docid": "65583#22", "text": "หลังจากที่การประชุมกับหน่วยงานด้านความมั่นคงและข่าวกรองเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม จะไม่มีความคืบหน้าเกี่ยวกับผู้ก่อเหตุ[33] อย่างไรก็ตาม วันที่ 1 มกราคม พล.อ.สุรยุทธ์ได้ประกาศว่า \"กลุ่มอำนาจเก่า\" อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าว โดยกล่าวว่า \"ตามข้อมูลของรัฐบาลและหน่วยข่าวกรอง มันเป็นงานของกลุ่มคนที่สูญเสียอำนาจ แต่ผมไม่สามารถพูดได้อย่างชัดเจนว่ากลุ่มใดอยู่เบื้องหลัง\"[34] โดยไม่ได้หมายความถึงเฉพาะแต่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทุกกลุ่มที่สูญเสียอำนาจทางการเมืองจากรัฐประหาร[3]", "title": "เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549" }, { "docid": "764722#0", "text": "ในสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ เกน เป็นการวัดความสามารถของวงจรอิเล็กทรอนิกส์สองพอร์ต (มักจะเป็นตัวขยายสัญญาณ) เพื่อเพิ่มพลังหรือความสูง () ของสัญญาณจากพอร์ตอินพุทไปยังพอร์ตเอาท์พุท โดยการเพิ่มพลังงานที่ถูกแปลงจากแหล่งจ่ายไฟไปเป็นสัญญาณ มันมักจะถูกกำหนดให้เป็นอัตราส่วนเฉลี่ยของขนาดสัญญาณหรือกำลังงานที่พอร์ตเอาท์พุทต่อขนาดสัญญาณหรือกำลังงานที่พอร์ตอินพุต มันมักจะแสดงค่าโดยใช้หน่วยเป็นเดซิเบล (dB)(\"dB gain\") เกนที่มากกว่าหนึ่ง (ศูนย์เดซิเบล) เป็นการขยายสัญญาณและเป็นคุณสมบัติที่กำหนดให้กับองค์ประกอบหรือวงจรแบบแอคทีฟ () ในขณะที่วงจรแบบ passive จะมีเกนน้อยกว่าหนึ่ง", "title": "เกน (อิเล็กทรอนิกส์)" }, { "docid": "14694#2", "text": "การใช้ธนบัตรแทนเงินแท่งและทองคำ\nธนบัตรฉบับแรกในประวัติศาสตร์การเงินของโลก ฮ่องเต้ซ่งไท่จู่หรือจ้าวกวนยิ่น 宋太祖趙匡胤 ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ซ่งเหนือ 北宋(ค.ศ.927-976)มีรับสั่งให้เรียกคืนเงินตราโลหะ เงินและทองคำ แล้วให้ผลิตเงินตราที่ทำด้วยเหล็กหล่อทดแทน และทรงห้ามนำเข้าเงินตราประเภททองแดง เงินโลหะเหล็ก กลายเป็นสิ่งที่ซื้อขายแลกเปลื่ยนสินค้าในตลาดได้ แต่เงินตราเหล็กหล่อดังกล่าวมีน้ำหนักมากและมีอัตราแลกเปลื่ยน 1000 เหวิน ต่อ น้ำหนักโลหะเหล็ก 25 กก. แต่พกติดตัวไม่สะดวก ในการซื้อขายสิ้นค้าถึงกับต้องใช้รถม้าบรรทุก จึงเกิดสำนักงาน รับฝากเงินตราโลหะที่เรียกว่าเจี้ยวจื่อปู้ “交子铺\" ขึ้น เพื่อบริการบรรดาพ่อค้าที่ต้องพกพาเงินจำนวนมาก ๆ ที่รับฝากนี้จะออกใบรับฝากเงินให้ที่เรียกว่า ตั๋วเงิน ตั๋วเงินนี้ แรกเริ่มเป็นเอกสารรับฝากเงิน โดยระบุจำนวนเงินฝากไว้บนหน้าตั๋วเมื่อผู้ทรงตั๋วเงินมาเบิกเงินจะถูกคิดค่าธรรมนเนียมฝากเงินอัตราร้อยละ 3. ที่เมืองเฉินตู เมืองเอกของมณฑลเสฉวน ปรากฏมีการใช้ธนบัตรกระดาษขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของเงินตราโลก มีชื่อเรียกว่าเจียวจื่อ (交子, jiāozǐ) ในขณะที่ระบบซื้อขายกันในตลาด ยังมีการใช้ เงินตรา ที่เป็นโลหะอยู่ ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักสะสมเงินตรายอมรับและถือว่าเจียวจื่อ (交子) นี้เป็นธนบัตรกระดาษรุ่นแรกที่สุดในประวัติศาสตร์เงินตรา ภายหลังจากที่ราชสำนักซ่งได้ก่อตั้งหน่วยงานเจียวจื่อ (交子)ขึ้นแล้ว ก็มีการออกธนบัตรใช้เหมือนกัน ธนบัตรเจี้ยวจื่อจึงมี 2 ประเภทคือ ธนบัตรราชการ “官交子” เป็นธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้โดยราชสำนักซ่ง ภายใต้การกำกับของหน่วยงานจัดการธนบัตรในราชสำนัก และ อีกชนิดหนึ่งคือ ธนบัตรเอกชน “私交子”เป็นธนบัตรที่นิยมใช้ในหมู่ราษฎร", "title": "ธนบัตร" }, { "docid": "213207#1", "text": "นอกจากงานเขียนแล้ว คามินยังเป็นนักวิ่งระยะไกล, นักตะกร้อวง และนักชินลง อันเป็นกีฬาประจำชาติของพม่า งานเขียนหลายเล่มของเขาสะท้อนประสบการณ์และความหลงใหลในกีฬาดังกล่าว \nเกิดที่ตำบลบ้านนิคม อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช จบชั้นประถมศึกษา (ป.6) ที่บ้านเกิดจากโรงเรียนบ้านนิคมวังหิน จ.นครศรีธรรมราช ชั้นมัธยมศึกษา (ม.6) จากโรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล จ.กระบี่ และนิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อนได้ทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อจนสำเร็จระดับมหาบัณฑิตทางกฎหมาย (Master of Laws) ที่มหาวิทยาลัยคอร์แนลล์ (Cornell) ประเทศสหรัฐอเมริกา เขากลับมาทำงานใช้ทุนในส่วนราชการและทำงานหน่วยงานอิสระมาหลายแห่ง ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวง และกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.), สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.), สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ", "title": "คามิน คมนีย์" }, { "docid": "163436#14", "text": "วันที่ 1 พฤษภาคม 2551 คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณากรณีดังกล่าวโดยแบ่งเป็นสองประเด็น คำร้องของนายประสิทธิ์นั้น กกต.มีมติ 4 ต่อ 1 ให้ยกคำร้อง เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานเพียงพอที่จะเอาผิดได้ ส่วนคำร้องของนายวีระ กกต.มีมติ 3:1:1 สามเสียงเห็นว่าปรากฏหลักฐานเพียงพอที่พรรคพลังประชาชนเข้าข่ายเป็นตัวแทนของพรรคไทยรักไทย แต่เมื่อพิจารณาตามกฎหมายแล้วไม่เข้าข่ายมีความผิดตามมาตราใดของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง หนึ่งเสียงเห็นว่าไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิดและไม่มีพฤติการณ์เข้าองค์ประกอบความผิด ส่วนอีกหนึ่งเสียงเห็นว่าควรแจ้งนายทะเบียนพรรคดำเนินการตรวจสอบต่อ", "title": "คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551" }, { "docid": "11232#15", "text": "ควบคุมดูแลและดำเนินการจัด หรือจัดให้มีการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ ตามที่กฎหมายกำหนด ให้เป็นไปโดยสุจริต และเที่ยงธรรม ออกระเบียบ ประกาศ ข้อกำหนดทั้งหลายอันจำเป็นแก่การปฏิบัติงาน ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ และกฎหมายการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น มีคำสั่งให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ปฏิบัติการทั้งหลายอันจำเป็นในการเลือกตั้ง ดูแลการดำเนินงานของพรรคการเมืองตามกฎหมาย ดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งที่ใช้วิธีการแบ่งเขตเลือกตั้ง และจัดให้มีบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สืบสวนหรือไต่สวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการเลือกตั้ง สั่งระงับ ยับยั้ง แก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกการเลือกตั้ง การเลือก การออกเสียงประชามติ และสั่งให้มีการเลือกตั้ง เลือก ออกเสียงประชามติใหม่ในหน่วยเลือกตั้งบางหน่วยหรือทุกหน่วยเลือกตั้งเมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการทุจริตการเลือกตั้ง เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและดำเนินคดีอาญากับผู้สมัคร หัวคะแนน และผู้เกี่ยวข้อง (ให้ใบเหลือง หรือ ใบแดง)สั่งระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครไว้เป็นการชั่วคราวเมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อว่าผู้นั้นกระทำหรือรู้เห็นกับการกระทำของบุคคลอื่นที่มีลักษณะเป็นการทุจริตหรือทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม การดำเนินคดีในศาลเกี่ยวกับความผิดการเลือกตั้งหรือพรรคการเมือง ประกาศผลการเลือกตั้งหรือการออกเสียงประชามติ มีอำนาจแจ้งพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินการสอบสวนและให้มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาล ไม่ว่าในเรื่องทางแพ่ง หรืออาญา หรือทางปกครอง แก่ผู้กระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ตลอดจนให้ชดใช้ค่าเสียหาย ในการเลือกตั้งใหม่แก่ผู้ถูกใบแดง และผู้ที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริม สนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาและองค์กรเอกชนในการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยฺ์ทรงเป็นประมุข การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน หรือให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการเลือกตั้งและความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ การรับรองและการแต่งตั้งผู้แทนองค์กรเอกชนเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบการเลือกตั้ง ดำเนินการหรือประสานงานกับหน่วยราชการ ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือสนับสนุนองค์การเอกชน ในการให้การศึกษาแก่ประชาชน เกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย ระบุว่าหน้าที่ของ กกต. คือการให้การศึกษาแก่ประชาชนเรื่องการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีและข้อสังเกตเสนอต่อรัฐสภา ดำเนินการเรื่องอื่นๆตามที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายกำหนด[1]", "title": "คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)" }, { "docid": "22707#40", "text": "คอโมโรสได้กดดันในการอ้างสิทธิเหนือมายอตอย่างต่อเนื่องก่อนที่จะมีการประชุมสมัชชาแห่งสหประชาชาติซึ่งได้มีการจัดทำมติภายใต้หัวข้อ \"คำถามเกาะคอโมโรสแห่งมายอต\" ซึ่งเป็นข้อคิดเห็นว่าเกาะมายอตเป็นของคอโมโรสภายใต้หลักการที่ว่า ดินแดนอาณานิคมควรได้รับการคุ้มครองไว้เมื่อได้รับอิสรภาพ อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ มติเหล่านี้มีผลเพียงเล็กน้อยและไม่มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถคาดการณ์ได้ว่ามายอตจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของคอโมโรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากประชาชน เมื่อเร็ว ๆ นี้สมัชชาแห่งชาติยังคงรักษาวาระนี้ไว้ในวาระการประชุม แต่เลื่อนออกไปเป็นปี ๆ โดยไม่ดำเนินการใด ๆ หน่วยงานอื่น ๆ รวมทั้งองค์การเอกภาพแอฟริกา กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและองค์การความร่วมมืออิสลาม ได้ตั้งคำถามที่คล้ายกันเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของฝรั่งเศสเหนือมายอต[2][39] เพื่อปิดการอภิปรายและเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกรวมเข้าด้วยกันโดยใช้กำลังของสหภาพคอโมโรส ประชากรของมายอตได้เลือกอย่างท่วมท้นที่จะกลายเป็นภูมิภาคโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศสในการลงประชามติในปีพ.ศ. 2552 สถานะใหม่นี้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 31 มีนาคม 2554 และมายอตได้รับการยอมรับว่าเป็นพื้นที่ไกลสุดของสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2557 การตัดสินใจรวมมายอตเข้าเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศสครั้งนี้ถูกต้องตามกฎหมายและแบ่งแยกไม่ได้", "title": "ประเทศคอโมโรส" }, { "docid": "484282#4", "text": "พล.ต.อ. อดุลย์ เคยดำรงตำแหน่งหน้าที่ รอง สวป.สน.ปทุมวัน, ผบ.มว.หน่วยปฏิบัติการพิเศษ จ.นครพนม, สวป.เมืองมุกดาหาร สว.กิ่ง อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร, สว.สภ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาการ, ผบ.ร้อย 4 หห.1 รร.นรต., หน.ผ.3 ยุทธการ กก.ตชด.13 จ.กาญจนบุรี, รอง ผกก.อก.ตชด.ภาค 1, รอง ผกก.2 สสน.ตชด., อาจารย์ภาควิชาทหารและทหารฝึก ร.ร.นรต., รอง ผบก.รร.นรต., รอง ผบก.ตชด.ภาค 1, ผบก.สำนักงานแผนงานและงบประมาณ ผบก.จร., ผู้ช่วย ผบช.น., รอง ผบช.น., ผบช.ภ.3, ผบช.ภ.9, ผู้ช่วย ผบ.ตร., ปรึกษา (สบ 10) , รอง ผบ.ตร. และ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ", "title": "อดุลย์ แสงสิงแก้ว" }, { "docid": "78490#1", "text": "เมื่อเรียนจบ พล.ต.ต.พีรพันธุ์ เข้าทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ทหารอากาศสหรัฐกองบิน 41 จ.เชียงใหม่ ต่อมาศึกษาต่อคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อเรียนจบจึงเข้าทำงานเป็นหัวหน้าหน่วยพัฒนาชาวเขาที่กรมประชาสงเคราะห์อยู่ระยะหนึ่ง ก่อนสอบเข้ารับราชการที่กรมตำรวจปี 2515-2517 เป็นผู้บังคับหมวด ตชด.ที่ 510 กก.ตชด. 5 เชียงใหม่ พร้อมเป็นพนักงานสอบสวนด้วย", "title": "พีรพันธุ์ เปรมภูติ" }, { "docid": "156242#7", "text": "ในสมัยของ พล.ต.ต.มนต์ชัย พันธ์คงชื่น ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมราชการในส่วนภูมิภาค และได้พบเห็นการทำงานทางด้านวิทยาการของข้าราชการตำรวจ พบว่าขาดประสิทธิภาพในการทำงาน จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานปรับปรุงวิทยาการ เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพในการทำงานของข้าราชการตำรวจ และเนื่องจากลักษณะการทำงานทางด้านวิทยาการมีการอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย ไม่ขึ้นตรงต่อหน่วยงานใด เช่น วิทยาการตำรวนใจส่วนกลางคือกองทะเบียนประวัติอาชญากรและกองพิสูจน์หลักฐาน มีสายการบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อกองบัญชาการตำรวจภูธร เป็นต้น จึงได้มีการปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงาน โดยรวบรวมเอาหน่วยงานการตำรวจในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเข้าไว้ด้วยกัน และจัดตั้งเป็น \"สำนักงานวิทยาการ\" ขึ้น โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 7 กองบังคับการ ดังนี้", "title": "กองบังคับการอำนวยการ สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ" }, { "docid": "222606#0", "text": "ตูลูซ () เป็นเทศบาลในจังหวัดโอต-การอน ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส เป็นเมืองหลวงของแคว้นมีดี-ปีเรเน ซึ่งติดกับประเทศสเปน แต่มีพรมแดนธรรมชาติ คือ เทือกเขาพิเรนีสคั่นไว้ ตูลูซเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สี่ของประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบันมีประชากรอยู่ราว 1,300,000 คน เป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมการบินของโลก โดยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่และโรงงานของแอร์บัส นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของอินเทลภาคพื้นยุโรปตลอดจนหน่วยงานด้านอวกาศของฝรั่งเศส\nตูลูซ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองสำคัญแห่งอุตสาหกรรมการบิน เนื่องจากเป็นที่ตั้งของโรงงานแอร์บัส ผู้ผลิตเครื่องบินโดยสารรายใหญ่ระดับโลกของฝรั่งเศส ได้ชื่อว่าเป็น \"บ้านของแอร์บัส\" เนื่องจากเป็นที่อยู่อาศัยของพนักงานแอร์บัสมากกว่า 25,000 คน และยังเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตคองคอร์ด เครื่องบินความเร็วสูง และยังเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตรถไฟเตเฌเว รถไฟความเร็วสูงของฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงระดับโลก อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของสถาบันศึกษาอวกาศแห่งชาติตูลูซ ที่ได้ชื่อว่าเป็น \"นาซ่าแห่งยุโรป\" ที่มีพนักงานทำงานกว่า 10,000 คน อีกด้วย", "title": "ตูลูซ" }, { "docid": "292541#17", "text": "1.ร้อยตรีวิจิตร อยู่สุภาพ (1 ธันวาคม 2541 - 30 พฤศจิกายน 2546) 2.พลตำรวจตรี เอกชัย วารุณประภา (5 มกราคม 2547 - 20 สิงหาคม 2549) 3.ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ (10 พฤศจิกายน 2549 – 18 กันยายน 2554) 4.นายภุชงค์ นุตราวงศ์ (13 มีนาคม 2555 - 8 ธันวาคม 2558[1]) 5.นายบุณยเกียรติ รักชาติเจริญ รักษาการเลขาธิการ กกต.(8 ธันวาคม 2558 - 30 กันยายน 2559) 6.พันตำรวจเอก จรุงวิทย์ ภุมมา รักษาการเลขาธิการ กกต.(2560 - 16 พฤษภาคม 2561)[2] เลขาธิการ กกต.(17 พฤษภาคม 2561 - ปัจจุบัน[3])", "title": "สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)" }, { "docid": "11232#51", "text": "ในการจัดการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นช่วงที่ยากลำบาก เนื่องจาก กกต. และ สนง.กกต.จว. หลายจังหวัดได้รับการขัดขวางเข้าสถานที่ทำงานไม่ได้ การปิดล้อมสถานที่พิมพ์บัตรเลือกตั้ง ปิดล้อมสถานที่ลงคะแนนเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งและในวันเลือกตั้ง ทำให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร", "title": "คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)" }, { "docid": "178374#18", "text": "วันที่ 5 มิถุนายน กลุ่มพันธมิตรฯ ใช้แผน \"ดาวกระจาย\" ซึ่งสุริยะใส กตะศิลา เคยกล่าวว่า จะจัดมวลชนเป็นกลุ่ม ๆ ไปทวงถามความคืบหน้าในหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเอาผิดระบอบทักษิณ โดยสถานที่ที่คาดว่าจะไป ได้แก่ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กระทรวงมหาดไทย และทำเนียบรัฐบาล[39] ยุทธศาสตร์ดาวกระจายนี้กลุ่มพันธมิตรฯ เคยใช้มาตั้งแต่การชุมนุมในปี 2549 ซึ่งนับเป็นกลไกหนึ่งของการบริหารจัดการ เพื่อให้ผู้ชุมนุมมีการเคลื่อนไหวบ้าง ไม่ให้รู้สึกว่านิ่งเกินไป เงื่อนไขหลักของยุทธศาสตร์ดาวกระจายอยู่ที่การควบคุมผู้ชุมนุม ซึ่งเป็นเรื่องประสบการณ์ที่กลุ่มพันธมิตรฯ เคยพิสูจน์มาแล้วในครั้งนั้นโดยไม่มีการปะทะหรือต้องเสียเลือดเนื้อ[40]", "title": "การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551" }, { "docid": "926778#0", "text": "ในการคำนวณเชิงควอนตัม คิวบิต () หรือ ควอนตัมบิต () เป็นหน่วยย่อยที่สุดของข้อมูล (เช่นเดียวกับที่ บิต เป็นหน่วยย่อยที่สุดของการคำนวณมาตรฐาน) คิวบิตคือระบบทางควอนตัมที่มีสองสถานะ เช่น โพลาไรเซชันของโฟตอนที่มีสถานะสองแบบคือโพลาไรซ์ในแนวตั้งและแนวนอน ในระบบการคำนวณเชิงคลาสสิก บิตใด ๆ จะต้องอยู่ในสถานะใดสถานะหนึ่ง อย่างไรก็ตาม กลศาสตร์ควอนตัม ทำให้คิวบิตสามารถอยู่ในสถานะวางซ้อนกันของสถานะทั้งสองในเวลาเดียวกันได้ คุณสมบัตินี้เป็นคุณสมบัติพื้นฐานของการคำนวณเชิงควอนตัม", "title": "คิวบิต" }, { "docid": "11232#29", "text": "แต่หลังจากที่ กกต. ชุดที่สองเข้ามาดำเนินการไม่นาน ก็มีการปรับให้หน่วยงานทั้งสองมารวมเป็นสำนักเดียวกัน คือ สำนักสืบสวนและวินิจฉัย แต่แบ่งพื้นที่การทำงานเป็นภาค ไม่ได้แบ่งเนื้อหาสาระของการทำงาน มีลักาณะการทำงานคล้ายตำรวจภูธรภาค ไม่มีอัยการ (สำนักวินิจฉัย)", "title": "คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)" }, { "docid": "11232#63", "text": "โดย กกต. และพนักงาน กกต. ทุกคน จะทุ่มเทแรงกายแรงใจปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ ยืนหยัดอยู่บนหลักความสุจริต โปร่งใส และเที่ยงธรรม โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนส่วนรวมเป็นที่ตั้ง", "title": "คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)" }, { "docid": "473307#1", "text": "นายสุริยา โหสกุล สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตดอนเมืองได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ทำให้ตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครว่างลง คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร (กกต.กทม.) ในฐานะผู้รับผิดชอบการจัดเลือกตั้ง จึงได้มอบหมายให้กรุงเทพมหานครเป็นผู้ช่วยเหลือการปฏิบัติงาน และดำเนินการรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ก.เขตดอนเมือง เขตเลือกตั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 23 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 08.30 - 16.30 น. ณ ห้องเจ้าพระยา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร และได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555 เวลา 08.00 - 15.00 น. โดยให้ถือเขตดอนเมือง เขตเลือกตั้งที่ 1 เฉพาะแขวงดอนเมือง เป็นเขตเลือกตั้งมี ส.ก.ได้ 1 คน มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 61,356 คน มีหน่วยเลือกตั้ง 94 หน่วย", "title": "การเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเขต 1 ดอนเมือง พ.ศ. 2555" }, { "docid": "54301#11", "text": "ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก มีสองหน่วยงานที่ทำหน้าที่ประกาศใช้ชื่อกับพายุในนามขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก เมื่อหน่วยงานดังกล่าวพบว่ามีพายุหมุนเขตร้อนใดที่ทวีกำลังแรงเป็นระดับพายุโซนร้อน ด้วยความเร็วมลมอย่างน้อย 34 นอต (63 กม./ชม. หรือ 39 ไมล์/ชม.) โดยพายุหมุนเขตร้อนใดที่ทวีกำลังแรงเป็นพายุโซนร้อน อยู่ระหว่างชายฝั่งทวีปอเมริกา ถึง 140°ต.ต. จะได้รับชื่อโดยศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติ (NHC/RSMC ไมอามี) ขณะที่พายุหมุนเขตร้อนใดที่ทวีกำลังแรงเป็นพายุโซนร้อน อยู่ระหว่าง 140°ต.ต. ถึง 180° จะได้รับชื่อโดยศูนย์เฮอร์ริเคนแปซิฟิกกลาง (CPHC/RSMC โฮโนลูลู) ส่วนชื่อของพายุหมุนเขตร้อนที่มีนัยสำคัญ จะถูกปลดจากรายการ และจะมีการคัดเลือกชื่อใหม่ขึ้นมาแทนในการประชุมคณะกรรมการเฮอร์ริเคนขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกครั้งต่อไป", "title": "การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน" }, { "docid": "98335#16", "text": "ในทางการเมือง พล.ต.ขัตติยะ ได้มีแนวคิดจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นมา ในชื่อ พรรคเสธ.แดง เพื่อลงเลือกตั้งในปลายปี 2550 โดยมีจุดมุ่งหมายคือ แยกอำนาจสอบสวนออกจากตำรวจและตั้งหน่วยงานอิสระขึ้นมาดูแลแทน โดยตำรวจมีหน้าที่จับกุมและส่งตัวมาให้หน่วยงานสอบสวน แต่ไม่ได้รับการรับรองให้จดทะเบียนจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. โดยนางสดศรี สัตยะรรม ให้เหตุผลว่าเป็นชื่อบุคคลไม่สามารถนำมาตั้งชื่อพรรคได้ โดยส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ โดยเรื่องชื่อพรรคนี้เรื่องค้างอยู่ในศาลรัฐธรรมนูญ 2 ปีเต็มไม่มีความคืบหน้า เพราะมีเรื่องเร่งด่วนรอให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินอีกหลายเรื่อง จึงขอถอนเรื่องออกมาและมาจัดตั้งใหม่ ในนามว่า พรรคขัตติยะธรรม ซึ่งแปลว่า ธรรมของพระราชา", "title": "ขัตติยะ สวัสดิผล" }, { "docid": "78278#27", "text": "ทิเชียนมักจะพยายามแสวงหาสูตรการแก้ปัญหาต่างๆ ในการเขียนภาพ เมื่อพบวิธีแก้แล้วก็จะหาปัญหาใหม่ แต่จะอย่างไรก็ตามไม่มีงานใดที่จะเทียบอารมณ์และนาฏกรรมของงาน “พระเยซูสวมมงกุฏหนาม” (พิพิธภัณฑ์ลูฟร์) ที่แสดงความลึกลับ; หรือความเป็นเทพที่ไม่มีงานใดเท่าเทียมใน “การแสวงบุญของเอ็มมาอุส” และความเป็นวีระบุรุษและความยิ่งใหญ่ในงาน “ดยุกกริมานิศรัทธา” (วังดยุกแห่งเวนิส) และงาน “พระตรีเอกานุภาพ” ที่มาดริด", "title": "ทิเชียน" }, { "docid": "342483#33", "text": "ตำรวจออกหมายจับ พ.ต.อ.อธิป แท่นนิล ผกก.ปพ.บก.ป. ปฏิบัติหน้าที่ ศปก.ตร. ตามหมายจับศาลอาญาที่ 2345/2557 พ.ต.อ.วัชรพล ทองล้วน ผกก.5 บก.ป. ตามหมายจับศาลอาญาที่ 2342/2557 พ.ต.อ.สุพัฒน์ ลิ้มอิ่ม ผกก.2 บก.ปอท. ตามหมายจับศาลอาญาที่ 2346/2557 พ.ต.ท.ณภัค หรือพิพัฒน์ เฉวงราษฎร์ สว.กลุ่มงานสนับสนุนทางเทคโนโลยี บก.ปอท. ตามหมายจับศาลอาญาที่ 2349/2557 พ.ต.ท.วัฒนา ผลงานดี สว.กก.2 บก.ป. ตามหมายจับศาลอาญาที่ 2347/2557 พ.ต.ต.จักรพันธุ์ ลีลานันทวงศ์ สว.กก.1 บก.ป. ตามหมายจับศาลอาญาที่ 2343/2557 พ.ต.ต.อภิสิทธิ์ เมฆประยูร สว.กก.ปพ.บก.ป. ตามหมายจับศาลอาญาที่ 2350/2557 ร.ต.อ.นิธิพัฒน์ กังรวมบุตร รอง สว.กก.ปพ.บก.ป. หลานชาย พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ตามหมายจับศาลอาญาที่ 2344/2557 ร.ต.อ.ศักดิ์รินทร์ เกสรเทียน รอง สว.กก.4 บก.ปคม. ตามหมายจับศาลอาญาที่ 2348/2557[30]ในข้อหา คดีร่วมกันเรียกรับส่วยบ่อนพนันออนไลน์อาบูบาก้า", "title": "พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์" }, { "docid": "143438#2", "text": "เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2513 ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันได้นำส่งแผนปรับปรุงองค์การหมายเลข 3 () ต่อรัฐสภาด้วยมติคณะรัฐมนตรีเพื่อจัดตั้งสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมโดยให้เป็นหน่วยงานเอกเทศที่มีความเป็นอิสระจากการบังคับบัญชาของหน่วยงานอื่นๆ ที่มีอยู่ในทุกระดับและจากรัฐบาลกลาง ก่อนมีการจัดตั้งอีพีเอ. ยังไม่มีหน่วยงานใดในสหรัฐฯ ที่มีโครงสร้างที่สามารถต่อสู้กับการโจมตีของมลพิษซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษยชาติและการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมอย่างใหญ่หลวง อีพีเอ.ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ทำหน้าที่ซ่อมความเสียหายที่ได้เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติแล้วนั้น และทำการวางกฎเกณฑ์เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับชาวอเมริกันให้ช่วยกันทำให้อเมริกามีความสะอาดและปลอดภัยมากขึ้น", "title": "สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ" }, { "docid": "100121#1", "text": "ผู้พูดภาษากฺ๋องเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กฺ๋อง จากการสำรวจของนักภาษาศาสตร์เดวิด แบรดลีย์ พบผู้พูดภาษานี้ในประเทศไทยราว 80 คนใน พ.ศ. 2543 อาศัยอยู่ในหมู่ที่ 4 บ้านวังควาย ตำบลวังยาว และหมู่ที่ 10 บ้านกกเชียง ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี และหมู่ที่ 3 บ้านละว้า ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี ไม่พบผู้พูดในประเทศพม่า ปัจจุบันเริ่มมีผู้พูดภาษากฺ๋องน้อยลง โดยเด็ก ๆ ชาวกฺ๋องหันไปพูดภาษาไทยและภาษาลาว (ลาวครั่ง)\nภาษากฺ๋องถิ่นกกเชียงมีหน่วยเสียงสระประสม 3 หน่วยเสียง ได้แก่ , และ ", "title": "ภาษากฺ๋อง" }, { "docid": "239078#3", "text": "ในปี พ.ศ. 2551 ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานกรรมมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญและติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา จำนวนติดต่อกัน 4 วาระ เป็นเวลา 6 ปี ทำหน้าที่ตรวจ ติดตาม การปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ อันได้แก่ กกต. ปปช. สตง. องค์กรอัยการ เป็นต้น รวมทั้งมีหน้าที่ตรวจสอบติดตามการบริหารงบประมาณของรัฐ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจทุกหน่วยงานที่มีการใช้งบประมาณแผ่นดิน", "title": "จิตติพจน์ วิริยะโรจน์" }, { "docid": "11232#23", "text": "ภายหลังการเสียชีวิตของนายจรัล บูรณพันธุ์ศรี และยังไม่มีการสรรหาบุคคลใหม่มาทดแทน กกต.ที่เหลืออยู่ 4 คน ได้แบ่งหน้าที่ใหม่ จากเดิมที่แบ่งตามลักษณะงานตามความเชี่ยวชาญของ กกต. แต่ละคน ออกเป็น 4 เขตพื้นที่ให้ กกต. แต่ละคนดูแล โดยแต่ละคนต่างก็มีอำนาจเด็ดขาดทั้งการบริหาร การเลือกตั้ง การจัดการเลือกตั้ง การสืบสวนสอบสวน และวินิจฉัย ในเขตพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบ คือ", "title": "คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)" }, { "docid": "5133#26", "text": "นอกจากนี้ อภิสิทธิ์ยังมีผลงานผลักดันกฎหมายและแนวคิดต่าง ๆ จำนวนมาก[48] เช่น กฎหมายข้อมูลข่าวสาร กฎหมายกระจายอำนาจแก่ท้องถิ่น กฎหมายคุ้มครองเสรีภาพสื่อมวลชน การผลักดันให้มี วิทยุชุมชนในท้องถิ่น การผลักดัน ให้มีองค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบ เช่น ปปช., ศาลปกครอง และ กกต. การเสนอมาตรการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลการทุจริตของ หน่วยงานรัฐ หรือนักการเมือง การเสนอกฎหมายให้การฮั้วประมูลเป็นความผิดทางอาญา การเสนอกฎหมายองค์การมหาชน เพื่อให้การให้บริการของรัฐ มีความสะดวกคล่องตัว และการผลักดันแนวคิดเรื่องการสรรหาผู้บริหารระดับสูงในองค์กรภาครัฐ ด้วยระบบสัญญาจ้าง เพื่อให้สามารถสรรหาผู้บริหารระดับสูงที่มีคุณภาพ ทำงานอย่างอิสระ โดยได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม", "title": "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" } ]
1458
การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ ถูกค้นพบเมื่อไหร่?
[ { "docid": "669134#3", "text": "คนพื้นเมือง Gunditjmara ในรัฐวิกตอเรียของออสเตรเลียอาจเลี้ยงปลาไหลมาตั้งแต่ 6000 ปีก่อนคริสตกาล มีหลักฐานว่าพวกเขาพัฒนาที่ราบน้ำท่วมถึงแถบภูเขาไฟพื้นที่ประมาณ 100 ตารางกิโลเมตร (39 ตารางไมล์) ในบริเวณใกล้เคียงกับทะเลสาบ Condah ให้เป็นโครงสร้างของช่องและเขื่อนและใช้กับดักแบบทอในการจับปลาไหลและเก็บถนอมอาหารให้พวกเขาได้กินตลอดทั้งปี[10][11]", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" } ]
[ { "docid": "669134#11", "text": "ประมาณ 430 (97%) ของสายพันธุ์ถูกเพาะเลี้ยง ณ ปี 2007 ในช่วงศตวรรษที่ 20 และ 21 ในจำนวนนี้มีประมาณ 106 สายพันธุ์มีมาในทศวรรษที่ 2007 ถ้าให้ความสำคัญในระยะยาวของภาคเกษตร เป็นที่น่าสนใจว่าในปัจจุบันมีเพียง 0.08% ของพันธุ์พืชบนบกเป็นที่รู้จักและ 0.0002% ของสัตว์บกชนิดที่รู้จักกันถูกนำมาเลี้ยง เมื่อเทียบกับ 0.17% ของสายพันธุ์พืชในทะเลที่รู้จักกันและ 0.13% ของสายพันธุ์สัตว์ทะเลที่รู้จักกัน การนำมาเลี้ยงมักจะเกี่ยวข้องกับเกี่ยวกับทศวรรษของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์[18] สายพันธ์น้ำที่นำมาเลี้ยงมีความเสี่ยงที่เกิดกับมนุษย์น้อยกว่าที่เกิดจากสัตว์บกที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตของมนุษย์จำนวนมาก ส่วนใหญ่โรคที่สำคัญที่เกิดกับมนุษย์มีต้นตอมาจากสัตว์เลี้ยง[19] ผ่านทางโรคต่างๆ เช่นโรคฝีดาษและโรคคอตีบที่เหมือนกับโรคติดเชื้อส่วนใหญ่นั่นคือมันย้ายจากสัตว์ไปยังมนุษย์ ยังไม่มีเชื้อโรคกับมนุษย์ที่มีความรุนแรงเทียบเคียงได้เกิดขึ้นจากสายพันธุ์ทะเล", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" }, { "docid": "669134#1", "text": "ตาม FAO การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ \"เป็นที่เข้าใจกันว่าหมายถึงการทำฟาร์มของสิ่งมีชีวิตในน้ำรวมทั้งปลา หอย กุ้งและพืชน้ำ การทำฟาร์มหมายถึงบางรูปแบบของการแทรกแซงในกระบวนการเลี้ยงเพื่อเพิ่มการผลิตเช่นการเลี้ยงด้วยจำนวนประชากรปลาปกติ การให้อาหาร การป้องกันนักล่า ฯลฯ การทำฟาร์มนอกจากนี้ยังหมายถึงการเป็นเจ้าของโดยบุคคลหรือองค์กรของประชากรที่มีการเพาะเลี้ยง\"[6] ผลผลิตตามรายงานจากการดำเนินงานเพาะเลี้ยงระดับโลกจะจัดหาครึ่งหนึ่งของปลาและกุ้งหอยที่มีการบริโภคโดยตรงโดยมนุษย์[7] อย่างไรก็ตาม มีปัญหาเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของตัวเลขที่อยู่ในรายงาน[8] นอกจากนี้ในทางปฏิบัติการเพาะเลี้ยงในปัจจุบันผลิตภัณฑ์จากหลายปอนด์ของปลาที่จับได้ตามธรรมชาติถูกนำมาใช้ในการผลิตเพียงหนึ่งปอนด์ของปลากินปลาเป็นอาหาร (English: piscivorous) เช่นปลาแซลมอน[9]", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" }, { "docid": "669134#7", "text": "ในยุโรปกลาง, วัดคริสเตียนในช่วงต้นได้พัฒนาการปฏิบัติเพาะเลี้ยงสัตว์ในน้ำแบบโรมัน[14] การเพาะเลี้ยงในน้ำมีการแพร่กระจายในยุโรปในช่วงยุคกลางที่ไกลออกไปจากฝั่งทะลและปลาแม่น้ำขนาดใหญ่จะต้องมีการใส่เกลือเพื่อไม่ให้มันเน่า[15] การปรับปรุงในการขนส่งในช่วงศตวรรษที่ 19 ทำให้หาปลาสดได้ง่ายและราคาไม่แพงแม้จะอยู่ในแผ่นดิน และทำให้การเพาะเลี้ยงในน้ำได้รับความนิยมน้อยลง", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" }, { "docid": "314369#14", "text": "นกกระเรียนไทยหากินในน้ำตื้น (ปกติน้ำลึกน้อยกว่า 30 เซนติเมตร) หรือในทุ่งหญ้า บ่อยครั้งพบนกกระเรียนแหย่ปากหากินในปลักโคลน มันเป็นสัตว์กินได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น แมลง (โดยเฉพาะตั๊กแตน) พืชน้ำ ปลา (อาจแค่เฉพาะในกรงเลี้ยง)[30] กบ สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง และเมล็ดพืช บางครั้งก็เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ เช่น งูน้ำ (Xenochrophis piscator)[6] มีบางกรณีที่พบได้ยากที่นกกระเรียนไทยกินไข่ของนกอื่น[31] และเต่า[32] ส่วนพืชก็อย่างเช่น พืชมีหัว หัวของพืชน้ำ หน่อหญ้า เมล็ดพืช และเมล็ดจากพืชที่เพาะปลูกอย่างถั่วลิสงและธัญพืชเช่นข้าว[6]", "title": "นกกระเรียนไทย" }, { "docid": "669134#28", "text": "ในปี 2012 การผลิตการเพาะเลี้ยงในน้ำทั่วโลกสูงเป็นประวัติการณ์ถึงกว่า 90 ล้านตัน รายงานของยูเอ็นชื่อ การประมงและการเพาะเลี้ยงในน้ำของประเทศในโลก ที่เผยแพร่ในเดือนพฤษภาคม 2014 ว่าการประมงและการเพาะเลี้ยงในน้ำยังคงสนับสนุนการดำรงชีวิตของประชากรประมาณ 60 ล้านคนในเอเชียและแอฟริกา[36]", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" }, { "docid": "669134#50", "text": "การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้กลายเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อระบบนิเวศชายฝั่งทะเล ประมาณร้อยละ 20 ของป่าโกงกางได้ถูกทำลายไปตั้งแต่ปี 1980 ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการเพาะเลี้ยงกุ้ง[59] การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายส่วนขยายเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ของมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมของการเพาะเลี้ยงกุ้งที่สร้างขึ้นบนระบบนิเวศป่าชายเลนพบว่าค่าใช้จ่ายภายนอกได้สูงกว่าผลประโยชน์ภายนอกอย่างมาก[60] ในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา ป่าชายเลนอินโดนีเซียประมาณ 269,000 เฮกตาร์ (660,000 ไร่) ถูกแปลงให้เป็นฟาร์มกุ้ง ส่วนใหญ่ของฟาร์มเหล่านี้ถูกทิ้งร้างภายในทศวรรษเดียวเพราะสารพิษที่ถูกสร้างขึ้นและการสูญเสียสารอาหาร[61][62]", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" }, { "docid": "669134#33", "text": "การเพาะเลี้ยงในทะเลเป็นคำที่ใช้สำหรับการเพาะปลูกสิ่งมีชีวิตทางทะเลในน้ำทะเลที่มักจะอยู่ในน่านน้ำชายฝั่งมีหลังคา โดยเฉพาะเจาะจง การเลี้ยงปลาทะเลเป็นตัวอย่างหนึ่งของการเพาะเลี้ยงในทะเลและยังมีการเลี้ยงกุ้งทะเล (เช่นกุ้ง), หอย (เช่นหอยนางรม) และสาหร่ายทะเล", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" }, { "docid": "44802#3", "text": "เครือเจริญโภคภัณฑ์ ลงทุนด้านเกษตรกรรมในพม่ามาตั้งแต่ปี 2540 ดำเนินธุรกิจในพม่า คือ การส่งเสริมการเพาะปลูก พืชไร่ ได้แก่ ข้าวโพด การเพาะเลี้ยงสัตว์บก ได้แก่ การเลี้ยงไก่ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่การทำฟาร์มกุ้ง และการทำอาหารสัตว์ \nมีการลงทุนใน บริษัท โลตัส เซี่ยงไฮ้ ซุปเปอร์เซ็นเตอร์เชนสโตร์ จำกัด เพื่อบริหาร โลตัส ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ ซึ่งมีจำนวน 77 สาขาทั่วประเทศจีน", "title": "เครือเจริญโภคภัณฑ์" }, { "docid": "669134#4", "text": "การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้รับการดำเนินงานในประเทศจีนประมาณ 2,500 ก่อนคริสตกาล[12] เมื่อน้ำลดลงหลังจากน้ำท่วมแม่น้ำ ปลาบางส่วน ส่วนใหญ่เป็นปลาคาร์พถูกขังอยู่ในทะเลสาบ นักเพาะเลี้ยงในน้ำช่วงต้นป้อนอาหารให้พวกมันด้วยขี้ดักแด้และขี้ไหมและกินพวกมันเป็นอาหาร โชคดีที่การผ่าเหล่าทางพันธุกรรมของปลาคาร์พได้นำไปสู่การเกิดขึ้นของปลาทองในช่วงราชวงศ์ถัง", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" }, { "docid": "669134#40", "text": "บทความหลัก: โลหะผสมทองแดงในการเพาะเลี้ยงในน้ำ", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" }, { "docid": "669134#69", "text": "ในขณะนี้ ประมาณ 16 ประเทศมีการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพสำหรับเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำรวมทั้งจีน อิสราเอล และสหรัฐอเมริกา[87] เช่นในแคลิฟอร์เนีย มี 15 ฟาร์มที่เลี้ยงปลานิล ปลาเบส และปลาดุกด้วยน้ำอุ่นจากใต้ดินซึ่งช่วยให้ปลาเติบโตตลอดทั้งปีและโตเต็มที่มากขึ้นได้อย่างรวดเร็ว โดยรวมแล้ว ฟาร์มแคลิฟอร์เนียเหล่านี้ผลิตปลาได้ 4.5 ล้านกิโลกรัมในแต่ละปี[87]", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" }, { "docid": "669134#65", "text": "นอกเหนือจากปลาและกุ้ง การเพาะเลี้ยงพืชน้ำเช่นสาหร่ายทะเลและ mollusk (สัตว์ในไฟลัมมอลลัสกา มีลำตัวอ่อนนิ่ม ไม่มีข้อปล้อง รูปร่างค่อนข้างสั้น มีกล้ามเนื้อด้านหน้าท้องทำหน้าที่เป็นขาเดิน เช่น หอยต่าง ๆ หมึก เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]) แบบสองวาวล์กินอาหารแบบกรอง (English: filter-feeding bivalve mollusks) เช่นหอยนางรม หอยแครง หอยแมลงภู่และหอยเชลล์ค้อนข้างมีผลกระทบน้อยและแม้กระทั่งเป็นตัวบูรณะสิ่งแวดล้อมด้วยซ้ำ[21] สัตว์แบบ Filter-feeders จะช่วยกรองมลพิษรวมทั้งสารอาหารจากน้ำและช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำ[82] สาหร่ายทะเลช่วยสกัดสารอาหารเช่นไนโตรเจนและฟอสฟอรัสอนินทรีย์โดยตรงจากน้ำ[44] และสัตว์ตระกูลมอลลัสก์แบบ filter-feeding สามารถสกัดสารอาหารในขณะที่พวกมันกินอนุภาคเช่นแพลงก์ตอนพืชและเศษซาก[83]", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" }, { "docid": "669134#42", "text": "ดูเพิ่มเติม: ประเด็นเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงปลาแซลมอน การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสามารถสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมได้มากกว่าการใช้ประโยชน์จากการประมงในธรรมชาติบนพื้นฐานของพื้นที่ท้องถิ่น แต่มีผลกระทบกับสภาพแวดล้อมของโลกน้อยกว่ามากต่อกิโลกรัมบนพื้นฐานการผลิต[52] ความกังวลในท้องถิ่น ได้แก่ การจัดการของเสีย ผลข้างเคียงของยาปฏิชีวนะ การแข่งขันระหว่างสัตว์เลี้ยงและสัตว์จากธรรมชาติ และการใช้ปลาอื่นๆเพื่อเป็นอาหารของปลากินเนื้อที่ตลาดต้องการมากกว่า อย่างไรก็ตาม การวิจัยและการพัฒนาอาหารสัตว์เชิงพาณิชย์ในช่วงปี 1990s และ 2000s ได้ลดความกังวลเหล่านี้ลงไปมาก[53]", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" }, { "docid": "669134#43", "text": "การเพาะเลี้ยงในน้ำอาจนำไปสู่การขยายพันธุ์ของสายพันธ์ต่างด้าว (English: invasive species) เช่นในกรณีของปลากะพงแม่น้ำไนล์และปลาภารโรง ปัญหานี้อาจสร้างความเสียหายให้สัตว์พื้นเมือง", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" }, { "docid": "669134#12", "text": "ความเมื่อยล้าในการจับปลาตามธรรมชาติและการใช้ประโยขน์ที่มากเกินไปจากการจับสายพันธ์สัตว์น้ำที่เป็นที่นิยม รวมกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับโปรตีนที่มีคุณภาพสูง เป็นการส่งเสริมให้นักเพาะเลี้ยงในน้ำหันไปเลี้ยงสายพันธุ์ในทะเลอื่นๆ[20][21]", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" }, { "docid": "669134#2", "text": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์น้ำเฉพาะอย่างเช่นการเลี้ยงปลา การเลี้ยงกุ้ง การเลี้ยงหอยนางรม เพาะเลี้ยงสัตว์และพืชในทะเล, algaculture (เช่นการเลี้ยงสาหร่ายทะเล) และการเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม วิธีการเฉพาะจะได้แก่ การเพาะเลี้ยงไม่ใช้ดิน (English: aquaponics) และเพาะเลี้ยงแบบหลายโภชนาการแบบบูรณาการ ซึ่งทั้งสองอย่างบูรณาการการเลี้ยงปลาและการทำฟาร์มพืช", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" }, { "docid": "669134#38", "text": "บางครั้งคำว่า \"การเพาะเลี้ยงในน้ำแบบผสมผสาน\" ถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายการรวมกลุ่มของเกษตรเชิงเดี่ยวผ่านทางน้ำ[46] อย่างไรก็ตาม สำหรับความตั้งใจและวัตถุประสงค์ คำว่า \"IMTA\" และ \"การเพาะเลี้ยงในน้ำแบบผสมผสาน\" แตกต่างกันในระดับของคำจำกัดความเท่านั้น Aquaponics (ระบบผสมระหว่างการเพาะเลี้ยงในน้ำทั่วไปกับการเพาะปลูกพืชในน้ำ(บนบกโดยไม่ใช้ดิน)ในสิ่งแวดล้อมที่พึ่งพาอาศัยกันในสองสายพันธ์ที่ต่างกัน) การเพาะเลี้ยงในน้ำเป็นบางส่วน IAAS (ระบบการเกษตรผสมการเพาะเลี้ยงในน้ำแบบบูรณาการ) IPUAS (ระบบชานเมือง-เพาะเลี้ยงในน้ำแบบบูรณาการ) และ IFAS (ระบบประมงผสมการเพาะเลี้ยงในน้ำแบบบูรณาการ) เป็นรูปแบบอื่นๆของแนวคิด IMTA", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" }, { "docid": "669134#56", "text": "อย่างไรก็ตามประเด็นความขัดแย้งในการเพาะเลี้ยงสัตว์ไม่ว่าจะเป็นปลาและสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่ถูกเลี้ยงในฟาร์มจริงๆแล้วเป็นสัตว์'ที่มีความรู้สึกและสติพื้นฐานตามธรรมชาติ' (English: sentient) หรือมีการรับรู้และความตระหนักที่จะได้สัมผัสได้กับความทุกข์ทรมาน แม้ว่าหลักฐานของเรื่องนี้จะไม่ได้มีการพบในสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลังก็ตาม[66] การศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้สรุปได้ว่าเป็นจริงที่ปลามีตัวรับที่จำเป็นที่ตอบสนองต่อความเจ็บปวด (English: nociceptors) ที่จะรู้สึกถึงสิ่งกระตุ้นที่เป็นอันตราย ดังนั้นมันจึงมีแนวโน้มที่จะได้สัมผัสกับสภาวะของความเจ็บปวด ความกลัว และความเครียด[66][67] ด้วยเหตุนี้สวัสดิการในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจะนำไปใช้กับสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปลาจริงๆ(ปลาที่หายใจด้วยเหงือกหรือ finfish)[68]", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" }, { "docid": "669134#66", "text": "บางสหกรณ์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีกำไรจะส่งเสริมการปฏิบัติที่ยั่งยืน[84] วิธีการใหม่ช่วยลดความเสี่ยงของมลพิษทางชีวภาพและสารเคมีผ่านการลดความเครียดของปลา การปล่อยทิ้งร้างกระชัง และการประยุกต์ใช้การบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน วัคซีนมีการใช้มากขึ้นเพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะในการควบคุมโรค[85]", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" }, { "docid": "669134#63", "text": "การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำบางครั้งก็เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมหรือเป็นตัวช่วยในการอนุรักษ์สัตว์ใกล้สูญพันธุ์[78]", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" }, { "docid": "669134#0", "text": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ (English: Aquaculture) หรือที่เรียกว่าเป็น<b data-parsoid='{\"dsr\":[876,896,3,3]}'>เกษตรกรรมในน้ำ (English: aquafarming) คือการทำฟาร์มสิ่งมีชีวิตในน้ำเช่นปลา สัตว์พวกกุ้งกั้งปู สัตว์จำพวกหอยและปลาหมึก และพืชน้ำ (หมายถึงพืชที่ขึ้นอยู่ในน้ำโดยอาจจะจมอยู่ใต้ น้ำทั้งหมด หรือโผล่บางส่วน ขึ้นมาอยู่เหนือน้ำ ลอยอยู่ที่ผิวน้ำหรือเป็นพืชที่ขึ้นอยู่ตามริมน้ำ ชายตลิ่ง นอกจากนี้ก็ยังรวมถึงพืชที่เจริญเติบโตอยู่ในบริเวณที่ลุ่มน้ำขังแฉะอีกด้วย สามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ Microphytes และ Macrophytes [สิ่งแวดล้อม])[2][3] การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำเกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงประชากรน้ำจืดและน้ำเค็มภายใต้สภาวะควบคุมและเป็นกิจกรรมที่ไม่เหมือนการประมงเชิงพาณิชย์ซึ่งเป็นการจับปลาที่อยู่ตามธรรมชาติหรือปลาป่า (English: wild fish)[4] พูดกว้างๆ การจับปลาที่มีเหงือก (English: finfish) และ ปลาที่มีเปลือก (English: shellfish) เป็นแนวความคิดที่คล้ายกับการล่าสัตว์และการรวบรวมในขณะที่การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำจะคล้ายกับเกษตรกรรม[5] การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในทะเล (English: Mariculture) หมายถึงการเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในสภาพแวดล้อมทางทะเลและในแหล่งที่อยู่อาศัยในใต้น้ำ", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" }, { "docid": "669134#41", "text": "เร็วๆนี้ โลหะผสมทองแดงได้กลายเป็นวัสดุทำตาข่ายที่สำคัญในการเพาะเลี้ยงในน้ำเพราะพวกมันต้านจุลชีพได้ (เช่นพวกมันทำลายเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา สาหร่าย และจุลินทรีย์อื่นๆ) ดังนั้นพวกมันจึงป้องกันตะกรันชีวภาพ (เช่นการสะสมที่ไม่พึงประสงค์ การยึดเกาะ และการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ พืช สาหร่าย หนอนหลอด เพรียง หอย และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ) โดยการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ กรงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ทำจากโลหะผสมทองแดงหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงตาข่ายราคาแพงที่จำเป็นถ้าทำจากวัสดุอื่น ความต้านทานการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตบนตาข่ายโลหะผสมทองแดงนอกจากนี้ยังให้สิ่งแวดล้อมที่สะอาดและมีสุขภาพดีสำหรับปลาในฟาร์มที่จะเติบโตและเจริญพันธ์ต่อไปอีกด้วย", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" }, { "docid": "669134#35", "text": "การเพาะเลี้ยงในทะเลของโภชนาการหลายชั้นแบบผสมผสาน (IMTA) คือการปฏิบัติอย่างหนึ่งที่ผลพลอยได้ (ของเสีย) จากสายพันธุ์หนึ่งถูกนำกลับมาใช้ใหม่กลายเป็นปัจจัยการผลิต (ปุ๋ยหรืออาหาร) สำหรับอีกสายพันธุ์หนึ่ง การเพาะเลี้ยงสัตว์ที่เป็นอาหารในน้ำ (เช่นปลาและกุ้ง) จะถูกรวมกับสารสกัดอินทรีย์และอนินทรี (ตัวอย่างเช่นหอย) จากสัตว์และพืชน้ำเพื่อสร้างระบบที่สมดุลเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (biomitigation) เพื่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และการลดความเสี่ยง) และการยอมรับทางสังคม (การจัดการที่ดีกว่า)[44]", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" }, { "docid": "92211#5", "text": "กสิกรรม หมายถึง การเพาะปลูกพืช เช่น การทำนา การทำสวนผลไม้ การทำไร่ การปลูกพืชไม่ใช้ดิน เป็นต้น ปศุสัตว์ หมายถึง การประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์บนบก เช่น การทำฟาร์มปศุสัตว์ การทำฟาร์มโคนม การทำฟาร์มหมู การทำฟาร์มสัตว์ปีก การทำฟาร์มแกะ เป็นต้น การประมง หมายถึง การประกอบอาชีพการเกษตรทางน้ำ เช่น การเลี้ยงสัตว์หรือพืชน้ำ การจับสัตว์น้ำ เป็นต้น การป่าไม้ หมายถึง การประกอบอาชีพเกี่ยวกับป่า เช่น การปลูกป่าไม้เศรษฐกิจ การนำผลผลิตจากป่ามาแปรรูปให้เกิดประโยชน์ เป็นต้น", "title": "เกษตรกรรม" }, { "docid": "669134#64", "text": "การประมงในธรรมชาติทั่วโลกกำลังลดลง เนื่องจากที่อยู่อาศัยที่มีคุณค่าเช่นปากแม่น้ำอยู่ในสภาวะวิกฤต[79] การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำเช่นการเลี้ยงปลากินปลา (English: piscivorous) เช่นปลาแซลมอนไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเพราะพวกมันต้องการกินผลิตภัณฑ์จากปลาอื่นๆเช่นปลาป่นและน้ำมันปลา การศึกษาพบว่าการเลี้ยงปลาแซลมอนมีผลกระทบด้านลบที่สำคัญต่อปลาแซลมอนในธรรมชาติเช่นเดียวกับปลาที่เป็นอาหารของปลาอื่นที่จะต้องถูกจับให้เป็นอาหารมาเลี้ยงพวกมัน[80][81] ปลาที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารที่สูงกว่าเป็นแหล่งพลังงานอาหารที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่า", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" }, { "docid": "669134#25", "text": "ในปี 2004 การผลิตรวมทั่วโลกของการประมงเป็น 140 ล้านตันซึ่งแบ่งเป็นการเพาะเลี้ยงในน้ำ 45 ล้านตันหรือประมาณหนึ่งในสาม[31] อัตราการเติบโตของการเพาะเลี้ยงในน้ำทั่วโลกไเป็นไปอย่างยั่งยืนและรวดเร็ว เฉลี่ยประมาณร้อยละ 8 ต่อปีนานกว่าสามสิบปี ในขณะที่ใช้เวลาจากการประมงในธรรมชาติไม่มีการเพิ่มสำหรับทศวรรษที่ผ่านมาตลาดเพาะเลี้ยงในน้ำขึ้นสูงถึง $ 86 พันล้านในปี 2009[32]", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" }, { "docid": "669134#26", "text": "การเพาะเลี้ยงในน้ำเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีน ระหว่างปี 1980 ถึงปี 1997 สำนักงานการประมงของจีนรายงานการเก็บเกี่ยวพืชและสัตว์น้ำเติบโตเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 16.7 ต่อปี กระโดดจาก 1.9 ล้านตันไปที่เกือบ 23 ล้านตัน ในปี 2005 ประเทศจีนผลิตได้คิดเป็น 70% ของการผลิตโลก[33][34] การเพาะเลี้ยงในน้ำในปัจจุบันยังเป็นหนึ่งในกิจการที่เติบโตเร็วที่สุดของการผลิตอาหารในสหรัฐอเมริกา[2]", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" }, { "docid": "669134#44", "text": "ของเสียจากปลาเป็นสารอินทรีย์และประกอบด้วยสารอาหารที่จำเป็นในทุกองค์ประกอบของอาหารสำหรับสัตว์น้ำ ในมหาสมุทร การเพาะเลี้ยงในน้ำมักจะผลิตของเสียที่มีความเข้มข้นสูงกว่าของเสียจากปลาตามปกติมาก ของเสียจะสะสมที่ท้องมหาสมุทร ทำให้เกิดความเสียหายหรือกำจัดสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ด้านล่าง ของเสียยังสามารถลดระดับออกซิเจนที่ละลายในน้ำ เพิ่มแรงกดดันให้กับสัตว์ที่อยู่ตามธรรมชาติ[54]", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" }, { "docid": "669134#22", "text": "การเพาะเลี้ยงสัตว์มีเปลือกประเภทหอยรวมถึงหอยนางรม หอยแมลงภู่ และสายพันธุ์หอยต่างๆ สัตว์ที่มีเปลือกสองส่วนแยกจากกันได้เหล่านี้เป็นตัวกรองและ/หรือตัวป้อนฝากซึ่งพึ่งพาการผลิตขั้นต้นโดยรอบมากกว่าปัจจัยการผลิตที่เป็นปลาหรืออาหารอื่นๆ ดังนั้นการเพาะเลี้ยงหอยเป็นที่รับรู้โดยทั่วไปว่าไม่เป็นพิษเป็นภัยหรือเป็นประโยชน์ด้วยซ้ำ[26] ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธ์และสภาพท้องถิ่น หอยสองกาบมีการเลี้ยงบนชายหาด บนสายยาว หรือห้อยลงมาจากแพและเก็บเกี่ยวด้วยมือหรือด้วยการขุดลอก การเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อเริ่มขึ้นในปลายปี 1950s และต้นปี 1960s ในประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีน[27] ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1990 อุตสาหกรรมนี้ได้กลายเป็นที่ประสบความสำเร็จมากขึ้น[28] การประมงมากเกินไปและการรุกล้ำได้ลดประชากรในธรรมชาติในขนาดที่ว่าหอยเป๋าฮื้อเลี้ยงเป็นตัวป้อนความต้องการส่วนใหญ่ในตลาดปัจจุบัน สัตว์ประเภทหอยที่ถูกเพาะเลี้ยงในฟาร์มที่ยั่งยืนสามารถรับการรับรองจาก Seafood Watch และองค์กรอื่นๆรวมทั้งองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) WWF ริเริ่ม \"บทสนทนาการเพาะเลี้ยงในน้ำ\" ในปี 2004 เพื่อพัฒนามาตรฐานที่วัดได้และขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานสำหรับอาหารทะเลที่ผ่านการเพาะเลี้ยงที่รับผิดชอบ ในปี 2009 WWF ร่วมก่อตั้ง Aquaculture Stewardship Council (ASC) กับ'ผู้ริเริ่มการค้ายั่งยืนชาวดัตช์' (IDH) ในการจัดการโปรแกรมมาตรฐานและการรับรองระดับโลก[29]", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" }, { "docid": "669134#14", "text": "จุลสาหร่าย (English: Microalgae) ยังหมายถึงแพลงก์ตอนพืช (English: phytoplankton) จุลพืช (English: microphytes) หรือ สาหร่ายแพลงก์ตอน เป็นส่วนใหญ่ของสาหร่ายที่นำมาเพาะเลี้ยง", "title": "การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในน้ำ" } ]
3879
หินที่เกิดจากลาวาภูเขาไฟเรียกว่าหินอะไร ?
[ { "docid": "58812#0", "text": "หินภูเขาไฟ (Volcanic rock)หรือ หินอัคนีพุ (Extrusive rock) คือหินอัคนีที่เกิดจากการเย็นตัวและตกผลึกของหินหลอมเหลวที่ไหลขึ้นมาบนผิวโลก ที่เราเรียกกันว่า ลาวา (Lava) ที่ไหลขึ้นมาสู่บนผิวโลกหรือใกล้ผิวโลกจากระเบิดของภูเขาไฟ จึงทำให้ลักษณะการเกิดหินอัคนีภูเขาไฟมีลักษณะที่มีเนื้อหินที่ละเอียด เพราะอัตราการเย็นตัวและตกผลึกของหินหลอมเหลวเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีผลทำให้หินอัคนีภูเขาไฟมีเนื้อหินหรือขนาดผลึกที่ละเอียด สังเกตผลึกหรือแร่ประกอบหินด้วยตาเปล่าได้ยาก เช่น หินบะซอลต์ หรือในบางครั้งก็เป็นเนื้อแก้วที่ไม่มีรูปผลึก เช่น หินออบซิเดียน และ หินพัมมิซ", "title": "หินภูเขาไฟ" } ]
[ { "docid": "5525#16", "text": "พบแหล่งภูเขาไฟบริเวณตอนกลางของลำปาง ในเขต อำเภอเมืองลำปาง-อำเภอแม่ทะ และเกาะคา-อำเภอสบปราบ โดยกลุ่มหินบะซอลต์ ที่เกิดจากลาวาของภูเขาไฟลำปางไหลอาบออกมาปกคลุมพื้นที่ มีอยู่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่คลุมพื้นที่อำเภอเกาะคา และอำเภอสบปราบ เรียกรวมกันว่า บะซอลต์สบปราบ มีพื้นที่ประมาณ 70 ตารางกิโลเมตร อีกกลุ่มหนึ่งอยู่ในบริเวณอำเภอเมืองลำปาง และอำเภอแม่ทะ รวมเรียกว่า บะซอลต์แม่ทะ ซึ่งได้แก่ภูเขาไฟดอยผาคอกจำป่าแดด และภูเขาไฟดอยผาคอกหินฟู กลุ่มนี้ให้ลาวาคลุมพื้นที่ประมาณ 120 ตารางกิโลเมตร ภูเขาไฟลำปางเกิดจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลก ทำให้เกิดรอยเลื่อนลึก (Deepseated fault) ขึ้นในแนวเหนือ-ใต้ เป็นช่องทางให้หินหนืดภายใต้ผิวโลก ทะลักล้นออกมาในแนวรอยเลื่อนนี้เกิดเป็นปล่องภูเขาไฟเรียงตัวในแนวนี้ด้วย[6]", "title": "จังหวัดลำปาง" }, { "docid": "39867#0", "text": "ลาวา หรือ หินหลอมเหลว (อังกฤษ: lava) คือ แม็กมาที่หลอมเหลวแล้วพุ่งออกมาจากใต้พื้นผิวโลก และหากลาวาเหล่านี้มีการเย็นตัวและตกผลึกบนผิวโลกหรือใกล้ผิวโลก เรียกว่า หินอัคนีภูเขาไฟ (extrusive rocks หรือ volcanic rocks)", "title": "หินหลอมเหลว" }, { "docid": "302540#3", "text": "จุดร้อนเหล่านี่ ส่วนใหญ่มีองค์ประกอบเป็นหินบะซอลท์ เพราะว่ามันปะทุขึ้นมากจาชั้นธรณีฐานมหาสมุทร (เช่นที่ Hawaii และ Tahiti) จุดร้อนเหล่านี้เกิดจากการระเบิดน้อยกว่าการเกิดภูเขาไฟอันเนื่องมาจากการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (Subduction zone) ในบริเวณที่มีน้ำอยู่ใต้เปลือกโลกที่สำคัญ เมื่อจุดร้อนเกิดขึ้นใต้แผ่นเปลือกโลกทวีป แมกม่าที่มีองค์ประกอบเหมือนหินบะซอลท์จะเข้าไปในบริเวณที่เปลือกโลกทวีปนั้นมีความหนาแน่นน้อย ซี่งมันจะร้อนและทำให้เกิดการหลอมเหลว จึงทำให้เกิดเป็นหิน โดยที่หินไรโอไลท์เหล่านี้มีความร้อนพอสมควรและทำให้เกิดการระเบิดที่รุนแรง ทั้งๆที่มีปริมาณน้ำอยู่น้อย ยกตัวอย่างเช่นที่ภูเขาไฟ Yellowstone ซึ่งเกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟที่ทรงพลังมากที่สุดครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์ทางธรณีวิทยา อย่างไรก็ตามเมื่อแมกม่าที่มีองค์ประกอบเป็นไรโอไลท์ระเบิดอย่างสมบูรณ์ ในที่สุดแล้วก็จะได้ก็จะได้การระเบิดของแมกม่าที่มีองค์ประกอบเป็นบะซอลท์ตามมา ผ่านไปตามแนวที่เปราะบางของชั้นแผ่นเปลือกโลก ตัวอย่างในกรณีนี้คือ Ilgachuz Range ในโคลัมเบีย ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงแรกของการเกิดเป็น Trachyte และไรโอไลท์ แต่ในระยะเวลาต่อมาเกิดการปะทุขึ้นของลาวาทีมีองค์ประกอบเป็นบะซอลท์", "title": "จุดร้อน" }, { "docid": "936833#2", "text": "ส่วนประกอบหลักของกรวยภูเขาไฟประกอบไปด้วยหินบะซอลต์ หินบะซอลติก แอนดีไซต์ หินสคอเรีย และหินตะกอนลาวาจากการประทุของภูเขาไฟ ซึ่งสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นในช่วงระยะหลังของการขยายตัวของภูเขาไฟ ภูเขาไฟยังมีที่ราบลึกขนาด และกว้าง ที่แผ่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ คาดว่าเกิดขึ้นจากการถล่มเนื่องจากความลาดชันของภูเขาไฟ มีดินถล่มกว่า 3 ลูกบาศก์กิโลเมตร (0.72 บาศก์ไมล์) ทำให้แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาดทางด้านเหนือเกิดรอยแหว่ง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว่า 27 ตารางกิโลเมตร (10 ตารางไมล์)", "title": "ภูเขาโปปา" }, { "docid": "60632#25", "text": "เมื่อลาวาพาโฮโฮไหลลงไปในทะเลโดยปรกติแล้วจะเกิดเป็นหินบะซอลต์รูปหมอน อย่างไรก็ตามเมื่อลาวาอาอาไหลลงไปในทะเลกลับเกิดการสะสมตัวของเศษตะกอนเนื้อเถ้าภูเขาไฟ (tuffaceous debris) เป็นรูปกรวย (littoral cone) กรวยขนาดเล็กเกิดขึ้นเมื่อธารลาวาอาอาร้อนไหลลงไปในน้ำและเกิดการระเบิดเป็นไอร้อนพวยพุ่งขึ้นไปอย่างรุนแรง (littoral explosion หรือ steam explosion)", "title": "หินบะซอลต์" }, { "docid": "11525#2", "text": "หมู่เกาะกาลาปาโกสประกอบด้วย 18 เกาะหลัก เกาะเล็ก 3 เกาะ พร้อมเกาะเล็ก ๆ และโขดหินกลางทะเลอีกประมาณ 170 แห่ง โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 7,994 ตารางกิโลเมตร หรือ 4,996,250 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ในทะเล 59,500 ตารางกิโลเมตร เกาะต่าง ๆ มีชื่อเรียกทั้งในภาษาสเปนและภาษาอังกฤษ\nหมู่เกาะนี้เกิดจากการสะสมตัวของลาวาจากภูเขาไฟ เมื่อ 7-9 ล้านปีมาแล้ว และยังมีภูเขาไฟมีพลัง แม้ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็ยังเกิดภูเขาไฟอยู่ประปราย ภูมิประเทศที่โดดเด่น คือพื้นผิวที่ขรุขระอันเกิดจากภูเขาไฟ ปล่องภูเขาไฟ และหน้าผา เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือ เกาะอัลเบมาร์ล (Albermarle) หรือ เกาะอิซาเบลา (Isabela) มีรูปร่างเป็นฉาก ความยาวทั้งหมด 132 กิโลเมตร ครอบครองเนื้อที่เกินครึ่งของหมู่เกาะนี้ จุดที่สูงที่สุดในหมู่เกาะนี้ คือ ภูเขาอาซุล (Azul) สูง 1,689 เมตร โดยหมู่เกาะนี้ยังมีภูเขาไฟชื่อภูเขาไฟวูล์ฟ (Wolf Volcano) อยู่ทางด้านเหนือของเกาะอิซาเบลาไปหลายไมล์ ส่วนเกาะที่มีขนาดใหญ่รองลงไป คือ เกาะอินดิฟาทิเกเบิล (Indefatigable) หรือ เกาะซานตากรุซ (Santa Cruz)", "title": "หมู่เกาะกาลาปาโกส" }, { "docid": "58812#2", "text": "การปะทุแบบไม่รุนแรง เป็นการปะทุตามปล่องหรือรอยแตก รอยแยกของแผ่นเปลือกโลกลาวาไหลหลากเอ่อล้นไป ตามลักษณะภูมิประเทศ ลาวาจะถ่ายโอนความร้อนให้กับบรรยากาศภายนอกอย่างรวดเร็ว ทำให้อะตอมของธาตุ ต่าง ๆ มีเวลาน้อยในการจับตัวเป็นผลึก หินลาวาหลากจึงประกอบด้วยแร่ที่มีผลึกขนาดเล็กหรือเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นและจำแนกผลึกได้ด้วยตาเปล่า เช่น หินไรโอไลต์(Ryolite), หินแอนดีไซต์(Andesite), หินบะซอลต์(Basalt)", "title": "หินภูเขาไฟ" }, { "docid": "952842#2", "text": "ภูเขาไฟเอเรบัสเป็นภูเขาไฟที่มีกิจกรรมทางภูเขาไฟมากที่สุดในแอนตาร์กติกาและยังเป็นจุดปะทุของจุดร้อนเอเรบัสในปัจจุบัน ยอดปล่องภูเขาไฟมีทะเลสาบหินโฟโนไลต์หลอมเหลวซึ่งเป็นหนึ่งในห้าของทะเลสาบลาวาที่อยู่ถาวรบนโลก เอเรบัสเป็นภูเขาไฟที่ประทุแบบสตรอมโบเลียนตามทะเลสาบลาวาหรือตามรอยแตกทั้งหมดของปล่องภูเขาไฟ ภูเขาไฟลูกนี้มีความโดดเด่นทางวิทยาศาสตร์เนื่องจากกิจกรรมการปะทุต่อเนื่องอยู่ในระดับต่ำและผิดปกติทำให้ช่วยให้ศึกษาการประทุแบบสตรอมโบเลียนได้อย่างใกล้ชิด ภูเขาลูกนี้มีลักษณะเฉพาะร่วมกับภูเขาไฟบนโลกเพียงไม่กี่แห่ง เช่นภูเขาไฟสตรอมโบลีในประเทศอิตาลี การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของภูเขาไฟลูกนี้ค่อนข้างสะดวกเนื่องจากอยู่ห่างจากที่ตั้งของฐานสกอตของนิวซีแลนด์และสถานีแม็คเมอร์โดของสหรัฐเพียง 35 กม.", "title": "ภูเขาไฟเอเรบัส" }, { "docid": "145099#0", "text": "หินออบซิเดียน (Obsidian) เกิดจากการระเบิดอย่างรุนแรงของภูเขาไฟ เกิดจากหินหนืดที่มีซิลิกาสูงมากทำให้มีความหนืดสูง ทำให้เกิดการอัดตัวของแก๊สและกลายเป็นสาเหตุของการระเบิดที่รุนแรง ทำให้ลาวาแข็งตัวลงอย่างรวดเร็วผลึกแร่จึงไม่มีเวลาตกผลึก จึงเป็นหินที่มีผลึกเล็กมากหรือแทบไม่มีผลึก ลักษณะคล้ายแก้ว หินออบซิเดียนจึงถูกเรียกว่าแกรนิตเนื้อแก้ว ลักษณะหินมักมีสีดำเนื้อหินละเอียด มีความแข็งและขอบคม ในยุคโบราณมีการนำหินออบซิเดียนมาทำเป็นอาวุธ ในหินออบซิเดียนที่สัมผัสกับน้ำก็จะทำให้เกิดผลึกเส้นใยสีขาว กระจายคล้ายเกล็ดหิมะ ในประเทศไทยแทบไม่มีการพบ", "title": "หินออบซิเดียน" }, { "docid": "58812#4", "text": "หินแอนดีไซต์ (Andesite) เป็นหินอัคนีพุซึ่งเกิดจากการเย็นตัวของลาวาที่มีความหนืดปานกลาง มีปริมาณซิลิกาอยู่ในช่วง 52-66 เปอร์เซ็นต์ เกิดในลักษณะเดียวกับหินไรโอไรต์ แต่มีองค์ประกอบของแมกนีเซียมและเหล็กมากกว่า จึงมีสีเขียวเข้ม", "title": "หินภูเขาไฟ" }, { "docid": "907685#2", "text": "ภูเขาไฟรูปโล่เกิดจากการไหลของลาวาที่ไม่หนืด เมื่อลาวาเย็นตัวลงก็จะแข็งตัวกลายเป็นชั้นทับถมขึ้นเป็นรูปทรงภูเขาเตี้ย ๆ มีมุมชันไม่มากคือไม่เกิน 10 องศา ความสูงมักอยู่ในช่วงประมาณ 1/20 ของความกว้าง ในระยะแรกเมื่อก่อตัวจะเห็นเป็นลานลาวา (lava plateau) ต่างจากภูเขาไฟเชิงประกอบที่มีลักษณะเป็นการทับถมของเถ้าและลาวาสลับชั้น และต่างจากภูเขาไฟกรวยกรวดที่ประกอบด้วยเถ้าเป็นหลัก ภูเขาไฟรูปโล่มักจะปะทุต่อเนื่องตลอดเวลาแทนการปะทุเป็นครั้งคราวอย่างภูเขาไฟเชิงประกอบ ภูเขาไฟรูปโล่ใต้เมฆที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ ภูเขาไฟเมานาโลอาซึ่งสูง จากระดับน้ำทะเล และกว้าง ประมาณกันว่ามีปริมาตรหินบะซอลต์ที่ประกอบเป็นภูเขาไฟทั้งสิ้น ฐานรากของภูเขาไฟจมตัวอยู่ใต้เปลือกโลกลึกประมาณ ", "title": "ภูเขาไฟรูปโล่" }, { "docid": "60632#17", "text": "ปรกติแล้วด้านบนของลาวาบะซอลต์และกรวยเถ้าภูเขาไฟจะมีโพรงข่ายอยู่มากซึ่งทำให้หินมีเนื้อเป็นฟองและมีน้ำหนักเบา เถ้าภูเขาไฟมักมีสีแดงซึ่งเป็นสีของเหล็กออกไซด์ที่เกิดจากการผุพังของแร่ไพรอกซีนที่มีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบอยู่สูง ลักษณะที่เป็นก้อนของลาวาเอเอ้ที่เป็นเถ้าภูเขาไฟ การไหลของกรวดเหลี่ยมภูเขาไฟ และการไหลของลาวาบะซอลต์เนื้อแน่นพบได้ทั่วไปในฮาวาย ลาวาพาโฮโฮมีความหนืดสูงเป็นลาวาบะซอลต์ที่ร้อนซึ่งมีแนวโน้มที่จะมีรูกลวงคล้ายท่อเกิดเป็นชั้นบางๆ รูกลวงในลาวาเหล่านี้เป็นลักษณะทั่วไปของการปะทุแบบพาโฮโฮ", "title": "หินบะซอลต์" }, { "docid": "60632#26", "text": "เกาะเซอร์ตเซย์ในมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นภูเขาไฟลาวาบะซอลต์ที่ไหลชะลงไปบนพื้นมหาสมุทรในปี ค.ศ. 1963 การระเบิดของภูเขาไฟนี้ในช่วงแรกๆจะมีความรุนแรงมากโดยขณะที่หินหนืดเปียกน้ำจะทำให้หินถูกทำให้โป่งพองออกโดยไอร้อนที่พวยพุ่งออกมาเกิดเป็นกรวยของเถ้าภูเขาไฟ ลักษณะนี้ต่อมาได้กลายเป็นลักษณะเฉพาะของลาวาพาโฮโฮ", "title": "หินบะซอลต์" }, { "docid": "953265#2", "text": "สตอมโบลีปะทุอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เกือบ 2,000 ปีที่แล้ว รูปแบบของการปะทุจะปะทุขึ้นที่ปล่องบนยอดภูเขา และปากครั้งก็มีการปะทุบอมบ์ภูเขาไฟออกมาเล็กน้อย เป็นระยะ ๆ ตั้งแต่นาทีจนถึงชั่วโมง การปะทุแบบนี้เรียกว่าการประทุแบบสตรอมโบเลียนซึ่งสามารถพบได้ในภูเขาไฟอื่น ๆ ทั่วโลก เป็นการระเบิดที่ไม่รุนแรงแต่ปะทุเป็นระยะ ๆ และมักปะทุเศษชิ้นส่วนเปลือกนอก ขี้เถ้า เศษหินและบอมพ์ภูเขาไฟ การปะทุของสตรอมโบลีนั้นมีการปะทุแบบเฉพาะตัว ส่วนการไหลของลาวานั้นจะออกมาเฉพาะช่วงที่มีกิจกรรมทางภูเขาไฟสูง เกิดการปะทุขึ้นครั้งแรกในรอบ 17 ปีใน พ.ศ. 2545 และอีกครั้งใน พ.ศ. 2546, พ.ศ. 2550 และ 2556-2557 การปลดปล่อยก๊าซของภูเขาไฟลูกนี้จะวัดโดยมัลติ-แก๊สซึ่งจะตรวจสอบการเพิ่มขึ้นของแม็กม่าล่วงหน้าซึ่งจะช่วยพยากรกิจกรรมทางภูเขาไฟได้ล่วงหน้า", "title": "ภูเขาไฟสตรอมโบลี" }, { "docid": "58812#1", "text": "นอกจากนี้ยังมีหินอัคนีอีกชนิดหนึ่งที่เกิดจากการทับถมของเศษหินที่ได้จากการระเบิดของภูเขาไฟ เมื่อมีการเชื่อมประสานด้วยแร่ จะได้หินที่เรียกว่า หินอัคนีตะกอนภูเขาไฟ (Pyroclastic Rocks)", "title": "หินภูเขาไฟ" }, { "docid": "77415#7", "text": "เริ่มต้นหน่วยหินถูกแทนที่ด้วยการทับถมสู่พื้นผิวหรือรุกล้ำเข้าไปในหินท้องที่ การทับถมสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อตะกอนจมลงสู่พื้นผิวโลก และต่อมาแข็งตัวเป็นหินตะกอน หรือเมื่อวัตถุภูเขาไฟ เช่น เถ้าภูเขาไฟหรือลาวาไหลปกคลุมพื้นผิว หินอัคนีแทรกซอน เช่น หินอัคนีมวลไพศาล หินอัคนีรูปเห็ด พนังและพนังแทรกชั้น ผลักขึ้นไปด้านบนสู่หินที่ทับอยู่ และตกผลึกขณะที่หินอัคนีแทรกซอนรุกล้ำเข้าไป", "title": "ธรรมชาติ" }, { "docid": "60632#16", "text": "หินบะซอลต์ที่ปะทุขึ้นไปในอากาศทำให้เกิดการสะสมตัว 3 แบบ คือ ตะกรันภูเขาไฟ เถ้าภูเขาไฟ และการไหลของลาวา", "title": "หินบะซอลต์" }, { "docid": "260077#1", "text": "ลักษณะเฉพาะของป่านี้ คือ ต้นไม้จะเจริญเติบโตอยู่บนหินลาวา (ที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิดเมื่อหลายล้านปีก่อน) และครอบคลุมบริเวณชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะ ", "title": "ป่าคดจาวัล" }, { "docid": "60632#18", "text": "หินเถ้าภูเขาไฟมีการพบน้อยแต่ก็ใช่ว่าจะไม่เป็นที่รู้จัก ปรกติแล้วลาวาบะซอลต์ที่ร้อนมากๆและหนืดเกินไปที่มีแรงดันไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดการปะทุออกมา แต่บ่อยครั้งจะถูกกักอยู่ในปล่องภูเขาไฟและปล่อยแก๊สออกมา ภูเขาไฟมอนาโลเอในฮาวายได้ปะทุขึ้นมาในลักษณะดังกล่าวนี้ในศตวรรษที่ 19 และก็เกิดขึ้นที่เมาต์ทาราเวราของนิวซีแลนด์ในการปะทุอย่างรุนแรงในปี ค.ศ. 1886", "title": "หินบะซอลต์" }, { "docid": "297804#1", "text": "Remanent magnetism วัดได้โดยเครื่องมือที่เรียกว่า magnetometers เครื่องนี้รุ่นแรกๆ สามารถวัดความหนาแน่นและทิศทางของสนามแม่เหล็กได้เฉพาะหินภูเขาไฟและ highly magnetized iron-bearing red sediments magnetometers รุ่นที่ดีที่สุดในขณะนี้ สามารถวัดได้แม้จะมีความเป็นแม่เหล็กน้อยรวมทั้งหินคาร์บอเนต Remanent magnetism มีความซับซ้อนและสามารถรวมเข้าไปอยู่ใน secondary magnetism ที่เกิดจากผลกระทบที่ยาวนานของสนามแม่เหล็กโลกในปัจจุบันหรือจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของธาตุแม่เหล็กอันหนึ่งไปสู่อีกอันหนึ่งเทคนิคการขจัดแม่เหล็กสามารถทำได้เมื่อต้องการทำลายผลกระทบที่เกิดจาก secondary magnetic ในห้องทดลอง ดังนั้นก็จะสามารถวัด primary magnetization ได้ นี่คือส่วนประกอบของ primary magnetic ซึ่งบันทึกลักษณะของสนามแม่เหล็กโลกในขณะที่มันก่อตัวขึ้นและเป็นสิ่งที่น่าสนใจในการศึกษาวิชาธรณีวิทยา สิ่งสำคัญของ primary remanent magnetism สำหรับการศึกษาธรณีวิทยามีเหตุมาจาก ความจริงที่ว่าสนามแม่เหล็กโลกไม่คงสภาพเดิมตลอดช่วงเวลาเก่าแก่ในธรณีวิทยา แต่กลับถูกค้นพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยๆ อำนาจแรงดึงดูดของสนามแม่เหล็กบนพื้นโลกเกิดจากความเข้าใจผิดๆ บางประการว่าเกิดจากการเคลื่อนที่ของของเหลวที่มีนิกเกิดและเหล็กในปริมาณสูงในบริเวณรอบๆ แกนโลก การเคลื่อนที่นี้ถูกสันนิษฐานว่าได้รับการควบคุมจากการพาความร้อนโดยอุณหภูมิและจากแรง Coriolis ที่เกิดจากการหมุนของโลก การศึกษาเกี่ยวกับ remanent magnetism ในหินภูเขาไฟและหินตะกอน แสดงให้เห็นว่า ส่วนประกอบหลักของขั้นแม่เหล็ก 2 ขั้นในสนามแม่เหล็กโลก ที่มุ่งไปข้างหน้าจะถูกพลิกกลับขั้นในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนจาก Precambrian time เห็นได้ชัดจากการพาความร้อนที่ไม่คงที่บริเวณรอบแกนโลก เมื่อสนามแม่เหล็กโลกมีสภาพขั้วในทิศทางหนึ่งแล้ว จะกล่าวได้ว่ามีขั้วที่ปกติเมื่อเปลี่ยนขั้นไป 180 องศาก็จะถูกเรียกว่ากลับขั้น การกลับตัวของขั้วสนามแม่เหล็กโลกถูกบันทึกไว้ในหินตะกอนและหินภูเขาไฟในรูปแบบขั้วที่ปกติและเมื่อกลับขั้นแล้ว ทิศทางของสนามแม่เหล็กในหินถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนโดย north-seeking magnetization ถ้า north-seeking magnetization ของก้อนหินชี้ไปที่ขั้วเหนือของสนามแม่เหล็กโลกในปัจจุบัน แสดงว่าหินนั้นมีขั้นปกติ แต่ถ้า north-seeking magnetization ชี้ไปที่ขั้วแม่เหล็กใต้ ก็แสดงว่าหินนั้นกลับขั้วหรือมีขั้วกลับกัน ดังนั้น หินตะกอนและหินภูเขาไฟที่แสดงขั้วตรงกับขั้นของสนามแม่เหล็กโลกในปัจจุบันก็จะเรียกว่าขั้วปกติ ในขณะที่หินที่มีขั้นตรงกันข้ามจะเรียกว่าขั้นกลับ reverse polarity การกลับขั้วของแรงดึงดูดของสนามแม่เหล็กโลกบนพื้นโลกเหล่านี้เกิดขึ้นในระยะเวลาเดียวกันกับมหันตภัยบนพื้นโลก ดังนั้นมันจะมีสัญลักษณ์ทางธรณีวิทยาในหินภูเขาไฟหรือหินตะกอน กระบวนการการกลับขั้วนั้นใช้เวลา 1000-10000 ปี (Clement, Kent and Opdyke, 1982) ความหนาแน่นของสนามแม่เหล็กโลกจะลดลง 60-80 % ก่อนที่จะเกิดการกลับขั้วประมาณ 10000 ปี การกลับขึ้นจะใช้เวลาประมาณ 1000-2000 ปี ตามด้วยการเพิ่มของความหนาแน่นของสนามแม่เหล็กของอีก 10000 ปี ข้างหน้า ( Cox, 1969) แม้ว่าจะมีการกลับขั้วครั้งล่าสุดเมื่อประมาณ 20000 ปีที่ผ่านมาก็ตาม แต่การกลับตัวของสนามแม่เหล็กที่ไร้ซึ่งข้อสงสัยครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 700000 ปีที่ผ่านมา ในปีแรกๆ ของ Paleomagnetic เชื่อว่า ช่วงของขั้นหนึ่งๆ ที่กินเวลาตั้งแต่ 100000 ปีขึ้นไปเรียกว่า epochs แต่ช่วงที่ใช้เวลาประมาณ 10000-100000 ปี จะเรียกกันว่า events ปัจจุบันทราบกันดีว่า การกลับขึ้นจะเกิดขึ้นได้หลากหลาย ช่วงเวลาเริ่มต้นน้อยที่สุดจาก 10000 ปี จนถึง 10 ล้านปี อย่างไรก็ตาม นักธรณีวิทยายังคงใช้คำว่า epochs กับ events ในความหมายเดียวกัน ทั้งๆ ที่ความหมายแตกต่างกัน(epochs ในปัจจุบันมีความหมายเดียวกับ chrons) การลำดับชั้นสนามแม่เหล็กบรรพกาลในหิน pre-Pleistocene ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงขั้นในหินตะกอนหรือหินภูเขาไฟที่ทำให้เกิดลวดลายที่จดจำได้ง่าย ใช้ในจุดประสงค์เพื่อลำดับเหตุการณ์และหาความสัมพันธ์", "title": "การลำดับชั้นสนามแม่เหล็กบรรพกาล" }, { "docid": "900609#2", "text": "เกาะโจฮอฟประกอบด้วยลาวาที่มีหินบะซอลต์และหินทิฟฟ์ ส่วนใหญ่ของเกาะแห่งนี้ประกอบด้วยหินโอลิวีน และหินลาวาการไหลเวียนของลาวาเหล่านี้เกิดการทับถมจนเป็นชั้นขี้เถ้าภูเขาไฟที่ผุกร่อน ความหนารวมของหินภูเขาไฟที่มีอยู่ภายในเกาะโจฮอฟอยู่ที่ประมาณ 400 เมตร", "title": "เกาะโจฮอฟ" }, { "docid": "952842#3", "text": "ภูเขาไฟเอเรบัสจัดเป็นกรวยภูเขาไฟสลับชั้นโดยครึ่งล่างเป็นรูปโล่ด้านบนเป็นกรวยภูเขาไฟสลับชั้น ส่วนประกอบที่ปะทุออกมาจากเอเรบัสจะเป็นพวกผลึกดอก อะนอร์โทเคลส เทไฟร์ทและหินโฟโนไลต์ซึ่งเป็นส่วนประกอบของลาวาในภูเขาไฟ ส่วนประกอบของการระเบิดที่เก่าแก่ที่สุดมีส่วนประกอบไม่ต่างกันแต่จะมีหินบาซาไนต์หลอมเหลวที่หนืดซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เป็นรูปโล่บริเวณตีนเขา หินบาซาไนต์และหินโฟโนไลต์หลอมเหลวจำนวนเล็กน้อยทำให้เกิดสันเขาแฟรงและสถานที่อื่น ๆ รอบภูเขาไฟเอเรบัส ภูเขาไฟเอเรบัสเป็นภูเขาไฟที่ปะทุโฟโนไลต์เพียงแห่งเดียวในโลกในปัจจุบัน", "title": "ภูเขาไฟเอเรบัส" }, { "docid": "266277#3", "text": "ลาวาจากการปะทุไหลเอ่อลงไปบนพื้นทะเลตื้นๆหรือไหลจากผืนดินลงไปในทะเลอาจเกิดการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วจนเกิดการระเบิดแตกออกเป็นเศษชิ้นตะกอนของหินเล็กๆ (littoral explosion หรือ steam explosion) ผลก็คือเกิดเศษชิ้นตะกอนหินภูเขาไฟขนาดเท่าเม็ดทรายจำนวนมหาศาลของหินบะซอลต์ที่มีองค์ประกอบของแร่เหล็กสูงและมีแร่ซิลิก้าต่ำ เมื่อเกิดการผุพังก็ยังคงมีสีดำของแร่หนักทำให้คลื่นชายฝั่งพัดพาเอาตะกอนที่เบากว่าออกไปโดยทิ้งไว้เฉพาะทรายดำที่มีน้ำหนักมากกว่า หาดทรายดำที่มีชื่อเสียงของฮาวายอย่างเช่น หาดทรายดำ Punaluu ซึ่งเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดโดยปฏิสัมพันธ์อย่างรุนแรงระหว่างลาวาร้อนกับน้ำทะเล ", "title": "ทรายดำ" }, { "docid": "58812#5", "text": "หินบะซอลต์ (Basalt) เป็นหินอัคนีพุ เนื้อละเอียด เกิดจากการเย็นตัวของลาวาที่มีความหนืดน้อย มีปริมาณซิลิกาอยู่ในช่วง 45-52 เปอร์เซ็นต์ มีสีเข้มเนื่องจากประกอบด้วยแร่ไพร็อกซีนเป็นส่วนใหญ่ อาจมีแร่โอลิวีนปนมาด้วย เนื่องจากเกิดขึ้นจากแมกมาใต้เปลือกโลก หินบะซอลต์หลายแห่งในประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดของอัญมณี (พลอยชนิดต่างๆ) เนื่องจากแมกมาดันผลึกแร่ซึ่งอยู่ลึกใต้เปลือกโลก ให้โผล่ขึ้นมาเหนือพื้นผิว", "title": "หินภูเขาไฟ" }, { "docid": "300101#0", "text": "แอ่งยุบปากปล่อง หรือ แอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด () เป็นแอ่งภูเขาไฟที่มีขอบแอ่งเอียงชันลาดลงสู่ก้นแอ่ง อาจมีหรือไม่มีกรวยภูเขาไฟขนาดต่างๆ โผล่อยู่ที่ก้นแอ่งก็ได้ แอ่งภูเขาไฟแบบนี้เกิดขึ้นจากการระเบิดอย่างรุนแรงและฉับพลันในส่วนลึกลงไปของภูเขาไฟ โดยมีพลังระเบิดมากพอที่จะผลักดันส่วนบนให้กระจัดกระจายออกไปรอบทิศทาง ทำให้ปริมาณหินมหาศาลเคลื่อนย้าย เกิดเป็นรอยรูปกระจาดขึ้น หลังจากนั้น การระเบิดย่อย ๆ หรือการหลั่งไหลของลาวาขึ้นสู่ผิวพื้นก้นกระจาด ก็อาจทำให้เกิดกรวดภูเขาไฟย่อย ๆ หรือใหญ่ ๆ ขึ้นท่ามกลางแอ่งก้นกระจาดอีกต่อหนึ่ง", "title": "แอ่งยุบปากปล่อง" }, { "docid": "302087#0", "text": "หินละลายรูปหมอน ลักษณะโครงสร้างเป็นรูปหมอน มีลักษณะที่สำคัญคือเป็นการที่ลาวาโผล่พ้นน้ำแล้วมีการเย็นตัวลง หินละลายรูปหมอนนี้จัดเป็นหินอัคนีภูเขาไฟ ซึ่งมีหลายขนาด อาจมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางได้มากถึง 1 เมตร", "title": "หินละลายรูปหมอน" }, { "docid": "950450#1", "text": "โบลกันเดฟูเอโกมีชื่อเสียงจากการเป็นภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นในระดับต่ำเกือบต่อเนื่อง การปะทุของแก๊สและเถ้าถ่านเล็ก ๆ น้อย ๆ เกิดขึ้นทุก 15 ถึง 20 นาที ส่วนการปะทุขนาดใหญ่กว่านั้นพบไม่บ่อยนัก ลาวาประเภทหินแอนดีไซต์และหินบะซอลต์มีมากที่สุด และการปะทุในระยะหลังมีแนวโน้มที่จะพ่นแร่ธาตุสีเข้มออกมามากกว่าการปะทุในยุคแรกเริ่ม", "title": "โบลกันเดฟูเอโก" }, { "docid": "310934#2", "text": "เช่นเดียวกันภูเขาไฟส่วนใหญ่ในเทือกเขาคาสเคด ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์มีลักษณะเป็นกรวยปะทุ ประกอบด้วยหินลาวา แบ่งชั้นด้วยเถ้า หินพัมมิซ และหินตะกอนอื่น ๆ ภูเขาประกอบด้วยชั้นของหินบะซอลต์ และหินแอนดีไซท์ ผ่านโดมลาวาที่เป็นหินเดไซท์โป่งออกมา โดยโดมหินเดไซท์ที่ใหญ่ที่สุดก่อตัวใกล้กับยอดเขา และโดมขนาดเล็กกว่าคือ โดมโกทร็อกส์ ตั้งอยู่ข้างภูเขาไฟทางตอนเหนือ ซึ่งโดมทั้งสองแห่งนี้ถูกทำลายไปจากการระเบิดเมื่อ ค.ศ. 1980", "title": "ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์" }, { "docid": "58812#3", "text": "หินไรโอไลต์ (Ryolite) เป็นหินอัคนีพุซึ่งเกิดจากการเย็นตัวของลาวาที่มีความหนืดมาก มีปริมาณซิลิกามากกว่า 66 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อละเอียดซึ่งประกอบด้วยผลึกแร่ขนาดเล็ก มีแร่องค์ประกอบเหมือนกับหินแกรนิต แต่ทว่าผลึกเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ ส่วนมากมีสีชมพู และสีเหลือง", "title": "หินภูเขาไฟ" } ]
3240
มีการออกแบบกระบวนการใช้แสงเลเซอร์ในการสแกนแบบทีละจุดโดยใช้จุดโฟกัสของลำแสงเลเซอร์เพื่อให้ได้ภาพ 3 มิติโดยใคร?
[ { "docid": "532367#1", "text": "หลักการของการถ่ายภาพแบบคอลโฟคอลนั้นได้การจดสิทธิบัตรโดย Marvin Minsky ในปี ค.ศ. 1957[2] แต่การพัฒนาการของการใช้แสงเลเซอร์นั้นใช้เวลาอีก 30 ปี จึงสามารถนำมาใช้กับกล้องจุลทรรศน์แบบคอลโฟคอล จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1980 กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกนได้กลายเป็นเทคนิคอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยม โดยในปี ค.ศ. 1978 นั้น Thomas Cremer และ Christoph Cremer ได้ออกแบบกระบวนการใช้แสงเลเซอร์ในการสแกนแบบทีละจุดโดยใช้จุดโฟกัสของลำแสงเลเซอร์เพื่อให้ได้ภาพ 3 มิติ[3] โดยกล้องคอนโฟคอลที่ใช้แสงเลเซอร์ในการสแกนและใช้ตัวรับแสงเพื่อสร้างภาพ 3 มิติ ตัวแรกที่ถูกออกแบบนั้นได้ถูกใช้สำหรับถ่ายภาพวัตถุทางชีววิทยาซึ่งถูกเคลือบสารฟลูออเรสเซ็นต์ ในทศวรรตต่อมากล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลทำงานด้วยแสงฟลูออเรสเซ็นได้ถูกพัฒนาอย่างจริงจังโดยกลุ่มนักวิจัย University of Amsterdam และ European Molecular Biology Laboratory (EMBL) และ องกรณ์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ", "title": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกน" } ]
[ { "docid": "531309#3", "text": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกน (English: Confocal laser scanning microscpoes) กล้องชนิดนี้ใช้กระจก (โดยทั่วไป 2-3 ชิ้น) สแกนลำแสงเลเซอร์แบบเชิงเส้นทั้งในแกน x และแกน y ให้ทั่วทั้งชิ้นเนื้อตัวอย่าง โดยที่รูขนาดเล็ก (pinhole) และตัวรับแสง (photodetector) ไม่เคลื่อนที่ กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดจานหมุน (จานนิพโค) (English: Spinning-disk (Nipkow disk) confocal microscope) ใช้ชุดจานหมุนซึ่งมีรูขนาดเล็ก (pinhole) จำนวนมากในแผ่นจานในการสแกนลำแสงให้ทั่วทั้งชิ้นเนื้อตัวอย่าง ในขณะที่แผ่นจานนั้นหมุน กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดอาเรย์ที่สามารถโปรแกรมได้ (English: Programmable Array Microscopes ; PAM) เป็นการใช้สัญญาณอเล็คทรอนิคส์ควบคุมอุปกรณ์สำหรับปรับแต่งลำแสง (Spatial Light Modulator (SLM)) ซึ่งอุกรณ์นี้ทำหน้าที่เสมือนรูขนาดเล็กจำนวนมากที่สามารถเคลื่อนที่ได้ โดยอุปกรณ์ปรับแต่งลำแสงนี้ประกอบด้วยกระจกขนาดเล็กจำนวนมาก (microelectromechanical mirrors) ที่วางเรียงกันในรูปแบบตาราง โดยที่กระจกขนาดเล็กนี้สามารถปรับการหมุนและการสะท้อนด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดนี้ใช้ CCD เป็นตัวรับสัญญาณแสง", "title": "กล้องคอนโฟคอล" }, { "docid": "114043#15", "text": "เลเซอร์เป็นแหล่งกำเนิดแสงที่มีคุณสมบัติเด่น คือ เป็นคลื่นแสงที่มีระเบียบ มีลักษณะเป็นลำแสง ความเข้มแสงสูง จึงมีศักยภาพในการประยุกต์มากมาย ได้แก่ การใช้เลเซอร์เพื่อเจาะ ตัด เชื่อม เลเซอร์เป็นแสงที่มีความเข้มสูง และเป็นลำแสง เมื่อโฟกัสจะมีขนาดเล็กสามารถ เจาะ ตัด เชื่อมวัสดุต่างๆได้ รูปที่เจาะ รอยเชื่อม จะมีขนาดเล็กและคมชัดมาก ทำให้สามารถทำงานที่มีความละเอียดสูงได้ เลเซอร์ที่ใช้งานต้องมีกำลังสูงเช่น เลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์", "title": "เลเซอร์" }, { "docid": "114043#22", "text": "ปัจจุบันได้ใช้เลเซอร์ในการสร้างภาพ 3 มิติหรือภาพ โฮโลกราฟี หมายถึง กระบวนการสร้างภาพฮอโลแกรม ซึ่งเป็นภาพ 3 มิติ แตกต่างจากการสร้างภาพเชิง 3 มิติ โดยฮอโลแกรมนั้นเป็นภาพที่บันทึกลงบนฟิล์ม หรือ แผ่นเคลือบด้วยสารสำหรับบันทึกแสง ซึ่งผ่านเทคนิคการบันทึกด้วยการใช้ แสงที่มีหน้าคลื่นสอดคล้องกัน (coherence) เช่น แสงเลเซอร์ และเมื่อถูกส่องสว่างอย่างเหมาะสม จะแสดงให้เห็นภาพที่มีลักษณะ 3 มิติ", "title": "เลเซอร์" }, { "docid": "1001#5", "text": "ฮอโลแกรมถูกสร้างขึ้นด้วยกระบวนการที่เรียกว่า ฮอโลกราฟี (Holography) โดยฮอโลกราฟีเป็นเทคนิคที่ช่วยให้แสงกระจายจากวัตถุที่จะบันทึกและได้ถูกสร้างขึ้นใหม่ เพื่อให้ปรากฏเป็นวัตถุอยู่ในตำแหน่งเดิมเมื่อเทียบกับการบันทึก การเปลี่ยนแปลงรูปแบบตำแหน่งและทิศทางของระบบการมองเห็นเป็นไปอย่างถูกต้องเหมือนกับว่าวัตถุก็ยังคงเป็นปัจจุบันจึงทำให้ภาพที่บันทึกปรากฏเป็นสามมิติ ฮอโลแกรม 3 มิติ เป็นเทคโนโลยีรูปแบบหนึ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารระยะไกลระหว่างบุคคลต้นทางและปลายทางที่อยู่ต่างสถานที่กัน สามารถโต้ตอบแบบตัวต่อตัว ฮอโลแกรมแบ่งได้เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ white-light hologram ซึ่งภาพฮอโลแกรมที่บันทึกนั้น สามารถมองเห็นได้ด้วยการส่องสว่าง ด้วยแสงสว่างจากธรรมชาติ และอีกประเภทหนึ่งคือ ภาพฮอโลแกรม ที่ต้องถูกส่องสว่างด้วยแสงเลเซอร์ หรือแสงที่มีสภาพหน้าคลื่นสอดคล้องกันในระดับหนึ่ง ถึงจะมองเห็นภาพ 3 มิติได้", "title": "ฮอโลกราฟี" }, { "docid": "1001#0", "text": "ฮอโลกราฟี (English: holography) หมายถึง กระบวนการสร้างภาพฮอโลแกรม ซึ่งเป็นภาพ 3 มิติ แตกต่างจากการสร้างภาพเชิง 3 มิติ โดยฮอโลแกรมนั้นเป็นภาพที่บันทึกลงบนฟิล์ม หรือ แผ่นเคลือบด้วยสารสำหรับบันทึกแสง ซึ่งผ่านเทคนิคการบันทึกด้วยการใช้ แสงที่มีหน้าคลื่นสอดคล้องกัน (coherence) เช่น แสงเลเซอร์ และเมื่อถูกส่องสว่างอย่างเหมาะสม จะแสดงให้เห็นภาพที่มีลักษณะ 3 มิติ", "title": "ฮอโลกราฟี" }, { "docid": "1001#4", "text": "ฮอโลแกรม (English: Hologram) คือ ภาพชนิดหนึ่งซึ่งมี ลักษณะ 3 มิติ ถูกสร้างขึ้นมาจากการบันทึกข้อมูลด้วย แสงเลเซอร์ โดยบันทึก ริ้วรอยของการแทรกสอด (Interference Pattern) ของแสงเลเซอร์ ทำให้เราสามารถมองเห็นภาพเป็นลักษณะ 3 มิติ แตกต่างจาก ภาพทั่วไปซึ่งเราจะมองเป็นเพียงภาพสองมิติ ไม่มีความลึกทางมิติของภาพเป็นภาพแบน ๆ เรียบ ๆ ทำให้ภาพนั้นดูสวยงามมากขึ้นและยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกด้วย", "title": "ฮอโลกราฟี" }, { "docid": "532367#6", "text": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกนใช้เทคนิดในการสแกนชนิดเดียวกันกับกล้อง Scanning Electron Microscope (SEM) ซึ่งเป็นการสแกนแบบแรสเตอร์ (raster scanning) คือ สเแกนเป็นแบบเส้นแนวนอนทีละเส้นหลายๆเส้นจนกระทั่งได้ภาพ 2 มิติ กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกนนั้นมีข้อดีกว่ากล้อง Atomic Force Microscope (AFM) และ Scanning Tunneling Microscope (STM) คือไม่จำเป็นต้องใช้ปลายแหลมสำหรับทดสอบ(probe) ที่ต้องลอยเหนือชิ้นเนื้อในระดับนาโนเมตรในขณะที่กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกนมีระยะห่างระหว่างชิ้นเนื้อกับเลนส์วัตถุ (working distance) ในระดับไมโครเมตรหรือมิลลิเมตร ซึ่งทำให้มีพื้นที่ในการใช้งานได้มากกว่า", "title": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกน" }, { "docid": "1001#21", "text": "แต่ภาพฮอโลแกรมจะใช้หลักการสร้างภาพให้มีการแทรกสอดของแสงที่มากระทบรูปภาพ โดยการฉายแสงเลเซอร์จากแหล่งเดียวกัน แยกเป็น 2 ลำแสง ลำแสงหนึ่งเป็นลำแสงอ้างอิงเล็งตรงไปที่แผ่นฟิล์ม อีกลำแสงหนึ่งเล็งไปที่วัตถุและสะท้อนไปยังฟิล์ม แสงจากทั้งสองแหล่งจะถูกบันทึกไว้บนฟิล์มในรูปแบบของการแทรกสอด (Interference Pattern) ซึ่งมองไม่คล้ายกับรูปของวัตถุต้นแบบ ก่อให้เกิดภาพเสมือน (Virtual image) ขึ้นมาตามมุมของแสงที่มาตกกระทบ ทำให้ตาของเรารับแสงอีกด้านหนึ่งของแผ่น Hologram เกิดเห็นภาพ 3 มิติขึ้น", "title": "ฮอโลกราฟี" }, { "docid": "531309#1", "text": "หลักการทำงานของการถ่ายภาพแบบคอนโฟคอลนั้นได้รับการจดสิทธิบัตรเมื่อปี ค.ศ. 1957 โดย มาวิน มินสกี้ (Marvin Minsky) [2][3] การถ่ายภาพแบบคอนโฟคอลนี้มีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาข้อจำกัดต่างๆของกล้องจุลทรรศน์แสงฟลูออเรสเซ็นต์แบบมุมมองกว้าง (wide-field fluorescence microscope) ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิม โดยกล้องจุลทรรศน์แสงฟลูออเรสเซ็นต์แบบมุมมองกว้างนั้นจะใช้แสงฟลูออเรสเซ็นต์ความยาวคลื่นหนึ่งส่องไปบนทุกส่วนของชิ้นเนื้อตัวอย่าง และชิ้นเนื้อตัวอย่างนั้นจะสะท้อนแสงฟลูออเรสเซ็นอีกความยาวคลื่นหนึ่งมายังตัวรับแสง (photodetector) ดังนั้นตัวรับแสงจะรับแสงฟลูออเรสเซ็นที่สะท้อนมาทั้งหมด ซึ่งรวมถึงแสงที่ไม่ได้อยู่ที่จุดโฟกัส ในทางตรงกันข้ามกันกล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลใช้แหล่งกำเนิดแสงฟลูออเรสเซ็นแบบจุด (เกี่ยวข้องกับ Point Spread Function) และใช้เลนส์โฟกัสแสงไปบนชิ้นเนื้อตัวอย่างและรับแสงสะท้อนจากชิ้นเนื้อตัวอย่างมาผ่านรูขนาดเล็กเพื่อกำจัดแสงที่ไม่ได้อยู่บริเวณจุดโฟกัสก่อนที่แสงจะไปสู่ตัวรับแสง ดังนั้นจะมีแสงที่จุดโฟกัสเท่านั้นที่นำมาสร้างเป็นสัญญาณภาพ ด้วยเหตุนี้เองภาพที่ได้จึงมีความละเอียดสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความละเอียดของภาพทางด้านความลึก เนื่องจากแสงจากบริเวณที่ตื้นหรือลึกกว่าจุดโฟกัสจะถูกกำจัดโดยรูขนาดเล็กก่อนที่จะมาถึงตัวรับแสง แต่ถึงอย่างไรการใช้รูขนาดเล็กในการจำกัดแสงที่รับเข้ามาจะทำให้ภาพมีความเข้มของแสงลดลงตามไปด้วย ดังนั้นในการใช้กล้องคอนโฟคอลจึงจำเป็นต้องเพิ่มเวลาในการเปิดหน้ากล้องให้นานขึ้น เมื่อการรับแสงเป็นการรับแสงแบบทีละจุดจากจุดโฟกัส ดังนั้นการที่จะได้ภาพ 2 มิติ จำเป็นต้องทำการสแกนการรับภาพทางแนวราบทั้งชิ้นเนื้อตัวอย่างชิ้นเนื้อแล้วนำมาประกอบกันเป็นภาพ 2 มิติที่สมบูรณ์ ในทำนองเดียวกันถ้าต้องการสร้างภาพ 3 มิติ จำเป็นต้องมีการสแกนการรับภาพทั้งทางแนวราบและแนวดิ่ง หลังจากนั้นนำข้อมูลมาสร้างเป็นภาพ 3 มิติ ที่สมบูรณ์ ความละเอียดทางด้านความลึกของจุดโฟกัสของกล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอล หมายถึง ความหนาของบริเวณที่กล้องคอนโฟคอลยอมให้แสงผ่านเข้าไปยังตัวรับแสง ค่านี้ส่วนมากจะถูกกำหนดโดยผลลัพธ์ของความยาวคลื่นแสงหารด้วยค่าของรูรับแสงของเลนวัตถุ (Numerical Aperture, N.A.) ของกล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลยกกำลังสองและคุณสมบัติทางแสงของชิ้นเนื้อ จากที่กล่าวมาการจำกัดแสงสะท้อนทางด้านความลึกของชิ้นเนื้อทำให้เราสามารถสร้างภาพ 3 มิติ โดยการเลื่อนจุดโฟกัสไปยังตำแหน่งต่างๆทั้งทางด้านแนวราบและแนวดิ่งนั่นเอง", "title": "กล้องคอนโฟคอล" }, { "docid": "531309#0", "text": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอล (English: Confocal microscope ; Confocal microscopy) เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้เทคนิคทางแสงบริเวณจุดโฟกัส (focal point) ในการถ่ายภาพเพื่อเพิ่มความละเอียด (resolution) และความคมชัด (contrast) ของภาพถ่าย โดยใช้แหล่งกำเนิดแสงแบบจุดและรูขนาดเล็กเพื่อกำจัดแสงบริเวณนอกจุดโฟกัส[1] ซึ่งเทคนิคการถ่ายภาพลักษณะนี้สามารถสร้างภาพของโครงสร้างในรูปแบบสามมิติได้ โดยใช้ภาพจากระนาบโฟกัสต่างๆ มาประกอบกัน เทคนิคนี้ได้รับความนิยมในวงการวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม โดยทั่วไปกล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอล ถูกใช้งานอยู่ในวงการวิทยาศาสตร์สำหรับสิงมีชีวิต, ชีววิทยา , วิทยาศาสตร์สำหรับสารกึ่งตัวนำ, และวัสดุศาสตร์", "title": "กล้องคอนโฟคอล" }, { "docid": "532367#2", "text": "การเกิดภาพของกล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกนเริ่มต้นจากลำแสงเลเซอร์ผ่านช่องของแล่งกำเนิดแสงแบบจุดและถูกโฟกัสด้วยเลนส์วัตถุเป็นปริมาตรของจุดโฟกัส (focal volume) ภายในหรือบนพื้นผิวของชิ้นเนื้อตัวอย่าง แสงสะท้อนจากวัตถุถูกสะท้อนกลับมายังเลนส์วัตถุอีกครั้งโดยแสงสะท้อนนี้มีความยาวคลื่นแตกต่างจากแสงที่มาจากแหล่งกำเนิดแสงแบบจุด เมื่อแสงสะท้อนเดินทางมาถึงตัวแยกแสง (beam slitter) โดยตัวแยกแสงนี้มีคุณสมบัติคือจะยอมให้แสงความยาวคลื่นหนึ่งผ่านไปได้แต่จะสะท้อนแสงอีกความยาวคลื่นหนึ่ง โดยแสงที่สามารถผ่านไปได้จะเป็นแสงจากแหล่งกำเนิดแสงแต่แสงที่สะท้อนมาจากวัตถุจะถูกสะท้อนอีกครั้งหนึ่งเพื่อผ่านไปยังรูขนาดเล็กด้านตัวรับแสง ซึ่งรูขนาดเล็กนี้จะทำการกำจัดแสงที่ไม่ได้มาจากจุดโฟกัสทำให้ได้ภาพที่คมชัดกว่ากล้องจุลทรรศน์แบบปกติ และสามารถเก็บภาพเฉพาะชั้นความลึกที่ต้องการเท่านั้น และในที่สุดจะเดินทางไปถึงตัวรับแสงแบบตัวคูณ (Photo Multiplier Tube; PMT) ซึ่งตัวรับแสงแบบตัวคูณจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า[4] โดยส่วนมากจะมีตัวกรองแสง (optical filter) ระหว่างรูขนาดเล็กกับตัวรับแสงเพื่อกรองแสงที่ไม่ต้องการออกอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดขึ้น", "title": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกน" }, { "docid": "114043#2", "text": "ลำแสงเลเซอร์ ที่ผ่านทางสื่อนำแสงจะมีความยาวคลื่นเฉพาะ และมีพลังงานเพิ่ม ซึ่งกระจกนี้จะพยายามทำให้แสงส่วนมาก สามารถผ่านทางสื่อนำแสงให้ได้ และออกมาเป็นลำแสงเลเซอร์ กระบวนการเหนี่ยวนำลำแสงเพื่อเพิ่มพลังงานนี้ จะใช้พลังงานไฟฟ้าหรือแแสงในหลายความยาวคลื่น ซึ่งในการทดลองแต่ละครั้ง ความยาวคลื่นของแสงในแต่ละความยาวคลื่น จะส่งผลโดยตรงต่อคุณสมบัติ รูปร่าง และความยาวคลื่นของลำแสงเลเซอร์ที่สร้างออกมา", "title": "เลเซอร์" }, { "docid": "114043#6", "text": "3. มีความเจิดจ้า (Brightness)\nแสงเลเซอร์มีลักษณะโดดเด่นไม่ซ้ำแหล่งกำเนิดแสงชนิดอื่นในเชิงความเข้มสูง และเมื่อลำแสงตกกระทบวัตถุ ก็เกิดความระยิบระยับของลำแสงขึ้น(Laser Speackle) โดยเฉพาะเมื่อวัตถุนั้นมีความหยาบหรือแม้แต่ในบรรยากาศที่มีฝุ่นละอองหรือควันซึ่งเป็นอนุภาคแขวนลอยอยุ่อย่างrandom ทั้งนี้เนื่องจากแสงเลเซอร์เกิดการสะท้อนแบบไม่มีทิศทางกับอนุภาค หรือผิวของวัตถุ และเกิดการแทรกสอดของลำแสง ทำให้เกิดความระยิบระยับขึ้นจึงเป็นมิติของการมองเห็นโดยใช้ Laser displays แสงเลเซอร์กำลังต่ำๆ เช่น เลเซอรืฮีเลียม-นีออน ขนาด 1 mW ก็มีความเข้มสูงกว่าแสงพระอาทิตย์ ฉะนั้นถ้าฉายเข้าตามนุษย์โดยตรงแล้ว จะเป็นอันตรายต่อนัยน์ตาถึงตาบอดได้", "title": "เลเซอร์" }, { "docid": "618657#287", "text": "จานเสียงเลเซอร์เป็นแผ่นเสียงที่เล่นโดยใช้แสงเลเซอร์เป็นตัวรับแทนเข็มปลายเพชรแบบดั้งเดิม. ระบบการเล่นนี้มีข้อได้เปรียบที่ไม่ซ้ำใครเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสทางกายภาพกับแผ่นบันทึกในระหว่างการเล่น; แทนที่จะทำอย่างนั้น, ลำแสงที่โฟกัสจะกวาดตามร่องที่สูงต่ำของสัญญาณบนไวนิลด้วยแรงเสียดทานเป็นศูนย์, แบบเดียวกับที่อ่านแผ่น CD. จานเสียงเลเซอร์ถูกคิดขึ้นเป็นครั้งแรก โดย โรเบิร์ต เอส Reis, ในขณะที่ทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านการประมวลผลสัญญาณแอนะล็อกสำหรับกองทัพอากาศสหรัฐ และกระทรวงกลาโหมสหรัฐ.[257]", "title": "ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91)" }, { "docid": "531309#5", "text": "การพัฒนาที่สำคัญที่เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของกล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกนที่ทำให้ความเร็วในการเก็บภาพสูงขึ้นได้มากกว่ามาตรฐานวีดีโอ (60 ภาพต่อวินาที) โดยการนำเอากระจกขนาดเล็กมาใช้ในการสแกนลำแสงเลเซอร์ซึ่งกระจกขนาดเล็กนี้เป็นผลของการพัฒนาของระบบไฟฟ้าเครื่องกลจุลภาค (English: Microelectromechanical Systems ; MEMS)", "title": "กล้องคอนโฟคอล" }, { "docid": "532367#3", "text": "จากที่กล่าวมาข้างต้นแสงที่ได้รับมาจากวัตถุนั้นเป็นแสงสะท้อนจากปริมาตรของจุดโฟกัส โดยแสงสะท้อนนั้นจะกลายเป็นพิกเซล (pixel) ในภาพที่เป็นผลลัพพ์สุดท้าย โดยความสว่างของภาพจะขึ้นอยู่กับความเข้มของสัญญาณแสงสะท้อน ดังนั้นหากเราต้องการภาพหนึ่งภาพ เราจะต้องทำการสแกนแบบจุดต่อจุดให้ทั่วทั้งบริเวณที่เราต้องการ แล้วนำสัญญาณแสงมาแปลงเป็นแต่ละพิกเซล ในการสแกนลำแสงเลเซอร์ให้ทั่วบริเวณที่เราต้องการภาพนั้น เราใช้กระจกที่สามารถปรับได้เพื่อสะท้อนลำแสงเลเซอร์ไปยังบริเวณที่ต้องการได้ ซึ่งการทำกระจกให้สามารถปรับได้นั้นอาจใช้มอเตอร์มาช่วยเพื่อควบคุมมุมของการสะท้อนของลำแสงเลเซอร์ วิธีการที่ใช้ในการสแกนลำแสงเลเซอร์โดยปกตินั้นเป็นวิธีการที่ตอบสนองช้าและสามารถปรับความเร็วได้ เนื่องจากกล้องจุลทรรศน์จะเก็บแสงเฉพาะที่ปริมาตรของจุดโฟกัสเท่านั้นทำให้ต้องใช้เวลาในการเปิดหน้ากล้องนานกว่ากล้องแบบปกติ ดังนั้นการที่สแกนช้าจะส่งผลดีต่อภาพคือทำให้อัตราส่วนระดับสัญญาณแสงสะท้อนต่อสัญญาณรบกวน (signal-to-noise ratio) สูงขึ้น ส่งผลให้ความคมชัดและความละเอียดของภาพสูงขึ้น", "title": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกน" }, { "docid": "14974#2", "text": "ความหมายของเครื่องพิมพ์เลเซอร์\nหมายถึง เครื่องพิมพ์แบบหนึ่งที่ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการสร้างภาพและถ่ายทอดลงสู่กระดาษด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (ทำงานคล้ายเครื่องถ่ายเอกสาร) ความ เร็วของเครื่องพิมพ์เลเซอร์นั้นวัดกันเป็นหน้าต่อนาที (ppm) เช่น 10 หน้าต่อนาที เป็นต้น (เพราะพิมพ์ครั้งละหนึ่งหน้า) ส่วนคุณภาพของการพิมพ์นั้น วัดเป็นจุดต่อนิ้ว (dpi) เช่น 600 จุดต่อ 1 นิ้ว ยิ่งมีจุดมาก แสดงว่ามีความละเอียดมาก ภาพจะคมชัดกว่าภาพที่มีจุดน้อยหรือมีความละเอียดน้อย", "title": "เครื่องพิมพ์เลเซอร์" }, { "docid": "114043#0", "text": "เลเซอร์ ( ย่อมาจากคำว่า light amplification by stimulated emission of radiation) ในทางฟิสิกส์ คือ อุปกรณ์ที่ให้กำเนิดลำแสง ที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่รวมกันระหว่างกลศาสตร์ควอนตัมกับอุณหพลศาสตร์ ซึ่งพลังงานแสงเลเซอร์ สามารถมีคุณสมบัติได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการออกแบบ เลเซอร์ส่วนมากจะเป็นลำแสงที่มีขนาดเล็ก มีการเบี่ยงเบนน้อย \" (low-divergence beam) \" และสามารถระบุความยาวคลื่นได้ง่าย โดยดูจากสีของเลเซอร์ ถ้าอยู่ในสเป็กตรัมที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า \" (visible spectrum) \" \nซึ่งเลเซอร์นี้อาจกล่าวได้ว่า เป็นการรวมพลังงานแสงที่ส่งออกมาจากหลายความยาวคลื่นเข้าด้วยกัน ", "title": "เลเซอร์" }, { "docid": "618657#313", "text": "กรรมวิธีการขึ้นรูปโลหะทางวิศวกรรมด้วยเลเซอร์แบบเลือก (English: Selective laser sintering) เป็นเทคนิคการผลิตอย่างรวดเร็วที่ใช้เลเซอร์พลังงานสูงไปหลอมละลายอนุภาคขนาดเล็กของผงพลาสติก, โลหะ, เซรามิก, หรือแก้ว ให้เป็นวัตถุที่เป็นตัวแทนของมวลวัตถุ 3 มิติที่ต้องการ. แสงเลเซอร์เลือกที่จะหลอมละลายวัสดุที่ป่นเป็นผงโดยการสแกนหน้าตัดที่เกิดจากคำอธิบายดิจิตอล 3-D ของส่วนบนพื้นผิวของเตียงผง. กรรมวิธีการขึ้นรูปโลหะทางวิศวกรรมด้วยเลเซอร์แบบเลือก ถูกคิดค้นและจดสิทธิบัตรโดย ดร. คาร์ล Deckard ที่มหาวิทยาลัยเท็กซัส ที่ออสติน ในปี 1989.[276]", "title": "ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91)" }, { "docid": "618657#122", "text": "เลเซอร์เป็นอุปกรณ์ที่ปล่อยรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การแผ่รังสีที่ถูกกระตุ้น (English: stimulated emission). แสงเลเซอร์มักจะเป็น spatially coherent ซึ่งหมายความว่าแสงถูกปล่อยออกมาทั้งในรูปของลำแสงที่แคบความแตกต่างต่ำหรือสามารถถูกแปลงให้เป็นลำแสงเดียวด้วยความช่วยเหลือขององค์ประกอบแสง เช่นเลนส์. เลเซอร์ถูกใช้ในการอ่าน CD และบาร์โค้ด, ขีปนาวุธนำวิถี, ลบรอยแผล, ผลิตเหล็ก, วัดระยะทางจากโลกไปยังดวงจันทร์อย่างแม่นยำ, ที่บันทึกภาพความละเอียดสูงของเนื้อเยื่อสมอง, สร้างความบันเทิงให้คนที่อยู่ในการแสดงของแสง และทำสิ่งอื่นๆอีกหลายพันอย่าง. ในปี 1957 Gordon Gould นักฟิสิกส์อเมริกัน เป็นคนแรกที่สร้างทฤษฎีความคิดและการใช้เทคโนโลยีเลเซอร์. แม้จะมีการสู้รบ 20 ปีกับสหรัฐอเมริกาเรื่องจดสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าสำนักงาน, โกลด์ขณะนี้ได้เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางในฐานะที่เป็นนักประดิษฐ์ดั้งเดิมของเลเซอร์.[108] นอกจากนี้, ชาร์ลส์ เอช ทาวน์ส และ อาร์เธอร์ แอล Schawlow, นักวิทยาศาสตร์ที่ห้องปฏิบัติการเบลล์ เขียนบทความ, Infrared and Optical Masers ในปี 1958 ที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อทฤษฎีของเลเซอร์. ประหลาดและน่าขัน, โกลด์ ทาวน์ส หรือ Schawlow ไม่เคยสร้างเลเซอร์ที่ทำงานได้เป็นครั้งแรก. ในวันที่ 7 กรกฎาคม 1960 นักฟิสิกส์อเมริกัน Theodore H. Maiman สร้างเลเซอร์อันแรก. แกนกลางของเลเซอร์ของเขาประกอบไปด้วยทับทิมที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางที่พร้อมทำงาน (English: active medium), วัสดุที่ได้รับการตัดสินว่าไม่เหมาะสม โดยนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆที่ปฏิเสธแกนคริสตัลเพื่อประโยชน์ของก๊าซต่างๆ.[109]", "title": "ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91)" }, { "docid": "532367#0", "text": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกน (English: Confocal laser scanning microscope ; Confocal laser scanning microscopy ; CLSM ; LSCM) เป็นกล้องจุลทรรน์แบบคอนโฟคอลที่ใช้สำหรับงานที่ต้องการภาพความละเอียดสูงและสามารถเลือกชั้นความลึกที่ต้องการเก็บภาพ[1] ซึ่งคุณสมบัติหลักของกล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกนคือ มันมีความสามารถที่จะเก็บภาพเฉพาะบริเวณจุดโฟกัสโดยสามารถเลือกระดับความลึกได้ ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า การตัดด้วยแสง (English: optical sectioning) การบันทึกภาพของกล้องชนิดนี้เป็นการเก็บสัญญาณแสงจากจุดโฟกัสทีละจุดแล้วนำสัญญาณทั้งหมดมาสร้างเป็นภาพด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยกระบวนการดังกล่าวทำให้สามารถสร้างภาพ 3 มิติ ของวัตถุที่ซับซ้อนขึ้นมาได้ โดยสำหรับวัตถุทึบแสงสามารถใช้กล้องชนิดนี้ศึกษาลักษณะของพื้นผิวใด้ ในกรณีที่เป็นวัตถุโปร่งแสงเราสามารถถ่ายภาพโครงสร้างภายในของวัตถุได้โดยใช้กล้องชนิดนี้ ซึ่งภาพที่ได้จะมีคุณภาพดีกว่าใช้กล้องทั่วไป เพราะภาพที่ได้จากระดับวามลึกที่เราต้องการนั้นจะไม่ถูกซ้อนทับโดยภาพที่ระดับความลึกอื่น ในขณะที่ภาพที่ได้จากกล้องจุลทรรศน์แบบธรรมดาจะเป็นภาพของแสงสะท้อนทั้งหมดจากทุกชั้นความลึกที่แสงสามารถทะลุผ่านลงไปได้", "title": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกน" }, { "docid": "10412#7", "text": "ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากันทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก พิต สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก \"แลนด์\" ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกแลนด์จะสะท้อนกลับ ผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น ", "title": "แผ่นซีดี" }, { "docid": "1001#15", "text": "ภาพโฮโลแกรมแบบ 3 มิติที่สร้างขึ้นด้วยการฉายแสงเลเซอร์ส่องบนวัตถุเพื่อให้ภาพตกกระทบบนหน้าจอมอนิเตอร์ที่ไวต่อแสง ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงทำให้โฮโลแกรม 3 มิติเคลื่อนไหวคล้ายกับมีชีวิตจริง แม้ว่าการสื่อสารทางไกลแบบโฮโลแกรม 3 มิติที่นำมาใช้งานแพร่หลายมากขึ้นในปัจจุบันยังไม่สามารถส่งภาพ 3 มิติแบบเรียลไทม์ไปปรากฏทั่วโลก แต่งานวิจัยในเรื่องนี้ล่าสุดมีความก้าวหน้าขึ้นอีกขั้น เมื่อ ศาสตราจารย์นาสเซอร์ เพย์แฮมมาเรียน (Nasser Peyghambarian) จากมหาวิทยาลัยแอริโซนาในสหรัฐอเมริกา และเพื่อนร่วมงาน ร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีโฮโลแกรม สามารถฉายภาพ 3 มิติที่มองเห็นได้เกือบ 360 องศา จากสถานที่อื่นทั่วโลก และมีการปรับเปลี่ยนภาพใหม่ทุก 2 วินาที", "title": "ฮอโลกราฟี" }, { "docid": "114043#20", "text": "การสื่อสารในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้คลื่นไมโครเวฟ หรือใช้โทรศัพท์ อย่างไรก็ตามหลังจากที่มีการพัฒนาเลเซอร์ไดโอด (semiconductor diode laser) และเส้นใยแก้วนำแสง (optical fiber) แล้วการสื่อด้วยแสง (optical communication) หรือการส่งข้อมูลข่าวสารจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งหรือระหว่างเมืองต่างๆ ก็เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ในอนาคตการสื่อสารด้วยเลเซอร์จะเข้ามาแทนที่ระบบโทรศัพท์ที่ใช้ลวดตัวนำที่ใช้กันอยู่ทั่วไป แสงเลเซอร์นี้มีจุดเด่นที่จะไม่มีสัญญาณรบกวนเพราะเป็นคลื่นแสง มีความจุข้อมูลสูงมากเพราะมีความถี่สูงกว่าคลื่นวิทยุ ทำให้เส้นใยแก้วนำแสงเส้นหนึ่งสามารถจุคู่สายโทรศัพท์ได้เป็นพันๆคู่", "title": "เลเซอร์" }, { "docid": "532367#7", "text": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกนนั้นใช้แหล่งกำเนิดแสงเลเซอร์แบบจุดแล้วโกัสลำแสงเลเซอร์ไปยังชิ้นเนื้อตัวอย่าง ดังนั้นปริมาตรในการสแกนและความเข้มของแสงสะท้อนในการสแกนแต่ละจุดนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของจุดโฟกัส (spot size) ของระบบแสง เพราะว่าจุดโฟกัสที่เกิขึ้นจริงไม่ใช่จุดที่มีขนาดเล็กมากเช่นในอุดมคติ แต่มีขนาดแบบ 3 มิติในรูปแบบของการกระจายแสง ในกล้องจุลทรรศน์แบบนั้นขนาดของจุดโฟกัสขึ้นอยู่กับ Numerical Aperture (N.A.) ของเลนส์วัตถุและความยาวคลื่นของแสงเลเซอร์ที่นำมาใช้ อย่างไรกล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกนนั้นสามารถกำจัดรูปแบบการเบี่ยงเบนลำแสงลำดับสูงๆลำแสง (higher order of difdfraction pattern) ที่มีผลต่อภาพได้ โดยการลดขนาดของรูรับแสงลง อย่างเช่นถ้าเราลดขนาดของรูรับแสงลงเหลือ 1 Airy unit จะทำให้แสงที่ผ่านมายังตัวรับแสงเป็นรูปแบบการเบี่ยงเบนลำแสงลำดับแรก (first order of difraction pattern) เท่านั้น ทำให้ภาพมีความคมชัดสูงขึ้นโดยแลกกับแสงที่มีความเข้มลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในการถ่ายภาพฟลูออเรสเซ็นต์ข้อจำกัดเพียงอย่างเดียวคืออัตราส่วนระดับสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน (signal to noise ratio) เพราะว่าแสงที่ผ่านเข้ามายังตัวรับแสงน้อย แต่ก็ยังมีวิธีการแก้ไขปัญหานี้อยู่คือ ใช้ตัวรับแสงที่มีความไวสูง หรือเพิ่มความเข้มของแหล่งกำเนิดแสง แต่การเพิ่มความเข้มของแหล่งกำเนิดแสงอาจทำให้อายุของการสะท้อนแสงของสีย้อมฟลูออเรสเซ็นหมดลงเร็ว หรืออาจทำลายชิ้นเนื้อได้", "title": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกน" }, { "docid": "136166#63", "text": "ในการรักษาแบบ MRgFUS, ลำแสงอัลตราซาวนด์จะโฟกัสไปที่เนื้อเยื่อ--ที่ถูกนำทางและควบคุมโดยการใช้ MR ถ่ายภาพด้วยความร้อน และเนื่องจากการสะสมพลังงานอย่างมีนัยสำคัญที่จุดโฟกัส, อุณหภูมิภายในเนื้อเยื่อจะเพิ่มขึ้นถึงกว่า 65 °C (150 °F), ทำลายมันอย่างสมบูรณ์. เทคโนโลยีนี้ทำให้สามารถลอกเนื้อเยื่อที่เป็นโรคได้แม่นยำ. การถ่ายภาพด้วย MR จะให้มุมมองสามมิติของเนื้อเยื่อเป้าหมาย, เพื่อให้สามารถโฟก้สได้อย่างแม่นยำไปที่พลังงานอัลตราซาวนด์. การถ่ายภาพ MR จะให้พื้นที่ที่จะได้รับการรักษาด้วยปริมาณ, เวลาจริง, และภาพความร้อน. ภาพนี้จะช่วยให้แพทย์แน่ใจว่าอุณหภูมิที่เกิดขึ้นในระหว่างแต่ละรอบของพลังงานอัลตราซาวด์จะเพียงพอที่จะทำให้เกิดการลอกด้วยความร้อนภายในเนื้อเยื่อที่ต้องการและถ้าไม่, เพื่อปรับพารามิเตอร์เพื่อให้แน่ใจว่าการรักษามีประสิทธิภาพ[100].", "title": "การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก" }, { "docid": "618657#270", "text": "เลเซอร์บบแบบไอโอดีนออกซิเจนเคมี (English: chemical oxygen iodine laser (COIL)) เป็น เลเซอร์สารเคมีอินฟราเรดแบบหนึ่ง, ถูกคิดค้นโดยห้องปฏิบัติการฟิลลิป ของกองทัพอากาศสหรัฐในปี 1977 เพื่อวัตถุประสงค์ทางทหาร. คุณสมบัติของมันมีประโยชน์สำหรับกระบวนการทางอุตสาหกรรมเช่นกัน. ลำแสงสามารถโฟกัสและสามารถถ่ายโอนโดยใยแก้วนำแสง, เนื่องจากความยาวคลื่นของมันจะไม่ถูกดูดซึมมากโดยซิลิกาหลอมเหลว แต่จะถูกดูดซึมได้ดีโดยโลหะ, ทำให้มันเหมาะสำหรับการตัดและการขุดเจาะด้วยเลเซอร์. COIL เป็นอาวุธเลเซอร์หลักสำหรับเลเซอร์ทหารทางอากาศและโปรแกรมเลเซอร์ยุทธวิธีขั้นสูง.[240]", "title": "ลำดับสิ่งประดิษฐ์ของสหรัฐ (ค.ศ. 1946–91)" }, { "docid": "532367#4", "text": "การเก็บภาพที่ระดับความลึกต่างๆของวัตถุนั้นทำได้โดยการปรับความสูงของฐานของกล้องจุลทรรศน์หรือปรับระดับความสูงของเลนส์วัตถุเพื่อเปลี่ยนตำแหน่งของจุดโฟกัสให้ต่ำลงหรือสูงขึ้น เมื่อเราได้ภาพ 2 มิติ ที่ระดับความลึกต่างๆแล้ว เมื่อเรานำภาพต่างๆมาประกอบกันโดนเรียงเป็บชั้นๆเราจะได้ภาพโครงสร้างแบบ 3 มิติ[5]", "title": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกน" }, { "docid": "532367#12", "text": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกนยังมีการนำไปใช้ในการอ่านข้อมูลในระบบการเก็บข้อมูลโดยใช้แสงแบบ 3 มิติ (3D optical data storage)", "title": "กล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลชนิดที่ใช้เลเซอร์ในการสแกน" } ]
3295
โรควิตกกังวลไปทั่ว มีตัวย่อภาษาอังกฤษคืออะไร?
[ { "docid": "837390#0", "text": "โรควิตกกังวลไปทั่ว ( ตัวย่อ GAD) หรือโรควิตกกังวลทั่วไปเป็นโรควิตกกังวลอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความกังวลที่เกินควร ควบคุมไม่ได้ และบ่อยครั้งไม่สมเหตุผล เป็นความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือกิจกรรมต่าง ๆ\nซึ่งมักจะขวางชีวิตประจำวัน เพราะคนไข้มักคิดว่าจะมีเหตุการณ์ร้าย หรือกังวลมากเกินไปเกี่ยวกับเรื่องทั่ว ๆ ไป เช่น สุขภาพ การเงิน ความตาย ปัญหาครอบครัว ปัญหากับเพื่อน ปัญหากับคนอื่น หรือปัญหาการงาน", "title": "โรควิตกกังวลไปทั่ว" }, { "docid": "837390#1", "text": "คนไข้มักจะมีอาการทางกายต่าง ๆ รวมทั้ง\nความล้า อยู่ไม่สุข ปวดหัว คลื่นไส้ มือเท้าชา กล้ามเนื้อเกร็ง ปวดกล้ามเนื้อ\nกลืนไม่ลง มีกรดในกระเพาะมาก ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย หายใจไม่ออก ไม่มีสมาธิ\nสั่น กล้ามเนื้อกระตุก หงุดหงิด กายใจไม่สงบ นอนไม่หลับ หน้าหรือตัวร้อน (hot flashes) เป็นผื่น และไม่สามารถควบคุมความกังวลได้\nอาการเหล่านี้ต้องสม่ำเสมอและคงยืนอย่างน้อย 6 เดือนเพื่อที่จะวินิจฉัยว่าเป็น GAD", "title": "โรควิตกกังวลไปทั่ว" }, { "docid": "248497#1", "text": "โรควิตกกังวลไปทั่ว (Generalized anxiety disorder, GAD) เป็นโรคที่สามัญ เรื้อรัง กำหนดโดยความวิตกกังวลที่ดำรงอยู่นานโดยไม่ได้เพ่งไปที่เรื่องหรือสถานการณ์ใดโดยเฉพาะ\nคนไข้กลัวและกังวลอย่างไม่เฉพาะเจาะจงและเป็นห่วงเรื่องชีวิตประจำวันมากเกินไป\nตามหนังสือจิตวิทยาเล่มหนึ่ง GAD \"กำหนดโดยความกังวลมากเกินไปที่เรื้อรังตามด้วยอาการ 3 อย่างหรือมากกว่านั้นดังต่อไปนี้ คือ อยู่ไม่สุข ล้า ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด กล้ามเนื้อเกร็ง และมีปัญหาการนอน\"", "title": "โรควิตกกังวล" }, { "docid": "248497#74", "text": "เด็กก็เหมือนผู้ใหญ่เพราะสามารถมีโรควิตกกังวลได้หลายประเภท รวมทั้ง\nโรควิตกกังวลไปทั่ว (GAD) - เด็กจะกังวลกับหลาย ๆ เรื่องอย่างคงยืน และความกังวลอาจปรับเข้ากับสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น หรืออาจมีมูลฐานเพียงแค่จินตนาการแต่ยังไม่ได้เกิดจริง ๆ\nการปลอบโยนมักจะไม่ค่อยได้ผล", "title": "โรควิตกกังวล" }, { "docid": "813101#32", "text": "องค์การสาธารณสุขของสหราชอาณาจักร NICE แนะนำให้ใช้ยาแก้ซึมเศร้ารักษาโรควิตกกังวลทั่วไป (generalized anxiety disorder ตัวย่อ GAD) ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบอนุรักษ์เช่นการให้การศึกษาและช่วยตนเอง\nGAD เป็นโรคสามัญที่อาการสำคัญก็คือ ความวิตกกังวลเกินไปเกี่ยวกับเหตุการณ์และปัญหาหลายอย่าง และความลำบากในการควบคุมความคิดที่ทำให้เป็นห่วงที่คงยืนอย่างน้อยเป็นระยะ 6 เดือน", "title": "ยาแก้ซึมเศร้า" }, { "docid": "837390#34", "text": "นอกจากจะเกิดร่วมกับโรคซึมเศร้าแล้ว งานวิจัยแสดงว่า GAD ยังบ่อยครั้งเกิดร่วมกับโรคอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับความเครียด เช่น กลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น (IBS)\nคนไข้ GAD บางครั้งจะมีอาการนอนไม่หลับ หรือปวดหัว ร่วมกับความเจ็บปวด ปัญหาโรคหัวใจ หรือปัญหาความสัมพันธ์กับคนอื่น\nงานวิจัยอื่นแสดงว่า คนไข้โรคสมาธิสั้น (ADHD) 20-40% มีโรควิตกกังวลเป็นโรคร่วม โดยมี GAD สามัญที่สุด", "title": "โรควิตกกังวลไปทั่ว" }, { "docid": "837390#12", "text": "ส่วน DSM-IV เปลี่ยนนิยามของคำว่า ความกังวลเกินควร (excessive worry) และกำหนดอาการทางกายจิตอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับโรคเพื่อเป็นเกณฑ์วินิจฉัย\nนอกจากนั้นแล้ว DSM-IV ยังกำหนดให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าอาการเช่นไรเรียกว่าเกิดขึ้น \"บ่อย\" (often)\nDSM-IV บังคับว่า การมีปัญหาควบคุมความกังวลควรวินิจฉัยว่าเป็น GAD แต่ DSM-5 เน้นว่า ความกังวลเกินต้องเกิดขึ้นมากวันกว่าไม่เกิด และเน้นเรื่องอื่น ๆ อีก", "title": "โรควิตกกังวลไปทั่ว" } ]
[ { "docid": "837390#5", "text": "ในงานศึกษาระหว่างปี 2531-2533 โรคในคนไข้ประมาณครึ่งหนึ่งที่หาหมอคลินิกสุขภาพจิตในโรงพยาบาลประเทศอังกฤษ สำหรับโรควิตกกังวลรวมทั้งโรคตื่นตระหนก โรคกลัวสังคม (SAD) ระบุว่าเป็นผลของการติดเหล้าหรือยา benzodiazepine\nในคนไข้เหล่านี้ แม้ว่าอาการวิตกกังวลจะแย่ลงในระยะต้น ๆ ของการอดเหล้า/ยา แต่ว่าในที่สุดอาการก็หายไป\nบางครั้ง ความกังวลก็มีอยู่ก่อนการเริ่มติดเหล้า/ยาแล้ว แต่ว่า การติดทำให้โรควิตกกังวลคงยืนและบ่อยครั้งทำให้แย่ลง ๆ\nการฟื้นตัวจากการติดยามักจะใช้เวลานานกว่าการติดเหล้า แต่ในที่สุดก็จะได้สุขภาพคืนมา", "title": "โรควิตกกังวลไปทั่ว" }, { "docid": "248497#46", "text": "ในภาษาอังกฤษทั่วไป คำว่า \"anxiety\" และ \"fear\" มักใช้แทนกันได้\nแต่ในการแพทย์ ทั้งสองมีความหมายต่างกัน คือ ความวิตกกังวล (anxiety) เป็นสภาวะทางอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ โดยไม่สามารถระบุสาเหตุได้หรือรู้สึกว่าควบคุมและหลีกเลี่ยงไม่ได้ เทียบกับ ความกลัว (fear) ซึ่งเป็นการตอบสนองทางสรีรภาพและทางอารมณ์ต่อภัยภายนอกที่ระบุได้\nส่วนคำว่า โรควิตกกังวล (anxiety disorder) รวมทั้งความกลัว (เช่นโรคกลัวต่าง ๆ) และความวิตกกังวลเข้าด้วย\nแบบวัดมาตรฐานทางคลินิก เช่น Taylor Manifest Anxiety Scale หรือ Zung Self-Rating Anxiety Scale สามารถใช้ตรวจจับอาการวิตกกังวล แล้วแนะว่าแพทย์ควรจะประเมินวินิจฉัยโรคเพิ่มขึ้นหรือไม่", "title": "โรควิตกกังวล" }, { "docid": "837390#32", "text": "หลักฐานที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แสดงว่า คนไข้ที่มีโรคซึมเศร้าร่วมกับโรควิตกกังวลมักจะมีอาการหนักกว่าและตอบสนองต่อการรักษาน้อยกว่าคนไข้ที่มีโรคเพียงอย่างเดียว\nนอกจากนั้นแล้ว การดำเนินชีวิตทางสังคมและคุณภาพชีวิตก็แย่กว่ามาก\nแต่สำหรับคนเป็นจำนวนมาก อาการทั้งของโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวลไม่รุนแรงพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคอย่างใดอย่างหนึ่ง\nแต่ dysthymia ซึ่งเป็นความผิดปกติทางอารมณ์อย่างหนึ่ง ก็ยังเป็นโรคร่วมชุกที่สุดในคนไข้ GAD\nคนไข้ยังสามารถจัดได้ว่าเป็นโรคผสมระหว่างโรควิตกกังวล-โรคซึมเศร้า (mixed anxiety-depressive disorder)\nซึ่งเสี่ยงต่อโรควิตกกังวลหรือโรคซึมเศร้าอย่างเต็มตัวสูงขึ้นอย่างสำคัญ", "title": "โรควิตกกังวลไปทั่ว" }, { "docid": "248497#76", "text": "โรคกลัวการเข้าสังคม (social anxiety disorder) ไม่ควรสับสนกับความขี้อายหรือบุคลิกแบบสนใจต่อสิ่งภายใน (introversion)\nความขี้อายบ่อยครั้งปกติ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ๆ\nแต่เด็กโรควิตกกังวลบ่อยครั้งอยากจะร่วมกิจกรรมทางสังคม (ไม่เหมือนกับผู้ที่มีบุคลิกแบบสนใจสิ่งภายใน) แต่ไม่กล้า เพราะกลัวว่าเพื่อนจะไม่ชอบเกินเหตุ\nเด็กบ่อยครั้งจะบอกตัวเองว่าทำให้คนอื่นรู้สึกไม่ดี ซึ่งอาจจะขัดกับหลักฐานที่มี\nและในระยะยาว อาจจะทำให้เกิดโรคกลัวสถานการณ์ทางสังคม\nแต่ว่า โรคชนิดนี้มักเป็นกับเด็กที่โตกว่าหรือเด็กก่อนวัยรุ่นมากกว่าเด็กที่อายุน้อยกว่า\nโรคกลัวสังคมในเด็กอาจมีเหตุจากประสบการณ์สะเทือนใจ เช่น ไม่รู้คำตอบเมื่อครูถามในชั้นเรียน", "title": "โรควิตกกังวล" }, { "docid": "248497#8", "text": "อาการกลัวที่โล่ง (Agoraphobia) เป็นความวิตกกังวลเรื่องอยู่ในสถานที่หรือสถานการณ์ที่การหลบออกเป็นเรื่องยากหรือน่าอาย หรือว่าอาจไม่มีใครช่วยได้\nอาการกลัวที่โล่งสัมพันธ์กับโรคตื่นตระหนก และบ่อยครั้งจะเริ่มด้วยความกลัวว่าจะมีการจู่โจมโดยการตื่นตระหนก (panic attack)\nลักษณะที่สามัญก็คือต้องเห็นประตูหรือทางหนีอื่น ๆ ตลอดเวลา", "title": "โรควิตกกังวล" } ]
2690
สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ออกอากาศครั้งแรกเมื่อไหร่?
[ { "docid": "34424#0", "text": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (English: Royal Thai Army Radio and Television; ชื่อย่อ: ททบ.) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television) ของกองทัพบกไทย และเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่สองของประเทศไทย เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2501 ในระบบวีเอชเอฟ เดิมออกอากาศเป็นภาพขาวดำ ทางช่องสัญญาณที่ 7 จึงเรียกว่า สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ททบ.7) หรือ ช่อง 7 (ขาว-ดำ) ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 จึงย้ายมาออกอากาศด้วยภาพสี ทางช่องสัญญาณที่ 5 จึงเรียกว่า สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ททบ.5) จนถึงปัจจุบัน มี พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานกรรมการบริหารกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์กองทัพบก และ พลเอก กิตติเชษฐ์ ศรดิษฐพันธ์ เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่", "title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก" } ]
[ { "docid": "681750#2", "text": "หลังจากที่เรื่อง \"รักแล้ว รักเลย\" อวสานลง ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกก็ได้แบ่งช่วงวันการออกอากาศละครของทางค่ายออกเป็น 2 ช่วง 2 เรื่อง คือวันจันทร์-อังคาร 1 เรื่อง และวันพุธ-ศุกร์ 1 เรื่อง เวลา 20.10 - 21.10 น.ต่อมาในเดือนสิงหาคม ได้ลดเวลาละครเหลือจันทร์ - อังคาร 1 เรื่อง และวันพุธ-พฤหัสบดี 1 เรื่อง โดยที่ในวันศุกร์ ทางบริษัท เอ็กแซกท์ ได้นำรายการ ดารามหาชน มาออกอากาศแทน", "title": "รายชื่อละครโทรทัศน์ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก" }, { "docid": "595874#0", "text": "อนิลทิตา เป็นนวนิยายลึกลับของตรี อภิรุม แนวชีวิต, จินตนิมิต และลึกลับ นำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์มาแล้ว 3 ครั้ง ครั้งแรกสร้างโดย ดาราฟิล์ม ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 นำแสดงโดย จารุวรรณ ปัญโญภาส ในบท อนิลทิตา และ โฉมสุรางค์ และสองครั้งสุดท้าย ออกอากาศที่ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5", "title": "อนิลทิตา" }, { "docid": "871316#0", "text": "สปริงเรดิโอ () เป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงในระบบเอฟเอ็ม ผลิตโดย บริษัท นิวส์ เน็ตเวิร์ค มัลติมีเดีย จำกัด ในเครือบริษัท สปริงนิวส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ดำเนินรายการจากห้องส่งวิทยุบนอาคารเล้าเป้งง้วน ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร แล้วจึงถ่ายทอดสดออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียง 1 ปณ. ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ระบบเอฟเอ็ม ความถี่ 98.5 เมกะเฮิร์ตซ์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (คลืนความถี่ดังกล่าวปัจจุบันโอนให้กับบริษัทมีเดีย สตูดิโอ จำกัด ดำเนินรายการบันเทิงในชื่อ \"กู๊ดไทม์เรดิโอ\" แต่ยังคงมีการถ่ายทอดคลื่นความถี่เสียงรายการข่าวจากสถานีโทรทัศน์เช่นเดิม เพียงแต่รับสัญญาณจากสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7) ทั้งนี้ สถานีออกอากาศทางออนไลน์ระยะหนึ่ง ก่อนจะกลับมาถ่ายทอดสดออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียง ขสทบ. ของกองทัพบก ระบบเอฟเอ็ม ความถี่ 102.0 เมกะเฮิร์ตซ์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน โดยรูปแบบการนำเสนอ ส่วนมากเป็นการรับสัญญาณถ่ายทอดเสียง จากรายการโทรทัศน์ประเภทข่าว และเหตุการณ์ปัจจุบัน ที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ อีกส่วนหนึ่งเป็นรายการวิทยุ ที่มีกลุ่มผู้ประกาศข่าวและพิธีกรของสปริงนิวส์ รวมถึงจากผู้ผลิตที่ร่วมทุนกับสถานีฯ เป็นผู้ดำเนินรายการ", "title": "สปริงเรดิโอ" }, { "docid": "681750#4", "text": "ในช่วงละครเรื่อง เจ้าแม่จำเป็น ออกอากาศ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ได้มีการจัดผังรายการประจำปี 2556 ใหม่โดยได้ทำการยืดช่วงเวลารายการของเอ็กแซ็กท์จากเดิม 1 ชั่วโมงต่อวันมาเป็น 1 ชั่วโมง 30 นาทีต่อวัน ทำให้เอ็กแซ็กท์มีเวลาในการฉายละครต่อตอนเพิ่มมากขึ้น เอ็กแซ็กท์จึงเริ่มเปลี่ยนเวลาออกอากาศมาเป็นทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 20.10 - 21.40 น. ตั้งแต่วันอังคารที่ 1 มกราคม 2556 - 22 มกราคม 2556 ส่วนในวันพุธ-พฤหัส เอ็กแซ็กท์ได้นำละครเรื่อง บ่วงวันวาร มาฉายเพิ่มตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2556 จึงทำให้ละครหลังข่าวของเอ็กแซ็กท์มี 2 เรื่องต่ออาทิตย์ไปในที่สุด", "title": "รายชื่อละครโทรทัศน์ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก" }, { "docid": "213584#6", "text": "สาระแน แปซิฟิค ได้ผลิตรายการต่างๆ เป็นจำนวนกว่า 20 รายการ ทั้งเกมโชว์ วาไรตี้โชว์ รายการวันหยุดนักขัตฤกษ์ เพื่อนำเสนอออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์, สถานีโทรทัศน์ไอทีวี, สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี, สถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์ ทีวี, สถานีโทรทัศน์จีเอ็มเอ็มแชนเนล, สถานีโทรทัศน์ช่องวัน และสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, ไลน์ทีวี ปัจจุบันสาระแน แปซิฟิคมีรายการโทรทัศน์ที่กำลังออกอากาศอยู่เป็นจำนวน 4 รายการ เป็นรายการประเภทเกมโชว์ วาไรตี้โชว์ และวาไรตี้คอเมดี้โชว์ ออกอากาศทางช่อง 9MCOT HD ช่องไทยรัฐทีวี HD ช่อง 8 และช่อง7 HD (รายการที่กำลังออกอากาศอยู่ เน้น ตัวหนา)", "title": "ลักษ์ 666" }, { "docid": "170942#2", "text": "ในสมัยนั้นในช่วงที่มีการแข่งขันในด้านละครจักรๆ วงศ์ๆ มีคู่แข่งทั้ง 7 ช่องรายการ เช่น สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์, สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย, สถานีโทรทัศน์ไอทีวี, สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี, และ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส มักจะแข่งขันกันที่เวลา ฐานการรับชม และการออกอากาศเป็นส่วนใหญ่ ในปัจจุบันนี้ ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 9 ช่อง 11 ช่อง NBT ไอทีวี ทีไอทีวี และ ไทยพีบีเอส ยุติการออกอากาศละคร จักร์ๆ วงศ์ๆ แล้วสาเหตุมาจากฐานการรับชมมีน้อย", "title": "ละครจักร ๆ วงศ์ ๆ" }, { "docid": "4801#8", "text": "ในระยะแรก แพร่ภาพทุกวันอังคาร, วันพฤหัสบดี, วันเสาร์ และวันอาทิตย์ ระหว่างเวลา 18:30-23:00 น. ต่อมาเพิ่มวันและเวลาออกอากาศ มากขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ รัฐบาลในสมัยนั้น มักใช้<b data-parsoid='{\"dsr\":[9069,9101,3,3]}'>สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ถ่ายทอดการปราศรัย ของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี, เผยแพร่ผลงานของรัฐบาล, ถ่ายทอดการประชุมรัฐสภา ตลอดจนถ่ายทอดสดงานเฉลิมฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ในปี พ.ศ. 2500 แต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น จึงสั่งการให้กองทัพบก จัดตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้น อีกแห่งหนึ่งคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ภาพขาวดำ; ปัจจุบันคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5) ในระหว่างปี พ.ศ. 2500-2501", "title": "เอ็มคอตเอชดี" }, { "docid": "34424#27", "text": "รายชื่อละครโทรทัศน์ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก กองทัพบกไทย ไทยทีวีโกลบอลเน็ตเวิร์ก สถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เอ็มคอตเอชดี สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส", "title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก" }, { "docid": "681750#0", "text": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก เป็นช่องโทรทัศน์ที่มีรายการต่าง ๆ อีกมากมาย รวมไปถึงละครที่มีมากมายหลายเรื่องและหลายช่วงเวลา เมื่อมีละครเรื่องหนึ่งจบหรืออวสานไปก็จะมีละครแต่ละเรื่องจะมีนักแสดงนำและบทละครที่แตกต่างกันไป นอกจากนี้ ละครทาง ททบ.5 ที่อวสานไปเมื่อประมาณ 1 ปีครึ่ง ถึง 3 ปีที่แล้ว จะถูกนำมาออกอากาศอีกครั้งในช่วงเวลาตอนบ่ายในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ด้วย", "title": "รายชื่อละครโทรทัศน์ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก" }, { "docid": "82514#1", "text": "ชิงร้อยชิงล้าน เป็นรายการโทรทัศน์ลำดับที่ 2 ที่ผลิตโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) โดยออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2533 ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 หลังจากนั้นได้ย้ายไปออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2541 หลังจากนั้นได้ย้ายไปออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ตั้งแต่วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2541 และกลับมาออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 อีกครั้ง เมื่อวันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2549 โดยมี บริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด (มหาชน) ร่วมผลิตด้วยจนถึง พ.ศ. 2552 และกลับมาออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อีกครั้ง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 จนปัจจุบันได้ย้ายมาออกอากาศทาง ช่องเวิร์คพอยท์ ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน" }, { "docid": "177143#4", "text": "การุณ เก่งระดมยิง ได้รับทุนรัฐบาล ไปศึกษาต่อด้านวิศวกรรมเครื่องยนต์ มีความชำนาญพิเศษด้านเทคนิคต่างๆ และด้านวิทยุโทรทัศน์ แล้วกลับมารับราชการทหารที่กระทรวงกลาโหม กระทั่งกองทัพบกได้มอบหมายให้ร.อ.การุณ (ยศขณะนั้น) เป็นผู้จัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก จส.ของกรมการทหารสื่อสาร ซึ่งเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบกแห่งแรก ติดตั้งเครื่องส่ง ดูแลการออกอากาศ และเป็นโฆษกออกอากาศ ด้วยการเปิดเพลง และอ่านข่าว ต่อมามีการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก แบบขาวดำ และพันเอก (พิเศษ) การุณได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการคัดเลือกระบบ และนำระบบโทรทัศน์สี เข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งแรก", "title": "การุณ เก่งระดมยิง" }, { "docid": "583513#1", "text": "ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 และสถานีโทรทัศน์ ททบ. 5 HD1 ทุกวันจันทร์ - อังคาร เวลา 20:25–21:40 น. เริ่มตอนแรกวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2557–8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 และตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ได้ปรับเวลามาเป็น 20:10-21:25 น. และล่าสุดทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ได้นำละครเรื่องนี้มาออกอากาศรีรันให้ชมอีกครั้งทุกวันจันทร์–อังคาร เวลา 20:10–21:25 น.โดยออกอากาศต่อจากละครเรื่อง คุ้มนางครวญ", "title": "เล่ห์นางฟ้า" }, { "docid": "230186#7", "text": "เอ็กแซ็กท์และซีเนริโอ ได้ผลิตรายการโทรทัศน์และละครโทรทัศน์ต่างๆ ทั้งเกมโชว์ ควิซโชว์ เกมโชว์สำหรับเด็กและเยาวชน ทอล์คโชว์ วาไรตี้โชว์ วาไรตี้โชว์ซิตคอม ละครโทรทัศน์ ละครซิทคอม ละครซีรีส์ และเรียลลิตี้โชว์เป็นจำนวนกว่า 250 รายการ เพื่อนำเสนอออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์, สถานีโทรทัศน์ไอทีวี และสถานีโทรทัศน์วัน ปัจจุบันเอ็กแซ็กท์และซีเนริโอมีรายการโทรทัศน์และละครโทรทัศน์ที่กำลังออกอากาศอยู่เป็นจำนวน 12 รายการ เป็นรายการประเภทเกมโชว์ วาไรตี้โชว์ ละครโทรทัศน์และละครซิตคอม ออกอากาศทางช่องวัน 31", "title": "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์" }, { "docid": "213584#2", "text": "บริษัทฯ เริ่มผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทวาไรตี้โชว์ คือรายการสาระแนโชว์ ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เป็นรายการแรกเมื่อปี พ.ศ. 2541 ต่อมาได้ขยายการผลิตรายการในหลากหลายรูปแบบ และหลายสถานี เพื่อนำเสนอออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์, สถานีโทรทัศน์ไอทีวี, สถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์ ทีวี, สถานีโทรทัศน์จีเอ็มเอ็มแชนเนล, สถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี , สถานีโทรทัศน์ช่องวันและ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 มาโดยตลอดเป็นระยะเวลา 17 ปี เช่นเกมโชว์, ทอล์คโชว์, วาไรตี้โชว์ และรายการวันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยบางรายการจะมีผู้ผลิตรายการรายอื่น เช่น กันตนา กรุ๊ป จันทร์ 25 ,ดี.ด็อกคิวเมนทารี่ และมีเดีย สตูดิโอ และมีบริษัทด้านสื่อต่างๆ ทั้ง สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ ค่ายเพลง ภาพยนตร์ เป็นต้น", "title": "ลักษ์ 666" }, { "docid": "528100#1", "text": "ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ทุกวันจันทร์–อังคาร เวลา 20:10–21:40 นาฬิกา ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556–9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 และออกอากาศรีรันทางแอ็กซ์ แชนแนล ทุกวันจันทร์–อังคาร เวลา 09:00, 18:30, 22:30 นาฬิกา ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556–6 สิงหาคม พ.ศ. 2556 และล่าสุดทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ได้นำละครเรื่องนี้มาออกอากาศรีรันให้ชมอีกครั้งทุกวันจันทร์–อังคาร เวลา 20:10–21:25 น. ", "title": "เรือนเสน่หา" }, { "docid": "34424#1", "text": "ราวปี พ.ศ. 2495 กระทรวงกลาโหมออกข้อบังคับ ว่าด้วยการมอบหมายงานแก่เจ้าหน้าที่กองทัพบก โดยกำหนดให้กรมการทหารสื่อสาร (สส.) จัดตั้งแผนกกิจการวิทยุโทรทัศน์ ขึ้นตรงต่อกองการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 มีการกำหนดอัตรากำลังพลประจำแผนกโทรทัศน์ ในอัตราเฉพาะกิจ สังกัดกรมการทหารสื่อสาร จำนวน 52 นาย เพื่อปฏิบัติงาน ออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ผลิตและถ่ายทอดรายการโทรทัศน์ จากนั้นในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการดำเนินการวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ประกอบด้วย พลเอกไสว ไสวแสนยากร เป็นประธานกรรมการ และพันเอก (พิเศษ) การุณ เก่งระดมยิง เป็นเลขานุการ มีหน้าที่จัดทำ<i data-parsoid='{\"dsr\":[3870,3914,2,2]}'>โครงการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก พร้อมทั้งวางแผนการอำนวยการ และควบคุมการดำเนินกิจการวิทยุโทรทัศน์ รวมถึงมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติงานให้ได้ผลตามที่ราชการทหารมุ่งหมาย ต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน มีพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ในบริเวณกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ สนามเป้า ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โดยทำสัญญายืมเงินกับกองทัพบก เพื่อเป็นทุนในการก่อสร้าง และจัดหาอุปกรณ์ จำนวน 10,101,212 บาท สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ชื่อสากล: ATV รหัส: HSATV ชื่อย่อ: ททบ.7) เริ่มต้นออกอากาศเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2501 จากอาคารสวนอัมพร เป็นภาพขาวดำ ใช้ระบบเอฟซีซี (Federal Communication Committee) 525 เส้น ทางช่องสัญญาณที่ 7 ด้วยเครื่องส่งออกอากาศ กำลังส่ง 5 กิโลวัตต์ และทวีกำลังเพิ่มขึ้นอีก 12 เท่า บนสายอากาศสูง 300 ฟุต รวมกำลังส่งออกอากาศทั้งสิ้น 60 กิโลวัตต์ จึงเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยแห่งที่สอง ต่อจากสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) ต่อมา เมื่อก่อสร้างของอาคารสถานีเสร็จสมบูรณ์ จึงเริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการในทุกวันพุธ แล้วจึงเพิ่มวันจันทร์และวันศุกร์ในระยะถัดมา โดยรายการส่วนมากเป็นสารคดีและภาพยนตร์ต่างประเทศ จากนั้นในปี พ.ศ. 2506 ททบ.ตั้งสถานีทวนสัญญาณเป็นแห่งแรก บนยอดเขาวงพระจันทร์ อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี โดยใช้เครื่องทรานสเลเตอร์ถ่ายทอดสัญญาณ เริ่มจากถ่ายทอดการฝึกทหารในยามปกติ ซึ่งมีชื่อรายการว่า การฝึกธนะรัชต์ ทั้งนี้ เริ่มจัดรายการภาคกลางวัน ในปีเดียวกันนี้ด้วย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทอดพระเนตรกิจการ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2508 นอกจากนี้ ททบ.5 ยังเริ่มจัดตั้ง สถานีวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม ความถี่ 94.0 เมกะเฮิร์ตซ์ ในปีเดียวกันนี้ โดยในระยะแรกเป็นการถ่ายทอดเสียงภาษาอังกฤษ จากฟิล์มภาพยนตร์ที่ออกอากาศทาง ททบ. และเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ททบ.ร่วมกับสถานีโทรทัศน์อีก 3 แห่งในขณะนั้น ก่อตั้ง โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: ทรท., ทีวีพูล) เพื่ออำนวยการปฏิบัติงาน ระหว่างสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ททบ.ตั้งสถานีทวนสัญญาณเพิ่มเติม ที่จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดนครราชสีมา โดยเปลี่ยนมาใช้ระบบไมโครเวฟแทน จากนั้น ททบ.5 ปรับปรุงระบบเครื่องส่งโทรทัศน์ จากเดิมที่ใช้ระบบ 525 เส้น ภาพขาวดำ ช่องสัญญาณที่ 7 เป็นระบบ 625 เส้น ในย่านความถี่วีเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 5 ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2517 พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ททบ.5) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ททบ.เริ่มออกอากาศด้วยภาพสีในระบบพาล (Phase Alternation Line - PAL) เป็นครั้งแรกด้วยการถ่ายทอดสด พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ณ ลานพระราชวังดุสิต และต่อมา ททบ.5 จึงเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารงานของสถานี และยังมีการเปลี่ยนอีกครั้งหนึ่งด้วย เมื่อปี พ.ศ. 2521 ททบ.ร่วมกับสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เช่าสัญญาณดาวเทียมปาลาปาของอินโดนีเซีย พร้อมตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียมเพิ่มขึ้นทั่วประเทศ และเริ่มจัดทำห้องส่งส่วนภูมิภาค ในภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่, ภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดอุบลราชธานี อนึ่ง ในช่วงทศวรรษนี้ ททบ.ดำเนินการขยายสถานีเครือข่ายในจังหวัดต่างๆ เพิ่มเติมดังต่อไปนี้", "title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก" }, { "docid": "148402#0", "text": "เวทีทอง เป็นรายการเกมโชว์และรายการโทรทัศน์รายการแรกของบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2532 ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และย้ายไปออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันเสาร์ ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2541 และย้ายไปออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก เมื่อวันเสาร์ ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2542 จนกระทั่งออกอากาศครั้งสุดท้ายเมื่อวันเสาร์ ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2550 โดยได้ผลิตรายการใหม่ รายการตู้ซ่อนเงินขึ้นมาแทน", "title": "เวทีทอง" }, { "docid": "824238#0", "text": "พันตรีหญิงชลรัศมี งาทวีสุข หรือ ทิพย์ ผู้ประกาศข่าวและพิธีกรรายการ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ผู้ดำเนินรายการข่าว เช้านี้ประเทศไทย ออกอากาศทุกวันจันทร์-ถึงศุกร์ เวลา 7.00-8.00 น.ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก และยังเป็นผู้ดำเนินรายการคุยยกบ้าน ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 10.30-11.10 น. และรายการชลรัศมีกับวีไอพี ออกอากาศทุกวันนักขัตฤกษ์ เวลา 9.20-9.50 น.ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก\nชลรัศมี งาทวีสุขยังเป็นผู้ดำเนินรายการเดินหน้าประเทศไทย ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เวลา 18:00 – 18:15 น.ของทุกวัน, รายการมองรัฐสภา ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา ทุกวันอังคาร เวลา 9.00-10.00 น.", "title": "ชลรัศมี งาทวีสุข" }, { "docid": "274668#5", "text": "ทีวี ธันเดอร์ ได้ผลิตรายการต่างๆ เป็นจำนวนกว่า 200 รายการ ทั้งเกมโชว์ ควิซโชว์ เกมโชว์สำหรับเด็กและเยาวชน ทอล์คโชว์ วาไรตี้โชว์ ละครซิทคอม ละครยาว และเรียลลิตี้โชว์ เพื่อนำเสนอออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์, สถานีโทรทัศน์ไอทีวี, สถานีโทรทัศน์ทรูโฟร์ยู, สถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี และสถานีโทรทัศน์พีพีทีวี โดยปัจจุบันมีรายการโทรทัศน์ และละครโทรทัศน์ที่กำลังออกอากาศอยู่เป็นจำนวนทั้งหมด 5 รายการ เป็นรายการประเภทเกมโชว์ ควิซโชว์ วาไรตี้โชว์ และเรียลลิตี้โชว์ ทางช่อง 3 HD ช่อง 5 ช่องทรูโฟร์ยู ช่องไทยรัฐทีวี HD และช่อง PPTV HD (รายการที่กำลังออกอากาศอยู่ เน้น ตัวหนา รายการที่ขายลิขสิทธิ์ลงแอปพลิเคชัน LINE TV เน้น \"ตัวเอน\")", "title": "ทีวี ธันเดอร์" }, { "docid": "34424#4", "text": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ได้เตรียมการยุติการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบแอนะล็อก โดยททบ. ยุติการออกอากาศในระบบแอนะล็อกครั้งแรกในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ในสถานีส่งอำเภอแม่สะเรียงและอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และในปี พ.ศ. 2560 ยุติการออกอากาศ 2 ระยะ โดยระยะแรก ในวันที่ 1 มกราคม ที่สถานีส่งเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี อำเภอเบตง จังหวัดยะลา และสถานีส่งจังหวัดร้อยเอ็ด และวันที่ 31 ธันวาคม ที่สถานีส่งจังหวัดชัยภูมิ จังหวัดเลย และสถานีส่งอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี [2]", "title": "สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก" }, { "docid": "330907#0", "text": "เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ เริ่มทำการผลิตรายการ \"เวทีทอง\" ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เป็นรายการแรก ต่อมา บริษัทขยายการผลิตรายการและละครประเภทต่าง ๆ ในหลากหลายรูปแบบ เป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อนำเสนอออกอากาศมาโดยตลอดระยะเวลา 28 ปี ของการดำเนินงานธุรกิจผลิตและรับจ้างผลิตรายการโทรทัศน์ โดยบริษัทมีทีมครีเอทีฟที่มีความคิดสร้างสรรค์ และมีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานคุณภาพ เช่น เกมโชว์, ควิซโชว์, เรียลลิตี้เกมโชว์, เรียลลิตี้เกมโชว์ควิซโชว์, เรียลลิตี้โชว์, วาไรอิตีโชว์, เกมโชว์ควิซโชว์สำหรับเด็กและเยาวชน, เรียลลิตี้โชว์สำหรับสำหรับเด็กและเยาวชน, เกมโชว์ซิตคอม, ละครซิตคอม, วาไรตี้โชว์ซิตคอม, วาไรตี้โชว์วันหยุดนักขัตฤกษ์, ละครซิตคอมวันหยุดนักขัตฤกษ์, รายการวันหยุดนักขัตฤกษ์, ละครโทรทัศน์เรื่องยาว, วาไรอิตีโชว์และละครเรื่องยาว, ละครเทิดพระเกียรติ และ สารคดีทางโทรทัศน์ โดยนำไปออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ นั่นคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์, สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย, สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และ ช่องเวิร์คพอยท์ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ชมทุกเพศทุกวัย โดยแต่ละรายการของบริษัทฯ ประสบความสำเร็จ และยังได้รับรางวัลในหลากหลายสาขา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น รางวัลเมขลา, รางวัลโทรทัศน์ทองคำ, รางวัลศิลปินแห่งชาติ จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และรางวัลโทรทัศน์แห่งเอเชีย (เอเชี่ยนเทเลวิชั่นอวอร์ดส์) เป็นต้น รวมถึงยอดขายโฆษณาที่สม่ำเสมอของทางบริษัทฯ", "title": "รายชื่อผลงานของเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์" }, { "docid": "188985#3", "text": "ส่วนการออกอากาศในประเทศไทย เริ่มออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกเป็นสถานีแรก เมื่อช่วงปี พ.ศ. 2542 หลังจากนั้นได้ถูกนำมาออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2545 - 2548 หลังจากนั้นก็ได้นำมาออกอากาศทางช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี ในช่วงปี พ.ศ. 2557 - 2558 และล่าสุดได้นำมาออกอากาศทางช่อง 3 แฟมิลี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน แล้วกลับมาอีกครั้ง ออกอากาศ ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2015 - ปัจจุบัน", "title": "เทเลทับบีส์" }, { "docid": "681750#1", "text": "ต่อไปนี้เป็นรายชื่อละครโทรทัศน์ที่ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 ถึงปัจจุบัน", "title": "รายชื่อละครโทรทัศน์ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก" }, { "docid": "939148#2", "text": "บริษัทเริ่มทำการผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ นั่นคือรายการ \"\"ศึกน้ำผึ้งพระจันทร์\"\" ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เป็นรายการแรกภายในปี พ.ศ. 2553 ต่อมาได้ขยายรูปแบบการผลิตรายการโทรทัศน์ และละครโทรทัศน์ประเภทต่าง ๆ ในหลากหลายรูปแบบและหลากหลายสถานี เพื่อนำเสนอออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, ช่องไทยรัฐทีวี, ช่องทรูโฟร์ยู, ช่องวัน และช่องพีพีทีวี มาโดยตลอดเป็นระยะเวลากว่า 9 ปี โดยมีเนื้อหาและรูปแบบรายการที่หลากหลาย เช่น เกมโชว์, ควิซโชว์, เรียลลิตี้โชว์, เกมโชว์สำหรับเด็กและเยาวชน, ทอล์คโชว์, วาไรตี้โชว์, ละครโทรทัศน์ และละครซิทคอม ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ชมทุกเพศทุกวัย และยังได้รับรางวัลในหลากหลายสาขาในประเทศ รวมทั้งเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลและได้รับรางวัลต่าง ๆ จากสถาบันต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ เช่น รางวัลเมขลา, รางวัลโทรทัศน์ทองคำ และรางวัลโทรทัศน์แห่งเอเชีย (เอเชียนเทเลวิชั่นอวอร์ดส์) อีกด้วย", "title": "เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์" }, { "docid": "331141#1", "text": "ออกอากาศทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 20.25 - 21.25 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เริ่มออกฉายวันแรกวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 และออกอากาศรีรันอีกครั้งตอนแรกทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 11.00 - 11.50 น.", "title": "ตราบาปสีขาว" }, { "docid": "555135#2", "text": "เธอมีผลงานงานเรื่องแรกคือ บ้านทรายทอง ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อปี 2543 ต่อด้วยภาพยนตร์ที่ทำให้เธอโด่งดังคือเรื่อง ผีสามบาท หลังากนั้นก็มีผลงานละครมากมาย เช่น กระตุกหนวดเสือ ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ไฟสิ้นเชื้อ ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 นางฟ้าไร้ปีก ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และอีกมากมาย นอกจากนี้เธอยังมีงานถ่ายแบบนิตยสารแนวเซ็กซี่ ภาพนิ่ง โฆษณา และงานพิธีกรต่างๆ\nด้านชีวิตส่วนตัวเคยคบหาดูใจกับ \"ป๋อม\" ชาญชัย นิ่มพูลสวัสดิ์ นักแสดงชื่อดังจากภาพยนตร์เรื่อง สตรีเหล็ก แต่ปัจจุบันได้เลิกรากันแล้ว เธอมีงานสุดท้ายคือการถ่ายแบบแนวเซ็กซี่ แต่ไม่เปรี้ยงเท่าไหร่ ก่อนที่พักหลังจะห่างหายจากวงการบันเทิงไปทำธุรกิจส่วนตัว", "title": "พิมพ์ศิริ พิมพ์ศรี" }, { "docid": "206434#0", "text": "ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า เป็นรายการเกมโชว์ที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบมาจากรายการ ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม โดยออกอากาศครั้งแรกทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2541 และย้ายไปออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เมื่อวันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2541 และกลับมาออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 อีกครั้ง เมื่อวันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา และตั้งแต่วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ชื่อที่เรียกใช้ในรายการจะเหลือแค่คำว่า ชิงร้อยชิงล้าน เท่านั้น และในปี พ.ศ. 2555 ได้ย้ายกลับไป สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อีกครั้ง ในชื่อใหม่ ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์ เดย์ ฉากใหม่และวันเวลาใหม่", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า" }, { "docid": "251257#6", "text": "การส่งกระจายเสียงวิทยุในระบบเอฟเอ็มครั้งแรก ดำเนินการโดยสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยสังกัดกรมประชาสัมพันธ์เมื่อปี พ.ศ. 2494 ส่วนการแพร่ภาพวิทยุโทรทัศน์ในระบบวีเอชเอฟครั้งแรก ดำเนินการโดย\"สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4\" ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2498 โดยออกอากาศทางช่อง 4 ระบบขาวดำ และการแพร่ภาพวิทยุโทรทัศน์สี ในระบบวีเอชเอฟครั้งแรก ดำเนินการโดย\"สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7\" ซึ่งบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ได้รับสัมปทานจากกองทัพบกไทย เมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยออกอากาศทางช่อง 7 ในย่านความถี่ที่ 3", "title": "วีเอชเอฟ" }, { "docid": "487246#2", "text": "บ่วงรักออกอากาศทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 20.25 - 21.25 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เริ่มออกอากาศวันแรกเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555–5 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ได้นำละครเรื่องนี้มาออกอากาศรีรันให้ชมอีกครั้งทุกวันจันทร์–อังคาร เวลา 20:10–21:40 น. เริ่มตอนแรกวันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557–วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557 โดยออกอากาศต่อจากละครเรื่อง สองปรารถนา", "title": "บ่วงรัก" } ]
1118
ฉันทลักษณ์ของกลอนในวรรณกรรมจำแนกได้กี่ประเภท?
[ { "docid": "19840#2", "text": "ฉันทลักษณ์ของกลอนในวรรณกรรมจำแนกได้ 5 ประเภทคือ จำแนกตามจำนวนคำ จำแนกตามคำขึ้นต้น จำแนกตามคณะ จำแนกตามบทขึ้นต้นและจำแนกตามการส่งสัมผัส", "title": "กลอน" }, { "docid": "2480#0", "text": "ฉันทลักษณ์ หมายถึง ลักษณะบังคับของคำประพันธ์ไทย ซึ่งกำชัย ทองหล่อให้ความหมายไว้ว่า ฉันทลักษณ์ คือตำราที่ว่าด้วยวิธีร้อยกรองถ้อยคำหรือเรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นระเบียบตามลักษณะบังคับและบัญญัติที่นักปราชญ์ได้ร่างเป็นแบบไว้ ถ้อยคำที่ร้อยกรองขึ้นตามลักษณะบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ เรียกว่า \"คำประพันธ์\" และได้ให้ความหมายของ \"คำประพันธ์\" คือถ้อยคำที่ได้ร้อยกรองหรือเรียบเรียงขึ้น โดยมีข้อบังคับ จำกัดคำและวรรคตอนให้รับสัมผัสกัน ไพเราะ ตามกฎเกณฑ์ที่ได้วางไว้ในฉันทลักษณ์ โดยแบ่งเป็น 7 ชนิด คือ โคลง ร่าย ลิลิต กลอน กาพย์ ฉันท์ กล ซึ่งก็คือ ร้อยกรองไทย นั่นเอง", "title": "ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)" } ]
[ { "docid": "19840#19", "text": "ความคลี่คลายด้านรูปแบบ กวีสมัยปัจจุบันเสนอผลงานกลอนหลากหลายรูปแบบ จัดเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรก ยึดฉันทลักษณ์กลอนประเภทต่างๆ เช่นของเดิม แต่ปรับกลวิธีใช้สัมผัสใน และยืดหยุ่นจำนวนคำ เป็นการย้อนรอยฉันทลักษณ์ของกลอนยุคก่อนสุนทรภู่ ได้แก่ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, สุจิตต์ วงษ์เทศ, ประกาย ปรัชญา, ประเสริฐ จันดำ, ไพรวรินทร์ ขาวงาม เป็นต้น กลุ่มที่สองใช้เฉพาะสัมผัสนอกเป็นกรอบกำหนดประเภทงานว่าอยู่ในจำพวกกลอน ส่วนจำนวนคำ กลวิธี และท่วงทำนองอื่น ๆ เป็นไปโดยอิสระ ได้แก่ อังคาร กัลยาณพงศ์, ถนอม ไชยวงศ์แก้ว, วุธิตา มูสิกะระทวย, ศักดิ์สิริ มีสมสืบ เป็นต้น", "title": "กลอน" }, { "docid": "19840#6", "text": "ในสมัยรัตนโกสินทร์ รองอำมาตย์เอก หลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) (พ.ศ. 2401 - พ.ศ. 2471) กวีคนสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5 - 6 ได้แต่ตำราคำประพันธ์ ประชุมลำนำ โดยพัฒนาฉันทลักษณ์ของกลอนให้มีรูปแบบหลากหลายขึ้น ซึ่งได้กำหนดรูปแบบ บท และ ลำนำ ขึ้น โดยให้ บท เป็นกลอนที่มีคำขึ้นต้น ส่วน ลำนำ เป็นกลอนที่มีจำนวนคำวรรคคี่และวรรคคู่ไม่เท่ากัน หากกลอนที่มีลักษณะทั้งสองรวมกันจะเรียกว่า บทลำนำ นอกจากนี้ยังได้ค้นคว้าฉันทลักษณ์ของกลอนสุภาพและกลอนชาวบ้านอย่างละเอียด และได้จำแนกกลอนต่าง ๆ อย่างพิสดาร ได้แก่ กลอนสุภาพ บทกลอนสุภาพ ลำนำกลอนสุภาพ บทลำนำกลอนสุภาพ กลอนสังขลิก บทกลอนสังขลิก ลำนำกลอนสังขลิก บทลำนำกลอนสังขลิก กานต์ บทกานต์ ลำนำกานต์ และบทลำนำกานต์ แต่เสียดายที่ ประชุมลำนำ ซึ่งเสร็จในปี พ.ศ. 2470 ไม่ได้ถูกนำออกมาเผยแพร่ จนกระทั่งสำนักนายกรัฐมนตรีได้พิมพ์ออกเผยแพร่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2514 เป็นเหตุให้คำประพันธ์ชนิดต่าง ๆ ของหลวงธรรมาภิมณฑ์ไม่แพร่หลายเท่าที่ควร", "title": "กลอน" }, { "docid": "1808#8", "text": "กลอนเปล่า เป็นคำประพันธ์ที่พัฒนามาจากฟรีเวิร์ส () ของตะวันตก เป็นกลอนในวรรณคดีอังกฤษที่ไม่มีการสัมผัสคำ แต่มีการเน้นเสียงในลักษณะ lambic Pentameter คือ 1 บาท แบ่งเป็น 5 จังหวะ จังหวะละ 2พยางค์ พยางค์แรกเสียงเบา (ลหุ) พยางค์หลังเสียงหนัก (ครุ) กลอนเปล่าได้กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของกวีนิพนธ์ประเภทบรรยายโวหารยาว ๆ (soliloquy) รวมทั้งงานด้านปรัชญาและการละคร นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา กลอนเปล่าปรากฎอยู่ทั่วไปในงานประพันธ์บทละครของเชคสเปียร์ โดยมักเป็นบทพูดของตัวละครที่มีบทบาทสำคัญ หรือมีฐานันดรสูงกว่าคนปกติ บทกวีมหากาพย์ \"Paradise Lost\" ของจอห์น มิลตัน ใช้รูบแบบฉันทลักษณ์ของกลอนเปล่าประพันธ์ทั้งหมด", "title": "กวีนิพนธ์" }, { "docid": "19840#0", "text": "กลอน เป็นลักษณะคำประพันธ์ไทยที่ฉันทลักษณ์ประกอบด้วยลักษณะบังคับ 3 ประการคือ คณะ จำนวนคำ และสัมผัส ไม่มีบังคับเอกโทและครุลหุ เชื่อกันว่าเป็นคำประพันธ์ท้องถิ่นของไทยแถบภาคกลางและภาคใต้ โดยพิจารณาจากหลักฐานในวรรณกรรมทั้งวรรณกรรมลายลักษณ์(เป็นตัวหนังสือ) และวรรณกรรมมุขปาฐะ(เป็นคำพูดที่บอกต่อกันมาไม่มีการจดบันทึก) โดยวรรณกรรมที่แต่งด้วยกลอนเก่าแก่ที่สุดคือ เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา และเพลงยาว ณ พระที่นั่งจันทรพิศาล กวีแต่งในสมัยอยุธยาตอนปลาย ก่อนหน้านั้นกลอนคงอยู่ในรูปแบบวรรณกรรมมุขปาฐะเป็นร้อยกรองชาวบ้านเช่น บทร้องเล่น บทกล่อมเด็ก เพลงชาวบ้าน เป็นต้น", "title": "กลอน" }, { "docid": "1808#7", "text": "แบ่งตามประเภทของกวีและวรรณกรรมที่ปรากฏเป็น 2 รูปแบบ คือ\nในช่วงที่การแต่งกลอนประเภทเคร่งฉันทลักษณ์และพราวสัมผัสถึงจุดอิ่มตัว บรรดากวีเริ่มแสวงหารูปแบบคำประพันธ์ใหม่ ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงความจำเจ และสามารถสื่อ สาร ได้อย่างเสรี ไม่ติดในกรอบฉันทลักษณ์ จึงปรากฏรูปแบบกวีนิพนธ์ที่เรียกกันว่า กลอนเปล่า หรือ กวีนิพนธ์แบบไร้ฉันทลักษณ์ กวีนิพนธ์รูปแบบนี้ได้รับความนิยมมากขึ้น และเป็นที่ยอมรับในวงวรรณกรรมของไทยสูงสุด เมื่อหนังสือรวมบทกวี ไม่มีหญิงสาวในบทกวี ของ ซะการีย์ยา อมตยา ซึ่งเป็นกวีนิพนธ์ฉันทลักษณ์อิสระ ได้รับการคัดเลือกให้ชนะเลิศรางวัลซีไรต์ ในปี พ.ศ. 2553", "title": "กวีนิพนธ์" }, { "docid": "19840#5", "text": "ในสมัยอยุธยา กลอนที่แพร่หลายคือ กลอนเพลงยาว และกลอนบทละคร ต่อมามีกวีที่ศึกษาฉันทลักษณ์ของกลอนและประดิษฐ์ฉันทลักษณ์ใหม่ ๆ ขึ้นมาอย่างหลากหลายคือ หลวงศรีปรีชา (เซ่ง) ซึ่งประดิษฐ์กลอนกลบทถึง 86 ชนิด ไว้ใน \"กลบทศิริวิบุลกิตติ\" ซึ่งเป็นต้นแบบกลอนสี่ กลอนหก กลอนเจ็ด กลอนแปด และกลอนเก้า รวมทั้งกลอนนิทาน", "title": "กลอน" }, { "docid": "19839#15", "text": "กลอนแปด นั้นถือว่าเป็นขนบกวีนิพนธ์พื้นฐานที่นิยมที่สุดในไทย เหตุเพราะมีฉันทลักษณ์ที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน สามารถแสดงอารมณ์ได้หลากหลาย และคนทั่วไปสามารถเข้าถึงเนื้อความได้ไม่ยาก หนึ่งในรูปแบบของกลอนแปดก็คือ รูปแบบกลอนแปดของสุนทรภู่ ซึ่งความแพรวพราวด้วยสัมผัสใน และขนบดังกล่าวนี้ก็ได้รับการสืบทอดต่อมาในงานกวีนิพนธ์ยุคหลังๆ กระทั่งปัจจุบัน", "title": "กลอนสุภาพ" }, { "docid": "19840#7", "text": "ในสมัยอยุธยากลอนเพลงยาว และกลอนบทละครยังครองความนิยมด้วยจำนวนคำ และการส่ง-รับสัมผัสไม่เคร่งครัดนัก จนกระทั่งหลวงศรีปรีชาได้ริเริ่มประดิษฐ์กลอนที่มีจำนวนคำเท่ากันทุกวรรคขึ้น และประสบความสำเร็จสูงสุดในสมัยสุนทรภู่ ก่อให้เกิดการจำแนกกลอนออกเป็น 2 ประเภทคือ กลอนสุภาพ ที่มีจำนวนคำเท่ากันทุกวรรค และกลอยที่กำหนดจำนวนคำในวรรคโดยประมาณ เช่น กลอนเพลงยาว กลอนบทละคร กลอนเสภา เป็นต้น", "title": "กลอน" }, { "docid": "19840#16", "text": "ฉันทลักษณ์ของกลอนพัฒนาถึงระดับสูงสุดระหว่างสมัยรัชกาลที่ 6 และสมัยรัชกาลที่ 7 เนื่องจากเทคโนลียีการพิมพ์ช่วยให้ความรู้ต่างๆ กระจายตัวมากขึ้น มีการตีพิมพ์ตำราแต่งคำประพันธ์และใช้เป็นแบบเรียนด้วย ทำให้เกิดแบบแผนการประพันธ์ที่อยู่ในกรอบเดียวกัน ดังนั้น งานกลอนในระหว่าง พ.ศ. 2486 - พ.ศ. 2516 จึงอยู่ในกรอบของฉันทลักษณ์ และพราวด้วยสัมผัสตามตำราอย่างเคร่งครัด", "title": "กลอน" } ]
3093
เติ้งชุ่ยเหวิน เสียชีวิตตอนอายุเท่าไหร่?
[ { "docid": "212872#2", "text": "เติ้ง ลี่จวิน เสียชีวิตอย่างกะทันหันเนื่องจากโรคหอบหืด ขณะเดินทางมาพักผ่อนที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ขณะอายุได้เพียง 42 ปี", "title": "เติ้ง ลี่จวิน" } ]
[ { "docid": "637774#1", "text": "เติ้งชุ่ยเหวินลืมตาดูโลกในวันที่ 2 มีนามคม ปี 1966 ณ เกาะฮ่องกง ในขณะที่ผู้เป็นแม่อายุแค่เพียง 17 ปีเท่านั้น ความไม่พร้อมในหลายๆด้าน และปัญหาเรื่องฐานะการเงิน จึงทำให้พ่อและแม่ของเธอตัดสินใจแยกทางกันเมื่อตอนที่เธออายุได้ 5 ขวบ เติ้งชุ่ยเหวินจึงเติบโตมาจากการเลี้ยงดูของตากับยายผู้เข้มงวดกวดขัน และดิ้นรนหาเลี้ยงปากท้องจนสามารถส่งเสียเธอให้เรียนจบมัธยมปลายในโรงเรียนหญิงล้วนชื่อดังได้ แต่ด้วยความดุดันและช่องว่างระหว่างวัย ตลอดจนไม่ค่อยมีเด็กรุ่นราวคราวเดียวกันอยู่บริเวณที่พักอาศัยมากนัก จึงทำให้เธอต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวลำพังคนเดียว หลายครั้งก็ต้องเล่นกับตัวเอง พูดกับตัวเอง อันเป็นเหตุผลที่ทำให้เธอเติบโตมาเป็นคนขาดความรักความอบอุ่น มีโลกส่วนตัวสูง และชอบอยู่ลำพังคนเดียวมากกว่าอยู่ร่วมกับคนเยอะๆ", "title": "เติ้ง ชุ่ยเหวิน" }, { "docid": "212872#12", "text": "ตั้งแต่เข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เติ้ง ลี่จวิน ป่วยด้วยโรคหอบหืดเรื้อรังมาตลอด จนในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 เติ้ง ลี่จวิน เสียชีวิตอย่างกะทันหันด้วยโรคหอบหืดขั้นรุนแรง ขณะมาพักผ่อน ณ โรงแรมอิมพีเรียล แม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย ด้วยอายุ 42 ปี (43 ปีตามปฏิทินจีน)", "title": "เติ้ง ลี่จวิน" }, { "docid": "94530#4", "text": "ก้าน แก้วสุพรรณ เสียชีวิต ด้วยโรคมะเร็งลำไส้ เมื่ออายุ 75 ปี เมื่อเวลา 06.50 น. วันที่ 6 ต.ค. พ.ศ. 2556 บำเพ็ญกุศลศพที่วัดไร่ขิงซึ่งทางวัดบอกว่าจะไว้ที่ศาลาเดียวกับ สายัณห์ สัญญา \nสิ้นนักร้องดังในอดีต \"ก้าน แก้วสุพรรณ\" จากโรคมะเร็ง ด้วยวัย 74 ปี โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ ตั้งสวดพระอภิธรรมศพวัดไร่ขิง\n\"ก้าน แก้วสุพรรณ\" นักร้องลูกทุ่งชื่อดังในอดีต ที่นอนพักรักษาตัว ที่โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) จ.นครปฐม หลังมีอาการแน่นท้อง หายใจไม่ออก ตอนนี้แพทย์งดให้อาหารและนอนรักษาตัวอยู่ที่ชั้น 3 ห้อง 8 ผู้ป่วยพิเศษ 3 ตั้งแต่เมื่อวันที่ 23 ก.ย. ที่ผ่านมานั้น ล่าสุด ทางโรงพยาบาลแจ้งว่า นักร้องดังในอดีตได้เสียชีวิตลงแล้ว ด้วยโรคมะเร็งลำไส้ อายุ 74 ปี เมื่อเวลา 06.50 น. เมื่อช่วงเช้ามืดของวันที่ 6 ต.ค. โดยญาติจะตั้งสวดพระอภิธรรมศพที่วัดไร่ขิง ตามความต้องการของก้าน แก้วสุพรรณ ที่ได้สั่งเสียไว้ก่อนที่จะเสียชีวิต\nซึ่ง ครูก้าน แก้วสุพรรณ ได้ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้มาปีกว่า และได้เข้ารับการรักษากับทางแพทย์สมุนไพร และแพทย์แผนปัจจุบันหลายแห่ง แต่อาการก็คงยังไม่ดีขึ้น ยิ่งนับวันร่างกายยิ่งซูบผอมและมีอาการที่ทรุดลง โดยมี นางหยก แก้วสุพรรณ ภรรยาวัย 64 ปี คอยให้การดูแลอย่างใกล้ชิด\nสำหรับประวัติ ก้าน แก้วสุพรรณ มีชื่อจริงว่า มงคล หอมระรื่น มีชื่อเล่นว่า แดง เป็นชาว อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี บทเพลงที่สร้างชื่อเสียง อาทิ น้ำตาลก้นแก้ว, โสนน้อยเรือนงาม ถือว่าเป็นนักร้องแนวหน้าของวงร่วมกับ สุรพล สมบัติเจริญ, ผ่องศรี วรนุช อีกท่านหนึ่ง", "title": "ก้าน แก้วสุพรรณ" }, { "docid": "57545#3", "text": "จิวยี่ สิ้นชีพเมื่ออายุได้เพียง 36 ปี ระหว่างยกทัพบุกเมืองลำกุ๋น ด้วยอาการโลหิตเป็นพิษจากลูกธนู ประกอบกับความแค้นใจที่มีต่อขงเบ้ง และขงเบ้งส่งจดหมายยั่วยุมา จึงกระอักเลือดตาย ก่อนสิ้น จิวยี่ได้รำพันออกมาว่า \"เมื่อฟ้าส่งข้ามาเกิดแล้ว เหตุไฉนถึงส่งขงเบ้งมาเกิดด้วย\" ตามบันทึกประวัติศาสตร์จริงจิวยี่เสียชีวิตเพราะป่วยจากโรคระบาด ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตายด้วยความคับแค้นใจต่อขงเบ้งแต่อย่างไร ปัจจุบันสืบทราบแล้วว่าจิวยี่ตายเพราะโรคพยาธิชนิดหนึ่ง เรียกว่า เสว่ซีฉง (หนอนดูดเลือดคล้ายพยาธิปากขอ)", "title": "จิวยี่" }, { "docid": "637774#14", "text": "หลังจากที่ถูกสถานีโทรทัศน์ TVB ประกาศแบนอย่างเป็นทางการและหายหน้าหายตาไปจากหน้าจอโทรทัศน์ฮ่องกงถึง 3 ปี เติ้งชุ่ยเหวินยังคงปรากฏตัวตามงานอีเวนต์ต่างๆ และงานการกุศลอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้เธอยังมีผลงานการแสดงกับแผ่นดินใหญ่อย่างต่อเนื่อง และร่วมงานกับ หยูเจิ้ง โปรดิวเซอร์ชื่อดังผู้สร้าง ตำนานรักวังต้องห้าม และ ตำนานลู่เจิน อยู่บ่อยครั้ง ส่งผลให้เธอเป็นนักแสดงรุ่นใหญ่จากฝั่งฮ่องกงที่ประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมจากแผ่นดินใหญ่อย่างต่อเนื่อง", "title": "เติ้ง ชุ่ยเหวิน" }, { "docid": "355423#14", "text": "พลเอกต้วน ชีเหวิน เสียชีวิตใน พ.ศ. 2523 และร่างถูกฝังอยู่ในสุสานคล้ายสถูปบนยอดเนินที่สามารถไปถึงได้โดยการปีน 300 เมตร จากยอดเนินดังกล่าว มีมุมพาโนรามาของหมู่บ้าน นอกจากนี้ ยังมีอนุสรณ์สถานทหารก๊กมินตั๋งซึ่งเสียชีวิตระหว่างการรบต่อต้านคอมมิวนิสต์ อนุสรณ์วีรชน พิพิธภัณฑ์ซึ่งมีการจารึกนามผู้เสียชีวิตไว้บนกระดาน ติดตั้งอยู่บนแท่นบูชาในอาคารหลัก ตัวอาคารสร้างขึ้นในรูปแบบศาลเจ้าจีนขนาดใหญ่ จัดแสดงนิทรรศการการต่อสู้ของทหารก๊กมินตั๋ง และการพัฒนาของดอยแม่สลอง", "title": "หมู่บ้านสันติคีรี" }, { "docid": "425068#2", "text": "อง เหม่ยหลิง เสียชีวิตกระทันหันเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 ด้วยวัยเพียง 26 ปี เนื่องจากการฆ่าตัวตาย เพราะประชดรักโดยการรมแกสในห้องพัก หลังจากมีปากเสียงกับแฟนหนุ่ม ข่าวการเสียชีวิตของเธอโด่งดังมากและสร้างความโศกเศร้าเสียใจให้กับแฟน ๆ ของเธอทั่วทั้งเอเชีย พิธีศพของเธอถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตามแบบคริสต์ศาสนา มีแฟน ๆ ละครมาร่วมไว้อาลัยมากมายเป็นประวัติศาตร์ ว่ากันว่ามีผู้คนมากมายที่มาที่งานศพรวมถึงผู้คนที่ออกมาร่วมส่งขบวนศพเธอข้างทางตามท้องถนนประมาณ 100,000 คน โดยที่ร่างของเธอถูกฌาปนกิจและฝังไว้ที่สุสานในเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร\nทุกวันนี้ยังคงมีแฟน ๆ จำนวนมากมาย ที่คิดถึงเธอ จะเดินทางไปเยี่ยมหลุมศพของเธอที่ อังกฤษ เป็นประจำทุกปี", "title": "อง เหม่ยหลิง" }, { "docid": "86112#5", "text": "ตี๋ใหญ่เสียชีวิตในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 ขณะที่มีอายุได้ 30 ปี โดยตำรวจโดยการนำของ พล.ต.ท.สมเกียรติ พ่วงทรัพย์ (ยศในปัจจุบัน-อดีตผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล) เล่ากันว่าที่ตี๋ใหญ่เสียชีวิตนั้น เพราะกำลังหลบหนี ก่อนหน้านั้นหนึ่งวันได้ให้ลูกน้องขับรถกระบะไปรับเพื่อไปหาพระเกจิอาจารย์รูปหนึ่ง คือ พระครูสมุทรธรรมสุนทร (สุด สิริธโร) หรือหลวงพ่อสุด วัดกาหลง ที่จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อไปขอพระจากท่านเพราะของเดิมถูกเพื่อนขโมยไปทั้งตะกรุดและพระ แต่ไม่พบ ขณะที่เดินทางกลับ ได้ถูกเพื่อนร่วมเดินทางซึ่งเป็นลูกน้องหักหลังยิงตี๋ใหญ่จนตาย แล้วรีบออกจากรถ หลังจากตำรวจมาถึงรถที่ตี๋ใหญ่ตายอยู่ในรถก็ได้ระดมยิงถล่มรถอีกครั้งโดยไม่รู้ว่าตี๋ใหญ่ได้ตายอยู่ในรถก่อนหน้านี้แล้ว แต่ทว่าจากคำบอกกล่าวของลูกน้องคนนึงของตี๋ใหญ่ กล่าวว่า ตี๋ใหญ่ถูกลูกน้องคนนี้หักหลัง ด้วยถูกตำรวจจ้างด้วยเงิน 200,000 บาท พร้อมให้สัญญาจะช่วยในคดีฆ่าคนตาย 2 คดีให้หลุดพ้น ซึ่งตี๋ใหญ่ไม่ได้ถูกตำรวจฆ่าตายเลย", "title": "ตี๋ใหญ่" }, { "docid": "637774#19", "text": "เติ้งชุ่ยเหวินเคยคบหาดูใจกับเพื่อนนักแสดงชายมาแล้วหลายคน นั่นก็คือว่านจื่อเหลียง เจียงหัว และเจิ้งจิ่งจี ซึ่งส่วนใหญ่มักจะคบหาดูใจกันในระยะเวลาไม่นาน ประมาณ 1-3 ปี และดูเหมือนว่าจะมีก็แต่เจิ้งจิ่งจีเท่านั้น ที่แม้เลิกรากันไปแล้วก็ยังอยู่ในฐานะเพื่อนที่ห่วงใยซึ่งกันและกัน ไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ และเขายังเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่แสดงความเป็นห่วงเป็นใยเธออย่างมาก ตอนที่เธอกำลังเผชิญปัญหาด้านสุขภาพและการถูกแบนจากอดีตต้นสังกัด เติ้งชุ่ยเหวินกล่าวว่า สมัยก่อนนั้นเธอไม่รู้จักความรักดีเท่าที่ควร จึงกลายเป็นฝ่ายที่เรียกร้องและโหยหาความรักอยู่เพียงฝ่ายเดียว ไม่รู้จักมอบความรักคืนให้กับอีกฝ่าย หรือออดอ้อน เอาอกเอาใจอีกฝ่ายเท่าที่ควร ซึ่งนั่นก็อาจเป็นผลมาจากการขาดความอบอุ่นอย่างรุนแรงในวัยเด็ก ที่ทำให้ความรักของเธอมักจะผิดพลาดอยู่เสมอก็เป็นได้", "title": "เติ้ง ชุ่ยเหวิน" }, { "docid": "516941#4", "text": "จิน เปงเสียชีวิตเมื่ออายุ 88 ปี ในโรงพยาบาลที่กรุงเทพฯเมื่อ 16 กันยายน พ.ศ. 2556 ร่างของเขาถูกเผาในกรุงเทพฯ แม้เขาต้องการให้ฝังในซิเตียวัน รัฐบาลมาเลเซียปฏิเสธไม่ให้นำร่างของเขาเข้าประเทศ โดยกล่าวว่าสิทธิตามสนธิสัญญาสิ้นสุดลงแล้วและเขาไม่มีสิทธิ์กลับมา ใน พ.ศ. 2549 ภาพยนตร์เชิงสารคดีเกี่ยวกับจิน เปง ในชื่อเรื่องคอมมิวนิสต์คนสุดท้าย ถูกคว่ำบาตรในมาเลเซีย", "title": "จีนเป็ง" } ]
2083
โรคทางประสาทสามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้หรือไม่ ?
[ { "docid": "371909#0", "text": "โรคฮันติงตัน () เป็นโรคทางพันธุกรรมโรคหนึ่งที่ทำให้เกิดการเสื่อมของระบบประสาท ส่งผลต่อการควบคุมการประสานงานของกล้ามเนื้อ ทำให้สติปัญญาเสื่อมถอย และนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมได้ ส่วนใหญ่ปรากฏอาการในช่วงวัยกลางคน เป็นโรคที่เป็นสาเหตุทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุดของภาวะการเคลื่อนไหวผิดปกติที่เรียกว่าโคเรีย และพบในคนเชื้อชาติยุโรปตะวันตกมากกว่าเอเชียหรือแอฟริกา เกิดจากการกลายพันธุ์ในยีนฮันติงตินยีนหนึ่งในสองยีนในร่างกาย ซึ่งมีการถ่ายทอดลักษณะแบบลักษณะเด่น ดังนั้นทายาทของผู้ป่วยโรคนี้มีโอกาสได้รับถ่ายทอดโรคนี้มา 50% ในบางกรณีที่ทั้งบิดาและมารดามียีนที่เป็นโรคคนละหนึ่งในสองยีน ทายาทจะมีโอกาสเป็นโรค 75% และหากมีบิดาหรือมารดามียีนที่เป็นโรคสองยีน ทายาทก็จะมีโอกาสติดโรค 100% อาการทางกายของโรคฮันติงตันอาจเริ่มปรากฏได้ตั้งแต่วัยทารกไปจนถึงวัยชรา แต่ส่วนใหญ่จะปรากฏในช่วงอายุ 35-44 ปี ผู้ป่วยประมาณ 6% เริ่มมีอาการตั้งแต่ก่อนอายุ 21 ปี โดยมีกลุ่มอาการกล้ามเนื้อเกร็งและเริ่มต้นเคลื่อนไหวลำบาก ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้อาการจะทรุดลงรวดเร็วเกือบทุกคน โรคฮันติงตันที่แสดงอาการเช่นนี้เรียกว่าโรคฮันติงตันวัยเด็ก () หรือกล้ามเนื้อเกร็งเคลื่อนไหวลำบาก () หรือชนิดเวสท์ฟาล ()", "title": "โรคฮันติงตัน" } ]
[ { "docid": "172653#6", "text": "อาการแสดง อายุของผู้ป่วยที่เริ่มเป็นโรค และลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของยีนบนโครโมโซมที่ได้รับผลกระทบของผู้ป่วย อย่างไรก็ดี แม้ความสามารถในการเคลื่อนไหวทางกายภาพของผู้ป่วยจะเสื่อมสภาพลงตามลำดับและสูญเสียไปในที่สุด แต่ระบบจิตใจและความรู้สึกนึกคิดของผู้ป่วยยังคงปรกติ", "title": "โรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง" }, { "docid": "638514#26", "text": "สาเหตุทางพันธุกรรมและการถ่ายทอดทางพันธุกรรม คือ ได้รับการพิจารณาและอีกหลายอย่างทางระบาดวิทยา ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าอิทธิพลทางพันธุกรรมมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระดับแรกมีความเสี่ยง 2.5 เท่า และ ความเสี่ยงใกล้กับ 6 เท่าเมื่อพิจารณาในกรณีที่มีอาการเริ่มต้นไปแล้ว ฝาแฝดที่มีไข่ใบเดียวกัน (Monozygotic twins) มีอัตราการสอดคล้องว่าอาจจะมีการผ่าตัดมดทั้งคู่เมื่อเทียบกับฝาแฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ(dizygotic twins)", "title": "เนื้องอกมดลูก" }, { "docid": "10649#32", "text": "ส่วนใหญ่ของโรคมะเร็งจะไม่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม (\"โรคที่เกิดครั้งเดียว\") โรคมะเร็งที่ติดต่อทางกรรมพันธุ์เบื้องต้นเป็นสาเหตุมาจากข้อบกพร่องในการถ่ายทอดทางพันธุกรรม น้อยกว่า 0.3% ของประชากรจะเป็นพาหะของการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมที่มีผลกระทบอย่างมากต่อความเสี่ยงโรคมะเร็งและความเสี่ยงเหล่านี้ก่อให้เกิดน้อยกว่า 3-10% ของโรคมะเร็งทั้งหมด บางส่วนของอาการเหล่านี้รวมถึง:. การกลายพันธุ์บางอย่างที่ได้รับการถ่ายทอดในยีน BRCA 1 และ BRCA2 ที่มีความเสี่ยงมากกว่า 75% ของมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิด hereditary nonpolyposis (HNPCC หรือ Lynch syndrome) ซึ่งมีอยู่ในประมาณ 3% ของผู้ที่มีโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่", "title": "มะเร็ง" }, { "docid": "172653#1", "text": "โรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลังนั้นถ่ายทอดทางพันธุกรรมซึ่งทำให้สมองน้อย (cerebellum) ไขสันหลัง (spinal cord) และระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system) ซึ่งอยู่บริเวณไขสันหลังของผู้ป่วยทำงานผิดปรกติเนื่องจากมีการฝ่อลีบลง โรคนี้จะปรากฏโดยช้าและรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไม่สามารถยับยั้งได้", "title": "โรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง" }, { "docid": "360096#0", "text": "ภาวะนอนไม่หลับอย่างร้ายแรงในวงศ์ตระกูล () เป็นโรคพรีออนพันธุกรรมถ่ายทอดแบบลักษณะเด่นของสมองที่พบได้ยากมาก เกือบทั้งหมดเกิดขึ้นจากการกลายพันธุ์ของโปรตีน PrPC แต่สามารถพัฒนาเองได้ตามธรรมชาติในผู้ป่วยที่ไม่มีการกลายพันธุ์ทายกรรม โปรตีนที่กลายพันธุ์นั้น ซึ่งเรียกว่า PrPSc ถูกพบเพียงราว 40 ครอบครัวทั่วโลก มีผู้ป่วยเพียงเกือบ 100 คนเท่านั้น ถ้าพ่อแม่คนใดคนหนึ่งมียีนที่เป็นโรค บุตรจะมีโอกาส 50% ที่จะรับถ่ายทอดมาและพัฒนาไปเป็นโรคได้ พันธุกรรมของโรคและการพัฒนาไปสู่ภาวะนอนไม่หลับโดยสมบูรณ์ของพ่อแม่เป็นสิ่งที่ไม่สามารถรักษาได้และท้ายที่สุดอาจทำให้เสียชีวิตได้", "title": "ภาวะนอนไม่หลับอย่างร้ายแรงในวงศ์ตระกูล" }, { "docid": "308056#18", "text": "โรคถุงน้ำจำนวนมากของไต ถ่ายทอดทางออโตโซมลักษณะเด่น (ADPKD) เป็นโรคไตที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมอย่างหนึ่งซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองถึง 8% แต่ส่วนใหญ่หลอดเลือดสมองโป่งพองที่พบร่วมกับโรคนี้จะมีขนาดเล็ก จึงไม่น่าเป็นสาเหตุให้เกิดการแตกได้ ดังนั้นจึงมีคำแนะนำให้ตรวจคัดกรองผู้ป่วย ADPKD ที่มีคนในครอบครัวคนหนึ่งมีอาการของการแตกของหลอดเลือดสมองโป่งพองเท่านั้น", "title": "เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง" }, { "docid": "172653#8", "text": "โรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลังสามารถจำแนกชนิดได้โดยอาศัยรูปแบบการถ่ายทอดทางพันธุกรรมและยีนในโครโมโซมที่เกิดความผิดปกติ โดย\nโรคนี้สามารถถ่ายทอดได้ทั้งทางพันธุกรรมลักษณะเด่น (autosomal dominant) และลักษณะด้อย (autosomal recessive)", "title": "โรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง" }, { "docid": "900091#1", "text": "โรคนี้ส่วนใหญ่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม มักเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนที่ควบคุมการสร้างโปรตีนในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ สาเหตุอื่นๆ ที่พบได้ เช่น โรคเฟบรี โรคอ่อนแรงจากสมองน้อยแบบเฟรดริค หรือจากยาบางชนิดเช่นทาโครลิมัส เป็นต้น ถือเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดหนึ่ง การวินิจฉัยอาจทำได้โดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ การตรวจด้วยการออกกำลังกาย หรือการตรวจทางพันธุกรรม ทั้งนี้อาจตรวจไม่พบก็เป็นได้", "title": "โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ" }, { "docid": "378093#0", "text": "โรคทางพันธุกรรมเป็นโรคซึ่งเกิดจากความผิดปกติของยีนหรือโครโมโซม แม้โรคบางชนิดเช่นมะเร็งจะมีสาเหตุส่วนหนึ่งสัมพันธ์กับความผิดปกติของพันธุกรรม แต่ก็ยังเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่เป็นปัจจัยสิ่งแวดล้อมด้วย โรคทางพันธุกรรมส่วนใหญ่เป็นโรคที่พบได้น้อย อาจมีผู้ป่วยเพียงหนึ่งในหลายพันหรือหลายล้านคน ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดเป็นลักษณะด้อยบางชนิด อาจทำให้ผู้ที่เป็นพาหะหรือเป็นเฮเทอโรไซกัสเกิดภาวะได้เปรียบทางพันธุกรรมในสภาพแวดล้อมบางแบบได้ เช่นที่พันธุกรรมทาลัสซีเมียทำให้มีโอกาสรอดชีวิตในพื้นที่ที่มีการระบาดของมาลาเรียมากขึ้น เป็นต้น", "title": "โรคทางพันธุกรรม" }, { "docid": "114962#1", "text": "ความผิดปกติทางพันธุกรรมในโครโมโซม X แสดงออกให้เห็นในเพศชายเป็นส่วนมากจนเกือบทั้งหมด แม้หน่วยพันธุกรรมความบกพร่องจะถ่ายทอดจากมารดาก็ตาม แต่อย่างไรก็ตาม เพศหญิงซึ่งมีโครโมโซม X อันผิดปกติสามารถส่งผ่านโครโมโซมนั้นไปยังลูกหลานได้ การแสดงออกของความผิดปกติจะเกิดกับเพศชายมากกว่า ทั้งนี้เป็นเพราะว่าเพศหญิงมีโครโมโซม X สองตัว ในขณะที่เพศชายมีเพียงตัวเดียว หากโครโมโซม X ในเพศชายผิดปกติ จะไม่มีโครโมโซมอีกหนึ่งตัวมาช่วยปกปิดความผิดปกติในพันธุกรรม แต่กระนั้นในจำนวนกรณีศึกษาร้อยละ 30 ไม่พบประวัติของความผิดปกติทางพันธุกรรมเกิดขึ้นภายในครอบครัวและเป็นสภาวะของผลการกลายพันธุ์ของหน่วยพันธุกรรมแบบเฉียบพลัน", "title": "โรคฮีโมฟิเลียในราชวงศ์ยุโรป" } ]
301
ศรัณยู วงษ์กระจ่าง เข้าวงการบันเทิงครั้งแรกเมื่อไหร่?
[ { "docid": "20852#8", "text": "ศรัณยูเป็นพระเอกที่มีช่วงการครองความนิยมยาวนานที่สุดอีกคนหนึ่งของประเทศไทย ด้วยข้อได้เปรียบของการไม่จำกัดการรับงานในช่องใดช่องหนึ่ง ทำให้มีผลงานหลากหลายต่อเนื่องทุกช่องละครเลยทีเดียว ศรัณยูเริ่มผลงานในวงการบันเทิงครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2524 โดยได้รับการชักชวนให้ถ่ายแบบนิตยสารดิฉัน และมีผลงานเดินแบบ จากนั้นศรัณยูจึงได้มีผลงานพิธีกรรายการโทรทัศน์ เสียงติดดาว และ ยิ้มใส่ไข่ หลังสำเร็จการศึกษา ศรัณยูมีผลงานนำแสดงละครโทรทัศน์เรื่องแรกทันทีในปี 2526 ที่อาจไม่มีใครทราบเนื่องจากไม่ได้ออกอากาศ คือเรื่อง เลือดขัตติยา ซึ่งดัดแปลงจากบทประพันธ์สุดคลาสสิคของ ทมยันตี สร้างโดย รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง ศรัณยู รับบท อโณทัย คู่กับ วาสนา สิทธิเวช รับบท ดารา ร่วมด้วย นพพล โกมารชุน อุทุมพร ศิลาพันธ์ และภิญโญ ทองเจือ แม้ว่าจะกำหนดวันเวลาออกอากาศทางช่อง 3 ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ 21.00น.แล้วแต่ก็ไม่ได้รับอนุมัติให้ออกอากาศด้วยมีเนื้อหาที่อาจกระทบต่อความมั่นคง", "title": "ศรัณยู วงษ์กระจ่าง" } ]
[ { "docid": "20852#1", "text": "ศรัณยู เป็นนักแสดง พิธีกร ผู้กำกับการแสดงละครและภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในวงการบันเทิงของไทย ก่อนจะเข้ามาในวงการบันเทิง ประกอบอาชีพเป็นสถาปนิกมาก่อน แต่เนื่องจากอาชีพสถาปนิกในเวลานั้น ยังไม่เป็นที่นิยมอย่างในปัจจุบัน ซึ่งศรัณยูได้ร่วมกิจการการแสดงโดยแสดงละครของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เมื่อยังเป็นนักศึกษาอยู่แล้ว เมื่อจบออกมามีผลงานชิ้นแรกทางโทรทัศน์ โดยแสดงเป็นตัวประกอบในรายการเพชฌฆาตความเครียด ทางช่อง 9 ในปี พ.ศ. 2527 โดยแสดงร่วมกับนักแสดงรุ่นพี่ที่เป็นศิษย์เก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่นเดียวกัน เช่น ปัญญา นิรันดร์กุล, เกียรติ กิจเจริญ, วัชระ ปานเอี่ยม เป็นต้น", "title": "ศรัณยู วงษ์กระจ่าง" }, { "docid": "20852#41", "text": "ในส่วนของงานผู้จัดละคร ศรัณยูเริ่มงานใหม่กับช่อง 8 ประเดิมด้วยละครเรื่องแรก ดงผู้ดี ในปีเดียวกันศรัณยูและภรรยา หัทยา วงษ์กระจ่าง ยังเป็นแขกรับเชิญเซอร์ไพรส์ในบทพ่อแม่สุดเท่ที่ยอมรับและเข้าใจในตัวตนของลูกชายในละคร ไดอารีตุ๊ดซีส์ เดอะซีรีส์ ซีซั่น 2 ตอนอวสาน (ตอนที่ 12) ที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 29 เมษายนทางช่อง GMM25 อีกด้วย ครึ่งปีหลังศรัณยู ร่วมงานแถลงข่าวรับบทในละคร Club Friday the Series 9 รักครั้งหนึ่ง ที่ไม่ถึงตาย ตอน \"รักที่ไม่มีจริง\" ร่วมกับ รฐา โพธิ์งาม และ ธนา สุทธิกมล ออกอากาศทางช่อง GMM25", "title": "ศรัณยู วงษ์กระจ่าง" }, { "docid": "20852#17", "text": "ปี 2535 ศรัณยู มีผลงานโทรทัศน์ทางช่อง 3 คู่กับ มาช่า วัฒนพานิช เป็นครั้งแรก ในละครเรื่องแรกในฐานะผู้จัดของ หทัยรัตน์ อมตะวณิชย์ เรื่อง ไฟโชนแสง ออกอากาศ 14 พฤษภาคม 2535 - 26 สิงหาคม 2535 ในเรื่องนี้ศรัณยูได้ขับร้องเพลงประกอบละครชื่อ ไฟโชนแสง เวอร์ชันผู้ชายเองอีกด้วย และมีละครทางช่อง 5 คู่กับ แสงระวี อัศวรักษ์ ในละครของ พิศาล อัครเศรณี เรื่อง เมียนอกกฎหมาย ประสบความสำเร็จด้วยดีทั้ง 2 เรื่อง", "title": "ศรัณยู วงษ์กระจ่าง" }, { "docid": "20852#24", "text": "ปี 2541 ศรัณยูมีผลงานทางช่อง 3 โดยรับบทนำในละคร ดวงยิหวา คู่กับ ศิริลักษณ์ ผ่องโชค และได้เริ่มชิมลางบทบาทใหม่ในการกำกับและร่วมแสดงละครโทรทัศน์แนววัยรุ่นทางช่อง 3 เรื่อง เทพนิยายนายเสนาะ ในฝั่งของช่อง 7 ศรัณยูรับบทพ่อม่ายในละครจากบทประพันธ์ของ กนกเรขา เรื่อง พ่อม่ายทีเด็ด คู่กับ สินิทธา บุญยศักดิ์ จากนั้นกลับมาร่วมงานกับดาราวิดีโอในละครเรื่อง พลังรัก ดัดแปลงจากบทประพันธ์เรื่อง โรงแรมวิปริต คู่กับ ชไมพร จตุรภุช ทางช่อง 7 เช่นเดียวกัน ออกอากาศ 24 มิถุนายน 2541 - 13 สิงหาคม 2541 ปี 2542 ศรัณยูมีผลงานละคร 2 เรื่องทางช่อง 7 โดยกลับมารับบทคู่กับ ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ อีกครั้งในละครค่ายดาราวิดีโอเรื่อง โดมทอง ออกอากาศ 20 กุมภาพันธ์ 2542 - 3 เมษายน 2542 ตามด้วย คุณปู่ซู่ซ่า คู่กับ ธัญญาเรศ รามณรงค์ และละครเทิดพระเกียรติ พ่อ ตอน ชีวิตที่พอเพียง ทางช่อง 5 จากนั้นในปี 2543 รับบทในละคร ดั่งสายน้ำไหล คู่กับ มัณฑนา โห่ศิริ ออกอากาศ 5 มกราคม 2543 - 17 กุมภาพันธ์ 2543\nปี 2544 ศรัณยูกลับมารับบทพระเอกท้องทุ่งนาอีกครั้งกับบทนายฮ้อยเคน ใน นายฮ้อยทมิฬ ค่าย ดีด้า วิดีโอ โปรดักชั่น คู่กับ น้ำฝน โกมลฐิติ เป็นงานสร้างที่ทำได้ดีมาก และประสบความสำเร็จเป็นอันมากเช่นเดียวกัน เรื่องนายฮ้อยทมิฬมีอัลบั้มเพลงละครวางแผงถึง 2 ชุด จากนั้นมีผลงานละครพิเศษวันพ่อแห่งชาติ เรื่อง รักของฟ้า คู่กับ รชนีกร พันธุ์มณี", "title": "ศรัณยู วงษ์กระจ่าง" }, { "docid": "149668#3", "text": "ศิวัฒน์เข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการถ่ายโฆษณา GSM 1800 เมื่อสมัยเรียนมหาวิทยาลัยอยู่ชั้นปีที่ 3 มีโมเดลลิ่งมาติดต่อ จากนั้นก็มีงานแสดงละครเรื่องแรกคือ สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย โดยการชักนำของ ศรัณยู วงษ์กระจ่าง รับบทเป็นเพื่อนพระเอก สำหรับผลงานละครที่สร้างชื่อเสียงคือเรื่อง เบญจา คีตา ความรัก จากนั้นได้แสดงเรื่อง อุ่นไอรัก หลังคาแดง ต่อมาได้รับบทนำในละคร รักสุดขั้ว และผลงานละครอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น แม่คุณ..ทูนหัว เขาหาว่าหนูเป็นเจ้าหญิง เพลงดินกลิ่นดาว คมแฝก รักติดลบ ปิ่นมุก สวรรค์สร้าง โบ๊เบ๊ รุกฆาต ลิลลี่สีกุหลาบ ฯลฯ นอกจากนี้เขายังเคยแสดงในมิวสิกวิดีโอเพลง มีอาการ ของ นิ้ง-เปี่ยมปีติ หัถกิจโกศล สังกัดค่าย อาร์.เอส. และยังเป็นดีเจ คลื่น 93.5 EFM อีกด้วยช่องเวิร์คพอยท์", "title": "ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์" }, { "docid": "104542#1", "text": "เข้าวงการบันเทิงครั้งแรกโดยการเล่นภาพยนตร์ทางโทรทัศน์ เมื่อตอนยังหนุ่มอายุได้ 20 ปี เรื่อง “โกมินทร์ กุมาร” โดยเล่นเป็นยอดตัวเอกของเรื่องคือ โกมินทร์ กุมาร แต่ผลงานที่สร้างชื่อเสียง ซึ่งนับว่าเป็นผลงานที่สองในวงการบันเทิง คือภาพยนตร์เรื่อง “วัยอลวน” เมื่ออายุ 21 ปี ในบท “ ตั้ม ” และได้มีผลงานการแสดงตามมาอย่างต่อเนื่อง เช่น ภาพยนตร์เรื่อง รักอุตลุด(2520), ชื่นชุลมุน(2521), จำเลยรัก(2521), คู่รัก(2521), หงส์ทอง(2520), สุภาพบุรุษทรนง(2528), ช่างร้ายเหลือ (2527), ผู้ใหญ่ลีกับนางมา(2528) ฯลฯ ในขณะเดียวกันก็ได้สร้างภาพยนตร์ของตัวเองออกมาประมาณ 11-12 เรื่องด้วยกัน", "title": "ไพโรจน์ สังวริบุตร" }, { "docid": "20852#10", "text": "ปี 2529 ศรันยูมีผลงานทางช่อง 3 และ ช่อง 7 ช่องละ 1 เรื่อง โดยทางช่อง 7 เป็นละครค่ายกันตนา เรื่อง จิตรกร ศรัณยูรับบทจิตรกรโรคจิต คู่กับนางเอก ปวีณา ชารีฟสกุล กับเรื่องราวฆาตกรรมซ่อนเงื่อน ในขณะที่ทางช่อง 3 ศรัณยูได้รับบท กามนิต ในละครแนวภารตะ กามนิต-วาสิฏฐี คู่กับ จริยา สรณะคม เป็นเรื่องแรก ร่วมด้วย ดิลก ทองวัฒนา สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ และ พิราวรรณ ประสพศาสตร์ นอกจากนี้ ศรัณยูได้รับการชักชวนให้ร่วมเขียนบทละคร ทะเลเลือด (2529) ที่ดัดแปลงจากนวนิยายของ อกาธา คริสตี้ กับ ภาสุรี ภาวิไล และ มารุต สาโรวาท ซึ่งเป็นผลงานละครเรื่องแรกในฐานะผู้จัดละครของ วรายุฑ มิลินทจินดา", "title": "ศรัณยู วงษ์กระจ่าง" }, { "docid": "20852#12", "text": "ปี 2532 ศรัณยูรับบทชายหนุ่มจองหองในละครของ วีรประวัติ วงศ์พัวพันธ์ ทางช่อง 3 เรื่อง ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง คู่กับ นาถยา แดงบุหงา ออกอากาศ 8 มีนาคม – 20 เมษายน 2532 อีกครั้งสำหรับการรับบทพระเอกบทประพันธ์ของ ก.สุรางคนางค์ หลังจาก บ้านทรายทอง และ พจมาน สว่างวงศ์ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จด้วยดี ในปีเดียวกัน ศรัณยู ได้รับบทคู่ ลลิตา ปัญโญภาส เป็นครั้งแรกในภาพยนตร์รักโรแมนติกเรื่อง หัวใจ 4 สี ร่วมด้วย พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง และ ธัญญา โสภณ ศรัณยูรับบทพ่อม่ายลูกติดที่จ้างนางเอกไปเป็นพี่เลี้ยงเด็ก ถ่ายทำที่ประเทศออสเตรีย เข้าฉาย 7 ตุลาคม พ.ศ. 2532 จากนั้นศรัณยูมีผลงานละครต่อเนื่องกับผู้กำกับ วีรประวัติ วงศ์พัวพันธ์ ทางช่อง 3 อีกเรื่องคือ รัตติกาลยอดรัก คู่กับ ปาหนัน ณ พัทลุง ออกอากาศเดือนธันวาคม 2532 – 4 กุมภาพันธ์ 2533 ซึ่งเป็นรัตติกาลยอดรักเวอร์ชันที่โด่งดังมาก \nปี 2533 ศรัณยูเปิดปีด้วยภาพยนตร์เรื่อง เล่นกับไฟ รับบทคู่กับ ลลิตา ปัญโญภาส เป็นครั้งที่ 2 ออกฉายปลายเดือน เมษายน 2533 สำหรับงานละครโทรทัศน์ถือเป็นปีทองของ ศรัณยู วงษ์กระจ่าง เพราะเขาได้มีผลงานละครโทรทัศน์กับทางช่อง 3 ถึง 5 เรื่องในปีเดียว ศรัณยูโด่งดังมากจนทำให้ช่อง 3 อนุมัติให้เขาและเพื่อนๆ กลุ่มซูโม่สำอาง ได้แก่ ซูโม่ตู้ กิ๊ก ซูโม่ตุ๋ย ปัญญา นิรันดร์กุล และดารารับเชิญมากมาย มาสร้างละครตลกล้อเลียนหนังจีนเรื่อง โหด เลว อ้วน ออกอากาศ 1 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม 2533 โดยรับบทคู่กับ เพ็ญ พิสุทธิ์ แต่เนื่องจากเนื้อเรื่องค่อนข้างสับสนจึงถูกตัดจบในที่สุด ต่อมา ศรัณยู ได้รับบทคู่ ลลิตา ปัญโญภาส ครั้งแรกทางละครโทรทัศน์เรื่อง วนาลี ออกอากาศ 21 กันยายน - 7 ธันวาคม 2533 (เวลา 20.50-21.50 น.) ละครโด่งดังเป็นพลุแตก วนาลีประสบความสำเร็จเป็นอันมาก ส่งผลให้ ศรัณยู-ลลิตา เป็นดาราคู่ขวัญและมีคนเรียกร้องให้แสดงคู่กันอีก วนาลียังได้นำเพลงอมตะของ ม.ร.ว.ถนัดศรี และ รวงทอง \"วนาสวาท\" มาเป็นเพลงประกอบละคร โดยมีเวอร์ชันที่ขับร้องโดย ศรัณยู กับ รัญญา ศิยานนท์", "title": "ศรัณยู วงษ์กระจ่าง" }, { "docid": "20852#7", "text": "ช่วงชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย ศรัณยูกวาดรับบทเด่นใน \"ละคอนถาปัด\" หรือละครเวทีโดยนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ รวมทั้งข้ามไปเล่นให้ละครเวทีของคณะอักษรศาสตร์ด้วย ศรัณยูกล่าวว่า การถือกำเนิดทางด้านการแสดงของเขามี รศ.สดใส พันธุมโกมล เป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาศิลปะการแสดงให้เขาด้วยการยื่นบทนักแสดงนำในละครเวทีคณะอักษรศาสตร์เรื่อง คนดีที่เสฉวน และ พรายน้ำ นำไปสู่อาชีพนักแสดงซึ่งกลายมาเป็นอาชีพที่ศรัณยูรักที่สุด ไม่ใช่เพียงแค่พรสวรรค์ทางด้านการแสดง หน้าตาอันหล่อเหลายังดึงดูดให้มีแฟนๆติดตาม และละครถา'ปัดในช่วงนั้นกลายเป็นสิ่งที่วัยรุ่นจนถึงวัยทำงานในเมืองต้องไปดู ภาพลักษณ์ของการเป็นพระเอกละครถา'ปัด เป็นดรัมเมเยอร์ และเป็นนักรักบี้ สมัยมหาวิทยาลัย ทำให้ศรัณยูกลายเป็นดาวเด่นในสมัยเรียน จนมีกลุ่มซูโม่พูดถึงว่า สาวๆชอบแวะมาคณะสถาปัตย์เพราะ 2 เหตุผล คือ ห้องน้ำสะอาด กับ มาดู ศรัณยู", "title": "ศรัณยู วงษ์กระจ่าง" } ]
445
พระเจ้าซ็อนโจ เกิดเมื่อวันที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "205866#0", "text": "ช็องโจ (; 28 ตุลาคม ค.ศ. 1752 – 18 สิงหาคม ค.ศ. 1800) เป็นพระมหากษัตริย์เกาหลีพระมหากษัตริย์แห่งเกาหลีพระองค์ที่ 22 จากราชวงศ์โชซ็อน สืบพระราชสมบัติต่อจากพระเจ้าย็องโจ พระอัยกาธิราช เมื่อ ค.ศ. 1776 จนกระทั่งเสด็จสวรรคตเมื่อปีค.ศ. 1800 แล้วพระเจ้าซุนโจ พระราชโอรส ได้สืบพระราชสมบัติต่อ", "title": "พระเจ้าช็องโจแห่งโชซ็อน" } ]
[ { "docid": "149284#16", "text": "พระสนม", "title": "พระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อน" }, { "docid": "224175#1", "text": "หลังแผ่นดินพระเจ้าเซจง ช็อนกยุนก็ยังได้ถวายงานพระเจ้ามุนจงและพระเจ้าทันจงด้วย ในปลายรัชและสมัยของพระเจ้าดันจงนี้เกิดการชิงอำนาจอย่างใหญ่จนจอนคยูนได้รับผลกระทบรุนแรงถึงขั้นหลุดจากตำแหน่งเจ้ากรม จากการต่อสู้แย่งชิงอำนาจระหว่างขุนนางกับเชื้อพระวงศ์หลายฝ่าย ในที่สุดฝ่ายขององค์ชายซูยางชนะจึงบังคับให้พระเจ้าดันจงสละราชสมบัติและขึ้นเป็นพระราชาองค์ใหม่นามว่าพระเจ้าเซโจ ต่อมาในกลางปี พ.ศ. 1999 จอนคยอนได้รู้แผนการขบถของกลุ่มขุนนางที่เป็นศัตรูทางการเมือง จึงทำทีเข้าร่วมขบวนการก่อนจะเปิดโปงแผนการทั้งหมดในปีพ.ศ. 2000 ทำให้มีความดีความชอบมากจนกลายเป็นคนโปรดของพระเจ้าเซโจและได้กลับคืนสู่ตำแหน่งเจ้ากรมแผนกขันทีอีกครั้ง เนื่องจากพระเจ้าเซโจได้ลดฐานะของขุนนางที่มีอำนาจให้เป็นแค่พนักงานของรัฐที่ไม่มีสิทธิต้านนโยบายของพระองค์ ทำให้จอนคยอนและแผนกขันทีที่ขึ้นตรงต่อพระราชายิ่งมีอำนาจมากขึ้นไปอีก พระเจ้าเซโจยังโปรดให้จอนคยอนทำการปฏิรูประบบการทำงานของกรมขันทีให้สอดคล้องกับการแนวทางการบริหารราชกิจของพระองค์ใหม่โดยมีคิม ซอ-ซ็อนซึ่งเป็นลูกบุญธรรมเป็นหัวแรงสำคัญ ในที่สุดก็สามารถควบคุมอำนาจได้ทั้งหมดในปี ค.ศ. 1458", "title": "ช็อนกยุน" }, { "docid": "149284#0", "text": "พระเจ้าซ็อนโจ () เป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์โชซ็อนองค์ที่ 14 (พ.ศ. 2110 ถึง พ.ศ. 2151) รัชสมัยของพระองค์เป็นเวลาที่วิกฤตที่สุดในประวัติศาสตร์เกาหลีและมีเหตุการณ์สำคัญหลายอย่าง ทั้งการรุกรานของญี่ปุ่นและการแบ่งฝ่ายของกลุ่มซานิมออกเป็นฝ่ายตะวันออก และฝ่ายตะวันตก ที่จะส่งผลต่อการเมืองอาณาจักรโชซ็อนไปอีกหลายร้อยปี แม้ว่าในสมัยของพระเจ้าซ็อนโจจะมีผู้มีความสามารถมากมาย เช่น ลีซุนชิน ลีฮวาง ลีอี แต่ความแตกแยกก็ทำให้โชซ็อนต้องเผชิญกับศึกหนัก", "title": "พระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อน" }, { "docid": "70430#0", "text": "พระเจ้าซ็องจง ( ค.ศ. 1457 - ค.ศ. 1494) เป็นกษัตริย์ลำดับที่ 9 ของราชวงศ์โจซ็อน (ค.ศ. 1469 - 1494)", "title": "พระเจ้าซ็องจงแห่งโชซ็อน" }, { "docid": "149284#2", "text": "เช่นเดียวกับกษัตริย์เกาหลีองค์อื่น ในระยะแรกของรัชสมัยของพระเจ้าซ็อนโจเป็นกษัตริย์ที่ทุ่มเทเพื่อความเป็นอยู่ของชาวบ้าน และพัฒนาประเทศ เพราะอาณาจักรโชซ็อนประสบปัญหาความอ่อนแอของการปกครองเนื่องจากเหตุการณ์ตั้งแต่สมัยเจ้าชายยอนซัน สมัยพระเจ้าจุงจงที่ทรงไม่มีอำนาจปกครอง การแก่งแย่งอำนาจของฝ่ายยุนใหญ่และยุนเล็ก จนถึงการปกครองที่ทุจริตของยุนวอนฮัง พระเจ้าซ็อนโจเปลี่ยนแปลงการสอบควากอ (จอหงวน) ใหม่โดยเพิ่มการสอบเกี่ยวกับรัฐศาสตร์การปกครองและประวัติศาสตร์เข้าไป ซึ่งแต่เดิมมีแต่การสอบปรัชญาขงจื้อและการแต่งกลอนเท่านั้น ", "title": "พระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อน" }, { "docid": "221258#2", "text": "ราชสำนักโชซอนในสมัยนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของราชนิกูล หรือการปกครองแบบ<i data-parsoid='{\"dsr\":[1858,1866,2,2]}'>เซโด (Korean: 세도정치 勢道政治) ซึ่งเป็นการปกครองโดยพระญาติของพระมเหสีหรือพระพันปี ได้แก่ ตระกูลคิมแห่งอันดง ตระกูลโจแห่งพุงยาง และตระกูลฮงแห่งนัมยาง ซึ่งตระกูลเหล่านี้คอยแก่งแย่งผลัดกันขึ้นมามีอำนาจและมักหาทางกำจัดองค์ชายที่มีความสามารถไปให้พ้นทาง องค์ชายฮึงซ็อนตระหนักถึงความจริงข้อนี้ดีจึงทรงแสร้งทำองค์เหมือนคนวิปริตไร้ความสามารถ ขาดสติปัญญา เพื่อที่จะไม่เป็นที่สนใจของตระกูลคิมแห่งอันดงซึ่งมีอำนาจอยู๋ในขณะนั้น[1] จนกระทั่งค.ศ. 1863 พระเจ้าชอลจงสวรรคตโดยที่ไม่มีทายาท ทำให้ราชบัลลังก์ขาดผู้สืบทอด องค์ชายฮึงซ็อนได้ทรงเข้าหาพระอัยยิกาตระกูลโจแห่งพุงยาง ผู้ทรงอาวุโสที่สุดในราชสำนักขณะนั้น โดยเสนอให้ยกบุตรชายของตนคือ ลี มยองบก (Korean: 이명복 李命福) ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ต่อไป เนื่องจากองค์ชายลีมยองบกมีพระชนมายุเพียงแค่สิบเอ็ดพระชันษาพระอัยยิกาโจจึงสามารถกุมอำนาจในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนได้[2] ซึ่งพระอัยยิกาตระกูลโจก็ทรงเห็นชอบจึงยกให้องค์ชายลีมยองบกเป็นกษัตริย์เกาหลีองค์ต่อมา คือ พระเจ้าโกจงแห่งโชซอน", "title": "แทว็อนกุนฮึงซ็อน" }, { "docid": "133828#10", "text": "ในบันทึกประวัติศาสตร์ทางฝ่ายจีน ได้มีการกล่าวถึงเรื่องของจี้จื่อ ที่ในประวัติศาสตร์ฝ่ายเกาหลีเรียกว่า กีจา ได้เดินทางไปยังโคโจซ็อนในพ.ศ. 36 และยังได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ปกครองโคโจซ็อนต่อมาด้วยเช่นกัน ในประวัติศาสตร์จีนกล่าวถึงจี้จื่อว่าเป็นพระอาจารย์ของกษัตริย์ติ้ซิง กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ซางกษัตริย์พระองค์นี้เป็นกษัตริย์ทรราช จี้จือถูกจับคุมขังด้วยความไม่พอใจส่วนตัวของกษัตริย์ ต่อมาเมื่อราชวงศ์ซางล่มสลาย โจวอู่หวังผู้โคนล้มราชวงศ์ซางได้ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์โจว จึงได้ปลดปล่อยจี้จื่อออกมา และเนรเทศออกจากแผ่นดินจีน จี้จื่อจึงได้พาคนจำนาน 5000 คน ออกจากจีน เดินทางมุ่งหน้าขึ้นเหนือ จนกระทั่งมาสุดที่ดินแดนหนึ่งที่เรียกว่า เจ่าเซียน ซึ่งก็คือ โคโจซ็อน และด้วยความรู้ที่มีมากมาย จึงได้รับตำแหน่งเป็นขุนนางที่นั้น จี้จื่อได้เป็นผู้สอนให้ชาวโคโจซ็อนได้เรียนรู้กับวัฒนธรรมของชาวจีน กระทั่งต่อมา จี้จื่อได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ของชาวโคโจซ็อน เป็นต้นราชวงศ์จี้จื่อ หรือ กีจาโจซอน", "title": "อาณาจักรโชซ็อนโบราณ" }, { "docid": "479523#2", "text": "คิม ซ็อนบิน เป็นผู้ฝึกสอนการยิงธนูชาวเกาหลีใต้ ผู้ให้การฝึกสอนแก่นักกีฬายิงธนูทีมชาติไทยหลายราย โดยเขาได้เข้าประจำอยู่ที่ประเทศไทยเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ซึ่งนักยิงธนูแต่ละคนที่ได้รับการฝึกล้วนมีฝีมือที่พัฒนาขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องด้วย คิม ซ็อนบิน เป็นผู้ที่มีความจริงจัง และทำการฝึกซ้อมวันละ 3 เวลา นอกจากนี้ สงวน โฆษะวินทะ ซึ่งเป็นนายกสมาคมกีฬายิงธนูแห่งประเทศไทย ยังเคยให้โอกาสเจนจิรา เกิดประสพ เข้ารับการฝึกจาก คิม ซ็อนบิน โดยเชื่อว่าหากเธอได้รับการฝึกจากเขาย่อมมีโอกาสที่จะได้รับเหรียญรางวัลจากการแข่งขันซีเกมส์ 2009 ได้เช่นกัน ทั้งนี้ คิม ซ็อนบิน ได้รับค่าตัวที่ 50,000 เหรียญสหรัฐต่อเดือนจากสมาคมกีฬายิงธนูแห่งประเทศไทย รวมถึงเป็นผู้ฝึกสอนนักยิงธนูทีมชาติไทยในกีฬายิงธนูในเอเชียนเกมส์ 2010 ที่กว่างโจว", "title": "คิม ซ็อนบิน" }, { "docid": "853731#1", "text": "ชินริปเกิดเมื่อ ค.ศ. 1546 อันตรงกับปีที่ 2 ในรัชกาล พระเจ้ามยองจง พระราชาลำดับที่ 13 สอบ ควากอ ผ่านและได้เป็น จอหงวน ฝ่ายบู๊เมื่อ ค.ศ. 1568 ตรงกับปีที่ 3 ในรัชสมัย พระเจ้าซ็อนโจ ขณะอายุได้ 22 ปี", "title": "ชินริป" }, { "docid": "149284#15", "text": "พระเจ้าซ็อนโจ แทโจโซคยอง จองรยุน ริปกุ๊ก ซองด็อก ฮงรยอล จิซอง แดอึย คยอกชอล เฮอึน คยองมยอง ซินรยอก ฮงคง ยุนคอป ฮนอนมุน อึยมู ช็อนคเย ดันฮโย แห่งเกาหลีพระมเหสี", "title": "พระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อน" }, { "docid": "149284#12", "text": "สำหรับสงครามการเมืองนั้น ฝ่ายตะวันออกมีชัย เพราะหลังจากผ่านสงครามมาทำให้ประเทศต้องการการเปลี่ยนแปลงปฏิรูป ซึ่งฝ่ายตะวันตกที่หัวโบราณไม่อาจจะแก้ไขปัญหาที่ประสบอยู่ได้ แต่ฝ่ายตะวันออกนั้นเร่งรัดการปฏิรูปจนยูซองนยองเสนอว่าไม่ควรจะปฏิรูปให้เร็วเกินไป ชะลอลงบ้าง เพราะยูซองนยองอาศัยอยู่ทางใต้ จึงเรียกฝ่ายสนับสนุนยูซองนยองว่าฝ่ายใต้ (นัมอิน) ส่วนที่เหลือเรียกว่าฝ่ายเหนือ (พุกอิน) และฝ่ายเหนือก็ยังแบ่งอีก เป็นฝ่ายเหนือใหญ่ (แทบุก) และฝ่ายเหนือเล็ก (โซบุก) เป็นการแบ่งฝ่ายอีกครั้ง ทำให้การเมืองโจซ็อนมีหลายพรรคหลายพวก ซึ่งจะขัดขวางความเจริญของประเทศไปอีกหลายร้อยปี", "title": "พระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อน" }, { "docid": "149284#17", "text": "พระราชโอรส", "title": "พระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อน" }, { "docid": "149284#18", "text": "พระราชธิดา", "title": "พระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อน" }, { "docid": "133828#8", "text": "ในบันทึกของแคว้นฉี สมัยราชวงศ์โจวก็มีบันทึกถึงการติดต่อระหว่างแคว้นฉีและชาวโคโจซ็อน แคว้นนี้ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามระหว่างทะเลป๋อไห่กับโคโจซ็อน และยังปรากฏอีกว่าในระหว่างเกิดสงครามระหว่างรัฐขึ้นในจีนปลายสมัยราชวงศ์โจว ช่วงระหว่าง พ.ศ. 68 ถึง พ.ศ. 322 คนจากแคว้นเอี๋ยนที่เป็นเขตติดต่อกันกับโคโจซ็อน ก็อพยพหลั่งไหลทะลักเข้าไปในโคโจซ็อนอย่างมากมายด้วยเช่นกัน", "title": "อาณาจักรโชซ็อนโบราณ" }, { "docid": "133828#13", "text": "โคโจซ็อนในสมัยเหว่ยมั่งนี้มีการขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวางขึ้นอีก และเพื่อป้องกันการถูกโจมตีจากจีนเหว่ยมั่งได้ผูกสัมพันธ์กับชนเผ่าซ่งหนู อันเป็นเผ่าเร่รอนที่อาศัยอยู่ในแมนจูเรียจากนั้นก็พยายามติดต่อกับแคว้นอื่นๆ ในจีน ราชวงศ์ของเหว่ยมั่งสืบต่อมาจนกระทั่งถึง พ.ศ. 434 ในสมัยของหยูฉู่ ซึ่งเป็นรุ่นหลานขึ้นมาเป็นกษัตริย์ปกครอง ในขณะนั้นจีนอยู่ในยุคสมัยของกษัตริย์ ฮั่นหวูตี้ พระเจ้าฮั่นหวูตี้ได้นำกองทัพเข้าโจมตีโคโจซ็อน สงครามดำเนินไปอยู่จนกระทั่งอีกปีต่อมา ในที่สุดเมืองหลวงวังกอมซองก็ถูกยึดโดยกองทัพราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์เหว่ยมั่งจึงสิ้นสุดลงเพียงเท่านั้นพร้อมกับจุดสิ้นสุดของอาณาจักรโชซ็อนโบราณ ที่ต้องตกเป็นเมืองขึ้นครั้งแรกของจีนราชวงศ์ฮั่น นับแต่ พ.ศ. 435 ราชวงศ์ฮั่นได้แบ่งอาณาจักรโชซ็อนโบราณออกเป็นสี่แคว้น คือ มณฑลนังนัง มณฑลชินบอน มณฑลอินดุน และมณฑลฮย็อนโท แต่ราชวงศ์ฮั่นได้ปกครองอย่างจริงจังเพียงมณฑลเดียวคือ มณฑลนังนังเพราะเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ ทำให้แคว้นอื่นๆ ค่อยๆแยกตัวออกไปอย่างอิสระในที่สุด แต่ภายหลังอาณาจักรนังนังก็สามารถกู้เอกราชมาได้ โดยพระเจ้าชอยรี", "title": "อาณาจักรโชซ็อนโบราณ" }, { "docid": "149284#3", "text": "เพื่อที่จะพัฒนาประเทศ พระเจ้าซ็อนโจรับเอาปราชญ์กลุ่มซานิมกลับเข้ามารับราชการ ยกย่องขุนนางซานิมเก่าที่เคยถูกลงโทษ เช่น โจกวางโจ และทำลายอำนาจของกลุ่มฮุงงู ในพ.ศ. 2118 ขุนนางซานิมสองคน คือ ชิมอึย-กยอม และคิมฮโยวอน แข่งขันกันเพื่อที่จะแย่งตำแหน่งจองนัง (ขั้น 4) สังกัดฝ่ายบุคคล (อีโจ) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไม่สูงนักแต่มีอำนาจสามารถแนะนำขุนนางให้ดำรงตำแหน่งต่างๆในซัมซา (ผู้ตรวจรวจการทั้งสาม ประกอบด้วย ซาฮองบู ซากันวาน และฮงมุนวาน) ได้ ชิมอึยกยอมเป็นพระญาติของมเหสี ส่วนคิมฮโยวอนเป็นศิษย์ของลีฮวาง ปราชญ์ขงจื้อชื่อดัง ", "title": "พระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อน" }, { "docid": "149284#11", "text": "สงครามอิมิจินได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าพระเจ้าซ็อนโจละเลยหน้าที่ในฐานะผู้นำประเทศ เพราะขณะที่ขุนพลทั้งหลายต่อสู้กับญี่ปุ่นแต่หลบหนีไปจีน และที่กระทำกับลีซุนชินนั้นก็เป็นการขัดขวางความสำเร็จของโชซ็อน ทำให้นักประวัติศาสตร์กล่าวว่าทรงเป็นหนึ่งในกษัตริย์เกาหลีที่อ่อนแอ", "title": "พระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อน" }, { "docid": "149284#13", "text": "พระเจ้าซ็อนโจเหน็ดเหนื่อยหลังจากผ่านวิกฤตมามาก จึงมอบให้องค์ชายควางแฮว่าราชการแทน แต่เมื่อมเหสีอินมอกประสูติองค์ชายยอนชัง ก็เป็นเหตุให้ฝ่ายเหนือใหญ่และฝ่ายเหนือเล็กขัดแย้งกัน เพราะฝ่ายเหนือใหญ่สนับสนุนองค์ชาวควางแฮ และฝ่ายเหนือเล็กสนับสนุนองค์ชายยอนชัง", "title": "พระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อน" }, { "docid": "209992#3", "text": "ในเรื่อง The King and I (บันทึกรัก คิม ชอ-ซ็อน สุภาพบุรุษมหาขันที) ปี 2007 คิม ชอ-ซ็อนเป็นพระสหายสนิทกับ พระเจ้าซองจง และ พระมเหสีแจฮยอน (ยุนโซฮวา) และได้เป็นเจ้ากรมมหาดเล็กในรัชสมัย องค์ชายยอนซันกุน\nท่านเป็นบุตรชายคนเดียวของ คิมจามยอง หัวหน้าองครักษ์ในรัชสมัย พระเจ้าดันจง หัวหน้าผู้ก่อการกบฏต่อ พระเจ้าเซโจ กับโอซังกุง\nแม่นมใน องค์ชายชาซาน เมื่อบิดาของเขาก่อการไม่สำเร็จและถูกฆ่าตาย มารดาจึงอุ้มท้องเขาเข้าป่าและคลอดที่นั่น\nต่อมาได้เข้ามาเป็นมหาดเล็ก เพราะความช้ำใจในความรักที่มีต่อพระมเหสีแจฮอน (ยุนโซฮวา) และได้เป็นมหาดเล็กคนสนิทของพระเจ้าซองจง และได้เป็นเจ้ากรมมหาดเล็กในรัชกาลองค์ชายยอนซันกุน เนื่องจากเป็นบุตรบุญธรรมของโช-ชิคยอม(ประวัติศาสตร์บันทึกชื่อไว้ว่า จอนคยอน) เจ้ากรมมหาดเล็กคนก่อนหน้า ต่อมาคิม ชอ-ซ็อนได้พบกับ โอซังกุง มารดาผู้ให้กำเนิดอีกครั้ง เมื่อได้เป็นเจ้ากรมมหาดเล็กแล้ว", "title": "คิม ชอ-ซ็อน" }, { "docid": "149284#9", "text": "พระเจ้าซ็อนโจเมื่อกลับมาก็พบว่าวังของพระองค์เหลือแต่เถ้าถ่าน จึงสร้างพระราชวังใหม่ชื่อว่า พระราชวังต๊อกซู (ต๊อกซูกุง) ยูซอง-ลยอง เสนอว่าโชซ็อนควรจะรับปืนมาใช้ และปรับปรุงกองทัพรวมทั้งเกณฑ์ไพร่พลทุกชนชั้นตั้งแต่ยังบันถึงชอนมิน พ.ศ. 2140 การเจรจาระหว่างจีนและญี่ปุ่นไม่เป็นผล ญี่ปุ่นจึงบุกโชซ็อนอีกครั้งแต่ไม่ง่ายเหมือนคราวก่อน ยึดได้แต่แคว้นเคียงซังและจอลลาทางใต้ ญี่ปุ่นยังวางแผนกำจัดลีซุนชินโดยการหลอกว่าจะส่งทัพเรือมาบุกฮันซองทางทะเล แต่ลีซุนชินไม่เชื่อว่าจะมาได้เพราะผิดหลักยุทธศาสตร์ แต่พระเจ้าซ็อนโจทรงเห็นว่าลีซุนชินขัดพระราชโองการจึงรับสั่งให้จับเข้าคุก เมื่อไม่มีลีซุนชอนโชซ็อนจึงพ่ายแพ้ยับเยินที่ชิลชอน-นยาง จึงปล่อยตัวลีซุนชินและสามารถเอาชนะญี่ปุ่นที่เมียงนัง ", "title": "พระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อน" }, { "docid": "221258#9", "text": "ค.ศ. 1866 เมื่อพระเจ้าโกจงมีพระชนมายุสิบห้าชันษาถึงเวลาอภิเษกสมรส พระอัยยิกาตระกูลโจและแทว็อนกุนฮึงซ็อน พระบิดาของพระเจ้าโกจงเป็นผู้คัดเลือกพระมเหสีองค์ใหม่ พระชายาของแทว็อนกุนคือ พระชายายอฮึง (Korean: 여흥부대부인 驪興府大夫人) ได้แนะนำสตรีจากตระกูลของพระนาง เป็นบุตรสาวของมินชีรก (Korean: 민치록 閔致祿) ให้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าโกจง ซึ่งแทว็อนกุนฮึงซ็อนนั้นก็เห็นด้วยเนื่องจากว่าเป็นตระกูลของพระชายาของเจ้าชายแทวอนเอง ซึ่งเป็นตระกูลที่มีอิทธิพลและบทบาทในราชสำนักน้อย ไม่น่าจะเป็นภัยคุกคามต่อแทว็อนกุนในอนาคต แต่ปรากฏว่าพระมเหสีองค์ใหม่จากตระกูลมิน (จักรพรรดินีมย็องซ็อง) กลับเข้ามาแทรกแซงกิจการบ้านเมืองและนำตระกูลมินแห่งยอฮึงเข้ามามีอำนาจในราชสำนักแข่งขันกันกับแทว็อนกุน", "title": "แทว็อนกุนฮึงซ็อน" }, { "docid": "133828#7", "text": "ชาวโคโจซ็อนมีวัฒนธรรมของชุมชนที่ยังชีพด้วยการเพาะปลูก ในบันทึกของชาวจีนเคยมีการบันทึกและกล่าวถึงชาวโคโจซ็อนในสมัยราชวงศ์โจว และเรียกโคโจซ็อนว่าเป็นกลุ่มพวก นักรบคนเถื่อนแห่งตะวันออก ซึ่งในสมัยราชวงศ์โจว นี้มีกลุ่มชาวจีนเรียกว่าคนเถื่อนอยู่มากมายหลายกลุ่มที่อาศัยอยู่นอกเขตแดนที่ราบภาคกลางของจีน ซึ่งเป็นชนเผ่าเรร่อนอาศัยอยู่ในแถบมองโกเลียและแมนจูเรีย โคโจซ็อนที่มีเขตแดนติดต่อกับแมนจูเรีย จึงถูกเรียกรวมไปว่าเป็นพวกคนเถื่อน ถึงแม้ชาวโคโจซ็อนจะไม่ได้เป็นพวกเร่ร่อนก็ตาม", "title": "อาณาจักรโชซ็อนโบราณ" }, { "docid": "149284#6", "text": "โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ รวบรวมประเทศญี่ปุ่นในยุคเซงโงกุได้สำเร็จ และมีความทะเยอทะยานที่จะพิชิตจีน จึงส่งทูตมาโชซ็อนเพื่อขอความร่วมมือในการบุกยึดจีนในพ.ศ. 2130 โดยผ่านทางตระกูลโซเจ้าครองเกาะซึชิมา ซึ่งเป็นทางเดียวที่โชซ็อนติดต่อกับญี่ปุ่น แต่เจ้าครองเกาะเห็นว่า โชซ็อนไม่มีวันจะเข้ากับญี่ปุ่นรุกรานจีน หากส่งสาสน์ไปจะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการค้าที่เกาะซึชิมาพึงมี จึงเปลี่ยนแปลงเนื้อความในสารให้เป็นการทำสัมพันธไมตรีธรรมดา ในพ.ศ. 2133 พระเจ้าซ็อนโจจึงส่งทูตไปขอบพระทัยโทโยโตมิที่เกียวโต แต่โทโยโตมิกำลังทำสงครามกับไดเมียวอื่นอยู่ ทำให้ทูตโชซ็อนต้องรออยู่หลายวัน และโทโยโตมิเข้าใจว่าทูตโชซ็อนมาส่งบรรณาการ จึงไม่ให้การต้องรับอย่างสมเกียรติเท่าที่ควร และเขียนสาสน์อย่างไม่เคารพพระเจ้าซ็อนโจ ให้ร่วมมือกันบุกยึดจีน", "title": "พระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อน" }, { "docid": "133828#11", "text": "ในเรื่องของชาวจีนที่ไปเป็นกษัตริย์ปกครองโคโจซ็อนนี้ปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ของเกาหลีในสองยุคสมัย จึงมักทำให้สับสนว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในยุคสมัยใดกันแน่ เหตุการณ์แรกคือเรื่องของ จี้จื่อ หรือ กีจา นี้เกิดในช่วงของโคโจซ็อนยุคกลาง ตรงกับยุคสมัยราชวงศ์โจว แต่อีกเหตุการณ์หนึ่งนั้นเกิดขึ้นสมัยโคโจซ็อนยุคปลาย ซึ่งตรงกับยุคสมัยราชวงศ์ฮั่นของจีน เหตุการณ์ครั้งหลังนี้ยังนำมาสู่การก่อตั้งอาณาจักรแห่งใหม่ขึ้นอีกแห่งทางตอนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ในประวัติศาสตร์ช่วงหลังนี้กล่าวถึงขุนพลชาวจีนผู้หนึ่งนามว่า เหว่ยมั่ง ในพ.ศ. 349 เหว่ยมั่งเป็นขุนพลจากแคว้นเอี๋ยน ที่ลี้ภัยเข้าไปอยู่ในอาณาจักรโคโจซ็อน แล้วเข้ารับใช้กษัตริย์จุน ที่ปกครองโคโจซ็อนในขณะนั้น", "title": "อาณาจักรโชซ็อนโบราณ" }, { "docid": "149284#1", "text": "องค์ชายฮาซง เป็นพระโอรสขององค์ชายทอกกึง ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้าจุงจงกับพระสนมอันชางบิน เป็นองค์ชายธรรมดาที่ห่างไกลจากราชบัลลังก์และไม่มีขุนนางใดสนับสนุนให้มีอำนาจ แต่ในพ.ศ. 2110 พระเจ้าเมียงจง สิ้นพระชนม์โดยที่ไม่มีทายาท บรรดาขุนนางจึงสรรหาพระราชวงศ์ที่พระเยาว์มาขึ้นครองราชย์ องค์ชายฮาซงจึงถูกเลือกและขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าซ็อนโจ และเลื่อนสถานะของพระบิดาและพระมารดาเป็นแทวอนกุนและแทกุนบูอิน", "title": "พระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อน" }, { "docid": "833374#0", "text": "เจ้าชายจองวอน () หรือในภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น พระเจ้าวอนจงแห่งโชซ็อน พระราชโอรสใน พระเจ้าซ็อนโจ ที่ประสูติแต่ พระสนมอินบิน จากตระกูลคิมแห่งซูวอน เป็นพระราชอนุชาต่างพระมารดาของ เจ้าชายควังแฮ พระราชาลำดับที่ 15 และเป็นพระราชบิดาของ องค์ชายนึงยาง ที่ในภายหลังได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น พระเจ้าอินโจ พระราชาลำดับที่ 16 แห่งโชซ็อน", "title": "เจ้าชายจองวอน" }, { "docid": "133828#6", "text": "ชื่อโคโจซ็อนนี้กำหนดขึ้นโดยนักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ ตามตำนานการสร้างประเทศเกาหลีกล่าวว่า เกาหลีในยุคสมัยเริ่มแรกเรียกว่าโชซ็อน แต่ในประวัติศาสตร์ยุคสมัยสุดท้ายก่อนที่เกาหลีจะเข้าสู่ยุคสมัยใหม่นั้นก็เรียกว่า โชซ็อน เช่นกัน จึงต้องมีการแบ่งแยกยุคสมัยทั้งสองออกจากกัน โชซ็อน ยุคแรกจึงต้องเรียกว่า โคโจซ็อน ซึ่งคำว่า โก แปลว่า เก่า หรือ โบราณ รวมกันจึงหมายถึง โชซ็อนโบราณ สมัยโคโจซ็อนนี้นับตั้งแต่ปี 1790 ก่อน พุทธศักราช จนกระทั่งถึง พ.ศ. 435 ในทางโบราณคดีนั้นจัดยุคสมัยโคโจซ็อนนี้อยู่ในยุคสำริด แต่ก้าวเข้าสู่ยุคเหล็กในช่วงปลายยุค จากหลักฐานที่ค้นพบเครื่องมือเครื่องใช้และถ้วยชามต่างๆ ของผู้คนในสมัยโคโจซ็อนก็บ่งบอกเช่นนั้น", "title": "อาณาจักรโชซ็อนโบราณ" }, { "docid": "149284#7", "text": "การกระทำของโทโยโตมิสร้างความแปลงประหลาดใจและความสงสัยให้กัยโชซ็อนอย่างมาก และไม่เชื่อว่าญี่ปุ่นจะมีความสามารถทำอะไรจีนราชวงศ์หมิงได้ ทูตฝ่ายตะวันตกรายงานว่าโทโยโตมิสะสมกำลังกองทัพไว้ขนาดใหญ่มาก แต่ทูตฝ่ายตะวันออกกลับบอกว่ากองทัพนี้เอาไว้รบกับไดเมียวอื่นๆในญี่ปุ่น พระเจ้าซ็อนโจทรงเชื่อฝ่ายตะวันออก และทรงละเลยความเป็นไปได้ของภัยคุกคามจากญี่ปุ่น", "title": "พระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อน" }, { "docid": "149284#5", "text": "จนลีอี หัวหน้าขุนนางซานิมต้องมาไกล่เกลี่ยมิให้มีการแตกแยก โดยการส่งคิมฮโยวอนไปเมืองพูรยอง และส่งชิมอึยกยอมไปเมืองแคซอง เพื่อตัดปัญหา ให้ไปปกครองท้องถิ่นแทน แต่ฝ่ายทงอินกล่าวหาว่าลีอีเข้าข้างฝ่าซออิน เพราะส่งคิมฮโยวอนไปไกลทางเหนือ แต่ส่งชิมอึยกยอมไม่แค่เมืองแคซองใกล้ๆ ฝ่ายตะวันตกมีอำนาจขึ้นมาก่อนเพราะได้รับการสนับสนุนจากขุนนางอาวุโสและพระราชวงศ์ ขณะที่ฝ่ายตะวันออกเรียกร้องให้มีการปฏิรูปแต่ได้รับการปฏิเสธทุกครั้ง ในพ.ศ. 2126 ลีอี ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้ากรมกลาโหม เห็นว่าพวกแมนจูและญี่ปุ่นสะสมกำลังมากขึ้น โชซ็อนควรเตรียมรับมือให้พร้อมโดยการเพิ่มกำลังกองทัพ แต่ทั้งสองฝ่ายและพระเจ้าซ็อนโจไม่มีใครเห็นด้วยเลย เพราะเชื่อว่าบ้านเมืองจะสงบสุขตลอดไป แต่หารู้ไม่อีกไม่กี่ปีข้างหน้าโชซ็อนจะถูกทั้งญี่ปุ่นและแมนจูบดขยี้จนย่อยยับ ลีอีสิ้นชีวิตในพ.ศ. 2127", "title": "พระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อน" }, { "docid": "149284#14", "text": "พระเจ้าซ็อนโจสิ้นพระชนม์ในพ.ศ. 2151 โดยที่สถานการณ์ทางการเมืองยังคุกรุ่น องค์ชายควางแฮสืบบัลงก์ต่อจากพระองค์", "title": "พระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อน" } ]
1768
การสังหารหมู่ในนครชิคาโกด้วยยาไทลินอล มีผู้เสียชีวิตกี่คน ?
[ { "docid": "234245#0", "text": "การสังหารหมู่ในนครชิคาโกด้วยยาไทลินอล () เป็นเหตุการณ์สังหารคนหมู่ซึ่งเกิดขึ้น ณ เขตมหานครชิคาโก (Chicago metropolitan area) รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ในฤดูใบไม้ร่วงของ พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) เมื่อมีผู้เจือสารพิษโพแทสเซียมไซยาไนด์ (potassium cyanide) ลงในยาแคปซูลแก้ปวดระดับความแรงพิเศษยี่ห้อดัง \"ไทลินอล\" ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตไล่เลี่ยกันจำนวนเจ็ดรายหลังจากรับประทานยาไทลินอลดังกล่าวเข้าไปแล้ว", "title": "การสังหารหมู่ในนครชิคาโกด้วยยาไทลินอล พ.ศ. 2525" } ]
[ { "docid": "234245#2", "text": "เช้าตรู่ของวันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) เด็กหญิงวัยสิบสองปีนาม แมรี เคลเลอร์แมน (Mary Kellerman) แห่งหมู่บ้านเอลก์โกรฟ นครชิคาโก คุกเคาน์ตี (Elk Grove Village, Cook County) รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา เสียชีวิตอย่างกะทันหันหลังจากรับประทานยาแก้ปวดระดับความแรงพิเศษยี่ห้อ \"ไทลินอล\" เมื่อเช้าวันนั้น", "title": "การสังหารหมู่ในนครชิคาโกด้วยยาไทลินอล พ.ศ. 2525" }, { "docid": "234245#3", "text": "ถัดมาไม่นาน แอดัม เจเนิส (Adam Janus) แห่งหมู่บ้านอาร์ลิงทันไฮส์ (Arlington Heights) นคร เคาน์ตี และรัฐเดียวกัน ไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาลท้องถิ่น และหลังจากนั้นไม่นานอีก สแตนลีย์ เจเนิส (Stanley Janus) แห่งหมู่บ้านไลล์ ดูปาชเคาน์ตี (Lisle Village, DuPage County) นครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ผู้เป็นน้องชายของแอดัม เจเนิส พร้อมด้วยเธเรซา เจเนิส (Theresa Janus) ภรรยาของสแตนลีย์ ก็เสียชีวิตตามไปด้วยในวันเดียวกันขณะกำลังร่วมพิธีศพของแอดัม เจเนิส ผลการสืบสวนพบว่าทั้งหมดตายเพราะรับประทานยาแก้ปวดกระปุกเดียวกัน", "title": "การสังหารหมู่ในนครชิคาโกด้วยยาไทลินอล พ.ศ. 2525" }, { "docid": "234245#9", "text": "ยังมีชายอีกคนซึ่งต้องสงสัยในคดีสังหารหมู่ นามว่า รอเชอร์ อาร์โนลด์ (Roger Arnold) เขาถูกนำตัวไปสอบสวนแต่พบว่าไม่ได้กระทำผิด กระนั้น การตกเป็นเป้าความสนใจของสื่อมวลชน ทำให้รอเชอร์เกิดอาการเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจ (nervous breakdown) อย่างรุนแรง และโทษชายเจ้าของร้านอาหารนาม มาร์ที ซินแคลร์ (Marty Sinclair) ว่าเป็นคนชักนำเจ้าหน้าที่ตำรวจมาจับตัวเขา ท่ามกลางฤดูร้อนของ พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) หรือปีถัดมาจากปีเกิดเหตุสังหารหมู่ รอเชอร์ตัดสินใจจะใช้ปืนสังหารมาร์ทีเสียเป็นการแก้แค้น แต่เขายิงผิดตัว เพราะกลับเป็นชายที่ไร้มลทินคนหนึ่งนาม จอห์น สแตนิเชอ (John Stanisha ) ที่ถูกยิงแทน ใน พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) ศาลจึงพิพากษาให้รอเชอร์ถูกจำคุกสิบห้าปี จากอัตราโทษสูงสุดจำคุกสามสิบปี เขาจบชีวิตขณะรับโทษในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2008)", "title": "การสังหารหมู่ในนครชิคาโกด้วยยาไทลินอล พ.ศ. 2525" }, { "docid": "234245#13", "text": "โศกนาฏกรรมในนครชิคาโกที่คร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปเจ็ดราย ยังให้มีเหตุการณ์เลียนผุดตามขึ้นมาอีกเป็นจำนวนหนึ่งใน พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) ปีถัดมา บรรดาผู้ประกอบการเครื่องบริโภคต่าง ๆ ต้องพากับขบคิดหาหนทางปฏิรูประบบและวิธีการบรรจุภัณฑ์เพื่อป้องกันการลักลอบเจือปนสิ่งไม่พึงประสงค์ลงในสินค้า และอุตสาหกรรมทางเภสัชภัณฑ์หลีกเลี่ยงไม่ผลิตสินค้าในรูปแคปซูล เพราะการเปิดหลอดแคปซูลออกแล้วเจือสิ่งแปลกปลอมลงไปในนั้นสามารถกระทำได้โดยง่าย และโดยไม่ทิ้งร่องรอยพิรุธไว้อีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงกฎหมายให้ถือว่า คดีเกี่ยวกับการเจือปนสารพิษในเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นอาชญากรรมระดับชาติ และองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาก็ตราระเบียบใหม่เพื่อป้องกันการกระทำผิดในรูปแบบนี้ ซึ่งระเบียบดังกล่าวส่งผลให้ \"แคปเลต\" (caplet) หรือยาเม็ดแข็งที่ทำเป็นรูปแคปซูล เข้ามาแทนที่แคปซูลซึ่งเป็นปลอกพลาสติกบรรจุแป้งยาภายใน", "title": "การสังหารหมู่ในนครชิคาโกด้วยยาไทลินอล พ.ศ. 2525" }, { "docid": "234245#16", "text": "โฆษกสำนักงานสืบสวนกลางฯ แถลงในนครชิคาโก โดยปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นในเรื่องข้างต้น แต่กล่าวว่าจะมีอะไรให้ได้เห็นกันอย่างแน่นอนในเร็ววันนี้ ทั้งนี้ เนื่องจากมีผู้ส่งความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์แก่รูปคดีไปยังสำนักงานฯ อย่างมากมาย และในแถลงการณ์ของสำนักงานฯ ก็ระบุว่าจะมีการพิจารณารื้อฟื้นคดีสังหารหมู่ในนครชิคาโกขึ้น ความตอนหนึ่งว่า \"\"การทบทวนครั้งนี้เป็นผลส่วนหนึ่งมาจากการที่อาชญากรรมนี้ครบรอบ 25 ปีเมื่อไม่นานมานี้ทำให้เรื่องราวในคดีกลายเป็นที่สนใจของสาธารณชน นอกจากนี้แล้วจากการที่เทคโนโลยีทางนิติวิทยาศาสตร์มีความก้าวหน้ามากขึ้น ก็เป็นธรรมดาที่จะต้องมีการฟื้นคดีและค้นหาพยานหลักฐานกันอีกครา\"\"", "title": "การสังหารหมู่ในนครชิคาโกด้วยยาไทลินอล พ.ศ. 2525" }, { "docid": "234245#15", "text": "ต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) เจ้าหน้าที่ตำรวจสำนักงานสืบสวนกลาง หรือเอฟบีไอ กรมยุติธรรม นำกำลังเข้าจับกุมเจมส์ ดับเบิลยู. ลิวอีส อดีตผู้ต้องสงสัยรายหนึ่งในคดีสังหารหมู่นี้ ไปกักตัวไว้ชั่วคราวรอการสอบสวน และตรวจค้นบ้านพักของเขาซึ่งอยู่ ณ เมืองเคมบริดจ์ มิดเดิลเซ็กซ์เคาน์ตี (Middlesex County) รัฐแมสซาชูเซ็ตส์", "title": "การสังหารหมู่ในนครชิคาโกด้วยยาไทลินอล พ.ศ. 2525" }, { "docid": "234245#17", "text": "อย่างไรก็ดี สถานีโทรทัศน์ช่องดับเบิลยูซีวีบีไฟฟ์ (WCVB 5) ของนครบอสตัน รายงานเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) ว่า สำนักงานฯ ได้ปล่อยตัวเจมส์ ดับเบิลยู. ลิวอีส ไปแล้วเนื่องจากไม่อาจหาหลักฐานเพียงพอจะสนับสนุนข้อกล่าวหาเขาได้ และขณะนี้เจมส์ก็กลับไปพำนักอยู่ยังบ้านที่เมืองเคมบริดจ์ดังเดิม", "title": "การสังหารหมู่ในนครชิคาโกด้วยยาไทลินอล พ.ศ. 2525" }, { "docid": "234245#5", "text": "ด้วยการปฏิบัติหน้าที่อย่างรวดเร็ว พนักงานสืบสวนพบว่าการตายทั้งหมดในนครชิคาโกล้วนเชื่อมโยงกันโดยมียาแก้ปวด \"ไทลินอล\" เป็นศูนย์กลาง รัฐบาลท้องถิ่นออกประกาศเตือนทางวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์กระจายภาพ และเจ้าหน้าที่ตำรวจขับรถตระเวนไปตามบ้านเรือนทุกหลังคาเรือนเพื่อแจ้งเตือนอย่างถึงที่ด้วยโทรโข่ง", "title": "การสังหารหมู่ในนครชิคาโกด้วยยาไทลินอล พ.ศ. 2525" }, { "docid": "234245#4", "text": "ถัดจากนั้นอีกไม่นานในวันเดียวกัน แมรี แมกฟาร์แลนด์ (Mary McFarland) แห่งเมืองเอล์มเฮิสต์ (Elmhurst) นครชิคาโก ดูปาชเคาน์ตี รัฐอิลลินอยส์, พอลา พรินส์ (Paula Prince) แห่งนครชิคาโก และแมรี เรเนอร์ (Mary Reiner) แห่งหมู่บ้านวินฟีลด์ (Winfield) นคร เคาน์ตี และรัฐเดียวกัน พร้อมใจกันจบชีวิตลงหลังจากรับประทานยาแก้ปวด \"ไทลินอล\"", "title": "การสังหารหมู่ในนครชิคาโกด้วยยาไทลินอล พ.ศ. 2525" } ]
3242
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อใด ?
[ { "docid": "32375#1", "text": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2514 โดย ศ.ดร. อุบล เรียงสุวรรณ รองคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ รักษาราชการแทนคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ ได้ทำบันทึกถึงรองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศ.ดร. ประเสริฐ ณ นคร เรื่องการจัดตั้งโรงเรียนสาธิต ในวันเดียวกันนั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยอธิการบดี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ( ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ ขณะนั้น ) ได้ทรงออกหนังสือถึงปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายบุญถิ่น อัตถากร เรื่องการจัดตั้งโรงเรียนสาธิต โดยจะเปิดรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และจะมีนักเรียนครบทั้ง 12 ชั้นปี ในปีพ.ศ. 2518 โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อมาในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2514 กระทรวงศึกษาธิการได้มีหนังสือตอบ รับรองผลการศึกษาจากผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียน", "title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา" } ]
[ { "docid": "54688#11", "text": "          ปี พ.ศ. 2534 ทางโรงเรียนได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้จัดการเรียนการสอนระดับอนุบาลศึกษาเพิ่มขึ้น", "title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา" }, { "docid": "460447#1", "text": " มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เปิดสอนวิชาด้านสังคมศาสตร์ตั้งแต่พ.ศ. 2486 เป็นต้นมาพร้อมๆ \nกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รายวิชาที่เปิดสอนในระยะแรกได้แก่ \nวิชากฎหมาย เปิดสอนในคณะสหกรณ์ ส่วนรายวิชาด้านสังคมศาสตร์นั้นเปิดสอนเฉพาะบางรายวิชาเช่น \nวิชาสังคมวิทยาเบื้องต้น สังคมวิทยาชนบท แต่ยังไม่มีภาควิชาสังกัด\nภายในคณะแต่อย่างใด จนกระทั่งวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 จึงได้มีการจัดตั้งภาควิชาขึ้นจำนวน 5 ภาควิชา คือ ภาควิชาจิตวิทยา \nภาควิชาปรัชญาและศาสนา ภาควิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ และภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา\nภาควิชาประวัติศาสตร์ ทำหน้าที่ในการผลิตศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาประวัติศาสตร์ จนกระทั่งในพ.ศ. 2544 ภาควิชาประวัติศาสตร์จึงเปิดสอนหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต\nสาขาวิชาประวัติศาสตร์ร่วมด้วย ภาควิชาได้ผลิตบัณฑิตออกสู่สังคมไทยรับใช้สังคมในมิติต่าง ๆ ทั้งศึกษาต่อ รับราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชนและต่างประเทศ รวมถึงการผลิตนักประวัตศาสตร์ที่มีคุณภาพ มีความรู้รับใช้สังคมและประเทศชาติ", "title": "ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" }, { "docid": "32375#7", "text": "2 โครงการสนทนาสัปดาห์-ศิษย์ลูก เป็นการจัดกิจกรรมให้ผู้ปกครองมาพบกับอาจารย์ครั้งแรก เมื่อปีการศึกษา 2517 หลังจากก่อตั้งโรงเรียนมาเพียง 3 ปี จัดทุกระดับชั้น ใช้เวลาร่วมเดือน และจัดในภาคต้นประมาณสิงหาคม-กันยายนของปีการศึกษา ปีละครั้ง นับเป็นต้นแบบในการนำไปใช้", "title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา" }, { "docid": "240531#8", "text": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม) ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2540 โดยได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม โรงเรียนมีเป้าหมายหลักในการให้สวัสดิการทางการศึกษาแก่บุตรของบุคลากรในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนการก่อตั้งโรงเรียนได้มีคณะกรรมการศึกษาถึงวิธีการดำเนินการ ปัญหาและอุปสรรคของโรงเรียนสาธิตตลอดจนความเป็นไปได้ของโครงการ ซึ่งคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นเรียกว่า \"คณะกรรมการโครงการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม\" ประกอบไปด้วยคณาจารย์จากคณะต่างๆ มาร่วมเป็นกรรมการดำเนินงาน ด้วยเหตุที่โรงเรียนก่อตั้งใหม่ นอกจากนี้ยังประสบปัญหา อีกหลายประการ อันเนื่องมาจากการขาดแคลนงบประมาณ ทำให้ไม่มีสถานที่เรียนที่แน่นอน ต้องย้ายที่ทำการบ่อยครั้ง", "title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)" }, { "docid": "999530#0", "text": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ Uttaradit Rajabhat University Demonstration School ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ตั้งอยู่ที่ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัด อุตรดิตถ์\nโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นโรงเรียนในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2549 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีเป้าหมายหลักเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ปกครองที่ปรารถนาจะให้บุตรหลานได้เรียนรู้ในระบบโรงเรียนที่เอื้อต่อการพัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียนเต็มศักยภาพ", "title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์" }, { "docid": "54688#0", "text": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา เป็นโรงเรียนสหศึกษาที่ให้การศึกษาตั้งแต่ในระดับอนุบาลจนไปถึงมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงานสำหรับนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ และเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาในเขตชนบท โรงเรียนตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน", "title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา" }, { "docid": "684125#0", "text": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด Roi-ET Rajabhat University Demonstration School ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2549 ตั้งอยู่ที่ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด\nโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เป็นโรงเรียนในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2549 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มีเป้าหมายหลักเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ปกครองที่ปรารถนาจะให้บุตรหลานได้เรียนรู้ในระบบโรงเรียนที่เอื้อต่อการพัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียนเต็มศักยภาพ", "title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด" }, { "docid": "208123#1", "text": "วสุ แสงสิงแก้ว (ชื่อเล่น จิ๊บ) เกิดเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2510 เป็นบุตรคนเดียวของ พลเรือตรี ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิทุร แสงสิงแก้ว อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข อดีตวุฒิสมาชิก และสุดาชา แสงสิงแก้ว จบการศึกษาระดับมัธยมต้นจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (รุ่น 10) และระดับมัธยมปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (รุ่น 45) เคยร่วมก่อตั้งวงดนตรีที่โรงเรียน ชื่อวง Centerfold กับป้าง-นครินทร์ กิ่งศักดิ์ ", "title": "วสุ แสงสิงแก้ว" }, { "docid": "32375#5", "text": "1 โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับต่างประเทศ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับอนุมัติจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้จัดโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2532 เริ่มที่โครงการโรงเรียนพี่น้องไทย - ญี่ปุ่น สาธิตเกษตร - อุบุยามา (ฮิโกไทย) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเยาวชนของประเทศไทยและต่างประเทศ อันจะนำมาซึ่งสันติภาพและมีประโยชน์ต่อความร่วมมือและพัฒนาระหว่างประเทศในอนาคต ขณะนี้โรงเรียนได้จัดโครงการแลกเปลี่ยนกับโรงเรียนใน ต่างประเทศ ดังนี้", "title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา" }, { "docid": "54688#14", "text": "          ปี พ.ศ. 2555 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้อนุมัติให้โรงเรียนดำเนินงานโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program) ปัจจุบันโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จึงมีการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 52 ห้องเรียน", "title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา" }, { "docid": "72671#27", "text": "ภายหลังมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ขยายหน่วยงาน ก่อตั้งคณะวิชาและสำนักงานต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น บุคลากรที่มาปฏิบัติหน้าที่ก็เพิ่มมากขึ้นตาม ทำให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยมีปัญหาเรื่องที่เรียนของบุตร โรงเรียนสาธิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ไม่สามารถสนองความต้องการนี้ได้ทั้งหมด เพราะต้องดำเนินตามวัตถุประสงค์และหลักการเดิมของการก่อตั้งโรงเรียนไว้ ในปี พ.ศ. 2524 รศ.นพ.กวี ทังสุบุตร อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นในขณะนั้น จึงมีดำริใหก่อตั้งโรงเรียนสวัสดิการขึ้น ใช้ชื่อว่า โรงเรียนสาธิตมอดินแดง มีสถานะเป็นโรงเรียนราษฎร์ สังกัดสำนักงานอธิการบดี เปิดสอน 3 ระดับเช่นเดียวกับโรงเรียนสาธิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อดำเนินการได้ระยะหนึ่งโรงเรียนสาธิตมอดินแดงได้เกิดปัญหาขึ้นมากมาย โดยเฉพาะด้านการเงินและงบประมาณที่ไม่เพียงพอ บุคลากรขาดขวัญและกำลังใจ ลาออกเพื่อหางานที่มีความมั่นคงกว่า ทางผู้บริหาระดับคณะและมหาวิทยาลัยจึงได้ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินการใหม่", "title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น" }, { "docid": "32375#20", "text": "สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกษตรศาสตร์ หมวดหมู่:เขตจตุจักร", "title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา" }, { "docid": "107037#9", "text": "เขมนิจ เข้ารับการศึกษาระดับอนุบาลจากโรงเรียนฉัตรวิทยา ต่อระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ต่อระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร และต่อระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาโทจนสำเร็จการศึกษา จากคณะรัฐศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557", "title": "เขมนิจ จามิกรณ์" }, { "docid": "54688#2", "text": "          ในปี พ.ศ. 2523 ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีนโยบายที่จะเปิดดำเนินการโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เพื่อจะได้สอดคล้องกับแผนพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และเป็นการส่งเสริมขยายงานทางด้านการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในชุมชนด้วย ฉะนั้นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้อนุมัติให้เปิดโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขึ้น ณ วิทยาเขตกำแพงแสน ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2523 โดยให้คณะศึกษาศาสตร์เป็นฝ่ายรับผิดชอบในการจัดดำเนินการเรียนการสอน ดังนั้นคณะศึกษาศาสตร์จึงวางเป้าหมายที่จะให้โรงเรียนสาธิตเกษตรฯ วิทยาเขตกำแพงแสนเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาที่จะทำการวิจัยการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในเขตชนบทไปพร้อมกับการทดลองจัดการเรียนการสอนแบบสมรรถฐานและการบริการทางวิชาการแก่ชุมชนด้วย", "title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา" }, { "docid": "999535#0", "text": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ chaiyaphum Rajabhat University Demonstration School ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ตั้งอยู่ที่ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ตำบล อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ \nโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ เป็นโรงเรียนในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มีเป้าหมายหลักเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ปกครองที่ปรารถนาจะให้บุตรหลานได้เรียนรู้ในระบบโรงเรียนที่เอื้อต่อการพัฒนาขีดความสามารถของผู้เรียนเต็มศักยภาพ", "title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ" }, { "docid": "32375#17", "text": "โครงการการศึกษาพหุภาษามีที่ตั้งอยู่บริเวณนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี โดยบริษัทอมตะนคร ได้บริจาคที่ดิน 34 ไร่ให้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีระยะห่างจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา 28 กิโลเมตร", "title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา" }, { "docid": "340694#2", "text": "เธอเข้ารับการศึกษาระดับชั้นอนุบาลจนถึงประถมศึกษาปีที่ 2 จากโรงเรียนเซนต์ปอลคอนแวนต์ ศรีราชา, ประถมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนสาธิตอุดม พัทยา, ประถมศึกษาปีที่ 4 จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการการศึกษาพหุภาษา จังหวัดชลบุรี และระดับอุดมศึกษาจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะคอมพิวเตอร์กราฟิกและมัลติมีเดีย", "title": "จอมขวัญ ลีละพงศ์ประสุต" }, { "docid": "32375#0", "text": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา เป็นโรงเรียนสหศึกษาให้การศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นห้องปฏิบัติการฝึกหัดครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน", "title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา" }, { "docid": "32375#16", "text": "โครงการการศึกษาพหุภาษา (Multilingual Program) โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดให้การศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อที่จะพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีความสามารถในการใช้ได้หลายภาษา โดยมีการสอนในวิชาทั่วไปเป็นภาษาไทย โดยใช้หลักสูตรเดียวกับบางเขน ส่วนวิชาภาษาอังกฤษเรียนตั้งแต่ ป.1 กับเจ้าของภาษา และเมื่อนักเรียนขึ้นชั้น ป.4 จะเลือกเรียนภาษาที่ 3 คือ ภาษาจีน หรือ ภาษาญี่ปุ่น โครงการการศึกษาพหุภาษาเริ่มมีนักเรียนครบทั้ง 12 ระดับชั้นในปีการศึกษา 2549", "title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา" }, { "docid": "54688#1", "text": "เนื่องจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีโครงการขยายมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขึ้น ณ วิทยาเขตกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นแหล่งผลิตบุคลากรระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก ในสาขาวิชาการเกษตรและอื่น ๆ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงกำหนดเปิดใช้วิทยาเขตกำแพงแสน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา โดยมีคณะต่าง ๆ เริ่มเปิดดำเนินการ คือ คณะเกษตรคณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัย", "title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา" }, { "docid": "54688#13", "text": "          ปี พ.ศ. 2554 โรงเรียนได้รับอนุมัติจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยการสนับสนุนของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน", "title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา" }, { "docid": "32375#14", "text": "โครงการการศึกษานานาชาติ (International Program: IP) ของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2537 ตั้งขึ้นจากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเน้นเรื่องการใช้ภาษาต่างประเทศให้มากขึ้น โดยเข้าโครงการนำร่องเป็นโรงเรียนนานาชาติแห่งแรกของรัฐบาล โดยให้การศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาล 3 จนถึงเกรด 12 (มัธยมศึกษาปีที่ 6)", "title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา" }, { "docid": "128442#60", "text": "หม่อมหลวงบัว กิติยากร พระมารดาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค พระมาตุจฉาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พลเอกหญิง ท่านผู้หญิงอภิรดี ยิ่งเจริญ คุณข้าหลวงใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ศ.ดร.อุบล เรียงสุวรรณ อดีต อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ก่อตั้งคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศ.คุณชวนชม จันทระเปารยะ อดีต อาจารย์ แผนกเคมี ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศ.คุณหญิงจินตนา ยศสุนทร อดีตอาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หม่อมหลวงเติบ ชุมสาย ผู้เชี่ยวชาญการทำอาหารไทย สมถวิล สังขะทรัพย์ อดีต อาจารย์โรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนอนุบาลสมถวิล และโรงเรียนอนุบาลดวงถวิล อดีต วุฒิสมาชิก สมาชิกสภาปฏิรูป สมาชิกสภานิติบัญญัติ และผู้พิพากษาสมทบศาลคดีเด็กและเยาวชน ท่านผู้หญิงวิลาวัลย์ วีรานุวัติ์ เลขาธิการคณะกรรมการร้านจิตรลดา ศ.(พิเศษ)ภญ.จิตสมาน กี่ศิริ อดีตอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.เกียรติคุณ พ.ญ. คุณสาคร ธนมิตต์ แพทย์สตรีตัวอย่างประจำปี 2557 สมาคมแพทย์สตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ศ.กิติคุณ สุมน อมรวิวัฒน์ ราชบัณฑิต ผ.ศ.บุญล้อม มะโนทัย อดีตนายกสายปัญญาสมาคม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน อดีตผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) รศ.ดร.อุทุมพร พลาวงศ์ อดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ รศ.เย็นใจ สมวิเชียร กรรมการและเหรัญญิก มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง ณ ราชสีมา นักแสดงอาวุโส อนงค์ อัชชวัฒนา นาคะเกศ นางสาวไทยประจำปี พ.ศ. 2496 ชวลี ช่วงวิทย์ นักร้องสุนทราภรณ์ นัดดา วิยกาญจน์ ศิลปิน นักร้อง และนักแสดง พรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กาญจนา ประสารชัยมนตรี อดีตนักกีฬาบาสเกตบอลหญิงทีมชาติไทยที่เล่นให้ทีมชาติยาวนานถึง 13 ปี (2528-2540) โดยชนะเลิศ กีฬาซีเกมส์ 5 สมัยติดต่อกัน ปี 2530 2532 2534 2536 2538 ปัจจุบันเป็นโค้ชบาสเก็ตบอลทีมหญิง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ รุ่งฟ้า เกียรติพจน์ ผู้อำนวยการด้านการบริหารภาพลักษณ์องค์กรและการสื่อสารการตลาด บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) อภิญญา เคนนาสิงห์ นักเขียนนวนิยาย และบทละครโทรทัศน์ นามปากกา “วัสตรา” ”กานติมา” และ “อภิญญา” มีผลงานที่ผ่านสายตาผู้อ่าน และผู้ชมละครโทรทัศน์มาแล้วดังนี้ ทายาทสวรรค์,มงกุฎน้ำค้าง,น้ำค้างกลางตะวัน,เพลิงภุมริน,รายริษยา (ละครช่อง3),โบตั๋นกลีบสุดท้าย (ละครช่อง3),รุ้งร้าว (ละครช่อง3) และ ทะเลสาบนกกาเหว่า (ละครช่อง7) ศศินา วิมุตตานนท์ พิธีกรรายการโทรทัศน์ และ ผู้ประกาศข่าว กัญญารัตน์ จิรรัชชกิจ พิธีกรรายการโทรทัศน์ และ นักแสดง ชาลินี บุนนาค นักแสดงจากเรื่อง เลิฟจุลินทรีย์ รักมันใหญ่มาก, โฆษณาอีกหลายๆชนิด พิมพ์จิรา เจริญลักษณ์ ติด 1 ใน 20 ไทยแลนด์ซุปเปอร์โมเดล ปี2009 ปวรรัตน์ กิตติมงคลเลิศ นักร้อง จากการแข่งขัน ทรู อคาเดมี แฟนเทเชีย (ปั๋ม AF7) วรรธิณี สีเคน ผู้สื่อข่าว สายข่าวในพระราชสำนัก สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ผู้ประกาศรายการเพื่อโลกเพื่อ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ธนาภรณ์ ภีระบรรณ์ รับบท เจน ใน สิ่งเล็กเล็กที่เรียกว่า...รัก ธัญญา รัตนมาลากุล ดารานักแสดง พรกมล อมรจิตรานนท์ เน็ตไอดอลเว็บเด็กดีและพิธีกรทางช่อง mango channel", "title": "โรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์" }, { "docid": "54688#12", "text": "          ปี พ.ศ. 2546 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้อนุมัติให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากเดิมมาเป็นโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา (Kasetsart University Laboratory School, Kamphaeng Saen Campus, Educational Research and Development Center) โดยมีฐานะเทียบเท่าภาควิชาในคณะศึกษาศาสตร์", "title": "โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา" }, { "docid": "54678#0", "text": "คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดการเรียนการสอนในวิทยาเขตบางเขน และมีโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นสถานปฏิบัติการฝึกหัดนิสิตของคณะ", "title": "คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" }, { "docid": "560194#21", "text": "สถานีบริการเชื้อเพลิง มีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูป ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันแก๊สโซฮอล เป็นต้น เปิดบริการจำนวน 1 สถานีบริการ โดยสหกรณ์เชื้อเพลิงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำกัด ตั้งอยู่ใกล้ประตูเข้า-ออกด้านโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 42" }, { "docid": "185361#1", "text": "การแข่งขันกีฬาสาธิตสามัคคีเริ่มจากการแข่งขันกีฬาว่ายน้ำเมื่อเดือนมกราคม 2519 ระหว่างโรงเรียนสาธิตสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ใช้ชื่อว่า การแข่งขัน “ว่ายน้ำสาธิต-สามัคคี” โดยอาจารย์พลศึกษาของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตรฝ่ายประถม ซึ่งได้แก่ อาจารย์สุกรี รอดโพธิ์ทอง อาจารย์อุดร รัตนภักดิ์ อาจารย์ศรีประภา สาระคุณ (แม้นสงวน) อาจารย์ สุภารัตน์ วรทอง สรุปแนวความคิดร่วมกัน ให้มีการแข่งขันว่ายน้ำสาธิตขึ้น เพื่อเชื่อมความสามัคคี ก่อให้เกิดประโยชน์ ในการพัฒนาบุคลิกภาพ มีการพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมทั้งลักษณะนิสัยที่ดีมีน้ำใจนักกีฬาตลอดจนส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาความสามารถในการว่ายน้ำไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ทั้งนี้โดยได้รับความเห็นชอบและอนุมัติในหลักการจากอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนสาธิตทั้ง 4 แห่ง ซึ่งได้แก่ อาจารย์รุจิระ สุภรณ์ไพบูลย์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.อุบล เรียงสุวรรณ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์คุณหญิง สมจิตต์ ศรีธัญรัตน์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน และอาจารย์ละออ การุณยะวนิช อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตรฝ่ายประถม จัดให้มีการแข่งขันประจำทุกปี โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพและถือว่าอาจารย์ใหญ่ทั้ง 4 แห่ง เป็นคณะกรรมการอำนวยการจัดการแข่งขันถาวร สำหรับคณะกรรมการจัดการแข่งขันฝ่ายต่าง ๆ จากโรงเรียนสาธิตทั้ง 4 แห่งร่วมเป็นคณะกรรมการ อาจารย์จากโรงเรียนเจ้าภาพเป็นประธานจัดการแข่งขัน ประชุมปรึกษาหารือทำงานร่วมกัน จึงเกิดเป็นระเบียบและข้อบังคับต่างของการจัดการแข่งขันและพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน", "title": "สาธิตสามัคคี" }, { "docid": "41590#4", "text": "หลังจากกลับมายังประเทศไทย คุณพุ่ม เจนเซนจึงศึกษาต่อในโปรแกรมพิเศษออทิสติก ที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อินเตอร์เนชั่นแนลโปรแกรม และโปรแกรมวิทยาศาสตร์กีฬา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์", "title": "คุณพุ่ม เจนเซน" }, { "docid": "560194#14", "text": "การแข่งขัน กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 42 ได้วางแผนกำหนดให้ใช้สนามกีฬาที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เกิดความลงตัวและคุ้มค่ามากที่สุด ได้แก่ สนามกีฬากลางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน แห่งที่ 2, สนามกีฬากลางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน แห่งที่ 1 และสนามกีฬากลางโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา, อาคารพละศึกษา 1, อาคารพละศึกษา 2, สนามกอล์ฟมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, สระว่ายน้ำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, อาคารศูนย์มหาวิทยาลัย, อาคารศูนย์เรียนรวม 1 - 2 เป็นต้น", "title": "กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 42" } ]
1793
กฎหมายตราสามดวงหมายถึงอะไร?
[ { "docid": "103362#0", "text": "กฎหมายตราสามดวง คือ ประมวลกฎหมายในรัชกาลที่ 1 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชำระกฎหมายเก่าที่มีมาแต่ครั้งโบราณ แล้วรวบรวมเป็นประมวลกฎหมายขึ้นเมื่อจุลศักราช 1166 ตรงกับ พ.ศ. 2347 โปรดให้เรียกว่า “กฎหมายตราสามดวง” ให้อาลักษณ์ชุบเส้นหมึกสามชุด แต่ละชุดประทับตรา 3 ดวง คือ ตราพระราชสีห์ (สำหรับตำแหน่งสมุหนายก) 1 ตราพระคชสีห์ (สำหรับตำแหน่งสมุหพระกลาโหม) 1 และตราบัวแก้ว (สำหรับตำแหน่งโกษาธิบดี หมายถึงพระคลัง ซึ่งดูแลรวมทั้งกิจการด้านต่างประเทศ) ไว้ทุกเล่มเก็บไว้ ณ ห้องเครื่องชุดหนึ่ง หอหลวงชุดหนึ่ง และศาลหลวงอีกชุดหนึ่ง", "title": "กฎหมายตราสามดวง" } ]
[ { "docid": "853774#3", "text": "พัฒนาการของกฎหมายปกครองในประเทศไทย เริ่มต้นในสมัยกรุงสุโขทัย(พ.ศ.1781-1893) ไม่มีกฎเกณฑ์และกฎหมายเนื่องจากมีประชากรน้อย มีขนาดเล็กจึงใช้หลักการปกครองแบบบิดากับบุตร ด้านกฎหมายได้นำเอา\"หลักพระธรรมศาสตร์\"มาใช้กับ\"หลักพระราชศาสตร์\" กฎหมายที่ค้นพบในสมัยกรุงสุโขทัย ได้แก่กฎหมายเกี่ยวกับภาษี กฎหมายเกี่ยวกบการจับจองทรัพย์สิน กฎหมายเกี่ยวกับมรดก เป็นต้น ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาในสมัยของพระเจ้าอู่ทอง(พ.ศ.1893-1912) ทีการตรากฎหมาย 8 ฉบับ กฎหมายฉบับหนึ่งคือ พระอัยการอาญาหลวง พ.ศ.1895ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับลักษณะความผิดและโทษของข้าราชการที่กระทำผิดต่อหน้าที่และวินัย กฎหมายลักาณะพยาน กฎหมายลักษณะลักพา กฎหมายลักษณะผัวเมีย ในส่วนของสมัยกรุงธนบุรี(พ.ศ.2310-2325)มีระยะเวลาสั้นเพียง 15 ปีจึงไม่ปรากฏการปรับปรุงกฎหมาย ในส่วนสุดท้ายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในปีพ.ศ.2348 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้มีการจัดหมวดหมู่และปรับปรุงงกฎหมายให้สอดคล้องกับความยุติธรรม พระราชกำหนด\nกฎหมายที่ชำระสะสางเสร็จแล้วนี้เรียกกันว่า\"กฎหมายตราสามดวง\" จนกระทั่งในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการปฎิรูปกฎหมายให้เป็นแบบตะวันตกเพื่อที่จะปรับปรุงสัมพันธ์กับปรเทศตะวันตก", "title": "กฎหมายปกครองท้องถิ่น" }, { "docid": "216600#5", "text": "กฎหมายโรมันโบราณ และกฎหมายจีนโบราณ ยอมรับสถานะทางกฎหมายของภริยาน้อย แต่ไม่ได้เท่าเทียมกับสถานะทางกฎหมายของภริยาหลวง กฎหมายไทยเองก็ยอมรับเช่นกัน โดยปรากฏในพระอัยการหรือรัฐธรรมนูญของโบราณซึ่งต่อมาในรัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์มีการชำระและรู้จักกันในชื่อ \"กฎหมายตราสามดวง\" แบ่งภริยาออกเป็นสามประเภท คือ", "title": "การอยู่กินด้วยกันโดยไม่ได้สมรส" }, { "docid": "346424#5", "text": "ประเทศสยามจึงเริ่มรับหลักกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์ของประเทศอังกฤษเข้ามาใช้ในการวินิจฉัยชี้ขาดอรรถคดีในกรณีที่กฎหมายตราสามดวงไม่ครอบคลุมหรือไม่เหมาะสม กับทั้งมีการจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายที่สอนกฎหมายระบบคอมมอนลอว์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งวิวัฒนามาเป็นคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี ครั้งนั้นกฎหมายตรามสามดวงก็ยังคงเป็นระบิลเมืองอยู่[5]", "title": "ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ประเทศไทย)" }, { "docid": "455984#2", "text": "กฎหมายเดิมมีพระอัยการลักษณะโจรอันเป็นกฎหมายหมวดหนึ่งในกฎหมายตราสามดวงเป็นต้นซึ่งได้ยกเลิกไปแล้วนั้น จัดโจรออกเป็นสิบหกจำพวก ดังต่อไปนี้ประมวลกฎหมายอาญาของไทยในปัจจุบันจัดโจรออกเป็นห้าจำพวก ดังต่อไปนี้โจรที่มีชื่อเสียงสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยได้แก่", "title": "โจรกรรม" }, { "docid": "6835#5", "text": "ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ตราสำคัญในราชการไทยมีสามดวง คือตราพระคชสีห์สำหรับสมุหพระกลาโหม ซึ่งใช้ในราชการด้านการทหารทั่วไป ตราพระราชสีห์สำหรับสมุหนายก ใช้ในราชการด้านมหาดไทย และตราบัวแก้วประจำตำแหน่งพระคลัง กฎหมายไทยที่เรียกว่า \"กฎหมายตราสามดวง\" ก็เป็นเพราะมีการประทับตราทั้งสามดวงนี้ ซึ่งมีตราบัวแก้วรวมอยู่ด้วยดวงหนึ่ง", "title": "กระทรวงการต่างประเทศ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "190503#16", "text": "ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีแต่โบราณจะมีเจ้าพนักงานสองฝ่าย คือ \"ตระลาการ\" หรือ\"ตุลาการ\" มีหน้าที่พิจารณาไต่สวนหาข้อเท็จจริง และ \"ผู้พิพากษา\" มีหน้าที่ให้คำพิพากษาเมื่อได้ข้อเท็จจริงจากตุลาการแล้ว เมื่อมีการเลิกใช้กฎหมายตราสามดวงโดยปริยาย ฝ่ายตุลาการก็สูญสิ้นไปด้วย ผู้พิพากษาจึงต้องปฏิบัติหน้าที่ของตุลาการอย่างโบราณอีกหน้าที่หนึ่ง อย่างไรก็ดี ต่อมาภายหลังกลับรื้อคำว่า \"ตระลาการ\" หรือ \"ตุลาการ\" ขึ้นมาใช้อีก โดยให้ความหมายว่าผู้พิจารณาพิพากษาอรรถคดีเหมือนอย่างผู้พิพากษา จนกระทั่งภายหลังมีกฎหมายว่าด้วยข้าราชการตุลาการขึ้น จึงเป็นที่ทำให้เข้าใจอย่างตายตัวว่า ในบัดนี้ความหมายของคำว่า \"ผู้พิพากษา\" กับ \"ตุลาการ\" เป็นอย่างเดียวกัน จนกระทั่งต่อมามีการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญกับศาลปกครองขึ้น โดยโอนอำนาจของศาลยุติธรรมที่เกี่ยวกับคดีปกครองและการตีความรัฐธรรมนูญไปให้กับศาลที่จัดตั้งใหม่ทั้งสองประเภทดังกล่าว จึงมีการกำหนดในกฎหมายอย่างชัดเจนทำให้เห็นได้ว่าตำแหน่ง \"ผู้พิพากษา\" นั้นจะใช้กับศาลยุติธรรมเท่านั้น แต่ศาล\nรัฐธรรมนูญกับศาลปกครองนั้น จะเรียกว่า \"ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลปกครอง\"", "title": "ข้าราชการฝ่ายตุลาการ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "346424#10", "text": "เมื่อเล็งเห็นว่า การร่างประมวลกฎหมายดังตั้งความประสงค์ไว้นี้ จักต้องใช้ระยะเวลาอันยาวนาน เพื่อจัดการกับสถานการณ์ระหว่างนั้น รัฐบาลสยามก็ตรากฎหมายเป็นเรื่อง ๆ เพื่อใช้แทนกฎหมายตราสามดวงในส่วนที่ไม่เหมาะสม จนกว่างานจัดทำประมวลกฎหมายจะแล้วสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับกฎหมายวิธีสบัญญัติ ในกฎหมายตราสามดวงนั้น ได้ถูกแทนที่โดย พระราชบัญญัติลักษณะพยาน รัตนโกสินทรศก 113, พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความมีโทษสำหรับใช้ไปพลางก่อน รัตนโกสินทร์ศก 115, พระราชบัญญัติกระบวนพิจารณาความแพ่ง รัตนโกสินทรศก 115 และ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พุทธศักราช 2477 ตามลำดับ[8]", "title": "ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ประเทศไทย)" }, { "docid": "27492#5", "text": "ในกฎหมายตราสามดวง บันทึกการเขียนไว้ว่า \"กะเทย\" พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 และ 2542 ว่ามาจากคำในภาษาอาหมว่า \"เทย\" ส่วนภาษาเขมรก็มีคำว่า (\"ขฺเทิย\") อ่านว่า \"ขฺเตย\" ใช้แทนความหมายเดียวกัน ", "title": "กะเทย" }, { "docid": "103362#8", "text": "กฎหมายตราสามดวงได้เป็นกฎหมายหลักของประเทศที่ใช้บังคับมาตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจนถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นระยะเวลานานถึง 103 ปี จนกระทั่งมีการปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลตามแบบประเทศมหาอำนาจยุโรป จึงได้เลิกใช้กฎหมายตราสามดวง", "title": "กฎหมายตราสามดวง" }, { "docid": "103362#3", "text": "เมื่อผลของคดีเป็นเช่นนี้ นายบุญศรีจึงได้นำเรื่องขึ้นทูลเกล้าถวายฎีกา ต่อพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ทรงเห็นด้วยกับฎีกาว่าคำพิพากษาของศาลนั้น ขัดหลักความยุติธรรม ทรงสงสัยว่าการพิจารณาพิพากษาคดีจะถูกต้องตรงตามตัวฉบับกฎหมายหรือไม่ จึงมีพระบรมราชโองการ ให้เทียบกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ศาลใช้กับฉบับที่หอหลวงและที่ห้องเครื่อง แต่ก็ปรากฏ ข้อความที่ตรงกัน เมื่อเป็นดังนี้ จึงมีพระราชดำริว่ากฎหมายนั้นไม่เหมาะสม อาจมีความคลาดเคลื่อนจากการคัดลอก สมควรที่จะจัดให้มีการชำระสะสางกฎหมายใหม่ เหมือนการสังคายนา พระไตรปิฎกจากคดีอำแดงป้อมดังกล่าวข้างต้น ได้แสดงให้เห็นหลักกฎหมายสำคัญประการหนึ่งเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายที่ว่าแม้แต่พระมหากษัตริย์ก็ต้องให้ความสำคัญและปฏิบัติตามไม่มีพระราชอำนาจที่จะแก้ไข เปลี่ยนแปลงกฎหมาย ตามอำเภอใจ", "title": "กฎหมายตราสามดวง" }, { "docid": "103362#10", "text": "หมวดหมู่:ประมวลกฎหมายไทย หมวดหมู่:รัชกาลที่ 1", "title": "กฎหมายตราสามดวง" }, { "docid": "283925#36", "text": "ดังนั้น ในการจัดทำประมวลกฎหมายในครั้งนั้น คณะกรรมการร่างกฎหมายจึงคำนึงเสมอว่าบทบัญญัติแต่ละเรื่องเหมาะสมกับสภาพสังคมไทยหรือไม่ โดยเฉพาะในการร่างบรรพ 4 ว่าด้วยครอบครัว และบรรพ 5 ว่าด้วยมรดก ต้องใคร่ครวญกันอย่างหนักทีเดียวเพราะครอบครัวตะวันตกและครอบครัวไทยนั้นต่างกันราวกับหน้ามือหลังมือ หลาย ๆ เรื่องจำต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตคนไทยไปจากเดิมก็ได้พยายามให้กระทบกระเทือนน้อยที่สุด เช่น การรับหลักการเรื่องผัวเดียวเมียเดียว (monogamy) เข้ามา ก็เพียงกำหนดว่าการจดทะเบียนสมรสซ้อน (bigamy) เป็นโมฆะ แต่ไม่ถึงกับเป็นความผิดอาญาเช่นในหลาย ๆ ประเทศ[31] และหลาย ๆ เรื่องก็รับเอาคุณธรรมของมนุษย์มาจากกฎหมายตราสามดวงมาโดยตรงทีเดียว ซึ่งไม่ปรากฏในกฎหมายของชาติใดอีกแล้ว เป็นต้นว่า ในเรื่องคดีอุทลุม ที่เป็นหลักการของความกตัญญูต่อบุพการีและผู้มีพระคุณ โดยกฎหมายตราสามดวง พระไอยการลักษณะรับฟ้อง มาตรา 25 บัญญัติว่า[32]", "title": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" }, { "docid": "264109#4", "text": "จากหนังสือกฎหมายตราสามดวง ซึ่งเป็นหนังสือกฎหมายที่รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าให้รวบรวมกฎหมายโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรีมาประมวลไว้ด้วยกัน ได้กล่าวถึงการประหารชีวิต และเครื่องมือต่าง ๆ เช่น", "title": "โทษประหารชีวิตในประเทศไทย" }, { "docid": "4226#56", "text": "พ.ศ. 2347 โปรดเกล้าฯ ให้นักปราชญ์ ราชบัณฑิต ชำระกฎหมาย จัดเป็นกฎหมายตราสามดวงขึ้น", "title": "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช" }, { "docid": "286257#1", "text": "คำ \"อุทลุม\" นี้ใช้เรียกบุคคลและสิ่งต่าง ๆ ที่มีลักษณะดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่กระทำผิดธรรมะบังอาจฟ้องร้องบุพการีผู้มีพระคุณ เรียกว่า \"คนอุทลุม\" และเรียกคดีในกรณีนี้ว่า \"คดีอุทลุม\" ดังที่ปรากฏในประชุมกฎหมายรัชกาลที่ 1 (กฎหมายตราสามดวง) พระไอยการลักษณะรับฟ้อง", "title": "อุทลุม" }, { "docid": "8013#4", "text": "ในสมัยพระเจ้าทรงธรรมได้มีการตรากฎหมายวิธีสบัญญัติเกี่ยวกับพระธรรมนูญศาลยุติธรรมขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2165 ซึ่งในกฎหมายตราสามดวงเรียกกฎหมายดังกล่าวว่า “พระธรรมนูญ” จากกฎหมายฉบับนี้ทำให้ทราบได้ว่า สมัยกรุงศรีอยุธยาโดยเฉพาะอย่างยิ่งนับแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรมเป็นต้นมา มีศาลที่พิจารณาอรรถคดีต่าง ๆ กัน 14 ประเภท ดังนี้ตามระบบการศาลสมัยกรุงศรีอยุธยาถือว่าเมื่อมีคำพิพากษาของศาลแล้ว คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดเลย ไม่มีการฟ้องร้องระหว่างคู่ความเดิมในศาลชั้นสูงอีก ยกเว้นกรณีคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเห็นว่าตระลาการ ผู้ถามความ ผู้ถือสำนวน พยานซึ่งเกี่ยวข้องกับคดีของตนกระทำมิชอบหรือไม่ให้ความยุติธรรมแก่ตนก็อาจฟ้องร้องกล่าวหาตระลาการ ผู้ถามความ ผู้ถือสำนวน พยานนั้น ๆ ต่อศาลหลวง คดีในลักษณะเช่นนี้ในสมัยกรุงศรีอยุธยานับว่าเป็นความอุทธรณ์ และศาลหลวงก็คือศาลอุทธรณ์ในสมัยนั้น ส่วนศาลฎีกานั้นยังไม่มี แต่อาจมีราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์บ้าง\nเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีนั้น แม้จะมีการชำระกฎหมายตราสามดวง แต่ระบบการศาลก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปจากสมัยกรุงศรีอยุธยา ", "title": "ศาลชั้นต้น (ประเทศไทย)" }, { "docid": "103362#9", "text": "โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์ กำธร เลี้ยงสัจธรรม (บรรณาธิการ), กฎหมายตรา 3 ดวง: ฉบับพิมพ์มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง แก้ไขปรับปรุงใหม่, สถาบันปรีดี พนมยงค์, 2548 เล่ม1 - ISBN 9744096527 เล่ม2 - ISBN 9744096535 เล่ม3 - ISBN 9744096543", "title": "กฎหมายตราสามดวง" }, { "docid": "103362#7", "text": "พิมพ์ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 ปีระกา จุลศักราช 1211 พ.ศ. 2392 พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) ได้นำตีพิมพ์ไว้เพียงเล่ม 1 ยังไม่จบ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่โปรด กริ้วว่า นำกฎหมายหลวงมาพิมพ์เผยแพร่ จึงยึดไปเผาทำลายเกือบทั้งหมด (อาจมีเหตุผลว่าในสมัยโบราณถือว่าบรรดาความรู้คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นของหลวงหวงห้าม จะรู้ได้เฉพาะชนชั้นปกครองเท่านั้น) พิมพ์ครั้งที่สอง ในสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2406 หมอบรัดเลย์ได้ตีพิมพ์จำหน่ายรวม 2 เล่ม เรียกชื่อว่า กฎหมายเมืองไทย 2 เล่ม หรือ กฎหมายหมอบรัดเลย์ พิมพ์ครั้งที่สาม พิมพ์ก่อนปี พ.ศ. 2444 แต่ไม่ระบุว่าเป็นปี พ.ศ.ใด หลวงดำรงธรรมสาร ผู้พิพากษาศาลอาญาจัดพิมพ์ขึ้น เรียกชื่อว่า กฎหมายเก่าใหม่ พิมพ์ครั้งที่สี่ ใน ร.ศ. 120 พ.ศ. 2444 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงจัดบทใหม่ อธิบายเหตุผลในหัวข้อกฎหมายให้เข้าใจง่ายขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับผู้พิพากษา และเป็นคู่มือทนายว่าความเรียกว่ากฎหมายราชบุรี มี 2 เล่ม พิมพ์ครั้งที่ห้า พ.ศ. 2473 โรงพิมพ์นิติสาสน์ ได้ถ่ายทำแม่พิมพ์จากสมุดไทย พิมพ์เผยแพร่ไว้ในชุด \"ประชุมกฎหมายไทย\" พิมพ์ครั้งที่หก พ.ศ. 2474 ราชบัณฑิตยสภาจัดพิมพ์ เฉพาะลักษณ์อาชญาหลวงและลักษณะอาชญาราษฎร์ ในงานพระราชทานเพลิงศพมหาอำมาตย์ตรี พระยาลพะนรินทร์ เรืองศักดิ์ พิมพ์ครั้งที่เจ็ด ระหว่าง พ.ศ. 2481–2482 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองได้ให้ ร.แลงกาต์ ดอกเตอร์กฎหมายฝรั่งเศสเป็นผู้ชำระใหม่และจัดพิมพ์เป็นหนังสือ 3 เล่ม เรียกว่า ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1 จุลศักราช 1166 พิมพ์ตามฉบับหลวงตรา 3 ดวง พิมพ์ครั้งที่แปด หลังจากการพิมพ์ครั้งที่เจ็ดเล็กน้อย นายร้อยตำรวจโทเสถียร ลายลักษณ์ ได้พิมพ์บทกฎหมายตราสามดวงในหนังสือ ประชุมกฎหมายประจำศก ซึ่งมีจำนวน 69 เล่ม โดยกฎหมายตราสามดวงอยู่ในเล่มที่ 3 และ 4 ในยุคปัจจุบันนี้ มีการจัดพิมพ์กฎหมายตราสามดวงอีกสามครั้ง คือ องค์การค้าของคุรุสภา 2 ครั้ง ใน พ.ศ. 2505 และ พ.ศ. 2515 และของกรมศิลปากร 1 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2521 โดยในการพิมพ์ยุคปัจจุบันได้ยึดต้นฉบับของ ร.แลงกาต์ ซึ่งถือว่าสมบูรณ์ที่สุดเป็นบรรทัดฐาน ล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2548 สถาบันปรีดี พนมยงค์ ได้ จัดพิมพ์ กฎหมายตราสามดวง โดยใช้ชื่อหนังสือชุดนี้ว่า \"กฎหมายตรา 3 ดวง: ฉบับพิมพ์มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง แก้ไขปรับปรุงใหม่\" ซึ่งมี 3 เล่ม ใน 1 ชุด โดยยึดเอา \"ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1 จุลศักราช 1166\" ฉบับปี พ.ศ. 2481 เป็นหลัก เพราะ ถือว่าเป็นกฎหมายตราสามดวงฉบับพิมพ์ที่ดีที่สุดแล้ว", "title": "กฎหมายตราสามดวง" }, { "docid": "103362#5", "text": "กฎหมายตราสามดวงมีลักษณะเป็นกฎหมายของนักกฎหมาย (Juristenrecht) กล่าวคือ กฎเกณฑ์ส่วนใหญ่ของกฎหมายตราสามดวงโดยเฉพาะในส่วนที่เป็นพระธรรมศาสตร์ ที่มีลักษณะทั่วไปและมีฐานะสูงกว่าจารีตประเพณี มีการจัดระบบกฎหมายที่เป็นระบบและมีการใช้เหตุผลของนักกฎหมายปรุงแต่ง กฎหมายตราสามดวงมีลักษณะที่เป็นกฎหมายธรรมชาติ ทุกคนแม้แต่พระมหากษัตริย์ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ไม่มีการบัญญัติโดยแท้ บทกฎหมายใหม่นี้จึงเป็นผลงานของ นักกฎหมาย อันได้แก่ ศาลและพระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงเป็นนักกฎหมายด้วย ไม่ใช่กฎหมาย ที่บัญญัติขึ้นด้วยเหตุผลทางเทคนิค โดยกระบวนการนิติบัญญัติอย่างปัจจุบัน มีความนับถือตัวบทกฎหมาย เชื่อว่าไม่มีใครสามารถแก้กฎหมายได้เพราะกฎหมายไม่ใช่สิ่งที่คนสร้างขึ้น แม้แต่กษัตริย์ก็แก้ไม่ได้ หากเห็นว่ากฎหมายนั้นไม่เหมาะสมจะใช้การชำระสะสางไม่ใช่ยกร่างขึ้นใหม่หรือแก้ไขกฎหมายเดิม ไม่ใช่ประมวลกฎหมายที่มีเนื้อหาครอบคลุมทุกด้านเพราะเป็นที่รวมของบทกฎหมายที่ปรุงแต่งโดยนักกฎหมายและจารีตประเพณีที่สำคัญเท่านั้น การเรียกว่าประมวลกฎหมายตราสามดวงนั้นเป็นเพียงการใช้คำว่าประมวลเพื่อยกย่องเท่านั้น เป็นกฎหมายที่ใช้เป็นคู่มือในการชี้ขาดตัดสินคดีเพราะเป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นจากการพิจารณาพิพากษาคดี และใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีเป็นหลัก ไม่ใช่กฎหมายที่เขียนขึ้นในลักษณะตำรากฎหมาย", "title": "กฎหมายตราสามดวง" }, { "docid": "283925#4", "text": "ประเทศสยามจึงเริ่มรับหลักกฎหมายในระบบคอมมอนลอว์ของประเทศอังกฤษเข้ามาใช้ในการวินิจฉัยชี้ขาดอรรถคดีในกรณีที่กฎหมายตราสามดวงไม่ครอบคลุมหรือไม่เหมาะสม กับทั้งมีการจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายที่สอนกฎหมายระบบคอมมอนลอว์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งวิวัฒนามาเป็นคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี ครั้งนั้นกฎหมายตรามสามดวงก็ยังคงเป็นระบิลเมืองอยู่[3]", "title": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" }, { "docid": "283925#56", "text": "กฎหมายไทยแต่โบร่ำโบราณ โดยเฉพาะกฎหมายตราสามดวงนั้น มักระบุเหตุผลที่ตราบทบัญญัตินั้น ๆ ไว้ในบทบัญญัติด้วย เช่น กฎหมายตราสามดวง กฎหมายลักษณะผัวเมีย มาตรา 67 ว่า \"ภรรยาสามีมิชอบเนื้อพึงใจกัน จะหย่ากันไซร้ ตามน้ำใจเขา เหตุว่าเขาทั้งสองสิ้นบุญกันแล้ว จะจำใจให้อยู่ด้วยกันนั้นมิได้\"[40] ซึ่งการให้เหตุผลในตัวบทกฎหมายด้วยเช่นนี้ยังเป็นที่นิยมมาถึงในสมัยร่างกฎหมายลักษณะอาญาและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย ขณะที่การบัญญัติกฎหมายในปัจจุบันจะไม่พึงกระทำเช่นนั้นเด็ดขาด ดังที่ ชาร์ล-ลูอี เดอ เซอกงดา ผู้เป็นบารงแห่งแบรดและมงแตสกีเยอ (Charles-Louis de Secondat, baron de La Brède et de Montesquieu) หรือที่รู้จักกันในชื่อ \"มงแตสกีเยอ\" (Montesquieu) นักคิดนักเขียนทางการเมืองชาวฝรั่งเศส ว่า[41] [42]", "title": "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" }, { "docid": "287080#0", "text": "ลูกครึ่ง หมายถึงลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นคนต่างชาติกัน คำว่าลูกครึ่งในประเทศไทย ไม่แน่ชัดว่าใช้ครั้งแรกเมื่อไหร่ ไม่พบในกฎหมายตราสามดวง และคาดว่าคงเริ่มใช้หลังรัชกาลที่ 4 ในสมัยอยุธยา ลูกครึ่งเกิดจากพ่อค้าฝรั่งในเมืองไทย และที่อพยพมาจากต่างประเทศ มีลูกหลานที่เป็นไพร่ในกรม เช่น กรมฝรั่งแม่นปืน เป็นต้น คนไทยสมัยนั้นไม่รู้สึกว่าลูกครึ่งแตกต่างจากไพร่ฟ้าทั่วไป จึงยังไม่เรียกคนเหล่านั้นว่าลูกครึ่ง จนเมื่อลูกครึ่งฝรั่งมีความแตกต่างขึ้นมา คือไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน หรือไม่ใช่ไพร่เพราะมีกฎหมายฝรั่งคุ้มครองตามสิทธิสภาพนอกอาณาเขต อีกทั้งยังแต่งกายและมีวิถีชีวิตแบบฝรั่ง แต่จำนวนลูกครึ่งก็ยังมีไม่มากนัก มีลูกครึ่งฝรั่งที่มีบันทึกในอัตชีวประวัติที่ชื่อ เออิจิอะไร ตีพิมพ์เป็นหนังสือ", "title": "ลูกครึ่ง" }, { "docid": "938#4", "text": "ปรีดี พนมยงค์ เคยเขียนไว้ว่า มีการใช้ชื่อสยามมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จนถึงสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงนำกฎหมายเก่ามาชำระและรวบรวมเป็นกฎหมายตราสามดวง ชื่อประเทศได้รับการบันทึกเป็นภาษาบาลีว่า \"สามปเทส\" สาม หรือ สามะ แปลว่าความเสมอภาค ส่วน ปเทส แปลว่า ประเทศ แต่ฝรั่งออกเสียงเพี้ยน เป็นเซียมหรือไซแอม[5]", "title": "สยาม" }, { "docid": "103362#1", "text": "กฎหมายตราสามดวงนี้ ได้ใช้อาลักษณ์หลายท่านเขียนขึ้น โดยแยกเป็น “ฉบับหลวง” และ “ฉบับรองทรง” โดยสันนิษฐานว่า สำหรับฉบับหลวง ชุดหนึ่งเป็นสมุดไทย 41 เล่ม เมื่อรวม 3 ชุด จึงมีทั้งสิ้น 123 เล่ม แต่เท่าที่พบ ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 79 เล่ม โดยเก็บไว้ที่กระทรวงยุติธรรม 37 เล่ม และที่หอสมุดแห่งชาติ 41 เล่ม ส่วนอีก 44 เล่ม ไม่ทราบว่าขาดหายไปด้วยประการใด ส่วน ฉบับรองทรง นั้น ก็คือ กฎหมายตราสามดวงที่อาลักษณ์ชุดเดียวกับที่เขียนฉบับหลวง ได้เขียนขึ้น โดยเขียนในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยฉบับหลวง เขียนในปีฉลู จ.ศ.1167 (พ.ศ. 2348) ส่วนฉบับรองทรงเขียนขึ้นในปีเถาะ จ.ศ. 1169 (พ.ศ. 2350) ข้อแตกต่างระหว่าง ฉบับหลวง และฉบับรองทรง ก็คือ ฉบับรองทรงจะไม่มีตราสามดวงประทับไว้ และฉบับหลวงจะมีอาลักษณ์สอบทาน 3 คนส่วนฉบับรองทรงมีอาลักษณ์สอบทานเพียง 2 คน สำหรับกฎหมายตราสามดวง ฉบับรองทรงนี้ ปัจจุบันนี้พบเพียง 18 เล่ม โดยเก็บรักษาไว้ที่ หอสมุดแห่งชาติ 17 เล่มและที่พิพิธภัณฑ์อัยการไทย สำนักงานอัยการสูงสุด 1 เล่ม", "title": "กฎหมายตราสามดวง" }, { "docid": "77153#4", "text": "การเปลี่ยนจากการคาดเชือกมาเป็นการสวมนวมแทนนั้นเพราะมีการชกกันถึงตาย ครั้งนั้น นายเจียร์ นักมวยชาวเขมรจากพระตะบองซึ่งมีชื่อเสียงในด้านคงกระพันชาตรี เคยชกคนตายมาแล้ว เข้ามาเปรียบมวยในกรุงเทพฯ พระชลัมภ์พิสัยเสนีย์จึงเสนอนายแพ เลี้ยงประเสริฐขึ้นชกด้วย การชกมีขึ้นที่สนามหลักเมืองของพระยาเทพหัสดินทร์เมื่อ24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 เมื่อถึงยกที่ 3 นายแพใช้หมัดคู่หรือแม่ไม้ \"หนุมานถวายแหวน\"ของสำนักบ้านท่าเสา ชกนายเจียร์จนชะงักและเข้าซ้ำจนนายเจียร์ทรุดลงกับพื้นและไม่ลุกขึ้นมาอีกเลย จนสิ้นใจขณะนำส่งโรงพยาบาล แม้ว่าในครั้งนั้น นายแพไม่มีความผิดตามกฎหมาย เพราะกฎหมายที่ใช้อยู่ในครั้งนั้นระบุว่า การตายที่เกิดขึ้นจากการชกมวยที่ต่างฝ่ายต่างสมัครใจมาชกกันเองนั้น ถือว่าไม่มีความผิด ดังที่เคยทีบัญญัติไว้ในกฎหมายตราสามดวงว่า", "title": "มวยคาดเชือก" }, { "docid": "103362#6", "text": "จากอดีตจนถึงปัจจุบัน กฎหมายตราสามดวงได้เคยถูกพิมพ์เผยแพร่มาแล้วอย่างน้อย 10 ครั้งดังนี้", "title": "กฎหมายตราสามดวง" }, { "docid": "190503#9", "text": "บรรดากฎหมายเก่าที่มีคำว่า \"ตระลาการ\" นี้ แม้เมื่อสิ้นกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรีแล้วก็ยังมีผลใช้บังคับต่อมา จนกระทั่งในสมัยรัตนโกสินทร์ ในจุลศักราช 1166 (พ.ศ. 2347-2348) ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการที่มีสติปัญญาจำนวนสิบเอ็ดนายเป็นคณะกรรมการชำระกฎหมายทั้งปวงที่มีอยู่ในหอหลวง แล้วให้อาลักษณ์จัดทำไว้เป็นสามฉบับประทำตราสามตรา ดังที่เรียกติดปากกันจนทุกวันนี้ว่า \"กฎหมายตราสามดวง\" กระนั้น คำว่า \"ตระลาการ\" ก็ยังปรากฏอยู่", "title": "ข้าราชการฝ่ายตุลาการ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "103362#4", "text": "ในคดีนี้แม้จะทรงเห็นว่าคำตัดสินนั้นไม่สอดคล้องกับความยุติธรรม อันอาจเนื่องมาจากการคัดลอกกฎหมายมาผิด ก็ชอบที่จะจัดให้มีการชำระสะสางกฎหมายให้กลับไปสู่ความถูกต้องเหมือนการสังคายนาพระไตรปิฎก ดังพระราชปรารภที่ว่า “ให้กรรมการชำระพระราชกำหนดบทพระอายการ อันมีอยู่ในหอหลวง ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์ไปให้ถูกถ้วน ตามบาฬีและเนื้อความ มิให้ผิดเพี้ยนซ้ำกัน ได้จัดเป็นหมวด เป็นเหล่าเข้าไว้ แล้วทรงอุตสาห ทรงชำระดัดแปลง ซึ่งบทอันวิปลาดนั้นให้ชอบโดยยุติธรรมไว้”", "title": "กฎหมายตราสามดวง" }, { "docid": "314088#1", "text": "ความหมายของสีธงทั้งสามได้แก่ สีเขียวหมายถึงแผ่นดินและความหวังต่ออนาคต สีเหลืองหมายถึงสันติภาพและความรัก และสีแดงเป็นสัญลักษณ์แห่งความเข้มแข็ง สำหรับดวงตราแผ่นดินในธงชาติบ่งบอกถึงนัยยะของความหลากหลายและความเป็นเอกภาพของประเทศในเวลาเดียวกัน กล่าวคือ สีฟ้าหมายถึงสันติภาพ เฉลวรูปดาวหมายถึงความหลากหลายและความเป็นเอกภาพ รัศมีเปล่งจากดาวซึ่งเป็นรัศมีดวงอาทิตย์หมายถึงความเจริญรุ่งเรือง", "title": "ธงชาติเอธิโอเปีย" } ]
72
จังหวัดสมุทรสาครมีพื้นที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "6263#0", "text": "จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย (หน่วยงานบางแห่งถือเป็นส่วนหนึ่งของภาคตะวันตก) มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดของประเทศ คือประมาณ 416.7 ตารางกิโลเมตร ทั้งยังมีจำนวนประชากรน้อยที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศด้วย นับเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและมีชายฝั่งทะเลติดอ่าวไทยยาวประมาณ 23 กิโลเมตรซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มากเพราะเป็นดินดอนปากแม่น้ำ มีภูเขา 1 ลูก (เขายี่สาร) ไม่มีเกาะ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มโดยพื้นที่ฝั่งตะวันตกจะสูงกว่าฝั่งตะวันออกเล็กน้อย", "title": "จังหวัดสมุทรสงคราม" } ]
[ { "docid": "209095#4", "text": "ปลาสลิดนับเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของไทย นิยมแปรรูปเป็นปลาแห้งหรีอปลาเค็มที่รู้จักกันดี โดยเกษตรกรจะเลี้ยงในบ่อดิน โดยฟันหญ้าให้เป็นปุ๋ยและเกิดแพลงก์ตอนเพื่อเป็นอาหารปลา โดยพื้นที่เลี้ยงปลาสลิดที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ อำเภอบางบ่อและอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ที่เรียกว่า \"ปลาสลิดบางบ่อ\" นอกจากนี้ยังมีอีกแหล่งหนึ่งที่เคยมีชื่อในอดีต คือที่ ตำบลดอนกำยาน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี แต่ปัจจุบันพื้นที่เลี้ยงที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร", "title": "ปลาสลิด" }, { "docid": "168610#0", "text": "แม่น้ำท่าจีน เป็นแม่น้ำที่แยกตัวออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ ตำบลท่าซุงบริเวณปากคลองมะขามเฒ่า จึงเรียกแม่น้ำนั้นว่า คลองมะขามเฒ่า และมาหักเลี้ยวเป็นแยกแม่น้ำที่ไหลไปเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาได้อีกที ตรงที่เป็นพื้นที่ปากคลอง ตำบลหาดท่าเสา อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท กับ ฝั่งตะวันตกที่อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ไหลผ่านจังหวัดชัยนาท จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดสมุทรสาคร ก่อนจะไหลออกสู่อ่าวไทยที่ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 325 กิโลเมตร แม่น้ำท่าจีนมีชื่อเรียกหลายชื่อ ตอนที่ไหลผ่านจังหวัดชัยนาทเรียกว่า \"แม่น้ำมะขามเฒ่า\" ตอนที่ผ่านจังหวัดสุพรรณบุรี เรียกว่า \"แม่น้ำสุพรรณบุรี\" ตอนที่ผ่านจังหวัดนครปฐมเรียกว่า \"แม่น้ำนครชัยศรี\" ส่วนตอนที่ไหลผ่านจังหวัดสมุทรสาครและไหลลงสู่อ่าวไทยเรียกว่า \"แม่น้ำท่าจีน\"", "title": "แม่น้ำท่าจีน" }, { "docid": "6744#14", "text": "เนื่องจากเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พุทธศักราช 2537 ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ได้รับพระราชทานพันธุ์ไม้ดังกล่าวจากสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดวันรณรงค์โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ ปีที่ 50 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และเพื่อความเป็นศิริมงคลของชาวจังหวัดสมุทรสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครจึงได้นำพันธุ์ไม้สัตบรรณพระราชทานมาปลูก เป็นปฐมฤกษ์ในกิจกรรมวันปลูกต้นไม้ตามโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2537 ที่บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร จึงถือว่าต้นสัตบรรณเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาคร[1]", "title": "จังหวัดสมุทรสาคร" }, { "docid": "296780#2", "text": "ต่อมาเมื่อสโมสรทีทีเอ็ม สมุทรสาคร ได้ย้ายไปใช้สนามเหย้าที่จังหวัดพิจิตร ทำให้นายอุดร ไกรวัตนุสสรณ์ นายก อบจ.สมุทรสาคร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดสมุทรสาครในขณะนั้น มีแนวคิดจัดตั้งสโมสรฟุตบอลอาชีพของจังหวัดสมุทรสาครขึ้นมาในปี พ.ศ. 2553 ", "title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรสาคร" }, { "docid": "6744#0", "text": "จังหวัดสมุทรสาคร เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้รับการจัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489", "title": "จังหวัดสมุทรสาคร" }, { "docid": "6744#20", "text": "จังหวัดสมุทรสาครมีพื้นที่ทำการเกษตร 90,061 ไร่ จำนวนเกษตรกร 11,333 ราย แยกเป็นพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรสาคร 942 ราย 5,595 ไร่ อำเภอกระทุ่มแบน 2,798 ราย 19,183 ไร่ อำเภอบ้านแพ้ว 7,593 ราย 65,282 ไร่ พื้นเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ กล้วยไม้ มีพื้นเพาะปลูก 4,198 ไร่ มะนาวมีพื้นที่เพาะปลูก 18,211 ไร่ ไม้ผลมีพื้นที่เพาะปลูก 63,279 ไร่ พืชผักมีพื้นที่เพาะปลูก 5,697 ไร่ ไม้ดอกไม้ประดับมีพื้นที่เพาะปลูก 6,391 ไร่[1]", "title": "จังหวัดสมุทรสาคร" }, { "docid": "647907#15", "text": "ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 1 สำนักงานกลาง จังหวัดปทุมธานี พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดปทุมธานี, นนทบุรี, พระนครศรีอยุธยา, สระบุรี, ลพบุรี, อ่างทอง, สิงห์บุรี, ชัยนาท และสมุทรปราการ ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 2 สำนักงานกลาง จังหวัดชลบุรี พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด, สระแก้ว, ปราจีนบุรี, นครนายก และฉะเชิงเทรา ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 3 สำนักงานกลาง จังหวัดนครราชสีมา พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดนครราชสีมา, ชัยภูมิ, บุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ และยโสธร ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 สำนักงานกลาง จังหวัดขอนแก่น พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดขอนแก่น, เลย, หนองบัวลำภู, อุดรธานี, หนองคาย, บึงกาฬ, สกลนคร, นครพนม, มุกดาหาร, กาฬสินธุ์, ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 5 สำนักงานกลาง จังหวัดลำปาง พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดลำปาง, ลำพูน, เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน, เชียงราย, พะเยา, น่าน และแพร่ ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 6 สำนักงานกลาง จังหวัดพิษณุโลก พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดพิษณุโลก, เพชรบูรณ์, พิจิตร, นครสวรรค์, อุทัยธานี, ตาก, กำแพงเพชร, สุโขทัย และอุตรดิตถ์ ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 7 สำนักงานกลาง จังหวัดนครปฐม พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดนครปฐม, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี, ราชบุรี, สมุทรสาคร, สมุทรสงคราม, เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 8 สำนักงานกลาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดสุราษฎร์ธานี, ชุมพร, ระนอง, พังงา, ภูเก็ต, กระบี่ และนครศรีธรรมราช ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 9 สำนักงานกลาง จังหวัดสงขลา พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดสงขลา, สตูล, ตรัง และพัทลุง ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 10 สำนักงานกลาง จังหวัดยะลา พื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดยะลา, นราธิวาส และปัตตานี", "title": "สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ" }, { "docid": "312665#3", "text": "โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) ให้บริการในพื้นที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร และเขตพื้นที่ใกล้เคียง นอกจากนี้ยังมีการให้บริการโดยการจัดตั้งสาขาการให้บริการ และศูนย์สุขภาพชุมชนในชุมชนต่างๆ ได้แก่", "title": "โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)" }, { "docid": "7916#1", "text": "ในปัจจุบันประเทศไทยมี 878 อำเภอใน 76 จังหวัด ซึ่งไม่รวม 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการบริหารกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2515 จำนวนอำเภอในจังหวัดมีจำนวนต่างกันออกไป ตั้งแต่ 3 อำเภอของจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดภูเก็ต ไปจนถึง 32 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา จำนวนประชากรในแต่ละอำเภอก็มีจำนวนต่างกันไปอีกเช่นกัน เช่น อำเภอเกาะกูด (จังหวัดตราด) มีประชากรเพียง 2,450 คน (พ.ศ. 2557) ขณะที่ อำเภอเมืองสมุทรปราการมีประชากรถึง 525,982 คน อำเภอเกาะสีชัง (จังหวัดชลบุรี) เป็นอำเภอที่มีพื้นที่น้อยที่สุดเพียง 17 ตารางกิโลเมตร ขณะที่อำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุด ซึ่งมีประชากรเบาบาง มีภูมิประเทศเป็นภูเขา และมีขนาดใหญ่กว่าจังหวัดบางจังหวัด ได้แก่ อำเภออุ้มผาง (จังหวัดตาก) มีพื้นที่ถึง 4,325.4 ตารางกิโลเมตร", "title": "อำเภอ" }, { "docid": "215651#1", "text": "เทศบาลตำบลสวนหลวง มีพื้นที่ประมาณ 16.95 ตารางกิโลเมตร\nมีอาณาเขตพื้นที่ติดต่อดังนี้", "title": "เทศบาลตำบลสวนหลวง (จังหวัดสมุทรสาคร)" }, { "docid": "564593#2", "text": "จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศีรษะ เข้ารับราชการตำรวจโดยมีตำแหน่งเป็นผู้บังคับหมู่ฝ่ายอำนวยการ กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสาคร และมีบทบาทเป็นแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จังหวัดสมุทรสาคร ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นถิ่นพำนักและบ้านเกิดของภรรยา โดยแข่งขันกับอดีต ส.ส.พื้นที่เดิม คือ นางฟาริดา สุไลมาน จากพรรคภูมิใจไทย และนายธีรทัศน์ เตียวเจริญโสภา จากพรรคชาติไทยพัฒนา แต่สามารถเอาชนะและได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรกได้สำเร็จ", "title": "ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ" }, { "docid": "639713#2", "text": "พระเทพวิมลมุนี ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 ณ วัดชัยมงคล อำเภอเมือง สมุทรสาคร โดยมีพระครูรอด วัดบางน้ำวน อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นพระอุปัชฌายาจารย์ และอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2494 ณ พัทธสีมา วัดชัยมงคล อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีพระธรรมสิริชัย วัดพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เป็นพระอุปัชฌายาจารย์ พระครูสาครศีลาจารย์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระรามัญมุนี วัดป้อมวิเชียรโชติการาม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นพระอนุสาวนาจารย์", "title": "พระเทพวิมลมุนี (กฤช กิตฺติวํโส)" }, { "docid": "532514#0", "text": "บริษัท ทีทีดับบลิว จำกัด ( มหาชน ) หรือเดิมชื่อบริษัท น้ำประปาไทย จำกัด (มหาชน) ริเริ่มการดำเนินธุรกิจด้วยการผลิตและจำหน่ายน้ำประปาที่มีคุณภาพมาตรฐานระดับสากลให้แก่การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ในพื้นที่ฝั่งตะวันตก อำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม อำเภอกระทุ่มแบนและอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ในปี พ.ศ. 2551 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยประกาศรับหุ้นสามัญของบริษัท ในกลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร หมวดธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค", "title": "น้ำประปาไทย" }, { "docid": "300143#5", "text": "มีอัตราการกัดเซาะรุนแรง คือเฉลี่ยมากกว่า 5.0 เมตรต่อปี (ถือเป็นพื้นที่วิกฤติหรือพื้นที่เร่งด่วน) เกิดขึ้นในพื้นที่ชายฝั่งระยะทางรวม 180.9 กิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 10.9 ของแนวชายฝั่งอ่าวไทย ทั้งนี้ชายฝั่งทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนบนตั้งแต่ปากแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จนถึงปากแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวและเกิดการกัดเซาะที่รุนแรงที่สุด โดยบางพื้นที่มีอัตราการกัดเซาะชายฝั่งมากกว่า 25 เมตรต่อปี", "title": "การกัดเซาะชายฝั่งทะเลของประเทศไทย" }, { "docid": "86577#0", "text": "เทศบาลนครสมุทรสาคร เป็นเทศบาลนครแห่งหนึ่งในอำเภอสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัด เคยเป็นสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีชื่อว่า สุขาภิบาลท่าฉลอม และเป็นที่ตั้งของตลาดมหาชัย มีพื้นที่ 10.33 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมหาชัย ตำบลท่าฉลอม และตำบลโกรกกรากทั้งตำบล มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 68,208 คน", "title": "เทศบาลนครสมุทรสาคร" }, { "docid": "233999#0", "text": "ถนนเอกชัย ( ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3242 สายต่อทางขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร - ต่อทางของกรุงเทพมหานคร เป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรสาคร เริ่มต้นจากถนนจอมทองบริเวณสะพานคลองด่านในพื้นที่เขตจอมทอง ผ่านถนนกำนันแม้น ข้ามคลองวัดสิงห์เข้าพื้นที่เขตบางบอน จากนั้นตัดกับถนนบางบอน 1 ถนนบางขุนเทียน ถนนกาญจนาภิเษก ถนนบางบอน 3 และถนนบางบอน 5 ผ่านโรงเรียนศึกษานารีวิทยา เข้าเขตอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ผ่านวัดโพธิ์แจ้ ถนนเทพกาญจนา ถนนเลียบคลองสี่วาพาสวัสดิ์ ข้ามสะพานตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 บริเวณมหาชัยเมืองใหม่ เข้าสู่เขตเทศบาลนครสมุทรสาคร ผ่านถนนเศรษฐกิจ 1 สิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 กิโลเมตรที่ 30 ระยะทางจากถนนบางขุนเทียนประมาณ 23 กิโลเมตร", "title": "ถนนเอกชัย" }, { "docid": "6744#25", "text": "รถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ในพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรสาคร ได้แก่ สาย 7 สมุทรสาคร–หัวลำโพง, สาย 68 สมุทรสาคร–บางลำภู, และสาย 105 มหาชัยเมืองใหม่–คลองสาน นอกจากนี้ ยังมีรถสองแถวสีส้ม ปิ่นทอง–มหาชัย, รถสองแถวสีเหลือง เคหะชุมชนธนบุรี–มหาชัย, รถเมล์สีส้ม สาย 402 นครปฐม–กระทุ่มแบน–มหาชัย, และรถเมล์สีแดง 481 สมุทรสงคราม–สมุทรสาคร ส่วนการขนส่งทางรางมีทางรถไฟสายแม่กลอง เริ่มต้นจากวงเวียนใหญ่ ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร สิ้นสุดที่สถานีรถไฟมหาชัย และเริ่มต้นอีกช่วงหนึ่งที่สถานีรถไฟบ้านแหลม ต่อไปยังจังหวัดสมุทรสงคราม", "title": "จังหวัดสมุทรสาคร" }, { "docid": "6744#18", "text": "ทางด้านทิศเหนือของจังหวัดจะเป็นพื้นที่การเกษตร ซึ่งประกอบด้วย นาข้าว และสวนผลไม้ โดยสวนผลไม้ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่อำเภอบ้านแพ้ว และอำเภอกระทุ่มแบน โดยเฉพาะพื้นที่ดินที่อยู่ใกล้คลองดำเนินสะดวก และคลองภาษีเจริญ จะมีการปลูกไม้ยืนต้น ผักผลไม้เป็นจำนวนมาก เช่น มะพร้าว ปาล์ม", "title": "จังหวัดสมุทรสาคร" }, { "docid": "6263#8", "text": "ทิศเหนือ จรดจังหวัดราชบุรีและจังหวัดสมุทรสาคร ทิศตะวันออก จรด อ่าวไทยชั้นใน (พื้นที่เขตจังหวัดสมุทรสงครามทางทะเลติดต่อจังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดเพชรบุรี[3] ทิศใต้ จรดจังหวัดเพชรบุรี (อำเภอเขาย้อย และอำเภอบ้านแหลม) ทิศตะวันตก จรดจังหวัดราชบุรี", "title": "จังหวัดสมุทรสงคราม" }, { "docid": "6744#21", "text": "ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 – 2553 จังหวัดสมุทรสาครมีโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 4,965 แห่ง เงินลงทุน 446,870 ล้านบาท จำนวนการจ้างแรงงาน 381,476 คน เป็นโรงงานจำพวกที่ 2 (โรงงานที่มีแรงม้าไม่เกิน 50 แรงม้า คนงานไม่เกิน 7 คน และจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบก่อนประกอบกิจการ) จำนวน 324 โรงงาน เงินลงทุน 1,933 ล้านบาท จำนวนการจ้างแรงงาน 4,901 คน และโรงงานจำพวกที่ 3 (โรงงานที่มีแรงม้าตั้งแต่ 50 แรงม้าขึ้นไปคนงานตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป และจะต้องได้รับอนุญาตก่อนถึงจะประกอบกิจการโรงงานได้) จำนวน 4,641 โรงงาน เงินลงทุน 444,938 ล้านบาท จำนวนการจ้างงาน 376,575 คน ส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็กจำนวน 3,919 โรงงาน และโรงงานขนาดกลางจำนวน 758 โรงงาน ในจังหวัดสมุทรสาครมีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจำนวน 277 โรงงาน ประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมที่ขออนุญาตประกอบการมาก ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ (18.32%) อุตสาหกรรมพลาสติก (14.52%) อุตสาหกรรมอาหารและแปรรูปอาหาร (10.09%) อุตสาหกรรมสิ่งทอ (9.55%)[1]", "title": "จังหวัดสมุทรสาคร" }, { "docid": "168610#4", "text": "แม่น้ำท่าจีนเป็นแหล่งผลิตน้ำประปาสำคัญของบริษัท น้ำประปาไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งจำหน่ายน้ำประปาให้กับการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ในพื้นที่อำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน และอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม กับอำเภอเมืองสมุทรสาคร และอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร โดยใช้แหล่งน้ำดิบบริเวณที่ตั้งของโรงผลิตน้ำประปาบางเลน หมู่ที่ 9 ตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ก่อนจะส่งจ่ายน้ำประปาที่ผ่านการผลิตไปยังสถานีจ่ายน้ำพุทธมณฑล ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และสถานีจ่ายน้ำมหาชัย ตำบลนาดี อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ก่อนจะจ่ายน้ำไปยังผู้ใช้ต่อไป", "title": "แม่น้ำท่าจีน" }, { "docid": "316251#1", "text": "เขตศาลจังหวัด มิได้หมายความตามภูมิศาสตร์ที่ตั้ง ในจังหวัดหนึ่งอาจมีศาลจังหวัดมากกว่า 1 ศาล เนื่องจากบางจังหวัดมีพื้นที่กว้าง หรือบางท้องที่อยู่ห่างไกลจากเขตอำเภอเมืองเป็นอย่างมาก จึงต้องจัดตั้งศาลจังหวัดขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการติดต่อราชการ และการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมในชั้นศาลศาลแรงงานกลาง มีเขตครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นครปฐม สมุทรสาคร นนทบุรี และปทุมธานี และในระหว่างที่ยังไม่ได้จัดตั้งศาลแรงงานภาค หรือศาลแรงงานจังหวัดนั้น ศาลแรงงานกลางมีอำนาจ ครอบคลุมพี้นที่ทั่วราชอาณาจักร", "title": "เขตศาลยุติธรรมไทย" }, { "docid": "6744#6", "text": "จังหวัดสมุทรสาครมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1.00 - 2.00 เมตร มีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่านตอนกลางจังหวัด ไหลคดเคี้ยวจากแนวเหนือลงใต้สู่อ่าวไทยที่อำเภอเมืองสมุทรสาคร ระยะทางยาวประมาณ 70 กิโลเมตร พื้นที่ตอนบนในเขตอำเภอบ้านแพ้วและอำเภอกระทุ่มแบน มีความอุดมสมบูรณ์ของดินและมีโครงข่ายแม่น้ำลำคลองเชื่อมโยงถึงกันกระจายอยู่ทั่วพื้นที่กว่า 170 สาย จึงเหมาะที่จะทำการเพาะปลูกพืชนานาชนิด และบางส่วนเป็นย่านธุรกิจ อุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัย พื้นที่ตอนล่างของจังหวัดในเขตอำเภอเมืองสมุทรสาครอยู่ติดชายฝั่งทะเลยาว 41.8 กิโลเมตร จึงเหมาะที่จะประกอบอาชีพประมงทะเล เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งและทำนาเกลือ ในช่วงฤดูฝนบางพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมหนัก ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมเสียหายอย่างมาก โดยเฉพาะด้านการเกษตร[1]", "title": "จังหวัดสมุทรสาคร" }, { "docid": "296780#4", "text": "ฤดูกาล 2554 สโมสรได้ย้ายสนามเหย้าของทีมจากสนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร มาใช้สนามกีฬา อบจ.สมุทรสาคร ซึ่งมีความจุมากกว่า นอกจากนี้ยังเปลี่ยนหัวหน้าผู้ฝึกสอนเป็นนราศักดิ์ บุญเกลี้ยง โดยทีมมีผลงานดีขึ้นจนสามารถทำอันดับได้ใกล้เคียงกับการได้ไปแข่งขันรอบแชมเปียนส์ลีก โดยจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 3 และมีคะแนนตามหลังอันดับ 2 ซึ่งเป็นพื้นที่แชมเปียนส์ลีก 6 คะแนน", "title": "สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรสาคร" }, { "docid": "6744#17", "text": "สภาพทั่วไปของจังหวัดสมุทรสาครเป็นพื้นที่ราบลุ่มสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 1-2 เมตร มีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่จากทางด้านเหนือไหลลงสู่อ่าวไทยที่อำเภอเมืองสมุทรสาคร มีคลองชลประทานจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ เพื่อการคมนาคมและเพื่อการชลประทาน ทำให้การใช้ที่ดินครึ่งหนึ่งของจังหวัดเป็นไปเพื่อการเกษตรกรรม", "title": "จังหวัดสมุทรสาคร" }, { "docid": "6744#4", "text": "จังหวัดสมุทรสาครเป็นจังหวัดชายทะเลอ่าวไทย มีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่ากลางจังหวัด เป็นจังหวัดในเขตพื้นที่ภาคกลางตอนล่างของประเทศไทยประมาณเส้นรุ้งที่ 13 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 100 องศาตะวันออก เป็นจังหวัดปริมณฑล มีพื้นที่ติดกับเขตหนองแขม เขตบางบอน และเขตบางขุนเทียนของกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 872.347 ตารางกิโลเมตร[1]", "title": "จังหวัดสมุทรสาคร" }, { "docid": "421421#2", "text": "องค์การจัดการน้ำเสีย ก่อตั้งขึ้นเพื่อจัดระบบบำบัดน้ำเสียรวม สำหรับการบำบัดน้ำเสียในพื้นที่ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2542 ให้เพิ่มเติมพื้นที่เทศบาลตำบลแสนสุข จังหวัดชลบุรี พื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และพื้นที่จังหวัดอ่างทอง เป็นพื้นที่ในเขตจัดการน้ำเสีย", "title": "องค์การจัดการน้ำเสีย" }, { "docid": "6744#33", "text": "วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร รายชื่อวัดในจังหวัดสมุทรสาคร รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดสมุทรสาคร รายชื่อสาขาของธนาคารในจังหวัดสมุทรสาคร รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดสมุทรสาคร", "title": "จังหวัดสมุทรสาคร" }, { "docid": "52323#8", "text": "ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2552-2558 สโมสรเปลี่ยนชื่อที่ใช้ในการแข่งขันหลายครั้ง เนื่องจากไม่มีสนามเหย้าประจำเป็นของตนเอง จึงต้องย้ายไปใช้สนามกีฬาตามจังหวัดต่างๆเป็นสนามเหย้าเพื่อใช้ในการแข่งขันแต่ละฤดูกาล โดยใน ฤดูกาล 2552 ทางสโมสรได้มีการเปลี่ยนชื่อสโมสร เพื่อให้เป็นไปตาม วิสัยทัศน์ของเอเอฟซี โดยรวมมือกับทาง จังหวัดสมุทรสาคร และเปลื่ยนชื่อเป็น \"สโมสรฟุตบอลทีทีเอ็ม สมุทรสาคร\" และใน ฤดูกาล 2553 ได้ย้ายทีมมารวมกับจังหวัดพิจิตร ทางสโมสรได้เปลี่ยนชื่อเป็น \"สโมสรฟุตบอลทีทีเอ็ม เอฟซี พิจิตร\" และในฤดูกาล 2555 สโมสรย้ายไปใช้สนามเหย้าที่จังหวัดเชียงใหม่ และใช้ชื่อในการแข่งขันว่าว่า \"สโมสรฟุตบอลทีทีเอ็ม เชียงใหม่\" โดยผลงานของทีมในลีกนั้นไม่ดีเท่าที่ควร จนสโมสรตกชั้นในฤดูกาลนั้น", "title": "สโมสรฟุตบอลยาสูบ" }, { "docid": "632433#1", "text": "สถาบันเทคโนโลยียานยนต์มหาชัย เป็นสถาบันอุดมศึกษาในเครือฐานปัญญา เอ็ดดูเคชั่น กรุ๊ป โดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการให้จัดการศึกษาในระดับปริญญา เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ตั้งอยู่บนพื้นที่ 11 ไร่ บริเวณหมู่ที่ 4 ถนนพระราม 2 ตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ", "title": "สถาบันเทคโนโลยียานยนต์มหาชัย" } ]
1495
กรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มต้นเมื่อไหร่?
[ { "docid": "44052#1", "text": "สำเพ็งเริ่มต้นจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ทรงสถาปนาสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นที่ฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ให้เป็นราชธานีแห่งใหม่แทนที่กรุงธนบุรี ในปี พ.ศ 2325 โดยมีพระบรมมหาราชวังตั้งขึ้นในพื้นที่ ๆ แต่เดิมเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวจีน และโปรดให้ย้ายชุมชนชาวจีนออกไปตั้งถิ่นฐานใหม่นอกประตูพระนครทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ขนานไปกับลำน้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่คลองวัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิราชาวาส) ไปจนถึงคลองสามเพ็ง หรือสำเพ็ง", "title": "สำเพ็ง" }, { "docid": "16485#0", "text": "ราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ \nเป็นราชอาณาจักรที่สี่ในยุคประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่งกรุงธนบุรี มายังกรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325", "title": "อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)" } ]
[ { "docid": "342810#8", "text": "ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเหมือนกรุงศรีอยุธยาแห่งที่สอง มีการสร้างสถาปัตยกรรมที่สำคัญเลียนแบบกรุงศรีอยุธยา ส่วนบ้านพักอาศัย เรือนไทยที่คงเหลือจากสงครามก็ถูกถอดและนำประกอบใหม่", "title": "สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์" }, { "docid": "623054#4", "text": "ภายในงาน \"อุ่นไอรัก คลายความหนาว สายน้ำแห่งรัตนโกสินทร์\" จะมีส่วนจัดแสดงต่าง ๆ อาทิ นิทรรศการประวัติศาสตร์และคุณค่าของสายน้ำแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์และเรือพระที่นั่งจำลอง อาคารบ้านเรือนจากต้นกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน ประดับด้วยพรรณไม้ต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการจัดตลาดทั้งทางบกและทางน้ำด้วย ทั้งนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมี ผบ.ตร. จักรทิพย์ ชัยจินดา ได้เตรียมความพร้อมในการอำนวยความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกด้านการจราจรในการจัดงาน ให้ทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย", "title": "รัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557" }, { "docid": "1919#13", "text": "โดยนามเดิมที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ พระราชทานในตอนแรกนั้น ใช้ชื่อว่า “กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา” ต่อมาในในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแก้นามพระนครเป็น “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินท์ มหินทอยุธยา” จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนคำว่า บวร เป็น อมร เปลี่ยนคำว่า มหินทอยุธยา โดยวิธีการสนธิศัพท์เป็น มหินทรายุธยา และเติมสร้อยนามต่อ ทั้งเปลี่ยนการสะกดคำ สินท์ เป็น สินทร์ จนเป็นที่มาของชื่อเต็มของกรุงรัตนโกสินทร์ ข้างต้น", "title": "กรุงเทพมหานคร" }, { "docid": "539489#1", "text": "คลองระพีพัฒน์เริ่มต้นขุดจากแม่น้ำป่าสัก บริเวณ คุ้งยางนม ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนจะไหลลงมาที่อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี และแยกออกเป็นสองสาย ความยาว 32 กิโลเมตร มีประตูน้ำพระนารายณ์ และประตูน้ำพระเอกาทศรถกั้นอยู่ระหว่างคลอง เป็นคลองที่มีบทบาทสำคัญในการระบายน้ำ และโครงการชลประทานในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สระบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง", "title": "คลองระพีพัฒน์" }, { "docid": "98705#6", "text": "พัฒนาการของความขัดแย้ง การต่อต้าน และการลุกขึ้นสู้ของพื้นที่ชายแดนใต้ เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2328 สามปีหลังการสถาปนาราชวงศ์จักรี โดยมีศูนย์กลางอำนาจรัฐที่กรุงเทพฯหรือกรุงรัตนโกสินทร์ แล้ว จากนั้นปัตตานีมิได้ส่งเครื่องบรรณาการให้แก่ราชสำนักตามประเพณีนิยมของหัวเมืองประเทศราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงทรงส่งพระยาราชบังสัน (แม้น) นำทัพเรือเข้าโจมตีปัตตานี เรือรบอำนาจแห่งรัตนโกสินทร์แล่นตามลำคลองปาแปรีอันเป็นสาขาของแม่น้ำปัตตานีไปจนถึงประตูเมือง สุลต่านปัตตานีไม่ยอมจำนน พระยาราชบังสันสั่งให้เรือรบยิงถล่มประตูเมือง กระสุนปืนใหญ่ตกในเมืองหลายนัดทำให้ชาวเมืองปัตตานีล้มตายกันมาก ที่สุดปัตตานีก็ยอมแพ้ต่อพระราชอาณาจักรสยาม", "title": "กบฏหวันหมาดหลี" }, { "docid": "746399#4", "text": "\"พงศาวดารเหนือ\" คือบันทึกประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานี้ โดยแม้ไม่ทราบแน่ชัดว่าเริ่มบันทึกเมื่อไหร่ เนื้อหาคาดการณ์ว่าอยู่ในช่วง ค.ศ. 500 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 ฉบับล่าสุดนั้นอยู่ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์", "title": "ประวัติศาสตร์ไทยช่วงต้น" }, { "docid": "6805#10", "text": "ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ขุนพลแก้วในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พักทัพก่อนยกไปปราบญวน ณ บริเวณที่ภายหลังเมื่อเสร็จศึกญวนแล้วสร้างเป็นวัดตาพระยา อำเภอตาพระยา", "title": "จังหวัดสระแก้ว" }, { "docid": "5256#21", "text": "สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยยังเผชิญกับการรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สงครามเก้าทัพ, สงครามท่าดินแดงกับพม่า ตลอดจนกบฏเจ้าอนุวงศ์กับลาว และอานามสยามยุทธกับญวน", "title": "ประวัติศาสตร์ไทย" }, { "docid": "210448#0", "text": "โรงแรมรัตนโกสินทร์ หรือ รอยัลรัตนโกสินทร์ () เป็นโรงแรมเก่าแก่ตั้งอยู่บริเวณถนนราชดำเนิน เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2485 และได้เปิดอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2486 โดยมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นประธานเปิด มีผู้จัดการคนแรกคือ \"นายยี่ทวน กาญจนนัค (สุรพงศ์ กาญจนนัค)\" โรงแรมรัตนโกสินทร์ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในโรงแรมที่สวยที่สุดและทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในสมัยนั้น ด้วยการขึ้นชื่อว่าเป็นโรงแรม 5 ดาว มีห้องพักถึง 45 ห้อง โดยแต่ละห้องตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ลวดลายกนกทองที่สวยงาม และรูปทรงภายนอกอาคารที่เป็นตึกสมัยใหม่ทรงเหลี่ยม", "title": "โรงแรมรัตนโกสินทร์" } ]
221
แชคิล ราชอน โอนีล เกิดเมื่อไหร่ ?
[ { "docid": "22214#0", "text": "แชคิล ราชอน โอนีล () (เกิด 6 มีนาคม พ.ศ. 2515 ในเมืองนีวอร์ค รัฐนิวเจอร์ซีย์) เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อว่า แชค (Shaq) เป็นนักกีฬาบาสเกตบอลเอ็นบีเอที่แข็งแกร่งที่สุดคนหนึ่ง โอนีลเริ่มเล่นให้กับออร์แลนโด แมจิก ต่อมาเซ็นสัญญากับลอสแอนเจลิส เลเกอรส์ ก่อนจะถูกเทรดย้ายไปไมอามี ฮีท, ฟีนิกส์ ซันส์ และ คลีฟแลนด์ คาวาเลียร์ ตามลำดับ มีชื่อเสียงเรื่องตัวใหญ่ด้วยความสูง 7 ฟุต 1 นิ้ว (2.16 ม.) หนัก 340 ปอนด์ (154 กก.) และใส่รองเท้าเบอร์ 22 (ของทางสหรัฐ) มีชื่อเล่นหลายชื่อ เช่น ดีเซล (Diesel) บิ๊กอริสโตเติล (Big Aristotle) ซูเปอร์แมน (Superman) และล่าสุดเมื่อได้รับปริญญาโทบริหารธุรกิจคือ ดอกเตอร์แชค (Doctor Shaq) ซึ่งส่วนใหญ่แชคเป็นคนตั้งเอง เขาเริ่มเล่นในเอ็นบีเอตั้งแต่อายุ 20 ปี และตลอดเวลาการเล่น 13 ปี สร้างผลงานที่เยี่ยมยอดและหลายคนถือว่าเขาเป็นเซ็นเตอร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งเท่าที่เคยมีมาทีเดียว", "title": "แชคิล โอนีล" } ]
[ { "docid": "22214#1", "text": "แชคิล ราชอน (Shaquille Rashaun มาจากภาษาอาหรับ แปลว่า นักรบน้อย) เป็นชื่อที่บิดาแท้ ๆ คือ โจเซฟ โทนี (Joseph Toney) เป็นคนตั้งให้ แต่โอนีลก็ไม่ได้ใกล้ชิดกับพ่อมากนัก มารดาของเขา ชื่อ ลูซีลล์ โอนีล แฮริสัน (Lucille O'Neal Harrison) แต่งงานใหม่กับทหารอเมริกันชื่อ ฟิลิป แฮริสัน (Phillip Harrison) ซึ่งแชคเห็นเขาเป็นบิดาที่แท้จริง แชคได้ใช้ชีวิตวัยเด็กส่วนหนึ่งในประเทศเยอรมนี ที่ที่พ่อ (ฟิลิป) ของเขาประจำการอยู่ และได้เรียนรู้วิธีการเล่นบาสเกตบอลที่นั่น", "title": "แชคิล โอนีล" }, { "docid": "232329#0", "text": "นิโคล ริชชี () เกิดเมื่อวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1981 เป็นนักแสดงชาวอเมริกัน นักเขียน สาวสังคม นักร้องและพิธีกรรายการโทรทัศน์ เธอเป็นบุตรสาวของนักร้องแนวอาร์แอนด์บี/ป็อป ไลโอเนล ริชชี เธอโด่งดังจากผลงานในรายการเรียลลิตี้ ทางช่องฟ็อกซ์ ที่ชื่อ \"The Simple Life\" ที่ร่วมกับสาวสังคมอีกคน ปารีส ฮิลตัน เพื่อนสนิทของเธอ เธอมีบุตรสาวชื่อ ฮาร์โลว์ วินเทอร์ เคต แมดเดน กับแฟนหนุ่มโจเอล แมดเดน แห่งวงกู้ด ชาร์ล็อตต์", "title": "นิโคล ริชชี" }, { "docid": "22214#25", "text": "วันที่ 25 มิถุนายน 2009 ฟินิกส์ ซันส์ เทรด โอนีล ไปอยู่ทีม คลีฟแลนด์ คาวาเลียร์ส แลกกับ ซาช่า แพบโลวิช, เบน วอลเลซ, เงิน 500,000 เหรียญ และ สิทธิ์ในการดร้าฟผู้เล่นในรอบสองของปี 2010 การมาที่คลีฟแลนด์นี้ โอนีล กล่าวว่า \"คำขวัญของผมง่ายมาก: ช่วยเดอะคิงคว้าแหวนแชมป์\" \"My motto is very simple: Win a Ring for the King,\" โดย The King นั้นหมายถึง เลอบรอน เจมส์", "title": "แชคิล โอนีล" }, { "docid": "22214#3", "text": "เขาเริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้างเมื่อเล่นที่ไฮสกูล Robert G. Cole Junior-Senior High School ในเมืองซานแอนโตนิโอ รัฐเทกซัส และได้เป็นผู้เล่นดีเด่นของโรงเรียนระหว่างเวลาที่เล่นอยู่ที่นั่น เขาเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยหลุยเซียนาสเตต (Louisiana State University, LSU) และจบปริญญาตรีในสาขาพาณิชยศาสตร์ ได้รับตำแหน่ง first team All-American สองครั้ง ผู้เล่นแห่งปีของ Southeastern Conference (SEC) สองครั้ง ผู้เล่นแห่งปีระดับประเทศในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) และเป็นเจ้าของสถิติของระดับมหาวิทยาลัย (NCAA) สำหรับจำนวนบล็อกสูงสุดในหนึ่งเกม ถึง 17 ครั้ง เมื่อแข่งกับมหาวิทยาลัยมิสซิสซิปปีสเตต (Mississippi State University) เมื่อ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2533", "title": "แชคิล โอนีล" }, { "docid": "22214#9", "text": "หลังจากฤดูกาล 1995-96 ของเอ็นบีเอ (ตรงกับ พ.ศ. 2538-39) โอนีลเข้าร่วมทีมลอสแอนเจลิส เลเกอรส์ด้วยสัญญาเจ็ดปีมูลค่าสูงถึง 120 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งไม่เคยมีมาก่อน เขาและโคบี ไบรอันต์ กลายเป็นคู่การ์ดและเซ็นเตอร์ที่เล่นได้ประสิทธิภาพที่สุดคู่หนึ่งในประวัติศาสตร์เอ็นบีเอ ถึงแม้ว่าความสัมพันธ์ของทั้งสองจะไม่ราบรื่นและเกิดเรื่องผิดใจกันบ่อยครั้ง", "title": "แชคิล โอนีล" }, { "docid": "22214#31", "text": "ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2011 แช็คเกิดอาการบาดเจ็บอีกครั้งจนทำให้เขาพลาดเกมที่เหลือ", "title": "แชคิล โอนีล" }, { "docid": "22214#5", "text": "โอนีล ได้รับเลือกเป็นคนแรกของการดราฟในปี พ.ศ. 2535 โดยทีมออร์แลนโด แมจิก เขาเล่นที่นั่นเป็นเวลาสี่ปี โดยมีผลงานที่โดดเด่นจนได้รับรางวัลผู้เล่นหน้าใหม่ยอดเยี่ยม (รุกกีออฟเดอะเยียร์) หลังจากนั้น เมื่อออร์แลนโด้ได้ตัวการ์ดหน้าใหม่ แอนเฟอร์นี ฮาร์ดอเวย์ (ฉายา \"เพนนี\") เข้ามาในทีม การประสานงานของแชคกับเพนนี่ช่วยกันสร้างทีมออร์แลนโดจากทีมท้ายตารางกลายมาเป็นทีมที่สามารถเข้ารอบเพลย์ออฟได้", "title": "แชคิล โอนีล" }, { "docid": "22214#21", "text": "ฟีนิกส์ ซันส์ เทรดเอา โอนีล มาจากไมอามี ฮีท แลกกับ ชอน แมริออน (Shawn Marion) และ มาคัส แบงค์ส (Marcus Banks) โอนีล เล่นให้ซันส์เกมแรกในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 แข่งกับเลเกอร์ส ทีมเก่าของเขา และทำ 15 แต้ม 9 รีบาวด์ เลเกอร์สชนะด้วยคะแนน 130 ต่อ 124 โอนีลกล่าวกับผู้สื่อขาวหลังจบเกมว่า: \"ผมขอรับผิดจากการแพ้เกมนี้เพราะยังไม่เล่นเข้าขากับคนอื่น แต่ขอเวลาผมสี่หรือห้าวันแล้วผมจะทำให้ได้\" \"I will take the blame for this loss because I wasn't in tune with the guys [...] But give me four or five days to really get in tune and I'll get it.\"", "title": "แชคิล โอนีล" }, { "docid": "22214#41", "text": "เมื่อแชคย้ายไปอยู่ไมอามี แชคเริ่มฝึกเพื่อเป็นเจ้าหน้าที่สำรองของเมืองไมอามีบีช และเข้าสาบานตัวเป็นเจ้าหน้าที่เมื่อ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2548 แชคสนใจทำงานด้านสืบสวนสอบสวน สำหรับป้องกันอาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับเด็ก", "title": "แชคิล โอนีล" } ]
1686
รักกันสนั่นเมือง ออกอากาศครั้งแรกทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่องใด?
[ { "docid": "779992#0", "text": "รักกันสนั่นเมือง เป็นรายการโทรทัศน์ลำดับที่ 4 ที่ผลิตโดย บริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด ต่อจากรายการ แสบคูณสอง จารบีสีชมพู และ จารบีปีเสือ ซึ่งออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2542 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ออกอากาศทุกคืนวันอาทิตย์ เวลา 22.00 - 23.00 น. โดยในยุคแรกเปิดโอกาสให้เฉพาะคู่สามีภรรยามาแข่งขันในรายการ ต่อมาเปลี่ยนเป็นคู่ของพี่-น้อง เพื่อน แม่-ลูกหรือพ่อ-ลูก จากทางบ้านสมัครเข้ามาในรายการ และวันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ได้มีการปรับรูปแบบเกมและฉากใหม่ โดยใช้ชื่อว่า รักกันสนั่นเมือง คนยักษ์ ได้เพิ่มพิธีกรอีกคนคือ โน๊ต เชิญยิ้ม และยุติการออกอากาศในวันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2544ในส่วนของเกมการแข่งขันในรายการรักกันสนั่นเมืองนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 2 ยุคด้วยกัน คือรักกันสนั่นเมือง (มีนาคม 2542 - กรกฎาคม 2544) และรักกันสนั่นเมือง คนยักษ์ (กรกฎาคม 2544 - กันยายน 2544) ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ โดยในแต่ละยุคได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเกมในรายการอยู่เรื่อยๆ", "title": "รักกันสนั่นเมือง" } ]
[ { "docid": "487246#2", "text": "บ่วงรักออกอากาศทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 20.25 - 21.25 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เริ่มออกอากาศวันแรกเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555–5 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ได้นำละครเรื่องนี้มาออกอากาศรีรันให้ชมอีกครั้งทุกวันจันทร์–อังคาร เวลา 20:10–21:40 น. เริ่มตอนแรกวันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557–วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557 โดยออกอากาศต่อจากละครเรื่อง สองปรารถนา", "title": "บ่วงรัก" }, { "docid": "567706#0", "text": "รักจัดเต็ม เป็นละครซิตคอม ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ออกอากาศตอนแรกวันที่ 18 สิงหาคม 2556 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 23.30 น. - 00.30 น. และตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2557 เป็นต้นไปทางสถานีได้ปรับเปลี่ยนวันออกอากาศใหม่ทุกวันพุธออกอากาศสัปดาห์เว้นสัปดาห์สลับกับบันทึกกรรม แต่ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ได้ย้ายวันออกอากาศมาเป็นทุกคืนวันอังคาร เวลา 23.20 น. โดยออกอากาศหลังรายการ ข่าว 3 มิติ สร้างโดยบริษัท บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น จำกัด กำกับการแสดงโดย ภวัต พนังคศิริ ร่วมเขียนบทโทรทัศน์และสร้างสรรค์โดย ณัฐพจน์ พจน์จำเนียร/วารุณี ครองภิญโญ/สุขพัฒน์ โล่ห์วัชรินทร์/นภัค ไตรเจริญเดช และ ปั้นให้เป๊ะ และตอนจบของละครซิทคอมเรื่องนี้ก็ได้ออกอากาศไปเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558", "title": "รักจัดเต็ม" }, { "docid": "82514#1", "text": "ชิงร้อยชิงล้าน เป็นรายการโทรทัศน์ลำดับที่ 2 ที่ผลิตโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) โดยออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2533 ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 หลังจากนั้นได้ย้ายไปออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อวันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2541 หลังจากนั้นได้ย้ายไปออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ตั้งแต่วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2541 และกลับมาออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 อีกครั้ง เมื่อวันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2549 โดยมี บริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด (มหาชน) ร่วมผลิตด้วยจนถึง พ.ศ. 2552 และกลับมาออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อีกครั้ง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 จนปัจจุบันได้ย้ายมาออกอากาศทาง ช่องเวิร์คพอยท์ ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา", "title": "ชิงร้อยชิงล้าน" }, { "docid": "674203#0", "text": "เขยใหญ่ สะใภ้เล็ก เป็นบทประพันธ์ของ อาริตา ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ โดยครั้งแรกออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ออกอากาศทุกวัน จันทร์-ศุกร์ เวลา 19.15 น. กำกับการแสดงโดย ชูศักดิ์ สุธีรธรรม ผลิตโดย บริษัท บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น จำกัด นำแสดงโดย สมชาย เข็มกลัด,อิสริยา สายสนั่น,สราวุฒิ มาตรทอง และศิรพันธ์ วัฒนจินดา ส่วนครั้งที่ 2 ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์อีกครั้ง ซึ่งจะออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ออกอากาศทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 18.20 น กำกับการแสดงโดย ปัญญา ชุ่มฤทธิ์ ผลิตโดย เฟิร์สคลาส เอนเตอร์เทนเมนท์ นำแสดงโดย พูลภัทร อัตถปัญญาพล, ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์, ปิยพันธ์ ขำกฤษ และกรรณาภรณ์ พวงทอง", "title": "เขยใหญ่ สะใภ้เล็ก" }, { "docid": "614031#0", "text": "ไฟรักเพลิงแค้น เป็นละครโทรทัศน์ไทย แนว โรแมนติก-ดราม่า นำแสดงโดย กฤษฎา พรเวโรจน์, มทิรา ตันติประสุต และนักแสดงชั้นนำอีกมากมาย เริ่มออกอากาศตอนแรกวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2557–20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ออกอากาศทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 20.15 - 22.45 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ผลิตโดย บริษัท โซนิกซ์ บูม 2013 จำกัด โดยผู้จัด ปิยะ เศวตพิกุล, ชุดาภา จันทเขตต์ ดัดแปลงจากบทประพันธ์โดย จินโจว บทโทรทัศน์โดย โซนิกซ์ ทีม ควบคุมการดำเนินงานโดย ปิยะ เศวตพิกุล กำกับการแสดงโดย ชุดาภา จันทเขตต์", "title": "ไฟรักเพลิงแค้น" }, { "docid": "546761#0", "text": "แสนซนค้นรัก เป็นละครโทรทัศน์ไทย แนวแฟนตาซี-คอมเมดี เริ่มออกอากาศตอนแรกวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เวลา 17.45 - 18.45 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ผลิตโดย บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) บทประพันธ์โดย ดาวลูกไก่ กำกับการแสดงโดย ปกาสิต กิ่งศักดิ์เรื่องย่อละครเรื่องแสบซนค้นรัก", "title": "แสนซนค้นรัก" }, { "docid": "603151#1", "text": "ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ทุกวันพุธ-พฤหัสบดี เวลา 20.25 - 21.40 น. เริ่มตอนแรกวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2557–23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 และตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ได้ปรับเวลาออกอากาศมาเป็น 20.10 - 21.25 น.", "title": "น่ารัก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2557)" }, { "docid": "479716#0", "text": "เพื่อนรักนักล่าฝัน เป็นละครโทรทัศน์ แนวซีรีส์คอมเมดี้ บทประพันธ์และเขียนบทโทรทัศน์โดย \"สาวบุษบา\" กำกับการแสดงโดย ชัชวาล ศาสวัตกลูน ออกอากาศครั้งแรกทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7 เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ดำเนินงานโดย บริษัท บีบีทีวี โปรดัคชันส์ จำกัด โดยนางชาลอต โทณวณิก โดยใช้ผู้แสดงจากAcademy Fantasia 2 บอกเล่าเรื่องราวความรัก มิตรภาพของหนุ่มสาว 12 คน ที่ต่างก็มีความฝันแตกต่างกันไป และโชคชะตาทำให้มาเจอกัน ณ ร้านอาหารแห่งหนึ่งที่ชื่อว่า ร้านรักเดียว ทำให้พวกเขาได้ร่วมทุกข์ ร่วมสุข แบ่งปันความฝัน แม้จะเจอกับอุปสรรค ปัญหาพวกเขาก็ร่วมกันฝ่าฟันเพื่อให้ไปถึงดังที่ฝันที่หวังไว้ไปด้วยกัน", "title": "เพื่อนรักนักล่าฝัน" }, { "docid": "634473#1", "text": "ออกอากาศทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 20.25 - 21.25 น. ทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 โดยเริ่มออกอากาศตอนแรกวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2548 - 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2548", "title": "คลื่นรักสีคราม" } ]
4049
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ก่อสร้างเสร็จเมื่อใด ?
[ { "docid": "8841#0", "text": "วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร ได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นสำนักสงฆ์เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2484 และเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหารเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2485[1] สร้างในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยได้เสนอคณะรัฐมนตรีให้สร้างวัดขึ้นบริเวณใกล้เคียงกับอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นอนุสรณ์การปกครองระบอบประชาธิปไตย และกำหนดให้แล้วเสร็จทันวันชาติ คือวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้สร้างวัดขึ้นโดยให้ชื่อว่า วัดประชาธิปไตย ระหว่างการก่อสร้างพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (ขณะมียศเป็นนาวาเอก หลวงธำรงค์นาวาสวัสดิ์) ได้เดินทางไปขอพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศอินเดีย รวมทั้งกิ่งพระศรีมหาโพธิ 5 กิ่ง จากต้นที่สืบเนื่องมาจากต้นที่พระโคตมพุทธเจ้าเสด็จประทับ และตรัสรู้ พร้อมดินจากสังเวชนียสถานคือสถานที่ประสูติ ที่ตรัสรู้ ที่แสดงปฐมเทศนา และที่ปรินิพพาน รัฐบาลได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ กิ่งต้นพระศรีมหาโพธิ์และดินดังกล่าวมาประดิษฐานที่วัดซึ่งกำลังสร้างนี้ ได้มีการตั้งนามวัดว่า วัดพระศรีมหาธาตุ และถวายเป็นเสนาสนะเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2485", "title": "วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร" } ]
[ { "docid": "116368#6", "text": "อีกเรื่องหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้มีการหล่อพระพุทธชินราช (จำลอง) ขึ้นที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก โปรดเกล้าให้พระยาชลยุทธโยธินทร์ อัญเชิญนำขึ้นแพ ล่องเรือมาคุมองค์และแต่งที่กรมทหารเรือ โดยเป็นผู้ควบคุมการแต่งองค์พระ เสร็จแล้วเชิญลงเรือมณฑปแห่ไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ปีเดียวกัน", "title": "พระยาชลยุทธโยธินทร์ (อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออ)" }, { "docid": "61387#0", "text": "พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย นั่งสมาธิราบ จำลองแบบจากพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร", "title": "พระพุทธชินราช (จำลอง)" }, { "docid": "419833#0", "text": "พระศรีศาสดา หรือ พระศาสดา เดิมประดิษฐานอยู่ ณ วิหารด้านทิศใต้ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันประดิษฐานอยู ณ มุขหน้าวิหารพระศาสดาคู่กับพระพุทธไสยา ที่ประดิษฐานอยู่ ณ มุขหลัง วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สันนิษฐานกันว่าน่าจะสร้างขึ้นสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พญาลิไท) พร้อมกับ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระเหลือ ", "title": "พระศรีศาสดา" }, { "docid": "64140#4", "text": "ต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯให้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร เมื่อ พ.ศ. 2458 ปัจจุบันจึงมีชื่อเต็มว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" }, { "docid": "64140#2", "text": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ไม่มีหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่า<b data-parsoid='{\"dsr\":[1776,1806,3,3]}'>สร้างขึ้นก่อนสมัยสุโขทัย และเป็นพระอารามหลวงมาแต่เดิม เพราะได้พบหลักฐานศิลาจารึกสุโขทัยมีความว่า พ่อขุนศรีนาวนำถมทรงสร้างพระทันตธาตุสุคนธเจดีย์ ...", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" }, { "docid": "423150#0", "text": "ในปี พ.ศ. 2511คณะกรรมการพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก นำโดยนายละเมียด อัมพวะศิริ นายกพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก และนายเนียม สุขแก้ว เลขานุการพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก ทราบว่า ท่านพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน) เจ้าอาวาสวัดสระแก้วปทุมทอง และเจ้าคณะอำเภอเมืองพิษณุโลก เป็นพระเถราจารย์ในภาคเหนือตอนล่างที่เก็บสะสมมวลสารโบราณไว้มากมายทั้งยังครอบครองดูแลวัตถุโบราณหายากอันทรงคุณค่า และเป็นผู้นำเอาดินก้นกรุและโอ่งใต้ฐานสมเด็จพระนางพญา วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลกมาเก็บไว้ คณะกรรมการพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก และพลเอกสำราญ แพทยกุล แม่ทัพกองทัพภาคที่ 3 ในขณะนั้นจึงได้กราบนิมนต์ ท่านพระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน) เป็นแม่งานรับผิดชอบในการจัดสร้างพระพิมพ์ชนิดผง และดินผสมผงเก่า เพื่อใช้ในการประกอบพิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก วันที่ 19 – 20 มกราคม 2515 ณ พระวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร (วัดใหญ่) พิษณุโลก ตามคำเสนอแนะของเจ้าคุณพระพิษณุบุราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ในสมัยนั้น", "title": "พระพิมพ์ สมเด็จพระแก้วมณีโชติ" }, { "docid": "8726#16", "text": "นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงให้สร้างพระที่นั่งเครื่องไม้ ขนานนามว่าพระที่นั่งรังสรรค์จุฬาโลก ขึ้นบริเวณสระน้ำที่เป็นที่ตั้งของพระที่นั่งพิมานดุสิตา ภายหลังหักพังเสียหมด และสร้างวัดพระแก้ววังหน้า ขึ้น โดยโปรดให้อัญเชิญพระพุทธชินสีห์ จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก มาประดิษฐานที่พระอุโบสถของวัด ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่า วัดบวรสถานสุทธาวาส[8]", "title": "พระราชวังบวรสถานมงคล" }, { "docid": "53236#3", "text": "สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพโปรดให้สร้างวัดบวรสถานสุทธาวาส หรือที่เรียกว่าวัดพระแก้ววังหน้า โดยที่พระองค์จะทรงสร้างอาคารใหญ่เป็นแบบพระมหาปราสาทมียอดสูง ความทราบถึงพระเนตรพระกรรณพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงห้ามไว้เนื่องจากไม่มีธรรมเนียมการสร้างอาคารมีเรือนยอดปราสาทในวังหน้ามาแต่ตั้งกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพยังทรงสร้างวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร (บวร หมายถึง วังหน้า, นิเวศ หมายถึง บ้านหรือวัง ความรวมจึงหมายความว่า วัดอันเป็นที่ประทับในวังหน้า นามวัดนี้รัชกาลที่ 3 ทรงพระราชทานใหม่ให้เมื่อคราวรัชกาลที่ 4 ทรงผนวชอยู่เป็นนัยว่า รัชกาลที่ 4 ทรงดำรงอยู่ในสถานะ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล) โปรดให้อัญเชิญพระพุทธชินสีห์จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ล่องแพมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อ พ.ศ. 2372 อัญเชิญขึ้นประดิษฐานที่พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร การก่อสร้างวัดบวรนิเวศวิหารยังไม่เสร็จสิ้น ", "title": "สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ" }, { "docid": "48101#31", "text": "สำหรับปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง และปรางค์ประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรีนั้น มีรูปแบบเป็นอย่างปรางค์ไทยแล้ว[36] ส่วนปรางค์ที่วัดพระพายหลวง สุโขทัย มีที่เรียกว่าปราสาทดังกล่าวมาข้างต้น เพราะมีรูปแบบเป็นปราสาทแบบขอมในศิลปะลพบุรีเช่นกัน แต่เรียกตามความเคยชินว่าปรางค์สามยอดดังได้กล่าวมาแล้วเช่นกัน", "title": "เจดีย์" }, { "docid": "53300#3", "text": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ที่สำคัญมีดังนี้", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร" }, { "docid": "47905#5", "text": "นอกเมืองสุโขทัยทางทิศตะวันตก ทรงอาราธนาพระสามิสังฆราชจากลังกาเข้ามาเป็นสังฆราชในกรุงสุโขทัย เผยแพร่เพิ่มความเจริญให้แก่พระศาสนามากยิ่งขึ้น ทรงสร้างและบูรณะวัดมากมายหลายแห่ง รวมทั้งการสร้างพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก เช่น พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระพุทธรูปองค์สำคัญองค์หนึ่งของประเทศคือ พระพุทธชินราช ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ", "title": "พระมหาธรรมราชาที่ 1" }, { "docid": "64140#10", "text": "ภาพเก่าวิหารพระอัฏฐารส ก่อนถูกดินทับถมจนกลายเป็น \"เนินวิหารเก้าห้อง\" (ในภาพยังเห็นเสาและผนังพระวิหารบางส่วนเหลืออยู่) วิหารเก้าห้องประดิษฐานพระอัฏฐารส (เดิมเนินวิหารเก้าห้อง) ขณะกำลังทำการบูรณะขุดแต่งทางโบราณคดี ในปี พ.ศ. 2550 เผยให้เห็นแท่นสักการะและพื้นวิหารเดิม", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" }, { "docid": "64140#3", "text": "ส่วนในพงศาวดารเหนือกล่าวไว้ว่า \" ในราวพุทธศักราช ๑๙๐๐ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก (พระมหาธรรมราชาลิไท) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงสุโขทัย ทรงมีศรัทธาเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกและคัมภีร์ศาสนาอื่น ๆ จนช่ำชองแตกฉาน หาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยาก พระองค์ได้ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ในฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน มีพระปรางค์อยู่กลาง มีพระวิหาร ๔ ทิศ มีพระระเบียง ๒ ชั้นและทรงรับสั่งให้ปั้นหุ่นหล่อพระพุทธรูปขึ้น ๓ องค์ เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารทั้ง ๓ หลัง\"", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" }, { "docid": "56255#22", "text": "วัดพระปฐมเจดีย์ วัดสุวรรณดาราราม วัดนิเวศธรรมประวัติ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (พิษณุโลก)", "title": "กฐิน" }, { "docid": "64140#8", "text": "วิหารพระเจ้าเข้านิพพาน เป็นวิหารขนาดกลางตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวิหารพระพุทธชินราชนอกเขตระเบียงคต ภายในประดิษฐานหีบปิดทอง(สมมุติ)บรรจุพระบรมศพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำด้วยศิลาตั้งอยู่บนจิตรากาธานประดับด้วยลวดลายลงรักปิดทองร่องกระจกสวยงาม ที่ปลายหีบมีพระบาททั้งสองยื่นออกมา และบริเวณด้านหน้า หรือด้านท้าย หีบพระบรมศพ มีพระมหากัสสปะเถระ นั่งนมัสการพระบรมศพ ซึ่งนับว่าเป็นโบราณวัตถุที่สำคัญของวัดพระศรีรัตนมหาวรวิหาร โดยผู้สร้างถือคติว่าเป็นการจำลองสังเวชนียสถานของพระพุทธเจ้า คาดว่ามีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" }, { "docid": "727160#0", "text": "พระเสสันตปฏิมากร (พระราชทานชื่อโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) หรือพระเหลือ ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารน้อย บริเวณโพธิ์สามเส้า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศักราช ๑๙๐๐ ตรงกับรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย) พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย จากเศษสำริดที่เหลือหลังการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา พร้อมกับพระอัครสาวกอีก ๑ คู่ ", "title": "พระเหลือ" }, { "docid": "5419#47", "text": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พระราชวังจันทน์ (ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) มหาวิหารสมเด็จองค์ปฐม (วัดจันทร์ตะวันตก) พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี (จ่าสิบเอกทวี-พิมพ์ บูรณเขตต์) โรงหล่อพระบูรณะไทย สวนนกไทยศึกษา เซ็นทรัลพลาซ่าพิษณุโลก วัดนางพญา สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา บริเวณแยกเรือนแพ (สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ) พิษณุโลก เซ็นทรัลปาร์ค บริเวณสถานีตำรวจภูธรเมืองพิษณุโลก (สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้าง)", "title": "จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "64140#0", "text": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือชื่อที่เรียกกันทั่วไปว่า \"วัดใหญ่\" ตั้งอยู่ที่ ถนนพุทธบูชา ริมฝั่งแม่น้ำน่านด้านทิศตะวันออก ตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก เป็นพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในฐานะสถานที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช พระพุทธรูปที่ได้รับการยกย่องว่าสวยงามที่สุดในประเทศไทย", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" }, { "docid": "234477#0", "text": "สะพานนเรศวร เป็นสะพานที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เป็นสะพานข้ามแม่น้ำน่าน ระหว่างฝั่งศาลากลาง จ.พิษณุโลก และฝั่งวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร บนสะพานนเรศวรสามารถชมวิวแม่น้ำน่านที่ไหลผ่านใต้สะพานได้อย่างงดงาม", "title": "สะพานนเรศวร" }, { "docid": "252092#3", "text": "อย่างไรก็ตามต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่สืบหน่อมาจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ตรัสรู้ในประเทศไทยยังคงมีอยู่หลายต้น เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่วัดต้นศรีมหาโพธิ์ (ที่เชื่อว่านำเข้ามาปลูกสมัยทวาราวดี), วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร, วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร (ปลูกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นต้น", "title": "ต้นพระศรีมหาโพธิ์" }, { "docid": "5419#10", "text": "แม้ว่าเมืองพิษณุโลกจะเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในสงครามระหว่างอยุธยากับล้านนาและอยุธยากับพม่ามาตลอด แต่การศาสนาก็มิได้ถูกละเลย ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณวัตถุและโบราณสถานชี้ให้เห็นชัดเจนว่า พระพุทธรูปและวัดปรากฏในปัจจุบันเช่น พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศรีศาสดา วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) วัดจุฬามณี วัดอรัญญิก วัดนางพญา วัดราชบูรณะ วัดสระแก้วปทุมทอง วัดเจดีย์ยอดทอง วัดสุดสวาสดิ์ และวัดวังหิน ล้วนเป็นศิลปวัฒนธรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือมิฉะนั้นก็ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ของเดิมที่มีมาครั้งกรุงสุโขทัย แสดงว่าด้านพระศาสนาได้มีการบำรุงมาโดยตลอด", "title": "จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "64140#11", "text": "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงนิพนธ์ไว้ว่า \"นมัสการพระพุทธชินราชแล้ว ดูธรรมมาสน์เทศน์ ธรรมาสน์สวด ดูเรือนแก้ว แลสิ่งทั้งปวงเหล่านี้ ล้วนเป็นของดีอย่างเอก ไม่เคยพบไม่เคยเห็น\"", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" }, { "docid": "64140#12", "text": "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงกล่าวถึงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารไว้ว่า \" เป็นวัดใหญ่และเป็นวัดที่สำคัญกว่าวัดอื่นในเมืองพิษณุโลก มีพระมหาธาตุอยู่กลางเห็นจะสร้างตั้งแต่สุโขทัยเป็นราชธานี หากแต่ซ่อมแซมมาหลายครั้งหลายสมัย\"", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" }, { "docid": "117903#0", "text": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นวัดอารามใน ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่ตรงข้ามกับสถานีรถไฟลพบุรี สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่มีการปรับปรุงซ่อมแซมหลายครั้งทั้งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระราเมศวร และสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี" }, { "docid": "53300#0", "text": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ หมู่ 6 ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย สถานะของวัดในปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร สังกัดมหานิกาย", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร" }, { "docid": "64140#6", "text": "ภายในวิหาร ประดิษฐาน พระพุทธชินราช หรือเรียกว่า \"หลวงพ่อใหญ่\" เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" }, { "docid": "117903#1", "text": "องค์ประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุยังปรากฏบนผลงานภาพจิตรกรรมฯ 8 จอมเจดีย์แห่งสยาม ณ วัดเบญจมบพิตร อีกด้วย", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี" }, { "docid": "209267#1", "text": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๘ได้โอนมาขึ้นในปกครองคณะสงฆ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้รับสถาปนาเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑ \nวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองศรีสัชนาลัย ตรงช่วงแหลมโค้งข้อศอกของแม่น้ำยม หันหน้าวัดไปทางทิศตะวันออก และตั้งอยู่นอกกำแพงด้านใต้ของเมืองศรีสัชนาลัยระยะทาง ๑.๙ กิโลเมตร \nวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงเป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ประกอบด้วย", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง" }, { "docid": "64140#1", "text": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นวัดที่มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย มีสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และประติมากรรมที่งดงามยิ่ง ถือได้ว่าเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันล้ำค่าของเมืองพิษณุโลก", "title": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร" }, { "docid": "61381#21", "text": "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พระพุทธชินราช (จำลอง) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร", "title": "พระพุทธชินราช" } ]
3660
คริสตินา มาเรีย อากีเลรา เริ่มอาชีพศิลปินเมื่อไหร่?
[ { "docid": "61450#3", "text": "อากีเลรา ประสบความสำเร็จในวงการดนตรีครั้งแรกในญี่ปุ่นตอนอายุ 14 กับเพลง All I Wanna Do ที่เธอร้องคู่กับ เคอิโสะ นากานิ", "title": "คริสตินา อากีเลรา" } ]
[ { "docid": "338356#94", "text": "ศิลปินอเมริกันอย่าง มาดอนนา, ทิน่า เทอร์เนอร์, แชร์, ไมเคิล แจ็กสัน, บิง ครอสบี, เอลวิส เพรสลีย์, บ็อบ ดิลลัน, ไดอาน่า รอสส์, บริทนีย์ สเปียร์ส, คริสตินา อากีเลรา, แฟรงก์ ซินาตรา และบียอนเซ่ โนวส์ ทั้งล้วนแล้วแต่โด่งดังในสหราชอาณาจักร ส่วนศิลปินอังกฤษอย่าง เดอะบีตเทิลส์, เดอะโรลลิงสโตนส์, สติง, เดอะฮู, เชอร์ลีย์ บาสซีย์, ทอม โจนส์, เดวิด โบวี, สไปซ์เกิลส์, บีจีส์, เอมี ไวน์เฮาส์, เลโอนา ลูวิส, เอลตัน จอห์น (ผู้ซึ่งประพันธ์เพลง \"แคนเดิลอินเดอะวินด์\" เป็นหนึ่งในซิงเกิลที่ขายดีที่สุดตลอดกาลของโลก) และ โคลด์เพลย์ ประสบความสำเร็จอย่างมากมายในตลาดสหรัฐ จึ่งเป็นเที่ชัดเจนว่าวงการดนตรีของทั้งสองประเทศมีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นและมั่นคง", "title": "ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ" }, { "docid": "61450#2", "text": "ค.ศ. 1988 ตอนอายุ 8 ขวบเธอมีโอกาสไปออกรายการโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในรายการ Star Search อากีเลราได้ร้องเพลง \"A Sunday Kind of Love\" แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ก่อนที่อีก 3 ปีต่อมา อากีเลราได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของรายการมิกกี้ เม้าส์ คลับ ทางดิสนีย์แชนแนล ร่วมกับจัสติน ทิมเบอร์เลค และบริตนีย์ สเปียรส์", "title": "คริสตินา อากีเลรา" }, { "docid": "61450#15", "text": "อัลบั้มที่ 3 ของอากีเลรา Back To Basics ออกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 2006 ตัวงานถือเป็นการคารวะต่อดนตรีวินเทจ แจ๊ซ โซล และบลูส์จากทศวรรษที่ 1920’s - 1940’s ที่มีอิทธิพลแห่งความเป็นตัวตนของอากีเลรา Back To Basics เป็นการกลับมาร่วมงานกันอีกครั้งระหว่างอากีเลราและลินดา เพอร์รี และโปรดิวเซอร์ชื่อดังอีกหลายราย เช่น ดีเจ พรีเมียร์, มาร์ค รอนสัน, บิ๊ก แท็งก์ และควาเม่", "title": "คริสตินา อากีเลรา" }, { "docid": "61450#5", "text": "ปี ค.ศ. 1997 อากีเลราร้องเพลง \"Reflection\" ประกอบภาพยนตร์แอนิเมชันของดิสนีย์ เรื่อง มู่หลาน ซึ่งทำไห้เธอได้เซ็นสัญญากับอาร์ซีเอ เร็คคอร์ดส ต้นสังกัดปัจจุบันในเวลาต่อมา \"Reflection\" ได้เข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำ สาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม", "title": "คริสตินา อากีเลรา" }, { "docid": "94691#2", "text": "ในดนตรีป็อป มีการใช้กันหลากหลายโดยส่วนมากจะเป็นนักร้องผู้หญิง เช่น คริสตินา อากีเลรา, มารายห์ แครี ,มินนี่ ริเปอร์ตัน ส่วนในนักร้องผู้ชายมีการบันทึกจากกินเนสบุ๊คว่า อดัม โลเปซ เป็นผู้ชายที่มีเสียงร้องสูงที่สุดที่ (C#8)มีความกว้างถึง 8 ออกเตฟ", "title": "Whistle register" }, { "docid": "61450#1", "text": "คริสตินา อากีเลรา เกิดที่เกาะสแตเทน นครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก มีเชื้อสายไอริช-เอกวาดอร์ บิดาของอากีเลราเป็นทหารประจำการในขณะนั้น ส่วนมารดาเป็นครูสอนภาษาสเปน ทั้งคู่หย่าร้างกันเมื่ออากีเลรามีอายุได้ 7 ปี โดยอากีเลราและน้องสาวได้ย้ายตามมารดาไปยังรอสเชสเตอร์ซึ่งเป็นย่านชานเมือง พิสต์เบิร์กในรัฐเพนซิลเวเนีย ความสัมพันธ์ระหว่างอากีเลราและบิดานั้นไม่ค่อยราบรื่นนัก เห็นได้จากบทเพลง มีหลายครั้งที่เธอได้ตัดพ้อ รวมไปถึง ชีวิตในวัยเด็ก", "title": "คริสตินา อากีเลรา" }, { "docid": "61450#23", "text": "ในปี ค.ศ. 2009 ภาพยนตร์เรื่องแรกของอากิเลร่าที่ได้แสดงนำ เริ่มถ่ายทำในเดือน พฤศจิกายน ในภาพยนตร์เพลงเรื่อง Burlesque โดยค่าย Screen Gems นอกจากจะเป็นการแสดงนำเรื่องแรกของอากิเลร่าแล้ว ยังเป็นการหวนคืนจอของ แฌร์ นักร้องเจ้าของรางวัลออสการ์อีกด้วย โดยคริสติน่ารับบท \"Ali Marilyn Rose\" เด็กสาวจากเมืองเล็กที่เข้ามาตามหาความรักและความฝันใน ลอสแอนเจลิส และได้ทำงานใน Burlesque คลับของ Tess(แฌร์) จนเกิดเรื่องราวต่างๆมากมายขึ้น กำกับการแสดงโดย Steve Antin ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้จะเข้าโรงภาพยนตร์ปลายปี 2010", "title": "คริสตินา อากีเลรา" }, { "docid": "195859#2", "text": "ธิกได้เขียนเพลงดังให้กับนักร้องเพลงป็อปอย่าง จอร์แดน ไนต์ เขียนและร่วมโปรดิวซ์ให้กับอัลบั้มของเขาเอง ,อัชเชอร์ ,คริสตินา อากีเลรา ,มายา ,แบรนดี ,ไมเคิล แจ็กสัน และ มาร์ก แอนโธนี ต่อมาในปี 2005 เขาได้รับรางวัลแกรมมีครั้งแรกในสาขาเพลงร่วมงานยอดเยี่ยมในอัลบั้มของอัชเชอร์ที่ชื่อ \"Confessions\" และในฐานะศิลปินเขาบันทึกเสียงและแสดงภายใต้นามสกุลของเขา \"ธิก\" () ต่อมาเดือนมิถุนายน 2005 เขาแต่งงานกับนักแสดงสาว พอลลา แพ็ตตัน คนที่เขาเริ่มออกเดทตั้งแต่อายุ 16 ปี และในปี 2015 ทั้งคู่ก็หย่าร้างกันในเวลาต่อมา", "title": "โรบิน ธิก" }, { "docid": "61450#7", "text": "ในงานการประกาศผลรางวัลแกรมมีครั้งที่ 42 อากีเลราได้รับรางวัลศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม[3]", "title": "คริสตินา อากีเลรา" }, { "docid": "914064#0", "text": "มาเรีย คริสตินาแห่งออสเตรีย สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน () ()\nมาเรีย คริสตินาแห่งออสเตรีย สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน ทรงมีพระนามเดิมว่า \"อาร์ชดัชเชสมาเรีย คริสตินาแห่งออสเตรีย\" เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2401 ณ ออสเตรีย เป็นพระธิดาใน อาร์ชดยุกคาร์ล เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย และ อาร์ชดัชเชสเอลิซาเบธ ฟรานซิสกาแห่งออสเตรีย โดยก่อนจะทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งสเปนนั้น พระองค์ทรงเป็นผู้มีการศึกษาดี สิริโฉมงดงามดี และทรงรักความยุติธรรมมาก เป็นคนเถรตรงคนนึงในราชสำนักออสเตรีย", "title": "มาเรีย คริสตินาแห่งออสเตรีย สมเด็จพระราชินีแห่งสเปน" }, { "docid": "61450#24", "text": "ในปี ค.ศ. 2011 อากิเลร่าได้ร่วมงานกับรายการแข่งขันร้องเพลงชื่อว่ารายการ เดอะวอยซ์ ซึ่งอากิเลร่าได้เป็นกรรมการและโค้ชทีม และนอกจากนี้ยังได้ร่วมงานกับ อดัม เลอวีน นักร้องนำจากวง มารูนไฟว์ ในเพลง<i data-parsoid='{\"dsr\":[14554,14576,2,2]}'>มูฟ ไลท์ แจ๊คเคอร์</i>ซึ่งเพลงนี้ได้ขึ้นที่1 บนชาร์ตบิลบอร์ดและไอทูน", "title": "คริสตินา อากีเลรา" }, { "docid": "795558#1", "text": "รายการจ้างโค้ช 4 คนซึ่งเป็นผู้วิจารณ์การแสดงของศิลปิน และให้คำแนะนำศิลปินที่ตนเลือกเข้ามาตลอดทั้งฤดูกาล พวกเขายังแข่งขันกันเพื่อให้ศิลปินของตนเองชนะการแข่งขัน ทำให้เขาเป็นโค้ชผู้ชนะด้วย โค้ชรายการได้แก่ แอดัม เลอวีน เบลก เชลตัน คริสตินา อากีเลรา (ฤดูกาลที่ 1-3, 5, 8, 10) ซีโล กรีน (ฤดูกาลที่ 1-3, 5) ชากีรา (ฤดูกาลที่ 4, 6) อัชเชอร์ (ฤดูกาลที่ 4, 6) เกว็น สเตฟานี (ฤดูกาลที่ 7, 9, 12) ฟาร์เรลล์ วิลเลียมส์ (ฤดูกาลที่ 7-10) ไมลีย์ ไซรัส (ฤดูกาลที่ 11, 13) อลิเชีย คีส์ (ฤดูกาลที่ 11-12, 14) เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน (ฤดูกาลที่ 13, 15) และ เคลลี คลาร์กสัน (ฤดูกาลที่ 14-15)", "title": "เดอะวอยซ์ (สหรัฐอเมริกา)" }, { "docid": "61450#13", "text": "อากีเลรา ได้ร้องเพลงประกอบหนังเรื่อง Shark Tale เพลง \"Car Wash\" (ร่วมร้องโดย มิสซี เอลเลียต) นอกจากนั้นเธอยังได้ร่วมงานกับเนลลี เพลง \"Tilt Ya Head Back\"", "title": "คริสตินา อากีเลรา" }, { "docid": "61450#18", "text": "11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 ที่งานประกาศผลรางวัลแกรมมี ครั้งที่ 49 อากีเลรายังได้ขึ้นแสดงเพลง \"It's a Man's Man's World\" เป็นการแสดงเคารพต่อเจมส์ บราวน์ โดยการแสดงของเธอนั้นได้รับการจัดอันดับให้อยู่อันดับ 3 การแสดงแกรมมี่ที่น่าจดจำที่สุดตลอดกาล และในงานเดียวกันนี้ อากีเลรายังได้รับ รางวัลแกรมมี สาขาศิลปินป็อปหญิงยอดเยี่ยม จากเพลง \"Ain't No Other Man\" อีกด้วย[4]", "title": "คริสตินา อากีเลรา" }, { "docid": "61450#0", "text": "คริสตินา มาเรีย อากีเลรา (English: Christina Maria Aguilera) เกิดเมื่อ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1980 เป็นนักร้อง-นักแต่งเพลง แนวป็อบ/อาร์แอนด์บีชาวอเมริกัน เจ้าของเพลงฮิต Genie In A Bottle, What A Girl Wants, Come On Over, Beautiful และ Ain't No Other Man และมียอดขายอัลบั้มรวมมากกว่า 75 ล้านหน่วยทั่วโลก โดยนิตยสาร โรลลิงสโตน ได้จัดให้เธออยู่อันดับที่ 58 ในหัวข้อ 100 นักร้องที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล โดยเธอเป็นผู้ที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รับการจัดอันดับ[1][2]", "title": "คริสตินา อากีเลรา" }, { "docid": "61450#10", "text": "ปี ค.ศ. 2002 อากีเลราออกอัลบั้มชุดที่ 2 ในชื่อ \"Stripped\" ในอัลบั้มชุดนี้ อากีเลราได้ร่วมแต่ง และได้ร่วมงานกับ ลินดา เพอร์รี อดีต Four Non Blondes, สก็อต สโทช อัลบั้มเปิดตัวที่อันดับ 2 ในชาร์ตบิลบอร์ดด้วยยอดขาดจำหน่ายกว่า 330,000 หน่วย", "title": "คริสตินา อากีเลรา" }, { "docid": "61450#9", "text": "ปี ค.ศ. 2001 อากีเลรา ร่วมกับ ลิล คิม, ไมยา, และพิงก์ ออกซิงเกิลประกอบภาพยนตร์เรื่อง Moulin Rough! ในเพลง \"Lady Marmalade\" ซึ่งต้นฉบับนั้นเป็นเพลงฮิตของ แพตตี้ ลาเบล ในปี ค.ศ. 1975 ตัวซิงเกิลประสบความสำเร็จอย่างสูง ขึ้นถึงอันดับหนึ่งในชาร์ตบิลบอร์ด และยังได้รับรางวัลแกรมมี สาขาศิลปินป็อปรวมกันเฉพาะกิจยอดเยี่ยมอีกด้วย", "title": "คริสตินา อากีเลรา" }, { "docid": "61450#19", "text": "วันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 อาร์ซีเอ เร็คคอร์ด ออกวางจำหน่ายอัลบั้ม Keeps Gettin' Better: A Decade of Hits อัลบั้มรวมฮิตอัลบั้มแรกของคริสตินา โดยเปิดตัวที่อันดับ 9 ในชาร์ต ในอัลบั้มนี้มีซิงเกิลนำคือ เพลง \"Keep Gettin' Better\" ซึ่งคริสตินาได้ขึ้นแสดงเพลงนี้ในงานประกาศผลรางวัลเอ็มทีวี วิดีโอ มิวสิก อวอร์ดส ซิงเกิลนี้ขึ้นสูงสุดในชาร์ตบิลบอร์ดที่อันดับ 7[5]", "title": "คริสตินา อากีเลรา" }, { "docid": "61450#8", "text": "ต่อมาในปี ค.ศ. 2000 ซึ่งเป็นช่วงกระแสเพลงละตินมีความร้อนแรง อากีเลราได้ออกอัลบั้มภาษาสเปน Mi Reflejo ซึ่งเป็นการนำเพลงฮิตจากอัลบั้ม \"Christina Aguilera\" มาดัดแปลงเป็นเวอร์ชันภาษาสเปนและได้เพิ่งเพลงเข้าไปอีก ตัวอัลบั้มเปิดตัวในชาร์ตที่อัน 27 และอันดับ 1 ส่วนอัลบั้มเพลงละติน และได้รับรางวัลละติน แกรมมี สาขาอัลบั้มเพลงป็อปโดยศิลปินหญิงยอดเยี่ยม แผ่นเสียงทองคำในสหรัฐอเมริกา และมียอดจำหน่ายทั่วโลกกว่า 4 ล้านหน่วย ในปี ค.ศ. 2000 นี้ อากีเลรายังได้ออกอัลบั้มเพลงคริสต์มาสในชื่อ My Kind of Christmas อีกหนึ่งอัลบั้ม และยังยังได้ร้องเพลง \"Nobody Wants To Be Lonely\" ร่วมกับ ริคกี้ มาร์ติน อีกด้วย", "title": "คริสตินา อากีเลรา" }, { "docid": "61450#25", "text": "อากีเลร่าแต่งงานกับจอร์แดน แบรตแมน หนึ่งในทีมงานของเธอเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 ทั้งคู่มีลูกชาย 1 คนคือ แม็กซ์ซี่ ไลรอน แบรตแมน ปัจจุบัน อากีเลร่าได้หย่างร้างกับจอร์แดน[6] และได้คบหากับแฟนหนุ่ม แมตต์ รัทเลอร์ และมีบุตรสาวชื่อ ซัมเมอร์เรน", "title": "คริสตินา อากีเลรา" }, { "docid": "61450#12", "text": "ซิงเกิลที่ 2 อย่าง \"Beautiful\" นั้นเป็นผลงานการแต่งของลินดา เพอร์รี โปรดิวซ์และร่วมแต่งเพลงโดย ร่วมแต่งเพลง เพลงนี้ยังได้รับรางวัลแกรมมี สาขา ศิลปินเพลงป็อปหญิงยอดเยี่ยม", "title": "คริสตินา อากีเลรา" }, { "docid": "66671#2", "text": "เซอร์ จอร์จ ซอลติ วาทยากรเชื้อสายฮังกาเรียน-บริติชแห่งวงชิคาโกซิมโฟนีออเคสตราเป็นผู้ชนะรางวัลแกรมมีมากที่สุดถึง 38 ครั้ง (รวมถึงที่มีรายชื่ออยู่) ควินซี โจนส์ เป็นศิลปินที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลมากครั้งที่สุด ทั้งหมด 79 ครั้ง สตีวี วันเดอร์ เป็นศิลปินประเภทชายเดี่ยวที่ได้รางวัลมากที่สุด 21 รางวัล อลิสัน เคราส์ เป็นศิลปินประเภทหญิงเดี่ยวที่ได้รางวัลมากที่สุด 26 รางวัล ยูทู เป็นศิลปินประเภทกลุ่มที่ได้รางวัลมากที่สุดถึง 22 รางวัล คริสโตเฟอร์ ครอสส์ เป็นผู้เดียวที่ชนะทั้ง 4 รางวัลใหญ่ของงาน ในปี ค.ศ. 1981 (Record of the Year, Album of the Year, Song of the Year, และ Best New Artist) ไมเคิล แจ็คสัน เป็นผู้ที่ได้รับรางวัลแกรมมี่มากที่สุดในคืนเดียว ถึง 8 รางวัล ในปี 1984 ( ภายหลังตามด้วยซานตาน่าในปี 2000 ) ลีแอน ไรมส์ เป็นผู้ได้รางวัลแกรมมีที่อายุน้อยที่สุด ขณะที่เธออายุ 14 ปีในขณะนั้น (ปี 1997) บิลลี กิลแมน เป็นผู้ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมีที่อายุน้อยที่สุด คืออายุ 12 ปี ในปี ค.ศ. 2001 โดยรางวัลที่เขาถูกเสนอชื่อเข้าชิงคือ ศิลปินเพลงคันทรีชายยอดเยี่ยม (Best Male Country Vocal Performance) ผู้ได้รับรางวัลในครั้งนั้นคือ จอห์นนี แคช คริสตินา อากีเลรา เป็นศิลปินเชื้อสายละตินที่มีอายุน้อยที่สุดที่ได้รับรางวัลแกรมมี คืออายุ 19 ปี ในสาขาศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม เทย์เลอร์ สวิฟต์ เป็นศิลปินที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ได้รับรางวัล Album Of The Year. ซึ่งถือเป็นรางวัลที่ใหญ่ที่สุดของงานกับผลงานอัลบั้ม เฟียร์เลส ซึ่งในขณะนั้นเธอมีอายุ 19 ปีเท่านั้น และ ยังเป็นศิลปินหญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลในสาขานี้ 2 ครั้ง", "title": "รางวัลแกรมมี" }, { "docid": "61450#16", "text": "ซิงเกิลแรก \"Ain’t No Other Man\" กำกับโดยผู้กำกับมิวสิกวิดีโอชื่อดัง Bryan Barber ขึ้นชาร์ทในอังกฤษถึงอันดับ 2 ในอเมริกาหยุดอยู่ที่อันดับ 6", "title": "คริสตินา อากีเลรา" }, { "docid": "186290#0", "text": "เจ้าหญิงมาเรีย คริสตินาแห่งสเปน (Infanta Maria Cristina of Spain; มาเรีย คริสตินา เทเรซา อเลฆันดรา กวาดาลูเป มาเรีย เด ลา กอนเซ็ปซิโอน อิลเดฟอนซา วิกตอเรีย เอวเคเนีย เด บอร์บอน อี บัตเต็นแบร์ก; 12 ธันวาคม พ.ศ. 2454 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2539) เป็นพระราชธิดาในลำดับที่สี่ในสมเด็จพระราชาธิบดีอัลฟองโซที่ 13 แห่งสเปน และ เจ้าหญิงวิกตอเรีย ยูจีนีแห่งแบ็ตเต็นเบิร์ก อีกทั้งยังเป็นพระปิตุจฉาในสมเด็จพระราชาธิบดีฆวน คาร์ลอสที่ 1 อีกด้วย", "title": "อินฟันตามารีอา กริสตีนาแห่งสเปน" }, { "docid": "61450#17", "text": "อากีเลรายังได้ออกทัวร์คอนเสิร์ตในชื่อ Back To ฺBasics Tour ซึ่งได้มาเปิดการแสดงที่กรุงเทพเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 2007 ด้วย ซึ่งเป็นคอนเสิร์ตครั้งแรกของอากีเลราในประเทศไทย", "title": "คริสตินา อากีเลรา" }, { "docid": "61450#14", "text": "อากีเลราและจัสติน ทิมเบอร์เลค ออกทัวร์คอนเสิร์ตร่วมกันในชื่อ \"Justified & Stripped Tour\" ก่อนที่อากีเลราจะทัวร์คอนเสิร์ตต่อไปในโดยเปลี่ยนชื่อ \"Stripped World Tour\" ซึ่งเป็นหนึ่งในคอนเสิร์ตทัวร์ที่ทำได้รายได้สูงสุดในปีนั้น", "title": "คริสตินา อากีเลรา" }, { "docid": "61450#4", "text": "เสียงร้องของคริสติน่า อยู่ในช่วงของโซปราโน และมีช่วงเสียงร้องกว้าง 4 ออกเตฟ (Eb2 - C#7) นักวิจารณ์มักจะจับเสียงร้องเธอไปเปรียบเทียบกับวิตนีย์ ฮิวสตัน และ มารายห์ แครี อยู่เสมอ ต้นแบบด้านเสียงร้องของเธอนั้นมาจาก เอตตา เจมส์ นักร้องเพลงบูลส์ระดับตำนาน และเจ้าของเพลง \"At Last\" ที่คริสติน่าร้องมาโดยตลอดช่วงชีวิตการเป็นนักร้องของเธอ เธอกล่าวว่า \"เอตตาคือศิลปินที่ฉันชอบมากที่สุด ฉันกล่าวแบบนี้มาตลอด 7 ปี ตั้งแต่ฉันออกอัลบั้มแรก และทุกๆการสัมภาษณ์\" โดยในงานศพของเอตต้านั้น คริสติน่าได้ขึ้นโชว์เพลง At Last เพื่อรำลึกถึงเอตต้าด้วย นอกจากเอตตา เจมส์แล้ว คริสติน่ายังมีต้นแบบของเธออีกคือ วิตนีย์ ฮิวสตัน มารายห์ แครี มาดอนน่า เจเน็ต แจ็กสัน อารีธา แฟรงคลิน และ นิน่า ซิโมน", "title": "คริสตินา อากีเลรา" }, { "docid": "567748#1", "text": "จากแรงบันดาลใจของเขา เกรย์สัน แชนซ์บอกว่า \"ผมรักศิลปินที่มีความสามารถในการสื่อสารอารมณ์ของพวกเขาผ่านทางเสียงดนตรีและร้องเพลงจากใจ. นั่นคือสิ่งที่ฉันคิดว่าจะทำอย่างไรกับเพลงของฉัน.\" เขากล้าที่จะร้องเพลง เมื่อเขาดูเลดี้ก้าก้า ที่ 2009 MTV Video Music Awards เขาระบุว่า \"ผมตกใจการแสดงของเธอ. ผมชอบความรู้สึกของเธอในทำอารมณ์และแสดงออก. เธอเป็นนักร้องที่น่าตื่นตาตื่นใจและนักเล่นเปียโน.\" เกรย์สัน แชนซ์ ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปินต่างๆ คริสตินา อากีเลรา แกสตาน่า จอห์น เลเจนด์ เอลตัน จอห์น", "title": "เกรย์สัน แชนซ์" }, { "docid": "61450#27", "text": "หมวดหมู่:นักร้องอเมริกัน หมวดหมู่:นักแสดงดิสนีย์ หมวดหมู่:ชาวอเมริกันเชื้อสายฮิสแปนิก หมวดหมู่:ศิลปินสังกัดอาร์ซีเอเรเคิดส์ หมวดหมู่:ศิลปินสังกัดโซนี่ มิวสิค หมวดหมู่:ผู้ที่ได้รับรางวัลแกรมมี หมวดหมู่:นักร้องเด็กชาวอเมริกัน หมวดหมู่:ผู้กำกับมิวสิกวิดีโอชาวอเมริกัน หมวดหมู่:บุคคลจากเกาะสแตเทน หมวดหมู่:นักดนตรีป็อปเด็ก", "title": "คริสตินา อากีเลรา" } ]
3685
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงประกาศเลิกทาสใช่หรือไม่ ?
[ { "docid": "4253#11", "text": "พระราชกรณียกิจที่สำคัญของรัชกาลที่ 5 ได้แก่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเลิกทาสและไพร่ในประเทศไทย การป้องกันการเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิฝรั่งเศสและจักรวรรดิอังกฤษ ได้มีการประกาศออกมาให้มีการนับถือศาสนาโดยอิสระในประเทศ โดยบุคคลศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามสามารถปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ได้มีการนำระบบจากทางยุโรปมาใช้ในประเทศไทย ได้แก่ระบบการใช้ธนบัตรและเหรียญบาท ใช้ระบบเขตการปกครองใหม่ เช่น มณฑลเทศาภิบาล จังหวัด และอำเภอ และได้มีการสร้างรถไฟ สายแรก คือ กรุงเทพฯ ถึง อยุธยา ลงวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ.109 ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 2433 นอกจากนี้ได้มีงานพระราชนิพนธ์ ที่สำคัญ การก่อตั้งการประปา การไฟฟ้า ไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์ การสื่อสาร การรถไฟ ส่วนการคมนาคม ให้มีการขุดคลองหลายแห่ง เช่น คลองประเวศบุรีรมย์ คลองสำโรง คลองแสนแสบ คลองนครเนื่องเขต คลองรังสิตประยูรศักดิ์ คลองเปรมประชากร และ คลองทวีวัฒนา ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองส่งน้ำประปา จากเชียงราก สู่สามเสน อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร ซึ่งคลองนี้ส่งน้ำจากแหล่งน้ำดิบเชียงราก ผ่านอำเภอสามโคก อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรีและอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี, อำเภอปากเกร็ด และ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และ เขตสายไหม เขตบางเขน เขตดอนเมือง เขตหลักสี่ เขตจตุจักร เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพญาไท และ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร", "title": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" } ]
[ { "docid": "5229#106", "text": "วันรำลึกถึงรัชกาลที่ 8 ทรงหว่านข้าว ณ เกษตรกลางบางเขน [104] เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทอดพระเนตรการทำนาที่อำเภอบางเขน และกิจการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8 ทรงหว่านข้าวในแปลงนาหลังตึกขาว ซึ่งปัจจุบันคือตึกพืชพรรณของกรมวิชาการเกษตร เหตุการณ์ในวันนั้นจึงนับเป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญที่ต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์การเกษตรของไทยและของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตลอดไป", "title": "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" }, { "docid": "671#25", "text": "ท่ามกลางภัยคุกคามลัทธิอาณานิคมของยุโรป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มการปรับปรุงบ้านเมืองโดยการสร้างรัฐชาติ อันเป็นการยกระดับจากชุมทางแห่งอำนาจมาเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจบนดินแดนที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแทน ซึ่งได้พัฒนาต่อมาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญ คือ การก่อตั้งกระทรวงเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างทันสมัย และการดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ระหว่างการเปลี่ยนแปลงนี้ ได้มีการยกเลิกเจ้าเมืองท้องถิ่นตามหัวเมืองเพื่อประโยชน์ของการกระชับอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง นอกจากประโยชน์เพื่อป้องกันการเป็นเมืองขึ้นชาติอื่นแล้ว การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ครั้งนี้ได้เปลี่ยนความสัมพันระหว่างขุนนางและพระมหากษัตริย์ไทย โดยทำให้พระมหากษัตริย์ไทยมีอำนาจมากขึ้น ตามความเห็นของนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รูปแบบความสัมพันธ์แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้เกิดขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 5 นอกจากแนวคิดแบบตะวันตกเรื่องการรวมศูนย์อำนาจและชาติรัฐแล้ว แนวคิดด้านการเลิกทาสได้เข้ามาในไทยด้วยเช่นกันซึ่งได้ส่งผลให้มีการเลิกทาส ในระยะหลังเริ่มมีความพยายามเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากเป็นแนวคิดที่เข้ามาจากการติดต่อกับตะวันตกเช่นกัน", "title": "การเมืองไทย" }, { "docid": "174845#32", "text": "ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ หลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ ทรงปราบดาภิเษกแล้วได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระบรมวงศานุวงศ์ซึ่งเคยทำความดีความชอบให้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ อาทิ เช่น เจ้าพระยาสุรสีห์ได้รับสถาปนาเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เป็นต้น ทั้งยังทรงตั้งตำแหน่งเสนาบดีข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยหลายกรม กอง สำหรับผู้สืบสายเฉกอะหมัดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งครั้งนั้นมี ๕ ท่าน คือ", "title": "สกุลบุนนาค" }, { "docid": "175882#6", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ประทับ ณ พระที่นั่งพุตตานกาญจนสิงหาสน์บนพระราชบัลลังก์เสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พระบรมวงศานุวงศ์\nคณะรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา และข้าราชบริพารเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล ครั้นเมื่อมีพระราชดำรัสตอบจบ ชาวม่านปิดพระวิสูตร พนักงานให้สัญญาน ชาวพนักงานประโครมแตร กองเกียรติยศถวายความเคารพ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เสด็จพระราชดำเนินสู่พระที่นั่งไพศาลทักษิน ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ พร้อมสมเด็จพระบรมราชินินาถ,สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามกุฏราชกุมาร,สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี \nจากนั้นในช่วงบ่าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปยัง พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดารามทรงรับการถวายพระพร จาก บรรพชิตจีนนิกาย และอนัมนิกาย ที่มุขหน้า พระอุโบสถ จากนั้น พระสงฆ์ 5 รูป สวด \"นวัคคหายุสมธัมม์\" ทรงบูชาเทวดานพเคราะห์ และพระราชทานสังคหวัตถุ แก่ข้าทูลละอองทุลีพระบาทสูงอายุ จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปยัง พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงสถาปนาสมณศักดิ์ เจริญพระพุทธมนต์ เสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช พระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้าและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างๆ แก่ข้าราชการ", "title": "พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 3 รอบ 5 ธันวาคม 2506" }, { "docid": "766773#4", "text": "คุ้มเจ้าหลวง เป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 ยุคต้น ซึ่งมีรูปทรงเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทยผสมยุโรป หรือทรงขนมปังขิงหลังคามุงด้วยไม้ เรียกว่า \"ไม้แป้นเกล็ด\" ไม่มีหน้าจั่วเป็นแบบหลังคาเรือนปั้นหยา มีมุขสี่เหลี่ยมยื่นออกมาด้านหน้าของตัวอาคาร หลังคามุขมีรูปทรงสามเหลี่ยม ทั้งปั้นลมและชายคาน้ำรอบตัวอาคารประดับด้วยไม้แกะฉลุสลักลวดลายอย่างสวยงาม เป็นฝีช่างชาวจีนที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น มุขด้านหน้าตัวอาคารแต่เดิมมีบันไดขึ้นลงทั้ง 2 ด้าน คือด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ (ปัจจุบันรื้อออกแล้ว) คงเหลือบันไดขึ้นลงเฉพาะด้านหน้าและด้านหลังเท่านั้น ตัวอาคารสร้างด้วยอิฐถือปูน มี 2 ชั้น ไม่มีการฝังเสาเข็ม แต่ใช้ไม้ซุงท่อน ส่วนใหญ่เป็นไม้แก่น ไม้แดง และไม้เนื้อแข็ง รองรับฐานเสาทั้งหลัง \nภายใต้ตัวอาคารซึ่งสูงจากพื้นดินประมาณ 2 เมตร มีห้องสำหรับคุมขัง ข้าทาส บริวาร ซึ่งกระทำความผิด จำนวน 3 ห้อง ห้องกลางเป็นห้องทึบ แสงสว่างสาดส่องเข้าไปไม่ได้เลย ใช้เป็นที่คุมขังข้าทาสบริวารที่กระทำความผิดร้ายแรง ส่วนอีก 2 ห้อง ปีกซ้ายและปีกขวา มีช่องแสง ให้แสงสว่างเข้าไปได้บ้าง ใช้เป็นที่คุมขังผู้มีความผิดชั้นลหุโทษ เป็นเวลายาวนานกว่า 50 ปี จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศเลิกทาส คุกทาสจึงกลายมาเป็นที่คุมขังนักโทษทั่ว ๆ ไปของเจ้าหลวง หรือข้าหลวงในสมัยต่อ ๆ มา ต่อมามีการสร้างเรือนจำเมืองแพร่ขึ้นใหม่ คุกแห่งนี้จึงว่างลง หลงเหลือไว้เพียงตำนาน", "title": "คุ้มเจ้าหลวง (นครแพร่)" }, { "docid": "41680#2", "text": "บุษบกทั้ง 3 องค์นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นเครื่องแสดงถึงพระบรมราชศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง 5 รัชกาล จึงได้ทรงสร้างพระบรมราชสัญลักษณ์ของพระองค์ไว้เป็นพุทธบูชา ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม\n“ทุน ณ อยุธยา” ร่วมใจกันปฏิสังขรณ์บุษบกพระบรมราชสัญลักษณ์รัชกาลที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 เมื่อพ.ศ. 2525 ส่วนพระบรมราชสัญลักษณ์รัชกาลที่ 6, 7, 8, และ 9 โปรดเกล้าให้สร้างเพิ่มขึ้นใหม่ เมื่อฉลองครบ 200 ปีรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2525เรื่องและภาพจากบทความเรื่อง พระบรมราชสัญลักษณ์ ๙ รัชกาล ในหนังสือ \"พระบรมราชจักรีวงศ์\" รวบรวมโดย ม.ร.ว.ตาบทิพย์ จามรมาน จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นบรรณาการแก่สมาชิกราชสกุล ณ อยุธยา โดย “ทุน ณ อยุธยา” พ.ศ. 2530 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ประธาน ทุน ณ อยุธยา", "title": "พระบรมราชสัญลักษณ์ประจำรัชกาล" }, { "docid": "188913#5", "text": "ปัจจุบัน พระโกศทองใหญ่มีจำนวนทั้งสิ้น 3 องค์ โดยองค์แรกนั้นสร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ส่วนองค์ที่ 2 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ รองเสนาบดีกระทรวงวังและผู้บัญชาการกรมช่างสิบหมู่สร้างขึ้น เรียกว่า พระโกศทองใหญ่ รัชกาลที่ 5 หรือพระลองทองใหญ่ รัชกาลที่ 5 ซึ่งพระโกศทั้ง 2 องค์ข้างต้นนั้น ผ่านการใช้งานจนอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรม ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระโกศทองใหญ่องค์ที่ 3 ขึ้น โดยนำมาใช้เป็นเครื่องประกอบพระอิสริยยศของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เป็นพระองค์แรกนอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะพระราชทานพระโกศทองใหญ่สำหรับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุญชร กรมพระพิทักษเทเวศร์ แต่เนื่องจากกรมพระพิทักษเทเวศร์มีพระรูปใหญ่โต จึงทรงพระโกศมณฑปแทน", "title": "พระโกศทองใหญ่" }, { "docid": "619449#1", "text": "ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นรัชกาลที่ 9 พระราชพิธีฉัตรมงคลจัดขึ้นทุกวันที่ 5 พฤษภาคม เพราะทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 และทางราชการถือเป็นวันหยุดตามประเพณีวันหนึ่งของประเทศไทย ต่อมาในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2560 การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทางรัฐบาลที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษายกเลิกวันนี้ลง และให้วันที่ 28 กรกฎาคม อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และวันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปี อันเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นวันหยุดเพิ่มเติมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป", "title": "ฉัตรมงคล" }, { "docid": "114461#3", "text": "จากหนังสือจารึกราชมงคลกับคำกล่าวของท่าน ศาสตราจารย์สวาสดิ์ ไชยคุณา อธิการบดีท่านแรก ผู้บุกเบิกสถาบันฯ กล่าวถึงการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกของสถาบันไว้ว่า ล้นเกล้าฯพระปิยมหาราชปลดปล่อยทาสให้เป็นไทยฉันใด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงปลดปล่อยนักเรียนอาชีวฯชั้นสองให้เป็นไทฉันนั้น", "title": "วันราชมงคล" }, { "docid": "79176#8", "text": "วิวัฒนาการราชองครักษ์ได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขมาเป็นลำดับเพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ในแต่ละรัชกาล ซึ่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลปัจจุบันได้มีกฎระเบียบและพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับราชองครักษ์ดังนี้ คือ ได้จำแนกราชองครักษ์ออกเป็น 3 ประเภท คือ\nราชองครักษ์ทุกคนจะต้องปฏิบัติหน้าที่ถวายความปลอดภัยและถวายพระเกียรติ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ณ ที่ประทับ รวมทั้งการเสด็จฯ แปรพระราชฐานประทับแรม ณ พระตำหนักในต่างจังหวัด เพื่อทรงงานและเยี่ยมเยียนราษฏรในทุกพื้นที่ของประเทศวันที่ 10 ธันวาคม 2559 มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารพ้นจากราชการ เนื่องจากลาออกจากราชการ รองสมุหราชองครักษ์\nและเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชโองการ ประกาศ เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นายทหารลาออกจากราชการ ความว่า มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลเอก สายัณห์ คัมภีร์พันธุ์ อดีตสมุหราชองครักษ์ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ลาออกจากราชการเพื่อรักษาตัว ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2560 ", "title": "กรมราชองครักษ์" }, { "docid": "33130#2", "text": "วังพญาไทใช้เป็นที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในระยะเวลาอันสั้น เพราะเมื่อหลังจากมีการขึ้นเรือนใหม่ได้เพียงไม่กี่เดือนก็สวรรคต และในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทูลเชิญสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง พระราชมารดา มาประทับที่พระราชวังแห่งนี้ด้วย จนกระทั่งสวรรคตเมื่อปี 2463 หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงรื้อพระตำหนักพญาไท เหลือไว้เพียง พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ ซึ่งเป็นท้องพระโรง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งใหม่หลายพระองค์ด้วยกัน รวมทั้งได้รับการสถาปนาวังเป็น พระราชวังพญาไท[1] รัชกาลที่ 6 เสด็จฯ มาประทับที่พระราชวังนี้โดยตลอดจนปีสุดท้ายแห่งรัชกาลทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการตัดต้นไม้ใหญ่เพื่อสร้างพลับพลา ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นคล้ายซากศพ โดยทรงได้กลิ่นพระองค์เดียว กอปรกับมีพระราชประสงค์ให้พระหน่อประสูติในพระมหามณเฑียร จึงเสด็จฯ จากพระราชวังพญาไทไปประทับในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน และ โปรดให้พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ตามเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง จนกระทั่งสวรรคต", "title": "พระราชวังพญาไท" }, { "docid": "167174#14", "text": "หลังจากนั้นไม่นานด้วยเดชะพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่แห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ ซึ่งมีต่อพสกนิกรแห่งพระองค์ ได้ทรงออกพระราชบัญญัติประกาศให้เลิกทาสทั่วพระราชอาณาจักร ปวงประชาราษฎร์ทั้งหลายต่างชื่นชมโสมนัส สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณนี้เป็นล้นพ้น แซ่ซ้องสรรเสริญทั่วทุกหลังคาเรือน พระอารามทั่วไปเคาะระฆังแสดงความปลื้มปิติ และเป็นความหมายให้สำเนียงนี้อุโฆษขึ้นไปถึงเทพยดาเจ้าเบี้ยงบนฟากฟ้าโน่น", "title": "นางทาส" }, { "docid": "39318#0", "text": "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาดนตรี เป็นบทความที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระนิพนธ์ไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ เนื่องในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖๐ พรรษา และมีผู้ขอพระราชทานไปพิมพ์เผยแพร่ในสิ่งพิมพ์ต่างๆหลายครั้ง รวมทั้งในหนังสือ ธ สถิตในดวงใจนิรันดร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙", "title": "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาดนตรี" }, { "docid": "38301#2", "text": "ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศ \"พระราชบัญญัติพิกัดเกษียณลูกทาสลูกไทย\" เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2417 แก้พิกัดค่าตัวทาสใหม่ โดยให้ลดค่าตัวทาสลงตั้งแต่อายุ 8 ขวบ จนกระทั่งหมดค่าตัวเมื่ออายุได้ 20 ปี เมื่ออายุได้ 21 ปี ผู้นั้นก็จะเป็นอิสระ มีผลกับทาสที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 เป็นต้นมา และห้ามมิให้มีการซื้อขายบุคคลที่มีอายุมากกว่า 20 ปีเป็นทาสอีก", "title": "การเลิกทาสและไพร่ในประเทศไทย" }, { "docid": "75276#18", "text": "ธนบัตรที่ระลึกและบัตรธนาคาร เป็นธนบัตรที่ออกเนื่องในวาระสำคัญต่าง ๆ เช่น ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี เป็นต้น มูลค่าแลกเปลี่ยนมักจะสูงกว่าราคาที่กำหนด ธนบัตรชนิดนี้จะพิมพ์ออกมาเพียงครั้งเดียวไม่มีการพิมพ์ทดแทน ส่วนบัตรธนาคารก็จะคล้ายกับธนบัตรที่ระลึก จะต่างกันที่การออกบัตรธนาคารกระทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ใช่ออกโดยรัฐบาลไทย ซึ่งก็มีเพียงแบบเดียวที่ออกมาในรัชกาลปัจจุบัน คือ บัตรธนาคาร ชนิดราคา 60 บาท ที่ออกใช้เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2530 (ประกาศใช้ 3 มิถุนายน 2530)", "title": "ธนบัตรไทย" }, { "docid": "855817#1", "text": "เจ้าจอมจันทร์ ถวายตัวเป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมกับเจ้าจอมเยื้อนและเจ้าจอมถนอม พี่น้องร่วมบิดา ได้รับพระราชทานเงิน 5 ชั่ง ผ้าลายและแพรห่ม 2 สำรับตามประเพณี ซึ่งท่านได้รับราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณจนตลอดรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเจ้าจอมจันทร์มากเป็นพิเศษ ทรงโปรดใช้สอยและให้ตามเสด็จอยู่เป็นเนืองนิตย์ จนกระทั่งพ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้น 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ฝ่ายใน แก่เจ้าจอมจันทร์ พร้อมกันกับเจ้าจอมเอิบ พระสนมเอกที่พระองค์ทรงโปรดมากอีกท่านหนึ่ง ซึ่งท่านเป็นเจ้าจอมเพียง 1 ใน 4 ท่านที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ (อีก 3 ท่านคือเจ้าจอมเอี่ยม, เจ้าจอมเอิบ และเจ้าจอมเอื้อน) และเป็นเพียงท่านเดียวที่มิใช่เจ้าจอมก๊กออ", "title": "เจ้าจอมจันทร์ ในรัชกาลที่ 5" }, { "docid": "28869#11", "text": "สืบเนื่องจากความไม่เพียงพอของแพทย์ รัฐบาลจึงมีนโยบายให้คณะแพทยศาสตร์ทุกแห่งผลิตแพทย์เพิ่ม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างตึกใหม่ เพื่อรองรับจำนวนนิสิตแพทย์ที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยได้รับอนุมัติงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2536 และในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทำหนังสือขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญอักษรพระปรมาภิไธย \" อปร. \" มาเป็นชื่ออาคาร เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ซึ่งได้พระราชทานกำเนิดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักราชเลขาธิการได้มีหนังสือลงวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2539 พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญอักษรพระปรมาภิไธย \" อปร. \" เป็นชื่ออาคาร เมื่อดำเนินการก่อสร้างเสร็จสิ้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีเปิดอาคารเมื่อวันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2546 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของรัชกาลที่ 8 อาคารดังกล่าวเป็นย่อมุม 8 มุม สูง 19 ชั้น บนยอดอาคารประดับอักษรพระปรมาภิไธย \" อปร. \" ตั้งอยู่ริมถนนราชดำริ ลักษณะเด่นของอาคารคือมีการอัญเชิญพระราชดำรัสของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ขึ้นแสดงไว้บนผนังด้านนอกของอาคาร เป็นที่มองเห็นได้อย่างโดดเด่นข้อความว่า \nด้วยในปีพุทธศักราช 2535 ที่ผ่านมา ในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ สภานายิกาสภากาชาดไทย ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อม กอปรทั้งเมื่อครั้งมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙เมื่อปีพุทธศักราช 2530 วัดบวรนิเวศวิหาร และสภากาชาดไทยได้ร่วมกันจัดสร้าง “ ตีก ภปร. ” เป็นอาคารผู้ป่วยนอกหลังใหม่ของโรงพยาบาลเพื่ออำนวยความสะดวกแก่สาธารณชนเสร็จเรียบร้อยไปแล้วอาคารหนึ่ง ด้วยเหตุทั้งสองประการนี้คณะข้าราชการบริพารร่วมกับสภากาชาดไทยจึงดำริที่จะดำเนินการก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙อีกอาคารหนึ่งในพื้นที่ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยเพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งความจงรักภักดีที่ประชาชนชาวไทยมีอยู่อย่างมั่นคงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙จึงได้นำความกราบทูลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในฐานะองค์อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทยทรงเห็นชอบด้วยที่จะก่อสร้างอาคารผู้ป่วยทางกุมารเวชศาสตร์แทนอาคารรักษาพยาบาลกุมารเวชกรรมเดิม คือ “ ตึก หลุยส์ ที เลียวโนเวนส์ ” ซึ่งมีสภาพทรุดโทรมลงมาก อีกทั้งจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ทำให้สถานที่ยิ่งคับแคบลงเด็กผู้ป่วยอยู่กันโดยไม่ถูกต้องตามสุขลักษณะ กับทั้งเพื่อใช้เป็นศูนย์ผู้ป่วยโรคหัวใจของโรงพยาบาลด้วยอาคารที่สร้างใหม่นี้ ได้รับพระราชทานพระราชาอนุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยย่อ “ สก. ” เป็นมงคลนาม การก่อสร้างครั้งนี้ตั้งเป้าหมายที่จะดำเนินการด้วยเงินบริจาคตลอดทั้งจำนวนโดยไม่รบกวนงบประมาณแผ่นดิน หรืองบประมาณของสภากาชาดไทยเลย เดชะพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมตั้งแต่เริ่มดำเนินการมาจนกระทั่งบัดนี้ศรัทธาจากมหาชนผู้เปี่ยมด้วยความจงรักภักดีหลั่งไหลมาไม่ขาดสาย เป็นผลให้การดำเนินงานทุกขั้นตอนเป็นไปด้วยความราบรื่นทุกประการ บัดนี้ตึก “ สก. ” สร้างเสร็จสมบูรณ์ภายในพื้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย “ ตึก ภปร. ” และ “ ตึก สก. ” ได้ประดิษฐานอยู่คู่กันเป็นนิมิตหมายแห่งพระมหากรุณาธิคุณอันมากล้นพ้นประมาณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ที่มีต่อพสกนิกรชาวไทยเสมอมา", "title": "โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์" }, { "docid": "196774#0", "text": "เจ้าจอมมารดาอ่วม ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาของพระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ (เจ้าสัวยิ้ม พิศลยบุตร) เป็นเจ้าของเรือกลไฟชื่อ \"เจ้าพระยา\" เดินทางระหว่าง กรุงเทพฯ - สิงคโปร์ ซึ่งเป็นเพียงลำเดียวในสมัยนั้น มารดาชื่อ \"ปราง\" (สกุลเดิม \"\"สมบัติศิริ\"\") ท่านเกิดเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2399 มีน้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน คือ เมื่อท่านมีอายุได้ 17-18 ปี ขณะนั้นเป็นช่วงต้นรัชกาลที่5 บ้านของท่านอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อกระบวนพยุหยาตราชลมารคผ่านเสด็จครั้งใด เจ้าจอมและน้องชายก็ดูหน้าต่างเพื่อชมพระบารมีเสมอ มีอยู่ครั้งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นพักตร์รูปร่างหน้าตาของเจ้าจอม จึงทรงรับมาเป็นเจ้าจอมในพระองค์ท่านก็ได้ถวายตัวรับใช้พระเจ้าอยู่หัวนับตั้งแต่นั้นมา", "title": "เจ้าจอมมารดาอ่วม ในรัชกาลที่ 5" }, { "docid": "34416#29", "text": "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ทรงเป็นผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหลายพระองค์ ในงานพระราชพิธีต่าง ๆ คือ ทรงเป็นผู้แทนพระองค์พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ในงานพระศพพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 พระเจ้าแผ่นดินเบลเยี่ยม ในปี พ.ศ. 2477 ทรงเป็นผู้แทนพระองค์พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 ในงานพระศพพระเจ้าจอร์จที่ 5 กับงานพระบรมราชาภิเษก พระเจ้าจอร์จที่ 6 และพระนางเจ้าเอลิซาเบธ พระบรมราชินี กับถวายตราจักรีบรมราชวงศ์แด่พระเจ้าจอร์จที่ 6 แทนพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8", "title": "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์" }, { "docid": "42383#13", "text": "ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร คณะผู้สำเร็จราชการในพระปรมาภิไธยมีพระบรมราชโองการให้สถาปนา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร และสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรีฯ ในรัชกาลที่ 7 มิได้เป็นสมเด็จพระปิตุจฉาฯ ในรัชกาลที่ 8 อีก ดังนั้น เพื่อป้องกันความสับสนจึงมีประกาศให้ออกพระนามาภิไธยว่า \"สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี\" ทั้งนี้ประกาศนี้มิใช่พระบรมราชโองการ และมิใช่พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในหนังสือ จุฬาลงกรณ์ราชสันตติวงศ์ พระบรมราชวงศ์แห่งประเทศไทย เจฟรีย์ ไฟน์สโตน ระบุไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงสถาปนาพระนางเจ้าฯ พระองค์นี้เป็น \"สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี\" หากแต่ในหนังสือ มหามงกุฎบรมราชสันตติวงศ์ พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงวินิจฉัยว่า พระอิสริยยศสุดท้าย คือ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี", "title": "สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี" }, { "docid": "38301#0", "text": "การเลิกทาส เป็นพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เป็นการยกเลิกระบบที่คนชั้นสูงตั้งขึ้น เพื่อกดขี่ราษฎรให้ทำงานรับใช้หรือส่งทรัพย์สินให้โดยไม่มีกำหนดว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด", "title": "การเลิกทาสและไพร่ในประเทศไทย" }, { "docid": "78585#29", "text": "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2468 - 2473 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นการสังคายนาครั้งที่ 3 ในเมืองไทย แล้วทรงจัดให้พิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ ชุดละ 45 เล่ม จำนวน 1,500 ชุด และพระราชทานแก่ประเทศต่าง ๆ ประมาณ 500 ชุด โปรดให้ย้ายกรมธรรมการกลับเข้ามารวมกับกระทรวงศึกษาธิการ และเปลี่ยนชื่อกระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงธรรมการอย่างเดิม โดยมีพระราชดำริว่า \"การศึกษาไม่ควรแยกออกจากวัด\" ต่อมาปี พ.ศ. 2471 กระทรวงธรรมการประกาศเพิ่มหลักสูตรทางจริยศึกษาสำหรับนักเรียน ได้เปิดให้ฆราวาสเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม โดยจัดหลักสูตรใหม่ เรียกว่า \"ธรรมศึกษา\" ในรัชสมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งยิ่งใหญ่ของไทย เมื่อคณะราษฎรได้ทำการปฏิวัติ เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. 2477 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 8", "title": "ศาสนาพุทธในประเทศไทย" }, { "docid": "444018#1", "text": "ลูกทาส ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2508 ของคณะนาฏศิลปสัมพันธ์ สถานีโทรทัศน์ ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม โดย สัมพันธ์ พันธุ์มณี ได้ติดต่อผู้ประพันธ์ (ซึ่งขณะนั้นติดคุกคดีกบถเสรีภาพ) เพื่อขอให้จดทำบทสำหรับแสดงทางทีวี โดยส่งงานออกมาทางปิ่นโตกับข้าว ตามด้วยกมลศิลป์ภาพยนตร์สร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งแรกประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง และยังได้รางวัลตุ๊กตาทองบทประพันธ์ยอดเยี่ยมกับรางวัลเพลงประกอบในงานตุ๊กตาทองประจำปี พ.ศ. 2508 ได้รับความนิยมมากเช่นเดียวกัน หลังจากนั้นมีการนำมาสร้างเป็นภาพนยตร์และละครโทรทัศน์อีกหลายครั้ง \nในปี พ.ศ. 2428 เป็นเรื่องราวของ แก้ว ทาสในเรือนของพระยาไชยากร เขาพยายามต่อสู้ดิ้นรนเพื่อจะพ้นสภาพการเป็นทาส ในยุคแห่งกระบวนการเลิกทาสในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ในราชวงศ์จักรีที่เริ่มมีการประกาศเลิกทาสและเกษียณอายุลุกทาสในแต่ละช่วงอายุ หากแต่นายเงินของแก้วนั้นไม่ยอมให้ความเป็นไทแก่บรรดาเหล่าทาสในครอบครอง แก้วจึงดิ้นรนและไข่วคว้าอิสรภาพที่เขาสมควรได้ ขณะเดียวกันก็ใฝ่หาความรู้ เพื่อการทำงานหลังจากเป็นไท เพื่อยกฐานะของตนเองขึ้นมาให้ทัดเทียมกับคุณน้ำทิพย์ หญิงสาวสูงศักดิ์ที่เป็นแรงใจให้เขามาตลอด", "title": "ลูกทาส" }, { "docid": "174845#56", "text": "สำหรับผู้ที่จะเป็นผู้นำในการสืบสกุลบุนนาคสายตรงนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้นั้นเป็นผู้รักษาสมบัติสำหรับสกุลบุนนาค คือ อัฐิเจ้าคุณพระราชพันธุ์ผู้เป็นต้นสกุล ได้แก่ อัฐิของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) กับเจ้าคุณนวล และสิ่งของบางอย่างซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวแต่ละพระองค์พระราชทานแก่สมเด็จเจ้าพระยาฯ อาทิเช่น พระทนต์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งได้พระราชทานให้เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) เก็บรักษาไว้เมื่อครั้งยังทรงพระชนม์อยู่ สมบัติดังกล่าวนี้รักษามาตั้งแต่ครั้งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) และพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงมอบให้เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) รักษาสืบต่อมา เมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรม ก็โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) รักษาสมบัติสำหรับสกุลสืบต่อมา และเมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรม ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุริยานุวงศ์ประวัติ (เต็น บุนนาค) เป็นผู้รักษาสมบัติสำหรับสกุลสืบต่อมาจนถึงแผ่นดินสมัยรัชกาล ที่ ๖", "title": "สกุลบุนนาค" }, { "docid": "219194#30", "text": "ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้มีการผลิตเหรียญชนิดราคา 50 สตางค์ 25 สตางค์ 10 สตางค์ และ 5 สตางค์ ออกใช้หมุนเวียนในรัชกาล 2 รุ่น รุ่นแรกมีพระบรมรูปขณะทรงพระเยาว์ประทับด้านหน้า ส่วนด้านหลังเป็นพระครุฑพ่าห์ รุ่นที่สองมีลักษณะด้านหน้าและด้านหลังเหมือนกับรุ่นแรก แต่พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเปลี่ยนเป็นพระบรมรูปเมื่อครั้งเจริญพระชนมพรรษา", "title": "ประวัติศาสตร์หน่วยเงินในประเทศไทย" }, { "docid": "4253#12", "text": "พระราชกรณียกิจด้านสังคม ทรงยกเลิกระบบไพร่ โดยให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์ นับเป็นการเกิดระบบทหารอาชีพในประเทศไทย[9] นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงเลิกทาสแบบค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากออกกฎหมายให้ลูกทาสอายุครบ 20 ปีเป็นอิสระ จนกระทั่งออกพระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) ซึ่งปล่อยทาสทุกคนให้เป็นอิสระและห้ามมีการซื้อขายทาส[10]", "title": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" }, { "docid": "306210#13", "text": "เปิดการแสดง 30 พฤศจิกายน 2554 ถึง 24 มีนาคม 2555 จำนวน 101 รอบการแสดง ที่โรงละคร เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ ละครเวทีที่ได้ถ่ายทอดความจงรักภักดีเรื่องหนึ่งที่ยังอยู่ในความทรงจำของประชาชนชาวไทย ผลงานละครเวทีเรื่อง สี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล เป็นการเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ ให้ปวงชนชาวไทยได้ระลึกและตระหนักถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทุกพระองค์ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย รวมถึงเพื่อร่วมฉลอง 100 ปีชาตกาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ผู้ประพันธ์ และเป็นส่วนหนึ่งของผลงานเทิดพระเกียรติ เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 กำกับการแสดงโดย ถกลเกียรติ วีรวรรณ กันรับบท คุณเปรม (วัยหนุ่ม) สำหรับ “แม่พลอย” ตัวละครเอกของเรื่อง (รับบทโดยสินจัย เปล่งพานิช) ชีวิตของเธอ มีเพียง “สถาบันพระมหากษัตริย์” ที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและหัวใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความจงรักภักดี ซึ่งในแต่ละรัชกาลต่างต้องประสบกับเหตุการณ์สำคัญมากมายในชีวิต เริ่มต้นเหตุการณ์เลิกทาส(รัชกาล 5) การรับอารยธรรมจากตะวันตก(รัชกาล 6) เหตุการณ์อภิวัฒน์ พ.ศ. 2475(รัชกาล 7) และสงครามโลกครั้งที่ 2(รัชกาล 8) จวบจนวาระสุดท้ายของแม่พลอยที่ได้เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาล 9) เสด็จฯ กลับมาเมืองไทย [9]", "title": "นภัทร อินทร์ใจเอื้อ" }, { "docid": "56714#27", "text": "หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตแล้ว ที่ประชุมเสนาบดีและพระบรมวงศานุวงศ์ได้อัญเชิญเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขึ้นเป็น \"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5\" และให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ผู้มีอำนาจเต็ม โดยมีสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนบำราบปรปักษ์ช่วยในส่วนการพระราชนิเวศน์ รวมทั้งเชิญกรมหมื่นบวรวิไชยชาญขึ้นดำรงตำแหน่งที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ถึงแม้ว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปราโมช กรมขุนวรจักรธรานุภาพ จะตรัสว่า \"ผู้ที่จะเป็นตำแหน่งพระราชโองการมีอยู่แล้ว ตำแหน่งพระมหาอุปราชควรแล้วแต่พระราชโองการจะทรงตั้ง เห็นมิใช่กิจของที่ประชุม ที่จะเลือกพระมหาอุปราช\" อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมเสนาบดีและพระบรมวงศานุวงศ์ก็ได้แต่งตั้งให้กรมหมื่นบวรวิไชยชาญขึ้นดำรงตำแหน่งที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล[23][24][25]", "title": "สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)" }, { "docid": "84691#9", "text": "จากนั้นช่วงบ่าย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ บรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนิน ไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงรับการถวายพระพรจากบรรพชิตญวนและจีน และพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศแก่บรรพชิตญวนและจีน ที่มุขหน้า พระอุโบสถ จากนั้น พระสงฆ์ 5 รูป สวด \"นวัคคหายุสมธัมม์\" ทรงบูชาเทวดานพเคราะห์ และพระราชทานสังคหวัตถุ แก่ข้าทูลละอองทุลีพระบาทสูงอายุ จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินไปยัง พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงสถาปนาสมณศักดิ์ พระสงฆ์และฐานันดรศักดิ์แก่พราหมณ์ประจำราชสำนัก", "title": "พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542" } ]
1420
แอลัน แมธิสัน ทัวริง เกิดที่ไหน ?
[ { "docid": "692#5", "text": "แอลัน ทัวริงเป็นชาวอังกฤษ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) ที่ลอนดอน และอาศัยอยู่กับพี่ชาย บิดาและมารดาของทัวริงพบกันและทำงานที่ประเทศอินเดีย", "title": "แอลัน ทัวริง" } ]
[ { "docid": "692#25", "text": "}}]] [[Category:{{subst:#switch:{{subst:uc:1954}}", "title": "แอลัน ทัวริง" }, { "docid": "771537#11", "text": "แอลัน ทัวริง และนักชีวคณิตศาสตร์  ได้อธิบายกลไกซึ่งสร้างลายจุดหรือรอยริ้วได้โดยธรรมชาติ ที่เรียกว่าระบบ (reaction-diffusion system) เซลล์ของสิ่งมีชีวิตระยะแรกเริ่มมียีนซึ่งสามารถสลับเปลี่ยนได้ด้วยสัญญาณทางเคมี หรือ  มอร์โฟเจน () ทำให้เกิดการเติบโตของรูปแบบเฉพาะ เช่นรอยสารสีเข้มบนผิวหนัง หากมอร์โฟเจนมีอยู่ทุกที่ ผลที่ได้คือการเกิดสีที่เสมอกัน เช่นในเสือดาวสีดำ ทว่าการกระจายไม่เสมอกันอาจทำให้เกิดจุดและลายทางได้ ทัวริงเสนอว่าอาจมีการควบคุมสัญญาณป้อนกลับ (feedback control) สำหรับการผลิตของตัวมอร์โฟเจนเอง สิ่งนี้อาจก่อให้เกิดความผันผวนอย่างต่อเนื่องในปริมาณมอร์โฟเจนขณะที่กำลังแพร่ทั่วร่างกาย กลไกที่สองเป็นที่ต้องการเพื่อสร้างลวดลายคลื่นนิ่ง (เพื่อให้เกิดลายจุดหรือลายทาง) ตัวยับยั้งทางเคมีซึ่งหยุดการทำงานของมอร์โฟเจน และซึ่งแพร่ผ่านร่างกายเร็วกว่ามอร์โฟเจน ทำให้เกิดแผนที่ประกอบด้วยตัวกระตุ้นและตัวยับยั้งและ ปฏิกิริยาเบลูซอฟ–จาโบทินสกีเป็นตัวอย่างที่ไม่เกี่ยวข้องทางชีววิทยาของแผนแบบนี้ หรือเรียกได้ว่าเป็น ตัวแกว่งทางเคมี (chemical oscillator)", "title": "ลวดลายในธรรมชาติ" }, { "docid": "692#0", "text": "แอลัน แมธิสัน ทัวริง (English: Alan Mathison Turing; 23 มิถุนายน พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) – 7 มิถุนายน พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954)) เป็นนักคณิตศาสตร์, นักตรรกศาสตร์, นักรหัสวิทยาและวีรบุรุษสงครามชาวอังกฤษ และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์", "title": "แอลัน ทัวริง" }, { "docid": "4397#0", "text": "เครื่องจักรทัวริง () คือเครื่องจักรนามธรรมที่แอลัน ทัวริงได้คิดค้นขึ้นใน ค.ศ. 1936 (พ.ศ. 2479) เพื่อการนิยามขั้นตอนวิธีหรือ 'กระบวนการเชิงกล' อย่างชัดเจนแบบคณิตศาสตร์ เครื่องจักรทัวริงได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในการศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงทฤษฎี โดยเฉพาะในทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณและทฤษฎีการคำนวณ ข้อปัญหา (thesis) ที่ว่าโมเดลของเครื่องจักรทัวริงนั้นครอบคลุมกระบวนการเชิงกลทั้งหมด ในการคำนวณทางตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ เป็นที่รู้จักกันในชื่อข้อปัญหาของเชิร์ช-ทัวริง", "title": "เครื่องทัวริง" }, { "docid": "692#24", "text": "{{subst:#if:|}} [[Category:{{subst:#switch:{{subst:uc:1912}}", "title": "แอลัน ทัวริง" }, { "docid": "39843#0", "text": "การทดสอบของทัวริง () เป็นวิธีการที่ แอลัน ทัวริง ได้เสนอขึ้นในปี พ.ศ. 2493 (คศ. 1950) เพื่อใช้ทดสอบความสามารถของเครื่องจักร (machine) ว่ามีความสามารถในการคิดได้เช่นเดียวกับมนุษย์หรือไม่ โดยวิธีการทดสอบคือให้คนทำการพิมพ์บทสนทนาโต้ตอบกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคนและคอมพิวเตอร์หากคู่สนทนาไม่สามารถแยกได้ว่าอีกฝ่ายที่คุยนั้นเป็นคอมพิวเตอร์หรือคนได้ก็ถือว่าเครื่องจักรนั้นผ่านการทดสอบของทัวริง", "title": "การทดสอบทัวริง" }, { "docid": "692#22", "text": "ชื่อของแอลัน ทัวริง ยังถูกพาดพิงถึงในเนื้อเรื่องของเกมคอมพิวเตอร์แนวสยองขวัญชื่อว่า \"เอาท์ลาสท์\" (Outlast) โดยในเนื้อเรื่องที่ถูกสมมุติขึ้นมานี้กล่าวว่า ทัวริงเป็นผู้ร่วมก่อตั้งองค์กรเมอร์กออฟร่วมกับ ดร.รูดอล์ฟ เวอร์นิค ซึ่งเป็นตัวละครสมมุติในเนื้อเรื่องของเกม[8] ภาพยนตร์ ถอดรหัสลับ อัจฉริยะพลิกโลก (The Imitation Game) นำเสนอช่วงเวลาที่ทัวริงถอดรหัสเครื่องอีนิกมา[9]", "title": "แอลัน ทัวริง" }, { "docid": "3738#10", "text": "ถึงแม้ว่าขั้นตอนวิธีนั้นเป็น ขั้นตอนวิธี การแก้ปัญหา ที่ถูกระบุไว้อย่างชัดเจน แต่ก็ขาดรูปแบบการวิเคราะห์ในรูปแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ชัดเจน ปัญหาในทางขั้นตอนวิธีนี้โดยส่วนมากจึงมักจะถูกวิเคราะห์โดยใช้ เครื่องจักรทัวริง ซึ่งเป็นแบบจำลองนามธรรมของคอมพิวเตอร์ คิดค้นขึ้นโดย แอลัน ทัวริง ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่ใช้ในการจำลองการทำงานของขั้นตอนวิธีใดๆ", "title": "ขั้นตอนวิธี" }, { "docid": "676#8", "text": "เมื่อไม่นานมานี้ ได้ปรากฏหลักฐานว่า เอนโทรปี นั้นได้ถูกค้นพบและนิยามในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยแอลัน ทัวริง ที่ เบล็ทชลีย์ พาร์ค () ทัวริง ได้ตั้งชื่อปริมาณนี้ว่าน้ำหนักของหลักฐาน (weight of evidence) และใช้หน่วยวัดเป็น bans และ decibans (อย่าสับสนคำ \"weight of evidence\" นี้กับคำเดียวกันที่ใช้ในบทความทางด้านการอนุมานทางสถิติ หรือ บัญญัติขึ้นโดย กู๊ด () ซึ่งมีความหมายตรงกับคำที่ทัวริงใช้คือ \"log-odds\" หรือ \"lods\") ถึงแม้ว่า ทัวริง และ แชนนอน นั้นได้ทำงานร่วมกันในช่วงสงครามแต่ดูเหมือนว่าทั้งคู่นั้นต่างคนต่างพัฒนาแนวความคิดนี้ขึ้นมาด้วยตนเอง (สำหรับเอกสารอ้างอิงดู Alan Turing: The Enigma โดย แอนดรูว์ ฮอดจส์ Andrew Hodges)", "title": "ทฤษฎีสารสนเทศ" }, { "docid": "692#12", "text": "ส่วนตัวทัวริง ก็เลือกไปทำงานด้าน 'ordinal logic' ต่อแทน เพราะเขาบอกว่าเป็น \"my most difficult and deepest mathematical work, was an attempt to bring some kind of order to the realm of the uncomputable\" เพราะทัวริงเชื่อว่าคนเรา โดยสัญชาตญาณสามารถตอบโต้ต่อเหตุการณ์ได้โดยไม่ต้องคำนวณ (\"Human 'intuition' could correspond to uncomputable steps in an argument\") แต่งานยังไม่เสร็จ ก็มีสงครามโลกครั้งที่สองเสียก่อน คือก่อนหน้านั้นเขาก็ทำงาน (อย่างเป็นความลับ) ให้กับ British Cryptanalytic department (หรือเรียกกันว่า Government code & cypher school) พอสงครามเริ่มเขาเลยเปิดเผยตัวเอง (ปกติจะทำเป็น fellow ที่คิงส์คอลเลจ เคมบริดจ์ อยู่หน้าฉากงานเดียว) เลยออกย้ายไปทำงานที่ the wartime cryptanalytic headquaters, Bletchley Park เป้าหมายคือเจาะรหัสของเครื่องเข้ารหัสอินิกมา (Enigma Cipher Machine) ของเยอรมันให้ได้", "title": "แอลัน ทัวริง" }, { "docid": "692#3", "text": "หลังจากสงครามเขาได้ออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถโปรแกรมได้เครื่องแรกๆ ของโลกที่ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งชาติ และได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นจริง ๆ ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ รางวัลทัวริงถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อยกย่องเขาในเรื่องนี้", "title": "แอลัน ทัวริง" }, { "docid": "692#21", "text": "สำหรับผลงานที่เด่น ๆ ของทัวริง เช่น การคิดโมเดลที่สามารถทำงานได้เทียบเท่ากับคอมพิวเตอร์ (แต่อาจมีความเร็วต่ำกว่า) โดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่าย ๆ เพียง เดินหน้า ถอยหลัง เขียน ลบ", "title": "แอลัน ทัวริง" }, { "docid": "692#14", "text": "พอสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มสงบปี ค.ศ. 1944 ทัวริงก็เริ่มสานต่อโครงการเก่าตั้งชื่อ \"Buiding the Brain\" แต่ตัดสินใจล้มโครงการไปในปี ค.ศ. 1945 พอได้ข่าวว่าจอห์น ฟอน นอยมันน์ออกบทความเรื่อง EDVAC ออกมาจากฝั่งอเมริกา", "title": "แอลัน ทัวริง" }, { "docid": "692#19", "text": "ในปี ค.ศ. 1952 เขาถูกจับ โทษฐานมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย ทัวริงไม่ปฏิเสธและยอมรับโทษแต่โดยดี มีทางเลือกให้เขาสองทางคือ จำคุกกับการฉีดฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลาหนึ่งปีเพื่อลดความต้องการทางเพศ ซึ่งเขาเลือกที่จะรับการฉีดยา และแล้วปี ค.ศ. 1954 ร่างของทัวริงก็ถูกพบโดยพนักงานทำความสะอาด ในสภาพมีแอปเปิลครึ่งลูกหล่นอยู่ข้าง ๆ และมีร่องรอยการทำการทดลองทางเคมีอยู่ใกล้ ๆ ในที่สุดเมื่อวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 2009 หลังจากการรณรงค์ทางอินเทอร์เน็ต กอร์ดอน บราวน์นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรก็ทำการขอโทษอย่างเป็นทางการในนามของรัฐบาลบริติชต่อวิธีอันไม่ถูกต้องที่รัฐบาลปฏิบัติต่อทัวริงหลังสงคราม[7]", "title": "แอลัน ทัวริง" }, { "docid": "692#11", "text": "แล้วเขาก็ไปทำปริญญาโทและปริญญาเอกต่อที่ศูนย์วิจัยของมหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน ซึ่งสงบเงียบตัดห่างจากผู้คน แล้วก็ออกบทความว่า โลกทางความคิดกับโลกทางกายมันเชื่อมถึงกันได้ ผ่านออกมาด้วยการกระทำ (ในยุคนั้นคนยังไม่คิดแบบนี้กัน) แล้วก็เสนอความคิดออกมาเป็น Universal Turing Machine (เครื่องจักรทัวริง) ในยุคนั้นยังไม่เรียกว่าคอมพิวเตอร์ แต่เรียกว่าเป็นเครื่องคำนวณที่สามารถป้อนข้อมูลได้ ต่อมาทัวริงก็สร้างเครื่องเข้ารหัส (cipher machine) โดยใช้รีเลย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สำหรับการคูณเลขฐานสอง หลังจากเขาสำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยปรินซ์ตันก็เสนอตำแหน่งให้เขา แต่เขาตัดสินใจกลับเคมบริดจ์ เลยทิ้งทีมเพื่อน ๆ ไว้และจอห์น ฟอน นอยมันน์ก็เข้ามาสานต่อพอดี", "title": "แอลัน ทัวริง" }, { "docid": "692#8", "text": "ส่วนในเรื่องวิชาการในวงการคณิตศาสตร์ยุคนั้น รัสเซลล์ (Russell) เสนอเอาไว้ว่า \"mathematical truth could be captured by any formalism\" แต่ยุคนั้น เกอเดิล (Gödel) โต้ว่า \"the incompleteness of mathematics: the existence of true statements about numbers which could not be proved by the formal application of set rules of deduction\". พอปี พ.ศ. 2476 ทัวริงก็ได้เจอกับรัสเซลล์แล้วก็ตั้งคำถาม พร้อมถกเรื่องราวเหล่านี้ขึ้นมา ทำให้เขาสนใจ", "title": "แอลัน ทัวริง" }, { "docid": "692#1", "text": "เขาได้สร้างรูปแบบที่เป็นทางการทางคณิตศาสตร์ของการระบุขั้นตอนวิธีและการคำนวณ โดยใช้เครื่องจักรทัวริง ซึ่งตามข้อปัญหาเชิร์ช-ทัวริงได้กล่าวว่าเป็นรูปแบบของเครื่องจักรคำนวณเชิงกลที่ครอบคลุมทุก ๆ รูปแบบที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ", "title": "แอลัน ทัวริง" }, { "docid": "692#13", "text": "ช่วงนั้น ทัวริงทำงานกับ W.G. Welchman นักคณิตศาสตร์ชื่อดังของเคมบริดจ์อีกคน (คนนี้ทำ critical factors, ทัวริงทำ machanisation of subtle logical deduction) ทัวริงบอกว่าเขาเจาะรหัสได้แล้วคร่าว ๆ ในปี ค.ศ. 1939 แต่ต้องได้เครื่องอินิกมา มาวิเคราะห์การคำนวณทางสถิติเป็นขั้นสุดท้ายก่อน แล้วทุกอย่างจะออกหมด แต่ต้องรอถึงปี ค.ศ. 1942 ที่เรือดำน้ำ U-boat ของสหรัฐไปยึดมาได้ และแล้วหลังจากนั้นอีนิกมาก็ไม่มีความหมายอีกต่อไป", "title": "แอลัน ทัวริง" }, { "docid": "692#9", "text": "ปี พ.ศ. 2477 ทัวริงก็จบจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ทางมหาวิทยาลัยก็เลยเชิญเขาอยู่เป็น Fellow ด้านคณิตศาสตร์ต่อ (ส่วนใหญ่ Fellow ของเคมบริดจ์จะเป็นพวกที่จบปริญญาเอก แต่ทัวริงจบเพียงปริญญาตรี) ปี พ.ศ. 2478 ทัวริงไปเรียนกับจอห์น ฟอน นอยมันน์ เรื่อง ปัญหาของการตัดสินใจ (Entscheidungs problem) ที่ถามว่า \"Could there exist, at least in principle, a definite method or process by which it could be decided whether any given mathematical assertion was provable?\" ทัวริงก็เลยมาคิด ๆ โดยวิเคราะห์ว่า คนเราทำอย่างไรเวลาทำงานที่เป็นกระบวนการที่มีกฎเกณฑ์ (methodical process) แล้วก็นึกต่อว่า วางกรอบว่าให้เป็นอะไรซักอย่างที่สามารถทำได้อย่างเป็นกลไก (mechanically) ล่ะ? เขาก็เลยเสนอทฤษฏีออกมาเป็น \"The analysis in terms of a theoretical machine able to perform certain precisely defined elementary operations on symbols on paper tape\". โดยยกเรื่องที่เขาคิดมาตั้งแต่เด็กว่า 'สถานะความคิด' (state of mind) ของคน ในการทำกระบวนการทางความคิด มันเกี่ยวกับการเก็บ และเปลี่ยนสถานะจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนี่ง ได้ตามการกระทำทางความคิด โดยทัวริงเรียกสิ่งนี้ว่า คำสั่งตรรกะ (logical instructions) แล้วก็บอกว่าการทำงานต้องมี กฎเกณฑ์ที่แน่นอน (definite method) (ต่อมาเรียกว่า ขั้นตอนวิธี)", "title": "แอลัน ทัวริง" }, { "docid": "692#4", "text": "นอกจากนั้นแล้ว การทดสอบของทัวริงที่เขาได้เสนอนั้นมีผลอย่างสูงต่อการศึกษาเรื่องปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งในขณะมีถกเถียงที่สำคัญว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่จะกล่าวว่าเครื่องจักรนั้นมีสำนึกและสามารถคิดได้", "title": "แอลัน ทัวริง" }, { "docid": "692#16", "text": "มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ยังคงเสนอตำแหน่งให้เขา แต่ทัวริงตัดสินใจเปลี่ยนสายขอพัก ไม่ทำด้านคณิตศาสตร์ ไม่ทำด้านเทคโนโลยี แต่ไปทำเรื่อง neurology กับ physiology sciences แทน แล้วก็ออกบทความเรื่องเครือข่ายประสาท ขึ้นมาว่า \"a sufficiently complex mechanical system could exhibit learning ability\" แล้วส่งบทความไปตีพิมพ์กับ NPL แต่ NPL ก็ทำงานช้า... อยู่ ๆ ทีมนักวิจัยที่เคมบริดจ์เอง (สมัยนั้นยังชื่อ Mathematical Laboratory อยู่ ยังไม่ได้เปลี่ยนเป็น Computer Laboratory) ก็ผลิตเครื่อง EDSAC ขึ้นมา (เป็นเครื่อง storage computer machine เครื่องแรก) โดยใช้หลักของชาร์ล แบบเบจ พร้อมๆ กับ มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ได้ทีมของทัวริงไปทำเครื่องในแนวทัวริงได้สำเร็จ", "title": "แอลัน ทัวริง" }, { "docid": "692#2", "text": "ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ทัวริงมีส่วนสำคัญในการแกะรหัสลับของฝ่ายเยอรมัน โดยเขาเป็นหัวหน้าของกลุ่ม Hut 8 ที่ทำหน้าที่ในการแกะรหัสของเครื่องอินิกมาที่ใช้ในฝ่ายทหารเรือ", "title": "แอลัน ทัวริง" }, { "docid": "692#17", "text": "ทัวริงเลยขี้เกียจยุ่งเรื่องการแข่งขันผลงานทางวิทยาศาสตร์ (ช่วงนั้นผลิตกันเร็วมาก) เลยไปวิ่งแข่งแทน เพราะเวลาที่เขาวิ่งในปี ค.ศ. 1946 นั้น ทำให้เขามีสิทธิ์ลุ้นเหรียญทองวิ่งมาราธอนโอลิมปิก แต่โชคร้ายเขาประสบอุบัติเหตุรถยนต์ก่อน เลยไม่สามารถไปแข่งโอลิมปิกในปี ค.ศ. 1948 ได้ (ในปีนั้นคนที่ได้เหรียญเงินเวลารวมก็แพ้ทัวริง) สุดท้ายทัวริงก็เลยตัดสินใจกลับเคมบริดจ์ ผ่านไประยะนึง ทีมงานเก่าเขาที่ย้ายไปมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ก็เชิญเขาไปเป็นหัวหน้าภาควิชาใหม่ (ภาควิชาคอมพิวเตอร์) ทัวริงเลยตัดสินใจย้ายไป คราวนี้ไปเน้นด้านซอฟต์แวร์ ออกบทความวิชาการชื่อดังอีกอันในยุคนั้น \"Computer Machine and Intelligence\" ในปี ค.ศ. 1950 ซึ่งเป็นรากฐานของแนวคิดพัฒนา ปัญญาประดิษฐ์ ในวงการคอมพิวเตอร์", "title": "แอลัน ทัวริง" }, { "docid": "692#15", "text": "ปี ค.ศ. 1946 ทัวริงกลับมาดูงานใหม่ ก็พบว่าเป็นงานคนละแนวคิดกัน ทางอเมริกาเน้นด้านอิเลกทรอนิกส์ แต่ทัวริงคิดแบบคณิตศาสตร์ (\"I would like to implement arithmetical functions by programming rather than by building in electronic components, a concept different from that of the American-derived designs). โครงการตอนนั้นของทัวริงคือเครื่องคำนวณ (computation machine) ที่สามารถเปลี่ยนได้ตามใจชอบจาก numerical work เป็น algebra เป็น code breaking เป็น file handling หรือแม้กระทั่งเกมส์. ปี ค.ศ. 1947 ทัวริงเสนอว่า ต้องมีระบบจัดเก็บข้อมูล และ ชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ต้องขยายตัวเองออกเป็น ชุดคำสั่งย่อย ๆ ได้ โดยการใช้รูปย่อแบบ รหัสย่อ (คำสั่ง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของภาษาโปรแกรม) แต่ปรากฏว่าไม่ได้รับการสนันสนุน", "title": "แอลัน ทัวริง" }, { "docid": "715#6", "text": "ช่วง ค.ศ. 1936 จนถึง 1938 แอลัน ทัวริง ได้เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนไปที่สถาบัน และเรียนจบปริญญาเอก โดยมีนอยมันน์เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา การไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนครั้งนี้ของทัวริง เกิดขึ้นหลักจากที่เขาได้ดีพิมพ์บทความวิชาการ \"On Computable Numbers with an Application to the Entscheidungs-problem\" ในปี ค.ศ. 1934 ได้ไม่นาน. งานตีพิมพ์นี้ เกี่ยวข้องกับ หลักการของ logical design และ universal machine. ถึงแม้จะเป็นที่แน่ชัดว่า นอยแมนรู้ถึงแนวความคิดของทัวริง แต่ก็ไม่เป็นที่แน่ชัดว่า เขาได้ใช้หลักการของทัวริง ในการออกแบบเครื่อง IAS ที่ถูกสร้างในเวลา 10 ปีต่อมา", "title": "จอห์น ฟอน นอยมันน์" }, { "docid": "692#7", "text": "ปี พ.ศ. 2474 เขาเข้าเรียนคณิตศาสตร์ที่คิงส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (หมายเหตุ: ยุคนั้นคิงส์คอลเลจเป็นที่พักชายล้วน ซึ่งทัวริงก็อยู่อย่างเปิดเผยว่าเขาเป็นเกย์ และเข้าร่วมกิจกรรมชมรม) ทัวริงมีความสุขกับชีวิตที่นี่มากและทำกิจกรรมหลายอย่าง เช่น พายเรือ, เรือใบเล็ก และ วิ่งแข่ง. ทัวริงพูดเสมอว่า \"งานของผมนั้นเครียดมาก และทางเดียวที่ผมจะเอามันออกไปจากหัวได้ก็คือ วิ่งให้เต็มที่\" และเขาก็วิ่งอย่างจริงจัง โดยที่ผลการวิ่งมาราธอนของเขา ชนะเลิศการแข่งขันของสมาคมนักกรีฑาสมัครเล่น ด้วยเวลา 2 ชั่วโมง 43 นาที 3 วินาที ในปี พ.ศ. 2489 ซึ่งในการแข่งขันวิ่งมาราธอนโอลิมปิก เมื่อ พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) คนที่ได้เหรียญทอง ทำเวลาได้เร็วกว่าเขาเพียง 11 นาที", "title": "แอลัน ทัวริง" }, { "docid": "2584#4", "text": "กลไกหรือการให้เหตุผลอย่างมีแบบแผน ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณ การศึกษาด้านตรรกศาสตร์นำไปสู่การคิดค้นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ดิจิทัลที่โปรแกรมได้โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์ของแอลัน ทัวริงและคนอื่น ๆ ทฤษฎีการคำนวณของทัวริงชี้ว่า เครื่องจักรที่รู้จักการสลับตัวเลขระหว่าง 0 กับ 1 สามารถเข้าใจนิรนัยทางคณิตศาสตร์ได้ หลังจากนั้น การค้นพบทางด้านประสาทวิทยา ทฤษฎีสารสนเทศ และไซเบอร์เนติกส์ รวมทั้งทฤษฎีการคำนวณของทัวริง ได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มเริ่มสนใจพิจารณาความเป็นไปได้ของการสร้าง สมองอิเล็กทรอนิกส์ ขึ้นมาอย่างจริงจัง", "title": "ปัญญาประดิษฐ์" }, { "docid": "771537#9", "text": "ในปีค.ศ.1952 แอลัน ทัวริง (ปีค.ศ. 1912–1954) เป็นที่รู้จักจากงานเกี่ยวกับการคำนวณและ ได้เขียน\"\" ซีงเป็นบทวิเคราะห์ของกลไกที่อาจจำเป็นในการสร้างลวดลายในสิ่งมีชีวิตในกระบวนการที่เรียกว่าการเกิดสัณฐาน เขาได้ทำนายปฏิกิริยาแกว่งทางเคมีที่เรียกว่าปฏิกิริยาเบลูซอฟ–จาโบทินสกี ทัวริงเสนอว่า กลไกตัวเร่ง-ตัวยับยั้งเหล่านี้ สร้างลวดลายทางและลายจุดในสัตว์ และมีส่วนช่วยให้เกิดรูปแบบในการเรียงใบของพืช", "title": "ลวดลายในธรรมชาติ" }, { "docid": "692#6", "text": "ในสมัยมัธยม ทัวริงสนิทและนับถือรุ่นพี่คนหนึ่งชื่อ คริสโตเฟอร์ มอร์คอม (Christopher Morcom) ซึ่งเสียชีวิตไปเสียก่อน ทัวริงเศร้ามาก เลยตั้งใจสานต่อสิ่งที่รุ่นพี่เขาอยากทำให้สำเร็จ ตลอดสามปีหลังจากนั้น เขาเขียนจดหมายอย่างสม่ำเสมอให้คุณแม่ของมอร์คอม ว่าเขาคิดและสงสัยเรื่องความคิดของคนว่าไปจับจดอยู่ในเรื่องหนึ่ง ๆ ได้อย่างไร (how the human mind was embodied in matter) และปล่อยเรื่องนั้น ๆ ออกไปได้อย่างไร (whether accordingly it could be released from matter) แล้ววันหนึ่งเขาก็ไปเจอหนังสือดังในยุคนั้นชื่อ \"The Nature of the Physical World\" อ่านไปก็เกิดนึกไปเองว่าทฤษฏีกลศาสตร์ควอนตัมมันต้องเกี่ยวกับปัญหาเรื่อง mind and matter ที่เขาคิดอยู่", "title": "แอลัน ทัวริง" } ]
1415
การ์ตูนเรื่องเทพมรณะเขียนขึ้นเมื่อปีใด ?
[ { "docid": "140953#0", "text": "เทพมรณะ (Bleach) เป็นการ์ตูนแนวแอ็คชั่นที่โด่งดังอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ลงประจำในนิตยสารรายสัปดาห์ “SHUKAN SHONEN JUMP” ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 เป็นต้นมา ในประเทศไทยการ์ตูนเรื่อง เทพมรณะ ลงในนิตยสารรายสัปดาห์ บูม (Boom) ในเครือ เดอะเนชั่น และยังทำเป็นอะนิเมะฉายทางทีวี ตั้งแต่ เดือนตุลาคม ปี 2004 มาจนถึงปัจจุบัน", "title": "บลีชเดอะไดมอนด์ดัสต์รีเบลเลียน" }, { "docid": "4023#0", "text": "เทพมรณะ หรือ บลีช () เป็นผลงานการ์ตูนญี่ปุ่นของคุโบะ ไทเทะ ตีพิมพ์ลงนิตยสารโชเน็นจัมป์รายสัปดาห์ในประเทศญี่ปุ่น ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2544 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 ส่วนในประเทศไทยนั้นถูกตีพิมพ์ในนิตยสารบูม โดยมีสำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์และจัดจำหน่ายในรูปแบบวีซีดีและดีวีดีโดยบริษัทโรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์", "title": "เทพมรณะ" } ]
[ { "docid": "27238#2", "text": "ภายหลังเริ่มต้นชีวิตทำงาน คุโบะได้วาดการ์ตูนเรื่องเทพมรณะ หรือ บลีช โดยเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนักเรียนมัธยมปลายคนหนึ่งได้พบกับยมทูตที่เข้ามาทางหน้าต่างห้องของเขา และได้กลายเป็นตัวแทนยมทูตเพื่อต่อสู้กับวิญญาณชั่วร้าย โดยการ์ตูนเรื่องเทพมรณะได้ลงตีพิมพ์ในโชเน็นจัมป์รายสัปดาห์ในปี ค.ศ. 2001 ในเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 2007 ได้มีจำนวนตอนมากกว่า 300 ตอน และถูกทำเป็นแอนิเมชันในปลายปี ค.ศ. 2004 ในปี ค.ศ. 2005 ได้รับรางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยมแห่งปีจากงานโชกาคุคัน มังงะ อวอร์ด 2005 และได้มีภาพยนตร์เรื่องแรกของเทพมรณะในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2006 และภาพยนตร์เรื่องที่สองในวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2007 และกำลังจะมีภาพยนตร์เรื่องที่สามของการ์ตูนเรื่องเทพมรณะในปลายปีนี้", "title": "ไทโตะ คุโบะ" }, { "docid": "312685#1", "text": "เทพจิ้งจอกจอมยุ่ง (ประจำบ้าน) ได้รับการทำเป็นหนังสือการ์ตูนภาษาญี่ปุ่น วาดโดย Suiren Shōfū เริ่มตีพิมพ์เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 และทำเป็นภาพยนตร์การ์ตูนความยาว 24 ตอนโดยสตูดิโอ Zexcs ออกฉายในช่วง 6 เมษายน พ.ศ. 2551 ถึง 14 กันยายน พ.ศ. 2551\nทาคางามิ โนโบรุ กับน้องชายชื่อ โทโอรุ อาศัยอยู่ในบ้านหลังเล็กๆในเมืองเล็กๆ มีฐานะทางการเงินที่ไม่ดีนัก วันนึงโทโอรุฝันร้ายและพร้อมๆกันนั้น ทั้งสองก็ถูกเรียกตัวให้กลับไปยังบ้านเดิมของมารดา (ซึ่งถึงแก่กรรมตั้งแต่ทั้งสองยังเด็ก) ญาติทางฝ่ายมารดาของพวกเขาคือตระกูลมิซึจิ เป็นตระกูลที่ใหญ่มากอยู่ในชนบท มีเทพีผู้พิทักษ์ (บอดี้การ์ด) น่าตาน่ารักในชุดมิโกะ ชื่อว่า โค ตระกูลมิซึจิมีบ้านหลังใหญ่บริเวณกว้าง และได้กักขังเทพจิ้งจอกไว้", "title": "เทพจิ้งจอกจอมยุ่ง (ประจำบ้าน)" }, { "docid": "684680#0", "text": "ปริศนาสมบัติอัจฉริยะ ตอน ผจญค่ายกลกระดูก เป็นนวนิยายเล่มแรกในชุดปริศนาสมบัติอัจฉริยะ ประพันธ์โดยริก ไรออร์แดน ตีพิมพ์ครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 โดยสำนักพิมพ์สกอลาสติก เนื้อเรื่องเริ่มต้นขึ้นที่สองพี่น้องกำพร้า แดนและเอมี่ คาฮิลล์ ทั้งสองค้นพบว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของคาฮิลล์ ตระกูลที่มีพลังอำนาจมากที่สุดในโลก ซึ่งสมาชิกในตระกูลต้องฝ่าฟันกันเพื่อค้นหาคำไขปริศนาทั้ง 39 คำ", "title": "ปริศนาสมบัติอัจฉริยะ ตอน ผจญค่ายกลกระดูก" }, { "docid": "686078#0", "text": "ปริศนาสมบัติอัจฉริยะ ตอน หนึ่งโน้ตมรณะ เป็นนวนิยายเล่มที่สองในชุดปริศนาสมบัติอัจฉริยะ ประพันธ์โดยกอร์ดอน คอร์แมน ตีพิมพ์ครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยสำนักพิมพ์สกอลาสติก เนื้อเรื่องดำนานต่อจากการตามล่าคำไขปริศนาในปริศนาสมบัติอัจฉริยะ ตอน ผจญค่ายกลกระดูก สองพี่น้องกำพร้า เอมี่และแดน ต้องเดินทางต่อไปยังกรุงเวียนนา ออสเตรีย เพื่อตามล่าคำไขปริศนาเกี่ยวกับโวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท", "title": "ปริศนาสมบัติอัจฉริยะ ตอน หนึ่งโน้ตมรณะ" }, { "docid": "40427#3", "text": "เนาซิก้า เวอร์ชันมังงะของมิยาซากิ ถูกเขียนขึ้นมากว่า 13 ปี ก่อนจะหยุดไปเพื่อทำภาพยนตร์กับสตูดิโอจิบลิ ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสาร Animage ของโทคุมะ โชเท็น ซึ่งตอนแรกได้รับตีพิมพ์ในเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 และตอนสุดท้ายในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2527 ไม่ต้องสงสัยเลยว่า เรื่องราวในมังงะนั้นไปไกลและซับซ้อนกว่าในภาพยนตร์มากทีเดียว ในภาพยนตร์ เป็นการเล่าเรื่องอย่างหยาบๆ ซึ่งตรงกับ 1 ใน 4 ส่วนแรกของมังงะ และมีการปรับเปลี่ยนเรื่องบางส่วนให้เข้ากับความเป็นภาพยนตร์", "title": "มหาสงครามหุบเขาแห่งสายลม" }, { "docid": "220386#2", "text": "เฉพาะการ์ตูนเรื่องสั้นซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสารมหาสนุกนั้น การ์ตูนชุดใดที่ได้รับความนิยมจากผู้อ่านมากก็จะได้รับการตีพิมพ์เป็นนิตยสารรวมเล่มในชื่อชุด \"มหกรรมมินิซีรีส์\" เริ่มพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2535 ซึ่งการ์ตูนบางชุดก็ยังคงได้รับความนิยมจากผู้อ่านมาอย่างต่อเนื่องและมีการตีพิมพ์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เช่น การ์ตูนชุด \"ไอ้ตัวเล็ก\" ของภักดี แสนทวีสุข การ์ตูนชุด \"บ้าครบสูตร\" และ \"สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่\" ของอารีเฟน ฮะซานี เป็นต้น แม้ว่าผู้เขียนจะไม่ได้นำการ์ตูนเรื่องสั้นชุดของตนเองลงพิมพ์ในนิตยสารมหาสนุกแล้วก็ตาม", "title": "มหาสนุก" }, { "docid": "601313#3", "text": "เนื้อเรื่องของการ์ตูนเรื่องนี้นั้น ตัวเอกนั้นอยู่ในปี 1983 (ปีที่การ์ตูนเรื่องนี้เขียน เกิน 25 ปีแล้ว) เป็นเหมือนอันตพาลที่เป็นคนเลวคนหนึ่งหลบการไล่ล่าของตำรวจ จนหลุดเข้าไปในพายุแล้วหลงไปอยู่ในปี 2050 ความจำเสื่อมจำอะไรไม่ได้ และมีองค์กรร้ายในตอนนั้นตามล่าตัวเขา ด้วยพลังอำนาจที่เขาได้มาระหว่างที่เดินทางผ่านกาลเวลาและการถูกล่าตัว ทำให้เขากลายเป็นตำรวจที่ไล่ปราบองค์กรร้ายนั้น เมื่อสืบไปเรื่อย ๆ ก็ดูเหมือนว่า หัวหน้าใหญ่สุดขององค์การนี้จะมีอะไรบางอย่างที่เหมือนกับเขา แม้กระทั่งรอยแผลเป็นในที่เดียวกัน ทำให้สงสัยว่า หัวหน้าใหญ่คนนั้นก็คือตัวเขาเองที่เติบโตเป็นตัวร้ายมาเรื่อย ๆ จนเป็นใหญ่ และต้องมาเจอกับตัวเขาที่ข้ามกาลเวลามาเป็นตำรวจ", "title": "อุราชิแมน มือปราบอนาคต" }, { "docid": "377754#8", "text": "หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมบทความส่วนหนึ่งของผมจากคอลัมน์ “สยามทัศน์” ในหนังสือพิมพ์\nสยามรัฐรายวันที่ผมได้เขียนเป็นประจำทุกวันพฤหัสบดีอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2544 ถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2545 ด้วยความตั้งใจที่จะให้ท่านผู้อ่านได้มองเห็นภาพสะท้อนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง\nขณะนั้นแล้วชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จและความล้มเหลวของการทำงานทางการเมืองของนักการเมืองไทย\nบางยุคบางสมัยที่สมัครใจอาสาประชาชนเข้ามาทำงานการเมือง", "title": "ดุสิต ศิริวรรณ" }, { "docid": "228608#4", "text": "เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 2007 ได้วางจำหน่ายซิงเกิล \"ALONES\" ซึ่งเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง \"เทพมรณะ\" ทางโทรทัศน์ โดยเปิดตัวที่อันดับที่ 3 ออริกอนชาร์ต", "title": "อควาไทมซ์" } ]
1084
ปราสาทเขาหินพนมรุ้งสร้างจากหินอะไร?
[ { "docid": "45646#2", "text": "ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นโบสถ์พราหมณ์ลัทธิไศวะ มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขะแมร์ได้หันมานับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นวัดมหายาน ในช่วงแรกปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่าภูเขาใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15-18", "title": "อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง" } ]
[ { "docid": "232800#1", "text": "โครงการศึกษาวิจัย “The Development of An Iron Age Chiefdom: Phase Twor” เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ได้รับอนุญาตจากภารกิจการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้เข้ามาศึกษาค้นคว้าทางโบราณคดีในประเทศ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากร และมหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งดำเนินการระหว่าง พ.ศ. 2538 ถึง 2542 ในบริเวณบ้านโนนวัด ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อศึกษาเรื่องราวของคนในประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะพัฒนาเข้าสู่อารยธรรมอย่างแท้จริงในช่วงคริสตกาล สาเหตุที่เลือกศึกษาในบริเวณนี้ เนื่องจากปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า มีอารยธรรมเขมรโบราณที่เก่าแก่ คือ ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมวัน และปราสาทหินพนมรุ้ง อันเป็นถิ่นกำเนิดของกษัตริย์ที่สำคัญของราชวงศ์หนึ่งของเขมรโบราณ คือ มหิธรปุระ", "title": "แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด" }, { "docid": "52514#5", "text": "เนื่องจากมีความต้องการศึกษาธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง จึงได้เดินทางไปยังปราสาทหินเขาพนมรุ้ง จังหวัด บุรีรัมย์ พักอยู่ที่นั่น 4 เดือน ได้วาดภาพปราสาทหินและฝึกสมาธิไปด้วย จากการทำสมาธิและได้รับคำบอกกล่าวสั่งสอนจากบุคคลที่น่าเชื่อถือ ทำให้หันไปสนใจธรรมะและต้องการบวชเป็นภิกษุที่นั่น แต่ก็ไม่มีโอกาสด้วยมีเหตุจำเป็นที่จะต้องกลับมาบ้านอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2511 จึงได้อุปสมบทที่วัดอินทาราม อำเภอ ท่าฉาง หลังจากถือสมณเพศได้ 1 เดือน ก็ไปพักอยู่ที่วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) จังหวัดเชียงใหม่ ระยะนั้น หยุดเขียนภาพโดยสิ้นเชิง มุ่งมั่นเพียรศึกษาธรรมเท่านั้น", "title": "ไชยวัฒน์ วรรณานนท์" }, { "docid": "45646#3", "text": "จารึกต่าง ๆ ที่นักวิชาการได้อ่านและแปลพอจะสรุปได้ว่า พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 3 กษัตริย์แห่งพระนคร (พ.ศ. 1487-1511) ได้สถาปนาเทวสถานถวายพระศิวะที่เขาพนมรุ้ง ซึ่งในสมัยแรก ๆ คงยังไม่ใหญ่โตนัก ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ. 1511-1544) ได้ทรงอุทิศที่ดินและข้าทาสถวายแด่เทวสถานพนมรุ้ง ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 นเรนทราทิตย์ เจ้านายแห่งราชวงศ์มหิธรปุระที่ปกครองดินแดนแถบนี้ (ซึ่งเป็นต้นตระกูลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัด) ได้สร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้นและได้ทรงบำเพ็ญพรตเป็นโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง", "title": "อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง" }, { "docid": "45646#26", "text": "หมวดหมู่:อุทยานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย หมวดหมู่:โบราณสถานในจังหวัดบุรีรัมย์ หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในพุทธศตวรรษที่ 15 หมวดหมู่:ปราสาทหินในไทย หมวดหมู่:ปราสาทขอม หมวดหมู่:มหัศจรรย์เมืองไทย หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในจังหวัดบุรีรัมย์ หมวดหมู่:โบสถ์พราหมณ์", "title": "อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง" }, { "docid": "130979#8", "text": "ศาสนาฮินดู(พราหมณ์)ในยุคอารยธรรมขอมรุ่งเรือง ขอมได้เข้ามาครอบครองเมืองไทยตั้งแต่เขมรถึงเมืองสุโขทัย พุทไธสงเป็นเมืองหน้าด่านของขอม ก่อนที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มาขับไล่ขอมแล้วตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ยุคนี้จะเป็นยุคที่ขอมนำคนไทยสร้างเมืองโดยการขุดคูคลองล้อมรอบจุดที่ตั้งเมือง และเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานในช่วงอารยธรรมขอมนี้ ซึ่งจะเห็นจากหลักฐานการสร้างปราสาทหินในดินแดนไทย การขุดคูเมืองเป็นคลองล้อมรอบเมืองเป็น 2 ชั้น ตามหลักฐานทางโบราณสถานที่พอจะดูได้คือ กู่สวนแตงที่ตำบลกู่สวนแตง กุฏิฤๅษีที่บ้านกู่ฤๅษี บ้านส้มป่อยในเขตอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ ปราสาทหินเปือยน้อย อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น พระธาตุบ้านดู่ ตามสายน้ำลำพังชูเป็นการก่อสร้างโดยใช้หินตัดแบบเดียวกับปราสาทหินเมืองต่ำ ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทเขาสามยอดลพบุรี หลังจากพระมหากษัตริย์ไทยตั้งเมืองสุโขทัยสำเร็จ สมัยพ่อขุนรามคำแหงได้ขยายอาณาเขตสุโขทัยออกไป เมืองพุทไธสงได้ถูกทำลายทิ้งไป พุทไธสงจึงเป็นเมืองร้างไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ แต่ชุมชนคนไทยคงรวมตัวกันอยู่เป็นชุมชนรอบๆ ตัวเมืองเดิม และต่อมามีผู้คนอพยพมาอยู่รวมกันมากขึ้น", "title": "อำเภอพุทไธสง" }, { "docid": "33954#5", "text": "หลังจากสถาปนาศูนย์กลางอาณาจักรแล้ว พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จึงทรงแก้แค้นศัตรูเก่าคืออาณาจักรจามปา ใน พ.ศ. 1733 กองทัพของพระองค์ก็สามารถยึดเมืองวิชัยยะ เมืองหลวงของจามปาได้ นอกเหนือจากการสงครามแล้ว พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้สร้างพุทธสถานไว้มากมาย เช่น ปราสาทบันทายคดี ปราสาทตาพรม ที่สร้างถวายพระมารดา ปราสาทพระขรรค์ สร้างถวายพระบิดา ปราสาทตาโสม ปราสาทนาคพัน ปราสาทบันทายฉมาร์ ในเขตประเทศไทยปัจจุบัน พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นผู้บูรณะปราสาทหินพิมายซึ่งสันนิษฐานเป็นเมืองเกิดของพระมารดา และปราสาทเขาพนมรุ้ง ให้เป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน และยังมีอาณาจักรละโว้ เมืองศรีเทพ อีกด้วย", "title": "พระเจ้าชัยวรมันที่ 7" }, { "docid": "7043#47", "text": "ปราสาทเมืองต่ำ เมืองโบราณร่วมสมัยกับปราสาทเขาพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำเป็นปราสาทหินของโบราณที่มีขนาดใหญ่มาก สร้างขึ้นตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดูเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาตัวปราสาทออกแบบได้อย่างงดงาม มีโครงสร้างที่ได้สัดส่วนบริเวณโดยรอบปราสาท เป็นชุมชนโบราณสมัยขอม ที่มีประวัติเกี่ยวเนี่ยงกับปราสาทเขาพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำจึงมีความสำคัญทางโบราณคดี นอกเหนือจากเป็นมรดกทางศิลปกรรมที่งดงาม ปราสาทแห่งนี้ได้รับการบูรณะในปี พ.ศ. 2540 กุฏิฤๅษีโคกเมือง เป็นปราสาทขอม สร้างขึ้นเพื่อเป็นอโรคยาศาล หรือโรงพยาบาลประจำเมือง ตั้งอยู่ใกล้กับปราสาทเมืองต่ำ อยู่ติดกับยารายเมืองต่ำ หรือทะเลเมืองต่ำ ชาวบ้านโคกเมืองเรียกปราสาทหลังนี้ว่า \"ปราสาทน้อย\" เป็นอโรคยาศาลที่สมบูรณ์ที่สุดอีกแห่งในประเทศ กุฏิฤๅษีหนองบัวราย เป็นปราสาทขอม สร้างขึ้นเพื่อเป็นอโรคยาศาล ตั้งอยู่บ้านหนองบัวราย ตำบลจรเข้มาก ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพนมรุ้ง ปราสาทบ้านบุ บ้านบุ ตำบลจรเข้มาก เป็นปราสาทขอมสร้างขึ้นเพื่อเป็นธรรมศาลา ที่พักของผู้แสวงบุญในสมัยขอมโบราณ หมู่บ้านโฮมสเตย์โคกเมือง ตั้งอยู่ที่บ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก เป็นหมู่บ้านโฮมสเตย์ที่ได้รับรางวัลระดับประเทศมากมาย มีกิจกรรมให้เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมากมาย อาทิ เรียนรู้การปลูกข้าวหอมมะลิภูเขาไฟ การทอเสื่อกก การทอผ้าไหม การเรียนรู้เกษตรวิถีพอเพียง เป็นต้น อ่างเก็บน้ำสนามบิน อดีตเป็นสนามบินเพื่อใช้ในการส่งเสบียง สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสงครามยุติ จึงได้สร้างอ่างเก็บน้ำกั้นลำห้วยระเวีย เพื่อกักเก็บน้ำใช้ในการอุปโภค บริโภคภายในเขตเทศบาลเมืองประโคนชัย ปัจจุบันได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน เป็นสถานที่พักผ่อน ชมธรรมชาติ โดยมีนกประจำถิ่นและนกอพยพอาศัยมากมาย ปัจจุบันมีการปล่อย นกกระเรียนพันธุ์ไทย ในบริเวณนี้อีกด้วย ชุมชนโบราณบ้านแสลงโทน เป็นชุมชนโบราณตั้งอยู่ในเขตบ้านแสลงโทน ต.แสลงโทน อ.ประโคนชัย อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศใต้ ตามทางสายบุรีรัมย์-ประโคนชัย ระยะทาง 25 กิโลเมตร ทางหลวงตัดผ่ากลางชุมชนโบราณ มองเห็นคันดินเป็นแนวสูงประมาณ 5-7 เมตร อยู่สองข้างทาง ชุมชนโบราณแห่งนี้มีลักษณะเป็นรูปกลมรีวางตามแนวตะวันออก ตะวันตก ยาวประมาณ 5,756 เมตร กว้าง 1,750 เมตร มีคูเมืองโอบอยู่นอกคันดิน 3 ชั้น ปัจจุบันเหลือเพียงชั้นเดียว ใกล้คันดินด้านที่ตั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแสลงโทนในปัจจุบัน มีเนินดินซึ่งมีก้อนหินศิลาแลงกระจัดกระจายเข้าใจว่าเคยมีศาสนสถาน แต่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศาลเจ้าพ่อแสลงโทน เรียกว่า ศาลปู่เจ้าหรือกระท่อมเนียะตา เป็นศาลเจ้า ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านแสลงโทนและชาวบ้านใกล้เคียง สร้างด้วยไม้ระแนง หลังคามุงกระเบื้องและพื้นเป็นปูนซีเมนต์ ทั้งคูน้ำคันดิน (ที่เหลืออยู่ริมทางหลวง) และเนินดินศาลเจ้าพ่อแสลงโทน ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานแล้ว นอกจากนี้ยังพบหลักฐานอื่นที่สำคัญ คือ สระน้ำโบราณรูปสี่เหลี่ยมในเขตวัดแสลงโทน 2 สระ พบเศษภาชนะดินเผา โครงกระดูกมนุษย์ เครื่องประดับ เทวรูปเก่าและใบเสมาเก่า ซึ่งเข้าใจว่าบริเวณนี้เคยเป็นศาสนสถานสำคัญประจำชุมชนโบราณ เส้นทางกุ้งจ่อม กระยาสารท ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลประโคนชัย มีการผลิตกุ้งจ่อม ซึ่งเป็นภูมิปัญญาการถนอมอาหารเฉพาะถิ่นของอำเภอประโคนชัย และกระยาสารท อาหารหวานที่คู่เมืองประโคนชัย ซึ่งเป็นขนมสำคัญในงานประเพณีแซนโฎนตา ประเพณีสำคัญของคนไทยเชื้อสายเขมร ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของอำเภอประโคนชัย นอกจากนั้นยังมีอาหารท้องถิ่นเฉพาะถิ่นประโคนชัย อาทิ กุ้งจ่อมผัด แกงฮ็อง แกงบวน เป็นต้น", "title": "จังหวัดบุรีรัมย์" }, { "docid": "156665#0", "text": "ปราสาทบันทายสำเหร่ ( \"บอนตีย์สำแร\") ปราสาทนี้ได้รับการบูรณะโดยช่างชาวฝรั่งเศสด้วยวิธี Anastylose ซึ่งเป็นวิธีซ่อมแซมโดยคงสภาพเดิมของปราสาทไว้ให้มากที่สุด จะไม่มีการต่อเติมหรือเพิ่มลวดลายขึ้นมาใหม่ โดยมีขั้นตอนดังนี้ ช่างจะทำแผนผังส่วนประกอบต่าง ๆ ของปราสาทไว้ทั้งหมด จากนั้นก็ค่อยๆ รื้อชิ้นส่วนต่าง ๆ ลงมา โดยจะทำเครื่องหมายและถ่ายภาพชิ้นส่วนทุกชิ้น จากนั้นก็ทำการปรับพื้นฐานล่างของปราสาทให้มั่นคงแข็งแรง แล้วสุดท้ายจึงประกอบชิ้นส่วนทั้งหมดกลับเข้าไปเหมือนเดิม การบูรณะปราสาทด้วยวิธีนี้ช่างฮอลันดาเป็นผู้คิดค้นขึ้นและใช้ครั้งแรกที่ประเทศอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยเคยใช้กับการบูรณะปราสาทหินพิมายและปราสาทหินเขาพนมรุ้ง", "title": "ปราสาทบันทายสำเหร่" }, { "docid": "45646#1", "text": "ปัจจุบัน ปราสาทหินพนมรุ้งกำลังอยู่ในเกณฑ์กำลังพิจารณาเป็นมรดกโลก เช่นเดียวกับ ปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นหนึ่งในปราสาทหินขอมของไทยที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ และถือเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของจังหวัดบุรีรัมย์ รวมถึงเป็นภาพพื้นหลังตราสัญลักษณ์ของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดอีกด้วย", "title": "อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง" }, { "docid": "78585#7", "text": "เมืองต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นนี้เมืองลพบุรีหรือละโว้ ถือว่าเป็นเมืองสำคัญที่สุด กษัตริย์กัมพูชาราชวงศ์สุริยวรมัน ทรงนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งมีสายสัมพันธ์เชื่อมต่อมาจากอาณาจักรศรีวิชัย แต่ฝ่ายมหายานในสมัยนี้ผสมกับศาสนาพราหมณ์มาก ประชาชนในอาณาเขตต่าง ๆ ดังกล่าว จึงได้รับพระพุทธศาสนาทั้งแบบเถรวาทที่สืบมาแต่เดิม กับแบบมหายานและศาสนาพราหมณ์ที่เข้ามาใหม่ด้วย ทำให้มีผู้นับถือพระพุทธศาสนาทั้ง 2 แบบ และมีพระสงฆ์ทั้งสองฝ่าย คือ ฝ่ายเถรวาท และฝ่ายมหายาน สำหรับศาสนสถานที่เป็นที่ประจักษ์พยานให้ได้ศึกษาถึงความเป็นมาแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทยครั้งนั้น ได้แก่พระปรางค์สามยอดที่จังหวัดลพบุรี ปราสาทหินพิมาย ที่จังหวัดนครราชสีมา และปราสาทหินเขาพนมรุ้งที่จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น ส่วนพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยนั้นถือเป็นศิลปะอยู่ในกลุ่ม ศิลปสมัยลพบุรี", "title": "ศาสนาพุทธในประเทศไทย" }, { "docid": "866909#1", "text": "2017: ชุดวิรูปักษ์ แรงบันดาลใจมาจาก สะพานนาคราชของปราสาทหินพนมรุ้ง ซึ่งเป็นสะพานเชื่อมโลกมนุษย์และสวรรค์ เป็นลายเครื่องศิราภรณ์ กางเกงและผ้าคลุมหาง ตัดเย็บด้วยผ้าไหมตีนแดง ผ้าไหม เอกลักษณ์ของจังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้นำผ้าไหมตีนแดงมาเย็บเป็นไส้ไก่ และวางลายเย็บกดลงบนผ้าซีทรูเป็นลวดลายที่ถอดแบบ มาจากผังสะพานนาคราช ของพนมรุ้ง\n2016: อัปสรเทวีศรีวนัมรุ้ง ได้รับแรงบรรดาลใจจากภาพสลักของนางอัปสราที่อยู่ปราสาทเขาพนมรุ้ง โดยชุดนี้ได้หยิบยกเอาความเชื่อว่านางอัปสราคือนางฟ้าหรือเทพธิดาผู้รับใช้และคอยดูแลศาสนสถานคล้ายกับความเชื่อของคนโบราณที่ยกย่องนับถือนางอัปสราว่าเป็นเทพธิดาแห่งความดีงามจึงทำให้มีภาพสลักนางอัปสรา ปรากฏอยู่ทั่วไปตามปราสาทหินในจังหวัดบุรีรัมย์ การแต่งกายช่วงบนจะสวมหัวอัปสราและเครื่องประดับเหมือนดั่งนางอัปสราตามภาพสลักบนหิน ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง การแต่งกายช่วงล่างประยุกต์โดยนำผ้าไหมมัดหมีตีนแดงซึ่งเป็นผ้าประจำจังหวัดของจังหวัดบุรีรัมย์ มาตัดเย็บให้เป็นชุดที่มีความสวยสดงดงามลงตัวกับช่วงบน", "title": "มิสแกรนด์บุรีรัมย์" }, { "docid": "7043#19", "text": "เมืองปราสาทหิน หมายถึง บุรีรัมย์มีปราสาทหินเขาพนมรุ้งเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด อีกทั้งจังหวัดบุรีรัมย์ มีปราสาทหินมากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งนอกจากปราสาทพนมรุ้งแล้ว ก็ยังมีปราสาทหินอื่นๆที่น่าสนใจ อาทิ ปราสาทเมืองต่ำ ปรางค์กู่สวนแตง ปราสาทหนองหงส์ ปราสาทบ้านบุ กุฏิฤๅษีโคกเมือง เป็นต้น ถิ่นภูเขาไฟ หมายถึง บุรีรัมย์มีภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วมากที่สุดในประเทศไทย คือ 6 ลูก มี วนอุทยานเขากระโดง เขาพนมรุ้ง เขาไปรบัด เขาอังคาร เขาหลุบ และเขาคอก ผ้าไหมสวย หมายถึง บุรีรัมย์มีการทอผ้าไหมขึ้นชื่อหลากหลายแห่ง มีลวดลายเอกลักษณ์ อาทิ ผ้าซิ่นตีนแดง ผ้าไหมหางกระรอก ผ้าภูอัคนี มีการถักทออย่างแพร่หลาย ที่สำคัญมีที่อำเภอนาโพธิ์ อำเภอพุทไธสง อำเภอห้วยราช อำเภอละหานทราย เป็นต้น รวยวัฒนธรรม หมายถึง บุรีรัมย์มีเทศกาลงานประเพณีที่รุ่งเรืองมาหลายปี และมีวัฒนธรรมหลากหลายชาติพันธุ์ คือ ไทยลาว เขมร ไทยโคราช กูย และชนชาติจีน เลิศล้ำเมืองกีฬา หมายถึง บุรีรัมย์มีกิจกรรมด้านกีฬาระดับโลกหลากหลาย เช่น การแข่งขันโมโตจีพี การแข่งขันฟุตบอล การแข่งขันมาราธอน จักรยานทางไกล เป็นต้น รวมทั้งมีกีฬาท้องถิ่นหลากหลาย เช่น งานแข่งขันเรือยาว อำเภอสตึก มหกรรมว่าวอีสานและว่าวนานาชาติ อำเภอห้วยราช มหกรรมมวยไทย อำเภอหนองกี่ ประเพณีบุญบั้งไฟในอำเภอโนนสุวรรณ อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ อำเภอแคนดง เป็นต้น", "title": "จังหวัดบุรีรัมย์" }, { "docid": "45646#14", "text": "ชุมชนที่เคยตั้งอยู่บริเวณเขาพนมรุ้งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ เพราะนอกจากมีบารายหรืออ่างเก็บน้ำ ซึ่งใช้ในพื้นที่ส่วนหนึ่งของปากปล่องภูเขาไฟเดิมเป็นอ่างเก็บน้ำอยู่บนเขาอยู่แล้ว ที่เชิงเขามีบารายอีก 2 สระ คือสระน้ำหนองบัวบารายที่เชิงเขาพนมรุ้ง และสระน้ำโคกเมืองใกล้ปราสาทหินเมืองต่ำ สระน้ำบนพื้นราบเบื้องล่างภูพนมรุ้งนี้รับน้ำมาจากธารน้ำที่ไหลมาจากบนเขา นอกจากนี้ยังมีกุฏิฤๅษีอยู่ 2 หลัง เป็นอโรคยาศาลที่รักษาพยาบาลของชุมชนอยู่เชิงเขาด้วย", "title": "อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง" }, { "docid": "384790#0", "text": "ศาสตราจารย์ ชิน อยู่ดี (เกิด 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455-ถึงแก่กรรม 17 กรกฎาคม 2529) เป็นนักวิชาการด้านโบราณคดี ที่ทำหน้าที่ในการสำรวจทางด้านโบราณคดีในภาคต่างๆ ของประเทศไทย มีผลงานรายงานการขุดค้นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ จำนวนมาก อาทิ ขุดค้นในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดราชบุรี ระหว่าง พ.ศ. 2503-2505 ผลทำให้ทราบว่ามีคนก่อนประวัติศาสตร์ แต่สมัยหินเก่า สมัยหินกลาง สมัยหินใหม่และยุคโลหะอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดราชบุรี รวมทั้งควบคุมดูแลการบูรณะโบราณสถานที่จังหวัดสุโขทัย นครเมืองเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เมืองกำแพงเพชร (พ.ศ. 2494-2512) ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และบริเวณเกาะใกล้เมือง เมื่อ พ.ศ. 2495-2504 กับดูแลการบูรณะปราสาทหินพนมรุ้ง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. 2517-2518 เป็นต้น ผลงานการขุดค้นต่าง ๆ มีผลต่อการส่งเสริมการศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี ที่มีผลต่อการศึกษาทางด้านสาขานี้มายุคต่อ ๆ มา", "title": "ชิน อยู่ดี" }, { "docid": "472772#0", "text": "ชุมชนโบราณบ้านแสลงโทน สันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ ๑,๕๐๐ ปีหรือราวพุทธศตวรรษที่ 15 และน่าจะเป็นเมืองร่วมสมัยกับปราสาทหินพนมรุ้ง ที่ตั้งขึ้นในราวศตวรรษที่ ๑๕ เนื่องจากยังไม่ได้ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีอย่างจิงจัง หรือว่าอาจมีการทิ้งร้างไประยะหนึ่ง จึงมีชุมชนในละแวกใกล้เคียงเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยซ้อนทับชุมชนโบราณเดิม จนเมื่อปี พ.ศ. 2478 เริ่มมีการสำรวจศึกษา ", "title": "ชุมชนโบราณบ้านแสลงโทน" }, { "docid": "46218#2", "text": "สมัยขอมเรืองอำนาจ เมืองนางรองหรือแคว้นพนมโรงเป็นที่อยู่ของชนชาติขอม ขอมได้ปกครองดินแดงส่วนนี้เป็นเวลานาน ได้พบซากเมืองโบราณที่แสดงว่าขอมมีอำนาจแถบนี้เป็นระยะ ๆ จากปราสาทหินพิมายและปราสาทหินพนมรุ้ง โบราณวัตถุที่ค้นพบเก่าแก่ที่สุดคือ เทวรูปต่าง ๆ และหม้อน้ำดินเผาโบราณแบบขอม เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลงแล้ว มอญก็เข้ามามีอำนาจในดินแดนแถบนี้ ทำให้เกิดชนชาติใหม่ขึ้นคือ ขอม มอญ เป็น เข-มอญ หรือเขมร ซึ่งก็คือขอมนั่นเองแต่มีเชื้อผสมระหว่างมอญกับขอม", "title": "อำเภอนางรอง" }, { "docid": "65682#15", "text": "การกำหนดอายุเวลาของโบราณสถานวัดกำแพงแลง กำหนดอายุเวลาในการสร้างอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ระหว่างปี พ.ศ. 1724-1773 ซึ่งเป็นปีที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ครองราชย์ เป็นศิลปะแบบบายนปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดอายุเวลาดังกล่าวมีดังนี้\nเป็นวัสดุที่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ช่างนิยมใช้กันเนื่องจากเหตุผลบางประการคือ ขาดแคลนหิน และนำวัสดุที่พบง่ายในท้องถิ่นของตัวเองนำเอามาสร้าง สะดวกในการหาใช้ และต้องการความแข็งแรง คงทนก็คือ ศิลาแลง ซึ่งเราหากมองย้อนไปว่าที่เขมรในช่วงสมัยเมืองพระนคร พุทธศตวรรษที่ 16-17 นั้นปราสาทที่สร้างขึ้นนั้นส่วนใหญ่จะสร้างด้วยหินทรายซึ่งได้มาจากเขาพนมกุเลน พอมาถึงสมัยบายนหินเริ่มขาดแคลนหินที่นำมาก่อสร้างปราสาทบายนนั้นเป็นหินที่ไม่ค่อยมีคุณภาพและเหลือน้อยจึงจำต้องหาวัสดุอื่นมาเสริมก็คือศิลาแลงแต่ก็ใช้ในส่วนที่เป็นฐานเท่านั้น ซึ่งเมื่ออิทธิพลเขมรได้แผ่ขยายเข้าในภาคกลางของประเทศไทยนั้นก็เกิดมีการสร้างปราสาทแบบเขมรจำนวนมาก ปราสาทที่พบร่วมสมัยนี้มักสร้างด้วยศิลาแลงซึ่งเป็นวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นมาใช้ในการก่อสร้าง ดังนั้นการสร้างปราสาทกำแพงแลง ก็เลยนำวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นอันได้แก่ ศิลาแลง นำมาก่อสร้างซึ่งสันนิษฐานอายุเวลาได้ว่าร่วมสมัยกับศิลปะบายน", "title": "วัดกำแพงแลง" }, { "docid": "36107#41", "text": "แหล่งตัดหินเขาพระวิหาร เป็นร่องรอยการตัดหินเป็นก้อนสี่เหลี่ยมเพื่อนำไปสร้างปราสาทเขาพระวิหารบนลานหินทรายของเทือกเขาพนมดงรัก โดยในเขตอุทยานฯ ค้นพบที่บริเวณลานหินผามออีแดง สถูปคู่ และบารายสระตราวน้ำตกและถ้ำขุนศรี น้ำตกอยู่เหนือถ้ำขุนศรีสูง 3 ชั้น ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของสระตราวใกล้เส้นทางเดินขึ้นปราสาทเขาพระวิหาร ส่วนถ้ำขุนศรีภายในมีขนาดกว้าง เชื่อกันว่าเป็นที่พักของขุนศรีขณะมาควบคุมการตัดหินบริเวณสระตราวเพื่อใช้สร้างปราสาทเขาพระวิหาร", "title": "อำเภอกันทรลักษ์" }, { "docid": "56388#0", "text": "ปราสาทหินพนมวัน ตั้งอยู่ที่บ้านมะค่า ตำบลบ้านโพธิ์ ถนนสายโคราช-ขอนแก่น จังหวัดนครราชสีมา เป็นโบราณสถานสถาปัตยกรรมในคติความเชื่อของเขมรโบราณ สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เพื่อเป็นเทวสถาน ต่อมาภายหลังดัดแปลงเป็นพุทธสถาน เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย", "title": "ปราสาทหินพนมวัน" }, { "docid": "7043#48", "text": "อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ปราสาทเขาพนมรุ้งได้รับการยกย่องว่าเป็นปราสาทหินที่งดงามมากแห่งหนึ่งของไทย ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งซึ่งเคยเป็นภูเขาไฟมาก่อน ตัวปราสาทสร้างด้วยหินทรายสีชมพู และศิลาแลงอย่างยิ่งใหญ่อลังการมีการออกแบบผังปราสาทตามแนวความเชื่อที่สอดคล้องกับภูมิประเทศศาสนสถานแต่ละส่วนประดับด้วยลวดลายวิจิตรงามตาโดยเฉพาะหน้าบันศิวนาฎราชและทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่มีความงดงามละเอียดอ่อนช้อย นับเป็นโบราณสถานอันทรงคุณค่าที่ไม่ควรพลาดชมในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 (ประมาณเดือน เม.ย. - พ.ค.) ของทุกปีจะมีประเพณีเดินขึ้นเขาพนมรุ้งเพื่อชมปรากฏการณ์ธรรมชาติอันน่ามหรรศจรรย์คือ พระอาทิตย์จะสาดแสงตรงเป็นลำทะลุช่องประตูปราสาททั้ง 15 บานราวปาฏิหาริย์และเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในรอบปีเท่านั้น น้ำตกเขาพนมรุ้ง ปราสาทหนองกง ห่างจากเชิงพนมรุ้งไปทางทิศใต้ 2.8 กิโลเมตร วัดเขาพระอังคาร เป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่ ตั้งอยู่บนยอดเขาพระอังคารซึ่งสูงประมาณ 320 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีโบสถ์ที่ประยุกต์จากสถาปัตยกรรมหลายสมัย ดูสวยงามแปลกตา เป็นวัดที่สวยงามใหญ่โตแห่งหนึ่งของบุรีรัมย์ มีโบสถ์ ศาลา และอาคารต่าง ๆ สร้างเลียนแบบสถาปัตยกรรมสมัยต่าง ๆ หลายรูปแบบงดงาม แปลกตาและน่าสนใจยิ่ง ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังและเรื่องราวพุทธชาดกเป็นภาษาอังกฤษด้วย บริเวณวัดเป็นปากปล่องภูเขาไฟคาดว่าเคยเป็นที่ตั้งของโบราณสถานสมัยทวารวดีเพราะเสมาหินแกะสลักสมัยดังกล่าวหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก เขาอังคาร เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้วอีกลูกหนึ่งในบุรีรัมย์ อยู่ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากปราสาทพนมรุ้ง 20 กิโลเมตร โดยลงมาจากพนมรุ้ง ถึงบ้านตาเป็กแล้วเลี้ยวซ้ายมาตามทางที่จะไปละหานทรายประมาณ 13 กิโลเมตรแล้วเลี้ยวขวาเข้าทางลูกรังอีกประมาณ 7 กิโลเมตรพบโบราณสถานเก่าแก่ และใบเสมาหินทรายสมัยทวารวดีสำคัญหลายชิ้น", "title": "จังหวัดบุรีรัมย์" }, { "docid": "7043#50", "text": "แหล่งหินตัด แหล่งหินตัด จังหวัดบุรีรัมย์ห่างจากตัวอำเภอบ้านกรวด 7 กม. เป็นลานหินกว้างเกือบ 2,000 ไร่ ใกล้ชายแดนติดกับราชอาณาจักรกัมพูชา มีร่องรอยการตัดหิน เพื่อนำไปสร้างปราสาทหินต่าง ๆ ในเขตอีสานใต้ รวมทั้งปราสาทพนมรุ้ง และปราสาทเมืองต่ำ เตานายเจียน เป็นเตาเผาโบราณอายุประมาณ 1,000 ปี และได้พบเครื่องเคลือบโบราณจำนวนมาก คนโบราณใช้เผาเครื่องปั้นดินเผา หม้อ ไห ต่าง ๆ เตาสวาย เป็เตาเผาโบราณอายุประมาณ 1,000 ปี เป็นที่ผลิตเครื่องถ้วยศิลปะขอม ที่มีขนาดใหญ่ กรมศิลปากรได้เข้ามาบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นและสร้างอาคารครอบเตาไว้ ภายในมีนิทรรศการเครื่องเคลือบโบราณ และมีเศษเครื่องถ้วยที่ขุดพบบางส่วน ตั้งอยู่ที่บ้านโคกเมือง เทศบาลตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ จุดผ่อนปรนชายแดนช่องสายตะกู ตั้งอยู่ในเขต เทศบาลตำบลจันทบเพชร เป็นตลาดค้าขายติดชายแดนบนเทือกเขาพนมดงรัก ประชาชนสามารถเลือกซื้อสินค้าบริเวณชายแดนได้ สวนป่าบ้านกรวด เป็นผืนป่าที่มีการปลูกขึ้น เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ สามารถชมธรรมชาติได้ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ อุทยานแห่งชาติตาพระยา ส่วนหนึ่งของผืนป่ามรดกโลก ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เขื่อนห้วยเมฆา เป็นการพัฒนาพื้นที่แนวชายแดนชายไทย-กัมพูชา บริเวณช่องเขาเมฆาเพื่อใช้น้ำในทางการเกษตรกร โดยได้รับงบประมาณจากการสนับสนุนของรัฐบาลญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2528 พิพิธภัณฑ์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ วัดป่าพระสบาย เป็นที่เก็บรวบรวมวัตถุโบราณในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในเขตตำบลบึงเจริญ ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบ้านกรวด ตั้งอยู่ในโรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร เป็นที่เก็บรักษาเครื่องเคลือบที่ขุดพบในเขตอำเภอบ้านกรวด ผึ้งร้อยรัง เป็นสถานที่ที่ผึ้งจะมาทำรังบนต้นไม้ขนาดใหญ่เป็นร้อยๆรัง ปราสาทถมอ ปราสาทหินเก่าแก่สันนิษฐานว่าเป็นธรรมศาลา สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ปราสาททอง ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังตลาดสดเทศบาลตำบลบ้านกรวด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 16 มีการขุดพบทับหลังในสภาพสมบูรณ์ ปราสาทละลมทม ตั้งอยู่ที่บ้านศรีสุข ตำบลเขาดินเหนือ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 ปราสาทบายแบก ตั้งอยู่ที่บ้านสายโท 5 เทศบาลตำบลจันทบเพชร เป็นปราสาทขอมที่ติดชายแดนที่สุดในจังหวัดบุรีรัมย์ มีลักษณะพิเศษคือ เป็นปราสาทที่หันหน้าทางทิศตะวันตก", "title": "จังหวัดบุรีรัมย์" }, { "docid": "56388#1", "text": "ตัวปราสาทหินพนมวันสร้างเป็นปรางค์มีฉนวน (ทางเดิน) ติดต่อกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมยาว 25.50 เมตร กว้าง 10.20 เมตร พระปรางค์มีประตูซุ้ม 3 ด้าน ซุ้มประตูด้านทิศเหนือ ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางประธานอภัย 1 องค์ ลักษณะศิลปะแบบอยุธยา รอบปราสาทเป็นลานกว้างมีระเบียงคดก่อด้วยหินกว้าง 54 เมตร ยาว 63.30 เมตร ประกอบด้วยประตูทางเข้า 4 ทิศ ทางด้านทิศตะวันออกมี “บาราย” หรือสระน้ำขนาดใหญ่ประจำชุมชน เรียกว่า \"สระเพลง\"", "title": "ปราสาทหินพนมวัน" }, { "docid": "7043#25", "text": "ธงพื้นสีม่วง-แสด แบ่งครึ่งตามแนวตั้ง กลางธงมีตราประจำจังหวัดเป็นเทพยดาฟ้อนรำหน้าปราสาทหินพนมรุ้ง", "title": "จังหวัดบุรีรัมย์" }, { "docid": "7043#18", "text": "เทวดารำ หมายถึงดินแดนแห่งเทพเจ้าผู้สร้าง ผู้ปราบยุคเข็ญ และผู้ประสาทสุข ท่ารำ หมายถึงความสำราญชื่นชมยินดี ซึ่งตรงกับพยางค์สุดท้ายของชื่อจังหวัด ปราสาทหิน คือปราสาทเขาพนมรุ้งซึ่งมีกำแพงล้อมรอบ ภายในท้องพระโรงมีเทวสถาน", "title": "จังหวัดบุรีรัมย์" }, { "docid": "45646#4", "text": "ปราสาทหินพนมรุ้งสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดูลัทธิไศวะ ซึ่งนับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด ดังนั้นเขาพนมรุ้งจึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาสที่ประทับของพระศิวะ", "title": "อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง" }, { "docid": "56809#0", "text": "ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ เป็นทับหลังที่ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นโบราณวัตถุที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของไทย ที่เชื่อว่าถูกโจรกรรมไปเมื่อราวปี พ.ศ. 2503 ในช่วงสงครามเวียดนาม และถูกนำไปจัดแสดงอยู่ที่สถาบันศิลปะชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ในที่สุดชาวไทยนำโดยรัฐบาล และ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ก็ได้ทับหลังชิ้นนี้คืนมาทันวันพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งพอดี ในปี พ.ศ. 2531", "title": "ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์" }, { "docid": "45646#16", "text": "กรมศิลปากรได้ทำการซ่อมแซมและบูรณะปราสาทหินพนมรุ้ง โดยวิธีอนัสติโลซิส (ANASTYLOSIS) คือ รื้อของเดิมลงมาโดยทำรหัสไว้ จากนั้นทำฐานใหม่ให้แข็งแรง แล้วนำชิ้นส่วนที่รื้อรวมทั้งที่พังลงมากลับไปก่อใหม่ที่เดิม โดยใช้วิธีการสมัยใหม่ช่วย ซึ่งปราสาทหินพนมรุ้งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติเมื่อปี พ.ศ. 2475 ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75", "title": "อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง" }, { "docid": "45646#0", "text": "อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือ ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นหนึ่งในปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 (บ้านดอนหนองแหน) ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ (ประมาณ 350 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง) คำว่า พนมรุ้ง นั้น มาจากภาษาเขมร คำว่า วนํรุง แปลว่า ภูเขาใหญ่", "title": "อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง" }, { "docid": "187171#5", "text": "กลุ่มปราสาทตาเมือน ตั้งอยู่ที่บ้านหนองคันนาสามัคคี ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ตามรายทางสู่เมืองพระนครของขอม ในอดีตยังไม่มีความรับรู้ในเรื่องพรหมแดนต่างประเทศ มีแต่เพียงแนวทิวเขาพนมดงรัก เป็นพรหมแดนธรรมชาติที่กั้นผู้คนสองดินแดนไว้ คนโบราณมีการ ใช้เส้นทางผ่าช่องเขาที่มีอยู่ตลอดแนว ในบางช่องเขามีการสร้างปราสาทหินขนาดเล็ก เช่น ช่องไชตะกูมีปราสาทแบแบก แต่สำหรับที่ช่องตาเมือนหรือตาเมียงนี้มีลักษณะพิเศษคือ มีปราสาทหินสามหลังอยู่ใกล้ๆกัน เรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก เรียกว่ากลุ่มปราสาทตาเมือน โดยปราสาทแต่ละหลังมีขนาดและประโยชน์ที่ใช้สอยแตกต่างกันไป", "title": "ปราสาทตาเมือนธม" } ]
2644
เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี คือใคร?
[ { "docid": "18064#0", "text": "พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) เป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง ก่อนที่สมเด็จพระบรมชนกนาถจะเสด็จสวรรคตในวันต่อมา", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" } ]
[ { "docid": "384639#37", "text": "ดูบทความหลักที่ พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นพระราชพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รัฐบาลไทยขึ้นจัดเพื่อแสดงความจงรักภักดีและความอาลัยแด่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี โดยกำหนดวันพระราชพิธีระหว่างวันที่ 8-12 เมษายน พ.ศ. 2555 โดยกำหนดการพระราชพิธีสำคัญ ได้แก่ การบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ในวันที่ 8 เมษายน พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพในวันที่ 9 เมษายน พระราชพิธีเก็บพระอัฐิ ในวันที่ 10 เมษายน การบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระอัฐิ ในวันที่ 11 เมษายน การเชิญพระอัฐิขึ้นประดิษฐานที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และการเชิญพระผอบพระสรีรางคารไปบรรจุยังวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ในวันที่ 12 เมษายน", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "384639#4", "text": "สำนักพระราชวัง มีประกาศเรื่อง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ความว่า", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "574091#4", "text": "สำนักราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวัง เปิดเผยหนังสือลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554 เรื่องการก่อสร้างพระเมรุและกำหนดวันพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ความว่า", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "574091#37", "text": "ขบวนเชิญพระโกศพระอัฐิสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ไปประดิษฐาน ณ พระวิมานวังรื่นฤดี ประกอบด้วย รถจักรยานยนต์นำขบวน จากกองสันดิบาล ตำรวจนครบาล รถยนต์พระที่นั่งเชิญพระโกศพระอัฐิ เป็นรถยนต์คาร์ดิลแลคสีขาว ซึ่งเป็นรถยนต์พระที่นั่งส่วนพระองค์ขององค์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ปักธงราชวงศ์ใหญ่ฝ่ายใน และรถยนต์ข้าราชบริพารจากกองราชพาหนะ สำนักพระราชวัง ขบวนเคลื่นออกจากท้องสนามหลวงไปตามถนนราชดำเนินเลี้ยวเข้าสู่ถนนนครสวรรค์ขึ้นทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไปลงถนนสุขุมวิท เลี้ยวเข้าถนนสุขุมวิท 38 ถึงยังวังรื่นฤดี มีข้าหลวงฝ่ายในของวังรื่นฤดีเฝ้ารับพระอัฐิ จากนั้นนางสุรัสวดี กุวานนท์ แม็คซี่ เชิญพระโกศพระอัฐิไปยังท้องพระโรงวังรื่นฤดี เชิญขึ้นบนพระตำหนัก เข้าสู่ห้องนมัสการประดิษฐานบนพระวิมาน นางสุรัสวดี กุวานนท์ แม็คซี่ จุดธูปเทียนบูชาพระพุทธรูป และจุดธูปเทียนบูชาพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอัฐิพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และพระอัฐิสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นอันเสร็จพิธี", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#53", "text": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชูปโภคสำหรับสมเด็จเจ้าฟ้า ซึ่งสร้างขึ้นมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีรายการดังต่อไปนี้[53]", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#66", "text": "เป็นหนังสือเฉลิมพระเกียรติพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีและสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีเรียบเรียงโดยคุณหญิงวนิตา ดิถียนต์ และ ดร.ชัชพล ไชยพร สำนักนายกรัฐมนตรีให้จัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีทรงเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา จำนวน 711 หน้า โดยผู้เรียบเรียงได้มอบลิขสิทธิ์ให้แก่มูลนิธิเพชรรัตน-สุวัทนา", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "574091#58", "text": "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชดำริให้ไปจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นการถาวรขึ้นที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม แทนการจัดนิทรรศการชั่วคราวที่พระเมรุอย่างในอดีต ซึ่งจำเป็นต้องรื้อถอนไป ถ้านำงบประมาณส่วนนี้ไปจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติเป็นการถาวรภายในพระราชวังสนามจันทร์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีกับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีทรงร่วมกันบูรณะก็จะเป็นประโยชน์ยั่งยืนกว่า ทั้งนี้จะได้เป็นการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทั้งสามพระองค์ด้วย โดยจัดแสดงภายในพระที่นั่งพิมานปฐม พระที่นั่งอภิรมย์ฤดี และพระที่นั่งวัชรีรมยา โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน กล่าวคือ", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "574091#53", "text": "อักษร พ. และ ร. ลงยาสีชมพู หมายถึงวันอังคารอันเป็นวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และเป็นพระกุลทายาทแห่งจุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เสด็จพระราชสมภพในวันอังคารดุจเดียวกัน", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "574091#56", "text": "กรมศิลปากรจัดทำ 3 บทเพลงถวายอาลัยสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นเพลงชุด “เพชรรัตนาลัย” โดยนำคำประพันธ์มาบรรจุลงในทำนองเพลงไทยเดิม ประกอบด้วย เพลงเพชร-ใบไม้ร่วง-พสุธากันแสง บันทึกลงแผ่นซีดีวันที่ 29 มีนาคม มีการแถลงข่าวภาพรวมภารกิจงานของกรมศิลปากร ในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ อย่างเป็นทางการ และจะมีการมอบซีดีให้สื่อมวลชนและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อทำหน้าที่เผยแพร่สู่สาธารณชนทางสื่อต่างๆ คือ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เสียงตามสายในแหล่งชุมชน ตลอดจนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการฯ และเนื้อเพลงฯ ทางสื่อสิ่งพิมพ์ ก่อนช่วงพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ ขณะเดียวกันทางกระทรวงวัฒนธรรมได้นำบทเพลง ลงเว็บไซต์ของกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อให้ประชาชนสามารถดาวน์โหลดได้ เนื่องจากซีดีที่จัดทำไว้มีจำนวนจำกัด ทั้งนี้ เพื่อเป็นสื่อกลางให้พสกนิกรชาวไทย ได้ร่วมกับรัฐบาล ในการถวายพระเกียรติ และสำนึกในพระกรุณาธิคุณ ตลอดจนถวายความอาลัยแด่ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#69", "text": "เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ฉลองพระชนมายุ 80 พรรษา เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 มีลักษณะดังนี้[70] ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระรูปสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงฉลองพระองค์ชุดไทย ทรงสายสะพายและสายสร้อยเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ พระอังสาเบื้องซ้ายประดับเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1, เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1, และเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า \"สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี\" ด้านหลัง กลางเหรียญมีอักษรพระนามย่อ \"พ.ร.\" ภายใต้มงกุฎขัตติยราชนารี และมีพระวชิระ ดอกบัว และดารารัศมีประดับอยู่โดยรอบ ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า \"พระชนมายุ ๘๐ พรรษา ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘\" เบื้องล่างมีข้อความบอกราคาและ \"ประเทศไทย\" ตามลำดับ เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ฉลองพระชนมายุ 84 พรรษา เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 มีลักษณะดังนี้[71] ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระรูปสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงฉลองพระองค์ชุดไทย ทรงสายสะพายและสายสร้อยเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ พระอังสาเบื้องซ้ายประดับเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1, เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1, และเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า \"สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี\" ด้านหลัง กลางเหรียญมีอักษรพระนามย่อ \"พ.ร.\" ภายใต้มงกุฎขัตติยราชนารี ล้อมด้วยลายไทยประดิษฐ์ ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า \"พระชนมายุ ๘๔ พรรษา ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒\" เบื้องล่างมีข้อความว่า \"ประเทศไทย\" โดยมีจุดกลมคั่นระหว่างข้อความเบื้องบนกับเบื้องล่าง เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555 มีลักษณะดังนี้ ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระรูปสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงฉลองพระองค์ชุดไทย ทรงสายสะพายและสายสร้อยเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ พระอังสาเบื้องซ้ายประดับเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1, เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1, และเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 ภายในวงขอบเหรียญเบื้องล่างมีข้อความว่า \"สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี\" ด้านหลัง กลางเหรียญเป็นรูปพระเมรุมาจัดวาง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศของพระองค์ หลังรูปพระเมรุมีรูปแสงพระอาทิตย์แผ่รัศมีผ่าน ปุยเมฆ สื่อความหมายว่าแสงสุดท้ายและเป็นการน้อมส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#9", "text": "พระนามของสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 นั้นได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2468[9] และมีคำนำพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ (ภาติกา หมายถึง หลานสาวที่เป็นลูกสาวของพี่ชาย) โดยก่อนหน้านี้มีการสมโภชได้มีการคิดพระนามไว้ 3 พระนาม ได้แก่ 1. สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชอรสา สิริโสภาพัณณวดี 2. สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนจุฬิน สิริโสภิณพัณณวดี 3. สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี[10] ท้ายที่สุด พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงเลือกพระนามสุดท้ายพระราชทาน[8] โดยพระนาม แปลว่า เจ้าฟ้าพระราชธิดาผู้มีพระชาติกำเนิดเป็นศรีดั่งดวงแก้ว เป็นพัชรแห่งมหาวชิราวุธ มีพระฉวีพรรณสิริโฉมงามพร้อม[11]", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#70", "text": "บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัดออกตราไปรษณียากรที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ดังต่อไปนี้", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#83", "text": "อาริยา สินธุ, สกุลไทย ชัชพล ไชยพร, พระผู้ทรงเป็น “เพชรรัตน” แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระราชสุดาได้ จากฟ้ามาแทน โดย ชัชพล ไชยพร พระประวัติ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ข่าวการสิ้นพระชนม์, INN News.", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "384639#28", "text": "ในการประโคมงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี กรมศิลปากรได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมในการประโคมย่ำยามด้วย ดังนั้น จึงมี 2 หน่วยงานเข้าร่วมประโคม คือ", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#80", "text": "ทุนจุฬาเพชรรัตน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุนเพชรรัตน มหาวิทยาลัยศิลปากร ทุนเพชรรัตน สำนักงานบรรเทาทุกข์ สภากาชาดไทย ทุนเพชรรัตนการุญ ศิริราชมูลนิธิ ทุนเพชรรัตนการุณ กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 15 ทุนเพชรรัตนอุปถัมภ์ โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ทุนสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทุนสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ สำนักงานอาสากาชาด สภากาชาดไทย ทุนสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ นิธิวัดราชบพิธ ทุนสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ กองทุนสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม ทุนสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี โรงเรียนราชินี ทุนสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี โสสะมูลนิธิแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#68", "text": "กรมธนารักษ์ออกเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ดังต่อไปนี้", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "384639#47", "text": "หมายกำหนดการ พระราชพิธีพระราชทานเพลงิ พระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พุทธศักราช ๒๕๕๕", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "574091#2", "text": "ทั้งนี้คณะกรรมการอำนวยการจัดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ปฏิบัติงานไปพลางก่อน เนื่องจากจะมีการเปลี่ยนรัฐบาลชุดใหม่", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#3", "text": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 16.37 นาฬิกา ณ ตึก 84 ปี โรงพยาบาลศิริราช สิริพระชนมายุ 85 พรรษา 8 เดือน 3 วัน[1][2]", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#51", "text": "สมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (30 ธันวาคม พ.ศ. 2468 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478) สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "384639#49", "text": "หมวดหมู่:สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี หมวดหมู่:การสิ้นพระชนม์ในพระบรมวงศานุวงศ์ไทย", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "574091#3", "text": "ต่อมาเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี มีผลให้คำสั้งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 130/2554 เมื่อวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 สิ้นสุดลง เพื่อให้การดำเนินการจัดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีเป็นไปโดยเรียบร้อยสมพระเกียรติ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(6) แห่งพระราชบัญญัติบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2539 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ประกอบด้วย พระบรมวงศานุวงศ์(หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล) ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ประธานรัฐสภา ประธานศาลฎีกา ประธานวุฒิสภา และองคมนตรี(นายพลากร สุวรรณรัฐ) เป็นคณะที่ปรึกษา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นกรรมการและเลขานุการ มีหัวหน้าหน่วยงานและผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "574091#52", "text": "สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดทำเข็มที่ระลึก สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เนื่องในโอกาสพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เพื่อให้ประชาชนร่วมกับรัฐบาลน้อมเกล้าฯ แสดงความจงรักภักดี และนำรายได้ทูลเกล้าฯ ถวายสมทบมูลนิธิเพชรรัตน - สุวัทนา ซึ่งมี อักษรพระนาม พ.ร. ภายใต้พระชฎามหากฐินรัชกาลที่ 6 และอุณาโลมเลียนลักษณะเลข 6 ทำด้วยโลหะชุบทอง หมายถึง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระอิสริยยศสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชธิดาในรัชกาลที่ 6 มีพระขัตติยชาติอันประเสริฐดั่งทองนพคุณ", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "384639#45", "text": "วันที่ 4 เมษายน 2555 มีการพระราชทานเพลิงพระบุพโพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ซึ่งเป็นพระราชพิธีโบราณที่จัดขึ้นสืบต่อกันมาในการพระราชทานเพลิงพระศพเจ้านาย ในช่วงเช้าของวันเดียวกันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลเรือเอกหม่อมเจ้าปุสาน สวัสดิวัตน์ เสด็จแทนพระองค์ ไปในการพระราชทานเพลิงพระบุพโพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "384639#13", "text": "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล พระราชทานพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ดังนี้", "title": "การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#65", "text": "จัดงานพระราชพิธีฉลองพระชนมายุ 84 พรรษา สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี จัดพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์จำนวน 285 รูป ถวายเป็นพระกุศล โดยในกรุงเทพมหานครจัด ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร สำหรับจังหวัดอื่นๆ นั้น ขอเชิญชวนประชาชนร่วมทำบุญตักบาตรตามความเหมาะสมต่อไป กิจกรรมการบริจาคโลหิตถวายเป็นพระกุศล จัดทำสารคดีพระประวัติ พระกรณียกิจ และพระเกียรติคุณ เผยแพร่ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย จัดทำหนังสือเรื่อง \"ดวงแก้วแห่งพระมงกุฎเกล้า\" ฉบับพ็อคเก็ตบุ๊ค จัดทำหนังสือจดหมายเหตุการจัดงานฉลองพระชนมายุ 84 พรรษา สมเด็จพระเจ้า ภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี กรมธนารักษ์จัดทำเหรียญที่ระลึก บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จัดทำดวงตราไปรษณียากรที่ระลึก พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ออกแบบภาพวัว เพื่อจัดทำเสื้อจำหน่ายให้แก่มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ จัดทำนาฬิกาที่ระลึกจำหน่าย", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "393672#3", "text": "ท่านผู้หญิงศรีนาถ สุริยะ เป็นทั้งคุณข้าหลวงในพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และพระอาจารย์ในพระองค์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ซึ่งทรงไว้วางพระทัยมาก ท่านผู้หญิงเคยตามเสด็จ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ประพาสสหรัฐอเมริกา", "title": "ศรีนาถ สุริยะ" }, { "docid": "574091#42", "text": "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปทรงบรรจุพระสรีรางคาร สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ณ เสาวภาประดิษฐาน สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม", "title": "พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#64", "text": "โดยใช้ชื่อการจัดงานเป็นภาษาไทยว่า \"งานฉลองพระชนมายุ 84 พรรษา สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี\" สำหรับชื่องานภาษาอังกฤษ คือ \"The Celebrations of the 84th Birthday Anniversary of Her Royal Highness Princess Bejaratana\" นอกจากนี้ยังมีการจัดพระราชพิธี รัฐพิธี และกิจกรรม ดังนี้", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "18064#56", "text": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเรียงลำดับตามปีที่ได้รับพระราชทาน ดังนี้", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" } ]
4126
สามก๊ก มีจริงใช่หรือไม่?
[ { "docid": "9800#6", "text": "สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ ที่เรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ของจีน ซึ่งเนื้อหาโดยรวมเป็นการเล่าแบบบรรยายเกี่ยวกับเหตุการณ์ในปลายสมัยราชวงศ์ฮั่นน", "title": "สามก๊ก" } ]
[ { "docid": "901355#0", "text": "โกเสียง มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่าเกาเสียง () เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นขุนพลของจ๊กก๊กในยุคสามก๊ก", "title": "โกเสียง" }, { "docid": "140628#0", "text": "ฮัวโต๋ (; ) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นชาวตำบลเจากุ๋น เมืองไพก๊ก มณฑลเจียงซู มีชื่อรองว่าเหยียนหัวะ มีอาชีพเป็นหมอ ฮัวโต๋เป็นผู้ที่มีฝีมือในด้านการรักษาโรคอันยอดเยี่ยม วิธีการรักษาคนไข้ด้วยการให้กินยาและผ่าตัด", "title": "ฮัวโต๋" }, { "docid": "743196#1", "text": "สามก๊กมีขนาดสองเล่มจบ ความหนาหนึ่งพันแปดสิบหกหน้า เนื้อเรื่องมีแปดสิบสามตอน สำหรับหนอนหนังสือแล้วไม่ใช่เรื่องยากเย็นอย่างไร เพราะหากเทียบกับวรรณกรรมอย่าง ผู้ยากไร้ ของวิคเตอร์ ฮูโก หรือสงครามและสันติภาพ ของลีโอ ตอลสตอย หรือแม้แต่มังกรหยก ของกิมย้ง แล้วสามก๊กถือได้ว่าไม่ยากและไม่ง่ายสำหรับการอ่าน", "title": "สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)" }, { "docid": "177180#0", "text": "กุยห้วย (; ) หรือ กวยหวย (ชื่อในสามก๊กฉบับพระยาคลัง) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ขุนพลแห่งวุยก๊ก เป็นชาวเมืองไท่หยวน รับราชการเมื่อมีอายุประมาณ 30 กว่าปี ", "title": "กุยห้วย" }, { "docid": "169150#1", "text": "ส่วนประวัติในจดหมายเหตุสามก๊กของตันซิ่วนั่น เล่าเจี้ยงเป็นเจ้าเมืองที่ดีแต่ไม่มีความทะเยอทะยานที่จะขยายอาณาจักรตนเอง ทำให้ที่ปรึกษาอย่าง หวดเจ้ง,เบ้งตัด และเตียวสง ไม่พอใจและถือโอกาสที่เกิดความขัดแย้งระหว่างก๊กเล่าเจี้ยงและก๊กเตียวฬ่อ ไปขอความช่วยเหลือจากก๊กเล่าปี่ให้มาช่วยเหลือก๊กเล่าเจี้ยงสู้กับก๊กเตียวฬ่อ แต่ความจริงคือต้องการให้เล่าปี่ยึดอำนาจจากเล่าเจี้ยงเพราะเห็นว่าเล่าปี่มีความทะเยอทะยานมากกว่า และเหตุการณ์ถัดไปก็ตรงตามกับในวรรณกรรมสามก๊กถึงช่วงที่เสฉวนถูกเล่าปี่ยึดครอง และเล่าเจี้ยงย้ายมาอยู่กังตั๋งจนกระทั่งเสียชีวิต", "title": "เล่าเจี้ยง" }, { "docid": "172802#0", "text": "เล่าฮอง (; ) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลของจ๊กก๊ก เป็นบุตรบุญธรรมของเล่าปี่ ", "title": "เล่าฮอง" }, { "docid": "23849#0", "text": "พระเจ้าซุนกวน (; 181 — 252) หรือ พระเจ้าหวูต้าตี้ เป็นตัวละครในวรรณกรรม จีน อิง ประวัติศาสตร์ เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ผู้ก่อตั้งและพระมหากษัตริย์ของง่อก๊ก (吳) หนึ่งในสามอาณาจักรของยุคสามก๊ก", "title": "ซุนกวน" }, { "docid": "743196#2", "text": "เมื่อในรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชดำรัสสั่งให้แปลหนังสือพงศาวดารจีนเป็นภาษาไทยสองเรื่อง คือ เรื่องไซ่ฮั่น เรื่องหนึ่ง กับเรื่องสามก๊ก เรื่องหนึ่ง โปรดให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมพระราชวังหลัง ทรงอำนวยการแปลเรื่องไซ่ฮั่น แลให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) อำนวยการแปลเรื่องสามก๊ก คำที่เล่ากันมาดังกล่าวนี้ไม่มีในจดหมายเหตุ แต่เมื่อพิเคราะห์ดูเห็นมีหลักฐานควรเชื่อได้ว่า เป็นความจริง ด้วยเมื่อในรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเอาเป็นพระราชธุระขวนขวายสร้างหนังสือต่าง ๆ ขึ้นเพื่อประโยชน์สำหรับพระนคร หนังสือซึ่งเป็นต้นฉบับตำรับตำราในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ทั้งที่รวบรวมของเก่า ที่แต่งใหม่ แลที่แปลมาจากภาษาต่างประเทศเกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๑ มีมาก แต่ว่าในสมัยนั้นเป็นหนังสือเขียนในสมุดไทยทั้งนั้น ฉบับหลวงมักมีบานแพนกแสดงว่าโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปีใด แต่หนังสือเรื่องไซ่ฮั่นกับเรื่องสามก๊กสองเรื่องนี้ต้นฉบับที่ยังปรากฏอยู่มีแต่ฉบับเชลยศักดิ์ขาดบานแพนกข้างต้น จึงไม่มีลายลักษณ์อักษรเป็นสำคัญว่าแปลเมื่อใด ถึงกระนั้นก็ดี มีเค้าเงื่อนอันส่อให้เห็นชัดว่า หนังสือเรื่องไซ่ฮั่นกับเรื่องสามก๊กแปลเมื่อในรัชกาลที่ ๑ ทั้งสองเรื่อง เป็นต้นว่า สังเกตเห็นได้ในเรื่องพระอภัยมณีที่สุนทรภู่แต่งซึ่งสมมุติให้พระอภัยมณีมีวิชาชำนาญในการเป่าปี่ ก็คือ เอามาแต่เตียวเหลียงในเรื่องไซ่ฮั่น ข้อนี้ยิ่งพิจารณาดูคำเพลงปี่ของเตียวเหลียงเทียบกับคำเพลงปี่ของพระอภัยมณีก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่า ถ่ายมาจากกันเป็นแท้ ด้วยเมื่อรัชกาลที่ ๑ สุนทเรื่องสามก๊กนั้นเป็นนิทานที่ใช้เล่าและเล่นเป็นงิ้วในเมืองจีนมาแต่ก่อน ปราชญ์จีนชื่อ ล่อกวนตง ในยุคราชวงศ์หมิง (พ.ศ. 1911 - 2186) จึงได้เขียนเรียบเรียงเป็นหนังสือ ต่อมาเม่าจงกัง และ กิมเสี่ยถ่าง ได้แต่งเพิ่มและนำไปตีพิมพ์ ตั้งแต่นั้นจึงได้แพร่หลายขึ้น และแปลเป็นภาษาต่าง ๆ หลายภาษา ของไทยนั้นแปลในปี พ.ศ. 2345 โดยซินแสผู้รู้ภาษาจีนได้แปลออกมาให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เรียบเรียงเป็นภาษาไทยอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นเมื่อเทียบเคียงกับภาษาจีนหรือแม้แต่ภาษาอังกฤษ เนื้อความหลายตอนจึงคลาดเคลื่อนกันบ้าง ซึ่งหาเทียบได้จากฉบับที่ สังข์ พัฒโนทัย แปลออกมาในตำราพิชัยสงครามสามก๊ก หรือในสามก๊กฉบับวณิพก ของยาขอบ ซึ่งเทียบจากฉบับภาษาอังกฤษของบริวิต เทเลอร์ แต่เนื้อความภาษาจีนเป็นอย่างไรหรือเรื่องจริงเป็นอย่างไรมิใช่ประเด็นสำคัญ เพราะสามก๊กฉบับภาษาไทยนั้น ได้ชื่อว่าเป็นเพชรเม็ดงามทางร้อยแก้วในวงวรรณกรรมไทย นอกจากสำนวนภาษาแล้ว เนื้อเรื่องยังได้แสดงตัวละครในลักษณะที่มีความซับซ้อนหลากหลาย ความเปลี่ยนแปรในจิตใจของมนุษย์ ตลอดจนเบื้องหลังอุปนิสัยตัวละครที่สัมพันธ์อย่างยิ่งกับการเดินเรื่อง สามก๊กจึงเป็นยอดในแบบของนิยายที่แสดงให้เห็นชีวิตโดยเหตุนี้", "title": "สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)" }, { "docid": "148959#0", "text": "งันเหลียง (; เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ", "title": "งันเหลียง" }, { "docid": "32666#0", "text": "พระเจ้าซุนเกี๋ยน (; ) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก แม่ทัพและขุนศึกในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และยุคสามก๊กช่วงต้น", "title": "ซุนเกี๋ยน" }, { "docid": "667262#0", "text": "สิมโพย (; ) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของอ้วนเสี้ยว", "title": "สิมโพย" }, { "docid": "115107#16", "text": "สิบขันทีปรากฏเป็นกลุ่มตัวละครในช่วงต้นของวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง\"สามก๊ก\" ซึ่งมีเค้าโครงจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์จีนปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกไปสู่การสิ้นสุดของราชวงศ์และนำไปสู่ยุคสามก๊ก ขันที่ในกลุ่มสิบขันทีที่ปรากฏชื่อในวรรรกรรม\"สามก๊ก\" ได้แก่ ขันทีห้าคนในจำนวนสิบคนนี้ ตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ไม่ได้อยู่ในกลุ่มสิบขันที เชียกงเป็นตัวละครสมมติ ฮองสีและเกียนสิดมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ แต่ไม่ปรากฏชื่อในกลุ่มสิบขันทีตามที่ระบุไว้ใน\"โฮ่วฮั่นชู\" (จดหมายเหตุราชวงศ์ฮั่นยุคหลัง) เหาลำและเทาเจียดเสียชีวิตในปี ค.ศ. 172 และ ค.ศ. 181 ตามลำดับ จึงไม่ปรากฏในเหตุการณ์ตามที่ระบุในวรรณกรรม\"สามก๊ก\"", "title": "สิบขันที" }, { "docid": "175430#0", "text": "งักจิ้น (; ) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นชาวเมืองหยางผิง เขตเว่ยกว๋อ ซึ่งปัจจุบันคือเมืองชิงเฟิง มณฑลเหอนาน มีชื่อรองเหวินเชียน ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก งักจิ้นเป็นคนรูปร่างเตี้ยและตัวเล็ก แต่จิตใจห้าวหาญ เก่งกาจในเชิงยุทธ์ เป็นขุนพลคนสำคัญของโจโฉ", "title": "งักจิ้น" }, { "docid": "170843#0", "text": "เลียวฮัว (; ) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลแห่งจ๊กก๊ก ชื่อรองเหยียนเจี้ยน ()โดยก่อนหน้านั้นเป็นอดีตแม่ทัพของกบฏโจรโพกผ้าเหลือง เป็นตัวละครในเรื่องสามก๊กที่เจนศึกตั้งแต่โจรโพกผ้าเหลืองยันจ๊กก๊กล่มสลายคนนึง", "title": "เลียวฮัว" }, { "docid": "169165#0", "text": "เทียหยก (; ) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ที่ปรึกษาคนสำคัญของโจโฉ ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่โจโฉหลายครั้ง เป็นผู้ใช้อุบายดึงตัวชีซีจากเล่าปี่ และเป็นคนแรกที่สังเกตเห็นว่าเรือเสบียงของอุยกายที่มาสวามิภักดิ์มีพิรุธ ซึ่งความจริงเป็นเรือเชื้อเพลิงของอุยกายที่ใช้เอาทัพเรือโจโฉตามอุบายของจิวยี่", "title": "เทียหยก" }, { "docid": "882845#1", "text": "วรรณกรรมเรื่องสามก๊กมีเนื้อหาที่อิงมาจากประวัติศาสตร์ปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกต่อยุคสามก๊ก ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จึงทำให้ผู้อ่านหลายคนเข้าใจผิดว่าเนื้อเรื่องที่ปรากฏในวรรณกรรมเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในยุคสามก๊ก แหล่งข้อมูลของประวัติศาสตร์ยุคสามก๊กที่เชื่อถือได้มากที่สุดคือ\"จดหมายเหตุสามก๊ก\" (\"ซันกั๋วจื้อ\"หรือ\"สามก๊กจี่\") ที่เขียนโดยตันซิ่ว และเพิ่มอรรถาธิบายโดยเผยซงจือ แหล่งข้อมูลอื่นๆที่ครอบคลุมประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊กได้แก่ \"โฮ่วฮั่นซู\" (จดหมายเหตุราชวงศ์ฮั่นยุคหลัง) ของฟ่านเย่ และ \"จิ้นซู\" (จดหมายเหตุราชวงศ์จิ้น) ของฝางเสฺวียนหลิ่ง ด้วยความที่วรรณกรรมเรื่องสามก๊กเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ เนื้อเรื่องหลายส่วนจึงเป็นเนื้อเรื่องที่แต่งเสริมขึ้น หรือนำมาจากนิทานพื้นบ้าน หรืออิงมาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคอื่นๆของประวัติศาสตร์จีน", "title": "ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในสามก๊ก" }, { "docid": "174670#0", "text": "เขาฮิว (; ) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก", "title": "เขาฮิว" }, { "docid": "206407#0", "text": "เตียวซี (; ) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ภรรยาของพระเจ้าเล่าเสี้ยน", "title": "เตียวซี" }, { "docid": "154267#0", "text": "ง่อก๊กไถ้ (; ) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ง่อก๊กไถ้ไม่ใช่ชื่อบุคคล แต่เป็นชื่อเรียกขาน มีความหมายว่า \"ผู้เป็นใหญ่แห่งง่อก๊ก\" เดิมมีชื่ออย่างไรไม่ปรากฏ เป็นพระมเหสีองค์ที่สองของซุนเกี๋ยน ทรงเป็นน้องสาวของงอฮูหยิน ภรรยาหลวงของซุนเกี๋ยน ผู้เป็นแม่แท้ ๆ ของซุนเซ็กและซุนกวน เมื่อพี่สาวเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ นางได้ฝากซุนกวน บุตรชายคนที่สองที่เพิ่งขึ้นครองแคว้นให้งอก๊กไถ้ดูแลด้วย ซึ่งงอก๊กไถ้ก็ทำหน้าที่นี้ได้อย่างดี จนซุนกวนนับถือนางเหมือนแม่แท้ ๆ ของตัว", "title": "งอก๊กไถ้" }, { "docid": "153906#3", "text": "จากคำกล่าวเสมือนรู้อนาคตของซุยเป๋งนี้ ทำให้มีนักอ่านสามก๊กชาวไทยหลายคน วิเคราะห์กันว่า แท้จริงแล้ว บุคคลที่ฉลาดที่สุดในนิยายเรื่องนี้ คือ ซุยเป๋ง ไม่ใช่ขงเบ้ง เพราะเป็นผู้อ่านสถานการณ์ได้อย่างแตกฉาน ซึ่งต่อมาทุกอย่างก็เป็นจริงดังที่ซุยเป๋งกล่าวทุกประการ คือ ขงเบ้งแม้จะใช้สติปัญญาของตนช่วยเหลือเล่าปี่และเล่าเสี้ยนอย่างเต็มที่ แต่หลังจากตัวตายไปแล้ว ราชวงศ์ฮั่นก็ถึงกาลล่มสลายอยู่ดี เพราะความอ่อนแอ ไม่เอาไหนของเล่าเสี้ยน ตัวขงเบ้งเองก็ต้องรากเลือดตายในสนามรบด้วยวัยเพียง 52 ปี และมีผู้ตายในสงครามโดยแผนของขงเบ้งมากถึง 2 ล้านคน แต่ก็ยืดอายุราชวงศ์ฮั่นออกไปได้แค่ 40 ปี เท่านั้น", "title": "ซุยเป๋ง" }, { "docid": "49003#0", "text": "อ้วนเสี้ยว (; ) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก มีบทบาทในช่วงต้นเรื่อง ด้วยเป็นผู้นำก๊กที่มีกองกำลังใหญ่ที่สุด เข้มแข็งที่สุด แต่ท้ายสุดก็ต้องมาล่มสลายเพราะความไม่เอาไหนของตน อ้วนเสี้ยวเคยเป็นทหารติดตาม ที่มีความศรัทธาในตัวของแม่ทัพโฮจิ๋น ผู้เคยมีอาชีพขายเนื้อในเมือง ", "title": "อ้วนเสี้ยว" }, { "docid": "158643#0", "text": "เกียงอุย หรือในสำเนียงจีนกลาง เจียงเหวย (; ) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ", "title": "เกียงอุย" }, { "docid": "882845#40", "text": "อย่างไรก็ได้ ในบทชีวประวัติจิวยี่ได้บันทึกว่าจิวยี่เคยแนะนำซุนกวนให้กักตัวเล่าปี่ไว้ในกังตั๋ง หลังจากเล่าปี่ได้เป็นผู้ว่าราชการแคว้นเกงจิ๋ว เล่าปี่ได้เดินทางมาพบซุนกวนที่เมืองจิง (京) จิวยี่ได้บอกกับซุนกวนว่า \"เล่าปี่มีลักษณะของจอมคนผู้โหดเหี้ยมและทะเยอทะยาน หนำซ้ำยังมีขุนพลที่แข็งแกร่งดั่งหมีและพยัคฆ์อย่างกวนอูและเตียวหุย เล่าปี่จึงไม่ใช่คนที่จะยอมอยู่ใต้ผู้อื่นเป็นแน่ ข้าพเจ้าเห็นว่าควรพาเล่าปี่กลับไปแดนง่อสร้างปราสาทให้อยู่ พร้อมปรนเปรอด้วยสตรีและทรัพย์สินของมีค่า จากนั้นเราจะแยกขุนพลสองคน(กวนอูและเตียวหุย)ออกจากกัน หากใช้เล่าปี่เป็นตัวประกัน และโจมตีทหารเล่าปี่ไปพร้อมๆกัน เป้าหมายของเรา(ยึดแคว้นเกงจิ๋ว)ก็จะสำเร็จ แม้นยังคงปล่อยให้พวกเล่าปี่มีดินแดนและปล่อยให้สามคนอยู่ด้วยกันแล้ว เกรงว่าเมื่อใดที่มังกรทะยานสู่เมฆและฝน จะไม่กลับคืนสู่บ่อน้ำอีก\" ฝ่ายซุนกวนเห็นว่าโจโฉยังเป็นภัยคุกคามทางเหนือ จึงเห็นว่าควรมีพันธมิตรไว้จะเป็นการดีกว่าทำลายความเป็นพันธมิตร จึงปฏิเสธคำแนะนำของจิวยี่ แสดงให้เห็นว่าจิวยี่ต้องการกักตัวเล่าปี่ไว้ในกังตั๋งเพื่อใช้เป็นตัวประกันในการควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาของเล่าปี่ (กวนอู เตียวหุย และคนอื่นๆ) แต่ไม่มีการกล่าวถึงการใช้นางซุนฮูหยินเป็นเหยื่อล่อเล่าปี่มาติดกับ สตรีที่ถูกกล่าวถึงในอุบายจะถูกใช้เพื่อปรนเปรอเล่าปี่ระหว่างถูกกักตัวให้หลงระเริงจนลิมผู้ใต้บังคับบัญชา ที่สำคัญคืออุบายไม่ได้ถูกใช้งานจริงเพราะซุนกวนไม่เห็นด้วย เรื่องราวนี้ในวรรณกรรม \"สามก๊ก\"จึงเป็นเรื่องที่แต่งเสริมขึ้นมา", "title": "ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในสามก๊ก" }, { "docid": "9800#29", "text": "Template:CJKV) เป็นสามก๊กฉบับนิยายที่ประพันธ์โดยหลัว กวั้นจง นักปราชญ์ในสมัยราชวงศ์หมิง ผู้เป็นศิษย์เอกของซือไน่อัน หลัว กวั้นจงเป็นผู้นำเอาจดหมายเหตุสามก๊กของตันซิ่วมาเรียบเรียงใหม่ โดยแต่งเสริมเพิ่มเติมในบางส่วนจากความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ในแบบฉบับของตนเอง รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของจีนให้กลายเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่เป็นการต่อสู้กันเองระหว่างฝ่ายคุณธรรมและฝ่ายอธรรมตามแบบฉบับของงิ้ว ที่จะต้องมีการกำหนดตัวเอกและตัวร้ายอย่างชัดเจนในเนื้อเรื่อง", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "171446#0", "text": "เตียวก๊ก (เสียชีวิต ค.ศ. 184) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า จางเจวี๋ย หรือ จางเจี่ยว () เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นผู้ก่อตั้งและผู้นำกลุ่มกบฏโพกผ้าเหลือง ในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของประเทศจีน ", "title": "เตียวก๊ก" }, { "docid": "898525#0", "text": "กุยฮิวจี๋ มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า กัวโยวจือ () มีชื่อรองว่าเหยี่ยนฉาง () เป็นตัวละครในวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นขุนนางของจ๊กก๊กในยุคสามก๊ก เป็นชาวเมืองลำหยง (南陽 \"หนานหยาง\" ปัจจุบันคือเมืองหนานหยาง มณฑลเหอหนาน)", "title": "กุยฮิวจี๋" }, { "docid": "23868#0", "text": "เซ็กเธาว์ (; ; \"กระต่ายแดง\") เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก สุดยอดของม้าในยุคสามก๊ก มีเอกลักษณ์คือขนสีแดงทั้งตัว ในสามก๊กได้กล่าวถึง เซ็กเธาว์ ว่าสามารถวิ่งได้วันละพันลี้ เดิมทีเป็นม้าของตั๋งโต๊ะ ซึ่งต่อมาได้มอบให้กับ ลิโป้พร้อมกับเครื่องบรรณาการมากมาย เพื่อให้ลิโป้ทรยศพ่อบุญธรรม คือเต๊งหงวน ชื่อเซ็กเธาว์นั้นแท้ที่จริงแล้วไม่ใช่ชื่อม้า แต่เป็นชื่อสายพันธุ์ม้า เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดแถบตะวันออกกลางหรือเติร์กเมนิสถาน", "title": "เซ็กเธาว์" }, { "docid": "9800#34", "text": "เหมาจ้งกังได้ปรับแก้ไขสำนวนการใช้ภาษาของหลัว กวั้นจงในบางจุด ซึ่งเป็นภาษาพูดและเป็นการใช้สำนวนภาษาแบบยุคราชวงศ์หยวนหรือหงวน ให้กลายเป็นการใช้สำนวนภาษาในแบบภาษาเขียนของราชวงศ์ชิงหรือแมนจู นอกจากนี้ยังได้ทำการปรับเปลี่ยนลักษณะและบุคลิกของตัวละครในสามก๊กใหม่ทั้งหมดตามแนวความคิดของตนเอง รวมทั้งยังปรับเปลี่ยนชื่อและตำแหน่งขุนนาง สถานที่ของสามก๊กต้นฉบับของหลัว กวั้นจงผิดไปตามชื่อจริงในยุคนั้น ๆ ซึ่งสามก๊กของหลัว กวั้นจงนั้นได้เขียนชื่อตัวละคร ตำแหน่งและสถานที่ค่อนข้างชัดเจนและถูกต้องตามความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ แต่การปรับปรุงแก้ไขของเหมาหลุนและเหมาจ้งกังช่วยทำให้การดำเนินเรื่องไม่เยิ่นเย้อ เดินเรื่องกระชับ และเป็นการขัดเกลาภาษาทำให้อ่านสนุกน่าติดตาม", "title": "สามก๊ก" }, { "docid": "873904#0", "text": "ก้วนซุน หรือ กวนกี มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่าหมิ่นฉุน () มีชื่อรองว่าโป๋เตี่ยน () เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นขุนนางในเมืองกิจิ๋ว รับราชการกับฮันฮก เจ้าเมืองกิจิ๋ว\nชื่อของก้วนซุนในสำเนียงจีนกลางตามประวัติศาสตร์คือหมิ่นฉุน ส่วนในวรรณกรรมสามก๊กของล่อกวนตง ชื่อของก้วนซุนในสำเนียงจีนกลางเรียกเป็น กวนฉุน ( ; ) ในสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) จึงเรียกเป็นก้วนซุน นอกจากนี้ในสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ยังมีการเรียกชื่อก้วนซุนเป็นกวนกีอีกชื่อหนึ่ง", "title": "ก้วนซุน" } ]
3792
มังงะ คืออะไร ?
[ { "docid": "5254#0", "text": "มังงะ () เป็นคำภาษาญี่ปุ่นสำหรับเรียกการ์ตูนช่อง สำหรับภายนอกประเทศญี่ปุ่น คำนี้ถูกใช้เรียกการ์ตูนช่องที่มาจากญี่ปุ่น มังงะพัฒนามาจากอุคิโยเอะและจิตรกรรมตะวันตก และเริ่มคงรูปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง", "title": "มังงะ" } ]
[ { "docid": "235683#2", "text": "เล่ม 1", "title": "รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (มังงะ)" }, { "docid": "235683#24", "text": "เล่ม 24", "title": "รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (มังงะ)" }, { "docid": "235683#20", "text": "เล่ม 20", "title": "รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (มังงะ)" }, { "docid": "5254#2", "text": "คำว่า มังงะ แปลตรงตัวว่า \"ภาพตามอารมณ์\" ถูกใช้อย่างกว้างขวางเป็นครั้งแรกหลังจากจิตรกรอุคิโยเอะชื่อโฮคุไซตีพิมพ์หนังสือชื่อโฮคุไซมังงะในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อย่างไรก็ดีนักประวัติศาสตร์บางกลุ่มเห็นว่ามังงะอาจมีประวัติยาวนานกว่านั้น โดยมีหลักฐานคือภาพจิกะ (แปลตรงตัวว่า \"ภาพตลก\") ซึ่งเป็นที่นิยมในศตวรรษที่ 12 มีลักษณะหลายประการคล้ายคลึงกับมังงะในปัจจุบัน อาทิ การเน้นเนื้อเรื่อง และการใช้เส้นที่เรียบง่ายแต่สละสลวย เป็นต้น", "title": "มังงะ" }, { "docid": "235683#27", "text": "เล่ม 27", "title": "รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (มังงะ)" }, { "docid": "235683#28", "text": "เล่ม 28", "title": "รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (มังงะ)" }, { "docid": "285019#12", "text": "ในปี ค.ศ. 1811 เมื่อมีอายุได้ 51 ปีโฮะกุไซก็เปลี่ยนชื่อเป็น “ตะอิโตะ” (Taito) ซึ่งเป็นช่วงที่เขียนงานแบบที่เรียกว่า “\"โฮะกุไซ มังงะ\"” (Hokusai Manga) และ “etehon” หรือตำราศิลปะต่างๆ โฮะกุไซเริ่มงานเขียนตำราในปี ค.ศ. 1812 ด้วย “\"บทเรียนเขียนภาพเบื้องต้น\"” ซึ่งเป็นงานเขียนเพื่อหาเงินและหาลูกศิษย์เพิ่มเติม หนังสือ “\"มังงะ\"” เล่มแรกตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1814 ต่อมาก็มีอีก 12 เล่มที่ตีพิมพ์ก่อนปี ค.ศ. 1820 และอีกสามเล่มที่พิมพ์หลังจากที่เสียชีวิตไปแล้ว ที่รวบรวมภาพเขียนเป็นจำนวนพันของสัตว์, บุคคลในศาสนา และบุคคลทั่วไป ที่มักจะแซกอารมณ์ขัน และเป็นงานที่นิยมกันแพร่หลายในยุคนั้น", "title": "คะสึชิกะ โฮะกุไซ" }, { "docid": "329799#1", "text": "มังงะ", "title": "เรียกเขาว่าอีกา" }, { "docid": "235683#26", "text": "เล่ม 26", "title": "รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (มังงะ)" }, { "docid": "235683#10", "text": "เล่ม 9", "title": "รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (มังงะ)" }, { "docid": "235683#11", "text": "เล่ม 10", "title": "รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (มังงะ)" }, { "docid": "399766#0", "text": "ตัวแสบสุดป่วน () เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น แต่งโดย นิชิโมริ ฮิโระยูกิ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ มาซายะ ฟุบานาชิ เด็กหนุ่มสุดเฮี้ยวผู้ถูกขนานนามอย่างน่าสะพรึงกลัวว่า “เดวิล” ลงตีพิมพ์ในนิตยสารโชเนนซันเดย์ ของสำนักพิมพ์ โชงะกุกัง ตั้งแต่ฉบับที่ 18 ของ พ.ศ. 2550 จนถึง ฉบับที่ 35 ของ พ.ศ. 2552 และทำเป็น มังงะ จำนวน 11 เล่ม\nการ์ตูนเรื่องนี้การ์ตูนญี่ปุ่น แต่งโดย นิชิโมริ ฮิโระยูกิ ลงตีพิมพ์ในนิตยสารโชเนนซันเดย์ ของสำนักพิมพ์ โชงะกุกัง ตั้งแต่ฉบับที่ 18 ของ พ.ศ. 2550 จนถึง ฉบับที่ 35 ของ พ.ศ. 2552 และทำเป็น มังงะ จำนวน 11 เล่ม ส่วนฉบับภาษาไทยทาง บงกช ได้ลิขสิทธิ์ มีจำนวน 10 เล่ม", "title": "ตัวแสบสุดป่วน" }, { "docid": "235683#31", "text": "เล่ม 32", "title": "รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (มังงะ)" }, { "docid": "235683#29", "text": "เล่ม 29", "title": "รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (มังงะ)" }, { "docid": "235683#23", "text": "เล่ม 23", "title": "รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (มังงะ)" }, { "docid": "235683#15", "text": "เล่ม 14", "title": "รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (มังงะ)" }, { "docid": "235683#19", "text": "เล่ม 19", "title": "รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (มังงะ)" }, { "docid": "235683#21", "text": "เล่ม 21", "title": "รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (มังงะ)" }, { "docid": "235683#3", "text": "เล่ม 2", "title": "รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (มังงะ)" }, { "docid": "5254#4", "text": "ในศตวรรษที่ 21 คำว่ามังงะเปลี่ยนความหมายเดิมมาหมายถึงหนังสือการ์ตูน อย่างไรก็ดีคนญี่ปุ่นมักใช้คำนี้เรียกหนังสือการ์ตูนสำหรับเด็ก ส่วนหนังสือการ์ตูนทั่วไปใช้คำว่า コミックス (คอมิกส์) ซึ่งเป็นคำทับศัพท์ของ comics ในภาษาอังกฤษ ในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ มังงะ (manga) ถูกใช้เรียกหนังสือการ์ตูนจากประเทศญี่ปุ่น ส่วนในประเทศไทยการใช้คำว่ามังงะยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก", "title": "มังงะ" }, { "docid": "235683#14", "text": "เล่ม 13", "title": "รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (มังงะ)" }, { "docid": "56055#4", "text": " ARIA The animation", "title": "อาเรีย (มังงะ)" }, { "docid": "235683#13", "text": "เล่ม 12", "title": "รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (มังงะ)" }, { "docid": "235683#12", "text": "เล่ม 11", "title": "รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (มังงะ)" }, { "docid": "235683#18", "text": "เล่ม 18", "title": "รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (มังงะ)" }, { "docid": "235683#25", "text": "เล่ม 25", "title": "รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (มังงะ)" }, { "docid": "5254#23", "text": "โชเน็นไอ ยะโอะอิ โชโจะไอ ยุริ โลลิคอน", "title": "มังงะ" }, { "docid": "235683#17", "text": "เล่ม 17", "title": "รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (มังงะ)" }, { "docid": "235683#22", "text": "เล่ม 22", "title": "รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (มังงะ)" } ]
1074
ประเทศเวียดนามใช้สกุลเงินใด ?
[ { "docid": "113643#0", "text": "ด่ง หรือ ดอง (เวียดนาม Đồng หรือ VND) คือหน่วยเงินของเวียดนามที่ใช้ในประเทศเวียดนาม อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 550 ด่งต่อบาท หรือ ประมาณ 16,000 ด่งต่อดอลลาร์สหรัฐ", "title": "ด่ง" } ]
[ { "docid": "39196#0", "text": "สกุลเงิน หมายถึงชื่อเรียกเงินตราที่มีใช้ในแต่ละประเทศ สกุลเงินจะเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศหรือกลุ่มประเทศ โดยการแลกเปลี่ยนเงิน หรือการซื้อของหรือบริการระหว่างประเทศที่ใช้สกุลเงินต่างกันจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินเป็นเกณฑ์ในการอ้างอิง ", "title": "สกุลเงินตรา" }, { "docid": "39196#2", "text": "สกุลเงินทั่วไปจะมีหน่วยสกุลเงินย่อย โดยส่วนมากจะเป็นอัตราส่วน 1/100 ของสกุลเงินหลัก เช่น 100 สตางค์ = 1 บาท หรือ 100 เซนต์ = 1 ดอลลาร์ แต่บางสกุลเงินจะไม่มีหน่วยย่อยเช่น สกุลเงินเยน ในหลายหลายประเทศเนื่องจากเงินเฟ้อ ทำให้สกุลเงินย่อยมีการเลิกใช้ไป", "title": "สกุลเงินตรา" }, { "docid": "416228#0", "text": "ยูโรโซน หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า พื้นที่ยูโร เป็นสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน ประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 19 รัฐ (ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558) ซึ่งใช้เงินสกุลยูโรเป็นสกุลเงินร่วม และเป็นเงินสกุลเดียวที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ยูโรโซนปัจจุบันประกอบด้วยออสเตรีย เบลเยียม ไซปรัส เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก ลัตเวีย มอลตา เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สโลวาเกีย สโลวีเนีย และสเปน รัฐสหภาพยุโรปอื่นส่วนใหญ่ถูกผูกมัดให้เข้าร่วมเมื่อรัฐนั้นผ่านเกณฑ์การเข้าร่วม ไม่มีรัฐใดออกจากกลุ่มและไม่มีข้อกำหนดในการออกหรือขับสมาชิกออก", "title": "ยูโรโซน" }, { "docid": "738542#2", "text": "ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์กัมพูชามีการซื้อขายหลักทรัพย์รายเดียว คือ PPWSA ซึ่งในช่วง 3 ปีแรก รัฐบาลได้อนุญาตให้ซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐได้ แต่หลังจากนั้นกำหนดให้ซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินสกุลเรียลเท่านัน เพื่อส่งเสริมการใช้เงินเรียล ซึ่งเป็นสกุลเงินของประเทศ และลดการพึ่งพาสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีสัดส่วน ร้อยละ 90 ของปริมาณเงินทั้งหมดที่หมุนเวียนอยู่ในกัมพูชา", "title": "ตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา" }, { "docid": "399537#6", "text": "พ.ศ. 2550 รัฐบาลออกกฎหมายควบคุมราคาสินค้า ผู้ใดขายสินค้าในราคาเกินกำหนดถือว่ามีความผิด แต่ผลคือ ต้นทุนของสินค้ายังเพิ่มขึ้นจนแพงกว่ากำแพงราคาที่กำหนด ร้านค้าต่างๆ เก็บสินค้าของตนออกไปขายในตลาดมืด เพราะไม่สามารถขายในราคาที่ขาดทุนได้ ทำให้ตลาดมืด (ตลาดผิดกฎหมาย) ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ประชาชนไม่มีทางเลือก และเกิดการกักตุนสินค้าในตลาดมืดไว้ขายในราคาที่สูงกว่าในวันหน้า และนอกจากนี้ ชาวซิมบับเวเปลี่ยนไปใช้เงินสกุลอื่น หรือใช้สิ่งของในการแลกเปลี่ยนแทนเงินประจำชาติ เพราะมีความเสถียรกว่ามาก มีรายงานว่าแม้แต่โรงพยาบาลบางแห่ง ยังยินดีรับค่ารักษาเป็นถั่วลิสงมากกว่าที่จะรับเงินในสกุล ZWN โดยจะคิดค่ารักษาเป็นจำนวนถังของถั่วลิสง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการทาขนมปังให้คนไข้ เงินสกุลนี้ กลายเป็นเงินที่ต้องรีบใช้ เพราะราคาของในเงินสกุลนี้จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และการเก็บออมโดยใช้เงินสกุลนี้คงจะยากที่จะมีโอกาสตั้งตัว และมีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ต้องพบชะตากรรม เพราะเงินล้านที่ทำงานอดออมมาทั้งชีวิตตลอดก่อนหน้านี้เพื่อหวังจะใช้ชีวิตสบายยามชรา กลับเหลือมูลค่านำมาซื้อได้เพียงข้าวเช้า 1 จานเท่านั้น การควบคุมค่าเงินดูจะเป็นไปไม่ได้เสียแล้ว เงินเฟ้อประจำปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 66,212.3 ต่อปี", "title": "ภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดในประเทศซิมบับเว" }, { "docid": "8510#3", "text": "ฝรั่งเศสเริ่มการพิชิตอินโดจีนในปลายคริสต์ทศวรรษ 1850 และปราบปรามอย่างเสร็จสมบูรณ์ในปี 2436 สนธิสัญญาเว้ ค.ศ. 1884 เป็นพื้นฐานการปกครองอาณานิคมฝรั่งเศสในเวียดนามเป็นเวลาอีกเจ็ดทศวรรษ แม้จะมีการต้านทานทางทหาร ที่โดดเด่นที่สุด คือ เกิ่นเวืองแห่งฟาน ดิญ ฝุง ในปี 2431 พื้นที่ซึ่งเป็นประเทศกัมพูชาและเวียดนามปัจจุบันกลายสภาพเป็นอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศส และลาวถูกเพิ่มเข้าสู่อาณานิคมภายหลัง มีขบวนการต่อต้านฝรั่งเศสหลายกลุ่มในช่วงนี้ เช่น พรรคชาตินิยมเวียดนามที่ก่อการกำเริบเอียนบ๊ายที่ล้มเหลวในปี 2473 แต่ท้ายที่สุด ไม่มีกลุ่มใดประสบความสำเร็จมากเท่ากับแนวร่วมเวียดมินห์ ซึ่งก่อตั้งในปี 2484 ซึ่งอยู่ในการควบคุมของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน และได้รับเงินทุนจากสหรัฐและพรรคชาตินิยมจีนในการต่อสู้กับการยึดครองของญี่ปุ่น", "title": "สงครามเวียดนาม" }, { "docid": "251056#1", "text": "ในปัจจุบัน คลังสำรองของธนาคารกลางมิได้มีแต่เงินตราต่างประเทศเท่านั้น แต่ยังมีสินทรัพย์อื่นๆที่ธนาคารกลางได้เจียดเงินสำรองส่วนหนึ่งไปซื้อไว้เพื่อให้งอกเงย เช่น พันธบัตร, ทองคำ, หุ้น, สิทธิพิเศษในการถอนเงิน เป็นต้น จากการที่คลังสำรองประกอบด้วยสินทรัพย์หลายชนิดนี้เอง จึงมีการใช้คำศัพท์ที่มีความตรงตัวยิ่งขึ้น โดยเปลี่ยนจากคำว่า \"เงินสำรอง\" เป็น \"ทุนสำรอง\" ซึ่งหมายถึงเป็นสินทรัพย์ทุกประเภทของธนาคารกลางที่อยู่ในหลายสกุลเงิน โดยมากมักเป็นสกุล ดอลลาร์สหรัฐ รวมไปถึง ยูโร, ปอนด์สเตอร์ลิง และ เยน ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นหลักประกันให้กับค่าเงินของประเทศเจ้าของทุนสำรองนั้นนั้น", "title": "ทุนสำรองระหว่างประเทศ" }, { "docid": "5410#3", "text": "เงินยูโรยังสามารถใช้ในการชำระหนี้ในอาณาเขตนอกสหภาพยุโรปบางแห่ง ได้แก่ ประเทศโมนาโก ประเทศซานมารีโน และนครรัฐวาติกัน ซึ่งเคยใช้ฟรังก์ฝรั่งเศสหรือลีราอิตาลีเป็นสกุลเงินทางการ ตอนนี้ได้เปลี่ยนมาใช้สกุลยูโรแทนและได้รับสิทธิ์ในการผลิตเหรียญในสกุลยูโรในจำนวนเงินน้อย ๆ แม้ว่าประเทศเหล่านี้จะไม่ได้เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปก็ตาม", "title": "ยูโร" }, { "docid": "139086#25", "text": "ระบบการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงิน หมายถึงการผูกมูลค่าของสกุลเงินนั่นๆให้เท่ากับมูลค่าของสกุลเงินของประเทศใดประเทศหนึ่ง (ที่มีความแข็งแกร่งเช่น เงินดอลล่าร์สหรัฐ) หรือสกุลเงินของหลายๆประเทศ การตรึงอัตราแลกเปลี่ยนสามารถนำมาใช้เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อได้ แต่เนื่องจากมูลค่าของสกุลเงินที่นำมาอ้างอิงมีการเพิ่มและลดลงตลอดเวลา ดังนั้นมูลค่าของเงินในประเทศที่อยู่ภายใต้ระบบการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนจึงเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามมูลค่าของสกุลเงินที่นำมาอ้างอิง ซึ่งหมายความว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศนั้นๆจะถูกกำหนดโดยอัตราเงินเฟ้อของประเทศที่เป็นเจ้าของสกุลเงินที่นำมาอ้างอิง ดังนั้นการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนจึงทำให้รัฐบาลไม่สามารถใช้ของตัวเองในการที่จะบรรลุเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคได้", "title": "ภาวะเงินเฟ้อ" }, { "docid": "258866#1", "text": "\"คึลเดิน\" เป็นคำคุณศัพท์ของภาษาดัตช์กลางที่แปลว่า \"ที่เป็นทอง\" ซึ่งเป็นชื่อที่บ่งถึงโลหะที่เดิมใช้ในการตีเงิน แต่สัญลักษณ์ ƒ หรือ fl. ที่ใช้แทนคำว่าคึลเดินมิได้ส่วนเกี่ยวข้องกับคำนี้แต่อย่างใด แต่มาจากอักษรย่อของสกุลเงินเดิมที่เรียกว่าโฟลไรน์ ()", "title": "กิลเดอร์ดัตช์" }, { "docid": "7635#0", "text": "ดอลลาร์สหรัฐ (English: United States dollar; ในเอกสารเก่าอาจพบการใช้ เหรียญสหรัฐ) เป็นสกุลเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา และยังใช้เป็นสกุลเงินสำรองในหลายประเทศทั่วโลก[1] รหัสสากลคือ ISO 4217 ใช้ตัวย่อว่า USD และสัญลักษณ์ $ โดย 1 ดอลลาร์สหรัฐมีค่าเท่ากับเกือบ 34 บาท", "title": "ดอลลาร์สหรัฐ" }, { "docid": "114594#0", "text": "เหรียญ 2 ยูโร เป็นเหรียญของเงินสกุลยูโร มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 25.75 มม. น้ำหนัก 8.5 กรัม ผลิตเป็นเหรียญกษาปณ์โลหะสองสี โดยส่วนของวงแหวนเป็นวัสดุคิวโปรนิเกิล ส่วนกลางใช้วัสดุประกบกันสามชั้นได้แก่ ทองเหลืองนิเกิล, นิเกิล และทองเหลืองนิเกิล เริ่มผลิตออกใช้เป็นเงินหมุนเวียนตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 ในเขตยูโรโซน การออกแบบเหรียญ 2 ยูโรในแต่ละประเทศจะมีภาพด้านหลังเหมือนกัน เป็นรูปแผนที่ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งรวมถึงประเทศสมาชิกที่ไม่ได้เปลี่ยนสกุลเงินมาใช้สกุลยูโร รวมทั้งเลขบอกมูลค่าหน้าเหรียญ 2 ยูโร ส่วนภาพด้านหน้านั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ", "title": "เหรียญ 2 ยูโร" }, { "docid": "17218#20", "text": "สกุลเงินที่ใช้คือโครนาไอซ์แลนด์ (króna – ISK) ออกโดยธนาคารกลางไอซ์แลนด์ ซึ่งทำหน้าที่ดูแลนโยบายการเงินด้วย ค่าเงินโครนามีความผันผวนกับสกุลเงินยูโรสูง จึงทำเกิดความคิดที่จะเปลี่ยนมาใช้เงินยูโรโดยไม่เข้าร่วมกับกลุ่มสหภาพยุโรป จากการสำรวจในปี 2550 พบว่า 53% ของชาวไอซ์แลนด์สนับสนุนการร่วมใช้สกุลเงินยูโร 37% ต่อต้าน และ 10% ไม่ตัดสินใจ[21] ไอซ์แลนด์มีอัตราการใช้จ่ายด้วยเงินสดในประเทศต่ำมาก (น้อยกว่า 1% ของ GDP)[22] และนับได้ว่าเป็นประเทศที่ใช้ปัจจัยอื่นทดแทนเงินสดได้มากที่สุด[23] ประชากรส่วนใหญ่ชำระเงินด้วยบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตแม้จะเป็นเพียงจำนวนเล็กน้อย[24] พลังงานทดแทน ได้แก่พลังงานน้ำและพลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นส่วนประกอบถึงมากกว่า 70% ของการบริโภคพลังงานของไอซ์แลนด์[25]", "title": "ประเทศไอซ์แลนด์" }, { "docid": "7635#1", "text": "สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่ใช้หน่วยเงิน ดอลลาร์ เป็นสกุลเงินประจำชาติ และยังมีประเทศอื่นที่มีเงินดอลลาร์เช่นกัน แต่ใช้ชื่อเรียกอื่น เช่น ดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ไต้หวัน นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐ ยังเป็นสกุลเงินหลักในหลายประเทศ[2] และในบางประเทศถึงแม้ว่าดอลลาร์สหรัฐไม่ใช่สกุลเงินหลัก แต่ยังมีการยอมรับในการใช้จ่ายสินค้าทั่วไป", "title": "ดอลลาร์สหรัฐ" }, { "docid": "73009#7", "text": "เงินในที่นี้จะให้เป็นเงินสกุล ดอลลาร์สหรัฐ ไม่ว่าทีมจะอยู่ในประเทศใด ๆ ก็ตาม (กฎนี้มีข้อยกเว้นในเลก 4 ของ ซีซั่นที่ 10 ในประเทศเวียดนาม ที่ให้เงินเป็นเงินสกุลท้องถิ่น (ด่อง) โดยจำนวนเงินที่ให้ในแต่ละเลกนั้นแตกต่างออกไปตั้งแต่ไม่ให้เงินจนถึงหลายร้อยดอลลาร์ (ในซีซั่นที่ 1 , ซีซั่นที่ 10 , ซีซั่นที่ 12 มีอยู่หนึ่งเลกที่ทางรายการไม่ได้ให้เงินและในซีซั่นที่ 4 ทางรายการให้เงินเพียง 1 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับ 2 เลกสุดท้าย และตั้งแต่ ซีซั่นที่ 5 ถึง ซีซั่นที่ 9 ทีมที่เข้าสุดท้ายในเลกที่ไม่มีการคัดออกจะถูกบังคับให้คืนเงินทั้งหมด และจะไม่ได้รับเงินใช้ในเลกต่อไป", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ" }, { "docid": "868473#0", "text": "เปโซคิวบา (English: Cuban peso) คือหน่วยสกุลเงินหนึ่งที่ใช้ในประเทศคิวบาแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ คิวบาเปโซ (CUP) ถือเป็นสกุลเงินหลักในประเทศ และ<b data-parsoid='{\"dsr\":[1321,1351,3,3]}'>คอนเวอร์ทิเบิลเปโซ (CUC) หรือสกุลเงินที่ออกมาเพื่อใช้แทนดอลลาร์สหรัฐ โดย 1 ดอลลาร์สหรัฐ มีค่าเท่ากับ 1 CUC และ 1 CUC มีค่าเท่ากับ 24 CUP แสดงให้เห็นว่าสกุลเงินในประเทศถูกกว่าสกุลเงินที่ใช้ทดแทนเงินภายนอกมาก แต่ทั้ง CUP และ CUC สามารถเรียกรวมกัน ง่ายๆ ว่า เปโซ (Peso) ในคิวบาตามร้านค้าจะไม่ค่อยรับ CUC มากนัก หรือรับก็มีมาตรฐานค่าเงินต่างกัน จึงมักเกิดกรณีที่ชาวต่างชาติจ่ายเงินเกินจำนวนบ่อย[3]", "title": "เปโซคิวบา" }, { "docid": "880117#2", "text": "สกุลเงินนี้ใช้ครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2535 ซึ่งใช้แทนสกุลเงินเดนาร์ยูโกสลาเวีย เนื่องจากว่าประเทศมาซิโดเนียได้แยกตัวออกมาจากยูโกสลาเวียแล้ว", "title": "เดนาร์แมซิโดเนีย (สกุลเงิน)" }, { "docid": "2712#1", "text": "เหรียญไทยนั้นผลิตออกมาโดยสำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง โดยสามารถผลิตออกใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนโดยไม่ต้องมีสิ่งใดมาค้ำประกัน เพราะโลหะที่ใช้ผลิตเหรียญกปาษณ์นั้นมีค่าในตัวเองอยู่แล้ว ส่วนธนบัตรนั้นผลิตและควบคุมการหมุนเวียนโดยธนาคารแห่งประเทศไทย การผลิตธนบัตรนำออกใช้จะมีหลักเกณฑ์วิธีที่เหมาะสมเพื่อให้เศรษฐกิจของชาติมีเสถียรภาพ", "title": "บาท (สกุลเงิน)" }, { "docid": "399537#16", "text": "แต่การกระทำใดๆ ไร้ผล ที่สุดแล้วรัฐบาลซิมบับเว ประกาศยกเลิกการใช้เงินสกุลดอลลาร์ซิมบับเวในประเทศและยอมรับการใช้เงินสกุลอื่นในประเทศอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 เมษายน 2552 โดยกล่าวว่า จะหยุดใช้เงินสกุลนี้ไปอย่างน้อยหนึ่งปี จนกว่าประเทศจะพร้อมกลับไปใช้เงินสกุลนี้อีกครั้ง เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจเยียวยาตัวมันเอง นับจากวันนั้น ภาวะเงินเฟ้อในซิมบับเวลดลงสู่ระดับเกือบปกติในทันที และไม่เคยพุ่งสูงอีกเลย และจนถึงปัจจุบัน รัฐบาลเลิกใช้เงินสกุลนี้มีแล้วหลายปี แต่ก็ยังไม่ได้ให้ประเทศกลับไปใช้เงินสกุลนี้แต่อย่างใด", "title": "ภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดในประเทศซิมบับเว" }, { "docid": "39196#3", "text": "ตารางแสดงถึงการจัดอันดับสกุลเงิน 15 สกุลเงินที่ใช้ในการชำระเงินข้ามประเทศมากที่สุดในโลก (15 most frequently used currencies in World Payments) โดยสมาคมโทรคมนาคมทางการเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก (SWIFT)", "title": "สกุลเงินตรา" }, { "docid": "18223#5", "text": "เนื่องจากประเทศอันดอร์ราไม่มีสกุลเงินใช้เป็นของตนเอง โดยก่อนหน้านี้ใช้เงินสกุลฟรังก์ฝรั่งเศสและเปเซตาสเปน ในปัจจุบันใช้สกุลเงินยูโรเป็นหลัก รายได้ GDP ต่อหัว ประมาณ 16,600 ดอลลาร์สหรัฐ และมี GDP โดยรวมประมาณ 1,065,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยมีรายได้หลักมาจากการท่องเที่ยว ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือนประมาณ 15,000,000 คนต่อปี", "title": "ประเทศอันดอร์รา" }, { "docid": "207660#11", "text": "เงินในที่นี้จะให้เป็นเงินสกุล ดอลลาร์สหรัฐ ไม่ว่าทีมจะอยู่ในประเทศใด ๆ ก็ตาม (กฎนี้มีข้อยกเว้นในเลก 4 ของ ซีซั่นที่ 10 ในประเทศเวียดนาม ที่ให้เงินเป็นเงินสกุลท้องถิ่น (ด่อง) โดยจำนวนเงินที่ให้ในแต่ละเลกนั้นแตกต่างออกไปตั้งแต่ไม่ให้เงินจนถึงหลายร้อยดอลลาร์ (ในซีซั่นที่ 1 , ซีซั่นที่ 10 , ซีซั่นที่ 12 มีอยู่หนึ่งเลกที่ทางรายการไม่ได้ให้เงินและในซีซั่นที่ 4 ทางรายการให้เงินเพียง 1 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับ 2 เลกสุดท้าย และตั้งแต่ ซีซั่นที่ 5 ถึง ซีซั่นที่ 9 ทีมที่เข้าสุดท้ายในเลกที่ไม่มีการคัดออกจะถูกบังคับให้คืนเงินทั้งหมด และจะไม่ได้รับเงินใช้ในเลกต่อไป", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซ (ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์อเมริกัน)" }, { "docid": "2712#2", "text": "ตามข้อมูลของสมาคมโทรคมนาคมทางการเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก (SWIFT) สกุลเงินบาทได้รับการอันดับเป็นสกุลเงินอันดับที่ 10 ของโลกที่ใช้ในการชำระเงินระหว่างประเทศ (most frequently used currencies in World Payments)[1]", "title": "บาท (สกุลเงิน)" }, { "docid": "39159#0", "text": "ดอลลาร์ (; $) เป็นชื่อของสกุลเงินที่ใช้เหมือนกันในหลายประเทศทั่วโลก เช่น ดอลลาร์สหรัฐ สกุลเงินของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นเงินสกุลสำคัญสกุลหนึ่งของโลก", "title": "ดอลลาร์" }, { "docid": "39196#1", "text": "ในหลายประเทศสกุลเงินสามารถมีชื่อเดียวกันได้ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ดอลลาร์ฮ่องกง และดอลลาร์แคนาดา และในหลายประเทศใช้สกุลเงินเดียวกัน เช่นในประเทศแถบยุโรปหลายประเทศใช้สกุลเงินยูโร และในบางประเทศใช้หน่วยเงินของประเทศอื่นเป็นเกณฑ์เช่นประเทศปานามา และ ประเทศเอลซัลวาดอร์ ใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ", "title": "สกุลเงินตรา" }, { "docid": "171849#12", "text": "เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1948 สหรัฐอเมริกาและอังกฤษยื่นข้อเสนอต่อสภาปกครองฝ่ายพันธมิตรให้สร้างสกุลเงินเยอรมนีใหม่เพื่อแทนที่สกุลเงินไรช์มาร์ค (Reichsmark) ที่มีปริมาณล้นอยู่ในระบบและขาดมูลค่าอย่างแท้จริง สหภาพโซเวียตปฏิเสธข้อเสนอนี้เพราะต้องการให้เยอรมนีคงสภาพอ่อนแอ ประเทศมหาอำนาจตะวันตกทั้งสามจึงร่วมมือกันสร้างสกุลเงินใหม่ขึ้นมาอย่างลับ ๆ และประกาศใช้ในพื้นที่ของตนเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1948 ในชื่อสกุลเงินดอยช์มาร์ค (Deutsche Mark) สหภาพโซเวียตไม่ยอมรับสกุลเงินนี้ แต่ฝ่ายตะวันตกได้แอบลักลอบเอาเงินสกุลใหม่นี้เข้าไปในเบอร์ลินเป็นจำนวนถึง 250,000,000 ดอยช์มาร์คแล้ว ไม่นานนัก ดอยช์มาร์คก็กลายเป็นสกุลเงินมาตรฐานในทุกพื้นที่ของเยอรมนี", "title": "การปิดกั้นเบอร์ลิน" }, { "docid": "139086#28", "text": "มาตรฐานทองคำได้ถูกเลิกใช้ไปบางส่วนภายหลังการนำข้อตกลงเบรตตันวูดส์มาใช้ ภายใต้ระบบนี้เงินสกุลใหญ่ทุกสกุลจะถูกตรึงให้มีอัตราคงที่กับเงินดอลลาร์ ในขณะที่เงินดอลลาร์จะถูกผูกติดอยู่กับทองคำในอัตรา 35 ดอลล่าร์สหรัฐต่อออนซ์ ระบบเบรตตันวูดส์มีอันเป็นที่สิ้นสุดลงในปี 1971 ทำให้ประเทศส่วนใหญ่เปลี่ยนไปใช้ ซึ่งหมายถึงการที่เงินตรามีค่าตามที่กฎหมายของแต่ละประเทศเป็นผู้กำหนด", "title": "ภาวะเงินเฟ้อ" }, { "docid": "2175#0", "text": "ISO 4217 เป็นมาตรฐานสากลสำหรับรหัสสกุลเงินที่ใช้ในประเทศต่างๆ มักใช้ในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินตามธนาคาร ประกอบด้วยอักษรละตินตัวใหญ่ 3 ตัวจากชื่อประเทศและชื่อของสกุลเงินที่ใช้ในประเทศนั้น", "title": "ISO 4217" }, { "docid": "139086#27", "text": "ระบบมาตรฐานทองคำเป็นระบบการเงินที่ประเทศต่างๆใช้เพื่อแลกเปลี่ยนสกุลเงิน โดยแต่ละประเทศจะต้องกำหนดความสัมพันธ์เชิงปริมาณระหว่างหน่วยเงินของประเทศของตัวเองกับทองคำ ในระบบนี้สกุลเงินของประเทศต่างๆไม่ถือว่ามีมูลค่าด้วยตัวของมันเอง แต่ผู้ค้ายอมรับตัวเงินเนื่องจากสามารถนำไปแลกเปลี่ยนเป็นทองคำได้ ตัวอย่างเช่น ธนบัตรดอลล่าร์สหรัฐในอดีตจะมีการประทับตรารับรองบนธนบัตรว่าสามารถนำไปแลกเป็นแร่เงินได้จากรัฐบาล", "title": "ภาวะเงินเฟ้อ" }, { "docid": "186328#7", "text": "เช่นเดียวกับเวอร์ชันอเมริกา แต่ละทีมจะได้รับเงินพร้อมกับคำใบ้เมื่อทีมจะออกเดินทางในเลกต่อไป (ยกเว้นทีมที่ถูกยืดเงินในด่านที่แล้ว และจะไม่ได้รับเงินใช้ ที่เป็นผลมาจากการเข้าเป็นที่สุดท้ายในเลกที่ไม่มีการคัดออก) เป็นเงินสกุล ดอลลาร์สหรัฐ หากทีมใช้เงินในด่านก่อนหน้าไม่หมด ทีมสามารถเก็บเงินเพื่อนำไปใช้ในด่านถัดไปได้ ยกเว้นในการซื้อตั๋วเครื่องบินที่ทีมจะต้องจ่ายค่าตั๋วเครื่องบินด้วยบัตรเครดิตที่ทางรายการจัดให้ สำหรับใน<i data-parsoid='{\"dsr\":[4409,4435,2,2]}'>ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย ธงประดับการแข่งขัน (Route Marker) มีสีเหลืองและแดง ยกเว้นใน ซีซั่นที่ 3 ที่ในช่วงที่มีการไปเยือนในประเทศเวียดนาม Route Marker ถูกเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองและขาวเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนกับธงของประเทศเวียดนามใต้ ซึ่งคล้ายกับที่ทำใน ซีซั่นที่ 10 ของเวอร์ชันสหรัฐ", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซเอเชีย" } ]
1602
โทรศัพท์มือถือ เครื่องแรกของโลกผลิตโดยใคร ?
[ { "docid": "24448#2", "text": "โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกถูกผลิตและออกแสดงใน พ.ศ. 2516 โดย มาร์ติน คูเปอร์ (Martin Cooper) นักประดิษฐ์จากบริษัทโมโตโรลา เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ 1.1 กิโลกรัม ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 ที่มีจำนวน 12.4 ล้านคน มาเป็น 4,600 ล้านคน", "title": "โทรศัพท์เคลื่อนที่" } ]
[ { "docid": "286764#2", "text": "ในปีพ.ศ.2554 แบล็คเบอร์รี่ กินส่วนแบ่งตลาด โทรศัพท์มือถือ ทั่วโลกได้ 3% กลายเป็นผู้ผลิตโทรศัพท์มือถืออันดับ 6 ของโลก ระบบอินเทอร์เน็ตของแบล็คเบอร์รี่เปิดให้บริการใน 91 ประเทศ ภายใต้ผู้ให้บริการเครือข่ายกว่า 500 ราย ในเดือนกันยายน พ.ศ.2555 มีผู้ใช้แบล็คเบอร์รี่ถึง 80 ล้านเครื่องทั่วโลก ในปีพ.ศ.2554 ผู้คนกลุ่มประเทศแคริบเบียนและละตินอเมริกาใช้แบล็คเบอร์รี่มากที่สุด คิดเป็น 45% ของจำนวนเครื่องแบล็คเบอร์รี่ทั่วโลก", "title": "แบล็คเบอร์รี (โทรศัพท์มือถือ)" }, { "docid": "617855#0", "text": "ไมโครซอฟท์ โมบาย () เป็นบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเอสโป ประเทศฟินแลนด์ ปัจจุบันเป็นผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกโดยเกิดจากการที่เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศเข้าซื้อกิจการด้านโทรศัพท์ของโนเกียทั้งหมด ในราคา 7.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อมาในวันที่ 25 เมษายน 2557 ไมโครซอฟท์ได้เปลี่ยนชื่อโนเกียเป็นไมโครซอฟท์ โมบาย ซึ่งจะเป็นในฐานะบริษัทลูก", "title": "ไมโครซอฟท์ โมบาย" }, { "docid": "523400#1", "text": "คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่มีหน้าจอสัมผัสเครื่องแรกของโลกที่ออกวางจำหน่ายคือ HP-150 วางขายในปี พ.ศ. 2526 และอุปกรณ์พกพาจอสัมผัสเครื่องแรกของโลกที่ออกวางจำหน่ายคือ ไอบีเอ็ม ไซมอน ซึ่งวางขายในปี พ.ศ. 2537", "title": "จอสัมผัส" }, { "docid": "2584#9", "text": "เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 เครื่องดีปบลูของบริษัทไอบีเอ็ม กลายมาเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่สามารถเล่นหมากรุกเอาชนะ แกรี คาสปารอฟ แชมป์โลกในขณะนั้นได้ และในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 เครื่องวัตสันของบริษัทไอบีเอ็มก็สามารถเอาชนะแชมป์รายการตอบคำถามจีโอพาร์ดีได้แบบขาดลอย นอกจากนี้ เครื่องเล่นเกมอย่าง Kinect ก็ใช้เทคโนโลยีของปัญญาประดิษฐ์ มาใช้ในการสร้างส่วนติดต่อกับผู้ใช้ผ่านทางการเคลื่อนไหวร่างกายใน 3 มิติเช่นกัน", "title": "ปัญญาประดิษฐ์" }, { "docid": "1773#4", "text": "คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้รีเลย์หรือวาล์ว เริ่มปรากฏให้เห็นในช่วงต้นปี ค.ศ. 1940 เครื่องกลไฟฟ้า Zuse Z3, เสร็จสมบูรณ์ใน ปี ค.ศ.1941, เป็นคอมพิวเตอร์ที่โปรแกรมได้เครื่องแรกของโลก และตามมาตรฐานที่ทันสมัย เป็น​​หนึ่งในเครื่องแรกที่อาจถูกพิจารณาว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สมบูรณ์แบบเครื่องหนึ่ง เครื่อง Colossus, ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อถอดรหัสข้อความภาษาเยอรมัน, เป็นคอมพิวเตอร์ดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์ตัวแรก แม้ว่ามันจะโปรแกรมได้ มันก็ไม่ได้ถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป มันถูกออกแบบมาเพื่อทำงานเพียงงานเดียว มันยังขาดความสามารถในการจัดเก็บโปรแกรมในหน่วยความจำอีกด้วย การเขียนโปรแกรม สามารถทำได้โดยใช้ปลั๊กและสวิทช์เพื่อเปลี่ยนแปลงการเดินสายไฟภายใน คอมพิวเตอร์ที่เก็บโปรแกรมได้แบบดิจิทัลอิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัยและได้รับการยอมรับตัวแรก คือ Manchester Small-Scale Experimental Machine (SSEM) ซึ่งเริ่มใช้โปรแกรมแรกในวันที่ 21 มิถุนายน 1948", "title": "เทคโนโลยีสารสนเทศ" }, { "docid": "4817#26", "text": "ดาวเทียมของสหรัฐดวงแรกเพื่อการสื่อสารอยู่ในโครงการ SCORE เมื่อ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1958 ซึ่งใช้ เทปบันทึกเสียงในการจัดเก็บและส่งต่อข้อความเสียง มันถูกใช้ในการส่งคำอวยพรคริสมาสต์ ไปทั่วโลกจากประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ดไวต์ ดี ไอเซนฮาวร์ ในปี ค.ศ. 1960 นาซ่าส่ง ดาวเทียม Echo; บอลลูนฟิล์ม PET อะลูมิเนียมยาว 100 ฟุต (30 เมตร) ทำหน้าที่เป็นกระจกสะท้อนแสงแบบพาสซีฟสำหรับการสื่อสารวิทยุ ดาวเทียม Courier 1B สร้างโดย Philco, ก็ถูกส่งขึ้นไปในปี 1960 เช่นกัน โดยเป็นดาวเทียมทวนสัญญาณแบบแอคทีฟดวงแรกของโลก", "title": "โทรคมนาคม" }, { "docid": "527794#0", "text": "จีเอสเอ็มเอ โมบายล์เวิลด์คองเกรส เป็นการจัดงานแสดงโทรศัพท์มือถือ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก รวมไปถึงการประชุมระดับสูงของผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือจากทั่วโลก และการนำเสนอแเทคโนโลยีใหม่จากทั่วโลก โดยงานนี้เคยมีชื่อว่า \"จีเอสเอ็ม โมบายล์เวิลด์คองเกรส\" (GSM World Congress) และได้เปลี่ยนชื่อเป็น \"3 จีเอสเอ็ม โมบายล์เวิลด์คองเกรส\" (3GSM World Congress) จนเปลี่ยนมาเป็นชื่อปัจจุบัน ซึ่งบางคนมักจะยังเรียกว่างาน \"3 จีเอสเอ็ม\" หรือ \"3 จีเอสเอ็ม เวิลด์\" อยู่", "title": "โมบายล์เวิลด์คองเกรส" }, { "docid": "4701#1", "text": "เครื่องรับโทรทัศนขาว-ดำเครื่องแรกของโลก สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1925 โดยเป็นผลงานการประดิษฐ์ของจอห์น โลจี เบร์ด ชาวสกอตแลนด์ทั้งนี้ บางประเทศอาจส่งโทรทัศน์มากกว่ามาตรฐานก็ว่าได้ ยกตัวอย่างเช่น มีบางประเทศอาจจะส่งโทรทัศน์ในระบบวีเอชเอฟตั้งแต่ช่อง 1 ถึงช่อง 18 และระบบยูเอชเอฟตั้งแต่ช่อง 19 ถึงช่อง 72 เป็นต้น และระบบทั้ง 2 เป็นช่องส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่กำหนดได้แน่นอนที่สุด แม้จะออกอากาศโดยใช้เสาอากาศภาคพื้นดิน", "title": "โทรทัศน์" }, { "docid": "123967#0", "text": "โนเกีย 3310 () เป็นโทรศัพท์มือถือในระบบเครือข่ายย่านความถี่คู่(dual band) GSM900/1800 เปิดตัวเป็นครั้งแรกในไตรมาสที่สี่ของพ.ศ. 2543 โดยมาแทนที่โนเกีย 3210 ที่เป็นที่นิยมมาก่อนหน้านั้น โดยโทรศัพท์รุ่นนี้ประสบความสำเร็จในเรื่องของยอดขายเป็นอันมาก เป็นโทรศัพท์รุ่นที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดรุ่นหนึ่งด้วยยอดขาย 126 ล้านเครื่องทั่วโลก รุ่นข้างเคียงอื่นๆ ที่ออกตามแบบ 3310 ประกอบไปด้วย โนเกีย 3315, 3320, 3330, 3350, 3360, 3390 และ 3395", "title": "โนเกีย 3310" }, { "docid": "451888#22", "text": "ยานอวกาศลำแรกของมนุษย์ที่ส่งออกไปนอกโลกคือ สปุตนิก 1 เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2500 โดยสาธารณโซเวียต-รัสเซีย (ปัจจุบันคือประเทศรัสเซีย) ทำการโคจรอยู่ในวงโคจรของโลกอยู่จนถึงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2501 จาการส่งสปุตนิก 1 ขึ้นไปทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพบรรยากาศของโลกมากขึ้น จากนั้นมนุษย์จึงได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศกันอย่างรวดเร็ว จนปัจจุบันมีดาวเทียมโคจรอยู่รอบๆ โลกราว 5,000 ดวง และมียานอวกาศขึ้นลงจำนวนมาก เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์การเดินทางสู่อวกาศของมนุษย์มีหลายเหตุการณ์ดังตัวอย่างเหตุการณ์ที่สำคัญดังตาราง\nยูริ เอ กาการิน ชาวรัสเซีย นักบินอวกาศคนแรกที่ขึ้นไปสู่วงโคจร และเดินทางรอยโลกด้วยยานวอสตอค 1 ต่อมาสหรัฐอเมริกาก็ประสบความสำเร็จในการส่งมนุษย์ไปสำรวจดวงจันทร์เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ด้วยยานอพพอลโล 11 จากนั้นมนุษย์ได้พัฒนาโครงการยานขนส่งอวกาศขึ้นมาเพื่อการใช้งานซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการให้จรวดในการเดินทางสู่อวกาศ", "title": "เทคโนโลยีอวกาศ" } ]
2127
สแกนดิเนเวีย คือที่ไหน ?
[ { "docid": "64147#0", "text": "สแกนดิเนเวีย (Scandinavia; Skandinavia; Skandinavien) เป็นภูมิภาคทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ มีศูนย์กลางอยู่ที่คาบสมุทรสแกนดิเนเวียในยุโรปเหนือ มาจากชื่อเดิมว่า มณฑลสกาเนียน (Scanian Province) ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ได้แก่ สวีเดน นอร์เวย์ และเดนมาร์ก[1][2] อาจรวมถึงประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มนอร์ดิก เช่น ประเทศไอซ์แลนด์ และประเทศฟินแลนด์ จากความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม[3][4]", "title": "สแกนดิเนเวีย" } ]
[ { "docid": "291058#42", "text": "ยุคไวกิงเป็นสมัยระหว่างปี ค.ศ. 793 ถึงปี ค.ศ. 1066 ในสแกนดิเนเวีย และ บริเตนที่เกิดขึ้นหลังจากยุคเหล็กเจอร์มานิค (และยุคเวนเดล (Vendel Age) ในสวีเดน) ในยุคนี้ไวกิงนักรบและนักการค้าสแกนดิเนเวียเข้ารุกราน/ปล้นสดม/ทำลายทรัพย์สิน และ ขยายดินแดนทั่วไปในยุโรป, ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้, ในแอฟริกาเหนือ และในอเมริกาเหนือ นอกจากนั้นก็ยังทำการสำรวจยุโรปโดยทางทะเลและตามลำน้ำด้วยความสามารถทางการเดินเรือและการขยายเส้นทางการค้า ไวกิงทำการรุกราน ปล้นสดม และจับคนเป็นทาสในชุมชนคริสเตียนของยุคกลางเป็นเวลาหลายร้อยปี ที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นต้นตอของการวิวัฒนาการของระบบศักดินาในยุโรป", "title": "ต้นสมัยกลาง" }, { "docid": "703105#11", "text": "แต่ว่าก็มีการถกเถียงกันเกี่ยวกับการตีความหลักฐานต่าง ๆ ว่า เป็นการสนับสนุนหรือไม่สนับสนุน ว่าสัตว์อื่นมีทฤษฎีจิต \nมีตัวอย่างที่เห็นได้คือ ในปี ค.ศ. 1990 มีงานวิจัย \nที่แสดงผู้ทำการทดลองสองคนให้ลิงชิมแปนซีเห็นเพื่อที่จะขออาหาร\nคนหนึ่งจะเห็นว่าอาหารซ่อนอยู่ที่ไหน อีกคนหนึ่งจะไม่เห็นเพราะเหตุต่าง ๆ (เช่นมีถังหรือถุงครอบศีรษะ มีอะไรปิดตาอยู่ หรือว่าหันไปทางอื่น) ดังนั้นจะไม่รู้ว่าอาหารอยู่ที่ไหนและจะได้แต่เดาเท่านั้น\nนักวิจัยพบว่า ลิงไม่สามารถแยกแยะผู้ที่รู้ว่าอาหารอยู่ที่ไหนเพื่อที่จะขอให้ถูกคน\nแต่อีกงานวิจัยหนึ่งในปี ค.ศ. 2001 \nพบว่า ลิงชิมแปนซีที่เป็นรองสามารถใช้ความรู้ของลิงชิมแปนซีคู่แข่งที่เป็นใหญ่ในการกำหนดว่า ที่เก็บอาหารไหนที่ลิงที่เป็นใหญ่ได้เข้าไปตรวจสอบ\nและก็มีนักวิจัยอื่น ๆ ที่ไม่สงสัยเลยว่า ลิงโบโนโบ (ลิงชิมแปนซีประเภทหนึ่ง) มี ToM โดยอ้างการสื่อสารกับลิงโบโนโบที่มีชื่อเสียงตัวหนึ่งชื่อว่า Kanzi เป็นหลักฐาน", "title": "ทฤษฎีจิต" }, { "docid": "64147#5", "text": "คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย กลุ่มนอร์ดิก คณะมนตรีนอร์ดิก", "title": "สแกนดิเนเวีย" }, { "docid": "16801#4", "text": "ภาษามลายูปัตตานีนิยมเรียงประโยคแบบภาษาไทยคือใช้รูปประธานกระทำ ส่วนภาษามาเลเซียใช้ประโยคแบบประธานถูกกระทำ เช่น ภาษามลายูใช้ ตูวัน ดีเปอรานะกัน ตีมานา (ท่านถูกเกิดที่ไหน) ภาษามลายูปัตตานีใช้ ตูแว บือราเนาะ ดีมานอ (ท่านเกิดที่ไหน)", "title": "ภาษามลายูปัตตานี" }, { "docid": "933411#3", "text": "วลีติดปาก(Catchphrase): \"ถ้าฉันพูดว่าหนึ่งสอง ให้ทุกคนพูดว่าแดนซ์นะคะ อิสึรินะอยู่ที่ไหน อยู่ที่ไหน หนึ่งสอง!!! (แดนซ์!!!)\"", "title": "รินะ อิซึตะ" }, { "docid": "46994#0", "text": "ภูมิภาคยุโรปเหนือ ประกอบไปด้วย ดินแดนคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย คาบสมุทรจัตแลนด์ และเกาะไอซ์แลนด์ อยู่ประมาณละติจูดที่ 55 องศาเหนือ - 71 องศาเหนือ ประกอบไปด้วยประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ซึ่งได้แก่ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวนอร์ดิก ในปีพ.ศ. 2541 มีประชากรทั้งหมด 35,086,982 คน มีพื้นที่ทั้งหมด 1,502,7863 ตารางกิโลเมตร สำหรับภาษาที่ใช้จะเป็นภาษาติวโตนิก ได้แก่ภาษาของพวกสแกนดิเนเวีย (ยุโรปเหนืออาจหมายถึงหมู่เกาะอังกฤษ และบางประเทศที่อยู่ใกล้เคียงก็ได้)เรรร", "title": "ยุโรปเหนือ" }, { "docid": "725390#1", "text": "ธงราชการ มีลักษณะเดียวกับธงชาติ (การออกแบบในรายละเอียดที่แตกต่างบางประการ) โดยอิงจากกฎหมาย และ ระเบียบปฏิบัติ (theoretically or actually) ใช้เฉพาะหน่วยงานราชการของรัฐ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า \"ธงรัฐบาล\" หลายประเทศใช้ธงพลเรือนเป็นธงราชการ (สำหรับชัก ประดับ หรือ ตกแต่งอาคารสถานที่) แต่ในบางประเทศของ ลาตินอเมริกา, ยุโรปกลาง และคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ธงราชการ มีการออกแบบนอกเหนือจากธงชาติโดยทั่วไป กล่าวคือ การเพิ่มตราแผ่นดิน หรือ เครื่องหมาย ส่วนราชการนั้นลงบนธง ธงราชการในกลุ่มสแกนดิเนเวีย มีลักษณะเป็นธงหางนกแซงแซว เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างธงพลเรือน กับ ธงราชการ", "title": "ธงราชการ" }, { "docid": "436626#0", "text": "มหาวิทยาลัยลุนด์ () เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงของยุโรป เป็นสถาบันเกี่ยวกับการศึกษาและวิจัยที่ใหญ่ที่สุดในสแกนดิเนเวีย และมักจะถูกจัดอันดับอยู่ในมหาวิทยาลัยดีเด่น 100 ลำดับแรกของโลกเสมอ มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ที่เมืองลุนด์ มณฑลสแกนเนีย ทางตอนใต้ของประเทศสวีเดน การก่อตั้งมหาวิทยาลัยย้อนกลับไปในยุโรปสมัยกลาง ปีคริสต์ศักราช 1425 ได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยที่เมืองลุนด์เป็นแห่งแรก และถือว่าเป็นสถาบันการศีกษาระดับมหาวิทยาลัยแห่งแรกในแถบสแกนดิเนเวีย หลังจากนั้น 52 ปีต่อมา ได้มีการสร้างมหาวิทยาลัยอีก 2 แห่ง คือมหาวิทยาลัยอุปซอลา ที่เมืองอุปซอลา ประเทศสวีเดน ในปี ค.ศ.1477 และมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์กในปี ค.ศ.1479 ", "title": "มหาวิทยาลัยลุนด์" }, { "docid": "54819#1", "text": "คำว่านอร์ดิก มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า \"Pays Nordiques\" ซึ่งเทียบเท่ากับคำภาษาท้องถิ่นว่า \"Norden\" (ภาษากลุ่มสแกนดิเนเวีย – สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก) \"Pohjola/Pohjoismaat\" (ภาษาฟินแลนด์) และ \"Norðurlönd\" (ภาษาไอซ์แลนด์และภาษาแฟโร) โดยมีความหมายว่า (ดินแดนทาง)ทิศเหนือ ปัจจุบัน มีการใช้คำว่าสแกนดิเนเวีย ในความหมายของกลุ่มนอร์ดิกในภาษาอังกฤษ ซึ่งส่งผลมาถึงการใช้ในภาษาไทยด้วยเช่นกัน", "title": "กลุ่มนอร์ดิก" }, { "docid": "64147#1", "text": "ในทางภาษาและวัฒนธรรม นิยามของสแกนดิเนเวียอาจขยายไปถึงดินแดนที่เคยมีการพูดภาษานอร์เวย์โบราณและดินแดนที่มีการพูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกเหนือ ดังนั้น ในทางภาษาและวัฒนธรรม สแกนดิเนเวียจึงรวมถึงประเทศไอซ์แลนด์และหมู่เกาะแฟโร[5]", "title": "สแกนดิเนเวีย" }, { "docid": "266700#4", "text": "ธงของประเทศหลายประเทศใช้เครื่องหมายกางเขนบนธง รวมทั้งธงของทุกชาติในสแกนดิเนเวียที่เรียกกันว่ากางเขนสแกนดิเนเวีย", "title": "กางเขน" }, { "docid": "209984#2", "text": "เรื่องของเอลฟ์เป็นนิยายปรัมปราที่แพร่หลายในแถบสแกนดิเนเวีย ซึ่งกล่าวถึงเอลฟ์ว่า เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในเทือกเขาและป่าของสแกนดิเนเวีย เอลฟ์มีอยู่ 2 ประเภท คือ เอลฟ์แห่งแสงสว่างผู้อาศัยอยู่ในอัลเฟอิม และเอลฟ์แห่งความมืดผู้อาศัยอยู่ในสวาร์ธีอิท ต่อมาเรื่องเอลฟ์กายเป็นตำนานของเยอรมัน ซึ่งเจ.เค. ได้นำมาดัดแปลงสร้างเป็นเอลฟ์ประจำบ้าน\nในตำนานของชาวเยอรมัน เอลฟ์เป็นภูตขนาดเล็กที่มีพลังวิเศษในตนเป็นตัวแทนจิตวิญญาณแห่ง ผืนดิน ทะเล และป่า เอลฟ์ประเภทนี้มีนิสัยรักดนตรี และรักสันติ เอลฟ์บางพวกมีพลังด้านมืดซึ่งคอยกลั่นแกล้งมนุษย์ เช่น ทำให้ฝันร้าย เป็นต้น", "title": "เอลฟ์ประจำบ้าน" }, { "docid": "294148#21", "text": "ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นก็ได้มีการสร้างวงกตราว 500 วงหรือกว่านั้นที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาในสแกนดิเนเวีย วงกตเหล่านี้มักจะสร้างกันตามริมฝั่งทะเลโดยการวางหินเป็นลวดลายแบบวงกตคลาสสิกง่ายๆ และมักจะมีชื่อต่างๆ ที่แปลแล้วออกมาเป็น “วงกตเมืองทรอย” (Troy Town) ที่เชื่อกันว่าเป็นวงกตที่สร้างโดยหมู่บ้านชาวประมง เพื่อดักโทรลล์หรือลมในขดวงกตเพื่อให้การเดินทางไปหาปลาปลอดภัย นอกจากนั้นก็ยังมีวงกตที่พบที่หมู่เกาะซิลลีย์แต่ก็ไม่วงใดที่เก่าเท่ากับที่พบที่สแกนดิเนเวีย", "title": "ลายวงกต" }, { "docid": "14053#1", "text": "สิบปีต่อมา ลาร์ส เฟรดริก นิลสัน ได้ค้นพบธาตุชนิดใหม่ในแร่ยูซีไนต์ (euxenite) และ กาโดลิไนต์ (gadolinite) จากสแกนดิเนเวีย โดยเขาได้ สแกนเดียมออกไซด์ ที่มีความบริสุทธิ์สูงจำนวน 2 กรัม. นิลสัน ได้ตั้งชื่อ สแกนเดียม ซึ่งมีที่มาจากภาษาละตินในคำว่า สแกนเดีย (Scandia) ที่หมายถึง \"สแกนดิเนเวีย\"", "title": "สแกนเดียม" }, { "docid": "28174#0", "text": "เทพปกรณัมนอร์สหรือเทพปกรณัมสแกนดิเนเวียเป็นเทพปกรณัมของชนเจอร์แมนิกเหนือ และเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาเก่าแก่ของชาวนอร์สซึ่งเป็นความเชื่อพหุเทวนิยม และยังคงเล่าสืบเนื่องกันมาแม้ภายหลังจากชาวสแกนดิเนเวียหันมานับถือศาสนาคริสต์ จนกลายมาเป็นคติชาวบ้านสแกนดิเนเวียแห่งสมัยใหม่ เทพปกรณัมนอร์สเป็นการกระจายขึ้นเหนือสุดของเทพปกรณัมเจอร์มานิก โดยประกอบด้วยนิทานเทวดา และวีรบุรุษต่าง ๆ จากแหล่งที่มาจำนวนมากทั้งก่อนและหลังยุคเพกัน ซึ่งรวมถึงวรรณกรรมของชาวไอซ์แลนด์ที่เขียนขึ้นในสมัยกลาง หลักฐานทางโบราณคดีและประเพณีพื้นบ้าน", "title": "เทพปกรณัมนอร์ส" }, { "docid": "321346#9", "text": "แบบสแกนดิเนเวีย II หลังจากราว ค.ศ. 600 แบบสแกนดิเนเวีย I ก็เริ่มเสื่อมโทรมลง และแบบสแกนดิเนเวีย II ก็เข้ามาแทนที่ รูปลักษณ์ของลายสัตว์ที่เป็นแบบเหนือจริงและเป็นชิ้นส่วนของแบบสแกนดิเนเวีย I ก็หายไป สัตว์ในแบบที่ II เป็นสัตว์ทั้งตัว, ยาว และสอดประสานกันเป็นทรงที่มีความสมมาตร เช่นหมีสองตัวหันหน้าเข้าหากันอย่างมีความสมมาตรเป็นทรงรูปหัวใจ ตัวอย่างของงานลักษณะนี้ก็ได้แก่ฝากระเป๋าทอง () จากซัททันฮู (ราว ค.ศ. 625)", "title": "ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน" }, { "docid": "80947#8", "text": "ต้นยุคราวปี ค.ศ. 839 เมื่อทูตชาวสวีเดนได้เข้าไปเจริญสัมพันธไมตรีครั้งแรกในบิแซนเทียม ช่วงนั้นชาวสแกนดิเนเวียเป็นทหารรับจ้างของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 หน่วยองครักษ์แห่งจักรวรรดิหน่วยใหม่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชาวสแกนดิเนเวีย รู้จักกันชื่อองครักษ์วารันเจียน คำว่า \"วารันเจียน (Varangian)\" อาจมาจากภาษานอร์สโบราณซึ่งหมายถึงคือชาวไวกิงและชาวนอร์ส แต่ในภาษาสลาฟและกรีกอาจหมายถึงชาวสแกนดิเนเวียหรือชาวแฟรงค์ ชาวสแกนดิเนเวียที่มีชื่อเสียงที่สุดในองครักษ์วารันเจียนคือฮาร์รัลด์ ฮาร์ดราด้า ผู้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งนอร์เวย์ (ค.ศ. 1047–66)", "title": "ชาวไวกิง" }, { "docid": "214687#24", "text": "ฉันรักสแกนดิเนเวีย เป็นสารคดีเชิงท่องเที่ยวเรื่องแรกเมื่อได้รับเชิญเป็นตัวแทนนักเขียนสตรีไปร่วมศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ได้แก่ เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน และฟินแลนด์", "title": "ชูวงศ์ ฉายะจินดา" }, { "docid": "167195#0", "text": "ภาษานอร์สโบราณ (Norrœnt mál) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกเหนือ พูดในสแกนดิเนเวียและอาณานิคมโพ้นทะเลของชาวสแกนดิเนเวียในยุคไวกิงจนถึงประมาณค.ศ. 1300 ภาษานอร์สโบราณพัฒนามาจากภาษานอร์สดั้งเดิมในคริสต์ศตวรรษที่ 8 และพัฒนาไปเป็นภาษาเจอร์แมนิกเหนือหลายภาษาหลังยุคไวกิง ภาษาในปัจจุบันที่มาจากภาษานอร์สโบราณได้แก่ภาษาไอซ์แลนด์ แฟโร นอร์เวย์ เดนมาร์ก และสวีเดน", "title": "ภาษานอร์สโบราณ" }, { "docid": "64147#2", "text": "นอกจากนี้ ในทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม สแกนดิเนเวียอาจรวมถึงฟินแลนด์ จากการที่ฟินแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนมายาวนาน ถึงแม้ว่าฟินแลนด์จะมีความเกี่ยวข้องทางวัฒนธรรมกับชาติสแกนดิเนเวียอื่นๆ แต่ชาวฟินแลนด์มีเชื้อชาติและภาษาแบบฟินโน-ยูกริก ซึ่งมีลักษณะของทั้งยุโรปตะวันตกและตะวันออก[6]", "title": "สแกนดิเนเวีย" }, { "docid": "329871#4", "text": "“การกลับไปได้เห็น” ของมณีจันทร์เหมือนความฝันที่มีอยู่ในตัวเราทุกคน แต่อย่างไรก็ตาม คำว่า “ไม่มีที่ไหนเหมือนบ้าน” ก็ยังเป็นสิ่งเตือนใจเสมอ ..แต่ที่ไหนล่ะคือบ้านที่แท้จริงของเธอ ? ที่ใดคือปัจจุบันของเธอ ? ความรักอยู่ที่ภพไหน ? ", "title": "ทวิภพ (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "566573#2", "text": "ในสแกนดิเนเวีย ผู้พูดภาษานอร์เวย์ ผู้พูดภาษาเดนมาร์ก และ ผู้พูดภาษาสวีเดน สามารถสื่อภาษาของตัวเองกับผู้พูดที่มาจากนอร์เวย์ เดนมาร์ก และ สวีเดน กันได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม แต่ละรัฐก็ไม่ถือว่าภาษาของตนเองเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน รัฐบาลในสามประเทศนี้ไม่กำหนดว่าภาษาตนเองเป็น ภาษาสแกนดิเนเวียถิ่นนอร์เวย์ ภาษาสแกนดิเนเวียถิ่นเดนมาร์ก และภาษาสแกนดิเนเวียถิ่นสวีเดน เป็นต้น", "title": "ภาษาเป็นภาษาถิ่นได้เมื่อมีกองทัพ" }, { "docid": "422533#4", "text": "เมืองเป็นเจ้าภาพงานหลายงานประจำปีซึ่งใหญ่ที่สุดในสแกนดิเนเวีย เทศกาลหนังกอเทนเบิร์กที่ถูกจัดในเดือนมกราคมมาตั้งแต่ ค.ศ. 1979 เป็นเทศกาลหนังแนวหน้าของแถบสแกนดิเนเวียที่มีผู้เข้าชมกว่า 155,000 คนต่อปี ในช่วงหน้าร้อน มักมีการจัดเทศกาลดนตรีขึ้นในเมือง เช่น และ ", "title": "กอเทนเบิร์ก" }, { "docid": "978593#3", "text": "นอกจากนี้ คิวต์เชฟยังเป็นเครื่องหมายการันตีของความอร่อย ผ่านมาตรฐานความสนุกของไอดอลชาย เพื่อที่จะไปคัดสรรหาความอร่อยของร้านอาหาร และอาหารในเมืองไทย ที่ไหนที่ว่าอร่อย ที่ไหนที่ต้องบอกต่อความอร่อย หรือที่ไหนที่ต้องการพัฒนาเพื่อกระตุ้นยอดขายในเชิงการตลาด คิวต์เชฟจะให้ความสำคัญมากในสิ่งนี้", "title": "คิวต์เชฟ" }, { "docid": "683928#0", "text": "\"กลัวที่ไหน\" เป็นซิงเกิลของสุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ในปี พ.ศ. 2553 ในสตูดิโออัลบั้ม \"รักนะคะ\" ประพันธ์เนื้อร้องโดย กสิ นิพัฒน์ศิริผล, แต่งทำนองและเรียบเรียงโดย เรืองฤทธิ์ เอกะหิตานนท์ ออกจำหน่ายในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553", "title": "กลัวที่ไหน" }, { "docid": "683928#1", "text": "เพลง \"กลัวที่ไหน\"' ติดอันดับสูงสุดที่ 7 จากการจัดอันดับของซี้ดเอฟเอ็ม ในชาร์ตของ ซี้ดเอฟเอ็ม ชาร์ตท็อป 20 ประจำวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554 โดยวัดจากการออกอากาศของคลื่นวิทยุในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนาน 40 สถานี", "title": "กลัวที่ไหน" }, { "docid": "64147#3", "text": "ถึงแม้ว่าความหมายของสแกนดิเนเวียอาจขึ้นอยู่กับบริบท กลุ่มนอร์ดิก นั้นหมายถึงนอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ และไอซ์แลนด์ รวมถึงหมู่เกาะแฟโร กรีนแลนด์ และหมู่เกาะโอลันด์ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันทั้งในด้านการเมืองและด้านวัฒนธรรม[7][8][9][10]", "title": "สแกนดิเนเวีย" }, { "docid": "42199#2", "text": "ในสมัยโบราณบรรพบุรุษของพวกไวกิ้งมีภาษาพูดร่วมกันคือภาษานอร์สโบราณ จนกระทั่งในศตวรรษที่ 9 ภาษานอร์สโบราณจึงได้เริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นภาษานอร์สตะวันตกโบราณ ซึ่งพูดกันในชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรสแกนดิเนเวียและหมู่เกาะในทะเลเหนือ และภาษานอร์สตะวันออกโบราณ ซึ่งพูดกันในชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรสแกนดิเนเวียและคาบสมุทรจัตแลนด์ ในศตวรรษที่ 12 ภาษานอร์สตะวันออกโบราณได้พัฒนาจนกลายเป็นภาษาเดนมาร์กโบราณและภาษาสวีเดนโบราณ", "title": "ภาษาสวีเดน" }, { "docid": "24378#20", "text": "ต่อมาเมื่อธรรมบาลกุมารโตขึ้น ก็ได้เรียนรู้ซึ่งภาษานก และเรียนไตรเภทจบเมื่ออายุได้เจ็ดขวบ เขาได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่าง ๆ แก่คนทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาลกุมารว่า ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน และตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน ทันใดนั้นธรรมบาลกุมารจึงขอผัดผ่อนกับท้าวกบิลพรหมเป็นเวลา 7 วัน", "title": "สงกรานต์" } ]
1516
โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ตั้งอยู่ที่ใด?
[ { "docid": "576874#0", "text": "วัดสุทธิวราราม ตั้งอยู่บน ถนนเจริญกรุง แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 5 ไร่ 3 งาน 13 วา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2424 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี นับเป็นวัดประจำสกุล ณ สงขลา ในกรุงเทพมหานครอีกแห่งหนึ่งนอกจากวัดสุวรรณคีรี จังหวัดสงขลา[1]", "title": "วัดสุทธิวราราม" } ]
[ { "docid": "209640#34", "text": "ปัจจุบันโรงเรียนวัดสุทธิวราราม มีอาคารเรียนจำนวน 7 อาคาร ชื่อของอาคาร 6 หลังถูกตั้งชื่อให้ คล้องกัน ดังนี้ \"สุทธิ์รังสรรค์ ปั้นรังสฤษดิ์ วิจิตรวรศาสน์ พัชรนาถบงกช พัชรยศบุษกร ขจรเกียรติวชิโรบล\" ตามบุคคลสำคัญและสัญลักษณ์ของโรงเรียน[11]", "title": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "209640#13", "text": "ปลายปีการศึกษา 2484 เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา โรงเรียนมัธยมวัดสุทธิวรารามก็ถูกกองทัพญี่ปุ่นยึดเป็นค่ายพักอาศัยชั่วคราว โรงเรียนจึงต้องปิดทำการสอน ไม่มีการจัดสอบไล่ กระทรวงธรรมการจึงใช้ผลการเรียนและเวลาเข้าเรียนเป็นการตัดสินสอบได้-ตก", "title": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "209640#27", "text": "เดิมใช้สี ชมพู - ขาว - เขียว สีชมพู หมายถึง ความสุภาพเรียบร้อยอ้อนน้อมถ่อมตน สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ยึดมั่นในศีลธรรม สีเขียว หมายถึง ความเจริญงอกงามอย่างเป็นธรรมชาติสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ต่อมาเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการเป็นสัญลักษณ์ของสีธงชาติ เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนวัดสุทธิวรารามทุกคน ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศชาติ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์[18]", "title": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "209640#33", "text": "รูปหล่อท่านปั้น อุปการโกษากร ท่านปั้น อุปการโกษากร หรือ นางอุปการโกษากร (ปั้น ณ สงขลา วัชรภัย) มรรคนายิกาวัดสุทธิวราราม ภริยาหลวงอุปการโกษากร (เวท วัชราภัย) บุตรีเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา) เจ้าเมืองสงขลาลำดับที่ 6 กับ ท่านผู้หญิงสุทธิ์ บุตรีพระยารัตนโกษา (บุญเกิด) ผู้ปฏิสังขรณ์วัดลาว ซึ่งภายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า \"วัดสุทธิวราราม\" ตามนามท่านผู้หญิงสุทธิ์นั้นเอง ภายหลังจากที่ท่านปั้นถึงแก่กรรม บรรดาทายาทของท่านปั้นมีความประสงค์จะจัดสร้างอนุสรณ์สถานเพื่ออุทิศเป็นทักษิณานุปทานแด่มารดา จึงได้รวบรวมทุนทรัพย์สร้างโรงเรียนขึ้นในที่ดินเดิมของท่านปั้นที่ได้ยกให้แก่วัด เพื่อให้เป็นสถานที่อบรมและให้การศึกษาแก่เยาวชนของชาติ โดยให้ชื่อว่า โรงเรียนวัดสุทธิวราราม[4]", "title": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "209640#40", "text": "เนื่องด้วยวันที่ 3 กรกฎาคม เป็นวันสถาปนาโรงเรียนวัดสุทธิวราราม ทางโรงเรียนจึงได้จัดงานวันสถาปนาโรงเรียน โดยเลือกในช่วงวันที่ 3 - 10 กรกฎาคมของแต่ละปี ทำพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำโรงเรียน อาทิ พระพุทธสุทธิมงคลชัย, ท่านปั้น อุปการโกษากร และ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกทั้งนมัสการพระสงฆ์ เพื่อทำบุญโรงเรียนในช่วงเช้า บริเวณสนามโรงเรียน หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว", "title": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "209640#65", "text": "ศตวัชรบงกช 100 ปี โรงเรียนวัดสุทธิวราราม.-- กรุงเทพฯ: โรงเรียนวัดสุทธิวราราม, 2554.", "title": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "209640#22", "text": "ปีการศึกษา 2532 พลเอกประเทียบ เทศวิศาล นายกสมาคมนักเรียนเก่าสุทธิวราราม พร้อมด้วยอดีตผู้อำนวยการโรงเรียน นายสุชาติ สุประกอบ คณะครู-อาจารย์ นักเรียน ผู้ปกครองได้จัดทอดผ้าป่าสร้างอาคารธรรมสถานบริเวณทางเข้าโรงเรียน ประดิษฐานหลวงพ่อสุทธิมงคลชัย พระพุทธรูปประจำโรงเรียนวัดสุทธิวราราม ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,600,000 บาทเศษ", "title": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "576874#7", "text": "มีประสงค์จะสร้างอนุสรณ์สถานเพื่ออุทิศเป็นทักษิณานุปทานแด่มารดา โดยมีพระศิริศาสตร์ประสิทธิ์เป็นหัวหน้า จึงได้รวบรวมทุนทรัพย์จัดสร้างโรงเรียนขึ้นในบริเวณที่ธรณีสงฆ์ซึ่งบริษัทวินเซอร์โรซเช่าอยู่ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นสถานที่อบรมและให้การศึกษาแก่เยาวชนของชาติ ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวราราม” พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จมาทรงกระทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 เป็นโรงเรียนแรกที่สร้างขึ้นในรัชกาลของพระองค์ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำรสชมเชย ให้การสร้างโรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวราราม เป็นแบบอย่างของการบำเพ็ญกุศลที่ต้องด้วยพระราชนิยมเป็นอย่างยิ่ง[10][11]", "title": "วัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "209640#28", "text": "พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดสร้างขึ้นในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา และโรงเรียนวัดสุทธิวราราม ครบรอบวันสถาปนาโรงเรียน 96 ปี ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งโรงเรียนได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทาน ชื่อ \"โรงเรียนวัดสุทธิวราราม\" จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น และเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว", "title": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "209640#15", "text": "พ.ศ. 2490 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดสร้างอาคาร 2 ชั้น คืออาคาร 1 ซึ่งรื้อถอนออกแล้ว ออกแบบโดยหลวงสวัสดิ์สารศาสตรพุทธิ อธิบดีกรมวิสามัญศึกษา (อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดสุทธิวราราม) จึงได้เชิญ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช กระทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2491", "title": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "209640#0", "text": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม (English: Wat Suthiwararam School) (อักษรย่อ: ส.ธ., ST) เป็นโรงเรียนแรกในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ราษฎรสร้างขึ้นแล้วยกให้กระทรวงธรรมการ มีพระราชหัตถเลขาชมเชยให้การสร้างโรงเรียนวัดสุทธิวรารามเป็นแบบอย่างของการบำเพ็ญกุศลที่ต้องด้วยพระราชนิยมเป็นอย่างยิ่ง โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาทรงทำพิธีเปิดเป็นโรงเรียนแรกในรัชกาล[4][5] เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 โดยใช้ชื่อพระราชทานจากพระองค์[6] ว่า โรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวราราม", "title": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "209640#12", "text": "ต่อมาในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 สมัยที่ขุนชำนิขบวนสาสน์ดังรงตำแหน่งรักษาการอาจารย์ใหญ่เป็นครั้งที่ 2 กระทรวงธรรมการได้สร้างโรงเรียนสตรีวัดสุทธิวรารามขึ้นใหม่ที่ตรอกยายกะตา โดยใช้ชื่อใหม่ว่า โรงเรียนสตรีบ้านทวาย ปัจจุบันคือ โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย และอพยพนักเรียนสตรีไป", "title": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "209640#7", "text": "จากหลักฐานที่พบจึงสามารถระบุได้ว่า \"โรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวรารามเป็นโรงเรียนแห่งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ราษฎรสร้างขึ้นแล้วยกให้กระทรวงธรรมการใช้เป็นโรงเรียน ซึ่งต้องด้วยพระราชนิยมในการสร้างโรงเรียนแทนวัด\"", "title": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "209640#9", "text": "เมื่อ พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศสงครามกับฝ่ายเยอรมนี ทางรัฐบาลจึงส่งทหารเข้ายึดพื้นที่ที่ดินของบริษัทวินด์เซอร์โรซซึ่งชาวเยอรมันเช่าที่วัดสุทธิวรารามอยู่ โรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวรารามจึงได้ขยายพื้นที่โรงเรียนออกไป โดย ขุนสุทธิดรุณเวทย์ (ชื่น วิเศษสมิต) ครูผู้ปกครอง ได้ขอที่ดินดังกล่าวจากเจ้าอาวาสวัดสุทธิวราราม เพื่อสร้างโรงเรียนชั้นประถม จึงรื้อโรงเรียนประถมวัดยานนาวาปลูกสร้างต่อจากโรงเรียนเดิมไปทางตะวันตก เป็นแผนกประถมของโรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวราราม เมื่อแล้วเสร็จ กระทรวงธรรมการเห็นควรให้เปิดโรงเรียนสตรีขึ้นอีกแผนก จึงได้เปิดเป็น โรงเรียนสตรีวัดสุทธิวราราม อยู่บริเวณเดียวกับโรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวราราม มีรั้วกั้นอาณาเขตแต่มีประตูเดิมเชื่อมถึงกันได้ โดยนักเรียนโรงเรียนสตรีวัดสุทธิวรารามเดินเข้าออกโรงเรียนทางถนนเข้าสะพานปลา", "title": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "156770#1", "text": "จตุพล ภูอภิรมย์ เข้าศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนวัดสุทธิวราราม โรงเรียนสันติราษฎร์บำรุง แล้วเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอินเดียเป็นเวลาสั้นๆ ก่อนจะกลับมาศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดสุทธิวราราม และคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เข้าสู่วงการจากการเป็นนายแบบโฆษณายาสีฟันใกล้ชิด เมื่อ พ.ศ. 2518-19 และได้งานแสดงละครโทรทัศน์ทางช่อง 4 บางขุนพรหม ", "title": "จตุพล ภูอภิรมย์" }, { "docid": "209640#3", "text": "ภายหลังวัดนี้ทรุดโทรมลง ท่านปั้นมีกตัญญูระลึกถึงคุณบิดามารดา และเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้ปฏิสังขรณ์ก่อสร้างขึ้นบริบูรณ์ในพ.ศ. 2442 และได้เป็นผู้อุปถัมภ์วัดสุทธิวราราม โดยท่านได้รับการแต่งตั้งพระราชทานสัญญาบัตรมรรคนายกเป็นมรรคนายิกาวัดสุทธิวราราม ต่อมาเมื่อท่านปั้น อุปการโกษากร ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2451 ด้วยโรคฝีที่ข้อศอกข้างซ้าย[7] พระศิริศาสตร์ประสิทธิ์ (สุหร่าย วัชราภัย) บุตรชายดำรงตำแหน่งมรรคนายกวัดสุทธิวรารามต่อจากมารดา เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2451[8]", "title": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "209640#45", "text": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม มีการจัดงานกีฬาสีภายนอกบริเวณโรงเรียนเป็นครั้งแรกเมื่อปีการศึกษา 2520 ที่สนามศุภชลาศัย ในสมัยของนายเจิม สืบขจร เป็นผู้อำนวยการ ต่อมาเมื่อพ.ศ. 2532 ได้มีการริเริ่มกิจกรรมแปรอักษรขึ้นเป็นครั้งแรก โดยในครั้งนั้นจัดขึ้นที่สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สนามจารุเสถียร หรือ สนามจุ๊บ) โรงเรียนวัดสุทธิวรารามมีการจัดกีฬาสีภายนอกบริเวณโรงเรียนเรื่อยมา โดยจัดขึ้นที่สนามกีฬาอื่นๆอีก เช่น สนามศูนย์ฝึกกีฬาเฉลิมพระเกียรติ บางมด เป็นต้น โดยการจัดกิจกรรมกีฬาสีภายนอกบริเวณโรงเรียนเกิดขึ้นครั้งสุดท้าย ในปีการศึกษา 2544 จัดขึ้นที่สนามเทพหัสดิน กรีฑาสถานแห่งชาติ ในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2545 จากนั้นตราบจนปัจจุบันก็ไม่มีการจัดงานกีฬาสีภายนอกบริเวณโรงเรียนอีกเลย", "title": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "209640#26", "text": "\"ดอกบัว\" เป็นดอกไม้ที่เปรียบได้กับความบริสุทธิ์ สะอาด ชาวพุทธใช้ดอกบัวสำหรับเป็นพุทธบูชา หมายความว่า นักเรียนโรงเรียนวัดสุทธิวรารามทุกคนมีความสะอาด บริสุทธิ์ ทั้งกาย วาจา และใจ [11] \"เพชร\" เป็นอัญมณีล้ำค่า มีความแข็งแกร่งในตนเอง มีความงามจากเหลี่ยมต่างๆที่เปล่งประกาย โดยมีช่างฝีมือยอดเยี่ยมในการเจียระไน หมายความว่า นักเรียนโรงเรียนวัดสุทธิวรารามจะต้องเข้มแข็ง มีความเป็นลูกผู้ชาย เมื่อได้รับการศึกษาอบรมให้มีความรู้ และคุณธรรมแล้ว จึงเปรียบเสมือนเพชรที่ได้รับการเจียระไนจากครูบาอาจารย์ ย่อมทรงคุณค่าและเปล่งประกายแห่งความดี [11]", "title": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "576874#8", "text": "ในปี พ.ศ. 2460 ทางบริษัทวินเซอร์โรซ (ห้างสี่ตา) ได้หมดสัญญาเช่าที่ดิน(ด้านหน้า) ท่านขุนสุทธิดรุณเวทย์ (ชื่น วิเศษสมิต) อาจารย์ผู้ปกครองได้ขอสถานที่จากทางวัดสุทธิราราม เพื่อสร้างเป็นโรงเรียนชั้นประถม เมื่อท่านเจ้าอาวาสวัดสุทธิรารามได้กรุณาให้เป็นไปตามความประสงค์ จึงได้รื้อโรงเรียนประถมวัดยานนาวา มาปลูกสร้างต่อจากโรงเรียนเดิมไปทางทิศตะวันตก เมื่อสร้างเสร็จแล้ว กระทรวงธรรมการ เห็นสมควรจะเปิดเป็นโรงเรียนสตรีอีกแผนกหนึ่ง", "title": "วัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "209640#23", "text": "ปีงบประมาณ 2533 ได้รับงบประมาณ 3,775,000 บาท สร้างแฟลตนักการภารโรง จำนวน 20 หน่วย 1หลัง ในปีการศึกษา 2534 โรงเรียนได้ต่อเติมห้องเรียนอีก5ห้องบริเวณชั้นล่างอาคารปั้นรังสฤษฏ์ เพื่อรองรับนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และในปีเดียวกัน เป็นปีครบรอบ 80 ปีวันสถาปนาโรงเรียนวัดสุทธิวราราม คณะศิษย์เก่า รุ่น 2500 ได้ร่วมกันจัดสร้างรูปปั้น ท่านปั้น อุปการโกษากร ผู้ให้กำเนิดโรงเรียนวัดสุทธิวราราม เพื่อให้ทุกคนได้สักการบูชา", "title": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "576874#20", "text": "ศตวัชรบงกช 100 ปี โรงเรียนวัดสุทธิวราราม.-- กรุงเทพฯ: โรงเรียนวัดสุทธิวราราม, 2554.", "title": "วัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "209640#60", "text": "คณะกรรมการนักเรียน เป็นหนึ่งในหน่วยงาน ภายใต้สังกัดฝ่ายบริหารกิจการนักเรียน โรงเรียนวัดสุทธิวราราม จัดตั้งและคัดสรรนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานนักเรียน และมอบอำนาจให้ประธานนักเรียนคัดสรรคณะทำงานด้วยตนเอง โดยคัดสรรนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2-6 เพื่อสนับสนุนงานด้านกิจกรรมและวิชาการของโรงเรียน อีกทั้งเพื่อเป็นตัวแทนนักเรียน ในการเสนอจัดทำโครงการต่างๆภายในโรงเรียน หรือร่วมกับโรงเรียนอื่นๆ อาทิ ฟุตบอลประเพณี (ปั้นรังสฤษฏ์เกม), การประกวดดนตรี Suthi Music Award และกีฬาสี (พัชรบงกชเกม) เป็นต้น และยังเป็นสื่อกลางในการติดต่อระหว่างนักเรียน ผู้ปกครอง และคณะครู ได้ผ่านทางแฟนเพจคณะกรรมการนักเรียนโรงเรียนวัดสุทธิวราราม", "title": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "209640#47", "text": "ภายในโรงเรียนวัดสุทธิวราราม อนุญาตให้เด็กนักเรียนจัดตั้งชมรม และชุมนุมภายในโรงเรียนได้อย่างอิสระ โดยภายในแต่ละชุมนุมนั้น ต้องมีคุณครูที่ปรึกษาอย่างน้อย 1 คนและนักเรียนไม่ต่ำกว่า 5 คน จึงเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ภายในโรงเรียนมีชุมนุม และชมรมรวมกันกว่า 105 ชมรม แบ่งได้เป็นทั้งด้านวิชาการ ด้านสันทนาการ ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ด้านความบันเทิง ด้านพัฒนาสังคมและชุมชน และด้านศาสนา", "title": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "209640#48", "text": "วงดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2498 โดย นายเปรื่อง สุเสวี ซึ่งดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ในสมัยนั้น ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนวัดสุทธิวราราม มีความรู้ทางดนตรี และให้เป็นวงดนตรีนำแถวกองลูกเสือของโรงเรียน วงดุริยางค์ของโรงเรียนสุทธิวรารามได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีรุ่นพี่ช่วยดูแล ปกครองรุ่นน้องตลอดมา และพัฒนารูปแบบการแสดงเป็นคอนเสิร์ตในปี พ.ศ. 2511 ได้รับพระราชทาน \" คฑาครุฑ\" จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นวงดนตรีวงเดียวในประเทศไทยที่ได้รับเกียรติอันสูงสุดนี้ วงดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวรารามได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีโอกาสแสดงต่อสาธารชนทั้งในงานของภาครัฐ และเอกชน อีกทั้งมีโอกาสแสดงต่อหน้าที่ประทับ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ซึ่งทั้งสองพระองค์ทรงมีพระราชดำรัส ผ่านสำนักพระราชวัง และให้ทำหนังสือชมเชย ว่าแสดงได้ดีมาก และต่อมาวงดุริยางค์ของโรงเรียนได้ส่งเข้าประกวดครั้งแรก พ.ศ. 2523 ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันดุริยางค์เอเซียน ครั้งที่ 14 ณ ประเทศอินโดนีเซีย จากการแข่งขันครั้งแรกในปี พ.ศ. 2523 ณ ประเทศอินโดนีเซีย ทางวงดุริยางค์ได้นำประสบการณ์ต่างๆในการบรรเลงและฝึกซ้อม มาใช้พัฒนาวงต่อไป วงดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวรารามยังมีส่วนร่วมในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ โดยร่วมเดินขบวนพาเหรดกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขณะที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้วงดุริยางค์จากโรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก นอกจากนี้ยังวงดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวรารามยังเข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาและถวายราชสดุดี ในวันปิยมหาราชและวันวชิราวุธเป็นประจำทุกปีอีกด้วย ปัจจุบันวงดุริยางค์โรงเรียนวัดสุทธิวราราม เปิดทำการสอนและฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ให้แก่นักเรียนที่เป็นสมาชิกของวงดุริยางค์ โดยครูและรุ่นพี่ดุริยางค์ ที่มีความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ด้านดนตรีสากล โดยทำการเปิดรับสมาชิกทุกปี และในวาระครบรอบ 60 ปี ในปี 2559 อนุพงษ์ อมาตยกุล ศิษย์เก่าและผู้ฝึกสอน วงดุริยางค์สุทธิวราราม จึงได้ประพันธ์เพลง \"๖๐ ปี ด.ย.ส.ธ.\" ขึ้นมา เพื่อฉลองวาระดังกล่าว", "title": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "209640#41", "text": "ฟุตบอลประเพณี โรงเรียนวัดสุทธิวราราม เป็นการแข่งขันกีฬา ฟุตบอล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในแต่ละปี เพื่อการสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างระดับชั้นก่อนสำเร็จการศึกษา จัดโดยคณะกรรมการนักเรียน ในช่วงภาคเรียนที่ 1 โดยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ทางคณะกรรมการนักเรียนตัดสินใจ ใช้ชื่อ \"ปั้นรังสฤษฎ์เกม\" สำหรับการแข่งฟุตบอลประเพณี ตามชื่อของอาคารปั้นรังสฤษฎ์ ซึ่งเป็นอาคารที่เก่าแก่ที่สุดในช่วงนั้น และมีชื่อคล้ายกับ ท่านปั้น อุปการโกษากร ผู้อุปถัมภ์วัดสุทธิวราราม", "title": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "209640#2", "text": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ถูกสถาปนาขึ้นบนธรณีสงฆ์ของบริเวณที่เดิมเรียกว่าวัดลาว ในเขตชมชุนชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนมาจากเวียงจันในสมัยรัชกาลที่ 3 (กบฏเจ้าอนุวงศ์) ซึ่งย้ายถิ่นฐานมาจากย่านบางไส้ไก่ เนื่องจากเดิมวัดลาวนี้เป็นวัดร้าง ในพ.ศ. 2424 ท่านผู้หญิงสุทธิ์ มารดาของท่านปั้น ภรรยาเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ลำดับที่ 6 ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างวัดลาวขึ้นใหม่และหลังจากได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดนี้ว่า “วัดสุทธิวราราม” ตามนามของท่านผู้หญิงสุทธิ์", "title": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "209640#66", "text": "สุทธิวราราม หมวดหมู่:โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ หมวดหมู่:โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ว หมวดหมู่:โรงเรียนในเขตสาทร หมวดหมู่:โรงเรียนชายในประเทศไทย", "title": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "209640#43", "text": "กีฬาสีโรงเรียนวัดสุทธิวรารามใช้ชื่อว่า \"พัชรบงกชเกมส์\" โดยจะจัดขึ้นในภาคเรียนที่ 2 เป็นประจำทุกปีการศึกษา โดยส่วนมากจะจัดในช่วงเดือนธันวาคมและมกราคม โดยเป็นการแข่งขันกีฬาภายในของนักเรียนทุกระดับชั้น อาทิ ฟุตบอล บาสเกตบอล ปิงปอง แบดมินตัน และ ชักเย่อ เป็นต้น", "title": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "209640#4", "text": "พระศิริศาสตร์ประสิทธิ์ ได้เป็นผู้นำในการปรึกษาเรื่องดังกล่าวกับกรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ ซึ่งได้ให้ความร่วมมือในการออกแบบก่อสร้างอาคารตามแบบที่เหมาะสม และได้เป็นผู้อุปการะโรงเรียนต่อมาอีกด้วย[9] โรงเรียนดังกล่าวซึ่งกรมศึกษาธิการรับไว้เรียกชื่อว่า \"'โรงเรียนมัธยมพิเศษสุทธิวราราม\"' เริ่มเปิดทำการสอนในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 เป็นวันแรก และมีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2454[10] ดังนี้", "title": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" }, { "docid": "209640#50", "text": "ได้รับเกียรติบัตรจากกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อแสดงว่าโรงเรียนวัดสุทธิวรารามได้ดำเนินการใช้หลักสูตรดีเด่น สมควรเป็นผู้นำการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2530", "title": "โรงเรียนวัดสุทธิวราราม" } ]
1530
จุก เบี้ยวสกุลคือใคร?
[ { "docid": "24149#0", "text": "จุก เบี้ยวสกุล เป็นนามปากกาของ จุลศักดิ์ อมรเวช เกิดวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2485 เสียชีวิต เป็นทั้งนักเขียนการ์ตูน และนักวาดนิยายภาพชาวไทยที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับ และเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในช่วงสมัย พ.ศ. 2490 ถึง 2500", "title": "จุก เบี้ยวสกุล" }, { "docid": "11547#0", "text": "การ์ตูนไทย ประวัติจากคำบอกเล่า เริ่มต้นจากเป็นการ์ตูนแนวนิยายพื้นบ้าน ผี และแนวจักร ๆ วงศ์ ๆ ราคาเล่มละหนึ่งบาท โดยมีนักเขียนการ์ตูนที่มีชื่อเสียงสมัยนั้น เช่น จุก เบี้ยวสกุล ต่อมาเริ่มมีการ์ตูนแนวตลกสั้น ๆ ในลักษณะ การ์ตูน 3 ช่องจบ ออกมาเพิ่ม เช่น เบบี้ หนูจ๋า ขายหัวเราะ และ มหาสนุก ส่วนการ์ตูนไทยในลักษณะมังงะอย่างที่พบเห็นทั่วไปในปัจจุบันนั้น น่าจะมีมาไม่ถึงยี่สิบปี โดยนิตยสารการ์ตูนไทยในแนวมังงะยุคบุกเบิกได้แก่ ไทคอมมิค (Thai Comic) ของสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ และ เอ-คอมมิค (a-comic) และ cartoon thai studio ของ สยามอินเตอร์คอมมิค", "title": "การ์ตูนไทย" } ]
[ { "docid": "24149#1", "text": "จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งเป็นโรงเรียนในสังกัดวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และต่อมาก็จบการศึกษาด้านศิลปะจากโรงเรียนเพาะช่างเขียนนิยายภาพคติธรรมใน นสพ.โลกวันนี้ ฉบับสุดสัปดาห์", "title": "จุก เบี้ยวสกุล" }, { "docid": "441802#1", "text": "ละอองดาว-สกาวเดือนเป็นขื่อที่ครูสุรพล สมบัติเจริญเป็นผู้ตั้งให้เพื่อนใช้ในการแสดงเท่านั้น ชื่อ นามสกุล จริงคือ จำปี – จำปา โสธรบุญ เป็นคนบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา พ่อแม่เป็นชาวนา มีลูกถึง 15 คน และมีแฝดคู่เดียว สองพี่น้องฝาแฝดเรียนหนังสือแค่ชั้น ป.4 ที่โรงเรียนวัดบางสาย อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา เวลาเรียนอยู่ห้องเดียวกัน นั่งโต๊ะเก้าอี้ติดกัน และไม่เคยห่างกันเลย พวกเธอชอบร้องเพลงเป็นชีวิตจิตใจ เป็นนักร้องรุ่นจิ๋วประจำโรงเรียน และได้ตระเวนประกวดร้องเพลงตามงานวัดต่าง ๆ จนเป็นที่เลื่องลือไปทั้งจังหวัด งานประกวดที่มีสองพี่น้องฝาแฝดคู่นี้เข้าร่วมจะมีคนตามแห่ไปดูไปเชียร์เต็มที่ เพราะตัวเล็ก ๆ หน้าตาเหมือนกัน และเสียงดีมากทั้งคู่ สองพี่น้องได้รางวัลจากการประกวด กรรมการต้องยกธงขาวยอมแพ้ความเก่ง และขอร้องไม่ให้เข้าประกวดเพราะจะไม่คนกล้าเข้าแข่งด้วย ทั้งคู่จึงต้องร้องเพลงโชว์แทน และก็ได้รางวัลมากมายทุกเวที\nต่อมา พ่อและพี่ชายชื่อบุญทิ้ง โสธรบุญ เห็นแววน้องสาว จึงพาไปฝากกับครูสุรพล สมบัติเจริญ จนครูรับไว้เป็นลูกสาวบุญธรรมทั้งคู่ ทั้งยังรักเมตตาไว้ใจให้อยู่ในบ้านอีกต่างหาก ครูสุรพลฝึกให้ละอองดาว-สกาวเดือน ร้องเพลงจนเก่ง นำขึ้นเวทีร้องเพลงและเล่นละครเพลงได้จนกลายเป็นแม่เหล็กประจำวงหลังจากที่ผ่องศรี วรนุช ลาออกจากวงไปแล้ว ทั้งคู่จึงเหมือนกับแก้วตาดวงใจที่ครูได้กลับคืนมา ครูจึงแต่งเพลงป้อนให้ร้องอัดแผ่นเสียงจนโด่งดังมาก", "title": "ละอองดาว สกาวเดือน" }, { "docid": "352940#0", "text": "โจ เสมอใจ (23 มีนาคม พ.ศ. 2510 -) มีชื่อจริงว่า บอบบี้ โจ แกมเบิ้ล () นักแสดงไทยที่มีผลงานการแสดงเพียงช่วงสั้นๆ ช่วงยุคปี 1980 และผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้แก่เธอคือภาพยนตร์เรื่อง \"ซากุระ\"", "title": "โจ เสมอใจ" }, { "docid": "440692#1", "text": "จักจั่น วันวิสา หรือในปัจจุบันใช้ชื่อในวงการเพลงลูกทุ่งว่า จั๊กจั่น อาร์สยาม มีชื่อและนามสกุลจริงว่า พิชญนันท์ บุญมานัด (ชื่อเดิม : สุดา บุญมานัด) เกิดวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2533 ที่บ้านโคกชำแระ อำเภอทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี จากเด็กสาวที่เธอเป็นซุปเปอร์สตาร์หน้าชั้น จนผู้คนกล่าวขานน้ำเสียงของเธอเป็นที่ยอมรับของนักเรียนร่วมห้องเป็นที่รักของพี่น้องในหมู่บ้าน รวมทั้งครู อาจารย์ ก็ส่งเสริม อาจารย์กิมเฮง เขียวอ่อนโชติ และ อาจารย์ศราวุฒิ ทุ่งขี้เหล็ก ไปพบเข้าจึงนำมาส่งเสริมให้เป็นลูกทุ่งสาวคนใหม่แถมยังได้รับการเติมเต็มเอาใจใส่จาก ครูสลา คุณวุฒิ และ อาจารย์วสุ ห้าวหาญ มาจนถึงปัจจุบัน", "title": "จั๊กจั่น วันวิสา" }, { "docid": "375388#0", "text": "ดาวิกา โฮร์เน่ ชื่อเล่น ใหม่ (16 พฤษภาคม พ.ศ. 2535) เป็นนักแสดง นางแบบ และนักธุรกิจ เป็นลูกครึ่งไทย–เบลเยี่ยม เข้าวงการบันเทิงขณะอายุ 13-14 ปี โดยถ่ายแบบโฆษณาภาพนิ่งรถจักรยานยนต์ยี่ห้อหนึ่งของญี่ปุ่น จากนั้นได้ถ่ายแบบ เดินแบบและโฆษณามาเรื่อย จนอายุ 17 ปี ได้เซ็นสัญญากับ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ผลงานเป็นนางเอกละครเรื่องแรกและเรื่องที่2 ออกอากาศไล่เลี่ยกัน คือเรื่อง\"เงากามเทพ\"กับ\"เหนือมนุษย์\" และได้เสียงตอบรับที่ดี", "title": "ดาวิกา โฮร์เน่" }, { "docid": "126801#2", "text": "ระหว่างที่เรียนในช่วงปลาย ม.ศ. 3 เตรียมก็ได้รู้จักกับจุลศักดิ์ อมรเวช (หรือ จุก เบี้ยวสกุล) นักเขียนการ์ตูนชื่อดัง ซึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนสิทธิธรรมวิทยาศิลป์ที่เขาเรียนอยู่ จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของจุก เบี้ยวสกุล กระทั่งเมื่อจบ ม.ศ.3 แล้ว เตรียมจึงทำงานเป็นครูผู้ช่วยสอน และสอบได้วาดเขียนโท โดยเขาสอนหนังสือและเขียนการ์ตูนไปด้วย เมื่อฝีมือใช้ได้ จุก เบี้ยวสกุล จึงนำงานการ์ตูนของเตรียมไปเสนอให้ทีมงานหนังสือการ์ตูน \"ท้อปป๊อป\" ซึ่งเป็นหนังสือการ์ตูนแนวนิยายภาพพิจารณาตีพิมพ์ เตรียม ชาชุมพร จึงได้เปิดตัวครั้งแรกในหนังสือ \"ท้อปป๊อป\" ด้วยเรื่อง \"มังกรผยอง\" นิยายภาพแนวเรื่องจีนซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในเวลานั้น แต่ได้ลงพิมพ์เพียงตอนเดียวเท่านั้น เนื่องจาก \"ท้อปป๊อป\" ได้ปิดตัวเองลงในเวลาต่อมา", "title": "เตรียม ชาชุมพร" }, { "docid": "255127#0", "text": "จิตติมา เจือใจ ชื่อจริง สุนิสา วงศ์วัจฉละกุล เป็นนักร้องลูกกรุง ชื่อเล่นหน่อย เกิด 25 กรกฎาคม เธอได้รับแผ่นเสียงทองคำพระราชทานในปี พ.ศ. 2522 จากเพลงเหวหินผลงานของ คุณชัยรัตน์ วงศ์เกียรติขจร ผลงานสร้างชื่อเสียง ตั้งแต่อัลบั้มชุดแรกที่แต่งโดย คุณ ทวีพงศ์ มณีนิล (ซึ่งต่อมาคือคู่ชีวิต:เสียชีวิตแล้ว) ชื่อ ถ้าหัวใจฉันมีปีก ในปี 2519 และได้รับความนิยมอย่างล้นหลามจนมีผลงานออกมาอีกหลายอันบั้ม เช่นหลักไม้เลื้อยในปี 2520 ซึงก็ได้รับความนิยมสูงสุดเช่นกัน ตามด้วยรักยามจน ของหมอวราห์ วรเวช ผลงานของ ป.ชื่นประโยชน์ พยงค์ มุกดา พรพิรุณ นคร ถนอมทรัพย์ เนรัญชราฯลฯ", "title": "จิตติมา เจือใจ" }, { "docid": "352940#1", "text": "โจ เสมอใจ มีชื่อจริงว่า บอบบี้ โจ แกมเบิ้ล เกิดเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2510 ที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นบุตรสาวของนายเกรนด์ และนางสัมนา แกมเบิ้ล โดยเธอเป็นบุตรสาวคนที่สี่จากพี่น้องทั้งหมดหกคน เธอเกิดและเติบโตในประเทศญี่ปุ่น จนกระทั่งเมื่อเธอมีอายุได้ 2 เดือน ครอบครัวของเธอก็ได้ย้ายเข้าไปยังสหรัฐอเมริกาและใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น จนกระทั่งเธอมีอายุได้ประมาณ 3 ขวบ ครอบครัวก็โยกย้ายกลับมาพำนักยังประเทศไทย และเธอก็ได้เรียนรู้วัฒนธรรมไทยตั้งแต่นั้น", "title": "โจ เสมอใจ" }, { "docid": "378953#1", "text": "จิ๋ว พิจิตร มีชื่อจริงคือ ดิเรก เกศรีระคุปต์ เกิดที่ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง เป็นบุตรของ นายเปรื้อง และ นางสงวน เกศีระคุปต์ มีพี่น้องด้วยกัน 6 คน โดยจิ๋วเป็นคนโต สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนปัทมโรจน์ราษฎร์บำรุง อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง จากนั้นจึงเป็นครูประชาบาลเพียงปีกว่าๆ ก็ลาออก สมัยเป็นครูสอนหนังสือเคยแต่งเพลงเชียร์กีฬาประจำโรงเรียนไว้มากมาย และยังเคยร้องเพลงประกวดตามงานวัดในจังหวัดอ่างทองและจังหวัดใกล้เคียง ได้รับรางวัลชนะเลิศมาหลายครั้ง", "title": "จิ๋ว พิจิตร" } ]
3728
กรมอนามัยสังกัดกระทรวงใด?
[ { "docid": "744669#0", "text": "กรมอนามัย (English: Department of Health) เป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทย ระดับกรม สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ตั้งอยู่ที่ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี", "title": "กรมอนามัย" } ]
[ { "docid": "960235#0", "text": "กรมโรงงานอุตสาหกรรม () เป็นหน่วยงานส่วนราชการระดับกรม สังกัด กระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีหน้าที่ในการบริหาร จัดการ และกำกับดูแลธุรกิจอุตสาหกรรม โดยยึดแนวทางการรักษาสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย สุขอนามัย และประหยัดพลังงาน รวมไปถึงสนับสนุนข้อมูล และ องค์ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม", "title": "กรมโรงงานอุตสาหกรรม" }, { "docid": "334307#3", "text": "กรมควบคุมโรคนั้น เดิมเป็นกองโรคติดต่อ สังกัดกรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย ทำหน้าที่ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ได้มีประกาศราชกฤษฎีกาสถาปนา กรมสาธารณสุข ให้เป็นกระทรวงสาธารณสุขมีกรมในสังกัดรวม 7 กรม ซึ่งมีกรมที่เกี่ยวข้องกับงานโรคติดต่อ 2 กรม คือ กรมการแพทย์ และกรมสาธารณสุข(ภายหลังเปลี่ยนเป็นกรมอนามัย) กรมการแพทย์ จะรับผิดชอบกิจการของโรงพยาบาล เช่น โรงพยาบาลโรคเรื้อนพระประแดง โรงพยาบาลโรคเรื้อนขอนแก่น โรงพยาบาลโรคเรื้อนเชียงใหม่ โรงพยาบาลโรคเรื้อนนครศรีธรรมราช นิคมโรคเรื้อนเชียงราย โรงพยาบาลบางรัก โรงพยาบาลวัณโรค โรงพยาบาลบำราศนราดูร ส่วนงานควบคุมโรคอื่นๆยังอยู่ในความรับผิดชอบของกรมควบคุมโรคติดต่อ กรมสาธารณสุข", "title": "กรมควบคุมโรค" }, { "docid": "37111#2", "text": "ต่อมาเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2505 จึงได้โอนมาสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี และโอนมาสังกัดกระทรวงคมนาคม เมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 ในลำดับต่อมาได้มีการปฏิรูปกระทรวง ทบวง กรม ขึ้นใหม่ทำให้กรมอุตุนิยมวิทยา ได้โอนมาสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 และเมื่อราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๕๙ กรมอุตุนิยมวิทยาได้ถูกโอนเข้ามาสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม", "title": "กรมอุตุนิยมวิทยา" }, { "docid": "32018#6", "text": "พ.ศ. 2460 ขุนมัชการธนานุรักษ์ (แสง ภาสะฐิติ) ได้ขออนุมัติย้ายที่ว่าการอำเภอเดิมจากที่ตั้งวัดสระจันทราวาสในปัจจุบัน ไปสร้างใหม่ที่เนินดินนอกคูเมืองทางทิศเหนือห่างจากที่เดิมประมาณ 3 เส้น (ปัจจุบันเป็นที่ปลูกสร้างศูนย์อนามัยแม่และเด็กชนบท ที่ 41 เมืองพล ของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข และที่ทำการไปรษณีย์ของกรมไปรษณีย์โทรเลขกระทรวงคมนาคม )", "title": "อำเภอพล" }, { "docid": "194307#1", "text": "โรงพยาบาลอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี มีกำเนิดจากดำริและการดำเนินการก่อสร้างของพระเทพสุทธิโมลี (ผึ่ง บัวสรวง) อดีตเจ้าอาวาส วัดโบสถ์ พระอารามหลวง อำเภออินทร์บุรีและอดีตเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรีฝ่ายธรรมยุติ โดยหาทุนบริจาคจากประชาชนผู้มีจิตศรัทธาและได้ติดต่อกับกรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการขอเช่าที่ดินวัดเชี่ยน ซึ่งเป็นวัดร้างเพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างโรงพยาบาล ปี พ.ศ. 2496 ได้ติดต่อกับกระทรวงสาธารณสุขเพื่อขอสร้างเป็นโรงพยาบาลในปีต่อมา ปี พ.ศ. 2499 กระทรวงสาธารณสุขจึงได้อนุมัติสร้างให้เป็นสถานีอนามัยชั้น 1 เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2500 สังกัดกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีนายแพทย์หาญ พันธุ์ภู่ เป็นนายแพทย์ประจำ ต่อมาปี พ.ศ. 2501 ได้รับงบประมาณจากกระทรวงสาธรณสุขก่อสร้างอาคารเพื่มเติม ได้แก่บ้านพักแพทย์ บ้านพักเจ้าหน้าที่อื่นๆ โรงครัวและโรงซักฟอก วันที่ 22 มีนาคม 2502 จึงเปิดดำเนินการเป็นโรงพยาบาลในสังกัด กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินกิจการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ", "title": "โรงพยาบาลอินทร์บุรี" }, { "docid": "43901#10", "text": "นพ.โสภณ กล่าวว่า ที่เลือกใช้สีเขียวนั้นมีที่มาที่ไป คือ เดิมทีเมื่อแพทย์ทำการผ่าตัดจะใส่ชุดสีขาว แต่เมื่อสีขาวเจอกับเลือดก็จะมีปัญหาทางสายตา จึงหันมาใช้สีเขียวเพราะทำให้สบายตา ดังนั้น จึงเลือกใช้สีเขียวเป็นสีพื้นของสัญลักษณ์ สำหรับการเปลี่ยนสัญลักษณ์ใหม่ได้หารือกันในหลายส่วน เห็นตรงกันว่าจะต้องสร้างเอกลักษณ์ของ สธ.ให้ชัดเจน ส่วนตามกรมต่างๆ ในสังกัดก็จะให้อิงตามสัญลักษณ์ของ สธ.เป็นหลัก แต่หากกรมใดจะเพิ่มเติมรายละเอียดใดลงไปในสัญลักษณ์นั้นจะต้องหารือกันอีก ครั้ง", "title": "กระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)" }, { "docid": "332238#2", "text": "ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อกรมอีกหลายครั้ง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2485 จึงได้มีการจัดตั้งกระทรวงอุตสาหกรรม และโอนกิจการของกรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา เข้ามาสังกัดในชื่อว่า \"กรมโลหกิจ\" ในปี พ.ศ. 2506 ได้โอนมาสังกัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ในชื่อ\"กรมทรัพยากรธรณี\" และโอนมาสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมอีกครั้งในปี พ.ศ. 2516 จนถึงการปฏิรูประบบราชการ พ.ศ. 2545 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ได้แยกตัวออกมาตั้งเป็นกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งคนทั่วไปจะเรียกชื่อกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่สั้นๆ ว่า \"กรมเหมืองแร่\"", "title": "กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่" }, { "docid": "744669#1", "text": "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตราพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๔๙๕ ดังประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๑๖ วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๔๙๕ โดยเปลี่ยนชื่อจากกระทรวงการสาธารณสุข เป็นกระทรวงสาธารณสุข และกรมสาธารณสุข เป็นกรมอนามัย ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ด้วยเหตุนี้กรมอนามัยจึงถือเอาวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๔๙๕ เป็นวันสถาปนากรมอนามัย", "title": "กรมอนามัย" }, { "docid": "398275#1", "text": "ต่อมาเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2559 ได้โอนย้ายสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ จากเดิมเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวงใด อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2559 ตามจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2559ตามกฎหมายดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย", "title": "สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ" }, { "docid": "323200#0", "text": "สำนักงานรัฐมนตรี เป็นส่วนราชการที่มิได้มีฐานะเป็นกรม เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นกรม อยู่ในสังกัดกระทรวงต่างๆ ของประเทศไทย เดิมมีชื่อว่า \"สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี\" ในอดีตเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ทั่วไปซึ่งมิใช่งานของกรมใดกรมหนึ่งในกระทรวง หรือเปรียบเสมือนกับสำนักงานรัฐมนตรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้าง กระทรวง ทบวง กรม และมีการจัดตั้งให้สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี ใช้ชื่อว่า \"สำนักงานรัฐมนตรี\"", "title": "สำนักงานรัฐมนตรี" }, { "docid": "43901#14", "text": "พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2554 หมวด 19 มาตรา 42 ได้ระบุว่า มาตรา 42 กระทรวงสาธารณสุข มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคภัย การฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงสาธารสุข\nมาตรา 43 กระทรวงสาธารณสุข มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้\nตามที่คณะรัฐมนตรีได้รับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการในกระทรวงสาธารณสุข รวม 9 ฉบับ ในการประชุมเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2552 แล้วให้ส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไปนั้น บัดนี้ กฎกระทรวง ทั้ง 9 ฉบับได้รับการประกาศลงราชกิจจนุเบกษา เล่ม 126 ตอนที่ 98 ก วันที่ 28 ธันวาคม 2552 หน้า 32 - 115 •กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2552", "title": "กระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)" }, { "docid": "10026#7", "text": "สัญลักษณ์ของภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการศึกษาแรกของประเทศไทยที่เปิดให้มีการเรียนการสอนด้านธรณีวิทยาในระดับมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ โดยเปิดทำการสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2501 มีลักษณะเป็นรูปของบรรพชีวินหรือซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลของแอมโมไนต์และค้อนธรณีวิทยา ปัจจุบันยังไม่มีบันทึกว่า เพราะเหตุใดทางภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเลือกใช้ทั้งสิ่งเป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงาน แต่เป็นที่ทราบกันดีว่า สำหรับค้อนธรณีวิทยานั้น เป็นอุปกรณ์สำคัญประจำตัวของนักธรณีวิทยาทุกคน ดังที่ปรากฏในบทเพลงประจำกลุ่มของกลุ่มนิสิตและนักศึกษาสาขาวิชาธรณีวิทยาที่ยังมีการสืบทอดและขับร้องให้นิสิตนักศึกษาที่เข้าใหม่ทุกคนได้เรียนรู้กรมทรัพยากรธรณี เป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทยที่มีการทำงานและการศึกษาด้านธรณีวิทยา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศตั้ง กรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา ขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ เมื่อวันที่ 1 มกราคม ร.ศ. 110 (พ.ศ. 2434) นับจนถึงขณะนี้ เป็นเวลา 115 ปีแล้ว และต่อมาได้ย้ายสังกัดไปขึ้นกับกระทรวงต่าง ๆ ตามยุคสมัย 6 กระทรวง คือ กระทรวงเกษตราธิราช กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงเศรษฐการ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ โดย ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมทรัพยากรธรณี เมื่อครั้งสังกัด กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ภายหลังจากการปฏิรูประบบราชการเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 กรมทรัพยากรธรณี ได้ย้ายมาสังกัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม", "title": "ภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "283607#0", "text": "สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดกระทรวงมหาดไทย ดำเนินงานเกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวง ที่ไม่เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่ง กำกับ เร่งรัด การปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวงให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง จัดทำแผนแม่บท งานการข่าว งานประชาสัมพันธ์ การพัฒนาระบบงานและบุคลากร การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงงานในสังกัดกระทรวง งานงบประมาณ การตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ งานดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การทำนิติกรรม สัญญา งานคดี งานการต่างประเทศและกิจการผู้อพยพ งานการสื่อสาร และงานประสานราชการ", "title": "สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย" }, { "docid": "55154#1", "text": "คณะรัฐมนตรีมีมติให้กระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัยร่วมกันพิจารณาเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในส่วนที่เกี่ยวกับการจะนำหลักสูตรและบุคลากรผู้เชี่ยวชาญของโรงเรียนในสังกัดกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ มาเรียนและสอนเพิ่มเติมในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัย\nฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายชวน หลีกภัย) ได้ทำหนังสือถึง เลขาธิการคณะรัฐมนตรี (นายอนันต์ อนันตกูล) เรื่องการพิจารณายุบเลิกโรงเรียนที่สอนนักเรียนเพื่อออกมาปฏิบัติงานของ กระทรวง ทบวง กรมใด ๆ โดยเฉพาะ ซึ่งในหนังสือดังกล่าว ได้ระบุถึงมติที่ประชุมกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการว่าที่ประชุมมีมติรับหลักการให้กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาสถานศึกษาจำนวน 4 แห่ง ที่สามารถจัดการเรียนการสอนขึ้นทดแทนได้ดังนี้\n1. โรงเรียนสัตวแพทย์ (กรมปศุสัตว์)\n2. สถาบันศึกษาทางสหกรณ์ (กรมส่งเสริมสหกรณ์)\n3. โรงเรียนช่างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)\n4. สถาบันอบรมวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)\nและในตอนท้ายของหนังสือนั้นได้อ้างถึงมติที่ประชุมทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 20, 21 และ 24 มิถุนายน 2528 เกี่ยวกับการพิจารณาการยุบโอนสถานศึกษา โดยวางแนวทางไว้ 3 ประการ คือ ความพร้อมของสถาบันผู้รับ ความประหยัดในการจัดการเรียนการสอน และหน่วยงานที่รับต้องมีแผนการเรียนการสอนอยู่แล้วและหากหน่วยงานใดต้องการจะเป็นสถาบันสมทบของสถาบันในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยก็อาจพิจารณาดำเนินการต่อไปได้\nฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย (นายปรีดา พัฒนถาบุตร) ได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (นายอนันต์ อนันตกูล) เรื่อง การพิจารณายุบเลิกสถานศึกษานอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัยโดยเนื้อหาของหนังสือสรุปได้ว่า ทบวงมหาวิทยาลัยได้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาคือ\n1. ให้มหาวิทยาลัยและสถาบันในสังกัดมหาวิทยาลัยรับเป็นสถาบันสมทบหรือ มีการสมทบในหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง หากสถานศึกษานั้น ๆ มีความประสงค์\n2. ให้สถานศึกษานอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัยระงับการเปิดหลักสูตรใหม่ ยกเว้นหลักสูตรเฉพาะทางตามความต้องการของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัยไม่สามารถผลิตให้ได้\nคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการตามที่กระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัยเสนอว่าให้พิจารณายุบโอนสถาบันการศึกษาที่สังกัดหน่วยงานนอกกระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัย ส่วนรายละเอียดและขั้นตอนการดำเนินงานให้กระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้องทำความตกลงกับกระทรวงศึกษาธิการหรือทบวงมหาวิทยาลัยต่อไป โดยให้ถือเอาความต้องการของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษานั้น ๆ เป็นหลัก ส่วนหลักสูตรขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับแขนงวิชาต่าง ๆ ให้ขอรับความเห็นชอบจากกระทรวงศึกษาธิการหรือทบวงมหาวิทยาลัยแล้วแต่กรณีและหากหน่วยงานใดต้องการจะเป็นสถาบันสมทบในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยก็อาจพิจารณาต่อไปได้\nฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ (ดร.อาชว์ เตาลานนท์) ได้ให้ นโยบายกับกรมปศุสัตว์ในการพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนสัตวแพทย์ โดยให้ยกระดับการศึกษาจากประกาศนียบัตรวิชาสัตวแพทย์ (2 ปี) เป็นระดับ ปริญญาตรี (4 ปี) โดยเข้าเป็นสถาบันสมทบกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์\nสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีมติให้รับโรงเรียนสัตวแพทย์ กรมปศุสัตว์ เข้าเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ในการประชุมสภาฯ ครั้งที่ 12/2534) โดยให้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นระดับปริญญาตรี สาขาเทคนิคการสัตวแพทย์หรือวิทยาศาสตร์การสัตวแพทย์ตามความเหมาะสม โดยจัดหาหลักสูตรร่วมกันระหว่างกรมปศุสัตว์และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (คณะจึงถือว่าวันนี้เป็นวันสถาปนาคณะเทคนิคการสัตวแพทย์)\nสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีมติให้รับรองหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการสัตวแพทย์ ของสถาบันสมทบโรงเรียนสัตวแพทย์และให้เปิดสอนนิสิตรุ่นแรกได้ในปีการศึกษา 2536\nกรมปศุสัตว์ได้จัดพิธีลงนามข้อตกลงการจัดตั้งโรงเรียนสัตวแพทย์เข้าเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ {ระหว่างอธิบดีกรมปศุสัตว์ (นายทวีศักดิ์ เสสะเวช) กับอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (นายกำพล อดุลยวิทย์)} ที่โรงแรมเมอริเดียน เพรสซิเด้นท์\nทบวงมหาวิทยาลัยเห็นชอบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคนิคการสัตวแพทย์ (หลักสูตร พ.ศ. 2536)\nได้มีประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง การรับโรงเรียนสัตวแพทย์ กรมปศุสัตว์ เข้าเป็นสถาบันสมทบในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2537 โดยประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 111 ตอนพิเศษ 16 ง. วันที่ 23 มีนาคม 2537\nกรมปศุสัตว์ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนสัตวแพทย์เป็นวิทยาลัยเทคนิคการสัตวแพทย์ เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนชื่อตามแผนพัฒนากำลัง ปี 2537-2539\nได้มีประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง การรับวิทยาลัยเทคนิคการสัตวแพทย์ กรมปศุสัตว์ เข้าเป็นสมทบในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2540 โดยประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนพิเศษ 22 ง. วันที่ 12 มีนาคม 2540\nกรมปศุสัตว์และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ลงนาม “ข้อตกลงการโอน การบริหารงานของวิทยาลัยเทคนิคการสัตวแพทย์ กรมปศุสัตว์ ให้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” โดยมีสาระสำคัญคือ\n1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรมปศุสัตว์ ตกลงให้หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคนิคการสัตวแพทย์ เป็นหลักสูตรหนึ่งของคณะสัตวแพทยศาสตร์\n2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรมปศุสัตว์ ได้ตกลงให้คณะสัตวแพทยศาสตร์ รับผิดชอบบริหารหลักสูตร บุคลากร งบประมาณและพัสดุที่เกี่ยวกับวิทยาลัยเทคนิคการสัตวแพทย์ ได้ก่อนที่การโอนอำนาจหน้าที่ และกิจการบริหารบางส่วน ของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปเป็นของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทบวงมหาวิทยาลัย จะมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย\nมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีคำสั่งมอบอำนาจให้คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ ปฏิบัติราชการแทนอธิการบดีในการบริการหลักสูตร บุคลากร งบประมาณ และพัสดุ ที่เกี่ยวกับวิทยาลัยเทคนิคการสัตวแพทย์\nกรมปศุสัตว์มีหนังสือถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง ขอตัวข้าราชการ 4 อัตราของวิทยาลัยเทคนิคการสัตวแพทย์ กลับไปปฏิบัติหน้าที่ราชการที่กรมปศุสัตว์\nมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีหนังสือถึงกรมปศุสัตว์ เรื่อง ให้ข้าราชการไปปฏิบัติหน้าที่ราชการที่กรมปศุสัตว์และส่งตัวข้าราชการ 4 อัตราของวิทยาลัยเทคนิคการสัตวแพทย์กลับไปปฏิบัติหน้าที่ราชการที่กรมปศุสัตว์ตามความประสงค์ของกรมปศุสัตว์ โดยขอให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการที่วิทยาลัยเทคนิคการสัตวแพทย์ จนสิ้นสุดการเรียนการสอนภาคการศึกษาที่ 1/2544 (เดือนตุลาคม 2544)\nทบวงมหาวิทยาลัยเห็นชอบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคนิคการสัตวแพทย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2545)\nคณะสัตวแพทยศาสตร์กับวิทยาลัยเทคนิคการสัตวแพทย์ทำข้อตกลงความร่วมมือกันทางด้านวิชาการและการบริการ\nมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับกรมปศุสัตว์ทำข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาบัณฑิตเทคนิคการสัตวแพทย์ สนับสนุนวิชาการ และการสนับสนุนรับเข้าไปปฏิบัติงานในตำแหน่งและสายงานที่เกี่ยวข้องและยกเลิกการจัดตั้งโรงเรียนสัตวแพทย์ที่เป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฉบับลงวันที่ 17 กันยายน 2536 เพื่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พัฒนาจัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคการสัตวแพทย์เป็นคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ต่อไป\nได้ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณบดี ในการประชุมครั้งที่ 2/2549 เรื่อง ขออนุมัติยกฐานะจากวิทยาลัยเทคนิคการสัตวแพทย์ขึ้นเป็นคณะเทคนิคการสัตวแพทย์และให้นำเสนอสภามหาวิทยาลัยฯ เพื่อพิจารณา\nที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยฯ มีมติอนุมัติยกฐานะวิทยาลัยเทคนิคการสัตวแพทย์ขึ้นเป็น คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ ในการประชุมครั้งที่ 2/2549\nได้มีประกาศสภามหาวิทยาลัย เรื่อง จัดตั้งคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ขึ้นเป็นหน่วยงานในสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์\nได้มีประกาศสภามหาวิทยาลัย เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในคณะเทคนิคการสัตวแพทย์", "title": "คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" }, { "docid": "960137#9", "text": "กระทรวงเกษตราธิการ ในปี 2464 ถึง 2477 กระทรวงมหาดไทย ในปี 2475 กระทรวงเศรษฐการ ในปี 2476 ต่อมาได้สังกัด ทบวงเกษตราธิการ ถึงปี 2478 กระทรวงเกษตราธิการ ในปี 2478 หลังจากยกฐานะทบวงเกษตราธิการ ขึ้นเป็นกระทรวง และ สังกัดจนกระทั่งเปลื่ยนชื่อเป็น กระทรวงเกษตร และ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามลำดับจนถึงปี 2545 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในปี 2545 (แต่ได้แยกส่วนงานอุทยานแห่งชาติ การดูแลสัตว์ป่า ตั้งเป็นกรมใหม่ในชื่อ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และส่วนงานทรัพยากรทางทะเล เป็นกรมใหม่ในชื่อ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สังกัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)[2]", "title": "กรมป่าไม้" }, { "docid": "39235#1", "text": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศตั้ง กรมราชโลหกิจแลภูมิ์วิทยา สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ เมื่อวันที่ 1 มกราคม ร.ศ. 110 (พ.ศ. 2434) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับแร่ โลหะธาตุ การประทานบัตรและสัญญาการแร่โลหะธาตุ และภูมิวิทยา (ธรณีวิทยา) และต่อมาได้ย้ายสังกัดไปขึ้นกับกระทรวงต่าง ๆ ตามยุคสมัยอีก 3 กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2475) กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และกระทรวงเศรษฐการ เมื่อ พ.ศ. 2506 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมทรัพยากรธรณี สังกัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ต่อมาย้ายไปสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ภายหลังจากการปฏิรูประบบราชการเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 กรมทรัพยากรธรณี ได้ย้ายมาสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม", "title": "กรมทรัพยากรธรณี" }, { "docid": "412713#5", "text": "พ.ศ. 2491 นายแพทย์ขุนวิชิตภัยพยาธิ (นายแพทย์วิชิต โพธิปักษ์) ได้ย้ายมารับราชการที่จังหวัดศรีสะเกษ และได้แบ่งส่วนงานสาธารณสุขออกเป็นกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ส่วนขุนสุขวิชวรการ ได้ไปดำรงตำแหน่งอนามัยจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดกรมอนามัย \"สุขศาลาจังหวัดศรีสะเกษ\" ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น \"โรงพยาบาลศรีสะเกษ\" เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2491 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนาโรงพยาบาลศรีสะเกษขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมีนายแพทย์วิชิต โพธิปักษ์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ผู้อำนวยการคนแรกของโรงพยาบาลแห่งนี้ ", "title": "โรงพยาบาลศรีสะเกษ" }, { "docid": "8013#3", "text": "การพิจารณาและพิพากษาคดีในสมัยกรุงศรีอยุธยาแบ่งเป็นหลายหน้าที่ให้หลายหน่วยงานทำงานร่วมกัน เริ่มจากกรมรับฟ้อง ลูกขุน ตระลาการ ผู้ปรับ กล่าวคือ กรมรับฟ้อง เป็นกรมต่างหาก มีหน้าที่รับฟ้องจากผู้เดือดร้อนทางอรรถคดี กรมรับฟ้องนำฟ้องเสนอลูกขุนที่เป็นกรมต่างหาก เมื่อลูกขุนตรวจฟ้องแล้ว กรมรับฟ้องก็จะส่งฟ้องไปยังศาลต่าง ๆ ที่แยกย้ายกันสังกัดกระทรวงกรมต่าง ๆ ศาลใดศาลหนึ่งแล้วแต่คดีความนั้นจะอยู่ในอำนาจศาลใด เช่น ศาลกรมวัง ศาลกรมนา เป็นต้น แต่ละศาลจะมีตระลาการที่จะพิจารณาไต่สวนอรรถคดีเป็นของตนเอง โดยมีลูกขุนและผู้ปรับซึ่งอยู่ในกรมอื่นต่างหากทำหน้าที่ชี้ขาดและปรับสินไหมพินัยร่วมกันอยู่", "title": "ศาลชั้นต้น (ประเทศไทย)" }, { "docid": "50604#2", "text": "ภักดี รับราชการกระทรวงสาธารณสุข เคยดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบดีกรมอนามัย ", "title": "ภักดี โพธิศิริ" }, { "docid": "744669#3", "text": "ปัจจุบัน กรมอนามัยมีภารกิจและหน้าที่รับผิดชอบตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๕๒ ดังประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๒๖ ตอนที่ ๙๘ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๒", "title": "กรมอนามัย" }, { "docid": "853140#1", "text": "วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น เริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2506 ในระยะเริ่มต้นได้ใช้สถานที่หน่วยควบคุมคุดทะราด จังหวัดราชบุรี เป็นการชั่วคราว ใช้ชื่อเมื่อแรกก่อตั้งเป็น “ศูนย์ฝึกและอบรมอนามัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” สังกัดกองการศึกษาและฝึกอบรม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และเมื่อการก่อสร้างอาคารสถานที่ ณ จังหวัดขอนแก่น แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2507 จึงได้ย้ายที่ทำการมายังสถานที่ในปัจจุบัน เลขที่ 90/1 ถนนอนามัย ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น", "title": "วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น" }, { "docid": "334603#3", "text": "นายแพทย์วัลลภ ไทยเหนือ เริ่มรับราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จนได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมอนามัย ในระหว่างปี พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2544 อธิบดีกรมควบคุมโรคติดต่อ ในปี พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2545 และตำแหน่งสุดท้ายคือ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ก่อจะถูกสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ปลดจากตำแหน่ง ซึ่งนายแพทย์วัลลภ ไทยเหนือ ได้แถลงโต้เหตุโดนปลดว่าเป็นเพราะขวางการประมูลคอมพิวเตอร์มูลค่า 900 ล้าน", "title": "วัลลภ ไทยเหนือ" }, { "docid": "334058#4", "text": "พ.ศ. 2494 การศึกษายังคงใช้หลักสูตรชั้น 2 แต่ปรับระยะเวลา 1 ปี เป็น 1 ปี 6 เดือนและรับผู้สำเร็จการศึกษา ม.ศ. 3 โรงเรียนผดุงครรภ์ชั้น 2 อยู่ในสังกัดกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2497 วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพฯ แห่งที่ 1 ได้ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 เดิมชื่อ “โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยวชิรพยาบาล” หลักสูตร 3 ปี 6 เดือน รับผู้สำเร็จการศึกษา ม.ศ. 3 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพยาบาลของวชิรพยาบาล พ.ศ. 2508 โรงเรียนผดุงครรภ์ชั้น 2 ใช้หลักสูตรผดุงครรภ์อนามัย และใช้ชื่อสถานศึกษาว่า “โรงเรียนผดุงครรภ์อนามัย วชิระ ” สังกัดกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แต่ที่ตั้งยังคงอยู่ ในวชิรพยาบาลเช่นเดิม พ.ศ. 2511 วชิรพยาบาลต้องการขยายอาคาร จึงได้ขอให้โรงเรียนผดุงครรภ์อนามัยย้ายออกไปอยู่บริเวณด้านหลังฝั่งตรงข้ามถนนกับโรงพยาบาลฯ ซึ่งเป็นบริเวณเดียวกับพยาบาลเกื้อการุณย์ สำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2526 โรงเรียนผดุงครรภ์อนามัย วชิระ ได้เปลี่ยนเป็นหลักสูตรการสาธารณสุขชุมชน (ผดุงครรภ์อนามัย) ระยะเวลา 2 ปี รับผู้สำเร็จ ม.ศ. 5 พ.ศ. 2530 โรงเรียนผดุงครรภ์อนามัย วชิระ ใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ระดับต้น) และในวันที่ 8 กรกฎาคม 2530ได้เปลี่ยนชื่อสถานศึกษาเป็น “วิทยาลัยพยาบาลและผดุงครรภ์ วชิระ” สังกัดศูนย์สงเสริมสุขภาพ เขต 1 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2537 วิทยาลัยพยาบาลและผดุงครรภ์ วชิระ ได้เปลี่ยนมาใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ ระดับต้น โดยความเห็นชอบของทบวงมหาวิทยาลัยและสภาการพยาบาลมีนักศึกษารุ่นที่96 จำนวน 100 คน ซึ่งเข้าศึกษาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2537 ", "title": "วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ" }, { "docid": "744669#2", "text": "กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีพัฒนาการมาเป็นเวลายาวนาน มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่การบริหารจัดการและการแบ่งส่วนราชการให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การปกครองและสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญคือให้เท่าทันกับสภาพปัญหาสาธารณสุขและระบบสุขภาพในยุคโลกาภิวัตน์ ในปีพ.ศ. ๒๕๔๕ รัฐบาลมีนโยบายปฏิรูประบบราชการ จึงมีการถ่ายโอนบุคลากรและภารกิจบางส่วนของกรมอนามัยให้กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๔๕ ประกาศ ณ วันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๕", "title": "กรมอนามัย" }, { "docid": "720648#5", "text": "เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2545 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกหนังสือที่ สธ 0605/375 รับรองว่าบุคคลรักเพศเดียวกันมิได้ถือเป็นผู้มีความผิดปกติทางจิตหรือป่วยเป็นโรคแต่อย่างใด โดยอ้างอิงถึงองค์การอนามัยโลก (WHO) และตามบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ ICD-10 ฉบับแก้ไข ครั้งที่ 1 ไทย-อังกฤษ เล่มที่ 1 (ก) ตารางการจัดกลุ่มโรค องค์การอนามัยโลก ซึ่งได้เอาลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างคนรักเพศเดียวกันออกจากกลุ่มคนที่มีความผิดปกติทางจิต", "title": "สิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย" }, { "docid": "52329#1", "text": "วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ เดิมมีชื่อว่า \"โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย\" สังกัดกองแพทย์ กรมตำรวจ โดยเริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2512 เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพยาบาลในประเทศ รวมทั้ง ภายในโรงพยาบาลตำรวจด้วย กรมตำรวจจึงมีมติให้กองแพทย์ เปิดรับสมัครนักเรียนพยาบาลรุ่นแรกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2513 โดยผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรพยาบาลผดุงครรภ์อนามัยซึ่งเทียบเท่าระดับอนุปริญญา ", "title": "วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ" }, { "docid": "334307#4", "text": "ใน ปี พ.ศ. 2495 ได้เปลี่ยนชื่อ กรมสาธารณสุขเป็นกรมอนามัย และโอนกิจการของโรงพยาบาลเฉพาะโรคในสังกัดกรมอนามัย และยกฐานะหน่วยงานเฉพาะโรคให้เป็นกอง คือ กองควบคุมวัณโรค กองควบคุมโรคเรื้อน ปรับปรุงขยายงานควบคุมไข้มาลาเรียและโรคเท้าช้าง เป็นกองควบคุมมาลาเรียและโรคเท้าช้าง รวมงานควบคุมคุดทะราดกับกามโรคตั้งเป็นกองควบคุมกามโรคและคุดทะราด", "title": "กรมควบคุมโรค" }, { "docid": "334307#0", "text": "กรมควบคุมโรค เป็นส่วนราชการระดับกรม ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ในการนำวิชาการและเทคโนโลยีต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการควบคุมโรคทั้งในประเทศและในประเทศส่วนภูมิภาค การทำงานของกรมควบคุมโรคถูกระบุไว้อย่างชัดเจนและมีนโยบายการทำงานที่แน่ชัด ภารกิจหลักของกรมคือการควบคุมโรคและสิ่งอื่นใดที่เป็นภัยต่อสุขภาพโดยจะกระทำทั้งด้านเชิงรับและเชิงรุกซึ่งจะกระทำร่วมกับทั้งภาครัฐและภาคเอกชน สำหรับในเรื่องของงบประมาณ กรมได้รับการสนับสนุนโดยองค์กรต่างชาติมากมายหลายองค์กรรวมไปถึงองค์กระที่ไม่แสวงผลกำไรของบิล เกตส์และ องค์การอนามัยโลก", "title": "กรมควบคุมโรค" }, { "docid": "13431#6", "text": "กรมธรรมการ (หน่วยงานในสมัยที่เป็นกระทรวงธรรมการ) กรมศึกษาธิการ (หน่วยงานในสมัยที่เป็นกระทรวงธรรมการ) กรมมหาวิทยาลัย ต่อมายกฐานะเป็นทบวงมหาวิทยาลัย ปัจจุบันคือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กรมวิชาการ ปัจจุบันลดฐานะเป็น สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมอาชีวศึกษา ปัจจุบันคือสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) ปัจจุบันถูกยุบรวมเข้ากับกรมสามัญศึกษา เป็น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมสามัญศึกษา ปัจจุบันถูกยุบรวมเข้ากับสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) เป็นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมวิสามัญศึกษา มีหน้าที่จัดการศึกษาตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่ 1-5 ภายหลังยุบรวมกับกรมสามัญศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ภายหลังถูกยุบรวมเป็นสำนักงานบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรมการฝึกหัดครู กรมพลศึกษา ปัจจุบันย้ายไปสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ภายหลังเปลี่ยนเป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) ปัจจุบันคือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.) ปัจจุบันคือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 39 แห่ง กรมการศาสนา เดิม ออกเป็น 2 ส่วน คือ กรมการศาสนาสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรมศิลปากร ปัจจุบันย้ายไปสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เดิมคือกองวัฒนธรรมสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันกรมส่งเสริมวัฒนธรรมสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ปัจจุบันคือ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) ปัจจุบันย้ายไปสังกัดกระทรวงพาณิชย์", "title": "กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)" } ]
125
เกว็น เรนี สเตฟานี เกิดที่เมืองชื่อว่าอะไร?
[ { "docid": "20659#2", "text": "สเตฟานีเกิดเมื่อ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1969 ที่ฟูลเลอร์ตัน รัฐแคลิฟอร์เนีย[8] เติบโตในครอบครัวโรมันคาทอลิกในแอนะไฮม์ รัฐแคลิฟอร์เนีย[9] ชื่อของเธอตั้งตามชื่อบริกรหญิงบนเครื่องบนจากบนประพันธ์ปี 1968 เรื่อง แอร์พอร์ต ส่วนชื่อกลาง เรเน (Renée) มาจากเพลงของวงเดอะโฟร์ทอปส์ ปี 1968 ที่คัฟเวอร์ของเลฟต์ แบงก์ในปี 1966 ที่ชื่อ \"วอล์กอะเวย์เรเน\"[10] พ่อเธอ เดนนิส สเตฟานี เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายอิตาลี ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่การตลาด (marketing executive) ที่ยามาฮ่า[11] ส่วนแม่ของเธอ แพตตี (สกุลเดิม ฟลินน์)[12] ทำงานเป็นนักบัญชี ก่อนที่จะออกมาเป็นแม่บ้าน[11][13] พ่อแม่ของเกว็นนั้นเป็นแฟนเพลงแนวโฟล์ก ยังให้เธอฟังเพลงของศิลปินอย่าง บ็อบ ดิลลันและเอมมีลู แฮร์ริส[9] เธอยังมีน้องอีก 2 คน คือ จิลล์และทอดด์ และมีพี่ชายชื่อเอริก[9][13] เอริกเคยเป็นมือคียบอร์ดให้วงโนเดาต์ ก่อนจะออกไปทำงานสร้างภาพเคลื่อนไหวเรื่อง เดอะซิมป์สันส์[8]", "title": "เกว็น สเตฟานี" } ]
[ { "docid": "965407#0", "text": "\"จัสต์อะเกิร์ล\" () เป็นเพลงของวงอเมริกัน โนเดาต์ จากสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 3 \"Tragic Kingdom\" (1995) เพลงนี้แต่งโดยเกว็น สเตฟานี และทอม ดูมอนต์ โพรดิวซ์โดยแมตทิว ไวล์เดอร์ ออกจำหน่ายในฐานะซิงเกิ้ลนำในสหรัฐเมื่อ 21 กันยายน 1995 ในยุโรปบางประเทศ \"จัสต์อะเกิร์ล\" ออกขายในปี 1997 และยังปรากฎในอัลบั้มรวมฮิตปี 2003 ชุด \"The Singles 1992–2003\" เนื้อเพลง \"จัสต์อะเกิร์ล\" เป็นเพลงนิวเวฟ พูดในมุมมองชีวิตของสเตฟานี ในฐานะผู้หญิงกับการติดขัดในความเข้มงวดของผู้ปกครอง \"จัสต์อะเกิร์ล\" เป็นเพลงแรกที่สเตฟานีแต่ง โดยปราศจากการช่วยเหลือของพี่ชาย เอริก", "title": "จัสต์อะเกิร์ล" }, { "docid": "20659#31", "text": "ซิงเกิลนำจาก เลิฟ. แอนเจิล. มิวสิก. เบบี. เพลง \"วอตยูเวติงฟอร์?\" เป็นหนึ่งในซิงเกิลที่ดีที่สุดของสเตฟานี จากเว็บไซต์พิตช์ฟอร์ก รวมถึงอยู่ในอันดับ 16 ใน \"50 ซิงเกิ้ลปี 2004\" ของเว็บไซต์นี้[167][168] นอกจากนั้น \"ฮอลลาแบกเกิร์ล\" จากอัลบัมดังกล่าว ยังถือเป็นเพลงแรกที่ขายทางดิจิทัลด้วยยอดขายมากกว่าล้านในสหรัฐ[3] ยังได้รับการยืนยันระดับแผ่นเสียงทองคำขาวจากทั้งในสหรัฐและออสเตรเลีย[169][170] ยังขึ้นอันดับสูงสุดที่อันดับ 41 ของนิตยสาร บิลบอร์ด ในชาร์ตปลายทศวรรษ 2000–09[171] ตั้งแต่ที่ออกในปี 2005 \"ฮอลลาแบกเกิร์ล\" ยังถือว่าเป็น \"เพลงลายเซ็น\" ของสเตฟานี จากนิตยสาร โรลลิงสโตน[172]", "title": "เกว็น สเตฟานี" }, { "docid": "20659#25", "text": "เอเอกซ์เอส เรียกสเตฟานีว่า \"บุคคลผู้ทรงอิทธิพล\" ด้วนเสียงร้องที่มีช่วงกว้าง \"อย่างเหลือเชื่อ\"[119] เดอะนิวยอร์กไทมส์ ให้เสียงของสเตฟานีว่า \"มีจริต\" และบอกว่าเธอ \"ติดการร้องเสียงสั่น\"[120] ไอจีเอ็น บรรยายว่า สเตฟานี \"มีเสียงร้องที่ยอดเยี่ยมอันมีเอกลักษณ์\"[121] ชิคาโกทริบูน กล่าวว่า สเตฟานี \"มีเสียงร้องต่ำที่ก๋ากั่น\"[122]", "title": "เกว็น สเตฟานี" }, { "docid": "20659#0", "text": "เกว็น เรนี สเตฟานี (English: Gwen Renée Stefani) เกิด 3 ตุลาคม ค.ศ. 1969 เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง นักออกแบบด้านแฟชั่น ชาวอเมริกัน เธอเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและนักร้องนำวงโนเดาต์ที่ประสบความสำเร็จอย่างกว้างขวางหลังออกสตูดิโออัลบัมชุดแรก ทราจิกคิงดอม (1995) มีซิงเกิลที่ประสบความสำเร็จอย่าง \"จัสต์อะเกิร์ล\", \"โดนต์สปีก\", \"เฮย์เบบี\" และ \"อิตส์มายไลฟ์\" หลังจากที่วงว่างเว้นจากการทำงาน สเตฟานีออกมาเป็นศิลปินเดี่ยวแนวป็อปในปี 2004 ออกสตูดิโออัลบัมเดี่ยวชื่อ เลิฟ. แอนเจิล. มิวสิก. เบบี. ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเพลงป็อปในคริสต์ทศวรรษ 80 อัลบั้มได้รับเสียงวิจารณ์และยอดขายที่ดี[1][2] มีซิงเกิลที่ประสบความสำเร็จอย่าง \"วอตยูเวติงฟอร์?\", \"ริชเกิร์ล\" และ \"ฮอลลาแบกเกิร์ล\" เพลงหลังขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ต บิลบอร์ด ฮอต 100 และยังเป็นซิงเกิ้ลดาวน์โหลดแรกในสหรัฐที่มียอดขายเกินล้าน[3] ในปี 2006 สเตฟานีออกสตูดิโออัลบัมชุด 2 เดอะสวีตเอสเคป มีซิงเกิลประสบความสำเร็จ 2 ซิงเกิลคือ \"ไวนด์อิตอัป\" และไตเติลแทร็ก \"เดอะสวีตเอสเคป\" อัลบัมเดี่ยวชุด 3 ชุด ดิสอิสวอตเดอะทรุทฟีลส์ไลก์ (2016) เป็นอัลบัมเดี่ยวอัลบัมแรกของเธอที่สามารถขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ต บิลบอร์ด 200", "title": "เกว็น สเตฟานี" }, { "docid": "759449#0", "text": "\"พีค็อก\" () เป็นเพลงของเคที เพร์รี นักร้องชาวอเมริกัน จากสตูดิโออัลบั้มที่สาม \"ทีนเอจดรีม\" (2010) แคปิตอลเรเคิดส์เคยไม่เห็นด้วยที่จะใส่เพลงนี้ในอัลบั้มของเธอ เนื่องจากเพลงมีเนื้อเพลงเกี่ยวข้องกับอวัยวะเพศชาย คล้ายกับเพลง \"ไอคิสด์อะเกิร์ล\" ซึ่งเธอปฏิเสธสิ่งที่เกิดขึ้น \"พีค็อก\" ถูกวิจารณ์อย่างรุนแรงและในด้านดนตรี เพลงถูกนำไปเปรียบเทียบกับเพลง \"มิกกี\" ของโทนี เบซิล และ \"ฮอลลาแบ็กเกิร์ล\" ของเกว็น สเตฟานี", "title": "พีค็อก (เพลง)" }, { "docid": "20659#16", "text": "ปี 2018 สเตฟานีเซ็นสัญญาจำนวน 25 โชว์ แสดงที่แซพโพสเทียเตอร์ในลาสเวกัส เริ่ม 27 มิถุนายน 2018 และจบลง 16 มีนาคม 2019 ชื่อคอนเสิร์ตครั้งนี้ใช้ชื่อตามเพลงของโนเดาต์ว่า \"จัสต์อะเกิร์ล\"[92]", "title": "เกว็น สเตฟานี" }, { "docid": "715213#4", "text": "เจม อะวอด จากบิลบอร์ด รู้สึกว่าเพลง \"ทำให้นึกถึงเพลง \"ฮอลลาแบ็กเกิลส์\" ของเกว็น สเตฟานี\" คิตตี เอมไพร์ จากเดอะการ์เดียน เขียนว่าเพลง \"คล้ายชาร์ลี เอ็กซ์ซีเอ็กซ์ ที่มีจังหวะตายตัว\"", "title": "แบดบลัด (เพลงเทย์เลอร์ สวิฟต์)" }, { "docid": "20659#24", "text": "เมื่อ 25 พฤศจิกายน 2015 สเตฟานีและเพื่อนร่วมรายการ เดอะวอยซ์ และเป็นนักร้องเพลงคันทรี เบลก เชลตัน ประกาศว่าคบหากันอยู่[118]", "title": "เกว็น สเตฟานี" }, { "docid": "20659#23", "text": "สเตฟานีมีบุตรชาย 3 คนกับรอสส์เดล ได้แก่ คิงสตัน เจมส์ แม็กเกรเกอร์ รอสส์เดล เกิด 26 พฤษภาคม 2006[113] ซูมา เนสตา ร็อก รอสส์เดล เกิด 21 สิงหาคม 2008[114] และอพอลโล โบอี ฟลินน์ รอสส์เดล เกิด 28 กุมภาพันธ์ 2014[115] เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2015 สเตฟานีฟ้องหย่ารอสส์เดล โดยให้เหตุผลว่า \"เข้าถึงความแตกต่างไม่ได้\"[116] การหย่าร้างสิ้นสุดลงเมื่อ 8 เมษายน 2016 โดยรอสส์เดลตกลงที่จะแบ่งทรัพย์สินสมรสไม่เท่ากัน[117]", "title": "เกว็น สเตฟานี" }, { "docid": "971184#0", "text": "\"วอตยูเวติงฟอร์?\" () เป็นเพลงชาวนักร้องชาวอเมริกัน เกว็น สเตฟานี จากอัลบัมเดี่ยวชุดแรก \"Love. Angel. Music. Baby.\" (2004) แต่งโดยสเตฟานี และลินดา เพอร์รี เป็นเพลงเปิดตัวของอัลบัมและถือเป็นซิงเกิลเปิดตัวของเกว็น สเตฟานี \"วอตยูเวติงฟอร์?\" มีเนื้อหาเกี่ยวกับการขาดแรงบันดาลใจของสเตฟานี การกลัวที่ผลิตผลงานอัลบัม และการตอบรับความกดดันที่ส่งผลต่อค่ายเพลงของเธอ แนวเพลงหลังเป็นแนวอิเล็กโทรป็อปและยังเป็นการแนะนำนักร้องแบ็กอัป 4 คนของสเตฟานี ที่ใช้ชื่อว่า ฮาราจูกุเกิลส์ ที่มีความสำคัญในการผลิตอัลบัมชุดนี้", "title": "วอตยูเวติงฟอร์?" }, { "docid": "211529#54", "text": "เสียงร้องของกาก้าถูกนำไปเปรียบเทียบกับเสียงของมาดอนนาและเกว็น สเตฟานี บ่อยครั้ง ในขณะที่โครงสร้างทางดนตรีของเธอคล้ายคลึงกับเพลงคลาสสิกป็อบยุค 1980 และเพลงยูโรป็อบในยุค 90[68] ในการวิเคราะห์อัลบั้มเปิดตัว The Fame หนังสือพิมพ์เดอะซันเดย์ไทมส์ กล่าวว่า เป็นการผสมผสานทางดนตรี, แฟชั่น, ศิลปะ และเทคโนโลยี เลดี้กาก้าได้ปลุกกระแสความเป็นมาดอนนา, ไคลี มิโนก และเพลงฮอลลาแบ็คเกิร์ลของเกว็น สเตฟานีในปี 2001 หรือ เกรซ​ โจนส์ เช่นเดียวกับซาร่าห์ รอดแมน นักวิจารณ์แห่งหนังสือพิมพ์เดอะบอสตันโกลบวิจารณ์ว่า \"เธอได้แรงบันดาลใจจากมาดอนนารวมถึงเกว็น สเตฟานี และแฝงความเป็นเด็กสาวของเธอเอง แต่มีเสียงร้องที่ทรงพลังและจังหวะเร้าอารมณ์ แม้ว่าเนื้อร้องจะขาดสาระไปบ้าง เธอได้พาคุณเข้าไปสู่โลกแห่งความสุขโดยแทบไม่ต้องใช้ความพยายามอะไรมากเลย\"[69][70] ไซมอน เรโนลดส์ เขียนไว้ว่า \"ทุกอย่างที่เกี่ยวกับเลดี้กาก้ามาจากอิเล็กโทรแคลช ยกเว้นดนตรีซึ่งไม่ได้มาจากยุค 1980 และเป็นเพลงป็อบที่คุ้นหูโดยผ่านโปรแกรมออโต้ทูนส์กับจังหวะอาร์แอนด์บี", "title": "เลดีกากา" }, { "docid": "20659#8", "text": "สตูดิโออัลบัมชุดที่ 2 ของสเตฟานี ชุด เดอะสวีตเอสเคป ออกขาย 1 ธันวาคม 2006[44] สเตฟานียังคงทำงานร่วมกับแคแนล, เพอร์รี และเดอะเนปจูนส์ รวมถึงเอค่อนและทิม ไรซ์-ออกซ์ลีย์จากวงร็อกอังกฤษ คีน อัลบัมนี้เน้นเพลงอิเล็กทรอนิกส์และแดนซ์สำหรับคลับมากขึ้นกว่าอัลบัมชุดก่อน[11] อัลบัมออกพร้อมกับดีวีดีการออกทัวร์ครั้งแรกของสเตฟานี ที่ใช้ชื่อชุดว่า ฮาราจูกุเลิฟเวอส์ไลฟ์ อัลบัมชุดนี้ได้รับเสียงตอบรับผสมกันไป ทั้งบอกว่า \"ได้ความรู้สึกขุ่นหมองอย่างน่าประหลาดใจ, ความรู้สึกเหมือนอัตชีวประวัติเล็กน้อย แต่สเตฟานีก็ยังไม่ทำให้เชื่อได้ว่าเป็นดีวาที่ได้พึงพอใจ\"[45] และยังเรียกอัลบัมนี้ว่า \"การกลับมาที่เร่งรีบ ที่ดูซ้ำกับ เลิฟ. แอนเจิล. มิวสิก. เบบี. แต่พลังน้อยกว่า\"[46]", "title": "เกว็น สเตฟานี" }, { "docid": "20659#17", "text": "สเตฟานีทำชุดเสื้อผ้าส่วนใหญ่ที่เธอสวมใส่บนเวทีกับวงโนเดาต์ เป็นผลทำให้เธอเริ่มรวบรวม สรรหาสิ่งดี ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สไตลิสต์ที่ชื่อ แอนเดรีย ลีเบอร์แมน เป็นคนแนะนำเธอให้รู้จักกับชุดแต่งกายแบบโอตคูเชอร์ นำไปสู่การที่เธอออกสินค้าแฟชั่นที่ใช้ชื่อว่า แอล.เอ.เอ็ม.บี. ในปี 2004[9] โดยได้รับอิทธิพลจากแฟชั่นที่หลากหลาย อาทิ สไตล์กัวเตมาลา ญี่ปุ่น และจาเมกา[93] สินค้าเธอยังได้รับความนิยมในหมู่คนดัง มีผู้สวมใส่อย่าง เทรี แฮตเชอร์, นิโคล คิดแมน และตัวเธอเอง[7][94] ในเดือนมิถุนายน 2005 เธอแยกแบรนด์สินค้าที่ราคาถูกกว่า ในชื่อ ฮาราจูกุเลิฟเวอส์ ที่เธออธิบายว่า \"เป็นสินค้าที่น่าเชิดชู\" มีผลิตภัณฑ์หลายอย่าง เช่น กล้องถ่ายรูป สิ่งประดับโทรศัพท์มือถือ และชุดชั้นใน[95][96] ในปลายปี 2006 สเตฟานีออกสินค้าตุ๊กตารุ่นจำกัด เรียกว่า \"เลิฟ. แอนเจิล. มิวสิก. เบบี.\" ตุ๊กตาได้รับแรงบันดาลใจจากแฟชั่นต่าง ๆ ที่สเตฟานีและฮาราจูกุเกิลส์สวมใส่ขณะออกทัวร์อัลบัม[97]", "title": "เกว็น สเตฟานี" }, { "docid": "20659#39", "text": "หมวดหมู่:นักร้องอเมริกัน หมวดหมู่:บุคคลจากแอนะไฮม์", "title": "เกว็น สเตฟานี" }, { "docid": "20659#27", "text": "สเตฟานีเริ่มจุดบินดิในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 หลังจากที่เธอได้ไปพบปะครอบครัวของโทนี แคแนล หลายครั้ง เขามีเชื้อสายอินเดีย[141] ในช่วงที่โนเดาต์แจ้งเกิด สเตฟานี สวมเครื่องตกแต่งหน้าผากในมิวสิกวิดีโอหลายครั้ง จนทำให้เครื่องประดับเหล่านี้ได้รับความนิยมในเวลาสั้น ๆ ในปี 1997[142] โดยได้รับความสนใจครั้งแรกในมิวสิกวิดีโอปี 1995 เพลง \"จัสต์อะเกิร์ล\" ที่เป็นที่รู้จักเรื่องที่เธอโชว์เอว และมักสวมเสื้อเชิร์ตที่เปิดเผยเรือนร่าง[143] การออกแบบการแต่งหน้าของสเตฟานี โดยทั่วไปมักใช้แป้งโทนสว่าง ทาลิปสติกสีแดงสดใส และทำคิ้วรูปโค้ง เธอพูดถึงประเด็นเหล่านี้ในเพลงที่ชื่อ \"แมจิกส์อินเดอะเมกอัป\" (Magic's in the Makeup) ของโนเดาต์ ในอัลบัมชุด รีเทิร์นออฟแซเทิร์น โดยตั้งคำถามไว้ว่า \"หากมีเวทมนตร์ในการแต่งหน้า แล้วฉันคือใครกัน\"[9] สเตฟานีมีผมสีสีน้ำตาลเข้มตามธรรมชาติ เธอเปลี่ยนสีผมธรรมชาตินั้นตั้งแต่เธอเรียนเกรด 9[144] ตั้งแต่ปลาย 1994 เธอมักไว้ผมสีบลอนด์เงิน สเตฟานีพูดถึงเรื่องนี้ในเพลงที่ชื่อ \"แพลตตินัมบลอนด์ไลฟ์\" (Platinum Blonde Life) ในชุด ร็อกสเตดี และรับบทเป็นสาวผมบลอนด์ จีน ฮาร์โลว์ ในภาพยนตร์ชีวประวัติในปี 2004 เรื่อง บินรัก บันลือโลก[145] ถึงแม้เธอมักจะไว้ผมสีบลอนด์ แต่เธอก็เคยย้อมผมสีน้ำเงินในปี 1998[142] และสีชมพู ในปี 2001[146] ตอนปรากฏบนปกชุด รีเทิร์นออฟแซเทิร์น[147]", "title": "เกว็น สเตฟานี" }, { "docid": "20659#33", "text": "ที่งานกาลาของแอมฟาร์ ในเทศกาลภาพยนตร์กาน 2011 สเตฟานีนำชุดลูกไม้สีดำที่เธอแต่งในงานนี้เข้าประมูลเพื่อการกุศล โดยได้เงินมากกว่า 125,000 เหรียญสหรัฐ[176] ชุดนี้เกิดข้อพิพาทหลังจากตัวแทนของนักออกแบบ ไมเคิล แอนเจิล ที่ช่วยสเตฟานีออกแบบและทำงานในฐานะสไตลิสต์ออกมายืนยันว่า เขาเป็นคนทำผ้าคลุม ไม่ใช่ตัวสเตฟานี[176][177] ในการออกมาเปิดเผย แองเจิลยืนยันว่า ชุดนั้นออกแบบโดยสเตฟานี สำหรับ แอล.เอ.เอ็ม.บี. และใช้ในการประมูลที่แอมฟาร์กาลา โดยกล่าวเพิ่มเติมว่า \"ผมรู้สึกผิดหวังที่มุ่งประเด็นผิดทิศผิดทาง จากที่เกว็นและผมได้ตั้งใจไว้ เรื่องที่มาของการสร้างสรรค์ชุดนี้ พวกเรารู้สึกเครียดกับผลและเพลิดเพลินกับขั้นตอนทำงาน ผมไม่ขอทำอะไรมากไปกว่านี้ นอกจากนับถือเธอและยังคงคาดหวังการทำงานร่วมกับเธออีกในอนาคต\"[178] สเตฟานียังเป็นผู้จัดงานหารายได้ให้กับสตรีหมายเลขหนึ่ง มิเชลล์ โอบามา เมื่อเดือนสิงหาคม 2012 ที่บ้านของเธอในเบเวอร์ลีฮิลส์[179]", "title": "เกว็น สเตฟานี" }, { "docid": "250813#1", "text": "ซิงเกิลที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายของอัลบั้มนี้ได้แก่ \"Porcelain\" \"Why Does My Heart Feel So Bad?\" \"Bodyrock\" และ \"South Side\" โดยได้ศิลปินรับเชิญอย่าง เกว็น สเตฟานี", "title": "เพลย์ (อัลบั้ม)" }, { "docid": "20659#13", "text": "เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2014 สเตฟานีบอกกับเอ็มทีวีนิวส์ ในระหว่างสัปดาห์แฟชั่นนิวยอร์กว่า เธอกำลังทำงานอัลบัมทั้งโนเดาต์และผลงานเดี่ยวของตัวเองอยู่ เธอยังเปิดเผยว่า เธอทำงานอยู่กับวิลเลียมส์[64] สเตฟานีออกผลงานการกลับมาอีกครั้งกับซิงเกิล \"เบบีโดนต์ลาย\" เมื่อ 20 ตุลาคม 2014 ซึ่งเธอร่วมแต่งกับโปรดิวเซอร์ ไรอัน เทดเดอร์, เบนนี บลังโก และโนเอล แซนแคเนลลา[65] บิลบอร์ด ประกาศว่าสตูดิโออัลบัมชุดที่ 3 จะออกเดือนธันวาคม โดยมีเบนนี บลังโกเป็นผู้อำนวยการผลิต[66] ช่วงปลายเดือนตุลาคม มีการเปิดเผยเพลงใหม่บางส่วนจากอัลบัมชุดที่ 3 ของสเตฟานี เพลงชื่อว่า \"สปาร์กเดอะไฟร์\" เป็นครั้งแรก เพลงผลิตโดยฟาร์เรลล์ วิลเลียมส์[67] เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ได้เผยแพร่เต็มเพลงครั้งแรกทางออนไลน์[68] และปล่อยให้ดาวน์โหลด เมื่อ 1 ธันวาคม[69] ทั้ง \"เบบีโดนต์ลาย\" และ \"สปาร์กเดอะไฟร์\" มีอยู่ในอัลบัมชุดที่ 3 ของเธอ วันที่ 13 มกราคม 2015 สเตฟานีและวิลเลียมบันทึกเสียงเพลงที่ชื่อ \"ไชน์\" เพื่อประกอบภาพยนตร์เรื่อง แพดดิงตัน สเตฟาเนียและเซียทำงานร่วมกันในเพลงบัลลาดที่ชื่อ \"สตาร์ตอะวอร์\" (Start a War) ที่คาดว่าจะออกในอัลบัมชุดที่ 3 แต่อย่างไรก็ตาม เพลงนี้ไม่ปรากฏอยู่[70] วันที่ 10 กรกฎาคม 2015 แร็ปเปอร์ชาวอเมริกา เอ็มมิเน็มมีซิงเกิลที่ร้องกับสเตฟานีที่ชื่อ \"คิงส์เนเวอร์ดาย\" จากเพลงประกอบภาพยนตร์ เซาท์พาว เพลงเข้าชาร์ตครั้งแรกและสูงสุดที่อนดับ 80 บนชาร์ต บิลบอร์ด ฮอต 100[71] และมียอดดาวน์โหลดในสัปดาห์แรก 35,000 ครั้ง[72]", "title": "เกว็น สเตฟานี" }, { "docid": "20659#37", "text": "มาสเตอร์การ์ตไพรซ์เลสส์เซอร์ไพรส์พรีเซนส์เกว็นสเตฟานี (2015–2016) เออร์วินมีโดส์แอมฟิเทียเตอร์ไฟนอลโชส์ (2016)", "title": "เกว็น สเตฟานี" }, { "docid": "20659#36", "text": "จัสต์อะเกิร์ล (2018–2019)", "title": "เกว็น สเตฟานี" }, { "docid": "20659#21", "text": "ไม่นานหลังจากที่สเตฟานีเข้าร่วมวงโนเดาต์ เธอกับเพื่อนร่วมวง โทนี แคแนล เริ่มคบหากัน เธอเล่าว่า ค่อนข้างสละเวลาอย่างมากในความสัมพันธ์ครั้งนี้ สเตฟานีวิจารณ์ว่า \"ทุกสิ่งที่ฉันทำ คือเพื่อโทนี และภาวนากับพระเจ้าว่าขอให้มีลูกกับเขา\"[107] ระหว่างช่วงนี้ วงเกือบต้องแยกกันไปเพราะความสัมพันธ์ที่ล้มเหลวของสเตฟานีกับแคแนล[108] โดยแคแนลเป็นผู้บอกเลิกเธอ[109] การเลิกราครั้งนี้เป็นแรงบันดาลใจในเนื้อเพลงให้แก่สเตฟานี หลายเพลงในอัลบัม ทราจิกคิงดอม อย่างเช่น \"โดนต์สปีก\", \"ซันเดย์มอร์นิง\" และ \"เฮย์ยู!\" เล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ลุ่ม ๆ ดอน ๆ ของทั้งคู่[110] หลายปีต่อมา สเตฟานีร่วมแต่งเพลงดัง \"คูล\" ที่เล่าถึงความสัมพันธ์ในฐานะเพื่อน ในอัลบัมเดี่ยวเปิดตัวชุด เลิฟ. แอนเจิล. มิวสิก. เบบี.[111]", "title": "เกว็น สเตฟานี" }, { "docid": "965656#0", "text": "\"โดนต์สปีก\" (Don't Speak) เป็นเพลงของวงดนตรีแนวสกาสัญชาติอเมริกัน โนเดาต์ จากสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 3 \"Tragic Kingdom\" (1995) เพลงออกเมื่อ 15 เมษายน ค.ศ. 1996 ในสหรัฐ ในฐานะซิงเกิ้ลที่ 3 ของอัลบั้ม นักร้องนำของวง เกว็น สเตฟานีกับพี่ชาย เอริก สเตฟานี อดีตสมาชิกวง ได้ร่วมกันแต่งเพลงนี้ เดิมมีเจตนาแต่งเป็นเพลงรัก เพลงผ่านการเขียนใหม่ และเกว็นได้ดัดแปลงให้เป็นเพลงอกหัก ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับสมาชิกร่วมวงและอดีตแฟนหนุ่ม โทนี แคเนล หลังจากจบความสัมพันธ์ยาวนาน 7 ปี", "title": "โดนต์สปีก" }, { "docid": "20659#38", "text": "at the Encyclopædia Britannica on IMDb", "title": "เกว็น สเตฟานี" }, { "docid": "20659#35", "text": "ฮาราจูกุเลิฟเวอส์ทัวร์ (2005) เดอะสวีตเอสเคปทัวร์ (2007) ดิสอิสวอตเดอะทรุทฟีลส์ไลก์ทัวร์ (2016)", "title": "เกว็น สเตฟานี" }, { "docid": "20659#30", "text": "สเตฟานียังได้รับการกล่าวถึงว่าเป็น \"เจ้าหญิงเพลงป็อป\" จากนักวิจารณ์ดนตรีร่วมสมัยหลายแห่ง[155][156][157] ในปี 2012 วีเอชวันได้ให้เธออยู่ในอันดับ 13 ของรายชื่อ \"100 ผู้หญิงยอดเยี่ยมแห่งวงการเพลง\"[6] ผลงานของสเตฟานียังมีอิทธิพลให้กับนักดนตรีหลายคน อย่างเช่น เฮย์เลย์ วิลเลียมส์แห่งวงพาร์อะมอร์,[158] เบสต์โคสต์,[159] เคที เพอร์รี,[160] เคชา,[161] มารินาแอนด์เดอะไดอะมอนส์,[162] สเตฟาย,[163] ริตา ออรา[164] สกาย เฟอร์ไรรา[165] และคัฟเวอร์ไดร์ฟ[166] วงหลัง เป็นวงกลุ่มนักดนตรี 4 คนจากบาร์บาโดส ที่กล่าวว่า ทั้งสเตฟานีและโนเดาต์ได้ส่งผลด้านอิทธิพลต่อดนตรีพวกเขา โดยนักร้องนำของวง แอมานดา ไรเฟอร์ ยอมรับว่า เธอคงจะ \"หมดสติ\" หากได้เจอสเตฟานี[166]", "title": "เกว็น สเตฟานี" }, { "docid": "973425#0", "text": "\"เดอะสวีตเอสเคป\" () เป็นเพลงของนักร้อง นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เกว็น สเตฟานี จากสตูดิโออัลบัมชุด 2 ในชื่อเดียวกัน (2006) เพลงเขียนโดยสเตฟานี, เอค่อน และจอร์จิโอ ทุยน์ฟอร์ต เอค่อนที่เป็นนักร้องเช่นกัน ได้พัฒนาบีตของเพลงก่อนที่จะร่วมงานกับสเตฟานี เขาออกแบบเพลงโดยยึดจากผลงานเก่าของวงโนเดาต์ เพลง\"เดอะสวีตเอสเคป\" มีเนื้อหาขอโทษในการทะเลาะของคนรักสองคน และอธิบายถึงความฝันกับชีวิตที่น่าพอใจของพวกเขา ยังเป็นเพลงไตเติลแทร็ก ชื่อเพลงยังช่วยด้านการตลาดทั้งเพลงและสินค้าแฟชั่นของสเตฟานีอีกด้วย", "title": "เดอะสวีตเอสเคป (เพลง)" }, { "docid": "20659#15", "text": "ในเดือนกรกฎาคม 2017 สเตฟานีประกาศว่ากำลังทำงานในสตูดิโอและวางแผนจะออกผลงานเพลงใหม่ปลายปี[85] ในเดือนสิงหาคม มีการประกาศชื่อเพลงหลายเพลงทางเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของเจมา (GEMA) โดยเสนอว่าเธออาจบันทึกเสียงอัลบัมเทศกาลวันหยุด[86] ชื่อผู้แต่งเพลงหลุดออกมาว่า สเตฟานีร่วมงานกับสามี เบลก เชลตัน และจัสติน แทรนเตอร์[87] อัลบัมใช้ชื่อว่า ยูเมกอิตฟีลไลก์คริสต์มาส โดยประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อ 21 กันยายน 2017 และออกจำหน่าย 6 ตุลาคม 2017[88] เพลงไตเติลแทร็กของอัลบัมเผยแพร่ทางดิจิตัลเมื่อ 22 กันยายน 2017 เป็นซิงเกิลนำของอัลบัมและมีแขกรับเชิญร่วมร้องคือเชลตัน[89][90] เพื่อประชาสัมพันธ์ เอ็นบีซีขอให้เธอเป็นพิธีกรในรายการพิเศษช่วงคริสต์มาส โดยออกอากาศ 12 ธันวาคม 2017 และใช้ชื่อรายการว่า เกว็นสเตฟานีส์ยูเมกอิตฟีลไลก์คริสต์มาส[91]", "title": "เกว็น สเตฟานี" }, { "docid": "20659#18", "text": "ปลายฤดูร้อน 2007 สเตฟานีออกน้ำหอมแอล ส่วนหนึ่งของสินค้าเครือ แอล.เอ.เอ็ม.บี. ประเภทเสื้อผ้าและเครื่องประดับ น้ำหอมมีกลิ่นสวีตพีและกุหลาบ[98] ในเดือนกันยายน 2008 สเตฟานีออกสินค้าประเภทเครื่องหอม เป็นส่วนหนึ่งของตราสินค้า ฮาราจูกุเลิฟเวอส์ มีเครื่องหอม 5 ชนิด ที่มาจากฮาราจูกุเกิลส์ 4 คน และสเตฟานี โดยเรียกว่า เลิฟ, ลิลแองเจิล, มิวสิก, เบบี และจี (เกว็น)[99] เดือนมกราคม 2011 สเตฟานีเป็นโฆษกให้กับลอรีอัลปารีส[100] ปี 2016 เออร์เบินดีเคย์ออกเครื่องสำอางรุ่นจำกัดจำนวน โดยร่วมงานกับสเตฟานี[101]", "title": "เกว็น สเตฟานี" }, { "docid": "973407#0", "text": "\"ไวนด์อิตอัป\" (Wind It Up) เป็นเพลงของนักร้อง นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เกว็น สเตฟานี เดิมทีแต่งขึ้นเพื่อรวมไว้กับฮาราจูกุเลิฟเวอส์ทัวร์ของสเตฟานี ต่อมาเพลงได้บันทึกภายหลังสำหรับอัลบัมเดี่ยวชุด 2 \"The Sweet Escape\" (2006) เพลงนี้มีการใช้เพลง \"The Lonely Goatherd\" จากหนังเรื่อง \"The Sound of Music\"", "title": "ไวนด์อิตอัป" } ]
1913
บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ มีใครเป็นผู้ก่อตั้ง?
[ { "docid": "230186#0", "text": "บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (เดิม: บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด) เป็นบริษัทที่ดำเนินการผลิต ละคร เกมโชว์ วาไรตี้ ให้กับช่องวัน และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด ผู้ถือใบอนุญาตประกอบกิจการดิจิทัลทีวีช่องวันในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จาก กสทช. ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ในชื่อ บริษัท จีเอ็มเอ็มวัน ทีวี เทรดดิง จำกัด โดยจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และ กลุ่มของนายถกลเกียรติ วีรวรรณ ประกอบไปด้วย ถกลเกียรติ วีรวรรณ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด และบริษัท วัน ทำ ดี จำกัด ถือหุ้นในสัดส่วน 51% ต่อ 49% ด้วยทุนจดทะเบียน 900,000,000 บาท ภายหลังได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 1,275,000,000 บาท และได้บริษัท ประนันท์ภรณ์ จำกัด บริษัทในกลุ่มปราสาททองโอสถ ของ ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ มาร่วมเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 3,810,000,000 บาท", "title": "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์" } ]
[ { "docid": "116021#0", "text": "บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) (ชื่อย่อหลักทรัพย์: TFMAMA; เดิมเคยมีชื่อย่อหลักทรัพย์ TF) เป็นชื่อบริษัทเอกชนที่อยู่ในเครือสหพัฒน์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2514 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรกในขณะนั้น 6 ล้านบาท ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง บริษัทเพรซิเดนท์ เอ็นเตอร์ไพรส์ ของไต้หวัน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการผลิตและบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ซึ่งรับผิดชอบในด้านการตลาดและการจำหน่ายสินค้า มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งเพื่อผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปภายใต้เครื่องหมายการค้า \"มาม่า\" โดยมีสำนักงานใหญ่แห่งแรกที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และเปิดทำการโรงงานแห่งแรกที่เขตหนองแขม กรุงเทพฯ ซึ่งหลังจากการดำเนินธุรกิจปีแรกผ่านไป หุ้นทั้งหมดได้ถูกโอนไปยังผู้ถือหุ้นคนไทยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่มาจวบจนปัจจุบัน \nทุนจดทะเบียน : ทุนจดทะเบียน 329,704,014 บาท ประกอบด้วย หุ้นสามัญ 329,704,014 ล้านหุ้น ราคาพาร์ 1 บาทต่อหุ้น ทุนชำระแล้ว 329,704,014 บาท", "title": "ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์" }, { "docid": "530029#3", "text": "และครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2562 ทางช่องวัน เตรียมนำกลับมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์อีกครั้ง สร้างโดยบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด อยู่ในระหว่างการเตรียมงาน", "title": "บ้านสอยดาว" }, { "docid": "280834#5", "text": "หลังการประมูล จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ก่อตั้ง บริษัท จีเอ็มเอ็มวัน ทีวี เทรดดิ้ง จำกัด โดยบริษัทถือหุ้นจดทะเบียน 100% หลังก่อตั้ง บริษัทฯ ได้แยก เอ็กแซ็กท์ ซีเนริโอ และมีมิติ ออกจากจีเอ็มเอ็ม มีเดีย และรวมเข้ากับ จีเอ็มเอ็มวัน ทีวี เทรดดิ้ง ภายหลังบริษัทนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ใน พ.ศ. 2559", "title": "รายชื่อกลุ่มบริษัทและธุรกิจในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่" }, { "docid": "823616#0", "text": "ทาสรักทระนง เป็นละครโทรทัศน์ประเภทละครชุด ผลิตโดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด อำนวยการผลิตโดย ถกลเกียรติ วีรวรรณ นิพนธ์ ผิวเณร เป็นรีบูตของละครเรื่อง คนละขอบฟ้า เมื่อปี พ.ศ. 2559 มีตอนย่อยซึ่งเป็นภาคต่อเนื่องของละคร คนละขอบฟ้า เมื่อ พ.ศ. 2530 ", "title": "ทาสรักทระนง" }, { "docid": "352374#7", "text": "ละครในปี พ.ศ. 2560 เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้นำมาสร้างใหม่เพื่อออนแอร์ลงช่องวัน เดิมทีมีแผนให้ ชนะ คราประยูร ซึ่งเคยกำกับเวอร์ชันที่แล้วมากำกับเวอร์ชันนี้ด้วย แต่ภายหลังได้เปลี่ยนผู้กำกับเป็นสันต์ ศรีแก้วหล่อ ที่เคยฝากผลงานละครฟอร์มดีของค่ายไว้มากมาย อาทิ ฟ้าเพียงดิน, เลือดขัตติยา, แก้วลืมคอน, รักหลอก ๆ อย่าบอกใคร, ลิขิตรัก ลิขิตเลือด, ละอองดาว, หัวใจศิลา, แก้วล้อมเพชร, ชิงชัง, ตราบาปสีขาว, เรือนแพ, ดอกโศก, คู่กรรม, แผนรัก แผนร้าย, อีสา-รวีช่วงโชติ, บัลลังก์เมฆ, พิษสวาท ฯลฯ", "title": "แต่ปางก่อน" }, { "docid": "911218#0", "text": "The Wall กำแพงพลิกชีวิต หรือที่รู้จักกันในชื่อ The Wall เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์แนวทายปัญหา (ควิซโชว์) มีรูปแบบต้นฉบับมาจากรายการ ของประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้ลิขสิทธิ์ของ ซื้อลิขสิทธิ์และผลิตโดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด และ บริษัท มีมิติ จำกัด ซึ่งนำมาดัดแปลง และใช้ภาษาไทยแทนภาษาอังกฤษ ตามแบบฉบับของสหรัฐอเมริกา โดยมี วู้ดดี้ - วุฒิธร มิลินทจินดา เป็นผู้ดำเนินรายการในซีซั่นที่ 1 และแฟรงค์ - ภคชนก์ โวอ่อนศรี เป็นผู้ดำเนินรายการในซีซั่นที่ 2", "title": "The Wall กำแพงพลิกชีวิต" }, { "docid": "857386#0", "text": "รู้ไหมใครโสด รายการโทรทัศน์ของไทยแนวเกมโชว์หาคู่เดทจาก ช่องวัน ผลิตรายการโดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ดำเนินรายการโดย กิตติ เชี่ยววงศ์กุล ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ 18:20 – 19:45 น. ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2559 - 26 กุมภาพันธ์ 2560 และเปลี่ยนเวลาออกอากาศเป็น 20:20 - 21:50 น. ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2560 จนถึง 2561โดยรูปแบบของรายการคือสาวโสดที่สมัครเข้ามาร่วมรายการจะต้องตามหาหนุ่มโสดจากชายหนุ่มทั้งหมด 5 คนโดยจะมีดาราทั้งหมด 4 คน (เดิมมีทั้งหมด 5 คน) มาช่วยเป็นที่ปรึกษา สาวโสดจะต้องคัดชายหนุ่มที่น่าสงสัยว่าจะไม่มองหญิงคือเป็นเกย์หรือมีแฟนเป็นผู้ชายเท่านั้น, มีเจ้าของคือมีภรรยาแล้ว และโสดคืออยู่คนเดียวออกไปในสองรอบแรก และเลือกผู้ชายหนึ่งคนที่คิดว่าโสด ถ้าเลือกถูก (เลือกได้หนุ่มโสด) จะได้ไปรับประทานอาหารร่วมกัน แต่ถ้าเลือกผิด (เลือกได้หนุ่มมีเจ้าของหรือหนุ่มไม่มองหญิง) จะถูกลงโทษ และเขาจะไปรับประทานอาหารกับคู่รักของเขาแทน ในกรณีที่สาวโสดเลือกผิด ในซีซัน 1 สาวโสดจะถูกลงโทษโดยการขึ้นไปอยู่บนคานทองเช่นเดียวกับตอนเริ่มต้นรายการ แต่ในซีซัน 2 เป็นต้นไป กูรูทั้งหมดจะถูกลงโทษโดยการปั๊มตราคำว่า \"พัง\" บนที่หน้าผากด้วย", "title": "รู้ไหมใครโสด" }, { "docid": "837744#0", "text": "นั่งติดผี The Shock on TV เป็นรายการที่นำเสนอในเรื่องราวของสิ่งเหนือธรรมชาติ ผี วิญญาณ และเรื่องราวชีวิตก่อนและหลังความตาย ผลิตรายการโดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด", "title": "นั่งติดผี The Shock on TV" }, { "docid": "230186#4", "text": "สายงานธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์ (เอ็กแซ็กท์ ซีเนริโอ และมีมิติ เดิม) สายงานธุรกิจผลิตละครเวที (ซีเนริโอ เดิม) สายงานธุรกิจบริหารสถานที่ ประกอบด้วย เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ และ แอ็กซ์ สตูดิโอ สายงานธุรกิจบริหารสถานีโทรทัศน์ โดยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด ผู้ถือใบอนุญาตประกอบกิจการดิจิทัลทีวีความละเอียดสูง ช่องวัน", "title": "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์" }, { "docid": "621765#4", "text": "ขายและโอนสิทธิ์การถือหุ้นของ บริษัท จีเอ็มเอ็มทีวี จำกัด จำนวน 100% ให้ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง จำกัด ขายและโอนสิทธิ์การถือหุ้นของ บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) จำนวน 99.8% ให้ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง จำกัด ซึ่งบริษัทดังกล่าวถือหุ้น บริษัท เอ-ไทม์ มีเดีย จำกัด จำนวน 100% และบริษัท เอไทม์มีเดีย ถือหุ้นบริษัท เอ-ไทม์ ทราเวลเลอร์ จำกัด 20% ขายและโอนสิทธิ์การถือหุ้นของ บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด จำนวน 100% และ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด จำนวน 25% จาก บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) ให้ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ซึ่งบริษัท ซีเนริโอ เป็นผู้ถือหุ้นส่วนหนึ่งของ บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัท จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี จำกัด หรือสถานีโทรทัศน์ช่องวัน", "title": "จีเอ็มเอ็ม 25" }, { "docid": "280834#7", "text": "บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด โดย ซีเนริโอ เป็นหนึ่งในผู้ผลิตละครเวทีชั้นนำของประเทศไทย โดยบริษัทฯ เป็นผู้บริหารโรงละครบอรดเวย์ เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ ร่วมกับเมืองไทยประกันชีวิต และธนาคารไทยพาณิชย์ และยังเป็นผู้พัฒนาละครเวทีหลากหลายเรื่องดังนี้บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด โดย บริษัท แอ็กซ์ สตูดิโอ จำกัด เป็นผู้บริหารสตูดิโอถ่ายทำรายการโทรทัศน์ขนาดใหญ่ในตำบลบางคูวัด อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ภายใต้ชื่อ แอ็กซ์ สตูดิโอ ปัจจุบันสตูดิโอดังกล่าวเป็นสตูดิโอถ่ายทำรายการหลักของทั้งช่องวัน 31 และ จีเอ็มเอ็ม 25", "title": "รายชื่อกลุ่มบริษัทและธุรกิจในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่" }, { "docid": "834169#0", "text": "รายการ ศึกวันดวลเพลง เสาร์ ๕ ฤดูกาลที่ 1 เป็นรายการเกมโชว์การแข่งขันเพลงลูกทุ่ง โดยออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 18.20 - 20.20 น.ทาง ช่องวัน เริ่มออกอากาศครั้งแรกวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2560 ผลิตโดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด และ บริษัท มีมิติ จำกัด ผู้ดำเนินรายการ ภคชนก์ โวอ่อนศรี (แฟรงค์)", "title": "ศึกวันดวลเพลง เสาร์ ๕ ฤดูกาลที่ 1" }, { "docid": "894934#0", "text": "รายการ ศึกวันดวลเพลง เสาร์ ๕ โดยออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 18.20 - 20.20 น.ทาง ช่องวัน เริ่มออกอากาศครั้งแรกวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2560 ผลิตโดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด และ บริษัท มีมิติ จำกัด ผู้ดำเนินรายการ ภคชนก์ โวอ่อนศรี (แฟรงค์)", "title": "ศึกวันดวลเพลง เสาร์ ๕" }, { "docid": "821081#3", "text": "และนำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2560 ผลิตโดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด และ บริษัท รีไมน์ เค จำกัด โดยผู้จัด ปรารถนา บรรจงสร้าง บทโทรทัศน์ พิมพ์มาดา พัฒนอลงกรณ์, วรรณถวิล สุขน้อย, พิมสิรินทร์ พงษ์วานิชสุข, วีรพล บุญเลิศ กำกับการแสดงโดย สันต์ ศรีแก้วหล่อ นำแสดงโดย ลลิตา ปัญโญภาส, ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง, ศตวรรษ ดุลยวิจิตร, กรุณพล เทียนสุวรรณ และนักแสดงดาวรุ่ง พรสรวง รวยรื่น ในบทบาท มธุกร (ผึ้ง) ร่วมด้วยนักแสดงมากฝีมืออีกคับคั่ง ออกอากาศทาง ช่องวัน ทุกวันจันทร์-วันอังคาร เวลา 21.15 - 22.35 น. และออกอากาศย้อนหลังทาง ไลน์ทีวี เวลา 23.00 น. เริ่มออกอากาศตอนแรกวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป โดยออกอากาศต่อจากเรื่องเธอคือพรหมลิขิต", "title": "ล่า" }, { "docid": "146298#0", "text": "ผู้กองเจ้าเสน่ห์ เป็นละครโทรทัศน์ไทยประเภทซิตคอม ผลิตโดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด หรือฝ่ายบริหารละครโทรทัศน์และซิตคอม สถานีโทรทัศน์ช่องวัน อำนวยการผลิตโดย ถกลเกียรติ วีรวรรณ กำกับการแสดงโดย พงษ์ศักดิ์ ฉิมเจริญ นำแสดงโดยหนึ่งในนักแสดงซิตคอมยุคบุกเบิกของซีเนริโอ คือ มอส-ปฏิภาณ ปฐวีกานต์ ออกอากาศครั้งแรกทาง สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 09.45 น.- 10.30 น. เริ่มออกอากาศวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2550 และออกอากาศครั้งสุดท้ายทางช่อง 3 วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2558 ", "title": "ผู้กองเจ้าเสน่ห์" }, { "docid": "790772#1", "text": "เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559 บริษัท จีเอ็มเอ็มวัน ทีวี จำกัด ร่วมกับ บริษัท เดอะวัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด และ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้จัดกิจกรรม รักฝุ่นตลบ เดอะแคสติ้งโปรเจ็กท์ เพื่อค้นหาค้นหานักแสดงหน้าใหม่ที่เป็นหนุ่มสาวเข้ารอบ 50 คน และก็ได้ผู้ชนะซึ่งเป็นคู่หนุ่มสาวที่เป็นนักแสดงหน้าใหม่ 2 คนด้วยกัน คือ ธนภัทร กาวิละ และ นพจิรา ฤกษ์ขจรนามกุล อันเป็นผู้เข้าสมัครที่มีบุคลิกภาพโดดเด่นที่สุด เพื่อเซ็นสัญญาเป็นนักแสดงในสังกัด บริษัท เดอะวัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด และยังได้ร่วมแสดงในซีรีส์ รักฝุ่นตลบ รวมถึงได้ร่วมแสดงในหนังโฆษณาตัวใหม่ของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ในฐานะตัวแทนผลิตภัณฑ์รถยนต์โตโยต้า วีออส (Toyota Vios Brand Ambassador) ในโอกาสต่อไป", "title": "รักฝุ่นตลบ" }, { "docid": "630031#2", "text": "เจ้าของดั้งเดิมของ เอ็นบีเอ็น, เดอะ นิวคาสเซิล บรอดแคสติ่ง แอนด์ เทเลวิชั่น คอร์ปเปอร์เรชั่น (เอ็นบีทีซี) ถูกก่อตั้งในเดือนพฤษภาคมปี 1958 เพื่อเริ่มต้นการเตรียมการสำหรับการจัดสรรใบอนุญาตโทรทัศน์ที่จะเกิดขึ้น. ผู้ถือหุ้นหลักใน เอ็นบีทีซี คือ บริษัท ยูไนเต็ด บรอดแคสติ่ง (เป็นเจ้าของโดย ครอบครัวเล็ม, เจ้าของสถานีวิทยุ 2เคโอ), บริษัท แอร์เซล บรอดแคสติ่ง (เจ้าของสถานีวิทยุท้องถิ่น 2เอชดี), และ เดอะ นิวคาสเซิล มอร์นิ่ง เฮอร์ราด แอนด์ ไมเนอร์ แอดโวเคด (ที่ถูกซื้อโดย จอห์นเวลล์ แอนด์ ซัน จำกัด). ให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของ คณะกรรมการควบคุมบีบีซีของออสเตรเลีย , อย่างน้อย 50% ของ บริษัท จะต้องเป็นเจ้าของท้องถิ่น. 750,000 หุ้นที่ได้รับการทำใช้ได้โดย เดอะ เอ็นบีทีซี (10 เพนนีเทียบเท่ากับ 1 ดอลล่าร์ออสเตรเลลีย). ประมาณ 2,000 คนซื้อหุ้น.[6]", "title": "เอ็นบีเอ็น เทเลวิชั่น" }, { "docid": "848564#0", "text": "ท็อป เชฟ ไทยแลนด์ หรือ Top Chef Thailand เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตีเกมโชว์แข่งขันทำอาหาร ที่ผลิตโดยบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด และ บริษัท มีมิติ จำกัด เริ่มออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560 โดยออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 20.20 น. - 21.50 น. ทางช่องวัน (ช่องโทรทัศน์ระบบดิจิตอลหมายเลข 31) ดำเนินรายการโดย แบม-ปิติภัทร คูตระกูล", "title": "ท็อปเชฟไทยแลนด์" }, { "docid": "230186#1", "text": "ในยุคเริ่มแรก ถกลเกียรติ วีรวรรณ หนึ่งในกรรมการบริษัทของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ก่อตั้ง บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด และควบตำแหน่งทั้งเป็นผู้จัดละครโทรทัศน์ ผู้กำกับ และผู้จัดการทั่วไป โดยรับจ้างผลิตละคร เกมโชว์ ทอล์คโชว์ วาไรตี้โชว์ เพื่อป้อนลงสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ซึ่งเริ่มจัดตั้งบริษัทในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 และเริ่มออกอากาศละครซิตคอม เรื่อง \"3 หนุ่ม 3 มุม\" เป็นรายการแรกของบริษัท ต่อมา ในปี พ.ศ. 2535 ได้สร้างละครดราม่าเรื่องแรกของบริษัทเรื่อง รักในรอยแค้น และในปี พ.ศ. 2546 ถกลเกียรติ ได้ก่อตั้ง บริษัท ซีเนริโอ จำกัด โดยถือหุ้นเอง 75% และให้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ถือหุ้น 25% โดยมีจุดประสงค์เดียวกับเอ็กแซ็กท์ คือเป็นบริษัทที่ดำเนินการผลิต ละคร เกมโชว์ วาไรตี้ และละครเวที เพื่อป้อนลงช่องต่าง ๆ ตลอดมา", "title": "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์" }, { "docid": "821433#0", "text": "เราเกิดในรัชกาลที่ ๙ เดอะซีรีส์ เป็นละครพิเศษเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ซึ่งในปี พ.ศ. 2559 ละครซีรีส์ชุด \"เราเกิดในรัชกาลที่ ๙\" นั้นสร้างเป็นละครเพื่อเป็นการแสดงความความอาลัยแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรของสถานีโทรทัศน์ช่องวัน ผลิตโดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด", "title": "เราเกิดในรัชกาลที่ ๙ เดอะซีรีส์" }, { "docid": "821081#10", "text": "ต่อมาในวันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 พีระวัฒน์ อัฐนาค ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ช่องวันในฐานะตัวแทนของ บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ได้กล่าวคำขออภัยผ่านรายการพิเศษก่อนการฉายละครในช่วงที่ 1 (เป็นช่วงก่อนการฉายละครเรือนเบญจพิษช่วงสุดท้าย) ถึงกรณีการเผยแพร่ภาพที่ไม่เหมาะสมและมีการพาดพิงถึงบุคคลที่สาม โดยทางสถานีได้ดำเนินการแก้ไขเทปออกอากาศในวันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ที่เผยแพร่บนแอปพลิเคชันไลน์ทีวีใหม่ ด้วยการตัดฉากที่มีภาพของบุคคลที่สามออก และได้กล่าวขออภัยรวมถึงให้คำสัญญาว่าจะดำเนินการปรับเปลี่ยนมาตรฐานในการทำละครโทรทัศน์และซีรีส์ให้มีความรัดกุมมากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำอีกในอนาคต", "title": "ล่า" }, { "docid": "289604#7", "text": "ปี พ.ศ. 2554 รุ่งธรรมได้ร่วมทุนกับบริษัท จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี จำกัด ก่อตั้ง บริษัท มีมิติ จำกัด ขึ้น มีจุดประสงค์ที่จะสร้างปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ให้กับวงการโทรทัศน์ไทย โดยเฉพาะรายการประเภทเกมโชว์ ควิซโชว์ และเรียลลิตี้ ปัจจุบัน มีมิติ เป็นส่วนหนึ่งของ บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด", "title": "รุ่งธรรม พุ่มสีนิล" }, { "docid": "880838#1", "text": "ซุป'ตาร์ท้า OX เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์แนวทายปัญหา (ควิซโชว์) โดยมีผู้เข้าแข่งขัน 2 คน มาแข่งขันตอบคำถามจาก \"ความรู้รอบตัวทั่วไปทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ\" โดยทาง\"บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด\" ได้ซื้อลิขสิทธิ์รายการนี้จาก\"บริษัท CBS Studios International\" ของสหรัฐอเมริกา นำมาผลิตในรูปแบบของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2560 โดยออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่องวัน ทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 12.00 - 13.00 น. เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2560 - 4 กุมภาพันธ์ 2561 รายการจะปรับเปลี่ยนเวลาออกอากาศเป็น 11.00 - 12.15 น. ต่อมาวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 - 3 มีนาคม 2561 รายการได้ปรับเปลี่ยนเวลาออกอากาศไปเป็นเวลา 12.30 - 13.30 น. ดำเนินรายการโดย กิตติ เชี่ยววงศ์กุล และตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2561 เป็นต้นไป รายการได้ลดวันการออกอากาศเหลือเพียงแค่วันเสาร์วันเดียวเท่านั้นแต่ออกอากาศเวลาเดิม", "title": "ซุป'ตาร์ท้า OX" }, { "docid": "280834#3", "text": "บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด เป็นบริษัทบริหารสถานีโทรทัศน์ ผลิตสื่อ และบริหารนักแสดง บริหารงานโดย ถกลเกียรติ วีรวรรณ และมี บริษัท ประนันท์ภรณ์ จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท", "title": "รายชื่อกลุ่มบริษัทและธุรกิจในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่" }, { "docid": "230186#9", "text": "หมวดหมู่:เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ หมวดหมู่:บริษัทของไทย หมวดหมู่:จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ หมวดหมู่:ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ หมวดหมู่:บริษัทที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2534", "title": "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์" }, { "docid": "899418#0", "text": "รายการ ศึกวันดวลเพลง เสาร์ ๕ ฤดูกาลที่ 2 โดยออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 18.20 - 20.00 น.ทาง ช่องวัน เริ่มออกอากาศครั้งแรกวันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2560 ผลิตโดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด และ บริษัท มีมิติ จำกัด ผู้ดำเนินรายการ ภคชนก์ โวอ่อนศรี (แฟรงค์) โดยออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 18.20 - 20.00 น.ทาง ช่องวันรายการ ศึกวันดวลเพลง เสาร์ ๕ เป็นรายการเกมโชว์การแข่งขันเพลงลูกทุ่งที่เอาแชมป์มาแข่งขันกัน เพื่อที่จะชิงเงินรางวัลมูลค่า 1,000,000 บาท โดยจะแตกต่างจาก ศึกวันดวลเพลง สงครามแชมป์ ตรงที่ จะเป็นการแข่งขันในรูปแบบทีม โดยจะมี ศิลปินลูกทุ่งชั้นนำของเมืองไทยเป็นหัวหน้าทีม (ทางรายการจะเรียกว่า เจ้าสำนัก) ", "title": "ศึกวันดวลเพลง เสาร์ ๕ ฤดูกาลที่ 2" }, { "docid": "870227#0", "text": "รายการ ร้องล่าเนื้อ เป็นรายการเกมโชว์การแข่งขันเพลงไทยสากลของคู่หูนักล่า ที่จะมาดวลไมค์เพื่อตามล่าหาเนื้อเพลงที่หายไปทั้งหมด 16 คู่ 32 ชีวิต ชิงเงินรางวัลกว่า 5 แสนบาท โดยออกอากาศครั้งแรกทุกวันเสาร์ เวลา 20.15 - 22.00 น. เริ่มออกอากาศครั้งแรกวันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม 2560 ต่อจาก ศึกวันดวลเพลง สงครามแชมป์ ฤดูกาลที่ 2 ทาง ช่องวัน ผลิตโดย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ผู้ดำเนินรายการได้แก่ พุฒิชัย เกษตรสิน (พุฒ) และ พัสกร พลบูรณ์ (ใบเฟิร์น)\n1. ซาร่า นลิน โฮเลอร์ ได้ลองเป็นตัวช่วยครั้งแรก เพราะเคยแข่งขันเป็นทีมชมพู่-ซาร่าแล้วแพ้ทีมมาเรียม-เก้งมาในวันที่ 19 สิงหาคม 2560 ", "title": "ร้องล่าเนื้อ" }, { "docid": "230186#2", "text": "หลังจากก่อตั้ง เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ นายถกลเกียรติ ได้รวม เอ็กแซ็กท์ และ ซีเนริโอ เข้ามาเป็นบริษัทเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการบริหาร และภายหลังจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ได้รวมเอา บริษัท มีมิติ จำกัด เข้า เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ เพื่อร่วมผลิตเกมโชว์ลงช่องวันและจีเอ็มเอ็ม 25 และเพื่อเพิ่มความสะดวกในการบริหารให้เป็นหนึ่งเดียว", "title": "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์" }, { "docid": "821081#7", "text": "ก่อนหน้าที่ละครจะเริ่มออกอากาศ มีประชาชนกลุ่มหนึ่งประกาศให้ประชาชนลงชื่อผ่าน www.change.org เพื่อถอดถอน ภรัณยู โรจนวุฒิธรรม หนึ่งในนักแสดงออกจากละครเรื่องนี้โดยประชาชนกลุ่มนั้นอ้างว่า ภรัณยูได้แสดงความเห็นในอินสตราแกรมส่วนตัวทำนองว่าการข่มขืนเป็นเรื่องปกติธรรมดา โดยไม่สนใจผลกระทบของผู้ถูกกระทำ ภายหลัง ถกลเกียรติ วีรวรรณ กรรมการใหญ่ บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ได้ออกมาตอบโต้ว่าที่ประชาชนประกาศให้ลงชื่อนั้น เป็นเพียงเรื่อง \"ไร้สาระ\" และเชื่อว่าเป็นฝีมือของผู้ไม่หวังดี ", "title": "ล่า" } ]
3691
แคร์รี แมรี อันเดอร์วูด เกิดเมื่อไหร่?
[ { "docid": "148618#0", "text": "แคร์รี แมรี อันเดอร์วูด (English: Carrie Marie Underwood; เกิด 10 มีนาคม ค.ศ. 1983) เป็นนักร้องคันทรี, นักแต่งเพลง และนักแสดงชาวอเมริกา ซึ่งมีชื่อเสียงมาจากการชนะเลิศการประกวดรายการอเมริกันไอดอล ฤดูกาลที่ 4 ในปี ค.ศ. 2005 และกลายเป็นหนึ่งในนักร้องที่ประสบความสำเร็จที่สุดในทุกวงการเพลง ความสำเร็จของเธอทำให้เธอได้เข้าเป็นสมาชิกแกรนด์โอลออปรีย์ ใน ปีค.ศ. 2008 และเข้ามาอยู่ในหอเกียรติยศดนตรีโอคลาโฮมา (Oklahoma Music Hall of Fame) ในปีค.ศ. 2009[1] เธอชนะรางวัลดนตรีหลายรางวัล รวมถึง 7 รางวัลแกรมมี, 17 รางวัลบิลบอร์ดมิวสิก, 11 รางวัลอะแคดามีออฟคันทรีมิวสิก และ 9 รางวัลอเมริกันมิวสิก", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" } ]
[ { "docid": "148618#23", "text": "เพื่อหารายได้ให้กับงานวิจัยมะเร็ง ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2008 อันเดอร์วูดได้ร่วมงานกับ บียอนเซ่, มารายห์ แครี, แมรี เจ. ไบลจ์ และนักร้องหญิงคนอื่นอีกเพื่อบันทึกเพลง \"Just Stand Up!\" โดยรายได้นั้นจะนำไปให้ทาง Stand Up to Cancer (SU2C) [94] ซึ่งเพลงนี้ได้ขึ้นสูงสุดที่อันดับ 11 ในบิลบอร์ดฮอต 100 ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2009 อันเดอร์วูดได้ก่อตั้งมูลนิธิ Checotah Animal Town and School (C.A.T.S.) เพื่อหารายได้ให้กับเมืองเกิดของเธอ ในวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 2009 อันเดอร์วูดได้ไปเยี่ยมโรงเรียนมัธยมปลายชีโคตากับ รอบิน โรเบิร์ตส์ ผู้อ่านข่าวช่องเอ็นบีซี ซึ่งเธอได้ร้องเพลงกับเด็กนักเรียนหญิงคนหนึ่งต่อหน้านักเรียนและคณะครู และได้บริจาคเครื่องดนตรีมูลค่ามากกว่า 117,000 ดอลลาร์สหรัฐให้แก่โรงเรียน 3 แห่งในเมืองชีโคตา อันเดอร์วูดได้เล่นซอฟต์บอลในงานประจำปี City of Hope Celebrity Softball เพื่อการกุศลเป็นเวลาหลายปี ซึ่งงานนี้จัดที่เมืองแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี และรายได้ที่รับนำไปให้งานวิจัยโรคที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิต[95] ในช่วงวันหยุดปีค.ศ. 2011 มูลนิธิ C.A.T.S. ของเธอ ได้บริจาคเงินจำนวน 350,000 ดอลลาร์สหรัฐให้แก่โรงเรียนในเมืองชีโคตา[96] ในวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 2012 อันเดอร์วูดได้เขียนบล็อกในเว็บไซต์ของเธอว่าเธอได้ช่วยสุนัขที่ถูกปล่อยบนถนนทางหลวง โดยเธอเห็นสุนัข 2 ตัว บนถนนขณะที่เธอกำลังเดินทางไปบ้านพ่อแม่พร้อมกับสุนัขของเธอ (เอส กับ เพนนี) \"ฉันคิดว่าสุนัขถูกโยนทิ้งจากรถลงบนถนนทางหลวงโดยเจ้าของของมัน\" ตัวหนึ่งตายไปแล้วแต่เธอก็นำอีกตัว (เลือดไหลและไม่มีแรงอย่างมาก) เข้าไปในรถของเธอ เธอตั้งชื่อลูกสุนัขนั้นว่าสเตลลาและพามันไปหาหมอและดูแลมันเป็นอย่างดี ในเวลาไม่กี่วันเธอได้หาบ้านใหม่ให้กับสุนัข เธอเขียนว่า \"ฉันร้องไห้ตอนที่มันเดินออกจากประตูไป\"[97]", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "148618#20", "text": "วันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 สถานีวิทยุออตตาวา (105.3 CISS-FM) ระงับการเล่นเพลงของอันเดอร์วูดเพราะฟิชเชอร์โดนเทรดให้ทีมแนชวิลล์ เพรเดเตอร์ส แต่เนื่องจากการคุกคามของแฟนคลับในเฟซบุ๊ก ว่าจะไม่เปิดไปฟังสถานีดังกล่าว ต่อมาสถานีจึงเปลี่ยนแปลงมาเปิดเพลงของอันเดอร์วูดตามเดิม สถานีได้ออกมาขอโทษกับการกระทำ โดยตามคำแถลงการณ์บอกว่าเป็นแค่มุขตลกเท่านั้น การไม่เล่นเพลงของอันเดอร์วูดคือการอำลาฟิชเชอร์ให้โชคดีในแนชวิลล์[79][80] ฟิชเชอร์ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์สถานีภายหลังว่า \"แคร์รีไม่ได้ทำอะไรในการย้ายหรือเทรดหรืออะไรทั้งนั้น การพูดแบบนั้นมันไม่เหมาะสม\" ทั้งเขาและอันเดอร์วูดผิดหวังที่สถานีทำแบบนั้น[81][82] อันเดอร์วูดได้รับเลือกจากนิตยสาร The Hockey News ให้เป็น 100 คนที่ทรงอิทธิพลในวงการฮอกกี้น้ำแข็ง โดยอยู่อันดับที่ 85[83]", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "148618#2", "text": "อันเดอร์วูดถูกยกย่องโดยนิตยสารโรลลิงสโตน ให้เป็นนักร้องหญิงเสียงดีในยุคของเธอในทุกวงการเพลง ถูกยกย่องโดยนิตยสารไทม์ ให้เป็น 1 ใน 100 คนที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก และโดยนิตยสารบิลบอร์ด ให้ครองตำแหน่งราชินีแห่งเพลงคันทรี อันเดอร์วูดเป็นนักร้องคันทรีเดี่ยวคนเดียวในทศวรรษที่ 2000 ที่มีเพลงอันดับ 1 บนบิลบอร์ด</i>ฮอต 100 เป็นนักร้องคันทรีคนแรกและคนเดียวที่เปิดตัวด้วยอันดับ 1 บนฮอต 100 และมีอันดับ 1 ถึง 14 เพลง ซึ่งถือเป็นนักร้องหญิงที่มีอันดับ 1 มากที่สุดบนบิลบอร์ด</i>ฮอตคันทรีซองส์ ตั้งแต่ปี 1991 ถึงปัจจุบัน โดยทำลายสถิติในกินเนสส์</i>บุ๊คของเธอเองที่เคยได้ 10 เพลง เธอเป็นนักร้องคันทรีที่มียอดขายเพลงดิจิตอลมากที่สุดของ RIAA และเป็นผู้เข้าแข่งขันรายการ<i data-parsoid='{\"dsr\":[3885,3903,2,2]}'>อเมริกัน ไอดอล</i>ที่ทำรายได้มากที่สุด อัลบั้ม Some Hearts ถูกจัดให้เป็นอัลบั้มคันทรีอันดับหนึ่งแห่งทศวรรษที่ 2000 โดย<i data-parsoid='{\"dsr\":[4007,4019,2,2]}'>บิลบอร์ด และเป็นนักร้องหญิงที่มีอันดับสูงสุดในรายชื่อนักร้องคันทรียอดเยี่ยมของ<i data-parsoid='{\"dsr\":[4089,4101,2,2]}'>บิลบอร์ด</i>แห่งทศวรรษที่ 2000", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "148618#3", "text": "อันเดอร์วูด เกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1983 ที่เมืองมัสโคกี รัฐโอคลาโฮมา ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นบุตรสาวของ สตีเว่น และ แคโรล อันเดอร์วูด เธอเติบโตมากับฟาร์มของพ่อแม่ในเมืองชีโคตา รัฐโอคลาโฮมา[2] พ่อของเธอทำงานที่โรงเลื่อย ขณะที่แม่เธอเป็นครูสอนที่โรงเรียนประถม[3] เธอมีพี่สาวสองคน คือ แชนนา และ สเตฟานี[4][5] ในช่วงที่เธอยังเด็กนั้นเธอได้แสดงในรายการโชว์ความสามารถ รอบบินส์ เมมโมเรียล ทาเลนท์ โชว์ และเธอยังร้องเพลงที่โบสถ์ชุมชน (โบสถ์เฟริสต์ฟรีวิลแบปทิสต์) ด้วย[6] หลังจากนั้นเธอก็ได้เริ่มร้องเพลงที่งานต่าง ๆ ในชุมชนของเมืองชีโคตา[7]", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "148618#28", "text": "หมวดหมู่:นักร้องอเมริกัน หมวดหมู่:บุคคลจากรัฐโอคลาโฮมา หมวดหมู่:ศิลปินสังกัดแอริสตาเรเคิดส์ หมวดหมู่:นักร้องเด็กชาวอเมริกัน", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "148618#15", "text": "อันเดอร์วูดยืนยันว่าเธอเริ่มวางแผนอัลบั้มใหม่ในเดือนสิงหาคมปี 2013 และจะเริ่มต้นเตรียมงานในปี 2014 [64] อันเดอร์วูดบอกบิลบอร์ดว่า \"หลังเสร็จสิ้นจาก The Sound of Music ฉันรู้สึกเหมือนฉันสามารถที่จะทำงานหนักและเริ่มที่จะทำอัลบัมถัดไป\" อันเดอร์วูดยังบอกว่าเธอกำลังวางแผนที่จะทำทัวร์ไว้บ้างแล้ว ซึ่งอาจจะไม่อลังการเท่าทัวร์ก่อนหน้า เธอบอกว่า \"ฉันไม่ได้คิดถึงมันมากนักเพราะฉันไม่รู้ว่าอัลบั้มถัดไปจะเป็นแบบไหน แต่ฉันก็ชอบที่จะแค่ยืนบนนั้นและร้องเหมือนกัน ฉันอาจจะทำในแนวที่แตกต่างออกไป อะไรที่ง่าย ๆ ในทัวร์ถัดไป ฉันชอบพลังงานที่มีในคอนเสิร์ตเพลงร็อค\" อันเดอร์วูดร่วมฟีเจอร์ริงกับ Miranda Lambert ในอัลบั้ม Platinum ในเพลงที่มีชื่อว่า \"Somethin' Bad\" ซิงเกิลนี้ขึ้นชาร์ตอันดับ 1 ในชาร์ต Hot Country Songs กลายเป็นเพลงที่ 13 ของอันเดอร์วูดที่ขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ต ในปี ค.ศ. 2014 อันเดอร์วูดปล่อยอัลบั้มรวมเพลงฮิต Greatest Hits: Decade #1 ออกจำหน่ายในวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 2014 โดยมีซิงเกิลแรก Something in the Water ขึ้นอันดับหนึ่งบน Hot Country Songs กลายเป็นเพลงที่ 14 ของอันเดอร์วูดที่ขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ตในปีเดียวกัน", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "148618#16", "text": "อันเดอร์วูดประกาศอัลบั้มใหม่ของเธอ โดยมีชื่อว่า Storyteller ออกจำหน่ายในวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2015 มีซิงเกิลแรก Smoke Break", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "253948#3", "text": "อัลบั้มอันดับหนึ่งอัลบั้มล่าสุด ลงวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 2018 บนชาร์ต\"บิลบอร์ด\" 200 คืออัลบั้ม\"ครายพริตตี\" ของแคร์รี อันเดอร์วูด", "title": "บิลบอร์ด 200" }, { "docid": "736353#9", "text": "\"เลิฟสตอรี\" เข้าชิงรางวัลพีเพิลส์ชอยส์อะวอดส์ สาขา \"คันทรียอดนิยม\" ในงานประกาศรางวัลพีเพิลส์ชอยส์อะวอดส์ ครั้งที่ 35 แต่พ่ายให้กับเพลง \"ลาสต์เนม\" (2008) ของแคร์รี อันเดอร์วูด เพลงได้เข้าชิงรางวัล \"เพลงยอดนิยม\" ในงานประกาศรางวัลนิกเคโลเดียนออสเตรเลียนคิดส์ชอยส์อะวอดส์ 2009 แต่พ่ายให้กับเพลง \"ไอก็อตตาฟิลิง\" (2009) ของเดอะแบล็กอายด์พีส์ และในงานประกาศรางวัลทีนชอยส์อะวอดส์ 2009 ก็มีผลรางวัลเหมือนกัน โดยพ่ายให้กับเพลง \"ครัช\" (2008) ของเดวิด อาร์ชูเลตา ซึ่งเข้าชิงรางวัล \"ชอยส์มิวสิก: เลิฟซอง\" ในปี ค.ศ. 2009 \"เลิฟสตอรี\" ได้เป็น \"เพลงคันทรีแห่งปี\" ประกาศโดยองค์กรเผยแพร่ดนตรี", "title": "เลิฟสตอรี (เพลงเทย์เลอร์ สวิฟต์)" }, { "docid": "148618#6", "text": "ในฤดูร้อนปีค.ศ. 2004 อันเดอร์วูดได้ไปคัดเลือกในรายการอเมริกันไอดอลที่เซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี หลังจากที่อันเดอร์วูดแสดงเพลง \"Could've Been\" ของ ทิฟฟานี ในรอบผู้หญิง 12 คนสุดท้าย ไซมอน คาวเวลล์ หนึ่งในกรรมการตัดสินได้บอกว่าเธอจะเป็นหนึ่งในตัวเก็งที่จะชนะการแข่งขัน และในรอบ 11 คนสุดท้ายวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 2005 นั้น อันเดอร์วูดได้ร้องเพลงฮิตในยุค 80 เพลง \"Alone\" ของ ฮาร์ต ไซมอน คาวเวลล์ กล่าวทำนายไว้ว่าอันเดอร์วูดนั้นไม่เพียงจะชนะการแข่งครั้งนี้เท่านั้น แต่เธอจะกลายเป็นนักร้องที่มีงานเพลงขายดีกว่าผู้ชนะในฤดูกาลที่ผ่านมาทั้งหมด[14] อันเดอร์วูดนั้นเป็นผู้ชนะการแข่งขันหนึ่งในห้าที่ไม่เคยได้รับคะแนนการโหวตต่ำสุดสามอันดับ (ผู้ชนะอีกสี่คนคือ เคลลี คลาร์กสัน, เทย์เลอร์ ฮิกส์, จอร์ดิน สปาร์คส, และเดวิด คุก) โดยหนึ่งในผู้ผลิตรายการได้กล่าวว่าอันเดอร์วูดนั้นได้รับคะแนนท่วมท้น และผ่านเข้ารอบแต่ละรอบด้วยความง่ายดาย[15] ในช่วงการแข่งขันเธอมีฐานแฟนคลับที่ชื่อว่า “Carrie’s Care Bears” ในรอบสุดท้าย เธอร้องเพลงกับ ราสคัล แฟลตส์ ในเพลง \"Bless the Broken Road\" ในวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 แคร์รี อันเดอร์วูดได้กลายเป็นผู้ชนะรายการอเมริกันไอดอลฤดูกาลที่สี่ รางวัลที่เธอได้รับจากการชนะคือ การเซ็นต์สัญญากับค่ายเพลงซึ่งมีมูลค่าอย่างน้อย 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ, ได้ใช้เครื่องบินส่วนตัวเป็นเวลา 1 ปี และฟอร์ด มัสแตง 1 คัน[16]", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "148618#21", "text": "อันเดอร์วูดเป็นคนรักสัตว์และรับประทานอาหารมังสวิรัติ เธอไม่ทานเนื้อสัตว์ตั้งแต่อายุ 13 ปี เพราะเธอทนไม่ได้ที่ต้องทานสัตว์ที่เธอเลี้ยง เธอได้รับการโหวตให้เป็น \"คนทานมังสวิรัติที่เซ็กซี่ที่สุดในโลก (World's Sexiest Vegetarian) \" โดย PETA ในปีค.ศ. 2007 เป็นครั้งที่สอง โดยครั้งแรกในปีค.ศ. 2005 ได้ตำแหน่งร่วมกับคริส มาร์ติน นักร้องนำวงโคลด์เพลย์[84] ในปีค.ศ. 2007 อันเดอร์วูดให้สัมภาษณ์กับ PETA ว่า \"ตั้งแต่ฉันเป็นเด็กฉันก็รักสัตว์มาตลอด [...] ถ้าคุณบอกฉันว่าฉันไม่สามารถร้องเพลงได้อีก ฉันคงบอกว่ามันแย่ แต่มันไม่ใช่ชีวิตของฉัน ถ้าคุณบอกฉันว่าฉันไม่สามารถยุ่งกับสัตว์ได้อีก ฉันคงอยากตาย\"[85] อันเดอร์วูดเป็นผู้สนับสนุนให้องค์กร Humane Society of the United States (HSUS) และได้ทำโฆษณาหลายตัวให้องค์กร[86] อันเดอร์วูดยังทำโฆษณา \"Protect Your Pets\" ให้องค์กร Do Something ด้วย[87]", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "467322#0", "text": "รางวัลที่ แคร์รี อันเดอร์วูด ได้รับ", "title": "รางวัลและการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลของ แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "775573#1", "text": "ในสัปดาห์ที่เก้าที่ออกจำหน่าย อัลบั้ม\"ดอทรี\" ขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ต\"บิลบอร์ด\" ในด้านยอดขาย คริส ดอทรีเป็นผู้เข้าแข่งขันรายกา\"รอเมริกันไอดอล\"ที่ประสบความสำเร็จที่สุดอันดับที่สาม รองจากเคลลี คลาร์กสัน และแคร์รี อันเดอร์วูด ในงานประกาศรางวัลแกรมมีครั้งที่ 50 วงได้เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเพลงร็อกยอดเยี่ยมให้กับซิงเกิล \"อิตส์น็อตโอเวอร์\"", "title": "คริส ดอทรี" }, { "docid": "148618#24", "text": "อันเดอร์วูดยอมรับการแต่งงานเพศเดียวกัน เธอบอกกับหนังสือพิมพ์ ดิอินดิเพนเดนท์ ของประเทศอังกฤษ ว่า \"ในฐานะคนแต่งงาน ฉันไม่รู้ว่ามันจะเป็นอย่างไรที่ฉันไม่สามารถแต่งงานกับคนที่ฉันรักและอยากแต่งงานด้วยได้ ฉันนึกไม่ออกว่ามันจะเจ็บปวดขนาดไหน ฉันคิดจริง ๆ ว่าเราควรมีสิทธิ์ที่จะรัก และรักอย่างเปิดเผย\" อันเดอร์วูดยังกล่าวต่อว่า \"โบสถ์ที่ฉันไปมีเกย์ที่เป็นมิตร เบื้องบนพระเจ้าอยากให้เรารักคนอื่น มันไม่ได้มีกฎ หรือ 'ทุกคนจะต้องเป็นอย่างฉันนะ' ไม่ เราทุกคนต่างกัน นั่นทำให้เราพิเศษ เราต้องรักกันและเป็นมิตรกัน ฉันไปตัดสินใครไม่ได้\"[98]", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "148618#26", "text": "2005: American Idols LIVE! Tour 2005 2006: Carrie Underwood: Live 2006 2008: Love, Pain and the Whole Crazy Carnival Ride Tour (กับ คีธ เออร์บัน) 2008: Carnival Ride Tour 2010: Play On Tour 2012: Blown Away Tour 2016: Storyteller Tour: Stories in the Round", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "148618#27", "text": "เว็บไซต์ มายสเปซ", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "148618#4", "text": "ตอนอันเดอร์วูดอายุ 14 ปีได้มีคนจัดการให้เธอไปแนชวิลล์เพื่อคัดเลือกเข้าสังกัดแคปิทอลเรเคิร์ดส์[6] ในปีค.ศ. 1996 เธอได้รับการติดต่อสัญญาจากแคปิทอลเรเคิร์ดส์ แต่สัญญานั้นถูกยกเลิกเมื่อบริษัทค่ายเพลงเปลี่ยนแปลงการบริหาร อันเดอร์วูดพูดถึงเหตุการณ์นั้นว่า \"ฉันคิดจริงๆ ว่ามันดีกว่ามากเลยที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะฉันคงยังไม่พร้อมในตอนนั้น ทุกสิ่งย่อมมีหนทางที่จะเป็น\"[8]", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "148618#18", "text": "ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2009 อันเดอร์วูดหมั้นกับไมค์ ฟิชเชอร์ นักกีฬาฮอกกี้ทีมแนชวิลล์ เพรเดเตอร์ส (ตอนหมั้นอยู่ทีมออตตาวา เซเนเตอร์ส) พวกเขาเริ่มคบกันหลังจากที่เจอกันในคอนเสิร์ตของอันเดอร์วูดในช่วงปีค.ศ. 2008[71] อันเดอร์วูดและฟิชเชอร์ได้ปรากฏตัวด้วยกันครั้งแรกต่อหน้าสาธารณชนในเดือนมกราคม ค.ศ. 2010 (ที่ Bell Sens Soiree งานการกุศลประจำปีของทีมเซเนเตอร์สในแมืองกาติโน ออตตาวา) [72] หลังจากที่ปรากฏตัวด้วยกันที่งาน CMT Awards ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2010 อันเดอร์วูดบอกผู้สื่อข่าวว่าฟิชเชอร์กำลังมีแผนสำหรับฮันนีมูนของเขาทั้งสองคนหลังงานแต่ง[73]", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "148618#17", "text": "อันเดอร์วูดนับถือศาสนาคริสต์[65][66] และเธอรับประทานอาหารมังสวิรัติ ในปีค.ศ. 2006 อันเดอร์วูดได้แสดงในช่วงพักครึ่งของการแข่งขันอเมริกันฟุตบอล ในวันขอบคุณพระเจ้าที่สนามกีฬาเท็กซัส ในเมืองเออร์วิง รัฐเทกซัส และได้เป็นเพื่อนกับโทนี โรโม ควอร์เตอร์แบ็ก แห่งทีมดัลลัส คาวบอยส์[67] และได้ไปร่วมงานวันเกิดของเขา เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2007 และวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 เขาได้ไปงาน Academy of Country Music Awards กับเธอ อันเดอร์วูดกับโรโมมีข่าวลือว่าคบกันตลอดปีค.ศ. 2007 ถึงแม้ว่าอันเดอร์วูดจะปฏิเสธข่าวลือนั้น แต่โรโมยืนยันบนเว็บไซต์ของเขาว่า \"ผมกำลังคบกับแคร์รี อันเดอร์วูดอยู่\" และยังบอกกับหนังสือพิมพ์อิลลินอยส์ว่าเขากำลังคบกับอันเดอร์วูดอยู่[68] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2007 อันเดอร์วูดเริ่มคบกับเชส ครอว์ฟอร์ด นักแสดงซีรีส์เรื่องกอสซิปเกิร์ล และในวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2007 นิตยสารพีเพิลรายงานว่าทั้งคู่เดินจับมือกันในเมืองนิวยอร์ก[69] อย่างไรก็ดีทั้งคู่ก็ได้จบความสัมพันธ์ลงในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ปีค.ศ. 2008[70]", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "148618#19", "text": "วันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2010 อันเดอร์วูดและฟิชเชอร์ได้แต่งงานกันที่ The Ritz-Carlton Lodge, Reynolds Plantation ในเมืองกรีนส์โบโร รัฐจอร์เจีย โดยมีผู้ร่วมงานมากกว่า 250 คน ทั้งผู้เล่นในเอ็นเอชแอล, ทิม แมคกรอว์, เฟธ ฮิลล์, การ์ธ บรู๊กส์, ผู้เข้าแข่งขันอเมริกันไอดอล, พอลลา อับดุล, ไซมอน คาวเวลล์ และแรนดี แจ็คสัน[74][75] ทั้งคู่ให้คำพูดกับนิตยสารพีเพิลโดยลงชื่อ \"Mike & Carrie Fisher\" ว่า \"เราทั้งคู่คงไม่มีความสุขไปมากกว่าการที่เราได้พบกัน และแบ่งปันวันนี้กับเพื่อนและครอบครัวของเราซึ่งนั่นมีความหมายสำหรับเรามาก\" ตามนิตยสารพีเพิล Monique Lhuillier ได้ตัดชุดลายลูกไม้ให้กับอันเดอร์วูด และได้ออกแบบชุดให้กับเพื่อนเจ้าสาวอีกด้วย ในงานแต่งมีการเล่นเพลงคลาสสิกและคำอ่านของคัมภีร์ไบเบิลในท่อนที่ทั้งคู่ชอบ[76][77] อันเดอร์วูดสร้างความประหลาดใจให้ฟิชเชอร์โดยการนำแบรนดอน ฮีธหนึ่งในนักร้องที่ทั้งคู่ชอบมาร้องเพลง \"Love Never Fails\" ในการเต้นรำเพลงแรก[78]", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "148618#13", "text": "อันเดอร์วูดปล่อยอัลบั้มที่สาม Play On เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2009[47] อัลบั้มนี้เปิดตัวที่อันดับ 1 บน Billboard 200 และ Top Country Albums ขายไปได้กว่า 318,000 ก๊อปปี้ในสัปดาห์แรก เมื่อวางจำหน่ายกลายเป็นอัลบั้มที่มียอดขายมากที่สุดแห่งปีโดยศิลปินหญิง แต่ถูกทำลายสถิติโดย I Dreamed a Dream อัลบั้มของซูซานบอยล์เมื่อตอนสิ้นปีและหล่นไปอยู่อันดับที่สอง [48][49] อันเดอร์วูดร่วมแต่งเพลงกับนักร้องเพลงป๊อปอาร์เอนบี นักแต่งเพลง Ne-Yo สำหรับอัลบั้มนี้ แต่ก็ไม่ได้อยู่ในอัลบั้ม[50]", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "148618#25", "text": "2005: Some Hearts 2007: Carnival Ride 2009: Play On 2012: Blown Away 2015: Storyteller", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "577127#1", "text": "ผู้ชนะในฤดูกาลนี้คือ แคร์รี อันเดอร์วูด สาวจากโอคลาโฮมา ในฤดูกาลนี้มียอดโหวตรวมทั้งหมดประมาณ 500 ล้านโหวต เฉพาะในรอบสุดท้ายของฤดูกาลนั้นมีจำนวนโหวต 37 ล้านโหวต", "title": "อเมริกันไอดอล ฤดูกาลที่ 4" }, { "docid": "918989#1", "text": "การถ่ายทอดสดของเกมใน CBS ทำให้เข้าถึงผู้ชมในสหรัฐอเมริกาโดยเฉลี่ยประมาณ 106.5 ล้านคน ทำให้ซูเปอร์โบวล์มีคนดูมากที่สุด ในช่วงร้องเพลงชาติซึ่งร้องโดย แคร์รี อันเดอร์วูด และการแสดงช่วงพักครึ่งโดยวงร็อกชาวอังกฤษ เดอะฮู", "title": "ซูเปอร์โบวล์ครั้งที่ 44" }, { "docid": "148618#7", "text": "อัลบั้ม Some Hearts เป็นอัลบั้มเปิดตัวของอันเดอร์วูด ออกวางจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2005 เข้าสู่ชาร์ตบิลบอร์ด ด้วยยอดขาย 315,000 ชุด เปิดตัวที่อันดับ 1 ใน Hot Country Albums และ อันดับ 2 ใน Hot 200 Albums ยอดขายอย่างมากมายในสัปดาห์แรกของอัลบั้ม Some Hearts ทำให้เป็นการเปิดตัวที่สูงที่สุดของนักร้องคันทรีตั้งแต่เริ่มมีระบบ SoundScan มาตั้งแต่ปีค.ศ. 1991 และเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดในสหรัฐอเมริกาของปีค.ศ. 2006 และเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดของอัลบั้มคันทรีในสหรัฐอเมริกาของปีค.ศ. 2006 และ ค.ศ. 2007 อัลบั้ม Some Hearts ได้รางวัล 7 แผ่นเสียงทองคำขาวโดย RIAA และเป็นอัลบั้มคันทรีเปิดตัวที่ขายเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ของ SoundScan[17] เป็นอัลบั้มหญิงเดี่ยวเปิดตัวที่ขายดีที่สุดของวงการเพลงคันทรี จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 และเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดของผู้เข้าแข่งขันอเมริกัน ไอดอล (นับเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา) [18] \"Inside Your Heaven\" ซิงเกิ้ลแรกของอันเดอร์วูด ปล่อยในเดือนมิถุนายน เปิดตัวที่อันดับ 1 บน Billboard Hot 100 และ Canadian Singles Chart ซึ่งเป็นเพลงที่อยู่ในชาร์ตของแคนาดานานที่สุดของปีค.ศ. 2005 Inside Your Heaven เป็นซิงเกิ้ลเดียวของนักร้องคันทรีเดี่ยวในยุค 2000 ที่ขึ้นไปถึงอันดับ 1 บน Billboard Hot 100 ซึ่งขายไปได้เกือบ 1 ล้านก๊อปปี้ และได้รางวัลแผ่นเสียงทองคำโดย RIAA และ 2 รางวัลแผ่นเสียงทองคำขาวโดย CRIA \"Jesus, Take the Wheel\" ซิงเกิ้ลที่สองของอัลบั้ม[19] ปล่อยสู่วิทยุในเดือนตุลาคมและขึ้นไปได้สูงสุดอันดับ 1 บน Billboard Hot Country Songs และอยู่ได้นานถึง 6 สัปดาห์ติดต่อกัน และสูงสุดอันดับ 20 บน Hot 100 เพลงนี้ขายไปได้มากกว่า 2 ล้านก๊อปปี้ และได้ 2 รางวัลแผ่นเสียงทองคำขาวโดย RIAA[20] \"Some Hearts\" ซิงเกิ้ลที่ 3[19] ของอันเดอร์วูด ปล่อยในเดือนตุลาคมแต่แค่คลื่นป็อบ \"Don't Forget to Remember Me\" ซิงเกิ้ลที่สี่ของเธอยังคงประสบความสำเร็จด้วยการขึ้นไปถึงอันดับ 2 บน Billboard Hot Country Songs chart ในฤดูใบไม้ร่วง เพลง \"Before He Cheats\" เพลงคันทรีซิงเกิลที่ 3 ของอันเดอร์วูด ได้ขึ้นไปถึงอันดับ 1 บน Billboard's Hot Country Songs เป็นเวลา 5 สัปดาห์ติดต่อกัน ซึ่งขึ้นไปได้สูงสุดอันดับ 8 ใน Billboard Hot 100 เป็นเพลงที่ขึ้นไปสู่ท็อปเท็นที่ช้าที่สุดของ Billboard Hot 100 และได้ทำลายสถิติก่อนหน้านี้ที่ทำไว้โดยวง Creed ที่ครองมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2000 ได้รางวัล 3 แผ่นเสียงทองคำขาว และเป็นเพลงคันทรีอันดับ 4 ที่ขายดีที่สุดของเพลงดิจิตอลตลอดกาล[21] ในวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 2007 อันเดอร์วูดได้ปล่อยเพลง \"Wasted\" ซึ่งขึ้นไปถึงอันดับ 1 บน Hot Country Songs Chart ขายได้เกือบ 1 ล้านก๊อปปี้ และได้ 1 รางวัลแผ่นเสียงทองคำโดย RIAA[22] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2008 \"Jesus Take the Wheel\" ได้รางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว ทำให้อันเดอร์วูดเป็นนักร้องคันทรีคนแรกที่มีสองเพลงที่ได้รางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว ร่วมกันกับเพลง \"Before He Cheats\" ซึ่งได้รับไปก่อนหน้านี้ในปี ค.ศ. 2007[23] อันเดอร์วูดมีคอนเสิร์ตแรกของเธอเอง ชื่อว่า Carrie Underwood: Live 2006 ซึ่งจัดในแถบอเมริกาเหนือ", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "148618#5", "text": "ในระหว่างการศึกษาชั้นมัธยมปลายอันเดอร์วูดเป็นเชียร์ลีดเดอร์, เล่นบาสเก็ตบอลและเล่นซอฟต์บอลด้วย[9] ในปีค.ศ. 2001 เธอจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมปลายชีโคตา เธอเป็นนักเรียนที่จบการศึกษาด้วยคะแนนดีเยี่ยม[7] หลังจากจบการศึกษาเธอเลือกที่จะไม่เป็นนักร้องตามที่ฝัน เธอบอกว่า \"หลังจากจบชั้นมัธยมปลาย ฉันก็ค่อนข้างจะล้มเลิกความฝันในการเป็นนักร้อง ฉันอยู่ในจุดในชีวิตที่ฉันต้องอยู่กับความเป็นจริง และเตรียมพร้อมกับอนาคตของฉันใน'โลกแห่งความจริง'\"[9] เธอได้เข้ารับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยนอร์ทอิสเทิร์นสเตท ในเมืองแทลิควา รัฐโอคลาโฮมา และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยเกียรตินิยมอันดับสองในปีค.ศ. 2006 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน[10] เธอได้ใช้เวลาส่วนหนึ่งในช่วงภาคฤดูร้อนในการทำงานให้กับ บ๊อบบี้ เฟรม ส.ส. รัฐโอคลาโฮมา[11] และเธอยังเป็นพนักงานเสิร์ฟในร้านขายพิซซ่า, ทำงานที่สวนสัตว์ และที่คลินิกสัตว์ด้วย[9] อันเดอร์วูดเป็นสมาชิกชมรม Sigma Sigma Sigma ซึ่งเป็นชมรมเกี่ยวกับผู้หญิง[12] ในช่วงสองปีระหว่างภาคฤดูร้อนเธอได้แสดงในงานของมหาวิทยาลัยใจกลางเมืองแทลิควา นอกจากนั้นเธอยังได้เข้าร่วมการแข่งขันประกวดนางงามของมหาวิทยาลัย และเธอได้รับรางวัลรองชนะเลิศของนางสาวเอ็นเอสยู ปีค.ศ. 2004[13]", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "148618#9", "text": "ในเดือนธันวาคม ปี 2005 อันเดอร์วูดได้ถูกจัดให้เป็น Oklahoman of the Year โดย Oklahoma Today[24] ในเดือนธันวาคมปี 2006 อันเดอร์วูดได้ร่วมร้องเพลงกับ โทนี เบนเนต, ไมเคิล บูเบล และ จอช โกรแบน ในเพลง \"For Once in My Life\" ในรายการ The Oprah Winfrey Show[25] ในเดือนเดียวกันนั้นเธอได้สรรเสริญแก่ ดอลลี พาร์ตัน ด้วยการร้องเพลง \"Islands in the Stream\" ร่วมกับ เคนนี โรเจอร์ (ต้นฉบับของ พาร์ตัน และ โรเจอร์) ที่ Kennedy Center Honors ซึ่งให้เกียรติแก่พาร์ตันในปีนั้น อันเดอร์วูดได้แสดงกับ USO Christmas Tour ในประเทศอิรักในช่วงเทศกาลวันหยุดในปี 2006[26] อันเดอร์วูดยังได้แสดงคอนเสิร์ต Idol Gives Back 2007 โดยร้องเพลง \"I'll Stand By You\" ของ เดอะพรีเทนเดอร์ โดยในเวอร์ชันของเธอเปิดตัวที่อันดับ 6 บน Billboard's Hot 100 Songs ในปี 2007 เช่นเดียวกัน Victoria's Secret จัดให้อันเดอร์วูดเป็นนักดนตรีหญิงที่เซ็กซี่ที่สุด[27]", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" }, { "docid": "628785#0", "text": "ไรอัน เบนจามิน เท็ดเดอร์ (Ryan Benjamin Tedder) (เกิด 26 มิถุนายน ค.ศ. 1979) เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์, และนักแสดงชาวอเมริกัน เป็นที่รู้จักดีในฐานะนักร้องนำของวงดนตรีแนวป็อปร็อก วันรีพับบลิก แม้ว่าเขาตัวคนเดียวจะเป็นนักแต่งเพลงและโปรดิวเซอร์ให้กับนักร้องมากมาย เช่น อะเดล, บียอนเซ่, เบอร์ดี, มารูนไฟฟ์, เดมี โลวาโต, เอลลี โกลดิง, บี.โอ.บี, เคลลี คลาร์กสัน, เค'นาน, แคร์รี อันเดอร์วูด, เจนนิเฟอร์ โลเปซ, จอร์ดิน สปาร์กส, เลโอนา ลูวิส, เกวิน เดอกรอว์, เซบาสเตียน อินกรอสโซ, จิม คลาส ฮีโรส์, วันไดเรกชัน, เจมส์ บลันต์, ฟาร์อีสต์มูฟเมนต์, พอล โอกเคนโฟลด์ และเอลลา เฮนเดอร์สัน ", "title": "ไรอัน เท็ดเดอร์" }, { "docid": "148618#22", "text": "อันเดอร์วูดบอกว่าเธอมีความสนใจในกีฬา ในปีค.ศ. 2005 เธอได้ไปแสดงเพลง \"เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์\" ในเกม 4 ของรอบชิงชนะเลิศเอ็นบีเอ ระหว่าง ซานแอนโตนิโอ สเปอรส์ กับ ดีทรอยต์ พิสตันส์[88] และในปีค.ศ. 2006 ในเกมรวมดาราเอ็นบีเอ[89] เธอยังได้แสดงเพลง \"เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์\" ในรอบชิงชนะเลิศเอ็นเอฟซี ระหว่าง ซีแอตเติล ซีฮอกส์ กับ คาโรไลนา แพนเทอร์ส ในปีค.ศ. 2006 เช่นกัน[90] และยังแสดงที่นาสคาร์[91] ในเกมรวมดาราเอ็มแอลบี ที่เมืองพิตส์เบิร์ก รัฐเพ็นซิลเวเนีย และ เกม 3 ของการแข่งเวิลด์ซีรีส์ ปีค.ศ. 2007 ระหว่าง บอสตัน เรดซอกซ์ กับ โคโลราโด ร็อคกีส์[92] เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 อันเดอร์วูดได้แสดงเพลงชาติในซูเปอร์โบวล์ XLIV[93]", "title": "แคร์รี อันเดอร์วูด" } ]
1400
ชัย ชิดชอบ มีภูมิลำเนาอยู่ที่ใด?
[ { "docid": "169334#1", "text": "นายชัย ชิดชอบ เกิดที่บ้านเพี้ยราม ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จบการศึกษาชั้นมัธยมปลายจากโรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์", "title": "ชัย ชิดชอบ" } ]
[ { "docid": "169334#0", "text": "ชัย ชิดชอบ (5 เมษายน พ.ศ. 2471 — ) เป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ อดีตประธานรัฐสภา และอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร​แบบสัดส่วน พรรคภูมิใจไทย ได้รับเลือกเป็นตัวแทนพรรคพลังประชาชน ในการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรแทนนายยงยุทธ ติยะไพรัช ที่โดนใบแดง ก่อนหน้านี้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)หลายสมัย และสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)จังหวัดบุรีรัมย์", "title": "ชัย ชิดชอบ" }, { "docid": "169334#6", "text": "ขณะปฏิบัติหน้าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2551 นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ ส.ส. หนองบัวลำภู พรรคพลังประชาชน ได้เสนอ นายจุมพฏ บุญใหญ่ ส.ส. สกลนคร พรรคพลังประชาชน เป็นผู้สมควรได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน แต่นายจุมพฏไม่เห็นชอบด้วย นายพิษณุจึงมีทีท่าจะเสนอคนอื่นแทน นายชัย ชิดชอบ จึงกล่าวขึ้นกลางที่ประชุมว่า \"จะเสนอใครถามเจ้าตัวก่อนดีกว่าว่าเขารับหรือไม่ เจ้าตัวไม่เอายังเสือกเสนออยู่อีก จะเสนอใครก็รีบเสนอ เสียเวล่ำเวลา\" ท่ามกลางความตกตะลึงของ ส.ส. ในที่ประชุม อย่างไรก็ดี ความหงุดหงิดของนายชัยเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มประชุมแล้ว เนื่องจากความไม่พร้อมเพรียงและความวุ่นวายของ ส.ส. ที่เข้าประชุม จนนายชัยต้องกดสัญญาณเรียกถึงหกครั้ง และสั่งให้นับองค์ประชุมอีกหลายครั้ง ทั้งนี้ ในวันต่อมา นายชัยก็ได้กล่าวขอโทษ ส.ส. สำหรับกรณีดังกล่าวอย่างสุภาพด้วยความรู้สึกผิด", "title": "ชัย ชิดชอบ" }, { "docid": "186221#12", "text": "บุคคลที่เป็นสามีและภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ มีการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย ภูมิลำเนาของบุคคลทั้งสองนี้ได้แก่ถิ่นที่อยู่ซึ่งทั้งสองอยู่กินกันฉันสามีและภรรยา เว้นแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแสดงเจตนาให้ชัดแจ้งว่าประสงค์จะมีภูมิลำเนาต่างหากจากกัน (มาตรา 43 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)", "title": "ภูมิลำเนา" }, { "docid": "186221#9", "text": "ในกรณีที่ภูมิลำเนาของบุคคลไม่ปรากฏ กล่าวคือ บุคคลนั้นไม่เปิดเผยให้ผู้ใดทราบก็ดี หรือไม่มีความแน่ชัดว่าบุคคลนั้นต้องการให้ถิ่นใดเป็นภูมิลำเนาของตนก็ดี หรือประการอื่นก็ดี ให้เอาถิ่นที่บุคคลนั้นพำนักอยู่เป็นหลักแหล่งเป็นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น ซึ่งหากว่าบุคคลนั้นพำนักอยู่เป็นหลักแหล่งในหลายถิ่น จะถือเอาถิ่นใดเป็นภูมิลำเนาก็ได้ (มาตรา 39 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)", "title": "ภูมิลำเนา" }, { "docid": "186221#13", "text": "ภูมิลำเนาของผู้เยาว์ ได้แก่ ภูมิลำเนาของผู้แทนโดยชอบธรรม กล่าวคือ ได้แก่ภูมิลำเนาของผู้ใช้อำนาจปกครอง คือ บิดา และ/หรือมารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือภูมิลำเนาของผู้ปกครองของผู้เยาว์นั้น ทั้งนี้ จนกว่าผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ ในกรณีที่บิดาและมารดามีภูมิลำเนาต่างหากจากกัน ภูมิลำเนาของผู้เยาว์จะได้แก่ภูมิลำเนาของบิดาหรือมารดาที่ผู้เยาว์นั้นพำนักอยู่ด้วย (มาตรา 44 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)", "title": "ภูมิลำเนา" }, { "docid": "232366#5", "text": "ชายที่มีสัญชาติไทย เมื่ออายุย่างเข้า 18 ปี บริบูรณ์ในพุทธศักราชใด ต้องไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินภายในพุทธศักราชนั้น ที่อำเภอท้องที่ที่มีภูมิลำเนาอยู่โดยจะได้รับใบสำคัญ สด. ๙ เมื่อลงบัญชี ณ อำเภอใดแล้ว อำเภอนั้นจะเป็น\"ภูมิลำเนาทหาร\"ของทหารกองเกินผู้นั้น ภูมิลำเนาทหารเป็นภูมิลำเนาเฉพาะไม่เกี่ยวข้องกับทะเบียนบ้านหรือสำมะโนครัว การจะย้ายภูมิลำเนาทหารต้องกระทำที่อำเภอแยกต่างหากจากการย้ายภูมิลำเนาตามทะเบียนราษฎร ทหารกองเกินที่ย้ายทะเบียนราษฎร์จะย้ายภูมิลำเนาทหารด้วยหรือไม่ก็ได้ แต่มีหน้าที่แจ้งต่อนายอำเภอทุกครั้งที่ไปอยู่ต่างถิ่นเป็นเวลาเกินกว่า 30 วัน หากไม่แจ้งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ", "title": "การเกณฑ์ทหารในประเทศไทย" }, { "docid": "186221#10", "text": "ในกรณีที่บุคคลมีถิ่นที่อยู่หรือถิ่นอันเป็นหลักแหล่งในการประกอบอาชีพหลายแห่ง และทุกแห่งก็ล้วนสำคัญ ไม่อาจกำหนดได้ว่าถิ่นใดสำคัญกว่าเพื่อน ในกรณีเช่นว่านี้กฎหมายยอมรับให้บุคคลอาจมีภูมิลำเนาหลายแห่งได้ โดยจะถือเอาแห่งใดเป็นภูมิลำเนาของตนก็ได้ (มาตรา 38 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)", "title": "ภูมิลำเนา" }, { "docid": "186221#4", "text": "ถิ่นใดจะเป็นภูมิลำเนาของบุคคลใดนั้น ต้องมีองค์ประกอบสองประการดังต่อไปนี้", "title": "ภูมิลำเนา" }, { "docid": "186221#8", "text": "นอกจากนี้ บุคคลยังสามารถกำหนดให้ถิ่นใดเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการ () ของตนก็ได้ เพื่อไว้ใช้ทำการใด ๆ ตามแต่ประสงค์ การดังกล่าวกระทำได้โดยแสดงเจตนาให้ปรากฏชัดแจ้งว่าต้องการให้ถิ่นนั้นเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการ", "title": "ภูมิลำเนา" }, { "docid": "169334#3", "text": "ชีวิตส่วนตัว นายชัย ชิดชอบ สมรสกับนางละออง ชิดชอบ มีบุตรชาย 5 คน หญิง 1 คน บุตรคือนายเนวิน ชิดชอบ เป็นประธานบริหารสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย นายชัยชื่นชอบนักการเมืองชาวอิสราเอลคนหนึ่ง ที่ชื่อ โมเช่ ดายัน ถึงขนาดตั้งฉายาให้ตัวเองว่า \"ชัย โมเช่\"", "title": "ชัย ชิดชอบ" } ]
1766
ความเอนเอียง หมายถึงอะไร?
[ { "docid": "680776#0", "text": "ความเอนเอียง () เป็นความโน้มไปของภาวะจิตใจหรือทัศนคติ ที่จะแสดงหรือยึดถือความคิดเห็นที่ไม่สมบูรณ์\nบ่อยครั้งพร้อมกับการปฏิเสธที่จะแม้พิจารณาความเป็นไปได้ของความคิดเห็นที่ต่างออกไป\nเราอาจจะมีความเอนเอียงต่อบุคคล ต่อเชื้อชาติ ต่อศาสนา ต่อชนชั้นในสังคม หรือต่อพรรคการเมือง\nการมีความเอนเอียงหมายถึง เอนไปข้างเดียว ไม่มีความเป็นกลาง ไม่เปิดใจ\nความเอนเอียงมาในหลายรูปแบบ และคำว่า Bias ในภาษาอังกฤษอาจใช้เป็นไวพจน์ของคำว่า prejudice (ความเดียดฉันท์) และ bigotry (ความหัวดื้อ ความมีทิฏฐิมานะ)", "title": "ความเอนเอียง" } ]
[ { "docid": "630851#39", "text": "ในอดีตเคยเชื่อกันว่า ความเอนเอียงเพื่อยืนยันมีความสัมพันธ์เชิงผกผันกับสติปัญญาที่สูงกว่า\nแต่ว่า งานวิจัยต่าง ๆ กลับพบว่า ทักษะในการคิดอย่างมีเหตุผลมีอิทธิพลต่อความเอนเอียงมากกว่าระดับสติปัญญา \nความเอนเอียงนี้อาจเป็นเหตุให้ไม่สามารถทำการประเมินแนวคิดตรงกันข้ามอย่างมีประสิทธิภาพและประกอบด้วยเหตุผล\nงานวิจัยต่าง ๆ เสนอว่า ความเอนเอียงนี้เป็นความปราศจาก \"การเปิดใจกว้าง\"\nซึ่งหมายถึงการเสาะหาอย่างจริง ๆ จัง ๆ ว่า แนวคิดเบื้องต้นนั้นอาจจะผิดพลาดได้ \nโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ความเอนเอียงนี้เกิดขึ้นในการศึกษาเชิงประสบการณ์ โดยเป็นการใช้หลักฐานสนับสนุนความคิดของตนเป็นจำนวนมากกว่าหลักฐานที่คัดค้าน", "title": "ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน" }, { "docid": "630851#65", "text": "ความเอนเอียงเพื่อยืนยันเป็นองค์ในการให้กำเนิดการต่อสู้หรือทำให้การต่อสู้กันยาวนานยิ่งขึ้น เริ่มตั้งแต่การอภิปรายที่เกิดอารมณ์สูงจนกระทั่งถึงศึกสงคราม\nโดยตีความหมายอย่างเอนเอียงว่าหลักฐานสนับสนุนเหตุผลฝ่ายตน แต่ละฝ่ายอาจจะมีความมั่นใจมากเกินไปว่าจุดยืนฝ่ายตนดีกว่า ในนัยตรงกันข้าม ความเอนเอียงเพื่อยืนยันอาจมีผลเป็นการไม่ใส่ใจหรือตีความหมายผิดซึ่งนิมิตว่าความขัดแย้งหรือการสงครามกำลังจะเกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น นักจิตวิทยาสต๊วร์ต ซัธเธอร์แลนด์และโทมัส กิดา ต่างเสนอว่า พลเรือเอกสหรัฐฮัสแบนด์ กิมเมล มีความเอนเอียงเพื่อยืนยันเมื่อตัดความสำคัญของหลักฐานว่า ประเทศญี่ปุ่นจะโจมตีท่าเรือเพิร์ล", "title": "ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน" }, { "docid": "615220#0", "text": "ความเอนเอียงจากการอยู่รอด () เป็นเหตุผลวิบัติที่เน้นความสนใจต่อบุคคลหรือสิ่งที่ \"อยู่รอด\" บางกระบวนการ และมองข้ามบุคคลหรือสิ่งที่ไม่อยู่รอดโดยไม่ได้เจตนา ความเอนเอียงจากการอยู่รอดอาจนำไปสู่ข้อสรุปที่ผิดได้หลายทาง ผู้อยู่รอดอาจหมายความตามตัวอักษร คือ เป็นบุคคล ดังในการศึกษาทางการแพทย์ ทว่าอาจหมายถึงบริษัทหรือตัวอย่างวิจัยหรือผู้สมัครงาน หรือสิ่งใดก็ตามที่ต้องผ่านกระบวนการคัดเลือกก่อนที่จะได้รับพิจารณาเพิ่มเติมได้ทั้งสิ้น", "title": "ความเอนเอียงจากการอยู่รอด" }, { "docid": "680776#1", "text": "ความเอนเอียงในสื่อเป็นความเอนเอียงของผู้สื่อข่าวและผู้ผลิตข่าว (news producer) ในสื่อมวลชน โดยเลือกเหตุการณ์และเรื่องที่จะรายงาน และโดยวิธีการรายงาน \nคำภาษาอังกฤษว่า \"media bias\" (ความเอนเอียงของสื่อ) บ่งถึงความเอนเอียงที่เป็นไปอย่างกว้างขวางที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานและจริยธรรมของการสื่อข่าว\nไม่ใช่หมายถึงความเอนเอียงที่มีเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือบทความใดบทความหนึ่ง\nแต่ยังไม่มีความเห็นที่ตรงกันในเรื่อง media bias ที่มีในประเทศต่าง ๆ ทั้งในส่วนของฝักฝ่ายและระดับความเอนเอียง", "title": "ความเอนเอียง" }, { "docid": "710583#1", "text": "ส่วนในการทดลองอาศัยหลักฐานโดยทั่ว ๆ ไป \nคำนี้อาจใช้หมายถึงความโน้มเอียง ที่จะไม่รายงานผลการทดลองที่ไม่คาดฝันหรือไม่ต้องการ\nโดยโทษว่า มีความคลาดเคลื่อนทางสถิติหรือในการวัดผล\nในขณะที่มีความโน้มเอียงที่จะรายงานผลที่คาดหวัง หรือเป็นผลที่ต้องการ แม้ว่าความจริงการทดลองทั้งสองที่มีผลต่างกัน ต่างก็สามารถมีความคลาดเคลื่อนแบบเดียว ๆ กัน\nเมื่อเป็นเช่นนี้ ความเอนเอียงอาจนำไปสู่สถานการณ์ที่นักวิจัยหลายพวก \nพบและทิ้งหลักฐานและการทดลองที่เหมือน ๆ กัน\nและนักวิจัยต่อ ๆ มา ก็พบและทิ้งหลักฐานที่เหมือน ๆ กันต่อ ๆ ไป โดยอ้างว่า นักวิจัยพวกก่อน ๆ พบหลักฐานที่เป็นไปอีกทางหนึ่ง\nดังนั้น อุบัติการณ์ของความเอนเอียงนี้แต่ละครั้ง อาจเพิ่มโอกาสให้เกิดความเอนเอียงขึ้นอีกในอนาคต", "title": "ความเอนเอียงโดยการรายงาน" }, { "docid": "638104#0", "text": "ความเอนเอียงโดยการใส่ใจ () เป็นศัพท์วิทยาศาสตร์แบบเฉพาะกิจ ซึ่งอาจหมายถึงความโน้มเอียงของการรับรู้ของเราที่จะได้รับอิทธิพลจากความคิดที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ \nยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราคิดถึงเสื้อผ้าที่เราใส่บ่อย ๆ เราก็จะให้ความสนใจกับเสื้อผ้าที่คนอื่นใส่", "title": "ความเอนเอียงโดยการใส่ใจ" }, { "docid": "630851#0", "text": "ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน (ความคิดฝ่ายตน) หรือ ความลำเอียงเพื่อยืนยัน () เป็นความลำเอียงในข้อมูลที่ยืนยันความคิดหรือทฤษฎีหรือสมมติฐานฝ่ายตน เรียกว่ามีความลำเอียงนี้เมื่อสะสมหรือกำหนดจดจำข้อมูลที่เลือกเฟ้น หรือว่าเมื่อมีการตีความหมายข้อมูลอย่างลำเอียง", "title": "ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน" }, { "docid": "684188#28", "text": "ความเอนเอียงนี้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจและการพยากรณ์ ทั้งในเรื่องการตั้งนโยบาย การวางแผนงาน และการจัดการบริหาร\nยกตัวอย่างเช่น ค่าใช้จ่ายและระยะเวลาการทำงานที่มีการวางแผน มักจะมีการประเมินต่ำเกินไป และผลประโยชน์ที่ได้มักจะมีการประเมินสูงเกินไป เพราะเหตุแห่งความเอนเอียงนี้\nคำว่า เหตุผลวิบัติในการวางแผน (planning fallacy) สำหรับปรากฏการณ์เช่นนี้ เป็นคำบัญญัติโดยอะมอส ทเวอร์สกี้ และแดเนียล คาฮ์นะมัน \nเริ่มมีการสั่งสมหลักฐานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ว่า ความเอนเอียงนี้ เป็นความเสี่ยงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของค่าใช้จ่ายเกินงบประมาณในเมกะโปรเจกต์\nความเอนเอียงตรงกันข้ามกับความเอนเอียงนี้ก็คือ ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ร้าย ()\nซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เราประเมินโอกาสที่เหตุการณ์เลวร้ายจะเกิดขึ้นกับเรามากเกินไป\nโดยเปรียบเทียบกับความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี ความแตกต่างก็คือ เรามีความวิตกกังวลกับเรื่องที่มีโอกาสน้อยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต", "title": "ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี" }, { "docid": "684311#0", "text": "ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง () เป็นกระบวนการทางประชานหรือการรับรู้ที่มีการบิดเบือนเพื่อที่จะพิทักษ์รักษาหรือเพิ่มความภูมิใจของตน (self-esteem)\nเมื่อเราปฏิเสธคำวิจารณ์เชิงลบ เพ่งดูแต่ข้อดีและความสำเร็จของตน แต่มองข้ามข้อเสียและความล้มเหลว หรือให้เครดิตตนเองมากกว่าผู้อื่นในงานที่ทำเป็นกลุ่ม เรากำลังพิทักษ์รักษาอัตตาจากความคุกคามหรือความเสียหาย\nความโน้มน้าวทางประชานและการรับรู้เช่นนี้ทำให้เกิดการแปลสิ่งเร้าผิดและความผิดพลาด แต่เป็นความจำเป็นในการรักษาความภูมิใจในตนเอง \nยกตัวอย่างเช่น นักเรียนอาจจะอ้างความเฉลียวฉลาดและความขยันของตน ว่าเป็นเหตุของการได้เกรดดีในการสอบ\nแต่อ้างการสอนของคุณครูหรือคำถามที่ไม่ยุติธรรมว่า เป็นเหตุของการได้เกรดไม่ดี ซึ่งแสดงถึงพฤติกรรมที่มีความเอนเอียงเช่นนี้\nงานวิจัยต่าง ๆ ได้แสดงแล้วว่า การอ้างเหตุผลอย่างเอนเอียงเช่นนี้\nก็มีในสถานการณ์อื่น ๆ ด้วย รวมทั้งในที่ทำงาน \nในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล \nในการกีฬา \nและในการตัดสินใจของผู้บริโภค", "title": "ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง" } ]
2454
แฟรงก์ เจมส์ แลมพาร์ด เล่นฟุตบอลให้กับทีมชาติใด ?
[ { "docid": "7400#22", "text": "แลมพาร์ดลงเล่นให้แมนเชสเตอร์ซิตีนัดที่สอง ในนัดที่พบกับ[[สโมสรฟุตบอลเชลซี|เชลซี]] ทีมเก่าของตัวเอง ที่สนามเอมิเรตส์สเตเดียม แต่ปรากฏว่าผู้เล่นของแมนเชสเตอร์ซิตีถูกใบแดงในนาทีที่ 66 จึงทำให้เชลซีขึ้นนำก่อน 1-0 ในนาทีที่ 71 จนกระทั่งถึงช่วงท้ายในนาทีที่ 85 แลมพาร์ดทำประตูตีเสมอให้กับทีม ช่วยให้ผลการแข่งขันกลับมาเสมอได้สำเร็จ [[หมวดหมู่:นักฟุตบอลชาวอังกฤษ]]\n[[หมวดหมู่:นักฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ]]\n[[หมวดหมู่:ผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวอังกฤษ]]\n[[หมวดหมู่:ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลเวสต์แฮมยูไนเต็ด]][[หมวดหมู่:ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลสวอนซีซิตี]] \n[[หมวดหมู่:ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลเชลซี]][[หมวดหมู่:ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี]]\n[[หมวดหมู่:ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 2006]]\n[[หมวดหมู่:ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 2010]]\n[[หมวดหมู่:ผู้เล่นในพรีเมียร์ลีก]]\n[[หมวดหมู่:บุคคลจากลอนดอน]]\n[[หมวดหมู่:ผู้เล่นในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004]]\n[[หมวดหมู่:กองกลางฟุตบอล]]\n[[หมวดหมู่:ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 2014]]", "title": "แฟรงก์ แลมพาร์ด" }, { "docid": "7400#2", "text": "การศึกษาจบจากมหาวิทยาลัยลอนดอน เขาเป็นหนึ่งในอดีตนักเตะเยาวชนของ เวสต์แฮมยูไนเต็ด และเคยถูกยืมตัวไปเล่นกับ สวอนซีซิตี ใน ค.ศ. 1995 และย้ายมาร่วมสโมสร เชลซี ใน ค.ศ. 2001 ติดทีมชาติอังกฤษครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1999 และยังเป็นมิดฟิลด์ที่ได้รับการยกย่องอย่างมาก แม้ว่าผลงานในตอนนี้จะแผ่วลงไปบ้าง ไม่ว่าจะกับทีมต้นสังกัดหรือทีมชาติอังกฤษ จากที่มีข่าวคราวว่าเล่นไม่เข้าขากับสตีเวน เจอร์ราร์ด กัปตันทีมลิเวอร์พูล น่าแปลกใจที่ทั้งสองเคยสนิทกัน แต่แม้กระทั่งงานแต่งงานของเจอร์ราร์ด ก็ไม่มี แลมพาร์ด ในงานเลี้ยงนั้น เมื่อ 22 มิถุนายน 2007 ที่ผ่านมา แลมพาร์ดเป็นกองกลางที่ทำประตูได้ 200 ประตู ซึ่งมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสโมสร และเป็นกองกลางคนที่สองต่อจากแมธทิว ทริสเซอร์ ที่ทำประตูมากว่า 100 ประตูในพรีเมียร์ลีก นอกจากนี้ แลมพาร์ดยังทำสถิติเป็นผู้เล่นคนเดียวที่ทำประตูในพรีเมียร์ลีกมากกว่า 10 ประตูติดต่อกันถึง 9 ฤดูกาลอีกด้วย\nแฟรงก์ แลมพาร์ด เริ่มต้นอาชีพฟุตบอลกับสโมสรเวสต์แฮมยูไนเต็ด โดยลงเล่นกับทีมเยาวชนตั้งแต่ ปี 1993 และสร้างผลงานได้ดีพอสมควร โดยเขายังเป็นลูกชายของแฟรงก์ แลมพาร์ด (ซีเนียร์) ผู้ช่วยคนสำคัญของแฮร์รี เรดแนปป์ กุนซือของเวสต์แฮมในขณะนั้นซึ่งเป็นลุงของเขา", "title": "แฟรงก์ แลมพาร์ด" }, { "docid": "7400#11", "text": "2002/2003\nจากความผิดหวังที่ไม่ได้ร่วมทีมไปฟุตบอลโลกทำให้เขาตั้งใจเล่นมากขึ้นกว่าเดิม และพยายามอย่างยิ่งที่จะไปยึดตัวจริงในทีมชาติอังกฤษ ซึ่งเขาก็ทำได้ดีเลยทีเดียวโดยพาทีมคว้าอันดับ 4 ของลีก แย่งตำแหน่งการไปเล่นยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกให้ทีมได้สำเร็จ โดยฤดูกาลนี้เขาลงเล่นในลีก 38 นัด ทำได้ 6 ประตู และ 1 ประตูจาก 2 เกมในยูฟ่าคัพ จากผลงานที่ดีวันดีคืนของเขาทำให้เขามีโอกาสก้าวขึ้นไปติดทีมชาติบ่อยครั้งขึ้น", "title": "แฟรงก์ แลมพาร์ด" }, { "docid": "7400#13", "text": "ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป หรือยูโร 2004 ที่โปรตุเกสปีนี้เขามีชื่อเป็นตัวจริง ในฐานะนักเตะคนสำคัญของทีม เขาลงเล่นนัดแรกพบฝรั่งเศส และอังกฤษชนะไป 2-1 โดยแลมพาร์ด ทำได้ 1 ประตู ซึ่งนัดต่อมาพบ สวิตเซอร์แลนด์ เขาก็พาทีมชนะไป 3-0 โดยต่อมาพบกับ โครเอเชีย และแลมพาร์ดก็ยิงอีก 1 ประตูในชัยชนะ 4-2 แต่แล้วอังกฤษก็ต้องตกรอบต่อมาด้วยฝีมือเจ้าภาพ ในการดวลจุดโทษ", "title": "แฟรงก์ แลมพาร์ด" }, { "docid": "7400#8", "text": "1999/2000\nฤดูกาลนี้เวสต์แฮมผ่านเข้าไปเล่นยูฟ่าคัพ โดยผ่านการคัดเลือกจากถ้วยอินเตอร์โตโตคัพด้วย ซึ่งแลมพาร์ดก็ยังเล่นให้ทีมอย่างต่อเนื่อง โดยเขาลงเล่นทั้งสิ้น 34 นัด ทำได้ 7 ประตู และเขาก็มีชื่อติดทีมชาติอังกฤษชุดใหญ่ โดยเขาลงเล่นครั้งแรกในนัดกระชับมิตรกับเบลเยียมที่สเตเดียมออฟไลต์ (สนามเหย้าของซันเดอร์แลนด์) ในวันที่ 10 ตุลาคม 1999", "title": "แฟรงก์ แลมพาร์ด" } ]
[ { "docid": "7400#0", "text": "แฟรงก์ เจมส์ แลมพาร์ด (; เกิดวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1978) เป็นผู้จัดการทีม อดีตนักฟุตบอล และนักเขียนหนังสือเด็กชาวอังกฤษ ปัจจุบันเป็นผู้จัดการทีมดาร์บีเคาน์ตี", "title": "แฟรงก์ แลมพาร์ด" }, { "docid": "195279#0", "text": "แฟรงก์ ริชาร์ด จอร์จ แลมพาร์ด () หรือ แฟรงก์ แลมพาร์ด ซีเนียร์ (; เกิด 20 กันยายน ค.ศ. 1948 ที่อีสต์แฮม ลอนดอน) เป็นอดีตนักฟุตบอลทีมชาติอังกฤษของเวสต์แฮมยูไนเต็ด", "title": "แฟรงก์ แลมพาร์ด (ซีเนียร์)" }, { "docid": "195279#2", "text": "แลมพาร์ดเล่นให้ทีมชาติอังกฤษชุดใหญ่ครั้งแรกในนัดเจอยูโกสลาเวียปี 1972 ส่วนในระดับสโมสรเขาได้แชมป์เอฟเอคัพในปี 1975 และปี 1980 กับสโมสรเวสต์แฮมยูไนเต็ดต้นสังกัดของเขาและยังช่วยให้สโมสรคว้าแชมป์ดิวิชัน 2 เดิม (ลีกแชมเปียนชิพในปัจจุบัน) ในปี 1981 แลมพาร์ดหมดสัญญากับเวสต์แฮมหลังจบฤดูกาล 1984-1985 หลังจากอยู่กับทีมมากกว่า 10 ปี และลงเล่นทุกรายการรวมกันถึง 660 นัดยิงได้ 22 ประตู โดยแลมพาร์ด ซีเนียร์จัดเป็นหนึ่งในนักเตะระดับตำนานของทีมและเป็นที่ชื่นชอบของแฟนบอลอย่างมาก", "title": "แฟรงก์ แลมพาร์ด (ซีเนียร์)" }, { "docid": "7400#21", "text": "2014/2015\nแลมพาร์ดได้ย้ายออกจากเชลซี สโมสรที่เขาประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงไปยัง[[New York City FC|นิวยอร์กซิตี]] ใน[[เมเจอร์ลีกซอกเกอร์|เมเจอร์ลีก]] สหรัฐอเมริกา แต่ทว่ายังมิได้ทันได้ลงเล่นให้กับต้นสังกัด ก็ถูกแมนเชสเตอร์ซิตีขอยืมตัวกลับมาเล่นในพรีเมียร์ลีก อังกฤษ ทันที พร้อมกับได้ประกาศยุติการเล่นให้กับทีมชาติไป โดยทำสถิติติดทีมชาติทั้งสิ้น 106 นัด ยิงประตูได้ทั้งหมด 29 ลูก\nแลมพาร์ดลงเล่นให้แมนเชสเตอร์ซิตีครั้งแรก ในนัดที่พบกับ[[สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล|อาร์เซนอล]] ที่สนามเอมิเรตส์สเตเดียม แต่ปรากฏว่าถูกใบเหลืองในนาทีที่ 22 และถูกเปลี่ยนตัวออกเมื่อหมดครึ่งแรก", "title": "แฟรงก์ แลมพาร์ด" }, { "docid": "7400#1", "text": "แฟรงก์ แลมพาร์ด มีชื่อเต็มว่า แฟรงก์ แลมพาร์ด เกิดวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1978 ที่กรุงลอนดอน ในตระกูลนักฟุตบอล โดยพ่อของเขาคือ แฟรงก์ แลมพาร์ด (ซีเนียร์) เป็นอดีตกองหลังทีมชาติอังกฤษ ลุงของเขาคือ แฮร์รี เรดแนปป์ ปัจจุบันเป็นผู้จัดการสโมสรฟุตบอลควีนส์ปาร์ค เรนเจอร์ส และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับ เจมี เรดแนปป์ เป็นอดีตนักเตะของเซาแทมป์ตันเช่นเดียวกัน", "title": "แฟรงก์ แลมพาร์ด" } ]
2893
หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยามีมารดาชื่อว่าอะไร?
[ { "docid": "285046#1", "text": "หม่อมเจียงคำ เกิดเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2422 ที่เมืองอุบลราชธานี เป็นธิดาลำดับที่ 9 หรือเป็นธิดาท่านสุดท้องของท้าวสุรินทรชมภู (หมั้น บุตโรบล) กับญาแม่ดวงจันทร์ บุตโรบล หม่อมเจียงคำมีศักดิ์เป็นหลานปู่ ในเจ้าราชบุตร (สุ่ย บุตโรบล) (บรรดาศักดิ์เดิมที่ ท้าวสุริยะ) กับอัญญานางทอง บุตโรบล มีศักดิ์เป็นเหลนทวด ในท้าวสีหาราช (พูลสุข หรือ พลสุข) กรมการเมืองอุบลราชธานีชั้นผู้ใหญ่ กับอัญญานางสุภา ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากท้าวโคต ผู้เป็นพระราชโอรสในเจ้าพระตา (เจ้าพระวรราชปิตา) ผู้ครองนครเขื่อนขัณฑ์กาบแก้วบัวบาน (จังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน) นอกจากนี้ ท้าวโคตผู้เป็นต้นสกุล บุตโรบล ยังมีศักดิ์เป็นอนุชากับเจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (คำผง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราช องค์ที่ 1 กับเจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช (ฝ่ายหน้า) เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ (เมืองเก่าคันเกิง) องค์ที่ 3 ด้วย", "title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา" } ]
[ { "docid": "285046#0", "text": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา (ท.จ.) (4 ธันวาคม พ.ศ. 2422-20 ตุลาคม พ.ศ. 2481 ) มีนามเดิมว่า อัญญานางเจียงคำ สกุลเดิม บุตโรบล เป็นเจ้านายสตรีของเมืองอุบลราชธานีซึ่งเป็นเมืองประเทศราชของราชอาณาสยามมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ที่ถวายตัวเป็นหม่อมใน พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระราชโอรสองค์ที่ 11 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) และองค์ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาพึ่ง เพื่อเป็นการกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างราชสำนักสยาม กับเจ้านายพื้นถิ่นเมืองอุบลราชธานีให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ในช่วงที่มีนโยบายปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)", "title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา" }, { "docid": "285046#13", "text": "ที่ดินแปลงนี้มีทั้งหมด 27 ไร่ ซึ่งตกทอดเป็นมรดกของพระโอรสทั้ง 2 พระองค์ คือ [[หม่อมเจ้าอุปลีสาณ ชุมพล]] (ท.จ.ว.) และ[[หม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล]] พระโอรสทั้ง 2 ได้มอบให้ทางราชการเมื่อ พ.ศ. 2474 ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ[[โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์]] อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็น[[โรงพยาบาลศูนย์]]อีสานใต้ที่ทันสมัยแห่งหนึ่งของภาคอีสาน และมีผู้ใช้บริการอยู่เป็นจำนวนมาก", "title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา" }, { "docid": "285055#0", "text": "หม่อมเจ้าอุปลีสาน ชุมพล โอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ กับ หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2442 ทรงเษกสมรสกับหม่อมเจ้าพวงรัตนประไพ เทวกุล พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ กับ หม่อมพุก จันทรเสน มีบุตรธิดา คือ \nหม่อมเจ้าอุปลีสาน ชุมพล สิ้นชีพิตักษัยเมื่อ พ.ศ. 2517", "title": "หม่อมเจ้าอุปลีสาณ ชุมพล" }, { "docid": "373628#1", "text": "หม่อมน้อย ชุมสาย ณ อยุธยา เป็นบุตรีของพระยาราชมนตรี (ภู่ ภมรมนตรี) อันเกิดแต่ท่านผู้หญิงอิน เธอมีพี่น้องต่างมารดาคือ คุณพุ่ม (บุษบาท่าเรือจ้าง) ยอดกวีหญิงในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เบื้องต้นเธอได้เข้าเป็นนางห้ามในกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ซึ่งเป็นที่เชิดหน้าชูตาอย่างมาก เนื่องจากเป็นธิดาของพระยาราชมนตรี ทั้งสองมีโอรสธิดาด้วยกันสองพระองค์ แต่ต่อมาเมื่อกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ได้สิ้นพระชนม์ในวัยหนุ่ม หม่อมน้อยจึงกลับไปอยู่บ้านที่ท่าช้างวังหลวงร่วมกับบิดาพร้อมด้วยพระโอรสและพระธิดาทั้งสองที่ยังเล็กอยู่คือ หม่อมเจ้าสาระพัดเพชร ศิริวงศ์ และพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเสริฐศักดิ์", "title": "หม่อมน้อย ชุมสาย ณ อยุธยา" }, { "docid": "233894#0", "text": "หม่อมเจ้าธานีเสิกสงัด ชุมพล พระโอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์และหม่อมบุญยืน ชุมพล ณ อยุธยา\nหม่อมเจ้าธานีเสิกสงัด ชุมพล พระโอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์และหม่อมบุญยืน ชุมพล ณ อยุธยา บุตรีในท้าวไชยบุตร (บุดดี บุญรมย์) หลานเจ้าราชบุตรสุ่ย เจ้าเมืองอุบลราชธานี ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2445 ทรงมีพระพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีที่ร่วมหม่อมมารดา 4 พระองค์ คือ", "title": "หม่อมเจ้าธานีเสิกสงัด ชุมพล" }, { "docid": "285056#0", "text": "หม่อมเจ้ากมลีสาน ชุมพล โอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ กับ หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา\nหม่อมเจ้ากมลีสาน ชุมพล เป็นโอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ กับ หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2449 เษกสมรสกับหม่อมเจ้าสีดาดำรวง สวัสดิวัตน์ พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ กับ หม่อมเจ้าฉวีวิลัย คัคณางค์ ทรงมีพระโอรส 2 ท่าน คือ", "title": "หม่อมเจ้ากมลีสาณ ชุมพล" }, { "docid": "285046#4", "text": "พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้ดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์ สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว (ภายหลังเปลี่ยนเป็นมณฑลอีสาณ) เมื่อครั้งที่พระองค์ได้เสด็จมาปรับปรุงและจัดระบบราชการที่เมืองอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ได้ทรงพอพระทัยต่ออาชญานางเจียงคำ ซึ่งเป็นธิดาของท้าวสุรินทรชมภู (หมั้น) กรมการชั้นผู้ใหญ่ของเมือง จึงได้ทรงขออาชญานางเจียงคำ ต่อเจ้านายผู้ใหญ่ในเมืองอุบลราชธานี คือ พระอุบลศักดิ์ประชาบาล (กุคำ สุวรรณกูฏ) พระอุบลการประชานิตย์ (บุญชู พรหมวงศานนท์) และได้เข้าพิธีบายศรีสู่ขวัญตามจารีตประเพณีของบ้านเมืองลาวดั้งเดิม ถวายตัวเป็นหม่อมห้ามใน พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระราชโอรสองค์ที่ 11 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาพึ่ง เมื่อเดือนมีนาคม ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ต่อมาได้ให้กำเนิดพระโอรส 2 พระองค์", "title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา" }, { "docid": "389601#3", "text": "ครอบครัวของหม่อมน้อยมีความสนิทสนมกับเจ้านาย อาทิ สามีคนที่สองของเอม (พี่สาวของหม่อมน้อย) ที่ชื่อแตง เป็นจางวางในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ ส่วนญาติฝั่งมารดาที่ถวายตัวรับราชการฝ่ายใน ได้แก่ เจ้าจอมมารดาป้อม ในรัชกาลที่ 1, เจ้าจอมเพ็ง ในรัชกาลที่ 2 และเจ้าจอมเอม ในรัชกาลที่ 2 เป็นพี่สาวของม่วง และมีศักดิ์เป็นยายของหม่อมน้อย ส่วนพระยารัตนจักร (หงส์ทอง สุรคุปต์) ทวดของหม่อมน้อย รับราชการเป็นเจ้ากรมอาทมาฎ (หมู่ทหารสืบข่าวข้าศึก) ในกองมอญอาสาหกเหล่า", "title": "หม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา" }, { "docid": "285046#2", "text": "หม่อมเจียงคำ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ดังนี้", "title": "หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา" } ]
2437
ใครเป็นผู้ก่อตั้ง เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์?
[ { "docid": "39683#0", "text": "บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทผลิตสื่อบันเทิงแห่งหนึ่งของไทย มีปัญญา นิรันดร์กุลเป็นประธานบริษัท ประภาส ชลศรานนท์เป็นรองประธานบริษัท ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัล สถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์ ใช้ชื่อว่า ช่องเวิร์คพอยท์ (หมายเลข 23) โดยในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 บมจ.เวิร์คพอยท์ฯ เข้าร่วมประมูลช่องรายการ และผ่านการประมูลในประเภทภาพคมชัดปกติ หมายเลขช่อง 23 โดยเริ่มทดลองออกอากาศภาคพื้นดิน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 เป็นช่องที่ได้รับความนิยมจากผู้ชมสูงสุดติดอันดับ 1 ใน 3 ของประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2559", "title": "เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์" } ]
[ { "docid": "64911#53", "text": "มิตรถือเป็นพระเอกตลอดกาลของวงการภาพยนตร์ไทย ที่ไม่ใช่มีมนต์ขลังกับหมู่คนที่เกิดในยุคสมัยนั้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงคนรุ่นหลังอีกด้วย อย่างเช่น การก่อตั้งสมาชิกชมรม \"คนรัก มิตร ชัยบัญชา\" กับคนที่สนใจเรื่องราวของมิตรในช่วงหลัง[29] ในปี พ.ศ. 2544 บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ได้จัดการแข่งขันรายการ แฟนพันธุ์แท้ ของพระเอกมิตร ชัยบัญชา ที่เป็นการแข่งขันหาแฟนตัวจริงในทุก ๆ รุ่นของมิตร โดยมีผู้ชนะการแข่งขันคือ จงบุญ สุขินี[30]", "title": "มิตร ชัยบัญชา" }, { "docid": "39683#8", "text": "บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด บริษัท โต๊ะกลมโทรทัศน์ จำกัด บริษัท แฟล็กชิป เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด บริหารโดย กฤษณ์ ศรีภูมิเศรษฐ์", "title": "เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์" }, { "docid": "43301#4", "text": "ในปี พ.ศ. 2532 ปัญญาร่วมกับ ประภาส ชลศรานนท์ นักคิดนักเขียนที่มีผลงานมากมายทางด้านเพลง หนังสือ และโทรทัศน์ ก่อตั้ง \"บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด\" () เพื่อผลิตรายการโทรทัศน์ และละครโทรทัศน์ โดยรายการแรกของบริษัทคือ \"เวทีทอง\" และ ในปีต่อมาคือ รายการชิงร้อย ชิงล้าน ผลงานรายการ และละครของเวิร์คพอยท์ ได้สร้างชื่อเสียงโด่งดังแก่บริษัทเป็นอย่างมาก ", "title": "ปัญญา นิรันดร์กุล" }, { "docid": "20761#0", "text": "ประภาส ชลศรานนท์ (18 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 - ) เป็นนักคิด นักเขียน นักแต่งเพลง ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองประธานบริษัท และร่วมก่อตั้งสถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์ (ช่องเวิร์คพอยท์) หมายเลข 23\nประภาส ชลศรานนท์ เป็นชาวจังหวัดชลบุรี จบการศึกษาระดับมัธยมปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และระดับปริญญาตรีจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ประเภททั่วไป มหาวิทยาลัยศรีปทุม\nประภาสเป็นผู้ก่อตั้งและแต่งเพลงให้กับวงดนตรีเฉลียง ซึ่งเป็นกลุ่มดนตรีที่ได้รับการยอมรับกันว่าเป็นการบุกเบิกแนวเพลงใหม่ๆ ทั้งเนื้อหาและท่วงทำนองให้กับวงการเพลงไทย", "title": "ประภาส ชลศรานนท์" }, { "docid": "39683#6", "text": "ปัจจุบัน เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ มีสำนักงานและสตูดิโอเป็นของตนเองบนเนื้อที่กว่า 25 ไร่ ตั้งอยู่ในซอยเลียบคลองเปรมประชากร ตำบลบางพูน อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549", "title": "เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์" }, { "docid": "918415#0", "text": "ระเบิดเถิดเทิงซอยข้าใครอย่าแตะ เป็นละครซิทคอม ซึ่งออกอากาศต่อจากรายการระเบิดเถิดเทิง ผลิตรายการโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศครั้งแรกวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ทางสถานีโทรทัศน์ช่องเวิร์คพอยท์", "title": "ระเบิดเถิดเทิงซอยข้าใครอย่าแตะ" }, { "docid": "961819#0", "text": "นักร้องสองไมค์ () เป็นรายการเกมโชว์ร้องเพลงที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าแข่งขันจากทางบ้านได้ร้องเพลงร่วมกับศิลปินทั่วประเทศ ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจาก \"เสียงทองสองไมค์\" ผลิตโดย บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศทุกวันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 10:30 - 11:30 น. ทางช่องเวิร์คพอยท์ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2561", "title": "นักร้องสองไมค์" }, { "docid": "711759#3", "text": "สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติจำหน่ายลิขสิทธิ์การถ่ายทอดโทรทัศน์ ให้แก่บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ได้รับลิขสิทธิ์เพียงผู้เดียวในการถ่ายทอดการแข่งขันวอลเลย์บอลยุวชนหญิง 2015 ผ่านทาง ช่องเวิร์คพอยท์ จะทำการถ่ายทอดสดการแข่งขันในครั้งนี้ โดยจะถ่ายทอดสดเฉพาะคู่ของสาวไทยเท่านั้น", "title": "วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลก รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี 2015" }, { "docid": "968852#0", "text": "วิกทอรีบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต () เป็นรายการประเภทวาไรตี้โชว์ ผลิตรายการโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท โต๊ะกลมโทรทัศน์ จำกัด ร่วมกับบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ซึ่งผลิตในนาม บีเอ็นเคโปรดักชั่น ออกอากาศทุกวันอังคาร เวลา 21:15 - 22:15 น. (โดยประมาณ) ทางช่องเวิร์คพอยท์ เริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2561", "title": "วิกทอรีบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต" }, { "docid": "39683#11", "text": "ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 ได้เริ่มออกอากาศในระบบดิจิตอลความคมชัดมาตรฐาน (SD) โดยสามารถรับชมได้ทั่วประเทศ ในชื่อ เวิร์คพอยท์ครีเอทีฟทีวี ปัจจุบัน เรียกช่องเวิร์คพอยท์ (หมายเลข 23)", "title": "เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์" }, { "docid": "289604#4", "text": "รุ่งธรรมดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายผลิต (Vice President Production) จนถึงปี พ.ศ. 2552 โดยเป็นผู้กำหนดทิศทางและควบคุมการผลิตรายการโทรทัศน์ที่เป็นรูปแบบ เกมโชว์ ควิซโชว์และเรียลลิตี้โชว์ ของ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) โดยเป็นผู้รับผิดชอบสร้างสรรค์และให้กำเนิดรายการที่มีชื่อเสียงหลายรายการไม่ว่าจะเป็น แฟนพันธุ์แท้, เกมทศกัณฐ์, กล่องดำ, อัจฉริยะข้ามคืน, หลานปู่กู้อีจู้, ล้วงลับตับแตก เป็นต้น จึงถือได้ว่าเขาคือผู้ที่อยู่เบื้องหลังคำว่า “เจ้าพ่อเกมโชว์” ของ เวิร์คพอยท์ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั่นเอง", "title": "รุ่งธรรม พุ่มสีนิล" }, { "docid": "963055#0", "text": "บริษัท โต๊ะกลมโทรทัศน์ จำกัด เป็นบริษัทผลิตสื่อบันเทิงแห่งหนึ่งของประเทศไทย ในเครือบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2547 โดยมี ปัญญา นิรันดร์กุล และ ธีรวัฒน์ อนุวัตรอุดม เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง โดยเวิร์คพอยท์ถือหุ้น 75% ส่วนธีรวัฒน์ถือหุ้น 25% ปัจจุบันทางบริษัทผลิตสื่อบันเทิงในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น รายการโทรทัศน์ ซีรีส์ ซิทคอม ภาพยนตร์ คอนเสิร์ต ละครเวที หรือมิวสิกวิดีโอ ออกมาสู่สายตาผู้ชมมากมาย จนได้รับความนิยมอย่างสูงในหลายๆ ประเภท ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันรายการโทรทัศน์ทั้งหมดด้านล่างนี้ออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์", "title": "โต๊ะกลมโทรทัศน์" }, { "docid": "20761#3", "text": "ประภาส ชลศรานนท์ ร่วมกับ ปัญญา นิรันดร์กุล ก่อตั้ง บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด และบริหารร่วมกัน กระทั่งบริษัทเติบโต เป็น บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ในปี พ.ศ. 2547 นอกจากบริหารบริษัทแล้ว ยังสร้างสรรค์ผลงานการผลิตรายการโทรทัศน์ ก่อตั้ง \"กลุ่มกระดาษพ่อ ดินสอแม่\" เพื่อเขียนบท ละคร แต่งเพลง และอำนวยการผลิต ละครเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๙ ชุด “พ่อ” และที่สำคัญ เนื่องในโอกาสมหามงคล ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ในปี พ.ศ. 2549 ประภาส ร่วมกับ บมจ.เวิร์คพอยท์ และ เครือซิเมนต์ไทย จัดทำ สารคดีในรูปแบบใหม่คือ สารคดีดนตรีเล่าเรื่อง ชื่อ \"น้ำคือชีวิต\" เป็นการถ่ายทอด พระราชกรณียกิจ ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในเรื่องของ \"น้ำ\" ให้พสกนิกรชาวไทยทั่วประเทศ ได้เห็น และตระหนักถึง สิ่งที่ทรงทำ เกี่ยวกับ เรื่องของ \"น้ำ\" มาโดยตลอด น้ำคือชีวิตเป็นสารคดีทีเล่าด้วยเพลงที่ขับร้องและบรรเลงโดย ศิลปินสามวง คือ คาราบาว เฉลียง และโมเดิร์นด็อก รวมทั้งละครเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ “เหมือนแม่ครึ่งหนึ่งก็พึงใจ” , “ผู้หญิงที่อยากกอดตลอดชีวิต” , “ชัยชนะของแม่” ฯลฯ และเป็นผู้คิดค้นรายการที่เป็นต้นฉบับของคนไทย เช่น คุณพระช่วย , อัจฉริยะข้ามคืน , แฟนพันธุ์แท้ , เกมทศกัณฐ์ , สู้เพื่อแม่ , ชิงช้าสวรรค์ ฯลฯ", "title": "ประภาส ชลศรานนท์" }, { "docid": "840008#32", "text": "เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2561 วงได้ก่อตั้งบริษัทชื่อ \"บีเอ็นเค โปรดักชั่น\" (BNK Production) โดยการร่วมทุนระหว่างเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ 50%, บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ออฟฟิศ 49.99% และจิรัฐ บวรวัฒนะ 0.01%[98] ด้วยทุนจดทะเบียนแรกเริ่ม 4 ล้านบาท[99] มีจุดประสงค์หลักคือการผลิตรายการโทรทัศน์และงานคอนเสิร์ต[100]", "title": "บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต" }, { "docid": "43301#0", "text": "ปัญญา นิรันดร์กุล เป็นพิธีกร และ นักแสดงชาวไทย หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง และประธานบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)", "title": "ปัญญา นิรันดร์กุล" }, { "docid": "863750#0", "text": "ไมค์ทองคำเด็ก เป็นรายการประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง สำหรับเด็ก ของ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์ หมายเลข 23 ออกอากาศวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 20.00-20.50 น. เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2559", "title": "ไมค์ทองคำเด็ก" }, { "docid": "953968#0", "text": "แฟนพันธุ์แท้ 2018 รายการโทรทัศน์ไทยประเภทเกมโชว์ควิซโชว์ ผลิตโดย เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ออกอากาศทาง ช่องเวิร์คพอยท์ ออกอากาศทุกวันศุกร์ โดยแรกเริ่มนั้นเคยออกอากาศในเวลา 21.00 น. ปัจจุบันออกอากาศในเวลา 22.00 น. ออกอากาศเทปแรกวันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 มี กันต์ กันตถาวร เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยแฟนพันธุ์แท้ 2018 เทปแรกคือตอน เป๊ก ผลิตโชค อายนบุตร และเทปสุดท้ายคือตอน The Rapper ออกอากาศในวันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2561", "title": "แฟนพันธุ์แท้ 2018" }, { "docid": "39683#22", "text": "หมวดหมู่:เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ หมวดหมู่:บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวดหมู่:บริษัทของไทย หมวดหมู่:บริษัทที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2532 หมวดหมู่:ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์", "title": "เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์" }, { "docid": "39683#4", "text": "นอกจากนี้ เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ยังได้มีโอกาสร่วมมือกับ สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเคแห่งประเทศญี่ปุ่น ผลิตรายการ ทู เวย์ เอเชีย ซึ่งถ่ายทอดสดข้ามประเทศ ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2534 รวมถึงการจำหน่ายลิขสิทธิ์ของรายการเกมจารชน ให้กับสถานีโทรทัศน์ในประเทศอินโดนีเซีย เพื่ออนุญาตให้นำรูปแบบของรายการดังกล่าว ไปผลิตและออกอากาศที่อินโดนีเซีย การจำหน่ายลิขสิทธิ์ของรายการแฟนพันธุ์แท้ เพื่ออนุญาตให้นำรูปแบบของรายการดังกล่าว ไปผลิตและออกอากาศที่สวีเดนและสหราชอาณาจักร การพัฒนารูปแบบรายการระดับโลกคือรายการเดอะแบนด์เพื่อขายลิขสิทธิ์ให้กับประเทศอื่นอีกด้วย", "title": "เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์" }, { "docid": "39683#2", "text": "เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2532 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตรายการโทรทัศน์ และละครโทรทัศน์ที่มีคุณภาพ ประกอบด้วยสาระ และความบันเทิง ซึ่งในระยะเริ่มต้น มีบุคลากรเพียง 10 คน จนกระทั่งปัจจุบัน มีบุคลากรในฝ่ายต่าง ๆ มากกว่า 1,000 คน เพื่อรองรับแผนการขยายธุรกิจในอนาคต บริษัทได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2547 และใช้ชื่อย่อในการซื้อขายตลาดหลักทรัพย์ว่า “WORK”[2][3]", "title": "เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์" }, { "docid": "39683#13", "text": "ดำเนินธุรกิจสตูดิโอบันทึกเสียง มีหลากหลายบริการ อาทิ บริการห้องบันทึกเสียงด้วยระบบดิจิตอล และมีห้องพากย์ที่สามารถพากย์เสียงพร้อมกันได้ บริษัทรับทำดนตรีโชว์, แต่งเพลง, เพลงประกอบภาพยนตร์, ซาวน์ดีไซน์, วงดนตรีคุณพระช่วยออร์เคสตรา จากรายการคุณพระช่วย และรับจัดวงดนตรีเครื่องสาย เครื่องไทย สำหรับงานทั่วไป, และงาน EVENT ต่าง ๆ ผลงานที่ผ่านมา อาทิ ผลิตเพลงในรายการโทรทัศน์ของบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน), ผลิตเพลงละครเรื่อง เพลงรักริมฝั่งโขง, เพลงประกอบละครเทิดพระเกียรติ พ่อ, เพลงประกอบสารคดี ปกป่าเพื่อแม่, ผลิตเพลงให้กับคอนเสิร์ต เหตุเกิดที่เฉลียง, และผลิตเพลง<b data-parsoid='{\"dsr\":[8706,8721,3,3]}'>แก้วกัลยา เป็นต้น", "title": "เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์" }, { "docid": "908037#0", "text": "Diva Makeover เสียงเปลี่ยนสวย () รายการโทรทัศน์ไทยประเภทเรียลลิตี้แนวประกวดร้องเพลงที่เปิดโอกาสให้คนที่ร้องเพลงได้ดีแต่มีปัญหาเรื่องหน้าตาและรูปร่างได้มีโอกาสเดินทางไปศัลยกรรมที่ประเทศเกาหลีใต้ พร้อมโอกาสในการได้เป็นศิลปิน ผลิตโดย เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ดำเนินรายการโดย กันต์ กันตถาวร ออกอากาศทาง ช่องเวิร์คพอยท์ ทุกวันจันทร์ เวลา 20.15 - 22.00 น. เริ่มออกอากาศเทปแรกวันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2560ในแต่ละสัปดาห์จะมีผู้เข้าแข่งขันจากทางบ้าน 2 คนมาร้องเพลงให้คณะกรรมการรวมถึงผู้เชี่ยวชาญประจำรายการและผู้ชมในสตูดิโอฟังซึ่งก่อนจะเริ่มร้องเพลงทางพิธีกรจะซักถามผู้เข้าแข่งขันทั้งสองถึงเรื่องราวชีวิตและปัญหาความผิดปกติบนใบหน้าเมื่อผู้เข้าแข่งขันทั้งสองร้องเพลงจบลงคณะกรรมการและผู้เชี่ยวชาญจะได้ทำการตรวจดูความผิดปกติบนใบหน้าว่าจะสามารถแก้ไขจุดบกพร่องบนใบหน้ารวมถึงปรับปรุงบุคลิกภาพและการแต่งตัวตรงไหนบ้าง หากใครได้คะแนนจากคณะกรรมการและผู้เชี่ยวชาญมากกว่าก็จะได้เดินทางไปศัลยกรรมที่ประเทศเกาหลีใต้", "title": "Diva Makeover เสียงเปลี่ยนสวย" }, { "docid": "39683#19", "text": "บริษัท เวิร์คพอยท์ พิคเจอร์ส จำกัด", "title": "เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์" }, { "docid": "985126#0", "text": "เดอะแร็ปเปอร์ () เป็นรายการประกวดร้องเพลงแนวแร็ป และฮิปฮอป ผลิตรายการโดยบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท โต๊ะกลมโทรทัศน์ จำกัด ออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์", "title": "เดอะแร็ปเปอร์" }, { "docid": "341691#0", "text": "บั้งไฟ สตูดิโอ เป็นบริษัทลูกของ เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ บริหารงานโดย เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา รับผลิตรายการโทรทัศน์ทุกรูปแบบ ซึ่งจะสร้างรายการโทรทัศน์ทุกรายการคู่กับ เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา\nฯลฯ\nฯลฯ", "title": "บั้งไฟ สตูดิโอ" }, { "docid": "39683#9", "text": "ธุรกิจรายการโทรทัศน์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ธุรกิจสถานีโทรทัศน์ออกอากาศในระบบดิจิตอล ภายใต้ชื่อช่องเวิร์คพอยท์ หมายเลข 23 และ ธุรกิจรับจ้างผลิตรายการโทรทัศน์", "title": "เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์" }, { "docid": "39683#5", "text": "หลายรายการของ เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ได้รับความสนใจจากต่างประเทศ มีการซื้อลิขสิทธิ์รายการไปออกอากาศทั้งในรูปแบบ FORMAT PROGRAMS และ FINISHED PROGRAMS โดยล่าสุด ในปี พ.ศ. 2560 ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ซื้อ FORMAT PROGRAMS รายการ สายลับจับแกะ", "title": "เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์" }, { "docid": "510688#0", "text": "ใครคือใคร Identity Thailand เป็นรายการเกมโชว์ควิซโชว์ที่มีรูปแบบของรายการจากสหรัฐอเมริกา ภายใต้ลิขสิทธิ์ของ ชายด์ อินเตอร์เนชั่นแนล ผลิตรายการโดยเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ เริ่มออกอากาศครั้งแรกวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 จนถึง 6 มกราคม พ.ศ. 2559 ออกอากาศช่วงกลางคืน ในปัจจุบันกลับมาออกอากาศโดยย้ายเวลาออกอากาศเป็นทุกวันเสาร์ 10.00 - 11.00 น. ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ถึง วันเสาร์ ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ทางช่องเวิร์คพอยท์", "title": "ใครคือใคร Identity Thailand" }, { "docid": "39683#1", "text": "เวิร์คพอยท์ เป็นองค์กรธุรกิจผู้สร้างสรรค์เนื้อหาบันเทิงครบวงจร นอกจากจะมีสถานีโทรทัศน์ของตัวเอง ยังมีธุรกิจ ด้านการผลิตรายการโทรทัศน์ , ผลิตภาพยนตร์, จัดแสดงคอนเสิร์ตและโชว์บิซ, ผลิตและตัดต่อภาพเคลื่อนไหวด้วยระบบคอมพิวเตอร์, รับจ้างจัดกิจกรรมทางการตลาด และ สตูดิโอบันทึกเสียง [1]", "title": "เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์" } ]
2936
มณฑลเจียงซู มีเนื้อที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "92282#0", "text": "มณฑลเจียงซู (จีนตัวย่อ: 江苏省 จีนตัวเต็ม: 江蘇省 \"เจียงซูเฉิ่ง\") ชื่อย่อ ‘ซู’ (苏) ตั้งอยู่ตอนกลางของดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศจีน มีเมืองหลวงชื่อว่าหนานจิง มีเนื้อที่ 102,600 ก.ม.มีประชากร ปี 2004 74,330,000 คน จีดีพี 1.54 ล้านล้านเหรินหมินปี้ต่อประชากร 20,700 ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น แม่น้ำแยงซีเกียงไหลผ่านส่วนต่าง ๆ ทางใต้ของมณฑล", "title": "มณฑลเจียงซู" }, { "docid": "92282#2", "text": "มณฑลเจียงซูมีเนื้อที่ 102,600 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1.06% ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของ ประเทศจีนติดกับนครเซี่ยงไฮ้ มีแม่น้ำแยงซีไหลผ่าน ประชากรมี 71.10 ล้านคน (สถิติปี 2539) ความหนาแน่น 689 คน/ ตร.กม.", "title": "มณฑลเจียงซู" } ]
[ { "docid": "92282#5", "text": "มณฑลเจียงซูมีความอุดมสมบูรณ์เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่ น้ำแยงซี และมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ โดยมีทะเลสาบน้ำจีด 2 แห่ง คือ Taihu Lake และ Hongzchu Lake ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 และ 3 ในประเทศจีน ตามลำดับ พื้นที่บริเวณมณฑลเจียงซูจึงเหมาะสำหรับ ทำการเกษตร โดยมีเนื้อที่ทำการเกษตรประมาณ 4.6 ล้านเฮคเตอร์ ตามสถิติรายได้จากการทำการเกษตรของเจียงซูมีมูลค่า 84.5 พันล้าน หยวน (ประมาณ 4 แสนล้านบาท) ต่อปี ส่วนใหญ่เป็นการปลูก ธัญพืช ฝ้าย ถั่วลิสงและปศุสัตว์ เป็นต้น นอกจากนั้น เจียงซูยังเป็น มณฑลที่ติดชายฝั่งทะเลเหลือง มีพื้นที่ชายฝั่งทะเลประมาณ 1,000 กม. ทำให้มีรายได้จากการประมงและการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น", "title": "มณฑลเจียงซู" }, { "docid": "92282#6", "text": "มณฑลเจียงซูยังมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมสมัยใหม่ขึ้นโดยเน้น โครงการลงทุนด้านอุตสาหกรรมหลัก 6 ประเภท คือ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเบา เครื่องจักรกล เครื่องไฟฟ้า อุตสาหกรรมเคมี และ อุตสาหกรรมก่อสร้าง ในปี 2539 รายได้จากอุตสาหกรรมของมณฑล คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3 แสนล้านหยวน ปัจจุบันมณฑลเจียงซูมีเขต อุตสาหกรรม (Industrial Township) เพื่อส่งเสริมโครงการลงทุน อุตสาหกรรมประมาณ 110,000 แห่ง ในปี 2539 มูลค่าการค้าของ มณฑลเจียงซูมีประมาณ 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (สินค้าออก 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และสินค้าเข้า 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยมี บริษัท ซึ่งดำเนินการโดยรัฐ และบริษัทร่วมทุนกิจการค้าทั้งหมด 479 บริษัทจากหลายประเทศ อาทิ ฮ่องกง ญี่ปุ่น สหรัฐ เยอรมัน สหราช อาณาจักร สิงคโปร์ โตโก ชิลี ปานามา และโปแลนด์ เป็นต้น ในปี 2539 โครงการลงทุนต่างชาติทั้งหมดในมณฑลเจียงซูมีจำนวน 34,321 โครงการ มีมูลค่า 5.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (โครงการลงทุนของ ไทยมีจำนวน 263 โครงการ มูลค่า 120 ล้านเหรียญสหรัญ) มูลค่าการ ลงทุนของต่างชาติในมณฑลเจียงซูมีมากเป็นอันดับสองของประเทศจีน รองจากมณฑลกวางตุ้ง", "title": "มณฑลเจียงซู" }, { "docid": "370370#2", "text": "ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึงเกือบ 2 เมตร อาศัยอยู่เฉพาะลำธารน้ำที่มีคุณภาพน้ำในเกณฑ์ดี สภาพน้ำไหลแรง มีอุณหภูมิต่ำในป่าดิบทางตอนกลางและตอนใต้ของจีนเท่านั้น เช่น มณฑลส่านซี, มณฑลชิงไห่, มณฑลเสฉวน, มณฑลกวางตุ้ง, มณฑลเจียงซู และมณฑลกวางสี เป็นต้น หากินในเวลากลางคืน กินอาหารจำพวก ปลาและสัตว์มีกระดองชนิดต่าง ๆ โดยปกติแล้วเป็นสัตว์ที่อยู่อย่างสงบ แต่สามารถจะฉกกัดได้อย่างรุนแรงและดุร้ายเมื่อถูกรบกวน", "title": "ซาลาแมนเดอร์ยักษ์จีน" }, { "docid": "92282#3", "text": "เจียงซู ตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นต่อเนื่องกับเขตภูมิอากาศร้อนชื้น ทำให้อากาศในภาคเหนือและภาคใต้ มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก กล่าวคือ ตอนเหนือตั้งแต่ที่ราบลุ่มแม่น้ำ Huaihe มีภูมิอากาศร้อน และฤดูหนาวอากาศหนาวจัดไม่ค่อยมีฝนแต่ทางใต้มีอากาศร้อนชื้น และฝนชุกฤดูหนาวอุณหภูมิไม่เย็นจัด อุณหภูมิเฉลี่ย 13-16 องศา เซลเซียส เดือนมกราคมเป็นช่วงที่มีอากาศหนาวที่สุดอุณหภูมิเฉลี่ย 3องศา ถึง -3 องศาเซลเซียส เดือนกรกฎาคมซึ่งเป็นเดือนที่ร้อนที่สุด ของปีอุณหภูมิเฉลี่ย 26-29 องศาเซลเซียส", "title": "มณฑลเจียงซู" }, { "docid": "92399#0", "text": "เทศมณฑลเผิงหู () คือหมู่เกาะชายฝั่งทางด้านตะวันตกของสาธารณรัฐจีน ซึ่งในอดีตปกครองสาธารณรัฐประชาชนจีนต่อจากราชวงศ์ชิง เกาะเล็กครอบคลุมพื้นที่ 141 ตารางกิโลเมตร เทศมณฑลเผิงหูถูกดำเนินการปกครองโดยสาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) เมืองหลวง Magong ซิตี้ เนื้อที่ทั้งหมด 141.052 ตารางกิโลเมตร ประชากรทั้งหมด 91,950 (ข้อมูลปี พ.ศ. 2550) ความหนาแน่นประชากร 724.79 คน/ตารางกิโลเมตร", "title": "เผิงหู" }, { "docid": "92765#0", "text": "มณฑลจี๋หลิน () ตั้งอยู่ทางตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ มีชายแดนติดต่อกับมณฑลต่างๆ ทางใต้ติดกับเหลียวหนิง ตะวันตกติดกับมองโกเลียใน เหนือติดกับเฮยหลงเจียง และตะวันออกติดต่อกับรัสเซียและคาบสมุทรเกาหลีโดยมีแม่น้ำยาลู่ว์เจียงเป็นเส้นเขตแดน มีเมืองหลวงชื่อ ฉางชุน(长春)มีเนื้อที่ 187,400 ก.ม. ประชากร 27,090,000 คน ความหนาแน่น 145 คนต่อตารางกิโลเมตร ค่าจีดีพี 295.8 พันล้านเหรินหมินปี้ หรือเฉลี่ย 10,900 เหรินเหมินปี้ต่อประชากรหนึ่งคน (ข้อมูล พ.ศ. 2547) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น", "title": "มณฑลจี๋หลิน" }, { "docid": "92366#0", "text": "เหอหนาน ตามสำเนียงกลาง หรือ ห้อหลำ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน () หรือชื่อย่อ อวี้ () และชื่อเดิม จงโจว หรือ จงหยวน เป็นมณฑลในสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ทางตอนกลางเยื้องทางตะวันออกของประเทศ อยู่ทางตอนกลางส่วนล่างของ แม่น้ำเหลือง (หวงเหอ) ซึ่งไหลผ่านเป็นระยะทาง 700 กว่ากิโลเมตร ถือเป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของจีน มีเมืองเอกชื่อ เจิ้งโจว (郑州) มีเนื้อที่ 167,000 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 97,170,000 คน ความหนาแน่น 582 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 881.5 พันล้านเหรินหมินปี้ จีดีพีต่อประชากร 9070 เหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น", "title": "มณฑลเหอหนาน" }, { "docid": "92297#0", "text": "ส่านซี ตามสำเนียงกลาง หรือ เจียบไซ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (; ชื่อย่อ: \"ส่าน\" (陕) หรือ \"ฉิน\" (秦)) เป็นมณฑลในสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ในเขตใจกลางประเทศแถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (หวงเหอ) มีเมืองหลวงชื่อ ซีอาน มีเนื้อที่ 205,800 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 37,050,000 คน จีดีพี 288.4 พันล้านเหรินหมินปี้ จีดีพีต่อประชากร 7,780 เหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น", "title": "มณฑลส่านซี" } ]
2478
ประเทศเกาหลีเหนือดำเนินการทดสอบขีปนาวุธและนิวเคลียร์ครั้งแรกเมื่อไหร่?
[ { "docid": "770417#1", "text": "วันที่ 9 ตุลาคม 2549 ประเทศเกาหลีเหนือประกาศว่าทดลองนิวเคลียร์ครั้งแรกสำเร็จ มีการตรวจพบการระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน มีการประมาณว่าแรงระเบิด (yield) น้อยกว่าหนึ่งกิโลตัน และตรวจพบปริมาณกัมมันตรังสีบางส่วน[3][4][5]", "title": "ประเทศเกาหลีเหนือกับอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง" } ]
[ { "docid": "770417#5", "text": "วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 ประมาณหนึ่งเดือนหลังการทดลองที่อ้างว่าเป็นระเบิดไฮโดรเจน ประเทศเกาหลีเหนืออ้างว่าส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรรอบโลก นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อะเบะ เตือนเกาหลีเหนือมิให้ปล่อยจรวด และหากปล่อยและจรวดละเมิดดินแดนญี่ปุ่น จะถูกยิงตก กระนั้น ประเทศเกาหลีเหนือก็ยังปล่อย โดยอ้างว่าดาวเทียมมีเจตนาความประสงค์สันติและทางวิทยาศาสตร์ หลายชาติซึ่งรวมสหรัฐ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ประณามการปล่อย และแม้เกาหลีเหนืออ้างว่าจรวดมีความมุ่งหมายสันติ แต่ถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าเป็นความพยายามทดสอบขีปนาวุธข้ามทวีปภายใต้บังหน้าการปล่อยดาวเทียมอย่างสันติ จีนยังวิจารณ์การปล่อยด้วย ทว่า กระตุ้นให้ \"ภาคีที่เกี่ยวข้อง\" \"ละเว้นจากการดำเนินการที่อาจทำให้ความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลีบานปลายอีก\"[17]", "title": "ประเทศเกาหลีเหนือกับอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง" }, { "docid": "914554#0", "text": "ในปี 2560 ประเทศเกาหลีเหนือดำเนินการทดสอบขีปนาวุธและนิวเคลียร์ซึ่งแสดงความสามารถของประเทศในการปล่อยขีปนาวุธทิ้งตัวไกลเกินภูมิภาคประชิดและแนะว่าขีดความสามารถอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือกำลังพัฒนาในอัตราเร็วกว่าที่ประชาคมข่าวกรองสหรัฐเคยประเมินไว้เดิม เหตุนี้ ร่วมกับการซ้อมรบร่วมสหรัฐ–เกาหลีใต้ที่จัดเป็นประจำในเดือนสิงหาคม 2560 เช่นเดียวกับการขู่ของสหรัฐ เพิ่มความตึงเครียดระหว่างประเทศทั้งในและนอกภูมิภาค", "title": "วิกฤตการณ์เกาหลีเหนือ พ.ศ. 2560–2561" }, { "docid": "665217#24", "text": "มีการทดสอบนิวเคลียร์กว่า 2,000 ครั้งได้ถูกดำเนินการตั้งแต่ปี 1945. ในปี 1963, ประเทศที่มีนิวเคลียร์ทั้งหมดและหลายประเทศที่ไม่มีนิวเคลียร์ได้ลงนาม \"สนธิสัญญาห้ามและจำกัดการทดลอง\", โดยให้คำมั่นว่าจะละเว้นจากการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ในบรรยากาศ, ใต้น้ำ, หรือในอวกาศรอบนอก. สนธิสัญญาอนุญาตการทดสอบนิวเคลียร์ใต้ดิน. ฝรั่งเศสยังคงทดสอบในบรรยากาศจนถึงปี 1974, ขณะที่จีนยังคงทำจนถึงปี 1980. การทดสอบใต้ดินครั้งสุดท้ายโดยสหรัฐอเมริกาทำในปี 1992, โดยสหภาพโซเวียตในปี 1990, โดยสหราชอาณาจักรในปี 1991, และทั้งสองประเทศฝรั่งเศสและจีนยังคงทดสอบจนกระทั่งปี 1996. หลังจากการลงนาม \"สนธิสัญญาห้ามทดลองครอบคลุม\" ในปี 1996 (ซึ่ง ณ ปี 2011 ไม่ได้มีผลบังคับใช้), ทั้งหมดของรัฐเหล่านี้ได้ให้คำมั่นที่จะยุติการทดสอบนิวเคลียร์ทั้งหมด. ผู้ไม่ลงนาม, อินเดียและปากีสถานได้ทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ครั้งสุดท้ายในปี 1998.", "title": "เทคโนโลยีนิวเคลียร์" }, { "docid": "969063#1", "text": "การเจรจาดังกล่าวเป็นผลจากเกาหลีเหนือถอนตัวจากสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ในปี 2546 การเจรจาที่ดูคืบหน้าในรอบที่ 4 และ 5 กลับถูกย้อนโดยเหตุการณ์ภายนอก การเจรจาห้ารอบระหว่างปี 2546 ถึง 2550 มีความคืบหน้าสุทธิเพียงเล็กน้อย โดยเกาหลีเหนือตกลงปิดศูนย์นิวเคลียร์เพื่อแลกกับความช่วยเหลือด้านเชื้อเพลิงและดำเนินการปรับปรุงความสัมพันธ์กับสหรัฐและญี่ปุ่น ประเทศเกาหลีเหนือประกาศเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2552 ว่าจะถอนตัวจากการเจรจาหกฝ่ายและจะกลับไปดำเนินการโครงการเสริมสมรรถนะนิวเคลียร์ต่อ เพื่อตอบโต้แถลงการณ์ประธานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ลงวันที่ 13 เมษายน 2552 ประเทศเกาหลีเหนือยังขับผู้ตรวจการนิวเคลียร์ทุกคนออกจากประเทศ", "title": "การเจรจาหกฝ่าย" }, { "docid": "467222#35", "text": "เกาหลีเหนือมุ่งสนใจในการยั่วยุ เช่น ฝ่าฝืนมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและการยิงขีปนาวุธระยะไกล ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ในวันที่ 19 ธันวาคม ภายหลังจากพักได้รับเลือกตั้ง เกาหลีใต้ได้มีการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ครั้งที่สามในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 การประกาศความเป็นโมฆะของข้อตกลงที่จะไม่รุกรานกันระหว่างเกาหลีเหนือและกาหลีใต้ในวันที่ 8 มีนาคม และถอนแรงงานออกจากนิคมอุตสาหกรรมแคซ็องในวันที่ 8 เมษายน พักพยายามคงไว้ซึ่งจุดยืนของเกาหลีใต้ที่จะไม่ยอมแพ้ต่อการยั่วยุและคุกคามของเกาหลีหนือ และพยายามที่จะดำเนินนโยบายเพื่อประสานความร่วมมือกันเกาหลีเหนือโดยดึงมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา, จีนและสหประชาชาติเสียงสะท้องของเธอเกี่ยวกับเกาหลีเหนือได้รับการสนับสนุนอย่างมากมายจากประชาชนชาวเกาหลีใต้, สหรัฐอเมริกา, จีนและรัสเซีย และดำเนินบทบาทสำคัญในการได้รับมติเป็นเอกฉันท์ในข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติที่ 2094 เกี่ยวกับเกาหลีเหนือ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556 เนื่องจากการตอบสนองของพักกับการดำเนินการของสังคมนานาชาติ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน เกาหลีเหนือได้ยุติการยั่วยุและคุกคามเกาหลีใต้และกลับเข้าสู่การเจรจาการเปิดนิคมอุตสาหกรรมแคซ็องอีกครั้ง พักกล่าวว่าสันติภาพและการรวมชาติในคาบสมุทรเกาหลีเป็นความหวังของชาวเกาหลีทั้งเจ็ดสิบล้านคน และในฐานะประธานาธิบดีเธอจะดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อให้บรรลุเป้ามายดังกล่าว เช่นเดียวกับ \"วัตถุประสงค์ขั้นสูงสุดของความพยายามในการรวมชาติคือการเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งสองเกาหลี ขยายเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน และสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้เกิดขึ้นทั้งคาบสมุทรเกาหลี เธอได้กล่าวต่อว่า \"ในการเปิดเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ของความสงบและความหวังแห่งคาบสมุทรเกาหลี เกาหลีเหนือจะต้องยอมรับความเชื่อมั่นในการบริหารงานของเธอในการสร้างนโยบายการคิดริเริ่มก้าวแรก", "title": "พัก กึน-ฮเย" }, { "docid": "914554#4", "text": "วันที่ 4 กรกฎาคมตามเวลาเกาหลี ประเทศเกาหลีเหนือดำเนินการทดสอบที่มีประกาศครั้งแรกของขีปนาวุธข้ามทวีปฮวาซอง-14 ซึ่งกำหนดให้ตรงกับการเฉลิมฉลองวันประกาศอิสรภาพของสหรัฐ การบินนี้มีพิสัยตามอ้าง 933 กิโลเมตรทางตะวันออกสู่ทะเลญี่ปุ่น (ทะเลเกาหลีตะวันออก) และแตะระดับความสูง 2,802 กิโลเมตรระหว่างการบิน 39 นาที ผู้เชี่ยวชาญของรัฐบาลสหรัฐจัดการปล่อยขีปนาวุธครั้งนี้ว่าเป็นก้าวใหญ่ของรัฐบาลเกาหลีเหนือในการได้อาวุธหัวนิวเคลียร์ซึ่งสามารถโจมตีสหรัฐได้ ประเทศเกาหลีเหนือประกาศว่าปัจจุบันตนเป็น \"รัฐนิวเคลียร์เต็มตัวซึ่งครอบครองจรวดขีปนาวุธข้ามทวีปทรงพลังที่สุดซึ่งสามารถโจมตีส่วนใดของโลกก็ได้\"", "title": "วิกฤตการณ์เกาหลีเหนือ พ.ศ. 2560–2561" }, { "docid": "478554#12", "text": "ปัจจุบันประเทศไทยได้ให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่เกาหลีเหนือภายใต้การดำเนินงานของกรมวิเทศสหการ โดยเมื่อปี 2539 เกาหลีเหนือได้จัดส่งคณะผู้แทนเข้าหารือกับผู้แทนกรมวิเทศสหการเพื่อแสดงความประสงค์ในการที่จะจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมในโครงการหลักสูตรฝึกอบรมประจำปี ซึ่งรัฐบาลไทยได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในสาขาต่าง ๆ เช่น สาขาการค้าระหว่างประเทศ การคลัง การลงทุน และการขนส่ง โดยการเข้าร่วมการฝึกอบรมดังกล่าวของเกาหลีเหนืออยู่ในรูปแบบของความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (Technical Cooperation among Developing Countries- TCDC) ซึ่งรัฐบาลของประเทศผู้ขอรับการฝึกอบรมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางระหว่างประเทศ และรัฐบาลของประเทศผู้จัดการฝึกอบรมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายภายในประเทศทั้งหมด พร้อมกันนี้ เกาหลีเหนือยังได้เสนอที่จะให้ประเทศไทยจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรฝึกอบรมที่เกาหลีเหนือจัด ซึ่งเกาหลีเหนือมีศักยภาพ เช่น สาขาเหมืองแร่ และนิวเคลียร์ เป็นต้น ซึ่งในปี 2541 คณะผู้แทนกรมวิเทศสหการได้เดินทางไปหารือความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับเกาหลีเหนือที่กรุงเปียงยาง ตามคำเชิญของรัฐบาลเกาหลีเหนือ โดยฝ่ายประเทศไทยได้ตกลงที่จะให้ความร่วมมือทางวิชาการ ดังนี้ ทุนฝึกอบรม/ดูงานระยะสั้นทางด้านวิทยาศาสตร์และการเกษตรฯ การเชิญเจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือเยือนประเทศไทย รวมทั้งการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น นอกจากนี้ กรมวิเทศสหการยังได้จัดสรรการให้ความร่วมมือในกรอบการฝึกอบรมประเทศที่สาม (Third Country Training Program) โดยร่วมมือกับ WHO ในการจัดการฝึกอบรม/ดูงานด้านสาธารณสุขให้แก่เกาหลีเหนือปีละประมาณ 15-18 หลักสูตรด้วย", "title": "ความสัมพันธ์เกาหลีเหนือ–ไทย" }, { "docid": "769103#2", "text": "สนธิสัญญาดังกล่าวรับรองรัฐอาวุธนิวเคลียร์ห้ารัฐ ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา (ซึ่งเป็นสมาชิกถาวรห้าประเทศแห่งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติด้วย) สี่รัฐอื่นที่ทราบหรือเชื่อว่าครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถานและเกาหลีเหนือทดสอบอย่างเปิดเผยและประกาศว่าตนครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ ฝ่ายอิสราเอลมีนโยบายปกปิดโครงการอาวุธนิวเคลียร์ของตน", "title": "สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์" }, { "docid": "2519#28", "text": "อย่างไรก็ตาม การทดลองขีปนาวุธและอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การลงทุนและการค้าต่างประเทศชะงักงัน โดยเฉพาะผลกระทบจากข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ 1718 (2006) หากปัญหาต่างๆ ดังกล่าวได้รับการแก้ไข รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนมาตรฐานทางการเงินให้เป็นสากลมากขึ้น ก็อาจทำให้การลงทุนในเขตเศรษฐกิจดังกล่าวได้รับความสนใจจากต่างประเทศมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน", "title": "ประเทศเกาหลีเหนือ" }, { "docid": "940943#0", "text": "ปฏิญญาพันมุนจ็อมสำหรับสันติภาพ ความรุ่งเรือง และความเป็นเอกภาพของคาบสมุทรเกาหลี () ปฏิญญาที่ลงนามระหว่างผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือกับประธานาธิบดีเกาหลีใต้เมื่อวันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561 ระหว่างการประชุมสุดยอดระหว่างเกาหลี พ.ศ. 2561 โดยปฏิญญาฉบับนี้มุ่งหมายให้ผู้นำของเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ต้องดำเนินการเพื่อนำไปสู่การยุติสงครามเกาหลีเป็นการถาวร โดยในขณะที่ลงนามนั้น ทั้งสองประเทศอยู่ในภาวะสงบศึกนับตั้งแต่ พ.ศ. 2496 นอกจากนี้ยังนำไปสู่การปลดอาวุธนิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี", "title": "ปฏิญญาพันมุนจ็อม" }, { "docid": "770417#6", "text": "ชาติอื่นและสหประชาชาติสนองการพัฒนาขีปนาวุธและนิวเคลียร์ที่กำลังดำเนินอยู่ของเกาหลีเหนือโดยการลงโทษต่าง ๆ ล่าสุด เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2559 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติออกเสียงลงคะแนนกำหนดการลงโทษประเทศเกาหลีเหนือเพิ่มเติม[18]", "title": "ประเทศเกาหลีเหนือกับอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง" }, { "docid": "529157#6", "text": "ท้ายสุด วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556 คณะมนตรีฯ สรุปว่าจะลงโทษเกาหลีเหนือจากการปล่อยดาวเทียม ซึ่งคณะมนตรีฯ พิจารณาว่าเป็นการทดสอบขีปนาวุธ ฝ่ายเกาหลีเหนือปฏิเสธว่าวิธีการบังคับของคณะมนตรีฯ ถูกกำหนดภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาเพื่อรบกวนการพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของเกาหลีเหนือ โดยกล่าวว่า เทคโนโลยีจรวดซึ่งใช้ปล่อยดาวเทียมเป็นแบบเดียวกับที่ใช้กับขีปนาวุธ", "title": "วิกฤตเกาหลี พ.ศ. 2556" }, { "docid": "40824#0", "text": "แตโปดอง-1 () เป็นขีปนาวุธติดหัวรบพิสัยกลางแบบ 3 ท่อน พัฒนาโดยเกาหลีเหนือ และยังอยู่ในประจำการ ขีปนาวุธนี้ เดิมพัฒนาจากต้นแบบจรวดสคัดของรัสเซีย และสามารถใช้งานเป็นระบบปล่อยอาวุธนิวเคลียร์ และจรวดสำหรับเดินทางสู่อวกาศก็ได้ ", "title": "แตโปดอง-1" }, { "docid": "770417#7", "text": "การทดสอบนิวเคลียร์ครั้งที่ห้าเกิดเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2559 แรงระเบิดจากการทดสอบถือว่าสูงสุดในบรรดาการทดสอบทั้งห้าครั้ง เกินสถิติเดิมในปี 2556 รัฐบาลเกาหลีใต้กล่าวว่าแรงระเบิดมีขนาดประมาณ 10 กิโลตัน[19] แต่แหล่งอื่นเสนอว่ามีแรงระเบิด 20 ถึง 30 กิโลตัน[20] แหล่งข้อมูลเยอรมันเดียวกันยังประเมินว่าการทดสอบนิวเคลียร์ก่อนหน้าทั้งหมดของเกาหลีเหนือมีแรงระเบิด 25 กิโลตัน[21]", "title": "ประเทศเกาหลีเหนือกับอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง" }, { "docid": "529157#11", "text": "ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ เกาหลีเหนือดำเนินการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งถูกประณามอย่างกว้างขวางจากนานาประเทศ สามวันต่อมาในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ เกาหลีเหนือแจ้งจีนว่าจะดำเนินการทดลองนิวเคลียร์ต่อหนึ่งหรือสองครั้งในปี พ.ศ. 2556", "title": "วิกฤตเกาหลี พ.ศ. 2556" }, { "docid": "2519#3", "text": "องค์การต่างชาติหลายแห่งอธิบายเกาหลีเหนือว่าเป็นเผด็จการลัทธิสตาลินแบบเบ็ดเสร็จ[4][5][11][12][13] โดยมีลัทธิบูชาบุคคลประณีตรอบครอบครัวคิมและเป็นหนึ่งในประเทศที่มีบันทึกสิทธิมนุษยชนต่ำที่สุดในโลก[14] รัฐบาลเกาหลีเหนือปฏิเสธความเชื่อมโยงนี้[15] เกาหลีเหนือเป็นชาติติดอาวุธมากที่สุดของโลก[16][17] โดยมีกำลังพลประจำการ สำรองและกึ่งทหารรวม 9,495,000 นาย ทั้งเป็นรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองและมีโครงการอวกาศที่ยังดำเนินอยู่[18]", "title": "ประเทศเกาหลีเหนือ" }, { "docid": "914554#8", "text": "วันที่ 3 กันยายน 3:31 น. UTC การสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐรายงานว่าตรวจพบแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ในประเทศเกาหลีเหนือใกล้จุดทดสอบพุงกเย-รี เมื่อพิจารณาความตื้นของแผ่นดินไหวและระยะที่ใกล้กับศูนย์ทดสอบอาวุธนิวเคลียร์หลักของเกาหลีเหนือ ผู้เชี่ยวชาญจึงสรุปว่า เกาหลีเหนือได้ทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ครั้งที่ 6 นับจากการจุดระเบิดนิวเคลียร์ครั้งแรกในปี 2549 ประเทศเกาหลีเหนืออ้างว่า ตนทดสอบระเบิดไฮโดรเจนซึ่งสามารถติดตั้งบนขีปนาวุธข้ามทวีปได้ หน่วยงานเฝ้าสังเกตคลื่นแผ่นดินไหวอิสระ นอร์ซาร์ (NORSAR) ประเมินว่าแรงระเบิดมีขนาดประมาณ 120 กิโลตัน ถ้อยแถลงของสำนักข่าวกลางเกาหลีวันที่ 3 กันยายนยังอ้างความสามารถของเกาหลีเหนือใน \"การโจมตีอีเอ็มพีรุนแรงยิ่งยวด\"", "title": "วิกฤตการณ์เกาหลีเหนือ พ.ศ. 2560–2561" }, { "docid": "914554#6", "text": "วันที่ 29 สิงหาคม ก่อนเวลา 6:00 น. ตามเวลามาตรฐานญี่ปุ่นเล็กน้อย ประเทศเกาหลีเหนือปล่อยขีปนาวุธซึ่งบินข้ามเกาะฮกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ขีปนาวุธนี้แตะระดับความสูง 550 กิโลเมตรและทำระยะทางทั้งหมดได้ประมาณ 2,700 กิโลเมตรก่อนตกในมหาสมุทรแปซิฟิก ขีปนาวุธนี้ไม่ถูกกองทัพญี่ปุ่นยิงตก ครั้งนี้เป็นครั้งที่สามที่ขีปนาวุธเกาหลีเหนือผ่านดินแดนญี่ปุ่นโดยสองครั้งก่อนหน้านี้ในปี 2541 และ 2552 ทว่า ทั้งสองครั้งก่อนหน้านี้เกาหลีเหนืออ้างว่ากำลังปล่อยดาวเทียม ขีปนาวุธดังกล่าวทำให้เกิดการกระตุ้นระบบเตือนภัยเจ-อะเลิร์ตในโทโฮกุและฮกไกโด แนะนำให้ประชาชนหาที่หลบภัย การปล่อยดังกล่าวกำหนดให้ตรงกับวันครบรอบปีที่ 107 ของสนธิสัญญาผนวกดินแดนญี่ปุ่น–เกาหลี และสำนักข่าวกลางเกาหลีกล่าวว่าเป็น \"แผนกล้าหาญในการทำให้ชาวเกาะญี่ปุ่นผู้เหี้ยมโหดไม่รู้สึกในวันที่ 29 สิงหาคมนองเลือด\" กล่าวว่าขีปนาวุธที่ปล่อยมีแนววิถีราบกว่าที่เคยทดสอบก่อนหน้านี้ในปี 2560", "title": "วิกฤตการณ์เกาหลีเหนือ พ.ศ. 2560–2561" }, { "docid": "529157#10", "text": "ในการตอบโต้ต่อการอนุมัติของมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติซึ่งประณามการยิงจรวดที่ประสบความสำเร็จครั้งล่าสุดของพวกเขาและกำหนดบทลงโทษที่รุนแรงยิ่งขึ้น เกาหลีเหนือแถลงในวันที่ 24 มกราคม ว่ามีความมุ่งมั่นที่จะพุ่งเป้าไปที่สหรัฐอเมริกาในขีปนาวุธและโครงการนิวเคลียร์ คำแถลงได้เรียกสหรัฐอเมริกาว่า\"ศัตรูคู่อาฆาตของประชาชนเกาหลี\"", "title": "วิกฤตเกาหลี พ.ศ. 2556" }, { "docid": "914554#10", "text": "เช้าวันที่ 4 กันยายน ประเทศเกาหลีใต้ดำเนนิการฝึกซ้อมขีปนาวุธทิ้งตะวซึ่งเกี่ยวข้องกับขีปนาวุธทิ้งตัวฮย็อนมูและเครื่องบินเจ็ตขับไล่เอฟ-15เคของเกาหลีใต้ ซึ่งคาดว่าเป็นการตอบสนองต่อการจุดระเบิดของเกาหลีเหนือ สำนักข่าวของรัฐ ยอนฮัพ กล่าวว่ากองทัพเกาหลีใต้ดำเนินการซ้อมรบกระสุนจริงซึ่งจำลองการโจมตีจุดนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ โดยโจมตี \"เป้าหมายที่กำหนดในทะเลตะวันออก\"", "title": "วิกฤตการณ์เกาหลีเหนือ พ.ศ. 2560–2561" }, { "docid": "529157#7", "text": "หลังจากที่คณะมนตรีฯ มีบทลงโทษเกาหลีเหนือ ในวันที่ 23 มกราคม รัฐบาลเกาหลีเหนือประกาศจะยังทดลองต่อไป ไม่เพียงแต่ทุ่มเทกับขีปนาวุธเท่านั้น แต่ชัดเจนว่ามีความพยายามจะเอื้อวัตถุประสงค์อาวุธนิวเคลียร์ด้วย ยิ่งไปกว่านั้น เกาหลีเหนือยังข่มขู่สหรัฐอเมริกาโดยตรง ว่าสามารถยิงขีปนาวุธพิสัยไกลถล่มสหรัฐอเมริกาได้", "title": "วิกฤตเกาหลี พ.ศ. 2556" }, { "docid": "3890#3", "text": "นับแต่การทิ้งระเบิดฮิโรชิมาและนางาซากิ อาวุธนิวเคลียร์ถูกจุดระเบิดกว่าสองพันโอกาสเพื่อจุดประสงค์ด้านการทดสอบและสาธิต มีเพียงไม่กี่ชาติที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์หรือถูกสงสัยว่ากำลังแสวงหาอาวุธนิวเคลียร์ ประเทศที่ทราบว่าเคยจุดระเบิดอาวุธนิวเคลียร์ และได้รับการรับรองว่าครอบครองอาวุธนิวเคีลยร์ คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต (รัสเซียเป็นผู้สืบทอดอำนาจนิวเคลียร์) สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย ปากีสถาน และเกาหลีเหนือ นอกเหนือจากนี้ อิสราเอลยังถูกเชื่ออย่างกว้างขวางว่าครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ แต่ไม่ได้รับการรับรองว่ามี[2][3] รัฐหนึ่ง แอฟริกาใต้ เคยยอมรับว่ามีอาวุธนิวเคลียร์ที่ทำขึ้นก่อนหน้านี้ในอดีต แต่นับแต่นั้นได้แยกประกอบคลังแสงของตนและส่งให้กับผู้คุ้มครองนานาชาติ[4]", "title": "อาวุธนิวเคลียร์" }, { "docid": "770417#8", "text": "ในปี 2560 ประเทศเกาหลีเหนือทดสอบปล่อยขีปนาวุธข้ามทวีปสองลูก ซึ่งลูกที่สองมีพิสัยเพียงพอถึงสหรัฐแผ่นดินใหญ่[22] ในเดือนกันยายน 2560 ประเทศประกาศการทดสอบระเบิดไฮโดรเจน \"สมบูรณ์แบบ\" อีก", "title": "ประเทศเกาหลีเหนือกับอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง" }, { "docid": "527101#0", "text": "ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ยองเบียน เป็นสิ่งก่อสร้างทางนิวเคลียร์หลักของประเทศเกาหลีเหนือ ดำเนินการเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แรก ๆ ของประเทศ ตั้งอยู่ในอำเภอนย็อนบย็อน จังหวัดพย็องอันเหนือ ห่างจากกรุงเปียงยางไปทางเหนือราว 90 กิโลเมตร ศูนย์ดังกล่าวผลิตวัสดุฟิสไซล์สำหรับการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือในปี 2549 และ 2552 นับแต่นั้น ศูนย์ดังกล่าวกำลังพัฒนาเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าเตาปฏิกรณ์น้ำมวลเบาในท้องถิ่น ล่าสุด ในเดือนมีนาคม 2556 รัฐบาลเกาหลีเหนือประกาศจะเริ่มปฏิบัติการที่ยองเบียนอีกครั้ง แถลงการณ์ดังกล่าวมีขึ้นไม่กี่วันหลังรัฐบาลประกาศ \"สถานะสงคราม\" ต่อประเทศเกาหลีใต้", "title": "ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ยองเบียน" }, { "docid": "914554#1", "text": "ให้หลังการทดสอบยิงขีปนาวุธทิ้งตัวพิสัยกลางจากท่าซินโพทางตะวันออกของประเทศสู่ทะเลญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2560 หนึ่งเดือนหลังการยิงขีปนาวุธทิ้งตัวสี่ลูกมุ่งหน้าสู่ทะเลญี่ปุ่น ความตึงเครียดเพิ่มขึ้นเมื่อประธานาธิบดีสหรัฐ ดอนัลด์ ทรัมป์ กล่าวว่าสหรัฐเตรียมพร้อมกระทำการฝ่ายเดียวเพื่อจัดการกับภัยคุกคามนิวเคลียร์จากเกาหลีเหนือ วันที่ 9 เมษายน กองทัพเรือสหรัฐประกาศว่ากำลังส่งกลุ่มโจมตีกองทัพเรือที่มีซูเปอร์แคริเออร์ ยูเอสเอส \"คาร์ล วินสัน\" เป็นเรือนำ ไปมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก แต่เนื่องจากคลับคล้ายว่ามีการสื่อสารผิดพลาดในรัฐบาลสหรัฐ การเคลื่อนทัพเรือจึงมีการเสนอว่ากำลังมุ่งหน้าสู่คาบสมุทรเกาหลี รัฐบาลสหรัฐย้อนรอยสารสนเทศนี้เมื่อไม่กี่วันก่อน", "title": "วิกฤตการณ์เกาหลีเหนือ พ.ศ. 2560–2561" }, { "docid": "2417#40", "text": "ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 มีการเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจโลกอย่างรวดเร็วร่วมกับโลกาภิวัตน์ สิ่งแวดล้อมความมั่นคงรอบประเทศญี่ปุ่นทวีความรุนแรงมากขึ้นอันสังเกตได้จากการพัฒนานิวเคลียร์และขีปนาวุธของประเทศเกาหลีเหนือ ภัยคุกคามข้ามชาติซึ่งมีเหตุจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีรวมทั้งการก่อการร้ายระหว่างประเทศและการโจมตีไซเบอร์ก็เพิ่มความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ประเทศญี่ปุ่นรวมทั้งกองกำลังป้องกันตนเองได้เข้ามีส่วนร่วมอย่างถึงที่สุดในความพยายามธำรงและฟื้นฟูสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ", "title": "ประเทศญี่ปุ่น" }, { "docid": "914554#12", "text": "ฝ่ายจีนและรัสเซียเรียกร้องให้สงบทั้งสองฝ่าย คือ ยุติการทดสอบขีปนาวุธของเกาหลีเหนือและการซ้อมรบของสหรัฐและเกาหลีใต้ ขั้นต่อไปจะเป็นการเจรจา", "title": "วิกฤตการณ์เกาหลีเหนือ พ.ศ. 2560–2561" }, { "docid": "529157#2", "text": "จากนั้น สหรัฐอเมริกาแถลงตอบโต้การกระทำของเกาหลีเหนือทันที คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้อนุมัติบทลงโทษใหม่กับเกาหลีเหนือในการปกปิดการทดสอบขีปนาวุธ เหตุการณ์นี้ได้สร้างความวิตกเป็นอย่างมากสื่อหลายสำนักทั่วโลกรวมทั้งจีน รัสเซีย และญี่ปุ่นได้รายงานข่าวว่าเกาหลีเหนือได้เข้าร่วมกลุ่มประเทศที่สามารถผลิตและส่งดาวเทียมในโลก กองบัญชาการป้องกันห้วงอากาศ-อวกาศอเมริกาเหนือ (North American Aerospace Defense Command) รายงานว่าทั้งดาวเทียมและชิ้นส่วนที่ลอยอยู่บนอวกาศ \"\"มิได้เป็นปัจจัยคุกคามความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา\"\"", "title": "วิกฤตเกาหลี พ.ศ. 2556" }, { "docid": "263006#18", "text": "คิมร้องขอให้ควบคุมการต่อต้านเกาหลีเหนือ สำหรับกรณีอาวุธนิวเคลียร์ และปกป้องการดำเนินนโยบายอาทิตย์ฉายแสงต่อทางเปียงยางเพื่อลดความรุนแรงต่อวิกฤติการณ์ เขาสัญญากับชาวเกาหลีว่าเขาจะแสดงความรับผิดชอบถ้าเกาหลีเหนือพยายามที่จะทำอันตรายพวกเขาด้วยอาวุธนิวเคลียร์ แต่สิ่งที่ยังโต้เถียงต่อไปว่านโยบายอาทิตน์ฉายแสงได้สร้างความสะดวกแก่โครงการอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือหรือไม่ ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2551 เขาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยพอร์ตแลนด์ ซึ่งเขาได้แสดงสุนทรพจน์ในหัวข้อ \"ความท้าทาย, การขานรับและพระเจ้า\"", "title": "คิม แด-จุง" }, { "docid": "914554#14", "text": "วันที่ 28 พฤศจิกายน ประเทศเกาหลีเหนือปล่อยขีปนาวุธทิ้งตัวอีกลูก ภาพถ่ายฮวาซอง-15 แสดงเครื่องยนต์เสริมกำลังของขีปนาวุธเป็นเครื่องยนต์ฮวาซอง-14 ผูกติดกันเป็นขั้นแรก ตามที่นักวิเคราะห์สามคนเห็นตรงกัน กล่าวกันว่าขีปนาวุธบินถึงระดับความสูงเป็นสถิติ 2,800 ไมล์ และตกในทะเลญี่ปุ่นเข้าเขตเศรษฐกิจจำเพาะ เป็นระยะทาง 600 ไมล์ การประเมินขั้นต้นของเพนตากอนแนะว่าเป็นขีปนาวุธข้ามทวีปเมื่อติดสินจากความสูง กระทรวงกลาโหมของประเทศเกาหลีใต้และญี่ปุ่นก็สรุปว่าน่าจะมีการปล่อยขีปนาวุธข้ามทวีปและมันมีแนววิถีโค้ง", "title": "วิกฤตการณ์เกาหลีเหนือ พ.ศ. 2560–2561" } ]
3885
เอ็มทีวีไทยแลนด์ ยุค2 เริ่มขึ้นเมื่อใด?
[ { "docid": "96843#1", "text": "เอ็มทีวีไทยแลนด์ออกอากาศครั้งแรกบนช่อง 49 เครือยูบีซี ต่อมาย้ายมาช่องยูบีซี 32 ต่อมา เอ็มทีวีไทยแลนด์ประกาศย้ายการออกอากาศในไทยวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 จากเคเบิลทีวี ช่องทรูวิชั่นส์ไปแพร่ภาพทางทีวีดาวเทียม ดีทีเอช[1] หรือรับชมผ่านเคเบิลทีวีท้องถิ่น ขณะนี้เอ็มทีวีไทยแลนด์ ได้ย้ายการออกอากาศจากสไมล์ทีวี เน็ตเวิร์ค โดยได้กลับมาออกอากาศ ทาง ทรูวิชั่นส์ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ย้ายมาอยู่ช่อง 85 เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553 ออกอากาศในวันสุดท้ายของคืนวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ปัจจุบันเอ็มทีวีได้กลับมาออกอากาศใหม่อีกครั้งทางช่องทรูวิชันส์ เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556 โดยถ่ายทอดสัญญาณของเอ็มทีวีเอเชียมา และออกอากาศอย่างเป็นทางการผ่านระบบซีแบนด์ (ที่ได้รับสัมปทานความถี่ช่องดาวเทียมของ อสมท.) และเคยูแบนด์ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 กลับมาฉายอีกครั้งในรูปแบบเอ็มทีวีไทยแลนด์", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" } ]
[ { "docid": "96843#36", "text": "ในปี พ.ศ. 2549 มีส่วนร่วม 1 เวทีคือเวทีสีส้ม มีศิลปินที่มาร่วมแสดงเช่น ไทยเทเนี่ยม บอดี้สแลม แคลช อำพล ลำพูน เป็นต้น ส่วนในปี พ.ศ. 2550 เอ็มทีวีไทยแลนด์มีส่วนร่วม 2 เวที ทั้ง 3 วัน โดยเวทีเมนสเตจ มีศิลปินที่มาร่วมแสดง เช่น ทาทา ยัง สล็อต แมชชีน อีโบล่า เบบี้วอกซ์รีฟ ส่วนเวทีอินดี้ เช่น วง ซิลลี่ ฟูลส์ อพาร์ตเมนต์คุณป้า ขอนแก่น เป็นต้น", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#43", "text": "และในวันครบรอบ 3 ปีของเอ็มทีวีไทยแลนด์ ได้เชิญบรรดาศิลปิน นักร้องจากค่ายต่าง ๆ มากมาย วีเจ และผู้ชมรายการ ร่วมทำบุญบริจาคโลหิตและออกร้าน ในงาน “เอ็มทีวียังบลัดโดเนชัน 2004\" ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ[31]", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "214921#0", "text": "ไลฟ์ออฟไรอัน () เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์ ที่ตามติดชีวิตนักสเกตบอร์ดอาชีพที่ชื่อ ไรอัน เช็กเลอร์ โดยในแต่ละตอนมีความยาวประมาณ 22 นาที เป็นเรื่องราวชีวิตของไรอัน และครอบครัวของเขา รวมถึงเพื่อน ในเรื่องราวของครอบครัว การหาแฟน รวมถึงในฐานะโปรสเกตบอร์ด โดยส่วนมากของหลาย ๆ ตอนจะถ่ายทำในละแวกบ้านของเช็กเลอร์ในแซนเคลเมนที รัฐแคลิฟอร์เนียรายการผลิตโดยคาร์โบนเอนเทอร์เทนเมนต์ ให้กับทางเอ็มทีวี ออกอากาศทางเอ็มทีวี, เอ็มทีวี 2, เอ็มทีวียุโรป, เอ็มทีวีโปแลนด์, เอ็มทีวีเอเดรีย, เอ็มทีวีฮังการี, เอ็มทีวีโรมาเนีย, เอ็มทีวีโปรตุเกส, เอ็มทีวีเซ็นทรัล, เอ็มทีวีแคนาดา, เอ็มทีวีอิตาลี, เอ็มทีวีนิวซีแลนด์ ,เอ็มทีวียูเค, เอ็มทีวีลาตินอเมริกา, เอ็มทีวีเอเชีย และเอ็มทีวีไทยแลนด์ โดยออกอากาศครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาเมื่อ 27 สิงหาคม ค.ศ. 2007 เวลา 22.30 น่. หลังจากนั้นออกอากาศฤดูกาลที่สองเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 2008", "title": "ไลฟ์ออฟไรอัน" }, { "docid": "96843#15", "text": "ส่วนรายการที่ผลิตจากเอ็มทีวี เอเชีย ส่วนใหญ่จะเป็นรายการเพื่อสนับสนุน ศิลปินประจำเดือน เช่น เอ็มทีวีแอสก์ ไฟฟ์ติงส์ยูนีดทูโนว์ ท็อปเทนเฟเวอริตส์ เป็นต้น", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#0", "text": "เอ็มทีวีไทยแลนด์ (English: MTV Thailand) เป็นสถานีโทรทัศน์ทางดนตรีในประเทศไทย ปัจจุบันบริหารงานโดยบริษัท อันลิมิเต็ด คอนเท้นท์ จำกัด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 โดยรายการแรกที่ออกอากาศคือรายการ เอ็มทีวีไทยแลนด์ฮิตลิสต์ ดำเนินรายการโดย วีเจแองจี้ ส่วนมิวสิกวิดีโอเพลงแรกที่เปิดคือ เพลงพันธ์ทิพย์ ของโลโซ สำหรับกลุ่มเป้าหมายหลักของเอ็มทีวีไทยแลนด์คือวัยรุ่นกินอาณาเขตตั้งแต่วัยรุ่นตอนต้น-ตอนปลาย อายุตั้งแต่ 12-25 ปี และกลุ่มเป้าหมายรองคืออายุตั้งแต่ 25-35 ปี", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#7", "text": "ไวอาคอมอินเตอร์เนชันแนลมีเดียเนตเวิร์กเอเชีย ประกาศข้อตกลงให้สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิโดยเด็ดขาดกับ บริษัท แอปเปิลทูล บริษัทในเครือวีอาร์วันมีเดียกรุป ทำให้เอ็มทีวีไทยแลนด์กลับมาออกอากาศในประเทศไทย โดยถ่ายทอดสัญญาณของเอ็มทีวีเอเชียมา เริ่มทดลองออกอากาศเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556 ทางทรูวิชั่นส์ ช่อง 59 สำหรับแพ็กเกจฟรีวิว และจานดาวเทียม ไทยคม 5 ระบบซีแบนด์ และออกอากาศอย่างเป็นทางการวันที่ 1 พฤษภาคม ในปีเดียวกัน ผ่านระบบดาวเทียมฟรีแบนด์ และเคยูแบนด์[11] หลังจากนั้นเอ็มทีวีไทยแลนด์กลับมาออกอากาศ ภายใต้บริษัท อันลิมิเต็ด คอนเท้นท์ จำกัด เกิดจากการร่วมทุนระหว่าง บริษัท ดีเอ็นเอ 2002 จำกัด (มหาชน) ในสัดส่วน 50% กับทางนายกุลพงศ์ บุนนาค และนายอมฤต ศุขวณิช อีก 50% ด้วยทุนจดทะเบียนเบื้องต้น 20 ล้านบาท โดยได้รับสิทธิ์ดูแลเอ็มทีวีไทยแลนด์ 5 ปี[12]", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#29", "text": "เอ็มทีวีไทยแลนด์ มีการจัดอันดับประจำสัปดาห์ ทั้งชาร์ทเพลงไทยและเพลงสากล ซึ่งวัดผลจากยอดขอเพลงจากผู้ฟังและจำนวนการเปิดเพลง ประกาศผลทุกวันเสาร์ในรายการ เอ็มทีวีชาร์ท และถือนับเป็นชาร์ทเพลงที่บ่งบอกความนิยมของผู้ฟังประเทศไทยชาร์ทหนึ่ง[22] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอันดับเพลงได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนเกาหลี อย่างเช่น เมื่อครั้งที่วงโซนยอชิแด กลุ่มนักร้องสาวไปออกรายการโทรทัศน์ที่ชื่อ Park Joong Hoon Show Korea Sunday Night เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2552 พิธีกรก็ได้บอกข้อมูลให้ทางวงให้ทราบว่าเพลง \"กี\" (Gee) ของทางวงขึ้นอันดับ 1 ชาร์ทเพลงสากล ทำให้ทางวงกล่าวขอบคุณแฟนเพลงชาวไทย เป็นภาษาไทยในครั้งนี้[23] หรือเมื่อครั้งที่เพลง \"Tell Me\" ของวงวันเดอร์เกิลส์ ขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ทเดียวกัน ทางสื่อเกาหลีก็เสนอข่าวดังกล่าวเกี่ยวกับวง ซึ่งทางวงก็รู้ข่าวว่าขึ้นอันดับ 1 ของชาร์ทนี้เมื่อครั้งที่อยู่ที่เกาหลี[24]", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#4", "text": "เอ็มทีวีไทยแลนด์ เป็นสถานีโทรทัศน์ทางดนตรีในประเทศไทย 24 ชั่วโมง เป็นการร่วมลงทุนกันระหว่างเอ็มทีวีเอเชียเน็ทเวิร์ค และบริษัท มีเดีย คอมมูนิเคชั่น เน็ทเวิร์คส จำกัด ภายใต้การบริหารงานของบริษัท มิวสิก เทเลวิชั่น เน็ทเวิร์ค จำกัด (บริษัทในเครือบริษัท มีเดีย คอมมูนิเคชั่น เน็ทเวิร์คส จำกัด) โดยออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544[3] โดยรายการแรกที่ออกอากาศคือรายการ เอ็มทีวีไทยแลนด์ฮิตลิสต์ ดำเนินรายการโดย วีเจแองจี้ ส่วนมิวสิกวิดีโอเพลงแรกที่เปิดคือเพลง \"พันธ์ทิพย์\" ของโลโซ ส่วนเพลงสากลเพลงแรกที่ออกอากาศคือเพลง \"ป็อป\" ของวงเอ็นซิงก์[4] โดยออกอากาศทางช่องยูบีซี 49 แทนช่องเอ็มทีวีเอเชียที่มีอยู่เดิมทางยูบีซี[5] ต่อมา 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ยูบีซีได้จัดลำดับเลขช่องรายการใหม่ โดยย้ายจากช่อง 49 มาอยู่ที่ช่อง 32[6]", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#24", "text": "\"อาร์ทิสต์ออฟเดอะมันธ์\" เป็นศิลปินต่างประเทศที่มีชื่อเสียงแล้ว ที่ผ่านมาเช่น อาวริล ลาวีญ ลินคิน พาร์ค เป็นต้น โดยเอ็มทีวีไทยแลนด์ จะมีรายการพิเศษจากต่างประเทศ เช่นรายการ เมกกิงออฟวิดีโอ เป็นต้น ส่วน \"บัซเวิร์ธตี\" เป็นศิลปินใหม่ที่ได้รับความนิยม ที่ผ่านมา เช่น มิคา, อาร์กติก มังกี้ส์, มาย เคมิคอล โรแมนซ์ เป็นต้น ส่วน \"เอ็มทีวีฮอต\" เป็นตำแหน่งศิลปินเอเชียประจำเดือนที่ผ่านมา เช่น โบอา แวนเนส วู เอส.เอช.อี. และ เจย์ โจว์ เป็นต้น ส่วนตำแหน่งของศิลปินไทยคือ \"เอ็มทีวีอาร์ทิสต์โฟกัส\" และ \"เอ็มทีวีอเลิร์ตอาร์ทิสต์\" สำหรับศิลปิน \"เอ็มทีวีอาร์ทิสต์โฟกัส\" คือศิลปินที่มีชื่อเสียงแล้วกำลังจะมีผลงานอัลบั้มใหม่ ที่ผ่านมาส่วน \"เอ็มทีวีอาร์ทิสต์โฟกัส\" เดิมชื่อ \"เอ็มทีวีโมโตอเลิร์ตอาร์ทิสต์\" เป็นตำแหน่งศิลปินใหม่ที่น่าจับตามอง", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#23", "text": "ในแต่ละเดือน เอ็มทีวีไทยแลนด์ จะนำเสนอศิลปินประจำเดือน (Platform) โดยในส่วนของศิลปินต่างประเทศ มีตำแหน่ง \"อาร์ทิสต์ออฟเดอะมันธ์\" \"บัซเวิร์ธตี\" \"เอ็มทีวีฮอต\"", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#2", "text": "นอกจากการออกอากาศทางช่องสถานี เอ็มทีวีไทยแลนด์ยังมีกิจกรรมคอนเสิร์ต งานเทศกาลดนตรี อีกทั้งยังมีโครงการและกิจกรรมการกุศลต่าง ๆ", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#9", "text": "เอ็มทีวี มีรายการสด 2 รายการคือ เอ็มทีวีอาฟเตอร์สคูล เวลา 18.00 น. และรายการเอ็มทีวีออนแอร์ไลฟ์ เวลา 19.00 ในรายการนี้มีสัมภาษณ์สดกับศิลปิน ส่วนในวันศุกร์จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับภาพยนตร์", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#18", "text": "นอกจากออกแพร่ภาพทางช่องเคเบิลทีวีแล้ว เอ็มทีวีไทยแลนด์ยังมีรายการออกอากาศทางฟรีทีวี คือรายการ เอ็มทีวีนิวส์ออนทีไอทีวี ทางช่องทีไอทีวี เป็นรายการสรุป ข่าว เบื้องหลังต่าง ๆ ไม่ว่าดนตรี หรือภาพยนตร์ เริ่มออกอากาศครั้งแรกวันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550[19] แต่ก็ได้ยกเลิกออกอากาศไปหลังจากที่สถานีทีไอทีวีถูกระงับการออกอากาศไป และต่อมากับรายการทางช่อง 5 ชื่อรายการ เอ็มทีวีสกูลแอตแท็ก ที่มีรูปแบบรายการนำศิลปินไปสร้างความประหลาดใจ ออกอากาศวันพฤหัส เวลา 17.05 – 17.30 น. ดำเนิน รายการโดย ศุภกาญจน์ ปลอดภัย และภูมิใจ ตั้งสง่า[20] ปัจจุบันยุติการออกอากาศไปแล้ว", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#3", "text": "เอ็มทีวีในเอเชียเริ่มมีครั้งแรกในปี พ.ศ. 2535 โดยเริ่มจากเอ็มทีวีญี่ปุ่น หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2538 จึงได้มีเอ็มทีวีเอเชียซึ่งออกอากาศในหลายประเทศและได้รับความนิยม หลังจากนั้นในช่วงปี พ.ศ. 2544-2545 เอ็มทีวีเอเชียได้แยกช่องออกเป็นอีกสามช่องคือ เอ็มทีวีฟิลิปปินส์ เอ็มทีวีไทยแลนด์ และเอ็มทีวีอินโดนีเซีย[2]", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#26", "text": "ประจำบันตำแหน่งศิลปินประจำเดือน ในตำแหน่ง \"เอ็มทีวีฟีตเจอร์อาร์ทิส\" สำหรับศิลปินทั้งในและต่างประเทศ โดยศิลปินเพลงสากลเป็นศิลปินเดียวเช่นเดียวกับของเอ็มทีวีเอเชีย ส่วนศิลปินไทยและศิลปินเอเชีย เอ็มทีวีไทยแลนด์จะเป็นฝ่ายคัดเลือกศิลปินมานำเสนอ", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "135238#0", "text": "อิทธิวัฒน์ เพียรเลิศ (20 มีนาคม พ.ศ. 2490 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560) วิศวกร และนักธุรกิจสื่อมัลติมีเดีย ในอดีตเคยเป็นนักจัดรายการวิทยุ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทไนท์สปอต เป็นดีเจที่จัดรายการแบบสากลเป็นคนแรกของเมืองไทย และเป็นผู้สร้างวิทยุ 24 ชั่วโมงคลื่นแรก ก่อตั้งค่าย WEA Records Ltd., โซนีมิวสิก (ซีบีเอส) และบีเอ็มจีไทยแลนด์ ในประเทศไทย ต่อมาก่อตั้งบริษัทมีเดีย พลัส ทำงานด้านผลิตรายการวิทยุควบคู่ไปพร้อมกับงานจัดคอนเสิร์ตจากศิลปินต่างประเทศ อิทธิวัฒน์ บุกเบิกวงการเคเบิลทีวี ด้วยการผลิตรายการโทรทัศน์ 24 ชั่วโมงให้กับยูบีซีถึง 5 ช่อง ผลงานชิ้นเอกในยุคนี้ของคุณอิทธิวัฒน์คือการก่อตั้ง แชนแนลวีไทยแลนด์ นอกจากนั้นยังได้ก่อตั้งเอ็มทีวีไทยแลนด์ , วีเอชวัน และ เอฟทีวีไทยแลนด์ ", "title": "อิทธิวัฒน์ เพียรเลิศ" }, { "docid": "96843#45", "text": "มีหลายหน่วยงานได้จัดอันดับการรับชม โดยในช่วงที่เอ็มทีวีไทยแลนด์ออกอากาศทางยูบีซี 32 เอ็มทีวีไทยแลนด์เข้าถึงผู้ชมกว่า 400,000 ครัวเรือน และติด 1 ใน 5 ช่องรายการของยูบีซี เคเบิลทีวี ที่มีคนดูสูงสุด จากผลวิจัยเรดาร์รีเสิร์ช ของอินิทีเอทีฟ[13]", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "83133#0", "text": "การณิก ทองเปี่ยม หรือ วีเจ นิกกี้ เกิดเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2523 เป็นวีเจทางช่องเอ็มทีวีไทยแลนด์ ศึกษาจบจากคณะเศรษฐศาสตร์ (ภาคอินเตอร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์ ได้จัดรายการ MTV After School รายการสดทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ ทางช่องเอ็มทีวีไทยแลนด์ นอกจากนั้นยังเคยเป็นดีเจคลื่น 99.5 Advanced Radio", "title": "การณิก ทองเปี่ยม" }, { "docid": "96843#28", "text": "สำหรับตำแหน่ง \"เอ็มทีวีพุช\" เป็นตำแหน่งศิลปินประจำเดือนที่เหมือนกันกับเอ็มทีวีกว่าอีก 140 ประเทศทั่วโลก คือศิลปินที่เอ็มทีวีต่างลงความเห็นว่าควรผลักดันให้ศิลปินนั้นเกิด[21]", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "135238#6", "text": "กระทั่งต่อมานับจากช่วงปีตั้งแต่ปี 2535 อิทธิวัฒน์บุกเบิกวงการเคเบิลทีวี ด้วยการผลิตรายการโทรทัศน์ 24 ชั่วโมงให้กับยูบีซีถึง 5 ช่อง ผลงานชิ้นเอกในยุคนี้ของคุณอิทธิวัฒน์คือการก่อตั้ง แชนแนลวีไทยแลนด์ ช่องโทรทัศน์ดนตรี 24 ชั่วโมงช่องแรกของเมืองไทย นอกจากนั้นยังได้ก่อตั้งเอ็มทีวีไทยแลนด์ , วีเอชวัน และ เอฟทีวีไทยแลนด์ อีกด้วย", "title": "อิทธิวัฒน์ เพียรเลิศ" }, { "docid": "96843#25", "text": "นอกจากนั้นยังมีตำแหน่ง \"เอ็มทีวีดู๊ด\" ที่คัดสรรห้าบุคคลที่เป็นตัวอย่าง น่าเชื่อถือ ในอาชีพต่าง ๆ โดยสามารถติดตามรายการพิเศษของตำแหน่ง \"เอ็มทีวีดู๊ด\" จากรายการ เอ็มทีวีบล็อก", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#48", "text": "คู่แข่งของเอ็มทีวีไทยแลนด์ ช่องที่มีรูปแบบเป็นรายการเพลง เช่น แชนแนลวีไทยแลนด์ ที่มีรูปแบบรายการคล้ายกัน และยังมี ช่องเพลงเก่า มะจัง และช่องเพลงในปัจจุบัน ทรู มิวสิก ที่เดิมนำเสนอเฉพาะเพลงไทยแต่ได้เพิ่มเพลงสากลและเพลงเอเชียนขึ้นและมีการพัฒนาโดยมีวีเจนำเสนอรายการด้วย[36]", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#47", "text": "มีเดียแอตลาสบายไซโนเวตได้ทำการสำรวจ 10 อันดับช่องเคเบิลที่มีผู้ชมมากที่สุดใน 1 สัปดาห์ (ข้อมูลระหว่าง Q4 2005 - Q3 2006) ช่องที่ได้รับความนิยมอันดับ 1 คือ ดิสคัฟเวอรี่ แชนนอล อันดับ 2 คือ สตาร์มูฟวีส์ และอันดับ 3 คือ เอ็มทีวี [35]", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#5", "text": "ต่อมาเอ็มทีวีไทยแลนด์ประกาศย้ายการออกอากาศในไทยวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 จากเคเบิลทีวี ช่องทรูวิชั่นส์ เนื่องจากหมดสัญญา 5 ปี[7] ไปแพร่ภาพทางทีวีดาวเทียม ดีทีเอช และ กับลูกค้าเคเบิลท้องถิ่น 2 ล้านครัวเรือน โดยออกอากาศพร้อมช่องเครือข่ายอย่าง วีเอชวัน และนิกเคลโลเดียน[8] ออกอากาศต่อเนื่องถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2551 หลังจากนั้นอยู่ในช่วงไม่ได้ออกอากาศที่ใด (ออฟแอร์)[9]", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#12", "text": "เอ็มทีวีไทยแลนด์ยังมีรายการนำเสนอข่าวออกอากาศทุกวัน ความยาวประมาณ 10 นาที ในรายการ เอ็มทีวีบัซซ์ [17] และยังมีรายการเกี่ยวกับภาพยนตร์ คือรายการ เอ็มทีวีสกรีน", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#34", "text": "ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการจัดอยู่ 2 ครั้งในปี พ.ศ. 2548 ที่อิมแพคอารีน่า เมืองทองธานี และปี พ.ศ. 2549 ที่สยามพารากอน[26]", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#40", "text": "เอ็มทีวีตระหนักถึงปัญหาเรื่องโรคเอดส์ มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพิ่มขึ้นทุกวัน เอ็มทีวีสามารถเข้าถึงกลุ่มวัยรุ่นและมีอิทธิพลทางความคิดของพวกเขา เอ็มทีวีเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญในการเข้าถึงกลุ่มเยาวชน และวิถีการดำเนินชีวิตของพวกเขา", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#44", "text": "เอ็มทีวีไทยแลนด์ ร่วมกับเอ็มทีวียุโรปฟาวเดชันที่ได้รับการสนับสนุนจาก USAID กับโครงการเพื่อสังคมภายใต้ชื่อ เอ็มทีวีเอกซิต: เอ็นด์เอกซ์พลอยเทชันแอนด์แทรฟฟิกกิง ซึ่งเป็นโครงการรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์ โครงการนี้เป็นสารคดีที่ถ่ายทอดความรู้และการป้องกัน เรื่องเกี่ยวกับ การค้ามนุษย์ การล่วงละเมิดทางเพศ และการถูกล่อลวงไปค้าประเวณีของผู้หญิง ซึ่งออกอากาศครั้งแรกทั่วยุโรป ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2548 ซึ่งมีผู้ดำเนินรายการโดยนักแสดงชื่อดังจากฮอลลีวูด แองเจลินา โจลี และในปี พ.ศ. 2550 ในส่วนของประเทศไทย มูลนิธิ เอ็มทีวี ยุโรป ได้คัดเลือกนักร้องสาวชื่อดังของเมืองไทยอย่าง ทาทา ยัง มารับหน้าที่ดำเนินสารคดีในประเทศไทย[32] ส่วนในปี พ.ศ. 2551 ได้ อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม มาเป็นแอมบาสเดอร์ประจำประเทศไทย[33]", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" }, { "docid": "96843#38", "text": "เอ็มทีวีไทยแลนด์ ยังจัดกิจกรรม วีเจฮันต์ที่ได้เปิดโอกาสให้กับหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ได้แสดงความสามารถของตัวเองผ่านการแข่งขัน[28] โดยผู้ชนะเลิศจะได้เป็นวีเจทางช่องเอ็มทีวีไทยแลนด์ ผู้ชนะเลิศในโครงการนี้เช่น วีเจภูมิ วีเจนิกกี้ วีเจอเล็กซ์ วีเจจอห์น วีเจแวว", "title": "เอ็มทีวีไทยแลนด์" } ]
331
อิเล็กตรอนคืออะไร?
[ { "docid": "6621#23", "text": "เท่าที่รู้กันในปัจจุบัน อิเล็กตรอนเป็นอนุภาคที่มีมวลน้อยที่สุดในบรรดาอนุภาคทั้งหมด คือประมาณ 9.11 kg โดยมีประจุไฟฟ้าลบและมีขนาดที่เล็กเกินกว่าจะวัดได้ด้วยเทคนิคเท่าที่มีอยู่ โปรตอนมีประจุบวก และมีมวลราว 1,836 เท่าของอิเล็กตรอน คือประมาณ 1.6726 kg แม้ว่าอาจลดลงได้จากการเปลี่ยนแปลงพลังงานยึดเหนี่ยวของโปรตอนที่มีต่ออะตอม ส่วนนิวตรอนนั้นไม่มีประจุไฟฟ้า มีมวลราว 1,839 เท่าของมวลอิเล็กตรอน หรือ 1.6929 kg นิวตรอนกับโปรตอนมีขนาดพอ ๆ กันที่ประมาณ 2.5 ม. แม้ว่า 'พื้นผิว' ของอนุภาคเหล่านี้จะไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนก็ตาม", "title": "อะตอม" }, { "docid": "13987#0", "text": "อิเล็กตรอน () (สัญลักษณ์ e) เป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเป็นลบ ไม่มีใครรู้จักส่วนประกอบหรือโครงสร้างพื้นฐานของมัน; ในคำกล่าวอื่น ๆ เช่น คาดกันโดยทั่วไปว่ามันจะเป็นอนุภาคที่เป็นมูลฐาน อิเล็กตรอนมีมวลที่เป็นประมาณ 1/18636 เท่าของโปรตอน โมเมนตัมเชิงมุมภายใน (สปิน) ของอิเล็กตรอนเป็นค่าครึ่งจำนวนเต็มในหน่วยของ ħ ซึ่งหมายความว่ามันเป็น เฟอร์เมียน (fermion) ปฏิยานุภาคของอิเล็กตรอนเรียกว่าโพซิตรอน มันเป็นเหมือนกันกับอิเล็กตรอนยกเว้นแต่ว่าจะมีค่าประจุไฟฟ้าและอื่น ๆ ที่มีลักษณะตรงกันข้าม เมื่ออิเล็กตรอนชนกันกับโพซิตรอน อนุภาคทั้งสองอาจกระจัดกระจายออกจากกันและกัน หรือถูกประลัย (annihilate)โดยสิ้นเชิง การผลิตคู่ (หรือมากกว่านั้น) เกิดขึ้นจากโฟตอนรังสีแกมมา อิเล็กตรอน ซึ่งถือเป็นรุ่นแรกของตระกูลอนุภาคเลปตอน (lepton) มีส่วนร่วมในแรงโน้มถ่วง มีปฏิสัมพันธ์กับแรงแม่เหล็กไฟฟ้าและแรงแบบอ่อน อิเล็กตรอนเช่นเดียวกับสสารทั้งหมด มีคุณสมบัติทางกลศาสตร์ควอนตัมของทั้งคู่อนุภาคและคลื่น วิ่งอยู่รอบๆ นิวเคลียสตามระดับพลังงานของอะตอมนั้นๆ โดยส่วนมากของอะตอม จำนวน อิเล็กตรอน ในอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าจะมีเท่ากับจำนวน โปรตอน เช่น ไฮโดรเจนมีโปรตอน 1 ตัว และอิเล็กตรอน 1 ตัว ฮีเลียมมีโปรตอน 2 ตัว และอิเล็กตรอน 2 ตัว", "title": "อิเล็กตรอน" } ]
[ { "docid": "1743#24", "text": "สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนเป็นพลังงานที่คายออกมาหรือดูดกลืน เมื่อเพิ่มอิเล็กตรอนให้แก่อะตอมไปเป็นไอออนประจุลบ ธาตุส่วนใหญ่คายพลังงานความร้อนเมื่อรับอิเล็กตรอน โดยทั่วไป อโลหะจะมีสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนมากกว่าโลหะ คลอรีน มีแนวโน้มในการเกิดไอออนประจุลบสูงที่สุด สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนของแก๊สมีตระกูลยังไม่สามารถหาค่าได้ ดังนั้น พวกมันอาจจะไม่มีประจุลบ", "title": "ตารางธาตุ" }, { "docid": "6526#1", "text": "ที่อุณหภูมิ ศูนย์ เคลวิน วัสดุพวกนี้จะไม่ยอมให้ไฟฟ้าไหลผ่านเลย เพราะเนื้อวัสดุเป็นผลึกโควาเลนต์ ซึ่งอิเล็กตรอนทั้งหลายจะถูกตรึงอยู่ในพันธะโควาเลนต์หมด (พันธะที่หยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม) แต่ในอุณหภูมิธรรมดา อิเล็กตรอนบางส่วนมีพลังงาน เนื่องจากความร้อนมากพอที่จะหลุดไปจากพันธะ ทำให้เกิดที่ว่างขึ้น อิเล็กตรอนที่หลุดออกมาเป็นสาเหตุให้สารกึ่งตัวนำ นำไฟฟ้าได้เมื่อมีมีสนามไฟฟ้ามาต่อเข้ากับสารนี้", "title": "สารกึ่งตัวนำ" }, { "docid": "185327#3", "text": "ก๊าซมีตระกูลที่เป็นธาตุหนักจะมีออร์บิทัลของอิเล็กตรอนมากกว่าธาตุเบา (ธาตุที่อยู่ทางตอนบนของตารางธาตุ) ดังนั้น อิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นที่สูงสุด (ชั้นที่อยู่ห่างจากนิวเคลียสมากที่สุด) ก็จะถูกกำบังจากบรรดาอิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นต่ำ จึงเป็นเหตุให้ธาตุแตกตัวเป็นไอออนได้ง่าย เนื่องจากอิเล็กตรอนเหล่านั้นได้รับแรงดึงดูดทางไฟฟ้าจากนิวเคลียสน้อยมาก จึงส่งให้ค่าพลังงานไอออไนเซชันของธาตุเหล่านั้นต่ำพอที่จะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง อันได้แก่ ออกซิเจน และ ฟลูออรีน", "title": "สารประกอบของก๊าซมีตระกูล" }, { "docid": "189772#7", "text": "สารประกอบแฮไลด์ของโลหะแอลคาไลเอิร์ทที่เป็นธาตุหนัก (ได้แก่ แคลเซียม สตรอนเชียม แบเรียม และเรเดียม) นั้นไม่ได้มีโครงสร้างเป็นรูปเส้นตรงตามที่ทฤษฎีนี้ได้อธิบายไว้ แต่กลับมีรูปร่างเป็นมุมงอ ดังนี้\nกิลเลสพายเสนอว่าน่าจะเกิดจากแรงกระทำระหว่างอิเล็กตรอนภายในอะตอม ก่อให้เกิดการโพลาไรเซชันจนทำให้รูปร่างของออร์บิทัลของอิเล็กตรอนชั้นในไม่ได้สมมาตรเป็นทรงกลม ซึ่งส่งผลต่อโครงสร้างโมเลกุล", "title": "ทฤษฎีการผลักกันของคู่อิเล็กตรอนวงเวเลนซ์" }, { "docid": "18413#0", "text": "พลังงานไอออไนเซชัน (, IE) คือค่าพลังงาน ที่ใช้ในการดึงให้อิเล็กตรอนวงนอกสุด (เวเลนซ์อิเล็กตรอน) หลุดออกจากอะตอมหรือโมเลกุลที่อยู่ในสถานะก๊าซปริมาณพลังงานที่น้อยที่สุดที่สามารถทำให้อะตอมหรือโมเลกุลปลดปล่อยอิเล็กตรอน ค่าพลังงานไอออไนเซชันจะบ่งบอกว่าอะตอมหรือไอออนนั้นสามารถเสียอิเล็กตรอนได้ง่ายหรือยาก หรือในอีกมุมหนึ่งเป็นการบ่งบอกระดับพลังงานของอิเล็กตรอนวงนอกสุดของอะตอมหรือไอออนนั้นว่ามีความเสถียรมากเพียงใด โดยทั่วไปค่าพลังงานไอออไนเซชันจะมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อพยายามที่จะทำให้อิเล็กตรอนตัวต่อไปถูกปลดปล่อยออกมา เนื่องจากการผลักกันของประจุอิเล็กตรอนมีค่าลดลงและการกำบังของอิเล็กตรอนชั้นวงในมีค่าลดลง ซึ่งทำให้แรงดึงดูดระหว่างนิวเคลียสและอิเล็กตรอนมีค่ามาขึ้น อย่างไรก็ตามค่าที่เพิ่มขึ้นอาจไม่เพิ่มเท่าที่ควรจะเป็นในกรณีที่เมื่อปลดปล่อยอิเล็กตรอนตัวนั้นแล้วส่งผลให้เกิดการบรรจุเต็มหรือการบรรจุครึ่งในระดับชั้นพลังงาน เนื่องจากทั้งสองกรณีมีเสถียรภาพเป็นพิเศษ", "title": "พลังงานไอออไนเซชัน" }, { "docid": "712590#0", "text": "ในเคมีและฟิสิกส์อะตอม สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน () ของอะตอมหรือโมเลกุลคือค่าที่แสดงถึงปริมาณพลังงานที่ \"ถูกปล่อยออกมา\" เมื่ออิเล็กตรอนถูกเพิ่มเข้าไปในอะตอมหรือโมเลกุลที่เป็นกลางทางไฟฟ้า ในสถานะแก๊สเพื่อทำให้เกิดไอออนประจุลบ\nในฟิสิกส์ของแข็ง คำนิยามของ \"สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน\" จะแตกต่างออกไป โดยสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนในความหมายของฟิสิกส์ของแข็ง คือ พลังงาน \"ที่ได้รับ\" จากอิเล็กตรอนที่กำลังเคลื่อนที่ออกจากสุญญากาศ", "title": "สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน" }, { "docid": "6730#0", "text": "อนุมูลอิสระ () คือ อะตอม โมเลกุลหรือไอออนซึ่งมีอิเล็กตรอนเดี่ยวในวงนอกสุด (unpaired valence electron) หรือการมีจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็นแบบเชลล์เปิด (open-shell electronic configuration) อนุมูลอิสระอาจมีประจุเป็นบวก ลบหรือเป็นศูนย์ก็ได้ ด้วยข้อยกเว้นบางประการ อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวเหล่านี้ทำให้อนุมูลอิสระว่องไวต่อปฏิกิริยาสูง\nอนุมูลอิสระมีบทบาทสำคัญในการสันดาป เคมีบรรยากาศ พอลิเมอไรเซชัน เคมีพลาสมา ชีวเคมี และกระบวนการทางเคมีอีกหลายอย่าง ในสิ่งมีชีวิต ซูเปอร์ออกไซด์ ไนตริกออกไซด์และผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาของมันควบคุมหลายกระบวนการ เช่น ควบคุมการบีบตัวของหลอดเลือด ซึ่งควบคุมความดันโลหิตอีกต่อหนึ่ง นอกจากนี้ อนุมูลอิสระยังมีบทบาทสำคัญในเมแทบอลิซึมตัวกลางของสารประกอบทางชีวภาพหลายชนิด \nอนุมูลอิสระเกิดขึ้นเป็นปกติจากปฏิกิริยาในร่างกายอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีธาตุเหล็ก ทองแดง แมงกานีส โคบอลต์ โครเมียม นิเกิลน้อย มักเกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ โดยร่างกายจะมีระบบกำจัดอนุมูลอิสระ แต่หากร่างกายได้รับสารอนุมูลอิสระจากภายนอก เช่น ได้รับจากอาหารบางชนิด จากขบวนการประกอบอาหาร เช่น การย่างเนื้อสัตว์ที่มีไขมันประกอบสูง การนำน้ำมันที่ใช้ทอดอาหารที่อุณหภูมิสูง ๆ มาใช้อีก หรือจากสิ่งแวดล้อม เช่น แสงอาทิตย์ซึ่งมีรังสีอัลตราไวโอเลต การแผ่รังสี รังสีเอกซ์ หรือจากมลพิษ เช่น ควันบุหรี่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากไอเสียรถยนต์ มากเกินไป หรือในภาวะที่ร่างกายสามารถกำจัดอนุมูลอิสระได้ลดลง ก็จะทำให้มีอนุมูลอิสระมากเกินไป เป็นสาเหตุของโรคภัยได้", "title": "อนุมูลอิสระ" }, { "docid": "266305#1", "text": "แม้จะมีการเปรียบเทียบอย่างเห็นได้ชัดในดาวเคราะห์ซึ่งโคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งอิเล็กตรอนไม่สามารถอธิบายอนุภาคของแข็งและ orbitals ปรมาณูเพื่อไม่ค่อยหากเคยคล้ายรูปไข่เส้นทางของดาวเคราะห์. การเปรียบเทียบความแม่นยำมากขึ้นอาจจะมีของขนาดใหญ่และมักจะผิดปกติ บรรยากาศรูป (อิเล็กตรอน) กระจายทั่วดาวเคราะห์ค่อนข้างเล็ก (นิวเคลียสอะตอม). Orbitals อะตอมตรงอธิบายรูปบรรยากาศเฉพาะเมื่อมีอิเล็กตรอนเดียวอยู่ในอะตอมนี้. เมื่ออิเล็กตรอนมากขึ้นจะเพิ่มอะตอมเดียวอิเล็กตรอนเพิ่มเติมมักจะเท่าเทียม กันกรอกปริมาณพื้นที่รอบนิวเคลียสเพื่อให้เก็บผล (บางครั้ง termed เมฆอิเล็กตรอนของอะตอม \"\") มีแนวโน้มไปโซนทรงกลมทั่วไปของความน่าจะอธิบายที่อิเล็กตรอนของอะตอมจะพบ", "title": "ออร์บิทัลเชิงอะตอม" }, { "docid": "835276#0", "text": "การจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราสามารถจัดธาตุในตารางธาตุได้ เพราะจากซ้ายไปขวาตามคาบ อิเล็กตรอนจะเพิ่มขึ้น อิเล็กตรอนจะเข้าไปอยู่ในวงอิเล็กตรอน (วงที่ 1 วงที่ 2 และอื่น ๆ) แต่ละวงก็ประกอบไปด้วยวงย่อยหนึ่งวงหรือมากกว่านั้น (มีชื่อว่า s p d f และ g) เมื่อเลขอะตอมของธาตุมากขึ้น อิเล็กตรอนจะเข้าไปอยู่ในวงย่อยตามกฎของแมนเดลัง เช่นการจัดเรียงอิเล็กตรอนของนีออน คือ 1s 2s 2p ด้วยเลขอะตอมเท่ากับ 10 นีออนมีอิเล็กตรอน 2 ตัวในวงอิเล็กตรอนแรก และมีอิเล็กตรอนอีก 8 ตัวในวงอิเล็กตรอนที่สอง โดยแบ่งเป็นในวงย่อย s 2 ตัวและในวงย่อย p 6 ตัว ในส่วนของตารางธาตุ เมื่ออิเล็กตรอนตัวหนึ่งไม่สามารถไปอยู่ในวงอิเล็กตรอนที่สองได้แล้ว มันก็จะเข้าไปอยู่ในวงอิเล็กตรอนใหม่ และธาตุนั้นก็จะถูกจัดให้อยู่ในคาบถัดไป ซึ่งตำแหน่งเหล่านี้เป็นธาตุไฮโดรเจน และธาตุในหมู่โลหะแอลคาไล\nรัศมีอะตอมของธาตุแต่ละตัวมีความแตกต่างในการทำนายและอธิบายในตารางธาตุ ยกตัวอย่างเช่น รัศมีอะตอมทั่วไปลดลงไปตามหมู่ของตารางธาตุจากโลหะแอลคาไลถึงแก๊สมีตระกูล และจะเพิ่มขึ้นรวดเร็วจากแก๊สมีตระกูลมายังโลหะแอลคาไลในจุดเริ่มต้นของคาบ ถัดไป แนวโน้มเหล่านี้ของรัศมีอะตอม (และสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของธาตุอื่น ๆ) สามารถอธิบายได้โดยทฤษฎีวงอิเล็กตรอนของอะตอม พวกมันมีหลักฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาทฤษฎีควอนตัม\nอิเล็กตรอนในวงย่อย 4f ซึ่งจะถูกเติมเต็มตั้งแต่ซีเรียม (ธาตุที่ 58) ถึงอิตเตอร์เบียม (ธาตุที่ 70) เนื่องด้วยอิเล็กตรอนเพิ่มขึ้นแค่ในวงเดียว จึงทำให้ขนาดอะตอมของธาตุในแลนทาไนด์มีขนาดที่ไม่แตกต่างกัน และอาจจะเหมือนกับธาตุตัวถัด ๆ ไป ด้วยเหตุนี้ทำให้แฮฟเนียมมีรัศมีอะตอม (และสมบัติทางเคมีอื่น ๆ) เหมือนกับเซอร์โคเนียม และแทนทาลัม มีรัศมีอะตอมใกล้เคียงกับไนโอเบียม ลักษณะแบบนี้รู้จักกันในชื่อการหดตัวของแลนทาไนด์ และผลจากการหดตัวของแลนทาไนด์นี้ ยังเห็นได้ชัดไปจนถึงแพลตทินัม (ธาตุที่ 78) และการหดตัวที่คล้าย ๆ กัน คือการหดตัวของบล็อก-d ซึ่งมีผลกับธาตุที่อยู่ระหว่างบล็อก-d และบล็อก-p มันเห็นได้ไม่ชัดเจนเท่าการหดตัวของแลนทาไนด์ แต่เกิดจากสาเหตุเดียวกัน\nพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1 เป็นพลังงานที่ใช้ดึงอิเล็กตรอนตัวแรกออกจากอะตอม พลังงานไอออไนเซชันลำดับที่สอง เป็นพลังงานที่ใช้ดึงอิเล็กตรอนตัวที่สองออกจากอะตอม ซึ่งจะเป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ เช่น แมงกานีส มีพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1 คือ 738 กิโลจูล/โมล และลำดับที่สอง คือ 1450 กิโลจูล/โมล อิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้อะตอมจำเป็นที่จะต้องใช้พลังงานมากในการดึงมันออกจาก อะตอม พลังงานไอออไนเซชันจะมีการเพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวาของตารางธาตุ\nพลังงานไอออไนเซชันจะมีมากที่สุดเมื่อต้องการดึงอิเล็กตรอนออกจากธาตุใน หมู่แก๊สมีตระกูล (ซึ่งมีอิเล็กตรอนครบตามจำนวนที่มีได้สูงสุด) ยกตัวอย่างแมกนีเซียมอีกครั้ง แมกนีเซียมจำเป็นที่จะต้องใช้พลังงานไอออไนเซชันสองลำดับแรก เพื่อดึงอิเล็กตรอนออกให้มันมีโครงสร้างคล้ายแก๊สมีตระกูล และ 2p มันจำเป็นที่จะต้องใช้พลังงานไอออไนเซชันลำดับที่สามสูงกว่า 7730 กิโลจูล/โมล ในการดึงอิเล็กตรอนตัวที่สามออกจากวงย่อย 2p ของการจัดเรียงอิเล็กตรอนที่คล้ายนีออนของ Mg ความแตกต่างนี้ยังมีในอะตอมของแถวที่สามตัวอื่น ๆ อีกด้วย\nอิเล็กโทรเนกาติวิตีเป็นแรงดึงดูดของอะตอมที่ใช้ดึงอิเล็กตรอนเข้ามา อิเล็กโทรเนกาติวิตีของอะตอมอะตอมหนึ่ง เป็นผลมาจากเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้น และระยะห่างจากนิวเคลียสถึงวาเลนซ์อิเล็กตรอน ยิ่งมีอิเล็กโทรเนกาติวิตีมากเท่าไร ความสามารถที่จะดึงดูดอิเล็กตรอนก็มากขึ้นเท่านั้น แนวคิดถูกเสนอครั้งแรกโดยไลนัส พอลลิง ใน พ.ศ. 2475 โดยทั่วไป อิเล็กโทรเนกาติวิตีจะเพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวาตามคาบ และลดลงจากบนลงล่างตามหมู่ เพราะเหตุนี้ ฟลูออรีนจึงเป็นธาตุที่มีอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงที่สุด และซีเซียมมีอิเล็กโทรเนกาติวิตีน้อยที่สุด อย่างน้อยธาตุเหล่านั้นก็ยังมีข้อมูลที่สามารถใช้ยืนยันได้\nแต่ถึงกระนั้นธาตุบางตัวยังไม่เป็นไปตามกฎนี้ แกลเลียมและเจอร์เมเนียมมีอิเล็กโทรเนกาติวิตีมากกว่าอะลูมิเนียมและซิลิกอน เนื่องด้วยผลกระทบจากการหดตัวของบล็อก-d ธาตุในคาบที่ 4 ในส่วนของโลหะแทรนซิชัน มีรัศมีอะตอมที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เพราะว่าอิเล็กตรอนในวงย่อย 3d ไม่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนิวเคลียร์ของธาตุ และขนาดอะตอมที่เล็กลงยังทำให้มีอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงขึ้นอีกด้วย\nสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนเป็นพลังงานที่คายออกมาหรือดูดกลืน เมื่อเพิ่มอิเล็กตรอนให้แก่อะตอมไปเป็นไอออนประจุลบ ธาตุส่วนใหญ่คายพลังงานความร้อนเมื่อรับอิเล็กตรอน โดยทั่วไป อโลหะจะมีสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนมากกว่าโลหะ คลอรีน มีแนวโน้มในการเกิดไอออนประจุลบสูงที่สุด สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนของแก๊สมีตระกูลยังไม่สามารถหาค่าได้ ดังนั้น พวกมันอาจจะไม่มีประจุลบ\nสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนทั่วไปจะเพิ่มขึ้นตามคาบ ซึ่งเป็นผลมาจากการเติมเต็มวงเวเลนซ์ของอะตอม อะตอมของธาตุหมู่ 17จะคายพลังงานออกมามากกว่าอะตอมของธาตุในหมู่ 1 ในการดึงดูดอิเล็กตรอน เนื่องด้วยความง่ายในการเติมเต็มวงวาเลนซ์และความเสถียรในหมู่ของธาตุ สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนคาดว่าจะลดลงจากบนลงล่าง เนื่องด้วยอิเล็กตรอนตัวใหม่จะต้องเข้าไปในออร์บิทัลที่อยู่ห่างจาก นิวเคลียสมากขึ้น ด้วยความที่อิเล็กตรอนเชื่อมของนิวเคลียสน้อยอยู่แล้ว จึงทำให้มันปล่อยพลังงานไม่มาก ถึงกระนั้น ในหมู่ของธาตุ ธาตุสามตัวแรกจะผิดปกติ ธาตุที่หนักกว่าจะมีสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนมากกว่าธาตุที่เบากว่า และในวงย่อย d และ f สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนจะไม่ได้ลดลงตามหมู่ไปเสียทั้งหมด ดังนั้นการที่สัมพรรคภาพลดลงตามหมู่จากบนลงล่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ในอะตอมของธาตุหมู่ 1 เท่านั้น", "title": "แนวโน้มพิริออดิก" } ]
1614
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒก่อตั้งเมื่อใด?
[ { "docid": "12009#12", "text": "วันที่ 28 เมษายน 2492 เป็นวันที่กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ที่ถนนประสานมิตร อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร วันที่ 28 เมษายน จึงเป็นวันมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และชาวศรีนครินทรวิโรฒ ควรจะรำลึกถึงปูชนียบุคคลที่สำคัญ 2 ท่าน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อตั้งสถานศึกษาแห่งนี้ คือ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ผู้ดำเนินการซื้อที่ดิน วางผัง บุกเบิกงาน และอีกท่านหนึ่ง ที่ได้ดำเนินการบริหารการศึกษา ได้ดำเนินการบริหารการศึกษาแห่งนี้คู่กันตลอดมาก็คือ หลวงสวัสดิสารศาสตรพุทธิ (สวัสดิ์ สุมิตร) ผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง", "title": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "12009#1", "text": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แรกเริ่มได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นการผลักดันของ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ปลัดกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น โดยจัดตั้งเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2492 เพื่อผลิตวิชาชีพครู ซึ่งกำลังประสบปัญหาขาดแคลนเป็นจำนวนมากในขณะนั้น นับว่าเป็นการเริ่มต้นการศึกษาในระดับวุฒิประกาศนียบัตรครูประถมศึกษา และประกาศนียบัตรครูมัธยมศึกษา มีผู้อำนวยการโรงเรียนคนแรกคือ หลวงสวัสดิสารศาสตรพุทธิ (สวัสดิ์ สุมิตร)", "title": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "12009#0", "text": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (; อักษรย่อ: มศว – SWU) ถือกำเนิดจาก \"โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง\" ซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2492 และต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนเป็น \"วิทยาลัยวิชาการศึกษา\" เมื่อ พ.ศ. 2497 และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น \"มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ\" เมื่อ พ.ศ. 2517", "title": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "12009#14", "text": "วันที่ 29 มิถุนายน 2517 เป็นวันยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษา เป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตามราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2517 มหาวิทยาลัยจึงถือเอาวันที่ 29 มิถุนายน เป็นวันยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษา เป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษา เป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คือ ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร และเพื่อเป็นเกียรติแก่ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร จึงเรียกวันที่ 29 มิถุนายน เป็นวันสุดใจ เหล่าสุนทร", "title": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" } ]
[ { "docid": "6858#14", "text": "เป็นหน่วยงานบริการทางวิชาการมีฐานะเทียบเท่าคณะ มีประวัติการก่อตั้งสำนักคอมพิวเตอร์ ก่อตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 เริ่มต้นจากการเป็น “ศูนย์บริการการศึกษาและประมวลผลไมโครคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา” ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒสงขลา โดยคณะกรรมการบริหารวิทยาเขต ได้อนุมัติให้ใช้เงินสำรองของมหาวิทยาลัย จัดตั้งขึ้น เป็นโครงการเงินทุนหมุนเวียน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์คอมพิวเตอร์มศว สงขลา” และ “ศูนย์คอมพิวเตอร์ มศว ภาคใต้” ตามลำดับการดำเนินงานใช้รูปแบบคณะกรรมการดำเนินการประจำศูนย์คอมพิวเตอร์และดำเนินงานด้วยค่าใช้จ่ายจาก เงินงบประมาณรายได้ของมหาวิทยาลัย", "title": "มหาวิทยาลัยทักษิณ" }, { "docid": "44630#1", "text": "การจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 ในสมัยที่มหาวิทยาลัยนเรศวรยังคงเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก โดยภายหลังจากกระทรวงมหาดไทยอนุญาตให้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลกใช้ประโยชน์ในที่ดินทุ่งหนองอ้อ-ปากคลองจิก ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน เพื่อขยายโครงการของมหาวิทยาลัยแล้ว ทางวิทยาเขตได้จัดทำ \"\"แผนพัฒนาวิทยาเขตพิษณุโลก\"\" ขึ้น โดยมีโครงการจัดตั้งคณะขึ้นมาใหม่ 3 คณะ คือ คณะเกษตรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งคณะแพทยศาสตร์และพยาบาลศาสตร์ด้วย", "title": "คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร" }, { "docid": "244506#4", "text": "จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2522 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีนโยบายรวมวิทยาเขตในกรุงเทพมหานครซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 4 แห่งให้เป็นวิทยาเขตเดียวกัน (ประสานมิตร , บางเขน , ปทุมวัน , พลศึกษา) ทั้งนี้เพื่อขจัดความซ้ำซ้อนในการเปิดคณะวิชาต่างๆ เพื่อลดงบประมาณรายจ่ายและเพื่อผนึกกำลังทางวิชาการให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดย ศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ ศศิธร อธิการบดีในขณะนั้น ได้นำเรียนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการรวมวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2523 ให้รวมวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในกรุงเทพมหานคร โดยมีจุดศูนย์กลางที่วิทยาเขตประสานมิตร ดังนั้นในปี พ.ศ. 2532 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พลศึกษา ได้ยุบรวมกับวิทยาเขตกลาง และจัดตั้งเป็นคณะพลศึกษา ที่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 จึงให้ถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันก่อตั้งคณะพลศึกษา โดยจัดการเรียนการสอนสาขาพลศึกษา , สุขศึกษา และ นันทนาการ พ.ศ. 2540 ได้รับโครงการจัดตั้งภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นส่วนหนึ่งของคณะพลศึกษา และปรับเปลี่ยนเป็นภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะพลศึกษา และในปี พ.ศ. 2559 ได้รับโครงการจัดตั้งภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของคณะพลศึกษา จากสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ภาควิชาสุขศึกษา และปรับเปลี่ยนเป็นภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์", "title": "คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "39320#2", "text": "ปี พ.ศ. 2496 โรงเรียนสาธิต มศว ปทุมวัน ได้ก่อตั้งขึ้นตามดำริของ ฯพณฯ ศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้น พลเอกมังกร พรหมโยธี และ ศาสตราจารย์ คุณหญิงอุบล หุวะนันทน์ โดยเริ่มวางโครงการดำเนินการจัดการเรียนการสอน กำหนดตั้งเป็นหน่วยสาธิตในแผนกฝึกหัดครูมัธยมของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษากับวิทยาลัยวิชาการศึกษา พร้อมบริจาคที่ดินจำนวน 19 ไร่ข้างหลังโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาบริเวณถนนสนามม้า (ถนนอังรีดูนังต์ในปัจจุบัน)ให้วิทยาลัยวิชาการศึกษา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ)\nเพื่อเป็นที่ฝึกงานของนิสิตกับครูที่ต้องบรรจุฝึกงานก่อนไปสอนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พร้อม สังกัดกองเตรียมอุดมศึกษา กรมวิสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ , วิทยาลัยวิชาการศึกษา กับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนับเป็นโรงเรียนแห่งแรกที่เรียกชื่อว่า โรงเรียนสาธิต \nมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตปทุมวันในเวลาต่อมา", "title": "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน" }, { "docid": "360120#1", "text": "คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ก่อตั้งขึ้นเพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิศวกรรมศาสตร์ อันเนื่องมาจากปัญหาการขาดแคลนวิศวกรของประเทศไทย ทำให้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ดำเนินโครงการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้น โดยมีเป้าหมายผลิตบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2535 จนถึงปี พ.ศ. 2544 ใช้งบประมาณดำเนินการ 2,300 ล้านบาท และมหาวิทยาลัยได้เปิดรับนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์รุ่นแรกในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 ใน 3 สาขาวิชา คือ วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า สาขาละ 50 คน รวม 150 คน", "title": "คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "244506#0", "text": "คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นส่วนงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แรกเริ่มจัดตั้งเป็น โรงเรียนพลศึกษากลาง สังกัดกระทรวงธรรมการ ในปี พ.ศ. 2462 ซึ่งคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒนั้น มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานกว่า มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในอดีตมีที่ทำการอยู่ที่ กรีฑาสถานแห่งชาติ (สนามศุภชลาศัย) และเคยมีฐานะเป็น วิทยาเขต หนึ่งของ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ\nจุดเริ่มต้นของการพลศึกษาในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2446 กระทรวงธรรมการ ได้จัดตั้งสถานฝึกหัดครูพลศึกษาขึ้นที่ โรงเรียนมัธยมวัดราชบูรณะ (โรงเรียนวัดราชบูรณะในปัจจุบัน) ใช้ชื่อว่า ห้องพลศึกษากลาง สังกัด กรมศึกษาธิการ และในปี พ.ศ. 2462 ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรและเปลี่ยนชื่อจาก ห้องพลศึกษากลาง เป็น โรงเรียนพลศึกษากลาง", "title": "คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "632551#5", "text": "เมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษา ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น \"มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ\" เมื่อ พ.ศ. 2517 โดยได้รับพระราชทานนามจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร เป็นอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คนแรก ภายหลังจากการยกฐานะ วิทยาลัยวิชาการศึกษาทั้ง 8 วิทยาเขต ได้รับการยกฐานะให้เป็นมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยแม่ และบริหารในระบบวิทยาเขตมาทั้งหมด 16 ปี หลังจากนั้น วิทยาเขต 5 แห่งได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ และอีก 4 แห่งได้ยุบรวมกันเป็น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร", "title": "ประวัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "12009#9", "text": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีความหมายว่า \"มหาวิทยาลัยที่เจริญเป็นศรีสง่าแก่มหานคร\"\n\"วิโรฒ\"มาจากคำว่า \"วิโรฒ\" ในภาษาสันสกฤต แปลว่า ความงอกงามหรือเจริญ\nมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ \"(อ่านว่า สี-นะ-คะ-ริน-วิ-โรด)\" มีชื่อย่อว่า \"มศว\" (ไม่มีจุด) เขียนอักษรโรมันว่า \"Srinakharinwirot University\" มีชื่อย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า SWU \"(อ่านว่า สะ-วู)\"สีเทา-แดง จึงหมายถึง มีความกล้าหาญที่จะคิด และมีความคิดอย่างกล้าหาญ", "title": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" }, { "docid": "12009#7", "text": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีรากฐานมาจาก \"โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง\" และพัฒนาเป็น \"วิทยาลัยวิชาการศึกษา\" (Collage of Education อักษรย่อ วศ.) มีพัฒนาการและประวัติความเป็นมาดังนี้", "title": "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" } ]
2300
นิสสัน มาร์ช รุ่นแรกเปิดตัวเมื่อไหร่?
[ { "docid": "308468#5", "text": "ในที่สุด นิสสัน มาร์ช รุ่นแรก ก็ได้เปิดตัวขึ้นในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2525 เป็นครั้งแรก", "title": "นิสสัน มาร์ช" } ]
[ { "docid": "42222#18", "text": "ผลิตภัณฑ์ของนิสสันได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในประเทศไทย โดยเฉพาะรถปิคอัพ โดยรถกระบะรุ่นที่เป็นตำนานอันได้แก่รุ่นบิ๊ก เอ็ม ซึ่งยังเป็นที่กล่าวขานจนถึงทุกวันนี้ถึงความทนทาน ส่วนปัจจุบันนี้มีรถกระบะนิสสัน นาวารา 3 รุ่นย่อย คือ LE, SE และ XE รวมถึงรถยนต์นั่ง นิสสัน ทีด้า ซึ่งเป็นรถยนต์ที่จำหน่ายแทนที่นิสสัน ซันนี่ ที่จำหน่ายมาแล้วนับทศวรรษและ นิสสัน มาร์ช ซึ่งนำมาจำหน่ายและยกเลิกการจำหน่ายในปี พ.ศ. 2530(รุ่นที่ 1) และได้นำมาจำหน่ายอีกครั้งในประเทศไทยในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 ในรุ่นที่ 4", "title": "นิสสัน" }, { "docid": "42222#22", "text": "ปี 2012 นิสสันเรียกคืนรถยนต์แฮทช์แบ็ครุ่น \"มาร์ช\" หรือ \"ไมครา\" จำนวน 498,793 คันที่จำหน่ายในญี่ปุ่น เพื่อแก้ไขปัญหาไฟท้าย ซึ่งบางครั้งไม่ติด เป็นข้อบกพร่องผลิตในโรงงานออปปามะใกล้กรุงโตเกียว ที่ผลิตระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2545-2552 เช่นเดียวกับโรงงานในเมืองซันเดอร์แลนด์ อังกฤษ ระหว่างเดือนมิถุนายน-ธันวาคม 2550 [15]", "title": "นิสสัน" }, { "docid": "277220#19", "text": "รุ่นนี้ เป็นรุ่นสุดท้ายของเซดริค ที่มีการผลิตตัวตังแบบวากอนและรถตู้ หลังจากเริ่มผลิตมาตั้งแต่รุ่นแรก เพราะหลังจากหมดยุคของรุ่นนี้ นิสสันได้ตัดสินใจแยกสายการผลิตอีกครั้ง แต่ไม่ใช่การตั้งเป็นรถตระกูลใหม่ แต่ย้ายรถเซดริคที่ตัวถังวากอนและรถตู้ออกไปเป็นเครือข่ายของรถ นิสสัน บลูเบิร์ด แทนที่จะเป็นเครือข่ายของเซดริค", "title": "นิสสัน เซดริค" }, { "docid": "878770#1", "text": "ปกติแล้ว โตโยต้า ยาริส ทำตลาดอยู่ในกลุ่มรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก ประเภททั่วไป (เช่น ฮอนด้า แจ๊ซ, เชฟโรเลต โซนิค, มาสด้า 2) แต่นับตั้งแต่ พ.ศ. 2553 เป็นต้นมาได้เกิดตลาดใหม่ในประเทศไทย คือ ตลาดรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก ประเภทอีโคคาร์ ซึ่งจะเป็นรถยนต์ระดับต่ำกว่า ใช้เครื่องเล็ก ประหยัดน้ำมันกว่า ต้นทุนการผลิตต่ำกว่า และได้มาตรการสนับสนุนด้านการลดภาษีจากรัฐบาล ทำให้มีราคาถูกกว่ารถประเภททั่วไป โตโยต้าจึงต้องการจะทำตลาดกลุ่มอีโคคาร์บ้าง แต่ไม่ต้องการให้มีรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก 5 ประตูขายพร้อมกันสองประเภท จึงตัดสินใจ ยุติการผลิตยาริสเดิมลง พัฒนาอีโคคาร์รุ่นใหม่ขึ้นมาให้ได้ตามเงื่อนไขอีโคคาร์ของรัฐบาล ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับยาริสเดิมแม้แต่น้อย แต่ยืมชื่อยาริสมาใช้ในการทำตลาดเพียงเท่านั้น ดังนั้น รุ่นนี้จึงไม่สามารถนับเป็นยาริสรุ่นที่ 4 ได้ และไม่สามารถเปรียบเทียบราคาได้กับ ฮอนด้า แจ๊ซ, มาสด้า 2, เชฟโรเลต โซนิคได้เหมือนรุ่นเดิม แต่ต้องเปรียบเทียบกับรถยนต์ที่อยู่ในโครงการอีโคคาร์เช่นเดียวกัน เช่น ฮอนด้า บริโอ้, นิสสัน มาร์ช, ซูซูกิ สวิฟต์, มิตซูบิชิ มิราจ จึงจะถูกต้อง", "title": "โตโยต้า ยาริส (รหัส XP150)" }, { "docid": "42222#19", "text": "รถยนต์นั่งขนาดกลาง ขนาด 2.5 ลิตร และ 2.0 ลิตร นิสสัน เทียน่า (Nissan Teana) รถยนต์นั่งขนาดเล็ก 4 ประตู (Sedan) ขนาด 1.6 ลิตร และ 1.8 ลิตร นิสสัน ซิลฟี่ (Nissan Sylphy) รถยนต์นั่งขนาดเล็ก 5 ประตู (Hatchback) ขนาด 1.6 ลิตร และ 1.8 ลิตร นิสสัน พัลซาร์ (Nissan Pulsar) รถยนต์นั่งขนาดเล็ก 5 ประตู (Hatchback) ขนาด 1.6 ลิตร นิสสัน จู๊ค (Nissan Juke) รถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก 4 ประตู (Sedan) ขนาด 1.2 ลิตร นิสสัน อัลเมร่า (Nissan Almera) รถยนต์นั่งขนาดเล็ก 5 ประตู (Hatchback) ขนาด 1.2 ลิตร นิสสัน โน๊ต (Nissan Note) รถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก 5 ประตู (Hatchback) ขนาด 1.2 ลิตร นิสสัน มาร์ช (Nissan March) รถยนต์เอนกประสงค์ SUV ขนาด 2.0 ลิตร นิสสัน เอ็กซ์เทรล [ (Nissan X-", "title": "นิสสัน" }, { "docid": "838455#4", "text": "สำหรับในประเทศไทย นิสสัน โน้ต ได้เข้าร่วมโครงการ อีโคคาร์ (เฟส 1) โดยใช้เครื่องยนต์ HR12DE ขนาด 1.2 ลิตร 79 แรงม้า เช่นเดียวกับนิสสัน อัลเมร่า และนิสสัน มาร์ช โดยนิสสัน โน้ต จะเจาะตลาดบนสำหรับกลุ่มผู้ขับขี่รถยนต์ระหว่างเมือง แต่นิสสัน มาร์ช จะเจาะตลาดสำหรับกลุ่มผู้ขับขี่รถยนต์ในเมือง", "title": "นิสสัน โน้ต" }, { "docid": "545351#3", "text": "ในปี 1968 ภายใต้การบริหารงานของนายไอซาคุ ซาโต้ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น รัฐบาลญี่ปุ่นมีนโยบายที่จะให้อุตสาหรกรรมยานยนต์ของญี่ปุ่นนั้นร่วมมือกัน เพื่อขยายขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างชาติ. นิสสัน จึงได้เข้าซื้อหุ้น 20.4% ของFHI โดยนิสสันหวังที่จะใช้ความเชี่ยวชาญในการผลิตรถบัสของซูบารุในการผลิตรถบัสของตัวเองในแบรนด์ นิสสันดีเซล. นอกจากนั้นเกียร์อัตโนมัติของซูบารุรุ่น 4EAT ก็ได้ถูกนำไปติดตั้งในรถยนต์ นิสสัน แพทไฟเดอร์ รุ่นแรกด้วยเช่นกัน. ซูบารุได้เปิดตัวรถยนต์หลายรุ่นที่เป็นผลผลิตระหว่างความร่วมมือของซูบารุและนิสสัน ได้แก่อาร์ทู(R-2) ในปี 1969, เรกซ์ และ เลโอเน่ ในปี 1971, แบรท ในปี 1978, อัลซีโอเน่ ในปี 1985, เลกาซี่ ในปี 1989, อิมเพรซซ่า ในปี 1993 (รวมถึงเวอร์ชัน WRX ด้วย), และท้ายสุด ฟอเรสเตอร์ ในปี 1997.", "title": "ซูบารุ" }, { "docid": "308468#18", "text": "นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 5 เปิดตัวในประเทศอินโดนีเซียและประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2561 สำหรับตลาดรถญี่ปุ่น จะมีการนำเข้าจากประเทศไทย และไม่มีจำหน่ายในประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "308468#1", "text": "ในช่วง พ.ศ. 2516 ลากยาวไปจนถึงช่วง พ.ศ. 2523 ได้เกิดวิกฤติน้ำมันแพงขึ้นรอบหนึ่ง (ไม่ใช่รอบที่แพงอยู่ในปัจจุบันนี้) ผู้ที่ต้องการซื้อรถหลายคนจึงหันไปให้ความสนใจกับรถขนาดเล็ก ประหยัดน้ำมัน ซึ่งในขณะนั้น นิสสันได้ผลิตรถยนต์ Hatchback ขนาดเล็กมากและประหยัดน้ำมันอยู่แล้วรุ่นหนึ่ง ชื่อว่า นิสสัน เชอร์รี (Nissan Cherry) แต่ทว่า นิสสัน เชอร์รี กลับทำยอดขายได้ไม่ดีนักด้วยเหตุผลหลายประการ ทางนิสสันจึงเห็นว่า น่าจะทำรถ Hatchback ขนาดเล็กมากขึ้นมาใหม่รุ่นหนึ่งที่ต้องมีรูปทรงทันสมัย ดึงดูดใจคนรุ่นใหม่(ในช่วงนั้น) บำรุงรักษาง่าย ขับขี่ง่าย ราคาไม่แพง และประหยัดน้ำมัน", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "308468#17", "text": "ซึ่งการเปิดตัวครั้งนี้น่าจะทำให้นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 5 กลับมามีชีวิตชีวาได้อีกครั้งหลังจากที่ชาวยุโรปมองว่านิสสัน มาร์ช รุ่นก่อนนั้นค่อนข้างจืดชืดเมื่อเทียบกันรุ่นก่อน (K12) ที่มีการออกแบบที่ดีกว่า รวมไปถึงคุณภาพที่ต่ำกว่าความคาดหวัง ทั้งหมดนี้จึงทำให้นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 5 จำเป็นต้องดูดีขึ้นขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงจึงเริ่มขึ้นด้วยรถต้นแบบ Nissan Sway Concept", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "308468#0", "text": "นิสสัน มาร์ช (Nissan March) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ นิสสัน ไมครา (Nissan Micra) เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก (Subcompact Car) รุ่นหนึ่งที่ผลิตโดยบริษัทรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นชื่อ นิสสัน มีรูปทรงแบบ Hatchback (ท้ายกุด ไม่มีกระโปรงหลัง) ซึ่งในปัจจุบัน คนไทยหลายๆ คน เริ่มรู้จัก นิสสัน มาร์ช ในฐานะของรถอีโคคาร์ (Ecocar) ที่ประหยัดน้ำมันมาก (ประมาณ 20-25 กิโลเมตรต่อลิตร)", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "308468#6", "text": "นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 1 ใช้รหัสตัวถังว่า K10 ในการเปิดตัวได้มีการนำ Masahiko Kondou นักแข่งรถ Formula Nippon และเป็น Idol ยอดนิยมของวัยรุ่นญี่ปุ่นในช่วงนั้นมาเป็นพรีเซนเตอร์ ส่วนเครื่องยนต์ที่ใช้ เครื่องยนต์ตัวแรกและดั้งเดิมของมาร์ช K10 คือเครื่องยนต์คาร์บูเรเตอร์ MA10S 4สูบ SOHC 8 วาล์ว 987 ซีซี ในการขับขี่บนท้องถนนจริง พบว่า นิสสัน มาร์ช รุ่นแรก มีอัตราการใช้น้ำมันประหยัดมาก คือ 21 กิโลเมตร/ลิตร และจากการทดสอบพบว่า หากขับขี่ด้วยความเร็วคงที่ 60 กิโลเมตร/ชั่วโมงแล้ว จะสามารถประหยัดน้ำมันได้ถึง 32.5 กิโลเมตรต่อลิตร ซึ่งในภาพรวมนิสสัน มาร์ช รุ่นแรก ประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม อีกทั้งมีการคิดค้นรุ่นพิเศษลิมิเต็ดเอดิชันออกมาอีกหลายรุ่น จึงได้รับการตอบรับอย่างดี และเป็นรถเล็กรุ่นแรก ที่ติดตั้ง TurboChager และหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ ในปี 2528 และ Nissan March Super Turbo(รวมเทคโนโลยี่ Supercharger และ TurboCharger ไว้ในเครี่อง MA10ET ตัวเดียว )ในปี 2532 และสามารถทำยอดขายได้ครบ 1 ล้านคันในเวลาเพียง 6 ปีหลังจากเริ่มผลิต และมียอดขาย K10 รวมทั้งสิ้นประมาณ 1.6 ล้านคัน", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "277220#12", "text": "รุ่นนี้ เป็นรุ่นสุดท้ายที่เซดริคมีการผลิตตัวถังแบบคูเป้ 2 ประตู โดยหลังจากหมดยุคของรุ่นนี้ นิสสันได้แยกสายการผลิตเซดริคแบบคูเป้ 2 ประตูออกไปเป็นรถรุ่นใหม่ของนิสสัน ตั้งชื่อว่า นิสสัน ลีโอพาร์ด (Nissan Leopard)", "title": "นิสสัน เซดริค" }, { "docid": "308468#12", "text": "นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 4 ใช้รหัสการพัฒนาว่า W02A[1] ภายหลังได้ใช้รหัสตัวถังเป็น K13[2][3] เปิดตัวครั้งแรกใน พ.ศ. 2552 และเริ่มผลิตในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 รวมถึงประเทศไทยด้วย หลังจากผลิตนิสสัน มาร์ชรุ่นที่ 1 ในประเทศไทยแล้วล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงเมื่อกว่า 20 ปีก่อน นิสสันก็ตัดสินใจผลิตนิสสัน มาร์ชในประเทศไทยอีกครั้ง โดยใช้ชื่อในการโฆษณาว่า \"นิสสัน อีโคคาร์\" (Nissan Ecocar) ซึ่งจะใช้เครื่องยนต์ 1200 ซีซี 3 สูบ ซึ่งสามารถประหยัดน้ำมันได้ไม่แพ้รุ่นก่อนๆ โดยนิสสัน มาร์ช รุ่นใหม่นี้ ผ่านเกณฑ์มาตรฐานข้อกำหนดรถประหยัดพลังงานสากล (อีโคคาร์) ซึ่งมีข้อกำหนดดังนี้", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "308468#9", "text": "อย่างไรก็ตาม นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 2 ยังมีความปลอดภัยไม่มากเท่าที่ควร จากการทดสอบขององค์การทดสอบความปลอดภัยของยานยนต์ Euro NCAP ได้ประเมินว่า นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 2 มีความปลอดภัยเพียงระดับ 2 ดาว จาก 5 ดาว", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "308468#15", "text": "นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 5 ใช้รหัสว่า K14 ได้เปิดตัวครั้งแรกในโลกที่ปารีส มอเตอร์โชว์ ปี พ.ศ. 2559 โดยมีการออกแบบภายนอกใหม่ทั้งหมด และใช้แพลทฟอร์ม CMF-B ส่วนสีภายนอกมีให้เลือกมากถึง 10 สี โดยการวางจำหน่ายเริ่มที่ยุโรปในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "186796#1", "text": "โตโยต้า ยาริส ผลิตมาเพื่อทดแทนรถรุ่น โตโยต้า สตาร์เล็ต (Toyota Starlet) ซึ่งได้เลิกผลิตไป เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยก่อนหน้านี้ ในประเทศไทย สตาร์เล็ตเป็นรถรุ่นแรกๆ ที่มีขนาดเล็ก และมีโครงตัวถังแบบ hatchback (ท้ายกุด ไม่มีกระโปรงหลัง) ที่เข้ามาขายในประเทศไทย และมีคู่แข่งในสมัยนั้นคือ นิสสัน มาร์ช (English: Nissan March) ซึ่งก็มีกระแสตอบรับมาบ้างในเรื่องของความประหยัดน้ำมัน และความกะทัดรัดขับง่าย แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จนัก เนื่องจากคนไทยในช่วงนั้น ไม่ไว้วางใจในความปลอดภัยของรถรุ่นสตาร์เล็ต เพราะเกรงว่าผู้โดยสารที่นั่งหลังจะได้รับอันตรายได้ง่ายหากถูกชนท้าย จนเลิกผลิตไปในที่สุด", "title": "โตโยต้า ยาริส" }, { "docid": "529081#0", "text": "นิสสัน เอ็กซ์เทรล () เป็นรถยนต์เอนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดเล็ก (Compact SUV) แบบ Crossover SUV ผลิตโดยนิสสัน โดยเริ่มผลิตและเปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2544 ในช่วงที่รถยนต์ประเภท SUV กำลังโด่งดัง ถือได้ว่าเป็นรถอีกรุ่นหนึ่งของนิสสันที่มาถูกที่ ถูกเวลาและช่วยฟื้นฟูรายได้ให้กับนิสสันช่วงที่กำลังฟื้นฟูกิจการในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก จนถึงทุกวันนี้ เอ็กซ์เทรลได้กลายเป็นรถยนต์รุ่นหลักสำหรับตลาดโลกของ Nissan ไปแล้ว มีการส่งเข้าไปทำตลาดใน 167 ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย มียอดขายมาแล้วมากกว่า 800,000 คัน และครองตำแหน่งรถ SUV ที่ขายดีของญี่ปุ่นมาแล้ว 8 ปีซ้อนตั้งแต่รุ่นแรกด้วย", "title": "นิสสัน เอ็กซ์เทรล" }, { "docid": "308468#11", "text": "เครื่องยนต์เปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์แบบ CR โดยใช้เครื่องยนต์ CR10DE เป็นรุ่นมาตรฐาน เกียร์ธรรมดาถูกยกเลิกไปในเกือบทุกรุ่น ยกเว้นรุ่นที่ใช้เครื่องยนต์ประเภท CR12DE จะยังผลิตเกียร์ธรรมดาให้เลือกเป็นพิเศษ มีสีตัวถังให้เลือกถึง 12 สี", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "308468#14", "text": "รถที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอีโคคาร์ ในประเทศไทย จะได้รับผลประโยชน์ในการลดภาษีสรรพสามิตเหลือร้อยละ 17 (รถเก๋งที่ไม่ผ่านเกณฑ์อีโคคาร์ ต้องจ่ายภาษีร้อยละ 30-50) และในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556 นิสสัน มาร์ช ก็ได้มีการไมเนอร์เชนจ์ขึ้น โดยปรับโฉมให้ดูสปอร์ตขึ้น โดนเปลี่ยนรูปแบบกระจังหน้าใหม่ ไฟหน้าใหม่ ไฟท้ายแบบ LED", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "308468#19", "text": "มาร์ช หมวดหมู่:ยานพาหนะที่ได้รับการแนะนำในปี พ.ศ. 2525", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "308468#8", "text": "นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 2 ใช้รหัสตัวถังว่า K11 ในการออกแบบได้ใช้โปรแกรม CAD มาช่วยในการสร้าง และออกแบบให้มีรูปทรงโค้งมน กลมกลึง ดูเป็นมิตรกว่ารุ่นเดิมมาก นอกจากนี้ยังได้เปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์แบบ CG10DE 4สูบ DOHC 16 วาล์ว 987 ซีซี เป็นเครื่องรุ่นมาตรฐาน มีระบบเกียร์ธรรมดา 5 สปีด กับเกียร์อัตโนมัติ CVT และได้สร้างสถิติอย่างน่าชื่นชม โดยได้รับรางวัลรถยนต์ยอดเยี่ยมแห่งปีของญี่ปุ่น (Car of the Year Japan) ประจำปี 1992 และเป็นรถรุ่นแรกของญี่ปุ่นที่คว้ารางวัลรถยนต์ยอดเยี่ยมแห่งปีของยุโรป (European Car of the Year) ประจำปี 1993 ซึ่งในรายการทีวีซีรีส์ญี่ปุ่นเรื่อง แชมป์เฉือนแชมป์ ตอน World Records ที่ออกอากาศในประเทศไทยในช่วง พ.ศ. 2552 ในการแข่งขันดริฟท์จอดรถ ก็ใช้รถ นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 2 ในการแข่งขัน", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "308468#16", "text": "นิสสัน มาร์ช ใช้เครื่องยนต์ดีเซล 1.5 ลิตร 97 แรงม้า, เครื่องยนต์เบนซินเทอร์โบ 0.9 ลิตร 90 แรงม้า และเครื่องยนต์เบนซิน 1.0 ลิตร 70 แรงม้า", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "263196#20", "text": "ถึงแม้ว่า นิสสัน ทีด้า จะเข้ามาขายแทนซันนี่แล้ว แต่ในประเทศจีน มีการเปิดตัวนิสสัน อัลเมร่า หรือซันนี่รุ่นที่ 12 แล้วในปี 2554\nแล้ว ซึ่งจะขายเป็นรุ่นที่เล็กกว่าทีด้าเล็กน้อย ซึ่งทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกจะมีการเปิดตัวในเร็วๆ นี้ เฉพาะประเทศไทยเท่านั้นที่\nจะเปลี่ยนชื่อรุ่นเป็น \"อัลเมร่า\" (Almera) และในประเทศไทยจะมีการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็นขนาด 1200 ซีซีเพื่อให้เข้าข่ายอีโคคาร์ในประเทศ\nไทย ต่างจากที่ประเทศจีนและอินเดียที่ใช้เครื่องยนต์ 1500 ซีซี ถึงแม้ในบางประเทศจะใช้ชื่อนิสสัน ซันนี่แต่รุ่นนี้ก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตระกูลเลยเป็นเพียงแค่การยืมชื่อมาเฉยๆ เช่นเดียวกับซันนี่ นีโอ ในประเทศไทยจะเปิดตัวในวันที่ 8-9 ตุลาคม 2554 นิสสัน อัลเมร่านี้จะเป็นอีโคคาร์แบบ 4 ประตูคันแรกของไทย โดยสาเหตุที่ใช้ชื่อว่า อัลเมร่า ในประเทศไทยเพื่อไม่ให้ซ้ำกับประเทศจีน ส่วนในประเทศญี่ปุ่น ได้เปิดตัวแล้วโดยใช้ชื่อว่า นิสสัน ลาติโอ ()", "title": "นิสสัน ซันนี่" }, { "docid": "263196#17", "text": "โฉมที่ 9 หรือ B15 ซีรีส์ มีรูปร่างคล้าย B14 ซึ่งเป็นรุ่นต่อจาก B14 ในประเทศไทย ทางนิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) (สยามกลการในยุคนั้น)ไม่ได้นำมาทำตลาด เนื่องจากตัวถังมีขนาดเล็ก ไม่สามารถขายแข่งกับเจ้าตลาดในขณะนั้นได้ แต่ใน พ.ศ. 2547 นิสสันได้ออกผลิตภัณฑ์รถรุ่นใหม่ คือ นิสสัน ทีด้า เข้ามา ซึ่งมีคุณลักษณะคล้ายซันนี่ เข้ามาทดแทนรุ่นซันนี่ โดยในประเทศญี่ปุ่น นิสสันได้หยุดการผลิตรุ่นซันนี่ในปีเดียวกับการเปิดตัวของทีด้า สำหรับซันนี่ในประเทศไทย และประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชีย ได้ยกเลิกการผลิตรุ่น B14 ในพ.ศ. 2543 และได้นำรถรุ่น นิสสัน พัลซาร์ (Nissan Pulsar) มาขายในชื่อ ซันนี่ นีโอ (Sunny Neo) ต่อจาก B15 ส่วน นิสสัน ซันนี่ (ตระกูลจริง) นั้น หลังจากได้หยุดการผลิตโฉมที่ 9 นี้แล้ว โฉมที่ 10 ยังมีการผลิตต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน แต่ไม่มีการใช้ชื่อซันนี่ จะใช้ชื่อเซนทรา เพียงชื่อเดียว ซึ่งไม่มีการนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย", "title": "นิสสัน ซันนี่" }, { "docid": "308468#10", "text": "นิสสัน มาร์ช รุ่นที่ 3 ใช้รหัสตัวถังว่า K12 พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของรูปแบบ B-Platform เปิดตัวใน พ.ศ. 2544 เริ่มการผลิตกันอย่างจริงจังใน พ.ศ. 2545 ตัวถังใหม่มีความโค้งมนมากขึ้น สูงขึ้น และกว้างขึ้น ซึ่งสือมวลชน รวมถึงสถาบันการออกแบบชั้นนำหลายแห่ง ก็ต่างออกมายอมรับว่างานชิ้นนี้มีดีไซน์แตกต่าง ดูเป็นเอกลักษณ์ ด้วยการเน้นการเพิ่มพื้นที่ในห้องโดยสาร การใช้ไฟหน้ารูปทรงแบบดวงตาการ์ตูนบักส์ บันนี รูปทรงรถแบบลู่ลมช่วยลดแรงต้านลมระหว่างการวิ่ง (ค่า Cd.=0.32) เสาหลังคาหลังถูกลดความยาวลงเพื่อลดจุดบอดของสายตาขณะถอยจอด และมาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ คือ Keyless Ignition คือจะมีรีโมทกุญแจไว้ให้เจ้าของรถ เมื่อเจ้าของรถพกรีโมทกุญแจเข้ามาในรถ จะสามารถกดปุ่มสตาร์ทรถได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้กุญแจ (เหมือน โตโยต้า ยาริส ในปัจจุบัน)", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "308468#3", "text": "Pony (118,820 คน)-ซ้ำกับชื่อของรถอีกรุ่นหนึ่งของยี่ห้อ Hyundai (ฮุนได)-ใช้ไม่ได้ Friend (54,152 คน)-เมื่อประกาศผลโหวตออกไป มีกระแสวิพากษ์อย่างกว้างขวางว่าไม่ควรใช้เป็นชื่อรถ -ใช้ไม่ได้ Lovely (42,929 คน)-เมื่อประกาศผลโหวตออกไป มีกระแสวิจารณ์ว่าชื่อ Lovely ควรเป็นชื่อน้ำยาปรับผ้านุ่ม ไม่ใช่ชื่อรุ่นรถ -ใช้ไม่ได้ Shuttle (40,304 คน)-ซ้ำกับชื่อรถรุ่นหนึ่งของฮอนด้าที่มีขายในญี่ปุ่นขณะนั้น -ใช้ไม่ได้ Sneaker (30,328 คน)-ตามพจนานุกรมแล้ว Sneaker อาจมีหลายความหมาย แต่มีความหมายหนึ่งแปลว่า \"รองเท้า\" -ใช้ไม่ได้ Rainbow (22,497 คน)-แปลว่า \"รุ้ง\" ไม่เข้ากับคอนเซปต์ของรถ -ใช้ไม่ได้", "title": "นิสสัน มาร์ช" }, { "docid": "192452#2", "text": "ฮอนด้า ซิตี้ เริ่มเป็นที่รู้จักของคนไทยเมื่อปี พ.ศ. 2539 ซึ่งก็คือโฉมที่ 3 โดยก่อนหน้านั้น มีรถยนต์ในระดับเดียวกับซิตี้คือ โอเปิล คอร์ซา, ฟอร์ด แอสปาย, ฮุนได เอ็กเซล, ฮุนได แอกเซนท์, ฮอนด้า ซีวิค (3 ประตู) ก่อนที่จะมีรถยนต์คู่แข่งอื่นๆ ตามมาในภายหลัง เช่น โตโยต้า โซลูน่า, โตโยต้า วีออส, โตโยต้า ยาริส, มาสด้า 2, ฟอร์ด เฟียสตา, เชฟโรเลต อาวีโอ, เชฟโรเลต โซนิค, เกีย พิแคนโต นอกจากนี้ ยังเป็นคู่แข่งการตลาดกับรถ Eco Car บางรุ่น ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงและหรือเท่า B-Car เช่น นิสสัน มาร์ช, นิสสัน อัลเมร่า, มิตซูบิชิ มิราจ, ซูซูกิ สวิฟท์ เป็นต้น", "title": "ฮอนด้า ซิตี้" }, { "docid": "308468#2", "text": "ใน พ.ศ. 2521 นิสสันจึงได้จัดตั้งทีมงานพัฒนารถรุ่นดังกล่าว โดยตั้งชื่อโครงการนี้ว่า The KX Plan ซึ่งหลังจากทำการพัฒนาได้ 3 ปี ใน พ.ศ. 2524 นิสสันก็เปิดตัวรถต้นแบบรุ่นใหม่ก่อนการจำหน่ายจริง 1 ปี ใช้ชื่อต้นแบบว่า KX-018 แต่ยังขาดชื่อที่เหมาะสมในการจำหน่ายจริง นิสสันจึงได้จัดรายการประกวดตั้งชื่อรถรุ่นใหม่ขึ้น ซึ่งก็มีผลตอบรับดีมาก ภายในระยะเวลาประมาณ 2 เดือนครึ่ง มีผู้ส่งชื่อร่วมประกวดสูงถึง 5.65 ล้านคน แต่ทว่า เมื่อประกาศผลโหวตออกไป ชื่อที่ได้รับการโหวตสูงสุดเป็นอันดับแรกๆ ได้แก่", "title": "นิสสัน มาร์ช" } ]
2468
พลอากาศเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เกิดเมื่อไหร่?
[ { "docid": "22364#3", "text": "พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ (ชื่อเล่น: ตึ๋ง)[1] เกิดวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 ที่จังหวัดนนทบุรี เป็นบุตรของร้อยเอก ชั้น ยงใจยุทธ และนางสุรีย์ศรี (นามเดิม: ละมุน) ยงใจยุทธ มีพี่สาวต่างบิดาชื่อ สุมน สมสาร และน้องชายต่างมารดาชื่อธรรมนูญ ยงใจยุทธ[1] สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากนั้น จึงไปสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เมื่อ พ.ศ. 2496 และ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2507", "title": "ชวลิต ยงใจยุทธ" } ]
[ { "docid": "513378#4", "text": "ศ.ลิขิต ธีรเวคิน เข้าสู่งานการเมืองโดยลาออกจากราชการ เพื่อดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และเข้าร่วมงานกับพรรคความหวังใหม่ ซึ่งมีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นหัวหน้าพรรค และได้ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 10 และได้รับเลือกตั้งเลื่อนขึ้นแทนบุคคลที่ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 พรรคความหวังใหม่ยุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย ศ.ลิขิต จึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรค ", "title": "ลิขิต ธีรเวคิน" }, { "docid": "47992#1", "text": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต เป็นพระโอรสองค์สุดท้องในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ประสูติแต่หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ยงใจยุทธ, เป็นพี่สาวของร้อยเอกชั้น ยงใจยุทธ บิดาของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) ประสูติเมื่อ เดือนกันยายน พ.ศ. 2460 เมื่อประสูติทรงพระนามว่า \"หม่อมเจ้าจิรศักดิ์สุประภาต ภาณุพันธุ์\" มีพระเชษฐาและพระขนิษฐาร่วมมารดาคือ", "title": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต" }, { "docid": "333050#9", "text": "นายสุขวิช รังสิตพล เป็นนักการเมืองระดับแกนนำของพรรคความหวังใหม่ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อของพรรคความหวังใหม่[5] เคยได้รับตำแหน่งสำคัญทางการเมืองได้แก่ รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย และรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[6] และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา และรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ", "title": "สุขวิช รังสิตพล" }, { "docid": "22364#14", "text": "ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553 พลเอกชวลิต และ นาย สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้ออกแถลงการณ์ขอร้องให้[12] พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงหยุดวิกฤตการเมือง", "title": "ชวลิต ยงใจยุทธ" }, { "docid": "193802#95", "text": "สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี มีความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งเรียกประชุม ครม.นัดพิเศษในคืนวันที่ 6 ตุลาคม 2551 โดยมอบหมายให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นผู้สั่งการ และเปิดทางให้ ส.ส.และ ส.ว.เข้าสู่รัฐสภา ซึ่งที่ประชุม ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิด 8 ต่อ 1 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี มีความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ฐานเป็นผู้รับผิดชอบเหตุการณ์ และสั่งการให้ตำรวจผลักดันผู้ชุมนุมโดยใช้แก๊สน้ำตา ซึ่งที่ประชุม ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิด 6 ต่อ 3 พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ในฐานะผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบตามอำนาจหน้าที่ เมื่อเกิดเหตุรุนแรงจนถึงขั้นผู้ชุมนุมบาดเจ็บสาหัส ถึงขนาดขาขาดแขนขาด ก็ต้องยับยั้งมิให้เหตุการณ์ลุกลามต่อไป และมีการให้การจากพยานว่า เป็นผู้สั่งการสลายการชุมนุม จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและมีความผิดวินัยร้ายแรง ซึ่งที่ประชุม ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิด 8 ต่อ 1 พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีต ผบช.น.ในฐานะผู้บัญชาการเหตุการณ์ และเป็นเจ้าของพื้นที่ มีความผิดวินัยร้ายแรงและอาญา เช่นกัน โดยที่ประชุม ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิด 8 ต่อ 1", "title": "การชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภาไทย 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551" }, { "docid": "183146#1", "text": "หม่อมเล็ก (ยงใจยุทธ) เป็นบุตรสาวของนายกองนา (ทองดำ ยงใจยุทธ) ข้าหลวงในรัชกาลที่ 5 เป็นตระกูลชาวสวนแถบตำบลศาลายา จังหวัดนครปฐม กับคุณถม มีพี่สาวคนโตชื่อ แจ่ม ยงใจยุทธ และมีน้องชายชื่อ ร้อยเอกชั้น ยงใจยุทธ (เป็นบิดาของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)", "title": "หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา" }, { "docid": "22364#18", "text": "รัฐบาลของพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นรัฐบาลที่มีส่วนรับผิดชอบต่อวิกฤตการณ์ทางการเงิน เมื่อปี พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) ที่ทำให้ประเทศไทยล้มละลาย และลุกลามไปทั่วโลกและส่งผลต่อสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2540 เนื่องจากดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ปรับตัวลดลงถึง 554.26 จุด ไปปิดที่ 7161.15. จุด คิดเป็นร้อยละ 7.18% ด้วยการทำเงินคงคลังทั้งหมดของประเทศเข้าไปอุ้มค่าเงินบาท ซึ่งถูกปล่อยขายในขณะนั้น ธุรกิจของเหล่าแกนหลักของรัฐบาลชุดนี้ ยังถูกตั้งข้อสังเกตว่า ไม่ได้รับผลกระทบต่อวิกฤตการณ์แต่อย่างใด ในขณะที่ธุรกิจของบุคคลโดยทั่วไปที่ไม่มีความเกี่ยวข้อง กับคนในรัฐบาลนั้น ได้รับผลกระทบถึงขั้นล้มละลายเป็นจำนวนมาก จนมีการประท้วงโดยประชาชนส่งผลทำให้พลเอกชวลิตต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2540", "title": "ชวลิต ยงใจยุทธ" }, { "docid": "22364#8", "text": "พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกและผู้บัญชาการทหารสูงสุด แล้วเข้าสู่การเมือง ก่อตั้งพรรคความหวังใหม่ ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี พ.ศ. 2535 พล.อ.ชวลิต เป็นหนึ่งในผู้ที่ปราศรัยขับไล่ พลเอกสุจินดา คราประยูร ที่สนามหลวง เป็นคนแรกด้วย การเมืองหลังจากนั้น พรรคความหวังใหม่กลายเป็นพรรคที่มีผู้สนับสนุนมากที่สุดในภาคอีสาน", "title": "ชวลิต ยงใจยุทธ" }, { "docid": "50800#5", "text": "ลำดับ (สมัย)รูปรายนามครม. คณะที่เริ่มวาระสิ้นสุดวาระ24พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์4411 สิงหาคม พ.ศ. 25293 สิงหาคม พ.ศ. 253125 (1)พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ454 สิงหาคม พ.ศ. 253129 มีนาคม พ.ศ. 253326 (1)พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ4530 มีนาคม พ.ศ. 253310 มิถุนายน พ.ศ. 253325 (2,3)พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ4521 มิถุนายน พ.ศ. 25339 ธันวาคม พ.ศ. 25334614 ธันวาคม พ.ศ. 253323 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 253427พลเรือเอก ประพัฒน์ กฤษณจันทร์476 มีนาคม พ.ศ. 253422 มีนาคม พ.ศ. 253528พลเอก สุจินดา คราประยูร4817 เมษายน พ.ศ. 253524 พฤษภาคม พ.ศ. 253529พลเอก บรรจบ บุนนาค4918 มิถุนายน พ.ศ. 253523 กันยายน พ.ศ. 253530พลเอก วิจิตร สุขมาก5029 กันยายน พ.ศ. 253513 กรกฎาคม พ.ศ. 253826 (3,4)พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ5113 กรกฎาคม พ.ศ. 253824 พฤศจิกายน พ.ศ. 25395229 พฤศจิกายน พ.ศ. 25398 พฤศจิกายน พ.ศ. 254031นาย ชวน หลีกภัย5314 พฤศจิกายน พ.ศ. 25405 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 254426 (5)พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ5417 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 25443 ตุลาคม พ.ศ. 2545", "title": "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย" }, { "docid": "22364#19", "text": "พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่แห่งกองอาสารักษาดินแดนเป็น พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก นายกองใหญ่ ชวลิต ยงใจยุทธ[17]", "title": "ชวลิต ยงใจยุทธ" }, { "docid": "22364#11", "text": "ในรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พล.อ.ชวลิตได้เข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่เจรจากับฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยโดยเฉพาะ แต่หลังจากรับตำแหน่งเพียงไม่กี่วัน ก็เกิดเหตุการณ์นองเลือดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ที่หน้าอาคารรัฐสภา พล.อ.ชวลิตก็ขอลาออกทันที", "title": "ชวลิต ยงใจยุทธ" }, { "docid": "22364#13", "text": "ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553 พลเอกชวลิต ขึ้นเวทีของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ[11] โดยประกาศตอนหนึ่งว่า ว่า นายวีระ นายแน่มาก และไม่เคยเห็นมหาชนที่ประกอบภารกิจที่ศักดิ์สิทธิ์ของแผ่นดิน และทำสำเร็จแล้ววันนี้ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะทำอะไรอย่าไปสนใจ", "title": "ชวลิต ยงใจยุทธ" }, { "docid": "549603#5", "text": "มารวย ผดุงสิทธิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 หรือที่รู้จักกันในชื่อ \"วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง\" ทำให้รัฐบาลต้องประกาศลดค่าเงินบาท แต่ดำรงตำแหน่งได้ไม่นานก็ต้องพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีทั้งคณะ เนื่องจากพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี ประกาศลาออกจากตำแหน่ง", "title": "มารวย ผดุงสิทธิ์" }, { "docid": "549579#1", "text": "สุรศักดิ์ นานานุกูล เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) ในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 หรือที่รู้จักกันในชื่อ \"วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง\" ทำให้รัฐบาลต้องประกาศลดค่าเงินบาท และในเวลาต่อมานายสุรศักดิ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ แต่ดำรงตำแหน่งได้ไม่นานก็ต้องพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีทั้งคณะ เนื่องจากพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี ประกาศลาออกจาตำแหน่ง", "title": "สุรศักดิ์ นานานุกูล" }, { "docid": "22364#0", "text": "พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ชวลิต ยงใจยุทธ (15 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 — ) เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 22 อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม อดีตผู้บัญชาการทหารบกและอดีตรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด", "title": "ชวลิต ยงใจยุทธ" }, { "docid": "76607#2", "text": "หลังผ่านพ้นการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายบรรหาร กลับลำไม่ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่กลับยุบสภา เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2539 ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งทั่วไป สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ กลุ่มวังน้ำเย็นได้ลาออกจาก พรรคชาติไทย ไปเข้าร่วมกับ พรรคความหวังใหม่ ที่มี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นหัวหน้าพรรค นายเสนาะได้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพรรค สามารถสนับสนุนให้ พรรคความหวังใหม่ ได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร และ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ขึ้นเป็น นายกรัฐมนตรี คนที่ 22 ของประเทศไทยได้สำเร็จ", "title": "กลุ่มวังน้ำเย็น" }, { "docid": "47842#1", "text": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชและหม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ยงใจยุทธ เป็นพี่สาวของ ร้อยเอกชั้น ยงใจยุทธ บิดาของพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) ประสูติเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2457 เมื่อแรกประสูติทรงพระนามว่า หม่อมเจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช จบการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนอีตัน และเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ และเปลี่ยนไปศึกษาด้านประติมากรรม ที่ ", "title": "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช" }, { "docid": "315524#0", "text": "คุณหญิงพันธุ์เครือ ยงใจยุทธ (สกุลเดิม: ลิมปภมร; 20 มกราคม พ.ศ. 2482) ชื่อเล่น หลุยส์ เป็นอดีตภริยาของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยคนที่ 22 เป็นที่รู้จักจากการอุปถัมภ์ช้างจำนวนมาก จนได้รับฉายา \"\"เจ้าของตำนานอุ้มช้าง\"\"", "title": "พันธุ์เครือ ยงใจยุทธ" }, { "docid": "22364#4", "text": "ชวลิตสมรสครั้งแรกกับวิภา[1] ครั้งที่สองกับพิมพ์นิภา มนตรีอาภรณ์ (นามเดิม: ประเสริฐศรี จันทน์อาภรณ์)[2][3][4] และสมรสครั้งที่สามกับคุณหญิงพันธุ์เครือ ยงใจยุทธ (ลิมปภมร) ชวลิตมีบุตร 3 คนกับภรรยาคนแรก คือ นายคฤกพล ยงใจยุทธ นางอรพิณ นพวงศ์ (ถึงแก่กรรม) และพันตำรวจตรีหญิง ศรีสุภางค์ โสมกุล", "title": "ชวลิต ยงใจยุทธ" }, { "docid": "22364#7", "text": "ในระหว่างนั้นรัฐบาลไทยได้ส่งคณะนายทหารจำนวนสามนายปฏิบัติราชการลับ ซึ่งประกอบด้วย พลโทผิน เกสร, พันเอกชวลิต ยงใจยุทธ และ พันเอกพัฒน์ อัคนิบุตร เดินทางไปเจรจาความกับ เติ้ง เสี่ยวผิง ที่ประเทศจีน โดยจีนได้ตกลงที่จะเลิกให้ที่พักพิงกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และยังได้สนันสนุนยุทโธปกรณ์จำนวนหนึ่งให้แก่กองทัพไทยและตัดสินใจก่อสงครามกับเวียดนาม โดยพันเอกชวลิต ยงใจยุทธได้รับเกียรติจากกองทัพจีนให้ยิงปืนใหญ่นัดแรกจากกว่างซีเข้าสู่ดินแดนเวียดนาม ทำให้เวียดนามต้องถอนกำลังจากกัมพูชาเพื่อไปต้านการรุกรานจากจีน", "title": "ชวลิต ยงใจยุทธ" }, { "docid": "22364#2", "text": "สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป เรียก พล.อ.ชวลิต ว่า \"บิ๊กจิ๋ว\" และในพื้นที่ภาคอีสาน เรียก พล.อ.ชวลิต ว่า \"พ่อใหญ่จิ๋ว\" นอกจากนี้แล้วยังมีอีกฉายาหนึ่งว่า \"จิ๋วหวานเจี๊ยบ\" จากการมีบุคลิกพูดจาอ่อนนิ่ม นุ่มนวล", "title": "ชวลิต ยงใจยุทธ" }, { "docid": "315524#4", "text": "เธอสมรสกับพลเอกชวลิต ยงใจยุทธแต่ไม่มีบุตรด้วยกัน กระทั่ง พ.ศ. 2561 ชวลิตได้ออกมายอมรับว่าหย่าจากคุณหญิงพันธุ์เครือแล้วราวสิบปีก่อน และสมรสใหม่กับอรทัย สรการ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 พร้อมกับย้ายออกไปพำนักกับหญิงคนดังกล่าว ทั้ง ๆ ที่ชวลิตออกงานคู่กับพันธุ์เครือครั้งล่าสุด ในงานวันเกิดของตนเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคมปีที่แล้ว", "title": "พันธุ์เครือ ยงใจยุทธ" }, { "docid": "22364#9", "text": "ต่อมาเมื่อพรรคความหวังใหม่ชนะในการเลือกตั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2539 พล.อ.ชวลิต ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคจึงขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี[9] แต่ต่อมาได้ลาออกเนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 ก่อนที่จะย้ายพรรคมาสังกัดพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ. 2544 และ พลเอก ดร.ชวลิต ก็รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตรสมัยแรกด้วย", "title": "ชวลิต ยงใจยุทธ" }, { "docid": "586718#0", "text": "สะแกวัลย์ ยงใจยุทธ ดารานักแสดง นางแบบ และพิธีกรไทย เป็นหลานสาวของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 ที่จังหวัดกรุงเทพฯ มีพี่น้องสามคนโดยเธอเป็นคนสุดท้อง ที่บ้านจึงเรียกเธอว่า \"น้อง\" ส่วนชื่อเล่น \"ปิงปอง\" นั้นเพื่อนๆ สมัยมัธยมต้นเป็นคนตั้งให้ เธอสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมต้นจากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย และต่อมัธยมปลายที่โรงเรียนดรุณพิทยา ก่อนจะเบนเข็มไปเรียนด้านเลขานุการ และคอมพิวเตอร์ที่ IMBS ในตึกชาญอิสระทาวเวอร์ ", "title": "สะแกวัลย์ ยงใจยุทธ" }, { "docid": "550944#2", "text": "พจน์ วิเทตยนตรกิจ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ในการปรับคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2540 หลังเกิดวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายนของปีเดียวกัน คณะรัฐมนตรีต้องสิ้นสุดลง เนื่องจากพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี ลาออกจากตำแหน่ง", "title": "พจน์ วิเทตยนตรกิจ" }, { "docid": "53014#4", "text": "เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ยุบพรรคความหวังใหม่ รวมกับพรรคไทยรักไทย นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ได้เป็นทีมที่ปรึกษาเศรษฐกิจในช่วง รัฐบาลทักษิณ 1 โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจภาคใต้ ก่อนที่จะถอนตัวในเวลาต่อมาด้วยความเห็นที่ไม่ตรงกัน และหลังจากนั้นยืนอยู่ฝั่งตรงข้ามกับรัฐบาลทักษิณมาโดยตลอด โดยชื่อของ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โด่งดังอีกครั้ง เมื่อออกหนังสือชื่อ \"บันทึกลับ ๒๕๔o\" โดยมีเนื้อหาชี้แจงถึงปัญหาเศรษฐกิจในช่วงที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ถูกโจมตีว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดวิกฤต", "title": "ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์" }, { "docid": "57369#10", "text": "ต่อมาเมื่อสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลาย ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง ได้กลับเข้าประเทศไทย และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[11] ต่อมา ในปี พ.ศ. 2540 ตัดสินใจยุบพรรคมวลชนรวมเข้ากับ พรรคความหวังใหม่ ของ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "22364#16", "text": "ภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เขากล่าวให้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ระวังเกิดปฏิวัติซ้ำ [14] ต่อมาในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เขากล่าวตอนนึงว่า การบริหารงานของรัฐบาลชุดนี้ทำให้เศรษฐกิจดีหรือไม่นั้นต้องไปถามประชาชนว่ากินอิ่ม นอนหลับหรือไม่ ถ้าหากประชาชนยังไม่มีกินก็ต้องไปแก้ปัญหาตรงนี้ [15] ซึ่งนับเป็นปัญหาของทุกรัฐบาล ในขณะที่ คุณหญิง พันธุ์เครือ ยงใจยุทธ แสดงความเห็นว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่มีความเคารพ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ต่อมาวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561 พลเอก ชวลิต เสนอให้มีการถวายคืนพระราชอำนาจเพื่อเป็นทางออกของประเทศ[16]", "title": "ชวลิต ยงใจยุทธ" }, { "docid": "550946#2", "text": "รศ.ดร.ธัญยธรณ์ ขันทปราบ เป็นอาจารย์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และเป็นเลขานุการของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ", "title": "ธัญยธรณ์ ขันทปราบ" } ]
2931
พุ่มพวง ดวงจันทร์เกิดวันที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "64704#0", "text": "พุ่มพวง ดวงจันทร์ (4 สิงหาคม พ.ศ. 2504 – 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535) ชื่อเล่น ผึ้ง ชื่อจริง รำพึง จิตรหาญ เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่ง เจ้าของฉายา ราชินีลูกทุ่ง ได้ชื่อว่ามีน้ำเสียงออดอ้อน หวาน จำเนื้อร้องได้แม่นทั้งที่ไม่รู้หนังสือ และเป็นแม่แบบให้แก่นักร้องรุ่นหลัง", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" } ]
[ { "docid": "611783#1", "text": "เริ่มเข้าสู่วงการโดยยุคสมัยที่พุ่มพวง ดวงจันทร์ เสียชีวิต ได้มีการจัดประกวดร้องเพลงของพุ่มพวง ดวงจันทร์ และหญิงได้ส่งเพลงเข้าประกวดและผ่านเข้ารอบ 30 คนสุดท้าย ทางพี่ทีมงานเขาเห็นความอดทนของเราจึงขอให้ อ.นพนันท์ ขวัญประภา นักแต่งเพลงชื่อดังแต่งเพลงให้ 3 เพลง โดยเพลงที่โด่งดัง คือเพลงสงสารชาวเรือ และนำไปเปิดตามสถานีวิทยุต่าง ๆ ซึ่งการตอบรับดีมากเพราะตอนนั้นไม่มีนักร้องลูกทุ่งภาคใต้เลย ทางผู้จัดการได้มีการนำไปฝากร่วมทำงานกับ ยิ่งยง ยอดบัวงาม ประมาณปี 2537 ซึ่งตอนนั้นโด่งดังมากับเพลง \"สมศรี 1992\"", "title": "ดวงจันทร์ สุวรรณี" }, { "docid": "64704#23", "text": "ในปี พ.ศ. 2554 สหมงคลฟิล์ม ได้สร้างภาพยนตร์เรื่อง พุ่มพวง โดยนำเค้าโครงจากชีวิตจริงของพุ่มพวง ดวงจันทร์และหนังสือเรื่อง \"ดวงจันทร์ที่จากไป\" ของ บินหลา สันกาลาคีรี กำกับโดย บัณฑิต ทองดี นำแสดงโดย เปาวลี พรพิมล แสดงเป็นพุ่มพวง ดวงจันทร์ ร่วมด้วย ณัฐวุฒิ สกิดใจ, วิทยา เจตะภัย, บุญโทน คนหนุ่ม", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "64704#18", "text": "ในปี พ.ศ. 2527 พุ่มพวงจดทะเบียนสมรสกับนายไกรสร ลีละเมฆินทร์ อดีตพระเอกภาพยนตร์ ที่ใช้ชื่อในวงการว่า ไกรสร แสงอนันต์ ต่อมาพุ่มพวงฝึกหัดเขียนหนังสือจนสามารถเขียนชื่อตัวเองได้ เพื่อประโยชน์ทางนิติกรรมต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2530 มีบุตรชายชื่อ สันติภาพ (ต่อมาเปลี่ยนชือเป็น สรภพ) หรือ \"เพชร\" หรือ \"บ่อยบ๊อย\" ลีละเมฆินทร์[2] ซึ่งก็เป็นนักร้องลูกทุ่ง นอกจากนี้ยังมี จันทร์จวง ดวงจันทร์ ดวงใจ ดวงจันทร์ และสลักจิต ดวงจันทร์ น้องสาวพุ่มพวงก็เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งเช่นกัน[6]", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "84284#3", "text": "ความชุกของเอสแอลอีมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ โดยอยู่ที่ 20-70 ต่อ 100,000 ประชากร ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์จะพบโรคนี้บ่อยที่สุดโดยพบถึง 9 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ชาย ช่วงอายุที่พบได้บ่อยอยู่ที่ 15-45 ปี แต่ก็พบในช่วงอายุอื่นๆ ได้เช่นกัน ชาวแอฟริกา แคริบเบียน และจีน มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนขาว ส่วนความชุกของโรคในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนานั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เนื่องจากผู้ป่วยอาจเข้าไม่ถึงระบบบริการสุขภาพ ชื่อภาษาอังกฤษของโรคนี้คือ ลูปัส (Lupus) เป็นภาษาลาตินที่แปลว่า หมาป่า ชื่อนี้มีที่มาตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 13 โดยเชื่อว่ามาจากการที่ผื่นที่พบในผู้ป่วยมีลักษณะเหมือนถูกหมาป่ากัด คนไทยหลายคนรู้จักโรคนี้ในชื่อ \"โรคพุ่มพวง\" เนื่องจาก พุ่มพวง ดวงจันทร์ นักร้องลูกทุ่งชื่อดังได้เสียชีวิตจากโรคนี้", "title": "ลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่าง" }, { "docid": "64704#26", "text": "วันที่ 15 สิงหาคม 2552 กระทรวงวัฒนธรรม โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคัดเลือกปริยศิลปิน และปรมศิลปิน มีมติประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ นายสุรพล สมบัติเจริญ และ พุ่มพวง ดวงจันทร์ หรือรำพึง จิตรหาญ เป็น \"ปริยศิลปิน\" ศิลปินอันเป็นที่รักยิ่งของประชาชน โดยวันที่16 ส.ค. ซึ่งตรงกับวันเสียชีวิตของนายสุรพล สวช.จะมีพิธีมอบรางวัลยกย่องอย่างเป็นทางการให้แก่ครอบครัวสมบัติเจริญ ที่ศูนย์การค้าอินเดีย เอ็มโพเรียม กรุงเทพฯ หรือ ATM พาหุรัดเดิม ส่วนครอบครัวของพุ่มพวง ดวงจันทร์นั้น สวช.จะจัดพิธีมอบรางวัลยกย่องอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 ส.ค.2552", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "64704#20", "text": "ผลงานอัลบั้มเพลงที่วางจำหน่ายเพื่อระลึกถึงพุ่มพวงเช่น คิดถึงพุ่มพวงและโลกของผึ้ง และยังมีเทปที่ทำเพื่อระลึกถึงการเสียชีวิตอย่างเช่น แหล่ประวัติพุ่มพวง ดวงจันทร์ โดยไวพจน์ เพชรสุพรรณ หนึ่งในดวงใจผลงานของยุ้ย โดยยุ้ย ญาติเยอะ (จริยา ปรีดากูล) เหลือแต่ดวงจันทร์ ที่ครูลพ บุรีรัตน์แต่งให้พุ่มพวง", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "153672#10", "text": "ครูลพ บุรีรัตน์ ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน จากเพลง \"ข้าคือไทย\" (ก้องเพชร แก่นนคร) ในปี พ.ศ. 2520 \"รางวัลนักรบ\" (ยอดรัก สลักใจ) ในปี พ.ศ. 2522 \"ทำดีซักทีเถอะน่า\" ในปี พ.ศ. 2525 รางวัลพระราชทานกึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทย จากเพลง \"สาวนาสั่งแฟน\" (พุ่มพวง ดวงจันทร์) และ \"เข้าเวรรอ\" (ศรเพชร ศรสุพรรณ) ในปี พ.ศ. 2532 และ \"สยามเมืองยิ้ม\" (พุ่มพวง ดวงจันทร์) ในปี พ.ศ. 2534", "title": "ลพ บุรีรัตน์" }, { "docid": "64704#9", "text": "ในปี พ.ศ. 2519 ครูเพลงลูกทุ่งชื่อดัง มนต์ เมืองเหนือ รับเป็นลูกศิษย์ และเปลี่ยนชื่อจากน้ำผึ้ง เมืองสุพรรณเป็น \"พุ่มพวง ดวงจันทร์\" จากการตั้งชื่อโดย มนต์ เมืองเหนือ และได้บันทึกเสียงจากการแต่งของก้อง กาจกำแหง ร้องแก้ขวัญชัย เพลงนั้นคือ \"รักไม่อันตรายและรำพึง\" และตั้งวงดนตรีเป็นของตนเอง โดยการสนับสนุนของคารม คมคาย นักจัดรายการวิทยุ มนต์ เมืองเหนือแต่ไม่ประสบความสำเร็จก็มาสังกัดบริษัทเสกสรรเทป-แผ่นเสียงผลงานของพุ่มพวง ดวงจันทร์เริ่มประสบความสำเร็จในเวลาต่อมาหลังจากได้รับการสนับสนุนจากประจวบ จำปาทองและปรีชา อัศวฤกษ์นันท์ให้ตั้งวงร่วมกับเสรี รุ่งสว่าง ในชื่อวง เสรี-พุ่มพวง จากจุดนี้ก็ได้รับความสำเร็จขึ้น", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "610509#1", "text": "เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 เนื่องจากวงดนตรีของ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ไปทำการแสดงในงานฝังลูกนิมิต ที่วัดบางขุนไกร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ในขณะที่วงของ สลักจิตร ดวงจันทร์ น้องสาว ไปทำการแสดงที่วัดปรักเขว้า อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี นักร้องจากวงพุ่มพวง 3 คน คือ เพชร โพธาราม เสกศักดิ์ ภู่กันทอง และ มนตรัก ขวัญโพธิ์ไทย ไปร้องให้กับวง สลักจิตร ก่อนในช่วงหัวค่ำ เมื่อร้องเสร็จประมาณ 3 ทุ่ม ทั้ง 3 ก็รีบเดินทางไปร้องให้กับวงของพุ่มพวง ที่จังหวัดเพชรบุรี โดย มนต์รัก เป็นผู้ขับ เสกศักดิ์ นั่งเบาะหน้าซ้ายมือของคนขับ เพชร โพธาราม กับลูกเมียนั่งเบาะหลัง มนต์รักขับรถด้วยความเร็วสูงเพื่อหวังไปให้ทันงานประมาณ 4 ทุ่มกว่า ก็เข้าสู่ตัวเมืองเพชรบุรี ก่อนถึงทางแยกเข้าวัดเขาตะเครา ก่อนเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ทำให้ตัวเขา และเสกศักดิ์ ภู่กันทอง เสียชีวิตคาที่ทันที ส่วน เพชร โพธาราม และลูกเมียปลอดภัย", "title": "มนต์รัก ขวัญโพธิ์ไทย" }, { "docid": "64704#22", "text": "ในปี พ.ศ. 2535 มีภาพยนตร์รำลึกถึงพุ่มพวง ดวงจันทร์กับเรื่อง บันทึกรักพุ่มพวง กำกับโดยดอกฟ้า ได้พุ่มพวง แจ่มจันทร์ แสดงเป็นพุ่มพวง ดวงจันทร์ โดยเป็นภาพยนตร์ที่เล่าชีวิตส่วนหนึ่งของชีวิตเธอ[8] ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 บริษัท เจเอสแอลจำกัดได้ทำละครโทรทัศน์เรื่อง ราชินีลูกทุ่งพุ่มพวง ดวงจันทร์ ออกอากาศทางช่อง 7 ดัดแปลงจากชีวิตจริง ของพุ่มพวง ดวงจันทร์นำแสดงโดย รชนีกร พันธุ์มณี วรวุฒิ นิยมทรัพย์ ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ [9] โดยต้อม รัชนีกรได้รับการเข้าชื่อเพื่อชิงรางวัลโทรทัศน์ทองคำในฐานะดารานำฝ่ายหญิงดีเด่น", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "64704#1", "text": "พุ่มพวงเกิดในครอบครัวที่ยากจนมาก และเรียนจบเพียงแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ทำให้อ่านหนังสือไม่ออก แต่มีความจำดีและมีความสามารถด้านการร้องเพลงจึงทำให้ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ซึ่งได้เข้ามาทำการแสดงที่วัดทับกระดาน จังหวัดสุพรรณบุรีซึ่งเป็นบ้านของเธอได้เห็นแววความสามารถของเธอจึงรับไปเป็นบุตรบุญธรรม", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "64704#24", "text": "ส่วนสื่อสิงพิมพ์ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ เคยนำเสนอแฟชั่นหน้าคู่กลาง ราวปี 2538 เดือนมิถุนายน กับแนวความคิด “ชีวิตพุ่มพวง ดวงจันทร์” ใช้ “งานรำลึกพุ่มพวง ดวงจันทร์” มาเป็นฉากหลังของแฟชั่น มีนางแบบคือ ยุ้ย ญาติเยอะ ที่มีหน้าตาละม้ายพุ่มพวงและยังถือเป็นเงาเสียงของพุ่มพวงในสมัยประกวดคอนเสิร์ตคอนเทสต์ โดยจำลองชีวิตของพุ่มพวงตั้งแต่การออกจากโรงเรียนเพื่อทำงาน การเป็นสาวไร่อ้อย จนถึงนักร้อง โดยมีการใช้ภาพจริงประกอบ[10]", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "64704#28", "text": "ไกรสรและญาติของพุ่มพวงเกิดความขัดแย้งกันอย่างหนัก มีการกล่าวหากันไปมาทั้งสองฝ่าย มีข้อมูลระบุว่า ไกรสรกลับไปคืนดีกับอดีตภรรยา ส่วนอีกฝ่ายหาว่าเรื่องทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะทางฝ่ายญาติพุ่มพวงต้องการได้ส่วนแบ่งมรดกตกทอด", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "64704#25", "text": "สำหรับหุ่นเหมือนพุ่มพวง ดวงจันทร์ ปัจจุบันมีอยู่ 7 หุ่น อยู่ที่วัดทับกระดาน 6 หุ่น ได้แก่ หุ่นที่ 1 ตั้งอยู่บริเวณสระกลางน้ำ แต่งกายชุดสีดำ เป็นหุ่นอภินิหาริย์ที่สร้างขึ้นหลังพระราชทานเพลิงศพ หุ่นที่ 2 อยู่ในตู้กระจก ยุ้ย ญาติเยอะ เป็นผู้สร้างไว้บูชาครูเพลงพุ่มพวง หุ่นที่ 3 สร้างโดยนายณรงค์ รอดเจริญ อดีตบรรณาธิการ เป็นหุ่นแก้บน ทำด้วยขี้ผึ้งแข็ง หุ่นที่ 4 เป็นสีชมพู สร้างขึ้นจากแฟนเพลง ที่เป็นหุ่นปลดนี้ รุ่นนางพญาเสือดาว หุ่นที่ 5 อยู่ในชุดเสวนาธรรม สร้างโดยญาติและกรรมการวัด หุ่นที่ 6 เป็นหุ่นสีทอง สร้างขึ้นโดยใหม่ เจริญปุระ สร้างขึ้นเพื่อบูชาครูเพลง[11] หุ่นพุ่มพวงที่วัดทับกระดานนั้น ยังมีชื่อเสียงเรื่องมีผู้นิยมมาขอหวยอย่างมากมาย[12] ส่วนหุ่นเหมือนพุ่มพวงตัวที่เจ็ดนั้น เป็นหุ่นชุดเสือดาว สร้างโดยพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุซโซต์ เพื่อจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์สาขากรุงเทพ ชั้น 6 และ 7 สยามดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์ โดยพิพิธภัณฑ์มีกำหนดเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 ธันวาคม 2553 หุ่นเหมือนพุ่มพวงตัวนี้เป็นตัวแรกที่ผู้สร้างส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศ และเป็นหุ่นตัวแรกที่ไม่ได้ตั้ง ณ วัดทับกระดาน", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "64704#29", "text": "ทั้งหมด 80 ล้านบาท ต่อมานางเล็กยื่นขอเป็นผู้จัดการมรดกทั้งหมด แต่ต่อมาไกรสรยื่นคำร้องต่อศาลคัดค้าน และต่อมานายสำราญ (พ่อของพุ่มพวงซึ่งหย่าจากนางเล็กแล้ว) คัดค้านอดีตภรรยาเนื่องจาก นางเล็ก อ่านเขียนไม่ออก แต่ต่อมาถอนคำร้อง และศาลได้สั่งให้ไกรสรและนางเล็กเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน โดยทรัพย์สมบัติแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเท่ากัน ส่วนแรกเป็นของไกรสร อีกส่วนเป็นกองกลาง ซึ่งมีเจ้าของ 4 คนคือ นายสำราญ นางเล็ก ไกรสร และลูกชาย สันติภาพ ทุกคนจะได้รับเท่ากันในส่วนนี้ แต่หากพบว่าสมบัติใดพบหลังการแบ่งแล้ว จะยกให้สันติภาพเพียงผู้เดียว[2]", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "64704#11", "text": "พุ่มพวง ดวงจันทร์ เข้ามาอยู่สังกัดอโซน่า โปรโมชั่น ในปี พ.ศ. 2525 ผลงานในระหว่างปี 2525-2535 ของเธอมีมากมายอย่างเช่น จะให้รอ พ.ศ.ไหน (มิ.ย. 2525) นัดพบหน้าอำเภอ (2526) สาวนาสั่งแฟน (2527) ทิ้งนาลืมทุ่ง (2527) คนดังลืมหลังควาย (2528) อื้อฮื้อ ! หล่อจัง (2528) ห่างหน่อย – ถอยนิด (2529) ชั่วเจ็ดที-ดีเจ็ดหน (2529) เรื่องของสัตว์โลก (2529) และ คิดถึงน้องบ้างนะ (2530) ซึ่งสามชุดหลังเป็นชุดที่ออกหลังที่พุ่มพวงออกจากค่ายอโซน่า โปรโมชั่นแล้ว", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "64704#17", "text": "แฟนคนแรกของพุ่มพวงคือ ธีระพล แสนสุข ระหว่างที่พุ่มพวง ดวงจันทร์ เทใจทุ่มกับงานอย่างเต็มที่ ธีระพลเริ่มปันใจให้กับสลักจิต ดวงจันทร์ จึงทำให้ความรักของทั้งคู่จบลง แต่ด้านธุรกิจยังคงร่วมงานกันอยู่ แต่ในปี 2530 ธีระพล แสนสุข ก็ถูกน้องชายพุ่มพวง ดวงจันทร์ ยิงตาย", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "247754#2", "text": "หลังจากที่พุ่มพวงเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2535 ไกรสรและญาติของพุ่มพวงเกิดความขัดแย้งกันอย่างหนัก เรื่องมรดกและการแบ่งทรัพย์สินของพุ่มพวง ดวงจันทร์ โดยสุดท้ายศาลได้สั่งให้ไกรสรและนางเล็ก (มารดาพุ่มพวง) เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน โดยทรัพย์สมบัติแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเท่ากัน ส่วนแรกเป็นของไกรสร อีกส่วนเป็นกองกลาง ซึ่งมีเจ้าของ 4 คนคือ นายสำราญ นางเล็ก ไกรสร และลูกชาย สรภพ ทุกคนจะได้รับเท่ากันในส่วนนี้ แต่หากพบว่าสมบัติใดพบหลังการแบ่งแล้ว จะยกให้สรภพลูกชายเพียงผู้เดียว", "title": "ไกรสร แสงอนันต์" }, { "docid": "459900#2", "text": "ยุ้ย เริ่มเข้าสู่วงการเพลงจากการเข้าประกวดสมอลล์แชมป์ของรายการคอนเสิร์ต คอนเทสต์ เมื่ออายุ 9 ขวบ โดยร้องเพลง \"คนดังลืมหลังควาย\" ของ พุ่มพวง ดวงจันทร์ นักร้องลูกทุ่งที่ยุ้ยชื่นชอบเป็นที่สุด จนคว้าตำแหน่งชนะเลิศ ต่อมาจึงได้ออกอัลบั้มเพลงชุดแรกในชื่อ \"ญาติเยอะ\" กับค่ายคีตา อันเป็นที่มาของชื่อ ยุ้ย ญาติเยอะ ที่นิยมเรียกกันในปัจจุบัน และอัลบั้มถัดมาคือ \"หยดแหมะ\" โดยยังได้เดินสายร้องเพลงร่วมกับ พุ่มพวง ดวงจันทร์ อยู่ระยะหนึ่ง ", "title": "ยุ้ย ญาติเยอะ" }, { "docid": "383336#0", "text": "เปาวลี พรพิมล หรือ พรพิมล เฟื่องฟุ้ง นักร้องลูกทุ่งและนักแสดงหญิงชาวไทย มีชื่อเสียงมากจากภาพยนตร์ เรื่อง พุ่มพวง โดยรับบทเป็น พุ่มพวง ดวงจันทร์ เกิดวันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2535 บ้านเกิดอยู่ที่ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี", "title": "เปาวลี พรพิมล" }, { "docid": "78890#1", "text": "อาภาพร นครสวรรค์ มีชื่อจริงว่า จันทร์เพ็ญ คงประกอบ มีชื่อเล่นว่า ฮาย น้ำหนัก 68 กิโลกรัม ส่วนสูง 158 เซนติเมตร เป็นชาว ตำบลบ้านไร่ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นลูกสาวคนที่ 4 ในจำนวน 6 คน ของ นายบุญช่วยและนางกิมเล้ง คงประกอบ ที่ประกอบอาชีพทำนาทำไร่ทำสวน และมีฐานะยากจนมาก เธอเกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 จบการศึกษาชั้น ประถมปีที่ 6 จากโรงเรียนสวนหลวง นครสวรรค์ เธอชื่นชอบการร้องเพลงเป็นชีวิตจิตใจ และเคยใฝ่ฝันที่จะเป็นนักร้องอย่างพุ่มพวง ดวงจันทร์ ที่เคยไปดูเมื่อครั้งพุ่มพวงมาเปิดการแสดงที่อำเภอ อาภาพรได้อาศัยงานวัด งานขึ้นบ้านใหม่ หรืองานรื่นเริง เพื่อเป็นเวทีของการขึ้นไปร้องเพลงเพื่อแสดงความสามารถ จนในที่สุดก็ได้เข้าประกวดร้องเพลงในปี พ.ศ. 2528 ที่สถานีวิทยุ ว.ป.ถ.9 ที่นครสวรรค์ ในเวที \"คนเก่งของแม่\" ", "title": "อาภาพร นครสวรรค์" }, { "docid": "375750#0", "text": "รายชื่ออัลบั้มเพลงที่พุ่มพวง ดวงจันทร์ขับร้อง โดยรวมทั้งอัลบั้มเพลง อัลบั้มเพลงคู่ อัลบั้มรวมศิลปิน อัลบั้มรวมเพลง และอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ ขณะยังมีชีวิตอยู่และภายหลังเสียชีวิต\nรวบรวมข้อมูลโดย : แฟนเพจ ชมรมคนรักแม่ผึ้ง พุ่มพวง ดวงจันทร์", "title": "รายชื่ออัลบั้มเพลงที่ขับร้องโดยพุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "64704#16", "text": "ได้สวดอภิธรรมศพที่วัดมกุฏกษัตริยาราม พิธีพระราชทานเพลิงศพของพุ่มพวง ดวงจันทร์ จัดที่วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 25 ก.ค. พ.ศ. 2535 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธี นอกจากนี้ยังมีการสร้างหุ่นพุ่มพวง ตั้งอยู่ในศาลาริมสระน้ำ วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีการจัดงานรำลึกถึงพุ่มพวงทุกปี ช่วง 13-17 มิถุนายน ของทุกๆปี ซึ่งเป็นวันครบรอบการเสียชีวิตของเธอ", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "64704#21", "text": "งานเพลงของศิลปินที่นำเพลงของพุ่มพวงมาขับร้องใหม่โดยเฉพาะนักร้องปัจจุบัน มีความแตกต่างกันด้วยจังหวะและระยะเวลาที่ต่างกันไป แกรมมีโกลด์นำผลงานของพุ่มพวงโดยเฉพาะทีประพันธ์โดยลพ บุรีรัตน์ ออกมาอยู่เรื่อยๆ มียอดขายประสบความสำเร็จอย่างดี มีผลงานออกมาอย่าง พุ่มพวง ในดวงใจ ชุดที่ 1 – 4 โดย ใหม่ เจริญปุระ , อัลบั้ม เพชร สรภพ - เพลงของแม่ ชุดที่ 1 (ชุดเดียว) กับเพลงเปิดตัว \"โลกของ ผึ้ง\" โดยดัดแปลงเนื้อร้องบางส่วนให้เหมาะสมกับการถ่ายทอดบทเพลง[7] อัลบั้ม ดวงจันทร์ ... กลางดวงใจ พุ่มพวง ดวงจันทร์ โดยมีศิลปินนักร้องลูกทุ่งสาวนำเพลงมาทำใหม่ ได้แก่ สุนารี ราชสีมา (เขานอนบ้านใน, นอนฟังเครื่องไฟ, ฉันเปล่านา เขามาเอง), คัฑลียา มารศรี (สาวนาสั่งแฟน, อายแสงนีออน, หัวใจทศกัณฐ์), ฝน ธนสุนทร (สุดแค้นแสนรัก, คิดถีงบ้างเน้อ, ขอให้โสดทีเถอะ), แมงปอ ชลธิชา (รักคุด, เงินน่ะมีไหม, อื้อฮือหล่อจัง) , หลิว อาจารียา (กระแซะ, หนูไม่รู้, ผู้ชายในฝัน), เอิร์น เดอะสตาร์ (พี่ไปดู หนูไปด้วย, นัดพบหน้าอำเภอ, โลกของผึ้ง), ต่าย อรทัย (แก้วรอพี่, นักร้องบ้านนอก, คืนนี้เมื่อปีกลาย) และตั๊กแตน ชลดา (ดาวเรืองดาวโรย, ตั๊กแตนผูกโบว์, อนิจจาทิงเจอร์) นอกจากนี้ทรูแฟนเทเชีย มีผลงานชุด 7 สาวสะบัดโชว์ ก็มีเพลงของพุ่มพวง ดวงจันทร์ คือ ผู้ชายในฝัน, อื้อฮือหล่อจัง อยู่ในอัลบั้มนี้", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "459900#3", "text": "จนกระทั่งพุ่มพวงเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2535 ชื่อของ ยุ้ย มีชื่อเสียงอีกครั้ง โดยปรากฏตัวในงานศพ อีกทั้งร่วมแสดงภาพยนตร์เรื่อง \"รักอาลัย พุ่มพวงดวงจันทร์\" ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นอย่างเร่งด่วนเพื่อตอบรับกระแสการเสียชีวิตของพุ่มพวง โดยรับบทเป็นพุ่มพวงสมัยเด็ก และออกอัลบั้มชุด \"หนึ่งในดวงใจ\" หรือ ดวงจันทร์ในดวงใจ ที่ทำขึ้นสืบเนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าว ด้วยน้ำเสียงและลีลาที่มีความคล้ายคลึงกับพุ่มพวงอย่างมาก ถึงกับได้รับขนานนามว่าเป็นตัวแทนของพุ่มพวงคนหนึ่ง", "title": "ยุ้ย ญาติเยอะ" }, { "docid": "64704#14", "text": "ต่อมาเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2532 พุ่มพวง ดวงจันทร์ ได้รับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีอีกครั้ง ในสาขารางวัลขับร้องเพลงดีเด่น กับเพลง \"สยามเมืองยิ้ม\" ประพันธ์โดยครูลพ บุรีรัตน์ ในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่ง ภาค 2[4]", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" }, { "docid": "376769#0", "text": "พุ่มพวง () เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2554 กำกับโดยบัณฑิต ทองดี โดยเป็นเรื่องราวชีวิตของพุ่มพวง ดวงจันทร์ ราชินีลูกทุ่งของไทย โดยนำเค้าโครงจากชีวิตจริงและหนังสือเรื่อง \"ดวงจันทร์ที่จากไป\" ของ บินหลา สันกาลาคีรี นำแสดงโดย เปาวลี พรพิมล (ผู้ชนะในรายการแชมป์ ออฟ เดอะ แชมป์ ทางช่องแฟนทีวี), ณัฐวุฒิ สกิดใจ, วิทยา เจตะภัย, บุญโทน คนหนุ่ม ภาพยนตร์เรื่องนี้กำหนดเข้าฉายในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ภาพยนตร์ทำรายได้รวม 43.51 ล้านบาท ", "title": "พุ่มพวง (ภาพยนตร์)" }, { "docid": "96845#3", "text": "สาลี่ ขนิษฐา มาอยู่กับวงสุนารี ราชสีมา เป็นปี โดยทำงานทุกอย่างทั้งเก็บเสื้อผ้า เต้นหางเครื่อง วิ่งซื้อข้าวซื้อน้ำ ต่อมาในปี 2535 จ่าจวบได้ไปขอเพลงครูฉลอง ภู่สว่างมาให้เธอร้องบันทึกเสียงชุดหนึ่งชื่อ “วันพระไม่ได้มีหนเดียว “ โดยใช้ชื่อว่า ขนิษฐา ธิดาไท ในสังกัดท็อปไลน์ แต่ช่วงนั้น พุ่มพวง ดวงจันทร์ ราชินีลูกทุ่งเกิดมาเสียชีวิต ทั้งประเทศกำลังสนใจแต่เรื่องพุ่มพวง เพลงของเธอจึงไม่ได้รับความสนใจมากนัก", "title": "สาลี่ ขนิษฐา" }, { "docid": "64704#30", "text": "2 มิถุนายน 2552 นายสรภพ ลูกชายพุ่มพวงอุปสมบทให้พุ่มพวง ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) จ.พิษณุโลก มี นางสุพรรณี สุประการ มารดาบุญธรรม และนางบุญ สุประการ ผู้เป็นยาย ร่วมเป็นเจ้าภาพในพิธีอุปสมบท โดยในงานมีการตั้งโต๊ะรับบริจาคเงินสมทบทุนสร้างหุ่นขี้ผึ้ง “พุ่มพวง ดวงจันทร์” หุ่นที่ 7 โดยประชาชนที่บริจาคเงิน 100 บาท จะได้รับ แผ่นซีดีเพลงที่ นายสรภพ ขับร้องไว้ในชื่ออัลบั้ม “บทเพลงเพื่อแม่ผึ้ง” และมีเพลงที่พุ่มพวงร้องสดเป็นครั้งสุดท้าย[13] ทั้งนี้สรภพเกิดเรื่องขัดแย้งกับบิดาและญาติฝ่ายพุ่มพวง โดยเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552 พระสรภพ พบกับนายไกรสรและญาติพี่น้องของพุ่มพวง ที่วัดทับกระดาน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี และเกิดการโต้เถียงอย่างรุนแรง ในกรณีการจัดสร้างหุ่นขี้ผึ้งพุ่มพวง[14]", "title": "พุ่มพวง ดวงจันทร์" } ]
1383
ใครเป็นผู้คิดค้นเม้าส์ เพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์?
[ { "docid": "12240#3", "text": "เมาส์ถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี 1963 โดย ผู้คิดค้นประดิษฐ์เม้าส์มีชื่อว่า ดร ดักลาส คาร์ล อิงเกิลบาร์ต Douglas Carl Engelbart ที่สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด (Stanford Research Institute) หลังจากการทดสอบการใช้งานอย่างละเอียด (เมาส์เคยมีอีกชื่อนึงว่า “บัก” (bug) แต่ภายหลังได้รับความนิยมน้อยกว่าคำว่า “เมาส์”) มันเป็นหนึ่งในการทดลองอุปกรณ์ชี้ (Pointing Device) สำหรับ Engelbart's oN-Line System (NLS) ส่วนอุปกรณ์ชี้อื่นออกแบบมาเพื่อการเคลื่อนไหวในร่างกายส่วนอื่น ๆ เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ติดกับคางหรือจมูก แต่ท้ายที่สุดแล้วเมาส์ก็ได้รับการคัดเลือกเพราะง่ายต่อการใช้งาน\nเมาส์ตัวแรกนั้นมีขนาดใหญ่ และใช้เฟือง 2 ตัววางในลักษณะตั้งฉากกัน การหมุนของแต่ละเฟืองจะถูกแปลไปเป็นการเคลื่อนที่บนแกนในปริภูมิ 2 มิติ เองเกลบาทได้รับสิทธิบัตรเลขที่ US3541541 ในวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ.1970 ชื่อ X-Y Position Indicator((ตัวระบุตำแหน่ง X-Y สำหรับระบบแสดงผล) ในตอนนั้น ตั้งใจจะพัฒนาจนสามารถใช้เมาส์ได้ด้วยมือเดียว", "title": "เมาส์" } ]
[ { "docid": "14288#1", "text": "เขาร่วมก่อตั้งแอปเปิลคอมพิวเตอร์กับสตีฟ วอซเนียก ใน ค.ศ. 1976 เป็นผู้มีส่วนช่วยทำให้แนวความคิดเรื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นที่นิยมขึ้นมา ด้วยเครื่อง Apple II ต่อมา เขาเป็นผู้แรกที่มองเห็นศักยภาพทางการค้าของส่วนประสานงานผู้ใช้แบบกราฟิกส์และเม้าส์ ที่ถูกพัฒนาขึ้นในศูนย์วิจัยซีร็อกซ์พาร์ค ของบริษัทซีร็อกซ์ และได้มีการผนวกเทคโนโลยีเหล่านี้เข้าไว้ในเครื่องแมคอินทอช หลังพ่ายแพ้ในการแย่งชิงอำนาจกับคณะกรรมการบริหารใน ค.ศ. 1984 จอบส์ลาออกจากแอปเปิลและก่อตั้งเน็กซ์ บริษัทพัฒนาแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะในการศึกษาขั้นอุดมศึกษาและตลาดธุรกิจ การซื้อกิจการเน็กซ์ของแอปเปิลใน ค.ศ. 1996 ทำให้จอบส์กลับเข้าทำงานในบริษัทแอปเปิลที่เขาร่วมก่อตั้งขึ้นนั้น และเขารับหน้าที่ CEO ตั้งแต่ ค.ศ. 1997 ถึง 2011 จอบส์ยังเป็นประธานบริหาร และผู้บริหารระดับสูงของพิกซาร์แอนิเมชันสตูดิโอส์ ผู้นำด้านการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชันด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ ทั้งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ 50.1% กระทั่งบริษัทวอลต์ดิสนีย์ซื้อกิจการไปใน ค.ศ. 2006 จอบส์เป็นผู้ถือหุ้นมากที่สุดของดิสนีย์ที่ 7% และเป็นสมาชิกคณะกรรมการบริหารของดิสนีย์", "title": "สตีฟ จอบส์" }, { "docid": "715#11", "text": "จาก การโปรแกรมเชิงเส้น ที่เขียนโดย George B. Dantzig ซึ่งเป็นผู้ที่คิดค้น simplex method ที่ใช้แก้ปัญหาการโปรแกรมเชิงเส้น เขาได้เขียนถึงนอยมันน์ จากประสบการณ์ที่ได้ไปพบและขอคำแนะนำจากนอยมันน์ และยังได้สะท้อนถึงบุคลิกของนอยมันน์ และได้เล่าถึงตอนที่นอยมันน์ได้ช่วยเหลือ โดยการตอบคำถามของ Hotelling (ผู้คิดค้น Principal components analysis) ระหว่างการนำเสนอผลงานการโปรแกรมเชิงเส้นของเขา", "title": "จอห์น ฟอน นอยมันน์" }, { "docid": "320748#3", "text": "ริตชีคิดค้นภาษาซีและมีบทบาทในการพัฒนายูนิกซ์ โดยทำงานร่วมกับเคน ทอมป์สัน ซึ่งเขายกย่องริตชีว่าเป็นผู้บุกเบิกคนสำคัญแห่งคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ ภาษาซียังคงใช้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์และระบบปฏิบัติการอย่างแพร่หลายจนถึงทุกวันนี้ และมีอิทธิพลต่อภาษาโปรแกรมสมัยใหม่ด้วย ยูนิกซ์ก็ได้รับอิทธิพลในเรื่องแนวคิดและหลักการในการสร้าง ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างดีในวงการคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน", "title": "เดนนิส ริตชี" }, { "docid": "951032#1", "text": "เอ็ดมันด์ เคิร์สช์ นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ผู้โจมตีศาสนามาโดยตลอดเนื่องจากเคยสูญเสียแม่จากการรับใช้ศาสนา พบปะกับบิชอปบัลเด็สปิโน, รับไบโคเวสและอิหม่ามอัล-ฟาเดิล ผู้นำศาสนาคนสำคัญที่อารามมอนต์เซร์รัต เพื่อหารือเรื่องการค้นพบครั้งสำคัญของเขา แต่การพบปะดังกล่าวจบลงด้วยคำขู่จากบิชอปบัลเด็สปิโนว่าจะขัดขวางการเผยแพร่การค้นพบของเขา", "title": "ออริจิน" }, { "docid": "183566#1", "text": "เดอะเฮาส์ออฟเดอะเดธ เป็นเกมแนวยิงปืนที่ผู้เล่น (มากสุด 2 คน)จะต้องใช้ปืน (หรือเม้าส์ ในเวอร์ชันเกมคอมพิวเตอร์)บังคับตัวละครในการเล็งและยิงศัตรูที่โผล่ออกมา ปืนสั้นที่ตัวละครถืออยู่จะบรรจุกระสุนปืนอยู่ข้างใน และจะต้องบรรจุใหม่ทุกครั้งที่กระสุนหมด โดยที่มุมข้างจอที่ผู้เล่นอยู่จะมีจำนวนกระสุนปืนที่เหลืออยู่ (สามารถบรรจุเพิ่มกี่ครั้งก็ได้) รวมถึงลูกไฟจำนวนหนึ่งที่อยู่ข้างๆจะบอกชีวิตที่ตัวละครเหลืออยู่ ถ้าผู้เล่นไม่สามารถฆ่าศัตรูให้ทันแล้วถูกโจมตี หรือยิงชาวเมืองที่ยังมีชีวิตอยู่ ลูกไฟดวงหนึ่งก็จะหายไป ถ้าลูกไฟหายไปหมด \nผู้เล่นก็จะตาย แต่ผู้เล่นยังสามารถเล่นต่อได้โดยการใส่เหรียญเพิ่มลงในตู้เกมแล้วกดปุ่ม \"continue\" หรือ \"start\"", "title": "เดอะเฮาส์ออฟเดอะเดด 2" }, { "docid": "84088#7", "text": "แต่ในปี 2000 ชายชาวอังกฤษกลุ่มหนึ่งได้ออกมาเปิดเผยตนเองว่าเป็นผู้สร้างครอปเซอร์เคิลที่วิจิตรพิสดารหลายสิบแห่งในภาคใต้ของอังกฤษมากว่า 11 ปี พวกเขาเรียกตนเองว่า Circlemakers โดยใช้คอมพิวเตอร์ร่างรูปแบบก่อน พวกเขาได้รับเชิญจากสื่อมวลชนให้สาธิตการสร้างครอปเซอร์เคิลที่มีความซับซ้อนหลายครั้ง ซึ่งพวกเขาทำได้จริงๆ และก็ไม่ได้ใช้ไมโครเวฟ ปัจจุบันพวกเขามีเว็บไซต์ที่แสดงผลงานและเสนอข่าวสารเกี่ยวกับครอปเซอร์เคิล \nทุกวันนี้นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่ามีทฤษฎีเดียวเท่านั้นที่จะอธิบายครอปเซอร์เคิลได้ นั่นคือ ทฤษฎีมนุษย์เป็นผู้สร้างแต่อย่างไรก็ตาม นักวิจัยครอปเซอร์เคิล ก็ยังเชื่อเหมือนกับแอนดริวว่ามันไม่ทั้งหมดที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของนักวิจัยหลายกลุ่มจึงยังดำเนินอยู่ต่อไป Circlemaker คนหนึ่งพูดถึงเรื่องนี้ว่า ไม่มีใครอยากเชื่อคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์หรอก เพราะผู้คนต้องการเชื่อสิ่งที่เป็นความลึกลับมากกว่า “ สาธารณชนไม่ต้องการคำอธิบาย “เขากล่าว", "title": "วงธัญพืช" }, { "docid": "10996#3", "text": "ผู้ที่คิดค้นสัญรูปอารมณ์ :-) และ :- ( และเสนอว่ามันสามารถใช้แสดงอารมณ์คือ สกอตต์ ฟาห์ลแมน (Scott Fahlman) ซึ่งเสนอในกระดานสนทนาของคณะวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน เมื่อ 19 กันยายน พ.ศ. 2525 เวลา 11.44 น. ไว้ดังนี้", "title": "สัญรูปอารมณ์" }, { "docid": "132321#2", "text": "เป็นเรื่องราวการต่อสู้ในโลกคอมพิวเตอร์ระหว่างกริดแมนกับจอมปิศาจคาร์น ดิจิเฟอร์ โดยคาร์ลดิจิเฟอร์ได้ร่วมมือกับโทโดะ ทาเคชิ เด็กนักเรียนมัธยมต้นที่ทำตัวเป็นเด็กมีปัญหา ได้สร้าง ไวรัสปิศาจขึ้นมาเพื่อที่จะทำลายโลกระบบคอมพิวเตอร์ กริดแมนจึงต้องร่วมมือกับโช นาโอโตะ เด็กนักเรียนมัธยมต้น เพื่อรวมร่างกันเข้าไปสู้กับไวรัสปิศาจที่ทาเคชิสร้างขึ้น โดยมีอิโนะอุเอะ ยูกะ กับบาบะ อิปเป เป็นผู้คิดค้นและสร้างอาวุธใหม่ มาอัพเกรดให้กริดแมนแข็งแกร่งขึ้น", "title": "เด็นโคโจจินกริดแมน" }, { "docid": "192881#8", "text": "หัน มาดูทางด้านคอมพิวเตอร์ของเรากันบ้าง ดูเหมือนว่าบริษัทผู้ผลิตซาวด์การ์ดที่ใช้กับคอมพิวเตอร์จะไม่ค่อยได้ติดตาม ข่าวคราว ในวงการดนตรีสักเท่าไรนัก หรืออาจเป็นเพราะว่าไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจเอาไว้ก่อนว่าจะมีใครเอา ซาวด์การ์ดมาใช้เล่นเพลง เล่นดนตรีกันทั่วบ้านทั่วเมืองแบบนี้ก็ได้ เลยเป็นผลทำให้ซาวด์การ์ดจำนวนมากยังคงใช้ชิพกำเนิดเสียงเครื่องดนตรีตาม มาตรฐาน GM กันอยู่ สังเกตได้จากราคาที่ค่อนข้างถูกและมักจะชอบแถมมากับคอมพิวเตอร์ที่สั่ง ประกอบสำเร็จจากร้านค้า", "title": "มิดิ" }, { "docid": "35644#0", "text": "ระบบฝังตัว หรือ สมองกลฝังตัว (embedded system) คือระบบประมวลผล ที่ใช้ชิปหรือไมโครโพรเซสเซอร์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะโดย beenvai เป็นผู้คิดค้น เป็นระบบคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วที่ฝังไว้ในอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องเล่นอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อเพิ่มความฉลาด ความสามารถให้กับอุปกรณ์เหล่านั้นผ่านซอฟต์แวร์ซึ่งต่างจากระบบประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป ระบบฝังตัวถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและสำนักงาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ เทคโนโลยีเครือข่ายเน็ตเวิร์ก เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร เทคโนโลยีเครื่องกลและของเล่นต่าง ๆ คำว่าระบบฝังตัวเกิดจาก การที่ระบบนี้เป็นระบบประมวลผลเช่นเดียวกับระบบคอมพิวเตอร์ แต่ว่าระบบนี้จะฝังตัวลงในอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่เครื่องคอมพิวเตอร์\nในปัจจุบันระบบสมองกลฝังตัวได้มีการพัฒนามากขึ้น โดยในระบบสมองกลฝังตัวอาจจะประกอบไปด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ ไมโครโปรเซสเซอร์ อุปกรณ์ที่ใช้ระบบสมองกลฝังตัวที่เห็นได้ชัดเช่นโทรศัพท์มือถือ และในระบบสมองกลฝังตัวยังมีการใส่ระบบปฏิบัติการต่างๆแตกต่างกันไปอีกด้วย ดังนั้น ระบบสมองกลฝังตัวอาจจะทำงานได้ตั้งแต่ควบคุมหลอดไฟจนไปถึงใช้ในยานอวกาศ", "title": "ระบบฝังตัว" } ]
3680
ประเทศไทยเริ่มปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยเมื่อไหร่?
[ { "docid": "43247#0", "text": "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475[1] เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์ไทยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งมีผลทำให้ราชอาณาจักรสยามเปลี่ยนรูปแบบประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเปลี่ยนรูปแบบการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา เกิดขึ้นจากคณะนายทหารและพลเรือนที่ประกอบกัน เรียกตนเองว่า \"คณะราษฎร\" โดยเป็นผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์โลก ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองภายในประเทศ การปฏิวัติดังกล่าวทำให้ประเทศสยามมีรัฐธรรมนูญฉบับแรก", "title": "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475" } ]
[ { "docid": "2069#9", "text": "หลังจากปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่สอง (English: Bali Concord II) ในปี พ.ศ. 2546 กลุ่มประเทศอาเซียนได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยทฤษฎีสันติภาพประชาธิปไตย ซึ่งหมายความว่า ประเทศสมาชิกทุกประเทศมีความเชื่อว่ากระบวนการตามหลักการประชาธิปไตยจะทำให้เกิดสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค นอกจากนั้น ประเทศอื่นที่มิได้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันต่างก็เห็นว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ประเทศสมาชิกอื่น ๆ ควรใฝ่หา[20]", "title": "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" }, { "docid": "7892#79", "text": "สถาบันอันเป็นประชาธิปไตยซึ่งก่อตั้งขึ้นใหม่ในบางประเทศ โดยมิได้มีการลงมือปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง ดังที่ประชาธิปไตยถูกมองว่าไม่ธรรมดาหรือขัดกับวัฒนธรรมจนไม่อาจยอมรับได้ อาจส่งผลให้ความเป็นประชาธิปไตยไม่อาจยืนหยัดอยู่ได้ในระยะยาว กรณีที่สนับสนุนแนวความคิดนี้ได้ยกตัวอย่างให้เห็นถึงสถาบันประชาธิปไตยซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นโดยแรงกดดันจากต่างชาติ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากประชาชน การสนับสนุนจากต่างประเทศให้มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ นั้นไม่อาจหยุดยั้งความเสื่อมโทรมของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้", "title": "ประชาธิปไตย" }, { "docid": "79585#9", "text": "แม้ว่าจะไม่ใช่ส่วนของระบอบการปกครอง\nเสรีภาพทั้งส่วนบุคคลและทางเศรษฐกิจพอประมาณ ที่มีผลขยายจำนวนคนชั้นกลางจนกลายเป็นประชาสังคมที่เจริญรุ่งเรืองและแพร่ไปอย่างกว้างขวาง\nบ่อยครั้งมองว่า เป็นเงื่อนไขเบื้องต้นของประชาธิปไตยเสรีนิยม (Lipset 1959)\nในประเทศที่ไม่มีวัฒนธรรมประเพณีการปกครองโดยเสียงส่วนมาก การเลือกตั้งเสรีอย่างเดียวจะไม่พอให้เปลี่ยนจากระบอบเผด็จการไปเป็นประชาธิปไตย\nจะต้องมีทั้งการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางการเมืองที่ใหญ่กว่านั้น และการสร้างสถาบันเพื่อการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างค่อยเป็นค่อยไป \nมีประเทศตัวอย่างหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่นในลาตินอเมริกา ที่ดำรงระบอบประชาธิปไตยได้เพียงแค่ชั่วคราวหรืออย่างจำกัด จนกระทั่งวัฒนธรรมทั่วไปเปลี่ยนแปลงแล้วสร้างสภาวะที่ประชาธิปไตยสามารถเจริญงอกงามได้", "title": "ประชาธิปไตยเสรีนิยม" }, { "docid": "876641#0", "text": "การทำให้เป็นประชาธิปไตย\nหรือ การเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย\nเป็นการเปลี่ยนระบอบการปกครองให้เป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น\nซึ่งอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างสำคัญไปในทางประชาธิปไตย\nการเปลี่ยนจากระบอบอำนาจนิยมไปเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ จากระบอบอำนาจนิยมไปเป็นกึ่งประชาธิปไตย หรือจากกึ่งประชาธิปไตย/อำนาจนิยมไปเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์\nซึ่งอาจมีผลเป็นความมั่นคงทางประชาธิปไตย (ดังที่สหราชอาณาจักรเป็นตัวอย่าง) หรืออาจจะกลับไปกลับมาบ่อย ๆ (ดังที่ อาร์เจนตินาเป็นตัวอย่าง)\nรูปแบบต่าง ๆ ของการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยมักใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ เช่น ประเทศจะเริ่มทำสงครามหรือไม่ เศรษฐกิจจะเติบโตหรือไม่\nกระบวนการมีปัจจัยหลายอย่างรวมทั้งพัฒนาการทางเศรษฐกิจ ประวัติ และประชาสังคม\nผลสูงสุดของกระบวนการนี้ก็เพื่อประกันว่า ประชาชนจะมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และมีส่วนตัดสินใจในระบอบการปกครอง", "title": "การทำให้เป็นประชาธิปไตย" }, { "docid": "17648#53", "text": "ประเทศไทยมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีความเคลื่อนไหวจากกลุ่มข้าราชการและประชาชนให้มีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ความคิดที่จะให้มีการปกครองในแนวประชาธิปไตยนี้ ได้รับอิทธิพลจากชาวตะวันตก สืบเนื่องจากประเทศไทยได้มีการติดต่อกับชาวตะวันตกตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นมา", "title": "ความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยาม" }, { "docid": "21707#0", "text": "วันรัฐธรรมนูญในประเทศไทย หรือ วันพระราชทานรัฐธรรมนูญ เป็นวันที่ระลึกถึงโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศไทย โดยผลของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน", "title": "วันรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "17648#24", "text": "เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พ.ศ. 2453 นั้นกลุ่มปัญญาชนต่างก็มุ่งหวังว่า พระองค์จะทรงเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้เพราะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษซึ่งมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และคงได้ทรงเตรียมพระองค์ดังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสไว้ แต่ปรากฏว่ายังไม่มีพระราชดำริในเรื่องรัฐสภาและรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด ในเวลาเดียวกันประเทศจีนมีการปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์แมนจู เปลี่ยนการปกครองประเทศเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐเป็นผลสำเร็จ ทำให้ความคิดอยากจะได้ประชาธิปไตยมีมากขึ้น ประกอบกับความไม่พอใจในพระราชจริยาวัตรบางประการของพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ จึงทำให้เกิดปฏิกิริยาที่จะล้มล้างระบอบการปกครอง", "title": "ความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยาม" }, { "docid": "278586#15", "text": "ผู้นำประชาธิปไตยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและคงยืนที่สุดก็คือเพริคลีส (Pericles)\nภายหลังการเสียชีวิตของเขา ระบอบประชาธิปไตยของชาวเอเธนส์ก็ถูกปฏิวัติเปลี่ยนเป็นคณาธิปไตยอย่างสั้น ๆ 2 ครั้งท้ายสงครามเพโลพอนนีเซียน\nแล้วต่อมาจึงฟื้นฟูอีกแม้จะเปลี่ยนไปภายใต้การปกครองของยูคลีดีส (Eucleides) ปี 403-402 ก่อน ค.ศ.\nเป็นช่วงที่ได้รายละเอียดเกี่ยวกับการปกครองมากที่สุด ไม่ใช่ได้ในช่วงการปกครองของเพริคลีส\nต่อมาจึงถูกระงับอีกในปี 322 ก่อน ค.ศ. ภายใต้การปกครองของชาวมาเซโดเนีย\nแม้ภายหลังสถาบันของชาวเอเธนส์จะกลับคืนมาอีก แต่ความเป็นประชาธิปไตยจริง ๆ ของระบอบก็เป็นเรื่องไม่ชัดเจน\nในปัจจุบัน รูปแบบบริสุทธิ์ของประชาธิปไตยโดยตรงมีอยู่เพียงแค่ในแคนทอนอัพเพินท์เซลล์อินเนอร์โรเดิน (Appenzell Innerrhoden) และแคนทอนกลารุส แห่งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ \nเทียบกับสมาพันธรัฐสวิสโดยรวมที่เป็นประชาธิปไตยกึ่งโดยตรง คือเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนที่มีกลไกทางประชาธิปไตยโดยตรงที่เข้มแข็ง\nความเป็นประชาธิปไตยโดยตรงของประเทศ จะบูรณาการด้วยโครงสร้างแบบสหพันธรัฐของรัฐบาลกลาง () \nเทียบกับประเทศตะวันตกโดยมากที่เป็นระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน", "title": "ประชาธิปไตยโดยตรง" }, { "docid": "749#18", "text": "ใน พ.ศ. 2474 ปรีดีเป็นคนแรกที่เริ่มสอนวิชากฎหมายปกครอง (Droit Administratif) กล่าวกันว่าวิชากฎหมายปกครองนี้ เป็นวิชาที่สร้างชื่อเสียงแก่ปรีดีเป็นอย่างมาก เพราะสาระของวิชานี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิชากฎหมายมหาชน ซึ่งอธิบายถึงหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยอันเป็นหัวใจของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในขณะที่ประเทศไทยยังคงปกครองอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในขณะเดียวกัน ก็ได้อาศัยการสอนที่โรงเรียนดังกล่าว ปลุกจิตสำนึกนักศึกษาให้สนใจเป็นขั้น ๆ ถึงความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนระบบการปกครองจากระบบเดิมให้เป็นระบบราชาธิปไตยภายใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังได้เปิดอบรมทบทวนวิชากฎหมายที่บ้านถนนสีลมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์กับนักศึกษาให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จึงมีลูกศิษย์ลูกหาเข้าร่วมเป็นสมาชิกและผู้สนับสนุนคณะราษฎรในเวลาต่อมาหลายคน", "title": "ปรีดี พนมยงค์" }, { "docid": "8836#17", "text": "ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยแม้จะให้ถือเอามติฝ่ายเสียงข้างมากเป็น เกณฑ์ก็ตาม แต่หากละเลยหรือใช้อำนาจตามอำเภอใจกดขี่ข่มเหงฝ่ายเสียงข้างน้อยโดยไม่ฟังเหตุผลและขาดหลักประกันจนทำให้ฝ่ายเสียงข้างน้อยไม่มีที่อยู่ที่ยืนตามสมควรแล้วไซร้ จะถือว่าเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างไร หากแต่ก็จะกลับกลายเป็นระบอบเผด็จการฝ่ายข้างมาก ขัดแย้งต่อระบอบการปกครองของประเทศไปอย่างชัดแจ้ง", "title": "ศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)" }, { "docid": "936#37", "text": "ในทางพฤตินัย ปัจจุบันประเทศไทยปกครองในระบอบเผด็จการทหาร คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ควบคุมอำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ต่อมาในปี 2560 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ในรัฐธรรมนูญดังกล่าว ระบุว่า ประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา หรือใช้ว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยกำหนดรูปแบบองค์กรบริหารอำนาจทั้งสามส่วนดังนี้", "title": "ประเทศไทย" }, { "docid": "49829#1", "text": "พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน แถลงสาเหตุเมื่อวันที่ 21 กันยายน และให้คำมั่นว่าจะฟื้นฟูรัฐบาลระบอบประชาธิปไตยภายในหนึ่งปี อย่างไรก็ตาม คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขประกาศว่า หลังจากการเลือกตั้งและการตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยแล้ว คณะปฏิรูปการปกครองจะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปแบบของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งยังไม่มีการอธิบายบทบาทที่มีต่อการเมืองไทยในอนาคต[1]", "title": "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549" }, { "docid": "69653#9", "text": "ก่อนที่ราชอาณาจักรไทยจะมีรัฐธรรมนูญนั้น ราชอาณาจักรไทยมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ไทยเชิงการเมืองการปกครอง เมื่อคณะราษฎร ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการสายทหารบก ทหารเรือ และสายพลเรือน จำนวน 99 คน โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้า ร่วมกันยึดอำนาจการปกครองประเทศจากพระมหากษัตริย์ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทรงตัดสินพระทัยที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยสงบ ดังความตามพระราชหัตถเลขา (ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ) ที่ทรงเขียนในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2475 ไม่ลงวันที่ พระราชทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ซึ่งได้แปลเป็นภาษาไทยในหนังสือเรื่อง เกิดวังปารุสก์ เล่ม 2 ความดังนี้[2]", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" }, { "docid": "57119#19", "text": "ตั้งแต่ที่ตาอั้นกลับมาก็มีความคิดอย่างหนึ่งที่ทำให้แม่พลอยตกใจ ซึ่งก็คือความคิดเกี่ยวกับบ้านเมืองของตาอั้น ซึ่งก็คือความคิดเสรีนิยมและเกี่ยวกับการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ได้ไปเรียนรู้ตอนไปเรียนเมืองนอก ในช่วงนั้นผู้คนก็ต่างพูดกันเรื่องเกี่ยวกับคำทำนายที่ว่าพระมหากษัตริย์จะสิ้นพระราชอำนาจ หลังจากนั้นไม่นาน ประเทศไทยก็ได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย", "title": "สี่แผ่นดิน" }, { "docid": "17648#43", "text": "ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกำลังทรงแสวงหาแนวทางอยู่นั้น การแสดงความคิดเห็นในหน้าหนังสือพิมพ์เรื่องประชาธิปไตยมีมากขึ้น เช่นใน บางกอกการเมือง ผู้ใช้นามว่า พระจันทร เขียนว่าไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่ยังคงใช้การปกครองในระบอบพระราชาอยู่เหนือกฎหมาย ราษฎรไม่มีเสียงเลยในการปกครองซึ่งทำให้คนมีเงินได้เปรียบคนจน แล้วยกตัวอย่างสหรัฐอเมริกาว่ามีการปกครองแบบรีปับลิค ซึ่งเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทำให้ประเทศเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็วจนเป็นประเทศที่มั่งคั่งที่สุดภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง", "title": "ความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยาม" }, { "docid": "17648#1", "text": "ความคิดและความเคลื่อนไหวเพื่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย มีมาจากประชาชนในยุโรป และสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 23 การปกครองของอังกฤษซึ่งค่อย ๆ ดำเนินไปสู่ระบบรัฐสภาแห่งเสรีประชาธิปไตย โดยไม่ต้องมีการปฏิวัติเสียเลือดเนื้อ การเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองของสหรัฐอเมริกาจากอังกฤษใน พ.ศ. 2319 (ค.ศ. 1776) และการปฏิวัติฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) หลังจากนั้นความคิดแบบประชาธิปไตยก็แพร่ขยายไปยังประเทศต่าง ๆ ประเทศไทยก็ได้รับแนวความคิดเรื่องการปกครองประเทศระบอบประชาธิปไตย ด้วยการติดต่อกับประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา", "title": "ความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยาม" }, { "docid": "49864#4", "text": "มีหน้าที่ อ่าน แถลงการณ์ คำสั่ง และ ประกาศ ต่างๆ ของ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ออกอากาศ เป็น รายการพิเศษ ทาง โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย โดยมี สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เป็นแม่ข่าย มีรายนามดังต่อไปนี้เดิม คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Council for Democratic Reform under Constitutional Monarchy (อักษรย่อ CDRM) ต่อมาได้ตัดคำว่า \"under Constitutional Monarchy\" ออก เพื่อไม่ให้สื่อต่างประเทศนำไปตีความว่า คณะปฏิรูปฯ เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็น Council for Democratic Reform (อักษรย่อ CDR) โดยยังคงใช้ชื่อภาษาไทยตามเดิม ", "title": "คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" }, { "docid": "7892#10", "text": "อ้างว่าเกาะอาร์วัด (ปัจจุบันคือ ประเทศซีเรีย) ซึ่งชาวฟินิเซียก่อตั้งขึ้นเมื่อสหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล เป็นตัวอย่างหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยที่พบในโลก[20] ซึ่งที่นั่น ประชาชนถืออำนาจอธิปไตยของตน และอีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าเป็นไปได้ คือ ประชาธิปไตยยุคเริ่มแรกอาจมาจากนครรัฐสุเมเรียน[21] ฝ่ายเวสาลี ซึ่งปัจจุบันคือรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย เป็นรัฐบาลแรก ๆ ของโลกที่มีองค์ประกอบอันพิจารณาได้ว่ามีการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นแห่งแรกของโลก (แต่มีบางคนโต้แย้งว่าการปกครองของเวสาลีนั้นไม่เป็นราชาธิปไตยก็จริง แต่น่าจะมีลักษณะเป็นคณาธิปไตยมากกว่าประชาธิปไตย) และยังปรากฏว่ามีการปกครองที่คล้ายคลึงกับประชาธิปไตยหรือคณาธิปไตยเกิดขึ้นชั่วคราวโดยชาวเมเดส ช่วงศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล แต่ถึงคราวสิ้นสุดเมื่อถึงรัชกาลพระเจ้าดาไรอัสมหาราชแห่งราชวงศ์อาร์เคเมนิด ผู้ทรงประกาศว่า ระบอบราชาธิปไตยที่ดีนั้นย่อมเหนือกว่าระบอบคณาธิปไตยและระบอบประชาธิปไตยทุกรูปแบบ[22]", "title": "ประชาธิปไตย" }, { "docid": "236023#1", "text": "สำหรับที่มานั้น วลีที่ว่า \"ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข\" เพิ่งจะมีขึ้นในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 2 ความว่า \"ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข\" ทั้งนี้ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ ได้ให้ความเห็นไว้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวร่างขึ้นภายใต้อิทธิพลของพลังอนุรักษนิยม ซึ่งขณะนั้นมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวแทนทางการเมืองที่สำคัญ แต่การปรากฏขึ้นครั้งแรกนี้ ยังไม่ได้ยืนยันความเป็นชื่อเฉพาะของระบอบการปกครองแต่อย่างใด หากแต่การปรากฏขึ้นซ้ำในภายหลัง คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 และ พ.ศ. 2519 เป็นสองฉบับแรกที่ยืนยันความชอบธรรมของ \"ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข\"สมศักดิ์ได้ให้ความเห็นไว้อีกว่า หน้าที่ (function) ของการยืนยันในสองฉบับมีความต่างกัน โดยฉบับ พ.ศ. 2511 เพื่อต่อต้านการเมืองและพรรคการเมืองสมัยใหม่ที่เพิ่งปรากฏตัวขึ้น และฉบับ พ.ศ. 2519 เพื่อต่อต้านฝ่ายซ้าย", "title": "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" }, { "docid": "85846#3", "text": "เทศบาลนครนนทบุรีมีอาณาเขตครอบคลุม 5 ตำบลของอำเภอเมืองนนทบุรี ได้แก่ ตำบลสวนใหญ่, ตำบลตลาดขวัญ, ตำบลบางเขน, ตำบลบางกระสอ และตำบลท่าทราย มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 38.90 ตารางกิโลเมตรความหมายของดวงตราของเทศบาลนครนนทบุรี เป็นรูปพานรัฐธรรมนูญเพราะได้พิจารณาเห็นว่าเทศบาลมีกำเนิดขึ้นในประเทศไทย เมื่อประเทศไทยได้เปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2475 เทศบาลจึงได้กำหนดตราเป็นรูปพานรัฐธรรมนูญ มิใช่แต่แสดงว่าเทศบาลเกิดขึ้นได้เพราะมีการปกครองตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่ยังได้แสดงถึงการปกครองระบอบประชาธิปไตย", "title": "เทศบาลนครนนทบุรี" }, { "docid": "236023#0", "text": "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข () เป็นชื่อเรียกระบอบการปกครองในประเทศไทย ที่รวมเอาทั้งรูปแบบการปกครอง (form of government) ประเภทประชาธิปไตยโดยมีรัฐสภา (parliamentary democracy) กับรูปแบบรัฐ (form of state) ) ไว้ในคำเดียวกัน ", "title": "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" }, { "docid": "71207#14", "text": "ประการที่ 3 รัฐบาลเป็นเผด็จการทางรัฐสภา นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าพรรครัฐบาลได้ร่วมมือพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล รวมทั้งคณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีบ้านพิษณุโลก ใช้อุบายอันแยบยลทางการเมืองสร้างภาพลวงตาประชาชนว่าเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แล้วพลิกแพลงหาประโยชน์เป็นที่ประจักษ์ชัดโดยทั่วไป แท้จริงแล้วใช้ผลประโยชน์เป็นตัวนำการเมือง ระดับรัฐมนตรีที่ทำหน้าที่บริหาร รวมทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ นำประเทศไปสู่การปกครองระบอบเผด็จการทางรัฐสภาเมื่อเป็นเช่นนี้ การวางตัวบุคคลในตำแหน่งสำคัญทั้งทางการเมืองและข้าราชการประจำจึงตกอยู่กับพรรคพวกนายกรัฐมนตรีทั้งสิ้น เป็นช่องทางที่ก่อให้เกิดการกอบโกยผลประโยชน์ จึงนับว่าเป็นภัยอันตรายอย่างยิ่งต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ", "title": "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534" }, { "docid": "6000#6", "text": "ในยุคปัจจุบันที่ปรากฏมากที่สุดคือ “อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง” (electoral authoritarianisms) หรือระบอบอำนาจนิยมที่มีเปลือกนอกฉาบด้วยผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งปรากฏให้เห็นในหลายประเทศแถบตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ (Linz, 2000: 34; Badie, 2011: 107) ในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน กระบวนการอันสำคัญและจำเป็นกระบวนการหนึ่งที่มิอาจขาดหายไปได้เลยก็คือ การเลือกตั้ง (election) เพราะเป็นกระบวนการที่จะทำให้ประชาชนเจ้าของอำนาจได้แสดงออกซึ่งเจตจำนงเสรีของแต่ละบุคคล ทว่าการเลือกตั้งก็อาจมิใช่ตัวบ่งชี้ถึงความเป็นประชาธิปไตยเสมอไป เพราะระบอบอำนาจนิยมในหลายประเทศได้อาศัยกระบวนการเลือกตั้งมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมในการปกครอง และการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเพื่อประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ด้วยการอ้างเสียงสนับสนุนข้างมาก ทำให้เกิดอำนาจนิยมแบบใหม่ที่เรียกว่า อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง (electoral authoritarianism) ทำให้เกิดข้อถกเถียงว่า การเลือกตั้งมิได้เท่ากับการมีประชาธิปไตยเสมอไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การเลือกตั้งเป็นปัจจัยที่ “จำเป็น” แต่อาจไม่ “เพียงพอ” ที่จะแบ่งระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ออกจากระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย", "title": "ลัทธิอำนาจนิยม" }, { "docid": "6000#11", "text": "ช่วงเวลาที่ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบอำนาจนิยมที่ชัดเจนที่สุดเห็นจะได้แก่ ช่วงปี พ.ศ. 2500 -2516 หรือ ในช่วงระบอบสฤษดิ์ และระบอบถนอม-ประภาส นั่นเอง โดยในช่วง พ.ศ. 2502-2506 ที่ได้มีการประกาศธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2502 ทำให้นายกรัฐมนตรี คือจอมพลสฤษดิ์สามารถใช้อำนาจตามมาตรา 17 ซึ่งบัญญัติข้อความให้อำนาจแก่นายกรัฐมนตรีในกรณีพิเศษไว้อย่างกว้างขวาง แม้กระทั่งสามารถสั่งประหารประชาชนโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการยุติธรรม ไม่มีเสรีภาพของสื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่างๆ และที่สำคัญก็คือ ไม่มีพรรคการเมือง และการเลือกตั้ง อำนาจการเมืองทั้งหมดจึงอยู่ในมือของจอมพลสฤษดิ์แต่เพียงผู้เดียว ที่แต่งตั้งตนเองเป็นทั้งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก และอธิบดีกรมตำรวจ การจัดวางความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆในสังคมในสายตาของจอมพลสฤษดิ์ตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่า รัฐบาลต้องมีอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศ โดยมีเป้าหมายหลักอยู่ที่เสถียรภาพทางการเมืองและความเป็นปึกแผ่นของชาติ ส่วนระบบราชการมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาลโดยเฉพาะจากตัวผู้นำคือจอมพลสฤษดิ์ ภายใต้ตรรกะนี้ ข้าราชการจึงมีหน้าที่หลักเป็นผู้รับใช้รัฐบาล ไม่ใช่รับใช้ประชาชน แนวคิดของจอมพลสฤษดิ์เป็นการประยุกต์ประเพณีการจัดระเบียบการเมืองการปกครองของไทยแบบพ่อปกครองลูกที่มีพื้นฐานอยู่บนประวัติศาสตร์และจารีตดั้งเดิมในสมัยสุโขทัย แนวคิดดังกล่าวถูกเรียกขานว่า “ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์” (ทักษ์, 2552: 226-227) ซึ่งได้กลายเป็นที่มาของวาทกรรม “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ที่ใช้สร้างความชอบธรรมทางการเมืองท่ามกลางความล้มเหลวในการวางรากฐานประชาธิปไตยของสังคมไทยมาหลายทศวรรษ", "title": "ลัทธิอำนาจนิยม" }, { "docid": "79585#31", "text": "เนื่องจากประชาธิปไตยเสรีนิยมเป็นรูปแบบหนึ่งของประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน จึงเป็นระบบที่ไม่เอาใจใส่ความต้องการของประชาชนทั่วไปโดยตรงยกเว้นช่วงเลือกตั้ง\nเพราะผู้แทนจำนวนน้อยเป็นผู้ตัดสินใจและออกนโยบายการบริหารประเทศ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ปกครองชีวิตประชาชน\nนักทฤษฎีอภิสิทธิชน (Elite theory) จึงอ้างว่า ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนรวมทั้งประชาธิปไตยเสรีนิยม เป็นเพียงแค่หน้าฉากของคณาธิปไตย\nและนักทฤษฎีทางการเมืองทรงอิทธิพลก็ได้แสดงประชาธิปไตยเสรีนิยมว่าเป็นพหุธิปไตย (Polyarchy)\nซึ่งแปลว่า การปกครองโดยคนหลายคน เทียบกับ Oligarchy (แปลเป็นภาษาไทยว่า คณาธิปไตย) ซึ่งแปลว่า การปกครองโดยคนน้อยคน\nเพราะเหตุนี้และอื่น ๆ ผู้คัดค้านระบบประชาธิปไตยเสรีนิยม จึงสนับสนุนระบอบการปกครองอื่น ๆ เช่น ประชาธิปไตยโดยตรง", "title": "ประชาธิปไตยเสรีนิยม" }, { "docid": "5256#6", "text": "หลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทยยังถือได้ว่าอยู่ในระบอบเผด็จการในทางปฏิบัติอยู่หลายทศวรรษ ประเทศไทยประสบกับความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และมีการสืบทอดอำนาจรัฐบาลทหารผ่านรัฐประหารหลายสิบครั้ง อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นได้มีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยครั้งสำคัญในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ประชาธิปไตยในประเทศเริ่มมีความมั่นคงยิ่งขึ้น", "title": "ประวัติศาสตร์ไทย" }, { "docid": "49464#2", "text": "รัฐธรรมนูญนิยม มีหลายความหมาย โดยส่วนใหญ่แล้วมักหมายถึงกลุ่มของแนวความคิด ทัศนคติ และรูปแบบพฤติกรรมที่สาธยายเกี่ยวกับหลักการที่การใช้อำนาจของรัฐมาจากกฎหมายสูงสุดและถูกจำกัดอำนาจด้วยกฎหมายสูงสุด \nรัฐธรรมนูญนิยม นิยาม รัฐธรรมนูญนิยม หรือ ระบอบรัฐธรรมนูญ (Constitutionalism) หมายถึง ความเชื่อทางปรัชญาความคิดที่นิยมหลักการปกครองรัฐด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ เป็นแนวความคิดที่มุ่งหมายจะใช้รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร (written constitution) เป็นหลักในการกำหนดรูปแบบ กลไก และสถาบันทางการเมืองการปกครองต่างๆ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานของการบริหารงานภาครัฐในฐานะที่เป็นกฎหมายสูงสุด (อมร จันทรสมบูรณ์, 2537: 9; Alexander, 1999: 16; Bellamy, 2007: 4-5; Sartori, 1962: 3) ที่มา แนวคิดนี้เริ่มก่อตัวขึ้นครั้งแรกในประเทศตะวันตก ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 17 เพื่อต่อต้าน คัดค้านรูปแบบการเมืองการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (absolutism) ของประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปขณะนั้น จนมาปรากฏชัดเจนขึ้นหลังจากการประชุมเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1787 (McIlwain, 1977: 17) ซึ่งทำให้แนวคิดเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรนั้นปรากฏชัดเจนขึ้นเป็นครั้งแรก ดังนั้น แนวคิดเรื่องลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมนี้เมื่อเกิดขึ้นในขั้นต้น จึงไม่ได้มีความหมายกลางๆ แต่อย่างใด หากแต่มีความหมายที่โน้มเอียงไปในด้านการจำกัดอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดของการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในขณะนั้น และเน้นหนักในการพยายามสร้างสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของพลเมืองภายในรัฐ โดยเรียกร้องให้มีการนำสิ่งที่เรียกว่า “รัฐธรรมนูญ” มาใช้เป็นหลักในการวางกรอบของประเด็นดังกล่าว จากลักษณะข้างต้นจึงทำให้ลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมในประเทศตะวันตกนั้นได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตยไปในที่สุด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สำหรับประเทศตะวันตกแล้ว หากจะมีรัฐธรรมนูญก็ควรจะต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยนั่นเอง (Bellamy, 2007: 93) ท่ามกลางกระแสเสรีประชาธิปไตยซึ่งยังคงเป็นกระแสหลักของประเทศส่วนใหญ่ในตะวันตก จึงได้ทำให้คำว่าลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมในปัจจุบันกลับกลายเป็นสิ่งที่มีความหมายกลางๆ ที่มองรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือทางกฎหมายอย่างหนึ่ง ที่จะนำมาใช้วางโครงสร้างสถาบันทางการเมืองการปกครอง กำหนดแหล่งที่มาของอำนาจ การเข้าสู่อำนาจ และการใช้อำนาจของผู้ปกครองในทุกๆ ระบอบการปกครอง (McIlwain, 1977) โดยมิได้จำกัดอยู่แต่เพียงระบอบประชาธิปไตยอีกต่อไป ดังจะเห็นได้จากในปัจจุบันนี้รัฐสมัยใหม่ “ทุกรัฐ” ในโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นประเทศเสรีประชาธิปไตยหรือไม่ ต่างก็ล้วนแล้วแต่ยึดรูปแบบการปกครองของระบอบรัฐธรรมนูญนิยม (constitutionalism) ทั้งสิ้น กล่าวคือ ทุกๆ รัฐต่างก็มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการจัดวางอำนาจและโครงสร้างทางการเมืองของประเทศนั้นๆ (เสน่ห์, 2540: 17) โดยปัจจุบัน (พ.ศ. 2556) ประเทศที่สหประชาชาติให้การรับรองนั้นมีทั้งสิ้น 196 ประเทศ (แต่เป็นสมาชิกสหประชาชาติเพียง 193 ประเทศ) ในขณะที่รัฐธรรมนูญที่เป็นทางการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันในโลกนี้มีทั้งสิ้นกว่า 203 ฉบับ ทั้งนี้เพราะในรัฐโพ้นทะเลบางแห่งอย่างเช่น หมู่เกาะบริติช เวอร์จิน (British Virgin Islands or BVI) ของอังกฤษ หรือ เกาะกรีนแลนด์ของเดนมาร์กนั้นต่างก็เป็นรัฐที่มีรัฐธรรมนูญเป็นของตนเองในฐานะเป็นดินแดนที่มีการปกครองตนเอง แม้ว่าอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน (absolute territorial sovereignty) นั้นจะเป็นของประเทศเจ้าเอกราชก็ตาม ตัวอย่างการนำไปใช้ในประเทศไทย ประเทศไทยเองก็รับเอาลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมนี้เข้ามาใช้อย่างเป็นทางการภายหลังจากการเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับแรกของคณะราษฎร แม้ว่าขบวนการในการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นจะสามารถสร้างระบอบรัฐธรรมนูญขึ้นในประเทศไทยได้ แต่ผลจากการที่การเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดจากการต่อสู้กันเฉพาะภายในกลุ่มชนชั้นนำบางส่วนของไทย ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ถึงขนาดที่มีคนเข้าใจว่า “รัฐธรรมนูญ” เป็นชื่อของลูกชายนายทหารผู้นำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา (ปรีดี, 2543) ทั้งนี้ก็เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ได้มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือต่อสู้บนพื้นฐานของความเข้าใจในสิทธิเสรีภาพและการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญ อันจะเป็นเครื่องมือในการสร้างความเสมอภาคเท่าเทียมและเป็นตัวแทนอำนาจอธิปไตยของปวงชน ดังเช่นที่ประชาชนชาติตะวันตกได้ต่อสู้ด้วยความยากลำเค็ญเพื่อก่อร่างสร้างระบอบรัฐธรรมนูญในประเทศของพวกเขา ดังนั้น ระบอบรัฐธรรมนูญของไทยที่เกิดขึ้นภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 จึงสามารถก่อรูปได้ก็แต่เพียงหลักการในการจำกัดอำนาจผู้ปกครอง คือ พระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และทำให้แหล่งที่มาของอำนาจต้องอ้างอิงกับประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยได้ตามหลักการทุกประการ แต่จากการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการต่อสู้มากนักจึงทำให้พวกเขาไม่สามารถเชื่อมโยงจิตสำนึกให้เข้ากับรัฐธรรมนูญได้ แม้จะมีบทบัญญัติถึงหน้าที่ในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญไว้ในรัฐธรรมนูญก็ตาม จุดนี้เองที่ทำให้ประชาชนไม่ให้ความสำคัญกับรัฐธรรมนูญ และทำให้รัฐธรรมนูญขาดความศักดิ์สิทธิ์ กฎหมายรัฐธรรมนูญไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 จึงกลายเป็นผลลัพธ์และการรอมชอมจากการต่อสู้ของกลุ่มชนชั้นนำทางการเมืองกลุ่มต่างๆ ของไทย ซึ่งสามารถถูกฉีกทิ้งและร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาแทนในภายหลังได้อย่างง่ายดาย (เสน่ห์, 2540: 31-35) อย่างไรก็ดี หลังจากเหตุการณ์การเรียกร้องให้มีการใช้รัฐธรรมนูญในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 ของขบวนการนิสิตนักศึกษาไทย ได้แสดงให้เห็นถึงจุดเปลี่ยนครั้งยิ่งใหญ่ในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย โดยเฉพาะในแง่ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ปรากฏการณ์นี้สะท้อนว่า คนส่วนหนึ่งของสังคมได้เริ่มตระหนักรู้และเข้าใจความสำคัญของรัฐธรรมนูญในฐานะที่เป็นตัวแทนอำนาจอธิปไตยสูงสุดของปวงชน และเป็นเครื่องมือที่จะนำไปใช้จำกัดอำนาจของผู้ปกครองจากการใช้อำนาจอันมิชอบ (abuse of power) ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถมีเสรีภาพและความเสมอภาคเท่าเทียมที่ถูกรับรองไว้ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญได้อย่างถ้วนหน้า ซึ่งเป็นแก่นของระบอบรัฐธรรมนูญนั่นเอง (เสน่ห์, 2540: 316) จากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เองที่ทำให้ลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมเริ่มเข้ามามีบทบาทในการเมืองไทย ในฐานะที่เป็นแนวคิดที่จะสร้างกลไกทางกฎหมายรัฐธรรมนูญที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย คือ จำกัดอำนาจผู้ปกครอง และสร้างเสรีภาพให้แก่พลเมืองให้มากที่สุด จึงทำให้แนวคิดนี้เติบโตออกไปจากเดิมมาก แม้ช่วงเวลาหลังจากการเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ประเทศไทยจะต้องเผชิญกับยุคที่รัฐธรรมนูญมีลักษณะที่เป็นประชาธิปไตยเพียงครึ่งใบก็ตาม และด้วยกระแสลัทธิรัฐธรรมนูญนิยมที่เติบโตขึ้นจึงทำให้ท้ายที่สุดในปี พ.ศ. 2540 ประเทศไทยก็สามารถประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ได้ชื่อว่าประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยกร่าง และจัดทำรัฐธรรมนูญมากที่สุดฉบับหนึ่ง ซึ่งถึงแม้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจะสามารถนำมาบังคับใช้ได้แค่เพียง 9 ปีก่อนจะเกิดการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 แต่จะเห็นได้ว่าการฉีกรัฐธรรมนูญของคณะทหารในครั้งนี้แตกต่างจากครั้งก่อนๆ เพราะครั้งนี้ได้เกิดกระแสต่อต้านคณะรัฐประหารที่ทำลายรัฐธรรมนูญเป็นอย่างมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการที่ดีของประเทศไทยที่ประชาชนเริ่มผูกโยงความสำคัญของตัวรัฐธรรมนูญเข้ากับการมีอยู่ของสิทธิและเสรีภาพของตนที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากกว่าเพียงแค่ตัวอักษรที่จารึกไว้ในกระดาษ หากแต่เป็นเจตนารมณ์ของตัวรัฐธรรมนูญที่คอยปกป้องสิทธิ เสรีภาพของประชาชนอันเป็นปัจจัยพื้นฐานของรัฐธรรมนูญทุกรัฐธรรมนูญในระบอบรัฐธรรมนูญ (every constitutionalism’s constitution) นั้นพึงมี\nความหมายของรัฐธรรมนูญที่ได้รับการยอมรับของโลก เป็นความหมายที่ เดวิด เฟลล์แมน เมธีด้านรัฐศาสตร์และรัฐธรรมนูญแห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ได้อธิบายไว้ว่า", "title": "รัฐธรรมนูญนิยม" }, { "docid": "69653#5", "text": "สำหรับประเทศไทย ในส่วนที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญนั้นนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2 ลักษณะคือ รัฐธรรมนูญ มุ่งจะใช้บังคับเป็นการถาวรโดยที่มีการยกร่างกันอย่างเป็นระบบ กับรัฐธรรมนูญที่มุ่งจะใช้บังคับเป็นการชั่วคราวซึ่งมักเรียก ธรรมนูญการปกครอง", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" }, { "docid": "49829#25", "text": "ประชาชนจำนวนหนึ่งออกมาให้กำลังใจทหารที่จุดต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณกองบัญชาการกองทัพบก หลังการยึดอำนาจของคณะปฏิรูปฯ โดยแสดงความชื่นชมเหล่าทหาร ด้วยการมอบดอกไม้ ส่งยิ้ม ถ่ายรูปด้วย กระทั่งมีการพ่นสีข้อความว่า \"พล.อ.สนธิ วีรบุรุษชาวไทย\" และ \"กองทัพเพื่อประชาชน\" บนตัวถังรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยู ซีรีส์ 7 เป็นต้น นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจำนวนหนึ่ง ในบริเวณถนนราชดำเนินให้สัมภาษณ์ว่าไม่ตื่นตะหนก และร่วมถ่ายรูปกับทหารและรถถัง (ซึ่งประดับด้วยดอกไม้ที่ประชาชนมอบให้) เป็นที่ระลึก หรือมอบน้ำ อาหาร ให้แก่ทหารด้วย[20] หม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวชื่นชมว่า \"จากที่ดูภาพในซีเอ็นเอ็น เป็นการยึดอำนาจที่เรียบร้อยที่สุด ไม่มีเสียเลือดเสียเนื้อ เราก็รู้สึกสบายใจว่ามันคงไม่กระทบความเชื่อมั่น เพราะการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ประชาชนยอมรับ ขณะที่ต่างชาติก็รู้สึก ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อการลงทุน\"[21] สวนดุสิตโพลสอบถามความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 2,019 คน ในวันที่ 20 กันยายน 49 พบว่า 83.98% เห็นด้วยกับรัฐประหาร เนื่องจากเห็นว่าการเมืองจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ส่วนประชาชนที่ไม่เห็นด้วย มีความเห็นว่าภาพลักษณ์ของประเทศอาจตกต่ำลง[22] ผลสำรวจแตกต่างจากโพลสำรวจการเลือกตั้งเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งมีผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทยถึง 49%[23] กลุ่มนักธุรกิจทั่วประเทศแสดงความคิดเห็นโดยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการปฏิรูปการปกครองครั้งนี้ โดยเชื่อว่าเศรษฐกิจกระทบบ้างแต่ชั่วคราว และจะสยบความวุ่นวายของประเทศ[24] นายแพทย์พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ประธานชมรมแพทย์ชนบท เห็นด้วยต่อการยึดอำนาจ เนื่องจากประเทศมีปัญหาจากผู้นำที่ไม่ชอบธรรม และบริหารด้วยระบอบเผด็จการประชาธิปไตย จึงควรหยุดระบอบเผด็จการนั้น เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศน้อยที่สุด การปฏิรูปฯ ครั้งนี้เป็นการดีที่ไม่เสียเลือดเนื้อ[24] สมภพ บุนนาค แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จังหวัดขอนแก่น กล่าวเห็นชอบกับ คปค.ว่า \"การยึดอำนาจของ คปค.ครั้งนี้ แม้จะขัดกับหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็เห็นชอบ เพราะเป็นการปลดล็อกปมปัญหาของชาติ เพื่อสะสางอุปสรรคสังคมการเมืองให้สามารถเดินต่อไปได้อย่างมั่นคง การต่อสู้ของภาคประชาชนที่ผ่านมาเพื่อล้มระบอบทักษิณ ไม่สามารถผ่าทางตันได้ จำเป็นที่ทหารต้องเข้ามาจัดการหาทางออกให้ อย่างไรก็ตาม ภาคประชาชนต้องติดตามต่อว่า ภายหลัง เข้ามาแก้ปัญหาของ คปค.ครั้งนี้จะคืนอำนาจให้ประชาชนได้เร็ว ตามที่หัวหน้าคณะฯได้ประกาศไว้หรือไม่\" และแสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า อาจมีกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารของ คปค.ว่า \"กลุ่มบุคคลกลุ่มนี้ไม่เข้าใจระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง ประชาธิปไตยไม่ได้มีความหมายเพียงแค่ว่าประชาชนใช้สิทธิหย่อนบัตรเลือกตั้งแล้วก็จบ มีบริบทแวดล้อมหลายประการที่ประกอบเป็นระบอบประชาธิปไตย\"[25]", "title": "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549" }, { "docid": "11232#2", "text": "นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 กระทั่งได้มีการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ประเทศไทยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป 19 ครั้ง ดังนี้", "title": "คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)" } ]
3824
จังหวัดลพบุรี มีคำขวัญประจำจังหวัดว่าอะไร ?
[ { "docid": "5358#22", "text": "ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกพิกุล (Mimusops elengi) ต้นไม้ประจำจังหวัด: พิกุล (Mimusops elengi) คำขวัญประจำจังหวัด: วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเลื่อง เมืองแห่งดินสอพอง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เกริกก้อง แผ่นดินทองสมเด็จพระนารายณ์", "title": "จังหวัดลพบุรี" } ]
[ { "docid": "6470#23", "text": "คำขวัญประจำจังหวัดอุตรดิตถ์แต่งขึ้นในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ในสมัยนั้นได้นำนโยบายนี้เข้าสู่ที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการและมีการคิดประกอบคำขวัญจังหวัดอุตรดิตถ์ขึ้นเป็นตัวอย่าง เพื่อมอบให้วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์กำหนดกรอบแนวคิดการประกวดคำขวัญประจำจังหวัดต่อไป อย่างไรก็ดี คำขวัญที่คิดในที่ประชุมส่วนราชการได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางและเป็นที่รู้จักทั่วไป จึงไม่ได้มีการคิดประกวดคำขวัญใหม่ ทำให้คำขวัญดังกล่าวยังคงใช้เป็นคำขวัญประจำจังหวัดมาจนปัจจุบัน[20]", "title": "จังหวัดอุตรดิตถ์" }, { "docid": "4775#33", "text": "ดอกไม้ประจำจังหวัด: จังหวัดเพชรบุรีไม่มีการกำหนดดอกไม้ประจำจังหวัดอย่างเป็นทางการ แต่ได้ใช้ดอกลั่นทมเป็นสัญลักษณ์เสมือนเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดโดยตลอด ต้นไม้ประจำจังหวัด: หว้า (Eugenia cumini) คำขวัญประจำจังหวัด: เขาวังคู่บ้าน ขนมหวานเมืองพระ เลิศล้ำศิลปะ แดนธรรมะ ทะเลงาม อักษรย่อ: พบ", "title": "จังหวัดเพชรบุรี" }, { "docid": "11847#79", "text": "ตราประจำจังหวัดของไทย ตราผ้าผูกคอลูกเสือประจำจังหวัด รายชื่อธงประจำจังหวัดของไทย รายชื่อพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด รายชื่อดอกไม้ประจำจังหวัดของไทย รายชื่อสัตว์น้ำประจำจังหวัดของไทย", "title": "รายชื่อคำขวัญประจำจังหวัด" }, { "docid": "11847#67", "text": "คำขวัญประจำจังหวัด: ชาวตรังใจกว้าง สร้างแต่ความดี[13] คำขวัญส่งเสริมการท่องเที่ยว: เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา", "title": "รายชื่อคำขวัญประจำจังหวัด" }, { "docid": "6522#8", "text": "คำขวัญประจำจังหวัด: กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม ตราประจำจังหวัด: รูปพระเจ้าตนหลวงวัดศรีโคมคำ ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นสารภี ([Mammea siamensis]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกสารภี", "title": "จังหวัดพะเยา" }, { "docid": "4475#6", "text": "ตราประจำจังหวัด: พระบรมธาตุไชยา ซึ่งมีศิลปะแบบศรีวิชัย ตั้งอยู่ ณ วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร โดยสร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-14 ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นเคี่ยม (Cotylelobium melanoxylon) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกบัวผุด (Rafflesia kerrii) สัตว์นํ้าประจำจังหวัด: ปลาตะพัดเขียว (Scleropages formosus) คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ คำขวัญประจำจังหวัดในอดีต: สะตอวัดประดู่ พลูคลองยัน ทุเรียนหวานมันคลองพระแสง ย่านดินแดงของป่า เคียนซาบ่อถ่านหิน พุนพินมีท่าข้ามแม่น้ำตาปี ไม้แก้วดีเขาประสงค์ กระแดะดงลางสาด สิ่งประหลาดอำเภอพนม เงาะอุดมบ้านส้อง จากและคลองในบาง ท่าฉางต้นตาล บ้านนาสารแร่ ท่าอุแทวัดเก่า อ่าวบ้านดอนปลา ไชยาข้าว มะพร้าวเกาะสมุย (แต่งโดยพระเทพรัตนกวี (ก.ธรรมวร) อดีตเจ้าคณะจังหวัด) ธงประจำจังหวัด: คือ มี 2 แถบสี ได้ แถบบนสีแสด แถบล่างสีเหลือง และมีตราประจำจังหวัดกลางผืนธง ตัวอักษรย่อของชื่อจังหวัด: สฎ ลักษณะรูปร่างของจังหวัด: ลักษณะรูปร่างของจังหวัดมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับ \"ผีเสื้อที่กำลังกางปีกโบยบินอยู่\" เพลงประจำจังหวัด:", "title": "จังหวัดสุราษฎร์ธานี" }, { "docid": "6471#17", "text": "ตราประจำจังหวัด: รูปพระธาตุแช่แห้งประดิษฐานบนหลังโคอุศุภราช ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกเสี้ยวดอกขาว ( Linn.) ต้นไม้ประจำจังหวัด: กำลังเสือโคร่ง ( Buch.-Ham.) คำขวัญประจำจังหวัด: แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง", "title": "จังหวัดน่าน" }, { "docid": "6866#8", "text": "ต้นไม้ประจำจังหวัด: สนสามใบ (Pinus kesiya) คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม ดอกไม้งามสามฤดู ถิ่นที่อยู่อริยสงฆ์ มั่นคงความสะอาด ลักษณะรูปร่างของจังหวัดเลย: ลักษณะรูปร่างของจังหวัดเลยมีรูปร่างคล้ายกับ \"ศีรษะของลูกไดโนเสาร์พันธุ์ไทรเซอราทอปส์ที่ไม่มีเขา\"", "title": "จังหวัดเลย" }, { "docid": "6803#25", "text": "ตัวอักษรย่อ จังหวัดนนทบุรีใช้อักษรย่อ \"นบ\" คำขวัญประจำจังหวัด พระตำหนักสง่างาม ลือนามสวนสมเด็จ เกาะเกร็ดแหล่งดินเผา วัดเก่านามระบือ เลื่องลือทุเรียนนนท์ งามน่ายลศูนย์ราชการ ตราประจำจังหวัด รูปหม้อน้ำลายวิจิตร หมายถึง ชาวจังหวัดนนทบุรีมีอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งยึดถือเป็นอาชีพและมีชื่อเสียงมาช้านาน ต้นไม้ประจำจังหวัด ต้นนนทรี ([Peltophorum pterocarpum]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ดอกไม้ประจำจังหวัด ดอกนนทรี สัตว์น้ำประจำจังหวัด ปลาเทพา ([Pangasius sanitwongsei]error: {{lang}}: text has italic markup (help))", "title": "จังหวัดนนทบุรี" }, { "docid": "7821#34", "text": "คำขวัญประจำจังหวัด: หลวงพ่อโตคู่บ้าน ถิ่นฐานปราสาทขอม ข้าว หอม กระเทียมดี มีสวนสมเด็จ เขตดงลำดวน หลากล้วนวัฒนธรรม เลิศล้ำสามัคคี ตราประจำจังหวัด: รูปปรางค์กู่มีดอกลำดวน 6 กลีบอยู่เบื้องล่าง (เดิมใช้ภาพปราสาทหินเขาพระวิหารเป็นตราประจำจังหวัด มาเปลี่ยนเป็นตราปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. 2512[28] ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นลำดวน ([Melodorum fruticosum]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกลำดวน สัตว์น้ำประจำจังหวัด: กบนา ([Hoplobatrachus rugulosus]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัด: ด้านหน้าภาพปราสาทสระกำแพงใหญ่, ด้านหลังภาพ ปรางค์กู่และดอกลำดวน", "title": "จังหวัดศรีสะเกษ" }, { "docid": "5487#5", "text": "ธงประจำจังหวัด: ธงพื้นสีแดง-เหลือง-เขียว แบ่งตามแนวนอน แถบสีเหลืองนั้นกว้างเป็น 2 เท่าของแถบสีแดงและสีเขียว ที่มุมธงด้านคันธงมีตราประจำจังหวัดเป็นรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชประทับบนพระแท่นมนังคศิลาอาสน์ ตราประจำจังหวัด: ภาพพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง ประทับบนพระแท่นมนังคศิลา ปกครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข และทรงบริหารราชอาณาจักรแห่งนี้ให้เจริญรุ่งเรืองที่สุดในช่วงปี พ.ศ. 1822 ถึง พ.ศ. 1842 คำขวัญประจำจังหวัด: มรดกโลกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง ดำรงพุทธศาสนา งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข (แต่งโดยสำราญ สีแก้ว อาจารย์โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา อำเภอสวรรคโลก โดยคำขวัญเดิมคือ \"กำเนิดอักษรไทย งานใหญ่ลอยกระทง มั่นคงพุทธศาสนา พระแม่ย่ามิ่งเมือง อดีตรุ่งเรืองคือเมืองสุโขทัย\") พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด: ต้นมะค่า ([Afzelia xylocarpa]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นตาล ([Borassus flabellifer]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกบัวหลวง ([Nymphaea lotus]error: {{lang}}: text has italic markup (help))", "title": "จังหวัดสุโขทัย" }, { "docid": "7860#1", "text": "คำขวัญประจำจังหวัด: พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร ตราประจำจังหวัด: รูปต้นรังใหญ่ (มาจากคำว่า มหาสาละ ในชื่อจังหวัดมหาสารคาม) กับทุ่ง ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นพฤกษ์หรือต้นมะรุมป่า ([Albizia lebbeck]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกลั่นทมขาวหรือดอกจำปาขาว ([Plumeria alba]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) สัตว์น้ำประจำจังหวัด: ปูทูลกระหม่อมหรือปูแป้ง ([Thaipotamon chulabhorn]error: {{lang}}: text has italic markup (help))", "title": "จังหวัดมหาสารคาม" }, { "docid": "294792#1", "text": "ในอดีตจังหวัดลพบุรียังเป็นขนาดจังหวัดเล็ก ชุมชนยังไม่หนาแน่นมากจากบริเวณท่าหินไปถึงท่าโพธิ์ ซึ่งในปีนั้นกระทรวงกลาโหมโดยมี พันเอกหลวงพิบูลสงคราม (ยศขณะนั้น) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มีดำริที่จะย้ายหน่วยทหารบางส่วนจากกรุงเทพมหานครมาตั้งที่จังหวัดลพบุรี ใน พ.ศ. 2480 พร้อมกับเล็งเห็นว่า เมื่อมีหน่วยทหารและครอบครัวมาตั้งรกรากมากขึ้นในจังหวัดลพบุรี หากมีการเจ็บป่วยก็ย่อมเป็นปัญหาใหญ่ทางการรักษาพยาบาลจึงได้คิดวางแนวทางที่จะตั้งโรงพยาบาลไว้ในจังหวัดลพบุรีอีกแห่งหนึ่ง เพื่อรองรับการแก้ปัญหาการเจ็บไข้ได้ป่วยของทหาร, ครอบครัว, ประชาชนและพลเรือนในจังหวัดลพบุรี รวมทั้งจังหวัดใกล้เคียง เพราะในระยะเวลานั้นทั้งจังหวัดสิงห์บุรี, จังหวัดเพชรบูรณ์, จังหวัดสระบุรี และจังหวัดลพบุรียังไม่มีโรงพยาบาลประจำจังหวัด นับว่าเป็นความคิดที่รอบคอบในการวางแผนระยะยาวในสมัยนั้น ดังนั้นโรงพยาบาลอานันทมหิดลก็ได้เริ่มก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2480 และแล้วเสร็จในปีถัดมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จฯ มากระทำพิธีเปิดเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2481 ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับวันเปิดค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ", "title": "โรงพยาบาลอานันทมหิดล" }, { "docid": "15927#1", "text": "ต้นพิกุลเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดลพบุรี และเป็นต้นไม้ประจำเขตมีนบุรี ในกรุงเทพมหานคร ส่วนดอกพิกุลเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดยะลา และจังหวัดลพบุรี และเป็นดอกไม้ประจำโรงเรียนราชินี โรงเรียนราชินีบน โรงเรียนสตรีวิทยา 2 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา๒ โรงเรียนวัดราชโอรส โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 และ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์", "title": "พิกุล" }, { "docid": "2810#5", "text": "อักษรย่อ: จังหวัดสมุทรปราการใช้อักษรย่อ สป ตราประจำจังหวัด: พระสมุทรเจดีย์ ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นโพทะเล ([Thespesia populnea]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกดาวเรือง ([Tagetes erecta]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) สัตว์น้ำประจำจังหวัด: ปลาสลิด ([Trichopodus pectoralis]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) คำขวัญประจำจังหวัด: ป้อมยุทธนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ ฟาร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ สงกรานต์พระประแดง ปลาสลิดแห้งรสดี ประเพณีรับบัว ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม", "title": "จังหวัดสมุทรปราการ" }, { "docid": "11847#13", "text": "คำขวัญประจำจังหวัด: ชัยภูมิ เมืองผู้กล้า พญาแล คำขวัญส่งเสริมการท่องเที่ยว: ทิวทัศน์สวย รวยป่าใหญ่ มีช้างหลาย ดอกไม้งาม ลือนามวีรบุรุษ สุดยอดผ้าไหม พระใหญ่ทวารวดี", "title": "รายชื่อคำขวัญประจำจังหวัด" }, { "docid": "11847#0", "text": "คำขวัญประจำจังหวัด เป็นคำขวัญที่แต่ละจังหวัดในประเทศไทยแต่งขึ้น เพื่อบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ ความภาคภูมิใจ และความโดดเด่นที่มีอยู่ในจังหวัดนั้น ๆ มักเป็นคำคล้องจองสั้น ๆ เพื่อให้จดจำง่าย นอกจากคำขวัญประจำจังหวัดแล้ว ปัจจุบันยังมีการแต่งคำขวัญประจำท้องถิ่นในส่วนย่อยลงไปอีก เช่น คำขวัญประจำอำเภอ คำขวัญประจำเขต (ในกรุงเทพมหานคร) เป็นต้น", "title": "รายชื่อคำขวัญประจำจังหวัด" }, { "docid": "2854#13", "text": "ตราประจำจังหวัด: รูปปราสาทสองนางสถิตย์ ประดิษฐานแก้วมณีมุกดาหาร ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นตานเหลืองหรือช้างน้าว (Ochna integerrima) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกตานเหลืองหรือช้างน้าว (Ochna integerrima) คำขวัญประจำจังหวัด: หอแก้วสูงเสียดฟ้า ผาเทิบแก่งกะเบา แปดเผ่าชนพื้นเมือง ลือเลื่องมะขามหวาน กลองโบราณล้ำเลิศ ถิ่นกำเนิดลำผญา ตระการตาชายโขง เชื่อมโยงอินโดจีน", "title": "จังหวัดมุกดาหาร" }, { "docid": "289459#0", "text": "สนามกีฬาพระราเมศวร เป็นสนามกีฬาประจำจังหวัดลพบุรี\nสนามกีฬาพระราเมศวร เป็นสนามกีฬากลางของจังหวัดลพบุรี เป็นสนามกีฬาระดับมาตรฐานแห่งหนึ่ง ที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาของจังหวัด ระดับภูมิภาค และองค์กรต่างๆยังใช้สนามกีฬาแห่งนี้เป็นสนามแข่งขันอีกด้วย และนอกจากนี้ยังเป็นสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนและออกกำลังกายของชาวลพบุรีซึ่งสนามกีฬาแห่งนี้ตั้งอยู่บน ถนนนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ด้านหลังศาลากลางจังหวัดลพบุรี ซึ่งมีสนามต่างๆที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาครบทุกประเภท ปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี เป็นผู้ดูแล", "title": "สนามกีฬาพระราเมศวร" }, { "docid": "6840#7", "text": "ตราประจำจังหวัด: ภาพกระโจมไฟและภาพลูกคลื่น ภาพกระโจมไฟหมายถึง จังหวัดตรังเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ ภาพลูกคลื่นหมายถึง ลักษณะพื้นที่ของจังหวัดตรัง เป็นเนินเล็ก ๆ สูง ๆ ต่ำ ๆ คล้ายลูกคลื่น ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นศรีตรังชนิด Jacaranda filicifolia ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกศรีตรังชนิด Jacaranda obtusifolia คำขวัญประจำจังหวัด: ชาวตรังใจกว้าง สร้างแต่ความดี คำขวัญส่งเสริมการท่องเที่ยว: เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา", "title": "จังหวัดตรัง" }, { "docid": "11847#65", "text": "คำขวัญประจำจังหวัด: กระบี่ เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก[12] คำขวัญส่งเสริมการท่องเที่ยว: แหล่งถ่านหิน ถิ่นหอยเก่า เขาตระหง่าน ธารสวย รวยเกาะ เพาะปลูกปาล์ม งามหาดทราย ใต้ทะเลสวยสด มรกตอันดามัน สวรรค์เกาะพีพี", "title": "รายชื่อคำขวัญประจำจังหวัด" }, { "docid": "11847#1", "text": "คำขวัญประจำจังหวัด แยกตามภาคได้ดังนี้", "title": "รายชื่อคำขวัญประจำจังหวัด" }, { "docid": "5673#28", "text": "ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกปีบ (Millingtonia hortensis) ต้นไม้ประจำจังหวัด: ศรีมหาโพธิ์ (Ficus religiosa) คำขวัญประจำจังหวัด: ศรีมหาโพธิ์คู่บ้าน ไผ่ตงหวานคู่เมือง ผลไม้ลือเลื่อง เขตเมืองทวารวดี", "title": "จังหวัดปราจีนบุรี" }, { "docid": "5114#2", "text": "คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน ตราประจำจังหวัด: รูปอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีหน้าประตูชุมพล ธงประจำจังหวัด: รูปอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีหน้าประตูชุมพล ในพื้นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแสด ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นสาธร ([Millettia leucantha]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกสาธร สัตว์น้ำประจำจังหวัด: ปลาบ้าหรือปลาพวง ([Leptobarbus hoevenii]error: {{lang}}: text has italic markup (help))", "title": "จังหวัดนครราชสีมา" }, { "docid": "11847#80", "text": "หมวดหมู่:รายชื่อเกี่ยวกับประเทศไทย หมวดหมู่:สัญลักษณ์ประจำจังหวัด หมวดหมู่:คำขวัญ", "title": "รายชื่อคำขวัญประจำจังหวัด" }, { "docid": "5358#23", "text": "ตราประจำจังหวัดลพบุรี ตราประจำจังหวัดลพบุรี ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัดลพบุรีคือ ต้นพิกุล และดอกพิกุล", "title": "จังหวัดลพบุรี" }, { "docid": "5419#30", "text": "ตราประจำจังหวัด: พระพุทธชินราช ธงประจำจังหวัด: ธงพื้นสีม่วง กลางธงเป็นตราประจำจังหวัดคือรูปพระพุทธชินราชในวงกลม คำขวัญประจำจังหวัด: พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา ต้นไม้ประจำจังหวัด: ปีบ (Millingtonia hortensis) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกนนทรี (Peltophorum pterocarpum)", "title": "จังหวัดพิษณุโลก" }, { "docid": "6263#11", "text": "คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยาน ร.2 แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม ตราประจำจังหวัด: รูปกลองลอยน้ำ ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นจิกเล ([Barringtonia asiatica]error: {{lang}}: text has italic markup (help)) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกจิกเล สัตว์น้ำประจำจังหวัด: หอยหลอดชนิด [Solen regularis]error: {{lang}}: text has italic markup (help) ลักษณะรูปร่างของจังหวัด: ลักษณะรูปร่างของจังหวัดสมุทรสงครามมีรูปร่างคล้ายกับหัวของสมเสร็จ", "title": "จังหวัดสมุทรสงคราม" }, { "docid": "4529#28", "text": "ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกราชพฤกษ์ (Cassis fistula) ต้นไม้ประจำจังหวัด: แซะ (Millettia atropurpurea) สัตว์นํ้าประจำจังหวัด: ปลาหมอ (Anabas testudineus) นกประจำจังหวัด: นกกินปลีหางยาวเขียว (Aethopyga nipalensis) คำขวัญท่องเที่ยวประจำจังหวัด: นครศรีธรรมราช เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู คำขวัญประจำเมือง: เราชาวนครฯ อยู่เมืองพระ มั่นอยู่ในสัจจะศีลธรรม กอปรกรรมดี มีมานะพากเพียร ไม่เบียดเบียนทำอันตรายผู้ใด อักษรย่อจังหวัด: นศ อักษรย่ออักษรโรมัน: NST", "title": "จังหวัดนครศรีธรรมราช" } ]
2465
คู่สมรสของร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุงชื่ออะไร?
[ { "docid": "57369#2", "text": "สมรสกับลำเนา อยู่บำรุง ผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชน มีบุตรด้วยกันทั้งสิ้น 3 คน เป็นชายล้วนคือ ร้อยตำรวจตรี อาจหาญ อยู่บำรุง[4], ร้อยตำรวจตรี วัน อยู่บำรุง และ [5] ลูกชายทั้งสามก็ถูกเรียกกันทั่วไปว่า \"ลูกเหลิม\" มีน้องชายที่เล่นการเมืองท้องถิ่น เป็น ส.ก.หลายสมัยคือ นวรัตน์ อยู่บำรุง ส.ก.เขตหนองแขม และน้องชายที่เป็นตำรวจ พ.ต.ท.จารึก อยู่บำรุง ซึ่งเสียชีวิตแล้วเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" } ]
[ { "docid": "57369#16", "text": "ร้อยตำรวจเอก เฉลิมตัดสินใจเข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชาชน หลังการรัฐประหารใน พ.ศ. 2549 และในช่วงปลายปี พ.ศ. 2550 จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดย ร้อยตำรวจเอก เฉลิมลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบสัดส่วน ลำดับที่ 2 กลุ่มจังหวัดที่ 6 (กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี และ สมุทรปราการ) และได้รับเลือก", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#19", "text": "ต่อมานายสมัครได้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องมีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่อีกครั้ง โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยในการจัดคณะรัฐมนตรีนายสมชายได้เลือกให้ ร้อยตำรวจเอก เฉลิมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข[15]", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#4", "text": "ร้อยตำรวจเอก เฉลิม เป็นที่รู้จักในฐานะนักการเมือง หลายครั้งมีการใช้คำพูดที่ฟังดูรุนแรง ซึ่ง ร้อยตำรวจเอก เฉลิม เคยกล่าวถึงตัวเองไว้ว่า \"ไปทะเลเจอฉลาม มาสภาเจอเฉลิม\"[7]", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#5", "text": "ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง เคยขึ้นเวทีกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ที่สนามทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุดรธานี[8]", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#6", "text": "ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง ปรากฏบทบาททางการเมืองครั้งแรกในฐานะผู้ร่วมการพยายามก่อรัฐประหารรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2524 และหลังการทำรัฐประหารไม่สำเร็จ จึงตกเป็นผู้ต้องหามีคำสั่งย้ายเข้ากรมตำรวจในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2524 และพลตำรวจเอกมนต์ชัย พันธุ์คงชื่นอธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น ได้ลงนามในคำสั่งที่ 500/2524 ไล่ออกจากราชการตำรวจในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2524[9]และตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง ต่อมาจึงได้รับการนิรโทษกรรม", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "397338#2", "text": "ด้านครอบครัวสมรสกับ นางสาวิตรี พึ่งสุจริต มีบุตร 3 คน ได้แก่ ร้อยตำรวจเอก ภูมินทร์ พึ่งสุจริต, ร้อยตำรวจโท ภูธร พึ่งสุจริต, นายวันเฉลิมฯ พึ่งสุจริต", "title": "ปาน พึ่งสุจริต" }, { "docid": "34830#1", "text": "นายจำนงราชกิจ เดิมชื่อ จรัญ บุณยรัตพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2441 เป็นบุตรนายจ่าง และ นางวร บุณยรัตพันธุ์ มีพี่น้องเรียงตามลำดับดังนี้ ท่านได้สมรสกับ นางสาวเฉลิม ศุขปราการ (เฉลิม จำนงราชกิจ) บุตรีของร้อยตำรวจเอกหลวงสุขกิจจำนงค์ เมื่อปี พ.ศ. 2476 มีบุตรชาย 1 คน คือ นายอำพน บุณยรัตพันธุ์ ซึ่งสมรสกับหม่อมหลวงสลีระพัฒน์ ลดาวัลย์ ธิดาหม่อมราชวงศ์สล้าง ลดาวัลย์(นายชิดหุ้มแพร) นายจำนงราชกิจ ถึงแก่อนิจกรรม ด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2515 รวมศิริอายุ 73 ปี เศษ", "title": "นายจำนงราชกิจ (จรัล บุณยรัตพันธุ์)" }, { "docid": "57369#15", "text": "ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2547 ร้อยตำรวจเอก เฉลิมได้ลงรับสมัครด้วย โดยได้คะแนนมากเป็นลำดับที่ 4 โดยได้คะแนนเสียงในเขตบางบอนเป็นลำดับที่ 1", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "35011#24", "text": "การทำงานของชูวิทย์ในสภาในฐานะฝ่ายค้าน ชูวิทย์ทำหน้าที่อย่างโดดเด่น รวมทั้งรับหน้าที่รองประธานคณะกรรมาธิการการตำรวจสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 แสดงจุดยืนในการเป็นฝ่ายค้าน เปิดเผยข้อมูล บ่อนการพนัน สถานอบายมุข อันมีผลกระทบต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติอย่างมาก จนกระทั่ง ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องออกมาตอบโต้ และมีวาทะพิพาทกันในสภา จนทำให้ทั้งคู่ได้รับฉายาว่าเป็น \"คู่กัดแห่งปี\" ประจำปี 2555 จากสื่อมวลชน แม้ว่าทั้งคู่จะเคยมีสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาก่อน", "title": "ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์" }, { "docid": "57369#32", "text": "ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ถูกปรับให้ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน[31] โดยมีการถวายสัตย์ปฏิญาณตนในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 และถ่ายภาพหมู่คณะรัฐมนตรีที่ได้รับโปรดเกล้าฯ บริเวณหน้าตึกไทยคู่ฟ้า แต่ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ไม่ได้เข้าร่วมถ่ายภาพในครั้งนั้นด้วย รวมทั้งไม่เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 โดยอ้างเหตุผลว่าขอลากิจเพื่อไปตรวจสุขภาพ[32] แต่เป็นที่รับทราบโดยทั่วไปว่าเป็นการประท้วงที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ตำแหน่งนี้กับเขา[33]และปลดจากรองนายกรัฐมนตรี", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#8", "text": "ร้อยตำรวจเอก เฉลิม เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุนหะวัณ มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแล องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.)", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#17", "text": "ภายหลังจากการเลือกตั้งสิ้นสุดลง พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกเป็นเสียงข้างมากในสภาถึง 233 ที่นั่ง ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ สมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยในการจัดคณะรัฐมนตรีนายสมัครได้ให้ ร้อยตำรวจเอก เฉลิมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[13] ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ ร้อยตำรวจเอก เฉลิมกล่าวว่าเป็นตำแหน่งที่ตนต้องการที่จะดำรงตำแหน่งมากที่สุดด้วย", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "3871#3", "text": "ความหวังใหม่ ยุบมารวมกับ พรรคไทยรักไทย ตาม ม.73 เมื่อ 22 มีนาคม 2545 (สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรทั้งแบบเขต และบัญชีรายชื่อ ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย มีเพียง ชิงชัย มงคลธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรระบบบัญชีรายชื่อ ขออยู่ฟื้นฟู พรรคความหวังใหม่/ และ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรบัญชีรายชื่อ ขอไปฟื้นฟู พรรคมวลชน/ พันโทหญิง ฐิติยา รังสิตพล (พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล) สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรบัญชีรายชื่อ ย้ายไปอยู่พรรคประชาธิปัตย์)", "title": "พรรคไทยรักไทย" }, { "docid": "57369#7", "text": "ร้อยตำรวจเอก เฉลิม เริ่มต้นชีวิตทางการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ในปี 2526 ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ได้ก่อตั้ง พรรคมวลชน และดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค โดยมีฐานเสียงสำคัญในพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งธนบุรี โดยเฉพาะเขตภาษีเจริญและเขตบางบอน", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#9", "text": "ภายหลังการรัฐประหารดังกล่าว ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง เป็นหนึ่งในนักการเมืองที่ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ และถูกยึดทรัพย์จำนวน 32 ล้านบาท [10] และต้องขอลี้ภัยการเมืองไปต่างประเทศ โดยเดินทางไปพำนักอยู่ที่ประเทศสวีเดนและประเทศเดนมาร์ก", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#30", "text": "อย่างไรก็ตามในการเลือกตั้งครั้งถัดมา ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 3 พรรคเพื่อไทย รวมถึงได้ส่งบุตรชายลงสมัครรับเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#18", "text": "แต่ต่อมาในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 นายสมัครได้ตัดสินใจปรับคณะรัฐมนตรี โดยในการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ ร้อยตำรวจเอก เฉลิมได้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยนายสมัครได้ให้ พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ ดำรงตำแหน่งแทน ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง[14]", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#28", "text": "ต่อมาต้นปี พ.ศ. 2553 ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง ได้มีวิวาทะกับสมาชิกพรรคเพื่อไทยด้วยกันเอง ถึงขนาดตำหนิออกมาต่อหน้าสื่อมวลชนหลายต่อหลายครั้ง อันเนื่องจากเรื่องการที่จะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ที่เห็นแตกต่างกันและมีความเห็นเกี่ยวกับทิศทางการบริหารจัดการพรรคที่แตกต่างกัน[24][25][26]", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#1", "text": "ร้อยตำรวจเอก เฉลิม เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490 บิดาชื่อ ร.ต.ต.แฉล้ม อยู่บำรุง มารดาชื่อนางลั้ง อยู่บำรุง จบการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง [2] ก่อนเข้ารับราชการตำรวจที่มีตำแหน่งเป็นสารวัตรกองปราบ นั้นได้เคยเป็นทหารยศสิบโทมาก่อน ได้ขอโอนย้ายตัวเองเข้าสังกัดตำรวจ ในการทำงานการเมืองเคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับดูแล องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย และขณะที่กำกับดูแลหน่วยงานแห่งนี้ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม มีชื่อเรียกสั้น ๆ จากสื่อมวลชนว่า \"เหลิม\" หรือ \"เหลิมดาวเทียม\" เนื่องจากเป็นที่รับรู้กันดีในแวดวงสื่อมวลชนถึงการควบคุมการนำเสนอข่าวด้วยตนเองของ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ซึ่งในบางครั้งถึงกับเข้าไปสั่งการในห้องตัดต่อเอง จนคนในช่อง 9 เรียกว่า \"บรรณาธิการเฉลิม\"[3]", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#25", "text": "ร้อยตำรวจเอก เฉลิมเป็นผู้นำสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดย ร้อยตำรวจเอก เฉลิมเป็นผู้ขึ้นเปิดอภิปรายเป็นคนแรก โดยอภิปรายไม่ไว้วางใจอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในกรณีการปกปิด ซ่อนเร้น ไม่เปิดเผยการรับเงินสนับสนุนพรรคการเมือง ในการรายงานงบดุลต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งเส้นทางของเงินดังกล่าวเป็นเงินที่รับจากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) แล้วทำนิติกรรมอำพรางผ่านบริษัท เมซไซอะ ซึ่งถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง[21]", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "63252#15", "text": "ยิ่งลักษณ์ระบุว่า การออกพระราชบัญญัติอภัยโทษหรือการนิรโทษกรรม ที่เสนอโดย ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุงนั้น \"เป็นเพียงหลักและวิธีการ โดยหลักของส่วนนี้ต้องมาดูว่าจะได้อะไร และต้องมีคณะกรรมการทำหน้าที่พิจารณา โดยมีร้อยตำรวจเอกเฉลิมเป็นหัวเรือ\" ร.ต.อ. เฉลิมระบุว่าความคิดนิรโทษกรรม ไม่ได้ให้ทักษิณเพียงคนเดียว แต่จะให้ทุกคน[18][19]", "title": "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" }, { "docid": "57369#0", "text": "ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง แกนนำพรรคเพื่อไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝั่งธนบุรีหลายสมัย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน อดีตรองนายกรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคมวลชน ระหว่างวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557 ถึง 18 มีนาคม พ.ศ. 2557 เขาเป็นผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ ตามคำสั่งคำสั่งที่ พิเศษ 1/2557 เรื่องจัดตั้งศูนย์รักษาความสงบ โดย ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เคยปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2556[1]", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#27", "text": "ปลายปี พ.ศ. 2552 สื่อมวลชนประจำรัฐสภาได้ให้ฉายา ร้อยตำรวจเอก เฉลิมว่า \"ดาวดับ\" อันเนื่องจากวาทะที่แก้ตัวให้กับการกระทำที่ส่อทุจริตของ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ว่า \"พันตำรวจโท ทักษิณ ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย แต่ทำในสิ่งที่กฎหมายห้าม\" ซึ่งได้กลายเป็นวาทะประจำปีด้วย[23]", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#11", "text": "ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง กลับมาเป็นข่าวคราวอีกครั้ง เมื่อลูกชายทั้ง 3 คน คือ ร้อยตำรวจตรีอาจหาญ อยู่บำรุง ร้อยตำรวจตรีวัน อยู่บำรุง และร้อยตำรวจเอกดวง อยู่บำรุง ตกเป็นข่าวผ่านสื่อมวลชนเป็นระยะ ว่ามีพฤติกรรมก้าวร้าว ก่อเหตุวิวาททำร้ายร่างกายหลายครั้ง", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#29", "text": "ซึ่งในปีถัดมา ความขัดแย้งในเรื่องดังกล่าวนี้ก็ได้เกิดขึ้นอีก จนกระทั่งในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง ได้ขอลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคอย่างเป็นทางการ โดยมีกระแสข่าวถึงความไม่พอใจในสมาชิกพรรคบางคนตำหนิบทบาทการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของตัวเอง[27]", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "588515#99", "text": "ตามวอลสตรีตเจอร์นัล วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 จำนวนผู้ประท้วงลดลงเหลือประมาณ 5,000 คน ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง เสนอว่าหลังการเลือกตั้งรอบถัดไป รัฐบาลจะดำเนินการเปลี่ยนแปลงใน 18 เดือนเพื่อเปิดกระบวนการเลือกตั้งแบบใหม่ ถ้อยแถลงของร้อยตำรวจเอก เฉลิมมีขึ้นหลังยิ่งลักษณ์โพสต์ลงหน้าเฟซบุ๊กของเธอซึ่งชี้การเปิดให้นายหน้าบุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อช่วยระงับความขัดแย้งทางการเมือง", "title": "วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557" }, { "docid": "57369#23", "text": "ภายหลังจากมีการยุบพรรค ร้อยตำรวจเอก เฉลิมได้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย ทั้งนี้คณะผู้บริหารพรรคพิจารณาแต่งตั้ง ร้อยตำรวจเอก เฉลิมเป็นประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อควบคุมการทำงานในสภาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภายในพรรคต่อไป โดย ร้อยตำรวจเอก เฉลิม กล่าวว่าพรรคได้มอบหมายให้ทำหน้าที่ประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อทำหน้าที่หัวหน้าพรรคในสภาผู้แทนราษฎร[19]", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#10", "text": "ต่อมาเมื่อสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลาย ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง ได้กลับเข้าประเทศไทย และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[11] ต่อมา ในปี พ.ศ. 2540 ตัดสินใจยุบพรรคมวลชนรวมเข้ากับ พรรคความหวังใหม่ ของ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" }, { "docid": "57369#34", "text": "วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ร้อยตำรวจเอก เฉลิม ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องในการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรีจากตำแหน่งเลขาธิการ สภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยขาดความชอบธรรม[35]", "title": "เฉลิม อยู่บำรุง" } ]
1491
อาณาจักรสุโขทัยโบราณสิ้นสุดลงเพราะอะไร ?
[ { "docid": "23361#0", "text": "อาณาจักรสุโขทัย(สุกโขไท:ตามจารึก) เป็นรัฐในอดีตรัฐหนึ่ง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม สถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1800 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งทำการเป็นผลสำเร็จและได้สถาปนาเอกราชให้รัฐสุโขทัยเป็นอาณาจักรสุโขทัย และมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับและเพิ่มถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนจะค่อย ๆ ตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที่สุด", "title": "อาณาจักรสุโขทัย" }, { "docid": "5256#16", "text": "การเข้าแทรกแซงสุโขทัยอย่างต่อเนื่องทำให้อาณาจักรสุโขทัยตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรอยุธยาในที่สุด สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปการปกครองโดยการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง การยึดครองมะละกาของโปรตุเกสในปี พ.ศ. 2054 ทำให้อยุธยาเริ่มการติดต่อกับชาติตะวันตก ในสมัยอาณาจักรอยุธยามีการติดต่อกับต่างประเทศอยู่หลายชาติ โดยชาวโปรตุเกสได้เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังจากนั้น ชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมากและมีบทบาทสำคัญ ได้แก่ ชาวดัตช์ ชาวฝรั่งเศส ชาวจีน และชาวญี่ปุ่น", "title": "ประวัติศาสตร์ไทย" } ]
[ { "docid": "23361#4", "text": "พ.ศ. 2127 หลังจากชนะศึกที่แม่น้ำสะโตงแล้ว พระนเรศวรโปรดให้เทครัวเมืองเหนือทั้งปวง (เมืองพระพิษณุโลกสองแคว เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองพิจิตร และเมืองพระบาง) ลงมาไว้ที่อยุธยา เพื่อเตรียมรับศึกใหญ่ พิษณุโลกและหัวเมืองเหนือทั้งหมดจึงกลายเป็นเมืองร้าง หลังจากเทครัวไปเมืองใต้ จึงสิ้นสุดการแบ่งแยกระหว่างชาวเมืองเหนือ กับชาวเมืองใต้ และถือเป็นการสิ้นสุดของรัฐสุโขทัยโดยสมบูรณ์ เพราะหลังจากนี้ 8 ปี พิษณุโลกได้ถูกฟื้นฟูอีกครั้ง แต่ถือเป็นเมืองเอกในราชอาณาจักร มิใช่ราชธานีฝ่ายเหนือ", "title": "อาณาจักรสุโขทัย" }, { "docid": "312162#1", "text": "อาณาจักรขอมโบราณหลังจากรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้เสื่อมถอยลงตามลำดับ ประเทศราชต่างที่เคยตีได้พากันแยกตัวเป็นอิสระ เช่น อาณาจักรจามปา อาณาจักรละโว้ ฯลฯ จนนำไปสู่การตั้งตนเป็นอิสระของชาวไท คือ อาณาจักรสุโขทัยบนที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน อีกทั้งยังเกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม คือ ประชาชนรวมทั้งรัถฐาธิปัตย์แห่พากันกันไปนับถือพระพุทธศาสนาในนิกายเถรวาท จากเดิมที่เป็นศาสนาฮินดู ทำให้การสร้างศาสนาสถานอันอลังการสิ้นสุดลง เปลี่ยนมาเป็นการหล่อพระพุทธรูปและสร้างวัดวาอารามแทน ถึงกระนั้นอาณาจักรขอมก็ยังทรุดโทรมลงเรื่อย ๆ ด้วยอำนาจเทวราชาของกษัตริย์ลดน้อยถอยลงและปัญหาทางเศรษฐกิจ", "title": "สมัยจตุมุข" }, { "docid": "634923#2", "text": "วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ก่อรัฐประหาร ทำให้คณะรัฐมนตรีรักษาการสิ้นสุดลง คณะที่มีนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี และในวันเดียวกัน คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง เว้นหมวด 2 พระมหากษัตริย์", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557" }, { "docid": "17119#14", "text": "ช่วงต้นรัชกาล สภาพบ้านเมืองเสียหายจากการสงครามอย่างหนัก เกิดทุพภิกขภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย เนื่องจากขาดการทำนามานาน ราคาข้าวในอาณาจักรสูงเกือบตลอดรัชกาล ก่อนจะค่อย ๆ ลดลงในตอนปลายรัชกาล จะมีเพิ่มสูงขึ้นบ้างก็ในปี พ.ศ. 2312 ที่เกิดหนูระบาด สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อข้าวมาให้แก่ราษฎรทั้งหลาย ช่วยคนได้หลายหมื่น ทั้งยังกระตุ้นให้ชาวบ้านทั้งหลายเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงด้วย", "title": "อาณาจักรธนบุรี" }, { "docid": "52047#7", "text": "สิ้นรัชกาลสุลต่านสุไลมาน จักรวรรดิออตโตมันเข้าสู่ยุคเสื่อม ซึ่งกินระยะเวลายาวนานถึง 300 ปี ก่อนที่จะล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สาเหตุที่นำไปสู่ความเสื่อมอำนาจของจักรวรรดิมาจากปัจจัยหลายประการ ที่สำคัญได้แก่ การไร้ความสามารถของสุลต่าน 17 พระองค์ที่ทรงครองราชย์ต่อจากสุลต่านสุไลมานในระหว่างปี พ.ศ. 2099 (ค.ศ. 1566) – พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) การแย่งชิงอำนาจในราชสำนักก็เป็นปัจจัยอันหนึ่งที่นำไปสู่การเสื่อมถอยของจักรวรรดิออตโตมัน สมัยสุลต่านเบยาซิต ที่ 1 (ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 1932 – 1946) โปรดให้จัดการปลงพระชนม์พระอนุชาของพระองค์เอง ทันทีที่ทรงทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระบิดา เพื่อตัดปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติ การกระทำดังกล่าวได้กลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบมาจนถึงรัชสมัยของสุลต่านเมห์เมดที่ 1 ซึ่งขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2148 (ค.ศ. 1605) โปรดให้เปลี่ยนการสำเร็จโทษมาเป็นการกักบริเวณแทน การกักบริเวณดังกล่าวมีผลอย่างมากต่อสุขภาพจิตเจ้าชายรัชทายาท ซึ่งได้รับการทูลเชิญให้ขึ้นครองราชย์ในภายหลัง สุลต่านหลายพระองค์ทรงมีสุขภาพจิตที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากถูกกักบริเวณมาเป็นเวลานาน บางพระองค์ถูกกักบริเวณนานกว่า 20 ปี\nตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา พระราชอำนาจของสุลตานได้ลดลงเป็นอย่างมาก ในขณะที่อำนาจของขุนนางภายใต้การนำของอัครมหาเสนาบดีมีมากขึ้น ในยุคนี้การฉ้อราษฎร์บังหลวง การเล่นพรรคเล่นพวกเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้การเมืองภายในประเทศอ่อนแอ ในทางเศรษฐกิจ จักรวรรดิก็ประสบปัญหาอย่างมากเช่นกัน ในขณะที่ยุโรปประสบความสำเร็จในการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว จักรวรรดิออตโตมันกลับอ่อนแอลงตามลำดับ อย่างไรก็ดี จักรวรรดิก็สามารถประคับประคองตนเองให้อยู่รอดมาได้นานนับร้อยปี เนื่องจากชาติมหาอำนาจในยุโรปไม่ทราบถึงความอ่อนแอภายในจักรวรรดิออตโตมัน", "title": "จักรวรรดิออตโตมัน" }, { "docid": "28664#4", "text": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้สิ้นสุดลงในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยการก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองประเทศจากรักษาการนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งชาติที่นิวยอร์ก และขณะที่จะมีการเลือกตั้งใหม่ และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของไทย", "title": "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540" }, { "docid": "140523#3", "text": "คุณสิบสามมีอายุยืนยาว 15 ปีเศษ จึงล้มป่วยลงและสิ้นใจในอ้อมพระหัตถ์ของพระองค์เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2546 อายุ 15 ปี 22 วัน คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดทำรูปปั้นรูปคุณสิบสามถวาย ตั้งอยู่หน้าทางเข้าพระตำหนักวิลล่าวัฒนา ส่วนในวันที่ 13 ธันวาคมของทุกปี ก็ยังคงมีการจัดงานรื่นเริงที่วังเลอดิส แต่เปลี่ยนชื่องานเป็นงานรำลึกถึงคุณสิบสามแทน", "title": "สิบสาม (สุนัข)" }, { "docid": "233878#1", "text": "อาณาจักรเขมร ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 (พ.ศ. 1786-1838) ความไม่มั่นคงภายในอาณาจักรเริ่มเกิดขึ้น ประเทศราชเกิดการแข็งข้อ พ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราดร่วมมือกับพ่อขุนบางกลางหาว แข็งเมืองไม่ขึ้นกับพระนคร และต่อมาได้ก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัยขึ้น ในช่วงนี้มีการเปลี่ยนศาสนาจากศาสนาพุทธนิกายมหายานมานับถือพระศิวะเหมือนเดิม และได้ทำลายภาพจำหลักหินที่เป็นรูปพระพุทธเจ้า ทำลายภาพสลักหินที่เกี่ยวกับพุทธประวัติออกไปจากปราสาทหลายแห่ง อาทิ ปราสาทตาพรหม หลังจากสิ้นรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 อาณาจักรเขมรเสื่อมอำนาจลงอย่างมาก\nราชวงศ์ต่างๆเริ่มเกิดการแย่งชิงราชสมบัติกัน ในช่วงนี้ไม่มีสิ่งปลูกสร้างใดๆเกิดขึ้น หัวเมืองต่างๆเริ่มกบฏแข็งข้อและแยกตัวออก รวมไปถึงการขึ้นเป็นใหญ่ของ\"อาณาจักรสุโขทัย\"", "title": "ยุคมืดของกัมพูชา" } ]
2697
โปเกมอนหรือในชื่อเต็มว่าอะไร?
[ { "docid": "102845#0", "text": "โปเกมอนสเปเชียล หรือในชื่อเต็มว่า พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ สเปเชียล () เป็นหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นสำหรับเยาวชนอายุ 2-18 ปี ที่ถูกเขียนขึ้นจากเค้าโครงเรื่องของเกมพ็อกเก็ตมอนสเตอร์ หรือที่รู้จักกันในชื่อย่อว่า โปเกมอน แต่งเนื้อเรื่องโดย ฮิเดโนริ คุซากะ และวาดภาพโดย มาโตะ ตั้งแต่เล่มที่ 1 ถึงเล่มที่ 9 แต่หลังจากนั้น มาโตะ ก็เกิดไม่สบายหนักและบาดเจ็บจากการทำงาน จึงทำให้ ซาโตชิ ยามาโมโตะ กลายเป็นผู้วาด โปเกมอน สเปเชียล แทนในเล่มต่อๆ มา", "title": "โปเกมอนสเปเชียล" }, { "docid": "107756#0", "text": "โปเกมอน () หรือในชื่อเต็มว่า พ็อกเก็ต มอนสเตอส์ () เป็นสื่อแฟรนไชส์ที่จัดพิมพ์และเป็นของนินเทนโดบริษัทวิดีโอเกมสัญชาติญี่ปุ่นและสร้างโดยซะโตะชิ ทะจิริ เมื่อปี ค.ศ. 1996 แรกเริ่มออกจำหน่ายวิดีโอเกมแนวบทบาทสมมุติบนเครื่องเล่นสายเกมบอยชนิดเล่นเชื่อมกันได้ระหว่างเครื่องต่อเครื่องพัฒนาโดยบริษัทเกมฟรีค ตั้งแต่นั้นมา โปเกมอนกลายมาเป็นสื่อแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จและได้กำไรมากเป็นอันดับ 2 รองจากแฟรนไชส์มาริโอ", "title": "โปเกมอน" } ]
[ { "docid": "706928#37", "text": "อาร์โบ () หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า เอกเกนส์ () เป็นโปเกมอนงูหางกระดิ่ง โปเกมอนสัตว์เลื้อยคลานนี้มีกระดิ่งที่ปลายหาง และลำตัวส่วนใหญ่เป็นสีม่วง ขณะที่ใต้ท้อง ตา กระดิ่ง และ \"แถบ\" บนกระดิ่งเป็นสีเหลือง พวกมันกลืนไข่โปเกมอนนกเล็ก เช่น ป็อปโปะ หรือโอนิสุซุเมะ ทั้งใบ อาร์โบสามารถถอดฟันเพื่อกลืนเหยื่อตัวใหญ่ได้ แม้ว่าจะทำให้ตัวมันหนักขึ้น เขี้ยวพิษของมันทำให้ป่าดูอันตราย เนื่องจากมันจะเลื้อยในพงหญ้าและโจมตีทีเผลอได้ อาร์โบมีลักษณะพิเศษหลายอย่างเหมือนกับงูทั่ว ๆ ไป เช่น ใช้ลิ้นแลบออกมาเพื่อตรวจหาเหยื่อจากอากาศ และการลอกคราบ", "title": "รายชื่อโปเกมอน (1–51)" }, { "docid": "828895#0", "text": "รายชื่อภาพยนตร์โปเกมอน หรือ โปเกมอน เดอะมูฟวี่ เป็นภาพยนตร์ตอนพิเศษของภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง โปเกมอน (อนิเมะ) โดยภาพยนตร์ชุดนี้จะออกฉายในโรงภาพยนตร์ในประเทศญี่ปุ่น ในปัจจุบันมีทั้งหมด 21 ภาคในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งฉายไปแล้ว 21 ภาค และทางไรท์บียอนด์ ทรู คอร์ปอเรชั่นและทรูวิชันส์ ซึ่งเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์นำมาจำหน่าย 20 ภาค (ไม่รวมภาคแรก)", "title": "รายชื่อภาพยนตร์โปเกมอน" }, { "docid": "706928#39", "text": "อาร์บ็อก () เป็นโปเกมอนงูเห่า มีรูปร่างขนาดใหญ่ขึ้นและแข็งแรงขึ้นเมื่ออาร์โบได้รับประสบการณ์มากพอ ในเกมโปเกมอน อาร์บ็อกจะได้มาเฉพาะเมื่อพัฒนาร่างอาร์โบเท่านั้น อาร์บ็อกเป็นสัตว์เลื่อยคลานมีเกล็ดสีม่วงเกือบทั่วร่างกาย กระดิ่งที่หางของมันขณะที่เป็นอาร์โบได้หายไป อาร์บ็อก เหมือนงูเห่า สามารถแผ่ซี่โครงไว้ในแผงคอได้ แผงคอของมันถูกออกแบบให้ดูเหมือนใบหน้าเกรี้ยวโกรธ มีการศึกษาเกี่ยวกับลวดลายน่ากลัวที่แผงคอยืนยันว่ามี 6 แบบ แต่ละแบบจะอยู่คนละท้องที่ หากมันกัดมันจะปลอดพิษถึงตาย เนื่องจากมันแข็งแรงอย่างร้ายกาจ มันสามารถบดร่างคู่ต่อสู้ได้โดยรัดตัวคู่ต่อสู้และบีบ มันสามารถทำให้เหล็กน้ำมันแบนได้ เนื่องจากค่อนข้างดุร้าย มันจึงหวงที่ ถ้ามันเผชิญกับศัตรู มันจะชูหัว ขู่คู่ต่อสู้ด้วยลวดลายน่ากลัว แล้วใช้เขี้ยวพิษกระแทกผู้บุกรุกอย่างแรง ด้วยธรรมชาติที่ต้องการแก้แค้น เมื่อมันเล็งเหยื่อไว้ มันวิ่งไล่เหยื่อหรือคู่ต่อสู่อย่างไม่ยอมแพ้ ไม่ว่าจะไกลเพียงใด", "title": "รายชื่อโปเกมอน (1–51)" }, { "docid": "706928#10", "text": "คาเมล () หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า วอร์เทอร์เทิล () เป็นโปเกมอนเต่า และเป็นร่างพัฒนาของเซนิกาเมะ มันมีลักษณะที่ดูน่ากลัวขึ้นเล็กน้อย นอกเหนือจากความสูงและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นแล้ว มันยังมีสีที่คล้ำขึ้น มีนัยน์ตาที่เล็กลง และมีเขี้ยวเล็กๆอยู่ที่ปาก กระดองของมันอาจจะมีร่องรอยจากการต่อสู้ ซึ่งคาเมลมักเสาะหาอย่างเต็มใจ คาเมลยังมีหูที่ดูเหมือนขนนกหนึ่งคู่ และหางมีสีขาว ปุยนุ่ม และยาวเกินที่จะหดอยู่ในกระดองได้ รยางค์นี้ช่วยให้คาเมลว่ายน้ำได้อย่างมาก โดยทำหน้าที่เหมือนครีบหรือไม้พาย หางของคาเมลดูจะเป็นของสะสมมูลค่าสูง เป็นเหตุให้คนล่ามัน ทำให้จำนวนประชากรลดลง สาเหตุของการ รุกล้ำนี้อาจเกิดจากหางของคาเมลเป็นสัญลักษณ์ของความอายุยืนในโลกโปเกมอน ว่ากันว่าทำให้สิ่งมีชีวิตอยู่ได้หลายพันปี", "title": "รายชื่อโปเกมอน (1–51)" }, { "docid": "706928#17", "text": "ทรานเซล () หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า เมตาพอด () เป็นโปเกมอนดักแด้ พบในป่าแห่งแรก ๆ ในเขตคันโตและโจโต เป็นร่างดักแด้ของคาเตอร์ปี โปเกมอนหนอน ทรานเซลสามารถพัฒนาร่างเป็นบัตเตอร์ฟรี โปเกมอนผีเสื้อ ขณะที่ทรานเซลถูกจัดให้เป็นโปเกมอนดักแด้ แต่มันดูคล้ายกับแดกแด้มากกว่า รูปร่างภายนอกของทรานเซลจะหุ้มเกราะเพื่อปกป้องร่างกายอ่อนนุ่มภายในขณะกำลังเปลี่ยนสัณฐานเป็นบัตเตอร์ฟรี และเพื่อเก็บสะสมพลังงานสำหรับการพัฒนา ทำให้ทรานเซลเคลื่อนที่แทบไม่ได้ ว่ากันว่ากระดองของทรานเซลแข็งอย่างเหล็ก แต่การกระทบกระทั่งอย่างหนักอย่างกะทันหันอาจก่อให้ร่างกายที่เปราะบางเป็นอันตราย", "title": "รายชื่อโปเกมอน (1–51)" }, { "docid": "706928#38", "text": "ยูจีโอเน็ตเวิกส์ นำอาร์โบและอาร์บ็อกมาเป็นส่วนหนึ่งของ \"สัปดาห์งู\" (Snake Week) และแสดงความเบิกบานใจว่าโปเกมอนต้องมี \"โปเกมอนงูอย่างน้อยหนึ่งตัว\" พวกเขาเรียกอาร์โบว่าเป็น \"โปเกมอนนักฆ่า\" และ \"งูม่วงที่โปรดปรานการเอาชนะ\" พวกเขาเสริมว่า \"ในฐานะรางวัลสำหรับความน่าเบื่อแบบคงเส้นคงวา อาร์โบสามารถพัฒนาร่างเป็นอาร์บ็อก ตัวใหญ่ขึ้น ชั่วร้ายขึ้น และสีม่วงเข้มขึ้นกว่าที่เคย\" และว่าอาร์บ็อก \"ไม่ได้แตกต่างจากร่างก่อนหน้ามากนักเมื่ออยู่ในสนามต่อสู้ แต่มันดูน่ารักเมื่อโปเกมอนที่เป็นฮีโร่กว่ากำจัดมันได้ราบคาบ\" นักเขียน ลอเรดานา ลิปเพรินี บรรยายอาร์โบว่า \"จอมทรยศ\" (treacherous)", "title": "รายชื่อโปเกมอน (1–51)" }, { "docid": "706928#59", "text": "นิโดคิง () เป็นโปเกมอนสว่าน สายพันธุ์โตเต็มวัยและร่างสุดท้ายของนิโดรันเพศผู้ รูปร่างคล้ายพอสซัม เขาของมันแข็งพอที่จะทะลุเพชรและบรรจุพิษอยู่ ทำให้เป็นอาวุธแทงเหยื่อและโปเกมอน นิโดคิงมีพละกำลังส่วนบนของร่างกายอย่างแข็งแรง สามารถทำลายเสาโทรศัพท์ให้เป็นเศษเล็ก ๆ ได้ นิโดคิงใช้หางทุ่มศัตรู จากนั้นรัดตัวเพื่อให้กระดูกหัก หางหนา ๆ มีพลังทำลายมหาศาลสามารถล้มหอคอยสื่อสารที่สร้างจากเหล็กได้ เมื่อนิโดคิงพิโรธ ไม่มีสิ่งใดหยุดมันได้ ในอะนิเมะจะพบนิโดคิงน้อยกว่านิโดควีน มันมักจะเป็นหัวหน้าฝูง โดยมีเพื่อนนิโดควีนอยู่ข้าง ๆ อีกหลายตัว", "title": "รายชื่อโปเกมอน (1–51)" }, { "docid": "706928#13", "text": "คาเม็กซ์ () หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า บลาสทัส หรือ บลาสทอยซ์ () โปเกมอนหอย เป็นร่างพัฒนาร่างสุดท้ายของเซนิกาเมะ มีรูปร่างแตกต่างจากร่างก่อนหน้าอย่างสุดโต่ง การเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนที่สุดคือปืนใหญ่สองกระบอกบนกระดองที่ยิงผ่านเหล็กหนา คาเม็กซ์มีลำตัวกว้างกว่าและโอ่อ่า ศีรษะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง แขนขาอวบอ้วนและแบ่งเป็นส่วน ๆ มองเห็นกรงเล็บชัดเจน และหางสั้นและดูอ้วน ปืนใหญ่เป็นการปรับเปลี่ยนที่โดดเด่น ทำให้คาเม็กซ์ยิงปืนน้ำด้วยพลังมหาศาลและแม่นยำ น้ำจากปืนใหญ่สามารถทลายเหล็กหนาได้ ขณะที่กระสุนปืนสามารถยิงกระป๋องในระยะมากกว่า 160 ฟุตได้อย่างแม่นยำ ปืนใหญ่ยังช่วยให้คาเม็กซ์พุ่งชนด้วยความเร็วสูง แม้ว่าคาเม็กซ์จะตัวใหญ่และหนัก แต่มันสามารถเดินสองขาหรือสี่ขาได้ดี คาเม็กซ์สามารถพบได้บนชายหาดของเกาะติดกับมหาสมุทร แต่มันชอบอาศัยในบ่อหรือทะเลสาบน้ำจืดมากกว่าคาเตอร์ปี () เป็นโปเกมอนหนอน ออกแบบโดยเคน ซูกิโมริ ซาโตชิ ทาจิริ ผู้สร้างโปเกมอน ได้แรงบันดาลใจจากงานอดิเรกสมัยเด็กนำไปสู่การสร้างโปเกมอนสายพันธุ์ต่าง ๆ คาเตอร์ปีถูกออกแบบตามหนอนผีเสื้อหางติ่ง (swallowtail) ชื่อของคาเตอร์ปีก็มาจากคำว่า caterpillar เช่นกัน คาเตอร์ปีมีผิวหนังสีเขียวและมีสีเหลืองใต้ท้อง มีจุดสีเหลือง และออสมีทีเรียมสีแดงขนาดใหญ่ยื่นออกมาจากหน้าผาก ร่างกายสีเขียวใช้อำพรางตัวในใบไม้ได้ ดวงตาเป็นลายเพื่อทำให้นักล่ากลัว เท้ายึดเกาะพื้นผิวใด ๆ ก็ได้ ออสมีทีเรียมบนหัวจะส่งกลิ่นเหม็นเพื่อขับไล่นักล่า คาเตอร์ปีเป็นโปเกมอนร่างดั้งเดิมที่ตัวเล็กที่สุด และเจริญเติบโตโดยการลอกคราบ คาเตอร์ปีพัฒนาร่างเป็นทรานเซว และเป็นบัตเตอร์ฟรีในที่สุด คาเตอร์ปีเรียนรู้ได้เพียงสองท่า ได้แก่ พุ่งชน (Tackle) และ พ่นใย (String Shot) และมีความสามารถจำกัดจนกว่ามันจะพัฒนาร่าง แม้กระนั้น ในเกมทุกเกมตั้งแต่\"โปเกมอนภาคแพลตินัม\"เป็นต้นไป คาเตอร์ปีสามารถเรียนท่า นอนกรน (Snore) และ แมลงกัด (Bug Bite) ได้", "title": "รายชื่อโปเกมอน (1–51)" }, { "docid": "706928#32", "text": "โอนิสุซุเมะ () หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า สเปียโรว์ () เป็นโปเกมอนนกเล็ก ชื่อภาษาอังกฤษมาจากคำว่า \"spear\" และ \"sparrow\" เมื่อพวกมันถูกฝึกบ่อย ๆ มันจะพัฒนาร่างเป็นโอนิดริล โอนิสุซุเมะเป็นนกตัวเล็กมีขนหยาบ มีจรูปร่างะงอยคล้ายจะงอยของแร็ปเตอร์ เท้าทั้งสองข้างสีชมพูมาสามกรงเล็บ เป็นที่จดจำกันว่าโอนิสุซุเมะอ่อนแอ มักจะชดเชยตรงนั้นด้วยท่า เลียนเสียงนกแก้ว (Mirror Move) พวกมันกินแมลงในทุ่งหญ้าโดยทำให้ตกใจและใช้จะงอยดึงเข้าปาก ปีกของโอนิสุซุเมะบินได้ไม่ไกลและไม่สูงนัก แต่สามารถบินเร็วโดยกระพือปีกอย่างเร็ว โอนิสุซุเมะหวงอาณาเขต จะส่งเสียงหึ่งตลอดเวลาและส่งเรียกร้องดัง ๆ ได้ยินไกลจากระยะทางครึ่งไมล์ เสียงร้องนี้ทำให้นักล่ากลัวได้และใช้สื่อสารกับโอนิสุซุเมะตัวอื่นเป็นเสียงแจ้งเตือนฉุกเฉิน", "title": "รายชื่อโปเกมอน (1–51)" } ]
2857
อัลดริช เฮเซน เอมส์ โดนคดีอะไร ?
[ { "docid": "441264#0", "text": "อัลดริช เฮเซน เอมส์ (; เกิด 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1941) เป็นอดีตเจ้าหน้าที่ต่อต้านการข่าวกรองและนักวิเคราะห์ของหน่วยสืบราชการลับกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (CIA) ซึ่งใน ค.ศ. 1994 ถูกตัดสินให้มีความผิดในข้อหาเป็นสายลับให้กับสหภาพโซเวียตและรัสเซีย จนกระทั่งการจับกุมตัวโรเบิร์ต แฮนเซ็นในอีก 7 ปีต่อมา เอมส์เป็นคนที่ทำให้สายของ CIA ต้องตกอยู่ในอันตรายมากกว่าสายลับโซเวียตทั้งหมดในประวัติศาสตร์ของอเมริกา", "title": "อัลดริช เอมส์" } ]
[ { "docid": "202175#0", "text": "ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอ็น ดิสคัฟเวอรี แชนแนล (; หรือในบางครั้งรู้จักกันในชื่อ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ลาติน อเมริกา) เป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้ทางโทรทัศน์ในเวอร์ชันของ ลาติน อเมริกา ที่สร้างมาจากเรียลลิตี้โชว์ชื่อดังของสหรัฐอเมริกา ที่ชื่อ ดิ อะเมซิ่ง เรซ โดย ดิสคัฟเวอรี แชนแนล ลาตินอเมริกา ด้วยความร่วมมือของดิสนีย์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขัน 11 ทีม ทีมละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบ โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 250,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ข้อแตกต่างเล็กน้อยสำหรับเวอร์ชันนี้คือ Routmaker ได้ถูกเปลี่ยนเป็นสี น้ำเงิน-ดำและซองคำใบ้ได้ถูกเปลี่ยนเป็นสีน้ำงินแทนสีเหลืองดั่งเดิม รวมถึงชื่อทีมที่ขึ้นในรายการจะตามด้วยธงประเทศของตนเองด้วย การเดิทางทั้งหมดผ่าน 1 ทวีปโดยไม่ได้ออกนอกทวีปอเมริกาใต้แต่อย่างใด รวมถึงเป็น ดิ อะเมซิ่ง เรซ เวอร์ชันที่ 3 ถัดจากบราซิลและอิสราเอล ที่เส้นชัยนั้นไม่ได้อยู่ในประเทศแรกที่ออกเดินทาง ปัจจุบันยังคงผลิตฤดูกาลถัดๆ มาอยู่เรื่อยๆ และในฤดูกาลที่ 3 หลังจากเปลี่ยนช่องที่ทำการออกอากาศในฤดูกาลที่ 3 เป็นต้นมารายการจึงได้กลับไปใช้ Routmaker สีมาตรฐานของต้นฉบับ คือ เหลือง-แดงและซองคำใบ้สีเหลือง", "title": "ดิอะเมซิ่งเรซเอ็นดิสคัฟเวอรีแชนแนล" }, { "docid": "441264#6", "text": "งานของเอมส์ที่ตุรกึคือการหาและเกณฑ์เจ้าหน้าที่ข่าวกรองของโซเวียต เขาประสบความสำเร็จในการแทรกซึมเข้าไปในองค์กรคอมมิวนิสต์ DEV-GENÇ โดยแทรกซึมผ่านนักศึกษาและนักปฏิบัติการหัวรุนแรง เดนิซ กิชมิช แม้ว่าจะประสบความสำเร็จ ผลการปฏิบัติงานของเอมส์กลับออกมาแค่ระดับน่าพึงพอใจ ทำให้เอมส์ ผู้ซึ่งถูกผลการประเมินบั่นทอนกำลังใจ คิดจะออกจาก CIA", "title": "อัลดริช เอมส์" }, { "docid": "441264#2", "text": "อัลดริช เอมส์เกิดที่เมืองริเวอร์ฟอลส์ รัฐวิสคอนซิน เป็นบุตรของคาร์ลตัน เซซิล เอมส์ บิดา และเรเชล เมส์ (อัลดริช) มารดา บิดาของเขาเป็นอาจารย์วิทยาลัย ส่วนมารดาของเขาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษในไฮสคูล อัลดริชเป็นบุตรของโตจากทั้งหมดสามคนและเป็นบุตรชายเพียงคนเดียว ใน ค.ศ. 1952 คาร์ลตัน เอมส์ เริ่มทำงานให้กับหน่วยอำนวยการปฏิบัติการณ์ของ CIA ในเวอร์จิเนีย และใน ค.ศ. 1953 ได้รับมอบหมายให้ประจำการที่ภูมิภาคเอชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเวลาสามปีพร้อมกับครอบครัว คาร์ลตันได้รับผลการประเมินการปฏิบัติงานในแง่ลบเป็นอย่างมาก ส่วนหนึ่งเนื่องจากปัญหาติดสุราเรื้อรัง ทำให้เขาถูกส่งกลับไปอยู่ที่สำนักใหญ่ CIA ตลอดอาชีพที่เหลือ", "title": "อัลดริช เอมส์" }, { "docid": "441264#23", "text": "CIA เพ่งเล็งเอมส์ด้านการเงิน หลังจากที่รู้ว่าเอมส์ ผู้ได้รับรายได้ 60,000 เหรียญต่อปี สามารถซื้อ", "title": "อัลดริช เอมส์" }, { "docid": "742022#1", "text": "\"เอ็กโซดัส: ก็อดส์ แอนด์ คิงส์\" เป็นเรื่องราวอิงจากหนังสืออพยพ (Book of Exodus) ที่ว่าด้วยโมเสส (คริสเตียน เบล) ผู้นำพาชาวฮีบรูหลบหนีออกจากอาณาจักรอียิปต์ ภายใต้การปกครองของฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 (โจเอล เอ็ดเกอร์ตัน)ในเดือนมิถุนายน 2012 ริดลีย์ สก็อตต์ได้ประกาศว่าเขากำลังดัดแปลงเนื้อหาในหนังสืออพยพเพื่อสร้างเป็นภาพยนตร์ โดยใช้ชื่อว่า \"Moses\" ต่อมาในเดือนสิงหาคม 2013 คริสเตียน เบลและโจเอล เอ็ดเกอร์ตันได้ยืนยันที่จะแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ การถ่ายทำเริ่มในเดือนตุลาคมที่อัลเมรีอา และฉากทะเลแดงถ่ายทำที่ชายหาดในฟวยร์เตเบนตูรา ต่อมาวันที่ 27 มีนาคม 2014 มีการเปลี่ยนชื่อภาพยนตร์เป็น \"Exodus: Gods and Kings\"", "title": "เอ็กโซดัส: ก็อดส์ แอนด์ คิงส์" }, { "docid": "441264#29", "text": "เพลโต คาเคริส ทนายของเอมส์ ขู่ที่จะฟ้องร้อง FBI เรื่องการตรวจค้นและอายัติทรัพย์สินในบ้านและที่ทำงานของเอมส์โดยไม่มีหมายศาล แต่เนื่องจากเอมส์รับสารภาพผิด คำขู่นี้จึงหมดความสำคัญไป ต่อมารัฐสภาจึงผ่านกฎหมายใหม่เพื่อให้อำนาจนั้นกับศาลสอดส่องข่าวกรองต่างชาติ", "title": "อัลดริช เอมส์" }, { "docid": "441264#30", "text": "เรื่องของเอมส์ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ Aldrich Aims: Traitor Within ในปี 1998 โดยทิโมธี ฮัตตัน รับบทเป็นเอมส์ เอมส์ยังถูกนำไปเป็นตัวละครในนิยายของเฟรเดอริค ฟอร์ไซท์ในปี 1997 เรื่อง Icon ซึ่งในเรื่องเขาทรยศสายลับโซเวียตหลายคนที่ถูกสหรัฐอเมริกาเกณฑ์เป็นสายให้", "title": "อัลดริช เอมส์" }, { "docid": "973255#1", "text": "\"ดิออซัมแอดเวนเจอร์สออฟกัปตันสปีริต\" เป็นวิดีโอเกมผจญภัยที่มีเนี้อเรื่องในจักรวาลเดียวกับซีรีส์ \"ไลฟ์อิสสเตรนจ์\" สามปีหลังจากเหตุการณ์ในภาคก่อนหน้า โดยผู้เล่นจะสวมบทบาทเป็นเด็กหนุ่มชื่อ คริส อีริคเซน เขาอาศัยอยู่ในบ้านหลังหนึ่งแถวเมือง Beaver Creek รัฐโอเรกอน โดยที่คริสอยู่กับชาร์ลส์พ่อของเขาผู้ซึ่งกำลังพยายามทำใจกับการตายของแม่ของคริส เช้าวันเสาร์หนึ่ง คริสสร้างซูเปอร์ฮีโรกัปตันสปีริตและวางแผนจินตนาการของเขาให้เป็นจริง เครื่องแต่งกายของเขาสามารถปรับแต่งได้ในขณะที่สภาพแวดล้อมสามารถโต้ตอบและประกอบด้วยภารกิจเช่นการล่าขุมทรัพย์ และการสำรวจดาวเคราะห์ในจินตนาการ บทสนทนาแบบ Dialogue trees ถูกใช้เพื่อตอบสนองต่อตัวละครที่ผู้เล่นไม่ได้ควบคุม ทางเลือกที่ผู้เล่นสร้างขึ้นใน \"ดิออซัมแอดเวนเจอร์สออฟกัปตันสปีริต\" จะมีผลใน \"ไลฟ์อิสสเตรนจ์ 2\" ซึ่งคริสจะปรากฏตัวอีกด้วย", "title": "ดิออซัมแอดเวนเจอร์สออฟกัปตันสปีริต" }, { "docid": "441264#27", "text": "เอมส์เป็นนักโทษหมายเลข #40087-083 ของสำนักงานทันฑสถานกลาง รับโทษอยู่ที่ทันฑสถานสหรัฐอเมริกาอัลเลนวูด ใกล้กับเมืองอัลเลนวูด รัฐเพนซิลเวเนีย", "title": "อัลดริช เอมส์" } ]
1969
ใครเป็นผู้สถาปนา เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์?
[ { "docid": "45706#0", "text": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (English: The Most Illustrious Order of the Royal House of Chakri) มีอักษรย่อว่า ม.จ.ก. เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี[1] ซึ่งพระมหากษัตริย์จะพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ที่สืบเนื่องโดยตรงในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกหรือผู้ซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์ดังกล่าวได้เสกสมรส นอกจากนี้ ยังสามารถพระราชทานแก่ประมุขของต่างประเทศด้วย[2]", "title": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์" } ]
[ { "docid": "45706#5", "text": "นอกจากนี้ เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์นี้ยังสามารถพระราชทานแก่พระประมุขของต่างประเทศ เรียกว่า กิตติมศักดิ์คณาภยันดร โดยนับแยกจำนวนจากสำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์[1]", "title": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์" }, { "docid": "45706#11", "text": "ตรามหาจักรีและสายสร้อย ตราจุลจักรี ดาราจักรี", "title": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์" }, { "docid": "45706#23", "text": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประธานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์และทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะพระราชทานและเรียกคืนเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์นี้ได้", "title": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์" }, { "docid": "45706#8", "text": "หลังจากนั้น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้มีการตราพระราชบัญญัติของเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ขึ้นใหม่ โดยลดจำนวนเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์เหลือ 25 สำรับ สำหรับพระมหากษัตริย์ 1 สมเด็จพระบรมราชินี 1 และพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ 23 สำรับ รวมทั้ง ยกเลิกตำแหน่งต่าง ๆ เช่น มหาสวามิศราธิบดี มหาสวามินี ซึ่งพระราชบัญญัติเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ พ.ศ. 2484 นี้ เป็นพระราชบัญญัติของเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์ที่ใช้จนถึงปัจจุบัน[2]", "title": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์" }, { "docid": "45706#7", "text": "ลัญจกราภิบาล - มีหน้าที่รักษาพระราชลัญจกรสำหรับเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์ และเป็นผู้ประทับพระราชลัญจกรในพระราชบัญญัติ ประกาศนียบัตรตราตั้ง หนังสือสำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์ รวมทั้งมีหน้าที่เชิญเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์ เพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายในการพระราชทาน และสนองพระบรมราชโองการในการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มีเครื่องยศเป็นตราลัญจกรห้อยมงกุฎ สวมสายสร้อยทองคำลงยา โดยมี เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เป็นลัญจกราภิบาล เพียงท่านเดียว เลขานุการ - มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยลัญจกราภิบาลในการหนังสือต่าง อ่านประกาศพระบรมราชโองการเมื่อพระราชทาน เรียกคืนเครื่องราชขัตตยิราชอิสริยาภรณ์ ทำบัญชีผู้ได้รับพระราชทาน และจดบันทึกคุณความดีของผู้ได้รับพระราชทาน มีเครื่องยศเป็นรูปจักรี ตรงช่องกรี(ตรี) มีรูปปากไก่ไขว้กันมีรูปปทุมอุณาโลมลงยาราชาวดีด้านบน ห้อยผ้าสีเหลืองสำหรับสวม โดยมี<b data-parsoid='{\"dsr\":[5991,6021,3,3]}'>หม่อมเจ้าประภากร มาลากุล เป็นเลขานุการ เพียงพระองค์เดียว มุรทานุการ - มีหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานสำหรับตราอาร์มาหรับนำไปประดับที่พระเก้าอี้ ซึ่งเชิญออกเมื่อมีการประชุมแต่งตั้งคณาภยันดรใหม่ ณ ท้องพระโรงกลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทั้งเป็นผู้ทำบาญชีตระกูลวงศ์ของคณาภยันดร เรียกว่า”วงษานุจริต”และรับราชการต่างๆตามแต่มหาสวามิศราธิบดีและมหาสวามินีจะรับสั่ง มีเครื่องยศเป็นรุปรูปจักรีไขว้กัน กลางจักรหว่างตรีข้างขวา มีตราอาร์มแผ่นดิน มีรูปไอยราพต ช้างเผือก และกฤช(กริช) ข้างซ้ายเป็นรูปปทุมอุณาโลมเปล่งรัศมี ในวงกลางดวงตราลงยาราชาวดี มีพระมหามงกุฎด้านบน ห้อยกับแพรแถบสีเหลืองกว้างสองนิ้วสำหรับสวม โดยมี<b data-parsoid='{\"dsr\":[6601,6633,3,3]}'>พระยาบำเรอภักดิ์(กร กรสูต) เป็นมุรทานุการ แต่เพียงท่านเดียว", "title": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์" }, { "docid": "47686#25", "text": "80px เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ 80px เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 มหาวราภรณ์ (ตำแหน่งคณาธิบดี)[27] เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 มหาสุราภรณ์", "title": "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร" }, { "docid": "45706#16", "text": "หมายเหตุ: สำหรับพระมหากษัตริย์, พระราชินี หรือ พระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้รับพระราชทานเป็นกรณีพิเศษ ดาราจะประดับเพชรทั้งดวง", "title": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์" }, { "docid": "45706#26", "text": "ปัจจุบัน มีผู้ได้รับพระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ดังต่อไปนี้", "title": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์" }, { "docid": "45706#29", "text": "หมวดหมู่:ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2425 มหาจักรีบรมราชวงศ์", "title": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์" }, { "docid": "45706#4", "text": "ฝ่ายหน้า ผู้เป็นใหญ่แห่งเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์ฝ่ายหน้า เรียกว่า มหาสวามิศราธิบดี (พระมหากษัตริย์ หรือ พระบรมวงศานุวงศ์ที่โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง) คณะผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์ฝ่ายหน้า เรียกว่า คณาภยันดร และผู้ที่ได้รับพระราชทานตราเฉพาะพระองค์ เรียกว่า ภราดร โดยสามารถใช้อักษรย่อ ภ.จ.ก. เขียนท้ายพระนาม เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์ฝ่ายหน้า รวมทั้งสิ้น 42 สำรับ ฝ่ายใน ซึ่งผู้เป็นใหญ่แห่งเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์ฝ่ายใน เรียกว่า มหาสวามินี (สมเด็จพระบรมราชเทวี) คณะผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์ฝ่ายใน เรียกว่า คณาภยันดรี และผู้ที่ได้รับพระราชทานตราเฉพาะพระองค์ เรียกว่า ภคินี โดยสามารถใช้อักษรย่อ ภ.จ.ก. เขียนท้ายพระนาม เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์ฝ่ายใน รวมทั้งสิ้น 29 สำรับ", "title": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์" }, { "docid": "172368#26", "text": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.)", "title": "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี" }, { "docid": "45706#1", "text": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์จัดเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติสูงสุด ก่อนที่จะมีการสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์[3] ปัจจุบัน มหาจักรีบรมราชวงศ์จัดเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติเป็นลำดับที่สอง รองจากราชมิตราภรณ์ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแด่ประมุขของต่างประเทศเท่านั้น[4]", "title": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์" }, { "docid": "33649#21", "text": "พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ (ร.ม.ภ.)[11] พ.ศ. 2506 – 80px เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.)[12] เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นสูงสุด กร็อง-กรัวซ์ จากประเทศฝรั่งเศส", "title": "สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ" }, { "docid": "45706#3", "text": "ตรามหาจักรีบรมราชวงศ์นี้ มีพระมหากษัตริย์เป็นประธานแห่งเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์ และพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งสิ้น 71 สำรับ โดยแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ได้แก่", "title": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์" }, { "docid": "18064#71", "text": "ตราไปรษณียากรที่ระลึก 80 พรรษา สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา - เป็นพระรูปทรงฉลองพระองค์ชุดไทยสีเทาเข้ม ประดับเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ที่พระอังสาเบื้องซ้ายประดับเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1 และเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 ที่พระอังสาเบื้องขวาประดับเข็มกลัดเพชรอักษรพระบรมนามาภิไธย ร.ร.6 ในรัชกาลที่ 6 ฉากพื้นเป็นสีชมพูซึ่งเป็นสีวันประสูติ-วันอังคาร (วันแรกจำหน่าย: 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548) [72] ตราไปรษณียากรที่ระลึก 84 พรรษา สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา -เป็นพระรูปทรงฉลองพระองค์ชุดไทยสีน้ำเงินเข้ม ประดับเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ที่พระอังสาเบื้องซ้ายประดับเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 อักษรบอกราคา 3 บาทเป็นสีชมพูซึ่งเป็นสีวันประสูติ-วันอังคาร (วันแรกจำหน่าย: 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552) [73]", "title": "สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี" }, { "docid": "271439#26", "text": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ประเทศไทย)", "title": "จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย" }, { "docid": "45706#2", "text": "เมื่อปี พ.ศ. 2425 ในโอกาสครบรอบการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีมาเป็นเวลาครบ 100 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระราชทานนามเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ว่า \"เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์\" หรือเรียกอย่างย่อว่า \"ตรามหาจักรีบรมราชวงศ์\" สำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ที่สืบเนื่องโดยตรงในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก", "title": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์" }, { "docid": "45706#25", "text": "ผู้ได้รับพระราชทาน ม.จ.ก. จะได้รับใบประกาศนียบัตรทรงลงพระปรมาภิไธยและประทับพระราชลัญจกร อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ได้รับ ม.จ.ก. สิ้นพระชนม์ ผู้รับมรดกจะต้องส่งเครื่องขัตติยราชอิรสริยาภรณ์คืนภายใน 30 วัน ถ้าส่งคืนไม่ได้กองมรดกจะต้องรับผิดชอบ หรือในกรณีที่ทรงเรียก ม.จ.ก. คืนจากผู้ได้รับพระราชทานนั้น ถ้าผู้รับพระราชทานไม่สามารถส่งคืนได้ ต้องใช้ราคาเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์นั้น[2]", "title": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์" }, { "docid": "155491#9", "text": "80px เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ฝ่ายหน้า (ม.จ.ก.) (ประเทศไทย)", "title": "สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร" }, { "docid": "45706#6", "text": "อนึ่งตามพระราชบัญญติเครื่องราชอิสริยภรณ์มีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ พ.ศ. ๒๔๓๖ ไดกำหนดให้มีเจ้าพนักงานสำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จำนวน 3 ตำแหน่งคือ ลัญจกราภิบาล , เลขานุการ และ มุรทานุการ", "title": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์" }, { "docid": "52791#32", "text": "พ.ศ. 2507 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ (ร.ม.ภ.)[10] 80px เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.)", "title": "เจียง ไคเชก" }, { "docid": "42827#30", "text": "เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ (ร.ม.ภ.) (ประเทศไทย)[11] 80px เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ฝ่ายหน้า (ม.จ.ก.) (ประเทศไทย)", "title": "จักรพรรดิโชวะ" }, { "docid": "45706#9", "text": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์จัดเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติสูงสุด ก่อนที่จะมีการสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช[3] ปัจจุบัน มหาจักรีบรมราชวงศ์จัดเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติเป็นลำดับที่สอง รองจากราชมิตราภรณ์ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแด่ประมุขของต่างประเทศเท่านั้น แต่เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์ยังจัดเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดที่พระราชวงศ์จะได้รับพระราชทาน[4]", "title": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์" }, { "docid": "45706#24", "text": "ปัจจุบัน เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์มีจำนวน 25 สำรับ สำหรับพระมหากษัตริย์ 1 สำรับ สมเด็จพระบรมราชินี 1 สำรับ และพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ที่สืบเนื่องโดยตรงในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกหรือผู้ซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์ดังกล่าวได้เสกสมรสด้วยอีก 23 สำหรับ นอกจากนี้ ยังสามารถพระราชทานแก่ประมุขของต่างประเทศซึ่งไม่นับรวมใน 25 สำรับอีกด้วย[2]", "title": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์" }, { "docid": "45706#10", "text": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ออกแบบโดยเสวกเอก หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย[5] มีชั้นสายสะพายเพียงชั้นเดียว แบ่งออกเป็นฝ่ายหน้า (บุรุษ) และ ฝ่ายใน (สตรี) สำหรับพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระบรมราชินีนั้น จะมีลักษณะเช่นเดียวกับที่พระราชทานแก่ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน แต่ตรามหาจักรี สายสร้อย และดาราจักรีนั้นจะประดับเพชรทั้งหมด ม.จ.ก. 1 สำรับ ประกอบด้วย[2]", "title": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์" }, { "docid": "45706#21", "text": "บริเวณขอบจักรนั้นมีอักษรเป็นคาถาภาษิตสำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ คือ \"ติรตเนสกรฏฺเฐจ สมฺพํเสจมมายนํ สกราโชชุจิตฺตญฺจ สกรฏฺฐาภิวัฑฺฒนํ\" ซึ่งแปลว่า \"ความนับถือรักใคร่ในพระรัตนตรัยก็ดี ในรัฐของตนก็ดี ในวงศ์ตระกูลของตนก็ดี มีจิตซื่อตรงในพระราชาของตนก็ดี ย่อมเป็นเครื่องทำให้รัฐของตนเจริญยิ่ง\"[6] ส่วนขอบรอบดวงตรานั้นจารึกว่า \"พระราชลัญจกร สำหรับเครื่องขัตติยราชอิสริยยศ อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่ง ตรามหาจักรีบรมราชวงษ\"", "title": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์" }, { "docid": "45706#19", "text": "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชลัญจกรประจำเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ขึ้นสำหรับประทับข้อพระราชบัญญัติ คำประกาศ ตราตั้งคำสั่ง และหนังสือสำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์[1] โดยมีลักษณะดังนี้", "title": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์" }, { "docid": "37241#40", "text": "พ.ศ. 2488 - 80px เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.)[4]", "title": "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล" }, { "docid": "138258#0", "text": "เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (The Most Illustrious Order of the Royal House of Chakri) มีอักษรย่อว่า ม.จ.ก. มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประธานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์และทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะพระราชทานและเรียกคืนเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์นี้ได้ ปัจจุบัน เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์มีจำนวน 25 สำรับ สำหรับพระมหากษัตริย์ 1 สำรับ สมเด็จพระบรมราชินี 1 สำรับ และพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ที่สืบเนื่องโดยตรงในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกหรือผู้ซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์ดังกล่าวได้เสกสมรสด้วยอีก 23 สำหรับ นอกจากนี้ ยังสามารถพระราชทานแก่ประมุขของต่างประเทศซึ่งไม่นับรวมใน 25 สำรับอีกด้วย โดยมีพระนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ เช่น", "title": "รายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทาน ม.จ.ก." } ]
1627
โดราเอมอน เขียนโดยใคร ?
[ { "docid": "768#0", "text": "โดราเอมอน หรือ โดเรมอน (Doraemon) เป็น การ์ตูนญี่ปุ่น แต่งโดย ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ เรื่องราวของหุ่นยนต์แมวชื่อโดราเอมอน โดยฟุจิโกะ ฟุจิโอะได้กล่าวว่าโดราเอมอนเกิดวันที่ 3 กันยายน มาจากอนาคตเพื่อกลับมาช่วยเหลือ โนบิตะ เด็กประถมจอมขี้เกียจด้วย ของวิเศษ จากอนาคต โดราเอมอนเริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2512 โดย สำนักพิมพ์โชงะกุกัง [1][2] โดยมีจำนวนตอนทั้งหมด 1,344 ตอน [3] ต่อมาในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดราเอมอนได้รับรางวัลเทะซุกะ โอซามุ ครั้งที่ 1 ในสาขาการ์ตูนดีเด่น [4] อีกทั้งยังได้รับเลือกจาก นิตยสารไทม์เอเชีย ให้เป็น 1 ในวีรบุรุษของ ทวีปเอเชีย จาก ประเทศญี่ปุ่น [5] จากนั้นในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551 โดราเอมอนก็ได้รับเลือกให้เป็นทูตสันถวไมตรี เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมของ ประเทศญี่ปุ่น [6] นอกจากนี้บริษัท บันได ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าการ์ตูนที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น ยังได้ผลิต หุ่นยนต์ โดราเอมอนของจริงขึ้นมาในชื่อว่า \"My Doraemon\" โดยออกวางจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552 [7]", "title": "โดราเอมอน" } ]
[ { "docid": "768#48", "text": "โดราเอมอนถูกนักวาดการ์ตูนคนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ผู้แต่งแท้จริงเขียนซ้ำ หรือที่เรียกว่า โดจินชิ ออกมามากมาย โดจินชิที่ถูกกล่าวขวัญถึงมากที่สุดก็คือ ผลงานของนักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น ยาสุเอะ ทาจิมะ [27] ซึ่งเป็นโดจินชิตอนจบของโดราเอมอน โดยนำเค้าโครงเรื่องมาจากตอนจบของโดราเอมอนหลายๆ แบบที่ถูกเล่าลือตามเมลลูกโซ่มานาน [27][28] งานโดจินชิเล่มนี้ ได้ออกวางขายครั้งแรกในงานคอมมิกมาร์เก็ต ฤดูร้อน ปี 2548 (ครั้งที่ 68) และครั้งต่อมาในฤดูหนาว (ครั้งที่ 69) ปีเดียวกัน[27] ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมากจนหนังสือถึงกับขาดตลาด และถูกนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง", "title": "โดราเอมอน" }, { "docid": "2795#21", "text": "พจนานุกรมคาถา ถึงไม่มีตัวอักษร แต่สามารถเขียนคาถาร่ายมนต์ลงไปได้ และเมื่อท่องคาถานั้นก็จะร่ายเวทมนตร์ได้ตามที่เขียนไว้ พรมขอทานอัตโนมัติ ถ้าคุณกดปุ่มที่พรมนี้ จะทำให้เราเริ่มทำธุรกิจขอทานได้ พรมบางเหินเวหา [29] ไม่มีข้อมูล พรมนาข้าว ดูรายระเอียดที่ ชุดงานอดิเรกวันอาทิตย์ (หมวด ช) พริกไทยหัวเราะ เมื่อโปรยไปยังคนๆ ใดคนๆ หนึ่ง จะเกิดอาการหัวเราะออกมาในทันที พริกไทยอร่อยเหาะ (แต่โดราเอมอนฉบับแอนิเมชันรุ่นปัจจุบันเรียกว่า ผงปรุงรสเด็กดีวัยเจริญเติบโต)เมื่อใส่ในอาหาร อาหารจะอร่อยมาก แต่ถ้าหากผงไปโดนใครคนหนึ่ง ก็จะมีคนจ้องรับประทานคนๆ นั้น (ตอน สตูไจแอนท์) พลั่วง่ายดาย สามารถขุดดินได้ง่ายยังกับตัดเต้าหู้ พัดใบกล้วย [38] เป็นพัดที่สามารถปรับระดับความแรงของลมได้(ถึงแม้ว่าจะพับเบาๆหรือล้มในขณะที่ยังถึอสิ่งนี้อยู่ ก็จะเกิดลมตามความแรงของลมที่ได้ตั้งไว้ ดังนั้นควรระวังไว้) เพชรแห่งความโชคร้าย ใครที่มีเพชรเม็ดนี้ไว้ในครอบครองจะโชคร้ายซ้ำแล้วซ้ำเล่า แพชูชีพ [พิเศษ2] แพขนาดจิ๋ว เมื่อโดนน้ำจะขยายตัวออก ใช้เป็นที่พักชั่วคราวได้ แพลูกโป่ง เพียงเป่าแพนี้ก็สามารถขยายตัวและนั่งได้ แพลเนทาเรี่ยม [6] ใช้ฉายภาพสถานที่ต่างๆ เพื่อสร้างบรรยากาศ ไพ่แห่งความสุข สามารถขออะไรก็ได้ เมื่อคำขอเป็นจริงแล้วไพ่จะหายไปหนึ่งใบ ถ้าขอพรจนเหลือใบสุดท้ายคือโจ๊กเกอร์ ความโชคร้ายจะย้อนกลับทวีคูณ และถ้าได้ใช้ไปครั้งนึงแล้วไม่สามารถทิ้ง ยกเว้นโอนให้คนอื่น ไพ่ทารอท จริงๆ แล้ว คืออุปกรณ์วิเศษของโดราเหม็ด รุ่น 3 ถ้าโยนและพูดคาถาว่า \"โดรามีเรีย โทราโทเรีย ขอคำทำนายด้วยจ้า\" คำทำนนายก็จะขึ้นมาเอง (ปรากฏเห็นครั้งแรกในโดราเอมอนแอนด์เดอะแก็งค์ ตอน โจรลึกลับโดราแปง สารท้าประลองปริศนา)", "title": "รายชื่อของวิเศษของโดราเอมอน" }, { "docid": "768573#1", "text": "โนบิตะและเพื่อนๆ เตรียมซ้อมละครซึ่งแสดงเรื่องไซอิ๋ว โดยระหว่างการซ้อมโนบิตะนึกถึงเกี่ยวกับหากตัวเองเล่นเป็นหงอคง แต่เพื่อนๆ ไม่ให้เขารับบทนั้น โนบิตะเซ็งที่ตัวเองไม่ได้เล่นบทหงอคงทั้งๆ ที่ต้นคิดคือเขา (เดคิสุงิเป็นหงอคง) ไจแอนท์ที่รับบทโป๊ยก่ายก็ไม่พอใจที่ซึเนะโอะไปว่าว่าเป็นปีศาจหมู ทำให้เล่นผิดบทเพราะอารมณ์ (ใครๆ ก็อยากเป็นหงอคง) เมื่อไจแอนท์บอกว่าซึเนะโอะก็เหมาะที่จะเป็นพรายน้ำก็โมโหไจแอนท์ สุดท้ายโนบิตะบอกว่าเขาจะพิสูจน์ให้ดูว่าหงอคงมีจริง ถ้ามีต้องให้เขาเป็นหงอคง เขาเลยกลับบ้านไปหาโดราเอมอนเพื่อที่จะใช้ไทม์แมชชีนไปในประเทศจีนสมัยที่พระถังซำจั๋ง แต่โดราเอมอนยังเล่นเกมในฮีโร่แมชชีน โนบิตะเลยไปคนเดียว เขาพบหงอคงหน้าเหมือนเขาเปี๊ยบบินผ่านไป และพบกับเด็กหนุ่มคนหนึ่งซึ่งเป็นลมหมดสติจากการขาดน้ำ โนบิตะเลยเอาน้ำมาให้เพื่อช่วยชีวิตไว้", "title": "โดราเอมอน ตอน ตำนานเทพนิยายไซอิ๋ว" }, { "docid": "922228#0", "text": "โดราเอมอน ตอน เกาะมหาสมบัติของโนบิตะ () เป็นโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาว และภาพยนตร์ชุดนี้ถือเป็นตอนที่ 38 ของโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ ภาพยนตร์ได้เค้าโครงจากนวนิยายของโรเบิร์ต หลุยส์ สตีเวนสัน เรื่อง \"\" โดยผู้เขียนบทภาพยนตร์คือ Genki Kawamura ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่อง \"หลับตาฝัน ถึงชื่อเธอ\" และ \"ศิษย์มหัศจรรย์กับอาจารย์พันธุ์อสูร\" และ Kazuaki Imai ผู้กำกับ \"โดราเอมอน\" ฉบับอนิเมะโทรทัศน์ เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ซึ่งเป็นการกำกับ \"โดราเอมอน\" ฉบับภาพยนตร์เป็นครั้งแรก ภาพยนตร์เข้าฉายในประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 3 มีนาคม 2018 สำหรับประเทศไทย ทางเอ็ม พิคเจอร์ และผู้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ ได้ยืนยันกำหนดการฉายไว้วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2561 นี้", "title": "โดราเอมอน ตอน เกาะมหาสมบัติของโนบิตะ" }, { "docid": "540120#1", "text": "โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์มี 39 ตอน (ไม่รวมสแตนด์บายมี) ส่วนใหญ่จะสร้างจากหนังสือการ์ตูนโดราเอมอนชุดพิเศษ ซึ่งมี 6 ตอนที่นำไปสร้างฉายใหม่เป็นครั้งที่สอง และอีก 8 ตอนที่ไม่ได้มาจากหนังสือการ์ตูนโดราเอมอนชุดพิเศษ เรียงตามการออกฉายในโรงภาพยนตร์ที่ประเทศญี่ปุ่นนอกจากโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ที่มีการฉายทุกปีแล้ว ยังมีภาพยนตร์การ์ตูนตอนพิเศษดังนี้ รวมโดราเอมอน ตอนพิเศษ ของ บริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ทั้ง 8 ชุด", "title": "รายชื่อสื่อโดราเอมอน" }, { "docid": "924387#0", "text": "โดเรมีจัง: มินิโดราเอสโอเอส () เป็นภาพยนตร์อะนิเมเรื่องสั้นของโดราเอมอน โดยได้เค้าโครงจากชุดมังงะโดราเอมอน ออกฉายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1989 พร้อมกับ \"โดราเอมอน ตอน ท่องแดนญี่ปุ่นโบราณ\"ภาพยนตร์ที่เขียนโดย ฮิโรชิ ฟุจิโมโตะ และโมโตโอะ อะบิโคะ", "title": "มินิโดราเอสโอเอส" }, { "docid": "2795#1", "text": "ของวิเศษของโดราเอมอน () เป็นอุปกรณ์หลากหลายรูปแบบที่โดราเอมอน หยิบนำมาใช้ ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้ในกระเป๋า 4 มิติที่อยู่ที่หน้าท้องของโดราเอมอน ของวิเศษส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ในนิยายวิทยาศาสตร์ ซึ่งบางอย่างก็จะเป็นการดัดแปลงจากข้าวของเครื่องใช้ในบ้านของชาวญี่ปุ่นเอง และยังมีของวิเศษบางชิ้นก็อ้างถึงความเชื่อทางศาสนาของประเทศญี่ปุ่น ของวิเศษในเรื่องโดราเอมอนนั้นมีประมาณ 4,500 ชิ้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะปรากฏออกมาให้เห็นเพียงตอนเดียว แต่ก็ยังมีของวิเศษบางชิ้นที่โดราเอมอนหยิบออกจากกระเป๋านำมาใช้บ่อยครั้ง", "title": "รายชื่อของวิเศษของโดราเอมอน" }, { "docid": "13714#10", "text": "พอเมื่อมาอยู่กับโนบิตะนั้น โดราเอมอนใช้ชีวิตในฐานะหุ่นยนต์แมวตัวสีฟ้าที่พูดได้ ต่อครอบครัวโนบิ แต่ต่อคนในยุคอดีตนั้นเป็นแรคคูนตัวเท่าคนตัวสีฟ้า ยืน 2 ขาพูดได้ หรือคนใส่ชุดประหลาด โดยโดราเอมอนเมื่อโดนเรียกว่าทานุกิหรือแรคคูนจะโกรธเอามากๆ โดยใช้ชีวิตร่วมกับโนบิตะกับให้ยืมใช้ของวิเศษต่างๆ แม้จะเกิดเรื่องโกลาหลกว่าตลอดก็ตาม กับนอนในห้องเก็บของที่อยู่ในห้องนอนโนบิตะกับซ่อนไทม์แมชชีนไว้ในลิ้นชักที่ใต้โต๊ะของโนบิตะ โดยให้โนบิตะ, ชิสุกะ, ไจแอนท์และซูเนโอะ เท่านั้นที่รู้กับปิดเอาไว้ไม่ให้ใครรู้", "title": "โดราเอมอน (ตัวละคร)" }, { "docid": "126552#6", "text": "หลายวันต่อมา โนบิตะก็สุดจะอดกลั้น เนื่องจากไม่มีใครยอมเชื่อว่าโนบิตะเลี้ยงไดโนเสาร์ไว้จริงๆ เขาเลยขอร้องให้โดราเอมอนเอาทีวีกาลเวลาออกมาให้พวกซึเนะโอะได้เห็นพีสุเกะที่อยู่ในโลกดึกดำบรรพ์ เมื่อได้ดูภาพจากทีวี ก็พบว่าพีสุเกะไม่สามารถเข้ากับไดโนเสาร์ตัวอื่นได้ ทำให้โดราเอมอนรู้ว่า พวกตนได้พาพีสุเกะไปส่งในแถบอเมริกาเหนือ ซึ่งที่นั่นไม่ใช่ถิ่นกำเนิดของไดโนเสาร์พันธุ์ฟุตาบะซึซึกิอย่างพีสุเกะ เมื่อได้ยินดังนั้น โนบิตะจึงรีบขอให้โดราเอมอนนั่งไทม์แมชชีนไปพาตัวพีสุเกะกลับมาทันที ส่วนชิซุกะ ไจแอนท์ และซึเนะโอะก็ได้ขอตามไปด้วย ส่งผลให้จำนวนบรรทุกเกินอัตรา แถมระหว่างทางยังถูกบุรุษชุดดำตามมายิงปืนใส่อีก 1 ที ทำให้ไทม์แมชชีนพังเสียหายจนไม่สามารถซ่อมแซมให้ใช้การเหมือนเดิมได้ ด้วยเหตุนี้ พวกโนบิตะจึงต้องออกเดินทางผจญภัยในโลกดึกดำบรรพ์ ต่อสู้กับเหล่าวายร้ายบุรษชุดดำ ซึ่งเป็นนักล่าไดโนเสาร์ที่จ้องจะจับพีสุเกะไปเป็นสัตว์เลี้ยงของอัครมหาเศรษฐีในโลกอนาคต และพยายามหาทางกลับไปประเทศญี่ปุ่นในยุคปัจจุบันให้ได้", "title": "โดราเอมอน ตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ" }, { "docid": "768573#2", "text": "เมื่อโดราเอมอนเล่นเกมเสร็จก็ออกมาจากฮีโร่แมชชีน และเมื่อโนบิตะกลับมาก็จะชวนเล่นเกมด้วย เมื่อโนบิตะกลับมาก็ไปบอกทุกคนว่าหงอคงมีตัวตนอยู่จริง และพาทุกคนรวมถึงโดราเอมอนไปดูด้วย ทว่าเพราะไทม์แมชชีนที่ไปเมื่อกี้เป็นการคาดเดาเวลาและสถานที่ ดังนั้นที่ที่ออกมาเลยต่างจากเมื่อกี้นี้ แต่ทว่า ทุกคนถูกโจรภูเขาไล่ตามมา เมื่อหลบได้แล้วโนบิตะบอกความจริงโดราเอมอนว่าโนบิตะเห็นหงอคงจริงๆ และไปเจอเด็กผู้ชายคนนั้นซึ่งเขาเรียกโนบิตะว่าหงอคงด้วย ทั้งๆ ที่ไม่มีวุ้นแปลภาษา โดราเอมอนเริ่มสงสัยแล้วว่าใช้ของวิเศษของเขาไปหรือเปล่า ต่อมาไจแอนท์เริ่มยัวะที่ไม่เห็นหงอคง แต่เห็นกลุ่มคนจากระยะไกลโดราเอมอนเลยใช้ดาวเทียมสอดแนมเพื่อดูว่าเป็นใคร แล้วก็พบว่าเป็นพระถังซำจั๋ง ซึ่งมีตัวตนอยู่จริง แต่ผู้ติดตามตัวอื่นๆ (หงอคง, โป๊ยก่าย, และซัวเจ๋ง) ไม่มีตัวตนอยู่จริง โนบิตะต้องรักษาสัญญาที่ไว้ให้กับไจแอนท์โดราเอมอนเลยพาโนบิตะไปหลบแล้วเอาฮีโร่แมชชีนออกมาเพื่อให้โนบิตะแต่งกายเป็นหงอคง เมื่อเกมเริ่มแล้วโดราเอมอนให้โนบิตะออกมาจากเกมแล้วให้เพื่อนๆ ได้เห็น แต่ระหว่างนั้นราชาปีศาจวัวและลูกสมุนต่างๆ ในฮีโร่แมชชีนได้ออกมาจากเกมแล้ว! และหงอคงโนบิตะก็หลุดปากไปตอนที่ไจแอนท์เรียกโนบิตะ ทำให้ต้องเปิดเผยความลับ ซึ่งก็คือฮีโร่แมชชีน จากนั้นทุกคนกลับไปยังปัจจุบันแล้วไจแอนท์ให้โดราเอมอนเอาฮีโร่แมชชีนออกมาให้เล่นเพื่อเล่นไซอิ๋ว ไจแอนท์และซึเนะโอะอยากเป็นหงอคง โดราเอมอนเลยบอกให้ทำตามที่คอมพิวเตอร์สั่ง เมื่อทุกคนเข้าไปแล้วโดราเอมอนเห็นท้องฟ้าผิดปกติและน่ากลัว ในฮีโร่แมชชีนคอมพิวเตอร์เลือกบทให้โดยไจแอนท์เป็นโป๊ยก่าย ซึเนะโอะเป็นซัวเจ๋ง ชิซุกะเป็นพระถังซำจั๋ง และโนบิตะเป็นหงอคง ไจแอนท์โมโหที่ไม่ได้เล่นเป็นหงอคง จากนั้นเกมก็เริ่มขึ้น แต่มันก็จบลงอย่างง่ายดายโดยที่ไม่มีปีศาจออกมาสักตนเดียว ทุกคนรู้สึกไม่สนุกเลยเลยบอกว่าไม่มีปีศาจเลย โดราเอมอนก็รู้สึกแปลกๆ ว่าทำไม จากนั้นทุกคนก็กลับบ้าน โดราเอมอนและโนบิตะโกรธกัน คืนนั้นคุณแม่เรียกทั้งสองลงมากินข้าว โนบิตะรู้สึกแปลกๆ เพราะเงาคุณพ่อเหมือนปีศาจเปี๊ยบเลย แต่ตัวจริงยังเหมือนเดิม และที่อาหารวันนี้อร่ิยผิดปกติเพราะเป็นงูชุบแป้งทอด โดราเอมอนและโนบิตะช็อกที่กินอะไรไป และคุณแม่ก็เอาซุบตุ๊กแกมาเสิร์ฟ ทั้งสองเลยขอตัวขึ้นไปนอนก่อน ระหว่างที่ทั้งสองนอนอยู่ก็รู้สึกผิดปกติ และมาหงุดหงิดใส่กัน ส่วนนอกบ้านมีค้างคาวเกาะอยู่เต็มไปหมด", "title": "โดราเอมอน ตอน ตำนานเทพนิยายไซอิ๋ว" }, { "docid": "13731#6", "text": "หลังการ์ตูนเรื่อง \"โดเรมีจัง\" จบไปแล้วสี่ปี โดเรมีมีบทบาทจากการเป็นตัวละครพิเศษรับเชิญในเรื่อง \"โดราเอมอน\" เพียงครั้งเดียว แต่หลังจากที่เธอห่างหายไปและหวนกลับมามีบทบาทอีกครั้งในนิตยสารและสื่อโทรทัศน์ในฐานะน้องสาวของโดราเอมอน โดยมีบทบาทในการดูแลโนบิตะช่วงที่โดราเอมอนไม่อยู่ หรือหาวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างโดราเอมอนกับโนบิตะอยู่เสมอ ด้วยความที่เธอมีความสามารถด้านการบ้านการเรือนกอปรกับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี เซวาชิจึงให้โดเรมีมาอยู่บ้านโนบิตะแทนโดราเอมอน ซึ่งโดราเอมอนก็เห็นดีด้วย แต่โนบิตะไม่ยอม", "title": "โดเรมี" }, { "docid": "126552#1", "text": "ในปี 1975 ฟูจิโกะ เอฟ. ฟูจิโอะ ได้วาด \"โดราเอมอน ตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ\" เป็นการ์ตูนเรื่องสั้น ความยาว 25 หน้า ลงในนิตยสารโชเน็งซันเดย์ ฉบับพิเศษ และในภายหลังก็ได้ลงตีพิมพ์ใน โดราเอมอน ฉบับรวมเล่มของเทงโทมุชิคอมิกส์ ฉบับที่ 10 ด้วย ซึ่ง ฟูจิโกะ เอฟ. ฟูจิโอะ เขียนโดราเอมอนตอนนี้ขึ้นมาโดยได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่อง \"Born Free\" ที่เป็นผลงานการประพันธ์ของจอย อดัมสัน ต่อมาในเดือนตุลาคม ปี 1979 นิตยสารโคโรโคโรคอมิกก็ลงประกาศในเล่มว่า โดราเอมอนตอนนี้ จะได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาว จากนั้นในเดือนธันวาคม ปีเดียวกัน ฟูจิโกะ เอฟ. ฟูจิโอะ ก็เขียนโดราเอมอนตอนนี้เป็นแบบเรื่องยาว ลงในนิตยสารโคโรโคโรคอมิกรายเดือน โดยแบ่งเป็น 3 ตอนใหญ่ๆ ลงตีพิมพ์เดือนละตอน เป็นเวลา 3 เดือนด้วยกัน ", "title": "โดราเอมอน ตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ" }, { "docid": "730032#2", "text": "ทั้ง 7 เป็นเพื่อนตั้งแต่สมัยตอนที่โดราเอมอนยังมีหูตัวสีเหลือง (ในตอนนั้นมีหน้าตาเหมือนโดราเดอะคิดตอนที่ไม่ใส่เสื้อผ้า) และทุกคนมี การ์ดมิตรภาพ () เผื่อเอาไว้ใช้เรียกรวมตัวเวลามีภัย\n=ตัวละคร=\nกลุ่มโดราเอมอน 7 ตัว ที่มีสีตัวเสื้อผ้ากับสัญชาติที่แตกต่างกันไป โดยทั้ง 7 ตัวมีอาวุธเหมือนกัน คือกระเป๋า 4 มิติที่หยิบของวิเศษออกมา แต่ของบางคนจะเป็นแบบอื่นเช่นหมวก ผ้าพันคอ แขนเสื้อ 4 กับมีอาวุธสุดท้ายคือหัวที่แข็งเหมือนกันในการใช้พุ่งชนทะลุทุกสิ่ง โดยทั้ง 7 ใช้บัตรโทรศัท์มิตรภาพ เรียกหากันข้ามผ่านแต่ละยุค ด้วยพลังมิตรภาพจาก เมื่อคนไหนมีภัยร้ายจะเรียกทุกคนให้มา เมื่อใช้พลังมิตรภาพของทั้ง 7 ในที่เดียวกัน จะแสดงพลังมิตรภาพเป็นไพ่ตาย เพิ่มพลังให้ของวิเศษ หรือ เพิ่มพลังให้กับอะไรก็ได้ให้มีพลังรุนแรงมากกว่าเดิม และในยุคสมัยอดีตแต่ละยุคที่พวกตนอาศัยอยู่ ใช้ชีวิตในฐานะทานุกิพูดได้ ซึ่งทุกคนพอโดนทักแบบนี้ จะโกรธกันมากๆ\n\"นี่เป็นแค่ข้อมูลในเรื่องแก๊งป่วนก๊วนโดราเอมอนเท่านั้น หากต้องการดูข้อมูลเพิ่มเติมดู โดราเอมอน\"\nโดราเอมอน ()หัวหน้าแก๊ง ชอบกินโดรายากิแบบสูตรต้นตำหรับ ตะกละมากที่สุด แต่กลัวหนูเป็นที่สุด มีกระเป๋า 4 มิติอยู่ที่หน้าท้อง มีความเป็นผู้นำมากที่สุด ถึงแม้ว่าพลังจะอ่อนแอสุดก็ตาม โดยร่างตอนอยู่โรงเรียนหุ่นยนต์ในสมัยก่อนเป็นตัวสีเหลืองเหมือนโดราเดอะคิด แต่ไม่ใส่เสื้อผ้า กับมีหู แต่ปัจจุบันตัวสีฟ้ากับไร้หู\nโดรา เดอะ คิด (;)หุ่นยนต์แมวตัวสีเหลืองใส่ชุดคาวบอย มีนิสัยใจร้อน ขี้โมโห พอโกรธยิงมั่วไปหมดถึงกับพังยานอวกาศได้สบาย โดยยิงปืนแม่นที่สุด เก่งพอๆกับโนบิตะ แต่ตนใช้ปืนใหญ่อากาศ กับเป็นโรคกลัวความสูง ขนาดสูงแค่ 1 ชั้นมองลงล่างยังกลัวมาก ตอนใช้คอปเตอร์ไม้ไผ่ต้องให้คนช่วยจับพาบิน เพราะกลัวตกเป็นที่สุด มีอาชีพคือตำรวจกาลเวลาเพราะถูกรับเลี้ยงมา โดยอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริการัฐนิวยอร์ก เวลากินโดะระยะกิมักจะราดมัสตาร์ดและเค็ดชัพ เป็นแฟนกับโดเรมี(น้องสาวโดราเอมอน) หยิบของวิเศษออกมาจากหมวก 4 มิติ\nโดราเหม็ด รุ่นที่ 3 (;;;)หุ่นยนต์แมวตัวสีชมพูใส่ชุดอาบังสีเขียวผู้ชอบใช้เวทมนตร์คาถา มีคาถาประจำตัว คือ \"โอม โรตีมะตะบะ\" สัญชาติซาอุดีอาระเบียในอาหรับ กับควบคุมให้ของวิเศษลอย กลัวน้ำสุดๆ เพราะว่ายน้ำไม่เป็น ไม่ค่อยชอบวิชาพลศึกษา เพราะบางครั้งจะได้เรียนว่ายน้ำ แบบแค่โดนปืนฉีดน้ำยิงใส่ยังกลัว หรือถ้ามีเรื่องจวนตัวแบบมีใครจมน้ำจริงๆ จะโดดลงไปช่วยโดยไม่คิดชีวิต จนว่ายน้ำได้ดีมากแค่เฉพาะตอนจวนตัวเท่านั้น คือโดราเอมอนตัวเดียวที่ไม่มีระบบหายใจในน้ำ ปกติเป็นคนใจดี แต่ถ้าโกรธจะขยายร่างเป็นยักษ์ กับต่อสู้ หยิบของวิเศษออกมาจากกระเป๋าวิเศษ 4 มิติ ตรงหน้าท้อง ถูกรับเลี้ยงโดยลูกหลานของเศรษฐีในทะเลทรายกับย้อนอดีตมาดูแลอาละดินที่เป็นบรรพบุรุษของเจ้าของ\nหวังโดรา(;) หุ่นยนต์แมวตัวสีส้ม ใส่ชุดกังฟูสีแดง ฉลาดล้ำเลิศที่สุดในกลุ่ม ร่ำเรียนวิชาแพทย์ที่เมืองจีนมารยาทงาม แถมยังเป็นยอดฝีมือกังฟู ใช้อาวุธเป็นกระบอง 2 ท่อน กับชอบออกเดินทางฝึกวิชา เป็นคนที่เพอร์เฟ็กต์ทุกอย่าง แต่แพ้ผู้หญิง พบผู้หญิงตัวหญิง สวยน่ารักทีไรจะเขินอายจนเป็นบ้าทำอะไรไม่ถูกทันที กับมีปมเรื่องขาสั้น ทั้งที่จริงขนาดตัวตัวเท่ากับแก๊งป่วนทุกคน ตอนสู้จึงไม่เน้นลูกเตะ เป็นแฟนของมิมิโกะจัง (หุ่นพยาบาลโดยหวังโดราไม่กล้าคุยด้วย) โดะระยะกิสูตรโปรดจะใส่น้ำส้มสายชูและโชยุ หยิบของวิเศษออกมาจากแขนเสื้อ 4 มิติ มีเอล มาตาโดราเป็นไม้เบื่อไม้เมากันตลอด แต่ก็สนิทกันเป็นเหมือนคู่หู ถูกเลี้ยงโดยโรงฝึกกังฟู\nโดรานิญโญ่() หรือ โดรารีเนียล หุ่นยนต์แมวตัวสีเขียวใส่ชุดนักบอลสีเหลือง เตะบอลเก่งมาก ยกเว้นตำแหน่งโกลด์เท่านั้น มีมินิโดราเป็นลูกทีม โดยตนวิ่งเร็วที่สุดในกลุ่ม ขนาดโดราเอมอนตอนกลัวหนูยังวิ่งตามไม่ทัน มีข้อเสียอยู่อย่างหนึ่งคือ นิสัยขี้ลืมตลอด อาศัยอยู่ในบราซิล และมีเพื่อนที่บราซิลชื่อว่า โนบีนิญโญ่ โดยเป็นครูฝึกกับนักกีฬาของทีม เวลากินโดรายากิมักจะราดทาบาสโก้ชุ่มๆ หยิบของวิเศษออกมาจากกระเป๋า 4 มิติ ที่อยู่ใต้ชุด ถูกรับเลี้ยงโดยเจ้าของสมาคมฟุตบอลหุ่นยนตร์บราซิลในโปรลีค\nโดรานิคอฟ() หุ่นยนต์แมวตัวสีน้ำตาล แต่งตัวเหมือนคนรัสเซียตอนฤดูหนาว มีทักษะดมกลิ่นที่ดีที่สุด อาศัยอยู่ในรัสเซียที่หนาวเหน็บ แต่เจ้าตัวกลับกลัวความหนาว เขาเป็นคนเงียบๆ พูดไม่ได้จึงได้แต่ร้องเหมือนหมา โดยคนที่ฟังออกมีแต่พวกหุ่นพี่เลี้ยงเหมือนกันเท่านั้น ใช้ผ้าพันคอปิดปากไว้ตลอดเวลา เวลามองพระจันทร์เต็มตัว หรืออะไรที่กลท เช่นลูกบอล แต่ต้องมีขนาดที่มองเห็นได้ จะถอดผ้าพันคอออก หน้ากลายเป็นมนุษย์หมาป่า โจมตีด้วยการวิ่งไล่กัด หรือตอนกินของเผ็ดก็เปลี่ยนร่างได้แถมพ่นไฟได้ด้วย แต่ถ้ามองของกลมที่มีขนาดเล็กที่มือไร้นิ้วหรือจมูกกับหางจะไม่แปลงร่าง หยิบของวิเศษออกมาจากผ้าพันคอ 4 มิติ ทำงานถ่ายสตูดิโอภาพยนตร์ เพราะถูกรับเลี้ยงมา\nเอล มาตาโดราหุ่นยนต์แมวตัวสีแดงใส่ชุดมาทาดอร์ กับมีเขาบนหัวแทนที่จะเป็นหูเหมือนหุ่นทุกตัว จอมพลังที่สุดในกลุ่ม ใฝ่ฝันอยากจะเป็นมาทาดอร์ผู้เก่งกาจ สู้วัวกระทิงซึ่งเป็นกีฬาที่สืบทอดมากกว่า 300 ปีของสเปน จุดอ่อนคือ ขี้เกียจ มักนอนหลับทันที หรือเห็นที่พัก แค่ป้ายพักไม่ก็ที่โล่งๆ ก็นอนพัก เหมือนโนบิตะ ทำงานอยู่ในร้านอาหารคารูมิน เพราถูกรับเลี้ยงมาโดยลูกหลาน แต่ตนเป็นคนส่งอาหารกับปลอมเป็นไดเค็ทสึโดราได้ ฮีโร่ผดุงคุณธรรม คอยปราบเหล่าร้ายกับแข่งสู้วัวกระทิง กับปกปิดไม่ให้ใครรู้ คนที่รู้มีแค่ลูกสาวเจ้าองร้าน กับพวกแก๊งป่วนกับโนบิตะเท่านั้น (ในโดราเอมอนแอนด์เดอะแกงค์ฉบับภาษาไทยได้กำหนดให้มาตาโดราพูดภาษาถิ่นอีสาน) หยิบของวิเศษออกมาจากกระเป๋า 4 มิติ ชอบเป็นไม้เบื่อไม้เมากับหวังโดรา แต่เวลาร่วมมือกันจะสนิทกันมาก", "title": "แก๊งป่วนก๊วนโดราเอมอน" }, { "docid": "768#10", "text": "โดราเอมอนหรือโดเรมอน เป็นหุ่นยนต์แมวจากโลกอนาคตกลับมาช่วยเหลือโนบิตะ โดยเซวาชิผู้เป็นเหลนของโนบิตะเป็นผู้ส่งมา โดเรมอนกลัวหนูมากเพราะเคยโดนหนูกัดหูจนต้องตัดหูทิ้ง ชอบกินโดรายากิเนื่องจากตอนที่อยู่โลกอนาคตยังไม่มาหาโนบิตะ โดเรมอนได้รับโดรายากิกับแมวผู้หญิงตัวหนึ่งซึ่งน่ารักมาก โดเรมอนจึงชอบเป็นพิเศษและเขาจะมีอารมณ์โกรธทันทีเมื่อมีใครเรียกเขาว่า \"แรคคูน\" หรือ \"ทานุกิ\"", "title": "โดราเอมอน" }, { "docid": "768#49", "text": "แต่เนื่องจากโดจินชิเล่มนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงจนมียอดจำหน่ายมากถึง 15,550 เล่ม นับตั้งแต่ที่เริ่มเปิดตัว ซึ่งส่งผลกระทบต่อทางสำนักพิมพ์โชงะกุกัง ผู้ถือลิขสิทธิ์โดราเอมอนฉบับรวมเล่มเป็นอย่างมาก เพราะโดจินชิเล่มนี้ไม่ใช่ผลงานอย่างเป็นทางการของ ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ อีกทั้งยังสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้อ่านเกี่ยวกับตอนจบที่แท้จริงของโดราเอมอน ทำให้ทางสำนักพิมพ์ต้องออกมาแจ้งความดำเนินคดีกับผู้เขียนว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ และขอให้หยุดจำหน่ายโดจินชิเล่มนี้ในทันที รวมถึงการเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตด้วย[28][29] ซึ่ง ยาสุเอะ ทาจิมะ ก็ได้ออกมากล่าวคำขอโทษและแก้ต่างว่าเธอเพียงแค่เขียนโดจินชิเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นที่ระลึกในการสร้างอนิเมะฉบับจอเงิน (ไดโนเสาร์ของโนบิตะ 2006) เท่านั้น ทำให้คดีความทั้งหมดยุติลง", "title": "โดราเอมอน" }, { "docid": "478190#2", "text": "ที่พิพิธภัณฑ์ของวิเศษในโลกอนาคตแห่งนี้เป็นสถานที่ซึ่งเก็บรวบรวมของวิเคษตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันไว้หมดทุกอย่างและจอมโจรดีลักซ์ก็หมายตาของวิเศษของที่นี่อยู่เหมือนกัน พวกโนบิตะจึงได้ร่วมมือกับ สารวัตมัสตาร์ด เพื่อค้นหากระดิ่งห้อยคอของโดราเอมอนโดยมี เคิร์ต เด็กหนุ่มผู้มีความมุ่งมั่นอยากเป็นช่างฝีมือทำของวิเศษ เป็นคนนำทางสำรวจตรวจสอบดูในพิพิธภัณฑ์ พวกโนบิตะจะได้กระดิ่งห้อยคอของโดราเอมอนกลับคืนมาหรือไม่ และตัวจริงของจอมโจรดีลักซ์เป็นใคร แล้วเขามีจุดประสงค์อะไรถึงได้ขโมยกระดิ่งห้อยคอของโดราเอมอนกันแน่", "title": "โดราเอมอน ตอน โนบิตะล่าโจรปริศนาในพิพิธภัณฑ์ของวิเศษ" }, { "docid": "768#39", "text": "สำนักพิมพ์สุดท้ายที่ตีพิมพ์โดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนในยุคนั้นคือ สยามสปอร์ตพับลิชชิง หรือ สยามอินเตอร์คอมิกส์ ในปัจจุบันและใช้ชื่อตามหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ แต่มีการแถมรูปลอกมาพร้อมในเล่ม อีกทั้งยังมีการประชาสัมพันธ์ที่ใหญ่โตที่ แดนเนรมิต ใช้ชื่องานว่า \"โลกของโดรามอน\" จัดให้มีกิจกรรมมากมายเช่น การประกวดร้องเพลงโดราเอมอนภาษาไทย ซึ่งร่วมมือกับค่ายเพลง อโซน่า ถึง 6 เพลง อีกทั้งยังมีนำเข้าสินค้าตัวละครโดราเอมอนจาก ประเทศฮ่องกง มาจำหน่ายในงานอีกด้วย จนในปัจจุบันการ์ตูนเรื่องนี้ได้รับการซื้อลิขสิทธิ์ฉบับหนังสือการ์ตูนอย่างถูกต้อง โดยสำนักพิมพ์ เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ ซึ่งมีการตีพิมพ์ 45 เล่ม และมีการรวมเล่มพิเศษอีกหลายฉบับเช่น โดราเอมอนชุดพิเศษ โดราเอมอนพลัส และโดราเอมอนบิ๊กบุคส์ อีกทั้งยังมีตีพิมพ์ซ้ำแล้วหลายรอบ[16]", "title": "โดราเอมอน" }, { "docid": "2795#22", "text": "ฟองสบู่สำนึกผิด เพียงเป่าตรงที่มีแป้นสีดำ ฟองสบู่จะออกมาตามปริมาณการเป่าของคนเป่า เมื่อโดนฟองสบู่นี้ที่ใคร จะมีอาการรู้สึกผิดถึงขั้นหดหู่ใจ มีฤทธิ์อยู่สักพักจึงหมดฤทธิ์ ไฟฉายขยายส่วน ดูรายละเอียดที่ ไฟฉายขยายส่วน ไฟฉายเปลี่ยนน้ำหนัก [26] ไม่มีข้อมูล ไฟฉายย่อส่วน,ลำแสงย่อส่วน [พิเศษ3] เป็นไฟฉายที่เมื่อฉายแสงไปที่วัตถุใดๆ จะมีขนาดย่อลงไปเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่ฉายแสงนั้น ไฟฉายลอกคราบ [14] ใช้ลอกคราบตัวเองและใส่ลม จะได้หุ่นจำลองมาอีกร่างหนึ่ง ไฟฉายเพิ่มคุณภาพ ใช้ฉายวัสตุที่คุณภาพต่ำ เช่นปีกผ้าของโนบิตะ (ปรากฏเห็นครั้งแรกในโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ ตอน โนบิตะและอัศวินแดนวิหค) ไฟฉายหรูหรา เพียงแค่ฉายไปยังสิ่งที่ต้องการ ก็จะสามารถหรูหราในทันที พอผ่านเวลาสักพักก็จะคืนร่างเป็นเหมือนเดิม ไฟแช็กนักเขียนบทแสดง ถ้าเขียนสิ่งใดๆ ใส่ลงไปในเครื่องนี้ คนก็จะทำงานให้ตามที่เขียนไว้ ไฟฉายแสงจันทร์ ใช้แปลงเป็นหมาป่า", "title": "รายชื่อของวิเศษของโดราเอมอน" }, { "docid": "768#53", "text": "อย่างไรก็ดี โดราเอมอนตอนจบทุกแบบก็ยังไม่มีหลักฐานที่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนเพียงพอว่าเป็นตอนจบที่แท้จริง และอันที่จริงแล้วโดราเอมอนนั้นเคยจบไปแล้วครั้งหนึ่งในตอนสุดท้ายของรวมเล่มฉบับที่ 6 ชื่อตอนว่า \"ลาก่อนโดราเอมอน\" แต่เนื่องด้วยเหตุผลหลายประการจากทั้งแฟนๆ และทางสำนักพิมพ์ ในที่สุด ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ จึงได้กลับมาเขียนโดราเอมอนต่ออีกครั้ง [12]", "title": "โดราเอมอน" }, { "docid": "768#37", "text": "การ์ตูนโดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนภาษาไทย สร้างปรากฏการณ์เป็นที่กล่าวถึงในวงการการ์ตูนเป็นอย่างมาก เริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในช่วงกลางปี พ.ศ. 2524 โดยสำนักพิมพ์ธิดาน้อย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของสำนักพิมพ์มิตรไมตรี โดยตั้งชื่อการ์ตูนเรื่องนี้ว่า \"โดราเอมอน แมวจอมยุ่ง\" แปลเป็นภาษาไทยโดย อนุสรณ์ สถิรวัฒน์ ต่อมา สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ ก็ได้มีการตีพิมพ์การ์ตูนเรื่องนี้เช่นกันแต่เลือกใช้ชื่อว่า \"โดเรมอน\" เพื่อไม่ให้ซ้ำกับทางสำนักพิมพ์แรก ในสมัยนั้นยังเป็นช่วงของหนังสือการ์ตูนที่ยังไม่มีการซื้อ ลิขสิทธิ์ ถูกต้องจากทางญี่ปุ่น ทั้ง 2 สำนักพิมพ์จึงไม่ได้พิมพ์ตอนตามลำดับของต้นฉบับทำให้มีการลงตอนซ้ำกัน โดราเอมอนได้รับความนิยมอย่างมาก ทั้ง 2 สำนักพิมพ์จึงแข่งกันทางด้านความถี่ของการออกจัดจำหน่ายจากเดือนละเล่มในช่วงต้นก็เปลี่ยนเป็นเดือนละ 2 เล่มจนถึงอาทิตย์ละเล่ม สุดท้ายทางสำนักพิมพ์ธิดาน้อย ก็พิมพ์ถึงเดือนละ 3 เล่ม พิมพ์ไม่น้อยกว่า 70,000 เล่มต่อครั้ง ด้วยความถี่ในการพิมพ์และการไม่มีการจัดลำดับถูกต้องตามต้นฉบับ ทำให้ในเวลาเพียง 7-8 เดือนการ์ตูนเรื่องนี้ก็ตีพิมพ์ครบทุกตอนตามต้นฉบับของ ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ ที่ใช้เวลาเขียนติดต่อกันร่วม 10 ปี", "title": "โดราเอมอน" }, { "docid": "44545#1", "text": "เป็นตัวละครในโดราเอมอนที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องซึ่งผู้เขียนต้องการรำลึกเรื่องราวของตัวเองสมัยยังเป็นเด็กเรียนอยู่ประถมศึกษา", "title": "รายชื่อตัวละครในโดราเอมอน" }, { "docid": "44545#10", "text": "มินิโดรา หรือ มินิโดราเอมอน เป็นตัวละครใน ของวิเศษของโดราเอมอน ถูกสร้างขึ้นในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2668 แต่ละตัวจะมีสีต่างกัน มีขนาดเล็กประมาณ 1/2 เท่าของความสูงของโดเรมอน มีความคิดเป็นของตัวเองจะพูดคุยกับโดเรมอนกับโดเรมีผ่านภาษาของมินิโดราเอง นิสัยเหมือนเด็กซน หน้าที่หลักก็คอยช่วยเหลืองานทุกอย่างของโดเรมอน เช่นซ่อมกลไกการทำงานของโดเรมอนตอนที่โดเรมอนเสีย หรือมาอยู่กับโนบิตะ ตอนโดราเอมอนไปโรงพยาบาลหุ่นยนต์ชั่วคราว กับมีของวิเศษเหมือนโดราเอมอนแต่จะมีขนาดเล็กกว่า", "title": "รายชื่อตัวละครในโดราเอมอน" }, { "docid": "768#42", "text": "ของวิเศษของโดราเอมอน เป็นอุปกรณ์หลากหลายรูปแบบที่โดราเอมอน หยิบนำมาใช้ ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้ในกระเป๋า 4 มิติ ที่อยู่ที่หน้าท้องของโดราเอมอน ของวิเศษส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ในนิยายวิทยาศาสตร์ ซึ่งบางอย่างก็จะเป็นการดัดแปลงจากข้าวของเครื่องใช้ในบ้านของชาวญี่ปุ่นเอง และยังมีของวิเศษบางชิ้นก็อ้างถึงความเชื่อทางศาสนาของประเทศญี่ปุ่น ของวิเศษในเรื่องโดราเอมอนนั้นมีประมาณ 4,500 ชิ้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะปรากฏออกมาให้เห็นเพียงตอนเดียว แต่ก็ยังมีของวิเศษบางชิ้นที่โดราเอมอนหยิบออกจากกระเป๋านำมาใช้บ่อยครั้ง ศาตราจารย์ยาสึยูกิ โยโกยามะ แห่งมหาวิทยาลัยโทยามะ ได้ทำการวิจัยผลงานเรื่องโดราเอมอน และเปิดเผยว่าของวิเศษที่โดราเอมอนหยิบออกมาจากกระเป๋า 4 มิติ มีทั้งหมด 1,963 ชิ้น ในขณะที่เว็บไซต์ Doraemon Fanclub บันทึกจำนวนของวิเศษเอาไว้ทั้งหมด 1,812 ชิ้น", "title": "โดราเอมอน" }, { "docid": "768#47", "text": "หนังสือการ์ตูนโดราเอมอนเป็นหนึ่งในการ์ตูนญี่ปุ่นที่ขายได้มากกว่า 75,000,000 เล่ม[21] ประเทศแรกที่ฉายโดราเอมอนต่อจากญี่ปุ่น คือฮ่องกง ใน พ.ศ. 2524[22] หนังสือการ์ตูนโดราเอมอนมีหลายภาษาด้วยกัน ไม่ต่ำกว่า 9 ภาษาทั่วโลก ตีพิมพ์ในประเทศ เช่น ประเทศเกาหลีใต้ สเปน จีน เวียดนาม ประเทศเวียดนาม นิยมการ์ตูนโดราเอมอนเป็นอย่างมาก ถึงขนาดมีมูลนิธิเพื่อการศึกษาโดราเอมอน เริ่มตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2536 แบบไม่ถูกลิขสิทธิ์ และใน พ.ศ. 2541 จึงมีการตีพิมพ์ฉบับลิขสิทธิ์ ก็ยังได้รับความนิยมเสมอมา พ.ศ. 2525 หนึ่งในผู้ให้กำเนิดโดราเอมอน ฮิโรชิ ฟุจิโมโตะ ได้เดินทางมาประชาสัมพันธ์โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ให้กับทางไชโยภาพยนตร์ และออกรายการ \"อาทิตย์ยิ้ม\" ของดำรง พุฒตาล ทางช่อง 9 พ.ศ. 2531 โดราเอมอนได้รับเกียรตินำไปสร้างเป็นบอลลูนขนาดยักษ์ชื่อ \"โดราบารุคุง\" โดยปล่อยให้ลอยอยู่บนท้องฟ้ามาเป็นเวลานาน 12 ปี และจากนั้นในปี พ.ศ. 2543 ก็ได้มีการสร้างบอลลูนลูกใหม่ขึ้นมาในชื่อว่า \"โดราเน็ตสึคิคิว นิโกคิ\" [23] พ.ศ. 2535 ในการประกวดแข่งขันรถพลังงานแสงอาทิตย์ โครงการรณรงค์ประหยัดพลังงาน ได้มีการผลิตรถพลังแสงอาทิตย์ตามตัวละครโดราเอมอนขึ้นมา เรียกว่า \"โซราเอมอน\" [24] พ.ศ. 2540 ในวันที่ 2 พฤษภาคม สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น รายงานข่าวการวางจำหน่ายแสตมป์โดราเอมอนที่ประเทศญี่ปุ่น มีสีเขียว ส้ม ชมพู และสีน้ำเงิน โดยมีการต่อแถวรอซื้อตั้งแต่เช้า [25] ในประเทศญี่ปุ่น มีรถไฟโดราเอมอนอยู่ด้วย โดยเป็นเส้นทางจากอาโอโมริไปฮาโกดาเตะ ตัวโบกี้มีการตกแต่งด้วยตัวละครจากโดราเอมอนทั้งภายนอกและภายใน และมีโบกี้พิเศษสำหรับแฟนคลับโดราเอมอน โดยมีภาพยนตร์การ์ตูน ของที่ระลึกจัดจำหน่าย รวมไปถึงพนักงานต้อนรับสวมหัวโดราเอมอนซึ่งคอยบริการอยู่บนรถไฟ[26]", "title": "โดราเอมอน" }, { "docid": "13714#6", "text": "แต่เดิมนั้นโดราเอมอนตัวสีเหลืองกับมีหู แต่ในวันที่ 30 สิงหาคม เซวาชิได้ใช้หุ่นยนต์หนูแก้รูปปั้นที่จะให้โดราเอมอนแต่หุ่นยนตหนูเข้าใจผิดว่าให้แก้ที่หูของโดราเอมอน ขณะที่โดราเอมอนหลับอยู่ก็โดนหนูแทะใบหูจนแหว่งไปทั้ง 2 ข้าง จึงซ่อมแซมให้เหมือนเดิมได้ มาพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล หุ่นยนต์แมว \"โนราเมียโกะ\" แฟนสาวของโดราเอมอนก็มาเยี่ยมแต่พอรู้ว่าโดราเอมอนโดนหมอตัดหูอีก จนหัวกลม ก็ถูกโนราเมียโกะหัวเราะเป็นการใหญ่ ทั้งคู่จึงเลิกกัน ทำให้โดราเอมอนเสียใจเป็นอย่างมาก แต่ก็พยายามทำใจด้วยการดื่มยาเสริมกำลังใจแต่ดันหยิบผิดกลายเป็นดื่มยาโศกเศร้าแทน ทำให้เศร้ากว่าเดิม ร้องไห้ไม่หยุดอยู่ริมชายหาด 3 วัน 3 คืน จนสีลอกเปลี่ยนเป็นสีฟ้าอย่างที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน", "title": "โดราเอมอน (ตัวละคร)" }, { "docid": "768#50", "text": "การ์ตูนเรื่อง โดราเอมอน เป็นการ์ตูนที่ไม่สมบูรณ์คือไม่มีตอนจบ เนื่องจากผู้เขียนได้เสียชีวิตไปก่อน [30] แต่ก็มีหลายกระแสที่ออกมาบอกว่าผู้แต่งได้วางโครงเรื่องไว้ในตอนจบ ซึ่งต่างกันหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่ที่นักอ่านชาวไทยรู้กันดีคือ โดราเอมอนและตัวละครเสริมอื่นๆ นั้นไม่มีจริง มีแค่ โนบิ โนบิตะ เพียงคนเดียว ซึ่งโนบิตะในตอนจบนั้นที่จริงแล้วเป็นเด็กที่ไม่สบายใกล้เสียชีวิต อยู่ใน โรงพยาบาล และเพื่อนๆ ยืนอยู่ข้างเตียงของโนบิตะที่ใกล้ตายอยู่ในโรงพยาบาล ซึ่งตอนจบนี้มีความสะเทือนใจอย่างมาก ผิดไปจากการ์ตูนหลายๆ เรื่องที่ผู้เขียนเคยแต่งมา ซึ่งส่วนใหญ่จะจบลงด้วยดีมาตลอด [31]", "title": "โดราเอมอน" }, { "docid": "768#51", "text": "ส่วนตอนจบอีกแบบหนึ่งคือ อยู่ดีๆ วันหนึ่งโดราเอมอนก็เกิด แบตเตอรี่ หมด แล้วหยุดทำงานเสียเฉยๆ โนบิตะจึงปรึกษากับโดเรมี น้องสาวของโดราเอมอน โดเรมีบอกโนบิตะว่า ถ้าเปลี่ยนแบตเตอรี่ของโดราเอมอน ความจำทั้งหลายจะหายหมด เนื่องจากแบตเตอรี่สำรองไฟที่เก็บความจำของหุ่นยนต์รูปแมวนั้นเก็บไว้ที่หู และอย่างที่ทราบกันว่าโดราเอมอนไม่มีหู ดังนั้นถ้าเปลี่ยนแบตเตอรี่ เขาจะต้องสูญเสียความจำ ต้องนำไปซ่อมที่โลกอนาคต แต่การใช้ ไทม์แมชชีน นั้นผิดกฎหมาย เพราะกฎหมายใหม่ของโลกอนาคต ถ้าส่งโดราเอมอนกลับ โดราเอมอนจะมาหาโนบิตะอีกไม่ได้ ทำให้โนบิตะตัดสินใจไม่เปลี่ยนแบตเตอรี่ แล้วโนบิตะจึงตัดสินใจตั้งใจเรียนจนเป็น นักวิทยาศาสตร์ ระดับโลก โดยเอาเรื่องโดราเอมอนที่แบตหมดมาเป็นแรงผลักดันขยันทุนเทหารักษาให้โดราเอมอนกลับมา โดยเอาตัวโดราเอมอนไปซ่อนไม่ให้มีใครรู้เรื่องนอกจากตนเพียงคนเดียวเท่านั้น แล้วก็แต่งงานกับชิซุกะและสามารถซ่อมโดราเอมอนกับสร้างหูกับทำให้ร่างของโดราเอมอนเป็นตัวสีเหลืองก่อนถูกซื้อ กับเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้โดราเอมอนได้สำเร็จ โดยที่ความทรงจำไม่หายไป (โดยก่อนที่โนบิตะจะเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้โดราเอมอนได้เรียกชิซุกะมาดูโดราเอมอน) และเขาก็มีลูกชายชื่อโนบิสุเกะ และอยู่ด้วยกันอย่างมีสุข [31]", "title": "โดราเอมอน" }, { "docid": "13714#5", "text": "โดราเอม่อนถูกผลิตขึ้นในโรงงานมัตซึชิบะที่เมือง โตเกียว เมื่อวันที่ 3 กันยายน ในคริสต์ศตวรรษที่ 22 แต่ในระหว่างการผลิตเกิดข้อผิดพลาดขึ้น ทำให้โดราเอมอนมีคุณสมบัติไม่เหมือนหุ่นยนต์แมวตัวอื่น ต้องเข้ารับการอบรมในห้องเรียนคลาสพิเศษของโรงเรียนหุ่นยนต์ (และได้พบกับเพื่อนๆ แก๊งขบวนการโดราเอมอนที่นั่น) จนกระทั่งวันหนึ่งในงาน \"โรบ็อต ออดิชั่น\"(การแสดงหุ่นยนต์) ซึ่งเป็นงานที่จัดให้มีการแสดงความสามารถของหุ่นยนต์ที่ได้ผ่านการอบรมแล้ว ด้วยความซุกซนของ เซวาชิ ในวัยเด็ก เขาจึงได้กดปุ่มเลือกซื้อโดราเอมอนมาไว้ที่บ้าน ด้วยเหตุนี้โดราเอมอนอาศัยอยู่กับตระกูลโนบิ ในฐานะหุ่นยนต์เลี้ยงเด็กแต่ในต้นฉบับดั้งเดิมนั้นจะแตกต่างกันคือโดราเอมอนได้ถูกนำไปขายทอดตลาดเพราะเป็นสินค้าไม่ได้คุณภาพ พ่อแม่ของเซวาชิจึงมาซื้อโดราเอมอนเพราะเห็นว่าราคาถูกจึงเอาไปไว้ที่บ้านเป็นพี่เลี้ยงเซวาชิ", "title": "โดราเอมอน (ตัวละคร)" }, { "docid": "13714#9", "text": "โดราเอมอนมีหุ่นผู้ช่วยคือมินิโดรา เป็นหุ่นโดราเอมอนขนาดเล็กจำนวนมาก โดยทุกตัวจะไม่มีหูกับมีสีที่แตกต่างกันไป จะพูดแต่คำว่า \"โดราโดรา\" เท่านั้น เป็นภาษาที่มีแต่หุ่นยนต์รุ่นโดรา อย่างโดราเอมอน,โดเรเท่านั้นที่เข้าใจ มินิโดราจะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยแทนตอนโดราเอมอนไม่อยู่หรือมาช่วยซ่อมโดราเอมอนพัง จะมาช่วยซ่อมให้ เพราะถูกสร้างขึ้นมาโดยใช้โดราเอมอนเป็นต้นแบบ จึงถูกเก็บอยู่ในกระเป๋าพร้อมกับของวิเศษ ในโหมดปิดตัวตลอด", "title": "โดราเอมอน (ตัวละคร)" } ]
502
เอนไซม์ คืออะไร ?
[ { "docid": "20468#0", "text": "เอนไซม์ (อังกฤษ: enzyme) เป็นโปรตีน 99 เปอร์เซนต์ เป็น ส่วนใหญ่ ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี เป็นคำในภาษากรีก ένζυμο หรือ énsymo ซึ่งมาจาก én (\"ที่\" หรือ \"ใน\") และ simo (\"en:leaven\" หรือ \"en:yeast\")", "title": "เอนไซม์" } ]
[ { "docid": "17616#16", "text": "กระบวนการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลในมนุษย์นั้นต้องผ่านขั้นตอนต่างๆหลายขั้นตอน โดยขั้นตอนแรก คือ การสร้าง mevalonate โดยการรีดิวซ์ 3-hydroxy-3-methylglutaryl-coenzyme A (HMG-CoA) ซึ่งในขั้นตอนนี้จำเป็นต้องใช้เอนไซม์ HMG-CoA reductase ในiรูปแบบที่ถูกรีดิวซ์ (reduced form) ของ nicotinamide adenine dinucleotide phosphate (NADPH + H +) ในการเกิดปฏิกิริยา ซึ่ง mevalonate ที่เกิดขึ้นนี้จะถูกเปลี่ยนแปลงโดยเอนไซม์ต่างๆในร่างกายอีกหลายขั้นตอนจนเกิดเป็นคอเลสเตอรอลในที่สุดสแตตินออกฤทธ์ยับยั้งเอนไซม์ ซึ่งกระบวนการนี้จะเกิดขึ้นที่ตับ และคอเลสเตอรอลที่ผลิตได้คิดเป็นร้อยละ 70 ของคอเลสเตอรอลภายในร่างกายทั้งหมด โดยการทำงานของเอนไซม์ HMG-CoA reductase นี้จะถูกยับยั้งได้โดยปริมาณน้ำดีในร่างกาย, ระดับ mevalonate และระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายเท่านั้น[55] ดังนั้นจึงอาจถือได้ว่าเอนไซม์ HMG-CoA reductase ถือเป็นเอนไซม์ที่สำคัญในกระบวนการการสร้างคอเลสเตอรอลในมุนษย์ การยับยั้งการทำงานของเอนไซม์นี้จะมีผลลดระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดลงได้[56]", "title": "สแตติน" }, { "docid": "935716#2", "text": "เอนไซม์ CYP2B6 ถือเป็นหนึ่งในระบบเอนไซม์ไซโทโครม P450 ซึ่งมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อกระบวนการการเปลี่ยนแปลงยา สารซีโนไบโอติค และสารเคมีอื่นๆ ในร่างกายมนุษย์ ยีน CYP2B6 ซึ่งเป็นยีนที่ควบคุมเอนไซม์นี้มีความใกล้ชิดกันกับยีนเทียม CYP2B6 เป็นอย่างมาก ทำให้การแยกไอโซฟอร์มของเอนไซม์ต่างๆที่ถูกผลิตออกจากมายีนทั้งสองนี้เป็นไปได้อย่างลำบาก โดยยีนทั้งสองนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P บนแขนด้านยาวของโครโมโซมคู่ที่ 19 ตำแหน่งโลคัส 19q13.2 และมียีนบรรพบุรุษร่วมกันกับ CYP2B11, Cyp2b10 และ CYP2B1 ที่พบในสุนัข หนูเมาส์ และหนูแรท ตามลำดับ แต่เอนไซม์ CYP2B6 ของมนุษย์ถือเป็นไอโซไซม์เดียวในสกุลย่อย CYP2B ที่สามารถแสดงออกได้ ซึ่งแตกต่างจากเอนไซม์ในสกุลย่อยนี้ที่พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสายพันธุ์อื่นๆ", "title": "CYP2B6" }, { "docid": "21324#2", "text": "ยิ่งไปกว่านั้น การย้อนกลับของปฏิกิริยาเคมี มีความหมายว่าทิศทางสรีรวิทยาของการทำงานของเอนไซม์อาจจะไม่สามารถสังเกตได้ในห้องทดลอง ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่า เอนไซมืตัวเดียวกันแต่ถูกตั้งชื่อแตกต่างกันป็นสองชื่อเช่นว่า\nหน่วยงานชีวเคมีและชีวโมเลกุลนานาชาติ ได้ช่วยกันพัฒนา การตั้งชื่อ (nomenclature) เอนไซม์ โดยใช้ หมายเลข อีซี(EC number); เอนไซม์แต่ละตัวจะถูกระบุโดยชุดของเลข 4 ตัว แล้วนำหน้าด้วย \"EC\" หมายเลขแรกเป็นชั้นของเอนไซม์ที่กำหนดโดยกลไกการทำงานของมัน:", "title": "การตั้งชื่อเอนไซม์" }, { "docid": "20468#15", "text": "เอนไซม์ เป็นสิ่งเฉพาะเจาะจงมาก ข้อสมมติฐานนี้ถูกเสนอโดย อีมิล ฟิสเชอร์ (Emil Fischer) ในปี 1890 โดยระบุว่า เอนไซม์ มีรูปร่างเฉพาะที่จะเกาะกับ ซับเตรตนั้นๆเท่านั้น ซึ่งมีลักษณะเหมือนลูกกุญแจกับแม่กุญแจ และข้อสมมติฐาน<i data-parsoid='{\"autoInsertedEnd\":true,\"dsr\":[5777,5793,2,0]}'>ล๊อคก์ & คีย์' ยังบอกอีกว่าการเกาะของ เอนไซม์ และ ซับสเตรต จะเกิดเป็นสารประกอบอายุสั้น ซึ่งเรียกว่า ชอร์ต-ไลฟ์ เอนไซม์ ซับเตรต คอมเพล็ก (short-lived enzyme-substrate complex)", "title": "เอนไซม์" }, { "docid": "26366#1", "text": "ชีวสังเคราะห์ของไรบอสตามัยซินเริ่มจากการที่ D-glucose เกิดปฏิกิริยาการเติมหมู่ฟอสเฟตที่ตำแหน่งที่ 6 (ฟอสโฟรีเลชัน) กลายเป็น Glucose-6-phosphate จากนั้นเอนไซม์ rbmA ซึ่งมีส่วนของยีนที่ตอบสนองต่อ NAD+ จะเข้าทำปฏิกิริยากับ Glucose-6-phosphate ได้เป็น 2-deoxy-scyllo-inosose ถัดมาเอนไซม์ rmbB จะเข้าจับกับสารดังกล่าวและกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาทรานส์อะมีเนชัน (transamination) เพื่อเปลี่ยน 2-deoxy-scyllo-inosose ไปเป็น 2-deoxy-scyllo-inosamine จากนั้นเอนไซม์ rbmC จะเข้าทำการออกซิไดซ์เพื่อเปลี่ยนสารดังกล่าวเป็น 2-deoxy-3-amino-scyllo-inosose จากนั้นเอนไซม์ rmbB จะเข้ากระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาทรานส์อะมีเนชันอีกครั้งเพื่อสร้าง DOS ถัดมา DOS จะถูกไกลโคซิเลทเพื่อเชื่อมต่อ DOS เข้ากับ uridine diphosphate N-acetylglucosamine (UDP-Glc-NAc) ด้วยเอนไซม์ glycosyltransferase rmbD จนได้เป็น 2’-N-acetylparomamine ซึ่งจะถูกดึงหมู่อะซีติลออกโดยเอนไซม์ racJ ได้ผลิตภัณฑ์ต่อมาเป็น Paromamine แล้ว Paromamine ถูกออกซิไดซ์ต่อด้วยเอนไซม์ rbmG และ rmbH transaminates ตามลำดับ จนได้เป็น neamine ซึ่งจะถูกไรโบซิเลทอีกหนึ่งครั้งเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์สุดท้ายคือ ไรบอสตามัยซิน", "title": "ไรบอสตามัยซิน" }, { "docid": "20468#13", "text": "เอนไซม์ส่วนใหญ่จะมีโมเลกุลขนาดใหญ่กว่า ซับสเตรต (substrates) ที่มันจะทำหน้าที่เร่ง และส่วนที่เล็กมากของเอนไซม์เท่านั้น คือขนาดประมาณ 10 อะมิโน แอซิด ที่เข้าจับกับซับสเตรต ตำแหน่งที่เชื่อมต่อกับซับสเตรตแล้วเกิดปฏิกิริยานี้เราเรียกว่าแอคทีฟ ไซต์ (active site) ของเอนไซม์ บางเอนไซม์มีแอคทีฟ ไซต์มากกว่าหนึ่ง และบางเอนไซม์มีแอคตีฟ ไซต์สำหรับ โคแฟคเตอร์ (cofactor) ด้วย บางเอนไซม์มีตำแหน่งเชื่อมต่อที่ใช้ควบคุมการเพิ่มหรือลดฤทธิ์ ของเอนไซม์ด้วย", "title": "เอนไซม์" }, { "docid": "912971#2", "text": "นอกจากนี้ พูโรมัยซินยังออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ dipeptidyl-peptidase II (serine peptidase) และเอนไซม์ cytosol alanyl aminopeptidase (metallopeptidase) แบบผันกลับได้ โดยกลไกการยับยั้งนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ยิ่งไปกว่า พูโรมัยซินยังถูกนำมาใช้เพื่อแยกเอนไซม์สองชนิดออกจากกัน คือ เอนไซม์ aminopeptidase M ที่ถูกกระตุ้นได้โดยพูโรมัยซิน และเอนไซม์ cytosol alanyl aminopeptidase ที่ถูกยับยั้งได้โดยพูโรมัยซิน", "title": "พูโรมัยซิน" }, { "docid": "20468#26", "text": "ปฏิกิริยาทั้งหมดที่ถูกเร่งโดยเอนไซม์จะต้องเป็นไปได้เอง (\"spontaneous\") ซึ่งจะมี พลังงานอิสระกิบบ์ส (Gibbs free energy) สุทธิเป็นลบ กับเอนไซม์มันก็มันก็เกิดปฏิกิริยาไปในทิศทางเดียวกับอันที่ไม่มีเอนไซม์ และก็เร็วกว่าด้วย อย่างไรก็ดีปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องมีตัวเร่ง อาจจะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันมากกว่าปฏิกิริยาที่มีตัวเร่ง อย่างไรก็ดีเอนไซม์สามารถเร่งปฏิกิริยาได้ 2 หรือมากกว่าในเวลาเดียวกัน เพื่อว่าปฏิกิริยาที่ชอบอุณหพลศาสตร์จะได้สามารถใช้ขับเคลื่อน (\"drive\") ปฏิกิริยาที่ไม่ชอบอุณหพลศาสตร์ได้ ตัวอย่างเช่น การย่อยสะลายสารประกอบพลังงานสูง อะดีโนซีน ไตรฟอสเฟต บ่อยครั้งใช้ขับเคลื่อนปฏิกิริยาที่ไม่ชอบใช้พลังงาน", "title": "เอนไซม์" }, { "docid": "85728#2", "text": "ศ.ดร.วิทยา มีวุฒิสม มีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ จำนวน 54 เรื่อง และสิทธิบัตร จำนวน 4 เรื่อง เป็นผลงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่สร้างองค์ความรู้ใหม่และนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมได้ เช่น การค้นพบเอนไซม์ D-phenylglycine aminotransferase ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในการเปลี่ยนโครงสร้างทาง stereo-isomer ของกรดอะมิโนแบบใหม่ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสาร side chains เพื่อใช้ผลิตยาปฏิชีวนะกึ่งสังเคราะห์ในกลุ่ม beta-lactam ได้ นับได้ว่า ศ.ดร. วิทยา มีวุฒิสม เป็นผู้บุกเบิกงานด้านนี้เป็นคนแรก และได้ทำการศึกษาตั้งแต่ต้น คือการหาเอนไซม์พิเศษนี้ ไปจนถึงการศึกษายีน ตลอดจนโครงสร้างสามมิติของเอนไซม์ตัวนี้ การปรับปรุงสายพันธุ์เชื้อจุลินทรีย์ \"Bacillus megaterium\" โดยใช้เทคนิคพันธุวิศวกรรมเพื่อผลิตเอนไซม์ penicillin acylase ให้ได้ในปริมาณที่สูงกว่าเดิม และการตรึงเอนไซม์ที่เหมาะสมยังเป็นผลงานที่มีคุณค่ายิ่งต่ออุตสาหกรรมการผลิตยาของประเทศ เนื่องจาก penicilline acylase เป็นเอนไซม์สำคัญในการผลิตสารตัวกลางสำหรับการผลิตยา penicillin กึ่งสังเคราะห์ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตยาในกลุ่มเพนนิซิลิน และลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศได้ในอนาคต การวิจัยและพัฒนาการผลิต probiotics และเอนไซม์ช่วยย่อย เพื่อใช้เสริมในอาหารสัตว์ทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ อันจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่สำคัญมากในการแก้ปัญหาการตกค้างของยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์ของประเทศได้เป็นอย่างดี\nโครงการวิจัยของ ศ.ดร.วิทยา มีวุฒิสม ที่ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งสนับสนุนทุนวิจัยต่างๆทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่", "title": "วิทยา มีวุฒิสม" }, { "docid": "20468#24", "text": "โคแฟคเตอร์ของเอนไซม์บางตัวเป็น โมเลกุลของสารประกอบอินทรีย์ ที่ไม่ใช่โปรตีน เรียกว่า โคเอนไซม์ ซึ่งไม่ได้เกาะกับโมเลกุลของเอนไซม์เหมือน โปรสทีติกกรุป การเป็นอนุพันธ์ของ ไวตามิน พวกมันจะทำหน้าที่เป็น แคร์ริเออร์เพื่อการเคลื่อนย้าย อะตอม ฟังก์ชันนัลกรุป จากเอนไซม์ไปยัง ซับเตรต ตัวอย่างธรรมดาคือ NAD (เป็นสารที่ได้มาจาก นิโคตินิก แอซิดซึ่งเป็นสมาชิกของ ไวตามิน บี คอมเพลกซ์) และ NADP ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวขนย้าย ไฮโดรเจน และ โคเอนไซม์เอ ที่ขนย้าย อะซิทิลกรุป", "title": "เอนไซม์" }, { "docid": "935507#1", "text": "เอนไซม์ในมหาสกุลไซโทโครม P450 ซึ่งรวมถึง CYP2A7 นั้นจัดเป็นเอนไซม์ชนิดมอนอออกซีจีเนส ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการเร่งปฏิกิรยาการเกิดเมแทบอลิซึมของยาชนิดต่างๆ รวมไปถึงการสังเคราะห์คอเลสเตอรอล สเตอรอยด์ และกรดไขมันชนิดอื่นๆ โดยเอนไซม์เหล่านี้จะเคลื่อนที่เข้าสู่ร่างแหเอนโดพลาซึม แล้วถูกกระตุ้นด้วยกลูโคคอร์ติคอยด์จึงจะสามารถแสดงคุณสมบัติของเอนไซม์นั้นๆได้ อย่างไรก็ตาม สารที่เป็นซับสเตรตของ CYP2A7 นั้นยังไม่มีการจำแนกและระบุได้แน่ชัด โปรตีน CYP2A7 ที่พบในมนุษย์ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 2 ไอโซฟอร์ม ทั้งนี้ CYP2A7 ถือเป็นสมาชิกของกลุ่มเอนไซม์ขนาดใหญ่ของไซโทโครม P450ที่มียีนควบคุมอยู่บนโครโมโซม 19q เช่นเดียวกันเอนไซม์อื่นในสกุลย่อย CYP2A, CYP2B และ CYP2F", "title": "CYP2A7" }, { "docid": "18038#1", "text": "โดยการใช้คำ นอน-สเตอรอยดอล นำหน้า เอ็นเซด บางครั้งเรียกว่า นอน-สเตอรอยดอล แอนตี้-อินแฟลมเมตอรี่ อะนาเจซิก (non-steroidal anti-inflammatory agents/analgesics (NSAIAs)) ตัวอย่างยาที่บทบาทมากที่สุดในกลุ่มนี้คือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs, NSAID) มีกลไกการออกฤทธิ์โดยยับยั้งการเปลี่ยน arachidonic acid ไปเป็น cyclic endoperoxides (PGG2 และ PGH2) โดยยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase เป็นผลทำให้การสร้าง prostaglandins ทุกชนิดน้อยลง เช่น PGE2, prostacyclin, thromboxane A2 เป็นต้น ซึ่งยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ชนิดออกฤทธิ์ยับยั้งจำเพาะเจาะจงกับเอนไซม์ cox-2 ก็มีกลไกการออกฤทธิ์โดยยับยั้งการสังเคราะห์ prostaglandins ซึ่งเป็นสารสื่อการอักเสบ (chemical mediators) ที่สำคัญชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด การบวม อาการไข้ ร่วมกับสารสื่อการอักเสบชนิดอื่นๆ ซึ่งได้แก่ kinin, histamine, lymphokines, neuropeptide, leukotrienes, platelet activating factor (PAF) ผลิตภัณฑ์จากการทำลายเซลล์ เช่น oxygen free radical superoxide anion เป็นต้น โดยยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ชนิดออกฤทธิ์ยับยั้งจำเพาะเจาะจงกับเอนไซม์ cox-2 ออกฤทธิ์โดยยับยั้งเอนไซม์ cox-2 (cyclooxygenase II) มากกว่า cox-1 (cyclooxygenase I) เอนไซม์ cox-2 เป็นเอนไซม์ที่จะพบเมื่อเกิดการอักเสบ พบได้ที่สมอง ลำไส้ และมดลูก ทำให้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ชนิดออกฤทธิ์ยับยั้งจำเพาะเจาะจงกับเอนไซม์ cox-2 มีผลต่อกระเพาะอาหาร และไตน้อยกว่ายาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ชนิดออกฤทธิ์ยับยั้งไม่จำเพาะเจาะจงกับเอนไซม์ cox ซึ่งยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์รุ่นดั้งเดิมซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งทั้งเอนไซม์ cox-1 และ cox-2", "title": "ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์" }, { "docid": "20468#33", "text": "นอกจากปัจจัยทั้งสี่ที่กล่าวมาแล้วยังมีสารบางชนิดที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ เช่นสารที่ทำให้การทำงานของเอนไซม์ลดลง เรียกว่า ตัวยับยั้ง (inhibitor) ส่วนสาร ที่เร่งการทำงานของเอนไซม์ได้ดีขึ้น เรียกว่า ตัวเร่งเร้า (activator) ตัวยับยั้งบางตัวจะรวมกับเอนไซม์ที่แหล่งกัมมันต์ ทำให้เอนไซม์ไม่สามารถรวมกับ ซับสเตรตได้ ตัวยับยั้งแบบนี้เรียกว่าคอมเพทิทีฟอินฮิบิเตอร์ (competitive inhibitor) ซึ่งจะมีรูปร่างโมเลกุลคล้ายกับซับสเตรต", "title": "เอนไซม์" }, { "docid": "763873#12", "text": "ยกตัวอย่างเช่น ในกระบวนการ enzyme assay ที่ใช้ตรวจสอบเอนไซม์อย่างหนึ่งที่พบในตัวอย่าง กลุ่มควบคุมแบบบวกก็จะมีเอนไซม์บริสุทธิ์ในปริมาณที่รู้อยู่แล้ว ส่วนกลุ่มควบคุมแบบลบจะไม่มีเอนไซม์เลย\nดังนั้น กลุ่มควบคุมแบบวกควรจะแสดงผลเป็นการออกฤทธิ์ของเอนไซม์ ในขณะที่กลุ่มควบคุมแบบลบไม่ควรจะแสดงการออกฤทธิ์ของเอนไซม์เลย\nถ้ากลุ่มควบคุมแบบบวกไม่ให้ผลตามที่คาด ก็อาจจะมีอะไรผิดพลาดในวิธีการทดสอบ และดังนั้นก็ควรจะทดสอบใหม่", "title": "การควบคุมทางวิทยาศาสตร์" }, { "docid": "934614#1", "text": "CYP3A4 เป็นเอนไซม์ในกลุ่มออกซิไดซิงเอนไซม์ตระกูลไซโตโครม P450 ซึ่งเอนไซม์สมาชิกอื่นในกลุ่มเอนไซม์นี้ล้วนมีส่วนสำคัญยิ่งในกระบวนการเปลี่ยนแปลงยาหลายชนิดที่แตกต่างกันออกไป แต่ CYP3A4 เป็นเอนไซม์มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงยาได้หลากหลายชนิดมากที่สุด CYP3A4 เป็นเอนไซม์ที่เป็นสารฮีโมโปรตีนเช่นเดียวกันกับเอนไซม์อื่นในตระกูลนี้ กล่าวคือ เป็นโปรตีนที่มีกลุ่มของฮีมซึ่งมีอะตอมของธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ ในมนุษย์ โปรตีน CYP3A4 จะถูกเข้ารหัสโดยยีน CYP3A4[1] ซึ่งยีนนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P450 บน โครโมโซมคู่ที่ 7 โลคัส 7q21.1[2]", "title": "CYP3A4" }, { "docid": "21611#1", "text": "เอนไซม์แต่ละตัวมีค่า \"K\" เฉพาะสำหรับซับเตรตที่กำหนด เพราะว่า\"V\"ไม่สามารถวัดได้โดยตรง ประสิทธิภาพของเอนไซม์สามารถแสดงได้ในรูปของ \"k\"/\"K\"ปริมาณ \"k\" เป็นตัวเลขหมุนเวียน ร่วมกับอัตราคงที่ในทุกขั้นตอนในปฏิกิริยา และเป็นผลลัพธ์ของการหาร\n\"V\" และ ความเข้มข้นทั้งหมดของเอนไซม์ \"k\"/\"K\" คือปริมาณที่มีประโยชน์สำหรับการเปรียบเทียบความแตกต่างของเอนไซม์ซึ่งกันและกัน หรือเอนไซม์ตัวเดียวกันกับซับสเตรตที่ต่างกัน เพราะว่ามันมีทั้งการดึงดูดกันและความสามารถในการเร่งปฏิกิริยาที่จะต้องพิจารณา ในทางทฤษฎีค่าสูงสุด\nสำหรับ \"k\"/\"K\" เรียกว่าจำกัดการแพร่กระจาย ประมาณ 10 ถึง 10 (l mol s) ที่จุดนี้การชนกันของเอนไซม์กับซับสเตรตจะเป็นผลให้เกิดการเร่งปฏิกิริยา และอัตราการเกิดผลิตภัณฑ์ไม่ได้ถูกจำกัดโดยอัตราเร็วของปฏิกิริยา แต่โดยอัตราการแพร่กระจาย เอนไซม์ที่ถึงจุดนี้ค่า \"k\"/\"K\" เรียกว่า \"แคตาลิติคัลลี่ เพอร์เฟคต์\" \n(catalytically perfect) หรือ \"จลนศาสตร์ สมบูรณ์\" (kinetically perfect) ตัวอย่างเช่น เอนไซม์", "title": "จลนศาสตร์ของเอนไซม์" }, { "docid": "686167#5", "text": "วิทยาศาสตร์ด้านอาหารและเทคโนโลยีชีวภาพด้านอาหารก้าวหน้าไปรวมถึงการค้นพบของเอนไซม์ทั้งหลายและบทบาทของพวกมันในการหมักและการย่อยอาหาร การค้นพบนี้ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นต่อไปของเอนไซม์ เอนไซม์ในอุตสาหกรรมทั่วไปจะใช้สารที่สกัดพืชและจากสัตว์ แต่พวกมันถูกแทนที่ในภายหลังโดยเอนไซม์จากจุลินทรีย์ ตัวอย่างหนึ่งคือการใช้ chymosin (เอนไซม์ย่อยโปรตืนที่พบในกระเพาะสัตว์ทำให้นมจับต้วเป็นก้อน) ในการผลิตเนยแข็ง โดยทั่วไปเนยแข็งมักจะถูกทำขึ้นโดยการใช้เอนไซม์ที่สกัดจากเยื่อบุกระเพาะอาหารของวัว นักวิทยาศาสตร์เริ่มใช้ chymosin แบบ recombinant ที่จะทำให้เกิดการแข็งตัวของนมทำให้ได้นมข้นเนยแข็ง () การผลิตเอนไซม์อาหารโดยการใช้เอนไซม์จุลินทรีย์เป็นการประยุกต์ครั้งแรกของสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมในการผลิตอาหาร เทคโนโลยีชีวภาพด้านอาหารได้เติบโตขึ้นไปรวมถึงการโคลนพืชและสัตว์เช่นเดียวกับการพัฒนาขั้นต่อไปของอาหารดัดแปรพันธุกรรมในหลายปีที่ผ่านมา", "title": "อาหารดัดแปรพันธุกรรม" }, { "docid": "21611#0", "text": "ในปี 1913, ลีโอนอร์ มิเชลิส (Leonor Michaelis) และ มัด เมนเทน (Maud Menten) ได้เสนอทฤษฎีปริมาณจลนศาสตร์ของเอนไซม์ ซึ่งยังคงใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายในทุกวันนี้ ซึ่งรู้จักกันในชื่อที่เรียกว่า มิเชลิส-เมนเทน จลนศาสตร์ (Michaelis-Menten kinetics) เอนไซม์สามารถทำงานของมันในการเร่งปฏิกิริยาได้ถึงหลายครั้งต่อวินาที เพื่อที่จะหาอัตราความเร็วสูงสุดของปฏิกิริยาที่ต้องใช้เอนไซม์เร่ง ความเข้มข้นของซับสเตรตจะเพิ่มขึ้นจนกระทั่งอัตราการเกิดผลิตภัณฑ์\nคงที่ นี่คือความเร็วสูงสุด (\"V\") ของเอนไซม์ นี่อาจจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่าแอคตีฟไซต์ทั้งหมดของเอนไซม์จะถูกเชื่อมต่อจนถึงจุดอิ่ม แต่อย่างไรก็ดี \"V\" เป็นพารามิเตอร์ทางจลนศาสตร์ที่นักชีวเคมีให้ความสนใจ จำนวนซับสเตรตที่ต้องการสำหรับให้ถึงอัตราเร่งของปฏิกิริยาที่กำหนดก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจด้วย สิ่งนี้แสดงโดย ค่าคงที่ของมิเชลิส-เมนเทน (Michaelis-Menten constant-\"K\") ซึ่งมีค่าเท่ากับความเข้มข้น\nของซับเตรตที่ต้องการสำหรับเอนไซม์เพื่อให้ถึงครึ่งหนึ่งของความเร็วสูงสุด", "title": "จลนศาสตร์ของเอนไซม์" }, { "docid": "21324#0", "text": "การตั้งชื่อเอนไซม์ ได้ตกลงเป็นสากลว่า ชื่อของเอนไซม์จะต้องประกอบด้วยหน้าที่ของเอนไซม์แล้วลงท้ายด้วยคำว่า \"-เอส\" (\"-ase\") ตัวอย่างเช่น", "title": "การตั้งชื่อเอนไซม์" }, { "docid": "20468#32", "text": "อุณหภูมิ เอนไซม์แต่ละชนิด มีความไวต่ออุณหภูมิแตกต่างกัน อุณหภูมิที่เอนไซม์ทำงานได้ดีที่สุด (optimum temperature) โดยทั่วไปอยู่ประมาณ 25-40 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงเกินไปปฏิกิริยาจะลดลงทั้งนี้เพราะ เอนไซม์ซึ่งเป็นโปรตีนจะเกิดการเสียสภาพ (denature) จึงเข้ารวมกับซับสเตรตไม่ได้ ความเป็นกรดเป็นด่าง มีผลต่อปฏิกิริยาของเอนไซม์ เอนไซม์ แต่ละชนิดจะทำงานได้ดีที่สุด ในสภาวะที่มีความเป็นกรดเป็นด่างพอเหมาะ (optimum pH) ซึ่งอาจแตกต่างกัน เช่น ซูเครสทำงานได้ดีที่สุดที่ pH =6.2 ลิเพส =7.0 เพปชิน = 1.5-2.5 ทริปชิน =8-11 ปริมาณของเอนไซม์ ถ้ามีเอนไซม์มากจะทำให้ปฏิกิริยาเกิดขึ้น อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าเอนไซม์มากเกินพอ ความเร็วของปฏิกิริยาจะไม่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะ ไม่มีซับสเตรตเหลือพอที่จะเข้าทำปฏิกิริยา ปริมาณซับสเตรต มีผลเช่นเดียวกับปริมาณของเอนไซม์คือถ้าเพิ่ม ซับสเตรตมากเกินไป ปฏิกิริยาก็จะไม่เกิดเร็วขึ้น เพราะปริมาณเอนไซม์มีไม่เพียงพอ", "title": "เอนไซม์" }, { "docid": "465707#0", "text": "ตัวถูกเปลี่ยน หรือ ซับสเตรต () ในทางชีววิทยาและวิทยาเอนไซม์ หมายถึง โมเลกุลที่เอนไซม์จับ เอนไซม์เร่งปฏิกิริยาเคมีที่มีตัวถูกเปลี่ยนมาเกี่ยวข้อง ในกรณีตัวถูกเปลี่ยนตัวเดียว ตัวถูกเปลี่ยนจะยึดกับบริเวณเร่ง (active site) ของเอนไซม์ และเกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนเอนไซม์กับตัวถูกเปลี่ยน (enzyme-substrate complex) เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยา จะได้ผลิตภัณฑ์ออกมาหนึ่งชนิดหรือมากกว่า ซึ่งจะถูกปล่อยจากบริเวณเร่ง บริเวณเร่งของเอนไซม์ก็จะสามารถรับโมเลกุลตัวถูกเปลี่ยนตัวใหม่ได้อีก ในกรณีที่มีตัวถูกเปลี่ยนมากกว่าหนึ่งตัว ตัวถูกเปลี่ยนอาจจับกับบริเวณเร่งตามลำดับที่เจาะจง ก่อนที่จะทำปฏิกิริยากันเกิดเป็นผลิตภัณฑ์", "title": "ตัวถูกเปลี่ยน" }, { "docid": "20468#8", "text": "เอนไซม์ ไม่มีผลต่อความสมดุล (equilibrium) ของปฏิกิริยาเคมี เอนไซม์ ไม่มีผลต่อพลังงานสัมพัทธ์ (relative energy) ระหว่างสารที่ได้จากปฏิกิริยา (products) และสารที่ทำปฏิกิริยา (reagents) เมื่อเทียบกับตัวเร่งปฏิกิริยาอื่นแล้ว เอนไซม์ จะมีความจำเพาะต่อปฏิกิริยาหนึ่งปฏิกิริยาใดมากกว่า การทำงานของ เอนไซม์ จะถูกแทรกแซงได้โดยโมเลกุลของสารประกอบอื่นได้ ถ้าโมเลกุลของสารประกอบที่มาแทรกแซงทำให้การทำงานของ เอนไซม์ ดีขึ้น เราเรียกสารประกอบนั้นว่า แอกติเวเตอร์ (activators) และถ้าโมเลกุลของสารประกอบที่มาแทรกแซงทำให้การทำงานของ เอนไซม์ ลดลง เราเรียกสารประกอบนั้นว่า อินฮิบิเตอร์ (Inhibitors) อินฮิบิเตอร์ ที่ทำให้เอนไซม์หยุดทำงานถาวรเรียกว่า<i data-parsoid='{\"dsr\":[2427,2450,2,2]}'>อินฮิบิเตอร์ สังหาร (Suicide inhibitors) อินฮิบิเตอร์ มีทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น ยาหลายตัวเป็นเอ็นไซม์อินฮิบิเตอร์ เช่น แอสไพริน ยับยั้งเอนไซม์ที่เป็นตัวนำส่งการอักเสบโปรสตาแกลนดิน ทำให้เกิดการระงับความเจ็บปวดและการอักเสบ เอนไซม์ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันเช่น ผงซักฟอกที่ไปเร่งปฏิกิริยาเคมีที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาดผ้า (เช่นการทำลายรอยเปื้อนที่เกิดจากแป้ง) มี เอนไซม์ มากกว่า 5,000 ตัว ที่มีชื่อแตกต่างกันโดยการตั้งชื่อจะลงท้ายด้วย -ase และตัวชื่อ เอนไซม์ จะตั้งชื่อตามสารที่มันจะเปลี่ยน เช่น แลคเตส (lactase) เป็น เอนไซม์ ที่เร่งการสะลายตัวของแลคโตส (lactose)", "title": "เอนไซม์" }, { "docid": "20468#25", "text": "ส่วนโปรตีนของเอนไซม์ที่ไม่ออกฤทธิ์นี้เรียกว่า อะโปเอนไซม์ อะโปเอนไซม์จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเฉพาะในที่มีโคแฟคเตอร์ที่ไม่ใช่โปรตีนเท่านั้น อะโปเอนไซม์พร้อมด้วยโคแฟคเตอร์ของมันประกอบด้วยโฮโลเอนไซม์ (holoenzyme) นั้นคือ แอคตีฟเอนไซม์ โคเอ", "title": "เอนไซม์" }, { "docid": "20468#37", "text": "การตั้งชื่อเอนไซม์ การใช้ประโยชน์จากเอนไซม์ รายชื่อเอนไซม์ (List of enzymes) จลนศาสตร์ของเอนไซม์ (Enzyme Kinetics)", "title": "เอนไซม์" }, { "docid": "119896#2", "text": "ดังนั้นเอนไซม์ G6PD จึงเป็นเอนไซม์ที่ช่วยป้องกันเม็ดเลือดแดงจากการทำลายของสารอนุมูลอิสระ (Oxidants) คนที่เกิดภาวะพร่องเอนไซม์ชนิดนี้แล้วจะทำให้เกิดอาการเม็ดเลือดแดงแตก (Heamolysis) ได้ง่าย สาเหตุของการพร่องเอนไซม์ G6PD เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมแบบ X-linked recessive โรคนี้จึงพบในผู้ชายได้มากกว่าผู้หญิง ", "title": "โรคพร่องเอนไซม์ G-6-PD" }, { "docid": "476130#3", "text": "เอนไซม์ตัดจำเพาะที่ใช้มีหลายชนิด เช่น EcoRI, HindIII, Pstl, Bglll, Xbal(6-cutter) และ Sse 83871 (8-cutter) ร่วมกับ Msel หรือ TaqI ซึ่งเป็น\n4-cutter เอนไซม์ MseI มีตำแหน่งจดจำเป็น 5’-TTAA-3’ และ TaqI มีตำแหน่งจดจำเป็น 5’-TCGA-3’\nดีเอ็นเอของยูแคริโอตส่วนใหญ่จะมีองค์ประกอบเป็นเบส A และ T จำนวนมาก (AT rich) เอนไซม์ MseI จึงตัดดีเอ็นเอได้ขนาดเล็กกว่าเอนไซม์ TaqI เมื่อใช้เอนไซม์ TaqI ชิ้นดีเอ็นเอที่เพิ่มปริมาณได้มักไม่ค่อยสม่ำเสมอ จะปรากฏเป็นแถบขนาดใหญ่ซึ่งอยู่ส่วนบนของเจล ดังนั้นจึงนิยมใช้เอนไซม์ MseI มากกว่า เพราะตัดดีเอ็นเอได้ขนาดพอเหมาะสำหรับการเพิ่มปริมาณโดยวิธี PCR และการแยกโดยใช้ denaturing polyacrylamide gel ส่วนเอนไซม์ที่เป็น rare cutter ใช้ได้ทั่วไป แต่ที่ใช้เอนไซม์ EcoRI กันมากเนื่องจากมีราคาถูกและการตัดดีเอ็นเอมีประสิทธิภาพดี โดยมีโอกาสพบการตัดไม่สมบรูณ์ได้น้อย", "title": "เอเอฟแอลพี" }, { "docid": "40396#16", "text": "ศาสตราจารย์ ดร. ม.ร.ว. ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ ได้สร้างกลุ่มทีมวิจัยทางด้านโปรตีนและเอนไซม์ที่เข้มแข็งขึ้นในประเทศไทย ทั้งที่ มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เพื่อมุ่งขยายงานวิจัยทางด้านนี้ให้กว้างขวางขึ้น โดยเน้นศึกษาโปรตีนและเอนไซม์ที่มีประโยชน์ในการประยุกต์ใช้ทางเทคโนโลยีชีวภาพ และที่เกี่ยวข้องกับโรคในมนุษย์ ศึกษาความสัมพันธ์ของโครงสร้างและการทำงานของโปรตีนและเอนไซม์ชนิดต่างๆ เช่น เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างอนุพันธ์ของเพนนิซิลินที่มีศักยภาพในการนำไปใช้เป็นยารักษาโรค ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนในโรคต่างๆ รวมทั้งการประยุกต์ใช้สารสกัดจากธรรมชาติในการรักษาโรคมะเร็งและการหายของแผล ศึกษาการประยุกต์ใช้โปรตีนและเอนไซม์ทางเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น โปรตีนและเอนไซม์ย่อยโปรตีนในไหมเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมผ้าไหมไทย การแยกสกัดเอนไซม์นาริจีเนสจากแหล่งในประเทศไทย สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมผลิตน้ำผลไม้เพื่อกำจัดรสขมในน้ำผลไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้ให้ความสนใจด้านการเรียนการสอน และทำการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนทางด้านชีวเคมีด้วย", "title": "หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์" }, { "docid": "513673#1", "text": "โคแฟกเตอร์สามารถแบ่งกลุ่มได้ขึ้นอยู่กับว่ามันยึดเกาะกับเอนไซม์แน่นเพียงใด โคแฟกเตอร์ที่ยึดเกาะหลวม ๆ เรียกว่า โคเอนไซม์ และโคแฟกเตอร์ที่ยึดเกาะแน่นเรียกว่า กลุ่มพรอสธีติก เอนไซม์ไม่ทำงาน โดยไม่มีโคแฟกเตอร์ เรียกว่า อะโพเอนไซม์ ขณะที่เอนไซม์สมบูรณ์ที่มีโคแฟกเตอร์ เรียกว่า โฮโลเอนไซม์", "title": "โคแฟกเตอร์" }, { "docid": "935588#1", "text": "เอนไซม์ในมหาสกุลไซโทโครม P450 ซึ่งรวมถึง CYP2A7 นั้นจัดเป็นเอนไซม์ชนิดมอนอออกซีจีเนส ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการเร่งปฏิกิรยาการเกิดเมแทบอลิซึมของยาชนิดต่างๆ รวมไปถึงการสังเคราะห์คอเลสเตอรอล สเตอรอยด์ และกรดไขมันชนิดอื่นๆ โดยเอนไซม์เหล่านี้จะเคลื่อนที่เข้าสู่ร่างแหเอนโดพลาซึม แล้วถูกกระตุ้นด้วยกลูโคคอร์ติคอยด์จึงจะสามารถแสดงคุณสมบัติของเอนไซม์นั้นๆได้ และเป็นที่น่าสนใจว่า CYP2W1 นั้นเป็นเอนไซม์ที่จะแสดงออกในสภาวะที่ร่างกายเกิดเนื้องอก ซึ่งหมายความว่าจะไม่พบการแสดงออกของ CYP2W1 ในเนื้อเยื่อปกติของมนุษย์", "title": "CYP2W1" }, { "docid": "934614#0", "text": "ไซโทโครม P450 3A4 (English: Cytochrome P450 3A4; ชื่อย่อ: CYP3A4; EC) เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกายมนุษย์ ส่วนใหญ่พบได้ที่ตับและลำไส้ โดยเอนไซม์นี้จะทำหน้าที่ออกซิไดซ์โมเลกุลอินทรีย์แปลกปลอมขนาดเล็ก (ซีโนไบโอติค) เช่น สารพิษ หรือยา เพื่อให้ร่างกายสามารถกำจัดสารแปลกปลอมเหล่านี้ออกไปได้ ยารักษาโรคส่วนใหญ่มักถูกทำให้หมดฤทธิ์ได้โดยเอนไซม์ CYP3A4 แต่ในทางตรงกันข้าม กลับมียาบางชนิดที่ถูกทำให้มีฤทธิ์ในการรักษาได้ด้วยเอนไซม์นี้ อย่างไรก็ตาม สารบางอย่าง เช่น น้ำเกรปฟรูต และยาบางชนิดอาจมีฤทธิ์รบกวนการทำงานของเอนไซม์ CYP3A4 ได้ โดยผลที่เกิดขึ้นจากอันตรกิริยาระหว่างสารเหล่านี้กับเอนไซม์ CYP3A4 อาจเพิ่มหรือลดประสิทธิภาพการรักษาของยาที่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้วยเอนไซม์ CYP3A4 ได้", "title": "CYP3A4" } ]
273
บิดาแห่งฟิสิกส์คือใคร?
[ { "docid": "15703#0", "text": "กาลิเลโอ กาลิเลอี (; 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 - 8 มกราคม ค.ศ. 1642) เป็นชาวทัสกันหรือชาวอิตาลี ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ผลงานของกาลิเลโอมีมากมาย งานที่โดดเด่นเช่นการพัฒนาเทคนิคของกล้องโทรทรรศน์และผลสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญจากกล้องโทรทรรศน์ที่พัฒนามากขึ้น งานของเขาช่วยสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัสอย่างชัดเจนที่สุด กาลิเลโอได้รับขนานนามว่าเป็น \"บิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่\" \"บิดาแห่งฟิสิกส์สมัยใหม่\" \"บิดาแห่งวิทยาศาสตร์\" และ \"บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ยุคใหม่\"", "title": "กาลิเลโอ กาลิเลอี" } ]
[ { "docid": "12442#3", "text": "ไม่มีใครทราบว่าบิดามารดาของเนเฟอร์ติติเป็นใคร แต่มีผู้เห็นพ้องต้องกันว่าเธออาจเป็นธิดาของเอย์ ผู้ที่ได้เป็นฟาโรห์ในเวลาต่อมา กับมเหสีที่มีชื่อว่าเทย์ อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่าเนเฟอร์ติติแท้จริงคือเจ้าหญิงทาดูคีปา ธิดาของกษัตริย์ทัชรัตตาแห่งมีทานนี ในม้วนคัมภีร์โบราณมีการกล่าวถึงชื่อนีเมรีธิน เป็นอีกชื่อหนึ่งของพระนาง แต่ก็ยังไม่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการ ยังมีผู้เสนอแนวคิดว่าพระนางเป็นธิดา หรือพระญาติกับฟาโรห์อาเมนโฮเทปที่สาม หรือไม่ก็เป็นชนชั้นสูงของชาวเธบ อีกทฤษฎีหนึ่งยกให้เนเฟอร์ติติเป็นธิดาของซีตามุน น้องสาวต่างมารดาของอาเมนโฮเทปที่สาม โดยมีพระราชินีเอียเรเป็นพระมารดาของนาง เอียเรเคยมีตำแหน่งเป็นองค์รัชทายาท แต่ตำแหน่งดังกล่าวต้องสิ้นสุดลงเมื่ออาเมนโฮเทปที่สามขึ้นครองบัลลังก์ ซีตามุนถูกเลี้ยงดูให้เป็นมเหสีของทีเย แต่ก็ไม่มีหลักฐานว่าพระนางมีโอรสธิดากับผู้ใดหรือไม่ มีหลักฐานอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่าทั้งซีตามุนและเนเฟอร์ติติต่างก็มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกัน นั่นคือชื่อของทั้งคู่ต่างก็หมายความว่า \"ผู้เลอโฉม\" เนเฟอร์ติตินับถือเทพเพียงองค์เดียว นั่นก็คืออาตอน ทั้งนี้ อาเคนาเตน สวามีของพระนางอาจเป็นพระบิดา หรือไม่ก็พี่ชายต่างมารดาของฟาโรห์ตุตันคามุน ขึ้นอยู่กับว่าจะนับญาติแบบไหน", "title": "เนเฟอร์ติติ" }, { "docid": "288627#1", "text": "นิดา (สินจัย เปล่งพานิช) แม่ค้าขายแผ่นซีดีตามตลาดนัดวัยกลางคน มีลูกชายวัยรุ่นคนหนึ่งชื่อ ต้น มีอาการประหลาดไม่ยอมออกจากห้องนอนตัวเองมาเป็นเวลานานถึง 5 ปี โดยที่ตัวเธอเองก็ไม่ได้รู้ว่ามันเป็นความผิดปกติอะไร จนกระทั่งรุ่นน้องที่เธอรู้จักคนหนึ่งที่ทำงานเบื้องหลังรายการโทรทัศน์ (พงศ์พิชญ์ ปรีชาบริสุทธิ์กุล) ได้รู้เข้า จึงอยากติดต่อไปออกรายการ แต่ต้นไม่ยอมไป แถมยังมีเศษกระดาษสอดออกมาจากใต้ประตูความว่า ห้ามยุ่ง ไม่เช่นนั้นเตรียมมาเก็บศพเขาได้เลย และที่บ้านตรงข้าม ป่าน (กัญญา รัตนเพชร์) เด็กสาววัยรุ่นรุ่นเดียวกับต้น ก็ถูกผู้เป็นแม่เก็บตัวไว้เฉพาะแต่ในห้องนอนเหมือนกัน เนื่องจากเธอเป็นโรคภูมิแพ้อย่างรุนแรง จากการที่จ้องมองไปยังห้องของต้นทุกวัน ป่านสงสัยว่าในบ้านตรงข้ามนั้นมีใครอยู่ในห้องหรือไม่", "title": "ใคร...ในห้อง" }, { "docid": "790599#1", "text": "บิดาของเทอเรนซ์ เต๋าตือ บิลลี่ เต๋า () เป็นกุมารแพทย์ เกิดในเซี่ยงไฮ้ และได้  ที่ ในปี 1969 มารดาของเต๋า เกรซ () เป็นชาวฮ่องกง เกรซได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่งด้านฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยฮ่องกงเช่นกัน เธอเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมในฮ่องกง ทั้งสองพบกันที่มหาวิทยาลัยในขณะที่พวกเขากำลังศึกษาอยู่ พ่อแม่ของเทอเรนซ์อพยพจากฮ่องกงสู่ออสเตรเลีย", "title": "เทอเรนซ์ เต๋า" }, { "docid": "40282#5", "text": "\"\"ขอธิดาของเรา ซึ่งเป็นบุตรีอันดีของเปี่ยมคนนี้ จงปรากฏโดยนามว่าโสภาสุทธสิริมตี (เสาวภาผ่องศรี) เถิด ขอเธอจงมีสุข แลไม่มีโรค มีอิสริยยศประเสริฐสุด ปราศจากโทษ อันใคร ๆ อย่าคุมเหงได้ทุกเมื่อ จงเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์ใหญ่ มีโภคสมบัติมาก อันคนเป็นอันมากนิยมนับถือ ขอเธอจงรักษาเกียรติยศของบิดามารดาไว้ทุกเมื่อ จงทำนุบำรุงพี่น้องชายหญิงอันดี ขออานุภาพพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น จงรักษาเธอทุกเมื่อเทอญ\"\"", "title": "สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง" }, { "docid": "97926#0", "text": "เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด (Ernest Rutherford, 30 สิงหาคม พ.ศ. 2414 - 19 ตุลาคม พ.ศ. 2480) หรือในชื่อที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า ลอร์ด รัทเทอร์ฟอร์ด ได้รับการยกย่องให้เป็น \"บิดา\" แห่งฟิสิกส์นิวเคลียร์ เขาเป็นผู้บุกเบิกทฤษฎีการโคจรของอะตอม ชื่อของเขาได้นำไปใช้เป็นชื่อธาตุที่ 104 คือ รัทเทอร์ฟอร์เดียม", "title": "เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด" }, { "docid": "28166#3", "text": "การหาเงินเลี้ยงชีพนั้นลำบาก บิดาของเราก็หามาอย่างนี้ ต่างไม่มีเวลาว่างกันทั้งนั้น ถ้าใครไม่รีบหาให้มั่งมี ก็เป็นคนชั้นต่ำ ไม่มีใครนับหน้าถือตา เข้าหมู่เพื่อนบ้านก็อับอาย ไม่เทียมหน้าเขา บุรพชนต้นสกุลก็ทำมาอย่างนี้เหมือนกัน จนถึงบิดาเราและตัวเราในบัดนี้ ก็คงทำอยู่อย่างนี้ ก็บัดนี้บุรพชนทั้งหลายได้ตายไปหมดแล้ว แม้เราก็จักตายเหมือนกัน เราจะมัวแสวงหาทรัพย์อยู่ทำไม ตายแล้วเอาไปไม่ได้ บวชดีกว่า ท่านบอกว่าเริ่มอธิษฐานมาตั้งแต่อายุ 19 ปี หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านเล่าต่อไปว่า เมื่อตกลงใจบวชไม่สึกแล้ว จิตคิดเป็นห่วงมารดาเกิดขึ้น จึงขะมักเขม้นทำงานสะสมทรัพย์ เพื่อให้มารดาเอาไว้ใช้เลี้ยงชีพไปจนตลอดชีวิต", "title": "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)" }, { "docid": "150248#0", "text": "ฟีนิกซ์ อิคคิ () ตัวละครหลักจากการ์ตูนเรื่องเซนต์เซย่า เป็นพี่ชายของอันโดรเมด้า ชุน ซึ่งมีจิตใจเข้มแข็ง คอยปกป้องและให้ความช่วยเหลือน้องชายอยู่เสมอ ถึงภายนอกจะดูเหมือนคนดุดัน ใจร้อน แต่แท้จริงแล้วเขาก็เป็นคนที่มีคุณธรรมในจิตใจมากทีเดียว อิคคิยอมถูกส่งไปยังเกาะเดธควีน หรือ \"ราชินีมรณะ\" แทนชุน ซึ่งเกาะนี้อยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร กลางมหาสมุทรแปซิฟิก มีสภาพอากาศร้อนระอุเหมือนเป็นขุมนรก มีฝนลูกไฟตกอยู่ตลอดทั้งปี ผู้คนที่ถูกส่งมายังเกาะนี้ไม่เคยมีใครกลับมาอย่างสมประกอบเลยแม้แต่คนเดียว", "title": "ฟีนิกซ์ อิคคิ" }, { "docid": "888352#2", "text": "เมแกนประสูติเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2524 และเติบโตในลอสแอนเจลิส ทรงเล่าถึงพระบิดาและพระมารดาว่า \"พ่อของฉันเป็นคอเคเซียน [อเมริกันผิวขาว] และแม่ฉันเป็นแอฟริกัน-อเมริกัน...ฉันยอมรับ [และ] พูดว่าฉันคือใคร มาจากไหน เพื่อแสดงตัวว่าฉันเป็นผู้หญิงเลือดผสมที่เข้มแข็งและมั่นใจ\" พระมารดาสืบสันดานมาจากทาสแอฟริกันในรัฐจอร์เจีย ส่วนพระบิดามีเชื้อสายอังกฤษ, ดัตช์ และไอริช บุรพชนของพระบิดาคือ ร้อยเอกคริสโตเฟอร์ ฮัสซีย์, เซอร์ฟิลิปส์ เวนต์เวิร์ท และแมรี คลิฟฟอร์ด ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ", "title": "เมแกน ดัชเชสแห่งซัสเซกซ์" }, { "docid": "236292#4", "text": "สำหรับพ่อของเคราร์โด ลีนาไม่เคยออกมาเปิดเผยว่าเป็นใคร มีข้อสันนิษฐานว่าเธออาจรู้แต่ไม่อยากบอกแก่สาธารณะ หรือเธออาจจะไม่รู้ก็ได้ เพราะสมัยนั้นไม่มีเทคโนโลยีการตรวจดีเอ็นเอ แต่บิดาของเมดินาคือผู้ต้องสงสัยอันดับหนึ่ง เขาถูกจับกุมในข้อหาข่มขืน แต่ต่อมาก็ถูกปล่อยตัวเพราะหลักฐานไม่เพียงพอ", "title": "ลีนา เมดีนา" }, { "docid": "44382#0", "text": "คุณสิริกิติยา เจนเซน หรือ คุณสิริกิตติยา ใหม่ เจนเสน (นามเดิม: ใหม่ เจนเซน; 18 มีนาคม พ.ศ. 2528) เป็นพระธิดาคนเล็กในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี กับปีเตอร์ แลดด์ เจนเซน เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นพระภาคิไนยในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร", "title": "คุณสิริกิติยา เจนเซน" } ]
2500
พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ เริ่มเตรียมการตั้งแต่เดือนอะไร?
[ { "docid": "853762#2", "text": "พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ เริ่มเตรียมการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เรื่อยมา มีการสร้างพระเมรุมาศ และอาคารประกอบ การบูรณปฏิสังขรณ์พระมหาพิชัยราชรถ ราชยาน และเครื่องประกอบพระราชพิธี รวมถึงการเตรียมงานมหรสพในงานออกพระเมรุมาศ โดยสรุปแล้วเรียงลำดับการเตรียมงานได้ดังนี้", "title": "พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "854114#0", "text": "พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีกำหนดระหว่างวันที่ 25–29 ตุลาคม พ.ศ. 2560 โดยเริ่มการเตรียมงานตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เรื่อยมา มีการสร้างพระเมรุมาศ และอาคารประกอบ การบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถ ราชยาน และเครื่องประกอบพระราชพิธี รวมถึงการเตรียมงานมหรสพในงานออกพระเมรุ", "title": "การเตรียมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" } ]
[ { "docid": "854114#45", "text": "วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2560 คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้แจ้งเกี่ยวกับเส้นทางการจราจรในวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ และวันซ้อมใหญ่ โดยทางคณะกรรมการฝ่ายรักษาความปลอดภัยและจราจรจะปิดการจราจรแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ในช่วงงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ และวันซ้อมใหญ่จำนวน 3 วัน ดังนี้", "title": "การเตรียมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "853762#30", "text": "จากนั้นระหว่างวันที่ 1-30 พฤศจิกายน มีการจำหน่ายที่งานนิทรรศการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ ท้องสนามหลวง จำกัด 1 คนต่อ 2 เข็มเช่นเดียวกัน โดยใช้บัตรประชาชนในการสั่งซื้อ และจอง ส่วนการสั่งจองเริ่มสั่งจองได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป โดยสั่งจองได้ที่กองคลัง สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล และธนาคารกรุงไทย ส่วนภูมิภาคสั่งจองได้ที่สำนักงานจังหวัดทุกจังหวัด ทั้งนี้ สามารถรับเข็มได้ ณ สถานที่ที่สั่งจอง ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป โดยสามารถติดเข็มที่อกเสื้อได้ทุกวันรวมถึงหลังงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ ก็ยังสามารถใช้ได้ตลอดไป และสำหรับรายได้เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัยทั้งหมด", "title": "พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "854114#25", "text": "1 มีนาคม พ.ศ. 2560 เวลา 18.00 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงร่วมการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ครั้งที่ 1/2560 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยทรงรับเป็นที่ปรึกษาการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และทรงรับเชิญเสด็จพระราชดำเนินในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการนี้ ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้รัฐบาลจัดสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน เช่น หน่วยแพทย์ อาหาร น้ำดื่ม รถสุขา และถังขยะให้มีความพร้อมพอเพียงสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกตลอดเวลา", "title": "การเตรียมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "854114#41", "text": "ในช่วงวันที่ 25 - 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เป็นช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งในวันดังกล่าวจะมีประชาชนเดินทางมาร่วมพระราชพิธีฯ ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคเป็นจำนวนมาก และอาจมีกลุ่มบุคคลผู้ไม่หวังดี เข้ามาฉกฉวยโอกาส สร้างสถานการณ์ก่อเหตุร้าย หรือความไม่สงบในพื้นที่ต่างๆ ดังนั้น จึงมีการประชุมเตรียมความพร้อมและได้สั่งการให้ทุกกองบัญชาการ ทั่วประเทศ ระดมกวาดล้างสิ่งผิดกฎหมาย โดยเฉพาะอาวุธปืน ยาเสพติด และการติดตามจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับค้างเก่า โดยจะแบ่งการระดมกวาดล้างเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ระหว่างวันที่ 6 - 15 กันยายน ช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 21 - 30 กันยายน และ ช่วงที่ 3 ระหว่าง วันที่ 6 - 15 ตุลาคม โดยเฉพาะหมายจับค้างเก่าตำรวจมีการดำเนินการจับกุมมาอย่างต่อเนื่อง เพราะภาพรวมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 จนถึงปัจจุบัน มีหมายจับค้างเก่ากว่า 1 แสนหมาย ทั้งนี้ได้เน้นย้ำให้พื้นที่รับผิดชอบเข้มงวดตรวจสอบบริเวณจุดที่กำหนดให้เป็นจุดถวายดอกไม้จันทน์ เนื่องจากคาดว่าจะมีประชาชนจำนวนมาก มาร่วมถวายดอกไม้จันทน์ รวมถึงเพิ่มมาตรการเข้มข้นจุดคัดกรองต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นใจความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่เดินทางมาร่วมงานพระราชพิธีฯ โดยกำชับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สายตรวจ ให้นำเทคโนโลยีฯ ที่ทันสมัยมาใช้ในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะการบันทึกภาพขณะปฏิบัติงาน การใช้ข้อมูลจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด มาใช้ในการบริหารการป้องกันเหตุในพื้นที่ รวมทั้งใช้เป็นเครื่องมือในการสืบสวนสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานต่างด้วยส่วนเรื่องการจราจรบริเวณรอบท้องสนามหลวง จะมีการประชุมเตรียมความพร้อม และกำหนดเส้นทางชี้แจงให้ประชาชนทราบอีกครั้งภายหลัง และทั้งนี้ ขอความร่วมมือประชาชนในการเป็นหูเป็นตา ให้ข้อมูลเบาะแสกับตำรวจ หากพบการกระทำความผิด", "title": "การเตรียมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "854114#46", "text": "ในช่วงการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ระหว่างวันที่ 24 – 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 จะมีการปิดการจราจรหลายเส้นทาง เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เตรียมแผนการจัดการจราจรรองรับไว้ 3 รูปแบบ ดังนี้\nและจัดเดินรถทางเดียวใน 3 เส้นทาง ได้แก่ \nและปิดการจราจรในถนนที่พาดผ่านถนนราชดำเนินกลาง ได้แก่\nและหากประชาชนมาเต็มพื้นที่ดังกล่าวก็จะขยายพื้นที่ปิดถนนเพิ่มเป็นระดับ 3 ดังนี้", "title": "การเตรียมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "853762#3", "text": "คณะรัฐมนตรีรับทราบมติที่คณะอนุกรรมการฯ ฝ่ายจัดการพระราชพิธีฯ กำหนดวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในระหว่างวันที่ 25 – 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560 พร้อมทั้งพิจารณาหมายกำหนดการพระราชพิธีฯ และกำหนดจำนวนริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศไว้เป็นที่เรียบร้อย โดยมีพระราชพิธีสำคัญ ได้แก่ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ในวันที่ 25 ตุลาคม, พระราชพิธีเชิญพระบรมโกศออกพระเมรุมาศ และถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในวันที่ 26 ตุลาคม ซึ่งคณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษด้วย, พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิและเชิญพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารกลับเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง ในวันที่ 27 ตุลาคม, พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมอัฐิ ในวันที่ 28 ตุลาคม, พระราชพิธีเลี้ยงพระ และเชิญพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และพระราชพิธีบรรจุพระบรมราชสรีรางคาร ในวันที่ 29 ตุลาคม", "title": "พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "129623#23", "text": "พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพถูกจัดขึ้นในเวลา 16.00 นาฬิกา ของวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ถือเป็นงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพของพระบรมวงศานุวงศ์กัมพูชาในรอบ 52 ปี พระราชพิธีเสร็จสิ้นลงในเวลา 18.30 นาฬิกา ในการนี้มีชาวกัมพูชาร่วมแสดงความไว้อาลัยเป็นจำนวนมากซึ่งคาดว่าอาจมีมากถึง 6 แสนคน รวมทั้งผู้แทนจาก 16 ประเทศก็ได้เข้าร่วมงานดังกล่าวด้วย", "title": "พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ" }, { "docid": "854114#26", "text": "ช่วงเช้าของวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2560 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงร่วมการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ครั้งที่ 2/2560 ซึ่งมีระเบียบวาระการประชุมเรื่องต่างๆ อาทิ ด้านการจัดสร้างพระเมรุมาศ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศ การบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถ ราชยาน การจัดสร้างราชรถปืนใหญ่ พระราเชนทรยานน้อย และส่วนประกอบทั้งหลายที่จะใช้ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ และเสด็จพระราชดำเนินมาทรงตรวจความคืบหน้าการจัดสร้างพระเมรุมาศ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมีหม่อมราชวงศ์บุตรี วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการ พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี วีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เฝ้าทูลละอองพระบาทกราบบังคมทูลถวายรายงาน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดจนจิตอาสาเฝ้ารอรับเสด็จ", "title": "การเตรียมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" }, { "docid": "853762#1", "text": "สำหรับการดำเนินการพระราชพิธีฯ นั้น คณะทำงานทุกฝ่ายได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างพระเมรุมาศและอาคารประกอบ เช่น พระที่นั่งทรงธรรม ศาลาลูกขุน เป็นต้น ส่วนการบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถ ราชยาน และเครื่องประกอบพระราชพิธีนั้น ได้มีการซ่อมแซมพระมหาพิชัยราชรถ พระยานมาศสามลำคาน ราชรถน้อย และพระที่นั่งราเชนทรยาน เพื่อให้พร้อมใช้ในพิธีจริง นอกจากนี้ยังมีการจัดสร้างราชรถ ราชยานขึ้นมาใหม่ คือ ราชรถปืนใหญ่และพระที่นั่งราเชนทรยานน้อย รวมทั้งประติมากรรมประกอบพระเมรุมาศในพระราชพิธีครั้งนี้ได้มีการปรับปรุงให้มีความร่วมสมัย โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์วินิจฉัยในการจัดสร้างพระเมรุมาศ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานอำนวยการพระราชพิธี", "title": "พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" } ]
507
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นแห่งที่เท่าไหร่ของไทย?
[ { "docid": "5519#0", "text": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย[1] ตั้งอยู่ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร[2] ถือกำเนิดจาก \"โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน\" ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2442 พร้อมทั้งพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญ \"พระเกี้ยว\" มาเป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน[3] การดำเนินงานของโรงเรียนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 (นับแบบเก่า) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประดิษฐานขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย และพระราชทานนามว่า \"จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย\" เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[4] สมเด็จพระบรมชนกนาถของพระองค์[5] นับตั้งแต่ พ.ศ. 2460 ถึงปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีผู้บัญชาการและอธิการบดีมาแล้ว 17 คน อธิการบดีคนปัจจุบัน คือ ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์[6]", "title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" } ]
[ { "docid": "32949#8", "text": "ในปี 2533 ในวาระที่คณะทันตฯ ได้ก่อตั้งมาครบ 50 ปี และเป็นปีมหามงคลที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระชนมายุ 90 พรรษา คณะฯ ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน และศิษย์เก่า ตลอดจนมีผู้จิตศรัทธาได้ร่วมกันจัดสร้างอาคารโรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ขึ้น พร้อมครุภัณฑ์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและเทิดพระเกียรติองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี อาคารนี้จัดเป็นโรงพยาบาลทางทันตกรรมแห่งแรกในประเทศไทย ที่ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยด้านศัลยกรรมช่องปาก กระดูกขากรรไกรและใบหน้า รวมทั้งโรคฟันอื่น ๆ ครบวงจร โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้นรวม 317,900,000.- บาท เป็นเงินนอกงบประมาณ 9,000,000.- บาท และ เงินงบประมาณแผ่นดิน 308,900,000.- บาท โดยผูกพัน 5 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2534 – 2538 ในวโรกาสเดียวกันนี้ ยังได้จัดสร้างพระรูปหล่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ขนาดเท่าพระองค์จริง ประดิษฐานไว้ ณ บริเวณโถงชั้น 2 อาคารโรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์นี้ เพื่อให้เป็นที่เคารพสักการะของเหล่าอาจารย์ นิสิต ข้าราชการ บุคลากร และประชาชนที่มารับบริการด้วย ต่อมาในปี 2536 ในวโรกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระชนมายุ 93 พรรษา คณะทันตแพทยศาสตร์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระองค์ท่าน โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม อาคารโรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ ว่า “อาคารสมเด็จย่า 93” ซึ่งนับเป็นสิริมงคลอย่างยิ่งแก่คณะทันตแพทยศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทำพิธีเปิดเมื่อวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2539 [2]", "title": "คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "32955#23", "text": "คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นโรงเรียนแพทย์ที่ดำเนินงานร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานการกุศลไม่แสวงหาผลกำไร แต่มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนานวัตกรรมทางวิชาการและการบริการทางการแพทย์ให้ดีที่สุดเพื่อสุขภาพของผู้ป่วยทุกประเภท ไม่แบ่งแยกฐานะและไม่เลือกปฏิบัติ ทำให้คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ต้องใช้ทุนทรัพย์จำนวนมากเพื่อสนองพันธกิจนี้ให้สำเร็จและสม่ำเสมอ การร่วมบริจาคในวันอานันทมหิดลจึงไม่เพียงเป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้เท่านั้น แต่ยังเป็นการช่วยยกระดับคุณภาพทางวิชาการและนวัตกรรมการรักษาที่จะช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์โดยไม่แบ่งแยกชั้นฐานะอีกนับไม่ถ้วนด้วย", "title": "คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "32956#3", "text": "วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลย้ายไปสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ยังคงทำหน้าที่สอนวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เช่นเดิม วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานนามใหม่แก่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ว่า “ มหาวิทยาลัยมหิดล ” และพระราชทานนามใหม่ให้กับคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลว่า \"คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล\" หน้าที่การสอนวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลจึงยุติลง แต่ในเวลานั้นคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว หน้าที่สอนวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับคณะแพทยศาสตร์จึงดำเนินต่อไปจนมีการปรับปรุงหลักสูตรและคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความพร้อมเพียงพอที่จะดำเนินการสอนภายในคณะ คณะวิทยาศาสตร์จึงยุติการทำหน้าที่นี้ลงเช่นในปัจจุบัน ", "title": "คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "32955#7", "text": "ศาสตราจารย์ นพ.เฉลิม พรมมาส ผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในขณะนั้น จึงได้ติดต่อประสานงานการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งใหม่ผ่านทางผู้อำนวยการกองบรรเทาทุกข์และอนามัย สภากาชาดไทย พระยาดำรงแพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์) หรือ ศาสตราจารย์อุปการคุณ พลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ โดยขอความร่วมมือไปยังโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน คณะแพทยศาสตร์แห่งใหม่จึงก่อกำเนิดขึ้นในนาม \"คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์\" และสามารถเปิดการเรียนการสอนได้ ภายใน 9 เดือนเศษนับจากวันที่ได้เริ่มมีการติดต่อครั้งแรก โดยมีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2490 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 มีผลบังคับใช้วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490 ให้แบ่งส่วนราชการคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ออกเป็น 10 แผนก ได้แก่ แผนกอำนวยการ แผนกกายวิภาคศาสตร์ แผนกสรีระวิทยา แผนกพยาธิวิทยา แผนกอายุรศาสตร์ แผนกศัลยศาสตร์ แผนกสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา แผนกรังสีวิทยา แผนกกุมารเวชศาสตร์ และ แผนกจักษุวิทยาและวิทยาโสตนาสิกลาริงซ์ และได้เปิดการภาคเรียนเป็นปฐมฤกษ์ ในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2490 มีนักศึกษาปีแรก 67 คน (ขณะอยู่ในสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ใช้คำเรียกผู้ศึกษาว่า\"นักศึกษา\")", "title": "คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "293384#1", "text": "คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีชื่อเดิมคือคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นในสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) และเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่ 3 ของประเทศไทยต่อจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ หรือคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน", "title": "คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" }, { "docid": "5519#95", "text": "ส่วนที่ 3 ตั้งอยู่ในฝั่งตะวันนออกของถนนพญาไท ทิศใต้ของถนนพระรามที่ 1 ด้านหลังสยามสแควร์ อยู่ในแขวงปทุมวัน ประกอบด้วย คณะทันตแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ โอสถศาลาหรือสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนของคณะเภสัชศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข อาคารวิทยกิตติ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์หนังสือจุฬาฯและสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร พื้นที่ส่วนนี้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสยามด้านถนนพระรามที่ 1 ส่วนที่ 4 ทิศตะวันออกของถนนอังรีดูนังต์ ตั้งอยู่ในแขวงปทุมวัน บริเวณตั้งแต่สี่แยกศาลาแดง จนถึงสี่แยกอังรีดูนังต์ ซึ่งเป็นพื้นที่ของสภากาชาดไทย โดยมีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทยและสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันสมทบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งอยู่[169] พื้นที่ส่วนนี้เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีศาลาแดงและรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) สถานีสีลม บริเวณสี่แยกศาลาแดง", "title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "35600#8", "text": "ในปี พ.ศ. 2464 รัฐบาลได้เริ่มเจรจากับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller) โดยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงรับเป็นผู้แทนฝ่ายไทยในการเจรจาเพื่อขอความช่วยเหลือปรับขยายหลักสูตรของคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลให้ถึงระดับปริญญา โดยมีโรงพยาบาลศิริราชเป็นโรงพยาบาลฝึกหัด นอกจากนี้ เมื่อครั้งที่สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย กระทรวงศึกษาธิการ ยังทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อสร้างตึกในโรงพยาบาลศิริราชหลายหลัง และยังได้พระราชทานทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทย สำหรับไปศึกษายังต่างประเทศเพื่อให้กลับมาเป็นอาจารย์ นับได้ว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชฯ มีพระมหากรุณาธิคุณต่อศิริราชและการแพทย์แผนปัจจุบันของไทยเป็นอย่างมาก ทางคณะฯ จึงได้จัดสร้างพระราชานุสาวรีย์ไว้ ณ ใจกลางโรงพยาบาล และถวายพระราชสมัญญาว่า “องค์บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย”\nในรัฐบาลสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ได้จัดระเบียบการบริหารราชการใหม่และก่อตั้ง “มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์” ขึ้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 โดยโอนคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล แผนกทันตแพทยศาสตร์ แผนกสัตวแพทยศาสตร์ และแผนกเภสัชศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาเป็นคณะในสังกัดของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มีฐานะเป็นกรมในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ก่อนจะย้ายมาสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ. 2502 แต่นักศึกษายังคงต้องเรียนวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเช่นเดิมแม้คณะจะเปลี่ยนไปสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์แล้ว ", "title": "คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล" }, { "docid": "28869#1", "text": "โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สร้างขึ้นตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพร้อมด้วยพระราชภาดาและภคินี เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนาถของพระองค์ ด้วยเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระชนม์อยู่นั้น ได้ทรงพระราชดำริจัดตั้ง สภากาชาดไทย ซึ่งเรียกในเวลานั้นว่า สภาอุณาโลมแดง ขึ้นไว้ โดยรับการรักษาพยาบาลผู้เจ็บไข้ได้ป่วย ตามคติของนานาชาติที่เจริญแล้ว แต่การสภากาชาดไทยยังไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์ ถ้าจะบริจาคทรัพย์สร้างโรงพยาบาลสภากาชาดขึ้น ก็จะเป็นพระกุศล อันประกอบด้วยถาวรประโยชน์อนุโลม ตามพระราชประสงค์แห่งองค์สมเด็จพระบรมชนกนาถ และเป็นเกียรติแก่ราชอาณาจักรโดยทรงพระดำริเห็นพ้องกัน บรรดาพระราชโอรส พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงบริจาคทรัพย์รวมกันเป็นจำนวนเงิน 122,910 บาท สมทบกับทุนของสภากาชาด สร้างโรงพยาบาลขึ้น และพระราชทานนามตามพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์รำลึงถึงพระบรมชนกนารถ โรงพยาบาลของกาชาดนี้จึงมีนามว่า \"โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์\" เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2457 ตามแจ้งความสภากาชาดสยาม ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2457 ได้กำหนดจุดมุ่งหมายให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นโรงพยาบาลที่ดีจริงต้องตามวิทยาศาสตร์แผ่พระเกียรติยศในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวกับทั้งแพร่เกียรติยศของชาติไทย บริการรักษาพยาบาลช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาล ให้บริการรักษาผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยไข้ทั้งในยามสงครามและปกติ โดยยึดมั่นในปณิธาณอันแน่วแน่ที่จะให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บทั่วไป โดยไม่เลือกชาติ ชั้น วรรณะ ลัทธิ ศาสนา หรือความคิดเห็นทางการเมือง \nเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2489 เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรเสด็จพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) พระองค์ท่านได้พระราชทานพระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า \"...พระองค์มีพระราชประสงค์ให้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ผลิตแพทย์ผู้ได้สำเร็จหลักสูตรให้มีปริมาณมากขึ้น เพื่อออกมาช่วยเหลือประเทศชาติ...\" โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ซึ่งถือเป็นโรงพยาบาลที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็นโรงเรียนแพทย์จึงได้รับการประสานงานจากรัฐบาลให้เป็นที่ตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งที่สองของประเทศไทย โรงเรียนแพทย์แห่งใหม่นี้ถือกำเนิดในนาม \"คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์\" จนกระทั่งมีมติให้โอนคณะที่ซ้ำซ้อนของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ให้กับมหาวิทยาลัยเดิมที่เป็นรากฐานของคณะนั้น ๆ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จึงถูกโอนมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในนามใหม่ว่า \"คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย\" ", "title": "โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์" }, { "docid": "32955#18", "text": "ตามข้อตกลงระหว่างมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และสภากาชาดไทยให้คณบดีคณะแพทยศาสตร์และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นบุคคลคนเดียวกันแต่แยกการบริหารออกเป็น 2 หน่วยงาน รายนามคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีดังนี้", "title": "คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "5519#193", "text": "ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ - นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ราชบัณฑิตและหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[294] ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประมวล วีรุตมเสน - ผู้บุกเบิกเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ของประเทศไทย ศาสตราจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[295][296] หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช - นายกรัฐมนตรี คนที่ 6 ของประเทศไทย ผู้จัดตั้งจัดตั้งขบวนการเสรีไทย อดีตอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและอดีตนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[297] พระเจริญวิศวกรรม - ผู้วางรากฐานให้แก่วงการวิศวกรรมศาสตร์ของประเทศไทย", "title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "5519#12", "text": "ระหว่าง พ.ศ. 2476–2486 การจัดการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง โดยมีการโอนย้ายส่วนราชการออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบางส่วนเพื่อจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ขึ้น กล่าวคือ เมื่อ พ.ศ. 2476 มีการโอนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ไปขึ้นตรงกับมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปัจจุบัน)[45] และ พ.ศ. 2486 มีการโอนย้ายคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล แผนกอิสระทันตแพทยศาสตร์ แผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ และแผนกอิสระเภสัชกรรมศาสตร์ เพื่อตั้งเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน)[46] อย่างไรก็ตาม คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ ยังคงใช้สถานที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อจัดการศึกษาอยู่ ดังนั้น ทั้ง 3 คณะจึงโอนกลับมาเป็นคณะวิชาในสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งในระยะต่อมา[47][48]", "title": "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "32955#11", "text": "การอุทิศร่างกายมีส่วนสำคัญในการพัฒนาการศึกษาด้านแพทยศาสตร์เป็นอย่างมาก ผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาจะถูกเรียกว่า \"อาจารย์ใหญ่\" เพราะนอกจากท่านจะเป็นผู้ให้ความรู้โดยละเอียดด้านกายวิภาคศาสตร์ได้สมบูรณ์แบบและเสมือนจริงที่สุดอย่างไม่มีสิ่งใดทดแทนได้ให้แก่นิสิตแพทย์แล้ว อาจารย์ใหญ่แต่ละร่างยังเป็นผู้ฝึกอบรมทักษะการช่วยชีวิตผู้ป่วยและการผ่าตัดขั้นสูงด้วย ซึ่งในแต่ละปี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำเป็นต้องใช้ร่างอาจารย์ใหญ่มากกว่า 300 ท่าน ประชาชนทั่วไปสามารถศึกษารายละเอียดและแสดงความจำนงเป็นผู้อุทิศร่างกายได้ที่ ศาลาทินทัต ด้านข้างอาคาร ภปร. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เวลา 08.30-16.30 น วันจันทร์-ศุกร์ (เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์) อย่างไรก็ตามคณะแพทยศาสตร์ไม่สามารถรับศพผู้อุทิศร่างกาย ดังนี้คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นโรงเรียนแพทย์ขนาดใหญ่ มีนิสิตทั้งระดับปริญญาบัณฑิต (ปริญญาตรี) และบัณฑิตศึกษา (สูงกว่าปริญญาตรี) รวมถึงแพทย์เพิ่มพูนประสบการณ์อีกเป็นจำนวนมาก ในแต่ละปีการศึกษามีการจัดการเรียนการสอนที่จำเป็นต้องเรียนรู้ผ่านร่างอาจารย์ใหญ่มากมาย มีการฝึกผ่าตัดเพื่อเพิ่มพูนทักษะ สร้างความแม่นยำในการรักษาแก่แพทย์ประจำบ้านและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญปีละกว่า 100 ครั้ง และมีแนวโน้มที่จะมีการฝึกผ่าตัดกับร่างอาจารย์ใหญ่มากขึ้นทุกปี อาจารย์ใหญ่จึงเป็นบุคคลสำคัญอย่างมากในการศึกษาด้านแพทยศาสตร์ทุกระดับ ผู้อุทิศร่างกายทุกท่านถือเป็นบุคคลสำคัญและมีคุณูปการอย่างที่สุดต่อวงวิชาการทางการแพทย์และการศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสภากาชาดไทย อันจจะนำมาสู่การสร้างบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถระดับสูง และวิทยาการทางการทางการแพทย์ใหม่ ๆ ที่จะเป็นความหวังของผู้ป่วยทั่วประเทศไทย", "title": "คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "32955#2", "text": "ในปัจจุบัน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีภาควิชาที่ทำการเรียนการสอนอยู่ 21 ภาควิชา และมีหน่วยงานภายใน 9 หน่วยงาน โดยแต่ละภาควิชาจะมีฐานะเป็นแผนกหนึ่งของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยและคณะบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นบุคคลคนเดียวกัน นอกจากนี้คณาจารย์ในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังปฏิบัติหน้าที่เป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อีกด้วย", "title": "คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "32955#0", "text": "คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพระราชกฤษฎีกาประกาศตั้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490 โดยสังกัดอยู่ภายใต้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จนกระทั่งถูกโอนมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2510 เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ของประเทศไทย ถือกำเนิดจากพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 การดำเนินการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งนี้เริ่มขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงเพียงแปดเดือนเท่านั้น ถือเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทย ประสบความยากลำบากทางการเมืองและเศรษฐกิจ อีกทั้งจำเป็นต้องมีการบูรณะบ้านเมืองที่เสียหายจากการทิ้งระเบิด คณะแพทยศาสตร์แห่งนี้จึงเป็นหนึ่งในการพัฒนาวงการสาธารณสุขของประเทศ ในช่วงเวลาที่ประเทศกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ควบคู่ไปกับการพัฒนามาตรฐานแพทยศาสตรศึกษา ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์ความร่วมมือขององค์การอนามัยโลก 3 สาขา ได้แก่ ศูนย์ความร่วมมือด้านแพทยศาสตรศึกษา ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยการสืบพันธุ์ของมนุษย์ ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยและฝึกอบรมด้านไวรัสและโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ", "title": "คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "28869#15", "text": "ตามข้อตกลงระหว่างมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และสภากาชาดไทย ในปี พ.ศ. 2490 ให้คณบดีคณะแพทยศาสตร์และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นบุคคลคนเดียวกันแต่แยกการบริหารออกเป็น 2 หน่วยงาน แม้ว่าคณะแพทยศาสตร์จะถูกโอนมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ข้อตกลงนี้ยังคงใช้ปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน รายนามผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีดังนี้", "title": "โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์" }, { "docid": "16160#0", "text": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2511 ในยุคของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ซึ่งแรกก่อตั้งใช้ชื่อว่า \"คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์\" เนื่องจากในเวลานั้นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้โอนย้ายสังกัดคณะเภสัชศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาก่อนหน้าแล้ว (คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปัจจุบัน) ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น \"มหาวิทยาลัยมหิดล\" จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น \"คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท มหาวิทยาลัยมหิดล\" ในปี พ.ศ. 2515 ได้โอนคณะเภสัชศาสตร์เดิม ที่ถูกโอนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสมัยมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์กลับไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงตัดสร้อย \"พญาไท\" ของคณะใหม่ออกกลายเป็น \"คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล\" เช่นในปัจจุบัน", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล" }, { "docid": "5374#8", "text": "เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้น โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรกำหนดฐานะระเบียบแบบแผนสำหรับการศึกษาในกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ กระทรวงการสาธารณสุข โดยแยก คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล แผนกอิสระทันตแพทยศาสตร์ แผนกอิสระเภสัชศาสตร์ และแผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดตั้งเป็น \"มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์\"[12] สังกัดกระทรวงการสาธารณสุข โดยได้จัดตั้งคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยมากมาย เช่น คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ คณะอายุรศาสตร์เขตร้อน บัณฑิตวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ พญาไท และคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท ตามลำดับ ต่อมาได้มีการปฏิรูปครั้งใหญ่ โดยการโอนคืนคณะที่ซ้ำซ้อนต่าง ๆ ออกจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ไปเป็น คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ไปเป็น คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ไปเป็น คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ โอนไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย", "title": "มหาวิทยาลัยมหิดล" }, { "docid": "363170#1", "text": "โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2499 เป็นโรงพยาบาลในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่ง มีชื่อเดิมคือคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นในสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) และเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่ 3 ของประเทศไทยต่อจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ หรือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปัจจุบัน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยการนับจำนวนเตียง ปี พ.ศ. 2558 และมีความเป็นมาดังนี้", "title": "โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่" }, { "docid": "32969#0", "text": "คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2478 โดยมีพันธกิจหลักในด้านการเรียนการสอน การวิจัยและบริการวิชาการทางด้านสัตวแพทย์ ปัจจุบันคณะสัตวแพทยศาสตร์ เปิดสอนแผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ถูกโอนย้ายไปสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์(ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยมหิดล) ในปี พ.ศ. 2486 ก่อนจะถูกโอนย้ายสังกัดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2497 เข้าสู่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้ปรับปรุงหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์ จาก 5 ปีเป็น 6 ปี โดยศึกษาเตรียมสัตวแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากนั้นศึกษาระดับปรีคลินิกและคลินิกที่คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ ในพื้นที่เดิมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาในปี พ.ศ. 2507 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำเรื่องถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อขอโอนคณะสัตวแพทยศาสตร์ซึ่งยังคงตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกลับคืนเช่นเดิม แต่ทางสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไม่เห็นด้วย จึงเตรียมสร้างอาคารสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อย้ายออกจากพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม คณะสัตวแพทยศาสตร์ได้ทำเรื่องไม่ขอย้ายออกจากที่ตั้งเดิม และขอโอนกลับไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2510 ส่วนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เปิดหลักสูตรสัตวแพทย์ศาสตร์ขึ้นมาในพื้นที่ที่ได้จัดเตรียมไว้แล้ว และแยกการบริหารกับส่วนที่โอนคืนให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ", "title": "คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "4284#38", "text": "เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลมีพระราชปรารภต่อรัฐบาลในสมัยนั้น เรื่องการผลิตแพทย์เพิ่มให้เพียงพอต่อประชาชน อันเป็นจุดกำเนิดโรงเรียนแพทย์แห่งที่ 2 ของประเทศ ซึ่งปัจจุบัน คือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ คณะกรรมการบริหารสมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาลงกรณ์ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จึงได้ติดต่อให้ คุณไข่มุกด์ ชูโต เป็นผู้ออกแบบปั้นพระบรมราชานุสาวรีย์ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์แท่นประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2528 และ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 พระบรมรูปหล่อด้วยส่วนผสมของทองเหลืองและทองแดง มีขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของพระองค์จริง ประทับนั่งเหนือพระเก้าอี้ ผินพระพักตร์ไปทางเบื้องขวาเล็กน้อย ประดิษฐาน ณ ลานหน้าอาคาร อานันทมหิดล ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์[27]", "title": "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร" }, { "docid": "86226#1", "text": "ในประเทศไทย คาดว่า คำว่า สัตวแพทย์ พล.ต. ม.จ.ทองฑีฆายุ ทองใหญ่ ผู้ซึ่งเป็นพระบิดาของวิชาสัตวแพทย์สมัยใหม่ เป็นผู้ใช้คำนี้ โดยทรงก่อตั้งโรงเรียนอัศวแพทย์ทหารบก ซึ่งได้พัฒนาต่อมาเป็นโรงเรียนนายสิบสัตวแพทย์ และ โรงเรียนนายดาบสัตวแพทย์ทหารบก ตามลำดับ ซึ่งถือว่าเป็นการศึกษาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ครั้งแรกของประเทศไทย โดยต้องการผลิตกำลังพลป้อนกองทัพ และได้พัฒนาเป็นแผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ ตั้งอยู่ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศาสตราจารย์ พันโท หลวงชัยอัศวรักษ์ เป็นปฐมคณบดี ซึ่งถือว่าเป็นการศึกษาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ ในสถานศึกษาพลเรือนเป็นครั้งแรก เพื่อผลิตสัตวแพทย์ ในระดับปริญญา ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ สังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายพัฒนาประเทศในสมัยนั้น รัฐบาลได้โอนคณะสัตวแพทยศาสตร์มาสังกัด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปีพุทธศักราช 2497 โดยมีการเรียนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน จำนวน 2 ปี และไปเรียนที่ถนน อังรีดูนัง อีก 4 ปี ต่อมาได้มีการย้ายกิจการคณะไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจัดตั้งเป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบันเมื่อปี พุทธศักราช 2510 แต่ก็ยังมีอาจารย์และนิสิตส่วนหนึ่งอยู่พัฒนาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อไป โดยได้เชิญอธิบดีกรมปศุสัตว์ในสมัยนั้น คือ ศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.จักร พิชัยรณรงค์สงคราม เป็นคณบดี และถือว่า ท่านคือ บิดาของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์", "title": "สัตวแพทย์" }, { "docid": "32955#20", "text": "คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลิตบุคลากรทางด้านการแพทย์ ทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก โดยคณาจารย์และศิษย์เก่าได้รับรางวัลมากมายทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เช่น นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น , เมธีวิจัยอาวุโส สกว. , นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ นอกจากนี้ ศิษย์เก่ายังมีบทบาททางการเมือง การปกครอง และการบริหารต่าง ๆ นิสิตเก่าและคณาจารย์ที่มีชื่อเสียง เช่นคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ในพื้นที่ของสภากาชาดไทย มีอาคารเรียนและอาคารฝึกปฏิบัติหลายแห่ง เพื่อรองรับอุปกรณ์การแพทย์ บุคลากรและนิสิตที่มีจำนวนมากและผู้เข้ารับการบริการทางการแพทย์ รวมถึงรถยนต์ที่มากตามจำนวนคน ที่ตั้งที่อยู่ใจกลางเขตเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานครนี้มีข้อจำกัดในการขยายตัว อาคารหลายหลังจึงเป็นอาคารสูงและหลายหลังมีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น อาทิ อาคารอำนวยการหลังแรกของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบศิลปะตะวันตก อาคารสถาปัตยกรรมร่วมสมัยอย่างอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ซึ่งอาคารเหล่านี้เป็นจุดสังเกตสำคัญในการเดินทางมายังคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย \nด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร คณะกรรมการบริหารสมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาลงกรณ์ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จึงดำเนินการขอพระบรมราชานุญาตจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เพื่อประดิษฐานหน้าอาคาร อานันทมหิดล โดยได้ติดต่อคุณไข่มุก ชูโต เป็นปฏิมากรผู้ออกแบบปั้นพระบรมรูป ซึ่งหล่อด้วยส่วนผสมของทองเหลืองและทองแดง มีขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของพระองค์จริง ประทับนั่งเหนือพระเก้าอี้ ผินพระพักตร์ไปทางเบื้องขวาเล็กน้อย โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินวางศิลาฤกษ์แท่นประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2528 และ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเททองหล่อพระบรมรูป เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2528 หลังการดำเนินการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์แล้วเสร็จ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 อนึ่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ เป็นประจำทุกปีสืบเนื่องเป็นประจำทุกปี ปัจจุบันพระบรมราชานุสาวรีย์ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานด้านหลังอาคารแพทยพัฒน์ ด้านหน้าอาคาร อปร. ", "title": "คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "27944#0", "text": "คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีประวัติความสืบเนื่องจากการเปิดสอนหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ของโรงเรียนเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจุบัน คือ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล) ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อปี พ.ศ. 2502 ซึ่งต่อมาได้มีการโอนคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดลในส่วนที่ตั้งอยู่ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มาสังกัดแผนกวิชาเวชศาสตร์ชันสูตร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2514 และมีการพัฒนาขึ้นเป็นภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนกระทั่ง จัดตั้งเป็นคณะสหเวชศาสตร์เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 ซึ่งนับเป็นคณะลำดับที่ 17 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและถือเป็นคณะสหเวชศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย โดยมีหน้าที่ในการผลิตบัณฑิตสาขาวิชาในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพต่าง ๆ ทั้งเทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด และรังสีเทคนิคเป็นต้น", "title": "คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "32949#0", "text": "คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย จัดตั้งเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 มีฐานะเป็นแผนกอิสระทันตแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยแต่งตั้งให้ศาสตราจารย์ พ.อ.หลวงวาจวิทยาวัฑฒน์ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกอิสระคนแรกและต่อมาได้ดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรกเช่นกัน [1] ปี 2559 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะทันตแพทยศาสตร์อันดับ 1 ของประเทศไทย จากการจัดอันดับของ QS World University Rankings by Subject 2016", "title": "คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "32955#10", "text": "หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก\nหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต\nหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก จำนวน 24 หลักสูตร ได้แก่\nหลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต จำนวน 3 หลักสูตร และเปิดสอนหลักสูตรสหสาขาวิชาร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 4 หลักสูตร ได้แก่\nคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จัดตั้งศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในสาขาต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการบริการทางการแพทย์และความก้าวหน้าทางวิชาการ ดังนี้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัยให้กับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยได้หลายวิธี ดังนี้", "title": "คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "36111#5", "text": "ในระหว่างเสด็จฯ นิวัตประเทศไทย เป็นครั้งที่สอง พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จฯ ไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในรัชสมัยของพระองค์ และเมื่อวันที่ 23 เมษายน เสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (หรือมหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) เป็นครั้งสุดท้ายในรัชสมัย โดยในครั้งนั้น มีพระราชประสงค์ให้ผลิตแพทย์เพิ่มขึ้นให้เพียงพอแก่ประชาชน เพราะขณะนั้นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์รับนักศึกษาแพทย์ได้เพียงปีละ 50 คน ต่อมาจึงก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (หรือคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน) เพื่อรองรับการผลิตแพทย์เพิ่มตามพระราชประสงค์ดังกล่าว ", "title": "พิธีสำเร็จการศึกษา" }, { "docid": "28869#3", "text": "นอกจากการรักษาพยาบาลผู้ป่วยแล้ว โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ยังทำหน้าที่เป็นสถานฝึกอบรมนิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักศึกษาพยาบาลของสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย นิสิตคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนิสิต-นักศึกษาจากสถาบันอื่น ๆ ด้วย\nศูนย์ความร่วมมือขององค์การอนามัยโลก (WHO Collaborating Centre) ที่ตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีดังนี้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นหน่วยงานในสังกัดของสภากาชาดไทยซึ่งเป็นองค์กรสาธารณกุศลไม่แสวงหาผลกำไร จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการสนับสนุนจากภาคประชาชนเพื่อดำเนินการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะเมื่อมีความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้โรงพยาบาลมีภารกิจหลากหลายด้านมากขึ้น เช่น ให้บริการการรักษา ร่วมกับคณะแพทย์จัดการศึกษาเพื่อผลิตแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถสู่สังคม ซึ่งล้วนเป็นเรื่องสำคัญและใช้ทรัพยากรมาก ด้วยเหตุนี้โรงพยาบาลจึงเปิดรับความช่วยเหลือจากภาคประชาชนหลายด้าน อาทิ", "title": "โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์" }, { "docid": "16208#8", "text": "วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2512 มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดลประกาศใช้หลังได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานนาม \"มหิดล\" แทนชื่อ \"มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์\" ต่อมาคณะปฏิวัติได้มีคำสั่ง ให้โอนคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลยมหิดล แห่งนี้ (ณ ตำบลวังใหม่) กลับเข้าสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 118 ลงวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2515[10] จึงเปลี่ยนชื่อเป็น \"คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย\" จวบจนปัจจุบัน และได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2538 (ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 118 ลงวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2515 ว่าด้วยการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์และคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกใช้บังคับในระหว่างที่มีการปกครองโดยคณะปฏิวัติและใช้ชื่อว่าประกาศของคณะปฏิวัติ สมควรปรับปรุงรูปแบบและบทบัญญัติของกฎหมายตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวให้เป็นพระราชกฤษฎีกา เพื่อให้เป็นไปตามวิธีการตรากฎหมายในระบบปกติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้)[11]", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "32955#12", "text": "ปัจจุบันการอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาให้กับคณะแพทศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถทำได้ง่ายขึ้นผ่านระบบลงทะเบียนออนไลน์ ทางเว็บไซต์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ซึ่งเป็นสถานปฏิบัติการ (โรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์) ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเลือกเมนู อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา", "title": "คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" }, { "docid": "16208#4", "text": "การศึกษาด้านเภสัชศาสตร์เริ่มต้นการสอนแผนกแพทย์ผสมยาหรือในอีกชื่อหนึ่งว่า \"โรงเรียนปรุงยา\" ในสังกัดโรงเรียนราชแพทยาลัย เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2457 เมื่อจบการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรแพทย์ปรุงยา โดยมีนักเรียนจบการศึกษาในรุ่นแรก 4 คน ต่อมาได้มีการประดิษฐานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้น กระทรวงธรรมการจึงได้ประกาศให้รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้ามาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2460 เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) การศึกษาด้านเภสัชศาสตร์จึงได้ยกระดับขึ้นสู่ระดับอุดมศึกษา[2] โดยใช้สถานที่ทำการสอนบริเวณวังวินด์เซอร์ เรือนนอนหอวังและโรงพยาบาลศิริราช ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ปทานุกรมของไทยได้กำหนดให้บัญญัติใช้คำว่า \"เภสัชกรรม\" แทนคำว่า \"ปรุงยา\" หรือ \"ผสมยา\"[4] จึงได้มีประกาศกระทรวงธรรมการให้มีการเปลี่ยนชื่อแผนกเป็น \"แผนกเภสัชกรรม\" ในสังกัดของคณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[5] ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2477 บังคับใช้ขึ้น โดยกำหนดจัดตั้งแผนกเภสัชกรรมศาสตร์ มีฐานะเป็นแผนกอิสระในบังคับบัญชาโดยตรงของมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกับแผนกสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้ยกระดับวุฒิการศึกษาเป็น \"ประกาศนียบัตรเภสัชกรรม (ป.ภ.)\" เทียบเท่าอนุปริญญา โดยให้คณบดีคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รักษาการตำแหน่งหัวหน้าแผนกเภสัชกรรมศาสตร์อีกตำแหน่งหนึ่ง", "title": "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" } ]
153
กัมพูชามีขนาดพื้นที่เท่าไหร่?
[ { "docid": "1937#0", "text": "กัมพูชา หรือ ก็อมปุเจีย[10] ([កម្ពុជា กมฺพุชา]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help)) ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรก็อมปุเจีย ([ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា พฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา]error: {{lang-xx}}: text has italic markup (help)) เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย", "title": "ประเทศกัมพูชา" } ]
[ { "docid": "128674#0", "text": "ขุนหาญ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจากอำเภอกันทรลักษ์ อำเภอขุขันธ์ และอำเภอภูสิงห์ ตามลำดับ และเป็นหนึ่งในสามอำเภอของจังหวัดศรีสะเกษที่มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศกัมพูชา และยังเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกเงาะ ทุเรียนที่มีชื่อเสียงของจังหวัดศรีสะเกษอีกด้วย", "title": "อำเภอขุนหาญ" }, { "docid": "41783#0", "text": "ทะเลสาบเขมร หรือ โตนเลสาบ ( \"บึงทนฺเลสาบ\") เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของประเทศกัมพูชา มีพื้นที่ ประมาณ 7,500 ตารางกิโลเมตร หรือใหญ่กว่ากรุงเทพฯ ประมาณ 7 เท่า ความลึกโดยเฉลี่ย อยู่ที่ 10 เมตร และเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมพื้นที่บริเวณรอบ ๆ ทำให้โตนเลสาบขยายตัวออกกว้างมากถึง 6 เท่า ทะเลสาบเขมรเกิดจากแม่น้ำโขง ซึ่งแม่น้ำโขงไหลผ่านมีความยาวถึง 500 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัดของกัมพูชา ได้แก่ กำปงธม กำปงชนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และเสียมราฐ เป็นทะเลสาบที่มีปลาน้ำจืดชุกชุมมากแห่งหนึ่งประมาณ 300 ชนิด จึงมีชาวกัมพูชาเป็นจำนวนมากที่ประกอบอาชีพประมงในบริเวณทะเลสาบแห่งนี้", "title": "โตนเลสาบ" }, { "docid": "3753#10", "text": "หลังการก่อกำเนิดดาวเคราะห์แล้ว ดาวเคราะห์ทั้งหมดล้วนเผชิญ \"การระดมชนหนักครั้งหลัง\" กว่าร้อยละ 60 ของพื้นที่ผิวดาวอังคารแสดงบันทึกเหตุการณ์การระดมชนจากยุคนั้น ในขณะที่เป็นไปได้ว่าพื้นที่ผิวส่วนที่เหลืออีกมากมายวางตัวอยู่ภายใต้แอ่งขนาดมโหฬารซึ่งก็เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าว มีหลักฐานของแอ่งพุ่งชนขนาดมหึมาในบริเวณซีกโลกเหนือของดาวอังคารซึ่งแผ่ขยายกว้างราว 8,500 กิโลเมตร และยาวร่วม 10,600 กิโลเมตร หรือมีขนาดใหญ่เป็นสี่เท่าของแอ่งไอต์เค็น-ขั้วใต้ของดวงจันทร์ ทำให้เป็นแอ่งจากการพุ่งชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบ ทฤษฎีนี้เสนอว่าดาวอังคารถูกพุ่งชนโดยวัตถุขนาดเท่าดาวพลูโตเมื่อประมาณสี่พันล้านปีก่อน และคาดว่าเหตุการณ์นี้เองเป็นสาเหตุทำให้ดาวอังคารมีซีกดาวแตกต่างกันเป็นสองลักษณะอย่างชัดเจน เกิดแอ่งบอเรียลิสอันราบเรียบปกคลุมพื้นที่กว่าร้อยละ 40 ทางซีกเหนือของดาวเคราะห์\nประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาของดาวอังคารสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายช่วงเวลา แต่สำหรับช่วงเวลาหลักแล้วสามารถแบ่งได้เป็นสามยุคด้วยกัน", "title": "ดาวอังคาร" }, { "docid": "369914#6", "text": "ทักษะพื้นฐาน 2.5/5 อย่างที่บอกในช่วงแรกว่าเคลลี่ไม่ใช่คนที่มีพื้นฐานทางด้านกีฬามามาก แต่เวลาออกท่าพื้นฐานแล้วออกมาได้สวยและแม่นยำ (แม้ว่าจะอืดอาดกว่าจะออกแต่ละทีก็เถอะ) หลังๆมาก็พัฒนาการถีบได้สวยขึ้นมาก พื้นฐานโอเคในระดับหนึ่งแหละ\nความคล่องตัว 2/5 จุดแรกของเคลลี่ที่สังเกตมานานมากตั้งแต่สมัยเข้ามาใหม่ๆ เคลลี่กว่าจะออกท่าแต่ละทีอืดอาดยืดยาดมากๆ แม้ว่าปัจจุบันจะพัฒนาเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่ถ้าเทียบกับคนอื่นก็ยังอยู่มนระดับ \"ช้า\"อยู่ดี\nเทคนิค/ท่าต่างๆ 2.5/5 ไม่ค่อยมีเทคนิคอะไรใหม่ๆมาใช้มากนัก (ก็แหม ท่าพื้นฐานยังพึ่งพัฒนาจนเอาออกมาใช้ได้ไม่นานมานี้เอง) แต่ได้เท่านี้ก็ถือว่าโอเคแล้วแหละ\nไหวพริบ 3/5 บางทีเคลลี่ก็ดูมีสติไตร่ตรองดี ไหวพริบเลิศ สายตาประสานแล้วหลบท่าต่างๆได้ดี แต่ในบางทีเคลลี่ก็เดินดุ่มๆเข้าไปจะโจมตี (ซึ่งแน่นอนว่าโดนสวนกลับออกมาแหงแซะ)\nร่างกาย 3/5 ถึกเกินกว่าที่คาดไว้มาก สามารถเล่นบทรับท่าหนักๆจากผู้ชายได้(ในยุคแรกโดน Mike Knox ใส่ท่าไม้ตาย) เวลาปล้ำดูไม่ค่อยเหนื่อยสักเท่าไหร่ ดูเป็นคนแบ่งจังหวะลมหายใจได้ดี แต่ด้วยร่างกายที่ผอมบาง การที่ทนได้ขนาดนี้ก็ถือว่าสุดยอดละ", "title": "เคลลี เคลลี" }, { "docid": "291799#2", "text": "เหมือนจะเป็นคนเลวแต่จริงๆแล้วก็เป็นคนเลวนั่นแหละ มีจิตใจดีอยู่ข้างในหน่อยเดียว แต่ก็ทำเพื่อคนรักได้ทุกอย่างเพื่อปกป้องพวกเขา ต่อมามีด้านดีมาปลูกฝังก็เลยบดบังความเลวที่ได้ก่อไว้ในอดีต ลักษณะเวจิต้าจะออกแนวห้าวๆ ปากไม่ตรงกับใจเท่าไหร่ อินดี้มาก ปากร้าย จิตใจดีจริงๆเป็นคนอ่อนไหว บางทีก็ไม่รู้วิธีปฏิบัติกับคนอื่น อาจจะเพราะถูกตามใจ เอาแต่ใจ แต่เริ่มมีด้านดีมากขึ้นในช่วงการต่อสู้กับจอมมารบู รักครอบครัวมาก แต่แสดงออกให้เห็นไม่มาก เบจิต้าซึ่งเป็นเจ้าชายแห่งชาวไซย่าจึงทำให้หยิ่งพยองในศักดิ์ศรีเป็นอย่างมาก เกียรติอันสูงส่งแม้ขนาดจอมเวทย์บาบิดี้ยังควบคุมได้ไม่เต็มที่ทำให้เป็นจุดแข็งของเบจิต้าฟรีเซอร์(อดีตเคยกลัว),เทพเจ้าแห่งการทำลายล้าง,การพ่ายแพ้,หนอน", "title": "เบจิต้า" }, { "docid": "569316#11", "text": "อย่างไรก็ตาม ในสมัยก่อน สโมสรเจลีกไม่ค่อยจะจริงจังกับการแข่งชันเอเชียนแชมเปียนส์ลีกเท่าไหร่นักเนื่องจากต้องเดินทางไกลและคุณภาพของทีมที่ต้องแข่งด้วยนั้นยังไม่น่าสนใจเท่าไหร่ แต่ในปี 2008 มีทีมญี่ปุ่นผ่านเข้าไปสู่รอบก่อนรองชนะเลิศถึง 3 ทีมด้วยกัน", "title": "เจลีก ดิวิชัน 1" }, { "docid": "17455#7", "text": "มีผมที่ยาวขึ้น ไม่มีคิ้ว มีนัยน์ตาเป็นสีฟ้า และมีสายฟ้ารอบตัว เป็นร่างที่พัฒนามาจากซุปเปอร์ไซย่า 2 โดยร่างนี้เกิดจากการฝึกฝนอย่างหนัก โดยจะมีพลังและความเร็วเพิ่มขึ้นจากเดิม 400 เท่า เป็นร่างที่ใช้พลังงานมากและร่างกายจะได้รับภาระอย่างหนัก จึงไม่ค่อยได้ใช้สักเท่าไหร่ โดยจะปรากฏตัวครั้งแรกในช่วงที่สู้กับจอมมารบู", "title": "ซง โกคู" }, { "docid": "441329#5", "text": "มีลักษณะป็นที่ราบและเทือกเขาสูงชัน อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลระหว่าง 200-476 เมตรจึงเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สามารถส่งน้ำไปช่วยเหลือและพัฒนาพื้นที่ราบชายแดนในโครงการต่างๆ มีลำห้วยที่สำคัญหลายสายคือ ห้วยสิงห์ ห้วยประเดก ห้วยขนาดมอญ ห้วยจรัส ห้วยหมอนแบก ห้วยสำราญ ห้วยเสียดจะเอิง ห้วยจำเริง ฯลฯ จึงมีการสร้างอ่างเก็บน้ำขึ้นในพื้นที่ เช่น อ่างเก็บน้ำจรัส อ่างเก็บน้ำขนาดมอญ อ่างเก็บน้ำขยอง อ่างเก็บน้ำห้วยสิงห์ อ่างเก็บน้ำห้วยเขิง อ่างเก็บน้ำห้วยด่าน อ่างเก็บน้ำตาเกาว์และอ่างเก็บน้ำห้วยจำเริง อันเป็นผลให้พื้นที่มีความชุ่มชื้นโดยทั่วไป มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ปราศจากการรบกวนกลายเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิดภูมิประเทศที่ติดแนวชายแดนมีความสวยงาม โดยเฉพาะใกล้เขตชายแดนประเทศไทยกับกัมพูชาประชาธิปไตย พื้นที่ยิ่งสูงขึ้นเป็นป่าทึบ มีภูเขาสลับซับซ้อนตลอดแนวชายแดนและเป็นหุบเหว มีหน้าผาลึกไปทางกัมพูชา", "title": "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ" }, { "docid": "901764#4", "text": "ไม่ว่าระยะจะห่างไปเท่าไหร่ แต่ความสว่างของแสงรวมจะยังคงมีค่าเท่าเดิมตามระยะทาง ซึ่งหมายความว่า แสงแต่ละชั้นจะมีการเพิ่มความสว่างขึ้นมาเรื่อย ๆ และยิ่งมีชั้นเป็นอนันต์ ท้องฟ้ายามค่ำคืนจึงควรที่จะสว่าง", "title": "ปฏิทรรศน์ของออลเบอร์" }, { "docid": "142162#5", "text": "Spanning tree มันจะคุยกันโดยแต่ละตัวจะส่งข้อมูลเป็นชุดข้อมูลขนาดเล็ก ที่เรียกว่า Bridge Protocol Data Unit หรือ BPDU ทุกครั้งที่ส่ง BPDU มันจะบอกว่าตัวไหนคือ Root Bridge หรือใครคือ Root ID จากนั้นมันก็วิ่งไปที่ root ว่ามีค่า Cost เท่าไหร่ แล้วข้อมูล BPDU ใครเป็นคนส่งก็ดูจาก portที่มันส่ง BPDU มันก็จะบอกว่า Root Bridge คือตัวไหน และค่า Cost เท่าไหร่", "title": "เกณฑ์วิธีต้นไม้แบบทอดข้าม" }, { "docid": "49795#1", "text": "ภาพถ่ายที่ดีนั้นจะต้องสะท้อนความจริงที่เกิดขึ้น สามารถสื่อเรื่องราวได้อย่างชัดเจนและถูกต้องการที่ตัวเองต้องชักว่าวแล้วถ่ายลงเฟส พร้อมโฆษณาหนังโป๊หรือรอเมียเซ๊นก่อนครับแล้วดูขนาดของท่านด้วนนะครับว่าขนาดเท่าไหร่ เวลาเยสควรใส่ถุงด้วยนะครับขอบคุณครับภาพถ่ายในงานวารสารศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ภาพข่าว ภาพสารคดี และภาพโฆษณา", "title": "ภาพถ่าย" }, { "docid": "818941#1", "text": "จังหวัดตโบงฆมุมก่อตั้งขึ้นตามประกาศราชกิจจานุเบกษาโดยพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ตามการทูลแนะนำของรัฐบาลฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา โดยแยกออกมาจากจังหวัดกำปงจาม ด้วยเหตุผลอย่างเห็นได้ชัดเจนในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของจังหวัดขนาดใหญ่ การแยกพื้นที่บางส่วนของจังหวัดกำปงจามออกมาตั้งเป็นจังหวัดตโบงฆมุมนี้เกิดขึ้นหลังการพ่ายแพ้การเลือกตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 ของพรรคประชาชนกัมพูชาของฮุน เซน ในพื้นที่จังหวัดกำปงจาม จังหวัดบ้านเกิดของเขา โดยพรรคประชาชนกัมพูชาสามารถเอาชนะได้เพียง 8 ที่นั่งจากทั้งหมด 18 ที่นั่งในสภาจังหวัด เขตการเลือกตั้งทั้ง 10 อำเภอที่ยังคงอยู่ในกำปงจามในตอนนี้ได้เทคะแนนอย่างท่วมท้นให้แก่พรรคฝ่ายตรงข้ามคือ พรรคสงเคราะห์ชาติกัมพูชา ซึ่งนำโดยสม รังสี ส่วนที่เหลือ 5 จาก 6 อำเภอซึ่งปัจจุบันอยู่ในจังหวัดตโบงฆมุม พรรคประชาชนกัมพูชาเป็นฝ่ายชนะการเลือกตั้ง", "title": "จังหวัดตโบงฆมุม" }, { "docid": "97505#2", "text": "ขนาดของจอภาพจะวัดจากมุมหนึ่งของจอ ไปยังอีกมุมหนึ่งในแนวทแยงที่อยู่ตรงข้ามกัน แต่ปัญหาหนึ่งของการวัดแบบนี้คือไม่สามารถแยกแยะได้ว่าจอภาพจะมี[[อัตราส่วนลักษณะ]] (aspect ratio) เท่าใด แม้ว่าจะมีขนาดทแยงมุมเท่ากัน เนื่องด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า[[รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า]]จะมีพื้นที่น้อยกว่า[[รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส]]เมื่อกำหนดให้[[เส้นทแยงมุม]]ยาวเท่ากัน ตัวอย่างเช่น จอภาพ 21 นิ้วในอัตราส่วน 4:3 มีพื้นที่ประมาณ 211 ตารางนิ้ว ในขณะที่จอภาพ[[ไวด์สกรีน]] 21 นิ้วในอัตราส่วน 16:9 จะมีพื้นที่แสดงผลเพียง 188 ตารางนิ้วเท่านั้น", "title": "จอภาพ" }, { "docid": "930988#1", "text": "เหตุการณ์สุดพลิกผันกลางท้องฟ้าจากความระทึกสุดขั้วสู่ความกลัวสุดขีดตลอดเที่ยวบินเมื่อกลุ่มผู้โดยสารที่นำโดย “แบรด มาร์ติน” และ แอร์โฮสเตสสาว ต้องเผชิญหน้ากับอุบัติเหตุเหนือคาดฝันที่ส่งผลให้มีผู้โดยสารเสียชีวิต ก่อนที่ผู้โดยสารและลูกเรือแต่ละคนต้องประสบกับการจู่โจมของแรงอาฆาตเร้นลับซึ่งซ่อนตัวอยู่ในทุกพื้นที่ของเครื่องบินลำนี้ ยิ่งเครื่องบินทะยานใกล้โตเกียวมากขึ้นเท่าไหร่ ชีวิตของทุกคนในไฟลท์ “7500” ก็ยิ่งตกอยู่ในความหวาดผวามากขึ้นเท่านั้น ไร้ทางหนี ไม่ทีทางรอด หรือสุดท้ายเครื่องบินลำนี้กำลังจะต้องกลายเป็นสุสานบนน่านฟ้า!", "title": "7500 ไม่ตกก็ตาย" }, { "docid": "481120#1", "text": "หูฟังมีต้นกำเนิดมาจาก \"นาทาเนียล บอลด์วิน\" () นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เป็นผู้ประดิษฐ์ชุดหูฟังวิทยุคนแรก แรกเริ่มการคิดค้นยังไม่ได้รับความสนใจจากนักธุรกิจเท่าไหร่ จนกระทั่งช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาได้สั่งซื้อชุดหูฟัง 100 ชุด ทำให้วงการชุดหูฟังเป็นที่รู้จักมากขึ้น หลังจากนั้นนักบินสองคนซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทแพนทรอนิกส์ () ได้เริ่มผลิตชุดหูฟังที่มีน้ำหนักเบาเหมาะสำหรับการสวมใส่ โดยทดลองใช้ในเครื่องบินเป็นครั้งแรก เพื่อแก้ปัญหาความยากลำบากที่ได้รับจากการใช้หูฟังขนาดใหญ่ ทำให้หูฟังเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบันเพราะช่างโดม รวมทั้งพัฒนาให้มีการใช้งานไร้สายหรือที่เรียกกันว่า \"บลูทูธ\"", "title": "หูฟัง" }, { "docid": "184457#5", "text": "ในการเตรียมตัว ทำแอนิเมชัน ทีมงานพิกซาร์เดินทางไปทัศนศึกษาที่โรงงานรีไซเคิล เพื่อสังเกตการณ์การทำงานของเครื่องบดขนาดยักษ์ และเครื่องจักรกลอื่น ๆ เพื่อศึกษาหุ่นยนต์อย่างใกล้ชิด โดยทีมงานใช้หลักการ \"วัตถุดิบสมจริง\" คือการนำวัสดุธรรมดา ๆ มาออกแบบให้มีชีวิตและแสดงบุคลิกของหุ่นแต่ละตัว แต่ยังคงมีขีดจำกัดด้านกายภาพของแต่ละแบบดีไซน์เอาไว้ โดยสแตนตันพูดไว้ว่า \"เราอยากให้ผู้ชมเชื่อว่าพวกเขากำลังได้เห็นเครื่องจักรกลที่มีชีวิต ยิ่งพวกเขาเชื่อว่ามันเป็นเครื่องจักรมากเท่าไหร่ เรื่องราวก็ยิ่งมีเสน่ห์มากขึ้นเท่านั้น\"", "title": "วอลล์ - อี หุ่นจิ๋วหัวใจเกินร้อย" }, { "docid": "250076#1", "text": "ประตูชัยแห่งนี้สร้างตรงปลายสุดของถนนซึ่งอยู่คนละฟากฝั่งของกัมพูชา มีคลองลึกกั้นเขตแดน เชื่อมต่อเขตแดนกันโดยสะพานเหล็ก มีป้อม 2 ป้อม อยู่คนละฟากถนน มีลักษณะเหมือนกันเป็นรูปหกเหลี่ยมด้านเท่า สูง 15 เมตร ที่ฐานประตูทำเป็นห้องรักษาการณ์หกเหลี่ยมด้านเท่า ด้านละ 1.50 เมตร ย่อมนเล็กเรียว ลดหลั่นกันขึ้นไปเป็นลำดับจนถึงยอดบนสุดซึ่งเป็นหอคอยหกเหลี่ยมด้านเท่า ด้านละ 0.30 เมตร มีลับแลบังตาสำหรับสังเกตการณ์ได้ทุกด้าน ข้างบนสุดหอคอยมีครุฑพ่าห์อันเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย ประตูชัยแห่งนี้ได้ชำรุดทรุดโทรมจากภัยสงครามถูกปล่อยให้เป็นซากปรักหักพัง มานานถึง 18 ปี และได้รับการบูรณะซ่อมแซมเมื่อ พ.ศ. 2501 โดยคงรักษารูปลักษณ์เดิมไว้โดยเฉพาะที่ป้อมด้านซ้ายมือเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความกล้าหาญและเสียสละของทหารกล้า ร้อยโทสุรินทร์ ปั้นดี และเหล่าเพื่อนทหารผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งได้สละชีพและบาดเจ็บจากการสู้รบบริเวณชายแดนเพื่อชาติไว้ ณ ที่นั้น ส่วนด้านขวามือได้ก่อสร้างเป็นเสมาขนาดใหญ่หันหน้าไปทางกัมพูชาทำด้วยหินอ่อนสลักรูปครุฑไว้ด้านบนใต้ครุฑจารึกคำว่า \"ประเทศไทย\" ถัดลงมาได้อัญเชิญบทพระราชนิพนธ์สยามานุสสติ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมาจารึกไว้", "title": "ประตูชัยอรัญประเทศ" }, { "docid": "304130#45", "text": "เป็นการแข่งขันเล่นท่าทางต่างๆที่กรรมการกำหนดให้ทั้งหมด 25ท่าในประเภทของ Single A ซึ่งจะไล่ระดับความยากของท่าเล่นขึ้นไป โดยจะมีจุดหรือกรอบพื้นที่ เพื่อสำหรับแสดงท่าเล่นต่อกรรมการ ซึ่งผู็เล่นจะต้องเล่นท่าทางที่กรรมการกำหนดให้ในพื้นที่ที่กำหนดเท่านั้นไม่สามารถซ้อมท่าได้ หากต้องการจะตรวจสอบลูกหรือเชือกจะต้องออกจากจุดแสดงท่า โดยในการแข่งขัน ผู้เล่นจะต้องเล่นท่าที่กำหนดให้และเก็บเข้ามือให้สมบูรณ์ มีโอกาสพลาดได้เพียง 2ครั้งเท่านั้นตลอดการเล่น 25ท่า หากพลาดครั้งแรกที่ท่าใหนก็จะข้ามท่านั้นๆไป และพลาดครั้งที่สอง ก็จะจบการแข่งขัน ผู้ที่สามารถเล่นท่าได้มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ ถ้ามีผู้ที่สามารถเล่นได้ถึง25ท่า จะวัดกันที่การพลาดครั้งแรกว่าพลาดก่อนในท่าลำดับที่เท่าไหร่ ผู้ที่พลาดในลำดับหลังจะเป็นผู้ชนะ แต่ถ้าหากเล่นได้ครบ25ท่าโดยไม่พลาดหลายคน กรรมการจะมีท่าตัดสินโดยนับจำนวนครั้งในการทำท่า ผู้ที่ทำท่าได้จำนวนครั้งมากกว่าจะเป็นผู้ชนะ", "title": "โยโย่" }, { "docid": "8510#1", "text": "รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน", "title": "สงครามเวียดนาม" }, { "docid": "37703#3", "text": "หลังจากที่เข้าร่วมอย่างไม่ค่อยเต็มในเท่าไหร่ เธอก็ค่อยๆเปลี่ยนไปและเต็มใจจะอยู่กับฝ่ายนี้ในท้ายที่สุด เธอประมือกับทีม X-Men เธอเคยลอบสังหาร วุฒิสมาชิกเคลลี่ ด้วยแต่ก็ถูกขัดขวางไว้โดยมนุษย์กลายพันธุ์ฝ่ายดีทุกครั้ง แต่ยิ่งเธอใช้พลังมากเท่าไหร่ จิตใจของโร้คก็ยิ่งแตกสลายมากขึ้นเท่านั้น จนถึงขั้นที่เธอต้องเข้าพบจิตแพทย์ ฟางเส้นสุดท้ายของเธอกับมิสทีคขาดสะบั้นลง เมื่อโร้คตาสว่างพบว่าแท้จริงแล้วนี่คือแผนร้าย ที่อีกฝ่ายตั้งใจหลอกใช้กันมาตลอด เธอจึงหันหน้าเข้าหาศาสตราจารย์ทเอ็กซ์ และพลพรรคเอ็กซ์ทีม ขอร้องให้เธอควบคุมพลังให้ได้เสียที", "title": "โร้ค" }, { "docid": "394398#1", "text": "ขั้นตอนวิธีของควิน-แม็กคลัสกีย์เป็นขั้นตอนวิธีที่ช่วยในการลดรูปนิพจน์ตรรกะได้เมื่อข้อมูลขาเข้าที่มีปริมาณตัวแปรจำนวนมาก แต่ในการทำงานยังมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาอยู่ จึงควรดูขนาดของข้อมูลขาเข้า ว่ามีขนาดเท่าไหร่ และสมควรที่จะใช้วิธีการนี้หรือไม่ หากไม่สมควรควรจะเลือกใช้วิธีการอื่นที่สามารถลดนิพจน์ตรรกะได้ เช่น วิธีการเอกเพรซโซ่ ซึ่งเป็นวิธีการที่จะใช้ผ่านโปรแกรม", "title": "ขั้นตอนวิธีของควิน-แม็กคลัสกีย์" }, { "docid": "1942#16", "text": "เขตภูเขาสูง เป็นพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1,500 เมตรขึ้นไป พื้นที่นี้อยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศ เขตที่ราบสูง คือพื้นที่ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,000 เมตร ปรากฏตั้งแต่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงเมืองพวนไปจนถึงชายแดนกัมพูชา เขตที่ราบสูงนี้มีที่ราบสูงขนาดใหญ่อยู่ 3 แห่ง ได้แก่ ที่ราบสูงเมืองพวน (แขวงเชียงขวาง), ที่ราบสูงนากาย (แขวงคำม่วน) และที่ราบสูงบริเวณ (ภาคใต้) เขตที่ราบลุ่ม เป็นเขตที่ราบตามแนวฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำต่าง ๆ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในเขตพื้นที่ทั้ง 3 เขต นับเป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศ แนวที่ราบลุ่มเหล่านี้เริ่มปรากฏตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของแม่น้ำงึม เรียกว่า ที่ราบลุ่มเวียงจันทน์ ผ่านที่ราบลุ่มสุวรรณเขต ซึ่งอยู่ตอนใต้เซบั้งไฟและเซบั้งเหียง และที่ราบจำปาศักดิ์ทางภาคใต้ของลาว ซึ่งปรากฏตามแนวแม่น้ำโขงเรื่อยไปจนจดชายแดนประเทศกัมพูชา", "title": "ประเทศลาว" }, { "docid": "346092#0", "text": "ปลาแรดแดง หรือ ปลาแรดแดงอินโด (; ชื่อวิทยาศาสตร์: \"Osphronemus laticlavius\") เป็นปลาแรดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างโดยทั่วไปเหมือนปลาแรดชนิดอื่น ๆ แต่ทว่าปลาแรดแดงจะมีรูปร่างที่ยาวกว่า และพบได้เฉพาะในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียเท่านั้น มีลำตัวสีแดงสด ยิ่งเมื่อปลาโตขึ้นเท่าไหร่ สีดังกล่าวจะยิ่งเข้มตามด้วย จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ปลาแรดแดงจะมีการเจริญเติบโตช้ากว่าปลาแรดชนิดอื่น ๆ และขนาดเมื่อโตเต็มที่จัดว่าเป็นปลาแรดชนิดที่เล็กที่สุดด้วย กล่าวคือมีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตรเท่านั้น และมีนิสัยดุร้ายก้าวร้าวน้อยที่สุด ตัวผู้และตัวเมียมีจุดสีดำเหนือโคนครีบอกทั้งคู่ แตกต่างกันตรงที่ขนาดของลำตัว ", "title": "ปลาแรดแดง" }, { "docid": "4735#0", "text": "พื้นที่ คือ ปริมาณของพื้นผิวหรือรูปร่างสองมิติ ที่แสดงถึงขอบเขตเนื้อที่ในแนวแผ่นระนาบ พื้นที่สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นจำนวนวัสดุที่หนาขนาดหนึ่งเท่าที่จำเป็นที่จะประกอบขึ้นเป็นรูปร่าง หรือปริมาณสีทาเท่าที่จำเป็นที่จะทาผิวหน้าในครั้งเดียว พื้นที่เป็นมโนทัศน์ในสองมิติที่คล้ายคลึงกับความยาวของเส้นโค้งในหนึ่งมิติ หรือปริมาตรของทรงตันในสามมิติ", "title": "พื้นที่" }, { "docid": "824091#0", "text": "รักนิด ๆ คิดเท่าไหร่ เป็นละครโทรทัศน์แนวโรแมนติก-คอมเมดี้ บทประพันธ์ของ นุกูล บุญเอี่ยม, วัชระ ปานเอี่ยม บทโทรทัศน์โดย พิสุทธิ์ แพร่แสงเอี่ยม กำกับการแสดงโดย นุกูล บุญเอี่ยม ผลิตโดย บริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัดออกอากาศทุกวันเสาร์–อาทิตย์ เวลา 11.00–11.45 น. ทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 นำแสดงโดย เคลลี่ ธนะพัฒน์, น้ำฝน โกมลฐิติ และนักแสดงชั้นนำอีกมากมาย", "title": "รักนิด ๆ คิดเท่าไหร่" }, { "docid": "246246#1", "text": "ถึงแม้ว่าเขาจะประสบความสำเร็จ แต่ต่อมาเขาก็ละจากการร่วมงานกับค่ายเอสบีเค ซึ่งได้ให้เขาทำงานผลงานตลาดมากขึ้นและผลิตตีพิมพ์ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเขาที่ไม่ได้ผ่านการเล่าเรื่องจากเขา หลังจากเขาพยายามฆ่าตัวตายโดยการเสพยาเกินขนาด เขาก็รอดตายและได้รับแรงบันดาลใจให้เปลี่ยนแนวเพลงและวิถีชีวิตของตัวเอง อัลบั้มถัด ๆ มาอย่าง \"Hard to Swallow\", \"Bi-Polar\" และ \"Platinum Underground\" ที่ไม่ตามกระแสเท่าไหร่ มีแนวเพลงดนตรีแบบร็อก และไม่ประสบความสำเร็จด้านตารางอันดับ", "title": "วานิลลา ไอซ์" }, { "docid": "358183#25", "text": "สาวสวยสุดเซ็กซี่ ราชินีประจำโรงเรียน ชอบวางมาดไฮโซ ชอบของหรูๆ แต่จริงๆ แล้วฐานะทางบ้านไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ข้อดีของเธอคือเป็นคนรักน้อง รักครอบครัวมากขนาดเคยยกเลิกนัดกับตัวเอกเพราะต้องไปดูแลน้องที่ไม่สบายมาแล้ว นิสัยส่วนตัวคือหลงตัวเองและชอบอะไรหรูๆ", "title": "โทคิเมคิเมโมเรียล" }, { "docid": "92401#3", "text": "เคยมีการสันนิษฐานว่าจมูกที่ยาวของมีไว้เพื่อใช้ในการว่ายน้ำ แต่เหตุผลข้อนี้ก็ต้องตกไป เพราะตัวเมียก็ว่ายน้ำเหมือนกัน แต่ตัวเมียกลับมีจมูกที่เล็กกว่าครึ่งหนึ่งของตัวผู้ นักชีววิทยาบางกลุ่มก็สันนิษฐานว่า จมูกมีหน้าที่ในการระบายอากาศจากภายในร่างกาย เนื่องจากตัวผู้มีขนาดตัวและมีกระเพาะที่ใหญ่มาก ภายในร่างกายจึงมีความร้อนมาก บ้างก็อธิบายโดยใช้หลักการของชาร์ล ดาร์วิน ว่า ตัวเมียจะชอบตัวผู้ที่มีจมูกใหญ่ เมื่อนานเข้าตัวผู้ที่มีจมูกเล็กจึงลดจำนวนลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งเหลือแต่ตัวที่จมูกใหญ่ คล้ายกับว่ายิ่งตัวผู้มีจมูกยาวใหญ่เท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นที่สนใจของตัวเมียมากขึ้นเท่านั้น ", "title": "ลิงจมูกยาว" }, { "docid": "578978#4", "text": "เริ่มมีผลงานเพลงตั้งแต่ปี 2538 โดยวงที-สเกิ๊ตนั้น ประกอบสมาชิก 3 คนด้วยกัน คือ อัสมา กฮาร (มาร์) ดวงพร สนธิขันธ์ (จอย) และ ธิติยา นพพงษากิจ (กิ๊ฟท์) มีผลงาน 2 อัลบั้มเต็ม และ 1 อัลบั้มพิเศษก่อนที่ทางค่ายคีตา เรคคอร์ดส จะปิดตัวลงไปเมื่อปี 2539 ผลงานเด่นคือเพลง ไม่เท่าไหร่, เจ็บแทนได้ไหม, ฟ้องท่านเปา, เรื่องมันเศร้า และเพลง ทักคนผิด เป็นต้น ผลงานอัลบั้มชุดแรกชื่อว่า \"T-Skirt\" ออกวางจำหน่ายกลางปี 2538 โดยรายชื่อเพลงมีดังนี้ 1.ไม่เท่าไหร่ 2.เจ็บแทนได้ไหม 3.เรื่องมันเศร้า 4.อย่าเล่นอย่างนี้ 5.ทักคนผิด 6.ฟ้องท่านเปา 7.วันที่ไม่เหงา 8.ทำให้เสร็จ 9.ซึ้ง ๆ หน่อย 10. เพื่อนกัน", "title": "อัสมา กฮาร" }, { "docid": "328988#10", "text": "สาวๆ เริ่มต้นสัปดาห์ด้วยการเรียนเต้นรำ สาวๆ จะได้เรียนรู้การเต้นแบบต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลก เอมิเลียชื่นชอบและทำออกมาได้เป็นอย่างดีในขณะที่ดาโกต้าไม่ค่อยที่จะให้ความร่วมมือเท่าไหร่ โดยเธออ้างว่าเธอมาเพื่อเป็นนางแบบไม่ใช่มาเป็นแดนซ์เซอร์ ในวันต่อมาสาวๆ ได้ไปที่โรโทรัว เพื่อแข่งกันโพสท่าในลูกบอลขนาดยักษ์ สาวๆ ต่างก็พยายามทำกันอย่างทุลักทุเลและผู้ที่ทำออกมาได้อย่างพริ้วไหวและงดงามที่สุดคือคอร์ทเนย์ และรางวัลของเธอก็คือการไปนวดทำสปาสุดหรู", "title": "นิวซีแลนด์เน็กซ์ท็อปโมเดล ฤดูกาลที่ 2" } ]
2680
เวียงกุมกาม ตั้งอยู่ที่ไหน?
[ { "docid": "6830#0", "text": "เวียงกุมกาม (Northern Thai: เวียงกุ๋มก๋าม) เป็นอดีตเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา ที่พญามังรายโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1829 โดยโปรดให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้าน ไขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้ ในคูเมืองโบราณสถานที่ปรากฏอยู่ในเวียงกุมกามและใกล้เคียง เป็นเวียง (เมือง) ทดลองที่สร้างขึ้น ก่อนที่จะมาเป็นเมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีระยะห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร", "title": "เวียงกุมกาม" } ]
[ { "docid": "6830#1", "text": "หลังจากที่พญามังรายได้ปกครองและพำนักอยู่ในนครหริภุญชัย (ลำพูน) อยู่ 2 ปี พระองค์ทรงศึกษาสิ่งหลายๆอย่าง และมีพระราชดำริที่จะลองสร้างเมืองขึ้น เมืองนั้นก็คือ เวียงกุมกาม แต่พระองค์ก็ทรงสร้างไม่สำเร็จ เพราะเวียงนั้นมีน้ำท่วมอยู่ทุกปี จนพญามังรายจึงทรงต้องไปปรึกษาพระสหาย คือพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย และพญางำเมืองแห่งอาณาจักรพะเยา หลังจากทรงปรึกษากันแล้วจึงทรงตัดสินใจไปหาที่สร้างเมืองใหม่ ในที่สุดจึงได้พื้นที่นครพิงค์เชียงใหม่เป็นเมืองใหม่ และ เป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรล้านนาต่อมา จึงสรุปได้ว่าเวียงกุมกามนั้น เป็นเมืองที่ทดลองสร้าง", "title": "เวียงกุมกาม" }, { "docid": "6830#22", "text": "วัดกู่ป่าด้อม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้นอกเวียงกุมกาม ชื่อของวัดนี้ได้ตั้งชื่อตามเจ้าของที่ดิน โบราณสถานของวัดมีขนาดใหญ่ประกอบด้วย วิหารฐานใหญ่ มีบันไดทางขึ้นวิหาร มีราวบันไดด้านปลายเป็นรูปตัวเหงา ส่วนเจดีย์เหลือเพียงฐานเท่านั้น มีกำแพงแก้วก่อล้อมรอบโบราณสถาน กำแพงแก้วด้านหน้าทางเข้าวิหารมีซุ้มโขง วัดแห่งนี้มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 21-22", "title": "เวียงกุมกาม" }, { "docid": "6830#23", "text": "วัดโบสถ์ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกนอกเวียงกุมกาม โบราณสถานประกอบด้วยวิหารซึ่งเหลือเพียงฐาน และเจดีย์มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส", "title": "เวียงกุมกาม" }, { "docid": "6830#34", "text": "วัดพันเลา อยู่ในท้องที่ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดร้างขื่อดั้งเดิมที่ชุมชนเรียกสืบทอดต่อกันมา คาดว่ามาจากชื่อวัดที่มีคำนำหน้าว่า “พัน” นำหน้านั้น น่าจะหมายถึง ยศทางทหาร หรือขุนนาง ที่เดิมวัดนี้อาจเป็นวัดอุปถัมภ์ของนายทหารหรือขุนนางชื่อ “เลา” ตั้งอยู่ริมถนนท่าวังตาลซึ่งอยู่นอกเวียงกุมกามทางด้านทิศเหนือ สภาพโบราณสถานมีการก่ออิฐกระจายหลายแห่ง พบชิ้นส่วนของพระพุทธรูป และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าเป็นอะไร และยังคงคาดว่ามีอีกหลายวัดที่จมอยู่ใต้พื้นดิน และบ้านเรือนของชาวบ้านที่กำลังรอการบูรณะขึ้นมา", "title": "เวียงกุมกาม" }, { "docid": "6830#3", "text": "ในปี พ.ศ. 2527 เรื่องราวของเวียงกุมกามก็เริ่มเป็นที่สนใจของนักวิชาการ และประชาชนทั่วไป ทำให้หน่วยศิลปากรที่ 4 ขุดแต่งบูรณะวัดร้าง (ขุดแต่งวิหารกานโถม ณ วัดช้างค้ำ) และบริเวณโดยรอบเวียงกุมกามอย่างต่อเนื่องจนถึง พ.ศ. 2545 ปัจจุบันเวียงกุมกามก็ได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เพราะเห็นว่าเวียงกุมกามมีความสมบูรณ์ และเป็นแหล่งความรู้การศึกษาในแบบของเรื่องราวทางสถาปัตยกรรมและ ศิลปกรรมตลอดจนวัฒนธรรมล้านนาต่าง ๆ โดยศูนย์กลางของการนำเที่ยวชมโบราณสถานต่างๆ ในเขตเวียงกุมกามอยู่ที่วัดช้างค้ำ", "title": "เวียงกุมกาม" }, { "docid": "6830#31", "text": "วัดหนองผึ้ง ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกถนนเชียงใหม่-ลำพูน ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เดิมเป็นวัดในสมัยเวียงกุมกาม-เชียงใหม่ หรือบางทีอาจจะมีสภาพเป็นวัดดั้งเดิมอยู่ก่อนแล้วตั้งแต่สมัยหริภุญไชย มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณวัตถุประเภทพิมพ์แบบลำพูน สิ่งก่อสร้างที่สำคัญของวัดนี้คือ วิหารพระนอน เป็นองค์พระนอนหรือพระพุทธไสยาสน์ขนาดยาว 38 ศอก (39 เมตร)", "title": "เวียงกุมกาม" }, { "docid": "6830#4", "text": "เวียงกุมกามมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความยาวประมาณ 850 เมตร ไปตามแนวทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และกว้างประมาณ 600 เมตร ตัวเมืองยาวไปตามลำน้ำปิงสายเดิมที่เคยไหลไปทางด้านทิศตะวันออกของเมือง ดังนั้นในสมัยโบราณตัวเวียงกุมกามจะตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันตกหรือฝั่งเดียวกับเมืองเชียงใหม่ แต่เชื่อกันว่าเนื่องจากกระแสของแม่น้ำปิงเปลี่ยนทิศทาง จึงทำให้เวียงกุมกามเปลี่ยนมาตั้งอยู่ทางฝั่งด้านตะวันออกของแม่น้ำดั่งเช่นปัจจุบัน", "title": "เวียงกุมกาม" }, { "docid": "6830#33", "text": "วัดข่อยสามต้น อยู่ในบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเขตเวียงกุมกาม ชื่อวัดนี้ตั้งตามจุดสังเกตที่เป็นต้นข่อยจำนวน 3 ต้น ที่ขึ้นเจริญเติบโตในพื้นที่บริเวณวัด และไม่ปรากฏความเป็นมาในเอกสารและตัวแทนทางประวัติศาสตร์", "title": "เวียงกุมกาม" }, { "docid": "6830#18", "text": "วัดกุมกาม ตั้งอยู่ภายในเวียงกุมกามด้านทิศเหนือของวัดกานโถม สิ่งก่อสร้างภายในวัดประกอบด้วยวิหารพร้อมห้องมูลคันธกุฏี และเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม", "title": "เวียงกุมกาม" }, { "docid": "61536#26", "text": "สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 1 (ช้างเผือก) เดินทางได้โดยรถสองแถว สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 2 (อาเขต) เดินทางได้โดยรถประจำทางสาย 11 (อาเขต-ไนท์ซาฟารี) ขึ้นรถที่สถานีขนส่งอาเขต-ลงที่บริเวณข่วงประตูท่าแพ จากนั้นต่อสาย 12 (เวียงกุมกาม-สวนสัตว์เชียงใหม่) ขึ้นรถที่ข่วงประตูท่าแพ-ลงที่หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สถานีรถไฟเชียงใหม่ โดยรถประจำทางสาย 13 (สถานีรถไฟ-ไนท์ซาฟารี) ขึ้นที่สถานีรถไฟเชียงใหม่-ลงที่บริเวณข่วงประตูท่าแพ จากนั้นต่อสาย 12 (เวียงกุมกาม-สวนสัตว์) ขึ้นที่ข่วงประตูท่าแพ-ลงที่หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ โดยรถประจำทางสาย 11 (ไนท์ซาฟารี-อาเขต) ขึ้นที่ท่าอากาศยานฯ-ลงที่ตลาดสมเพชร จากนั้นต่อสาย 12 (เวียงกุมกาม-สวนสัตว์เชียงใหม่) ขึ้นที่ตลาดสมเพชร-ลงที่หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา", "title": "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่" }, { "docid": "6830#6", "text": "ปัจจุบันเวียงกุมกามอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ประมาณ ก.ม. 3-4 ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ด้านขวามือ ในเขตตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี และอยู่ใกล้ฝั่งด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำปิง", "title": "เวียงกุมกาม" }, { "docid": "6830#11", "text": "วัดปู่เปี้ย ถือเป็นวัดที่มีความงดงามแห่งหนึ่งในเวียงกุมกาม รูปแบบผังการสร้างวัด และ รูปแบบเจดีย์ประธานมณฑปมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ โบราณสถานประกอบด้วยวิหารสร้างยกพื้นสูง เจดีย์ อุโบสถ ศาลผีเสื้อ และแท่นบูชา พร้อมทั้งมีลวดลายปูนปั้นประดับเจดีย์ที่สวยงามมาก", "title": "เวียงกุมกาม" }, { "docid": "6830#20", "text": "วัดไม้ซ้ง ตั้งอยู่มุมตะวันออกเฉียงใต้ภายในเวียงกุมกาม บริเวณรอบวัดเป็นทุ่งนา สถาพก่อนการขุดแต่งเป็นเนินดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีต้นไม้ใหญ่ที่ชาวบ้านเรียกว่าไม้ซ้งอยู่ (เป็นที่มาของชื่อวัด) โบราณสถาน ประกอบด้วยวิหารเจดีย์แปดเหลี่ยม และฐานซุ้มประตูโขงพร้อมกำแพง", "title": "เวียงกุมกาม" }, { "docid": "6830#15", "text": "วัดพระเจ้าองค์ดำ ตั้งอยู่ภายในเวียงกุมกาม โดยอยู่ใกล้กับกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ก่อนมีการขุดแต่งนั้นเป็นสวนลำไย มีพื้นที่เป็นเนินดิน 2 แห่ง ชาวบ้านเรียกว่า เนินพญามังราย และเนินพระเจ้าดำ และสันนิษฐานว่าที่เรียกวัดพระเจ้าองค์ดำนี้ เพราะวัดแห่งนี้เคยมีพระพุทธรูปสีดำประดิษฐานอยู่ โบราณสถานที่พบส่วนใหญ่เป็นวิหารหลายหลัง มีซุ้มประตูโขงและแนวกำแพง ถัดจากซุ้มโขงเข้ามามีวิหารและเจดีย์", "title": "เวียงกุมกาม" }, { "docid": "6830#5", "text": "ช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงกระแสน้ำดังกล่าวคาดว่าน่าจะอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 23 การเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำครั้งนั้น ทำให้เกิดน้ำท่วมเวียงกุมกามครั้งใหญ่จนเวียงกุมกามล่มสลาย และวัดวาอารามจมอยู่ใต้ดินทราย จนกลายเป็นเมืองร้างไปในที่สุด อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์หลายคนเชื่อว่า อีกหนึ่งสมมติฐานที่เวียงกุมกามถูกทิ้งร้างนั้นอาจเป็นได้ว่าเกิดสงครามระหว่างไทยกับพม่าทำให้ผู้คนหลบหนีออกจากเมืองไปก็เป็นได้", "title": "เวียงกุมกาม" }, { "docid": "231196#3", "text": "ในราว พ.ศ. 2101 สมัยท้าวแม่กุ (พระเจ้าเมกุฏิ) แม่น้ำปิงยังไหลผ่านทางทิศตะวันออกของเวียงกุมกาม และตัวเมืองหริภุญชัยอยู่ ในระหว่างปี พ.ศ. 2101-2317 อาณาจักรบริเวณนี้อยู่ภายใต้การปกครองของพม่า จนถึงราวปี พ.ศ. 2317 มีบันทึกว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ยกทัพตามแม่น้ำปิง (สายปัจจุบัน) ที่ไหลผ่านทิศตะวันตกของเวียงกุมกามและเมืองหริภุญชัย ซึ่งแสดงว่าแม่น้ำปิง เกิดการเปลี่ยนร่องน้ำ ในระหว่างที่พม่าปกครองพื้นที่ดังกล่าว", "title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106" }, { "docid": "6830#35", "text": "สรัสวดี อ๋องสกุล, เวียงกุมกาม: การศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนโบราณในล้านนา, WITHIN DESIGN CO., LTD, 2548 นพคุณ ตันติกุล, เวียงกุมกาม ,Lanna computer , 2547 จักรกริช พิสูจน์, เวียงกุมกาม ,Jakkrit Publishing , 2548 ชาญณรงค์ ศรีสุวรรณ, สถาปัตยกรรมในพื้นที่ประวัติศาสตร์เวียงกุมกาม: กรณีศึกษา วัดกานโถม, 2545, งานวิจัย", "title": "เวียงกุมกาม" }, { "docid": "6830#12", "text": "วัดเจดีย์เหลี่ยม (วัดกู่คำ) แต่เดิมวัดนี้ชื่อวัดกู่คำ กู่ หมายถึง พระเจดีย์ คำ หมายถึง ทองคำ พญามังรายโปรดให้ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1831 โบราณวัตถุที่สำคัญของวัดคือ องค์พระเจดีย์ประธานรูปทรงมณฑปปลด 5 ชั้น วัดนี้มีความโดดเด่นคือ เป็นวัดที่กษัตริย์สร้าง และมีรูปแบบเจดีย์ที่แสดงถึงอิทธิพลรูปแบบของรัฐหริภุญไชย โดยที่พญามังรายโปรดให้เอามาก่อสร้างไว้ในเวียงกุมกามระยะแรกๆ", "title": "เวียงกุมกาม" }, { "docid": "6830#28", "text": "วัดกู่จ๊อกป๊อก ตั้งอยู่นอกกำแพงเวียงกุมกามทางทิศตะวันออกฉียงใต้ โบราณสถานประกอบด้วยวิหารและเจดีย์ ซึ่งเหลือเพียงฐาน", "title": "เวียงกุมกาม" }, { "docid": "6830#36", "text": "หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์เชียงใหม่ หมวดหมู่:เมืองหลวงเก่า กุมกาม หมวดหมู่:โบราณสถานในจังหวัดเชียงใหม่", "title": "เวียงกุมกาม" }, { "docid": "6830#17", "text": "วัดหัวหนอง ตั้งอยู่ภายในเวียงกุมกามใกล้กับกำแพงเมืองทางด้านเหนือ ภายในประกอบด้วยซุ้มโขงประตูใหญ่ อุโบสถ มณฑป วิหารและเจดีย์ มีลวดลายปูนปั้นประดับซุ้มประตูวัดเป็นรูปกิเลน สิงห์ หงส์ที่มีความงดงาม", "title": "เวียงกุมกาม" }, { "docid": "6830#26", "text": "วัดกู่มะเกลือ ตั้งอยู่ภายในเวียงกุมกามด้านทิศตะวันออก เรียกชื่อวัดตามชื่อต้นไม้ที่ขึ้นบนโบราณสถาน หลังจากทำการขุดลอกดินออกแล้ว พบเจดีย์และวิหารตั้งอยู่บนฐานเดียวกันและหันหน้าไปทางทิศตะวันออก", "title": "เวียงกุมกาม" }, { "docid": "231196#2", "text": "ถนนช่วงเชียงใหม่-ลำพูน เป็นเส้นทางที่ผูกพันกับปิงห่าง ต้นยาง และต้นขี้เหล็ก ในอดีตแม่น้ำปิงจะไหลผ่านทางทิศตะวันออกของเวียงกุมกาม เมืองหริภุญชัย และวัดอรัญญิกรัมการาม (วัดดอนแก้ว) ซึ่งเป็นสี่มุมเมืองในสมัยพระนางจามเทวี เมื่อคราวที่พญามังรายยึดครองเมืองหริภุญชัย และสร้างเมืองใหม่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองหริภุญชัย ชื่อว่า เมืองชะแว ได้เกิดน้ำท่วม จึงย้ายไปสร้างเมืองแห่งใหม่ คอื เวียงกุมกาม ทำให้แม่น้ำปิง เกิดการเปลี่ยนทางไหลผ่านเข้าในตัวเมืองหริภุญชัย และไหลผ่านหน้าวัดพระธาตุหริภุญชัยในสมัยพญามังราย", "title": "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106" }, { "docid": "16978#9", "text": "หลังจากพญามังรายรวบรวมอาณาจักรหริภุญชัยเข้ากับโยนกเชียงแสนเสร็จสิ้นแล้ว ได้ขนามนามราชอาณาจักรแห่งใหม่นี้ว่า \"อาณาจักรล้านนา\" พระองค์มีดำริจะสร้างราชธานีแห่งใหม่นี้ให้ใหญ่โตเพื่อให้สมกับเป็นศูนย์กลางการปกครองแห่งอาณาจักรล้านนาทั้งหมด พร้อมกันนั้นก็ ได้อัญเชิญพระสหายสนิทร่วมน้ำสาบานสองพระองค์ได้แก่ พญางำเมืองแห่งเมืองพะเยา และ พ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย มาร่วมกันสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ในสมรภูมิบริเวณที่ลุ่มริมฝั่งมหานทีแม่ระมิงค์ (แม่น้ำปิง) โดยตั้งชื่อราชธานีแห่งใหม่นี้ว่า \"นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่\" แต่ก่อนที่จะตั้งเมือง พระองค์ทรงได้สร้างราชธานีชั่วคราวขึ้นก่อนแล้ว ซึ่งก็เรียกว่า เวียงกุมกามแต่เนื่องจากเวียงกุมกามประสบภัยธรรมชาติใหญ่หลวงเกิดน้ำท่วมเมืองจนกลายเป็นเมืองบาดาล ดังนั้นพระองค์จึงได้ย้ายราชธานีมาอยู่ ณ นครเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 1839 และได้เป็นศูนย์กลางการปกครองราชอาณาจักรล้านนานับแต่นั้น นครเชียงใหม่มีอาณาเขตบริเวณอยู่ระหว่างเชิงดอยอ้อยช้าง (ดอยสุเทพ) และ บริเวณที่ราบฝั่งขวาของแม่น้ำปิง (พิงคนที) นับเป็นสมรภูมิที่ดีและเหมาะแก่การเพาะปลูกเนื่องจากเป็นบริเวณที่ราบลุ่มมีแม่น้ำไหลผ่าน", "title": "อาณาจักรล้านนา" }, { "docid": "6830#7", "text": "สภาพทั่วไปทางภูมิศาสตร์ของเวียงกุมกามตั้งอยู่บริเวณแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน มีแม่น้ำปิงเป็นแม่น้ำสายสำคัญ โดยมีต้นน้ำอยู่ที่ดอยถ้วย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณแอ่งที่ราบแห่งนี้ซึ่งเป็นที่ราบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคเหนือตอนบน เป็นที่ราบระหว่างภูเขา มีอาณาบริเวณครอบคลุมเขตจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูนรวม 13 อำเภอ (โดย 10 อำเภออยู่ในจังหวัดเชียงใหม่คือ แม่แตง แม่ริม สันทราย ดอยสะเก็ด สันกำแพง เมือง สารภี หางดง สันป่าตอง และจอมทอง และอีก 3 อำเภออยู่ในจังหวัดลำพูนคือ เมือง (ลำพูน) ป่าซาง และบ้านโฮ่ง) โดยมีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 940,000 ไร่", "title": "เวียงกุมกาม" }, { "docid": "99839#12", "text": "เวียงเจ็ดลินที่เห็นในปัจจุบันนี้ สร้างในสมัยของพญาสามฝั่งแกน ในปี พ.ศ. 1954 เพื่อเป็นป้อมปราการป้องกันเมืองเชียงใหม่ ในคราวที่ท้าวยี่กุมกามพี่ชาย ได้ชักชวนพญาไสลือไทแห่งสุโขทัย ยกทัพมาตีเชียงใหม่ และมาตั้งทัพอยู่บริเวณเชิงดอยเจ็ดลิน อันเป็นบริเวณเวียงเจ็ดลิน ", "title": "เวียงเจ็ดลิน" }, { "docid": "6830#27", "text": "วัดกู่ลิดไม้ ตั้งอยู่ภายในเวียงกุมกามด้านใต้ วัดนี้เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรีกกันเนื่องจากมีต้นเพกา (ต้นลิดไม้) ขึ้นอยู่บนเนินวัด โบราณสถานประกอบด้วยวิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เจดีย์ด้านหลังวิหารเหลือเพียงฐาน และเจดีย์รูปแปดเหลี่ยม มีซุ้มประตูโขงและกำแพงแก้ว", "title": "เวียงกุมกาม" }, { "docid": "6830#2", "text": "เวียงกุมกามล่มสลายลงเพราะเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ โดยช่วงเวลานี้อยู่ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2101 - 2317 ซึ่งตรงกับสมัยพม่าปกครองล้านนา พม่าปกครองล้านนาเป็นเวลาสองร้อยกว่าปี แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่กล่าวถึงเวียงกุมกามทั้งๆที่เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่นี้เป็นเรื่องร้ายแรงมากและสมควรที่จะบันทึกไว้ แต่ก็ไม่มีการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ใดเลย ผลของการเกิดน้ำท่วมนี้ทำให้เวียงกุมกามถูกฝังจมลงอยู่ใต้ตะกอนดินจนยากที่จะฟื้นฟูกลับมา สภาพวัดต่างๆ และโบราณสถานที่สำคัญเหลือเพียงซากวิหารและเจดีย์ร้างที่จมอยู่ดินในระดับความลึกจากพื้นดินลงไปประมาณ 1.50 -2.00 เมตร โดยวัดที่จมดินลึกที่สุดคือวัดอีค่าง รองลงมาคือ วัดปู่เปี้ย และวัดกู่ป่าด้อม", "title": "เวียงกุมกาม" }, { "docid": "6830#24", "text": "วัดกู่อ้ายหลาน เป็นวัดขนาดเล็กตั้งอยู่ทางด้านเหนือของเวียงกุมกาม ชื่อวัดเรียกตามเจ้าของที่ที่ชื่ออ้ายหลาน โบราณาสถานประกอบด้วยวิหารที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เจดีย์ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แท่นบูชา กำแพงแก้ว และซุ้มประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก", "title": "เวียงกุมกาม" } ]
3870
มาร์เวลคอมิกส์ ก่อตั้งโดยใคร ?
[ { "docid": "217876#0", "text": "บริษัท มาร์เวลเวิลด์ไวด์ (English: Marvel Worldwide, Inc.) หรือเรียกทั่วไปว่า มาร์เวลคอมิกส์ (English: Marvel Comics) และชื่อก่อนหน้านีนี้<b data-parsoid='{\"dsr\":[1319,1347,3,3]}'>บริษัท มาร์เวลพับลิชิง (English: Marvel Publishing, Inc.) และ มาร์เวลคอมิกส์กรุป (English: Marvel Comics Group) เป็นค่ายการ์ตูนและสื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับซูเปอร์ฮีโรของสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1939 โดย มาร์ติน กูดแมน ในนามของไทม์ลีคอมิกส์ มีนักเขียน นักวาดคนสำคัญ เช่น สแตน ลี แจ็ก เคอร์บี สตีฟ ดิตโก เป็นต้น มาร์เวลคอมิกส์ มีชื่อเสียงโด่งดังและรู้จักกันดี เช่น เอ็กซ์เมน สไปเดอร์-แมน ฮัลก์ กัปตันอเมริกา ไอรอนแมน ธอร์ เป็นต้น และศัตรูที่โด่งดังและรู้จักกันดี เช่น กรีนก็อบลิน แม็กนีโต ด็อกเตอร์ดูม โลกิ กาแล็กตัส และเรดสกัล เป็นต้น มาร์เวลคอมิกส์ และคู่แข่งสำคัญมายาวนานคือดีซีคอมิกส์ ร่วมหุ้นกันไป 80 % ของตลาดหนังสือการ์ตูนอเมริกันในปี ค.ศ. 2008 ปัจจุบันมาร์เวลคอมิกส์เป็นส่วนหนึ่งของบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์", "title": "มาร์เวลคอมิกส์" } ]
[ { "docid": "335484#0", "text": "กัปตันอเมริกา (English: Captain America) เป็นตัวละครซูเปอร์ฮีโร่ในหนังสือการ์ตูนอเมริกันที่จัดพิมพ์โดยมาร์เวลคอมิกส์ สร้างสรรค์โดย โจ ไซมอน (Joe Simon) และ แจ็ก เคอร์บี (Jack Kirby) ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือ Captain America Comics เล่มที่ 1 (มีนาคม ค.ศ. 1941) ซึ่งจัดพิมพ์โดยไทม์ลีคอมิกส์ บริษัทก่อนหน้ามาร์เวลคอมิกส์ โดยกัปตันอเมริกาถูกออกแบบให้เป็นซูเปอร์โซลเยอร์รักชาติที่เคยรบกับฝ่ายอักษะในสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเป็นตัวละครที่เป็นที่นิยมมากที่สุดของไทม์ลีคอมิกส์ในช่วงยุคสงคราม ต่อมาสงครามได้ทำให้ความนิยมในซูเปอร์ฮีโร่ลดลงจน Captain America Comics ต้องปิดตัวในปี 1950 ต่อมามาร์เวลคอมิกส์ได้นำตัวละครนี้กลับมาในปี 1953 ซึ่งโลดแล่นได้ไม่นานก็ปิดตัวลงไป ภายหลังได้นำตัวละครนี้กลับมาอีกครั้งในปี 1964 ซึ่งนับตั้งแต่นั้น ตัวละครกัปตันอเมริกาก็โลดแล่นอยู้ในจักรวาลมาร์เวลมาจนถึงปัจจุบัน", "title": "กัปตันอเมริกา" }, { "docid": "217876#6", "text": "ดีซีคอมิกส์ รายชื่อตัวละครมาร์เวลคอมิกส์ รายชื่อภาพยนตร์โดยมาร์เวลคอมิกส์ จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล มาร์เวลสตูดิโอส์", "title": "มาร์เวลคอมิกส์" }, { "docid": "569804#0", "text": "อาร์เมอร์ () เป็นตัวละครการ์ตูนซูเปอร์ฮีโรจากมาร์เวลคอมิกส์ โดยปรากฏตัวในการ์ตูนเรื่อง Astonishing X-Men ฉบับที่ 3 หน้าที่ 4", "title": "อาร์เมอร์ (มาร์เวลคอมิกส์)" }, { "docid": "217876#1", "text": "มาร์ติน กูดแมน ได้ก่อตั้งบริษัทซึ่งต่อมาที่รู้จักกันดีในนามของมาร์เวลคอมิกส์ ภายใต้ชื่อไทม์ลีพับลิเคชั่นส์ ในปี ค.ศ. 1939[1] เผยแพร่ในรูปแบบหนังสือการ์ตูนภายใต้สำนักพิมพ์ไทม์ลีคอมิกส์[2] กู๊ดแมน ผู้เผยแพร่นิตยสารเยื่อกระดาษที่ได้เริ่มต้นผลิตนิยายตะวันตกเยื่อกระดาษในปี ค.ศ. 1933 ได้ขยายตัวในตลาด และได้รับความนิยมอย่างสูงในรูปแบบใหม่ปานกลางของหนังสือการ์ตูน การเปิดตัวของเขาจากสำนักงานของบริษัท ที่มีอยู่ที่เลขที่ 330 ตะวันตก ถนนที่ 42 นครนิวยอร์ก เขาได้จัดตั้งบรรณาธิการ บรรณาธิการบริหาร และผู้จัดการธุรกิจอย่างเป็นทางการ ที่มีอับราฮัม กูดแมน เป็นผู้เผยแพร่ที่ระบุอย่างเป็นทางการ[1]", "title": "มาร์เวลคอมิกส์" }, { "docid": "334763#0", "text": "ฮอรัส () เป็นตัวละครในมาร์เวลคอมิกส์ โดยมีต้นแบบมาจากเทพฮอรัสของตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์", "title": "ฮอรัส (มาร์เวลคอมิกส์)" }, { "docid": "334763#6", "text": "ในเหตุการณ์ซีเคร็ตอินเวชั่น อาตุมกล่าวว่าฮอรัสได้เชิญเขาให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกแห่งเทพด้วยเช่นกัน", "title": "ฮอรัส (มาร์เวลคอมิกส์)" }, { "docid": "868481#0", "text": "ชี.ล.ด์. () เป็นหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายในหนังสือการ์ตูนอเมริกัน ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มาร์เวลคอมิกส์", "title": "ชีลด์ (องค์กร)" }, { "docid": "778638#0", "text": "จิ๊กซอว์ () เป็นตัวละครโดยมาร์เวลคอมิกส์ สร้างสรรค์โดยเลน ไวน์และรอสส์ แอนดรู ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูน \"ดิอะเมซิงสไปเดอร์แมน\" เล่มที่ 162 (พฤศจิกายน 1976) เป็นหนึ่งในศัตรูของพันนิชเชอร์", "title": "จิ๊กซอว์ (มาร์เวลคอมิกส์)" }, { "docid": "576430#0", "text": "แดร์เดวิล () เป็นตัวละครการ์ตูนซูเปอร์ฮีโรสัญชาติอเมริกันจากมาร์เวลคอมิกส์ แดร์เดวิลสร้างสรรค์โดยนักเขียน สแตน ลี และนักวาด บิลล์ เอเวอเรตต์ โดยปรากฏตัวครั้งแรกในการ์ตูนเรื่อง แดร์เดวิล ฉบับ 1 (เมษายน ค.ศ. 1964) ", "title": "แดร์เดวิล (มาร์เวลคอมิกส์)" }, { "docid": "422562#0", "text": "มาร์เวลพินบอล () เป็นวิดีโอเกมพินบอล ที่ได้รับการพัฒนาโดยเซ็นสตูดิโอ เกมนี้มีโต๊ะพินบอลรูปแบบมาร์เวลคอมิกส์ โดยสามารถเล่นได้ในระบบเพลย์สเตชัน 3 กับเพลย์สเตชันเน็ตเวิร์ก และสามารถดาวน์โหลดรายการได้สำหรับ \"พินบอลเอฟเอ็กซ์ 2\" ในระบบเอ็กซ์บ็อกซ์ 360 และ เอ็กซ์บ็อกซ์ไลฟ์อาเขต เกมนี้เป็นเกมพินบอลอันดับสองสำหรับระบบเพลย์สเตชัน 3 ภายหลังจากที่ประสบความสำเร็จจากเกม \"เซ็นพินบอล\" เกมได้รับการเปิดตัว ณ วันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2010 สำหรับระบบเอ็กซ์บ็อกซ์ 360 และ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2010 สำหรับระบบเพลย์สเตชัน 3", "title": "มาร์เวลพินบอล" }, { "docid": "199456#0", "text": "ร็อกแมน (Rockman) เป็นตัวละครการ์ตูนซูเปอร์ฮีโรจากมาร์เวลคอมิกส์ โดยปรากฏตัวในการ์ตูนเรื่อง U.S.A. Comics ฉบับเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1941 โดยในช่วงเวลานั้น ผู้วาด และผู้ออกแบบตัวละครไม่ได้มีการระบุไว้ภายในหนังสือการ์ตูน อย่างไรก็ตามผู้วาดและออกแบบหน้าปกวาดโดย ชาลส์ นิโคลัส และ เบซิล วูลเวอร์ตัน", "title": "ร็อกแมน (มาร์เวลคอมิกส์)" }, { "docid": "771840#0", "text": "แบล็กแพนเทอร์ () เป็นตัวละครซูเปอร์ฮีโร่ในหนังสือการ์ตูนอเมริกันที่จัดพิมพ์โดยมาร์เวลคอมิกส์ สร้างสรรค์โดย สแตน ลี (Stan Lee) และ แจ็ก เคอร์บี (Jack Kirby) ปรากฏตัวครั้งแรกใน \"Fantastic Four\" ชุดที่ 1 เล่มที่ 52 (กรกฎาคม 1966) โดยตัวละครนี้เป็นซูเปอร์ฮีโร่ผิวสีคนแรกของมาร์เวลคอมิกส์ แบล็กแพนเทอร์ถูกออกแบบให้เป็นตัวละครชายเชื้อชาติแอฟริกันที่ปกครองและพิทักษ์ประเทศสมมุติในแอฟริกาที่ชื่อ วาคานดา (Wakanda) ซึ่งมีฉากหน้าเป็นประเทศที่ยากจน แต่แท้จริงแล้วเป็นหนึ่งในประเทศที่มีวิทยาการล้ำหน้าที่สุดในโลก ", "title": "แบล็กแพนเทอร์" }, { "docid": "298291#0", "text": "ฮัลค์ () หรือ ดร.โรเบิร์ต \"บรูซ\" แบนเนอร์ () เป็นตัวละครยอดมนุษย์ในหนังสือการ์ตูนปรากฏเป็นครั้งแรกในหนังสือการ์ตูนของมาร์เวลคอมิกส์ เรื่อง \"The Incredible Hulk\" ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อค.ศ. 1962ของมาร์เวลคอมิกส์ (Marvel Comics) ออกแบบโดยสแตน ลี (Stan Lee) และแจ็ค เคอร์บี้", "title": "ฮัลค์" }, { "docid": "96522#47", "text": "หมวดหมู่:การ์ตูนอเมริกัน หมวดหมู่:ตัวละครมาร์เวลคอมิกส์ หมวดหมู่:ยอดมนุษย์", "title": "สไปเดอร์-แมน" }, { "docid": "234707#0", "text": "สำหรับตัวละครในมาร์เวลคอมิกส์ ดูที่ วูล์ฟเวอรีน (ตัวละคร)", "title": "วุลเวอรีน" }, { "docid": "610462#0", "text": "อัลฟา () เป็นตัวละครซุเปอร์ฮีโรของมาร์เวลคอมิกส์ ปรากฎตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูน \"The Amazing Spider-Man\"", "title": "อัลฟา (มาร์เวลคอมิกส์)" }, { "docid": "867787#0", "text": "ไฮดร้า () เป็นองค์กรก่อการร้ายจากมาร์เวลคอมิกส์ โดยชื่อไฮดร้านั้นมีที่มาจากไฮดร้าซึ่งเป็นสัตว์ในตำนานกรีก", "title": "ไฮดร้า (หนังสือการ์ตูน)" }, { "docid": "673374#0", "text": "รายชื่อของตัวละครในจักรวาลมาร์เวล ที่ถูกสร้างขึ้นและเป็นลิขสิทธิ์ของมาร์เวลคอมิกส์", "title": "รายชื่อตัวละครมาร์เวลคอมิกส์" }, { "docid": "217876#8", "text": "on Facebook on Twitter on YouTube Vassallo, Michael J. , Comicartville Library, 2005, p.2. . .", "title": "มาร์เวลคอมิกส์" }, { "docid": "867794#0", "text": "การ์เดียนส์ออฟเดอะกาแล็กซี่ () เป็นทีมซูเปอร์ฮีโรในหนังสือการ์ตูนอเมริกัน ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มาร์เวลคอมิกส์", "title": "การ์เดียนส์ออฟเดอะกาแล็กซี่" }, { "docid": "217876#2", "text": "การตีพิมพ์ครั้งแรกของไทม์ลีโดยหนังสือการ์ตูน มาร์เวลคอมิกส์ ฉบับที่ 1 (ตุลาคม 1939) รวมทั้งการปรากฏตัวครั้งแรกของซุเปอร์ฮีโรแอนดรอยด์ของคาร์ล บูร์กอส ชื่อฮิวแมนทอร์ช และการปรากฏตัวครั้งแรกของแอนตีฮีโรของบิลล์ อีเวอเรตต์ชื่อ กะลาสีนามอร์ ประสบความสำเร็จที่ดี และพิมพ์ครั้งที่สองต่อมาขายต่อเดือนรวมเกือบ 900,000 เล่ม[3] ในขณะที่เนื้อหาของมันมาจากบรรจุด้านนอกของ บริษัท ฟันนีส์ ไทม์ลีในปีต่อไปมีพนักงานของตัวเอง", "title": "มาร์เวลคอมิกส์" }, { "docid": "771726#1", "text": "การ์ตูนชุดนี้เป็นการ์ตูนเรื่องหนึ่งที่อยู่ในชุดอัลทิเมต มาร์เวล (Ultimate Marvel) ของมาร์เวลคอมิกส์", "title": "อัลทิเมต สไปเดอร์-แมน" }, { "docid": "776538#0", "text": "นี่คือรายชื่อภาพยนตร์โดยมาร์เวลคอมิกส์", "title": "รายชื่อภาพยนตร์โดยมาร์เวลคอมิกส์" }, { "docid": "576430#3", "text": "ตัวละครนี้ปรากฎตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูนมาร์เวลคอมิกส์ แดร์เดวิล #1(เม.ย. ค.ศ.1964)สร้างขึ้นโดยนักเขียนสแตน ลี และนักวาดบิล เอเวอร์เรตต์ และออกแบบตัวละครโดยแจ็ก เคอร์บีให้มีกระบองเป็นอาวุธ", "title": "แดร์เดวิล (มาร์เวลคอมิกส์)" }, { "docid": "44079#0", "text": "เวนอม ( /ˈvenəm/ 'เวเนิม) เป็นตัวละครในการ์ตูนของมาร์เวลคอมิกส์ ซึ่งเป็นศัตรูที่ร้ายกาจของสไปเดอร์-แมน", "title": "เวนอม" }, { "docid": "867598#0", "text": "มาสเตอร์ออฟอีวิล () เป็นกลุ่มตัวร้ายในการ์ตูนเรื่องอเวนเจอร์สจาก มาร์เวลคอมิกส์", "title": "มาสเตอร์ออฟอีวิล" }, { "docid": "577538#0", "text": "แวนซ์ แอสโตรไวค์ () หรือ จัสติส () หรือชื่อก่อนหน้าที่รู้จักกันดีคือ มาร์เวลบอย () เป็นตัวละครกลายพันธุ์ซูเปอร์ฮีโร่ในมาร์เวลคอมิกส์ เขาเป็นยอดมนุษย์ที่สามารถใช้พลังจิตได้ แอสโตรไวค์ได้รับเข้าเป็นสมาชิกของนิว วอร์ริเออร์ส และดิ อเวนเจอร์ส ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูน Giant-Size Defenders ฉบับที่ 5 (กรกฎาคม 1975) สร้างสรรค์โดย ดอน เฮค และเจอร์รี่ คอนเวย์", "title": "แวนซ์ แอสโตรไวค์" }, { "docid": "771657#0", "text": "ธอร์ () เป็นตัวละครหลักของมาร์เวลคอมิกส์ ปรากฏตัวครั้งแรก\"Journey into Mystery\" เล่มที่ 83 ส.ค. 1962 สร้างขึ้นโดยสแตน ลี,แลร์รี่ ลีเบอร์,แจ็ค เคอร์บี้ เป็นตัวละครที่สร้างมาจากธอร์ เทพเจ้าสายฟ้าของตำนานเทพปกรณัมนอร์ส ", "title": "ธอร์ (มาร์เวลคอมิกส์)" }, { "docid": "957052#0", "text": "โกสต์ () เป็นตัวละครของมาร์เวลคอมิกส์ สร้างสรรค์โดยเดวิด มิเชลินีและบ็อบ เลย์ตัน ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือการ์ตูน \"ไอรอนแมน\" เล่มที่ 219 (มิถุนายน 1987) เดิมเขาเคยเป็นวิศวกรบริษัทออมนิเซเพียนต์ (Omnisapient) แต่ภายหลังถูกบริษัทหลอกใช้และทรยศ ทำให้เขากลายเป็นตัวร้ายที่ใช้ความสามารถในการเจาะระบบคอมพิวเตอร์และชุดที่มีเทคโนโลยีล่องหนและตรวจจับไม่ได้ในการทำลายบริษัทยักษ์ใหญ่ รวมถึงสตาร์กอินดัสตรีส์ โกสต์จึงเป็นศัตรูกับไอรอนแมน ต่อมาโกสต์เข้าร่วมทีมธันเดอร์โบลส์และช่วยทีมอเวนเจอร์สสู้กับบริษัทออสคอร์ปของนอร์แมน ออสบอร์นและบริษัทแฮมเมอร์อินดัสตรีส์ของจัสติน แฮมเมอร์", "title": "โกสต์ (มาร์เวลคอมิกส์)" } ]