txt
stringlengths 202
53.1k
|
---|
# Coinbase ถูกปรับ 200 ล้านบาทจากการใช้บอตปั่นยอดซื้อขาย
คณะกรรมการกำกับการซื้อขายสัญญาล่วงหน้า (Commodity Futures Trading Commission - CFTC) สั่งปรับ Coinbase ตัวกลางซื้อขายเงินคริปโตเป็นเงิน 6.5 ล้านดอลลาร์หรือประมาณ 200 ล้านบาทหลังพบว่าบริษัทเขียนบอตซื้อขายหลักทรัพย์บนกระดาน GDAX ของตัวเองโดยไม่เปิดเผยให้ครบถ้วน
คณะกรรมการระบุว่าแม้ GDAX จะเปิดเผยว่าซื้อขายเองด้วย แต่ไม่แจ้งให้ชัดเจนว่ามีบอตซื้อขายหลายตัว และซื้อขายผ่านหลายบัญชี จนทำให้ข้อมูลการซื้อขายที่ดัชนีต่างๆ นำไปใช้งานนั้นไม่ตรงความเป็นจริง
ทาง GDAX ใช้บอตสองตัวคือ Hedger และ Replicator โดยระบุว่าทั้งสองตัวมีวัตถุประสงค์ต่างกัน แต่ในความเป็นจริงหลายครั้งคำสั่งซื้อขายของบอตสองตัวก็จับคู่กันเอง ทำให้ข้อมูลการซื้อขายถูกรายงานออกไป และทำให้ดูเหมือนว่าตลาดกำลังคึกคักกว่าความเป็นจริง
ที่มา - CTFC
ภาพโดย PIX1861 |
# เกิดอะไรขึ้นที่อินเทล ตอนที่ 3: คู่แข่งทุกแนวรบ ตกขบวนจีพียู-มือถือ และทางรอดของอินเทล
บทความตอนที่ 1 เราพูดถึงเรื่องปัญหา 14 นาโนเมตรของอินเทล และอธิบายในตอนที่ 2 ว่าเกิดจากหลายสาเหตุ หลายปัจจัยในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ แต่ทั้งสองตอนที่ว่ามา ยังพูดถึงแค่ธุรกิจซีพียูสำหรับพีซี ที่เป็นธุรกิจหลักของอินเทลเท่านั้น
อินเทลยังมีธุรกิจอื่นๆ อีกหลายด้านที่มีปัญหาอีกเช่นกัน เช่น ซีพียูเซิร์ฟเวอร์ จีพียู มือถือ รวมถึงปัญหาด้านการบริหารภายในของอินเทลเอง ที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ รวมไปถึงวิเคราะห์ทางออกในอนาคต
เซิร์ฟเวอร์ ขุมทรัพย์ทองคำที่บังตาความล้มเหลว
เมื่อพูดถึงอินเทลแล้ว สิ่งแรกที่ทุกคนนึกถึงคือ ซีพียูสำหรับพีซี ที่ใช้แบรนด์ Core, Pentium, Celeron ทำตลาดมายาวนาน แต่จริงๆ แล้ว ตลาดซีพียูเซิร์ฟเวอร์ของอินเทล (Xeon และ Itanium) ก็มีขนาดใหญ่ไม่ด้อยไปกว่ากันมากนัก (ใหญ่จนน่าตกใจเลยล่ะ)
ต้องย้อนความก่อนว่า จุดกำเนิดของอินเทลมาจากคอมพิวเตอร์ราคาถูก (IBM PC compatible) แต่ในตลาดคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงสมัยก่อน ยังเป็นของสถาปัตยกรรมจากบริษัทยุคก่อนหน้าอย่าง POWER/PowerPC (IBM), Alpha (DEC), PA-RISC (HP), SPARC (Sun) เป็นต้น ซีพียูสถาปัตยกรรม x86 ที่เน้นประสิทธิภาพพอใช้ ในราคาเอื้อมถึงได้ ย่อมไม่สามารถต่อกรได้
อินเทลในยุค 90s ตอนปลายจึงพยายามตีตลาดนี้ด้วยโครงการ Itanium ที่ร่วมพัฒนากับ HP มีความทะเยอทะยานเพราะใช้สถาปัตยกรรมใหม่ IA-64 (เปิดตัวครั้งแรกปี 1999) แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จนักด้วยเหตุผลหลายๆ ประการ และสุดท้ายต้องเลิกทำไป ในขณะที่คู่แข่ง AMD เดินเลือกในเส้นทางต่อยอด x86 เป็น x86-64 ที่ไม่เปลี่ยนไปจากเดิมมากนัก กลับประสบความสำเร็จอย่างมาก ทำให้อินเทลต้องยอมเดินตามทั้งในฝั่งเดสก์ท็อป (Pentium 4) และเซิร์ฟเวอร์ (Xeon แบบ 64 บิต)
แม้เริ่มต้นแบบติดๆ ขัดๆ ในตอนแรก แต่ Xeon กลับเป็นผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในระยะยาว ยุคแรกของ Xeon เน้นการใช้งานในเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก (เช่น เซิร์ฟเวอร์เดี่ยวๆ แบบ 1U/2U แบบที่เราคุ้นเคยกัน) และเติบโตตามตลาดอินเทอร์เน็ตในยุคแรกๆ
แต่อินเทอร์เน็ตในทศวรรษ 2000s ก็มีจุดเปลี่ยนตรงที่กูเกิลหันมาสร้างระบบเซิร์ฟเวอร์ของตัวเอง ใช้ชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์หาได้ทั่วไป (commodity hardware) แล้วเขียนซอฟต์แวร์กระจายโหลดควบคุมเอาเอง แทนการซื้อเซิร์ฟเวอร์สมรรถนะสูงจากแบรนด์ดังในราคาแพงๆ กลายเป็นพื้นฐานและจุดเริ่มต้นของระบบคลาวด์คอมพิวติ้งในยุคถัดมา
เมื่อชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ทั่วไป สามารถใช้แทนเซิร์ฟเวอร์ราคาแพงได้ แล้วใครจะไปซื้อเซิร์ฟเวอร์เฉพาะทางแบบแพงๆ กันอีก? ผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุดจากกระแสความเปลี่ยนแปลงนี้ จึงเป็นซีพียูสมรรถนะสูงพอในระดับหนึ่งที่ราคาไม่แพงจนเกินไป… Xeon
หมายเหตุ: AMD Opteron ก็เป็นหนึ่งในซีพียูที่ได้ประโยชน์จากกระแสนี้เช่นกัน แต่เมื่อ AMD แผ่วไปในทศวรรษ 2010s ช่วงกลางๆ ทำให้ตลาดแทบเป็น Xeon กินรวบไปเลย
เราคงไม่สามารถหาข้อมูลส่วนแบ่งตลาดซีพียูเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดได้ง่ายนัก แต่ถ้าลองดูจาก TOP500 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลก 500 อันดับแรกแต่ละยุคสมัย เราเห็นเทรนด์ชัดเจนว่าหลังปี 2006-2007 เป็นต้นมา Xeon ครองไปเกือบทั้งลิสต์ เหลือพื้นที่ยืนให้คู่แข่งรายอื่นๆ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ส่วนแบ่งสถาปัตยกรรมซีพียูใน TOP500 แต่ละยุค ที่มา - Wikipedia
Xeon กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้อินเทลชนะศึกคอมพิวเตอร์ระดับสูง ทั้งในแง่ของรางวัล (อันดับใน TOP500 ที่เหลือพื้นที่ให้ IBM Power เล็กน้อยในเครื่องระดับบนๆ แพงๆ) และในแง่ของรายได้ ที่กลายเป็นเครื่องจักรทำเงินให้อินเทลมหาศาลจนถึงทุกวันนี้
ข้อมูลเก่าที่สุดที่ผมค้นเจอ อินเทลแยกรายได้จากฝั่งพีซี-เซิร์ฟเวอร์เป็นครั้งแรกในปี 2009 โดยตอนนั้น อินเทลมีรายได้จากฝั่งพีซี (PC Client Group - PCCG) ประมาณ 75% ของรายได้ทั้งหมด และฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (Data Center Group - DCG) ประมาณ 18% เทียบสัดส่วนแบบหยาบๆ คือราว 5 ต่อ 1
ที่มา - Intel
แต่ถ้าดูตัวเลขล่าสุดของปี 2020 สัดส่วนรายได้ของอินเทลเปลี่ยนไปจากเดิมมาก รายได้ฝั่งพีซี (กราฟบน) อยู่ที่ 40.1 พันล้านดอลลาร์ต่อปี ส่วนรายได้จากฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (กราฟล่าง) คือ 26.1 พันล้านดอลลาร์ต่อปี เทียบสัดส่วนแล้วอยู่ที่ราว 1.5 ต่อ 1 แล้ว
ที่มา - Intel
ถึงแม้ว่าธุรกิจพีซีช่วงหลังๆ (หมายถึงก่อน COVID ที่มีกระแส work from home) เติบโตช้าลงหรือถดถอยมาโดยตลอด ส่งผลให้ธุรกิจฝั่งพีซีของอินเทลไม่เติบโตมากนัก แต่กระแสของคลาวด์ที่เติบโตไม่หยุดเลย ทำให้ธุรกิจของอินเทลพึ่งพา Xeon เป็นสัดส่วนที่มากขึ้นเรื่อยๆ
ทั้งหมดที่ว่ามานี้เป็นเรื่องดี อินเทลร่ำรวยมหาศาลจาก Xeon โลกทุกอย่างสดใส แต่ความสำเร็จของ Xeon อีกนั่นแหละที่บดบังภัยคุกคามชนิดใหม่ๆ ไม่ให้อินเทลมองเห็นชัดเจนนัก
ตกรถไฟขบวนที่หนึ่ง: จีพียู
ตลาดจีพียูเริ่มต้นอย่างช้าๆ ในทศวรรษ 90s โดยผู้บุกเบิกจีพียูยุคแรกๆ คือ ATI (ก่อตั้ง 1985), NVIDIA (ก่อตั้ง 1993), 3dfx (ก่อตั้ง 1994) แต่กว่าจีพียู 3D จะเริ่มบูมก็ต้องรอช่วงปลายทศวรรษคือ GeForce (1999) และ Radeon (2000)
ตลาดจีพียูในยุคแรกๆ ยังแยกขาดจากซีพียู และเน้นสำหรับงานเฉพาะทางเป็นหลัก เช่น งานออกแบบกราฟิกหรือเกม แต่หลังจากนั้นไม่นานนัก เมื่อการใช้งานแอปพลิเคชันกราฟิกบนพีซีเริ่มแพร่หลายมากขึ้น จีพียูกลายเป็นส่วนสำคัญที่ต้องใช้คู่กับซีพียู เราจึงเห็นดีลสำคัญคือ AMD ซื้อกิจการ ATI ในปี 2006 กลายเป็นบริษัทเดียวที่มีครบทั้งซีพียูและจีพียู
ฝั่งของอินเทลเอง ถึงแม้มีผลิตภัณฑ์จีพียูแบบออนบอร์ด (integrated) มานานพอสมควร ตั้งแต่แบรนด์ Intel Extreme Graphics, Intel GMA, Intel HD และ Iris ในปัจจุบัน แต่ก็ไม่ได้เอาจริงกับตลาดจีพียูแยกแบบ discrete มากนัก ปล่อยให้เป็นการต่อสู้กันระหว่าง ATI/AMD กับ NVIDIA มายาวนานข้ามทศวรรษ
แน่นอนว่าอินเทลเห็นความสำคัญของตลาดจีพียู discrete และเคยลงมาชิมลางด้วยจีพียูโค้ดเนม Larrabee ที่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2009 แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ด้วยเหตุผลเรื่องประสิทธิภาพที่ไม่ดีพอเมื่อเทียบกับคู่แข่ง (แนวคิดของ Larrabee ยังเป็นการใช้สถาปัตยกรรม x86 ผสมผสานกับ SIMD แบบจีพียูปกติ)
อินเทลยุติโครงการ Larrabee อย่างรวดเร็วในปี 2010 (ตัวเทคโนโลยีถูกนำไปใช้ต่อใน Xeon Phi หน่วยประมวลผลร่วมสำหรับเซิร์ฟเวอร์) และอินเทลดูจะขยาดกับตลาดนี้ ไม่กลับเข้ามายุ่งกับจีพียู discrete ไปอีกพักใหญ่ๆ จนกระทั่งกลับมาประกาศทำ Xe ในปี 2018 (และออกได้จริงในปี 2020 นี้เอง)
ถ้านับจาก GeForce ตัวแรกในปี 1999 จนมาถึง Xe ในปี 2020 จะเห็นว่าอินเทล "เสียโอกาส" ในตลาดจีพียูมานานถึง 20 ปีเต็มๆ
ในช่วงแรกๆ ตลาดจีพียูแยกขาดจากซีพียูอย่างชัดเจน และธุรกิจซีพียูของอินเทลไปได้สวยอยู่แล้ว ลูกค้าซื้อจีพียูยี่ห้อไหนก็ตาม ก็ต้องมาใช้กับซีพียูของอินเทลอยู่ดี การที่อินเทลไม่มีจีพียูย่อมไม่ใช่ปัญหาใดๆ
แต่ในทศวรรษ 2010s เป็นต้นมา การไม่มีจีพียูเริ่มส่งผลกระทบต่ออินเทลใน 2 แนวรบสำคัญ
อย่างแรกคือตลาดเกมคอนโซล ที่เริ่มเปลี่ยนทิศทางฮาร์ดแวร์จากการแยกชิ้นส่วนซีพียู-จีพียูจากคนละผู้ผลิต (Xbox 360 ใช้ซีพียู IBM และจีพียู ATI) มาสู่การเป็น SoC ครบทุกอย่างในตัวจากบริษัทเดียว และบริษัทเดียวที่มีทุกอย่างครบคือ AMD
ตรงนี้จึงไม่น่าแปลกใจว่า คอนโซลในยุคนั้นทั้ง PS4 และ Xbox One (เปิดตัว 2013) ทั้งคู่ ต่างเลือกใช้ชิปแบบคัสตอมจาก AMD ที่มีทั้งซีพียูและจีพียูมาพร้อม
ยอดขายล่าสุดของ PS4 อยู่ที่ 113.5 ล้านเครื่อง ส่วนยอดขาย Xbox One แม้ไม่เปิดเผยมานานแล้ว แต่คาดกันว่าน่าจะอยู่ราว 50 ล้านเครื่อง ถึงแม้ตัวเลขรวมอาจไม่ได้เยอะมากเมื่อเทียบกับยอดขายพีซีในแต่ละปี แต่อินเทลก็เสียตลาดขนาด 150-160 ล้านเครื่องไปเปล่าๆ ด้วยเหตุผลว่าไม่มีจีพียู
ภาพจาก หน้ารวมลูกค้าของ AMD
แนวรบที่สองคือตลาดที่อินเทลแข็งแกร่งมากๆ อย่างตลาดเซิร์ฟเวอร์ดังที่กล่าวไปแล้ว อินเทลสามารถโค่น IBM ขึ้นมาครองตลาดซีพียูเซิร์ฟเวอร์ได้เกือบเบ็ดเสร็จ และปัจจุบันนี้ยังไม่มีใครมาต่อกรกับอินเทลได้
อย่างไรก็ตาม ตลาดเซิร์ฟเวอร์เองเริ่มมีพัฒนาการใหม่ๆ ในทศวรรษ 2010s ว่าซีพียูอย่างเดียวไม่พอ มีรูปแบบงานประมวลผลชนิดใหม่ๆ ที่เป็นการประมวลผลแบบขนาน เป็นการประมวลผลแบบเวกเตอร์มากขึ้น ทำให้เซิร์ฟเวอร์ยุคหลังต้องมี "ตัวช่วยประมวลผล" (co-processor) หรือบ้างก็เรียกว่า "ตัวเร่งการประมวลผล" (accelerator) เข้ามาเสริม
บริษัทที่ทำตัวช่วยประมวลผลได้เก่งที่สุด คือบริษัทที่ขายหน่วยประมวลผลแบบขนาน/เวกเตอร์ได้มากที่สุดในโลก… NVIDIA
NVIDIA มีฐานลูกค้าเดิมจากฝั่งคอนซูเมอร์ที่ซื้อ GeForce อยู่แล้ว และไม่พลาดโอกาสนี้ด้วยการออก Tesla จีพียูสำหรับงานเซิร์ฟเวอร์ (เปิดตัวครั้งแรกปี 2007) พร้อมๆ กับการลงทุนพัฒนา CUDA API เพื่อช่วยให้นักพัฒนาย้ายโหลดงานจากซีพียูไปยังจีพียูได้ แม้ว่าหลังจากนั้นผู้ผลิตรายอื่นๆ จะพยายามผลักดัน OpenCL เพื่อย้ายงานบางประเภทไปรันบนจีพียูได้เหมือนกัน แต่ CUDA ก็ยังคงได้รับความนิยมสูงกว่าเรื่อยมา
อินเทลที่ชู Xeon Phi นั้นแม้จะได้รับความนิยมอยู่ช่วงหนึ่งในตลาดซูเปอร์คอมพิวเตอร์เนื่องจากสถาปัตยกรรมภายในเป็น x86 และการพัฒนาทำได้ง่าย ไม่ต้องเปลี่ยนแนวคิดมากนักเพราะ Xeon Phi ทำงานเหมือนคอมพิวเตอร์แยกอยู่คอมพิวเตอร์เครื่องหลัก สามารถล็อกอินด้วย SSH เข้าไปได้ และภายในจะมองเห็นซีพียูจำนวนมาก แต่ความได้เปรียบนี้ก็เริ่มหมดค่าลงอย่างรวดเร็วเมื่อเข้าสู่ยุค AI แบบ deep learning
NVIDIA Tesla ค่อยๆ เติบโตคู่มากับตลาดเซิร์ฟเวอร์ยุคใหม่ งานประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่และ AI เฟรมเวิร์ค AI อย่าง TensorFlow รองรับเฉพาะ CUDA ของ NVIDIA เป็นหลัก แม้จะรันบนซีพียูได้ แต่การทำงานก็จะประสิทธิภาพต่ำมากจนใช้งานจริงแทบไม่ได้ การบ่งชี้ว่า Tesla ได้รับความนิยมมากน้อยแค่ไหน ต้องลองไปดูที่ตลาดซูเปอร์คอมพิวเตอร์
หากเราดู TOP500 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่แรงที่สุดในโลก 10 อันดับแรก รายชื่อล่าสุดรอบเดือนพฤศจิกายน 2020 มี 4 เครื่องที่ใช้ซีพียู Xeon ของอินเทล แต่มีถึง 6 เครื่องที่ใช้ co-processor ของ NVIDIA ส่วนอาวุธเดียวที่อินเทลจะใช้ต่อกรได้คือ Xeon Phi ก็ตกยุคและเลิกทำไปแล้ว ขณะที่ความพยายามใช้ FPGA มาเร่งความเร็วงานเฉพาะทางจากการซื้อ Altera ก็ยังไม่ได้รับความนิยมในวงกว้างจนถึงทุกวันนี้
ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า อินเทลปล่อยปละละเลยตลาดจีพียูมานาน และพลาดโอกาสสำคัญของกระแส convergence ที่เริ่มหลอมรวมซีพียู-จีพียูเข้าด้วยกัน จนมันเริ่มย้อนกลับมาโจมตีอินเทลเอง
แต่ตลาดจีพียูยังเป็นเพียงแค่รถไฟขบวนแรกที่อินเทลตกรถ เพราะรถไฟอีกคัน "ตลาดมือถือ" ก็ขึ้นไม่ทันอีกเช่นกัน
ตกรถไฟขบวนที่สอง: สมาร์ทโฟน
ก่อนหน้านี้ผมยกตัวเลขให้ดูว่า ยอดขายคอนโซลตลอดอายุขัย (ประมาณ 7 ปี) อยู่ที่ราว 150 ล้านเครื่อง
ตัวเลขนี้เทียบไม่ได้เลยกับยอดขายพีซี ที่ในหนึ่งปีมียอดขายรวมประมาณ 300 ล้านเครื่อง ตัวเลขปี 2020 อาจกลับมาพุ่งเพราะ work from home แต่ถ้าย้อนดูปี 2019 ก็ห่างกันไม่เยอะคือประมาณ 270 ล้านเครื่อง หากเราตีส่วนแบ่งตลาดแบบหยาบๆ ว่าอินเทลครองประมาณ 70% ก็เท่ากับยอดขายประมาณ 200 ล้านเครื่องต่อปี
แต่ตัวเลขยอดขายพีซีก็ถือว่าน้อยอยู่ดี หากเราเทียบกับยอดขายสมาร์ทโฟนปีละ 1,300 ล้านเครื่อง (ตัวเลขปี 2020)
น่าเสียดายว่า ตอนนี้อินเทลแทบไม่มีเอี่ยวในตลาดสมาร์ทโฟนเลย
ถามว่าอินเทลมองไม่เห็นตลาดอุปกรณ์พกพามาก่อนเลยหรือ ก็ไม่ใช่อีก เพราะอินเทลนั่นแหละที่เล็งเห็นตลาดนี้ก่อนใคร เปิดตัวแพลตฟอร์ม Mobile Internet Device (MID) ครั้งแรกในปี 2007 ปีเดียวกับที่ iPhone เผยโฉมสู่โลก วิสัยทัศน์ของอินเทลคือใช้ซีพียู Atom ที่กินไฟน้อย ผนวกกับระบบปฏิบัติการ Moblin ที่ดัดแปลงจากลินุกซ์ (ภายหลังรวมกับ Maemo ของโนเกีย กลายเป็น MeeGo)
แต่คนไม่ใช่ทำอะไรก็ผิด MID/Moblin/Maemo/MeeGo ล้มเหลว (เฉกเช่นเดียวกับแพลตฟอร์มสมาร์ทโฟนอื่นในยุคนั้น เช่น webOS, Bada หรือแม้แต่ Windows Phone) ผู้ที่อยู่รอดมาได้มีเพียง iPhone และ Android เท่านั้น
หน้าตาของ Intel MID ในช่วงประมาณปี 2009 - ภาพจาก Phoronix
ซอฟต์แวร์ไม่รอด ขายฮาร์ดแวร์ได้ก็ยังดี อินเทลจึงผลักดันการใช้ Atom บนสมาร์ทโฟนร่วมกับกูเกิล พัฒนา Android ให้รองรับสถาปัตยกรรม x86 ของ Atom ในปี 2011 และร่วมกับแบรนด์มือถือ โดยหลักคือ ASUS ออก Zenfone ที่ใช้ Atom ออกสู่ตลาดในปี 2014
น่าเสียดายว่า ความพยายามของอินเทลไม่ประสบความสำเร็จอีกเช่นกัน เหตุผลหลักน่าจะมาจากข้อจำกัดของสถาปัตยกรรม x86 ในเรื่องการใช้พลังงงานขณะไม่ใช้งาน (idle) ที่สู้กับ ARM ไม่ได้เลย ในขณะที่ฝั่ง ARM เองก็สามารถพัฒนาประสิทธิภาพให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงเวลานั้น (เหตุผลอีกข้อคงเป็นเรื่องความเข้ากันได้ของซอฟต์แวร์บน Android บน x86 ที่ยังมีปัญหาอยู่บ้าง โดยเฉพาะแอพที่มีส่วนต้องเขียนแบบเนทีฟ เช่น เกม)
ASUS ถอนตัวจากมือถือ x86 และกลับมาใช้ ARM กับ Zenfone รุ่นที่สามในปี 2016 ส่วนกูเกิลเองก็แทบไม่พูดถึง x86 บน Android อีกแล้ว (แม้ NDK ของ Android ยังรองรับไบนารี x86 อยู่ก็ตาม)
หมายเหตุ: จริงๆ แล้วอินเทลเคยมีธุรกิจซีพียู ARM กับเขาด้วยคือแบรนด์ XScale แต่ขายทิ้งไปก่อนในปี 2006 ให้กับ Marvell ในช่วงก่อนสมาร์ทโฟนบูม
ภาพจากงานแถลงข่าว Zenfone ในปี 2014 - ASUS
อินเทลยังไม่ยอมแพ้อะไรง่ายๆ ขายหน่วยประมวลผลไม่ได้ ขายชิปโมเด็มอย่างเดียวก็ยังดี จึงเป็นที่มาของการตั้งแผนกชิปโมเด็ม แต่ก็พบข้อจำกัดมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเทคนิคด้านการส่งสัญญาณไร้สาย ปัญหาสิทธิบัตร และการหาลูกค้า (ที่สุดท้ายมีแค่แอปเปิลเพียงรายเดียว ด้วยเหตุผลว่าแอปเปิลทะเลาะกับ Qualcomm อีกต่างหาก) สุดท้ายในปี 2019 อินเทลจึงถอนตัวออกจากธุรกิจสมาร์ทโฟนอย่างเต็มตัว ด้วยการขายแผนกชิปโมเด็มให้แอปเปิลรับช่วงต่อ
ความล้มเหลวของอินเทลในตลาดชิปมือถือ ถือว่าแตกต่างจากตลาดจีพียูตรงที่อินเทลมองเห็นเทรนด์ทุกอย่าง แถมยังบุกเข้ามาอย่างค่อนข้างจริงจังด้วย (ต่างจาก Larrabee ที่แหย่ขามาแป๊บเดียวแล้วออกไป)
แต่แม้พยายามแล้วยังไม่สำเร็จอยู่ดี ผมคิดว่าปัญหาเกิดจาก "วิธีคิด" ของอินเทลเองที่พยายามใช้ x86 กับทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟนหรือจีพียู ซึ่งออกจะฝืนๆ แต่ก็เข้าใจได้ว่าบริษัทที่ยิ่งใหญ่มากับ x86 อาจมองไม่เห็นข้อจำกัดของตัวเอง
ชิปโมเด็ม 5G ของอินเทลในปี 2017 - Intel
ภัยคุกคามโผล่ทุกแนวรบ
การพลาดตลาดเกิดใหม่ที่สำคัญทั้งจีพียูและสมาร์ทโฟน กลับไม่เป็นปัญหาเท่าไรนัก เพราะผลประกอบการของอินเทลยังออกมายอดเยี่ยมเสมอ (ไม่ใช่แค่ดี แต่เรียกว่า "ยอดเยี่ยม" เลยด้วยซ้ำ) จากธุรกิจหลักคือ ซีพียูสำหรับพีซีและเซิร์ฟเวอร์ ทำให้อินเทลไม่เคยรู้สึกว่ามันเป็นปัญหา
แต่ช่วงปลายทศวรรษที่ 2010s ตลาดที่ดูไม่ค่อยเกี่ยวข้องกันอย่างจีพียูและสมาร์ทโฟน กลับเติบโต ขยายตัวจนเข้ามารุกพื้นที่เดิมของอินเทล ทั้งฝั่งพีซี (Apple M1) และเซิร์ฟเวอร์ (จีพียู NVIDIA และเซิร์ฟเวอร์ ARM) เท่านั้นยังไม่พอ ในช่วงที่อินเทลเริ่มสะดุดขาตัวเองจากปัญหา 10nm คู่แข่งหน้าเก่าอย่าง AMD ก็คืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง แถมกลับมาอย่างน่ากลัวทีเดียว
ถ้าลองแยกแนวรบของอินเทลในปัจจุบันออกเป็น 4 ด้านใหญ่ๆ ตามภาพ จะเห็นว่าอินเทลโดนโจมตีในทุกแนวรบ
ซีพียูสำหรับพีซี เจอปัญหา 10nm ของตัวเอง, AMD แรงขึ้นมาจาก Ryzen, ลูกค้าเก่า แอปเปิลหันไปทำซีพียูเอง
ซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์ AMD เริ่มกลับมาใหม่ด้วย EPYC, เจอซีพียู ARM มาต่อกร, หน่วยประมวลผลร่วมกลายเป็นตลาดของ NVIDIA
จีพียู ตลาดนี้กลายเป็นของ NVIDIA และ AMD
สมาร์ทโฟน ตลาดนี้กลายเป็นของ ARM โดยอินเทลถอนตัวออกมาหมดแล้ว
สิ่งที่น่าสนใจคือ อินเทลไม่สามารถบุกไปในตลาดเกิดใหม่ (จีพียู-สมาร์ทโฟน) ได้ และกลับถูกกินแดนเข้ามาจากทั้งฝั่งจีพียู (NVIDIA) และสมาร์ทโฟน (กองทัพ ARM) ที่เริ่มหลอมรวมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือดีล NVIDIA ซื้อ ARM ที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่า NVIDIA ต้องการเข้ามากินแดนของอินเทลทุกด้าน
นอกจากคู่แข่งหน้าเก่า AMD และ NVIDIA อินเทลยังเจอคู่แข่งหน้าใหม่เข้ามาอีก 2 รายคือ แอปเปิลที่เคยเป็นลูกค้ากันมายาวนาน กลายมาเป็นคู่แข่งหลังแอปเปิลทำซีพียู M1 ของตัวเอง และ Amazon ที่เป็นลูกค้าอินเทลในฝั่งเซิร์ฟเวอร์ ก็เริ่มออกแบบชิป ARM ใช้เองในชื่อ Graviton ด้วยเหตุผลว่าอัตราประสิทธิภาพต่อพลังงานดีกว่า
จากรุ่นสู่รุ่น ปัญหาสั่งสมของอินเทลในแต่ละยุคสมัย
ทั้งสามหัวข้อข้างต้น คือการบอกว่า อินเทลประสบความสำเร็จอย่างมากในตลาดเซิร์ฟเวอร์ แต่กลับทำไม่ได้อย่างเดียวกันในตลาดจีพียูและมือถือ (น่าจินตนาการว่าถ้าหากทำได้จริงๆ ตอนนี้จะยิ่งใหญ่แค่ไหนกัน) มิหนำซ้ำ อินเทลยังมองเห็นเทรนด์เรื่องจีพียู-มือถือมาล่วงหน้าแล้ว เพียงแต่คว้าโอกาสไม่ได้เอง
สาเหตุที่อินเทลพลาดตลาดสำคัญทั้ง 2 นี้ คงต้องดูบริบทของอินเทลในยุคนั้นๆ พร้อมทั้งแนวทางของซีอีโอแต่ละคนประกอบกันไปจึงจะเห็นภาพ
อินเทลเป็นบริษัทที่ก่อตั้งในปี 1968 ปัจจุบันมีอายุ 53 ปีแล้ว ถือว่าเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ "แก่" พอสมควร แต่นับถึงปัจจุบัน อินเทลมีซีอีโอมาเพียงแค่ 8 คนเท่านั้นเอง
Robert Noyce (1968-1975)
Gordon Moore (1975-1987)
Andrew Grove (1987-1998)
Craig Barrett (1998-2005)
Paul Otellini (2005-2013)
Brian Krzanich (2013-2018)
Bob Swan (2019-2021)
Pat Gelsinger (2021-)
ที่ผ่านมาอินเทลไม่เคยใช้ซีอีโอคนนอกเลยแม้แต่ครั้งเดียว มีเพียงรอบล่าสุดนี้คือ Pat Gelsinger ที่ดึงตัวมาจาก VMware แต่ Gensinger เองก็เป็นลูกหม้อที่ทำงานกับอินเทลมานาน 30 ปี ก่อนออกไปโตที่อื่น นอกจากนี้ อินเทลยังมีธรรมเนียมการตั้งซีอีโอที่มีพื้นเพจาก "วิศวกร" โดยมีซีอีโอเพียง 2 คน (Otellini และ Swan) ที่ไม่เคยทำงานสายเทคนิคมาก่อน
เราคงไม่ต้องย้อนไปไกลถึงซีอีโอ 3 คนแรก (Noyce, Moore, Grove) ที่เป็นตำนานของบริษัท ผมคิดว่าปัญหาของอินเทลในปัจจุบัน มาจากช่วงรอยต่อของยุค Otellini และ Krzanich ซึ่งต้องพิจารณาสถานการณ์ของอินเทลในยุคนั้นประกอบด้วย
Paul Otellini ซีอีโอคนที่ 5 ของอินเทล (2005-2013)
Paul Otellini ซีอีโอคนที่ 5 ของอินเทล (เพิ่งเสียชีวิตในปี 2017) มีพื้นเพมาจากด้านเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ เขาทำงานกับอินเทลในปี 1974 ทันทีหลังเรียนจบ และทำงานในสายการขาย-การตลาดมาตลอด
ในจังหวะที่เขาขึ้นเป็นซีอีโอในปี 2005 ตอนนั้นอินเทลกำลังสับสนในตัวเอง เพราะยุคของ Craig Barret ซีอีโอคนก่อนหน้า อินเทลขยายสถาปัตยกรรมจาก x86 เดิม ออกไปในสองแนวทางคือ IA-64 (Itanium) และ ARM (XScale) แต่ไม่ประสบความสำเร็จทั้งคู่ แถมการแบ่งทรัพยากรไปทำอย่างอื่น ยังเปิดโอกาสให้ AMD ที่โฟกัสที่ x86 เป็นหลัก (และออก AMD64 หรือ x86-64 ในปัจจุบัน) มาตีตลาดเดิมของอินเทลอย่างหนัก
สิ่งที่ Otellini ทำคือขาย XScale ออกไป ปรับโครงสร้างบริษัทใหม่ ลดสายซีพียู x86 ลงมาเหลือสายเดียว ปลดพนักงานเพื่อตัดค่าใช้จ่าย การกลับมาโฟกัสที่ x86 ทำให้อินเทลกลับมาอยู่ในร่องในรอย เมื่อบวกกับท่าไม้ตาย Tick-Tock (ที่ถูกคิดมาในยุคของ Otellini) ซีพียูของอินเทลจึงกลับมานำหน้าอีกครั้ง - รายละเอียดอ่านในบทความ ช่วงเปลี่ยนผ่านครั้งใหม่แห่งอินเทล: ยุคแห่ง Paul Otellini และความท้าทายครั้งใหม่ ที่คุณ Lew เขียนไว้ในปี 2012
แต่การกลับมาโฟกัสที่ x86 ของ Otellini ก็ทำให้อินเทลพลาดตลาดเกิดใหม่สำคัญ 2 อย่างดังที่กล่าวไปแล้ว นั่นคือ จีพียู (Larrabee) และสมาร์ทโฟน (Atom) ซึ่งเริ่มโครงการในช่วงปลายยุคของเขาทั้งคู่
Brian Krzanich ซีอีโอคนที่ 6 ของอินเทล (2013-2018)
Brian Krzanich ซีโอโอของอินเทล (ในตอนนั้น) ก้าวขึ้นมารับตำแหน่งซีอีโอต่อจาก Otellini เขาเป็นอีกคนที่เป็นลูกหม้อของบริษัท ทำงานกับอินเทลมายาวนานตั้งแต่ปี 1982 โดยเริ่มจากสายวิศวกรคุมโรงงานผลิตชิป
Krzanich รับสืบทอดอินเทลที่แข็งแกร่งมาจากยุค Otellini โดยในยุคของเขา อินเทลขยายตัวสู่ธุรกิจใหม่ๆ หลายอย่าง เช่น การซื้อบริษัท FPGA Altera ในปี 2015 ด้วยราคาสูงถึง 16.7 พันล้านดอลลาร์ (เป็นดีลที่ใหญ่ที่สุดของอินเทลในปัจจุบัน) และการซื้อบริษัทรถยนต์ไร้คนขับ Mobileye ของอิสราเอล ที่เคยทำระบบให้ Tesla ในยุคแรกๆ ด้วยราคาใกล้ๆ กัน (15.3 พันล้านดอลลาร์) เมื่อปี 2017
อย่างไรก็ตาม Krzanich ไม่ได้แก้ปัญหาอะไรมากนักกับตลาดจีพียูที่ตกขบวนไป (เพิ่งกลับมาประกาศทำ Xe ในปี 2018 ท้ายยุคของเขาแล้ว) และตลาดมือถือที่ต้องถอนตัวออกมาอย่างเจ็บปวด
ยุคของ Krzanich ยังเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาที่เป็นใจกลางของบริษัทคือ Tick-Tock ถึงทางตัน (ตามที่กล่าวไปในบทความตอนแรก ปัญหาของ Tick-Tock เริ่มต้นในปี 2016 แล้วลากยาวมาจนถึงปัจจุบัน) ทำให้อินเทลสูญเสียความสามารถในการแข่งขันไปพอสมควร เปิดช่องให้พันธมิตร AMD-TSMC แซงหน้าได้
แต่ Krzanich ยังไม่ทันแก้ปัญหาเหล่านี้ได้เสร็จ เขาก็มีอันต้องไปซะก่อน จากปัญหาชู้สาวในที่ทำงาน ซึ่งเกิดขึ้นก่อนช่วงเขาขึ้นมาเป็นซีอีโอ
Bob Swan ซีอีโอคนที่ 7 ของอินเทล (2019-2021)
Bob Swan ซีอีโอคนที่เจ็ดของอินเทล ถือเป็นคนแรกที่ไม่ได้เป็นลูกหม้อของบริษัทมายาวนาน เขาทำงานในสายการเงินมาตลอด เป็นซีเอฟโอ (CFO) ของหลายบริษัท ก่อนเข้ามาเป็นซีเอฟโอของอินเทลในปี 2016 ก่อนหน้า Krzanich ลาออกเพียง 2 ปี
เมื่อ Krzanich เกิดเหตุพลิกผัน ทำให้ Swan ต้องรักษาการชั่วคราว และได้ขึ้นมาเป็นซีอีโอคนที่เจ็ดของบริษัทในช่วงต้นปี 2019 และอยู่ในตำแหน่งนี้สั้นๆ เพียง 2 ปี ก่อนประกาศลงจากตำแหน่งช่วงต้นปี 2021 เพื่อส่งไม้ต่อให้ Pat Gelsinger
ในยุคของ Swan อินเทลทำได้เพียงประคองตัวจาก AMD, ยังไม่สามารถแก้ปัญหา 10nm ได้, มีปัญหาชิปขาดแคลนเข้ามาเพิ่มอีก แต่ในอีกทาง เขาก็พาอินเทลถอนตัวจากตลาดที่ไม่ทำเงิน เลิกขาย Itanium, ขายธุรกิจชิปโมเด็มให้แอปเปิล หันไปโฟกัสที่ธุรกิจใหม่ๆ นอกจากซีพียูพีซีแบบดั้งเดิม และไม่ว่าจะมีปัญหารุมเร้ามากแค่ไหน อินเทลในยุคของ Swan มีรายได้เพิ่มต่อเนื่องเป็นประวัติการณ์
ถ้ามองในแง่ผลประกอบการเพียงอย่างเดียว การประคองตัวของ Bob Swan ทำออกมาได้ยอดเยี่ยม แต่ทุกคนก็คงรู้ว่าภาวะนี้คงอยู่ได้อีกไม่นาน เมื่อรักษาเสถียรภาพของบริษัทได้ในระดับหนึ่งแล้ว Swan จึงหลีกทางให้กับ Pat Gelsinger ความหวังที่จะมากอบกู้อินเทลให้กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง
ในอุตสาหกรรมไอทีตอนนี้คงไม่มีใครเหมาะกว่า Gelsinger อีกแล้ว เพราะเขาเคยทำงานกับอินเทลมานาน 30 ปี อยู่ในทีมออกแบบซีพียู 386/486 และเคยเป็น CTO คนแรกของบริษัทด้วย หลังจากนั้น Gelsinger ออกไปทำงานสายบริหาร โดยเป็น COO ของ EMC และเป็น CEO ของ VMware ระหว่างปี 2012-2021 ผลงานของเขาที่ VMware คงพิสูจน์ชัดเจนว่าเขามีความสามารถมากพอในฐานะซีอีโอ
Pat Gelsinger ซีอีโอคนที่ 8 ของอินเทล (2021-ปัจจุบัน)
ทางรอดของอินเทลในยุค Pat Gelsinger
ต้องบอกว่า Pat Gelsinger รับช่วงอินเทลที่มีความพิเศษมากๆ มาจาก Bob Swan
ความพิเศษสามารถแบ่งได้ 3 ข้อดังนี้
อย่างแรกคือ รวยมาก
อินเทลปี 2020 ทีโดนรุมกินโต๊ะจากทุกฝ่าย มีรายได้ตลอดทั้งปี 77.9 พันล้านดอลลาร์ (2.4 ล้านล้านบาท!) เติบโตขึ้น 8% จากปี 2019 และมีอัตรากำไรสูง (operating margin) ถึง 30.4% ถ้านับเฉพาะกำไรของปี 2020 คือ 20.9 พันล้านดอลลาร์ (6.4 แสนล้านบาท) มีกระแสเงินสดในมือ ณ สิ้นปี 2020 ที่ 5.8 พันล้านดอลลาร์
เรียกได้ว่าอินเทลยุค "ขาลง" ช่วงนี้ ต่างชั้นไปจากบริษัทช่วงขาลงรายอื่นๆ อย่างมาก (เช่น AMD ช่วงขาลง) ทำให้ Gelsinger สบายไปหลายสิบอย่าง ไม่ต้องโดนผู้ถือหุ้นกดดันให้เร่งทำกำไร และมีเงินไปซื้อกิจการมาเติมเต็มได้เหลือเฟือ
อย่างที่สองคือ อินเทลมีบทเรียนจากการตกรถไฟขบวนจีพียู-มือถือ ทำให้เตรียมลงทุนเพื่อยุคสมัยหน้าไว้แล้วตั้งแต่ยุคของ Krzanich
ธุรกิจจีพียู กำลังจะคัมแบ็คกลับมาอีกครั้งด้วย Xe ซึ่งหัวหน้าโครงการนี้คือ Raja Koduri ที่ดึงตัวมาจาก AMD และอยู่กับ ATI มาตั้งแต่ยุคแรกเริ่ม ถ้าจะมีใครต้านทานพลังอำนาจของ NVIDIA ได้ ก็คงมีแต่ Raja คนนี้แหละ
ธุรกิจ FPGA เคยตกรถกับจีพียูมาแล้วคงไม่พลาดอีก อินเทลจึงไปซื้อบริษัทด้าน FPGA-ASIC มาหลายราย เช่น Altera และ eASIC ตอนนี้เริ่มมีผลิตภัณฑ์ออกมาบ้างแล้วคือ Agilex
ธุรกิจ IoT มี Atom เป็นหัวหอกมาตั้งแต่แรก และเสริมด้วยชิปเฉพาะทาง computer vision อย่าง Movidius
ธุรกิจรถยนต์ไร้คนขับ ซื้อกิจการ Mobileye ตอนนี้โลกน่าจะมีผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดนี้แค่ 2 รายหลักๆ คือ Intel และ NVIDIA
นอกจากนี้อินเทลยังมีธุรกิจข้างเคียงอื่นๆ อีก เช่น หน่วยความจำ-สตอเรจ (Optane) ชิปไร้สาย-เครือข่ายอีกจำนวนหนึ่งด้วย
อย่างที่สามคือ สภาพแวดล้อมในตลาดโลกที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ มีทั้งกระแส work from home ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กลับมาขายดี (ไม่มีปัญหาขายไม่ออก แต่เป็นปัญหากลับกันคือของขาดตลาดแทน) และนโยบายของสหรัฐอเมริกายุค Joe Biden ที่สนับสนุนการผลิตชิปในประเทศ อินเทลที่เป็นบริษัทอเมริกัน มีโรงงานของตัวเองในสหรัฐอเมริกาอยู่แล้ว ย่อมได้เปรียบมากกว่าคู่แข่งทั้ง AMD/NVIDIA ที่ต้องพึ่งพาบริษัทต่างชาติ (TSMC, Samsung) ช่วยผลิตชิป แม้บริษัทเหล่านี้กำลังเร่งขยายโรงงานในอเมริกาก็ตาม
ปัจจัยทั้ง 3 ข้อช่วยให้งานของ Pat Gelsinger ไม่ยากจนเกินไป คำถามถัดมาคือ Gelsinger จะเลือกทำอะไรบ้าง ผมคิดว่าคนที่คุ้นเคยกับอินเทลมายาวนานแบบเขา คงมีแนวทางในใจอยู่แล้ว แต่ถ้าให้คาดเดา หลายอย่างก็ชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง
สิ่งแรกที่ต้องทำแน่ๆ คือ แก้ปัญหาเรื่อง 10nm ที่เป็นแกนกลางของทุกสิ่งให้จงได้ เราไม่รู้ว่าสถานะความคืบหน้าภายในบริษัทเป็นอย่างไร แต่ Gelsinger เข้ามากลางทางก็คงไม่สามารถปรับเปลี่ยนอะไรได้มากนัก ทำได้เพียงอดทนรอ
ถัดมาคือออกผลิตภัณฑ์หลักคือ ซีพียูให้กลับมาเป็นเบอร์หนึ่งได้อีกครั้ง เรื่องนี้อินเทลโม้เอาไว้ว่าจะกลับมาพร้อม Alder Lake ในช่วงปลายปี 2021 ที่เปลี่ยนทั้งสถาปัตยกรรมใหม่ และใช้กระบวนการผลิต 10nm ครั้งแรกสำหรับเดสก์ท็อป (เรียกว่า Tick+Tock พร้อมกันในรอบเดียว อั้นมานาน) จะทำได้จริงแค่ไหนต้องรอดูกันตอนปลายปี
อย่างที่สามคือ เร่งผลักดัน Xe ให้ติดตลาดโดยเร็ว เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ และมีของพร้อมอยู่แล้ว ในแผนการ roadmap ของอินเทลเองที่เรียกว่า Six Pillars of Technology Innovation ให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิต (Process & Packaging) เป็นอันดับแรก ส่วนแผนลำดับสองคือ XPU หรือการทำงานข้าม 4 สถาปัตยกรรมประมวลผล (CPU, GPU, FPGA และอื่นๆ) ด้วย oneAPI ตัวเดียวกันหมด ตั้งแต่โน้ตบุ๊กไปจนถึงซูเปอร์คอมพิวเตอร์
แผนการฟังดูสวยหรู แต่ในความเป็นจริงก็ไม่ง่ายเพราะตลาดนี้เป็นของ NVIDIA อยู่ก่อนแล้ว สิ่งที่อินเทลต้องทำคือเร่งออก Xe ในทุกระดับคลาส และออก Xe สำหรับเดสก์ท็อปเกมมิ่งที่เป็นเรือธงในใจ ให้ทุกคนจดจำ Xe ได้
ในระยะถัดไป เราจะค่อยๆ เห็นอินเทลเปลี่ยนแปลงโมเดลการผลิต-ออกแบบซีพียูของตัวเอง ที่เคยผูกพันกันอย่างแนบแน่น (coupled) ให้ผ่อนคลายมากขึ้น เมื่อช่วงปลายปี 2020 Raja Koduri ในฐานะประธานฝ่ายสถาปัตยกรรม ก็ออกมาเล่า "แนวทางใหม่" ของอินเทล ที่จะทำ 3 เรื่องคือ XPU (Xe+Agilex), Software (OneAPI) และกรอบด้านบนสุดในภาพคือเปลี่ยนจาก coupled design มาเป็น resilient design
Koduri ไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้เยอะมากนัก เพราะเน้นไปที่ XPU และ Xe มากกว่า แต่ความหมายของมันคือ กระบวนการออกแบบซีพียูของอินเทลจะต้องยึดโยงกับกระบวนการผลิตน้อยลง และในอีกทาง อินเทลก็ต้องเริ่มออกไปใช้โรงงานภายนอกช่วยผลิตด้วย ซึ่งเริ่มทำไปแล้วกับการผลิต Xe ในบางรุ่นย่อย (จ้าง TSMC ผลิตบางส่วน)
แผนการผลิต Xe บางรุ่นที่ระบุว่าใช้ "external" โรงงานอื่นผลิต
นอกจากนี้ เรายังน่าจะได้เห็น Gelsinger ซื้อกิจการครั้งใหญ่ๆ ที่เป็น strategic acquisition ด้วย (ลักษณะเดียวกับที่ NVIDIA ซื้อ Arm Inc.) เพียงแต่ยังไม่น่าจะเกิดในระยะอันใกล้นี้ คงต้องรอให้ Gelsinger เก็บกวาดปัญหาภายในให้เสร็จก่อน
หมายเหตุ: Gelsinger มีนัดแถลงข่าวครั้งแรกในฐานะซีอีโอวันที่ 23 มีนาคม 2021 นี้ รอดูกันว่าเขาจะประกาศอะไรบ้าง
บทส่งท้าย: Only the Paranoid Survive
เมื่อพูดถึงการปรับตัวของอินเทล คงต้องย้อนกลับไปที่หนังสือ Only the Paranoid Survive ของ Andrew Grove ที่เล่าถึงการหนีตายครั้งสำคัญของอินเทลในยุค 80s ที่เลิกทำธุรกิจหน่วยความจำ ผันตัวมาทำซีพียูอย่างเดียว และกลายเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ของอินเทล
เวลาผ่านมากว่า 30 ปี บริบทของอินเทลและตลาดเซมิคอนดักเตอร์เปลี่ยนไปจากยุคนั้นมากแล้ว แต่แนวคิดของ Grove น่าจะยังใช้ได้ดีอยู่เสมอ
คำพูดเต็มๆ ของ Grove คือ ความสำเร็จของธุรกิจมีเมล็ดพันธุ์แห่งความพังทลายอยู่ในนั้น ความสำเร็จนำมาซึ่งความพึงพอใจ ความพึงพอใจนำไปสู่ความล้มเหลว มีเพียงผู้ที่ระแวงเท่านั้นที่อยู่รอด
Pat Gelsinger ทำงานกับอินเทลในปี 1979 และได้มีโอกาสมองเห็นเหตุการณ์ที่ Grove พลิกวิกฤตเป็นโอกาสอย่างใกล้ชิด ซึมซับการทำงานของ Grove ตลอดสมัยที่เขาเป็นซีอีโอ
42 ปีต่อมา Pat Gelsinger คนเดิมกลับเข้ามาที่อินเทล ในตำแหน่งเดียวกับ Grove ยุคนั้น แต่เป็นช่วงเวลาที่อินเทลจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตัวเองครั้งใหญ่อีกรอบ
เขาน่าจะเป็นคนที่ตระหนักถึงเรื่องนี้ดีกว่าใครๆ
Only the Paranoid Survive |
# ญี่ปุ่นเริ่มบังคับใช้กฎใหม่ ทุกคนที่เดินทางเข้าประเทศต้องติดตั้งแอพตามรอยถึง 3 ตัว
ญี่ปุ่นเริ่มบังคับใช้กฎใหม่สำหรับทุกคนที่เดินทางเข้าประเทศทางสนามบิน (ไม่ว่าจะเป็นประชาชนญี่ปุ่นเอง หรือคนต่างชาติก็ตาม) จะต้องติดตั้งแอพทั้งหมด 3 ตัวคือ
COCOA แอพ contact tracing ของกระทรวงสาธารณสุข
OSSMA แอพระบุพิกัดของตัวเอง เพื่อรายงานตำแหน่ง
Skype เพื่อพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ที่โทรมาสอบถามตำแหน่ง
แอพเหล่านี้จะต้องติดตั้งและใช้งานเป็นเวลา 14 วันในช่วงกักตัวเอง (self-quarantine) หลังเข้าประเทศ หากบุคคลนั้นไม่มีสมาร์ทโฟนหรือใช้สมาร์ทโฟนรุ่นเก่าเกินไป จะต้องเช่าสมาร์ทโฟนที่สนามบิน และต้องจ่ายเงินเอง
เจ้าหน้าที่สนามบินจะตรวจสอบผู้เดินทางว่าติดตั้งแอพทั้ง 3 ตัวแล้วหรือไม่ ถึงค่อยอนุญาตให้เข้าประเทศ กฎใหม่นี้เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ 18 มีนาคม
หน้าตาของ COCOA และ OSSMA บน Google Play
ที่มา - ประกาศกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่น (ภาษาอังกฤษ), Japan Today |
# กองทัพจีนสั่งห้ามใช้รถ Tesla ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง กลัวข้อมูลรั่วไหลจากกล้องในรถ
กองทัพจีนสั่งห้ามการใช้รถยนต์ของ Tesla กับกิจการของกองทัพ ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง เพราะรถยนต์ของ Tesla มีกล้องและเซ็นเซอร์เสียงติดตั้งภายในรถ อาจนำข้อมูลสำคัญของกองทัพรั่วไหลไปฝั่งอเมริกาได้
ก่อนหน้านี้ Tesla ถูกหน่วยงานกำกับดูแลการค้า (State Administration for Market Regulation) สอบสวน 2 เรื่อง ได้แก่ เรื่องความปลอดภัยของรถยนต์ และการส่งข้อมูลออกนอกประเทศจีน
ตลาดจีนถือเป็นตลาดสำคัญอีกแห่งของ Tesla โดยมียอดขายสูงถึง 145,000 คันในปี 2020 (คิดเป็น 30% ของยอดขายทั้งบริษัท) และส่งผลให้ Tesla ทะยานขึ้นเป็นรถยนต์ไฟฟ้าอันดับ 3 ของจีน รองจาก SAIC และ BYD เท่านั้น
ที่มา - Nikkei |
# Instagram ล่มทั่วโลก WhatsApp/Facebook Messenger ไม่เสถียร
เมื่อช่วงเที่ยงคืนที่ผ่านมา Instagram และ WhatsApp ล่มทั่วโกล โดยผู้ใช้ที่เข้าเว็บ Instagram จะได้ HTTP 503 กลับมา และใน HTTP header ที่ตอบกลับยังระบุฟิลด์ proxy-status ว่า no_server_available
นอกจาก Instagram แล้ว ยังมีรายงานว่าแชตของเฟซบุ๊ก ทั้ง WhatsApp และ Facebook Messenger ไม่เสถียร แม้จะเข้าใช้งานเว็บได้ก็ตาม |
# Activision Blizzard โดนวิจารณ์ ปลดพนักงาน 190 คน แต่ซีอีโอได้โบนัสเกือบ 200 ล้านดอลลาร์
Activision Blizzard เพิ่งจ่ายเงินโบนัสให้ซีอีโอ Robert A. Kotick เป็นมูลค่าเกือบ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังทำผลงานราคาหุ้นได้ทะลุเป้าหมายในสัญญา
Kotick นั่งเป็นซีอีโอของ Activision มานาน 25 ปีแล้ว แต่สัญญาฉบับล่าสุดของ Kotick ในปี 2016 ระบุเอาไว้ว่าหากราคาหุ้นของบริษัทสูงกว่าเป้าหมาย เขาจะได้โบนัสคิดเป็นเปอร์เซนต์ของรายได้ต่อปี (สูงสุดที่ 400% ของเงินเดือนทั้งปี)
หลังจากที่ปี 2020 หุ้นบริษัทไอทีและบริษัทเกมเติบโตกันถ้วนหน้า ทำให้อัตราการเติบโตของหุ้น Activision Blizzard (นับรวม 4 ปีจากเริ่มต้นสัญญา) ทะลุเป้า ทำให้ Kotick ได้โบนัสเป็นหุ้นของบริษัทแบบเต็มๆ คิดเป็นมูลค่าหุ้นคือเกือบ 200 ล้านดอลลาร์
ผลงานของ Kotick คงไม่มีปัญหาอะไรเพราะสัญญาระบุไว้ชัดเจน (และเป็นสัญญาตั้งแต่ปี 2016) แต่การที่เขาได้เงินจำนวนมหาศาล ก็ทำให้นักลงทุนบางกลุ่มไม่พอใจ เพราะมองว่าราคาหุ้นไม่ได้สะท้อนผลงานของ Kotick ทั้งหมด
ประเด็นเรื่องโบนัสของ Kotick ยังบังเอิญมาเจอกับข่าว Activision Blizzard ปลดพนักงานออก 190 คน หรือประมาณ 2% ของพนักงานทั้งหมด ด้วย ถึงแม้พนักงานได้รับเงินชดเชยตามกฏมาย แต่การที่ซีอีโอได้โบนัสจำนวนมหาศาลในช่วงเดียวกัน ก็ทำให้ Activision Blizzard ถูกวิจารณ์ไม่น้อยเช่นกัน
ที่มา - PCGamer, IGN |
# เทียบสเปก Samsung Galaxy A51 กับ Galaxy A52 ต่างกันแค่ไหน ซื้อรุ่นไหนดี?
Samsung เปิดตัว Galaxy A52 และ Galaxy A52 5G รุ่นอัพเกรดจาก Galaxy A51 มือถือแอนดรอยด์ที่ขายดีอันดับ 1 ประจำไตรมาสแรกของปีที่แล้ว ส่วนคราวนี้มีสองตัวเลือก ทั้ง A52 รุ่นธรรมดา รองรับ 4G ราคา 11,999 บาท และ A52 5G รองรับ 5G ตามชื่อ ราคา 13,499 บาท
ข้อแตกต่างระหว่าง Galaxy A52 กับ A52 5G
ก่อนจะไปเทียบกับ Galaxy A51 รุ่นปีที่แล้ว คงต้องเปรียบเทียบ Galaxy A52 กับ A52 5G กันก่อน ข้อแตกต่างแรกคือซีพียู ที่รุ่นธรรมดาใช้ Qualcomm Snapdragon 720G ส่วนรุ่น 5G ใช้ Snapdragon 750G ซึ่ง นอกจากจะรองรับ 5G แล้ว ยังได้คะแนนการทดสอบ AnTuTu และ Geekbench 5 สูงกว่า 720G อยู่ประมาณ 16-17% อีกด้วย (การทดสอบระหว่าง Xiaomi Mi 10T Lite กับ Realme 7 Pro ที่ใช้ซีพียูคู่นี้เหมือนกัน)
อีกจุดเป็นเรื่องของหน้าจอ ที่เป็น Super AMOLED ความสว่างสูงสุด 800 nits ความละเอียด 1080x2400 พิกเซลเหมือนกัน แต่ A52 5G มีรีเฟรชเรต 120Hz ส่วน A52 ธรรมดามีรีเฟรชเรต 90Hz
ในส่วนอื่น เช่น แรมหรือหน่วยความจำภายใน ในบ้านเราทั้งสองรุ่นวางจำหน่ายที่ 8GB+128GB เท่ากัน (ยังไม่มีข้อมูลว่า A52 และ A52 5G มีการอัพเกรดหน่วยความจำภายในจาก UFS 2.0 ใน Galaxy A51 ให้เป็นรุ่นที่เร็วกว่าเดิม เช่น UFS 3.0 หรือไม่)
ใครที่อยากได้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าเล็กน้อย หน้าจอรีเฟรชเรตสูงกว่า และอยากใช้งานยาวๆ จน 5G ใช้งานได้เต็มที่ รุ่น A52 5G น่าจะตอบโจทย์ ในราคาที่แพงขึ้นมาอีก 1,500 บาท
เทียบ Galaxy A51 กับ Galaxy A52 และ A52 5G
Galaxy A51 เปิดตัวด้วยราคา 10,499 บาท ราคาอย่างเป็นทางการบนเว็บไซต์ Samsung ในปัจจุบัน อยู่ที่ 9,999 บาท (แต่ก็สามารถหาซื้อจากช่องทางอื่นเช่น Lazada ได้ในราคา 8 พันต้นๆ) หรือถูกกว่า A52 อยู่ประมาณ 2,000 บาทและถูกกว่า A52 5G อยู่ประมาณ 3,500 บาท
Galaxy A51
ประสิทธิภาพ
จุดแรกที่แตกต่างคือ Galaxy A51 ใช้ชิป Exynos 9611 ซึ่งมีคะแนน AnTuTu น้อยกว่า Snapdragon 720G ประมาณ 53% และด้อยกว่าในทุกการทดสอบ (ทดสอบบน Galaxy A51 กับ Realme 7 Pro)
ส่วน Snapdragon 750G ในรุ่น A52 5G ยิ่งไม่ต้องพูดถึง เพราะทำคะแนน AnTuTu แซง Exynos 9611 ไปถึง 80% และคะแนน Geekbench 5 แบบ Single Core ก็มากกว่าถึง 106% (ทดสอบบน Galaxy A51 เทียบกับ Xiaomi Mi 10 Lite)
ในเรื่องแรม Galaxy A51 ให้มา 6GB ในขณะที่ A52/52 5G ให้มา 8GB แม้หน่วยความจำภายในของ A51 กับ A52 เริ่มต้นที่ 128GB เท่ากัน แต่ A51 รองรับ microSD แค่ 512GB ส่วน A52 ทั้งสองรุ่น รองรับ microSD card สูงสุดที่ 1TB
หน้าจอ
หน้าจอ Galaxy A51 แม้จะมีขนาด ความละเอียด และดีไซน์จอเหมือนกับ A52 แต่มีรีเฟรชเรตแค่ 60Hz เทียบกับ A52 ที่มีอัตรารีเฟรช 90Hz และ A52 5G มีอัตรารีเฟรช 120Hz นอกจากนี้กระจกด้านหน้าของ A52 ทั้งสองรุ่นก็อัพเกรดจาก Gorilla Glass 3 เป็น Gorilla Glass 5 ทำให้หน้าจอของ A52 นั้น ทั้งลื่นไหลกว่าและทนทานกว่า A51
กล้อง
กล้องหน้าของ A51 กับ A52 เป็นกล้อง 32MP ไม่แตกต่างกัน แต่กล้องหลังหลักมีการอัพเกรดขึ้นพอสมควร จาก 48 MP f/2.0 เป็น 64MP f/1.8 ซึ่งรูรับแสงที่กว้างขึ้นนี้ แปลว่า A52 น่าจะถ่ายในที่แสงน้อยได้ดีกว่า ส่วนกล้องอื่นแทบไม่แตกต่าง มีเพียง depth sensor เท่านั้นที่รูรับแสงของ A51 จะกว้างกว่าเล็กน้อย ที่ 5MP, f/2.2 ในขณะที่ A52 อยู่ที่ 5MP, f/2.4 ทั้งสองรุ่นถ่ายวิดีโอ 4K 30fps และ 1080p 30fps และ 120fps ได้เหมือนเดิม
แบตเตอรี่
แบตเตอรี่ของ A51 อยู่ที่ 4,000 mAh ในขณะที่ A52 เพิ่มเป็น 4,500 mAh และการชาร์จเร็วของ A51 เป็นแบบ 18W พอมาเป็น A52 เพิ่มเป็น 25W
การเปลี่ยนมาใช้ชิป Snapdragon 720G และ 750G ที่ประหยัดพลังงานกว่า Exynos 9611 ก็เป็นอีกปัจจัยที่น่าจะทำให้แบตเตอรี่ใช้งานได้ยาวนานขึ้น แม้จะเปิดใช้งาน 5G บนรุ่น A52 5G ก็ตาม
ซอฟต์แวร์และการซัพพอร์ต
Galaxy A51 มาพร้อม Android 10 และ One UI 3.0 ซึ่งแม้จะอัพเป็น Android 11 ได้ แต่ก็จะเหลือปีที่ Samsung การันตีซัพพอร์ตอีกแค่ 2 ปีคือได้ถึง Android 13 เท่านั้น ในขณะที่ A52 ทั้งสองรุ่นมาพร้อมกับ Android 11 และ One UI 3.1 จากโรงงาน จะได้การันตีซัพพอร์ตถึง Android 14
อื่นๆ
Galaxy A52 ทั้งสองรุ่น เป็นครั้งแรกที่มือถือตระกูล Galaxy A มาพร้อมฟีเจอร์กันน้ำเรตติ้ง IP67 และมีสีใหม่คือสีพาสเทลม่วง "Awesome Violet" และสีพาสเทลฟ้า "Awesome Blue" เพิ่มเข้ามา
สรุป
Galaxy A52 ทั้งสองรุ่น มีสเปกที่ดีกว่า A51 ในหลายๆ ด้าน ที่เห็นได้ชัดคือชิป Snapdragon 720G และ 750G ที่นอกจากแรงกว่า Exynos 9611 แล้ว ยังประหยัดพลังงานกว่า ทำให้แบตที่เพิ่มความจุมาอีก 500 mAH น่าจะอยู่ได้นานขึ้นหรืออย่างน้อยก็เท่าเดิม แม้หน้าจอจะมีรีเฟรชเรตสูงกว่า และมีรุ่นที่เปิดใช้งาน 5G ได้
นอกจากนี้ ฟีเจอร์กันน้ำกับกระจกหน้าจอ Gorilla Glass 5 น่าจะทำให้ A52 ทนต่อการใช้งานกว่า ส่วนอายุการซัพพอร์ตซอฟต์แวร์และแรมที่มากกว่า ก็น่าจะทำให้ A52 ไม่อืดเร็วจนเกินไป และไม่ถูกทอดทิ้งในการการรองรับแอปต่างๆ และการอัพเดตความปลอดภัย
แต่หากจุดตัดสินใจสำคัญของการซื้อมือถือของคุณ คือต้องการได้กล้องที่ดีขึ้น การปรับปรุงกล้องจาก A51 มาเป็นกล้องใน A52 ทั้งสองรุ่นอาจไม่ได้เป็นการก้าวกระโดดมากนัก คงต้องช่างใจว่าฟีเจอร์อื่นๆ ที่เพิ่มเข้ามาข้างต้น คุ้มค่ากับราคาที่เพิ่มขึ้นมาหรือไม่
Galaxy A52 สีม่วง Awesome Violet |
# นักชีววิทยาตั้งชื่อแมลง 3 สายพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งค้นพบว่า Articuno, Moltres, Zapdos
Darren Pollock นักวิจัยด้านแมลง (กีฏวิทยา) จากมหาวิทยาลัย Eastern New Mexico University ในสหรัฐอเมริกา ค้นพบแมลงปีกแข็ง 3 สายพันธุ์ใหม่ในทวีปออสเตรเลีย เขาจึงตั้งชื่อแมลงทั้ง 3 สายพันธุ์นี้ว่า Articuno, Moltres, Zapdos (ชื่อวิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการคือ Binburrum articuno, Binburrum moltres, Binburrum zapdos)
หากใครเป็นแฟนเกมหรือการ์ตูนซีรีส์โปเกมอนคงรู้จักชื่อทั้งสามกันดี เพราะเป็นชื่อโปเกมอนนกในตำนาน (legendary birds) ของโปเกมอนภาคแรกสุด (Red, Blue, Yellow) โดยเป็นตัวแทนของนกธาตุน้ำแข็ง สายฟ้า และไฟ ตามลำดับ
ส่วนเหตุผลที่ตั้งชื่อแมลงตามชื่อโปเกมอน มาจากนักศึกษาปริญญาเอกของเขา Yun Hsiao ชาวไต้หวันที่ร่วมค้นพบแมลงชุดนี้ด้วยกัน (เป็นชื่อนักวิจัยร่วมในเปเปอร์) เป็นแฟนเกมโปเกมอนอยู่ก่อนแล้ว เมื่อจำเป็นต้องตั้งชื่อแมลงสายพันธุ์ใหม่ที่แตกต่างจากสายพันธุ์เดิมที่รู้จักอยู่มาก จึงอยากตั้งชื่อที่ไม่เคยมีใครตั้งมาก่อน ซึ่งหาชื่อยากมาก สุดท้ายจึงมาลงเอยที่ชื่อนกวิเศษในเกมโปเกมอนนั่นเอง
แมลงทั้ง 3 สายพันธุ์ที่ค้นพบใหม่
ที่มา - Eastern New Mexico University via IGN |
# ก.ล.ต. เคาะ ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ต้องมีระบบกรองสินทรัพย์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เผยที่ประชุมมีมติเห็นชอบหลักการ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภทต้องคัดกรองสินทรัพย์ดิจิทัลที่ชอบด้วยกฎหมายนำมาให้บริการแก่ผู้ลงทุน
เห็นควรให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ทำระบบงานในการคัดกรองสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสินทรัพย์ดิจิทัลที่นำมาให้บริการแก่ลูกค้านั้นไม่มีลักษณะเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ภาพจาก Facebook ก.ล.ต.
ที่มา - ก.ล.ต. |
# KBTG เปิดบริษัท Kubix (คิวบิกซ์) ให้บริการระบบเสนอขายโทเคน รุกธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
KBTG บริษัทเทคภายใต้ธนาคารกสิกรไทย ประกาศตั้งบริษัท คิวบิกซ์ (Kubix) ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลผ่านบล็อกเชน ตั้งเป้าเป็นผู้นำในด้านการพัฒนาการลงทุนและให้ความรู้เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย ด้วยทุนจดทะเบียน 70 ล้านบาท โดยธนาคารกสิกรไทยถึอหุ้นในสัดส่วน 100% ผ่านบริษัท กสิกร เอกซ์ จำกัดที่เป็นบริษัทในเครือ KBTG
นายเรืองโรจน์ พูนผล ประธาน กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) เปิดเผยว่า ปัจจุบันตลาดทุนมีทางเลือกใหม่ในการระดมทุนหรือลงทุนผ่านสินทรัพย์ดิจิทัล(Digital Asset) ซึ่งการระดมทุนจะดำเนินการโดยการแปลงสินทรัพย์ที่มีอยู่เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลในรูปแบบโทเคนดิจิทัล แล้วระดมทุนผ่านการทำ Initial Coin Offering หรือ ICO โดยมี ICO Portal เป็นที่ปรึกษาและผู้จัดการเสนอขายโทเคนดิจิทัลให้แก่นักลงทุนในตลาดแรก
ก่อนหน้านี้ KBTG เข้าไปร่วมมือกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือ SET สร้างแพลตฟอร์มสินทรัพย์ดิจิทัล
ที่มา - ข่าวประชาสัมพันธ์ |
# เกม Life is Strange: True Colors ใช้ตัวละครนำเป็นหญิงเอเชีย-อเมริกัน
เกมซีรีส์ใหม่จาก Life is Strange กำลังจะเปิดตัวในเดือนกันยายนนี้ ในชื่อว่า Life is Strange: True Colors เป็นเกมจบในตอน ความน่าสนใจคือตัวละครนำเป็น Alex Chen หญิงสาวเอเชีย-อเมริกัน
ตัวละครใช้ Erika Mori นักแสดงมีความสามารถหลากหลาย ทั้งเป็นสตรีมเมอร์ และร้องเพลงคัฟเวอร์ โดย Mori นำทั้งการแสดงและเสียงพากย์ โดยเนื้อเรื่องคร่าวๆ ของ Life is Strange: True Colors คือ Alex Chen ย้ายเมืองไปอยู่กับ Gabe พี่ชายที่เมือง Haven Springs โดยเธอมีความสามารถพิเศษ รู้ความคิดและอารมณ์ของผู้อื่น มองเห็นเป็นออร่าสี
Life is Strange: True Colors พัฒนา มีกำหนดวางจำหน่ายบน Google Stadia, PlayStation 4, PlayStation 5, Windows PC, Xbox One และ Xbox Series X ในวันที่ 10 กันยายนนี้
ที่มา - Polygon |
# Facebook กำลังทำ wristband อ่านคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ใช้ควบคุม AR, ย้ำ อ่านความคิดผู้ใช้ไม่ได้
Facebook เตรียมพัฒนากำไลข้อมือ (wristband) ที่จะอ่านคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ที่ถูกส่งจากสมองไปยังแขน เพื่อนำไปใช้ควบคุม UI หรือฟังก์ชั่นอื่นๆ ในระบบ Augmented Reality ของแว่น AR ที่ยังไม่วางจำหน่าย โดยใช้การเคลื่อนไหวร่างกาย หรือแค่เพียงความคิดเท่านั้น ซึ่งเป็นการต่อยอดจากการซื้อกิจการ CTRL-labs ในปี 2019 ซึ่งพัฒนาเทคโนโลยี wristband อ่านคลื่นสมองมาก่อนหน้านี้
Andrew “Boz” Bosworth รองประธาน Facebook Reality Labs ยืนยันว่ากำไลนี้ไม่สามารถอ่านความคิดในสมองของผู้ใช้แบบละเอียดได้ แต่จะทำงานเหมือนเป็นคีย์บอร์ดที่สั่งการด้วย motor input หรือสัญญาณไฟฟ้าจากสมองที่สั่งให้กล้ามเนื้อเคลื่อนไหว แล้วแปลงไปเป็นคำสั่ง และจะตัดปัญหาการพิมพ์ผิดออกไปอย่างสิ้นเชิง
ในวิดีโอพรีเซ็นเทชั่น Facebook แสดงตัวอย่างการใช้งานคู่กับแว่น AR ที่เตรียมวางจำหน่ายในอนาคต เช่นใช้การคีบนิ้วโป้งกับนิ้วชี้เข้าหากัน ซึ่ง Facebook เรียกว่า Intelligent Click เพื่อตอบ Yes/No สำหรับตั้งเวลาต้มน้ำ ตอนผู้ใช้กำลังใส่แว่น AR ทำอาหาร
นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นใช้งานทั่วไป เช่นใช้มือสั่งออเดอร์ร้านกาแฟแบบออนไลน์ สร้างเพลย์ลิสต์ในแอปฟังเพลง หรือแม้แต่ปรับสีหลอดไฟอัจฉริยะในห้อง โดยไม่ต้องพูด Hey Siri หรือ Hey Google แต่ใช้แค่การแค่ขยับนิ้วเท่านั้น และจะมี Haptic Feedback หรือการสั่นสะเทือนเพื่อสะท้อนการใช้งาน ซึ่งอาจนำไปใช้ในการควบคุมเกม AR เช่นเกมยิงธนูอีกด้วย
อุปกรณ์นี้ยังมีประโยชน์ในการช่วยให้ผู้พิการเข้าถึงฟีเจอร์ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น โดย Facebook แสดงตัวอย่างผู้พิการที่มีนิ้วมือไม่ครบ 5 นิ้ว แต่สามารถขยับมือที่เป็นโมเดลสามมิติ ที่มีนิ้วมือครบห้านิ้ว เพื่อตอบสนองกับ UI ของแว่น AR ได้
แต่ปัญหาหนึ่งที่ Facebook กำลังเผชิญในปัจจุบัน คือผู้ใช้ก็ไม่ค่อยไว้ใจการเก็บและดูแลรักษาข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้โดย Facebook เท่าไร และหากจะมีการจำหน่ายแว่น AR ที่อาจสามารถบันทึกภาพได้ หรือกำไลข้อมือที่สามารถอ่านคลื่นสมองได้จริง ก็อาจต้องใช้เวลาและความพยายามพอสมควร ในการเรียกความเชื่อมั่นจากผู้บริโภคกลับมาอีกครั้ง
ที่มา - BuzzfeedNews, The Verge |
# แบงก์ชาติระบุ Stablecoin ที่ใช้เงินบาทหนุนหลังอาจเข้าข่าย e-Money ต้องขออนุญาตก่อนใช้งาน
หลังแพลตฟอร์ม Terra ให้บริการโทเค็น THT ที่พยายามรักษามูลค่าให้เท่ากับเงินบาทจนธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาเตือน วันนี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็ออกประกาศแนวทางการกำกับดูแลโทเค็นในกลุ่มนี้
แนวทางของการกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ
โทเค็นที่ผูกกับค่าเงินบาท ธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่าอาจมีลักษณะเข้าข่ายเป็นบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำกับดูแลอยู่ การให้บริการเงินกลุ่มนี้จึงต้องเข้าไปหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน
โทเค็นที่ผูกกับค่าเงินอื่น ไม่ว่าจะใช้เงินต่างประเทศหนุนหลัง, สินทรัพย์อื่นๆ หนุนหลัง, หรือใช้กลไกอื่นเพื่อคงมูลค่า (Algorithmic Stablecoin) ไม่ได้ผิดกฎหมายแต่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยจะเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางกำกับดูแลต่อไป
โทเค็นแบบมูลค่าคงที่ที่โด่งดังตัวหนึ่งคือ USDT ที่ผูกค่าเงินกับเงินดอลลาร์ โดยอาศัยการฝากเงินดอลลาร์ไว้ในธนาคารหนุนหลังโทเค็นทุกดอลลาร์ที่ปล่อยออกมา แต่กระบวนการตรวจสอบเงินในบัญชีก็ไม่โปร่งใสนักว่ามีเงินครบสำหรับทุกโทเค็นจริงหรือไม่ จนทำให้เกิดคำถามมากมาย
ทางธนาคารแห่งประเทศไทยย้ำว่าเห็นประโยชร์ของเทคโนโลยีและพร้อมเปิดรับนวัตกรรม และจะกำหนดนโยบายให้ส่งเสริมการพัฒนาคู่ไปกับการรักษาเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ
ที่มา - Bank of Thailand |
# สหรัฐฯ ฟ้องที่ปรึกษาไอทีชาวสวิส หลังนำข้อมูลหลุดมาเปิดเผยหลายครั้ง
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ยื่นฟ้อง Till Kottman ชาวสวิสเซอร์แลนด์ผู้นำข้อมูลหลุดมาเปิดเผยหลายครั้ง เช่น เหตุการณ์ซอร์สโค้ดอินเทลหลุด หรือเหตุการณ์ภาพวงจรปิด Verkada หลุด จนไปถึงเหตุการณ์ซอร์สโค้ดหลุดจาก SonarQube
คำฟ้องระบุว่า Kottman เป็นผู้ดำเนินการเว็บไซต์ git.rip ที่เปิดเผยข้อมูลภายในขององค์กรต่างๆ กว่าร้อยองค์กร เขายังโปรโมทข้อมูลหลุดขององค์กรต่างๆ ผ่านทาง Telegram ในห้อง "ExConfidential"
ก่อนหน้านี้ Kottman เคยใช้ชื่อบัญชีว่า deletescape บนทวิตเตอร์ ก่อนจะถูกลบบัญชีไป
ที่มา - Justive.gov
ภาพโดย kuszapro |
# Doom Eternal ออก DLC ตัวที่สอง The Ancient Gods Part Two ปิดตำนานภาครีบูต
เมื่อวานนี้ (18 มี.ค.) Doom Eternal ออก DLC ตัวที่สองคือ The Ancient Gods — Part Two ซึ่งเป็นบทสรุปของเนื้อเรื่อง Doom นับตั้งแต่ภาครีบูตปี 2016 (รวมกัน 2 ภาคหลัก 2 DLC)
ทีมผู้สร้าง Doom ของ id Software ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ Polygon ถึงเบื้องหลังการสร้างเกมภาคหลังๆ นับตั้งแต่ภาครีบูตเป็นต้นมา มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
ทีมงานหารือกันนานพอสมควรว่า อะไรคือ Doom อะไรไม่ใช่ Doom กันแน่ เพราะการเป็นซีรีส์เกมชื่อดัง ต้องแบกรับความคาดหวังจากแฟนๆ อย่างมาก
Doom 3 เลือกใช้แนวทางเกมสยองขวัญ (horror) แต่ Doom เวอร์ชันปี 2016 เลือกกลับมาที่รากเหง้าของเกมภาคแรกๆ นั่นคือเน้นแอคชั่นเยอะๆ แทน
อย่างไรก็ตาม เกมภาคปี 2016 ก็ยังมีเกมเพลย์บางอย่างที่ชะลอจังหวะของเกม เช่น การย่อตัว (crouch) ซึ่งทีมงานมาเรียนรู้ในภายหลังว่าขัดกับปรัชญาของ Doom ที่เน้นลุยไปข้างหน้า เน้นโจมตีศัตรู จึงเอาออกไปในภาค Eternal
การเรียนรู้ข้อผิดพลาดจากเกมภาค 2016 ทำให้ภาคต่อมาคือ Eternal ประสบความสำเร็จสูงกว่ามาก มีอัตราเล่นเกมจบ (completion percentage) สูงกว่า
ส่วนอนาคตของ Doom จะไปทางไหนต่อหลังจบเนื้อเรื่องชุดนี้แล้ว ทีมงานเปรียบเทียบว่าจะเหมือนกับภาพยนตร์ฮีโร่อย่าง Batman ที่เป็นตัวละครอมตะ และผู้กำกับในแต่ละยุค (Tim Burton, Christopher Nolan, Zack Snyder) ก็ตีความตัวละครแตกต่างกันไปในมุมมองของตัวเอง
ที่มา - Polygon |
# GeForce Now สมาชิกใกล้ 10 ล้านคน ขึ้นราคาสมาชิกใหม่เท่าตัว สมาชิกเก่าจ่ายราคาเดิม
GeForce Now บริการสตรีมมิ่งเกมของ NVIDIA ที่เดิมมีทั้งแบบเล่นฟรีครั้งละ 1 ชั่วโมง และแบบ Founders จ่ายค่าสมาชิกเดือนละ 4.99 ดอลลาร์เพื่อเล่นได้ไม่จำกัด พร้อมเปิดใช้งาน RTX ได้ ขึ้นราคาสำหรับสมาชิกเสียเงินเป็น 9.99 ดอลลาร์ เปลี่ยนชื่อเป็น Priority Members และเพิ่มราคารายปี 99.99 ดอลลาร์ จากเดิมมีแค่สมาชิก 6 เดือน 24.95 ดอลลาร์
ส่วนสมาชิก Founders เดิม หลังจากนี้จะได้สถานะ “Founders for Life” จ่ายราคา 4.99 ดอลลาร์ได้เรื่อยๆ ตราบใดที่ยังจ่ายเงินใช้งานต่อเนื่องและ GeForce Now ยังเปิดให้บริการในประเทศนั้นๆ อยู่
พร้อมกันนี้ NVIDIA ยังระบุว่า GeForce Now มีผู้ใช้บริการเกือบ 10 ล้านคนแล้ว และจะปรับปรุงบริการอย่างต่อเนื่องหลังจากที่ทำมาตลอดปี 2020 เช่นเปิดศูนย์ data center ใหม่ เพิ่มเกมใหม่ๆ และปรับคุณภาพระบบให้ดียิ่งขึ้น
ส่วนอัพเดตเวอร์ชั่น 2.0.28 ที่กำลังทยอยปล่อยภายในสัปดาห์นี้ จะมาพร้อมกับระบบ Vsync แบบพิเศษ ที่ซิงก์เฟรมเรต 60Hz หรือ 59.94Hz จากฝั่งเซิฟเวอร์เข้ากับฝั่งผู้เล่นให้ภาพไม่แตก และระบบ adaptive de-jitter ใหม่ ที่จะช่วยเพิ่มบิตเรตและลดความแตกของภาพ สำหรับผู้ใช้ที่คุณภาพอินเทอร์เน็ตไม่ดีนัก
ที่มา - NVIDIA |
# เปิดราคาไทย ROG Flow X13 โน้ตบุ๊กเกมมิ่งพับจอได้ 49,990 บาท ส่วนรุ่น Supernova Edition ราคา 99,990 บาท
เดือนมกราคมที่ผ่านมา ASUS เปิดตัวเกมมิ่งแล็บท็อปตัวเบาแบบพับจอได้รุ่นแรกของแบรนด์ ROG Flow X13 เปิดตัวมาสองรุ่นคือ ROG Flow X13 ราคาไทย 49,990 บาท และ ROG Flow X13 Supernova Edition ราคาไทย 99,990 บาท
ROG Flow X13 เปิดตัวราคาไทย 49,990 บาท
ขนาดหน้าจอ 13 นิ้ว ความละเอียด 1920 x 1200 (WUXGA) อัตราส่วน 16:10
ความบางตัวเครื่อง 15.8 มม.
น้ำหนัก 1.3 กก.
รองรับระบบสัมผัส พับได้ 360 องศา
ใช้วัสดุวัสดุแมกนีเซียมอัลลอย
รีเฟรชเรท 120Hz
AMD Ryzen 9 5900HS แบบ 8 คอร์ 16 เธรด
ทำงานร่วมกับหน่วยประมวลผลกราฟิก Nvidia GeForce GTX1650 4GB GDDR6
แรมขนาด 16GB
SSD แบบ M.2 NVMe PCIe 3.0 ความจุ 1TB
ROG Flow X13 Supernova Edition ขายราคาไทยที่ ราคา 99,990 บาท ขายช่วงเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป โดยรุ่นนี้มีเพิ่มเติมคือ AMD Ryzen 9 5980HS, แรม 32GB และมาคู่กับอุปกรณ์ ROG XG Mobile กล่องการ์ดจอแยก กราฟิกการ์ด Nvidia GeForce RTX 3080 แบบต่อแยกมาให้ ช่องเชื่อมต่อ PCIe Gen3 x8 บริเวณด้านซ้ายของตัวเครื่อง
ตัว XG Mobile มีขนาดความหนา 3 ซม. และน้ำหนัก 1 กก. ภายในติดตั้งอแดปเตอร์จ่ายไฟขนาด 280W มาพร้อมพอร์ต USB Type A สี่ช่อง, HDMI หนึ่งช่อง, Display Port หนึ่งช่อง, RJ-45 LAN port หนึ่งช่อง และ SD Card Reader หนึ่งช่อง
ที่มา - ข่าวประชาสัมพันธ์ |
# Stack Overflow เปิดบริการบอร์ดเวอร์ชันองค์กรให้ใช้ฟรี ถ้าไม่เกิน 50 คน
Stack Overflow เปิดบริการบอร์ดสนทนาเวอร์ชันใช้ในองค์กร Stack Overflow for Teams ให้ใช้งานฟรี สำหรับองค์กรที่ขนาดเล็กกว่า 50 คน
ปกติแล้ว Stack Overflow เป็นที่รู้จักจากบอร์ดสนทนาสาธารณะสำหรับคุยเรื่องโปรแกรมมิ่ง-ไอที และทำรายได้จากโฆษณา แต่ระยะหลังบริษัทก็นำเอนจินของบอร์ดสาธารณะ มาให้บริการลูกค้าองค์กรที่อยากมีบอร์ดแบบเดียวกันบ้าง ในชื่อว่า Stack Overflow for Teams
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คือ Stack Overflow for Teams เปิดแพ็กเกจแบบฟรีให้ใช้งาน จำกัดจำนวนผู้ใช้ไม่เกิน 50 คน สามารถต่อกับ Slack/Microsoft Teams ได้ด้วย ถ้ามากกว่านั้นต้องขยับแพ็กเกจเป็นแบบ Basic ที่ราคา 6 ดอลลาร์ต่อคนต่อเดือน ได้ฟีเจอร์ single-sign on และการเชื่อมต่อกับแอพอื่นๆ เช่น Jira, GitHub เพิ่มเข้ามา
หน้าตาของ Stack Overflow for Teams
ที่มา - Stack Overflow |
# ทวิตเตอร์ทดสอบเล่นวิดีโอ YouTube ได้จากหน้าฟีดบนแอป iOS ไม่ต้องกดเพื่อเล่นบน YouTube
ทวิตเตอร์เผยกำลังทดสอบฟีเตอร์ที่คนอาจต้องการมากพอสมควร คือการที่สามารถดูคลิป YouTube ที่แชร์มาผ่านหน้าฟีดได้เลย ไม่ต้องกดเพื่อสลับแอปไปยัง YouTube ทำให้ดูวิดีโอไปด้วย และสนใจกับการสนทนาบนหน้าฟีดได้
เป็นฟีเจอร์เรียบง่ายแต่ก็ยังไม่มีให้เห็นแพร่หลาย อย่าง Facebook เองก็ไม่เปิดให้ดู YouTube ที่เป็นลิงค์ฝังมาที่ไทม์ไลน์ได้ ต้องกดเข้าไปเพื่อเข้าเว็บหรือแอป YouTube โดยตรงเช่นกัน
ที่มา - Engadget |
# บริษัท AI ไทยร่วมเปิดตัว "สมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย" (AIEAT)
กลุ่มบริษัทเอกชนไทยที่ทำธุรกิจด้าน AI ร่วมกันเปิดตัว สมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (Artificial Intelligence Entrepreneur Association of Thailand ตัวย่อ AIEAT) เพื่อผลักดันธุรกิจด้าน AI ให้ทัดเทียมสากล
ดร. กอบกฤตย์ วิริยะยุทธกร นายกสมาคม และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอแอพพ์เทคโนโลยี จํากัด ระบุว่ารวมกลุ่มธุรกิจด้าน AI ในไทยกว่า 20 รายมาก่อตั้งเป็นสมาคม เพื่อผลักดันธุรกิจด้านนี้ โดยสมาคมจะรวบรวมรายชื่อผู้ประกอบการ รายชื่อสินค้า-บริการด้านปัญญาประดิษฐ์ของไทย (Thailand AI Startup Directory) รวบรวมรายชื่อนักนวัตกรด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Innovator) ซึ่งขาดแคลนและมีความต้องการในตลาดสาขาอาชีพเฉพาะเป็นอย่างมาก เพื่อให้ภาครัฐหรือธุรกิจที่สนใจเข้ามาติดต่อได้บนเว็บไซต์ของสมาคม
รายชื่อกรรมการสมาคม |
# Facebook กำลังพัฒนา Instagram สำหรับเด็ก เน้นประสบการณ์ใช้งานครั้งแรกอย่างปลอดภัย
BuzzFeed รายงาน Facebook กำลังพัฒนา Instagram สำหรับเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี พ่อแม่ควบคุมการเล่นได้ Vishal Shah รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์ของ Instagram ระบุผ่านกระดานข้อความที่ส่งกันภายในว่า Instagram สำหรับเด็กจะโฟกัสที่ 2 สิ่ง คือ เร่งสร้างความเป็นส่วนตัวสำหรับเด็ก เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ปลอดภัยเมื่อใช้งาน และ สร้าง Instagram ที่ปลอดภัยสำหรับเด็กที่มาใช้งานครั้งแรก
นโยบายปัจจุบันของ Instagram คือ ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีเข้าใช้งาน ส่วนหนึ่งของทีมพัฒนาคือ Pavni Diwanji ที่เข้ามาทำงานในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้เขาทำงานที่กูเกิล ดูแลผลิตภัณฑ์หลายอย่าง รวมถึง YouTube Kids ด้วย
การประกาศภายในเรื่องพัฒนา Instagram สำหรับเด็ก เกิดขึ้นสองวันหลังจากที่ Instagram ประกาศฟีเจอร์ปกป้องผู้ใช้งานที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ สะท้อนให้เห็นว่าบริษัทกำลังโฟกัสที่กลุ่มวัยรุ่น Adam Mosseri ซีอีโอ Instagram บอกว่าตับผลิตภัณฑ์อยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา ยังไม่มีรายละเอียดใดๆ ออกมา
Facebook มีผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กคือ Messenger Kids แอปแชทสำหรับเด็กอายุ 6-12 ปี เปิดตัวในปี 2017 แต่หลังจากเปิดตัวไม่นาน กลุ่มผู้สนับสนุนด้านสุขภาพของเด็กกว่า 95 คนได้ส่งจดหมายถึงMark Zuckerberg เรียกร้องให้เขายุติการผลิตผลิตภัณฑ์และอ้างงานวิจัยว่าการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลและโซเชียลมีเดียมากเกินไปเป็นอันตรายต่อเด็ก มีแนวโน้มที่จะทำลายพัฒนาการที่ดีของเด็กๆ
ถาพประกอบจาก Facebook
ที่มา - BuzzFeed |
# Sony ซื้อกิจการทัวร์นาเมนต์เกมไฟติ้ง Evo, ประกาศกลับมาจัดงานออนไลน์ปี 2021
Sony Interactive Entertainment (SIE) ประกาศซื้อกิจการทัวร์นาเมนต์เกมไฟติ้ง Evolution Championship Series (Evo) ที่ก่อตั้งเมื่อปี 1996 โดยอธิบายว่าต้องการขยายตลาดแฟนๆ อีสปอร์ตให้กว้างขึ้น
ทัวร์นาเมนต์ Evo 2020 ถูกยกเลิกเพราะปัญหาอดีตซีอีโอล่วงละเมิดทางเพศ หลังข่าวซื้อกิจการรอบนี้ SIE ก็ประกาศว่า Evo 2021 จะกลับมาจัดในช่วงเดือนสิงหาคม โดยเป็นทัวร์นาเมนต์ออนไลน์ 100% และเปิดให้ผู้เล่นทุกคนสมัครเข้าแข่งได้หมด ส่วนรายละเอียดของงานจะแถลงเพิ่มเติมในเร็วๆ นี้
เกมที่ประกาศใช้แข่ง Evo 2021 ตอนนี้มี 4 เกมคือ Tekken 7, Street Fighter V, Mortal Kombat 11 Ultimate, Guilty Gear Strive โดยทั้งหมดมีให้เล่นบน PlayStation แต่ยังไม่ชัดเจนว่าเราจะได้เห็นเกมของแพลตฟอร์มอื่นๆ (เช่น Super Smash Bros. ของนินเทนโด) ด้วยหรือไม่
การซื้อกิจการครั้งนี้ไม่ใช่ Sony ซื้อเดี่ยวๆ แต่จับมือกับกองทุน RTS ที่ลงทุนในบริษัทด้านอีสปอร์ต เป็นเจ้าของ Evo ร่วมกัน ส่วนผู้ก่อตั้ง Evo ทั้งสองคนคือ Tom Cannon และ Tony Cannon จะลดบทบาทลงในฐานะที่ปรึกษา เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านราบรื่น
ที่มา - Sony, Ars Technica |
# Redmi Note 10 เปิดราคาไทย เริ่ม 4,999 บาท, รุ่น Note 10 Pro กล้อง 108MP เริ่ม 8,499 บาท
Xiaomi Thailand เปิดราคาของมือถือระดับกลางซีรีส์ Redmi Note 10 ที่เปิดตัวไปเมื่อต้นเดือนมีนาคมนี้ รุ่นที่นำเข้ามาทำตลาดเมืองไทยมี 2 รุ่นคือ Redmi Note 10 และ Redmi Note 10 Pro (ไม่มีรุ่น Note 10S และ Note 10 5G)
สเปกคร่าวๆ ของ Redmi Note 10 คือหน้าจอ AMOLED 6.43", Snapdragon 678, กล้องหลัง 4 ตัว กล้องหลัก 48MP, แบตเตอรี่ 5,000 mAh
ส่วนพี่ใหญ่ Redmi Note 10 Pro คือหน้าจอ AMOLED 6.67" รีเฟรช 120Hz, Snapdragon 732G, กล้องหลัง 4 ตัว กล้องหลัก 108MP, แบตเตอรี่ 5,020 mAh ชาร์จเร็ว 33 วัตต์ ถือเป็นมือถือระดับกลางที่นำกล้อง 108MP จากเรือธงปีที่แล้วมาสู่ตลาดระดับกลางในปีนี้
ราคาของรุ่นที่นำมาขายเมืองไทยมีดังนี้
Redmi Note 10 เริ่มขาย 19 มีนาคม มีรุ่นย่อยแยก 2 ความจุ
แรม 6GB+128GB ราคา 5,999 บาท
แรม 4GB+64GB ราคา 4,999 บาท
Redmi Note 10 Pro เริ่มขาย 5 เมษายน มีรุ่นย่อยแยก 2 ความจุ
แรม 8GB+128GB ราคา 8,999 บาท
แรม 6GB+128GB ราคา 8,499 บาท |
# Oppo Find X3 Pro 5G เปิดราคาไทย 33,990 บาท, หูฟัง Enco X ราคา 5,999 บาท
Oppo Thailand เปิดราคาของ Oppo Find X3 Pro มือถือเรือธงรอบต้นปี 2021 ที่ราคา 33,990 บาท โดยนำมาขายเพียงรุ่นย่อยเดียวคือ 5G แรม 12GB สตอเรจ 256GB
สเปกคร่าวๆ ของ Oppo Find X3 Pro 5G คือหน้าจอ AMOLED 6.7" สีแบบ 10-bit อัตรารีเฟรช 120Hz, Snapdragon 888, กล้องหลักคู่ใช้เซ็นเซอร์ Sony IMX766, แบตเตอรี่ 4500 mAh ชาร์จเร็ว 65W
Oppo ยังเปิดขายหูฟังไร้สาย Oppo Enco X มาพร้อมกันในราคา 5,999 บาท
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ Oppo Thailand |
# AWS เปิดตัว S3 Object Lambda แปลงข้อมูลก่อนดาวน์โหลด
AWS เปิดบริการใหม่ S3 Object Lambda เป็นการนำฟังก์ชั่น Lambda ไปบังการดึงออปเจกต์ออกจาก S3 เพื่อการแปลงข้อมูลล่วงหน้า เช่น การลบข้อมูลส่วนบุคคลออกจากไฟล์, แปลงขนาดภาพก่อนให้ดาวน์โหลด, หรือเติมข้อมูลลงในไฟล์จากแหล่งต่างๆ
ตัวฟังก์ชั่น Lambda ทำงานเหมือน Lambda ปกติของ AWS ทุกประการ เพียงแต่ event ที่ส่งเข้ามานั้นจะมีฟิลด์ inputS3Url เพื่อแสดงว่าไคลเอนต์กำลังขอออปเจกต์ใดจาก S3 และเมื่อจะคืนค่าออกจากฟังก์ชั่นต้องคืนเนื้อไฟล์ทาง API WriteGetObjectResponse ที่เพิ่งเพิ่มเข้ามาใน AWS SDK
หน้าจอ AWS Console จะเพิ่มคอนฟิก Object Lambda Access Point เข้ามาให้สามารถคอนฟิก Lambda ไปบังไว้ได้ และเมื่อนำฟังก์ชั่นไปบังแล้วก็จะได้ชื่อ bucket ใหม่
สามารถใช้งานได้แล้ววันนี้ทั่วโลก ยกเว้นศูนย์ข้อมูลในญี่ปุ่นที่โอซาก้า และในจีน สำหรับค่าใช้จ่ายจะเท่ากับ Lambda ปกติรวมกับค่าใช้งาน S3
ที่มา - AWS Blog |
# กูเกิลเพิ่มฟีเจอร์ Live Caption ใน Chrome แปลงเสียงในเว็บเป็นข้อความ
กูเกิลเพิ่มฟีเจอร์ Live Caption สำหรับแปลงเสียงเป็นข้อความเข้าเป็นส่วนหนึ่งของฟีเจอร์หมวด Accessibility ของเบราว์เซอร์ Chrome ช่วยให้ผู้ที่ฟังเสียงได้ยากสามารถอ่านข้อความจากเสียงต่างๆ ในเว็บไม่ว่าจะเป็นวิดีโอหรือ podcast ตลอดจนวิทยุอินเทอร์เน็ต
ปัญญาประดิษฐ์สำหรับแปลงเสียงเป็นข้อความนี้รันอยู่ในเครื่องของเราเองไม่ต้องส่งข้อมูลไปยังกูเกิลแต่อย่างใด และเราสามารถใช้เบราว์เซอร์แปลงข้อความจากเสียงในไฟล์วิดีโอหรือไฟล์เสียงในเครื่องของเราได้อีกด้วย
ฟีเจอร์นี้มีเฉพาะ Chrome เวอร์ชั่นเดสก์ทอป และจะเพิ่มใน Chrome OS เร็วๆ นี้ ส่วนบนโทรศัพท์แอนดรอยด์กูเกิลระบุว่าสามารถใช้ฟีเจอร์ Live Caption ในโทรศัพท์ได้อยู่แล้ว
ที่มา - Google Blog |
# กูเกิลลงทุนครั้งใหญ่ในสหรัฐฯ ร่วม 7 พันล้านเหรียญ สร้างศูนย์ข้อมูลทั่วประเทศ สร้างงานหมื่นตำแหน่ง
กูเกิลเปิดแผนการลงทุนครั้งใหญ่ในสหรัฐฯ ประจำปี 2021 ร่วม 7 พันล้านดอลลาร์ เป็นการลงทุนทั้งสร้างสำนักงานใหม่และศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ใน 19 รัฐทั่วประเทศ นำมาสู่การสร้างงานเพิ่มขึ้นถึงหมื่นตำแหน่ง
การขยายสำนักงานในพื้นที่ใหม่ๆ เป็นผลมาจากการทำงานที่บ้านในภาวะโรคระบาด ขึงต้องขยายไปยังพื้นที่อื่นๆ เพื่อความยืดหยุ่นในการเข้าสำนักงาน Sundar Pichai ซีอีโอกูเกิลระบุในบล็อกว่าจะลงทุนสำนักงานอื่นเพิ่มนอกเหนือจาก Bay Area ในซานฟรานซิสโก รวมถึงการขยายตำแหน่งงานไปยังแอตแลนตา, วอชิงตันดีซี, ชิคาโกและนิวยอร์ก
ส่วนศูนย์ข้อมูลจะมีการขยายการลงทุนเพิ่มใน เนแบรสกา, เซาท์แคโรไลนา, เวอร์จิเนีย, เนวาดา และเท็กซัส ส่วนศูนย์ข้อมูลที่มีอยู่ในเนแบรสกา, โอไฮโอ, เท็กซัสและเนวาดาจะเปิดให้บริการอย่างสมบูรณ์ในปีนี้
รายละเอียดการลงทุนในแต่ละภูมิภาค ดังนี้
เขตใต้ เพิ่มการลงทุนในศูนย์ข้อมูลในเซาท์แคโรไลนา สร้างศูนย์วิศวกรรมระบบคลาวด์ที่ Durham และสร้าง Google Operations Center แห่งแรกที่มิสซิสซิปปี, เปิดสำนักงานในเวอร์จิเนีย และขยายศูนย์ข้อมูล Loudon County
เขตมิดเวสต์ ขยายพื้นที่ศูนย์ข้อมูลในเนแบรสกา ลงทุนเพิ่มเติมสำหรับสำนักงานในดีทรอยต์, แอนอาร์เบอร์ และชิคาโก
เขตตะวันออก ลงทุนในสำนักงานเคมบริดจ์, แมสซาชูเซตส์และพิตต์สเบิร์ก ตลอดจนเพิ่มพนักงานในวอชิงตันดีซี
เขตกลางและตะวันตก เปิดสำนักงานแห่งใหม่ในพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอนในปีนี้, คาดการณ์ว่ากองทุนเพื่อการลงทุนมูลค่า 250 ล้านดอลลาร์ จะช่วยสร้างที่อยู่อาศัย 24,000 ยูนิตภายในปี 2029
ที่มา - กูเกิล |
# เฟซบุ๊กรองรับการล็อกอินด้วยกุญแจ FIDO บนโทรศัพท์มือถือ
เฟซบุ๊กประกาศรองรับการล็อกอินขั้นตอนที่สองด้วยกุญแจ FIDO บนโทรศัพท์มือถือ จากเดิมที่ใช้งานบนเว็บมาตั้งแต่ปี 2017
เฟซบุ๊กรองรับการล็อกอินขั้นตอนที่สองต่อจากรหัสผ่านทั้งหมด 4 วิธี ได้แก่ แอปล็อกอิน (เช่น Google Authenticator, Microsoft Authenticator), กุญแจ FIDO หรือ Security Key, ข้อความ SMS, รหัสผ่านกู้คืนบัญชี เป็นรหัสตายตัวจดใส่กระดาษไว้ใช้งานภายหลัง แต่ที่ผ่านมาการล็อกอินบนโทรศัพท์มือถือนั้นไม่รองรับกุญแจ FIDO
การใช้กุญแจ FIDO บนโทรศัพท์มือถือมีหลายรูปแบบทั้งการเสียบ USB เหมือนเดสก์ทอป, แตะ NFC, และเชื่อมต่อผ่าน Bluetooth โดยแอปเฟซบุ๊กรองรับทั้งหมดทั้งบน iOS และแอนดรอยด์
ที่มา - Facebook |
# กูเกิลเปิดตัว Threadit สร้างวิดีโอสั้นขณะกำลังอธิบายงานส่งให้คนอื่นได้ ลดการประชุมออนไลน์
Area 120 หน่วยบ่มเพาะนวัตกรรมในกูเกิลเปิดตัวโปรเจกต์ใหม่ Threadit เครื่องมือช่วยการทำงานแบบ Work From Home เป็นส่วนขยาย Chromeให้ผู้ใช้งานส่งวิดีโอของตัวเองในขณะที่กำลังอธิบายงานสั้นๆ พร้อมทั้งแชร์หน้าจอส่งไปให้ทีมงานคนอื่นๆ ได้ เผื่อในกรณีที่คุยกันผ่านแชทและอีเมลแล้วยังไม่ชัดเจนพอ ผู้ใช้งานคนอื่นสามารถสร้างวิดีโอของตัวเองและตอบกลับมาได้ด้วย
โดยทางทีม Area 120 บอกว่าได้ลองใช้เองระหว่างที่ทีมงานไม่สามารถเข้าสำนักงานได้ พบว่าช่วยลดการประชุมออนไลน์ได้มาก วิธีการใช้งานคือติดตั้งส่วนขยาย Chrome เริ่มใช้งานด้วยการกดไอคอนคล้ายกล้องถ่ายรูปสีแดง
ที่มา - กูเกิล |
# Sony เผยหน้าตาคอนโทรลเลอร์ PS VR ตัวใหม่ มี Adaptive Trigger และ Haptic Feedback
Sony ออกมาโชว์คอนโทรลเลอร์ของแว่น PlayStation VR รุ่นใหม่ของ PS5 ที่หน้าตาคล้ายๆ กับคอนโทรลเลอร์ Oculus Touch (มีก้านโยก ปุ่ม และสายคล้องข้อมือเป็นวงกลม)
Sony บอกว่าออกแบบคอนโทรลเลอร์นี้ด้วยหลัก ergonomics ให้สมดุล ใส่สบาย ใช้ได้กับขนาดมือที่แตกต่างกัน ส่วนในแง่ฟีเจอร์ก็ดึงเอาจุดเด่นของจอย DualSense ของ PS5 ทั้งเรื่อง haptic feedback และ adaptive trigger มาด้วยเช่นกัน และสามารถตรวจจับตำแหน่งการวางนิ้วมือได้โดยไม่ต้องกดปุ่มด้วย
ตอนนี้ Sony ยังไม่เผยหน้าตาของแว่น PS VR รุ่นใหม่ให้เห็น โดยบอกแค่ว่าจะวางขายไม่ทันปี 2021 แน่ๆ
ที่มา - PlayStation Blog |
# พบร้านค้าเริ่มวางขายการ์ด NVIDIA CMP สำหรับขุดเงินคริปโตโดยเฉพาะ ราคาเริ่มต้น 23,000 บาทที่พลัง 26MH/s
เมื่อเดือนที่แล้ว NVIDIA ประกาศชิป CMP สำหรับขุดเงินคริปโตโดยเฉพาะพร้อมกับประกาศลดพลังแฮชของการ์ด RTX 3060Ti ลงครึ่งหนึ่งเพื่อแยกสินค้าตามประเภทการใช้งานออกจากกัน ตอนนี้ก็เริ่มมีรายงานการ์ด CMP 30HX รุ่นเล็กสุดออกมาวางขายกันแล้ว
ร้านที่มาวางขายออนไลน์นี้คือ Microless ร้านค้าออนไลน์ในดูไบ ตั้งราคาการ์ด CMP 30HX ที่ 723.84 ดอลลาร์ หรือประมาณ 23,000 บาท ตามสเปคแล้วการ์ดรุ่นนี้จะมีพลังแฮชที่ 30MH/s (วัดจากการแฮช Ethereum) ทำให้ราคามันแพงกว่า RTX 3060Ti ที่เปิดราคามาเพียง 399 ดอลลาร์ ค่อนข้างมากแถมพลังแฮชต่ำกว่า
ก่อนหน้านี้ NVIDIA เคยพยายามแยกให้กลุ่มเหมืองเงินคริปโตหันไปใช้การ์ด CMP โดยการบีบพลังแฮชที่ไดร์เวอร์ แต่บริษัทก็ทำไดร์เวอร์เวอร์ชั่นไม่ได้ล็อกพลังแฮชหลุดออกมา
ที่มา - Toms Hardware
ภาพชิป CMP จาก NVIDIA |
# HBO GO ล่มทั่วโลก หลัง Justice League ฉายวันแรก
บริการสตรีมมิ่ง HBO GO ล่มทั่วโลกหลังวันนี้แพลตฟอร์มเริ่มฉาย Zack Synder's Justice League เป็นวันแรก
สำหรับเว็บ hbogo.co.th ที่ให้บริการในประเทศไทยผมพบว่าบางส่วนของเว็บช้าอย่างเห็นได้ชัด API บางส่วนของเว็บใช้เวลาหลายสิบวินาทีจึงตอบ
เว็บ Down Detector มีรายงานเว็บมีปัญหาประปรายจนถึงช่วงบ่ายสองที่ผ่านมาเว็บจึงเริ่มล่ม |
# ตำรวจออสเตรเลียเสนอพัฒนาแอปบันทึกความยินยอมเพื่อมี sex หวังช่วยแก้ปัญหาคดีข่มขืน
Mick Muller ตำรวจอาวุโสในนิวเซาท์เวลส์ เสนอให้พัฒนาแอปลพิเคชั่นเพื่อบันทึกขอความยินยอมก่อนมีเพศสัมพันธ์ เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมทางเพศ โดยจำนวนการข่มขืนที่รายงานในรัฐมีเพิ่มขึ้นแต่อัตราความสำเร็จในการฟ้องร้องมีเพียง 2% แสดงให้เห็นว่าระบบยุติธรรมล้มเหลว เขาหวังว่าการพัฒนาแอปจะช่วยแก้ปัญหาได้ไม่มากก็น้อย
Muller บอกด้วยว่า ไอเดียของเขาอาจดูแย่ในตอนนี้ แต่ในอนาคตก็ไม่แน่ เพราะถ้าย้อนไปสิบปีก่อน โลกแทบไม่รู้จักการปัดซ้ายขวาเพื่อไปออกเดทด้วยซ้ำ
ภาพประกอบจาก Facebook Dating
อย่างไรก็ตามมีคำถามกลับมามากมายว่าแอปขอความยินยอมนั้นช่วยได้จริงหรือไม่ Lesley-Anne Ey ผู้เชี่ยวชาญด้านอาขญากรรมทางเพศจากมหาวิทยาลัย University of South Australia บอกว่า จะมีสักกี่คนที่ยอมขัดจังหวะโรแมนติกของตัวเองเพื่อเปิดแอปบันทึกความยินยอม และเกรงว่าแอปจะถูกใช้ในทางที่ผิดด้วย
ช่วงสัปดาห์นี้ ผู้หญิงในออสเตรเลียร่วมแสนรายออกมาประท้วงกรณีอัยการสูงสุดของออสเตรเลียปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ว่าเขาข่มขืนเด็กสาวอายุ 16 ปีเมื่อ 33 ปีก่อน การเรียกร้องรวมถึงการให้ปรับปรุงกระบวนการบุติธรรม และบรรยากาศการทำงานในองค์กรที่ไม่ปลอดภัยแก่ผู้หญิง
ที่มา - SCMP |
# วัคซีนออกหุ้นพุ่ง SK Bioscience เข้าตลาดหุ้นวันแรก ราคาพุ่งติดเพดาน
วันนี้บริษัท SK Bioscience ผู้รับจ้างผลิตวัคซีนเกาหลีใต้นำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (302440.KS) เป็นวันแรก จากราคา IPO ที่ 65,000 วอนล่าสุดราคาพุ่งไปอยู่ที่ 169,000 วอน สูงสุดเท่าที่ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ยอมให้ราคาเปลี่ยนแปลงในหนึ่งวัน
SK Bioscience ที่ช่วงนี้เป็นข่าวเพราะเป็นผู้ผลิตวัคซีน COVID-19 ถึงสองแบรนด์ คือ AstraZeneca และ Novavax เฉพาะวัคซีน AstraZeneca ที่กระจายในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงไทยก็มาจากโรงงานของ SK Bioscience
ตลาดหลักทรัพย์เกาหลีใต้ยอมให้ราคาเปิดสูงกว่าราคา IPO ไม่เกิน 200% และราคาระหว่างวันเปลี่ยนแปลงไม่เกิน 30% หุ้น SK Bioscience นั้นติดเพดานทั้งสองจุดทำให้ราคาหุ้นสูงกว่าราคา IPO ถึง 260%
ที่มา - The Korea Herald
ภาพโรงงาน L House โรงงานผลิตวัคซีนหลักของ SK Bioscience |
# ผู้ร่วมก่อตั้ง Terra ทวิต ไม่กลัวธนาคารแห่งประเทศไทย ยังไงก็จะออกเหรียญ THT
หลังธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศเตือนว่าการออกเงิน stablecoin ชนิด THT ของแพลตฟอร์ม Terra อาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย เนื่องจากมีมูลค่า 1 เหรียญ เท่ากับ 1 บาท
วันนี้ Do Kwon หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Terra ออกมาทวิตพร้อมแปะประกาศดังกล่าวในเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษในเชิงไม่เกรงกลัว และระบุว่ายังไงก็จะออก THT โดยไม่สนธนาคารแห่งประเทศไทย
นอกจากนี้เขายังทวิตต่ออีกว่ามูลค่า Fully Diluted Value (FDV) หรือมูลค่าซัพพลายของเงินบาทไทยทั้งหมดในตลาด อยู่ที่ประมาณ 545 พันล้านดอลลาร์ และมูลค่านี้ “flippable” หรือนำมาซื้อขายทำกำไรได้สบายๆ (ไม่มีที่มาว่า Do Kwon เอามูลค่า FDV ของเงินบาทมาจากแหล่งอ้างอิงไหน)
ที่มา - Twitter @d0h0k1, Forbes |
# AnTuTu แบน Realme GT สามเดือน เพราะปรับแต่งคะแนนทดสอบ, อาจแบนถาวรถ้าไม่ชี้แจง
AnTuTu แอปทดสอบประสิทธิภาพอุปกรณ์มือถือจากจีน แบนมือถือ Realme GT จากแอปสามเดือน เนื่องจากพบว่า Realme GT อาจปรับแต่งอุปกรณ์เพื่อให้คะแนนการทดสอบบนแอป ออกมาสูงกว่าปกติ
Xu Qi Chase รองประธาน Realme เปิดตัว Realme GT พร้อมคะแนนทดสอบ AnTuTu สูงถึง 770,221 คะแนน ซึ่งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของมือถือที่ใช้ Snapdragon 888 เครื่องอื่น ที่ได้ประมาณ 710,000 คะแนน และแม้แต่เครื่อง reference ของ Qualcomm เอง ยังทำได้แค่ 735,439 คะแนน
ทีมงาน AnTuTu รอจนเครื่องวางขาย แล้วซื้อรุ่น 12/256GB มาทำการทดสอบเอง พบว่าทำคะแนนได้ราวๆ 750,000 คะแนนเท่านั้น
AnTuTu ยังพบการปรับแต่งที่อาจทำให้คะแนนสูงกว่าที่ควรจะเป็น เช่นการดีเลย์เธรด ในการทดสอบแบบมัลติเธรด เพื่อให้แกนซีพียูที่เร็วกว่ามีโอกาสทำงานมากที่สุด และพบการปรับแต่งภาพ JPG ในการทดสอบ ให้ประมวลผลภาพแบบบล็อกแทนแบบปกติ ทำให้ประมวลผลได้เร็วขึ้น และได้คะแนนสูงขึ้น
AnTuTu ขีดเส้นตายให้ Realme ชี้แจงกรณีนี้ และหากไม่ชี้แจง อาจแบน Realme GT ออกจากแอปแบบถาวร ทีมงานยังเตรียมอัพเดตแอปเป็นเวอร์ชั่น 9 เพื่อใส่ระบบป้องกันการโกงที่ดีกว่าเดิม ซึ่งจะหักคะแนนการทดสอบหากพบว่ามีการปรับแต่งอุปกรณ์เพื่อโกงผลคะแนนอีกด้วย
ที่มา - Android Community |
# [ลือ] Galaxy Z Flip 2 และ Z Fold 3 มาไตรมาส 3/2021, S21 FE ไตรมาส 4, ไม่มี Note 21
ต่อเนื่องจากข่าว DJ Koh ประธานแผนกมือถือของซัมซุงบอกว่าอาจไม่ออก Galaxy Note ในปีนี้ เว็บข่าวสายซัมซุง SamMobile อ้างแหล่งข่าวใกล้ชิด รายงานแผนการออกมือถือรุ่นหลักๆ ของซัมซุงในปีนี้
มือถือจอพับได้ Galaxy Z Flip 2 และ Galaxy Z Fold 3 จะเปิดตัวไตรมาส 3
นาฬิกาที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Wear OS จะเปิดตัวไตรมาส 3
Galaxy S21 FE จะเปิดตัวไตรมาส 4
ตามข้อมูลของ SamMobile ยืนยันว่าซัมซุงไม่มีแผนการเปิดตัว Galaxy Note 21 ในปีนี้แน่นอน
ที่มา - SamMobile
ภาพ Galaxy S20 FE ของปีที่แล้ว ที่ใช้วง BTS เป็นพรีเซนเตอร์ |
# Sony แจก Horizon Zero Dawn และเกมอินดี้อีก 9 เกมฟรี ไม่ต้องใช้ PlayStation Plus
หลัง Sony แจก Ratcher & Clank บน PlayStation ในแคมเปญ Play At Home ไป Sony ก็เล่นใหญ่ เตรียมแจก Horizon Zero Dawn Complete Edition เกมแอ็กชั่นผจญภัยโอเพ่นเวิลด์สุดอลังการ พร้อมเกมอินดี้อีก 9 เกม ทั้งบน PS4/PS5 และ PSVR ที่สามารถกดรับได้โดยไม่ต้องเป็นสมาชิก PlayStation Plus
Horizon Zero Dawn Complete Edition เริ่มแจกตั้งแต่ 10.00 น. วันที่ 20 เมษายน จนถึง 10.00 น. วันที่ 15 พฤษภาคม ส่วนเกม PS4/PS5 อื่นๆ คือ Abzu, Enter the Gungeon, Rez Infinite, Subnautica, และ The Witness เกม PSVR อีก 4 เกม คือ Astro Bot Rescue Mission, Moss, Thumper และ Paper Beast เกมอินดี้เหล่านี้จะเปิดให้ดาวน์โหลด ในวันที่ 25 มีนาคม ถึงวันที่ 23 เมษายน เวลา 10.00 น.
ที่มา - PlayStation Blog via Polygon |
# [Bloomberg] อาลีบาบาสร้าง Taobao Deals มินิแอปใน WeChat คู่แข่งโดยตรง ลดแรงกดดันผูกขาดตลาด
จากประเด็นอาลีบาบาโดนรัฐบาลจีนกดดันหนัก โดยเฉพาะประเด็นผูกขาดตลาด ล่าสุด Bloomberg รายงานว่าอาลีบาบายอมสร้างมินิแอปอีคอมเมิร์ซของตัวเองหรือ Taobao Deals แอปต่อรองราคาในแพลตฟอร์ม WeChat ของ Tencent ซึ่งเป็นคู่แข่งของอาลีบาบาโดยตรง และยอมให้ลูกค้าชำระเงินผ่านช่องทาง WeChat Pay ได้ เพื่อลดแรงเสียดทางผูกขาดตลาดอีคอมเมิร์ซ
การให้ลูกค้าชำระเงินผ่าน Wechat Pay นั้นไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพราะทั้งอาลีบาบาและ Tencent ต่างก็พยายามสร้าง ecosystem ของตัวเอง โดยอาลีบาบาได้ชื่อว่าเป็นรายใหญ่ในอีคอมเมิร์ซ ส่วน Tencent ก็เป็นรายใหญ่ในบริการดิจิทัล ซึ่งหลังๆ ต่างก็มีบริการที่คาบเกี่ยวกันหลายอย่าง เช่นมินิแอปใน WeChat ที่ให้ร้านค้าเข้ามาขายของได้ หรืออาลีบาบาก็มี Alipay แข่งขันตรงๆ กับ WeChat Pay เป็นต้น
ตอนนี้อาลีบาบากำลังโดนรัฐบาลจีนกดดันทุกทาง ตั้งแต่สั่งระงับการเข้า IPO ของ Ant Group, สั่งให้มีการสืบสวนกรณีผูกขาดตลาด, โดนกดดันให้ถอนหุ้นสื่อในมือ และกรณีล่าสุดคือ UC Browser ของอาลีบาบาถูกแบน ซึ่งคาดว่าเป็นคำสั่งรัฐบาล
ที่มา - Bloomberg |
# Windows 10 ปรับหน้าตา File Explorer ใหม่ กว้างขึ้น เหมาะกับทัช, Virtual Desktops ย้ายที่ได้แล้ว
ไมโครซอฟท์ออก Windows 10 Insider Preview Build 21337 รุ่นทดสอบ Dev Channel มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญ 2 อย่างคือ
Virtual Desktops สามารถสลับตำแหน่ง และเปลี่ยนภาพพื้นหลังได้แล้ว (สักที)
File Explorer ปรับ UI ใหม่ให้ "กว้าง" ขึ้น มีที่ว่างระหว่างปุ่มและเมนูมากขึ้น รองรับจอสัมผัสได้ดีขึ้น สำหรับคนที่ชอบแน่นๆ แบบของเดิม ยังสามารถเลือก compact mode ได้ แต่แบบกว้างจะกลายเป็นค่าดีฟอลต์
ของใหม่อื่นๆ ได้แก่ รองรับการแสดงภาพเกมแบบ Auto HDR แล้ว (เกมต้องรองรับด้วย) ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่มีใน Xbox Series X|S, ปรับหน้าตาของตัวเลือก Captions Settings เวลาแสดงผลวิดีโอ, ไอคอนใหม่ของ Notepad
ที่มา - Microsoft |
# Android 12 ออกรุ่น Developer Preview 2 เน้นฟีเจอร์สำหรับนักพัฒนาแอพ
กูเกิลออก Android 12 Developer Preview 2 โดยจะออกรุ่นพรีวิวใหม่เดือนละ 1 ครั้ง นับจาก DP1 ในเดือนกุมภาพันธ์ ไปจนถึงรุ่นพรีวิวสุดท้ายในเดือนสิงหาคม 2021 (ตัวจริงจะออกหลังจากนั้น)
ของใหม่ใน DP2 ยังเน้นไปที่นักพัฒนาแอพ เพื่อให้เตรียมแอพของตัวเองรันบน Android 12 ได้แก่
API ใหม่ RoundedCorner ให้แอพเช็คได้ว่าฮาร์ดแวร์ใช้จอมุมโค้งหรือไม่ เพื่อให้วาดหน้าจอได้ถูกต้อง
โหมด picture-in-picture (PIP) ปรับปรุงให้รองรับท่าปัดนิ้ว swipe up to home ได้ดีขึ้น
แอพกลุ่ม companion device (แอพของอุปกรณ์เชื่อมต่อ เช่น นาฬิกาหรือสายรัดข้อมือ) ตั้งให้ตื่นและทำงานตลอดเวลาได้
ปรับปรุง bandwidth estimation API ให้แอพประเมินแบนด์วิดท์ของผู้ใช้งาน ณ ตอนนั้นได้ดีขึ้น
API RenderEffect สั่งกราฟิกให้เบลอได้ง่ายขึ้น
ปรับปรุงการแจ้งเตือนในหน้า lock screen ให้ควบคุมได้มากขึ้นว่าจะแสดงอะไรบ้าง
ผู้ที่ใช้อุปกรณ์กลุ่ม Pixel สามารถทดสอบ Android 12 DP2 ได้แล้ววันนี้ หรือจะทดสอบผ่าน Android Emulator ก็ได้เช่นกัน
ภาพตัวอย่างการสั่งเบลอฉากหลังของ RenderEffect ใน Android 12
ที่มา - Android Developers |
# ไมโครซอฟท์เปิดตัวไอคอนใหม่ Notepad, เปลี่ยนมาอัพเดตผ่าน Store แยกจาก OS
ไมโครซอฟท์เปิดตัวไอคอนใหม่ของ Notepad ใน Windows 10 Insider Preview Build 21337 และประกาศว่าจะอัพเดตผ่าน Microsoft Store แยกจากรอบการอัพเดตของ Windows 10
Notepad ยังจะถูกนำออกมาจากโฟลเดอร์ Windows Accessories ใน Start Menu เพื่อให้มีที่ทางของตัวเองมากขึ้นด้วย
แนวทางของไมโครซอฟท์ช่วงหลังคือ แยกแอพหลายตัวออกจาก OS โดยอัพเดตผ่าน Store เพื่อไม่ต้องรอกัน ตัวอย่างก่อนหน้านี้คือ Windows Calculator, Paint เป็นต้น (แอพเหล่านี้ยังมากับ Windows อยู่ แต่เปลี่ยนวิธีอัพเดตเท่านั้น)
ไมโครซอฟท์ยังประกาศผนวกแอพบางตัวเข้าเป็นแอพพื้นฐานของ Windows 10 (ศัพท์เทคนิคเรียก "inbox app") ได้แก่ Windows Terminal และ Power Automate Desktop
ที่มา - Windows |
# Facebook จะหยุดแนะนำ Groups ที่ทำผิดกฎบ่อย ด้านสมาชิกกลุ่มจะโดนห้ามเชิญคนใหม่เข้าร่วม
Facebook เตรียมปรับปรุงนโยบายสำหรับ Facebook Groups โดยเฉพาะกลุ่มและสมาชิกที่ทำผิดกฎแพลตฟอร์มบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ การเผยแพร่ความเกลียดชัง โดยเป็นการลงโทษทั้งกลุ่มและสมาชิกที่อยู่ในกลุ่มด้วย
เริ่มจากตัว Groups คือ Facebook จะลดการมองเห็น และหยุดแนะนำกลุ่มที่ทำผิดกฎบ่อยๆ บนหน้าฟีด และจะไม่แนะนำให้ผู้ใช้คนอื่นมองเห็นหรือกดเข้าร่วม นอกจากนี้ยังจำกัดจำนวนการเชิญเข้าร่วมกลุ่ม ลดการกระจายเนื้อหาของกลุ่มนั้นๆ ทำให้เนื้อหาแสดงบนหน้าฟีดข่าวน้อยลง
สำหรับแอดมินกลุ่ม ทาง Facebook จะให้แอดมินทำการตรวจสอบทุกโพสต์ก่อนจะอนุมัติให้ขึ้นเนื้อหาบนไทม์ไลน์ได้เป็นการชั่วคราว เท่ากับว่าทุกโพสต์จะไม่แสดงให้เห็นทันทีจนกว่าแอดมินจะตรวจสอบแล้ว
สำหรับสมาชิกกลุ่มที่ทำผิดบ่อย Facebook จะบล็อกไม่ให้โพสต์หรือแสดงความคิดเห็นในกลุ่มใดๆ เป็นระยะเวลาหนึ่ง นอกจากนี้ยังไม่สามารถเชิญผู้อื่นเข้าร่วมกลุ่มใด ๆ และจะไม่สามารถสร้างกลุ่มใหม่ได้ด้วย
ที่มา - Facebook |
# Intel เปิดตัวโฆษณาชุดใหม่ นำเสนอโดย Justin Long ผู้รับบท I’m a Mac
อินเทลเปิดตัวโฆษณาใหม่ในชุด Justin Gets Real ที่นำแสดงโดย Justin Long นักแสดงซึ่งเป็นที่จดจำจากโฆษณาของแอปเปิลในฐานะ I’m a Mac โดยโฆษณาเริ่มต้นด้วย Justin ในฉากหลังพื้นขาวที่คุ้นตา พร้อมกับแนะนำตัวว่า I’m a... Justin
โฆษณามีหลายตัว โดยเป็นการเน้นจุดเด่นของพีซีที่ใช้ซีพียูอินเทลซึ่งเหนือกว่า Mac เช่นตัวเลือกสีเครื่องที่มากกว่า, รองรับจอสัมผัส, เกมมิ่งพีซีที่รองรับเกมโดยเฉพาะได้มากกว่า
ชมโฆษณาทั้งหมดได้ท้ายข่าว
ที่มา: The Verge |
# PowerPoint โหมด Presenter Coach ใช้ AI ช่วยซ้อมพรีเซนต์ เพิ่มการจับภาษากาย แก้ไขคำที่ออกเสียงผิด
ไมโครซอฟท์ออกฟีเจอร์ใหม่ใน PowerPoint หรือ Presenter Coach ใช้ AI ช่วยให้คะแนนการซ้อมพรีเซนต์มาได้สักระยะแล้ว โดยเปิดใช้งานในเวอร์ชั่นเว็บ ล่าสุด ขยายการใช้งานไปยังแอปพลิเคชั่นทั้งบนเดสก์ทอป และมือถือแล้ว ทั้ง Mac, Windows, iOS, Android
Presenter Coach จะสามารถบอกเราได้ว่า เราพูดช้า หรือเร็ว หรือใช้คำซ้ำมากแค่ไหนในการนำเสนองาน พร้อมบอกคะแนนเสนองานให้เราตอนพูดจบด้วย โหมด Presenter Coach มีการอัพเดตใหม่ๆ เพิ่มเติมคือ ช่วยดูภาษากายของเราว่าเราสบตาผู้พูดมากขนาดไหน (ต้องเปิดกล้องตอนซ้อมเสนองาน)
เพิ่มฟังก์ชั่นเตือนให้เราแก้ไขให้ถูกหากออกเสียงผิด พร้อมกดฟังเพื่อฟังเสียงที่ถูกต้องได้ และมีแดชบอร์ดแสดงคำอื่นให้ หากเราใช้คำซ้ำเยอะเกินไป
ที่มา - ไมโครซอฟท์, The Verge |
# [Sensor Tower] Google รายได้ลดลงไม่มาก จากการลดค่าธรรมเนียม Play Store เหลือ 15%
จากประกาศของกูเกิล เรื่องการลดค่าธรรมเนียม Play Store ลงจาก 30% เป็น 15% ซึ่งก็คือลดลงครึ่งหนึ่ง มีผลกับนักพัฒนาในรายได้ 1 ล้านดอลลาร์แรกต่อปี กูเกิลบอกว่าการเปลี่ยนแปลงนี้มีผลกับนักพัฒนาถึง 99% ก็อาจมีข้อสงสัยว่ากูเกิลรายได้จะหายไปมากน้อยแค่ไหน
บริษัทวิจัยตลาดแอปมือถือ Sensor Tower ประเมินจากตัวเลขจากรายได้ Play Store ปี 2020 ที่ 11,600 ล้านดอลลาร์ โดยคาดว่าการลดค่าธรรมเนียมนี้ ถ้าเป็นปี 2020 จะทำให้กูเกิลเสียรายได้ไปประมาณ 587 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 5% ของรายได้รวม
กรณีของแอปเปิล ซึ่งประกาศลดค่าธรรมเนียมไปก่อนหน้านี้ Sensor Tower อ้างอิงตัวเลขปี 2020 เช่นกัน คาดว่ารายได้ลดลง 595 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 2.7% ของรายได้ประเมินราว 21,700 ล้านดอลลาร์
ตัวเลขประเมินของทั้งสองค่ายนี้ ทำให้เห็นว่าตลาดแอปนั้น ผู้พัฒนารายใหญ่ไม่กี่ราย ที่ไม่ได้ประโยชน์จากการลดค่าธรรมเนียมนี้ เป็นผู้สร้างรายได้เป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามการลดค่าธรรมเนียมนี้ก็ทำให้ต้นทุนของนักพัฒนารายเล็กลดลงเช่นกัน
ที่มา: CNBC |
# Pinduoduo อีคอมเมิร์ซมาแรงในจีนมียอดผู้ใช้ต่อวันในปี 2020 แซง Alibaba แล้ว
Pinduoduo อีคอมเมิร์ซจีนที่กำลังมาแรง ตอนนี้มีจำนวนผู้ใช้แอคทีฟต่อวันในปีที่แล้วถึง 788 ล้านราย โดยถือเป็นจุดหมายสำคัญเพราะจำนวนผู้ใช้ของ Pinduoduo ได้แซงคู่แข่งอย่าง Alibaba ไปแล้ว
สำหรับ Pinduoduo เป็นแอปอีคอมเมิร์ซจีนที่กำลังมาแรงมาก โดยจับกลุ่มลูกค้าในเมืองเล็กของจีน ตัวแอปโด่งดังขึ้นมาจากการกำจัดผู้ค้าคนกลางด้วยการขายสินค้าอย่างผลไม้หรือของใช้ในชีวิตประจำวันในราคาถูก แต่ช่วงหลังได้เริ่มขยายกิจการมาขายทุกอย่างแม้กระทั่ง iPhone
Pinduoduo ไอพีโอเข้าตลาดหุ้น Nasdaq เมื่อสองปีที่แล้ว ปัจจุบันมี Tencent เป็นผู้ถือหุ้นและพาร์ทเนอร์ใหญ่ ซึ่งจำนวนแอคทีฟรายวันที่รายงานพร้อมผลประกอบการไตรมาสของปีที่แล้วอยู่ที่ 788 ล้านราย ซึ่งสูงกว่าคู่แข่งอย่าง Alibaba ที่ 779 ล้านรายเล็กน้อย แต่ในกลุ่มผู้ใช้แอคทีฟรายเดือน Pinduoduo อยู่ที่ 720 ล้านราย ในขณะที่ Alibaba ยังนำอยู่มากที่ 902 ล้านราย โดยบริษัท Pinduoduo ยังคงมีผลประกอบการขาดทุนสุทธิที่ 1.38 พันล้านหยวนในไตรมาสสุดท้าย ลดลงจาก 1.75 พันล้านหยวนในปีก่อนหน้า
ตลาดอีคอมเมิร์ซจีนนั้นยังเติบโตได้อีกมาก ด้วยจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ 989 ล้านคนในปีที่แล้ว และเป้าหมายหลักของ Pinduoduo คือจะขายผลิตภัณฑ์การเกษตรให้ได้ถึง 1.45 แสนล้านดอลลาร์ต่อปีในปี 2025 ซึ่งซีอีโอของ Pinduoduo หวังว่าบริษัทจะเป็นผู้ขายสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ที่สุดในโลกให้ได้
ที่มา - TechCrunch
ภาพจาก Pinduoduo |
# Facebook ประกาศทำแพลตฟอร์มนักเขียน หาเงินจากค่าสมาชิก ผูกกับ Pages/Groups
Facebook ประกาศทำแพลตฟอร์มสำหรับ "นักเขียนอิสระ" (independent writers) ตอนนี้ยังไม่มีชื่ออย่างเป็นทางการ แต่ระบุว่าจะเป็นแพลตฟอร์มสำหรับสร้างเว็บไซต์และจดหหมายข่าว ที่เชื่อมโยงกับ Facebook Pages และ Facebook Groups อย่างแนบแน่น
นักเขียนจะสามารถทำเงินจากงานเขียนได้ผ่านระบบสมาชิก (subscription) และสร้างฐานแฟนๆ ผ่าน Facebook Groups ด้วย บริการตัวนี้จะเปิดตัวในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยเริ่มจากในสหรัฐก่อน
ช่วงหลังๆ เริ่มมีแพลตฟอร์มด้านงานเขียนสำหรับนักเขียนอิสระเกิดขึ้นมาหลายตัว ที่ดังๆ ก็อย่าง Medium ที่เราคุ้นเคยกัน หรือ Substack บริการสร้างจดหมายข่าวแบบเสียเงินเป็นสมาชิก ที่กำลังมาแรงเช่นกัน
ที่มา - Facebook, ภาพจาก Facebook |
# เปิดตัว Samsung Galaxy A52 และ Galaxy A72 กล้องหลัง 4 ตัว กล้องหน้า 32MP ราคาเริ่มหมื่นต้น
เปิดตัว Samsung Galaxy A52, Galaxy A72 และ Galaxy A52 5G ที่ซัมซุงเคลมว่าเป็นกล้องที่มือถือดีที่สุดในซีรีส์ Galaxy A ชูฟีเจอร์แบตเตอรี่อึดทนอยู่ได้ 2 วัน รวมทั้งดีไซน์สีหวานพาสเทล ม่วงและฟ้า
ทั้งสามรุ่นมาพร้อมกล้องหลัง 4 ตัว โดย Galaxy A52 และ A52 5G มีกล้องหลัก 64MP, กล้อง Ultra Wide 12MP, กล้อง Macro 5MP และกล้อง Depth 5MP ซูมได้ 10 เท่า ส่วน Galaxy A72 มีคุณสมบัติกล้องเหมือน Galaxy A52 และ A52 5G ยกเว้นมีกล้อง Tele แทนที่กล้อง Depth พร้อมความละเอียด 8MP ซูมได้ 30 เท่า ด้านกล้องหน้าเป็น 32MP ทั้งหมด ใช้งานเล่นฟิลเตอร์กล้อง Fun Mode จาก Snapchat ได้
Galaxy A72
หน้าจอทั้งสามรุ่นออกแบบด้วยดีไซน์ Infinity-O Display ที่เริ่มเป็นดีไซน์เด่นของซัมซุงมาตั้งแต่ Galaxy S10 ขนาดหน้าจอ Galaxy A52 และ A52 5G อยู่ที่ 6.5 นิ้ว ส่วน Galaxy A72 เป็นรุ่นใหญ่ขนาดหน้าจอ 6.7 นิ้ว อัตรารีเฟรชเรทของ Galaxy A52 และ Galaxy A72 อยู่ที่ 90 Hz ส่วน A52 5G อยู่ที่ 120 Hz
แบตเตอรี่ก็เป็นอีกฟีเจอร์เด่นของซีรีส์นี้ โดย Samsung Galaxy A52 และ A52 5G มีแบตเตอรี่ 4,500 mAh ส่วน Galaxy A72 มีแบตเตอรี่ 5,000 mAh มี 25W Fast Charging
Galaxy A52
ความสามารถที่ทั้งสามรุ่นมีร่วมกันคือ Super Steady Mode หรือฟีเจอร์กันสั่นที่เป็นตัวเด่นในซัมซุงมาหลายรุ่น, การใช้งาน One UI 3.1, เพิ่มความจุได้สูงสุด 1TB, มาตรฐานกันน้ำกันฝุ่น IP67
ราคาขาย Samsung Galaxy A52 อยู่ที่ 349 ยูโร หรือราว 12,790 บาท Galaxy A52 5G ราคา 429 ยูโร หรือราว 15,722 บาท Galaxy A72 ราคา 449 ยูโร หรือราว 16,455 บาท
อัพเดตราคาไทย
Galaxy A72 วางจำหน่ายในราคา 13,999 บาท
Galaxy A52 วางจำหน่ายในราคา 11,999 บาท และ Galaxy A52 5G ในราคา 13,499 บาท
ที่มา - ซัมซุง |
# เปิดตัว Wikimedia Enterprise บริการ API แบบจ่ายเงิน ให้ลูกค้าองค์กรดูดข้อมูลเยอะๆ แบบเรียลไทม์
Wikimedia Foundation หน่วยงานแม่ของ Wikipedia และโครงการอื่นๆ ในเครือ เปิดตัว Wikimedia Enterprise เป็นบริการ API เพื่อเข้าถึงข้อมูลของโครงการในสังกัด แบบคิดเงิน สำหรับกลุ่มลูกค้าองค์กร
ตัวโครงการของ Wikimedia ทั้งหมดจะยังเป็นเนื้อหาฟรีเช่นเดิม แต่สำหรับองค์กรที่อยากดึงข้อมูลจำนวนมากแบบเรียลไทม์ (bulk and realtime) ต้องมาจ่ายเงินเพื่อใช้ API ตัวนี้แทน (ตอนนี้ยังไม่เสร็จ ยังไม่มีราคา คาดว่าจะออกเวอร์ชันแรกในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2021)
Wikimedia Foundation บอกว่าต้องการแก้ปัญหาการดูดข้อมูลจากหน้าเว็บ (site-scraping) เป็นจำนวนมากๆ และบ่อยๆ โดยที่องค์กรไม่เสียเงินเลย (เช่น กรณีของกูเกิลหรือบริษัทไอทียักษ์ใหญ่รายอื่น) และต้องหารายได้กลับมาสนับสนุนโครงการ นอกเหนือจากการรับบริจาคตามปกติ
การออก API แบบเสียเงินมุ่งเป้าที่การใช้งานแบบดูดข้อมูลมากๆ และบ่อยๆ (bulk and realtime) เท่านั้น หากต้องการดูดข้อมูลมากๆ แต่ไม่บ่อย ยังสามารถใช้ได้ฟรีจากหน้า Dumps ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน ส่วนการดูดข้อมูลไม่มากแต่บ่อยๆ ก็สามารถทำได้ฟรี หากเป็นนักวิจัยหรือการใช้งานที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ แต่ต้องส่งคำขอเป็นกรณีไป
ตัวอย่างหน้าตาของ Wikimedia Enterprise รุ่นอัลฟ่า (ยังใช้โค้ดเนมว่า Okapi อยู่)
ที่มา - Wikimedia, Wired |
# แอป GoPro รวมกับ Quik กลายเป็น GoPro Quik นำฟีเจอร์สองแอปมารวมกัน
แอป GoPro อย่างเป็นทางการ เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น GoPro Quik บน App Store และ
GoPro Quik Video + Photo Editor บน Play Store หลังก่อนหน้านี้ GoPro ซื้อกิจการแอป Replay แอปตัดต่อวิดีโอบน iOS ไปเปลี่ยนชื่อเป็น Quik และออกเวอร์ชั่นแอนดรอยด์ในปี 2016 ก่อนจะถูกยุบมารวมกับแอป GoPro ในปัจจุบัน
นอกจากฟีเจอร์ตัดต่อวิดีโอซิงค์กับบทเพลงที่ยกมาจากแอป Quik เดิมแล้ว ยังสามารถตัดต่อวิดีโอบนเครื่อง ใส่รูปและวิดีโอรวมอื่น รวมกับวิดีโอที่ถ่ายจากกล้อง GoPro ในที่เดียว ด้วยฟีเจอร์ที่ชื่อว่า Murals พร้อมใส่เพลงปลอดลิขสิทธิ์จาก GoPro และปรับความเร็วเฟรมเรตแยกในบางส่วนของวิดีโอ ให้ช้าลงหรือเร็วขึ้น และมี In-App Purchase ให้ซื้อธีมหรือฟิลเตอร์เพิ่มเติม
แอป Quik ยังสามารถใช้แทน viewfinder, ใช้เป็นรีโมต รวมถึงจัดการไฟล์จากกล้อง GoPro ได้ ส่วนผู้ใช้บริการคลาวด์ของ GoPro ก็จะสามารถเข้าถึงและจัดการไฟล์ผ่านแอป Quik ได้ทันที
ที่มา - Android Police |
# แบงค์ชาติเตือน Stablecoin ชนิด THT อิงมูลค่ากับเงินบาท อาจผิดกฎหมาย
ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกข่าว ธปท. ฉบับที่ 15/2564 เตือนว่า Stablecoin ที่อิงกับมูลค่าเงินบาทชนิด THT ที่ให้บริการบนแพลตฟอร์ม Terra และกำหนดให้มูลค่าของเหรียญ 1 เหรียญ มีค่าเท่ากับ 1 บาทนั้น หากถูกนำมาใช้แลกเปลี่ยนในวงกว้าง อาจ “ทำให้เกิดการแบ่งแยกระบบเงินตราของประเทศไทยออกไปมากกว่าหนึ่งระบบ และส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนและความมั่นคงของระบบเงินตราของประเทศ”
ทำให้การออกเหรียญ THT อาจเข้าข่ายเป็นการกระทำผิดกฎหมาย เพราะเป็นการทำ จำหน่าย ใช้ หรือนำออกใช้ วัตถุหรือเครื่องหมายแทนเงินตรา ที่เป็นความผิดตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 และเตือนว่าประชาชนไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องกับ THT เพราะจะไม่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย เสี่ยงการถูกโจรกรรมทางไซเบอร์ และเสี่ยงตกเป็นเครื่องมือในการฟอกเงิน
ที่มา - ธนาคารแห่งประเทศไทย |
# Samsung ระบุ อาจไม่มี Galaxy Note รุ่นใหม่ในปีนี้
DJ Koh ประธานแผนกมือถือของ Samsung ระบุในงานประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีว่าปีนี้อาจไม่มีมือถือ Galaxy Note โดยระบุว่า Galaxy Note นั้นนับเป็นมือถือระดับไฮเอนด์ อาจจะเป็นภาระที่หนักเกินไปสำหรับบริษัทที่จะเปิดตัวมือถือระดับไฮเอนด์ถึงสองรุ่นในหนึ่งปี รวมถึงบอกว่าไทม์ไลน์การออกรุ่น Note อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ แต่ก็ตั้งเป้าว่าจะเปิดตัวมือถือตระกูล Note รุ่นใหม่ในปีหน้า
ข้อมูลเรื่องนี้มาพร้อมกับที่ Samsung เตือนว่าซัพพลายชิปของบริษัทอาจจะขาดแคลนได้ในไตรมาสหน้า แต่ DJ Koh ดูจะเน้นย้ำว่าเรื่องการเลื่อน Galaxy Note ออกไป เป็นการปรับลดความซับซ้อน (streamlined) ให้กับมือถือ Galaxy รุ่นต่างๆ มากกว่า
หลัง S21 Ultra ที่ออกเมื่อต้นปี รองรับการใช้งาน S-Pen (แต่ไม่ได้มีแถมมาให้และไม่มีช่องเก็บ) ทำให้หลายๆ คนสงสัยว่า Samsung จะยุบไลน์ Galaxy Note แล้วนำ S-Pen มาใช้กับเรือธงรุ่น Ultra ถาวรในอนาคตหรือเปล่า วันนี้คงได้รับคำตอบเบื้องต้นแล้ว ว่าแม้แฟนๆ Galaxy Note จะต้องผิดหวังในปีนี้ แต่ก็ยังมีหวังอยู่ในปีถัดไป
ที่มา - Bloomberg via The Verge |
# GMM Music เผยคนไทยฟังเพลงแกรมมี่ผ่าน YouTube มากที่สุด 66% ฟัง Spotify แค่ 4%
GMM Music เผยตัวเลขพฤติกรรมสตรีมเพลงในไทยจากแพลตฟอร์มต่างๆ เฉพาะเดือนมกราคมที่ผ่านมามียอดสตรีม 1,490 ล้านสตรีม โดยช่องทางหลักยังเป็น YouTube คิดเป็นสัดส่วน 66% รองลงมา คือ Facebook 27%, Spotify 4% และช่องทางอื่นๆ 3% เช่น Joox, Apple Music, LINE TV, AIS Play และ True ID เป็นต้น
โดยยอดสตรีมเพลงในเดือนมกราคมเพิ่มขึ้น 40% เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมปีก่อนหน้า และพบพฤติกรรมการฟังเพลงผ่าน Facebook เพิ่มขึ้น 248%
นายภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายธุรกิจ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ระบุว่า “เริ่มพัฒนาช่องทางการฟังเพลงบนแพลตฟอร์มของเฟซบุ๊คในช่วงปลายปี 2562 ถือเป็นช่องทางที่มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงสถานการณ์โควิด จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องอยู่บ้านมากขึ้น การ Work from Home ทำให้มีการฟังเพลงมากขึ้น เพลงกลายเป็นส่วนสำคัญในไลฟ์สไตล์ของผู้คน และสื่อสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊คกลายเป็นช่องทางหลักในการเข้าถึงกลุ่มผู้ฟังที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งเพลงป็อบ ร็อค โดยเฉพาะเพลงลูกทุ่งมียอดวิวสูงมาก”
ที่มา - ข่าวประชาสัมพันธ์ |
# มันจบแล้วเกมเมอร์ NVIDIA เผลอปลดล็อกพลังแฮชในการ์ด RTX 3060 ด้วยไดรเวอร์เวอร์ชั่นเบต้า
หลัง NVIDIA ประกาศออกไดรเวอร์ของ RTX 3060 ที่ตรวจจับการขุดเหรียญคริปโตและลดพลังแฮชลง เพื่อป้องกันปัญหาการ์ดจอขาดแคลน พร้อมระบุว่าวิธีนี้แฮกได้ยากมาก แต่ในที่สุดก็มีวิธีปลดล็อกพลังแฮชให้ RTX 3060 แล้ว ด้วยการใช้ไดรเวอร์ technology preview เวอร์ชั่น 470.05 (beta) ของ NVIDIA เอง ที่พอเปลี่ยนมาใช้ ก็จะปลดล็อกพลังแฮชให้กลับมาเท่าเดิม แต่มีข้อจำกัดคือจะปลดล็อกการ์ดจอที่ต่อกับมอนิเตอร์อยู่ได้แค่ตัวเดียว
ผลการทดสอบของ Hardwareluxx.de (ภาษาเยอรมัน) ที่ใช้ QuickMiner พบว่าเมื่อใช้ไดรเวอร์เวอร์ชั่น 470.05 พลังแฮชของ RTX3060 ที่ถูกลดเหลือ 22MH/s ในไดรเวอร์เวอร์ชั่นปกติ จะเพิ่มเป็น 41MH/s โดยไม่ต้องใช้ BIOS เวอร์ชั่นพิเศษด้วยซ้ำ
ปัจจุบัน NVIDIA ลบลิงก์ดาวน์โหลดไดรเวอร์เวอร์ชั่นนี้รวมถึงลิงก์หน้าฟอรั่มเกี่ยวกับกับไดรเวอร์เวอร์ชั่นนี้ไปด้วย แต่ชาวเหมืองก็ยังสามาร์ดาวน์โหลดไฟล์ไดรเวอร์เวอร์ชั่นนี้จากเว็บฝากไฟล์ที่มีสมาชิกฟอรั่มต่างๆ อัพโหลดไว้ มาใช้งานได้ตามปกติอยู่ ดูเหมือนว่าปัญหาการ์ดจอขาดตลาด คงไม่น่าดีขึ้นในเร็ววันนี้
ที่มา - The Register, Hardwareluxx.de via Hexus.net |
# ทำความรู้จัก Intel NUC มินิพีซี อาวุธลับของธุรกิจยุคใหม่ ใช้แทนคอมพิวเตอร์จริงได้
เทรนด์การใช้งานมินิพีซีอาจยังไม่เห็นมากนัก แต่มินิพีซีจะเป็นเทรนด์ที่กำลังมาในอนาคตแน่นอน เพราะด้วยขนาดเล็กเท่าฝ่ามือ พกพาไปไหนมาไหนสะดวก มีขุมพลังเทียบเท่ากับคอมพิวเตอร์และกินพลังงานน้อยกว่า
ที่บอกว่ามินิพีซีจะกลายเป็นเมกะเทรนด์นั้นไม่ใช่เรื่องเกินจริง เพราะนับวันคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก ก็ยิ่งทำออกมาด้วยขนาดที่บางเบาลง อและแม้จะมีแท็บเล็ตมือถือที่ประสิทธิภาพการใช้งานแรงขึ้น แต่ก็ไม่สามารถใช้งานแทนคอมพิวเตอร์ได้โดยสมบูรณ์ ซึ่งมินิพีซีทำแทนได้
Intel ถือเป็นอีกแบรนด์ที่ตีตลาดมินิพีซี ในชื่อว่า Intel® Nuc หรือชื่อเต็มๆ คือ Next Unit of Computer หรือคอมพิวเตอร์ในรุ่นถัดไป เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์อีกรูปแบบหนึ่งที่ออกแบบมาให้มีขนาดที่เล็กเพียง 4x4 นิ้ว สำหรับการทำงานที่ต้องการประสิทธิภาพไม่แตกต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ปกติ แต่ได้ขนาดที่เล็กกว่าเพื่อความคล่องตัวและสามาถนำไปประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ ได้หลากหลาย ลดข้อจำกัดด้านขนาดในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเดิม
ปัจจุบัน Intel® Nuc มีรุ่นแยกย่อยถึง 7 รุ่น รองรับการใช้งานหลากหลายทั้งสายกราฟิก, เล่นเกมหนักๆ หรือสายสำนักงานทั่วไป ดังนี้
1.Intel® Nuc Extreme “Ghost Canyon” มินิพีซีสายสตรีมเกม กราฟิก ด้วยการออกแบบให้มีความยืดหยุ่นสามารถปรับแต่งสเปคของเครื่องได้เองตามความต้องการ ให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ มีซีพียูให้เลือกทั้ง Intel® Core™ i9K, I7, i5 และกราฟิกการ์ดที่ปรับเปลี่ยนเองได้ รวมถึงตัวเมนบอร์ดที่สามารถอัพเกรด Compute Element ได้เอง เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการประสิทธิภาพสูง ไม่ว่าจะใช้เล่นเกม สตรีมภาพและเสียงที่ความละเอียดสูง หรือการทำงานด้านกราฟิก
2.Intel® Nuc Enthusiast “Hades Canyon” มินิพีซีสายสตรีมเกมความละเอียดสูง มาพร้อมกับซีพียู Intel® Core™ i7,i5 พร้อมชิปกราฟิกประสิทธิภาพสูงในตัวเครื่อง ช่วยให้สามารถทำงานด้านกราฟิกและเล่นเกมที่ความละเอียด 4K ได้ถึง 6 จอ พร้อมกันได้ ในขนาดตัวเครื่องที่เล็กเพียง 1.2-1.3L เท่านั้น
3.Intel® Nuc Performance “Frost Canyon” and “Bean Canyon” มินิพีซีตัวจิ๋วสายสำนักงาน ที่มาพร้อมสมรรถนะในระดับเดสก์ท็อป ด้วยตัวเครื่องที่มาพร้อมซีพียู Intel® Core™ i7, i5 ,i3 ให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ยอดเยี่ยมสามารถต่อหน้าจอได้ถึง 4 จอพร้อมกัน เพื่อการทำงานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะใช้แทนเครื่องคอมพิวเตอร์ในสำนักงาน ใช้เป็นโฮมเธียร์เตอร์ในบ้าน หรือเครื่องเล่นเกมขนาดย่อม ด้วยขนาดของตัวเครื่องที่เล็กเพียง 0.35-0.7L เท่านั้น
4.Intel® Nuc Pro “Quartz Canyon” and “Provo Canyon” ออกแบบเพื่อคนทำธุรกิจและการศึกษา เน้นที่ประสิทธิภาพและความทนทาน ด้วยตัวซีพียูที่ใช้เป็น Intel® Xeon, Intel® Core™ i7 vPro, Intel® Core™ i5 vPro, และ Intel® Core™ i3 ที่สามารถเปิดใช้งานได้แบบ 24x7 มีความน่าเชื่อถือในระดับอุสหากรรม สามารถประยุกต์ใช้ได้ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ใช้ควบคุมป้ายโฆษณาดิจิทัล ทำเป็นเซิฟเวอร์สำหรับ SMB หรือการศึกษา รวมไปถึงใช้งานงานออฟิศเพื่อการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
5.Intel® Nuc Rugged “Chaco Canyon” มินิพีซีสายอึด ด้วยตัวเครื่องที่ออกแบบเป็นระบบปิด ใช้การระบายความร้อนจากตัวบอดี้ ไม่ต้องมีพัดลมเพื่อระบายอากาศ ที่อาจทำให้ฝุ่นเข้าไปสะสมในตัวเครื่องจนระบบภายในเสียหายได้
ตัวเครื่องจึงมีอายุการใช้งานที่ยืนยาวกว่า ใช้งานได้แบบ 24x7 โดยไม่ต้องหยุดพัก เหมาะสำหรับการใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีฝุ่นและความร้อนสูงเน้นสมบุกสมบัน หรือติดตั้งในป้ายโฆษณาดิจิทัลที่มรขนาดเล็กและต้องเปิดตลอดเวลา รวมถึงการใช้งานวิเคราะห์ที่อยู่นอกศูนย์ข้อมูลเป็นต้น
6.Intel® Nuc Essential “June Canyon” มินิพีซีสายแคสเกม มาพร้อมกับซีพียูรุ่นเล็กอย่าง Intel® Celeron และ Intel® Pentium และกราฟิกอย่าง UHD ที่สามารถแสดงผลสื่อความบันเทิงต่างๆ ในแบบ 4K ที่ 60Hz ได้อย่างราบลื่น มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows 10 Home ที่พร้อมใช้งานได้ในทันที เหมาะสำหรับนักเรียนนักศึกษา นักแคสเกมที่ใช้เป็นเครื่องสตรีม รวมถึงการติดตั้งในป้ายโฆษณาดิจิทัลแบบประหยัดด้วยขนาดที่เล็กเพียง 0.65L เท่านั้น
7.Intel® Nuc M15 Laptop kit ตัวนี้ไม่ใช่มินิพีซี แต่เป็นแล็ปท็อปบางเบารุ่นแรกของแบรนด์ Intel® NUC ซึ่งมอบสมรรถนะและการตอบสนองที่รวดเร็ว และการใช้งานที่ยาวนานด้วยแบตเตอรี่ที่พร้อมใช้งานได้ตลอดทั้งวันโดยที่ไม่ต้องเสียบปลั๊ก สามารถใช้งานด้านมัลติมีเดีย สร้างสรรค์ผลงาน หรือเล่นเกมเพื่อพักผ่อนหย่อนใจได้ในเครื่องเดียวด้วยความสามารถของ ซีพียู Intel® ® Core™ เจนเนอเรชั่น 11 และกราฟิก Intel® lris™ Xe ทำให้ Intel® Nuc M15 Laptop kit เป็นโน้ตบุ๊กที่ตอบโจทย์การใช้งานได้ในทุกรูปแบบ
สรุป
จะเห็นได้ว่า Intel® Nuc ได้ถูกพัฒนามาเพื่อการใช้งานในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลายครอบคลุมในทุกๆ การใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในบ้าน สำหรับการเรียน หรือด้านความบันเทิง ทำงานทั่วๆ ไป ในองค์กร การใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม ไปจนถึงการประยุกต์ใช้งานในอุปกรณ์เฉพาะด้าน ครอบคลุมทุกความต้องการได้อย่างเหลือเชื่อ |
# Twitter เตรียมให้ใช้กุญแจ FIDO ทำ 2FA โดยไม่ต้องเปิดวิธีอื่น, หนึ่งบัญชีใช้ได้หลายชิ้น
Twitter เปิดให้ใช้กุญแจ FIDO (Twitter เรียกว่า Security Key) ที่เป็นอุปกรณ์ยืนยันตัวตนเชื่อมต่อผ่าน USB, Bluetooth,หรือ NFC สำหรับยืนยันตัวตนสองขั้นตอนได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2018 แต่ก่อนหน้านี้ผู้ใช้จะต้องมีวิธีอื่น เช่นการรับรหัสทาง SMS เผื่อไว้ด้วย ไม่สามารถใช้แค่ Security Key ได้ และใช้ Security Key ได้หนึ่งชิ้นต่อหนึ่งบัญชีเท่านั้น
ล่าสุด Twitter อัพเดตให้ผู้ใช้สามารถใช้ Security Key มากกว่าหนึ่งชิ้นต่อหนึ่งบัญชีได้แล้ว รวมถึงระบุว่าเตรียมให้ผู้ใช้ ใช้เพียง Security Key เพื่อยืนยันตัวตน โดยไม่ต้องเปิดใช้วิธีอื่นได้เร็วๆ นี้ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องระบุข้อมูลส่วนตัวเพิ่มเติม เช่นเบอร์โทรศัพท์ เพื่อใช้การยืนยันตัวตนสองขั้นตอน เพิ่มความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวอีกระดับ
กุญแจ FIDO นับเป็นการยืนยันตัวตนขั้นตอนที่สองที่ความปลอดภัยสูง ฟีเจอร์สำคัญคือมันช่วยป้องกันผู้ใช้จากการปลอมหน้าเว็บ (phishing) ได้ด้วย แต่หากกุญแจหายไปหรือเสียหายก็จะทำให้ผู้ใช้ล็อกอินไม่ได้อีกเลย บริการที่พึ่งกุญแจ FIDO เป็นหลักจึงมักบังคับให้ผู้ใช้ลงทะเบียนกุญแจหลายชิ้นเอาไว้สำรองกรณีเสียหายหรือสูญหาย เช่นบริการ Google Advanced Protection ที่อนุญาตให้ผู้ใช้กูเกิลยกเลิกการล็อกอินสองขั้นตอนแบบอื่นๆ ได้ทั้งหมด
ที่มา - Twitter via The Verge |
# Azure ล่มยาว 13 ชั่วโมงเมื่อคืนนี้ หลังกระบวนการเปลี่ยนกุญแจใน Azure AD ผิดพลาด
ไมโครซอฟท์ชี้แจงเหตุระบบล่มเป็นวงกว้างเมื่อคืนที่ผ่านมา เริ่มจากช่วงตีสองของวันที่ 16 มีนาคมมาจนถึงช่วงสี่โมงเย็น หลังระบบเปลี่ยนกุญแจ (key rotation) ของระบบ Azure AD มีบั๊ก จนกระทั่งกุญแจบางส่วนถูกลบออกจากระบบ
ปัญหาของระบบล่มครั้งนี้เริ่มจากทีมงานเก็บกุญแจตัวหนึ่งไว้นานกว่าปกติเพื่อซัพพอร์ตการย้ายระบบข้ามคลาวด์ที่มีความซับซ้อนสูง แต่หลังจากคอนฟิกให้ระบบเก็บกุญแจเอาไว้ บั๊กในระบบเปลี่ยนกุญแจทำให้ระบบไม่สนใจค่าคอนฟิกและลบกุญแจที่ทีมงานสั่งให้เก็บไว้จนทำให้ Azure AD ล่มไป
ไมโครซอฟท์ชี้แจงว่าจะเพิ่ม Safe Deployment Process (SDP) เพื่อป้องกันปัญหาแบบนี้ในอนาคต โดย SDP นี้แบ่งออกเป็นหลายเฟสและคาดว่าจะวางระบบเสร็จสิ้นภายในกลางปีนี้
Azure AD เพิ่งล่มครั้งใหญ่เมื่อปีที่แล้ว จนพาเอาบริการสำคัญๆ ของไมโครซอฟท์ล่มไปทั้งหมด ทางไมโครซอฟท์ยอมรับว่าการล่มของบริการที่เป็นแกนกลางเช่นนี้เป็นเรื่องยอมรับไม่ได้และขออภัยผู้ใช้ พร้อมกับระบุว่าจะออกรายงานวิเคราะห์สาเหตุฉบับเต็มเมื่อการวิเคราะห์เสร็จสิ้นแล้ว
ที่มา - Azure Status |
# Micron เลิกทำหน่วยความจำ 3D XPoint ที่พัฒนาร่วมกับอินเทล และใช้ใน Optane
บริษัทหน่วยความจำ Micron Technology ประกาศหยุดพัฒนาหน่วยความจำแบบ 3D XPoint ที่ร่วมพัฒนากับอินเทลมาตั้งแต่ปี 2015 และใช้เป็นหน่วยความจำสำหรับ Intel Optane
3D XPoint เป็นหน่วยความจำประเภท non-volatile memory (NVM ปิดไฟแล้วข้อมูลยังอยู่) ที่มีตำแหน่งทางการตลาดอยู่ระหว่างแรมแบบ DRAM และสตอเรจแบบ Flash (เร็วกว่า Flash แต่ถูกกว่า DRAM) ซึ่งอินเทลนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ตระกูล Optane ที่นำไปคั่นตรงกลางระหว่างแรมกับสตอเรจ ส่วน Micron เคยออก SSD มาตัวเดียวคือ X100
อย่างไรก็ตาม นอกจากอินเทลและ Micron กลับไม่มีบริษัทอื่นสนใจตลาดหน่วยความจำประเภทนี้ ประกาศของ Micron ยอมรับว่าหยุดทำเพราะตลาดมีขนาดไม่ใหญ่พอ และกำลังจะขายโรงงาน 3D XPoint ที่รัฐ Utah ออกไปด้วย (ไม่ระบุว่าใครเป็นคนซื้อ)
ฝั่งอินเทลยังไม่มีท่าทีใดๆ ในเรื่องนี้ และยังไม่ชัดเจนว่าอินเทลจะซื้อโรงงานของ Micron มาทำต่อ หรือจะยอมแพ้ในตลาดนี้ไปเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ของ Micron กับอินเทลดูยังดีอยู่ เพราะ Micron ประกาศว่าจะโยกทรัพยากรมาทำหน่วยความจำที่ใช้บัสแบบใหม่ Compute Express Link (CXL) ซึ่งเริ่มพัฒนาโดยอินเทล
ที่มา - Micron |
# Bandai Namco ออกแถลงการณ์ #StopAsianHate ขอให้หยุดความเกลียดชังต่อชาวเอเชีย
Bandai Namco ผู้สร้างเกมรายใหญ่ในญี่ปุ่นออกแถลงการณ์ต่อต้านการเหยียดคนเอเชียในสหรัฐฯ พร้อมติดแฮชแท็ก #StopAsianHate ทางบริษัทระบุว่า ในฐานะที่เป็นบริษัทญี่ปุ่น กระแสความเกลียดชังชาวเอเชียที่มีอยู่ตอนนี้ ส่งผลกระทบต่อพนักงานโดยตรง ทางบริษัทเรียกร้องการสนับสนุนจากแฟนๆ เกม ให้ต่อสู้กับอาชญากรรมที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังต่อคนเชื้อสายเอเชีย
ในรูปภาพแถลงการณ์ยังบอกด้วยว่า เรายืนหยัดในความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของชุมชนชาวเอเชียอเมริกันและชาวเกาะแปซิฟิก ทั้งพนักงาน แฟนเกมที่มีอยู่ทั่วโลก มาจากหลากหลายวัฒนธรรม โดยบริษัทต้องออกมาพูดเพราะต้องการสร้างความตระหนักจากอาชญากรรมจากความเกลียดชังที่เพิ่มขึ้นอย่างน่ากลัว
ข้อมูลจาก Center for the Study of Hate and Extremism จาก มหาวิทยาลัย California State พบว่าภายในเดือนเดียว อัตราอาชญากรรมที่มีต่อชาวเอเชียเพิ่มขึ้น 149% ตาม 16 เมืองใหญ่ในสหรัฐฯ ก่อนหน้านี้ก็มีไมโครซอฟท์และ Andbox บริษัทเกี่ยวกับอีสปอร์ตออกมาเรียกร้องให้หยุดความเกลียดชังนี้
ที่มา - Kotaku |
# Uber อังกฤษจะจ่ายค่าแรงขั้นต่ำรายชั่วโมงให้คนขับ 7 หมื่นราย รวมทั้งเงินล่วงเวลาและบำนาญ
จากประเด็นศาลฎีกาในสหราชอาณาจักรลงมติเอกฉันท์ให้คนขับรถของ Uber มีสถานะเป็นพนักงานบริษัท แทนท่ี่จะเป็นพาร์ทเนอร์ ล่าสุด Uber ออกมาบอกว่าจะจ่ายค่าแรงขั้นต่ำรายชั่วโมงให้แก่คนขับในประเทศทุกคนที่มีอยู่ราว 70,000 ราย รวมถึงค่าล่วงเวลาในวันหยุด และบำนาญต่างๆ
การได้มาซึ่งสถานะพนักงานของคนขับ Uber นั้นผ่านการต่อสู้มายาวนาน สหภาพแรงงานในอังกฤษหรือ GMB บอกว่าต้องชนะถึง 4 ศาลเลยทีเดียว และ Uber เองก็ต่อสู้คดียื่นอุทธรณ์มาตลอด
Uber ระบุว่าคนขับจะได้รับค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมาย และจะได้รับการลงทะเบียนโดยอัตโนมัติในแผนบำนาญของบริษัทรวมภึงประกันภัยที่ Uber ทำให้คนขับอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ยังมีความเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับฝั่งคนขับนั้นไม่ได้มากนัก James Farrar และ Yaseen Aslam จากสหภาพ App Drivers & Couriers Union ผู้เรียกร้องในคดี Uber บอกว่ากว่าคนขับจะได้เงินก็ต่อเมื่อส่งผู้โดยสารลงจากรถแล้ว ซึ่งไม่สะท้อนเวลาการทำงานจริงของคนขับ
ที่มา - The Guardian |
# Rocket Lake มาแล้ว อินเทลเปิดตัว 11th Gen Core สำหรับเดสก์ท็อป จำนวนคอร์ลดลงจาก 10th Gen
อินเทลเปิดตัว 11th Gen Core สำหรับเดสก์ท็อป (โค้ดเนม Rocket Lake-S) อย่างเป็นทางการ หลังมีซีพียูหลุดมาวางขายก่อน และ AnandTech ซื้อมารีวิวก่อนเป็นสัปดาห์
Rocket Lake-S ที่เปิดตัวชุดแรกมีทั้งหมด 11 รุ่นย่อย ตั้งแต่ Core i5 (6 คอร์ 12 เธร็ด) ไปจนถึง Core i9 (8 คอร์ 16 เธร็ด)
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ ซีพียูรุ่นท็อป Core i9 ลดจำนวนคอร์ลงจาก 10 คอร์ 20 เธร็ด ใน 10th Gen Core (Comet Lake-S) มาเหลือ 8 คอร์ 16 เธร็ด เพื่อแลกกับประสิทธิภาพที่ดีขึ้น (เท่ากับว่ารอบนี้ Core i9 และ Core i7 มีจำนวนคอร์เท่ากัน ต่างกันที่ฟีเจอร์การบูสต์คล็อค Thermal Velocity Boost ซึ่งมีเฉพาะใน Core i9)
Rocket Lake ยังใช้กระบวนการผลิต 14 นาโนเมตรเช่นเดิม แต่อัพเกรดมาใช้สถาปัตยกรรมย่อยตัวใหม่ Cypress Cove ที่นำมาจาก Sunny Cove ฝั่งโน้ตบุ๊ก มีจำนวนคำสั่งต่อรอบสัญญาณนาฬิกาเพิ่มขึ้น 19% จากรุ่นก่อน
ของใหม่อย่างอื่นคือ รองรับ PCIe 4.0 ตามที่เคยประกาศไว้, ขยับสเปกของแรมที่รองรับเพิ่มเป็น DDR4-3200 (รุ่นก่อน 2933), ตัวถอดรหัสวิดีโอ AV1 10 บิต, ชุดคำสั่ง AVX-512 ที่เดิมมีเฉพาะในฝั่งเซิร์ฟเวอร์ Xeon
Core 11th Gen ยังมีจีพียูในตัวเหมือนเดิม (ยกเว้นรุ่นห้อยท้าย F ที่ไม่มีจีพียูมาให้) โดยยังเป็นจีพียู Intel UHD (ไม่ใช่ Xe แต่ใช้สถาปัตยกรรมเดียวกับ Xe) แต่เป็นรุ่นใหม่ซีรีส์ 7xx แทนซีรีส์ 6xx ในซีพียูเดสก์ท็อป 10th Gen และเพิ่มรุ่นห้อยท้ายรหัส T ที่กินไฟต่ำ 35 วัตต์เข้ามาด้วย
ตัวชิปเรือธงของรอบนี้คือ Core i9-11900K มีคล็อคสูงสุด 5.3 GHz (คอร์เดียว) 8 คอร์ 16 เธร็ด แคช 16MB ราคาขายส่งอยู่ที่ตัวละ 539 ดอลลาร์ แพงขึ้นจาก 10th Gen
ที่มา - Intel |
# Google ประกาศลดค่าธรรมเนียม Play Store ของนักพัฒนาเหลือ 15% สำหรับ 1 ล้านดอลลาร์แรกต่อปี
กูเกิลประกาศลดค่าธรรมเนียมสำหรับนักพัฒนาบน Play Store เหลือ 15% สำหรับรายได้ 1 ล้านดอลลาร์แรกต่อปี มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2021 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับแอปเปิลที่ประกาศไปก่อนหน้านี้
ก่อนหน้านี้มีรายงานข่าวจากสื่อเกาหลีในประเด็นดังกล่าว
Sameer Samat รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์ของกูเกิลบอกว่า การเปลี่ยนแปลงนี้มีผลดีกับนักพัฒนาถึง 99% ใน Play Store ซึ่งช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้นสำหรับการลงทุนที่จำเป็น ในช่วงกำลังพัฒนาธุรกิจและบริการ มีรายได้เข้ามาต่อปียังไม่มาก ส่วนค่าธรรมเนียมส่วนที่เกิน 1 ล้านดอลลาร์จะยังใช้อัตราเดิม 30%
ที่มา: กูเกิล |
# Docker Inc ได้รับทุนเพิ่ม 23 ล้านดอลลาร์ ระบุรายได้ยังเติบโตเร็ว
Docker Inc ได้รับทุนเพิ่มเติมรอบที่สอง (Series B) นำโดยบริษัท Tribe Capital ร่วมกับผู้ลงทุนเดิมคือ Benchmark และ Insight Partners โดยเงินลงทุนรอบนี้เป็นเงิน 23 ล้านดอลลาร์ รวมเงินลงทุนจากรอบก่อนๆ เป็น 58 ล้านดอลลาร์
ปัจจุบัน Docker มีสินค้าหลักคือ Docker Desktop และ Docker Hub ขายเป็นแพ็กเกจ 5-7 ดอลลาร์ต่อเดือน หลังจากแยกกิจการ Docker Enterprise ออกไปตั้งแต่ปี 2019
รายงานการลงทุนครั้งนี้ไม่เปิดเผยมูลค่าบริษัทล่าสุด และไม่เปิดเผยผลประกอบ แต่ระบุเพียงว่ามีอัตราเติบโตรายได้จากการสมัครสมาชิก (annual recurring revenue - ARR) ปีล่าสุดสูงถึง 170% แม้ว่ารายได้ที่เติบโตนี้อาจจะมาจากแนวทางการบีบให้ผู้ใช้ที่ใช้งานฟรีต้องสมัครสมาชิกด้วยการจำกัดการ pull image จนทำให้ AWS และ GitHub หันมาเปิดบริการฟรีแข่ง จนน่าสนใจว่าหากปีต่อๆ ไป Docker Hub ไม่ใช่ registry มาตรฐานสำหรับนักพัฒนาในอนาคตบริษัทจะสร้างรายได้ให้เติบโตได้เหมือนเดิมหรือไม่
ที่มา - Docker Blog |
# ไมโครซอฟท์ออกแพตช์นอกรอบ หลังแพตช์ล่าสุดทำเครื่องจอฟ้าเมื่อใช้พรินเตอร์บางรุ่น
ไมโครซอฟท์ออกแพตช์พิเศษนอกรอบปกติหลังแพตช์ตามรอบเดือนที่ผ่านมาเกิดปัญหา APC_INDEX_MISMATCH และจอฟ้า เมื่อผู้ใช้สั่งพิมพ์เอกสารกับพรินเตอร์บางรุ่น (ไมโครซอฟท์ระบุว่าพรินเตอร์ต้องเป็น Type 3) หลังผู้ใช้ติดตั้งแพตช์ KB5000802 บน Windows 10 20H2 หรือแพตช์ชุดเดียวกันบน Windows 10 เวอร์ชั่นเก่า
แพตช์ KB5001567 ใหม่นี้จะปล่อยมาเป็น optional update ทำให้วินโดวส์จะไม่ติดตั้งแพตช์โดยอัตโนมัติ แต่ผู้ใช้ต้องเลือกแพตช์มาติดตั้งเองผ่านทางเมนู Settings > Update & Security > Windows Update และเลือกแพตช์จาก Optional updates available
ที่มา - Microsoft, Bleeping Computer
ภาพจอฟ้าบน Windows 10 โดย MitrandirLK |
# Google Cloud ร่วมมือ Automation Anywhere พัฒนาบริการ RPA
Google Cloud ประกาศความร่วมมือกับ Automation Anywhere ผู้ให้บริการ RPA นำบริการ RPA ให้บริการบน Google Cloud
ทาง Automation Anywhere มีแพลตฟอร์ม Automation 360 ให้บริการบนคลาวด์และ on-premise อยู่แล้ว แต่ความร่วมมือครั้งนี้ทั้งสองบริษัทจะร่วมกันพัฒนาให้ RPA ทำงานร่วมกับบริการต่างๆ ของ Google Cloud เช่น บริการ Apigee, Appsheet, และ AI Platform
ในบรรดาผู้ให้บริการคลาวด์รายหลัก Microsoft Azure เป็นผู้ให้บริการที่มีบริการ RPA ของตัวเองค่อนข้างครบถ้วน ขณะที่ผู้ให้บริการ RPA เช่น UiPath หรือ Automation Anywhere มักให้บริการทางช่องทาง marketplace ของผู้ให้บริการคลาวด์รายหลักๆ
ภายใต้ความตกลงนี้ Automation Anywhere จะย้ายโหลดงานมารันบน Google Cloud เป็นหลัก ส่วน Google Cloud ก็จะถือว่า Automation Anywhere เป็นพันธมิตรพิเศษ (preferred RPA partner)
ที่มา - PRNewsWire |
# อดีตผู้สร้าง Assassin's Creed เปิดตัวสตูดิโอใหม่ Haven สร้างเกมเอ็กคลูซีฟให้ PS5
Jade Raymond อดีตโปรดิวเซอร์เกมจาก Ubisoft และเป็นหนึ่งในทีมสร้าง Assassin's Creed รวมถึง Watch Dogs ประกาศเปิดตัว Haven Studio สตูดิโอใหม่ของตัวเอง พร้อมประกาศสร้างเกมเอ็กคลูซีฟให้กับ PlayStation หลังจากเจ้าตัวแพแตกออกมาจาก Stadia ที่ถูกสั่งปิด
Raymond ยังไม่ได้เปิดเผยข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับตัวเกม นอกจากระบุแค่ว่าเป็น IP (intellectual property - เกมแฟรนไชส์ใหม่) ที่ยังไม่ประกาศ ขณะที่เว็บไซต์ของ Haven Studio ก็ยังไม่มีข้อมูลใด ๆ
ที่มา - PS Blog |
# แอพสโตร์ในจีนแบน UC Browser ของ Alibaba คาดเป็นเพราะรัฐบาลจีนสั่งแบน
Financial Times รายงานว่าผู้ให้บริการแอพสโตร์ในประเทศจีน ไม่ว่าจะเป็น Xiaomi, Huawei, Tencent เริ่มบล็อคหรือถอด UC Browser ของ Alibaba ตามคำสั่งของรัฐบาลจีนแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับท่าทีล่าสุดของรัฐบาลจีนที่กดดัน Alibaba รอบใหม่
UC Browser โดนข้อหาเรื่องโฆษณาผิดกฎหมาย เพราะเปิดให้โรงพยาบาลเอกชนมาแข่งกันประมูลคีย์เวิร์ดของโรงพยาบาลชื่อดังๆ ในจีน เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจผิด เข้าผิดเว็บ มาเข้าเว็บของโรงพยาบาลที่ประมูลชนะแทน อาจเป็นเหตุให้ UC Browser โดนแบนจากสโตร์ต่างๆ ชั่วคราว ซึ่งเป็นมาตรการที่รัฐบาลจีนใช้ลงโทษบริษัทเอกชนอยู่แล้ว
ช่วงนี้อาจไม่ใช่เวลาที่ดีของ UC Browser มากนัก เพราะโดนแบนทั้งในจีน และก่อนหน้านี้คือโดนแบนที่อินเดีย ซึ่งเป็นตลาดสำคัญของ UC Browser ด้วย
ที่มา - Financial Times |
# Dropbox ให้ผู้ใช้งานแบบฟรี ใช้แอปจัดการรหัสผ่าน Dropbox Passwords ได้แล้ว แบบมีข้อจำกัด
Dropbox ประกาศว่า Dropbox Passwords แอปสำหรับจัดการรหัสผ่าน ที่เปิดตัวเมื่อปีที่แล้วสำหรับผู้ใช้งาน Dropbox แบบเสียเงินเท่านั้น จากนี้จะเปิดให้ใช้งานสำหรับผู้ใช้งาน Dropbox แบบฟรีด้วย แต่เป็นเวอร์ชันที่มีข้อจำกัดในการใช้งาน
โดย Dropbox Passwords สำหรับผู้ใช้งานแบบ Basic (ฟรี) มีข้อจำกัดคือ เก็บรหัสผ่านได้ 50 รหัส ซิงก์รหัสผ่านได้สูงสุด 3 อุปกรณ์ นอกจากนี้จะสามารถแชร์รหัสผ่านกับคนอื่นได้เร็ว ๆ นี้
Dropbox Passwords สำหรับผู้ใช้งานแบบฟรี จะเริ่มเปิดให้ใช้งานในช่วงต้นเดือนเมษายนนี้
ที่มา: Dropbox |
# กูเกิลเปิดตัว Nest Hub ใหม่ นำเซ็นเซอร์ Soli จาก Pixel 4 กลับมาใช้วัดคุณภาพการนอนหลับ
กูเกิลเปิดตัวหน้าจออัจฉริยะ Nest Hub รุ่นใหม่ ซึ่งเป็นภาคต่อของ Google Home Hub ที่เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2018 โดยมาพร้อมกับการปรับดีไซน์ใหม่, ซีพียูแรงขึ้น และลำโพงที่ดังและเสียงดีกว่าเดิม แต่ของสำคัญจริงๆ คือการนำ Soli เซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวที่กูเกิลเคยใส่ใน Pixel 4 แล้วถอดออกไปใน Pixel 5 กลับเข้ามาอยู่ใน Nest Hub เพื่อใช้ตรวจวัดคุณภาพการนอนหลับ
ฟีเจอร์การตรวจวัดคุณภาพการนอนหลับใน Nest Hub ใช้ชื่อว่า Sleep Sensing โดยผู้ใช้ต้องตั้ง Nest Hub ไว้ข้างเตียง (และตั้งด้านที่เรานอนหากนอนสองคน) แล้วเซ็นเซอร์ Soli จะตรวจจับการเคลื่อนไหวของเราตลอดทั้งคืน ลงลึกได้ถึงรูปแบบการหายใจหรือแม้กระทั่งการไอและกรนระหว่างนอน นอกจากนี้ยังมีเซ็นเซอร์วัดแสงและอุณหภูมิในห้องนอนด้วย
จากข้อมูลทั้งหมดที่ Nest Hub วิเคราะห์ จะออกมาเป็นรายงานว่าเรานอนหลับนานแค่ไหน, เข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลาหรือไม่ พร้อมให้คะแนนว่าเราหลับเต็มอิ่มเพียงใด อย่างไรก็ตามกูเกิลยังไม่รายงานการหลับลึกหรือตื้น และ REM ในตอนนี้ แต่อาจเพิ่มมาในภายหลัง
กูเกิลระบุว่าข้อดีของการใช้ Nest Hub ในการติดตามการนอนหลับคือผู้ใช้ไม่ต้องสวมใส่อุปกรณ์ใดๆ อย่างพวกสายรัดข้อมือให้ไม่สบายตัว หรือต้องชาร์จอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนนอน เพราะผู้ใช้เพียงแค่เข้านอนตามปกติแล้ว Nest Hub จะทำงานเอง และยังไม่มีปัญหาลืมใส่อุปกรณ์ก่อนนอนด้วย ผู้ใช้ก็จะได้ข้อมูลการวิเคราะห์ครบทุกคืน
นอกจากการตรวจวัดคุณภาพการนอนแล้ว ผู้ใช้ยังสามารถใช้งานเซ็นเซอร์ Soli เหมือนใน Pixel 4 ได้ด้วย เช่นการโบกมือเพื่อปิดนาฬิกาปลุก หรือเล่น/หยุดเพลงด้วยการขยับมือ
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าแปลกใจว่าฟีเจอร์ตรวจวัดคุณภาพการนอนนี้จะต้องเสียเงินใช้ แต่ระหว่างพรีวิวช่วงแรกจะเปิดให้ใช้ฟรีไปก่อนถึงปีหน้า โดยกูเกิลยังไม่ได้ระบุว่าจะเก็บค่าบริการเท่าไรเมื่อหมดช่วงพรีวิว
สเปกของ Nest Hub ยังคงคล้ายรุ่นแรกคือหน้าจอสัมผัสขนาด 7 นิ้ว ความละเอียด 1024x600 พิกเซล แต่ลำโพงดอกใหญ่ขึ้น ให้เสียงเบสมากกว่าเดิม 50% เพิ่มไมโครโฟนจาก 2 เป็น 3 ตัว รวมถึงมีชิป machine learning ในตัวเพื่อให้การตอบสนองกับเสียงพูดเร็วขึ้น และยังไม่มีกล้องในตัวเหมือนรุ่นแรกเพราะกูเกิลระบุว่าอุปกรณ์ที่มีกล้องนั้นไม่เหมาะกับทุกห้องในบ้าน
Nest Hub เปิดให้พรีออเดอร์แล้วที่ราคา 99.99 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3,000 บาท (รุ่นแรกราคา 149 ดอลลาร์สหรัฐ) และจะเริ่มจัดส่งวันที่ 30 มีนาคมนี้ มี 4 สีคือฟ้า, ชมพู, เทาอ่อน, เทาเข้ม
ที่มา - The Verge
ภาพทั้งหมดโดยกูเกิล |
# SCB 10X จัดแข่งบล็อกเชน Blockathon 2021 รางวัลเป็นเหรียญคริปโต ที่หนึ่งได้ 0.1 BTC
SCB 10X บริษัทเทคโนโลยีในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ จัดแข่ง Bangkok Blockathon 2021 เพื่อให้นักพัฒนาสายบล็อกเชนในไทยได้แสดงความสามารถ
ผู้สนใจต้องรวมทีมไม่เกิน 5 คน (เป็นทีมเดี่ยวคนเดียวได้) ยื่นใบสมัครผ่านหน้าเว็บภายในวันที่ 21 มีนาคมนี้ ทีมที่เข้ารอบ 10 ทีมจะต้องไปแข่งขันที่สำนักงานของ SCB 10X ในวันที่ 27-28 มีนาคม
สิ่งที่น่าสนใจที่สุดในงานนี้คือรางวัลของทีมที่ชนะ โดยผู้ชนะอันดับหนึ่งจะได้ Bitcoin จำนวน 0.1 BTC (คิดเป็นมูลค่า ณ ปัจจุบันคือ 5,454 ดอลลาร์ หรือประมาณ 1.7 แสนบาท) อันดับสองเป็น Ethereum จำนวน 2 ETH (3570 ดอลลาร์ ประมาณ 1.1 แสนบาท) และอันดับสามคือเหรียญ Alpha โครงการของคนไทยที่ SCB 10X ให้การสนับสนุน จำนวน 1,300 เหรียญ
รายละเอียดการสมัครดูได้จาก SCB 10X |
# Instagram ปิดกั้นไม่ให้แชทหาผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ, แจ้งเตือนผู้เยาว์ให้ระวังท่าทีคนที่แชทมา
Instagram เพิ่มฟีเจอร์เพื่อปกป้องผู้ใช้งานที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เริ่มจากปิดกั้นไม่ให้แชทหาผู้ใช้งานที่อายุต่ำกว่า 18 ปี เว้นเสียแต่ผู้เยาว์คนนั้นจะกดติดตามเราอยู่เท่านั้น โดยระบบจะไม่แสดงแป้นพิมพ์เพื่อส่งข้อความแชท ตามรูปภาพด้านล่าง
นอกจากปิดกั้นการแชทแล้ว หากมีคนแชทหาผู้เยาว์ ระบบจะแสดงหน้าต่างเพื่อเตือนให้ผู้เยาว์ระมัดระวังในการพูดคุย หากพบว่ามีการแชทด้วยเนื้อหาที่อาจสุ่มเสี่ยง และแสดงปุ่มทางเลือกให้กดจบการสนทนา, บล็อก และรายงานได้ด้วย รวมถึงจะพยายามแจ้งเตือนกระตุ้นให้ผู้เยาว์ทำโปรไฟล์ให้เป็น Private
Instagram ระบุด้วยว่าจะพัฒนาฟีเตอร์ให้ผู้ใหญ่ตามหาโปรไฟล์ของผู้เยาว์ยากขึ้น จะไม่ปรากฏใน Suggested Users หรือรายชื่อที่แนะนำให้ติดตาม และจะตามหาโปรไฟล์ใน Reels และ Explore ยากขึ้นเช่นกัน
ที่มา - Facebook |
# Apple อาจเพิ่มทางเลือกอัพเดต iOS เฉพาะแพตช์ความปลอดภัย ไม่ต้องอัพเดตทั้งหมด
แอปเปิลออกอัพเดต iOS 14.5 เบต้า 4 ซึ่งเป็นเวอร์ชันทดสอบสำหรับนักพัฒนา โดยมีผู้พบฟีเจอร์ที่ระบุอยู่ในโค้ดที่น่าสนใจ นั่นคือแอปเปิลได้เพิ่มตัวเลือกในการอัพเดตระบบปฏิบัติการ จากเดิมที่ต้องอัพเดตรวมทุกอย่าง ทั้งฟีเจอร์ใหม่และแพตช์ความปลอดภัย มาเป็นผู้ใช้งานสามารถเลือกอัพเดตเฉพาะแพตช์ความปลอดภัยได้
ทางเลือกดังกล่าวน่าจะตอบโจทย์ผู้ใช้งานที่ยังไม่ต้องการฟีเจอร์ใหม่ หรือมองว่าอุปกรณ์เป็นรุ่นเก่าจึงไม่จำเป็น ก็สามารถอัพเดตเฉพาะส่วนด้านความปลอดภัยในการใช้งานได้ เหมือนกับรูปแบบการอัพเดตใน macOS
ในอัพเดตเบต้า 4 นี้ ยังมีผู้พบคุณสมบัติในแอป Apple Music ซึ่งเพิ่มอันดับเพลงยอดนิยมแยกตามเมืองทั่วโลกอีกด้วย
ทั้งนี้ฟีเจอร์ต่าง ๆ ใน iOS เวอร์ชันทดสอบ อาจไม่นำมาใช้จริงเวอร์ชันสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป แต่อย่างน้อยก็ทำให้เห็นทิศทางว่าแอปเปิลน่าจะเพิ่มทางเลือกอัพเดตซอฟต์แวร์แบบนี้แล้ว
ที่มา: 9to5Mac, [2] |
# [IDC] ตลาดอุปกรณ์สวมใส่ปี 2020 โต 28.4% เพราะผู้บริโภคเริ่มใส่ใจสุขภาพ Apple ครองส่วนแบ่งอันดับ 1
IDC ออกรายงานส่วนแบ่งตลาดของอุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ ไตรมาสที่ 4/20 เฉพาะไตรมาสนี้ยอดขายเติบโต 27.2% รวมทั้งปียอดขายเติบโต 28.4% จากการที่ผู้บริโภคนำเงินจากกิจกรรมบันเทิงที่ทำไม่ได้ในช่วงกักตัวมาซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และ COVID-19 ยังทำให้ผู้บริโภคใส่ใจกิจกรรมด้านสุขภาพและฟิตเนสมากขึ้น ส่งผลดีต่ออุปกรณ์สวมใส่ยิ่งขึ้นไปอีก
อุปกรณ์สวมใส่ประเภทหูฟังอัจฉริยะ (หูฟังที่มีฟังก์ชั่นมากกว่าแค่เล่นเพลงได้ เช่นมีผู้ช่วยอัจฉริยะ หรืออื่นๆ) กลายเป็นอุปกรณ์สำคัญในปี 2020 และเติบโตมากที่สุดในไตรมาส 4/20 คิดเป็นสัดส่วน 64.2% เพราะอุปกรณ์ประเภทหูฟัง ช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ใช้ ทั้งช่วงกักตัวอยู่บ้านและออกไปข้างนอก และเพราะฟีเจอร์ตัดเสียงรบกวน (ANC) กับผู้ช่วยอัจฉริยะ เริ่มมีอยู่บนหูฟังที่ราคาถูกลงเรื่อยๆ
อันดับสองคือนาฬิกาอัจฉริยะ เติบโต 24.1% อุปกรณ์ประเภทริสต์แบนด์รั้งท้าย (wristbands) ยอดขายลดลงถึง 17.8% จากไตรมาสก่อน เหลือคิดเป็น 11.5% ของยอดขายอุปกรณ์สวมใส่รวมทั้งไตรมาส สาเหตุหลักมาจากภาวะขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ที่บางบริษัทเช่น Xiaomi กับ Huawei เผชิญอยู่
ภาพรวมของทั้งปี 2020 ตลาดอุปกรณ์สวมใส่ยอดขายรวมเพิ่มเป็น 444.7 ล้านยูนิต จาก 346.4 ล้านยูนิต, Apple ยังครองตำแหน่งส่วนแบ่งตลาดอุปกรณ์สวมใส่เป็นอันดับหนึ่ง ที่ 34.1% ยอดขายเติบโต ที่ 35.9%, Xiaomi มาเป็นอันดับสอง ส่วนแบ่งตลาด 11.4% เติบโต 21.7%
Huawei มาเป็นอันดับสาม ส่วนแบ่งตลาด 9.8% ยอดขายอุปกรณ์สวมใส่เติบโตมากที่สุด ที่ 50.7%, ส่วน Fitbit ที่ถูก Google ประกาศเข้าซื้อตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2019 และเพิ่งเสร็จสิ้นเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา มียอดขายลดลงถึง 18.8%
ข้อมูลเฉพาะไตรมาสที่ 4/20, Apple ก็ครองอันดับหนึ่งเช่นกัน มีส่วนแบ่งตลาดที่ 36.5% เพิ่มจาก 35.1% ในไตรมาสที่แล้ว ยอดขายนาฬิกาอัจฉริยะเพิ่มขึ้นถึง 45.6% เพราะมีตัวเลือกถึง 3 รุ่น คือ Series 6, Watch SE และ Series 3
Xiaomi ตามมาอันดับสอง ส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 8.8% เติบโตจากปีที่แล้ว 5% แม้ประสบปัญหายอดขาย Mi Band ลดลง 18.3% เนื่องจากขาดแคลนซัพพลาย แต่ได้ยอดจำหน่ายหูฟังที่เติบโตถึง 55.5% มาช่วยดึงไว้
Samsung อยู่อันดับสาม ส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 8.5% มียอดจำหน่ายหูฟัง 8.8 ล้านยูนิต ยอดขายอุปกรณ์ตระกูลริสต์แบนด์เพิ่มเป็น 1.3 ล้านยูนิต ยอดขายนาฬิกาอัจฉริยะ ลดลงเหลือ 2.9 ล้านยูนิต
ที่มา - IDC |
# Fugaku ซูเปอร์คอมอันดับหนึ่งของโลกจากญี่ปุ่น ใช้ซีพียู ARM เปิดให้บริการแล้ว
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์อันดับหนึ่งของโลก Fugaku ของสถาบันวิจัย Riken ประเทศญี่ปุ่น (ขึ้นอันดับ 1 ของโลกในอันดับ TOP500 รอบเดือนมิถุนายน 2020) พัฒนาเสร็จสมบูรณ์ เปิดให้นักวิจัยเข้ามาใช้งานอย่างเป็นทางการแล้ว
Fugaku เป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่พัฒนาโดย Fujitsu และใช้ซีพียู Fujitsu A64FX ที่เป็นสถาปัตยกรรม ARM จึงถือเป็นครั้งแรกที่ ARM ได้ครองตำแหน่งซูเปอร์คอมพิวเตอร์อันดับหนึ่งของโลก ตัวระบบเปิดทดสอบมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2020 โดยส่วนใหญ่รันงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19
ตอนนี้ Fugaku เปิดให้นักวิจัยที่สนใจรันงาน สามารถส่งคำขอผ่านหน่วยงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่น (Research Organization for Information Science and Technology - RIST) ได้แล้ว
Fugaku ถือเป็นอีกครั้งที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สายญี่ปุ่นกลับมาครองอันดับ 1 ได้ หลังจากเครื่อง K Computer ของศูนย์วิจัย Riken แห่งเดียวกัน เคยทำได้เมื่อปี 2011 แล้วจากนั้นอันดับหนึ่งกลายเป็นของจีนมาหลายปี และสหรัฐเพิ่งแซงกลับได้ในปี 2018 ก่อนมาเสียแชมป์ให้ญี่ปุ่นในปี 2020 (ชื่อ "Fugaku" เป็นอีกชื่อหนึ่งของภูเขาไฟฟูจิ)
ที่มา - Riken, ภาพจาก Riken |
# [ไม่ยืนยัน] กูเกิลในเกาหลี จะลดค่าคอมมิชชั่นให้นักพัฒนาแอปครึ่งหนึ่ง มีผล ก.ค.
สื่อเกาหลีรายงานว่า กูเกิลในเกาหลี เข้ารายงานต่อคณะกรรมการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่าจะลดอัตราค่าคอมมิชชั่นที่นักพัฒนาแอปต้องจ่ายให้กูเกิล 30% เหลือ 15% เฉพาะแอปพลิเคชั่นที่ทำรายได้ต่อปีบน Play Store น้อยกว่า 1 ล้านดอลลาร์ มีผลเดือนกรกฎาคม
ข่าวดังกล่าวสอดคล้องกับที่กูเกิลเคยประกาศจะลดค่าคอมมิชชั่นก่อนหน้านี้ หลังจากที่ตนประกาศการชำระเงินทั้งหมดต้องทำผ่านระบบของกูเกิลเอง ซึ่งมีผลเมื่อเดือนมกราคม แต่นักพัฒนารวมถึงธุรกิจต่างๆ ไม่พอใจ กูเกิลจึงให้เวลาธุรกิจปรับตัว และยืดระยะเวลาไปถึงเดือนกันยายนปีนี้
รายงานจากรัฐบาลเกาหลีที่อ้างว่าได้ตรวจสอบข้อมูลจากบริษัท 246 แห่ง ระบุว่า ยอดขายจากแอปใน Google Play Store ปีที่แล้วอยู่ที่ประมาณกว่า 5 ล้านล้านวอน (4.4 พันล้านดอลลาร์) คิดเป็น 75% ของยอดขายแอปทั้งหมด
ที่มา - Yonhap |
# Tinder เตรียมให้เช็คประวัติของคนที่ตัวเอง match ได้ โดยเฉพาะประวัติความรุนแรงทางเพศ
Tinder เตรียมให้เช็คประวัติของคนที่ตัวเอง match ได้ เพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ใช้งานผู้หญิง โดย Match Group บริษัทแม่ Tinder ประกาศความร่วมมือกับ Garbo บริษัทไม่แสวงหากำไรทำเกี่ยวกับการตรวจสอบประวัติ โดยเฉพาะประวัติอาชญากรรม การคุกคามละเมิดทางเพศ โดย Match Group จะนำข้อมูลจาก Garbo มาเชื่อมต่อกับ Tinder ภายในปีนี้
Garbo ก่อตั้งเมื่อปี 2018 โดย Kathryn Kosmides ผู้รอดชีวิตจากความรุนแรงทางเพศ Tracey Breeden หัวหน้าฝ่ายความปลอดภัยและสังคมของ Match Group กล่าวว่า ผู้หญิงและกลุ่มคนชายขอบต้องเผชิญอุปสรรค และความไม่ปลอดภัย และทางบริษัทก็หวังว่าจะช่วยขจัดอุปสรรคนั้นด้วยการใช้เทคโนโลยีได้
นอกจากการเชื่อมต่อข้อมูลแล้ว ทั้ง Match Group และ Garbo จะร่วมลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อต่อสู้กับผู้ไม่หวังดี และสร้างสังคมที่ปลอดภัยขึ้น
ภาพจาก Tinder
ที่มา - Tinder |
# Signal แอปแชทเข้ารหัสถูกแบนในจีน ตัวเว็บไซต์ถูกบล็อกไปแล้ว
TechCrunch รายงาน Signal แอปแชทเข้ารหัสถูกแบนในประเทศจีน ส่วนตัวเว็บไซต์นั้นถูกบล็อกในจีนไปแล้ว โดย Signal ถือเป็นแอปนอกจีนไม่กี่แอปที่ใช้งานในจีนได้โดยไม่ต้องใช้ VPN ส่วน Facebook, Twitter นั้นถูกบล็อกมานานแล้ว
อย่างไรก็ตาม Signal ยังคงมีให้ดาวน์โหลดใน App Store ของจีน แสดงให้เห็นว่า App Store ยังไม่ได้รับคำสั่งจากรัฐบาลให้นำแอปออก จนถึงตอนนี้มีคนดาวน์โหลดในจีนแล้ว 510,000 ครั้ง และมียอดดาวน์โหลดรวมทั่วโลก 100 ล้านครั้ง
Signal กลับมาได้รับความนิยมในระยะหลังที่ WhatsApp ปรับกฎแพลตฟอร์ม แชร์ข้อมูลให้ Facebook บริษัทแม่
ที่มา - TechCrunch |
# บริษัทรถยนต์ไร้คนขับ Cruise ซื้อกิจการคู่แข่ง Voyage เพื่อดึงคน-เทคโนโลยี
Cruise บริษัทรถยนต์ไร้คนขับในเครือ GM ที่ไมโครซอฟท์เพิ่งเข้ามาลงทุน (ก่อนหน้านี้คือ Honda และ SoftBank) ประกาศซื้อกิจการบริษัทรถยนต์ไร้คนขับอีกราย Voyage ที่เคยเป็นลูกของเว็บคอร์สออนไลน์ Udacity มาก่อน
กลุ่มเป้าหมายของ Voyage ค่อนข้างเฉพาะทางมาก คือเจาะไปที่ตลาดคนแก่ที่ขับรถเองไม่ไหวแล้ว จึงต้องการรถยนต์ไร้คนขับมาช่วยเดินทาง เทคโนโลยีของ Voyage มีหลายด้าน เช่น ระบบขับเคลื่อนด้วย AI, ระบบลดความเสียหายจากการชน และระบบช่วยให้มนุษย์เข้ามาควบคุมรถแบบรีโมท
Cruise ระบุว่าผู้เล่นในตลาดรถยนต์ไร้คนขับเริ่มควบรวมกัน เพื่อให้มีขนาดใหญ่พอที่จะเป็นผู้ชนะในตลาดนี้ ปัจจุบันรถของ Cruise สามารถให้บริการในเมืองใหญ่อย่างซานฟรานซิสโกได้แล้ว การได้เทคโนโลยีและทีมงานของ Voyage เข้ามาจะช่วยเติมเต็มให้ Cruise กลายเป็นผู้นำได้เร็วขึ้น
ที่มา - Voyage
ภาพจาก Voyage |
# ผลทดสอบความเร็ว 5G ในสหรัฐ: iPhone 12 รั้งท้าย, Samsung ครองแชมป์
Opensignal ออกรายงานผลการทดสอบความเร็วดาวน์โหลด 5G บนมือถือในสหรัฐ พบว่า 25 อันดับแรก เป็นมือถือแอนดรอยด์ทั้งหมด อันดับ 1 คือ Samsung Galaxy S21 ความเร็วเฉลี่ย 56.0 Mbps อันดับสองคือ TCL Revvl 5G ความเร็วเฉลี่ย 49.8 Mbps และอันดับสามเป็น OnePlus 8T+ ความเร็วเฉลี่ย 49.3 Mbps และใน 25 อันดับนี้ เป็นมือถือ Samsung ถึง 15 รุ่น ครองกว่า 60%
ส่วน iPhone 12 ทั้งสี่รุ่น ไม่ติดชาร์ต 25 อันดับแรก มีผลการทดสอบดังนี้
iPhone 12 Pro ความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 36.9 Mbps
iPhone 12 Pro Max ความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 36.2 Mbps
iPhone 12 Mini ความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 32.9 Mbps
iPhone 12 ความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 29.6 Mbps
9to5Mac สอบถาม Ian Fogg ผู้จัดทำผลนี้ ว่าสาเหตุหลักมาจากอะไร ได้คำตอบว่าน่าจะเป็นเพราะการออกแบบองค์ประกอบด้านสัญญาณวิทยุ (RF - Radio Frequenzy) ของ iPhone ที่ยังตามหลังฝั่งแอนดรอยด์อยู่ เพราะ iPhone 12 เป็นอุปกรณ์ 5G รุ่นแรกของ Apple ในขณะที่หลายๆ รุ่นในฝั่งแอนดรอยด์ เป็นรุ่นสองหรือสามที่รองรับ 5G แล้ว
อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ iPhone ยังใจชื้นได้บ้าง เพราะ iPhone 12 มีความเร็วดาวน์โหลดที่ดีกว่ารุ่นก่อนๆ และมีความเร็วดาวน์โหลด 5G เทียบกับ 4G เพิ่มขึ้นมากถึง 2.3 เท่า ทั้งนี้เพราะชิปโมเด็ม 4G ของ Intel ที่ Apple เคยใช้ ค่อนข้างช้า เมื่อเปลี่ยนมาเป็นโมเด็ม Qualcomm จึงมีความแตกต่างมากกว่า
Opensignal ยังชี้อีกว่า iPhone 12 Pro มีความเร็วดาวน์โหลดเฉลี่ยมากกว่า iPad Pro (Cellular) รุ่นล่าสุด ถึง 36% และผู้ใช้ iPad Pro รุ่นถัดไปที่เปลี่ยนมาใช้ SoC รุ่นใหม่ที่รองรับ 5G น่าจะได้เห็นความเร็วที่อย่างน้อยๆ ก็เท่ากับ iPhone 12 หรือมากกว่า ในอนาคต
ที่มา - Opensignal via 9to5Mac |
# UiPath RPA ตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้วยการลดงานซ้ำซ้อนให้หมดไป
หลายคนคงเคยได้ยินว่า ข้อมูลคือน้ำมันในโลกยุคใหม่ (Data is the new oil.) และสงสัยว่าทำไมนักธุรกิจจำนวนไม่น้อยมองว่าข้อมูลนั้นมีความสำคัญ และข้อมูลจะสามารถเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกธุรกิจได้จริงหรือไม่ และจะเปลี่ยนไปอย่างไร
หากเรามองโลกธุรกิจในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา การดำเนินธุรกิจแบบเดิมๆ นั้นหายไปจากโลกอย่างรวดเร็ว การอาศัยความชำนาญส่วนบุคคลในการทำนายสภาพแวดล้อมทางธุรกิจไม่สามารถตอบสนองต่อธุรกิจทุกวันนี้ได้ ในยุคหนึ่งเราอาจจะอาศัยความเชี่ยวชาญของผู้จัดการหรือผู้บริหารในการทำนายยอดสั่งซื้อ เตรียมจัดหาสินค้ามาสต็อกไว้ล่วงหน้า หรือประเมินผลประกอบการในช่วงเวลาต่างๆ ว่าดีขึ้นหรือแย่ลงจากยอดสั่งซื้อ แต่ธุรกิจยุคใหม่มีความซับซ้อนสูงขึ้นเรื่อยๆ หลายครั้งธุรกิจต้องปรับตัวจากความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว สินค้าสักตัวอาจจะเป็นไวรัลในโลกอินเทอร์เน็ตและเป็นที่ต้องการอย่างมหาศาล ขณะที่สินค้าบางตัวอาจจะมีปัญหาและต้องการทีมงานเข้าไปดูแลแก้ไขให้ทันท่วงทีก่อนจะเป็นข่าวจนองค์กรเสียหาย
ข้อมูลธุรกิจที่อาจจะอยู่ในไฟล์บัญชีสักไฟล์จึงควรต้องแปลงออกมาเป็นรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย หรือการทำ Data Visualization ที่แปลงข้อมูลมาเป็นกราฟ แผนภูมิ หรือภาพเคลื่อนไหว ที่ทำให้องค์กรสามารถเข้าถึง Insight ในมุมองที่หลากหลายทำให้เห็นคุณค่าของข้อมูล ซึ่งการทำ Data Visualization จะช่วยให้มองเห็นภาพรวมของธุรกิจ ต้นทุนจริงของการทำงาน หรือสามารถทำนายผลประกอบการว่าจะสร้างกำไรในอนาคตได้มากน้อยเพียงใด ตลอดจนสามารถคาดการณ์ได้ว่าหากเปิดบริการรูปแบบใหม่ๆ แนวโน้มการทำกำไรจะเติบโตได้ดีขึ้นหรือไม่
แนวทางเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เมื่อผู้บริหารต้องการข้อมูลประกอบการตัดสินใจมากขึ้นเรื่อยๆ กระบวนการรวบรวมข้อมูลกลายเป็นงานซ้ำๆ ที่ทีมงานอาจจะต้องรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มานำเสนอเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้ผู้บริหาร ข้อมูลอาจจะอยู่ในแหล่งต่างๆ กัน ทั้งซอฟต์แวร์บัญชี, อีเมลพูดคุยกับลูกค้า, ไปจนถึงยอดผู้เข้าหน้าเว็บ งานรวบรวมข้อมูลอาจจะกลายเป็นงานก้อนใหญ่ของพนักงานจำนวนมาก แหล่งข้อมูลจำนวนมากไม่ได้อยู่ในรูปแบบที่รวบรวมได้ง่าย ไม่มี API เข้าถึงข้อมูลที่ชัดเจน หรือข้อมูลบางอย่างอาจจะฝังอยู่ในรูปภาพ จนอาจจะต้องรวบรวมโดยอาศัยคนอ่านข้อมูลออกมา กระบวนการเหล่านี้กินเวลานานและมีโอกาสผิดพลาดสูง
Robotic Process Automation หรือ RPA จึงอีกทางเลือกที่น่าสนใจ ที่จะมาช่วยในจัดการข้อมูลเพื่อนำไปประยุกต์ใช้สำหรับองค์กร ที่เปิดให้องค์กรได้พัฒนา robot เข้ามาช่วยรวบรวมข้อมูลมาเก็บไว้ในรูปแบบที่พร้อมประมวลผลได้ง่าย ทั้งมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะมาจากเว็บ, แอปพลิเคชันบนคอมพิวเตอร์, หรือช่องทางอื่นๆ RPA ยังสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ให้ตรวจสอบความเคลื่อนไหวของแหล่งข้อมูลตลอดเวลา โดยมีโอกาสผิดพลาดต่ำเกือบเป็นศูนย์ และยังสามารถตั้งเวลาเพื่อให้ทำงานตามตารางเวลาตามที่ต้องการได้อีกด้วย
ความง่ายในการใช้งาน RPA ของ UiPath
RPA ของ UiPath สามารถทำงานร่วมกับระบบงานระดับองค์กรได้เป็นอย่างดี ความสามารถของกระบวนการทำงานอัติโนมัติโดยบอตที่สร้างขึ้นใน UiPath จะช่วยจัดการงานที่ซ้ำซากในหลากหลายอุตสาหกรรม ที่สำคัญยังตอบโจทย์การใช้งานในธุรกิจภาคการเงิน รองรับการทำงานแบบ Digital Workforce ด้วยเทคโนโลยีความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน ในด้านความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะ RPA จะช่วยลดโอกาสที่ข้อมูลรั่วไหลไปภายนอกเพราะพนักงานส่วนที่ใช้งาน RPA เองก็เข้าถึงข้อมูลน้อยลงไปด้วยเช่นกัน การดำเนินการแบบนี้ยิ่งทำให้ช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานได้อีกด้วย
MFEC บริษัทผู้ให้คำปรึกษาด้านระบบไอทีชั้นนำของไทยเสนอ RPA Platform ชั้นนำระดับโลกจาก UiPath ที่นักพัฒนาสามารถสร้างกระบวนการทำงานได้อย่างอัตโนมัติ ลดต้นทุนจากการพัฒนาซอฟต์แวร์เฉพาะทางสำหรับงานโปรเซสต่างๆ ขององค์กร โดย RPA ของ UiPath สามารถอ่านข้อมูลจากไฟล์เอกสารและกรอกลงระบบต่างๆ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และยังสามารถกเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ AI อื่นๆ อย่าง Microsoft, Google ได้อย่างง่ายดาย
นอกจากนี้ RPA ของ UiPath ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีจำพวกการแปลง OCR (Optical Character Recognition) เพื่อแปลงตัวอักษรและตัวเลขให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ และนำข้อมูลที่ได้เหล่านั้นไปเก็บไว้ยังฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องหรือเชื่อมต่อไปยังระบบอื่นๆ ตัวอย่างเช่น การเก็บข้อมูลบัตรประชาชนที่ใช้ในธนาคารต่างๆ หรือแม้กระทั่งการเก็บข้อมูลทะเบียนรถยนต์ของตำรวจ เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้เข้าสู่ระบบ Big Data เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานให้นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลสร้าง Model ความเชื่อมโยงกับงานทางด้านต่างๆ เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานต่อไป
ส่วนในกรณีที่เราอาจต้องเชื่อมต่อกับโปรแกรมหรือแอปพลิเคชัน ที่ไม่สามารถเชื่อมต่อได้ด้วย API ทำให้การเข้าถึงข้อมูลเป็นไปได้ยาก แต่ด้วยเทคโนโลยีของ AI Computer Vision จะช่วยให้ UiPath Robot สามารถมองเห็นทุกองค์ประกอบบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ เปรียบเสมือนพนักงานทำงานหน้าเครื่อง (virtul workforce) ที่สามารถเป็นผู้ช่วยที่ดีในการพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
การที่เข้าถึงแหล่งข้อมูล หรือจัดการกับข้อมูลด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย อย่าง RPA นั้น เป็นส่วนที่ช่วยพัฒนาและทำให้องค์กรหรือธุรกิจของเราสามารถจัดการข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาล หรือ Big data และนำข้อมูลเหล่านั้นไปวิเคราะห์และ เพิ่มโอกาส เพิ่มขีดความสามารถในการขยายธุรกิจให้เติบโตรวดเร็วและนำองค์กรเข้าสู่ digital transformation ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
สนใจรับคำปรึกษาการปรับองค์กรไปสู่การทำงานอัตโนมัติเต็มรูปแบบติดต่อ
email : [email protected] หรือ scan QR code ผ่านช่องทาง LINE OA |
# ผู้เล่นแก้บั๊ก GTA Online ลดเวลาโหลดเข้าเกม 70% ทีมงานจ่ายเงินพร้อมนำมาใช้จริง
ผู้เล่น GTA Online นามว่า t0st เกิดข้อสงสัยว่าทำไมเวลาโหลดเข้าเล่น GTA Online ของเขา ถึงยาวกว่าการโหลดเข้าเล่น Story Mode ถึง 6 เท่าด้วยกัน (1 นาทีกว่า เทียบกับ 6 นาที) เขาจึงลงมือค้นหาว่าปัญหามาจากไหนกันแน่ และพบว่าปัญหานั้นมาจากโค้ดของ Rockstar ที่ทำให้เกิดคอขวดบนซีพียู
t0st ที่ใช้ซีพียู AMD-FX8350 ทำการค้นหาปัญหาโดยใช้ตัว Profiler ชื่อ Luke Stackwalker ก่อนจะพบปัญหาคอขวดบนซีพียูเธรดเดียว และพบว่าเกมมีปัญหาในการ parse ไฟล์ JSON ขนาด 10MB เพราะตัว parser ถูกเขียนมาได้ไม่ค่อยดีนัก กับอีกปัญหาคือหลัง parse ไฟล์เสร็จ ตัวโค้ดยังพยายามทำ duplication check ซึ่งกินเวลานานอีกด้วย
หลังจาก t0st แก้ปัญหาทั้งสองอย่างนี้ (อ่านรายละเอียดการแก้ปัญหาแบบเต็มได้ที่บล็อกของ t0st) เวลาโหลดเข้าเกมก็ลดลงจาก 6 นาที เหลือเพียง 1 นาที 50 วิ หรือลดลงไปถึง 69.4% เลยทีเดียว
ทีมงาน Rockstar เข้ามาตรวจสอบวิธีการแก้ไขของ t0st พบว่าโค้ดมีปัญหาจริง และวิธีแก้ของ t0st ใช้ได้จริง จึงมอบเงินรางวัล 10,000 ดอลลาร์ จากโครงการค้นหาบั๊กเกี่ยวกับความปลอดภัยในเกมให้เป็นกรณีพิเศษ รวมถึงบอกว่าจะนำวิธีแก้นี้ไปอัพเดตในแพทช์อย่างเป็นทางการในอนาคต และกล่าวขอบคุณ t0st สำหรับวิธีแก้ปัญหา
เป็นอีกครั้งที่ชุมชนผู้เล่นต้องลงมาแก้บั๊กในเกมด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องดีที่คราวนี้ Rockstar มองเห็น ตบรางวัลให้ และเตรียมนำวิธีแก้ไปใช้จริง อย่างไรก็ตาม เสียงตอบรับเกม GTA Online ในไทย ในปัจจุบัน ยังมีผู้เล่นจำนวนมากพบผู้เล่นที่ใช้โปรแกรมโกงเกมอยู่ ซึ่ง Rockstar คงต้องดำเนินการแก้ไขปัญหากันต่อไป
ที่มา - t0st blog, PC Gamer |
# DuckDuckGo แซะกูเกิล โชว์หน้าจอแสดงการเก็บข้อมูลผู้ใช้งานออกมาให้เห็นชัดว่าไม่เก็บข้อมูลเลย
กูเกิลออกฟีเจอร์ทำป้ายกำกับใน App Store ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของร้านค้าแอป เปิดเผยให้ผู้ใช้งานรู้ว่า ข้อมูลอะไรบ้างที่เชื่อมโยงกับผู้ใช้งาน และมีข้อมูลใดที่ถูกใช้โดยบุคคลที่สาม และพบว่า มีข้อมูลหลากหลายส่วนที่ถูกนำไปใช้งาน
ล่าสุด DuckDuckGo เสิร์ชเอนจินเน้นความเป็นส่วนตัวเอาข้อมูลดังกล่าวมาแซะกูเกิล โดยบอกว่าในที่สุด กูเกิลก็ยอมเปิดเผยว่าเก็บข้อมูลอะไรไปบ้าง และไม่น่าแปลกใจที่กูเกิลพยายามปกปิดมันก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ DuckDuckGo ยังเปิดหน้าป้ายกำกับของตัวเองเทียบกับกูเกิล และ Google Chrome ให้ดูด้วยว่าไม่มีการเก็บข้อมูลใดๆ ที่เชื่อมโยงกับผู้ใช้งานเลย
จากรูปภาพจะเห็นได้ว่า ข้อมูลเช่น ตำแหน่ง, ประวัติการเข้าชม, ข้อมูลทางการเงิน, ประวัติการค้นหาและอื่นๆ เชื่อมโยงกับผู้ใช้เพื่อนำไปทำโฆษณา โดยนโยบายทำป้ายกำกับความเป็นส่วนตัวของ App Store เริ่มใช้งานในเดือนธันวาคม และเปิดเผยครั้งแรกในงาน WWDC ปีที่แล้ว เป้าหมายคือ เปิดเผยให้ผู้ใช้งานรู้ว่า ข้อมูลของเราถูกนำไปทำอะไรบ้าง
ที่มา - 9to5Mac |
# .NET 6 ออกเวอร์ชันพรีวิว รองรับ Android และ iOS อย่างเป็นทางการจากการรวม Xamarin
ไมโครซอฟท์ออก .NET 6 Preview 2 ก่อนออกตัวจริงในเดือนพฤศจิกายน 2021 ตามรอบการออกรุ่นแบบใหม่ที่จะออกทุกเดือนพฤศจิกายน
การเปลี่ยนแปลงสำคัญของ .NET 6 คือเป็นก้าวสุดท้ายของการหลอมรวมแพลตฟอร์ม .NET เข้าด้วยกัน โดยครึ่งแรก .NET 5 เป็นการรวม .NET Framework กับ .NET Core ส่วนครึ่งหลัง .NET 6 จะรวมเอา Xamarin เข้ามาด้วย ผลคือเพิ่มการรองรับแพลตฟอร์มใหญ่มาอีก 2 แพลตฟอร์มได้แก่ Android และ iOS (รวมถึง Apple Silicon และ Windows ARM64 ด้วย)
ไมโครซอฟท์บอกว่าการหลอมรวม .NET 6 ทำให้ .NET กลายเป็นแพลตฟอร์มการพัฒนาแอพข้ามระบบปฏิบัติการอย่างแท้จริง นักพัฒนาสายมือถือสามารถขยายมาฝั่งเดสก์ท็อปได้ง่าย และกลับกัน นักพัฒนาฝั่งเดสก์ท็อป เว็บ หรือคลาวด์ ก็ขยายมายังมือถือได้ง่าย โดยใช้โค้ดชุดเดียวกัน ใช้เครื่องมือตัวเดียวกันหมด
ในระยะยาวแล้ว ไมโครซอฟท์ยังจะปรับขนาดของ .NET SDK ให้มีขนาดเล็กลง ปรับแพลตฟอร์มให้เป็นตัวเลือก (optional) ซึ่งจะทำเสร็จใน .NET 7
ที่มา - Microsoft (1), Microsoft (2) |
# Genshin Impact ยันไม่ได้โดนเจาะ ผู้เล่นโดนแฮ็กเพราะ phishing กำลังเพิ่มระบบความปลอดภัย
ช่วงที่ผ่านมา มีผู้เล่น Genshin Impact ถูกแฮ็กบัญชีหลายราย และทีมงาน miHoYo ก็ไม่สามารถช่วยกู้คืนบัญชีให้ได้ในหลายๆ ครั้ง ทำให้ผู้เล่นร้องขอระบบ 2FA หรือการยืนยันตัวตนแบบสองขั้นตอน เช่นต้องใส่รหัสที่ได้รับผ่านข้อความ อีเมล หรือ Google Authenticator ก่อนจะล็อกอิน แต่ทีมงานก็ยังไม่ได้ใส่เข้ามาสักที
ล่าสุดมีผู้ใช้บน Reddit ชื่อ uijbg โพสต์ภาพข้อความอธิบายเป็นภาษาจีนจากทีมงาน miHoYo ซึ่งบอกว่าเอามาจากกรุ๊ป Genshin Impact Thailand Official ที่เอามาจาก Genshin Global Group อีกที
คำแปลข้อความที่แนบมาด้วย บอกว่าทีมงานกำลังพูดคุยเกี่ยวกับการเพิ่มระบบความปลอดภัยของฐานข้อมูลอยู่ พร้อมยืนยันว่าตอนนี้ฐานข้อมูลของบริษัทมีความปลอดภัยหลายชั้น และไม่ได้โดนเจาะแต่อย่างใด ผู้เล่นที่โดนแฮ็กส่วนใหญ่เกิดจากการใส่ข้อมูลในหน้าเว็บปลอมมากกว่า (โดน phishing) แต่ทีมงานก็กำลังเตรียมเพิ่มระบบความปลอดภัยให้บัญชีผู้เล่นอยู่ และให้รออัพเดตต่อไป
ระบบความปลอดภัยของบัญชีผู้เล่นที่ miHoYo พูดถึง น่าจะเป็น 2FA ที่ผู้เล่นต่างรอคอย แต่ทั้งนี้ทีมงานก็ไม่ได้มีกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนว่าจะมาเมื่อไร แต่ก็ถ้ามาก็น่าจะแก้ปัญหาด้านการถูก phishing ได้ในระดับหนึ่ง เพราะแม้แฮ็กเกอร์จะได้บัญชีไป แต่ก็จะไม่สามารถล็อกอินได้
Genshin Impact เตรียมอัพเดตเป็นเวอร์ชั่น 1.4 ในวันที่ 17 มีนาคมนี้ มาพร้อมงานเทศกาลของเมือง Mondstatd กับเทศกาล Windblume และเพิ่มตัวละคร 4 ดาว Rosaria ที่ใช้อาวุธเป็นหอก และมีธาตุน้ำแข็ง นอกจากนี้ Venti ตัวละครนักกวีแห่งสายลมที่ผู้เล่นหลายคนชื่นชอบ และไม่สามารถสุ่มได้มาสักพัก ก็จะกลับมาอยู่ให้สุ่มกันอีกครั้ง
ที่มา - Reddit:/u/uijbg, DualShockers |
# [Bloomberg] อาลีบาบาถูกรัฐจีนกดดันให้ถอนหุ้นสื่อ เพราะกังวลอิทธิพลบริษัทต่อความเห็นสาธารณะ
Bloomberg และ Wall Street Journal รายงานโดยอ้างอิงจากบุคคลใกล้ชิดว่า อาลีบาบากำลังถูกรัฐบาลจีนกดดันให้ขายหุ้นบริษัทสื่อในมือออก ซึ่งรวมถึง South China Morning Post ด้วยเหตุผลความกังวลที่ว่า อาลีบาบา จะมีอิทธิพลต่อความคิดเห็นสาธารณะ
บุคคลไม่ประสงค์เผยนามระบุด้วยว่า ตั้งแต่ปีที่แล้ว ที่รัฐบาลจีนประชุมกันหลายครั้งเรื่องอิทธิพลบริษัทอาลีบาบาที่มีต่อโซเชียลมีเดียในจีน รวมถึงการถือครองหุ้นสื่อและโซเชียลมีเดียหลายแห่ง ความตึงเครียดระหว่างรัฐบาลจีนและอาลีบาบาเผยให้เห็นมากขึ้น เมื่อรัฐบาลเรียกตัว Jack Ma เข้าพบ และยังสั่งระงับการเข้า IPO ของ Ant Group อีกด้วย
อาลีบาบาถือหุ้นสื่อหลากหลาย ทั้งเว็บไซต์ หนังสือพิมพ์ ช่องทีวี รวมถึงแพลตฟอร์มโซเชียลที่ได้รับความนิยมในจีนอย่าง Weibo และ Youku และที่สำคัญคือ South China Morning Post สื่อข่าวภาษาอังกฤษที่ตีพิมพ์ในฮ่องกง ซึ่งเป็นเหตุให้รัฐบาลจีนกังวลว่าอาลีบาบาจะใช้สื่อควบคุมความคิดประชาชน
ภาพจาก Alibaba Group
Gary Liu ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ South China Morning Post บอกกับพนักงานภายในว่า ความมุ่งมั่นของอาลีบาบาที่มีต่อ SCMP ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงและยังคงสนับสนุนภารกิจและเป้าหมายทางธุรกิจของเราต่อไป ด้านตัวแทนอาลีบาบาทั้งจากจีนและสหรัฐฯ ยังไม่ออกมาพูดอะไร
ที่มา - Bloomberg |
# News Corp กลุ่มสื่อใหญ่ออสเตรเลียบรรลุข้อตกลงกับ Facebook ทำข่าวลง Facebook News
News Corp บริษัทกลุ่มสื่อรายใหญ่ในออสเตรเลียประกาศบรรลุข้อตกลงกับ Facebook ได้เงินลงทุนมาเพื่อทำเนื้อหาข่าวลงแพลตฟอร์มข่าวหรือ Facebook News เป็นข้อตกลงระยะเวลาสามปี นอกจากสื่อในกลุ่ม News Corp แล้ว ยังมีสื่อสิ่งพิมพ์ของออสเตรเลียร่วมทำข้อตกลงด้วยคือ news.com.au, The Daily Telegraph, Herald Sun, The Courier-Mail
เท่ากับว่า ตอนนี้ News Corp สามารถบรรลุข้อตกลงกับทั้ง Facebook, Apple และ Google เรียบร้อยแล้ว โดยฝั่ง Google เป็นการทำข่าวลงบริการ Google News Showcase
สถานการณ์ระหว่าง Facebook กับรัฐบาลออสเตรเลียปะทุก่อนหน้านี้ เพราะ Facebook ดึงความสามารถในการมองเห็นและแชร์ข่าวออกจากประเทศ ตอบโต้กฎหมาย News Media Bargaining Code บังคับแพลตฟอร์มออนไลน์จ่ายเงินให้สำนักข่าว ทำให้ออสเตรเลียต้องใช้ไม้อ่อนลง เข้าเจรจากับ Facebook ปรับเนื้อหากฎหมาย จน Facebook กู้คืนการมองเห็นและแชร์ข่าวให้
ทั้ง Google และ Facebook มีโครงการลงทุนในสำนักข่าวอยู่แล้วรวมกันเป็นหลักพันล้านดอลลาร์
ภาพจาก Facebook News
ที่มา - News Corp |
# Elon Musk เปลี่ยนชื่อตำแหน่งตัวเองจาก CEO เป็น Technoking แห่ง Tesla
ข่าวนี้ไม่ใช่มุกตลกเพราะเป็นเรื่องจริง
Tesla ยื่นเอกสารต่อคณะกรรมการหลักทรัพย์สหรัฐ (SEC) แจ้งเปลี่ยนชื่อตำแหน่งผู้บริหาร 2 ราย โดยยังทำงานเหมือนเดิม
Elon Musk เดิมเป็น Chief Executive Officer ตำแหน่งใหม่ Technoking
Zach Kirkhorn เดิมเป็น Chief Financial Officer ตำแหน่งใหม่ Master of Coin
คนที่คุ้นเคยกับซีรีส์ Game of Thrones อาจคุ้นเคยกับตำแหน่ง Master of Coin ที่เปรียบได้กับรัฐมนตรีคลัง การเรียก CFO ด้วยตำแหน่งนี้อาจมีความหมายลักษณะเดียวกัน (Tesla ไม่ได้ให้เหตุผลของการเปลี่ยนแปลงใดๆ)
ส่วนตำแหน่ง Technoking จะมีความหมายอย่างไรคงขึ้นกับการตีความของผู้อ่าน แต่ที่แน่ๆ คือ Musk เปลี่ยน Profile ใน Twitter ของเขาเป็นตำแหน่งนี้เรียบร้อยแล้ว
ที่มา - Mashable, SEC |
# ไมโครซอฟท์ออกตัวช่วยบรรเทาช่องโหว่ Exchange ใช้ได้ย้อนไปถึงเวอร์ชัน 2013
ประเด็นร้อนในโลกความปลอดภัยสัปดาห์ที่แล้วคือ ช่องโหว่ Microsoft Exchange ที่ถูกโจมตีเป็นวงกว้าง จนไมโครซอฟท์ต้องยอมออกแพตช์ให้ Exchange 2019 เวอร์ชันที่ติดตั้งอัพเดตตัวเก่า เพื่อเปิดโอกาสให้แพตช์กันง่ายขึ้น
แต่เท่านั้นดูยังไม่พอ เพราะการติดตั้งแพตช์อาจยังเป็นเรื่องยากเกินไปสำหรับองค์กรขนาดเล็ก ที่ไม่มีแอดมินหรือไม่มีความเชี่ยวชาญ ล่าสุดไมโครซอฟท์จึงออกเครื่องมือ Microsoft Exchange On-Premises Mitigation เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาลงแบบง่ายๆ เพียงคลิกเดียว
เครื่องมือตัวนี้ใช้ย้อนหลังไปได้ถึง Exchange 2013 (ที่หมดระยะซัพพอร์ตไปแล้ว แต่ยังมีคนใช้กันอยู่) วิธีใช้งานเพียงแค่ดาวน์โหลด รันบนเครื่องที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ Exchange และกดติดตั้งตามหน้าจอได้เลย
สิ่งที่เครื่องมือนี้จะทำคือปรับคอนฟิกของ URL rewrite เพื่อลดโอกาสถูกโจมตี (ยังไม่ใช่การอุดแพตช์เต็มรูปแบบ) และสแกนมัลแวร์ย้อนหลังให้ด้วยว่าโดนแฮ็กไปแล้วหรือยัง หากโดนไปแล้วจะคืนค่ากลับให้อัตโนมัติ
ไมโครซอฟท์ยืนยันว่าควรใช้ Exchange เวอร์ชันที่ยังซัพพอร์ตอยู่ เพื่อให้ได้แพตช์ความปลอดภัยล่าสุดเสมอ
ที่มา - Microsoft |
# AMD เปิดตัวซีพียู EPYC รุ่นที่ 3 ใช้คอร์ Zen 3 รองรับเข้ารหัสแยกข้อมูล VM ออกจากเครื่อง, Azure ชิงเปิดให้บริการรายแรก
AMD เปิดตัวซีพียู EPYC รุ่นที่ 3 (ชื่อรหัส Milan) สำหรับเซิร์ฟเวอร์ รหัสตระกูล 7003 โดยปรับมาใช้คอร์ Zen 3 จำนวนคอร์ต่อซ็อกเก็ตสูงสุด 64 คอร์เท่ากับรุ่นที่ 2 แต่อัตราการรันคำสั่งต่อสัญญาณนาฬิกา (instructions per clock - IPC) สูงขึ้นถึง 19% และฟีเจอร์เข้ารหัสข้อมูลในซีพียู Secure Encrypted Virtualization-Secure Nested Paging (SEV-SNP) สำหรับการแยกข้อมูลของ virtual machine ออกจากเครื่องหลักชัดเจนขึ้นอีกขั้นหลังจากก่อนหน้านี้ซีพียู EPYC มักใช้ให้บริการคลาวด์แบบเข้ารหัสแรมอยู่ก่อนแล้ว
ทาง AMD เปิดตัวซีพียู EPYC 7003 มาพร้อมกันถึง 19 รุ่น ราคาเริ่มต้น 913 ดอลลาร์ไปจนถึง 7,890 ดอลลาร์ แต่ทุกตัวได้ฟีเจอร์พื้นฐานเหมือนกัน คือ DDR4 3200MHz แบบ 8 channel รองรับแรมสูงสุด 4TB, บัส PCIe 4.0 ขนาด 128 เลน และฟีเจอร์เข้ารหัสแรม AMD Infinity Guard
ในงานเปิดตัว ผู้ให้บริการคลาวด์รายหลักๆ ล้วนระบุว่าจะนำ EPYC 7003 มาให้บริการในอนาคต แต่มี Azure ที่เปิดตัวด้วยเครื่อง Azure HBv3 ในสถานะ GA ทันที พร้อมใช้งานในโซนสหรัฐฯ และยุโรป พร้อมกับสัญญาว่าโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็จะตามมาเร็วๆ นี้ ส่วน Tencent นั้นเปิดตัวเครื่อง Tencent Cloud SA3 ให้ลูกค้าทดสอบแบบวงปิด ทางด้าน Google Cloud ระบุว่า EPYC 7003 จะให้บริการในชื่อ C2D และ N2D ที่กำลังจะให้บริการในอนาคต
ที่มา - AMD |
# Stripe ผู้ให้บริการ API จ่ายเงินรายใหญ่ รับเงินเพิ่มทุน มูลค่ากิจการเกือบแสนล้านดอลลาร์แล้ว
Stripe ผู้ให้บริการ API เชื่อมต่อระบบจ่ายเงิน สำหรับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซต่าง ๆ ประกาศรับเงินเพิ่มทุนรอบล่าสุด 600 ล้านดอลลาร์ ทำให้บริษัทมีมูลค่ากิจการ 95,000 ล้านดอลลาร์ โดยบริษัทมีแผนนำเงินทุนนี้มาเน้นขยายตลาดในยุโรปเพิ่มเติม รวมทั้งรุกสู่ตลาดประเทศใหม่ ๆ ทั่วโลก
ผู้ลงทุนหลักใน Stripe รอบนี้นำโดยสองบริษัทประกันภัยรายใหญ่คือ Allianz ผ่านกองทุน Allianz X fund และ Axa รวมทั้งมีผู้ลงทุนอื่นอาทิ Baillie Gifford, Fidelity และ Sequoia Capital
บริการของ Stripe ที่สำคัญ คือให้บริการ API สำหรับนักพัฒนาเพื่อเชื่อมต่อเว็บไซต์เข้ากับระบบจ่ายเงินได้อย่างสะดวก ปัจจุบันทำตลาดทั้งในอเมริกา, 31 ประเทศของทวีปยุโรป ตลอดจนหลายประเทศในเอเชีย เน้นกลุ่มลูกค้าทั้งสตาร์ทอัพและบริษัทรายใหญ่
ที่มา: TechCrunch |
# ครบรอบ 15 ปี Amazon S3 โปรโตคอลสตอเรจเปลี่ยนโลกในยุคคลาวด์
Jeff Bar จาก AWS เขียนบล็อคครบรอบ 15 ปีบริการ Amazon S3 บริการออปเจกต์สตอเรจที่กลายเป็นมาตรฐานของระบบสตอเรจในยุคคลาวด์ S3 นับเป็นเป็นจุดเริ่มต้นของการให้บริการคลาวด์แบบโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure as a Service - IaaS) ของ AWS จนกระทั่งทุกวันนี้มีออปเจกต์บน S3 มากกว่า 100 ล้านล้านออปเจกต์แล้ว
บริการ AWS เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2002 แต่ก่อนหน้านั้นให้บริการ API สำหรับเชื่อมต่อกับ Amazon.com เป็นหลัก ในเดือนมีนาคม 2006 ทาง Amazon จึงเปิดบริการ Amazon S3 ที่คิดค่าบริการตามจริง ค่าเก็บข้อมูลกิกะไบต์ละ 0.15 ดอลลาร์ต่อเดือน (ประมาณ 4.6 บาทต่อเดือน) ขณะที่ค่าส่งข้อมูลเข้าและออกคิดเท่ากันที่ 0.20 ดอลลาร์ต่อกิกะไบต์ ทุกวันนี้ราคา S3 ปรับลดลงไปมากจนเหลือเพียง 0.025 ดอลลาร์ต่อเดือน (ราคาสิงคโปร์) และค่าส่งข้อมูลเข้าไปยังคลาวด์ก็ฟรีแล้ว
ในตอนเริ่มต้น Amazon S3 เป็นโปรโตคอลใหม่ที่ภายหลังผู้ให้บริการทุกรายพยายามทำบริการด้วย API เดียวกันทั้งหมด ทุก บริการคลาวด์บางราย เช่น Backblaze B2 สร้างบริการโดยใช้ API จาก S3 เพียงอย่างเดียว หรือแม้แต่ออราเคิล (ผู้ฟ้องกูเกิลฐานใช้ Java API บนแอนดรอยด์) ก็สร้างบริการคลาวด์โดยใช้ API ของ S3 เช่นกัน ความเป็นมาตรฐานเช่นนี้ทำให้ซอฟต์แวร์สำรองข้อมูล, ระบบสตอเรจต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกับคลาวด์หรือสตอเรจข้ามแบรนด์ได้อย่างอิสระ
ทาง AWS ฉลองการเปิดตัวครบรอบ 15 ปีนี้โดยเผยแพร่ภาพอินโฟกราฟิกแสดงประวัติการพัฒนาบริการ S3
ที่มา - Amazon Blog |
# Huawei Thailand ตั้ง ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้บริหารคนไทยเป็นกรรมการผู้จัดการ
บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด แต่งตั้ง ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ อดีตผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) เป็นกรรมการผู้จัดการ และถือเป็นคนไทยคนแรกที่นั่งตำแหน่งนี้
ผู้บริหารสูงสุดของ หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) ยังเป็นอาเบล เติ้ง ผู้บริหารชาวจีนที่ดูแลธุรกิจในไทยมาแต่เดิม และจะใช้การผสมผสานศักยภาพของผู้บริหารทั้งจีนและไทย ขับเคลื่อนธุรกิจในไทยให้แข็งแกร่งต่อไป
นายอาเบล เติ้ง ยังเปิดเผยว่า Huawei จะสร้างศูนย์ข้อมูลแห่งที่สามสำหรับให้บริการคลาวด์ในไทย คิดเป็นเงินลงทุนกว่า 700 ล้านบาท
ซ้าย: ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด
ขวา: อาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด |
# กูเกิลสร้างเว็บดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ด้วยช่องโหว่ Spectre
ช่องโหว่ Spectre/Meltdown ถูกเปิดเผยตั้งแต่ต้นปี 2018 และเปิดทางให้แฮกเกอร์ที่สามารถรันโค้ดในเครื่องของเหยื่อได้ สามารถอ่านข้อมูลในหน่วยความจำส่วนที่ไม่ได้รับอนุญาตได้ ล่าสุดกูเกิลสร้างเว็บ leaky.page เพื่อสาธิตการดึงข้อมูลออกจากเบราว์เซอร์
แม้อินเทลจะแพตช์ช่องโหว่ Spectre เพื่อป้องกันการอ่านข้อมูลข้ามโปรเซสไปแล้วแต่เทคนิคการสังเกตพฤติกรรมซีพียูเพื่ออ่านข้อมูลจากโปรเซสเดียวกันก็ยังใช้งานได้อยู่ และกระบวนการทำงานของเบราว์เซอร์ที่ซับซ้อนทำให้หลายครั้งข้อมูลจากเว็บหนึ่งๆ อาจจะถูกนำไปใช้ในโปรเซสของเว็บอื่นๆ ต่อไป แม้โดยหลักการแล้วโค้ดจาวาสคริปต์ไม่ควรอ่านข้อมูลเหล่านั้นได้ แต่แฮกเกอร์ก็อาจจะใช้ช่องโหว่ Spectre อ่านข้อมูลกลับออกมาได้
เว็บสาธิตนี้สามารถดึงข้อมูลออกมาได้ที่อัตรา 8kB/s หาก timer ละเอียด 5us และจะเหลือ 60B/s หาก timer ละเอียดเพียง 1ms
กูเกิลปล่อยเว็บสาธิตนี้เพื่อพยายามเตือนนักพัฒนาเว็บว่าควรใช้มาตรการของเบราว์เซอร์เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลรั่วไปยังโปรเซสเบราว์เซอร์ที่คนร้ายควบคุม เช่น Cross-Origin Resource Policy, Cross-Origin Opener Policy, และ Cross-Origin Embedder Policy
ที่มา - Google Security Blog |
# Realme 8 Pro มือถือรุ่นกลาง กล้อง 108MP เตรียมเปิดตัวอย่างเป็นทางการ 24 มีนาคมนี้
Realme 8 Pro และ Realme 8 เตรียมเปิดตัวอย่างเป็นทางการ วันที่ 24 มีนาคมนี้ ในเวลา 11.30น. ตามเวลาประเทศไทย โดย Realme 8 Pro จะมาพร้อมกล้องหลัก 108MP เซ็นเซอร์ Samsung ISOCELL HM2 ขนาด 1/1.52 นิ้ว
ก่อนหน้านี้กล้องระดับ 108MP มักจะมาพร้อมกับมือถือรุ่นเรือธง แต่เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Redmi Note 10 Pro ราคาเริ่มต้น 279 เหรียญ (ราว 8,500 บาท) เพิ่งเปิดตัวเป็นมือถือรุ่นกลางราคาไม่ถึงหมื่นที่มาพร้อมกล้อง 108MP ไป และคาดว่า Realme 8 Pro จะเป็นมือถือรุ่นกลางที่ออกมาชน Redmi Note 10 Pro ในด้านกล้องเช่นกัน แต่คงต้องติดตามราคาในวันเปิดตัว
Realme 8 Pro จะมีกล้องอีกสามตัว คาดว่าเป็นกล้องอัลตร้าไวด์ มาโคร และ depth sensor หน้าจอเป็น Super AMOLED พร้อมสแกนรอยนิ้วมือใต้จอ ยังไม่มีรายละเอียดชิปที่จะใช้ คาดว่าเป็น Snapdragon 730G แต่อาจจะมีรุ่น 5G ที่ใช้ชิปรุ่นอื่นเช่นกัน รวมถึงคาดว่าจะรองรับเทคโนโลยีชาร์จเร็วและมาพร้อมที่ชาร์จ 50W
ภาพจาก @stufflistings
Realme 8 Pro จะเปิดตัวพร้อมกับ Realme 8 รุ่นอัพเกรดจาก Realme 7 (ไม่ใช่ Realme 7 5G) ใช้ชิป Mediatek G95 เหมือนเดิม แต่เปลี่ยนจอจาก IPS LCD มาเป็น Super AMOLED ขนาด 6.4 นิ้ว กล้อง 4 ตัวเหมือนเดิม กล้องหลัก 64MP แต่อาจเปลี่ยนการเรียงรูปทรงของกล้องหรือปรับรายละเอียดอื่นเล็กน้อย แบตเตอรี่ 5,000 mAh และชาร์จเร็ว 30W
ส่วนในทวิตเตอร์ แอคเคาท์ @stufflistings ก็ปล่อยภาพที่คาดว่าเป็นภาพโปรโมต Realme 8 Pro และ Realme 8 ที่หลุดออกมา ซึ่งดีไซน์และกล้องสอดคล้องกับข่าวที่หลุดนี้เช่นกัน
Realme 8 และ 8 Pro เปิดให้จองแบบไม่ต้องทราบรายละเอียด (blind pre-order) แล้ววันนี้ในอินเดีย บนเว็บไซต์ Flipkart และ Realme มีค่ามัดจำ 1,080 รูปี หรือราว 460 บาท แต่สามารถรับเงินคืนได้ หากเปิดรายละเอียดวันที่ 24 มีนาคมแล้วไม่ถูกใจ
ที่มา - PocketNow, GSMArena, @stufflistings |
# เปิดตัว Clubhouse Creator First โครงการบ่มเพาะอบรมครีเอเตอร์ พูดอย่างไรให้มีคนฟัง
Clubhouse เปิดตัว Clubhouse Creator First โครงการบ่มเพาะอบรมครีเอเตอร์เป็นครั้งแรกของแพลตฟอร์ม เปิดรับสมัครคนที่สนใจเพื่อเพิ่มโอกาสเข้าถึงผู้ใช้งาน เข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ของ Clubhouse เรียนรู้วิธีการสร้างบทสนทนา การสร้างรายได้ โดยรับสมัครถึงวันที่ 31 มี.ค. นี้ โดยคัดเลือกมา 20 คน
นอกจากนี้ Clubhouse ยังเพิ่มฟีเจอร์แชร์ลิงค์ไปที่หน้าโปรไฟล์ของตัวเองได้ และเชิญเพื่อนใหม่ได้โดยพิมพ์ #ตามด้วยเบอร์โทรศัพท์ เท่ากับว่าผู้ใช้งานไม่ต้องให้ Clubhouse เข้าถึงรายชื่อในโทรศัพท์
ภาพจาก Clubhouse
ที่มา - Gizmodo |
# Seagate ประเมิน ออกฮาร์ดดิสก์ความจุ 50TB ได้ในปี 2026, ความจุ 120TB ในปี 2030
Seagate เผยแผนการออกฮาร์ดดิสก์ในระยะยาว โดยคาดว่าจะออกฮาร์ดดิสก์ความจุระดับ 50TB ได้ในปี 2026 และขึ้นไปถึง 120TB ในปี 2030
เทคโนโลยีใหม่ในโลกฮาร์ดดิสก์ตอนนี้คือ Heat-Assisted Magnetic Recording (HAMR อ่านว่า แฮมเมอร์) เป็นการใช้ความร้อนช่วยเขียนข้อมูลบนจานเป็นระยะเวลาสั้นมากๆ (ระดับ 2 นาโนวินาที) ช่วยให้บันทึกข้อมูลได้หนาแน่นขึ้นกว่าเทคโนโลยี PMR แบบที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งจะตันที่ความจุระดับ 20TB
เทคโนโลยี HAMR พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้ในห้องแล็บทำระดับ 40TB ได้แล้ว ส่วนผลิตภัณฑ์จริงเริ่มมีฮาร์ดดิสก์ HAMR รุ่น 20TB ออกวางขายตั้งแต่ปี 2020 และคาดว่าจะขายฮาร์ดดิสก์ 50TB ได้ในปี 2026
เทคโนโลยีอีกตัวที่มาช่วยกันคือเทคโนโลยีด้านพื้นผิวของจาน (media) ที่ใช้การเรียงเป็นแพทเทิร์นเป็นระเบียบมากขึ้น (bit pattern) สามารถอัดปริมาณข้อมูลลงจานได้ถึง 120TB
เทคโนโลยีตัวสุดท้ายคือเรื่องหัวอ่านหลายหัว (multi actuator ซึ่งบริษัทใช้ชื่อการค้าว่า Mach.2) ช่วยแก้ปัญหาเรื่องประสิทธิภาพการอ่าน-เขียนข้อมูลแบบสุ่ม การันตีตัวเลข IOPS/TB ให้ไม่ตกเมื่อความจุของจานสูงขึ้น
ในภาพรวม Seagate มองว่าเทคโนโลยีฮาร์ดดิสก์ยังมีอนาคตอีกยาวไกล โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์แบบความจุสูง (mass capacity) ที่ประสิทธิภาพต่อราคายังดีกว่า SSD และมีรูปแบบการใช้งานใหม่ๆ ทั้งการใช้งานบนคลาวด์ และการใช้งานในระดับ edge เช่น กล้องวงจรปิด ยานพาหนะ สตอเรจขนาดใหญ่ เป็นต้น
ที่มา - Seagate, AnandTech |
# รีวิว Xiaomi Mi 11 จัดเต็มทั้งสเปก กล้อง จอ และลำโพง แต่ยังไม่มีอะไรใหม่ให้ว้าวมากนัก
หลังจากที่ผู้เขียนรีวิว Xiaomi Mi 10T Pro ไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว และตกใจกับประสิทธิภาพและกล้องที่ดีเกินคาดพอสมควร คราวนี้ Xiaomi เพิ่งเปิดราคา Mi 11 ในไทยไปเมื่อช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา ในระดับราคา 21,990 บาท ที่แม้จะถูกกว่าสมัยเปิดตัว Mi 10 ที่ราคา 27,999 บาท แต่ก็แพงกว่า Mi 10T Pro ที่มีราคา 13,990 บาท
เทียบความแตกต่าง M11 และ Mi 10T Pro
เมื่อเทียบกันแล้ว แม้สเปกบนกระดาษของ Mi 11 จะเหนือกว่า Mi 10T Pro ในด้านชิปที่อัพเกรดเป็น Snapdragon 888 หน้าจอที่เปลี่ยนจาก LCD 24-bit รีเฟรชเรต 144Hz ความละเอียด 1080 x 2400 พิกเซล มาเป็น AMOLED 10-bit รีเฟรชเรต 120Hz ความละเอียด 1440 x 3200 พิกเซล
กล้องหลังหลักมีจำนวนพิกเซลเท่ากัน Mi 10T Pro แต่ Mi 11 มีรูรับแสงกว้างขึ้น จาก f/1.9 เป็น f/1.7 ทำให้เก็บแสงในที่มืดได้มากขึ้น ซอฟต์แวร์ประมวลผลภาพและแต่งวิดีโอมีการเพิ่มฟีเจอร์เข้ามา แต่สเปกอื่นๆ และการใช้งานจริง ก็อาจจะไม่ต่างกันมากนัก ทำให้ Mi 10T Pro ก็ยังเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจอยู่
แม้จะมีข้อได้เปรียบที่ลดลงเมื่อถูกเปรียบเทียบ และไม่ค่อยมีอะไรแปลกใหม่ให้ตื่นเต้นนัก แต่ถ้านับตัวมันเองแล้ว Xiaomi Mi 11 ก็ยังเป็นโทรศัพท์ที่ครบครันทั้งสเปกภายในและกล้อง ตามสไตล์ Xiaomi โดยวันนี้ผู้เขียนจะมารีวิวเครื่อง Mi 11 รุ่นสี Horizon Blue หน่วยความจำ 8GB+128GB ให้ผู้อ่านได้เห็นในภาพรวม
แกะกล่อง
Mi 11 ยังแถมที่ชาร์จแบบชาร์จเร็ว 55W วัสดุ GaN มาให้ในกล่อง ซึ่งมีกำลังไฟมากพอชาร์จโน้ตบุ๊กที่รองรับการชาร์จผ่านพอร์ต USB-C ทำให้ลดการพกพาที่ชาร์จซ้ำซ้อนได้ เป็นอีกประโยชน์ทางอ้อม นอกจากนี้ก็มีซิลิโคนเคส เข็มจิ้มถาดซิม และคู่มือในกล่องตามปกติ
หน้าจอและตัวเครื่องภายนอก
หน้าจอ Mi11 เป็นจอ AMOLED พาแนลแบบ 10-bit ขนาด 6.81 นิ้วความละเอียด WQHD+ รีเฟรชเรต 120Hz ครอบทับด้วย Corning Gorilla Glass Victus ที่กันรอยขีดข่วนมากกว่า Gorilla Glass 6 และทนแรงกระแทกจากการตกได้กว่า 2 เมตร นอกจากนี้ยังมีค่ารีเฟรชการสัมผัสถึง 480Hz น่าจะตอบสนองทันใจคนที่เล่นเกมยิงหรือแนวแอ็กชั่นบนมือถือได้สบายๆ
ฝาหลังตามข้อมูลจาก Corning เป็น Gorilla Glass 5 ที่แข็งแกร่งน้อยกว่า Victus แอบเสียดายเล็กน้อยที่ไม่ได้ Victus ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แต่ถ้าใส่มา ราคาก็คงจะแพงกว่านี้ไปอีก ซึ่ง Gorilla Glass 5 ก็ทนทานพอใช้ และสี Horizon Blue ก็ค่อนข้างสวย แม้จะดึงดูดรอยนิ้วมือนิดหน่อย แต่เมื่อใส่ซิลิโคนเคส ก็หมดปัญหานี้ไป
Xiaomi Mi 11 ใช้การปลดล็อกด้วยการสแกนลายนิ้วมือใต้จอแบบ Optical มีลำโพงแบบคู่บนล่างที่จูนโดย Harman/Kardon ซึ่งก็ให้เสียงที่ดังพอใช้ และไม่แตกจนเกินไป แม้เสียงเบสจะไม่แน่นนัก ตัวเครื่องหนา 8.1 มิลลเมตร น้ำหนัก 196 กรัม บางและเบาลงกว่า Mi 10T Pro ที่หนา 9.3 มิลลิเมตร และหนัก 218 กรัมเล็กน้อย ปุ่มทั้งพาวเวอร์และโวลุ่มจะอยู่ด้านขวาทั้งหมด ส่วนด้านซ้ายไม่มีปุ่มใดๆ
UI และประสิทธิภาพโดยรวม
Mi 11 รัน MIUI12 (และจะได้อัพเดตเป็น 12.5 เร็วๆนี้) ดีไซน์สะอาดสะอ้านมากกว่า UI ยุคแรกๆ ของ Xiaomi พอสมควร และเท่าที่ใช้งาน รู้สึกว่ามีโฆษณากวนใจน้อยลง แอปขยะน้อยลง และสามารถปิดเปิดได้
ชิป Snapdragon 888 ให้ประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีน่าพอใจ ผนวกมากับแรม LPDDR5 ขนาด 8GB และจีพียู Adreno 660 ที่เล่น Genshin Impact ตั้งค่าเริ่มต้นได้อย่างลื่นๆ (ดูระดับกราฟฟิกได้ในภาพด้านล่าง) ไม่มีอาการเฟรมตก แต่หลังผ่านไปประมาณครึ่งชั่วโมง รู้สึกได้ว่าตัวเครื่องร้อนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด น่าจะเป็นเพราะแกนประสิทธิภาพสูง Cortex-X1 ที่ใส่เพิ่มเข้ามา
แต่น่าแปลกใจที่คะแนนการทดสอบใน Geekbench ไม่ได้สูงขึ้นมากนัก แถมยังแพ้ OnePlus 8 ในบางรายการ ไม่แน่ชัดว่าเป็นเพราะฮาร์ดแวร์ เฟิร์มแวร์ของ Xiaomi หรือเวอร์ชั่นของ Geekbench ที่ยังไม่ได้ปรับแต่งมาให้วัดประสิทธิภาพของ Snapdragon 888 ได้ดีนัก
ส่วนการเชื่อมต่อก็รองรับเทคโนโลยีล่าสุดทั้งหมด ทั้ง 5G แบนด์ 1/ 3/ 28/ 41/ 77/ 78/ 79 รองรับ WiFi 6, Bluetooth 5.2 มี NFC และมีตัวยิง IR ไว้ใช้แอปรีโมตได้
กล้อง และตัวอย่างภาพถ่าย
กล้องหน้าแบบเจาะรู 20MP f/2.4 กล้องหลังหลักความละเอียด 108MP f/1.85 ใช้เทคโนโลยีรวม 4 พิกเซลเป็น 1 (4-in-1 Super Pixel) มีกล้องอัลตร้าไวด์ 13MP f/2.4 และเลนส์ telemacro 5MP มีคุณภาพตามสไตล์ Xiaomi เหมือนเคย ถ่ายภาพกลางคืนได้พอใช้ มีข้อดีเล็ก ๆ คือค่าเริ่มต้นของกล้องหน้าที่ปิด Beauty Mode ให้ภาพถ่ายค่อนข้างเป็นธรรมชาติ ไม่แต่งเนียนจนเวอร์เกินไป
ตัวอย่างภาพวิวจากกล้องหลัก
ตัวอย่างภาพวิวเดียวกันจากกล้องอัลตร้าไวด์
ตัวอย่างภาพภายในอาคาร จากกล้องหลัก
ตัวอย่างภาพถ่ายภายนอก จากกล้องหลัก
ตัวอย่างภาพถ่าย Night Mode จากกล้องหลัก
ตัวอย่างภาพถ่าย Night Mode จากกล้องอัลตร้าไวด์
ตัวอย่างภาพ Selfie จากกล้องหน้า
สรุป
Xiaomi Mi 11 เป็นโทรศัพท์ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ทั้งหน้าจอคุณภาพสูง ชิปทั้งซีพียูและจีพียูรุ่นล่าสุด แรม LPDDR5 หน่วยความจำภายใน UFS 3.1 และกล้องที่ใส่มาให้แบบเต็มสูบ รวมถึงรองรับเทคโนโลยีการเชื่อมต่อล่าสุดทุกชนิด แต่นอกจากการอัพเดต SoC ตามเทคโนโลยีทั่วไปแล้ว Mi 11 ก็ไม่ได้มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงจากมือถือรุ่นปีมากนัก
ราคาที่อยู่ในระดับ 21,990 บาท เมื่อเทียบกับ Xiaomi Mi 10T Pro ที่ประสิทธิภาพอาจจะด้อยกว่ากันเพียงเล็กน้อย แทบไม่รู้สึกในการใช้งานจริง และคุณภาพกล้องที่ใกล้เคียงกัน ในราคา 13,990 อาจทำให้ผู้บริโภคเลือกซื้อมือถือ Xiaomi รุ่นปีก่อนมากกว่า
นอกจากนี้ ในปีนี้เราอาจได้เห็นมือถือรุ่นอื่นๆ ที่ใช้ชิป Snapdragon 888 และรองรับ 5G ในราคาต่ำกว่า เช่น Realme GT ที่ราคาเริ่ม 2,799 หยวน (ราว 13,200 บาท) หรือ Redmi K40 จาก Xiaomi เอง ที่ราคาเริ่มต้นราว 2,999 หยวน (ราว 14,000 บาท) เท่านั้น
แม้รุ่นอื่นๆ ที่ใช้ชิป Snapdragon 888 อาจมีคุณสมบัติเช่นกล้องหรือจอที่ด้อยกว่า แต่ก็ทำให้ผู้ใช้มีตัวเลือกมากขึ้น เลือกประหยัดในส่วนที่อาจจะไม่จำเป็นสำหรับผู้ใช้นั้นๆ และทำให้ข้อได้เปรียบด้านราคาของ Mi 11 ลดลงไปพอสมควร |
# กูเกิลถูกฟ้องฐานติดตามข้อมูลแม้ใช้ Chrome ไม่ระบุตัวตน คาดโทษปรับสูง 5 พันล้านเหรียญ
กูเกิลเจอคดีอีกครั้ง คราวนี้หนักถึงขนาดโทษปรับสูง 5 พันล้านดอลลาร์ โดย Bloomberg รายงานว่า ศาลรัฐบาลกลางแคลิฟอร์เนียชี้ กูเกิลต้องเจอคดีฐานติดตามข้อมูลผู้ใช้งาน Chrome โหมดไม่ระบุตัวตนหรือ Incognito ซึ่งกูเกิลได้ยื่นอุทธรณ์ไปก่อนหน้านี้แต่ศาลปฏิเสธ
คดีเริ่มมาจากมีผู้บริโภคทำการฟ้องร้องแบบกลุ่ม กล่าวหาว่าแม้ว่าพวกเขาจะปิดการรวบรวมข้อมูลใน Chrome แต่เครื่องมืออื่นๆ ของกูเกิลก็จะรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขาอยู่ดี ซึ่งผู้พิพากษาเขียนสรุปว่า กูเกิลไม่ได้แจ้งผู้ใช้งานตั้งแต่แรกว่ามีการรวบรวมข้อมูล แม้จะใช้งานในโหมด Incognito
Jose Castaneda โฆษกของกูเกิลกล่าวในแถลงการณ์ทางอีเมลว่า ทางบริษัทยืนยันจะโต้แย้งข้อกล่าวหานี้ โหมดไม่ระบุตัวตนใน Chrome ช่วยให้ผู้ใช้งานมีทางเลือกในการท่องอินเทอร์เน็ตโดยที่กิจกรรมไม่ถูกบันทึกลงในเบราว์เซอร์หรือในอุปกรณ์ ซึ่งการเปิดแท็บใหม่ใน Chrome Incognito นั้น เว็บไซต์ต่างๆ อาจรวบรวมข้อมูลกิจกรรมการท่องเว็บได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่กูเกิลบอกผู้ใช้งานมาตลอด
ภาพโดย Nikin
ส่วนหนึ่งของคำฟ้องร้องระบุว่า แม้ว่าจะใช้งาน Chrome Incognito แต่กิจกรรมของผู้ใช้ในระหว่างเซสชันนั้นอาจถูกมองเห็นได้บนเว็บไซต์ที่พวกเขาเข้าชม หรือมีบริการบุคคลที่สามที่เว็บไซต์ใช้ติดตามกิจกรรมผู้ใช้งาน
ก่อนหน้านี้ กูเกิลก็ประกาศว่ากำลังเตรียมเลิกขายโฆษณาแบบติดตามตัวคน จากเดิมที่ทุกวันนี้โฆษณามักติดตามผู้ใช้ไปได้ผ่านทาง third-party cookie
ที่มา - Bloomberg |
# รัฐบาลสเปนเคาะ คนส่งอาหารแพลตฟอร์มออนไลน์ ต้องถูกปฏิบัติเช่นเดียวกับพนักงาน
รัฐบาลสเปนมีมติให้แพลตฟอร์มออนไลน์ผู้ส่งอาหาร ต้องปฏิบัติกับคนส่งอาหารหรือไรเดอร์แบบเดียวกับพนักงานบริษัท กฎหมายดังกล่าวยังรวมถึงข้อกำหนดให้บริษัทแพลตฟอร์มเช่น Glovo และ Deliveroo ส่งมอบข้อมูลให้กับตัวแทนกฎหมาย เกี่ยวกับวิธีการทำงานของอัลกอริทึมในการมอบหมายงานให้ไรเดอร์ รวมถึงระบบประเมินประสิทธิภาพของไรเดอร์ด้วย
ก่อนหน้านี้ในอังกฤษ ศาลก็สั่งให้คนขับรถของ Uber มีสถานะเป็นพนักงานบริษัท แทนท่ี่จะเป็นพาร์ทเนอร์เหมือนเดิม ด้าน Association of Service Platforms ในสเปนบอกว่า กฎที่ให้เปิดเผยอัลกอริทึมจะส่งผลเสียต่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในสเปน กระทบเสรีภาพในการทำธุรกิจและสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา Deliveroo แพลตฟอร์มส่งอาหารในอังกฤษเรียกร้องให้รัฐบาลสเปนคิดใหม่ พร้อมบอกว่า กฎใหม่จะทำให้คนขับมีงานน้อยลง กระทบธุรกิจฝั่งร้านอาหาร และพื้นที่ที่ให้บริการด้วย
ภาพจาก Glovo
ที่มา - AP |
Subsets and Splits
No community queries yet
The top public SQL queries from the community will appear here once available.