text
stringlengths 11
12.4k
| meta
dict |
---|---|
แห่น้ำขึ้นโฮง
ประเภท: ประเพณีตามเทศกาล หรือประเพณี 12 เดือน,ประเพณีเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองและเพื่อสิริมงคล
หัวเรื่อง: เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร,โฮงเจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร,อนุสาวรีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร,ลับแล
รายละเอียด: การเกิดวัฒนธรรมประเพณีที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาของผู้คนในสังคมนั้นๆ เกิดจากวิถีชีวิตและความเชื่อของผู้คนในสังคมที่เป็นผู้หล่อหลอมให้คนในสังคมได้ตระหนักถึงวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่สืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เช่นเดียวกันชาวเมืองลับแลในตำบลฝายหลวง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ก็มีประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮง (โฮง หรือ โรง) ซึ่งจัดขึ้นในช่วงวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี โดยเป็นการรวมกลุ่มของชาวบ้านในตำบลฝายหลวงและชุมชนใกล้เคียงในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อทำพิธีสรงน้ำเจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร ซึ่งเป็นวีรบุรุษทางวัฒนธรรมของชาวลับแลในอดีต
พื้นที่: ลานอนุสาวรีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร เชิงม่อนอารักษ์ ตำบลฝายหลวง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
ช่วงเวลา: วันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/dataset/rituals",
"title": "Thai Rituals"
} |
ผีขนน้ำ
ประเภท: ประเพณีเกี่ยวกับการทำมาหากิน
หัวเรื่อง: ผีขนน้ำ,ศาลเจ้าปู่นาซ่าว,ขอฝน
รายละเอียด: งานประเพณีผีขนน้ำ เป็นงานบุญเดือนหก จัดขึ้นหลังวันวิสาขบูชา ช่วงวันแรม1-3 ค่ำ ถือเป็นงานประจำปีของชาวบ้านตำบลนาซ่าว อ.เชียงคาน จ.เลย จัดขึ้นมาเพื่อเป็นการขอฝนในวิถีชีวิตเกษตรกรรมที่สืบทอดกันมากว่า 300 ปี กล่าวกันว่าชาวบ้านนาซ่าว แต่เดิมเป็นคนไทยพวน อพยพมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง มาตั้งหลักแหล่งทำเกษตรกรรมที่ นาซำหว้า แล้วขยายชุมชนมาที่บ้านสองโนน แก่นของความเชื่อของประเพณีท้องถิ่นที่นี่คือการนับถือผี โดยมีจุดศูนย์รวมอยู่ที่ “เจ้าปู่” ที่พำนักในศาลเจ้าปู่นาซ่าว
พื้นที่: ลานกีฬาอบต.นาซ่าว อ.เชียงคาน จ.เลย และวัดโพธิ์ศรี
ช่วงเวลา: วันแรม 1-3 ค่ำเดือนหก | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/dataset/rituals",
"title": "Thai Rituals"
} |
สรงกู่ประภาชัย
ประเภท: ประเพณีเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองและเพื่อสิริมงคล
หัวเรื่อง: ปรางค์กู่ประภาชัย,สรงกู่,บ้านนาคำน้อย
รายละเอียด: งานสรงกู่ประภาชัย จัดขึ้นที่ปรางค์กู่ประภาชัยหรือกู่บ้านนาคำน้อย โบราณสถานแบบขอม สร้างด้วยศิลาแลงและหินทราย รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบ อโรคยาศาล ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7(พ.ศ.1720-1780) งานสรงกู่จัดขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย กำหนดวันคือ วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 ความโดดเด่นของงานประเพณีแห่งนี้คือ การแสดงออกถึงความรักและความเข้มแข็งของชุมชน โดยงบประมาณและการจัดงานทั้งหมดมาจากคนในชุมชน พิธีกรรมของงานสรงกู่ประภาชัยมีการผสมผสานความเชื่อเรื่องการนับถือผีและความศรัทธาในพุทธศาสนาแบบเถรวาท
พื้นที่: ปรางค์กู่ประภาชัย บ้านนาคำน้อย ต. บัวใหญ่ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น
ช่วงเวลา: วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/dataset/rituals",
"title": "Thai Rituals"
} |
รำผีมอญ
ประเภท: ประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์,ประเพณีเกี่ยวกับการรักษาโรค
หัวเรื่อง: มอญ,ผีบรรพบุรุษ
รายละเอียด: คติความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ ยังปรากฏในสังคมชาวมอญ กล่าวกันว่าการนับถือผีจะทำให้มนุษย์ได้รับคำแนะนำช่วยเหลือ ทำมาหากิน เจริญรุ่งเรืองและมั่นคง ในทางกลับกันหากมีการละเมิดข้อห้ามหรือ “ผิดผี” เชื่อว่าผีบรรพบุรุษจะไม่พอใจ นำมาสู่การบันดาลภัยพิบัติ โรคภัยไข้เจ็บ ในตระกูลผีเดียวกัน ด้วยเหตุนี้จึงได้จัดพิธีขอขมา คือ “พิธีรำผีมอญ” ขึ้น มักจัดในเดือนคู่ กำหนดวันโดย “โต้ง” (ผู้นำในการประกอบพิธี) ซึ่งเป็นพิธีที่มีความซับซ้อนทั้งกระบวนการขั้นตอนและความหมาย ใช้เวลาอย่างน้อยสองวันด้วยกันในการเตรียมและประกอบพิธี
พื้นที่: ต.เจ็ดริ้ว อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร
ช่วงเวลา: นิยมทำในเดือนคู่หรือช่วงฤดูแล้ง ราวเดือน 4 ถึงเดือน 6 ยกเว้นวันพระ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/dataset/rituals",
"title": "Thai Rituals"
} |
งานศพคนมอญ (เฟ่ะซ่าง)
ประเภท: ประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์,ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต
หัวเรื่อง: งานศพ,มอญ
รายละเอียด: คนมอญให้ความสำคัญกับพิธีกรรมที่เข้ามาเกี่ยวข้องตั้งแต่เกิดจนตาย อีกทั้งศรัทธาในพุทธศาสนาควบคู่ไปกับการถือผีบรรพบุรุษ ก่อให้เกิดรากฐานของประเพณี พิธีกรรม ที่สืบทอดปฏิบัติกันมา ดังนั้นคนมอญจึงมีรูปแบบพิธีกรรมที่แฝงความหมายและปริศนาธรรมต่างๆ ตามโลกทัศน์ของคนมอญมีการแบ่งประเภทการตายแตกต่างกันตามสาเหตุและสถานภาพของผู้ตาย อีกทั้งข้อปฏิบัติพิธีกรรมที่จำเพาะกับรูปแบบการตาย โดยยึดถือคามคัมภีร์โลกสมมุติ ซึ่งในกรณีนี้จะกล่าวถึงเฉพาะงานศพที่ตายดี และมีการจัดงานศพเป็นแบบเผาศพ
พื้นที่: บ้านแซ่ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
ช่วงเวลา: - | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/dataset/rituals",
"title": "Thai Rituals"
} |
บวชนาค(มอญ)
ประเภท: ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต
หัวเรื่อง: บวชนาค,มอญ
รายละเอียด: จากการเก็บข้อมูลบริเวณย่านชุมชนทุ่งกะโหลก คลองตาขำ ผู้ที่จะเข้าอุปสมบทเป็นบุตรชายของคุณศักดิ์ชัย และนางพัชรี ชาวบ้านเกาะ ชื่อนายอนิรุจน์ ชาวบ้านเกาะ อายุ 21 ปี งานนี้แบ่งเป็นสองวัน คือ วันที่ 8 เมษายน ช่วงเย็นไปจนถึงกลาง ขั้นตอนหลักคือ การทำขวัญนาค และงานเลี้ยง ส่วนในวันที่ 9 ช่วงเช้าไปถึงเที่ยง คือ การอุปสมบท ที่วัดราษฎร์ศรัทธากะยาราม (วัดมอญ) ซึ่งเป็นวัดฝ่ายธรรมยุติ การติดตามงานบวชครั้งนี้มาจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ หมอแซม หมู่ 1 ตำบลเจ็ดริ้ว คนรุ่นใหม่ที่ร่ำเรียนภาษาและตำรามอญ และทำกิจกรรมวัฒนธรรมไทยรามัญ จนเริ่มเป็นที่ยอมรับในหมู่คนรามัญในย่านเจ็ดริ้วและคลองตาขำ
พื้นที่: อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร
ช่วงเวลา: - | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/dataset/rituals",
"title": "Thai Rituals"
} |
งานประจำปีและแห่หลวงพ่อโต วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร
ประเภท: ประเพณีตามเทศกาล หรือประเพณี 12 เดือน
หัวเรื่อง: หลวงพ่อโต,วัดหลักสี่,บ้านแพ้ว
รายละเอียด: หลวงพ่อโตวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร เป็นพระพุทธรูปโบราณสมัยอยุธยาเนื้อหินทรายแดงฉาบปูน ปางมารวิชัย มีพระพักตร์อิ่ม หน้าตักกว้าง 81 นิ้ว สูง 99 นิ้ว เล่ากันว่าหลวงพ่อแฟงซึ่งเป็นศิษย์เอกหลวงพ่อคงวัดบางกะพ้อม และเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนมโนรา ต.ขุนพิทักษ์ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรีในสมัยนั้น ได้ไปพบที่วัดร้างแห่งหนึ่งบริเวณริมแม่น้ำแม่กลอง อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม เมื่อท่านนั่งทางในแล้วทราบว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก จึงทำพิธีอัญเชิญมาประดิษฐานยังวัดดอนมะโนรา
พื้นที่: วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร บ้านแพ้ว
ช่วงเวลา: แรม 3-5 ค่ำ เดือน 4 | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/dataset/rituals",
"title": "Thai Rituals"
} |
ล้างป่าช้า เผาศพไร้ญาติ
ประเภท: ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต
หัวเรื่อง: ล้างป่าช้า,สุสาน,งานศพ
รายละเอียด: มูลนิธิแพร่ศีลธรรมการกุศลสงเคราะห์ (เม่งซวงเซี่ยงตั๊ว) ต.โรงเข้ อ.บ้านแพ้ว ก่อตั้งเมื่อประมาณกลางปี พ.ศ. 2501 โดยการนำของคุณประวิทย์ เกษตรสิน (จิ่วฮวด แซ่กอ) ซึ่งปัจจุบันได้ล่วงลับไปแล้ว คุณประวิทย์ได้พิจารณาเห็นว่าพี่น้องชาวจีน-ไทย ที่อาศัยอยู่ในบริเวณคลองดำเนินสะดวกที่มีเขตติดต่อระหว่าง 2 อำเภอ คือ อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร และ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ชาวบ้านบริเวณนี้ประกอบอาชีพทำสวนและค้าขาย มีการไปมาหาสู่กันยาวนาน ผู้คนอาศัยกันอยู่หนาแน่น แต่มีสุสานสำหรับฝังศพผู้เสียชีวิตเพียงแห่งเดียว สุสานมีเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่เศษ การฝังศพก็ไม่เป็นระเบียบและไม่มีการล้างป่าช้าไม่น้อยกว่า 60-70 ปี ทำให้พื้นที่ฝังศพไม่เพียงพอ คุณประวิทย์จึงได้เชิญบรรดาพ่อค้า คหบดีมาปรึกษากันเพื่อทำการล้างป่าช้าเผาศพไร้ญาติเพื่อเป็นการกุศล ที่ประชุมลงมติเห็นด้วยและแต่งตั้งให้คุณประวิทย์เป็นประธานกรรมการและจัดตั้งกรรมการขึ้น
พื้นที่: มูลนิธิแพร่ศีลธรรมการกุศลสงเคราะห์ (เม่งซวงเซี่ยงตั๊ว) บ้านแพ้ว
ช่วงเวลา: - | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/dataset/rituals",
"title": "Thai Rituals"
} |
สงกรานต์มอญ วัดเจ็ดริ้ว
ประเภท: ประเพณีตามเทศกาล หรือประเพณี 12 เดือน
หัวเรื่อง: สงกรานต์,มอญ
รายละเอียด: เทศกาลงานสงกรานต์มอญที่วัดเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร จัดงานระหว่างวันที่ 13-16 เมษายน ที่สำคัญคือมีการแห่หลวงพ่อดำ ซึ่งเป็นพระประธานของวัดเจ็ดริ้ว พร้อมทั้งอัญเชิญรูปเหมือนหลวงปู่จ้อน อดีตเจ้าอาวาสร่วมขบวนแห่ เพื่อให้ชาวเจ็ดริ้วได้สรงน้ำและทำบุญ โดยริเริ่มครั้งแรกเมื่อ 5 ปีก่อน
พื้นที่: วัดเจ็ดริ้ว อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร
ช่วงเวลา: - | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/dataset/rituals",
"title": "Thai Rituals"
} |
ตรุษไทย แห่พระทางน้ำ
ประเภท: ประเพณีตามเทศกาล หรือประเพณี 12 เดือน
หัวเรื่อง: ตรุษไทย,วัดพระยาญาติ,อัมพวา,หลวงพ่อทอง,หลวงพ่อใจ
รายละเอียด: “เทศกาลเนื่องในการสิ้นปี ตรุษไทยกำหนดตามจันทรคติ ตรงกับวันแรม 15 คํ่า เดือน 4” คือคำนิยามของตรุษไทย จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ปัจจุบันเทศกาลหรือประเพณีตรุษไทยในหลายพื้นที่ไม่ได้ให้ความสำคัญ โดยจะเน้นไปที่ประเพณีสงกรานต์แทนเนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกัน น่าสนใจว่าชุมชนวัดพระยาญาติ ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ยังคงสืบสานประเพณีตรุษไทย และมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากชุมชนอื่นคือ การแห่พระทางน้ำในเทศกาลตรุษไทย
พื้นที่: วัดพระยาญาติ
ช่วงเวลา: แรม 13 ค่ำ เดือน 4 - ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/dataset/rituals",
"title": "Thai Rituals"
} |
ก่อพระเจดีย์ทราย วัดปากสมุทร
ประเภท: ประเพณีตามเทศกาล หรือประเพณี 12 เดือน
หัวเรื่อง: ก่อพระเจดีย์ทราย,วัดปากสมุทร,ตำบลแหลมใหญ่
รายละเอียด: ประเพณีการก่อพระเจดีย์ทราย วัดปากสมุทร ตำบลแหลมใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ได้สืบทอดมาอย่างยาวนาน และได้กลายมาเป็นงานประเพณีประจำปีของวัดปากสมุทร ตั้งแต่ปีพ.ศ.2488 กำหนดจัดงานตามจันทรคติคือ วันแรม 14 ค่ำเดือน 4 ถึงวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 ในช่วงเทศกาลตรุษไทย
พื้นที่: วัดปากสมุทร ต.แหลมใหญ่ อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม
ช่วงเวลา: วันแรม 14 ค่ำเดือน 4 – วันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/dataset/rituals",
"title": "Thai Rituals"
} |
แข่งเรือพิมาย
ประเภท: ประเพณีตามเทศกาล หรือประเพณี 12 เดือน
หัวเรื่อง: แข่งเรือพิมาย, ทอดกฐินทางเรือ
รายละเอียด: กว่าร้อยปีมาแล้ว ก่อนจะมาเป็นงานประเพณีแข่งเรือพิมาย สมัยก่อนคืองานทอดกฐินทางเรือ เนื่องจากชุมชนสองฟากฝั่งแม่น้ำมูล ช่วงฤดูน้ำหลากเดือนตุลาคม-ธันวาคม ได้มีน้ำเอ่อท่วม ผู้คนตามหมู่บ้านต่างๆ ได้สัญจรไปมาทางเรือ งานทอดกฐินจะหมุนเวียนเปลี่ยนกันไปตามวัดของแต่ละหมู่บ้าน หลังออกพรรษาเป็นหน้าทอดกฐิน ในงานบุญกฐินเรือต่างๆ จะมาแข่งขันกันด้วยความสนุกสนาน
พื้นที่: ลำน้ำจักราช อำเภอพิมาย จ. นครราชสีมา
ช่วงเวลา: สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/dataset/rituals",
"title": "Thai Rituals"
} |
งานคารวะเจ้าปู่มเหสักข์ ภูไทวาริชภูมิ
ประเภท: ประเพณีตามเทศกาล หรือประเพณี 12 เดือน,ประเพณีเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองและเพื่อสิริมงคล
หัวเรื่อง: เจ้าปู่มเหสักข์วาริชภูมิ, ภูไทวาริชภูมิ,ภูไท,ชาติพันธุ์
รายละเอียด: ในการย้ายครัวเรือนและราษฎรจากเมืองสกลนครมายังบ้านหนองหอยซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชนวาริชภูมิในปัจจุบันนั้น ชาววาริชภูมิเล่าสืบต่อกันมาว่า ครั้นขบวนอพยพมาถึงธารน้ำแห่งหนึ่ง ด้านหลังมีภูเขาใหญ่มีหน้าผาสูงชัน จึงได้ขบวนหยุดและตั้งค่ายพักขึ้น และพาไพร่พลจำนวนหนึ่งสร้างศาลเพียงตาขึ้นหลังหนึ่งด้านหลังค่าย เมื่อเห็นผู้คนหายเหนื่อยแล้ว จึงนำผู้คนบ่าวไพร่พร้อมใจกันอธิษฐาน อัญเชิญเทพยดาฟ้าดิน เจ้าภูผา เจ้าป่าเจ้าเขา ให้มาสถิตอยู่ ณ ศาลนั้น ขอให้เป็นกำแพงคุ้มกันขบวนของชาวภูไทตลอดไป ครั้นทำพิธีเสร็จได้พร้อมกันหาดอกไม้ธูปเทียนบูชา จัดสำรับกับข้าวคาวหวานเลี้ยงและเรียกชื่อเทพสถิตอยู่ ณ ศาลแห่งนี้ว่า “เจ้าปู่มเหสักข์”
พื้นที่: ศาลเจ้าปู่มเหสักข์ ตำบลวาริชภูมิ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
ช่วงเวลา: วันที่ 6 เมษายน ของทุกปี | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/dataset/rituals",
"title": "Thai Rituals"
} |
บุญเลี้ยงบ้านไทพวน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
ประเภท: ประเพณีเกี่ยวกับการทำมาหากิน,ประเพณีตามเทศกาล หรือประเพณี 12 เดือน,ประเพณีเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองและเพื่อสิริมงคล
หัวเรื่อง: บุญเลี้ยงบ้าน, บุญกลางบ้าน, บุญซำฮะบ้าน, ต้นมะขามใหญ่, ไทพวนบ้านกลาง
รายละเอียด: ชุมชนบ้านกลาง ตำบลปากตม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เป็นชุมชนของชาวไทพวนที่อพยพมาจากเมืองพวนทางตอนเหนือของประเทศลาวในปัจจุบันเมื่อกว่า 200 ปีมาแล้ว ชุมชนชาวไทพวนแห่งนี้ยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ของตนเองอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานประเพณีบุญเลี้ยงบ้านเดือนหก หรือบุญซำฮะบ้าน ซึ่งเป็นงานประเพณีที่ชาวบ้านกลางต้องปฏิบัติเป็นประจำทุกปี เพื่อความเป็นศิริมงคลและความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน
พื้นที่: บ้านกลาง ตำบลปากตม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
ช่วงเวลา: วันขึ้น 5 ค่ำ ถึงวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ตามเวลาทางจันทรคติ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/dataset/rituals",
"title": "Thai Rituals"
} |
งานพระยากตะศิลารำลึก
ประเภท: ประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์,ประเพณีเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองและเพื่อสิริมงคล
หัวเรื่อง: กลุ่มชาติพันธุ์,เยอ,เญอ,ราษีไศล,ศรีสะเกษ
รายละเอียด: งานพระยากตะศิลารำลึก เป็นประเพณีสำคัญของกลุ่มชาติพันธุ์ที่เรียกตนเองว่า “ชาวเยอ” หรือ “เญอ” ในจังหวัดศรีสะเกษ จัดขึ้นเพื่อบวงสรวง ถวายสักการะบูชา และรำลึกถึงบุญคุณพระยากตะศิลา ผู้ก่อตั้งเมืองกตะศิลาและเป็นผู้นำท้องถิ่นคนสำคัญ โดยจะจัดทุกปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ณ บ้านหลุบโมก ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
พื้นที่: วัดเมืองคง บ้านหลุบโมก ต.เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
ช่วงเวลา: ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/dataset/rituals",
"title": "Thai Rituals"
} |
พิธีศพชาวจีนคาทอลิก บางนกแขวก
ประเภท: ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต
หัวเรื่อง: งานศพ,คาทอลิก,ชาวจีน
รายละเอียด: ชาวจีนคาทอลิกบ้านบางนกแขวก มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างไปจากชาวจีนกลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะความเชื่อเรื่องความตายและพิธีศพ มีการผสมผสานความเชื่อดั้งเดิมในเรื่องการนับถือและการปฏิบัติต่อวิญญาณบรรพบุรุษไว้ในพิธีกรรมเกี่ยวกับงานศพ โดยปรับรูปแบบประเพณีพิธีกรรมให้ไม่ขัดแย้งกับระบบความเชื่อของคริสต์ศาสนา
พื้นที่: วัดแม่พระบังเกิดบางนกแขวก
ช่วงเวลา: - | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/dataset/rituals",
"title": "Thai Rituals"
} |
งานสืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทยทรงดำ วัดใหม่บางปืน
ประเภท: ประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์
หัวเรื่อง: ไทยทรงดำจังหวัดสมุทรสงคราม, ลาวซ่วง ,ลาวโซ่ง, ไทดำ
รายละเอียด: งานประเพณีไทยทรงดำจังหวัดสมุทรสงคราม ริเริ่มจัดขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ 2544 โดยพระมหาจรูญ ฐานกโร ท่านเจ้าอาวาสวัดใหม่บางปืน(วัดบังปืน) กำหนดวันที่ 1 พฤษภาคม ตรงกับวันแรงงานแห่งชาติเป็นวันจัดงานของทุกปี ในวันนี้ชาวไทยทรงดำจากหลายจังหวัดของประเทศไทยจะมารวมตัวกัน เป็นการพบปะสังสรรค์ทำบุญร่วมกันที่วัดและสืบสานวัฒนธรรมประเพณี
พื้นที่: วัดใหม่บางปืน ตำบลนางตะเคียน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
ช่วงเวลา: วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/dataset/rituals",
"title": "Thai Rituals"
} |
นมัสการและสรงน้ำหลวงพ่อบ้านแหลม
ประเภท: ประเพณีตามเทศกาล หรือประเพณี 12 เดือน,ประเพณีเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองและเพื่อสิริมงคล
หัวเรื่อง: หลวงพ่อบ้านแหลม,สมุทรสงคราม,แม่กลอง,วัดเพชรสมุทรวรวิหาร,สงกรานต์
รายละเอียด: หลวงพ่อบ้านแหลม คือพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตรหล่อด้วยทองเหลือง เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดเพชรสมุทรวรวิหาร หรือที่เรียกว่าวัดบ้านแหลม งานประเพณีนมัสการและสรงน้ำหลวงพ่อบ้านแหลม จัดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ปีนี้จัดในวันที่ 13-19 เดือนเมษายน 2561
พื้นที่: วัดเพชรสมุทรวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
ช่วงเวลา: 13 - 19 เมษายน (ตรงกับช่วงวันสงกรานต์ ) | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/dataset/rituals",
"title": "Thai Rituals"
} |
แห่ปราสาทผึ้งจังหวัดสกลนคร
ประเภท: ประเพณีตามเทศกาล หรือประเพณี 12 เดือน
หัวเรื่อง: สกลนคร,ปราสาทผึ้้ง,ออกพรรษา,พุทธศาสนา
รายละเอียด: ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งจังหวัดสกลนครถือเป็นประเพณีงานบุญสำคัญและเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสกลนคร ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งจะจัดขึ้นในช่วงเดือน 11 หรือช่วงออกพรรษา ในงานแห่ปราสาทผึ้งจังหวัดสกลนคร ชาวบ้านจากทุกหมู่บ้านจะมีการจัดทำปราสาทซึ่งสร้างมาจากขี้ผึ้งเป็นส่วนประกอบหลัก จากนั้นจะมีการจัดขบวนแห่อย่างสวยงาม
พื้นที่: วัดพระธาตุเชิงชุม จ.สกลนคร
ช่วงเวลา: ขึ้น 15 ค่ำ หรือ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/dataset/rituals",
"title": "Thai Rituals"
} |
โนราโรงครู
ประเภท: ประเพณีเกี่ยวกับการรักษาโรค,ประเพณีเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองและเพื่อสิริมงคล
หัวเรื่อง: โนรา, พัทลุง
รายละเอียด: ในภาคใต้ “มโนราห์หรือโนรา” เชื่อกันว่าเป็นประเพณีวัฒนธรรมซึ่งเป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษมาตั้งแต่ครั้งอาณาจักศรีวิชัย บรรพบุรุษผู้ให้วิชาศิลปะโนราตั้งแต่แรกเริ่มจึงได้รับการบูชาให้เป็นดั่ง “ครู” มาทุกยุคทุกสมัยจวบจนปัจจุบัน การปฏิบัติต่อศิลปะแขนงนี้ให้ถูกต้องตามขนบสังคมปฏิบัติจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งครูในที่นี่ก็หมายถึง “ครูหมอโนรา” หรือ “ครูหมอตายาย” เหล่านี้เป็นความเชื่อเรื่องผีในวัฒนธรรมโนรา “โนราโรงครู” การจัดพิธีนี้เชื่อว่าจะนำความเจริญมาสู่ลูกหลาน เป็นพิธีกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเอาใจผีบรรพบุรุษที่ดูแลปกปักรักษาลุกหลาน ตลอดจนได้ช่วยเหลือทุกข์ยากต่างๆ โดยมีนายโรงโนราเป็นผู้ดำเนินพิธี
พื้นที่: วัดท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
ช่วงเวลา: ขึ้น 3 ค่ำ, 4ค่ำ ถึง ขึ้น 15 ค่ำ เดือนหก | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/dataset/rituals",
"title": "Thai Rituals"
} |
การเล่นผีบ่ากวัก
ประเภท: ประเพณีเกี่ยวกับการทำมาหากิน,ประเพณีตามเทศกาล หรือประเพณี 12 เดือน
หัวเรื่อง: ผี,วิญญาณ,ล้านนา,การละเล่น,บ้านโฮ่ง
รายละเอียด: “บ่ากวัก” เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้พันเส้นด้ายในขบวนการทอผ้าฝ้ายของคนล้านนา ทำจากเส้นตอกผิวไม้ไผ่ที่นำมาสานขึ้นรูปร่างที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีคติความเชื่อในขั้นตอนการสานบ่ากวักที่ไม่เหมือนการสานเครื่องใช้อย่างอื่น คือช่างผู้สานบ่ากวักจะต้องสานบ่ากวักนอกเรือนอาศัย โดยส่วนใหญ่ช่างจะไปสานในชายป่าหรือในร่องห้วยใกล้ๆ ที่พักอาศัยให้เสร็จ แล้วถึงจะนำมาเก็บไว้ในบ้าน วิธีการสานนั้นช่างจะจักตอก โดยใช้ในส่วนของผิวไม้ไผ่เท่านั้น และสานในขณะที่ไม้ยังดิบอยู่
พื้นที่: อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
ช่วงเวลา: สงกรานต์ 14-16 เมษายน | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/dataset/rituals",
"title": "Thai Rituals"
} |
การเล่นผีนางเหนี่ยง
ประเภท: ประเพณีเกี่ยวกับการทำมาหากิน,ประเพณีเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองและเพื่อสิริมงคล
หัวเรื่อง: สงกรานต์,ล้านนา,การละเล่น
รายละเอียด: “ผีนางเหนี่ยง” เป็นประเพณีการเล่นเข้าผีของชาวล้านนาที่นิยมเล่นกันในชุมชนชนบท คล้ายกับการเล่นผีบ่ากวัก ข้อมูลเกี่ยวกับการเล่นผีนางเหนี่ยง จากเอกสารอัดสำเนาเรื่อง “พิธีกรรมความเชื่อด้านจิตวิญญาณ(ผี) ของคนล้านนา” โดยยงยุทธ เกษมส่งสุข กล่าวถึงการสัมภาษณ์นางสุธรรม วังเขียว ที่บ้านวังหลวง ต.ป่าพลู อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน ว่าแต่เดิมที่บ้านวังหลวงนิยมเล่นผีนางเหนี่ยงควบคู่กับการเล่นผีบ่ากวักในช่วงเทศกาลสงกรานต์ แต่ปัจจุบันการเล่นผีนางเหนี่ยงไม่นิยมเล่นกันแล้ว
พื้นที่: บ้านวังหลวง ต.ป่าพลู อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
ช่วงเวลา: สงกรานต์ 14-16 เมษายน (ปี๋ใหม่เมือง) | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/dataset/rituals",
"title": "Thai Rituals"
} |
ไกว๋ข้าว
ประเภท: ประเพณีเกี่ยวกับการรักษาโรค
หัวเรื่อง: ล้านนา,เจ็บป่วย
รายละเอียด: “ไกว๋ข้าว” เป็นพิธีกรรมความเชื่อของคนล้านนา ที่ยังคงมีการปฏิบัติและสืบทอดจนในชุมชนบ้านทุ่งม่าน หมู่ที่ 4 ต.ป่าพลู อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน แม่อุ้ยคำ ภูธร ปัจจุบันอายุ 98 ปี หนึ่งในผู้ที่สืบทอดพิธีกรรมนี้อธิบายว่า พิธีการไกว๋ข้าว จะทำในเฉพาะกรณีเด็กแรกเกิดที่เกิดมาแล้ว พ่อแม่เห็นว่าแสดงอาการร้องไห้แบบผิดปกติ ไม่เหมือนเด็กที่ร้องไห้ธรรมดาโดยทั่วไป
พื้นที่: บ้านทุ่งม่าน หมู่ที่ 4 ต.ป่าพลู อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
ช่วงเวลา: - | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/dataset/rituals",
"title": "Thai Rituals"
} |
การเล่นนางกวัก ไทยพวนบ้านทราย
ประเภท: ประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์
หัวเรื่อง: สงกรานต์,ไทยพวน,การละเล่น,กำฟ้า
รายละเอียด: เมื่อได้ยินคำว่า “นางกวัก” คนส่วนใหญ่จะนึกถึงตุ๊กตานางกวักนำโชคที่ตั้งอยู่บนหิ้งตามร้านค้าต่างๆ แต่สำหรับชาวไทยพวน ตำบลบ้านทราย อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี นางกวักหมายถึงการละเล่นพื้นบ้าน เป็นการเข้าทรง สอดคล้องกับความเชื่อเรื่องผีที่มีมาแต่โบราณ เช่นเดียวกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ
พื้นที่: ต.บ้านทราย อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี
ช่วงเวลา: สงกรานต์,งานบุญสารท(สารทพวน),งานกำฟ้า(ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3) | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/dataset/rituals",
"title": "Thai Rituals"
} |
บวชนาค ชาวมอญวัดคงคาราม
ประเภท: ประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์,ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต
หัวเรื่อง: บวชนาค,มอญ
รายละเอียด: พิธีบวชของชาวมอญคล้ายกับพิธีบวชของชาวไทยทั่วไป แต่มีรายละเอียดบางอย่างแตกต่างกัน พระอนุวัตร สุจิตฺโต ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์วัดคงคาราม ต. คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี อธิบายว่า การบวชแบบมอญที่วัดคงคารามจะมีพิธี 3 วัน แต่ก่อนหน้านั้นพ่อแม่จะต้องใช้เวลาเตรียมงานนานหลายเดือน โดยเฉพาะเครื่องแต่งกายของนาคที่ต้องใช้ถึง 3 ชุด
พื้นที่: วัดคงคาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ช่วงเวลา: นิยมจัดงานช่วงใกล้เข้าพรรษา | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/dataset/rituals",
"title": "Thai Rituals"
} |
แซงสนามไทโส้ บ้านกุดฮู สกลนคร
ประเภท: ประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์,ประเพณีเกี่ยวกับการรักษาโรค
หัวเรื่อง: แซงสนาม, ไทโส้, หมอเหยา
รายละเอียด: ชาวไทโส้บ้านกุดฮูยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของชนเผ่าเรื่อยมา โดยเฉพาะพิธีกรรมเหยาซึ่งเป็นพิธีกรรมที่ใช้ในการรักษาคนป่วย และทุกปีจะมีประเพณี “แซงสนาม” หรือประเพณี “แซงสนัมประจำกะมอ” ซึ่งเป็นประเพณีพื้นบ้านในกลุ่มคนชาวไทโส้ที่เชื่อว่าผีเป็นวิญญาณที่มีอำนาจลึกลับ สามารถทำให้คนเจ็บป่วยได้ การบำบัดรักษามิให้ร่างกายเจ็บป่วยคือ การป้องกันมิให้วิญญาณผีเข้าสิงในร่างได้อีกหลังจากที่ได้ทำพิธีปัดเป่าให้ผีออกไปจากร่างกาย โดยแม่ครูหรือแม่หมอ ทำพิธีเหยาคุมผีให้ออกไปแล้ว
พื้นที่: บ้านหมอเหยา เลขที่ 60 บ้านกุดฮู หมู่ที่ 16 ตำบลโพธิไพศาล อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร
ช่วงเวลา: ภายในเดือน 4 – 5 ตามเวลาทางจันทรคติ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/dataset/rituals",
"title": "Thai Rituals"
} |
เลี้ยงหอเจ้าบ้านไทดำ
ประเภท: ประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์,ประเพณีเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองและเพื่อสิริมงคล
หัวเรื่อง: แถบ,ไทดำ,ไทยทรงดำ, บ้านนาป่าหนาด
รายละเอียด: ชาวไทดำเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีศาสนา ความเชื่อเป็นของตนเอง ที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นนั่นคือการนับถือบรรพบุรุษของตนเองที่ล่วงลับไปแล้ว และนับถือแถนซึ่งชาวไทดำเชื่อว่าเป็นเทพเจ้าที่ให้กำเนิดชาวไทดำที่เรียกกันว่า “แถนหลวง” ที่เป็นใหญ่เหนือทุกสิ่งบนโลกและนับถือเจ้าป่าเจ้าเขา อีกทั้งชาวไทดำยังให้ความสำคัญกับผู้ที่มีพระคุณต่อชาวไทดำ เมื่อชาวไทดำไม่ว่าจะอพยพไปอยู่ที่ไหนก็มักจะมีการตั้งหอ (ศาลขนาดเล็ก) เพื่อรำลึกถึงเทพเจ้าและของบรรพบุรุษ หรือเจ้าที่เจ้าทางก็ดี ให้คอยปกป้องคุ้มครองรักษาชาวไทดำที่อาศัยอยู่ที่นี้ให้อยู่เย็นเป็นสุขตลอดไป ด้วยเหตุนี้จึงมีพิธีกรรมเลี้ยงหอเจ้าบ้านขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระคุณทั้งยังเป็นตอบแทนที่คอยช่วยเหลือปกป้องคุ้มครองรักษาชาวไทดำให้อยู่ดีมีสุข
พื้นที่: บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
ช่วงเวลา: วันพฤหัสบดีของสัปดาห์แรกหรือสัปดาห์ที่สองเดือน 6 ตามเวลาทางจันทรคติ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/dataset/rituals",
"title": "Thai Rituals"
} |
ย่านชุมชนเก่า: นครชุม
ที่อยู่: ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ภาคกลาง
ลักษณะสำคัญ: นครชุม เป็นชุมชนตลาดการค้า ที่มีประวัติความเป็นมากว่า 700 ปี ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างและค้าขาย เนื่องจากไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอื่นใด ที่จะเอื้ออำนวยให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ประชาชน นอกจากภูมิปัญญาพื้นบ้าน ขนบธรรมเนียมประเพณี มรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น ชุมชนนี้ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกำแพงเพชร มีลักษณะเป็นชุมชนเมืองที่มีความหนาแน่นปานกลาง มีกลุ่มอาคารพาณิชยกรรมแบบดั้งเดิม เรือนแถวไม้ทอดตัวเรียงรายตามถนน พื้นที่ในกลุ่มชุมชนมีลักษณะการรวมกลุ่มเป็น cluster ในลักษณะย่านการค้า ประกอบด้วย ถนนสายสำคัญสองสาย ได้แก่ ถนนสาย 1078 และถนนขนานคลองสวนหมาก โดยพื้นที่ติดถนนเป็นอาคารเรือนแถวไม้พาณิชยกรรม เป็นช่วงประมาณ 4-5 คูหา ด้านหลังอาคารพาณิชยกรรมสลับด้วยบ้านพักอาศัย ฐานเศรษฐกิจของชุมชนเป็นย่านการค้า ได้แก่ ตลาด การค้าปลีกที่สำคัญของจังหวัด นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมชุมชนในรูปแบบถนนคนเดินในวันหยุด โดยมีการจำลองบรรยากาศตลาดแบบย้อนยุค บรรยากาศภายในตลาดจะมีพ่อค้า แม่ค้า แต่งกายด้วยชุดไทย นำอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวนครชุมหรือร่วมสมัยวางจำหน่าย นอกจากนี้ ยังมีการสาธิตการทำอาหารพื้นบ้าน หรือศิลปหัตถกรรม อาทิ การจักสานไม้ไผ่ งานฝีมือใบตอง หรือการวาดรูป ระบายสี มุ่งเน้นการแต่งกายพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรม ร่วมสมัย และอื่น ๆ อีกจำนวนมาก | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านพรานกระต่าย
ที่อยู่: ตำบลถ้ำกระต่ายทอง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ภาคกลาง
ลักษณะสำคัญ: บ้านพรานกระต่าย เป็นชุมชนเกษตรกรรมชนบท ที่มีเรื่องเล่ากันว่ามีนายพรานได้พบกระต่ายขนสีทองสวยงามมากบริเวณหน้าถ้ำแห่งหนึ่งและก็ได้หายเข้าไปในถ้ำ ต่อมาจึงกราบบังคมทูลพระร่วงให้ทรงทราบและรับอาสาจะจับกระต่ายตัวดังกล่าวและได้ใช้ความพยายามที่จะจับหลายครั้ง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จจึงได้สร้างบ้านถาวรขึ้นหน้าถ้ำเพื่อรอจับกระต่าย หลายปีต่อมามีคนมาพบนายพรานจึงพากันอพยพมาอยู่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นหมู่บ้านชาวบ้านจึงพร้อมกันตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านพรานกระต่าย" ลักษณะภูมิประเทศของบ้านพรานกระต่ายเป็นที่ราบลาดเทจากตะวันตกไปตะวันออกเป็นป่าไม้ภูเขาหินสูงชัน ทางทิศตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มเหมาะสมกับการทำเกษตรและเป็นที่ชุมชนหนาแน่น บ้านเรือนส่วนมากเป็นรูปแบบสมัยใหม่ มีอาคารไม้เก่าเหลืออยู่จำนวนไม่มาก ผู้คนในชุมชนมีอาชีพทำการเกษตรกรรมค้าขายและรับจ้างทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านห้วยแม่ซ้าย (บ้านยะฟู)
ที่อยู่: ตำบลแม่ยาว อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านห้วยแม่ซ้าย เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนชาติพันธุ์ของชาวเขาเผ่ามูเซอแดง ที่อพยพมาจากพม่าเข้าสู่ประเทศไทย อาศัยอยู่บริเวณดอยตุง เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2510 ได้อพยพเคลื่อนย้ายมาอยู่บริเวณบ้านยะฟูเดิม ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของบ้านดอยยาวปัจจุบัน ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบระหว่างภูเขาและมีภูเขาสูงล้อมรอบชุมชน มีลำห้วยแม่ซ้ายไหลผ่านทางทิศใต้ของพื้นที่ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญของชุมชน เป็นชุมชนเรือนไม้เดี่ยวที่ตั้งอยู่บนที่ราบระหว่างภูเขา พื้นดินยังมีลักษณะลาดเอียงเล็กน้อย กระจุกตัวเป็นกลุ่มโดยมีถนนแม่ฟ้าหลวง (1207) ตัดผ่านกลางหมู่บ้าน มีความต่อเนื่องใกล้ชิดกัน มีเรือนไม้เก่าที่มีสภาพดั้งเดิม คือ ยกใต้ถุนสูง หลังคามุงจากหลงเหลืออยู่บ้าง ภายในชุมชนมีการจัดการเรื่องการท่องเที่ยวของชุมชนตามศักยภาพของชุมชน มีการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ แบบดั้งเดิมอยู่ ปัจจุบันมีอาชีพที่สำคัญ ได้แก่ อาชีพการเกษตร อาชีพเลี้ยงสัตว์ อาชีพหัตถกรรมฝีมือพื้นบ้านของกลุ่มแม่บ้าน | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านถ้ำผาตอง
ที่อยู่: ตำบลท่าสุด อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านถ้ำผาตอง เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนกลุ่มอาชีพเฉพาะ เป็นแหล่งศึกษาและการเรียนรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ผลิตและขายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) โดยมีนายคำจันทร์ ยาโน เป็นผู้ถ่ายทอดการแกะสลักไม้ เช่น กระบวยตักน้ำกะลามะพร้าว ให้ความรู้ ทั้งนักศึกษา นักวิจัย เป็นระยะเวลา 27 ปี ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ทำการเกษตรกรรม ปลูกพืชไร่ พืชสวน มีบ้านเรือนตั้งอยู่กระจายภายในชุมชน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดตั้งบ้านแสดงไม้แกะสลักเป็นพิพิธภัณฑ์ โดยได้รับความสนับสนุนจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ให้เป็นศูนย์กลางของการแกะสลักไม้ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร
ที่อยู่: ตำบลแม่ยาว อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร เป็นชุมชนเกษตรกรรม ชุมชนตลาด ชุมชนริมน้ำ และเป็นชุมชนชาติพันธุ์ของชาวกะเหรี่ยง เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงนิเวศริมแม่น้ำกก มีปางช้างสำหรับพานักท่องเที่ยว เที่ยวชมรอบ ๆ หมู่บ้าน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยง นับถือศาสนาคริสต์ ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่สูงและพื้นที่ราบ โดยมีถนนสายหลักตัดผ่านหมู่บ้าน และมีแม่น้ำกกไหลผ่าน มีเส้นทางท่องเที่ยวโดยรอบหมู่บ้าน บ้านเรือนอยู่อย่างหนาแน่น ปัจจุบันเป็นชุมชนหนึ่งของการท่องเที่ยวริมแม่น้ำกก เป็นหมู่บ้านที่จัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ค้าขาย และเน้นการท่องเที่ยว | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านโป่งน้ำร้อน
ที่อยู่: ตำบลดอยฮาง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านโป่งน้ำร้อน เป็นชุมชนชาติพันธุ์ของคนเมือง (ไทยวน) อาข่า จีนยูนาน และลีซอ เป็นแหล่งศึกษาวัฒนธรรมของชุมชนที่หลากหลาย ของกลุ่ม 4 ชาติพันธุ์ ลักษณะภูมิประเทศตั้งอยู่ในหุบเขา อากาศเย็นตลอดปี แบ่งออกเป็น 4 หย่อมบ้าน คือ หย่อมบ้านคนเมือง หย่อมบ้าน สองแคว (คนจีน) หย่อมบ้านอาข่า และหย่อมบ้านลีซอ เป็นชุมชนอยู่ระหว่างถนนสายรอง และอีกด้านของชุมชนติดริมแม่น้ำกก มีบ่อน้ำพุร้อนซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน และมีพื้นที่สำหรับการปลูกชา มีภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องการรักษาแบบพื้นบ้าน จักสาน ทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ และเมี่ยงชา | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านจะคือ
ที่อยู่: ตำบลห้วยชมพู อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านจะคือ เป็นชุมชนเกษตรกรรม ชุมชนริมน้ำ และชุมชนชาติพันธุ์ของชาวลาหู่ โดยหมู่บ้านจะคือ ตั้งตามชื่อของผู้นำหมู่บ้านคนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2514 บริเวณริมแม่น้ำกก จำนวน 25 หลังคาเรือน มีป่าเขาล้อมรอบหมู่บ้าน มีแม่น้ำกกไหลผ่าน เป็นชาติพันธุ์ชาวลาหู่ ที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ ประเพณี และความเชื่อดั้งเดิมไว้ ลักษณะภูมิประเทศอยู่บนพื้นที่สูง มีป่าเขาล้อมรอบหมู่บ้าน และแม่น้ำกกไหลผ่าน ถนนเข้าหมู่บ้านเป็นดินลูกรัง เป็นหมู่บ้านที่คงสถานที่สำคัญและเอกลักษณ์ของชนเผ่าลาหู่ เช่น ลานพิธีกรรม ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม ตลอดจนจัดกิจกรรมของชุมชน และเนื่องจากระบบไฟฟ้ายังไม่มี ภายในชุมชนจึงใช้ระบบ Solar cell ทดแทน มีอาชีพทำพืชไร่ เช่น ข้าวโพด | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านสันป่าก่อ
ที่อยู่: ตำบลรอบเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านสันป่าก่อ เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนชาติพันธุ์ของชาวไทใหญ่ที่อพยพมาจากประเทศพม่า เป็นชุมชนที่คงวัฒนธรรมของตนเองได้อย่างดี แม้อยู่ท่ามกลางบริบทของพื้นที่เมือง ลักษณะภูมิประเทศ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองเชียงราย หมู่ที่ 13 ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงราย ประมาณ 3 กิโลเมตร บริเวณใกล้เคียงกับชุมชนเป็นสถานบันเทิง โรงแรม สนามบินของกองทัพอากาศ เป็นชุมชนโบราณที่มีสถาปัตยกรรมบ้านเรือนเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมไทใหญ่ โดยเฉพาะในวัดสันป่าก่อ ที่ประกอบด้วยอาคารรูปแบบไทใหญ่อยู่หลายหลัง ผู้คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย โดยเฉพาะร้านอาหารพื้นถิ่นของชาวไทใหญ่ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านฮ่องแฮ่หลวง
ที่อยู่: ตำบลแม่ไร่ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านฮ่องแฮ่หลวง เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนกลุ่มอาชีพเฉพาะ ไม่มีประวัติของชุมชนที่ชัดเจน ลักษณะภูมิประเทศ มีลักษณะเป็นที่ราบขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่ห่างจากพื้นที่เขาจากทางทิศตะวันตกไปประมาณ 5 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นผืนนาขนาดใหญ่มาก ไม่มีพื้นที่ป่าตามธรรมชาติในบริเวณที่ราบ เป็นชุมชนเรือนเดี่ยว ซึ่งโดยมากยังเป็นเรือนไม้หลังคาสังกะสี มีสภาพดี กระจุกตัวอยู่ตามถนนสายรองที่แยกออกมาจากถนนพหลโยธิน โดยบ้านเรือนวางตัวใกล้ชิดกัน ล้อมรอบชุมชนด้วยพื้นที่ผืนนาขนาดใหญ่ อาชีพหลัก คือ การทำนา ทำสวน ทำไร่ อาชีพเสริม คือ ทำเสื่อกก | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านศรีดอนชัย
ที่อยู่: ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านศรีดอนชัย เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนชาติพันธุ์ของชาวไทลื้อ เดิมตั้งอยู่ที่เมืองอูเหนือ แคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนนานประเทศจีนตอนใต้ ต่อมาการทำมาหากินขัดสนและถูกจีนรุกราน ในปี พ.ศ. 2428 ชาวไทลื้อจำนวน 994 คน จึงได้อพยพมายังที่ตั้งปัจจุบัน ลักษณะภูมิประเทศตั้งอยู่ตอนบนสุดของประเทศไทย มีอาณาเขตติดกับประเทศลาว กั้นโดยแม่น้ำแม่โขง พื้นที่ล้อมรอมด้วย สวน ไร่ นา และมีพื้นที่ป่าธรรมชาติแทรกตัวอยู่ เป็นชุมชนที่โดดเด่นเรื่องการทอผ้า มีอาชีพหลักทั่วไปเป็นการทำนาและทำสวน แต่ที่โดดเด่นคือ กลุ่มทอผ้าบ้านศรีดอนชัย เป็นภูมิปัญญากลุ่มทอผ้าสตรีบ้านศรีดอนชัย เกิดจากการรวบรวมกลุ่มสตรีในหมู่บ้านมารวมกลุ่มกัน เพื่อผลิตและทอผ้า ส่วนใหญ่จะเป็นลายไทลื้อ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายมากขึ้น เช่น ซองใส่โทรศัพท์ ผ้าปูโต๊ะ ที่รองแก้ว ฯลฯ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านหาดบ้าย
ที่อยู่: ตำบลริมโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านหาดบ้าย เป็นชุมชนเกษตรกรรม ชุมชนริมน้ำ และชุมชนชาติพันธุ์ของชาวไทลื้อ ประวัติศาสตร์ชุมชน เดิมตั้งอยู่ที่เมืองอูเหนือ แคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีนตอนใต้ ต่อมาการทำมาหากินขัดสนและถูกจีนรุกราน จึงได้อพยพ ย้ายหนีออกมาอยู่บ้านหาดบ้าย ปัจจุบันมีชนเผ่าอื่นเข้ามาอยู่ด้วยในบริเวณใกล้เคียง โดยชาวบ้านหาดบ้ายยินดีและยอมรับมากขึ้น ลักษณะภูมิประเทศตั้งอยู่บนพื้นที่ราบลุ่มฝั่งแม่น้ำโขงทางด้านตอนเหนือของดอยหลวง ชายแดนระหว่างอำเภอเชียงของ-เชียงแสน รวมทั้งชายแดนประเทศไทยและลาว มีแม่น้ำโขงกั้นพรมแดนลักษณะเป็นพื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่ใกล้ริมแม่น้ำโขง เป็นชุมชนที่มีอาชีพทอผ้า โดยกระจายตัวภายในชุมชนในบ้านเรือนแต่ละหลัง บ้านเรือนส่วนใหญ่ยังคงเป็นรูปแบบโบราณชาวไทลื้อ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านดอยหัวแม่คำ
ที่อยู่: ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านดอยหัวแม่คำ เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนชาติพันธุ์ของชาวอาข่า ลาหู่ ที่ได้อพยพมาจากพม่ามาอยู่ประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2423 ที่ดอยพญาไพร ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟู่หลวง จังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2462 มีการย้ายถิ่นฐานบ่อยครั้ง เพื่อเปลี่ยนที่ทำกินและหนีโรคระบาด ลักษณะภูมิประเทศตั้งอยู่บนสันเขา ตะเข็บชายแดนไทย-พม่า อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,850 เมตร สภาพโดยรอบเป็นที่เขาสูงชัน มีป่าธรรมชาติหนาแน่น ทางทิศตะวันตกเป็นพื้นที่เพาะปลูกทางทิศตะวันออก มีสภาพเป็นชุมชนเรือนไม้หลังคามุงจากแบบดั้งเดิม มีอาคารสมัยใหม่อยู่น้อยใช้สำหรับรองรับการท่องเที่ยว พื้นที่ชุมชนอยู่ผสานไปกับพื้นที่ป่า มีภูมิทัศน์กว้าง มองเห็นพื้นที่ระดับต่ำลงไปได้อย่างทั่วถึง อาชีพหลัก คือ ทำนา ทำสวน ทำไร่ และอาชีพเสริม คือ ทำเสื่อกก | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านห้วยน้ำขุ่น
ที่อยู่: ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านห้วยน้ำขุ่น เป็นชุมชนเกษตรกรรม ชุมชนริมน้ำ และชุมชนชาติพันธุ์ของชาวไทใหญ่ ไทลื้อ ลัวะ อาข่า ลาหู่ และลีซอ มีชื่อเดิมว่า บ้านใหม่สูง ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทใหญ่ สื่อสารด้วยตัวอักษรไทใหญ่ เป็นชุมชนต้นแบบของชุมชนพลัดถิ่น ลักษณะภูมิประเทศ เป็นป่าอุดมสมบูรณ์ มีไม้ไผ่ และไม้ตองเป็นส่วนใหญ่ มีเส้นทางน้ำไหลผ่านกลางหมู่บ้าน โดยแหล่งน้ำในบ้านห้วยน้ำขุ่นมี 2 แห่ง คือ ลำห้วยช้าง และลำห้วยแม่ไร่ บ้านห้วยน้ำขุ่นถูกรายล้อมด้วยภูเขาและธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ ผู้คนส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขาย ทำเกษตรกรรม และเลี้ยงสัตว์ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านสันติคีรี
ที่อยู่: ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านสันติคีรี เป็นชุมชนเกษตรกรรม ชุมชนตลาด และชุมชนชาติพันธุ์โดยเป็นหมู่บ้านของชาวจีนอพยพกองพลที่ 93 ที่มาจากประเทศจีน บริเวณดอยแม่สลองประกอบด้วยหลายชุมชน ในตำบลแม่สลอง มีเชื้อชาติ 2 กลุ่ม ได้แก่ จีนฮ่อ (ยูนนาน) และอาข่า เป็นส่วนใหญ่ ลักษณธภูมิประเทศ เป็นพื้นที่บนภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,200 เมตร เป็นยอดดอยหนึ่งในภูเขาแดนลาว เป็นชุมชนค้าขายขนาดใหญ่บนพื้นที่ของดอยแม่สลอง ส่วนใหญ่เป็นร้านค้าดั้งเดิมโบราณค้าขายอาหารจีนยูนนาน และชา รูปแบบอาคารยังคงเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีนดั้งเดิม ผู้คนส่วนใหญ่มีอาชีพทำการเกษตรกรรมและค้าขาย โดยปลูกชาจีน กาแฟ พืชผัก และดอกไม้เมืองหนาว | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านแสนเจริญเก่า
ที่อยู่: ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านแสนเจริญเก่า เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนชาติพันธุ์ของชาวอาข่า (อีก้อ) เดิมมีชื่อว่า หมู่บ้านห้วยป่าเคาะ เนื่องจากมีป่าเคาะมาก ตั้งอยู่ตามแนวเขา มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ และมีระบบจัดการป่าที่ค่อนข้างดีเพราะมีความเชื่อในเรื่องการรักษาป่า น้ำ ดิน และอากาศ ลักษณะภูมิประเทศ ที่ตั้งของชุมชนจะอยู่ตามแนวเขา มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะป่าเบญจพรรณ บ้านเรือนส่วนใหญ่ถูกปรับเปลี่ยนจากรูปแบบของชาวอาข่าเดิม โดยส่วนมากเป็นบ้านไม้สองชั้นปลูกไล่เลียงไปตามไหล่เขา และในแต่ละหลังมีพื้นที่เก็บผลิตผลทางการเกษตร โดยส่วนใหญ่จะปลูกข้าวโพด พืชตระกูลถั่ว และลิ้นจี่ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านห้วยขี้เหล็ก
ที่อยู่: ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านห้วยขี้เหล็ก เป็นชุมชนเกษตรกรรรม และชุมชนชาติพันธุ์ของชาวอาข่า ลักษณะภูมิประเทศจะอยู่บนเนินเขาและไหล่เขาทอดยาว สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800 เมตร พื้นที่ชุมชนมีภูเขาล้อมรอบ มีป่าไม้ รวมทั้งเป็นแหล่งรวมของพืชพันธุ์ สมุนไพรที่มีสรรพคุณยอดเยี่ยม มีเขตป่าอนุรักษ์และเขตป่าใช้สอย บ้านเรือนส่วนใหญ่ยังคงเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของชาวอาข่า ตั้งอยู่กระจายโดยรอบชุมชน มีอาชีพทำเกษตรกรรม และป่าสมุนไพร | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านป่าส้าน
ที่อยู่: ตำบลเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านป่าส้านเป็นชุมชนเกษตรกรรม โดยชุมชนก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2420 โดยกลุ่มชาวล้านนาที่อพยพมาจากบ้านถ้ำ บ้านขอ บ้ามเอื้อม และบ้านแจ้ห่ม ในเขตจังหวัดลำปาง โดยชื่อของชุมชน มาจากบริเวณที่ตั้งนั้นมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์และมีไม้ส้านขึ้นหนาแน่น หมู่บ้านตั้งอยู่บนที่ลาดเชิงเขาระหว่างป่ากับพื้นราบ มีถนนตัดผ่านกลางหมู่บ้าน มีแม่น้ำลาวอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านที่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ และมีระบบจัดการป่าที่ดี ส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านห้วยน้ำริน
ที่อยู่: ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านห้วยน้ำริน เป็นชุมชนเกษตรกรรม ชุมชนริมน้ำ และชุมชนชาติพันธุ์ของชนเผ่าลาหู่ แซแล มูเซอดำ ที่อาศัยอยู่รวมกันมานานแล้ว มีวัฒนธรรมของแต่ละชนเผ่า และโดดเด่นเรื่องการละเล่นเครื่องดนตรี ลักษณะภูมิประเทศตั้งอยู่บนที่ลาดเชิงเขาระหว่างป่ากับพื้นราบ พื้นที่ราบมีเพียงเล็กน้อย มีลำห้วยน้ำริน และลำห้วยแม่โถน้อย ไหลผ่านจากใต้ไปเหนือไปรวมกับแม่น้ำลาว เรื่อยลงสู่แม่น้ำโขง มีถนนตัดผ่านกลางหมู่บ้าน มีแม่น้ำลาวอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน บ้านเรือนส่วนใหญ่ยังคงเป็นเรือนพื้นถิ่นดั้งเดิม โดยในแต่ละหลังจะมียุ้งข้าวและคอกไก่ประจำบ้าน รวมไปถึงครกกระเดื่องตำข้าว มีอาชีพทำเกษตรกรรม ปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด หัตถกรรมของชาวเขา การทอผ้า และทำเครื่องเงินแบบกรรมวิธีโบราณ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านห้วยหินลาดใน
ที่อยู่: ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านห้วยหินลาดใน เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนชาติพันธุ์ของชาวกะเหรี่ยงปกาเกอะญอ มีการตั้งถิ่นฐานประมาณ 80-100 ปีมาแล้ว มีจำนวน 22 ครัวเรือน ลักษณะภูมิประเทศล้อมรอบด้วยภูเขาที่สลับซับซ้อนของเทือกเขาอุทยานแห่งชาติขุนแจ เป็นต้นกำเนิดลำห้วยที่สำคัญกว่า 14 ลำห้วย ที่ไหลมารวมกัน เรียกบริเวณนี้ว่า หินลาดโกละ มีผืนป่าอนุรักษ์กว่า 10,000 ไร่ และบ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นรูปแบบสมัยใหม่ โดยมีการแบ่งพื้นที่อย่างชัดเจน ส่วนใหญ่มีอาชีพทำเกษตรกรรม | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: เวียงกาหลง
ที่อยู่: ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: เวียงกาหลง เป็นชุมชนเกษตรกรรม และเป็นชุมชนที่อยู่โดยรอบโบราณสถาน คือเมืองโบราณเวียงกาหลง สร้างขึ้นในช่วงประมาณ พ.ศ. 1500-1600 ซึ่งอยู่ในอาณาจักรแว่นแคว้นยวนเชียง (ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นเมืองเชียงลาวหรือเชียงรายในปัจจุบัน) จากการขุดค้นบริเวณเมืองโบราณ พบเตาเผาเครื่องเคลือบกว่า 200 เตา แสดงให้เห็นว่าในอดีตเมืองนี้เป็นชุมชนใหญ่ และตั้งอยู่ท่ามกลางเมืองต่าง ๆ ของอาณาจักรล้านนา ลักษณะภูมิประเทศตั้งอยู่บนเทือกเขาดอยดงในเทือกเขาดอยหลวง ในเขตบ้านป่าส้าน เมืองโบราณเวียงกาหลง ตั้งอยู่บนเนินเขา มีกำแพงคันดินและคูเมืองล้อมรอบ แบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ ๆ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 431 ไร่ คูเมืองและกำแพงคันดินโดยรอบยาว 3,350 เมตร ส่วนใหญ่มีอาชีพปั้นเครื่องปั้นดินเผา ทำเกษตรกรรม | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: เชียงแสน
ที่อยู่: ตำบลบ้านโป่ง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: เชียงแสน เป็นชุมชนริมน้ำ ชุมชนความทรงจำ และชุมชนที่อยู่โดยรอบโบราณสถาน เดิมเมืองเชียงแสนเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาในยุคแรก ๆ เดิมชื่อว่าเวียงหิรัญนครเงินยาง และในระยะเวลาต่อมา พญามังรายได้ส่งพญาแสนภูผู้เป็นหลานมาควบคุมดูแลเมืองบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำกกและแม่น้ำโขง โดยในระยะแรก พญาแสนภูเข้ามาพักชั่วคราวบริเวณปากแม่น้ำกก (เชียงแสนน้อยในปัจจุบัน) ต่อมาได้ช่วยสร้างเมืองเชียงแสนขึ้นตรงบริเวณพื้นที่ที่เคยเป็นเมืองเก่าเดิม ลักษณะภูมิประเทศ เป็นชุมชนโบราณตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง มีคูน้ำล้อมรอบ และมีกำแพงเมือง 3 ด้าน ยกเว้นด้านทิศตะวันออกเพราะใช้น้ำเป็นคูปราการ มีซากกำแพงเมืองโบราณ 2 ชั้น และโบราณสถานหลายแห่ง ภายในเขตกำแพงเก่าประกอบด้วยวัดร้างและโบราณสถานที่สร้างระหว่าง พุทธศตวรรษที่ 18-21 ส่วนใหญ่ผู้คนในชุมชนประกอบอาชีพค้าขาย | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: ย่านการค้า ถนนท่าแพ
ที่อยู่: ตำบลช้างคลาน อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: ย่านการค้าถนนท่าแพ เป็นชุมชนตลาด และชุมชนที่อยู่โดยรอบโบราณสถาน เดิมคือหมู่บ้านเชียงเรือก สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพญามังรายมหาราช เมื่อแรกตั้งเมืองเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 1839 จริง ๆ แล้วในสมัยโบราณ คำว่า "เชียง" หมายถึง เวียงหรือเมือง ส่วนคำว่า "เรือก" นั้นมีความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า "เรือ" หรือ "เฮือ" ซึ่งหมายถึง พาหนะที่ใช้เดินทางไปมา ทางแม่น้ำ คู คลอง ฝายเหมือง อยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่ ตรงกับประตูท่าแพ ปลายถนนฝั่งตะวันตกคือ ประตูท่าแพ ปลายถนนฝั่งตะวันออกคือ แม่น้ำปิง มีอาคารแถวพาณิชย์อายุ 60 ปี ที่มีคุณค่าทางศิลปะ ทั้งแบบยุโรปและเรือไม้โบราณ เป็นถนนเศรษฐกิจของเชียงใหม่มามากกว่า 100 ปี มีทั้งชาวพม่า ต่องสู้ และชาวจีน ที่ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาอยู่อาศัยตามแต่ละช่วงเวลา ปัจจุบันเป็นย่านการค้าตลอดเส้นทาง เปิดทำการค้าขายในเวลากลางคืนเพื่อเป็นอีกสถานที่ที่นักท่องเที่ยวจะสามารถมาจับจ่ายใช้สอยได้ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: ย่านการค้า ถนนวิชยานนท์
ที่อยู่: ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: ย่านการค้าถนนวิชยานนท์ เป็นชุมชนตลาด เป็นศูนย์กลางย่านพาณิชยกรรมของเมืองเมื่อคนจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐาน และปัจจุบันยังมีวิถีชีวิตของชุมชนเชื้อสายจีน ตลอดจนศาลเจ้าสำคัญหลงเหลืออยู่ มีถนนขนานกับถนนไปรษณีย์และแม่น้ำปิง อยู่ริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออก มีอาคารเก่าสภาพดีที่ไม่โดนไฟไหม้จากอดีตและมีการรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดี เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของตัวเมืองเชียงใหม่ เป็นศูนย์รวมสินค้าและของฝากของเมืองเชียงใหม่ เคยโดนไฟไหม้เมื่อปี พ.ศ. 2511 ทำให้บริเวณพื้นที่นี้เสียหายไป ก่อให้เกิดการพัฒนาขึ้นใหม่ แต่วิถีชีวิตการค้าขายยังคงเหมือนเดิม | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: ย่านการค้าถนนเจริญเมือง และย่านสถานีรถไฟ
ที่อยู่: ตำบลวัดเกต อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: ย่านการค้าถนนเจริญเมืองและย่านสถานีรถไฟ เป็นชุมชนตลาด และชุมชนรอบทางรถไฟ การมาถึงของรถไฟในสมัยก่อน นำชาวจีนจากกรุงเทพฯ เข้ามาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินในพื้นที่นี้เป็นจำนวนมาก ก่อนสถาปนาตัวเองเป็นย่านแหล่งรวมสินค้าที่จะส่งลงไปขายที่กรุงเทพฯ โดยเฉพาะพืชผลทางการเกษตรจากอำเภอรอบนอก เช่น ข้าว สุกร ยาสูบ และครั่ง รวมทั้งทำหน้าที่เป็นศูนย์กระจายสินค้าจากกรุงเทพฯ ส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ทั้งในเชียงใหม่และเมืองอื่น ๆ ในเขตตอนบน ชุมชนตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำปิง จากถนนเจริญเมืองปลายตาทางทิศตะวันตกจะเห็นดอยสุเทพเป็นที่หมายตาสำคัญ อาคารแถวไม้สองชั้นและอาคารแถวที่มีลวดลายการประดับตกแต่ง ที่เกิดขึ้นตามการพัฒนาของตลาดและสถานีรถไฟ ปัจจุบันหลงเหลือแต่ในซอย ตามถนนใหญ่จะเป็นอาคารแถวแบบปัจจุบัน เป็นชุมชนพาณิชยกรรมที่เกิดขึ้นตามการพัฒนาของสถานีรถไฟและตลาด ตลาดสันป่าข่อยเป็นตลาดเก่าแก่ที่คนเชียงใหม่รู้ดีว่ามีของกินที่อร่อย โดยเฉพาะเป็นอาหารของคนไทยเชื้อสายจีน | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: ย่านถนนราชมรรคาและถนนสิงหราช
ที่อยู่: ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: ย่านถนนราชมรรคาและถนนสิงหราช เป็นชุมชนตลาด และชุมชนโดยรอบโบราณสถาน แต่เดิมเป็นสถานที่ชุมนุมซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าของชาวเมือง ตัวย่านตั้งอยู่ในตัวกำแพงเมืองเก่าเชียงใหม่ วัดที่อยู่ในย่านเป็นวัดสำคัญและเก่าแก่ของจังหวัดเชียงใหม่ มีคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมไทย วัดเจดีย์หลวงมหาวิหารมีเจดีย์ที่สร้างสมัยพระเจ้าแสนเมือง ประมาณ พ.ศ. 1945 กว้าง 60 เมตร วัดสิงห์วรมหาวิหาร ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ เป็นวัดที่สำคัญในเชียงใหม่ สภาพบ้านเรือนของชุมชนเก่าแก่แทบไม่หลงเหลืออยู่ถูกแทนที่ด้วยการพัฒนาใหม่ ปัจจุบันเป็นย่านการค้าที่ไม่คึกคักมากนัก ส่วนใหญ่เป็นโรงแรมที่พัก และพาณิชยกรรมทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: ย่านสี่แยกตลาดช้างเผือก
ที่อยู่: ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: ย่านสี่แยกตลาดช้างเผือก เป็นชุมชนตลาด แต่เดิมย่านช้างเผือกเป็นที่รวมของชุมชนหลากหลายเชื้อชาติเช่นเดียวกับย่านอื่น ๆ คือ มีทั้งชาวจีน คนเมือง คนไทยใหญ่ และมุสลิม เนื่องจากอยู่นอกกำแพงเมืองและเป็นเส้นทางเข้าสู่ตัวเมืองทางทิศเหนือ ซึ่งเป็นทิศที่กษัตริย์สมัยนั้นต้องมาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อนออกรบ ความหลากหลายของผู้คนเหล่านี้เห็นได้จากศาสนสถานซึ่งเป็นสถานที่ทำบุญของแต่ละชุมชนที่ยังคงอาศัยอยู่จนถึงทุกวันนี้ ชุมชนตั้งอยู่บริเวณรอบ ๆ อนุสาวรีย์ช้างเผือกวงเวียน ถนนเส้นนี้ตรงมาจากกำแพงเมืองเก่าเชียงใหม่บริเวณประตูช้างเผือก ลักษณะกายภาพสำคัญของพื้นที่หลงเหลืออยู่น้อย ได้แก่ อาคารแถวไม้สองชั้นที่อยู่ตามหัวมุมถนน | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: ย่านวัดเกตุ
ที่อยู่: ตำบลวัดเกต อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: ย่านวัดเกตุ เป็นชุมชนตลาด และชุมชนริมน้ำ เป็นชุมชนย่านการค้าโบราณของชาวจีนและฝรั่ง มีวัดเกตุการามอยู่ศูนย์กลางระหว่างชุมชน ก่อนหน้าที่รถไฟจะมาถึงเชียงใหม่ ชุมชนแห่งนี้เป็นท่าน้ำที่สำคัญของการเดินทางทางเรือระหว่างกรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ) มายังเมืองเชียงใหม่ และเมืองอื่น ๆ ที่อยู่ทางใต้ลงไป เป็นชุมชนเมือง อยู่ด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง มีอาคารบ้านเรือนที่โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมเก่าตลอดสองข้างทาง เช่น บ้านอรพินท์ บ้านนิมมานเหมินท์ บ้านสี่เสาหกเสา บ้านคุณารักษ์ บ้านท่าช้าง บ้านเหลี่ยวย่งง้วน ประชากรประกอบอาชีพค้าขาย เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านดอยปุย
ที่อยู่: ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านดอยปุย เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนชาติพันธุ์ของชาวม้ง ก่อตั้งครั้งแรกเมื่อประมาณ พ.ศ. 2489 หลังสงครามโลกครั้งที่สองผ่านไปหนึ่งปี โดยมีชาติพันธุ์ชาวม้ง อพยพเข้ามาอยู่ก่อน เรียกชื่อหมู่บ้านว่า"หมู่บ้านปานขมุกปุย" มีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนของเทือกเขาผีปันน้ำตอนบน ยอดเขาที่สำคัญ คือ ดอยสุเทพ ดอยปุย และดอยบวกห้า ยอดเขาเหล่านี้จึงเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำปิง ได้แก่ ห้วยแก้ว ห้วยช่างเคี่ยน และห้วยแม่เหียะ เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ทำให้เป็นหมู่บ้านที่มีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งที่เป็นจุดเด่น และพื้นที่ในบริเวณรอบหมู่บ้านประดับด้วยไม้เมืองหนาว ผู้คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และค้าขายผลิตภัณฑ์ฝีมือของชาวเขา เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามอีกหนึ่งแห่งของเชียงใหม่ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: ทรายมูลเมือง
ที่อยู่: ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: ทรายมูลเมือง เป็นชุมชนตลาด และชุมชนโดยรอบโบราณสถาน จากคติความเชื่อ พื้นที่บริเวณนี้เป็นจุดต่ำสุดของตัวเวียง จึงเป็นแหล่งระบายน้ำของตัวเวียงก่อนลงสู่แม่น้ำ และเคยเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชาวพม่า หรือเรียกว่า "ม่าน" ชุมชนตั้งอยู่ภายในพื้นที่เทศบาลนครเมืองเชียงใหม่ โดยอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้สุดด้านในของคลองคูเมือง เป็นชุมชนเมืองซึ่งตั้งอยู่รอบวัดทรายมูลเมือง มีลักษณะอยู่ในซอยเล็ก ๆ ด้านหลังวัดทรายมูลเมือง มีลักษณะเป็นชุมชนเรือนเดี่ยว โดยมีอาคารไม้เก่าตั้งผสมอยู่กับอาคารสมัยใหม่อย่างหนาแน่น ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย พาณิชยกรรม โดยเฉพาะร้านอาหาร | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านวัวลาย
ที่อยู่: ตำบลหายยา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านวัวลาย เป็นชุมชนตลาด และชุมชนกลุ่มอาชีพเฉพาะ เป็นย่านที่ผลิตและจำหน่ายเครื่องเงิน ภายในวัดมีการโชว์และสอนการทำเครื่องเงิน ไม้ลงรัก เป็นจุดศูนย์กลางของชุมชนย่านนี้ มีลักษณะแบ่งกันทำเป็นชุมชน แต่เดิมอยู่แถววัดนันทาราม ชุมชนปัจจุบันสร้างมาประมาณ 10 ปี แต่ชุมชนเดิมวัดนันทารามอายุรวม 30 ปี ชุมชนจะตั้งอยู่สองฝั่งบนถนนวัวลาย คือ ชุมชนหมื่นสารวัวลาย ชุมชนวัดศรีสุพรรณ และชุมชนนันทาราม โดยอาณาเขตของหมู่บ้านวัวลาย เริ่มต้นตั้งแต่บริเวณตลาดประตูเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันตก ติดถนนช่างหล่อและถนนทิพย์เนตร ส่วนทางทิศตะวันออก เริ่มตั้งแต่บริเวณสี่แยกตลาดประตูเชียงใหม่ติดถนนนันทารามไปทางทิศใต้จรดถนนทิพย์เนตร เป็นชุมชนขนาดใหญ่ ลักษณะหมู่บ้านคล้าย ๆ กับหมู่บ้านล้านนาทั่วไป สร้างบ้านเรือนเป็นกลุ่มเกาะตามเส้นทางสัญจรหลัก มีวัดศรีสุพรรณเป็นศูนย์กลางหมู่บ้าน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำเครื่องเงินจำหน่าย | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านฮ่อ
ที่อยู่: ตำบลช้างคลาน อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านฮ่อ เป็นชุมชนตลาด และชุมชนชาติพันธุ์ของชาวจีนยูนนาน มีมัสยิดเป็นศูนย์กลางชุมชน มีเรือนเก่าเป็นของชาวมุสลิมจีน เป็นชุมชนตั้งอยู่ในย่านการค้า เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ย่านการค้าในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ บ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นรูปแบบอาคารพาณิชย์สมัยใหม่ มีเพียงส่วนพื้นที่ตลาดค้าขายบริเวณด้านหลังมัสยิดบ้านฮ่อ ซึ่งเป็นสถานที่ขายสินค้าของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเขา โดยมีอาคารเก่าตั้งอยู่ในบริเวณนี้ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: พวกแต้ม
ที่อยู่: ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: พวกแต้ม เป็นชุมชนกลุ่มอาชีพเฉพาะ คือ อาชีพทำคัวตองเป็นงานโลหะ เพื่อใช้ประดับวัดแบบล้านนา ตั้งอยู่ในเขตคูเมืองโบราณ ก่อตั้งมากว่า 300 ปี ปัจจุบันคือ ชุมชนพวกแต้มสามัคคี มีจำนวน 70-80 หลังคาเรือน เป็นชุมชนที่อยู่รอบ ๆ วัดพวกแต้ม บริเวณเขตคูเมืองเชียงใหม่อาศัยลานวัดในการรวมกลุ่มทำคัวตอง โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน ประกอบด้วย ส่วนพิพิธภัณฑ์ และส่วนทำงานประเภทงานโลหะ และกระจายงานไปแต่ละบ้านในชุมชน | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านช่างเคี่ยน
ที่อยู่: ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านช่างเคี่ยน เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนชาติพันธุ์ของชาวม้ง โดยเริ่มจากชาวม้งที่อพยพลี้ภัยมาจากประเทศจีนและมีถิ่นอาศัยอยู่ในละแวกดอยปุย เข้ามาทําไร่ทําสวนในบริเวณลำห้วยช่างเคี่ยน นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ และนิกายคาทอลิก เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนเนินเขาและที่ระหว่างหุบเขาลดหลั่นกันลงมา โดยหน้าบ้านหันตามทิศทางการลาดลงของภูเขา มีสภาพอากาศเย็นตลอดทั้งปี ช่วงฤดูหนาวมีจะหมอกหนาจัดและอากาศหนาวเย็นมาก อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติสุเทพ-ปุย นิยมปลูกบ้านติดพื้นดิน และอยู่ใกล้กันเป็นกลุ่มเครือญาติ มีลักษณะรูปแบบบ้านชาวเขา ปลูกพืชเศรษฐกิจเมืองหนาว เช่น กาแฟ ลิ้นจี่ ท้อ เป็นแหล่งท่องเที่ยวชมต้นพญาเสือโคร่ง | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: ย่านการค้าสี่แยกอำเภอดอยสะเก็ด
ที่อยู่: ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: ย่านการค้าสี่แยกอำเภอดอยสะเก็ด เป็นชุมชนตลาด ตั้งอยู่ในส่วนที่เป็นเทือกเขายาวกั้นระหว่างแอ่งอารยธรรม 2 แอ่ง คือ แอ่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำกก-อิง และแอ่งอารยธรรมลุ่มน้ำกวง – ปิง เมื่อพญาเม็งรายรวมแอ่งอารยธรรมทั้งสองเข้าเป็นอาณาจักรล้านนา ในปี พ.ศ. 1839 ดอยสะเก็ดจึงอยู่กึ่งกลางระหว่าง 2 แอ่งอารยธรรม และมีพัฒนาการร่วมกับอาณาจักรล้านนามาตั้งแต่เริ่มต้น ชุมชนตั้งอยู่บริเวณสี่แยก ลักษณะเป็นทางลาดชันเล็กน้อย (เชิงเขาขึ้นสู่ดอยสะเก็ด) มีอาคารเรือนแถวไม้สองชั้นตามหัวมุมถนน อาคารไม้ยังคงมีลักษณะเดิม ภายนอกไม่มีการเปลี่ยนแปลง อยู่เกาะกลุ่มประมาณ 8-9 หลัง เป็นชุมชนพาณิชยกรรม เป็นการค้าขายที่คึกคัก บริเวณอาคารเก่ายังไม่มีการใช้ประโยชน์ทางกิจกรรมที่เต็มศักยภาพเทียบเท่ากับอาคารใหม่ที่เกิดขึ้น | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านปางบง
ที่อยู่: ตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านปางบง เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนชาติพันธุ์ของชาวลัวะซึ่งเป็นคนพื้นเมือง มีอาชีพรับจ้างเก็บเมี่ยงได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบ้านปางบงจนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย 4 กลุ่มบ้าน ได้แก่ บ้านปางสูง บ้านปางบง บ้านห้วยมะเกลี้ยง และบ้านกิ่วต่ำ พื้นที่ส่วนใหญ่ของบ้านปางบงเป็นที่ราบเชิงเขา ลักษณะเป็นดินภูเขา ดินหินปนทราย บ้านปางบง มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านมีป่าต้นน้ำพื้นที่ประมาณ 600 ไร่ ลักษณะเป็นป่าดิบเขา ภายในหมู่บ้านมีถนนลาดยางเป็นถนนหลักเส้นเดียวในการสัญจรของคนในหมู่บ้าน บ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นบ้านไม้สองชั้น มีหลายหลังที่เป็นรูปแบบที่ทันสมัยมากขึ้น ประชากรประกอบอาชีพปลูกเมี่ยง กาแฟ และรับจ้างทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: ตลาดสันทราย
ที่อยู่: ตำบลสันทรายหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: ตลาดสันทราย เป็นชุมชนตลาด เดิมมีลักษณะเป็นเนินทราย เนื่องจากแม่น้ำปิงกับแม่น้ำคาวได้ไหลมาในฤดูฝน และนำทรายมาทับถมบริเวณนี้ทุกปี จนเป็นเนินทรายขนาดใหญ่ ดังนั้นทางราชการได้กำหนดพื้นที่บริเวณนี้เป็นอำเภอจึงตั้งชื่อว่า "อำเภอสันทราย" ชุมชนตั้งอยู่บนถนนสาย 1001 มีอาคารเรือนไม้เก่าตั้งอยู่ประปรายเป็นระยะ ลักษณะของชุมชนมีการพัฒนาตามเส้นทางของถนนที่เกิดขึ้น มีวัดสันทรายหลวงเป็นศูนย์กลาง ประชาชนมีกิจกรรมการค้าขายทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านสันป่าสัก
ที่อยู่: ตำบลสันทรายหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านสันป่าสัก เป็นชุมชนตลาด เกิดจากการแยกตัวออกมาจากบ้านท่าเกวียน ซึ่งแต่เดิมนั้นมีแม่น้ำที่เป็นต้นน้ำหลายหมู่บ้านในเขตตำบลเมืองเล็น ตำบลป่าไผ่ และผ่านตำบลหนองจ๊อมลงไปสู่แม่น้ำแม่คาว แต่เดิมที่บนสันจะมีไม้สักอยู่มาก จึงเรียกวัดและบ้านนี้ว่า "วัดสันป่าสัก" ลักษณะภูมิประเทศ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำปิงมีลำน้ำแม่คาวไหลผ่าน เหมาะแก่การเพาะปลูก แต่สภาพปัจจุบันของชุมชนส่วนใหญ่กลายเป็นที่อยู่อาศัย ภายในชุมชนแทบไม่เหลือลักษณะทางกายภาพให้เห็น โดยถูกแทนที่ด้วยที่อยู่อาศัยใหม่ ยังคงมีที่นาเกษตรของคนพื้นที่อยู่บ้าง เดิมพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นา แต่ปัจจุบันบางส่วนได้กลายเป็นของนายทุน เป็นหมู่บ้านจัดสรรและมีสภาพเป็นสังคมเมืองมากขึ้น | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: ตลาดสันกำแพง
ที่อยู่: ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: ตลาดสันกำแพง เป็นชุมชนตลาด พื้นที่ของทั้งตำบลสันกำแพงเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ เป็นดินแดนที่มีผู้คนอาศัยหาเลี้ยงชีวิตมานานนับพันปี จากการสำรวจพบหลักฐานทางโบราณคดีของนักวิชาการไม่ว่าจะเป็นโครงกระดูกมนุษย์ และสิ่งของเครื่องใช้ เช่น หอก เหล็ก เครื่องเคลือบ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ มีแม่น้ำหรือคลองเล็ก ๆ หลายสายไหลผ่าน เป็นชุมชนเรือนแถวผสมกับเรือนเดี่ยว มีการใช้งานและการสัญจรหนาแน่น ชุมชนเกาะตัวเป็นแนวยาวตามถนน อาคารตามถนนในซอยส่วนมากเป็นเรือนเดี่ยวใช้งานเป็นที่อยู่อาศัย อาคารเรือนแถวตามถนนสายหลักใช้งานเป็นร้านค้า พาณิชยกรรม เป็นแหล่งหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงของเชียงใหม่ เช่น ผ้าทอเครื่องเขิน ไม้แกะสลัก และเครื่องเงินตีแผ่นแร่ ชึ่งทำกันมากในบ้านป่าสักขวาง ปัจจุบันมีตลาดถนนคนเดินซึ่งมีชื่อเสียง และเป็นแหล่งท่องเที่ยวนอกตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่ มีร้านค้าและสินค้าหลายรูปแบบเพื่อตอบรับการท่องเที่ยว | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านปงไหว
ที่อยู่: ตำบลร้องวัวแดง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านปงไหว เป็นชุมชนเกษตรกรรม ชุมชนความทรงจำ และชุมชนโดยรอบโบราณสถาน เป็นหมู่บ้านที่มีการพบซากโบราณสถานจำนวนมาก สันนิษฐานว่าจะเกิดขึ้นในช่วงยุคสมัยวอเตอร์เวิร์ด เป็นยุคของการสะสมตะกอนโคลนตมผ่านกาลเวลามาช้านานนับพันปี จึงทำให้เกิดสภาวะ "ปงไหว" ซึ่งภาษาล้านนา หมายถึง เขตดินพรุ เป็นที่ชุ่มน้ำ มักเกิดในแหล่งชุ่มชื้น หรือเขตป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ เมื่อเดินหรือขย่ม ผิวดินจะสะเทือนไหวได้ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นป่าหนาทึบ ในปัจจุบันกลายเป็นพื้นที่ป่าชุมชน ในบริเวณชุมชนพบพระธาตุและบ่อน้ำเก่าแก่ตั้งอยู่ และมีบริเวณลานจักจั่นข่วงเจิง ที่คนสมัยก่อนใช้ฝึกซ้อม เจิง หรือศิลปะป้องกันตัวเชิงมวยและเชิงรบ บ้านเรือนบางส่วนยังเป็นรูปแบบเก่า ผู้คนส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างทั่วไป ค้าขาย นอกจากนี้ ชุมชนยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่อชมความมหัศจรรย์ของป่าพรุ (ป่าดินดูด) | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: ตลาดสันป่าตอง
ที่อยู่: ตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: ตลาดสันป่าตอง เป็นชุมชนตลาด ชื่อชุมชนมาจากป่าต้นตองหรือชื่อเดิมคือ ต้นทองหลาง ซึ่งเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่อยู่เป็นจำนวนมากในพื้นที่ชุมชนตั้งอยู่บนพื้นที่ราบ ล้อมรอบด้วยพื้นที่นาและสวนขนาดใหญ่ในบริเวณที่ไม่ได้อยู่ติดถนน มีลักษณะเป็นชุมชนเรือนเดี่ยว มีทั้งเรือนไม้เก่าและเรือนคอนกรีตสมัยใหม่ ส่วนมากมีการใช้งานอยู่อาศัย อาคารตั้งใกล้ชิดเชื่อมต่อกัน ตั้งรวมตัวกันอยู่ในโครงข่ายถนนสายย่อย โดยมีถนนสายหลักขนาด 4 เลน ที่สร้างขนาบกับคลองตัดผ่านชุมชน ผู้คนในชุมชนมีอาชีพหลักในการทำการเกษตร รับจ้าง ค้าขาย และรับราชการ มีอาชีพเสริมที่มีชื่อเสียงคือผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้าน ผลิตภัณฑ์แกะสลัก ผลิตภัณฑ์กระดาษสา ผลิตภัณฑ์ผลิตเสื้อผ้า | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านทุ่งเสี้ยว
ที่อยู่: ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านทุ่งเสี้ยว เป็นชุมชนตลาด ซึ่งเป็นชุมชนโบราณในแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน พื้นที่โดยรอบเป็นแหล่งปลูกข้าว จึงเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญมาแต่โบราณ นับตั้งแต่สมัยหริภุญไชยจนมาถึงสมัยพญามังราย ซึ่งมีระบบเหมืองฝายที่ได้ใช้ต่อ ๆ กันมาตั้งแต่โบราณ ลักษณะภูมิประเทศของชุมชนมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบดินเหนียว ดินเหนียวร่วนปนทราย และดินทราย มีลำน้ำขานไหลผ่านเขตชุมชนจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ซึ่งเป็นที่ราบ เป็นชุมชนใหญ่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่ขาน ลักษณะอาคารส่วนมากเป็นเรือนไม้เดี่ยว มีอายุเก่าแก่และมีอาคารสมัยใหม่ผสมผสาน มีความสูงของอาคารไม่เกิน 2-3 ชั้น ชุมชนตั้งถิ่นฐานเป็นกลุ่มหนาแน่นบริเวณสองฟากทางหลวงแผ่นดิน เนื่องจากเป็นชุมชนโบราณในแอ่งที่ราบเชียงใหม่ – ลำพูน พื้นที่โดยรอบเป็นแหล่งปลูกข้าว จึงเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญมาแต่โบราณ ปัจจุบันชาวชุมชนประกอบอาชีพทำนาและทำสวน มีอาชีพค้าขายเป็นส่วนใหญ่ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านต้นแหนน้อย
ที่อยู่: ตำบลท่าวังพร้าว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านต้นแหนน้อย เป็นชุมชนเกษตรกรรม และเป็นชุมชนชาติพันธุ์ของชาวไทเขิน มีอายุหลายร้อยปี จากเดิมมีอาชีพทำนาแล้วเปลี่ยนมาทำสวนลำไย ปัจจุบันยังคงใช้ภาษาไทเขิน ตลอดจนยังมีวัฒนธรรมไทยเขินอยู่ ชุมชนตั้งอยู่บริเวณเกาะแม่น้ำขาน ลักษณะเป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำขานและแม่น้ำวางไหลผ่านทุ่งนา มีสภาพพื้นดินเหมาะแก่การทำเกษตรกรรมเพาะปลูก รวมทั้งมีป่าสักโดยเฉพาะบ้านต้นแหนน้อยที่มีมากที่สุด มีจำนวนบ้านเรือนกว่า 200 หลังคาเรือน โดยยังมีเอกลักษณ์ของเรือนแบบไทเขิน โดยมีการวางเรือนในลักษณะวางขวางตะวันตามแกนเหนือ-ใต้ มีลำเหมืองไหลผ่านไปทางทิศใต้ มีการจัดตั้งเสื้อบ้านอยู่ใจกลางหมู่บ้าน และมีการตั้งเกาะกันเป็นกลุ่มเครือญาติ ผู้คนในชุมชนมีอาชีพเกษตรกรรม คือ ทำสวนลำไย ค้าขาย และอุตสาหกรรมในครัวเรือน | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: ตลาดรอบสถานีรถไฟสารภี
ที่อยู่: ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: ตลาดรอบสถานีรถไฟสารภี เป็นชุมชนตลาด และชุมชนรอบทางรถไฟ จากประวัติของวัดแสนหลวงที่ตั้งอยู่ใกล้กับชุมชนสถานีรถไฟสารภี ระบุว่า พระเจ้ากาวิละและพญาจ่าบ้าน ได้นำทัพของพระเจ้าตากสินมาบุกตีเมืองคืนจากพม่าจนสำเร็จ แต่อยู่อย่างไม่สงบสุข เพราะขาดแคลนเสบียงอาหารและมีพม่ายกทัพมารบกวน จึงอพยพหนีลงมาอยู่ในพื้นที่นี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2317 และเริ่มก่อสร้างแสนหลวงในปี พ.ศ. 2338 ชุมชนตั้งอยู่ทางใต้ของเทศบาลนครเชียงใหม่ มีลักษณะเป็นที่ราบ มีถนนตัดผ่านทั่วถึง มีสวนยาง และนาข้าวขึ้นแซมอยู่ตามที่ดินที่ไม่มีถนนตัดผ่าน มีลักษณะเป็นชุมชนเมือง มีเรือนไม้เดี่ยวจำนวนมากอยู่ในสภาพดี มีการปรับปรุงอาคารใช้งานเป็นร้านค้าโดยรอบริมถนนขนาด 2 เลน มีต้นยางนาสูงใหญ่จำนวนมากขึ้นอยู่ตามทาง ตามซอยย่อย ใช้งานเป็นย่านที่อยู่อาศัย | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: เวียงกุมกาม
ที่อยู่: ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: เวียงกุมกาม เป็นชุมชนเกษตรกรรม ชุมชนความทรงจำ และชุมชนโดยรอบโบราณสถาน คือ เป็นเมืองโบราณที่พญามังราย (พ่อขุนเม็งราย) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1829 โดยให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้าน เพื่อไขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้ในคูเวียงมีแม่น้ำปิงเป็นแม่น้ำสายสำคัญ โดยมีต้นน้ำอยู่ที่ดอยถ้วย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีลักษณะภูมิประเทศ เป็นแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน (แอ่งที่ราบใหญ่ที่สุดของภาคเหนือ) มีแม่น้ำปิงเป็นแม่น้ำสายสำคัญ โดยมีต้นน้ำอยู่ที่ดอยถ้วย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนรอบพื้นที่ส่วนโบราณสถาน ซึ่งเป็นเมืองเวียงกุมกามในอดีต ภายในชุมชนมีการจัดการท่องเที่ยวชุมชนโบราณสถานเวียงกุมกาม | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านวัดจันทร์
ที่อยู่: ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยานิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านวัดจันทร์ เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนชาติพันธุ์ของกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) ในอดีตพบซากโบราณสถานจำนวนมาก สันนิษฐานว่า อาจเคยเป็นวัดร้างเก่ามาก่อน ปัจจุบันเป็นแหล่งเที่ยวชมป่าสน 7 สี มีแหล่งน้ำที่สำคัญคือ ห้วยแจ่มหลวง ห้วยฮ้อม ห้วยแม่อุบ ห้วยนาเกล็ดหอย และห้วยยาเป็นแหล่งต้นน้ำ ประชากรเป็นชาวกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) นับถือศาสนาพุทธ ชุมชนตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านเด่น สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน มีความลาดชันสูงกว่าร้อยละ 35 มีที่ราบแคบ ๆ ตามหุบเขา พื้นที่ดินเป็นดินร่วนปนทราย มีถนนลาดยางตัดผ่านหมู่บ้าน บ้านเรือนบางส่วนยังคงเป็นแบบดั้งเดิม เป็นลักษณะเรือนแบบยกพื้นสูง บางหลังมีชานบ้านผสมกับรูปแบบสมัยใหม่ ตั้งอยู่กระจายตัวโดยรอบชุมชน เป็นแหล่งท่องเที่ยวศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ (แหล่งท่องเที่ยวป่าสนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย) | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านผาหมอน
ที่อยู่: ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านผาหมอน เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนชาติพันธุ์ของชาวกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) ก่อตั้งมาประมาณมากกว่า 136 ปี ตั้งอยู่ไม่ไกลจากบ้านแม่กลางหลวง ดอยอินทนนท์ มีภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องการทำจักสานภาชนะไม้ไผ่ เช่น ทอ ครุ โป่ (ภาชนะจักสานทรงสูง ใช้บรรจุเสื้อผ้าของชาวกะเหรี่ยง) ทำแปลงเกษตรปลอดสารพิษ เป็นหมู่บ้านขนาดกลางตั้งอยู่กลางหุบเขาล้อมรอบ ตั้งอยู่ไม่ไกลจากบ้านแม่กลางหลวง ดอยอินทนนท์ มีถนนทางหลวงแผ่นดิน จอมทอง-ดอยอินทนนท์ตัดผ่าน บ้านเรือนเป็นรูปแบบวัฒนธรรมกะเหรี่ยง ปลูกโดยยกพื้นสูง ตั้งอยู่กระจายตามไร่นา ผู้คนในชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรรม (แปลงเกษตรปลอดสารพิษ) และจักสานภาชนะไม้ไผ่ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านแม่กลางหลวง
ที่อยู่: ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านแม่กลางหลวง เป็นชุมชนเกษรกรรม ชุมชนริมน้ำ และชุมชนชาติพันธุ์ของชาวกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) ซึ่งอพยพมาจากประเทศพม่า ชุมชนตั้งอยู่บนที่ราบสูง แวดล้อมด้วยป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ตัวชุมชนอยู่บนที่ราบสูง แวดล้อมด้วยป่าไม้อุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำแม่กลางไหลผ่าน และลำห้วยระบบหมุนเวียนมีถนนทางหลวงแผ่นดิน จอมทอง-ดอยอินทนนท์ตัดผ่าน เส้นทางรอบหมู่บ้านมีลักษณะเป็นวงกลม มีบ้านเรือนตั้งอยู่ 2 ข้างทาง มีแม่น้ำแม่กลางไหลผ่าน และลำห้วยระบบหมุนเวียน มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวตั้งอยู่บริเวณปากทางเข้าหมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรม และเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในนาข้าวแบบธรรมชาติ มีการทำนาขั้นบันได ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นภูมิปัญญาของชาวบ้านในการใช้พื้นที่และการจัดการน้ำ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านถ้ำ
ที่อยู่: ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านถ้ำ เป็นชุมชนเกษตรกรรม ชุมชนความทรงจำ และชุมชนชาติพันธุ์ของชาวพื้นเมือง กะเหรี่ยง ลีซู และไทใหญ่ เป็นหมู่บ้านท่ามกลางภูเขา เป็นแหล่งต้นน้ำบนดอยหลวง มีตำนานเจ้าหลวงคำแดงแห่ง เชียงดาว และแม่นางดอยหล้าแห่งดอยนาง พื้นที่ที่ใช้ปลูกที่อยู่อาศัยเป็นบริเวณเนินของภูเขาหินปูน โดดเด่นในด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น การใช้สมุนไพร ใช้ภาษาพื้นเมืองล้านนา ภาษาไทยกลาง มีการตั้งบ้านเรือนอยู่ 2 ข้างถนนหลักของหมู่บ้าน บ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นบ้านไม้ 2 ชั้นยกพื้นสูง มีศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาสมุนไพรพื้นบ้านและเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม มีถ้ำเชียงดาวเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรม ผู้คนในชุมชนมีอาชีพทำนา ทำสวน ปลูกสมุนไพร จักสาน และค้าขาย (OTOP สมุนไพร) | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านปางแดง
ที่อยู่: ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านปางแดง เป็นชุมชนเกษตรกรรม และฃุมฃนชาติพันธุ์ของปะหล่องที่อพยพมาจากประเทศพม่า นับถือผีบรรพบุรุษและนับถือศาสนาพุทธ ชุมชนตั้งอยู่บริเวณที่ราบเชิงเขา เป็นที่ลุ่มน้ำและที่ลาด มีถนนกลางหมู่บ้าน บ้านเรือนส่วนใหญ่ยังคงเป็นรูปแบบดั้งเดิมแบบชาวปะหล่อง คือยกพื้นสูง มีชานเรือน และใช้วัสดุธรรมชาติ ในพื้นที่บริเวณบ้านจะมีพื้นที่เลี้ยงสัตว์และเก็บพืชไร่ ภายในชุมชนเป็นพื้นที่โครงการหลวง และเป็นแหล่งอนุรักษ์ป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ข้าวโพด | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านขอบด้ง
ที่อยู่: ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านขอบด้ง เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนชาติพันธุ์ของชาวลาหู่ที่อพยพมาจากประเทศพม่า ถิ่นฐานเดิมอาศัยอยู่บริเวณสันเขาบ้านหลวง เหตุที่ต้องอพยพย้ายถิ่นเนื่องจากเกิดโรคระบาดขึ้น ประกอบกับถูกชาวจีนฮ่อ ว้า และไทใหญ่รุกรานจึงย้ายถิ่นฐานไปเรื่อย และมาสิ้นสุดที่บ้านขอบด้งปัจจุบัน สภาพทั่วไปของหมู่บ้านเป็นภูเขาสูง มีลักษณะเป็นดินปนหิน สภาพอากาศหนาวเย็นมากจน มีหมอกปกคลุม ช่วงฤดูหนาวมีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานานหลายเดือน มีการสร้างบ้านรวมกันเป็นกลุ่ม วัสดุที่ใช้เป็นไม้ไผ่ผสมกับไม้ที่หาตัดได้ในป่าชุมชน หลังคามุงด้วยหญ้าคา นิยมเลี้ยงสัตว์ไว้ใต้ถุน การประกอบอาชีพ แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ เกษตรกรรม (การทำนา เพาะปลูกพืชผัก) และศิลปหัตถกรรม (งานฝีมือที่ทำจากหวายและไม้ไผ่) | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านยาง
ที่อยู่: ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านยาง เป็นชุมชนเกษตรกรรม ชุมชนตลาด และชุมชนชาติพันธุ์ของชาวจีนยูนนาน (จีนฮ่อ) ที่อพยพเข้ามายังประเทศไทยในช่องทางดอยอ่างขาง (ปัจจุบันคือบ้านหลวง) และจากนั้นได้ย้ายถิ่นฐานลงมาที่บ้านยางเมื่อปี พ.ศ. 2497 เป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรมที่โดดเด่น และสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติ แม้ว่าจะมีหลายหลายศาสนา เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนชาวจีน ยูนนาน (จีนฮ่อ) มีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบเชิงเขา เนื้อที่ชุมชนทั้งหมด 1,750 ไร่ มีแม่น้ำฝางไหลผ่านทางทิศตะวันตกเพื่อทำการเกษตร มีซุ้มประตูทางเข้าหมู่บ้านที่โดดเด่นและสวยงาม นิยมสร้างบ้านประตูสูง มีรั้วเพื่อแสดงอาณาเขต บ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นรูปแบบสมัยใหม่ ในชุมชนมีพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของบ้านยาง โดยพัฒนาให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต ผู้คนในชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำสวน และค้าขาย เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนยั่งยืนเชิงวัฒนธรรม | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านกองแขก
ที่อยู่: ตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านกองแขก เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนตลาด เป็นชุมชนเก่าแห่งหนึ่งของแม่แจ่ม เป็นที่รวมของกลุ่มชาวบ้านที่อพยพมาจากที่ต่าง ๆ เช่น ชาวแม่พริกจังหวัดลำปาง ชาวเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ชาวเชียงคำ จังหวัดน่าน ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบสูงและภูเขาขรุขระทั่วบริเวณ บริเวณรอบ ๆ ชุมชนใช้ทำนาและสวนเป็นส่วนมาก ห่างออกไปเป็นพื้นที่ป่าตามธรรมชาติขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นชุมชนเรือนเดี่ยว เกาะตัวอยู่ตามถนนขนาด 2 เลน มีความลาดชันสูง ลักษณะอาคารเก่าเป็นเรือนไม้ บางเรือนมีการปรับปรุงซ่อมแซมด้วยคอนกรีต มีโรงเรียนบ้านกองแขก และวัดกองแขกเป็นศูนย์กลางชุมชน สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2440 และได้พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2532 ผู้คนในชุมชนมีอาชีพทำนา และทำไร่เป็นหลัก | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านแม่สาใหม่
ที่อยู่: ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านแม่สาใหม่ เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนชาติพันธุ์ของชาวม้ง โดยชุมชนบ้านแม่สา มีการตั้งถิ่นฐานในแถบนี้มานานกว่า 150 ปี ในอดีตก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 มีชาวเขาเผ่าม้งอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ต้นน้ำแม่สา ต่อมาได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่หมู่บ้านแม่สาใหม่ในปัจจุบัน ซึ่งเดิมทีเป็นที่นาของนายชงเปา แซ่เฒ่า เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2508 ลักษณะภูมิประเทศตั้งอยู่ที่ระดับความสูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นที่ราบเชิงเขา พื้นที่หมู่บ้านอยู่ในเขตอุทยานฯ เป็นหมู่บ้านที่ใหญ่ที่สุดในตำบลโป่งแยง บ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นรูปแบบดั้งเดิม โดยตั้งกระจายอยู่ตามลาดเขาและกระจุกตัวเป็นจุด ๆ ส่วนบ้านเรือนสมัยใหม่จะตั้งอยู่ริมถนนที่เชื่อมกับถนนหลวงเข้าสู่ตัวหมู่บ้านผู้คนในชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพาะปลูกลิ้นจี่ ซาโยเต้ (ฟักแม้ว) ฯลฯ และการแปรผลผลิตทางการเกษตร | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านแม่กำปอง
ที่อยู่: ตำบลห้วยแก้ว อำเภอห้วยแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านแม่กำปอง เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนริมน้ำ บรรพบุรุษมีเชื้อสายไทยล้านนา ประกอบอาชีพหลักคือ ทำเมี่ยง (ชา) หมู่บ้านตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2457 บริเวณลำห้วยตลอดแนวหมู่บ้านมีต้นดอกกำปองขึ้นตลอดทาง ชาวบ้านจึงนำมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน ลักษณะภูมิประเทศโดยรอบหมู่บ้านเป็นภูเขาสูงชัน จึงมีแค่ 2 ฤดูกาล คือ ฤดูฝนกับฤดูหนาว และสามารถปลูกพืชเมืองหนาวได้ทุกชนิด มีการสร้างบ้านเรือนอยู่บริเวณไหล่เขาด้านทิศตะวันออกตามสองข้างถนนหลักของหมู่บ้าน บริเวณหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง บ้านเรือนเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมเก่าโบราณลักษณะเป็นของภาคเหนือเป็นไม้เก่าทั้งหลัง ผู้คนในชุมชน มีการทำไร่เมี่ยง การจัดการท่องเที่ยว และกิจกรรมเดินป่าโดยชุมชน และกิจกรรมที่พักโฮมสเตย์ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: เวียงแหง
ที่อยู่: ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: เวียงแหง เป็นชุมชนเกษตรกรรม ชุมชนความทรงจำ และชุมชนชาติพันธุ์ของชาวไทใหญ่ ไทลื้อ กะเหรี่ยง มูเซอ ประโอ ปะหล่อง และมีคนพื้นเมืองเดิมอยู่ร่วมกัน หมู่บ้านเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณมาแต่เดิม และมีประเพณีวัฒนธรรมเก่าแก่ นอกจากนี้ ในอดีตยังเป็นเส้นทางเดินทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช บริเวณที่ตั้งมีลักษณะเป็นเมืองโบราณมีคูเมืองล้อมรอบ ลักษณะเป็นที่ราบและที่ราบเชิงเขาทิศเหนือติดต่อกับประเทศพม่า บ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นลักษณะไม้ชั้นเดียวยกใต้ถุนสูง มีวัดเวียงแหนเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในหมู่บ้าน ถนนเข้าสู่หมู่บ้านเป็นถนนลาดยางตลอดสาย ผู้คนในชุมชนมีอาชีพ ทำนา ทำไร่ ค้าขาย น้ำพริกลาบซึ่งเป็นสินค้า OTOP ส่งออกของหมู่บ้าน | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านต้นเกว๋น
ที่อยู่: ตำบลนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านต้นเกว๋น เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนความทรงจำ ตั้งอยู่บนเส้นทางโบราณของเจ้าเมืองเชียงใหม่โดยชาวบ้านใช้เส้นทางนี้ในการเดินขบวนแห่อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ โดยอายุของการก่อตั้งบ้านต้นเกว๋นเก่าแก่มากกว่า 150 ปี ชื่อต้นเกว๋น มาจากชื่อของตะขบป่าที่มีมากในบริเวณนั้น ชุมชนตั้งอยู่บนถนนสายหางดง –สะเมิง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 8 กิโลเมตร ตลอดคลองชลประทาน แม่แตง ในพื้นที่มีต้นตะขบป่าจำนวนมาก บ้านเรือนแต่ละหลังมีรั้วล้อมรอบ และมีรูปแบบเป็นศิลปะล้านนา มีวัดต้นเกว๋น (อินทราวาส) เป็นวัดประจำหมู่บ้านมีความสวยงามและโดดเด่นตามแบบศิลปกรรมล้านนา ซึ่งมีประติมากรรมทางวัฒนธรรมที่งดงามและมีประวัติอันยาวนานตั้งแต่สมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: ตรอกบ้านจีน
ที่อยู่: ตำบลระแหง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ภาคตะวันตก
ลักษณะสำคัญ: ตรอกบ้านจีน เป็นชุมชนเกษตรกรรม ชุมชนตลาด และชุมชนริมน้ำ อยู่ติดแม่น้ำปิงด้านทิศตะวันออก เป็นกลุ่มอาคารที่แสดงให้เห็นการตั้งถิ่นฐานในอดีต เป็นชุมชนที่สืบเชื้อสายของขุนนางที่ครองเมืองตาก โดยมีฐานเศรษฐกิจในการค้าไม้ ล่องซุง มีบ้านไม้สักเก่าอายุ 150 ปี มีการผสมผสานศิลปะหลายสมัยระหว่างไทยอยุธยา ไทยรัตนโกสินทร์ และสไตล์ยุโรป มีเอกลักษณ์ความเป็นจีนและไทย ในอดีตเป็นพ่อค้าชาวจีนจากกรุงเทพเดินทางมาเมืองตาก เพื่อหาช่องทางทำธุรกิจจนประสบความสำเร็จ ต่อมาถูกปล่อยทิ้งร้างเพราะสังคมเปลี่ยน ปัจจุบันมีการบำรุงรักษาเพื่อให้เกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ภายในชุมชนผู้คนส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านตาก
ที่อยู่: ตำบลตากออก อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ภาคตะวันตก
ลักษณะสำคัญ: บ้านตาก เป็นชุมชนพาณิชยกรรมตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของริมแม่น้ำปิง เป็นชุมชนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของย่านพาณิชยกรรมระดับอำเภอ มีเรือนไม้เดี่ยวสองชั้นสร้างติดกัน เรียงตัวกันอยู่บนถนน มีวัดเป็นศูนย์กลาง ปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัยของคนในพื้นที่ มีการปรับตัวเป็นพาณิชยกรรมเป็นบางส่วน บางส่วนถูกปล่อยทิ้งร้าง และยังไม่มีการปรับตัวให้เข้ากับการท่องเที่ยว | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: ตะเคียนเลื่อน
ที่อยู่: ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ภาคกลาง
ลักษณะสำคัญ: ตะเคียนเลื่อน เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนริมน้ำ เป็นพื้นที่ชุมชนตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นพื้นที่ลาดน้อยทางตอนใต้ของแม่น้ำ ริมน้ำมีกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเพาะปลูก ได้แก่ สวนผัก โดยมีกลุ่มที่อยู่อาศัยเกาะกลุ่มแนวยาวขนานอยู่ตอนใต้ของแม่น้ำ มีกลุ่มอาคารเรือนไทยภาคกลางโบราณที่ยังคงคุณสมบัติการใช้วัสดุเดิมที่มีการดูแลรักษาอยู่ในสภาพดี ได้แก่ กระเบื้องหลังคาว่าว ผนัง และเสาไม้ ที่ยังปรากฏฝีมือช่างสมัยก่อน โดยพบว่าบ้านเหล่านี้กระจายตลอดริมน้ำเจ้าพระยาควบคู่กับภูมิทัศน์ที่มีการใช้สอย เพื่อการเกษตรและเป็นพื้นที่รับน้ำ (Watershed) ในฤดูน้ำหลาก เป็นย่านชุมชนเก่าที่ใช้ประโยชน์เพื่อการพักอาศัยผสมผสานกับการเกษตรแบบยังชีพ ผู้อาศัยในรุ่นปัจจุบัน และลูกหลานคนในชุมชนปัจจุบันทำอาชีพนอกภาคเกษตร อาทิ รับราชการ ค้าขาย พนักงานบริษัท | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: ตลาดลาว
ที่อยู่: ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ภาคกลาง
ลักษณะสำคัญ: ตลาดลาว เป็นชุมชนตลาด และชุมชนริมน้ำ ที่เคยรุ่งเรืองในอดีตเพราะเป็นย่านที่ขายสินค้าของคนไทยภาคเหนือ ชาวนครสวรรค์เรียกว่า "ลาว" จึงเรียกย่านนี้ว่า "ตลาดลาว" สินค้าที่นำมาขาย ได้แก่ หวาย ชัน น้ำมันยาง สีเสียด เปลือกไม้ น้ำผึ้ง ขี้ไต้ ฯลฯ ขากลับจะบรรทุกข้าวและเกลือกลับ นอกจากลาวแล้วยังมีชาวมอญนำโอ่งมาขายด้วย ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบติดแม่น้ำ เป็นชุมชนในยุคแรกที่เป็นห้องแถวไม้ไม่มีพื้น ระยะต่อมามีรถไฟและรถยนต์ เมื่อลาวเลิกใช้เส้นทางเรือ ย่านนี้จึงปรับปรุงมีพื้นห้องทำเป็นบ้านที่อาศัยปัจจุบัน มีห้องไม้ให้เห็นน้อยลง เพราะมีสภาพเก่าจึงถูกรื้อเปลี่ยนเป็นอาคารคอนกรีต ผู้คนในชุมชนเป็นไทย จีน ลาว และมีอาชีพค้าขาย | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: ตลาดริมน้ำปากน้ำโพ/ตลาดบ่อนไก่
ที่อยู่: ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ภาคกลาง
ลักษณะสำคัญ: ตลาดริมน้ำปากน้ำโพ/ตลาดบ่อนไก่ เป็นชุมชนตลาด ชุมชนริมน้ำ และชุมชนรอบทางรถไฟ ตลาดบ่อนไก่ เริ่มแรกไม่ได้เป็นตลาด สมัยก่อนใช้เป็นที่ชนไก่ ต่อมาปรับปรุงเป็นที่ว่างสำหรับให้ประชาชนแถวนั้นใช้เป็นที่พักผ่อน และเล่นกีฬา มีอยู่ปีหนึ่งที่เคยให้แม่ค้าอพยพหนีน้ำท่วมมาขายของเป็นการชั่วคราว จากนั้นพอน้ำลด แม่ค้าไม่ยอมกลับ และได้ยึดเป็นที่ค้าขายตั้งแต่นั้นมา จึงมีสภาพเป็นตลาด ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มติดแม่น้ำ มีลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมโบราณหายไป เนื่องจากมีการต่อเติมและปรับปรุงบ้านเรือน เป็นชุมชนโบราณขนาดใหญ่มีการทำการเกษตรควบคู่กับการค้าขาย ผู้คนในชุมชนมีทั้งไทย จีน | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: ตลาดชุมแสง
ที่อยู่: ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ภาคกลาง
ลักษณะสำคัญ: ตลาดชุมแสง เป็นชุมชนเกษตรกรรม ชุมชนตลาด และชุมชนรอบทางรถไฟ ชื่อ "ชุมแสง" สันนิษฐานว่า มาจากชื่อต้นไม้ประจำถิ่น คือต้นชุมแสง เป็นไม้ตระกูลไทร (แต่ไม่มีรากอากาศ) ปัจจุบันเหลืออยู่น้อยในพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นแปลงเกษตรกรรม อำเภอเล็ก ๆ ที่รุ่งเรืองมาก่อนอำเภออื่น ได้รับการยกระดับเป็นเทศบาลเป็นอำเภอแรก ๆ ของนครสวรรค์ ด้วยมีความสำคัญในฐานะชุมทางการค้า โดยเฉพาะ "ข้าว" โรงสีเก่าแก่อายุเกือบร้อยปี บางโรงยังคงเดินเครื่องอยู่ บางโรงยังคงสภาพเดิมแม้จะเลิกกิจการ หากยังอยู่เป็นประจักษ์พยานแห่งความรุ่งเรืองในอดีต ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มติดแม่น้ำน่าน มีตลาดเรือนแถวไม้ที่มีอายุกว่า 100 ปี เป็นศูนย์กลางการค้าและการขนส่ง ทั้งในจังหวัดและระหว่างจังหวัด กลุ่มชาติพันธุ์ที่พบในชุมชนมีทั้งไทยและจีน | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: ตลาดทับกฤช
ที่อยู่: ตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ภาคกลาง
ลักษณะสำคัญ: ตลาดทับกฤช เป็นชุมชนเกษตรกรรม ชุมชนริมน้ำ และชุมชนตลาด ทับกฤชมีประวัติของชื่อที่ยังหาข้อยุติที่แน่นอนไม่ได้ บางคนว่าเมื่อสมัยสร้างทางรถไฟสายเหนือเสร็จใหม่ ๆ รถไฟมาทับคนชื่อ "กฤช" ตาย ณ บริเวณนี้จึงเรียกว่า "ทับอ้ายกฤช" และยังมีฝูงนกจำนวนมาก เรียกว่านกกระทุงเหว ซึ่งมีรูปร่างสูงใหญ่มีสีขาวทั้งตัว มีลายดำพาดจาก 2 ไหล่ข้างปีกไปจนถึงหว่างขา มองดูเหมือนกับทหารอังกฤษ เมื่ออยู่รวมกันมาก ๆ จึงเรียกว่า "บ้านทับกฤษ" ต่อมากลายเป็น "ทับกฤช" เช่นกัน ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม แม่น้ำน่านไหลผ่านริมบึงบอระเพ็ด ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมโบราณหายไป เนื่องจากมีการต่อเติมและปรับปรุงบ้านเรือน เป็นชุมชนโบราณขนาดใหญ่ มีการทำการเกษตรควบคู่กับการค้าขาย กลุ่มชาติพันธุ์ที่พบในพื้นที่ คือไทย จีน และไทยทรงดำ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: เก้าเลี้ยว
ที่อยู่: ตำบลเก้าเลี้ยว อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ ภาคกลาง
ลักษณะสำคัญ: เก้าเลี้ยว เป็นชุมชนตลาด และชุมชนริมน้ำ ประวัติความเป็นมาของชื่อ " เก้าเลี้ยว " สันนิษฐานได้ 2 ทาง คือ 1. เพี้ยนเสียงเดิม ประชากรส่วนใหญ่ปลูกกล้วยไข่เป็นสินค้า มีชาวจีนซึ่งเป็นพ่อค้าคนกลางรับซื้อกล้วยไข่ไปขาย โดยขนส่งทางเรือ ครั้นเมื่อมาถึงตลาดเก้าเลี้ยวในปัจจุบัน ชาวจีนจะตะโกนบอกนายท้ายเรือ เป็นภาษาจีน "เก๋าเหลี่ยว" ซึ่งแปลว่า " ถึงแล้ว" เพื่อให้นายท้ายเรือปล่อยเรือของตนเมื่อมีการตะโกนว่า "เก๋าเหลี่ยว " บ่อย ๆ เข้า คนฟังได้ยินนำไปพูดต่อ ๆ กัน เสียงอาจเพี้ยนไปเป็น "เก้าเลี้ยว" ก็เป็นไปได้ และ 2. จากสภาพภูมิศาสตร์ เดิมการเดินทางจากจังหวัดนครสวรรค์ ต้องใช้เรือเป็นพาหนะแล่นไปตามแม่น้ำปิง เรือต้องแล่นผ่านคุ้งน้ำน้อยใหญ่ที่คดเคี้ยวไปมา นับถึงหมู่บ้านนี้ได้เก้าเลี้ยวพอดี ชาวบ้านจึงขนานนามว่า "บ้านเก้าเลี้ยว" ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบติดแม่น้ำปิง มีตลาดเรือนแถวที่ยังคงมีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบเดิมอยู่ ผู้คนในชุมชนมีอาชีพทางการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ (ปลูกข้าว) อ้อย และอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป กลุ่มชาติพันธุ์ที่พบ คือไทยและจีน | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: ตลาดช่องแค
ที่อยู่: ตำบลพรหมนิมิต อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ภาคกลาง
ลักษณะสำคัญ: ตลาดช่องแค เป็นชุมชนตลาด และชุมชนรอบทางรถไฟ เทศบาลตำบลช่องแค เป็นเทศบาลที่ยกฐานะจากสุขาภิบาลตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ในอดีตในบริเวณนี้มีการระเบิดหินเพื่อใช้ในการก่อสร้างทางรถไฟ จึงนำมาเป็นสัญลักษณ์ของเทศบาลตำบลช่องแค ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบระหว่างเขา เมืองอยู่ล้อมรอบภูเขา ทำให้น้ำไม่ท่วมเมือง ปัจจุบันยังคงมีบ้านที่รักษาสภาพดั้งเดิมไว้ แต่อยู่ลึกไปในพื้นที่ทางการเกษตร และมีความทรุดโทรมเป็นอย่างมาก เป็นสังคมที่มีความหลากหลายทั้งการเกษตร การค้าขาย กลุ่มชาติพันธุ์ที่พบ คือ ไทยและจีน | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: ตลาดตาคลี
ที่อยู่: ตำบลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ภาคกลาง
ลักษณะสำคัญ: ตลาดตาคลี เป็นชุมชนตลาด และชุมชนรอบทางรถไฟ เทศบาลเมืองตาคลี จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. 2524 ต่อมาเทศบาลตำบลตาคลี ได้ยกฐานะเป็น เทศบาลเมืองตาคลี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2548 ที่ตั้งของชุมชนเมืองตาคลีนี้ตั้งอยู่ที่ราบระหว่างเขา มีเมืองอยู่ล้อมรอบภูเขา ทำให้น้ำไม่ท่วมเมือง มีตลาดเรือนแถว ยังคงมีวัสดุและรูปแบบโบราณให้เห็นอยู่ แต่มีการทรุดโทรมตามกาลเวลาและการซ่อมแซมจากวัสดุสมัยใหม่ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน และประกอบอาชีพค้าขายส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการพาณิชยกรรมและกิจกรรมการค้า | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: ตลาดพยุหะคีรี
ที่อยู่: ตำบลพยุหะ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ภาคกลาง
ลักษณะสำคัญ: ตลาดพยุหะคีรี เป็นชุมชนตลาด และชุมชนริมน้ำ อำเภอพยุหะคีรี ประกาศตั้งเป็นอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2437 ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เป็นทางเดินของกองทัพโบราณไม่ว่าจะเป็นเมืองสุโขทัยหรือกรุงศรีอยุธยาจะต้องยกทัพผ่านทางนี้เพราะเป็นศูนย์กลางระหว่างเมืองไชยนาทบุรี (จังหวัดชัยนาท) และเมืองหลวงพระบาง (จังหวัดนครสวรรค์) ซึ่งเป็นที่พักอย่างดีในสมัยนั้น และเดิมเป็นเมืองโบราณมีหน้าที่เก็บเงินส่วยอากร ซึ่งผู้มีหน้าที่เก็บเงินส่วยอากรชื่อ "หลวงภูมิ" เป็นเจ้าเมืองคนแรก ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบอยู่ห่างจากถนนสายหลัก มีบ้านเรือนโดยรอบมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่ยังคงรูปแบบเดิมอยู่ในส่วนของยุ้งฉาง เป็นชุมชนขนาดใหญ่ เน้นการค้าขายเป็นหลัก ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านหนองบัว
ที่อยู่: ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านหนองบัว เป็นชุมชนริมน้ำ ชุมชนกลุ่มอาชีพเฉพาะ ชุมชนโดยรอบโบราณสถาน และชุมชนชาติพันธุ์ของชาวไทยลื้อที่สืบเชื้อสายมาจากเมืองล้า แคว้นสิบสองปันนา มลฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตำบลป่าคาจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2547 ต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำน่านทางทิศเหนือของจังหวัดในอำเภอท่าวังผาและอำเภอปัว เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ที่อุดมสมบูรณ์คำว่า "ท่าวังผา" บ่งบอกให้เห็นสภาพภูมิประเทศซึ่งมีลักษณะเป็น "วัง" อุดมด้วยปลานานาชนิด สองฝั่งแม่น้ำน่านขนาบด้วยหน้าผาสูงชัน สายน้ำสายนี้ในอดีตเคยเป็นเส้นทางขนส่งของป่า ภายในชุมชนเป็นเรือนไทยลื้อ ที่มีการประยุกต์ให้เป็น 2 ชั้น แต่ยังคงรักษารูปแบบเดิมไว้เป็นอย่างดี เป็นสังคมเกษตรกรรมชนบทยังมีการอนุรักษ์กิจกรรมประเพณีโบราณไว้ มีการพัฒนากลุ่มอาชีพขนาดเล็กของชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยว | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านหนองม่วง
ที่อยู่: ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านหนองม่วง เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนชาติพันธุ์ของชาวไตเขิน เมื่อปี พ.ศ. 2310 มีพ่อหลวงแสน – แม่คำเอื้อย คำวัง เป็นผู้ริเริ่มปลูกบ้านขึ้นทางทิศตะวันตกของฝั่งหนองน้ำ ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านที่อยู่ปัจจุบัน (พ.ศ. 2555) ซึ่งมีต้นมะม่วงต้นใหญ่ขึ้นอยู่ริมขอบหนองน้ำต่อมาจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านหนองม่วง" ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบเกษตรกรรม มีหนองน้ำขนาดใหญ่ มีเรือนพักอาศัยสองชั้นใต้ถุนโล่ง มีการตีเกล็ดไม้ของฝาเรือนที่มีลักษณะโดดเด่น เป็นชุมชนขนาดเล็ก ที่มีการทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ่อหลวง
ที่อยู่: ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ่อหลวง เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนกลุ่มอาชีพเฉพาะ บ้านบ่อหลวงตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน อยู่ห่างจากอำเภอบ่อเหลือประมาณ 800 เมตร และห่างจากจังหวัดน่านประมาณ 108 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านเก่าแก่มีเนื้อที่ทั้งหมด 62.6 ตารางกิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนพื้นที่ราบ เรียกตัวเองว่า "คนเมือง" แหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ วัดบ่อหลวง เป็นวัดที่สร้างขึ้นคู่กับหมู่บ้านบ่อหลวงบ่อเกลือสินเธาว์บนภูเขา จำนวน 2 บ่อ บ้านบ่อหลวงมีวัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญ ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง ประเพณีจุดบั้งไฟ เป็นต้น ลักษณะภูมิประเทศเป็นแอ่งภูเขาขนาบ 2 ด้าน มีป่าไม้ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ มีอาคารไม้ขนาดเล็กหลังคามุงจาก เป็นสถานที่ใช้ในการผลิตเกลือมาตั้งแต่สมัยโบราณ และการผลิตเกลือเป็นอาชีพหลักของชุมชน และมีการค้าขายสินค้าการเกษตรบ้าง | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: ทุ่งช้าง
ที่อยู่: ตำบลทุ่งช้าง อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: ทุ่งช้าง เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนชาติพันธุ์ของชาวไทยลื้อ อำเภอทุ่งช้างแต่เดิมเป็นบริเวณที่เรียกว่าแขวงขุนน่าน ต่อมาในปีพ.ศ. 2457 ได้ยกฐานะเป็นอำเภอ ชื่อว่าอำเภอและตามตำบลที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอในปี พ.ศ. 2504 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอทุ่งช้างและย้ายที่ว่าการอำเภอไปอยู่ที่ตำบลทุ่งช้างจนถึงปัจจุบัน ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนพื้นที่เป็นภูเขาถึงร้อยละ 90 อากาศร้อนจัดในฤดูร้อน หนาวจัดในฤดูหนาวและฝนตกชุกในฤดูฝน มีเรือนไม้สองชั้นใต้ถุนโล่งแบบไทยลื้อ โดยมากมีการปรับเปลี่ยนวัสดุตามกาลเวลา แต่ยังคงมีความโดดเด่นที่ผนังและรูปทรงหลังคาลักษณะสังคมชนบทที่มีความเจริญในระดับหนึ่ง ซึ่งเกิดจากอาณาเขตติดกับ สปป.ลาว ทำให้เกิดการเดินทางค้าขายเป็นจำนวนมาก | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านห้วยหยวก
ที่อยู่: ตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านห้วยหยวก เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนชาติพันธุ์ของชาวมลาบลี โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมหมู่บ้านชนเผ่ามลาบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2549 โดยมีแนวพระราชดำริเสริมสร้างคุณภาพชีวิตชนเผ่ามลาบุรีหรือตองเหลืองให้ดีขึ้น ในเรื่องศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมการศึกษาให้แก่บุตรหลานเข้าศึกษาต่อตั้งแต่ประถมและมัธยมการดูแลสุขอนามัย รวมถึงอนุรักษ์สืบสานขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของชนเผ่าแบบดั้งเดิมให้คงอยู่สืบไป ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูง มีเรือนพักอาศัยขนาดเล็กทำจากไม้ไผ่ มีจุดเด่นที่การสานลายของประตูบ้านที่ทำจากไผ่ เป็นสังคมขนาดเล็ก ประกอบอาชีพหาของป่า และรับจ้างทั่วไป ทำนา ทำไร่ | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |
ย่านชุมชนเก่า: บ้านปากนาย
ที่อยู่: ตำบลนาทะนุง อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน ภาคเหนือ
ลักษณะสำคัญ: บ้านปากนาย เป็นชุมชนเกษตรกรรม และชุมชนริมน้ำ เดิมเป็นหมู่บ้านริมแม่น้ำน่านหลังการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ ชาวบ้านอพยพมาจากหลายแห่งหมู่บ้านปากนายได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน ซึ่งมีลักษณะเหมือนทะเลสาบขนาดใหญ่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นชุมชนริมน้ำขนาดใหญ่มีภูเขาขนาดใหญ่โดยรอบ มีกลุ่มเรือนแพ ที่มีการประกอบกิจกรรมหลากหลาย อาทิ ที่พักอาศัย ร้านค้า ที่พักนักท่องเที่ยว ชาวบ้านปากนายประกอบอาชีพประมง มีแพร้านอาหาร และห้องพักมีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายและมีการพึ่งพาอาศัยกันอย่างมาก | {
"domain": "articles",
"license": "CC BY",
"source": "https://data.go.th/th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th",
"title": "Thai old community area"
} |