sysid
stringlengths 1
6
| title
stringlengths 8
870
| txt
stringlengths 0
257k
|
---|---|---|
318728 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 5/2529 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง | คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๕/๒๕๒๙
เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกัน
ภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
ตามที่ได้มีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยนโยบายการบริหารพลังงานแห่งชาติ
พ.ศ.๒๕๒๙ ออกใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๒๙ และมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่
๑๗๙/๒๕๒๙ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ลงวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๒๙
ซึ่งมีผลเป็น
การยกเลิกคณะกรรมการนโยบายปิโตรเลียมแห่งชาติไปโดยปริยายนั้น
เพื่อให้มาตรการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดไว้แล้วสามารถดำเนินต่อไปได้โดยไม่หยุดชะงัก จำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่
๓/๒๕๒๙ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
ลงวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๒๙ โดยให้คณะอนุกรรมการนโยบายปิโตรเลียม
ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งดังกล่าวแทนคณะกรรมการนโยบายปิโตรเลียมแห่งชาติ
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓
แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงพ.ศ. ๒๕๑๖
นายกรัฐมนตรี จึงออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกคำนิยาม คณะกรรมการ ในข้อ ๒ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๓/๒๕๒๙
เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
ลงวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๒๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะอนุกรรมการนโยบายปิโตรเลียม หรือคณะกรรมการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการตามคำสั่งนี้'
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๙ เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๙
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๒๙ กันยายน ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๓/ตอน ๒๐๘/หน้า ๑๒๖/๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๙ |
301895 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 3/2529 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง | คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่
3/2529
เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกัน
ภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
----------
โดยที่มาตราการต่าง ๆ
ที่ได้กำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงใน
ช่วงระยะเวลาที่ผ่านไปแล้วนั้นปรากฏว่ามาตราการบางอย่างมีความไม่เหมาะสมกับภาวะการณ์ในปัจจุบัน
สมควรยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติม และสมควรกำหนดมาตรการเพิ่มเติมขึ้นใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงมี
ความจำเป็นต้องปรับปรุงคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่กำหนดมาตราการดังกล่าวเสียใหม่
ประกอบกับคำสั่งดังกล่าว
มีอยู่หลายฉบับสมควรรวบรวมประมวลไว้เป็นฉบับเดียวกันเพื่อสะดวกในการใช้บังคับฉะนั้น อาศัยอำนาจ
ตามความในมาตรา 3
แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.
2516
นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งกำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
ไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่
5/2524 เรื่อง
การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ลงวันที่ 16
พฤษภาคม พ.ศ. 2524
(2) คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่
13/2524 เรื่อง
การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ลงวันที่ 3
พฤศจิกายน
พ.ศ. 2524
(3) คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่
4/2526 เรื่อง การจัดตั้งกองทนุน้ำมันเชื้อเพลิง
ลงวันที่ 23
มีนาคม พ.ศ. 2526
(4) คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่
6/2526 เรื่อง การกำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันการ
ขาดแคลนก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ใช้เป็นก๊าซหุงต้ม ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2526
(5) คำสั่งนากรัฐมนตรี ที่ 8/2526 เรื่อง การส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่
23
พฤศจิกายน พ.ศ. 2526
(6) คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่
1/2528 เรื่อง
การส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่
17 มกราคม พ.ศ. 2528
(7) คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่
2/2529 เรื่อง การจัดตั้งกองทนุน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่
20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529
ข้อ 2 ในคำสั่งนี้
`กองทุน' หมายความว่า
กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งนี้
`น้ำมันเชื้อเพลิง' หมายความว่า น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด
น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา และ
น้ำมันที่คล้ายกันหรือน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ที่คล้ายกันและให้หมายความรวมถึงก๊าซและยางมะตอยด้วย
`ก๊าซ' หมายความว่า
ก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ใช้เป็นก๊าซหุงต้มหรือก๊าซไฮโดรคาร์บอนเหลว
ซึ่งได้แก่ โปรเปน
โปรปิลีน นอร์มัลบิวเทน ไอโซ-บิวเทน หรือ บิวทิลีนส์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือ
หลายอย่างรวมกันเป็นส่วนใหญ่
`คลังก๊าซ' หมายความว่า สถานที่ พร้อมด้วยถังเก็บก๊าซอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก
สำหรับใช้เก็บก๊าซเพื่อการขายส่งโดยมีถังก๊าซที่มีขนาดความจุตั้งแต่สองพันลูกบาศก์เมตรขึ้นไป
`ถังก๊าซหุงต้ม' หมายความว่า
ภาชนะที่ใช้บรรจุก๊าซสำหรับใช้ในการหุงต้มในครัวเรือน ซึ่ง
มีขนาดบรรจุก๊าซไม่เกินถังละ 50 กิโลกรัม
แต่ไม่หมายความรวมถึงภาชนะที่ใช้บรรจุก๊าซเพื่อใช้เป็น
เชื้อเพลิงสำหรับยายพาหนะ
`โรงกลั่นน้ำมัน' หมายความว่า สถานที่ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงภายในราชอาณาจักร
และให้หมายความรวมถึงโรงแยกก๊าซในราชอาณาจักรที่ผลิตและจำหน่ายก๊าซเพื่อใช้ในราชอาณาจักรด้วย
`สถานีบริการ' หมายความว่า
สถานที่ที่ดำเนินกิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงโดยบริการจำหน่าย
น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะให้แก่ประชาชน แต่ไม่หมายความรวมถึงสถานีบริการที่เป็นของ
กระทรวง
ทบวง กรม หรือรัฐวิสาหกิจ
และร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
`ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำในราชอาณาจักร' หมายความว่า
ราคาที่คณะกรรมการกำหนดสำหรับ
น้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่าย ณ
โรงกลั่นน้ำมันเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
`ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้า'
หมายความว่า
ราคาที่คณะกรรมการกำหนดสำหรับน้ำมันเชื้อ
เพลิงที่นำเข้าเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
`ค่าการตลาด' หมายความว่า ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
ซึ่งรวมผลตอบแทนในการดำเนินการธุรกิจ
ของเจ้าของสถานีบริการ ซึ่งรับน้ำมันเชื้อเพลิงจากผู้ค้าน้ำมัน
และของผู้ค้าน้ำมันซึ่งรับน้ำมันเชื้อ
เพลิงจากผู้จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงจากโรงกลั่นน้ำมันเพื่อใช้ในราชอาณาจักรหรือจากผู้นำเข้าน้ำมันเชื้อ
เพลิงเพื่อใช้ในราชอาณาจักร แล้วแต่กรณีทั้งนี้
ตามจำนวนที่คณะกรรมการกำหนด
`ราคาเพิ่มสุทธิ' หมายความว่า
ส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่คณะกรรม
การกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด
หรือคณะกรรมการส่วนจังหวัดกำหนดราคาสินค้าและ
ป้องกันการผูกขาด
แล้วแต่กรณี
กำหนดเพิ่มขึ้นใหม่กับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดไว้เดิม
`ราคาลดสุทธิ' หมายความว่า
ส่วนต่างที่ลดลงของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่คณะกรรมการ
กลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด
หรือคณะกรรมการส่วนจังหวัดกำหนดราคาสินค้าและ
ป้องกันการผูกขาด แล้วแต่กรณี กำหนดไว้เดิมกับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดขึ้นใหม่
`ผู้ค้าน้ำมัน' หมายความว่า
ผู้กระทำการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงโดยซื้อ สั่งนำเข้า
หรือได้
มาด้วยประการอื่นใดเพื่อจำหน่าย
ซึ่งมีปริมาณการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดหรือรวมกันทุกชนิดปีละ
ตั้งแต่สองหมื่นเมตริกตันขึ้นไป
`ผู้บรรจุก๊าซ' หมายความว่า
ผู้ซึ่งได้รับอนุญาตเป็นผู้บรรจุก๊าซในถังก๊าซหุงต้มตามกฎหมายว่า
ด้วยโรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยการบรรจุก๊าซ
`เจ้าของสถานีบริการ' หมายความรวมถึง
ผู้ค้าน้ำมันซึ่งเป็นเจ้าของสถานีบริการโดยให้ถือว่า
ผู้ค้าน้ำมันเป็นเจ้าของสถานีบริการแต่ละคำสั่งนี้ได้
ให้หมายความรวมถึงผู้ครองครองหรือจัดการดูแล
สถานีบริการด้วย
`คณะกรรมการ' หมายความว่า
คณะกรรมการนโยบายปิโตรเลียมแห่งชาติที่คณะรัฐมนตรี หรือ
คณะกรรมการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการตามคำสั่งนี้
`ปลัดกระทรวงการคลัง' หมายความรวมถึง ผู้ซึ่งปลัดกระทรวงการคลังมอบหมายด้วย
ข้อ 3
ให้จัดตั้งกองทุนเรียกว่า `กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง' ประกอบด้วยเงินดังต่อไปนี้
(1)
เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 5/2524
เรื่องการจัดตั้งกองทุน
น้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2524
และคำสั่งที่แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งดังกล่าว
(2)
เงินที่โอนมาจากกองทุนอื่น (ถ้ามี)
(3)
เงินที่ส่งเข้ากองทุนตามคำสั่งนี้
(4)
เงินงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นคราว ๆ (ถ้ามี)
(5) เงินอื่น ๆ
ข้อ 4 ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1)
ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการการปฏิบัติการแทนนายกรัฐมนตรีตามพระราชกำหนดแก้ไขและ
ป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516
(2)
กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการคำนวณราคา
และกำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำในราชอาณา
จักร
ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้าเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
(3)
กำหนดค่าการตลาดสำหรับการซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิง
(4)
กำหนดค่าขนส่งไปยังคลังก๊าซและค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาก๊าซ ณ
คลังก๊าซ ตลอดจน
กำหนดราคาชายก๊าซ ณ
คลังก๊าซเป็นราคาเดียวกันทุกแห่งทั่วราชอาณาจักร
(5)
กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนหรืออัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำในราชอาณา
จักรและที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
(6)
กำหนดชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนหรือไม่ให้ได้รับเงินชดเชย
(7)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามคำสั่งนี้
(8)
ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
ข้อ 5
ให้ปลัดกระทรวงการคลังเป็นผู้จัดการกองทุน มีอำนาจหน้าที่ในการจ่ายเงินจากกองทุน
ตามคำสั่งนี้
และตามที่คณะกรรมการกำหนดตามข้อ
4 ของคำสั่งนี้ ทั้งนี้ โดยให้มีอำนาจกำหนด
ระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามคำสั่งนี้ตามที่เห็นสมควรด้วย
ข้อ 6
ในกรณีที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำในราชอาณาจักรที่มิใช่ก๊าซรวมค่าภาษีอากรและค่า
การตลาดต่ำกว่าราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่คณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูก
ขาดกำหนดหรือราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำในราชอาณาจักรที่มิใช้ก๊าซต่ำกว่าราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้า
แล้วแต่กรณี
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง ณ
โรงกลั่นน้ำมันและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักรส่งเงิน
เข้ากองทุนตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักรในอัตราที่คณะกรรมการ
ประกาศกำหนด
การส่งเงินเข้ากองทุนตามวรรคหนึ่ง
ให้ส่งแก่ผู้รับชำระภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งทำใน
ราชอาณาจักรพร้อมกับการชำระภาษีสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น
(ถ้ามี)
ข้อ 7
ในกรณีที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้าที่มิใช่ก๊าซรวมค่าภาษีอากร และค่าการตลาดต่ำ
กว่าราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่คณะกรรมการกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดกำหนด ให้
ผู้นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในราชอาณาจักรส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้าเพื่อ
ใช้ในราชอาณาจักรในอัตราที่คณะกรรมการกำหนด
การส่งเงินเข้ากองทุนตามวรรคหนึ่ง
ให้ส่งแก่ผู้รับชำระอากรขาเข้าพร้อมกับการชำระอากรสำหรับ
น้ำมันเชื้อเพลิงนั้น (ถ้ามี)
ทั้งนี้ตามระเบียบที่กรมศุลกากรกำหนด
ข้อ 8
ในกรณีที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำในราชอาณาจักรที่มิใช่ก๊าซ รวมค่าภาษีอากรและค่า
การตลาดสูงกว่าราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่คณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการ
ผูกขาดกำหนดให้ปลัดกระทรวงการคลังสั่งจ่ายเงินจากกองทุนชดเชยให้แก่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
ณ โรง
กลั่นน้ำมันและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ใน
ราชอาณาจักรในอัตราที่คณะกรรมการการประกาศกำหนด
การขอรับเงินชดเชยตามวรรคหนึ่ง
ให้ยื่นรายการแจ้งชนิดและปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว
แก่ผู้รับชำระภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันที่ทำในราชอาณาจักรพร้อมกับการชำระภาษีสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง
นั้น (ถ้ามี)
ข้อ 9
ในกรณีที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้าที่มิใช้ก๊าซรวมค่าภาษีอากรและค่าการตลาดสูงกว่า
ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่คณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดกำหนด ให้
ปลัดกระทรวงการคลังสั่งจ่ายเงินจากกองทุนชดเชย
ให้แก่ผู้นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้าเพื่อใช้ในราชอาณาจักรในอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
การขอรับเงินชดเชยตามวรรคหนึ่ง
ให้ยื่นรายการแจ้งชนิดและปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวแก่
ผู้รับชำระอากรขาเข้าพร้อมกับการชำระอากรสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น
(ถ้ามี) และให้นำข้อ 7 วรรคสอง
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 10 ในกรณีที่มีการส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำในราชอาณาจักร
(1)
ถ้าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุน
ให้ผู้ส่งออกได้รับยกเว้นไม่ต้องส่งเงินเข้า
กองทุน
แต่ถ้ามีการส่งเงินเข้ากองทุนแล้วให้ผู้ส่งออกขอคืนได้
(2)
ถ้าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะได้รับเงินชดเชยจากกองทุน ไม่ให้ผู้ส่งออกได้รับเงินชดเชย
แต่ถ้ามีการได้รับเงินชดเชยจากกองทุนแล้วให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุน ไม่ว่าผู้ส่งออกนั้นจะ
เป็นผู้ได้รับเงินชดเชยหรือไม่
การขอรับยกเว้นไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุน การขอคืนเงิน
และการส่งเงินคืนตามวรรคหนึ่ง ให้
ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิตโดยอนุโลม
ข้อ 11
ในกรณีที่มีการขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่เรือเพื่อใช้เดินทางออกนอกราช
อาณาจักร
(1) ถ้าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะได้รับเงินชดเชยจากกองทุนผู้ขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น
ส่งเงินคืนกองทุน
ไม่ว่าผู้ขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นจะเป็นผู้ได้รับเงินชดเชยหรือไม่
(2)
ถ้าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุน และส่งเงินเข้ากองทุนแล้ว ให้ปลัด
กระทรวงการคลังสั่งจ่ายเงินจากการทุนคืนให้แก่ผู้ขายหรือจำหน่วยน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น
ทั้งนี้
ในอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนดสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดเดียวกันที่ใช้บังคับในวัน
ปล่อยเรือเพื่อเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
การส่งเงินคืนกองทุนและการของเงินคืนตามวรรคหนึ่ง ให้นำข้อ 7 วรรคสองและข้อ
9 วรรคสอง
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 12 ผู้ผลิตก๊าซ ณ
โรงกลั่นน้ำมันและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักรและผู้นำเข้าก๊าซเพื่อนำ
เข้าก๊าซเพื่อใช้ในราชอาณาจักรต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) แจ้งแผนการผลิต สั่ง นำเข้าและจำหน่ายก๊าซล่วงหน้าอย่างน้อยหนึ่งเดือน
(2) แจ้งปริมาณ ราคา และสถานที่เก็บก๊าซที่นำเข้าภายในสามวันนับแต่วันนำเข้า
การแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ให้แจ้งต่อกรมทะเบียนการค้า
กระทรวงพาณิชย์
ตามแบบที่กรมทะเบียน
การค้า
กระทรวงพาณิชย์ กำหนด
ข้อ 13 ผู้ผลิตก๊าซ ณ
โรงกลั่นน้ำมันและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักรต้องส่งเงินเข้ากองทุน
ตามปริมาณก๊าซที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักรในอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด และให้
นำข้อ 6
วรรคสอง
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 14 ผู้นำเข้าก๊าซเพื่อใช้ในราชอาณาจักร ต้องส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณก๊าซที่นำเข้าเพื่อ
ใช้ในราชอาณาจักรในอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด และให้นำข้อ 7 วรรคสอง มาใช้บังคับโดย
อนุโลม
ข้อ 15
เพื่อให้มีก๊าซสำหรับประชาชนใช้หุงต้มอย่างพอเพียงในราคาขายปลีกที่ทางราชการกำหนด
ให้ปลัดกระทรวงการคลั่งสั่งจ่ายเงินจากกองทุนชดเชยให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
6 แห่งพระราชบัญญัติ
น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2521
ซึ่งขายหรือจำหน่ายก๊าซเพื่อบรรจุในถังก๊าซหุงต้มตามปริมาณที่กรมทะเบียน
การค้า
กระทรวงพาณิชย์ตรวจสอบและรับรองว่าเป็นปริมาณที่ผู้ค้าน้ำมันได้บรรจุในถังก๊าซหุงต้มเพื่อขาย
หรือจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคสำหรับใช้ในครัวเรือน ทั้งนี้ ในอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ข้อ 16 ในการขอรับเงินชดเชยตามข้อ 15 ให้ผู้ค้าน้ำมันปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1)
จัดทำบัญชีรายจ่ายก๊าซเพื่อให้กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ตรวจสอบได้ในระหว่าง
เวลาทำการของผู้ค้าน้ำมัน
(2)
แจ้งปริมาณก๊าซที่ซื้อหรือได้มาจาก
(ก) โรงกลั่นน้ำมัน
(ข) การนำเข้าเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
(ค) อื่น ๆ
(3)
แจ้งปริมาณก๊าซที่ขายหรือจำหน่ายเพื่อบรรจุในถังก๊าซหุงต้มให้แก่
(ก) ตนเอง ในกรณีที่เป็นผู้บรรจุก๊าซด้วย
(ข) ผู้บรรจุก๊าซรายอื่น
(4)
แจ้งประมาณก๊าซที่ขายหรือจำหน่ายเพื่อการอื่นนอกจาก (3) ให้แก่
(ก) ผู้ค้าน้ำมัน
(ข)
ผู้ประกอบอุตสาหกรรมที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงในการประกอบอุตสาหกรรม รวมทั้งผู้
ประกอบกิจการโรงงาน
ภัตตาคาร สถานพยาบาล และโรงเรียน
หรือกิจการอื่นใดที่ใช้ก๊าซเป็น
เชื้อเพลิงด้วย
(5)
ยื่นคำขอรับเงินชดเชยพร้อมกับคำรับรองของผู้บรรจุก๊าซ
การแจ้งปริมาณก๊าซตาม (2) (3) และ (4) และการยื่นคำขอรับเงินชดเชยพร้อมกับคำรับรอง
ตาม (5)
ให้ทำตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนดและรับรองว่าถูกต้องตามความเป็นจริง และส่งไป
ยังกรมทะเบียนการค้า
กระทรวงพาณิชย์
เดือนละครั้ง
อย่างช้าภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป
ในกรณีที่ผู้ค้าน้ำมันซื้อหรือรับก๊าซจากโรงกลั่นน้ำมัน หรือจากการนำเข้าเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
และบรรจุก๊าซดังกล่าวในถังก๊าซหุงต้มเพื่อขายหรือจำหน่าย
ไม่ต้องทำคำรับรองสำหรับก๊าซส่วนที่นำไป
บรรจุในถังก๊าซหุงต้มเพื่อขายหรือจำหน่ายนั้น
ข้อ 17 ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากผู้ค้าน้ำมันตามข้อ 15 ขายหรือจำหน่ายก๊าซให้แก่
(1) ผู้บรรจุก๊าซ
(2) สถานีบริการ
ข้อ 18 ผู้บรรจุก๊าซต้อง
(1)
ไม่ซื้อหรือรับก๊าซจากผู้ใดนอกจากผู้ค้าน้ำมันตามข้อ 15
(2)
บรรจุก๊าซที่ซื้อหรือได้มาจากผู้ค้าน้ำมันตามข้อ 15
ในถังก๊าซหุงต้มจะขายหรือจำหน่ายก๊าซนั้น
หรือนำก๊าซนั้นไปใช้ในการอื่นก่อนบรรจุในถังก๊าซหุงต้มมิได้
(3)
ทำคำรับรองตามข้อ 16 วรรคสอง
มอบให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามข้อ 15 ซึ่งเป็นผู้ขายหรือจำ
หน่ายก๊าซ พร้อมกับการรับมอบก๊าซนั้น
ข้อ 19 เจ้าของสถานีบริการต้อง
(1)
ไม่ซื้อหรือรับก๊าซจากผู้ใดนอกจากผู้ค้าน้ำมันตามข้อ 15
(2)
ไม่ขายหรือจำหน่ายก๊าซเป็นเชื้อเพลิงสำหรับยายพาหนะในวันและเวลาที่ทางราชการกำหนด
ห้ามสำหรับขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ
ข้อ 20
ห้ามมิให้ผู้ใดนำก๊าซที่บรรจุในถังก๊าซหุงต้มไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะหรือถ่าย
ก๊าซออกจากถังก๊าซหุงต้มนอกสถานที่บรรจุก๊าซ ไม่ว่าจะกระทำวิธีใด ๆ ทั้งสิ้น
(1)
กระทรวงพาณิชย์ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(ก)
สั่งให้กรมการค้าภายในนำเสนอให้คณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกัน
การผูกขาดพิจารณาเพิ่มหรือลดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในกรุงเทพมหานคร
(ข)
สั่งให้กรมการค้าภายในประสานงานกับคณะกรรมการส่วนจังหวัด กำหนดราคาสินค้า
และป้องกันการผู้ขาดพิจารณาเพิ่มหรือลดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในจังหวัดโดยคำนึงถึงอัตราค่าขนส่ง
ที่เหมาะสมด้วย
(ค) สั่งให้กรมทะเบียนการค้าส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือชนิด
ที่มีการเพิ่มหรือลดราคา ณ
คลังน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้ค้าน้ำมันทั่วราชอาณาจักรหลังจากที่ได้มีประกาศคณะ
กรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดเพิ่มหรือลดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงใน
กรุงเทพมหานคร การตรวจสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือให้ถือปริมาณคงเหลือเมื่อเวลา
24.00
นาฬิกา
ของวันก่อนวันที่ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดขึ้นใหม่ใช้บังคับ
(2)
กระทรวงมหาดไทยปฏิบัติดังต่อไปนี้
(ก)
สั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาลท้องที่ร่วมกับผู้ซึ่งผู้อำนวยการเขตท้องที่มอบหมาย
ไปตรวจสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือชนิดที่มีการเพิ่มหรือลดราคา
ณ สถานีบริการในท้องที่หลังจาก
ที่ได้มีประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดเพิ่มหรือลดราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
ในกรุงเทพมหานคร
การตรวจสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือให้ถือปริมาณคงเหลือเมื่อ 24.00
นาฬิกาของวันก่อนที่ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดขึ้นใหม่ใช้บังคับและให้สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจ
นครบาลท้องที่แจ้งผลการตรวจสอบน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือไปยังกรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์
อย่างช้าไม่เกินสามวันนับแต่วันที่ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดขึ้นใหม่ใช้บังคับ
(ข)
สั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรท้องที่ร่วมกับผู้ซึ่งนายอำเภอท้องที่มอบหมาย ไปตรวจสอบ
ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือชนิดที่มีการเพิ่มหรือการลดราคา
ณ สถานที่บริการในท้องที่หลังจากที่ได้มี
ประกาศคณะกรรมการส่วนจังหวัดกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดเพิ่มหรือลดราคาขายปลีกน้ำมัน
เชื้อเพลิงคงเหลือของสถานีบริการ ให้ถือปริมาณคงเหลือเมื่อเวลา 24.00 นาฬิกา ของก่อนวันที่ราคา
ขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดขึ้นใหม่ไม่ใช้บังคับ
และให้สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรอำเภอท้องที่แจ้ง
ผลการตรวจสอบน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือไปยังนายอำเภอท้องที่อย่างช้าไม่เกินสามวันนับแต่วันที่ราคาขาย
ปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดขึ้นใหม่ใช้บังคับ
ในกรณีที่ทางราชการให้เพิ่มหรือลดราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ให้ปฏิบัติ
ตามความในวรรคหนึ่ง ยกเว้น (1) (ข) และ (2) (ข) แต่ในกรณีที่ทางราชการให้เพิ่มหรือลดราคา
น้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครให้ปฏิบัติตามความในวรรคหนึ่ง
ยกเว้น
(1) (ก) และ (ค) และ (2) (ก)
ข้อ 22 เมื่อมีประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดเพิ่มหรือลดราคา
ขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่มิใช่ก๊าซและยางมะตอยใช้บังคับให้
(1)
ผู้ค้าน้ำมันปฏิบัติดังต่อไปนี้
(ก)
หยุดขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงจากคลังน้ำมันเชื้อเพลิงจนกว่าพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามกฎหมายว่าด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงจะได้ไปตรวจสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือชนิดที่มีการเพิ่มหรือลด
ราคาแล้ว
เว้นแต่อธิบดีกรมทะเบียนการค้าจะมีเหตุผลสมควรสั่งเป็นอย่างอื่น
(ข)
แจ้งปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือชนิดที่มีการเพิ่มหรือลดราคารวมทั้งน้ำมันเชื้อเพลิง
ที่ผู้ค้าน้ำมันจ่ายจากคลังน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อส่งให้เจ้าหน้าที่ของสถานีบริการ ก่อนเวลาที่ราคาขายปลีก
น้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดขึ้นใหม่ใช้บังคับ
และส่งมอบให้แก่เจ้าของสถานีบริการภายหลังเวลาที่กำหนดขึ้น
ใหม่ใช้บังคับด้วย
โดยแยกเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่อยู่ในคลังน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเชื้อเพลิงที่อยู่ระหว่าง
การขนส่ง
น้ำมันเชื้อเพลิงที่ซื้อหรือได้จากผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงจากโรงกลั่นน้ำมันในราช
อาณาจักร
น้ำมันเชื้อเพลิงที่สั่งหรือนำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร น้ำมันเชื้อเพลิงที่สำรองไว้จริง
ตามกฎหมายว่าด้วยน้ำมันเชื้อเพลิง
น้ำมันเชื้อเพลิงที่รับฝากจากกระทรวง ทบวง กรม และรัฐวิสาหกิจ
และน้ำมันเชื้อเพลิงที่สำรองไว้ใช้ในราชการหรือการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจที่คณะกรรมการเห็นชอบ
(ถ้ามี)
ต่อกองน้ำมันเชื้อเพลิง
กรมทะเบียนการค้า
กระทรวงพาณิชย์ อย่างช้าไม่เกินเจ็ดสิบสอง
ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดขึ้นใหม่ใช้บังคับ
(2)
เจ้าของสถานีบริการในกรุงเทพมหานครปฏิบัติดังต่อไปนี้
(ก)
หยุดขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือที่มีการเพิ่มหรือลดราคา
จนกว่าเจ้าหน้า
ที่ตำรวจนครบาลท้องที่ร่วมกับผู้ซึ่งผู้อำนวยการเขตท้องที่มอบหมายไปตรวจสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง
คงเหลือชนิดที่มีการเพิ่มหรือลดราคาแล้ว
เว้นแต่อธิบดีกรมทะเบียนการค้าจะมีเหตุผลสมควรสั่งเป็น
อย่างอื่น
(ข)
แจ้งปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือชนิดที่มีการเพิ่มหรือลดราคาต่อกองน้ำมันเชื้อเพลิง
กรมทะเบียนการค้า
กระทรวงพาณิชย์
อย่างช้าไม่เกิน 18.00 นาฬิกา
ของวันที่ราคาขายปลีกน้ำมัน
เชื้อเพลิงที่กำหนดขึ้นใหม่ใช้บังคับ
ข้อ 23
เมื่อมีประกาศคณะกรรมการส่วนจังหวัดกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดเพิ่มหรือ
ลดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่มิใช้ก๊าซและยางมะตอยใช้บังคับ ให้เจ้าของสถานีบริการในจังหวัด
ปฏิบัติต่อไปนี้
(1)
หยุดขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือชนิดที่มีการเพิ่มหรือลดราคาจนกว่าเจ้าหน้าที่
ตำรวจภูธรอำเภอท้องที่ร่วมกับผู้ซึ่งนายอำเภอท้องที่มอบหมายจะได้ไปตรวจสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง
คงเหลือชนิดที่มีการเพิ่มหรือลดราคาแล้วเว้นแต่นายอำเภอท้องที่จะมีเหตุผลสมควรสั่งเป็นอย่างอื่น
(2)
แจ้งปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือชนิดที่มีการเพิ่มหรือลดราคา รวมทั้งน้ำมันเชื้อเพลิง
ที่ซื้อและรับมอบจากผู้ค้าน้ำมันก่อนเวลาที่ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดขึ้นใหม่ใช้บังคับ และขน
มาถึงสถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงภายหลังเวลาที่ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดขึ้นใหม่
ใช้บังคับ (ถ้ามี)
ต่อนายอำเภอท้องที่ อย่างช้าไม่เกิน 16.30 นาฬิกา ขอวันที่ราคาขายปลีกน้ำมัน
เชื้อเพลิงที่กำหนดขึ้นใหม่ใช้บังคับ
เว้นแต่สถานีบริการใดอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเกินห้าสิบกิโลเมตร
โดยเส้นทางคมนาคม
ให้ขยายกำหนดเวลาการแจ้งออกไปอีกยี่สิบสี่ชั่วโมง
ข้อ 24 ในกรณีที่ทางราชการให้เพิ่มราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่มิใช่ก๊าซและยางมะตอย
ให้ปฏิบัติดังนี้
(1)
ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการ
ผูกขาดเพิ่มราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงใช้บังคับ
ให้กรมทะเบียนการค้าแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ค้าน้ำมัน
และเจ้าของสถานีบริการในกรุงเทพมหานครส่งเงินเข้ากองทุนเป็นจำนวนเท่ากับมูลค่าของน้ำมันเชื้อเพลิง
คงเหลือสุทธิแต่ละชนิดที่มีการเพิ่มราคาในราคาเพิ่มสุทธิ
พร้อมกับส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวให้กรมบัญชี
กลางทราบ
และให้ผู้ค้าน้ำมันหรือเจ้าของสถานีบริการ แล้วแต่กรณีส่งเงินตามจำนวนดังกล่าวเข้า
กองทุน อย่างช้าภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนดเวลาส่งเงิน
เข้ากองทุนแล้วหากปรากฏว่ายังมีผู้ค้าน้ำมันหรือเจ้าของสถานีบริการรายใดยังไม่ส่งเงินเข้ากองทุน
หรือส่งไม่ครบหรือส่งภายหลังเวลาที่กำหนดให้กรมบัญชีกลางแจ้งให้กรมทะเบียนการค้าทราบด้วย
(2)
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศคณะกรรมการส่วนจังหวัดกำหนดราคาสินค้าและป้องกัน
การผูกขาดเพิ่มราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงใช้บังคับ
ให้นายอำเภอท้องที่แจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของ
สถานีบริการในท้องที่ส่งเงินเข้ากองทุนเป็นจำนวนเท่ากับมูลค่าน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือสุทธิแต่ละชนิดที่มี
การเพิ่มราคาในราคาเพิ่มสุทธิ พร้อมกับส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวให้คลังจังหวัดหรือคลังอำเภอ
(ถ้ามี)
ทราบ
และให้เจ้าของสถานีบริการส่งเงินตามจำนวนดังกล่าวเข้ากองทุน อย่างช้าภายในหกสิบวันนับแต่
วันที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนดเวลาส่งเงินเข้ากองทุน หากปรากฏว่าเจ้าของสถานี
บริการรายใดยังไม่ส่งเงินเข้ากองทุนหรือส่งไม่ครบหรือส่งภายหลังเวลาที่กำหนด ให้คลังจังหวัด
หรือคลังอำเภอ
(ถ้ามี)
แจ้งให้นายอำเภอท้องที่ทราบด้วย
ข้อ 25 ในกรณีที่ทางราชการให้ลดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่มิใช่ก๊าซและยางมะตอย
ให้ปฏิบัติดังนี้
(1)
ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูก
ขาดลดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงใช้บังคับ
ให้กรมทะเบียนการค้าแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ค้าน้ำมันและ
เจ้าของสถานีบริการในกรุงเทพมหานครทราบจำนวนเงินชดเชยที่พึงได้รับจากกองทุน
เป็นจำนวนเท่า
กับมูลค่าน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือสุทธิแต่ละชนิดที่มีการลดราคาในราคาลดสิทธิ
พร้อมกับส่งสำเนาหนังสือ
ดังกล่าวให้กรมบัญชีกลางทราบ
และให้ผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงหรือเจ้าของสถานีบริการดังกล่าวนำหนังสือ
ของกรมทะเบียนการค้าไปขอรับเงินชดเชยจากกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังอย่างช้าภายในเก้า
สิบวัน
นับแต่วันที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับ
(2)
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศคณะกรรมการส่วนจังหวัดกำหนดราคาสินค้าและป้องกัน
การผูกขาดลดราราขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงใช้บังคับ
ให้นายอำเภอท้องที่แจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของ
สถานีบริการในท้องที่ทราบจำนวนเงินชดเชยที่พึงได้รับจากกองทุนเป็นจำนวนเท่ากับมูลค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
คงเหลือสุทธิแต่ละชนิดที่มีการลดราคาในราคาลดสุทธิพร้อมกับส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวให้คลังจังหวัดหรือ
คลังอำเภอ (ถ้ามี)
ทราบและให้เจ้าของสถานีบริการดังกล่าวนำหนังสือของนายอำเภอท้องที่ไปขอรับ
เงินชดเชยจากคลังจังหวัดหรือคลังอำเภอ (ถ้ามี)
ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับ
ข้อ 26 ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือสุทธิของผู้ค้าน้ำมันตามข้อ 24 และข้อ
25 หมายความว่า
ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่เหลืออยู่จริง
หักด้วยปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้สำรองไว้จริงตาม
กฎหมายว่าด้วยน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ไม่เกินปริมาณที่ต้องสำรองตามกฎหมายดังกล่าว น้ำมันเชื้อเพลิง
ที่รับฝากจากกระทรวง ทบวง
กรม และรัฐวิสาหกิจ
และน้ำมันเชื้อเพลิงที่สำรองไว้ใช้ในราชการ
หรือการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจที่คณะกรรมการเห็นชอบ
(ถ้ามี)
ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือสุทธิของเจ้าของสถานีบริการตามข้อ 24 และ ข้อ
25 หมายความ
ว่าปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่เหลืออยู่จริง ให้หักปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง คงเหลือก้นถึงและน้ำมัน
เชื้อเพลิงสำรองเพื่อการขายหรือจำหน่ายในอัตราร้อยละสิบของความจุของถังบรรจุใต้ดินแต่ละถังด้วย
ในกรณีที่ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือแต่ละชนิดที่ได้จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ตามข้อ
21
การแจ้งของผู้ค้าน้ำมันหรือเจ้าของสถานีบริการตามข้อ 22 หรือจากการตรวจสอบบัญชีของผู้ค้าน้ำมัน
หรือเจ้าของบริการในภายหลังแตกต่างกัน
ให้ถือปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือแต่ละชนิดที่มากที่สุดเป็น
เกณฑ์ในการคำนวณเงินที่ต้องส่งเข้ากองทุน
หรือปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือแต่ละชนิดที่น้อยที่สุดเป็น
เกณฑ์ในการคำนวณเงินชดเชย แล้วแต่กรณี
และถ้าเป็นเหตุให้ผู้ค้าน้ำมันหรือเจ้าของสถานีบริการใด
ต้องส่งเงินเข้ากองทุนเพิ่มขึ้นจากจำนวนที่กรมทะเบียนการค้าหรือนายอำเภอท้องที่แจ้งไว้เดิม หรือต้อง
คืนเงินชดเชยที่ได้รับไปแล้ว ให้กรมทะเบียนการค้าหรือนายอำเภอท้องที่มีหนังสือแจ้งให้ผู้ค้าน้ำมันหรือ
เจ้าของสถานีบริการรายนั้นส่งเงินเข้า
หรือส่งเงินคืนกองทุนตามจำนวนที่ต้องส่งเพิ่มหรือส่งคืน และ
ให้ผู้ค้าน้ำมันหรือเจ้าของสถานีบริการดังกล่าวส่งเงินเข้าหรือส่งเงินคืนกองทุนอย่างช้าภายในสิบห้าวัน
นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง
ข้อ 27 การส่งเงินเข้ากองทุนและการขอรับเงินชดเชยจากกองทุนตามข้อ 24 ข้อ 25
และข้อ 26
ให้เป็นไปตามระเบียบที่กรมบัญชีกลางกำหนด
ข้อ 28 ในกรณีที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนตามคำสั่งนี้
ถ้าผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนไม่ส่งเงินเข้า
กองทุน ส่งเงินเข้ากองทุนไม่ครบและตามจำนวนที่ต้องส่ง
หรือไม่ส่งเงินคืนกองทนุภายในเวลาที่กำหนด
ให้การสรรพสามิตสำหรับผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง ณ
โรงกลั่นน้ำมันและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
และผู้ส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงกรมศุลกากรสำหรับผู้นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงและผู้ซึ่งขายหรือจำหน่ายน้ำมัน
เชื้อเพลิงให้แก่เรือเพื่อใช้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
กรมทะเบียนการค้าสำหรับผู้ค้าน้ำมันและ
เจ้าของสถานีบริการในกรุงเทพมหานคร
และนายอำเภอท้องที่สำหรับเจ้าของสถานีบริการในอำเภอ
ท้องที่ แล้วแต่กรณี
เป็นผู้ดำเนินการให้มีการดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการแก้ไขและป้องกันภาวะ
การขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเร็ว
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนไม่ส่งเงินเข้ากองทุน หรือส่งขาด หรือไม่ส่งเงินคืนกองทุน
หรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนด ไม่ว่าจะถูกดำเนินคดีหรือไม่ ให้เสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสาม
ต่อเดือนของจำนวนเงินดังกล่าว ทั้งนี้ นับแต่วันที่ครบกำหนดส่ง
และให้ถือว่าเงินเพิ่มนี้เป็นเงินที่ต้องส่ง
เข้ากองทุนด้วย
ในการคำนวณระยะเวลาตามวรรคสอง
เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน
ข้อ 29 เงินที่ส่งเข้ากองทุน
และเงินชดเชยที่ได้รับจากกองทุนตามคำสั่งนี้ให้ถือเป็นรายจ่าย
หรือเงินได้
แล้วแต่กรณี
ตามประมวลรัษฎากร
ข้อ 30
การขอรับเงินชดเชยตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ยกเลิกโดยคำสั่งนี้หากมิได้กระทำภายใน
เก้าสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับห้ามมิให้ปลัดกระทรวงการคลังรับไว้พิจารณา
ข้อ 31 บรรดาคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ถูกยกเลิกตามข้อ 1
แห่งคำสั่งนี้รวมทั้งระเบียบและประกาศ
ที่ออกตามคำสั่งดังกล่าว
ให้ใช้บังคับต่อไปสำหรับกรณีที่มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว
รวม
ทั้งการส่งเงินเข้ากองทุนและการขอรับเงินชดเชยและการจ่ายเงินจากกองทุนตามคำสั่งนั้น ก่อนวันที่
คำสั่งนี้ใช้บังคับด้วย
ข้อ 32 ในกรณีที่มีปัญหาในการตีความเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องนำเสนอ
คณะกรรมการปฏิบัติการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัยและให้คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นที่สุด
ข้อ 33 คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2529 เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2529
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี |
301894 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 1/2527 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง | คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๒๗
เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลน
น้ำมันเชื้อเพลิง
ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๒๒ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๓๐
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ กำหนดให้ผู้ซึ่งมีน้ำมันดีเซลที่ใช้กับเครื่องยนต์หมุนเร็วไว้ในครอบครองเกิน
๒๐๐ ลิตร และน้ำมันดีเซลที่ใช้กับเครื่องยนต์หมุนช้าเกิน ๒๐๐ ลิตร ต้องแจ้งปริมาณและสถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว
และให้คณะกรรมการประสานงานการแก้ไขและป้องกันภาวะขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
มีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้ผู้นั้นจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวให้แก่บุคคลใดก็ได้
เพื่อป้องกันการกักตุนน้ำมันเชื้อเพลิง และเพื่อให้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีอยู่ได้ถึงประชาชนผู้มีความจำเป็นต้องใช้โดยทั่วถึงกันนั้น
บัดนี้ภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงได้คลี่คลายลง สมควรยกเลิกมาตรการดังกล่าวได้แล้ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๑๖ นายกรัฐมนตรีจึงออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกข้อ ๔ ข้อ ๕ และข้อ ๖ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๑/๒๕๒๒ ลงวันที่
๓๐ มีนาคม ๒๕๒๒
ข้อ ๒[๑] ให้คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๗
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๒๙ กันยายน ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๑/ตอนที่ ๒๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔/๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๗ |
321799 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 7/2526 เรื่อง การยกเลิกมาตรการจำกัดเวลาจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและการจำหน่ายก๊าซเป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ | คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๗/๒๕๒๖
เรื่อง
การยกเลิกมาตรการจำกัดเวลาจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
และการจำหน่ายก๊าซเป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ[๑]
โดยที่เป็นการสมควรผ่อนคลายมาตรการจำกัดเวลาจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและการจำหน่ายก๊าซเป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ
เพื่อให้สอดคล้องกับภาวการณ์ปัจจุบัน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓
แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖
นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๑๐/๒๕๒๓ ลงวันที่ ๒
ธันวาคม ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมครั้งสุดท้ายโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๓/๒๕๒๖
ลงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๖
ข้อ ๒
ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๗/๒๕๒๕ ลงวันที่ ๒๖
กรกฎาคม ๒๕๒๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๓/๒๕๒๖ ลงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์
๒๕๒๖
ข้อ ๓
ให้คำสั่งนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๖ เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๖
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๒ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๐/ตอนที่ ๑๗๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑/๓ พฤศจิกายน ๒๕๒๖ |
321798 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 3/2526 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง | |
724077 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 3/2526 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
| คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๓/๒๕๒๖
เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกัน
ภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
โดยที่เป็นการสมควรผ่อนคลายมาตรการจำกัดเวลาจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและการจำหน่ายก๊าซเป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ
เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะการณ์ปัจจุบัน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓ แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวการณ์ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖
นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓
แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๖/๒๕๒๕ ลงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๒๕
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓ ให้สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงภายในเขตกรุงเทพมหานครและเขตเทศบาลทั่วราชอาณาจักร
เปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดได้เฉพาะในระหว่างเวลา ๐๕.๐๐ นาฬิกา
ถึง ๑๘.๐๐ นาฬิกา
สำหรับสถานีบริการและร้านน้ำมันเชื้อเพลิงนอกเขตกรุงเทพมหานครและนอกเขตเทศบาลทั่วราชอาณาจักร
เปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดได้ เว้นแต่ในระหว่างเวลา ๑๘.๐๐
นาฬิกา ของวันใหม่ ให้จำหน่ายได้เฉพาะชนิดน้ำมันดีเซล
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔
แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๗/๒๕๒๕ ลงวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๒๕
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๔
การขายหรือจำหน่ายก๊าซเป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ
ให้กระทำได้เฉพาะในระหว่างเวลา ๐๕.๐๐ นาฬิกา ถึง ๑๘.๐๐ นาฬิกา ของทุกวัน
ข้อ
๓
ให้คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๖ เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๑๔
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๖
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๑๘ กันยายน ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๐/ตอนที่ ๒๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๔/๑๖กุมภาพันธ์ ๒๕๒๖ |
309181 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 2/2526 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง | คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๒/๒๕๒๖
เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลน
น้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกการจำกัดการซื้อน้ำมันดีเซล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓
แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะ
การขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖ นายกรัฐมนตรีจึงออกคำสั่งไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกข้อ ๑๙ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๒๒ ลงวันที่ ๒
เมษายน ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๘/๒๕๒๓ ลงวันที่ ๒๙
สิงหาคม
๒๕๒๓
ข้อ ๒
ให้คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๖ เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๖
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๒๙ กันยายน ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๐/ตอนที่ ๑๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๖ |
724075 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 6/2525 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
| คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๖/๒๕๒๕
เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะ
การขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
โดยที่เป็นการสมควรผ่อนคลายมาตรการจำกัดเวลาจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงบางประการเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะการณ์ในปัจจุบัน
อาศัยอำนาจความความในมาตรา
๓ แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖
นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒
แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๐/๒๕๒๓ ลงวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๒๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๒/๒๕๒๓ ลงวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๒๓
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓
แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๐/๒๕๒๓ ลงวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๒๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๒/๒๕๒๓ ลงวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๒๓
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓
ให้สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงภายในเขตกรุงเทพมหานคร
และเขตเทศบาลทั่วราชอาณาจักร
เปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดได้เฉพาะในระหว่างเวลา ๐๖.๐๐ นาฬิกา
ถึง ๑๘.๐๐ นาฬิกา
สำหรับสถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงนอกเขตกรุงเทพมหานครและนอกเขตเทศบาลทั่วราชอาณาจักร
เปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดได้ เว้นแต่ในระหว่างเวลา ๑๘.๐๐
นาฬิกา ถึง ๐๖.๐๐ นาฬิกา ของวันใหม่ ให้จำหน่ายได้เฉพาะชนิดน้ำมันดีเซล
ข้อ
๓
ให้คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๒๒๕ เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๑๕
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๕
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ผู้จัดทำ
๒๙ กันยายน ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๙/ตอนที่ ๙๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖/๑๖ กรกฎาคม ๒๕๒๕ |
724073 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2525 เรื่อง ผ่อนผันมาตรการเพื่อการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
| คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๔/๒๕๒๕
เรื่อง
ผ่อนผันมาตรการเพื่อการแก้ไขและป้องกัน
ภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
โดยที่เป็นการสมควรผ่อนผันมาตรการเพื่อการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
สำหรับสถานีวิทยุโทรทัศน์ซึ่งเผยแพร่รายการเพื่อการศึกษาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓ แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖
นายกรัฐมนตรีจึงออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ความในข้อ ๖
แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๐/๒๕๒๓ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
ลงวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๒๔
ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๒๔
มิให้ใช้บังคับแก่การส่งวิทยุโทรทัศน์ของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
จังหวัดสงขลา (ช่อง ๑๐ หาดใหญ่) ในรายการเพื่อการศึกษาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ตามกำหนดเวลาดังนี้
(๑)
ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ระหว่างเวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา ถึง ๑๗.๓๐ นาฬิกา
(๒)
สำหรับวันเสาร์และวันอาทิตย์ ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ถึง ๑๐.๓๐ นาฬิกา
ข้อ
๒
ให้คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๔
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๕
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ผู้จัดทำ
๒๙ กันยายน ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๙/ตอนที่ ๗๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๒๕ |
724071 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 3/2525 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
| คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๓/๒๕๒๕
เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะ
การขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
โดยที่เป็นการสมควรผ่อนผันให้สถานีบริการน้ำมันในเขตเทศบาลของจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดสุราษฎร์ธานีจำหน่ายน้ำมันดีเซลให้แก่เรือประมงนอกเวลาที่ทางราชการกำหนด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓ แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖
นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ความในข้อ ๒ และข้อ ๓
แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๐/๒๕๒๓ ลงวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๒๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๒/๒๕๒๓ ลงวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๒๓
มิให้ใช้บังคับแก่สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำในเขตเทศบาลของจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดสุราษฎร์ธานี
และบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะยานพาหนะทางน้ำ ทั้งนี้เฉพาะการจำหน่ายน้ำมันดีเซล
ข้อ
๒
ให้คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๑๑
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๕
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ผู้จัดทำ
๒๙ กันยายน ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๙/ตอนที่ ๔๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๔ มีนาคม ๒๕๒๕ |
724069 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 2/2525 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
| คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๒/๒๕๒๕
เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการ
ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓ แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖
นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งไว้ดังนี้
ข้อ
๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๗ ทวิ
แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๐/๒๕๒๓ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวการณ์ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒
ธันวาคม ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๒/๒๕๒๓ ลงวันที่ ๑๒
ธันวาคม ๒๕๒๓ โดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๒๔ ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๒๔
และโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๑/๒๕๒๔ ลงวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๒๔
ข้อ ๗ ทวิ
ให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งยกเว้นการปฏิบัติตามคำสั่งนี้ได้ตามที่เห็นสมควร
ข้อ
๒
ให้คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๒
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๕
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๙/ตอนที่ ๒๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๒/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕ |
317866 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 13/2524 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง | คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑๓/๒๕๒๔
เรื่อง
การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
ตามที่ได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๒๔ เรื่อง
การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ ไปแล้วนั้น
สมควรปรับปรุงวิธีการตรวจสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือ และการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๑๖ นายกรัฐมนตรีจึงออกคำสั่งไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ
๘ ข้อ ๙ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ และข้อ ๑๒ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๒๔ เรื่อง
การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๘ เมื่อทางราชการกำหนดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นทั่วราชอาณาจักร
ให้
(๑) กระทรวงพาณิชย์ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(ก) แจ้งให้คณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดดำเนินการกำหนดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นในกรุงเทพมหานคร
(ข) แจ้งให้คณะกรรมการส่วนจังหวัดกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดดำเนินการกำหนดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นในจังหวัด
โดยคำนึงถึงอัตราค่าขนส่งที่กระทรวงพาณิชย์แจ้งให้ทราบด้วย
(ค) สั่งให้กรมทะเบียนการค้าส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือ
ณ คลังน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้ค้าน้ำมันทั่วราชอาณาจักรหลังจากที่ได้มีประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดกำหนดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นในกรุงเทพมหานคร
การตรวจปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือให้ถือปริมาณคงเหลือเมื่อเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา ของวันก่อนวันที่ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดขึ้นใหม่ใช้บังคับ
(๒) กระทรวงมหาดไทยปฏิบัติดังต่อไปนี้
(ก) สั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาลท้องที่ไปตรวจสอบปริมาณน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลคงเหลือ
ณ สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงในท้องที่หลังจากที่ได้มีประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดกำหนดราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นในกรุงเทพมหานคร
การตรวจปริมาณน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลคงเหลือให้ถือปริมาณคงเหลือเมื่อเวลา
๑๘.๐๐ นาฬิกา ของวันก่อนวันที่ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลที่กำหนดเพิ่มขึ้นใหม่ใช้บังคับ
และให้สารวัตรสถานีตำรวจนครบาลท้องที่แจ้งผลการตรวจสอบไปยังกรมทะเบียนการค้าทราบภายในสามวัน
(ข) สั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรท้องที่ไปตรวจสอบปริมาณน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลคงเหลือ
ณ สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงในท้องที่หลังจากที่ได้มีประกาศคณะกรรมการส่วนจังหวัดกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดกำหนดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นในท้องที่นั้น
การตรวจสอบปริมาณน้ำมันเบนซินคงเหลือ ให้ถือปริมาณคงเหลือเมื่อเวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา
ปริมาณน้ำมันดีเซลคงเหลือของสถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงในเขตเทศบาล
ให้ถือปริมาณคงเหลือเมื่อเวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา ส่วนปริมาณน้ำมันดีเซลคงเหลือของสถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงนอกเขตเทศบาล
ให้ถือปริมาณคงเหลือเมื่อเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา ของวันก่อนวันที่ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลที่กำหนดเพิ่มขึ้นใหม่ใช้บังคับ
และให้หัวหน้าสถานีตำรวจภูธรท้องที่แจ้งผลการตรวจสอบไปยังนายอำเภอท้องที่ภายในสามวัน
ในกรณีที่ทางราชการกำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นเฉพาะในกรุงเทพมหานครให้ปฏิบัติตามความในวรรคหนึ่ง
ยกเว้น (๑) (ข) และ (๒) (ข) แต่ในกรณีที่ทางราชการกำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นเฉพาะในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครให้ปฏิบัติตามความในวรรคหนึ่ง
ยกเว้น (๑) (ก) และ (ค)และ (๒) (ก)
ข้อ ๙ เมื่อคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดกำหนดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น
ให้
(๑) ผู้ค้าน้ำมันปฏิบัติดังต่อไปนี้
(ก) หยุดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงจากคลังน้ำมันจนกว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงตรวจสอบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือแล้ว
เว้นแต่คณะกรรมการจะสั่งเป็นอย่างอื่น
(ข)
ตรวจสอบและแจ้งปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือต่อฝ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
กองชั่งตวงวัด กรมทะเบียนการค้า
อย่างช้าไม่เกินเจ็ดสิบสองชั่วโมงนับแต่เวลาที่ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดเพิ่มขึ้นใหม่ใช้บังคับ
(๒)
เจ้าของสถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงในกรุงเทพมหานคร ตรวจสอบและแจ้งปริมาณน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลคงเหลือต่อฝ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
กองชั่งตวงวัด กรมทะเบียนการค้า อย่างช้าไม่เกิน ๑๔.๐๐ นาฬิกา ของวันถัดไป
การตรวจสอบและแจ้งปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือตาม (๑) (ข)
และปริมาณน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลคงเหลือตาม (๒) ให้นำความในข้อ ๘
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
สำหรับปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือของผู้ค้าน้ำมัน
ให้รวมปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผู้ค้าน้ำมันจ่ายจากคลังน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อส่งให้แก่เจ้าของสถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงก่อนเวลาที่ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดขึ้นใหม่ใช้บังคับ
และส่งมอบให้แก่เจ้าของสถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงภายหลังเวลาที่ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดขึ้นใหม่ใช้บังคับด้วย
โดยแยกเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่อยู่ในระหว่างการขนส่ง น้ำมันเชื้อเพลิงที่สำรองไว้จริง
ตามกฎหมายว่าด้วยน้ำมันเชื้อเพลิง
น้ำมันเชื้อเพลิงที่ซื้อหรือได้จากผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักร
น้ำมันเชื้อเพลิงที่สั่งหรือนำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร น้ำมันเชื้อเพลิงที่รับฝากจากกระทรวง
ทบวง กรม และรัฐวิสาหกิจ และน้ำมันเชื้อเพลิงที่สำรองไว้ใช้ในราชการหรือการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจที่คณะกรรมการเห็นชอบถ้ามี
ส่วนปริมาณน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลคงเหลือของเจ้าของสถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
ให้รวมปริมาณน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลที่ซื้อและรับมอบจากผู้ค้าน้ำมันก่อนเวลาที่ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดขึ้นใหม่ใช้บังคับ
และขนมาถึงสถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงภายหลังเวลาที่ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดขึ้นใหม่ใช้บังคับด้วย
ข้อ ๑๐ เมื่อคณะกรรมการส่วนจังหวัดกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดกำหนดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น
ให้เจ้าของสถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงตรวจสอบและแจ้งปริมาณน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลคงเหลือต่อนายอำเภอท้องที่อย่างช้าไม่เกิน
๑๔.๐๐ นาฬิกา ของวันถัดไป เว้นแต่สถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงใดอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเกินห้าสิบกิโลเมตรโดยเส้นทางคมนาคม
ให้ขยายกำหนดเวลาการแจ้งออกไปอีกยี่สิบสี่ชั่วโมง
การตรวจสอบและแจ้งปริมาณน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลคงเหลือ
ตามวรรค
หนึ่ง ให้นำความในข้อ ๘ และข้อ ๙ วรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๑ ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง
น้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลคงเหลือจากผู้ค้าน้ำมันหรือเจ้าของสถานีบริการหรือร้านค้ามันเชื้อเพลิงในกรุงเทพมหานคร
ให้กรมทะเบียนการค้าแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ค้าน้ำมันและเจ้าของสถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวส่งเงินเข้ากองทุนเป็นจำนวนเท่ากับมูลค่าของน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือสุทธิในราคาเพิ่มสุทธิ
หรือน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลคงเหลือสุทธิในราคาเพิ่มสุทธิ แล้วแต่กรณี
พร้อมกับส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวให้กรมบัญชีกลางทราบ และให้ผู้ค้าน้ำมันหรือเจ้าของสถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
แล้วแต่กรณี ส่งเงินตามจำนวนดังกล่าวเข้ากองทุนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดเพิ่มขึ้นใหม่ใช้บังคับ
เมื่อพ้นกำหนดเวลาส่งเงินเข้ากองทุนแล้ว หากปรากฏว่ายังมีผู้ค้าน้ำมันหรือเจ้าของสถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงรายใด
ยังไม่ส่งเงินเข้ากองทุนหรือส่งไม่ครบหรือส่งภายหลังเวลาที่กำหนด ให้กรมบัญชีกลางแจ้งให้กรมทะเบียนการค้าทราบด้วย
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งปริมาณน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลคงเหลือจากเจ้าของสถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงในท้องที่
ให้นายอำเภอท้องที่แจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของสถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวส่งเงินเข้ากองทุนเป็นจำนวนเท่ากับมูลค่าน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลคงเหลือสุทธิในราคาเพิ่มสุทธิ
พร้อมกับส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวให้คลังจังหวัดหรือคลังอำเภอ (ถ้ามี) ทราบ
และให้เจ้าของสถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินตามจำนวนดังกล่าวเข้ากองทุนภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลที่กำหนดขึ้นใหม่ใช้บังคับ
เมื่อพ้นกำหนดเวลาส่งเงินเข้ากองทุนแล้ว หากปรากฏว่า
เจ้าของสถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงรายใดยังไม่ส่งเงินเข้ากองทุนหรือส่งไม่ครบหรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนด
ให้คลังจังหวัดหรือคลังอำเภอ (ถ้ามี) แจ้งให้นายอำเภอทราบด้วย
ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือสุทธิของผู้ค้ามันตามวรรคหนึ่ง
หมายความว่า ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่เหลืออยู่จริง
หักด้วยปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้สำรองไว้จริงตามกฎหมายว่าด้วยน้ำมันเชื้อเพลิง
แต่ไม่เกินปริมาณที่ต้องสำรองตามกฎหมายดังกล่าว น้ำมันเชื้อเพลิงที่รับฝากจากกระทรวง
ทบวง กรม และรัฐวิสาหกิจ และน้ำมันเชื้อเพลิงที่สำรองไว้ใช้ในราชการหรือการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจที่คณะกรรมการเห็นชอบ
(ถ้ามี)
ปริมาณน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลคงเหลือสุทธิของเจ้าของสถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง
หมายความว่า ปริมาณน้ำมันแต่ละชนิดที่เหลืออยู่จริงหักด้วยปริมาณน้ำมันคงเหลือก้นถังและน้ำมันสำรองเพื่อการขายหรือจำหน่ายในอัตราร้อยละสิบของความจุของถังบรรจุใต้ดิน
ในกรณีที่ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือแต่ละชนิดที่ได้จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ตามข้อ
๘ การแจ้งของผู้ค้าน้ำมันหรือเจ้าของสถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงตามข้อ
๙ หรือจากการตรวจสอบบัญชีของผู้ค้าน้ำมันหรือเจ้าของสถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงในภายหลังไม่ตรงกัน
ให้ถือปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่มากที่สุดเป็นเกณฑ์ในการคำนวณจำนวนเงินที่ต้องส่งเข้ากองทุน
และถ้าเป็นเหตุให้ผู้ค้าน้ำมันหรือเจ้าของสถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงรายใดต้องส่งเงินเข้ากองทุนเพิ่มขึ้น
จากจำนวนที่กรมทะเบียนการค้าหรือนายอำเภอท้องที่แจ้งไว้เดิม
ให้กรมทะเบียนการค้าหรือนายอำเภอท้องที่มีหนังสือแจ้งให้ผู้ค้าน้ำมันหรือเจ้าของสถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงรายนั้น
ส่งเงินเข้ากองทุนตามจำนวนที่ต้องส่งเพิ่มและให้ผู้ค้าน้ำมันหรือเจ้าของสถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวส่งเงินเข้ากองทุนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง
การส่งเงินเข้ากองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด
ข้อ ๑๒
ในกรณีที่ผู้ค้าน้ำมันหรือเจ้าของสถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ
๙ หรือข้อ ๑๐ หรือไม่ปฏิบัติตามหนังสือแจ้งตามข้อ ๑๑ โดยไม่มีเหตุอันสมควร
ให้กรมทะเบียนการค้าสำหรับผู้ค้าน้ำมันและเจ้าของสถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงในกรุงเทพมหานคร
และนายอำเภอท้องที่สำหรับเจ้าของสถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงในท้องที่
เป็นผู้ดำเนินการ ให้มีการดำเนินคดีโดยเร็ว
ในกรณีที่ผู้ค้าน้ำมันหรือเจ้าของสถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ส่งเงินเข้ากองทุนหรือส่งขาด
หรือส่งภายหลังระยะเวลาที่กำหนด ไม่ว่าจะถูกดำเนินคดีหรือไม่ ให้เสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสามต่อเดือนของจำนวนเงินที่ต้องส่งเข้ากองทุนหรือส่งขาดนับแต่วันที่ครบกำหนดส่ง
และให้ถือว่าเงินเพิ่มนี้เป็นเงินที่ต้องส่งเข้ากองทุนด้วย
ในการคำนวณระยะเวลาตามวรรคสอง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน
ข้อ ๒
ความในข้อ ๑๒ วรรคหนึ่งของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๒๔ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนี้ ให้ใช้บังคับย้อนหลังไปถึงกรณีที่ผู้ค้าน้ำมันและเจ้าของสถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับด้วย
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๔
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
ธิดาวรรณ/แก้ไข
๗ ตุลาคม ๒๕๔๕
อภิญญา/ปรับปรุง
๑๐ ตุลาคม
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๔/ตอน ๑๘๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๔ |
317865 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 12/2524 เรื่อง การให้เจ้าของสถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง | คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑๒ / ๒๕๒๔
เรื่อง การให้เจ้าของสถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
ส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
ตามที่คณะกรรมการส่วนจังหวัดกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดบางจังหวัด
ได้กำหนดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นเนื่องจากการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ประกาศขึ้นค่าระวางตั้งแต่วันที่
๑ มิถุนายน ๒๕๒๔
ซึ่งเป็นผลทำให้เจ้าของสถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงในท้องที่ดังกล่าวต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๕ / ๒๕๒๔ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ แต่โดยที่การกำหนราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นในกรณีดังกล่าวเป็นจำนวนเล็กน้อย ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ
ในการนี้สมควรให้เจ้าของสถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖ นายกรัฐมนตรีจึงออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ให้เจ้าของสถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงในท้องที่จังหวัดที่คณะกรรมการส่วนจังหวัดกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดกำหนดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น
ในหรือหลังวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๒๔ เนื่องจากการรถไฟแห่งประเทศไทยขึ้นค่าระวางเมื่อวันที่
๑ มิถุนายน ๒๕๒๔ ได้รับยกเว้นไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๕/๒๕๒๔ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๔
สั่ง ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๔
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
ธิดาวรรณ/แก้ไข
๘ ตุลาคม ๒๕๔๕
อภิญญา/ปรับปรุง
๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๘/ตอนที่ ๑๖๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๙ ตุลาคม ๒๕๒๔ |
318727 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 15/2524 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง | คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑๕/๒๕๒๔
เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลน
น้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
โดยที่เป็นการสมควรอนุญาตให้สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงในเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่างจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงได้ในวันอาทิตย์ที่
๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๔
เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและการดำเนินการเลือกตั้ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓
แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖
นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ให้สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงในกรุงเทพมหานคร
เขตเลือกตั้งที่ ๑๐ ได้แก่ เขตบางขุนเทียน เขตภาษีเจริญ เขตหนองแขม และเขตตลิ่งชัน
เขตเลือกตั้งจังหวัดพัทลุงทั้งจังหวัด เขตเลือกตั้งจังหวัดมหาสารคามทั้งจังหวัด
เขตเลือกตั้งจังหวัดเลยทั้งจังหวัด และจังหวัดอุบลราชธานี เขตเลือกตั้งที่ ๑
ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ และอำเภอเขื่องใน
เปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดได้ตลอดวัน
ข้อ ๒ ให้คำสั่งนี้มีผลบังคับเฉพาะในวันอาทิตย์ที่
๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๔
สั่ง ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๔
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๑๒ กันยายน ๒๕๕๗
ปุณิกา/ปรับปรุง
๑๔ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๘/ตอนที่ ๑๙๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖/๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๔ |
301893 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 14/2524 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง | คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑๔/๒๕๒๔
เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกัน
ภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
โดยที่เป็นการสมควรอนุญาตให้สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงในเขตท้องที่จังหวัดอุดรธานี
จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงได้ในวันอาทิตย์ ที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๔
เพื่อเป็นการสนับสนุนการแข่งขันกีฬาเขต ครั้งที่ ๑๕
ซึ่งจังหวัดอุดรธานีเป็นเจ้าภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓
แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๑๖ นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ให้สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงภายในเขตและนอกเขตเทศบาลในท้องที่จังหวัดอุดรธานี
เปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดได้ตลอดวัน เฉพาะในวันที่ ๒๒
พฤศจิกายน ๒๕๒๔
ข้อ ๒ ให้คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๔
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๑๒ กันยายน ๒๕๕๗
ปุณิกา/ปรับปรุง
๑๔ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๘/ตอนที่ ๑๙๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๒๔ |
318726 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 11/2524 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง | คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑๑/๒๕๒๔
เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะ
การขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
ตามที่ได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๐/๒๕๒๓
เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่
๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ นั้น
เพื่อให้การใช้บังคับมาตรการดังกล่าวเป็นไปโดยเหมาะสม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๑๖ นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (๑) และ (๔) ของข้อ ๕
วรรคหนึ่ง ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๐/๒๕๒๓ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๒๓
ข้อ ๒ คำสั่งนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๔
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๑๒ กันยายน ๒๕๕๗
ปุณิกา/ปรับปรุง
๑๔ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๘/ตอนที่ ๑๒๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕/๑๑ สิงหาคม ๒๕๒๔ |
301892 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 9/2524 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง | คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๙/๒๕๒๔
เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะ
การขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
โดยที่เป็นการสมควรเปลี่ยนแปลงการจำกัดเวลาจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
ในเขตท้องที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูนเป็นการชั่วคราว
เพื่อส่งเสริมความเจริญทางด้านเศรษฐกิจในฤดูผลไม้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๑๖ นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งเปลี่ยนแปลงการจำกัดเวลาจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในเขตท้องที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูนไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ความในข้อ
๒ และข้อ ๓ แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๐/๒๕๒๓ ลงวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๒๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑๒/๒๕๒๓ ลงวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๒๓ มิให้ใช้บังคับแก่สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงภายในเขตท้องที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน
ข้อ ๒ ห้ามมิให้สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงภายในเขตเทศบาล
ในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน
เปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในวันพุธ
สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงนอกเขตเทศบาลในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน
จะเปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในวันพุธได้ตลอดวัน เฉพาะชนิดน้ำมันดีเซล
ข้อ ๓ ในวันอื่นนอกจากวันพุธให้สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงภายในเขตเทศบาลในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน
เปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงได้เฉพาะระหว่างเวลา ๐๖.๐๐ นาฬิกา ถึง ๑๘.๐๐
นาฬิกา
ในวันอื่นนอกจากวันพุธ
ให้สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงนอกเขตเทศบาลในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน
เปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดได้ เว้นแต่ในระหว่างเวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา
ถึง ๐๖.๐๐ นาฬิกา ของวันใหม่ ให้จำหน่ายได้เฉพาะชนิดน้ำมันดีเซล
ข้อ ๔ ให้คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒
สิงหาคม ๒๕๒๔ ถึง วันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๒๔
สั่ง ณ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๔
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๑๒ กันยายน ๒๕๕๗
ปุณิกา/ปรับปรุง
๑๔ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๘/ตอนที่ ๑๒๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๖/๓๐กรกฎาคม ๒๕๒๔ |
724067 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 6/2524 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
| คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๖/๒๕๒๔
เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะ
การขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
โดยที่เป็นการสมควรเปลี่ยนแปลงการจำกัดเวลาจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในเขตท้องที่จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดระยองเป็นการชั่วคราวเพื่อส่งเสริมความเจริญทางด้านเศรษฐกิจในฤดูผลไม้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓
แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖
นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งเปลี่ยนแปลงการจำกัดเวลาจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในเขตท้องที่จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดระยองไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ความในข้อ ๒ และข้อ ๓
แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๐/๒๕๒๓ ลงวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๒๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๒/๒๕๒๓ ลงวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๒๓
มิให้ใช้บังคับแก่สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงภายในเขตท้องที่จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดระยอง
ข้อ
๒
ห้ามมิให้สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงภายในเขตเทศบาลในท้องที่จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดระยอง
เปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในวันพุธ
สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงนอกเขตเทศบาลในท้องที่จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดระยอง
จะเปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในวันพุธได้ตลอดวัน เฉพาะชนิดน้ำมันดีเซล
ข้อ
๓
ในวันอื่นนอกจากวันพุธให้สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงภายในเขตเทศบาลในท้องที่จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดระยองเปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงได้เฉพาะระหว่างเวลา
๐๖.๐๐ นาฬิกา ถึง ๑๘.๐๐ นาฬิกา
ในวันอื่นนอกจากวันพุธ
ให้สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงนอกเขตเทศบาลในท้องที่จังหวัดจันทบุรีและจังวัดระยอง
เปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดได้ เว้นแต่ในระหว่างเวลา ๑๘.๐๐
นาฬิกา ถึง ๐๖.๐๐ นาฬิกา ของวันใหม่ ให้จำหน่ายได้เฉพาะชนิดน้ำมันดีเซล
ข้อ
๔
ให้คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๒๔ ถึงวันที่ ๖
กรกฎาคม ๒๕๒๔
สั่ง ณ วันที่ ๕
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๔
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๒๕ กันยายน ๒๕๕๗
ปุณิกา/แก้ไข
๑๔ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๘/ตอนที่ ๘๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๕ มิถุนายน ๒๕๒๔ |
724065 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2524 เรื่อง การกำหนดมาตรการเพื่อการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
| คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๔/๒๕๒๔
เรื่อง
การกำหนดมาตรการเพื่อการแก้ไขและป้องกัน
ภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑๐/๒๕๒๓ ลงวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๒๓ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อ ๖ ที่กำหนดให้สถานีวิทยุโทรทัศน์
งดการส่งวิทยุโทรทัศน์ระหว่างเวลา ๑๘.๓๐ นาฬิกา ถึง ๒๐.๐๐ นาฬิกา
บัดนี้
เห็นเป็นการสมควรจะกำหนดเวลาในการส่งวิทยุโทรทัศน์เสียใหม่
ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ของท้องถิ่น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓ แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖
นายกรัฐมนตรีจึงออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
๑.
ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๐/๒๕๒๓ ลงวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๒๓
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๖
ให้สถานีวิทยุโทรทัศน์งดการส่งวิทยุโทรทัศน์ระหว่างเวลา ๑๘.๓๐ นาฬิกา ถึง
๒๐.๐๐ นาฬิกา เว้นแต่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดสงขลา (ช่อง ๑๐
หาดใหญ่) และสถานีโทรทัศน์ ช่อง ๖ หาดใหญ่
ให้งดการส่งวิทยุโทรทัศน์ตามกำหนดเวลาดังนี้
(๑)
ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ให้งดการส่งวิทยุโทรทัศน์ระหว่างเวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา
ถึง ๑๗.๓๐ นาฬิกา
(๒)
สำหรับวันเสาร์และวันอาทิตย์ ให้งดการส่งวิทยุโทรทัศน์ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา
ถึง ๑๐.๓๐ นาฬิกา
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๓๐
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๔
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๒๓ กันยายน ๒๕๕๗
ปุณิกา/แก้ไข
๑๔ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๘/ตอนที่ ๕๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๔/๘ เมษายน ๒๕๒๔ |
724337 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2523 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อการประหยัดไฟฟ้า
| คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๔/๒๕๒๓
เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อการประหยัดไฟฟ้า[๑]
เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
จึงเป็นการสมควรกำหนดมาตรการการประหยัดไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓ แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖
นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑
ให้สถานีวิทยุโทรทัศน์งดการส่งวิทยุโทรทัศน์ ระหว่างเวลา ๑๘.๓๐ นาฬิกา ถึง
๒๐.๐๐ นาฬิกา ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่
๑๕ เมษายน ๒๕๒๓ เป็นต้นไป
ข้อ
๒
ให้คณะกรรมการเฉพาะกิจในภาวะฝนแล้งตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ที่ ๔๕/๒๕๒๓
มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพื่อให้ผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมและกิจการที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าในช่วงเวลาระหว่าง
๑๘.๐๐ นาฬิกา ถึง ๒๑.๐๐ นาฬิกา ปฏิบัติเกี่ยวกับระยะเวลาในการดำเนินกิจการ ทั้งนี้
เพื่อประโยชน์ในการประหยัดการใช้ไฟฟ้า
สั่ง ณ วันที่ ๘
เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๓
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๑๑ กันยายน ๒๕๕๗
ปุณิกา/ปรับปรุง
๑๕ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๕๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒ /๙ เมษายน ๒๕๒๓ |
326250 | คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 7/2523 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง | คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ ๗/๒๕๒๓
เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันการขาดแคลน
น้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
โดยที่เป็นการสมควรเปลี่ยนแปลงการจำกัดเวลาจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในเขตกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้ประชาชนประหยัดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามมาตรา ๓
แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๑๖ นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิก
(๑) คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๔๘/๒๕๑๘
เรื่องการใช้มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๖
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๘
(๒) คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ สร. ๐๒๐๑/๖๘
เรื่องการใช้มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๖
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙
(๓) คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ สร. ๐๒๐๑/๗๕ เรื่อง
การใช้มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๑๙
ข้อ ๒
ห้ามมิให้สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงเปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในวันอาทิตย์
ข้อ ๓
ในวันอื่นนอกจากวันอาทิตย์ ให้สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงเปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงได้เฉพาะในระหว่างเวลา
๐๕.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๒๑.๐๐ นาฬิกา
ข้อ ๔
ความในข้อ ๒ มิให้ใช้บังคับแก่สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะยานพาหนะทางน้ำ
แต่สถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวต้องเปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะในระหว่างเวลา
๐๕.๐๐ นาฬิกา ถึง ๒๑.๐๐ นาฬิกา และต้องจำหน่ายลงในถังบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงประจำยานพาหนะทางน้ำเท่านั้น
จะจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงลงในถังบรรจุอื่นมิได้
ข้อ ๕
ให้คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับแก่สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงภายในเขตกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๖
ให้คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๓
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
นายกรัฐมนตรี
เพ็ญพร/พิมพ์/แก้ไข
๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๕
อภิญญา/ปรับปรุง
๑๕ กันยายน ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๗/ตอน ๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๖ มกราคม ๒๕๒๓ |
327552 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 7/2523 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง | คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๗/๒๕๒๓
เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกัน
การขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
โดยที่เป็นการสมควรเปลี่ยนแปลงการจำกัดเวลาจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในเขตกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้ประชาชนประหยัดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามมาตรา ๓
แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๑๖ นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิก
(๑) คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๔๘/๒๕๑๘
เรื่องการใช้มาตรการเพื่อการแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๖
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๘
(๒) คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ สร. ๐๒๐๑/๖๘
เรื่องการใช้มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๖
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙
(๓) คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ สร. ๐๒๐๑/๗๕
เรื่องการใช้มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒๘
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๙
ข้อ ๒
ห้ามมิให้สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงเปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในวันอาทิตย์
ข้อ ๓
ในวันอื่นนอกจากวันอาทิตย์ ให้สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงเปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงได้เฉพาะในระหว่างเวลา
๐๕.๐๐ นาฬิกา ถึง ๒๑.๐๐ นาฬิกา
ข้อ ๔
ความในข้อ ๒ มิให้ใช้บังคับแก่สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะยานพาหนะทางน้ำ
แต่สถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวต้องเปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะในระหว่างเวลา
๐๕.๐๐ นาฬิกา ถึง ๒๑.๐๐ นาฬิกา และต้องจำหน่ายลงในถังบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงประจำยานพาหนะทางน้ำเท่านั้น
จะจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงลงในถังบรรจุอื่นมิได้
ข้อ ๕
ให้คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับแก่สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงภายในเขตกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๖
ให้คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๓
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
นายกรัฐมนตรี
เพ็ญพร/ผู้จัดทำ
๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๕
อภิญญา/ปรับปรุง
๑๕ กันยายน ๒๕๕๗
ปุณิกา/ปรับปรุง
๑๕ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๑ มกราคม ๒๕๒๓ |
723947 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 10/2523 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับ Update ณ วันที่ 13/12/2523)
| คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑๐/๒๕๒๓
เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการ
ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรการในการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อให้เกิดการประหยัดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้ยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3
แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖
นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิก
(๑) คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๗/๒๕๒๒ เรื่อง
มาตรการประหยัดไฟฟ้า ลงวันที่ ๑๔
สิงหาคม ๒๕๒๒
(๒) คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๓/๒๕๒๓ เรื่อง
มาตรการประหยัดไฟฟ้า ลงวันที่ ๘
เมษายน ๒๕๒๓
(๓) คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๒๓ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อการประหยัดไฟฟ้า
ลงวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๒๓
(๔) คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๗/๒๕๒๓
เรื่องกำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและ
ป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๒๓
(๕) คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๙/๒๕๒๓ เรื่อง
การเปลี่ยนแปลงมาตรการประหยัดไฟฟ้าสำหรับสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
จังหวัดสงขลา (ช่อง ๑๐ หาดใหญ่) ลงวันที่ ๑๖
กันยายน ๒๕๒๓
ข้อ ๒[๒]
ห้ามมิให้สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงภายในเขตกรุงเทพมหานครและนอกเขตเทศบาลทั่วราชอาณาจักร
จะเปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในวันอาทิตย์ได้ตลอดวัน
เฉพาะชนิดน้ำมันดีเซล
ข้อ ๓[๓] ในวันอื่นนอกจากวันอาทิตย์
ให้สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงภายในกรุงเทพมหานครและเขตเทศบาลทั่วราชอาณาจักร
เปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงได้เฉพาะในระหว่างเวลา ๐๖.๐๐ นาฬิกา ถึง
๑๘.๐๐ นาฬิกา
ในวันอื่นนอกจากวันอาทิตย์ให้สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงนอกเขตกรุงเทพมหานครและนอกเขตเทศบาลทั่วราชอาณาจักร
เปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดได้ เว้นแต่ในระหว่างเวลา ๑๘.๐๐
นาฬิกา ถึง ๐๖.๐๐ นาฬิกา ของวันใหม่ ให้จำหน่ายได้เฉพาะชนิดน้ำมันดีเซล
ข้อ ๔
ห้ามใช้ไฟฟ้าในการโฆษณาป้ายสินค้าหรือบริการ
ยกเว้นการโฆษณาป้ายชื่อร้านหรือป้ายชื่อภาพยนตร์
ให้ใช้ไฟฟ้าโฆษณาได้ร้านหรือโรงภาพยนตร์ละไม่เกินหนึ่งป้าย สำหรับป้ายชื่อร้านให้ใช้ไฟฟ้าได้ระหว่างเวลา
๑๘.๐๐ นาฬิกา ถึง ๒๑.๐๐ นาฬิกา และสำหรับป้ายชื่อภาพยนตร์ ให้ใช้ไฟฟ้าเฉพาะระหว่างเวลาที่กำหนดให้ฉายภาพยนตร์ได้เท่านั้น
ข้อ ๕
ให้สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการเปิดทำการได้เฉพาะระหว่างเวลา
ดังต่อไปนี้
(๑) สถานเต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง ให้เปิดได้ระหว่างเวลา
๒๑.๐๐ นาฬิกา ถึง ๐๑.๐๐นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้น
(๒) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา
หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย และบริการโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอน
หรือมีบริการนวดให้แก่ลูกค้า ให้เปิดได้ในวันธรรมดาระหว่างเวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา ถึง
๒๒.๐๐ นาฬิกา และในวันหยุดราชการระหว่างเวลา ๑๒.๐๐ นาฬิกา ถึง ๒๒.๐๐ นาฬิกา
(๓) สถานอาบน้ำ นวด หรืออบตัว ซึ่งมีผู้บริการให้แก่ลูกค้า
ให้เปิดได้ในวันธรรมดาระหว่างเวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา ถึง ๒๔.๐๐ นาฬิกา
และในวันหยุดราชการระหว่างเวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา ถึง ๒๔.๐๐ นาฬิกา
สถานอาบน้ำ นวด หรืออบตัว
ซึ่งมีผู้บริการให้แก่ลูกค้าแห่งใดเป็นร้านตัดผลหรือดัดผมด้วย ให้เปิดเฉพาะที่เกี่ยวกับการตัดผมหรือดัดผมได้ระหว่างเวลา
๐๘.๐๐ นาฬิกา ถึง ๒๐.๐๐ นาฬิกา
(๔) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา
หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย และบริการโดยมีหญิงสำหรับปรนนิบัติลูกค้า
หรือโดยจัดให้มีการแสดงดนตรีเกินสองชิ้น หรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง ให้เปิดได้ระหว่างเวลา
๑๑.๐๐ นาฬิกา ถึง ๑๔.๐๐นาฬิกา และระหว่างเวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา ถึง ๒๔.๐๐ นาฬิกา
ระยะเวลาเปิดและปิดทำการในข้อนี้
มิให้ใช้บังคับแก่สถานบริการในระหว่างเทศกาลขึ้นปีใหม่ระหว่างวันที่ ๓๑ ธันวาคม
ถึงวันที่ ๑ มกราคม ของทุกปี
ข้อ ๖
ให้สถานีวิทยุโทรทัศน์งดการส่งวิทยุโทรทัศน์ระหว่างเวลา ๑๘.๓๐ นาฬิกา ถึง
๒๐.๐๐ นาฬิกา เว้นแต่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดสงขลา (ช่อง ๑๐
หาดใหญ่) ให้งดการส่งวิทยุโทรทัศน์ตามกำหนดเวลาดังนี้
(๑) ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์
ให้งดการส่งวิทยุโทรทัศน์ระหว่างเวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา ถึง ๑๗.๓๐ นาฬิกา
(๒) สำหรับวันเสาร์และวันอาทิตย์
ให้งดการส่งวิทยุโทรทัศน์ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ถึง ๑๐.๓๐ นาฬิกา
ข้อ ๗
ให้คณะกรรมการเฉพาะกิจในภาวะฝนแล้งตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ที่ ๔๕/๒๕๒๓ มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพื่อให้ผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมและกิจการที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าในช่วงเวลาระหว่าง
๑๘.๐๐ นาฬิกา ถึง ๒๑.๐๐ นาฬิกา ปฏิบัติเกี่ยวกับระยะเวลาในการดำเนินกิจการ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการประหยัดการใช้ไฟฟ้า
ข้อ ๘
คำสั่งนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๒๓ เป็นต้นไป
เว้นแต่ความในข้อ ๒ และข้อ ๓ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๓
เป็นต้นไป และคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๗/๒๕๒๓ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๒๓
ให้คงมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๒๓
สั่ง ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2523
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๒/๒๕๒๓ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๔]
อภิญญา/ปรับปรุง
๑๑ กันยายน ๒๕๕๗
ปุณิกา/ปรับปรุง
๑๔ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๑๘๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒ ธันวาคม ๒๕๒๓
[๒]
ข้อ ๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๒/๒๕๒๓ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
[๓]
ข้อ ๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๒/๒๕๒๓ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
[๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๗/ตอน ๑๙๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๗/๑๓ ธันวาคม ๒๕๒๓ |
326249 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 6/2523 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง | คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๖/๒๕๒๓
เรื่อง
การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่
๕/๒๕๒๓ ลงวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๒๓ เรื่อง
การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓
แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖
นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ ๗ แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๒๓
ลงวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามคำสั่งนี้
ในกรณีที่มีการนำน้ำมันดิบที่ใช้แทนน้ำมันเตาหรือน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักรให้คณะกรรมการกำหนดราคาสำหรับน้ำมันดังกล่าวด้วย
ข้อ ๒
ให้ยกเลิกความในข้อ ๙ แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๒๓ ลงวันที่ ๒
มิถุนายน ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๙
ในกรณีที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดตามข้อ ๖ สูงกว่าราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด
หรือในกรณีที่คณะกรรมการกำหนดราคาสำหรับน้ำมันดิบที่ใช้แทนน้ำมันเตาหรือน้ำมันเชื้อเพลิงตามข้อ
๗ แล้ว ถ้าราคานำเข้าต่ำกว่าราคาขายส่ง ให้
(๑) ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักร
เพื่อใช้ในราชอาณาจักรส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
(๒)
ผู้นำน้ำมันดิบที่ใช้แทนน้ำมันเตาหรือน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักรส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณน้ำมันดิบที่ใช้แทนน้ำมันเตาหรือน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ทั้งนี้
ในอัตราต่อหน่วยของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายหรือน้ำมันดิบที่ใช้แทนน้ำมันเตาหรือน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้า
แล้วแต่กรณี ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
เงินที่ส่งตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเป็นรายจ่ายตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๑ แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๒๓ ลงวันที่ ๒
มิถุนายน ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๑
ในกรณีที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดตามข้อ ๖ ต่ำกว่าราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด
หรือในกรณีที่คณะกรรมการกำหนดราคาสำหรับน้ำมันดิบที่ใช้แทนน้ำมันเตาหรือน้ำมันเชื้อเพลิงตามข้อ
๗ แล้ว ถ้าราคานำเข้าสูงกว่าราคาขายส่ง
ให้ปลัดกระทรวงการคลังหรือผู้ซึ่งปลัดกระทรวงการคลังมอบหมายสั่งจ่ายเงินจากกองทุนชดเชยให้แก่
(๑) ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักร
เพื่อใช้ในราชอาณาจักรตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
(๒)
ผู้นำน้ำมันดิบที่ใช้แทนน้ำมันเตาหรือน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักรตามปริมาณน้ำมันดิบที่ใช้แทนน้ำมันเตาหรือน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ทั้งนี้
ในอัตราต่อหน่วยของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่าย หรือน้ำมันดิบที่ใช้แทนน้ำมันเตาหรือน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้า
แล้วแต่กรณี ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
เงินที่ได้รับตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเป็นเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๔
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ค) ของข้อ ๑๓ (๑) แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๕/๒๕๒๓ ลงวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๒๓
(ค) สำหรับน้ำมันดิบและน้ำมันเชื้อเพลิงจากสาธารณรัฐประชาชนจีน
ประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย ที่นำเข้าโดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเป็นจำนวนไม่เกินส่วนต่างระหว่างมูลค่าที่นำเข้าแต่ละคราวที่คำนวณตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดสำหรับ (ข)
หักด้วยมูลค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากน้ำมันดิบนั้นหรือมูลค่าน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น
แล้วแต่กรณี ตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด โดยรวมภาษีอากรและเงินที่ส่งเข้ากองทุนในช่วงเวลาเดียวกัน
ทั้งนี้ โดยต้องมีหลักฐานเอกสารประกอบการพิจารณาดังต่อไปนี้ด้วย คือ
(๑) สำเนาเอกสารการอนุมัติซื้อหรือนำเข้าซึ่งน้ำมันดิบหรือน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้มีอำนาจอนุมัติซื้อ
(๒) สำเนาเอกสารซื้อขาย
(๓) สำเนาใบทวงหนี้หรือเอกสารการชำระหนี้
(๔) สำเนาใบสำคัญเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
(๕) หนังสือรับรองว่าเอกสารตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔)
เป็นสำเนาของต้นฉบับที่แท้จริง และเกี่ยวข้องกับการขอรับเงินชดเชยแต่ละรายการ
ในกรณีที่ปรากฏว่าได้มีการนำน้ำมันดิบไปใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดโดยตรง
มูลค่าน้ำมันดิบที่จะนำไปหักตามวรรคหนึ่งนั้น ให้ถือตามราคาที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดนั้นโดยไม่รวมภาษีอากรและเงินที่ส่งเข้ากองทุนในช่วงเวลาเดียวกัน
ข้อ ๕
ให้ยกเลิกความใน (๔) ของข้อ ๑๔ แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๒๓ ลงวันที่
๒ มิถุนายน ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๔) ถ้าเป็นน้ำมันดิบและน้ำมันเชื้อเพลิงตามข้อ ๑๓ (๑) (ข)
หรือ (ค) ให้ยื่นรายการแจ้งชนิดและปริมาณน้ำมันดิบและน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว
ตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
ข้อ ๖
ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๘ แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๒๓ ลง
วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๘
ให้คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ถูกยกเลิกตามข้อ ๑ แห่งคำสั่งนี้ใช้บังคับอยู่ต่อไปสำหรับกรณีที่มีการผลิตและจำหน่ายหรือนำเข้าซึ่งน้ำมันดิบหรือน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในราชอาณาจักรก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีตามข้อ ๑๓ (๑)
ให้ใช้บังคับแก่ ปตท.
และผู้นำเข้าที่ได้นำน้ำมันดิบหรือน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาในราชอาณาจักรก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ
สั่ง ณ วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๓
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
เพ็ญพร/ผู้จัดทำ
๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๕
อภิญญา/ปรับปรุง
๑๕ กันยายน ๒๕๕๗
ปุณกา/ปรับปรุง
๑๔ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๑๓๓/หน้า ๑๙๓/๒๖ สิงหาคม ๒๕๒๓ |
301891 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 12/2523 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง | คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑๒/๒๕๒๓
เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการ
ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
โดยที่เป็นการสมควรเปลี่ยนแปลงการจำกัดเวลาจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๑๖ นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกความในข้อ ๒ และข้อ ๓ แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๐/๒๕๒๓
ลงวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๒ ห้ามมิให้สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงภายในเขตกรุงเทพมหานครและเขตเทศบาลทั่วราชอาณาจักร
เปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในวันอาทิตย์
สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงนอกเขตกรุงเทพมหานครและนอกเขตเทศบาลทั่วราชอาณาจักรจะเปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในวันอาทิตย์ได้ตลอดวัน
เฉพาะชนิดน้ำมันดีเซล
ข้อ ๓ ในวันอื่นนอกจากวันอาทิตย์ให้สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงภายในเขตกรุงเทพมหานครและเขตเทศบาลทั่วราชอาณาจักร
เปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงได้เฉพาะในระหว่างเวลา ๐๖.๐๐ นาฬิกา ถึง ๑๘.๐๐
นาฬิกา
ในวันอื่นนอกจากวันอาทิตย์ให้สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงนอกเขตกรุงเทพมหานครและนอกเขตเทศบาลทั่วราชอาณาจักร
เปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดได้ เว้นแต่ในระหว่างเวลา ๑๘.๐๐
นาฬิกา ถึง ๐๖.๐๐ นาฬิกา ของวันใหม่ ให้จำหน่ายได้เฉพาะชนิดน้ำมันดีเซล
ข้อ ๒ ให้คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่
14 ธันวาคม 2523 เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๓
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๑๑ กันยายน ๒๕๕๗
ปุณิกา/ปรับปรุง
๑๔ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๑๙๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๗/๑๓ ธันวาคม ๒๕๒๓ |
318725 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 10/2523 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง | คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑๐/๒๕๒๓
เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการ
ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมาตรการในการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อให้เกิดการประหยัดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้ยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3
แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖
นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิก
(๑) คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๗/๒๕๒๒ เรื่อง
มาตรการประหยัดไฟฟ้า ลงวันที่ ๑๔
สิงหาคม ๒๕๒๒
(๒) คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๓/๒๕๒๓ เรื่อง
มาตรการประหยัดไฟฟ้า ลงวันที่ ๘
เมษายน ๒๕๒๓
(๓) คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๒๓ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อการประหยัดไฟฟ้า
ลงวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๒๓
(๔) คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๗/๒๕๒๓
เรื่องกำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและ
ป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๒๓
(๕) คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๙/๒๕๒๓ เรื่อง
การเปลี่ยนแปลงมาตรการประหยัดไฟฟ้าสำหรับสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
จังหวัดสงขลา (ช่อง ๑๐ หาดใหญ่) ลงวันที่ ๑๖
กันยายน ๒๕๒๓
ข้อ 2
ห้ามมิให้สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิงทั่วราชอาณาจักร
เปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในวันอาทิตย์
ข้อ 3
ในวันอื่นนอกจากวันอาทิตย์ ให้สถานีบริการและร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
เปิดบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงได้เฉพาะในระหว่างเวลา ๐๖.๐๐ นาฬิกา ถึง
๑๘.๐๐ นาฬิกา
ข้อ ๔
ห้ามใช้ไฟฟ้าในการโฆษณาป้ายสินค้าหรือบริการ
ยกเว้นการโฆษณาป้ายชื่อร้านหรือป้ายชื่อภาพยนตร์
ให้ใช้ไฟฟ้าโฆษณาได้ร้านหรือโรงภาพยนตร์ละไม่เกินหนึ่งป้าย
สำหรับป้ายชื่อร้านให้ใช้ไฟฟ้าได้ระหว่างเวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา ถึง ๒๑.๐๐ นาฬิกา
และสำหรับป้ายชื่อภาพยนตร์ ให้ใช้ไฟฟ้าเฉพาะระหว่างเวลาที่กำหนดให้ฉายภาพยนตร์ได้เท่านั้น
ข้อ ๕
ให้สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการเปิดทำการได้เฉพาะระหว่างเวลา
ดังต่อไปนี้
(๑) สถานเต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง ให้เปิดได้ระหว่างเวลา
๒๑.๐๐ นาฬิกา ถึง ๐๑.๐๐นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้น
(๒) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย
และบริการโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอน หรือมีบริการนวดให้แก่ลูกค้า
ให้เปิดได้ในวันธรรมระหว่างเวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา ถึง ๒๒.๐๐ นาฬิกา
และในวันหยุดราชการระหว่างเวลา ๑๒.๐๐ นาฬิกา ถึง ๒๒.๐๐ นาฬิกา
(๓) สถานอาบน้ำ นวด หรืออบตัว ซึ่งมีผู้บริการให้แก่ลูกค้า
ให้เปิดได้ในวันธรรมดาระหว่างเวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา ถึง ๒๔.๐๐ นาฬิกา
และในวันหยุดราชการระหว่างเวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา ถึง ๒๔.๐๐ นาฬิกา
สถานอาบน้ำ นวด หรืออบตัว
ซึ่งมีผู้บริการให้แก่ลูกค้าแห่งใดเป็นร้านตัดผลหรือดัดผมด้วย ให้เปิดเฉพาะที่เกี่ยวกับการตัดผมหรือดัดผมได้ระหว่างเวลา
๐๘.๐๐ นาฬิกา ถึง ๒๐.๐๐ นาฬิกา
(4) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา
หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย และบริการโดยมีหญิงสำหรับปรนนิบัติลูกค้า
หรือโดยจัดให้มีการแสดงดนตรีเกินสองชิ้น หรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิงให้เปิดได้ระหว่างเวลา
๑๑.๐๐ นาฬิกา ถึง ๑๔.๐๐นาฬิกา และระหว่างเวลา ๑๘.๐๐ นาฬิกา ถึง ๒๔.๐๐ นาฬิกา
ระยะเวลาเปิดและปิดทำการในข้อนี้
มิให้ใช้บังคับแก่สถานบริการในระหว่างเทศกาลขึ้นปีใหม่ระหว่างวันที่ ๓๑ ธันวาคม
ถึงวันที่ ๑ มกราคม ของทุกปี
ข้อ ๖
ให้สถานีวิทยุโทรทัศน์งดการส่งวิทยุโทรทัศน์ระหว่างเวลา ๑๘.๓๐ นาฬิกา ถึง
๒๐.๐๐ นาฬิกา เว้นแต่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดสงขลา (ช่อง ๑๐
หาดใหญ่) ให้งดการส่งวิทยุโทรทัศน์ตามกำหนดเวลาดังนี้
(๑) ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์
ให้งดการส่งวิทยุโทรทัศน์ระหว่างเวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา ถึง ๑๗.๓๐ นาฬิกา
(๒) สำหรับวันเสาร์และวันอาทิตย์
ให้งดการส่งวิทยุโทรทัศน์ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ถึง ๑๐.๓๐ นาฬิกา
ข้อ ๗
ให้คณะกรรมการเฉพาะกิจในภาวะฝนแล้งตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ที่ ๔๕/๒๕๒๓ มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพื่อให้ผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมและกิจการที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าในช่วงเวลาระหว่าง
๑๘.๐๐ นาฬิกา ถึง ๒๑.๐๐ นาฬิกา ปฏิบัติเกี่ยวกับระยะเวลาในการดำเนินกิจการ ทั้งนี้
เพื่อประโยชน์ในการประหยัดการใช้ไฟฟ้า
ข้อ ๘
คำสั่งนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๒๓ เป็นต้นไป
เว้นแต่ความในข้อ ๒ และข้อ ๓ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๓
เป็นต้นไป และคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๗/๒๕๒๓ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๒๓
ให้คงมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๒๓
สั่ง ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2523
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๑๑ กันยายน ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๗/ตอน ๑๘๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒ ธันวาคม ๒๕๒๓ |
301890 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 8/2523 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง | คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๘/๒๕๒๓
เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการ
ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
ตามที่ได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๑/๒๕๒๒
และที่ ๔/๒๕๒๒ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๒๒ และลงวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๒๒ นั้น เนื่องจากขณะนี้ปรากฏว่าภาวะการน้ำมันเชื้อเพลิงได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ซึ่งตามแผนการผลิตและจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง
น้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล จะมีเพียงพอตลอดปี ๒๕๒๓ จึงเห็นควรยกเลิกและแก้ไขเพิ่มเติมมาตรการบางประการที่หมดความจำเป็นได้
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๑๖ นายกรัฐมนตรีจึงออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคำนิยามคำว่า ผู้ค้าน้ำมัน ในข้อ
๓ แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๒๒ ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๒๒
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ผู้ค้าน้ำมัน หมายความว่า
ผู้กระทำการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงโดยซื้อ สั่ง หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร หรือได้มาไม่ว่าด้วยประการใดเพื่อจำหน่าย
ซึ่งมีปริมาณการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดหรือรวมกันทุกชนิดปีละตั้งแต่สองหมื่นเมตริกตันขึ้นไป
และให้หมายความรวมถึงผู้ประกอบอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยและสำนักงานจัดจำหน่ายและสำรองผลิตภัณฑ์น้ำมันด้วย
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗
แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๒๒ ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๗ ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งชนิดและปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงที่รับหรือได้มา
ได้จัดส่งหรือจำหน่ายและคงเหลือเป็นประจำทุกเดือน ภายในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป
ต่อกรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อ ๘ แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๒๒ ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๒๒
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๖
แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๑/๒๕๒๒ ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๖ ในการรับน้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซล
ให้ผู้จำหน่ายน้ำมันตรวจสอบตราหรือเครื่องหมายที่ผู้ค้าน้ำมันผูก ผนึก
หรือประทับก่อนรับว่ามีรอยแกะหรือบุบสลายอย่างใดหรือไม่ ถ้าปรากฏว่ามีรอยแกะหรือบุบสลาย
ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าน้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซลนั้นมีการปลอมปนและเก็บตัวอย่างไว้ในภาชนะบรรจุผนึกไว้ให้มั่นคงโดยให้ผู้ควบคุมยานพาหนะที่ขนส่งและผู้จำหน่ายน้ำมันลงลายมือชื่อกำกับไว้เป็นหลักฐานเพื่อการตรวจพิสูจน์ต่อไปพร้อมกับรายงานให้พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้ค้าน้ำมันทราบโดยเร็วที่สุดด้วย
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๙ แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๒๒ ลงวันที่
๒ เมษายน ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๙ บุคคลซึ่งมีเหตุต้องใช้น้ำมันดีเซล
ให้ซื้อน้ำมันดีเซลได้ไม่เกินปริมาณ ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่เป็นเกษตรกร ให้ซื้อได้ตามปกติ
แต่ไม่เกินครั้งละ ๒๐๐ ลิตร
(๒) ในกรณีที่เป็นเกษตรกรทำประมง ให้ซื้อได้ครั้งละไม่เกินปริมาณสำหรับถังบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงประจำเรือประมง
(๓) ในกรณีที่เป็นผู้ควบคุมยานพาหนะหรือยานยนต์อื่นให้ซื้อได้ครั้งละไม่เกินปริมาณสำหรับถังบรรจุน้ำมันขนาดธรรมดาที่ติดประจำอยู่กับยานพาหนะ
หรือยานยนต์นั้น
(๔)
ผู้ประกอบธุรกิจหรืออุตสาหกรรมหรือกิจการอื่นที่คณะกรรมการกำหนด
ให้ซื้อได้ไม่เกินปริมาณที่เคยซื้อตามปกติ
โดยแสดงหลักฐานต่อผู้ค้าน้ำมันหรือผู้จำหน่ายน้ำมัน แล้วแต่กรณี
(๕) บุคคลอื่นนอกจากที่กล่าวไว้ใน (๑) (๒)
(๓) หรือ (๔) ให้ซื้อได้ไม่เกินครั้งละ ๒๐ ลิตร
ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวใน (๑) (๒) (๓) หรือ
(๔) มีความจำเป็นต้องใช้น้ำมันดีเซลเกินปริมาณที่จะซื้อได้ตามวรรคหนึ่ง
ให้ขออนุญาตต่อกองควบคุมสินค้า กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ สำหรับผู้ซื้ออยู่ในกรุงเทพมหานคร
หรือนายอำเภอแห่งท้องที่ที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนาหรือสถานที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๖ ให้คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๒๙ สิงหาคม ๒๕๒๓ เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๓
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๑๐ กันยายน ๒๕๕๗
ปุณิกา/ปรับปรุง
๑๔ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๗/ตอน ๑๓๘/ ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๕ กันยายน ๒๕๒๓ |
724059 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 5/2523 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
| คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๕/๒๕๒๓
เรื่อง
การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงคำสั่งของนายกรัฐมนตรี
เรื่อง การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้เหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น
และสมควรโอนอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสั่งจ่ายเงินชดเชยการกำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
ซึ่งเดิมกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยและของผู้ว่าการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
ไปเป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลังและของปลัดกระทรวงการคลัง แล้วแต่กรณี
รวมทั้งกำหนดให้อำนาจแก่คณะกรรมการนโยบายปิโตรเลียมแห่งชาติ
ในการกำหนดราคานำเข้าของน้ำมันเชื้อเพลิงบางชนิดด้วย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓
แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖
นายกรัฐมนตรีจึงออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิก
(๑)
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๐๒๐๑/๙ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่
๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒
(๒)
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๘๗/๒๕๒๒ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ลงวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๒
(๓)
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร. ๐๒๐๑/๕๔ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ลงวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๒
(๔)
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๒๓ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่
๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๒
(๕)
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๒/๒๕๒๓ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่
๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๓
ข้อ
๒ ในคำสั่งนี้
กองทุน หมายความว่า
กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่จัดตั้งขึ้นตามข้อ ๓ แห่งคำสั่งนี้
น้ำมันเชื้อเพลิง หมายความว่า น้ำมันเบนซิน
น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา และน้ำมันที่คล้ายกัน
หรือน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ที่คล้ายกัน
และหมายความรวมถึงก๊าซหุงต้มและยางมะตอยด้วย
ปตท. หมายความว่า การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการนโยบายปิโตรเลียมแห่งชาติ ที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง
ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด หมายความว่า
ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดตามข้อผูกพันในสัญญาจัดสร้างและประกอบกิจการโรงกลั่นน้ำมัน
ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม กับบริษัทโรงกลั่นน้ำมันไทย จำกัด
หรือสัญญาอื่นในลักษณะเดียวกัน (ถ้ามี)
ข้อ
๓ ให้จัดตั้งกองทุน เรียกว่า
กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ประกอบด้วยเงิน ดังต่อไปนี้
(๑)
เงินทุนตามข้อ ๔
(๒)
เงินที่ผู้มีหน้าที่ส่งเข้ากองทุนตามข้อ ๙
(๓)
เงินที่โอนมาตามข้อ ๕
(๔)
เงินงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นคราว ๆ (ถ้ามี)
(๕)
เงินที่โอนมาจากกองทุนอื่น (ถ้ามี)
(๖)
เงินอื่น ๆ
ข้อ
๔
ให้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๐๒๐๑/๙ ลงวันที่
๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ และคำสั่งที่แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งดังกล่าว
เป็นเงินกองทุนตามคำสั่งนี้
ข้อ
๕ เงินที่ค้างจ่ายในกรณีดังต่อไปนี้
(๑)
เงินที่เหลือจากการจ่ายชดเชยให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับจากกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑๗๘/๒๕๒๐ ลงวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๐
(๒)
เงินที่เหลือจากการจ่ายชดเชยให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับจากกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
(เงินตราต่างประเทศ) ที่จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๐๖/๒๕๒๑ ลงวันที่
๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๑
(๓)
เงินค่าเช่าโรงกลั่นน้ำมันประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๑ และพ.ศ. ๒๕๒๒
ที่ได้รับจากบริษัทซัมมิทอินดัสเตรียล จำกัด (ปานามา)
ตามสัญญาเช่าโรงกลั่นน้ำมันที่ ๒ ของกระทรวงกลาโหม
(๔)
เงินประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๑ และพ.ศ. ๒๕๒๒
ที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้รับจากบริษัทโรงกลั่นน้ำมันไทย จำกัด ตามสัญญาจัดสร้างและประกอบกิจการโรงกลั่นน้ำมัน
และจากบริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ดประเทศไทย จำกัด
ตามสัญญาประกอบกิจการโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมและเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม
(๕)
เงินกำไรและส่วนลดที่ได้จากการซื้อขายน้ำมันเชงลีระยะยาว
ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ลงวันที่ ๑๔
มกราคม ๒๕๒๒
ข้อ
๖
ในกรณีที่น้ำมันเชื้อเพลิงผลิตในโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักร
ให้ราคาขายส่งโดยยังไม่รวมภาษีอากร ณ โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักร
ที่คณะกรรมการนโยบายปิโตรเลียม ซึ่งได้รับแต่งตั้งตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่
๒/๒๕๒๓ ลงวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้กำหนดไว้แล้ว ในวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ
เป็นราคาขายส่งโดยยังไม่รวมภาษีอากร ณ โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักร ตามคำสั่งนี้
ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง
ให้คณะกรรมการเปลี่ยนแปลงราคาขายส่ง โดยยังไม่รวมภาษีอากร ณ
โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักร
สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้กำหนดไว้แล้วทุกครั้งให้สอดคล้องกันด้วย
เพื่อประโยชน์ในการกำหนดราคาขายส่งโดยยังไม่รวมภาษีอากร
ณ โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรตามข้อนี้
ให้กระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งราคาน้ำมันเชื้อเพลิงให้คณะกรรมการทราบโดยไม่ชักช้า
ข้อ
๗
ในกรณีที่มีการนำเข้าซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิง
ให้คณะกรรมการกำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งได้นำเข้าเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
สำหรับก๊าซหุงต้ม
ให้คณะกรรมการกำหนดราคาตามวรรคหนึ่ง และให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๑ มีนาคม
พ.ศ. ๒๕๒๓
ข้อ
๘ ในกรณีที่คณะกรรมการได้กำหนดราคาขายส่งสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตในโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรตามข้อ
๖ ให้ถือราคาที่คณะกรรมการกำหนดเป็นราคาขายส่ง ณ
โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรโดยยังไม่รวมภาษีอากร
ข้อ
๙
ในกรณีที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดตามข้อ ๖ สูงกว่าราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด
หรือราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่คณะกรรมการจะประกาศกำหนด
สำหรับการนำเข้าเพื่อใช้ในราชอาณาจักรตามข้อ ๗ ให้
(๑)
ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
(๒)
ผู้นำน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ทั้งนี้
ในอัตราต่อหน่วยของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายหรือนำเข้า แล้วแต่กรณี
ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
เงินที่ส่งตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือเป็นรายจ่ายตามประมวลรัษฎากร
ข้อ
๑๐ ในการส่งเงินเข้ากองทุนตามข้อ ๙
ให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑)
ถ้าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ต้องส่งให้แก่ผู้รับชำระภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งทำในราชอาณาจักรพร้อมกับการขำระภาษีนั้น
(๒)
ถ้าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเพี่อใช้ในราชอาณาจักร
ต้องส่งให้แก่ผู้รับชำระอากรขาเข้า พร้อมกับการชำระอากรนั้น
ข้อ
๑๑ ในกรณีที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดตามข้อ
๖ ต่ำกว่าราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด
หรือราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่คณะกรรมการจะประกาศกำหนดสำหรับการนำเข้าเพื่อใช้ในราชอาณาจักรตามข้อ
๗
ให้ปลัดกระทรวงการคลังหรือผู้ซึ่งปลัดกระทรวงการคลังมอบหมายสั่งจ่ายเงินจากกองทุนชดเชยให้แก่
(๑)
ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักร
เพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
(๒)
ผู้นำน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักรตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ทั้งนี้
ในอัตราต่อหน่วยของน้ำมันเชื้อเพลิองที่ผลิตและจำหน่ายหรือนำเข้า แล้วแต่กรณี
ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
เงินที่ได้รับตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือเป็นเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
ข้อ
๑๒
ในกรณีที่น้ำมันเตาที่ผลิตและจำหน่ายหรือนำเข้ามีลักษณะแตกต่างไปจากน้ำมันเตาที่ประกาศราคาตามข้อ
๖
ให้คณะกรรมการคำนวณปรับอัตราเงินที่ต้องส่งหรือชดเชยให้สอดคล้องกับราคาน้ำมันเตาที่กำหนดตามข้อ
๖ ด้วย
ข้อ
๑๓ ให้ปลัดกระทรวงการคลัง
หรือผู้ซึ่งปลัดกระทรวงการคลังมอบหมายสั่งจ่ายเงินชดเชยจากกองทุนให้แก่
(๑)
ในการนำเข้า
(ก)
สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้าตามชนิด ปริมาณ
และราคาที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๗๒/๒๕๒๒ ลงวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ และคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๐๕/๒๕๒๒
ลงวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นจำนวนไม่เกินส่วนต่างระหว่างมูลค่าที่นำเข้าแต่ละคราวที่คำนวณตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดหักด้วยมูลค่าน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น
ตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดโดยรวมภาษีอากรและเงินที่ส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้งนี้
โดยต้องมีหลักฐานเอกสารประกอบการพิจารณาดังต่อไปนี้ด้วย
(๑)
สำเนาเอกสารอนุมัติซื้อน้ำมัน หรือน้ำมันเชื้อเพลิงของผู้ซึ่งมีอำนาจอนุมัติซื้อ
(๒)
สำเนาเอกสารซื้อขายน้ำมันดิบ หรือน้ำมันเชื้อเพลิง
(๓)
สำเนาใบทวงหนี้ หรือสำเนาเอกสารการชำระหนี้
(ข)
สำหรับน้ำมันดิบและน้ำมันเชื้อเพลิงที่ ปตท. นำเข้าตามชนิด ปริมาณ
และราคาที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ ปตท. หรือผู้ที่คณะกรรมการ ปตท. มอบหมาย
เป็นจำนวนไม่เกินส่วนต่าง ระหว่างมูลค่าที่นำเข้าแต่ละคราวที่คำนวณตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด หักด้วยมูลค่าน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น
ตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด โดยรวมภาษีอากร
และเงินที่ส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้งนี้
โดยต้องมีหลักฐานเอกสารประกอบการพิจารณาดังต่อไปนี้ด้วย คือ
(๑)
สำเนาเอกสารแสดงการอนุมัติซื้อน้ำมัน หรือน้ำมันเชื้อเพลิงของคณะกรรมการ ปตท.
หรือของผู้ที่คณะกรรมการ ปตท. มอบหมาย หรือของผู้มีอำนาจอนุมัติซื้อ
(๒)
สำเนาเอกสารซื้อขาย หรือแลกเปลี่ยนน้ำมันดิบ หรือน้ำมันเชื้อเพลิง
(๓)
สำเนาในทวงหนี้ หรือสำเนาเอกสารการชำระหนี้
(๒)
ในกรณีที่ ปตท. ขายน้ำมันดิบ น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา ที่ได้รับเงินชดเชยตาม (๑) (ก)
หรือ (ข) ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
หรือชายน้ำมันดีเซลที่ได้รับเงินชดเชยตาม (๑) (ก) หรือ (ข)
ให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทั้งนี้
ในอัตราต่อหน่วยของน้ำมันดิบ น้ำมันดีเซล และน้ำมันเตา
ที่ขายตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ข้อ
๑๔ ในการขอรับเงินชดเชยจากกองทุน
ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑)
ถ้าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ให้ยื่นรายการแจ้งชนิดและปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวแก่ผู้รับชำระภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งทำในราชอาณาจักร
พร้อมกับการชำระอากรนั้น
(๒)
ถ้าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ให้ยื่นราบการแจ้งชนิดและปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวแก่ผู้รับชำระอากรขาเข้า
พร้อมกับการชำระอากรนั้น
(๓)
ถ้าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามข้อ ๑๓ (๑) (ก)
ให้ยื่นรายการแจ้งชนิดและปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว
ตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
(๔)
ถ้าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามข้อ ๑๓ (๑) (ข) ให้ยื่นรายการแจ้งชนิดและปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว
ตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
(๕)
ถ้าเป็นน้ำมันดิบ น้ำมันดีเซล และน้ำมันเตา
ที่ขายให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
หรือน้ำมันดีเซลที่ขายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคตามข้อ ๑๓ (๒)
ให้ยื่นรายการแจ้งชนิดและปริมาณน้ำมันดิบ น้ำมันเตา
หรือน้ำมันดีเซลดังกล่าวต่อกระทรวงการคลัง
ข้อ
๑๕ ในการส่งเงินตามข้อ ๙
หรือการสั่งจ่ายเงินชดเชยตามข้อ ๑๑
ให้ถือปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผู้มีหน้าที่ชำระภาษีหรืออากรต้องชำระภาษีหรืออากรเป็นหลักฐานในการคำนวณ
ส่วนการสั่งจ่ายเงินชดเชยตามข้อ ๑๓ ให้ถือปริมาณน้ำมันดิบและน้ำมันเตาหรือน้ำมันดีเซล
ที่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค แล้วแต่กรณี
ร่วมกันรับรองเป็นหลักฐานในการคำนวณ
ข้อ
๑๖
ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้แก่ธนาคารเนื่องจากการกู้เงินมาทดรองเงินชดเชยให้จ่ายจากกองทุนได้เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ
ข้อ
๑๗
ในกรณีที่ยังมีผู้มีสิทธิที่จะได้รับเงินจากกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑๗๘/๒๕๒๐ ลงวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๐ อยู่
ให้ปลัดกระทรวงการคลังหรือผู้ซึ่งปลัดกระทรวงการคลังมอบหมายมีอำนาจจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ผู้มีสิทธิตามหลักฐานที่ได้รับจากปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในคำสั่งดังกล่าว
ข้อ
๑๘
ให้คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ถูกยกเลิกตามข้อ ๑
แห่งคำสั่งนี้ใช้บังคับอยู่ต่อไป สำหรับกรณีที่มีการผลิตและจำหน่ายหรือนำเข้าซึ่งน้ำมันดิบหรือน้ำมันเชื้อเพลิงในราชอาณาจักรก่อนวันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีตามข้อ ๑๓ (๑) (ก) และ
(ข) ให้ใช้บังคับแก่ ปตท. และผู้นำเข้าที่ได้นำน้ำมันดิบหรือน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาในราชอาณาจักรก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับด้วย
ข้อ
๑๙ ข้อ ๑๓ (๒)
ให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ ปตท. ขายน้ำมันดิบ น้ำมันดีเซล และน้ำมันเตา
ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับด้วย แต่ต้องไม่ก่อนวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
ข้อ
๒๐ ในกรณีที่มีปัญหาในการตีความเกี่ยวกับการปฏิบัติการตามคำสั่งนี้
ให้กระทรวงอุตสาหกรรมหรือกระทรวงการคลัง แล้วแต่กรณี
นำเรื่องเสนอให้คณะกรรมการปฏิบัติการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัย
และให้คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นที่สุด
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๒
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๓
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๑๕ กันยายน ๒๕๕๗
ปุณิกา/ปรับปรุง
๑๕ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๙๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๕ มิถุนายน ๒๕๒๓ |
724055 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 2/2523 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
| คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๒/๒๕๒๓
เรื่อง
การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
ตามที่ได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ สร. ๐๒๐๑/๙ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๒๓ เรื่อง การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ลงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๒ ไปแล้วนั้น บัดนี้
คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันแห่งชาติได้หมดสภาพไป
และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ชื่อว่า คณะกรรมการนโยบายปิโตรเลียมแห่งชาติ
ทำหน้าที่กำหนดนโยบายแทนกรรมการชุดเดิม ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓
แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวการณ์ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖
นายกรัฐมนตรีจึงออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกคำนิยาม คณะกรรมการ
ในข้อ ๑ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๒๓ ลงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๒
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการนโยบายปิโตรเลียมแห่งชาติ
ข้อ
๒ คำสั่งนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๘ มีนาคม ๒๕๒๓ เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๑๙
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๓
พลเอก ป.
ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๑๖ กันยายน ๒๕๕๗
ปุณิกา/ปรับปรุง
๑๕ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๔๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๔/๑๙ มีนาคม ๒๕๒๓ |
724053 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 1/2523 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
| คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๒๓
เรื่อง
การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
โดยที่เป็นการสมควรโอนอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและการชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
ซึ่งเดิมกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลังและปลัดกระทรวงการคลัง ไปเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันแห่งชาติ
การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และผู้ว่าการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
ประกอบกับรัฐบาลมีความจำเป็นต้องจ่ายเงินชดเชยสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทเพิ่มขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๑๖ นายกรัฐมนตรีจึงออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้เพิ่มคำนิยาม ปตท.
ผู้ว่าการ และ
คณะกรรมการ ดังต่อไปนี้ ในข้อ ๑ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่
สร. ๐๒๐๑/๙ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๒
ปตท. หมายความว่า การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
ผู้ว่าการ หมายความว่า
ผู้ว่าการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันแห่งชาติ
ข้อ
๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๕)
ของข้อ ๒ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สร. ๐๒๐๑/๙ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๒
(๕) เงินอื่น ๆ
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ ๓
ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร.๐๒๐๑/๙ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ในกรณีที่กองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีเงินไม่พอจ่ายให้แก่ผู้สิทธิตามคำสั่งดังกล่าว
ให้ผู้ว่าการหรือผู้ซึ่งผู้ว่าการมอบหมายจากกองทุนนี้ให้แก่ผู้มีสิทธินั้นตามหลักฐานที่ได้รับจากปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมด้วย
ข้อ
๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕
ของคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สร. ๐๒๐๑/๙ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๘๗/๒๕๒๒ ลงวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๒๒
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๕
ให้โอนเงินกำไรและส่วนลดที่ได้จากการซื้อขายน้ำมันดิบเชงลีจากสาธารณรัฐประชาชนจีนตามพิธีสารว่าด้วยการค้าน้ำมันดิบเชงลีระยะยาว
ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ลงวันที่ ๑๔
มกราคม ๒๕๒๒ เข้ากองทุนฯ
ข้อ
๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖
ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร. ๐๒๐๑/๙ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร. ๐๒๐๑/๕๔ ลงวันที่ ๒๘ สิงหาคม
๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๖
ให้กระทรวงการคลังกำหนดราคาขายส่งโดยยังไม่รวมภาษีอากร ณ
โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักร
สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๒๒ และวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๒๒
ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงภายหลังวันที่
๑๓ กรกฎาคม ๒๕๒๒ ให้คณะกรรมการเปลี่ยนแปลงราคาขายส่งโดยยังไม่รวมภาษีอากร ณ
โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้กำหนดไว้แล้วทุกครั้ง
ให้สอดคล้องกันด้วย
ข้อ
๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘
ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร. ๐๒๐๑/๙ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๒
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๘
ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันดิบอันเป็นผลทำให้กระทรวงอุตสาหกรรมต้องกำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
ณ โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรใหม่แล้ว
ให้กระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งราคาน้ำมันเชื้อเพลง ณ โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรที่กำหนดขึ้นใหม่
ให้คณะกรรมการทราบโดยไม่ชักช้า
ข้อ
๗ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร. ๐๒๐๑/๙ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม
๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร. ๐๒๐๑/๕๔ ลงวันที่ ๒๘
สิงหาคม ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๙ ในกรณีที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดตามข้อ
๖ สูงกว่าราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งให้คณะกรรมการทราบตามข้อ ๘
ให้ถือราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดตามข้อ ๖ เป็นราคาขายส่ง ณ
โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรโดยยังไม่รวมภาษีอากร และให้
(๑)
ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
(๒)
ผู้นำน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ทั้งนี้
ในอัตราต่อหน่วยของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายหรือนำเข้า แล้วแต่กรณี
ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
เงินที่ส่งตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือเป็นรายจ่ายตามประมวลรัษฎากร
ข้อ
๘ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๑
ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร. ๐๒๐๑/๙ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร. ๐๒๐๑/๕๔ ลงวันที่ ๒๘ สิงหาคม
๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๑
ในกรณีที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดตามข้อ ๖
ต่ำกว่าราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งให้คณะกรรมการทราบข้อ ๘
ให้ถือราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งให้คณะกรรมการทราบตามข้อ ๘
หักด้วยเงินชดเชยตามข้อนี้เป็นราคาขายส่ง โดยยังไม่รวมภาษีอากร ณ
โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักร
และให้ผู้ว่าการหรือผู้ซึ่งผู้ว่าการมอบหมายสั่งจ่ายเงินจากกองทุนชดเชยให้แก่
(๑)
ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชอาณาจักรตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
(๒)
ผู้นำน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักรตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ทั้งนี้
ในอัตราต่อหน่วยของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายหรือนำเข้า แล้วแต่กรณี
ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
เงินที่ได้รับตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือเป็นเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
ข้อ
๙ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๒
ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร. ๐๒๐๑/๙ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๒
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๒
ในกรณีที่น้ำมันเตาที่ผลิตและจำหน่ายหรือนำเข้ามีลักษณะแตกต่างไปจากน้ำมันเตาที่ประกาศตามข้อ
๖
ให้คณะกรรมการคำนวณปรับอัตราเงินที่ต้องส่งหรือชดเชยให้สอดคล้องกับราคาน้ำมันเตาที่กำหนดตามข้อ
๖ ด้วย
ข้อ
๑๐ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๓
ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร. ๐๒๐๑/๙ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร. ๐๒๐๑/๕๔ ลงวันที่ ๒๘ สิงหาคม
๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๓
ให้ผู้ว่าการหรือผู้ซึ่งผู้ว่าการมอบหมายสั่งจ่ายเงินชดเชยจากกองทุนให้แก่
(๑)
ผู้นำเข้า
(ก)
สำหรับก๊าซหุงต้มที่นำเข้าเพื่อใช้ในราชอาณาจักรในราคาที่นำเข้าโดยยังไม่รวมภาษีอากรไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ
๓.๓๓๖๙ บาท จนถึงวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๒๒ หรือไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ ๔.๙๖๓๐ บาท
ภายหลังวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๒๒ แล้วแต่กรณี ในอัตราต่อหน่วยของก๊าซหุงต้มที่ขาย
ตามประกาศกระทรวงการคลัง ทั้งนี้
จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกหรือราคาก๊าซหุงต้ม ณ
โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักร
(ข)
สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้าตามชนิด ปริมาณ และราคา
ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๗๒/๒๕๒๒ ลงวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๒๒ และคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๐๕/๒๕๒๒
ลงวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๒๒
ในอัตราต่อหน่วยของน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้าแต่ละคราวตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
แต่ไม่เกินส่วนต่างระหว่างราคาที่นำเข้าโดยยังไม่รวมภาษีอากรหักด้วยราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
ณ โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดตามข้อ ๘
(ค)
สำหรับน้ำมันดิบและน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้าตามชนิด ปริมาณ
และราคาที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ ปตท.
ในอัตราต่อหน่วยของน้ำมันดิบหรือน้ำมันเชื้อเพลิงแล้วแต่กรณีที่นำเข้าแต่ละคราวตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดแต่ไม่เกินส่วนต่างระหว่างราคาที่นำเข้าโดยยังไม่รวมภาษีอากรหักด้วยราคาน้ำมันดิบหรือน้ำมันเชื้อเพลิง
ณ โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดตามข้อ ๘
(๒)
ปตท. สำหรับน้ำมันดิบ น้ำมันดีเซล และน้ำมันเตา ที่ได้รับเงินชดเชยตาม (๑) (ข)
หรือ (ค) แล้ว ถ้าขายให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
และน้ำมันดีเซลที่ได้รับเงินชดเชยตาม (๑) (ข) หรือ (ค) แล้ว
ถ้าขายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ทั้งนี้ ในอัตราต่อหน่วยของน้ำมันดิบ น้ำมันดีเซล และน้ำมันเตา ที่ขาย
ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
แต่ต้องไม่เกินส่วนต่างระหว่างราคาขายปลีกปัจจุบันหักด้วยราคาขายปลีก ณ วันที่ ๓๐
มกราคม ๒๕๒๒
จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะมีมติให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
แล้วแต่กรณี ขึ้นราคาจำหน่ายกระแสไฟฟ้า หรือสั่งเป็นอย่างอื่น
(๓)
โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักร
สำหรับก๊าซหุงต้มที่ขายเพื่อใช้ในราชอาณาจักรระหว่างวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒
ถึงวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๒๒
ในอัตราต่อหน่วยของก๊าซหุงต้มที่ขายตามที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยอนุมัตินายกรัฐมนตรี
แต่ทั้งนี้ โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรต้องขายก๊าซหุงต้มดังกล่าว
เพื่อใช้ในราชอาณาจักรในราคาโดยยังไม่รวมภาษีอากรไม่เกินกิโลกรัมลง ๓.๐๖๒๒ บาท
ข้อ
๑๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๔
ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร. ๐๒๐๑/๙ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร. ๐๒๐๑/๕๔ ลงวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๒๒
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๔
ในการขอรับเงินชดเชยจากกองทุน
ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑)
ถ้าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักร
เพื่อใช้ในราชอาณาจักร ให้ยื่นรายการแจ้งชนิดและปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวแก่ผู้รับชำระภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งทำในราชอาณาจักร
พร้อมกับการชำระภาษีนั้น
(๒)
ถ้าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ให้ยื่นรายการแจ้งชนิดและปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวแก่ผู้รับชำระอากรขาเข้า
พร้อมกับการชำระอากรนั้น
(๓)
ถ้าเป็นก๊าซหุงต้มตามข้อ ๑๓ (๑) (ก)
ให้ยื่นรายการแจ้งชนิดและปริมาณของก๊าซหุงต้มดังกล่าวแก่ผู้รับชำระอากรขาเข้า
พร้อมกับการชำระอากรนั้น
(๔)
ถ้าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามข้อ ๑๓ (๑) (ข)
ให้ยื่นรายการแจ้งชนิดและปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวต่อ ปตท.
(๕)
ถ้าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามข้อ ๑๓ (๑) (ค)
ให้ยื่นรายการแจ้งชนิดและปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวต่อ ปตท.
(๖)
ถ้าเป็นน้ำมันดิบ น้ำมันดีเซล
และน้ำมันเตาที่ขายให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
หรือน้ำมันดีเซลที่ขายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตามข้อ ๑๓ (๒)
ให้ยื่นรายการแจ้งชนิดและปริมาณของน้ำมันดิบ น้ำมันเตา หรือน้ำมันดีเซลดังกล่าวต่อ
ปตท.
(๗)
ถ้าเป็นก๊าซหุงต้มตามข้อ ๑๓ (๓)
ให้ยื่นรายการแจ้งชนิดและปริมาณของก๊าซหุงต้มดังกล่าวแก่ผู้รับชำระภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งทำในราชอาณาจักร
พร้อมกับการขำระภาษีนั้น
ข้อ
๑๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๕
ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร. ๐๒๐๑/๙ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๒
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๕ ในการส่งเงินตามข้อ ๙ หรือการสั่งจ่ายเงินชดเชยตามข้อ ๑๑
ให้ถือปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผู้มีหน้าที่ชำระภาษีหรืออากรต้องชำระภาษีหรืออากรเป็นหลักฐานในการคำนวณ
ส่วนการสั่งจ่ายเงินชดเชยตามข้อ ๑๓
ให้ถือปริมาณน้ำมันดิบและน้ำมันเตาหรือน้ำมันดีเซลที่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
แล้วแต่กรณี ร่วมกันรับรองเป็นหลักฐานในการคำนวณ
ข้อ
๑๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๕ ทวิ
ของคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สร. ๐๒๐๑/๙ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร. ๐๒๐๑/๕๔ ลงวันที่ ๒๘ สิงหาคม
๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๕ ทวิ
ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้แก่ธนาคารเนื่องจากการกู้เงินมาทดรองเงินชดเชย
ให้จ่ายจากกองทุนได้เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๓ เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๓
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๒
พลเอก
เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๑๖ กันยายน ๒๕๕๗
ปุณิกา/ปรับปรุง
๑๕ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๗/ตอนที่ ๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๔ มกราคม ๒๕๒๓ |
724034 | คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 87/2522 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
| คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ ๘๗/๒๕๒๒
เรื่อง
การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
ตามที่ได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ สร.๐๒๐๑/๙ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๒ เรื่อง
การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปแล้วนั้น บัดนี้
สมควรแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ดังนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓
แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖
นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๔ ทวิ
และข้อ ๔ ตรี ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร. ๐๒๐๑/๙ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๒
ข้อ ๔ ทวิ
ให้กระทรวงกลาโหมส่งเงินค่าเช่าโรงกลั่นน้ำมันประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๑ และ พ.ศ.
๒๕๒๒ ที่ได้รับจากบริษัทซัมมิทอินดัสเทรียล จำกัด (ปานามา)
ตามสัญญาเช่าโรงกลั่นน้ำมันที่ ๒ ของกระทรวงกลาโหม เข้ากองทุน
ข้อ
๔ ตรี
ให้กระทรวงอุตสาหกรรมเงินดังต่อไปนี้ เข้ากองทุน
(๑)
เงินประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๑ และ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่ได้รับจากบริษัทโรงกลั่นน้ำมันไทย จำกัด
ตามสัญญาจัดสรัางและประกอบกิจการโรงกลั่นน้ำมัน
(๒) เงินประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๑ และ พ.ศ. ๒๕๒๒
ที่ได้รับจากบริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ดประเทศไทย จำกัด
ตามสัญญาประกอบกิจการโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๕
ให้องค์การเชื้อเพลิงส่งกำไรที่ได้จากการขายน้ำมันดิบเชงลี
ที่ซื้อจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งหักภาษีเงินได้แล้วเข้ากองทุน
ข้อ
๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ
๖ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร. ๐๒๐๑/๙ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๒
ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกน้ำมันดังกล่าวในวรรคหนึ่ง
ให้กระทรวงการคลังเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันที่ได้กำหนดไว้แล้วให้สอดคล้องกันด้วย
ข้อ
๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙ ข้อ ๑๐
และข้อ ๑๑ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร. ๐๒๐๑/๙ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๒
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๙
ในกรณีที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กระทรวงการคลังกำหนดตามข้อ ๖ หรือข้อ ๗
แล้วแต่กรณี สูงกว่าราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งให้กระทรวงการคลังทราบตามข้อ
๘ ให้ถือราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กระทรวงการคลังกำหนดตามข้อ ๖ หรือข้อ ๗
เป็นราคาขายส่ง ณ โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรโดยยังไม่รวมภาษีอากร และให้
(๑)
ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา
หรือน้ำมันที่คล้ายกัน หรือยางมะตอย
จากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
(๒)
ผู้นำน้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา
หรือน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ที่คล้ายกัน หรือยางมะตอย เข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ทั้งนี้
ในอัตราต่อหน่วยของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายหรือนำเข้ามา แล้วแต่กรณี
ตามที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดโดยอนุมัตินายกรัฐมนตรี
เงินที่ส่งตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือเป็นรายจ่ายตามประมวลรัษฎากร
ข้อ
๑๐ ในการส่งเงินเข้ากองทุนตามข้อ ๙
ให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑)
ถ้าเป็นน้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา หรือน้ำมันที่คล้ายกัน
หรือยางมะตอย ที่ผลิตและจำหน่ายจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักร เพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ต้องส่งให้แก่ผู้รับชำระภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งทำในราชอาณาจักรพร้อมกับการชำระภาษีนั้น
(๒)
ถ้าเป็นน้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา
หรือน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ที่คล้ายกัน หรือยางมะตอย
ที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร ต้องส่งให้แก่ผู้รับชำระอากรขาเข้าพร้อมกับการชำระอากรนั้น
ข้อ
๑๑
ในกรณีที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กระทรวงการคลังกำหนดตามข้อ ๖ หรือข้อ ๗
แล้วแต่กรณี
ต่ำกว่าราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งให้กระทรวงการคลังทราบตามข้อ
๘ ให้ถือราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งให้กระทรวงการคลังทราบตามข้อ
๘ หักด้วยเงินชดเชยตามข้อนี้เป็นราคาขายส่ง ณ
โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรโดยยังไม่รวมภาษีอากร
และให้ปลัดกระทรวงการคลังหรือผู้ซึ่งปลัดกระทรวงการคลังมอบหมายให้สั่งจ่ายเงินจากกองทุนชดเชยให้แก่
(๑)
ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา
หรือน้ำมันที่คล้ายกัน หรือยางมะตอย
จากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชอาณาจักรตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
(๒)
ผู้นำน้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา หรือน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ที่คล้ายกัน
หรือยางมะตอย
เข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักรตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ทั้งนี้
ในอัตราต่อหน่วยของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายหรือนำเข้า แล้วแต่กรณี
ตามที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดโดยอนุมัตินายกรัฐมนตรี
เงินที่ได้รับตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือเป็นเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
ข้อ
๕ ให้ยกเลิกความใน (๑) และ (๒)
ของข้อ ๑๓ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สร. ๐๒๐๑/๙ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๒
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑) องค์การเชื้อเพลิง สำหรับน้ำมันเตาที่ขายแก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ทั้งนี้
ในอัตราต่อหน่วยของน้ำมันเตาที่ขายตามที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยอนุมัตินายกรัฐมนตรีจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะมีมติให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยขึ้นราคาจำหน่ายกระแสไฟฟ้าหรือสั่งเป็นอย่างอื่น
(๒)
โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักร สำหรับก๊าซหุงต้มที่ขายเพื่อใช้ในราชอาณาจักรในอัตราต่อหน่วยของก๊าซหุงต้มที่ขายตามที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยอนุมัตินายกรัฐมนตรี
แต่ทั้งนี้โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรต้องขายก๊าซหุงต้มดังกล่าวเพื่อใช้ในราชอาณาจักรในราคาโดยยังไม่รวมภาษีอากรไม่เกินกิโลกรัมละ
๓.๐๖๒๒ บาท
ข้อ
๖ ให้ยกเลิกความใน (๑) และ (๒)
ของข้อ ๑๔ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร. ๐๒๐๑/๙ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๒
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑) ถ้าเป็นน้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา
หรือน้ำมันที่คล้ายกัน หรือยางมะตอย ที่ผลิตและจำหน่ายจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ให้ยื่นรายการแจ้งชนิดและปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวแก่ผู้รับชำระภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
ซึ่งทำในราชอาณาจักรพร้อมกับการชำระภาษีนั้น
(๒)
ถ้าเป็นน้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา หรือน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ที่คล้ายกัน
หรือยางมะตอย ที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ให้ยื่นรายการแจ้งชนิดและปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวแก่ผู้รับชำระอากรขาเข้าพร้อมกับการชำระอากรนั้น
ข้อ
๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๑๕
ทวิ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร. ๐๒๐๑/๙ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๒
ข้อ ๑๕ ทวิ
ในกรณีที่ปลัดกระทรวงการคลังหรือผู้ที่ปลัดกระทรวงการคลังมอบหมายต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยตามคำสั่งนี้
และในขณะนั้นกองทุนมีเงินไม่พอจ่าย ให้กระทรวงการคลังกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อทดรองจ่ายตามคำสั่งนี้ไปก่อน
และเมื่อกองทุนมีเงินแล้วให้ปลัดกระทรวงการคลังหรือผู้ที่ปลัดกระทรวงการคลังมอบหมายสั่งจ่ายเงินกองทุนเพื่อชำระดอกเบี้ยและคืนเงินต้นที่กระทรวงการคลังกู้ยืมให้แก่ธนาคารโดยไม่ชักช้า
ข้อ
๘ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๗
ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร. ๐๒๐๑/๙ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๒
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๗
คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒ ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน
๒๕๒๒
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เว้นแต่ราคาก๊าซหุงต้มตาม (๒) ของข้อ ๑๓
ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร. ๐๒๐๑/๙ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒
สั่ง ณ วันที่ ๑๑
มิถุนายน ๒๕๒๒
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๑๗ กันยายน ๒๕๕๗
ปุณิกา/ปรับปรุง
๑๙ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๑๓๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕/๖ สิงหาคม ๒๕๒๒ |
724030 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 1/2522 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับ Update ณ วันที่ 14/08/2522)
| คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๒๒
เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะ
การขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
เนื่องจากขณะนี้กลุ่มประเทศผู้ส่งปิโตรเลียมออกได้ลดปริมาณการผลิตและขึ้นราคาจำหน่ายน้ำมันดิบ
ทั้งยังมีแนวโน้มจะขึ้นราคาอีกเป็นระยะ ๆ ในอนาคตอันใกล้ ภาวะเช่นนี้
ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำมันดิบและน้ำมันเชื้อเพลิงประเภทต่าง ๆ ทั่วโลก
อันจะมีผลกระทบต่อภาวะน้ำมันในประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในการนี้
รัฐบาลมีความเห็นว่า
ถ้าประชาชนทุกคนร่วมมือกับรัฐบาลในการประหยัดใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
โดยใช้เท่าที่จำเป็น ใช้อย่างประหยัด และแบ่งกันใช้
ก็จะมีน้ำมันเชื้อเพลิงใช้พอเพียงทั่วหน้ากัน ดังนั้น
เพื่อป้องกันการกักตุนน้ำมันเชื้อเพลิง
และเพื่อให้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีอยู่ได้ถึงประชาชนผู้มีความจำเป็นต้องใช้โดยทั่วถึงกัน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวการณ์ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๑๖
นายกรัฐมนตรีจึงออกคำสั่งกำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวการณ์ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิก
(๑)
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร. ๔/๒๕๑๗ ลงวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๑๗
(๒)
ประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการแทนนายกรัฐมนตรีตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวการณ์ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๑๖ ฉบับที่ ๑/๒๕๑๗ ลงวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๑๗
(๓)
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร. ๘/๒๕๑๗ ลงวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๑๗
(๔)
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร. ๒๔/๒๕๑๗ ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๑๗
ข้อ
๒
คำสั่งนี้ไม่ใช้บังคับแก่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
ยกเว้นการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยและองค์การเชื้อเพลิง
ข้อ
๓ ในคำสั่งนี้
น้ำมันเชื้อเพลิง หมายความว่า น้ำมันปิโตรเลียมดิบ
น้ำมันเบนซิน น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา
หรือก๊าซหุงต้ม
ผู้ประกอบอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน หมายความว่า
ผู้ทำหรือผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากน้ำมันปิโตรเลียมดิบหรือจากวัสดุใด ๆ
จากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักร
ผู้ค้าน้ำมัน หมายความว่า
ผู้กระทำการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง โดยซื้อ สั่ง หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร หรือได้มาไม่ว่าด้วยประการใดเพื่อจำหน่าย
ซึ่งมีปริมาณการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละชนิดหรือรวมกันทุกชนิดปีละตั้งแต่สองหมื่นเมตริกตันขึ้นไป
และให้หมายความรวมถึงผู้ประกอบอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
และองค์การเชื้อเพลิงด้วย
ผู้จำหน่ายน้ำมัน หมายความว่า
สถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
โดยซื้อหรือได้มาจากผู้ค้าน้ำมันหรือผู้อื่นเพื่อขาย
ใบสั่งจ่ายน้ำมัน หมายความว่า
ใบรับสินค้าที่ผู้ค้าน้ำมันคนหนึ่งออกให้แก่ผู้ค้าน้ำมันอีกคนหนึ่ง
หรือผู้จำหน่ายน้ำมัน หรือผู้ซื้อน้ำมัน เพื่อไปรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่คลังน้ำมัน
คณะกรรมการ[๒] หมายความว่า คณะกรรมการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันส่วนกลาง
หรือคณะกรรมการแก้ไขและป้องกันภาวการณ์ขาดแคลนน้ำมันส่วนจังหวัด แล้วแต่กรณี
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวการณ์ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๑๖
ข้อ
๔
บุคคลใดไม่ว่าจะเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงหรือไม่
และไม่ว่าจะเป็นเจ้าของน้ำมันเชื้อเพลิงหรือไม่
หากมีน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในครอบครองนอกจากที่บรรจุอยู่ในถังน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดธรรมดาสำหรับยานพาหนะ
เกินปริมาณ ๑๐๐ ลิตร สำหรับน้ำมันดีเซลที่ใช้กับเครื่องยนต์หมุนเร็ว หรือ ๒๐๐ ลิตร
สำหรับน้ำมันดีเซลที่ใช้กับเครื่องยนต์หมุนช้า ให้แจ้งชนิด ปริมาณ
และสถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว พร้อมด้วยเหตุผลของการมีไว้ในครอบครอง
โดยแจ้งต่อส่วนราชการหรือเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดต่อไปนี้
(๑)
สำหรับกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งต่อกองควบคุมการค้า กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
ภายในสามวันนับแต่วันที่มีน้ำมันดีเซลเกินปริมาณ
(๒)
สำหรับจังหวัดอื่น
ให้แจ้งต่อนายอำเภอแห่งท้องที่ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีน้ำมันดีเซลเกินปริมาณ
ผู้ใดมีน้ำมันดีเซลเกินปริมาณที่กำหนดดังกล่าวอยู่ในวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ
ให้แจ้งปริมาณน้ำมันที่มีอยู่ในวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับต่อส่วนราชการหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวข้างต้น
ภายในสามวันนับแต่วันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ
เมื่อผู้ใดได้แจ้งปริมาณตามคำสั่งนี้แล้ว
แม้ภายหลังจะได้น้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นอีก
ถ้าน้ำมันดีเซลที่เพิ่มขึ้นนั้นเมื่อรวมกับน้ำมันที่คงเหลืออยู่เดิม
ไม่เกินปริมาณที่ได้แจ้งไว้ครั้งแรกก็ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องแจ้งอีก
ในกรณีจำเป็น
คณะกรรมการหรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมายจะสั่งขยายระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งและวรรคสองออกไปอีกก็ได้
การแจ้งตามข้อนี้
ให้ทำเป็นสองชุดตามแบบ ก. ๑ ท้ายคำสั่งนี้
โดยจะนำไปยื่นด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้
ในกรณีที่ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้ถือว่าได้แจ้งในวันที่ไปรษณีย์รับลงทะเบียน
ข้อ
๕ บุคคลดังต่อไปนี้
ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องแจ้งปริมาณน้ำมันตามข้อ ๔
(๑)
ผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิง เฉพาะน้ำมันที่ได้แจ้งตามข้อ ๗
หรือน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บตามกฎหมายว่าด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว
(๒)
ผู้จำหน่ายน้ำมัน เฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้ปรากฏในบัญชีที่ทำขึ้นตามข้อ ๘
ข้อ
๖
ในกรณีที่คณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นว่า บุคคลตามข้อ ๔
บุคคลใด มีน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ในความครอบครองโดยไม่มีเหตุต้องใช้
หรือมีไว้เกินความจำเป็น ให้มีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลนั้นจำหน่ายให้แก่บุคคลใดก็ได้
ในราคาที่ทางราชการกำหนดในท้องที่นั้นในวันที่มีคำสั่งให้จำหน่าย
โดยไม่คำนึงว่าน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นจะเป็นของบุคคลนั้นหรือไม่
ข้อ
๗
ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งชนิดและปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงที่รับหรือได้มา
ได้จัดส่งหรือจำหน่าย และคงเหลือเป็นประจำทุกสัปดาห์ ภายในวันพุธของสัปดาห์ถัดไป
ต่อกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์
ข้อ
๘
ให้ผู้จำหน่ายน้ำมันทำบัญชีแสดงชนิดและปริมาณของน้ำมันดีเซลที่รับหรือได้มาและจำหน่ายประจำวัน
ตามแบบ ก. ๒ ท้ายคำสั่งนี้และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ทุกเวลา
ข้อ
๙
คณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ค้าน้ำมันหรือผู้จำหน่ายน้ำมันจัดส่งหรือจำหน่ายน้ำมันดีเซลให้แก่บุคคลใด
โดยจะกำหนดชนิดและปริมาณของน้ำมันดีเซล ระยะเวลา และเงื่อนไขอย่างใดก็ได้
ข้อ
๑๐
คณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเป็นหนังสือห้ามมิให้ผู้ค้าน้ำมันหรือผู้จำหน่ายน้ำมัน
จัดส่งหรือจำหน่ายน้ำมันดีเซลให้แก่บุคคลโด โดยจะกำหนดชนิดและปริมาณของน้ำมันดีเซล
ระยะเวลา และเงื่อนไขอย่างใดก็ได้
ข้อ
๑๑
ห้ามมิให้ผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายน้ำมันดีเซลให้แก่บุคคลใด
เว้นแต่บุคคลนั้นเป็นผู้จำหน่ายน้ำมัน ผู้ซื้อน้ำมัน ตามข้อ ๑๙ (๔) หรือ ตัวแทนผู้ค้าน้ำมัน
ตัวแทนผู้ค้าน้ำมันจะต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมทะเบียนการค้า
กระทรวงพาณิชย์
โดยมีรายชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อน้ำมันที่จังหวัดรับรองแสดงเป็นหลักฐาน
ข้อ
๑๒ ให้ผู้ค้าน้ำมันส่งแผนการผลิต
สั่ง หรือนำเข้า และจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์กำหนด
ข้อ
๑๓
ในการจำหน่ายน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล
ผู้ค้าน้ำมันต้องออกใบสั่งจ่ายน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล
โดยต้องแสดงรายการอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(๑)
ชื่อและที่อยู่ผู้ค้าน้ำมัน
(๒)
วันเดือนปีที่ออกใบสั่งจ่ายน้ำมัน
(๓)
ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อ
(๔)
ชนิด ปริมาณ และราคาของน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลที่สั่งจ่าย
(๕)
พาหนะและเส้นทางที่ใช้ในการขนส่งน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล
และหมายเลขทะเบียนยานพาหนะ (ถ้ามี)
(๖)
วันและเวลาที่ขนน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลออกจากคลังน้ำมันของผู้ค้าน้ำมัน
ผู้ค้าน้ำมันต้องมีสำเนาใบสั่งจ่ายน้ำมันทุกใบเก็บรักษาไว้พร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้
ข้อ
๑๔
ใบสั่งจ่ายน้ำมันให้มีอายุเพียงสองวันนับแต่วันที่ออก
แต่ในกรณีที่มีความจำเป็น ผู้ค้าน้ำมันจะออกไปสั่งจ่ายน้ำมันที่มีอายุเกินสองวันแต่ไม่เกินเจ็ดวันก็ได้
แต่ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
หากผู้ซื้อไม่ไปรับน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
ให้ถือว่าใบสั่งจ่ายน้ำมันถูกยกเลิก
ในการขนส่งน้ำมัน
ให้นำสำเนาใบสั่งจ่ายน้ำมันหรือหลักฐานการจ่ายน้ำมันที่มีรายการตามข้อ ๑๓ ติดไปกับพาหนะที่ใช้ในการขนส่งด้วย
ข้อ
๑๕
ห้ามมิให้ผู้ควบคุมยานพาหนะที่ใช้ขนส่งน้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซลไปส่งแก่ผู้จำหน่ายน้ำมัน
หรือผู้ซื้อน้ำมันตามข้อ ๑๙ (๔) กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑)
สูบหรือถ่ายน้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซลระหว่างทาง เว้นแต่กรณีจำเป็น
(๒)
สูบหรือถ่ายน้ำมันออกจากสถานที่เก็บน้ำมันของผู้จำหน่ายน้ำมันหรือผู้ซื้อน้ำมันตามข้อ
๑๙ (๔)
(๓)
นำหรือส่งผิดไปจากสถานที่ที่ระบุไว้ในใบสั่งจ่ายน้ำมัน
ข้อ
๑๖
ในการรับน้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซล
ให้ผู้จำหน่ายน้ำมันตรวจสอบตราหรือเครื่องหมายที่ผู้ค้าน้ำมันผูก ผนึก
หรือประทับก่อนรับว่ามีรอยแกะหรือบุบสลายอย่างใดหรือไม่
ถ้าปรากฏว่ามีรอยแกะหรือบุบสลาย
ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าน้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซลนั้นมีการปลอมปน
และเก็บตัวอย่างไว้ในภาชนะบรรจุผนึกไว้ให้มั่นคง
โดยให้ผู้ควบคุมยานพาหนะที่ขนส่งและผู้จำหน่ายน้ำมันลงลายมือชื่อกำกับไว้เป็นหลักฐานเพื่อการตรวจพิสูจน์ต่อไป
พร้อมกับรายงานให้หนักงานเจ้าหน้าที่และผู้ค้าน้ำมันทราบโดยเร็วที่สุด
ให้ผู้จำหน่ายน้ำมันแจ้งชนิดและปริมาณน้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซลที่ได้รับ
ตลอดจนพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง รวมทั้งหมายเลขทะเบียน (ถ้ามี) และเวลาที่มาถึง
ต่อกองควบคุมการค้า กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
สำหรับผู้จำหน่ายน้ำมันซึ่งมีสถานีบริการหรือร้านค้าอยู่ในเขต ทั้งนี้ ภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ได้รับ
เว้นแต่เมื่อครบกำหนดและเป็นวันหยุดราชการ ให้ส่งภายในวันเปิดทำการ
ข้อ
๑๗
ห้ามิให้ผู้จำหน่ายน้ำมันกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑)
สูบ ถ่าย หรือขนย้ายน้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซลไปที่อื่น
เว้นแต่เป็นการกระทำในการซื้อขายตามปกติ
(๒)
ขายน้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซลโดยกำหนดให้ผู้ซื้อต้องซื้อสินค้าอื่นด้วย
(๓)
ขายปลีกน้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซลเกินราคาที่ทางราชการกำหนด
(๔)
ขายน้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซลเกินปริมาณหรือโดยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ
๑๙
(๕)
ไม่ขายน้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซลเมื่อยังมีน้ำมันอยู่ในครอบครอง
ข้อ
๑๘
ห้ามมิให้บุคคลใดซึ่งไม่มีเหตุต้องใช้น้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซลหรือไม่มีใบอนุญาตให้เก็บรักษาน้ำมัน
ซื้อน้ำมัน มีน้ำมันไว้ในครอบครอง หรือรับฝากน้ำมันจากบุคคลอื่น
ข้อ
๑๙ บุคคลซึ่งมีเหตุต้องใช้น้ำมันดีเซล
ให้ซื้อน้ำมันดีเซลได้ไม่เกินปริมาณดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีที่เป็นเกษตรกร ให้ซื้อได้ตามปกติแต่ไม่เกินครั้งละ ๑๐๐ ลิตร
(๒)
ในกรณีที่เป็นเกษตรกรทำประมง
ให้ซื้อได้ครั้งละไม่เกินปริมาณสำหรับถังบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงประจำเรือประมง
(๓)
ในกรณีที่เป็นผู้ควบคุมยานพาหนะ
ให้ซื้อได้ครั้งละไม่เกินปริมาณสำหรับถังบรรจุน้ำมันขนาดธรรมดาสำหรับยานพาหนะนั้น
(๔)
ผู้ประกอบธุรกิจหรืออุตสาหกรรม
หรือกิจการอื่นที่คณะกรรมการกำหนดให้ซื้อได้ไม่เกินปริมาณที่เคยซื้อตามปกติ
โดยแสดงหลักฐานต่อผู้ค้าน้ำมัน หรือผู้จำหน่ายน้ำมัน แล้วแต่กรณี
(๕)
บุคคลอื่นนอกจากที่กล่าวไว้ใน (๑) (๒) หรือ (๔) ให้ซื้อได้ไม่เกินครั้งละ ๒๐ ลิตร
ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวใน
(๑) (๒) (๓) หรือ (๔)
มีความจำเป็นต้องใช้น้ำมันดีเซลเกินปริมาณที่จะซื้อได้ตามวรรคหนึ่ง
ให้ขออนุญาตต่อกองควบคุมการค้า กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ สำหรับผู้ซึ่งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
หรือนายอำเภอแห่งท้องที่ที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนาหรือสถานที่ประกอบกิจการ
เมื่อผู้จำหน่ายได้ขายน้ำมันดีเซลให้แก่ผู้ซื้อรายใดแล้ว
ให้จดชื่อตัวและชื่อสกุลพร้อมด้วยที่อยู่และเลขบัตรประจำตัวเป็นหลักฐานก่อนขาย
และถ้าเป็นกรณีซื้อเพื่อใช้กับยานพาหนะ ให้จดหมายเลขทะเบียนพาหนะ (ถ้ามี) ด้วย
ข้อ
๒๐
ห้ามมิให้บุคคลซึ่งซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงตามข้อ ๑๙ นำน้ำมันไปเก็บกักตุน
ข้อ
๒๑
ห้ามมิให้ผู้ใดส่งหรือนำน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ว่าจะเป็นชนิดใด
หรือปริมาณเท่าใดออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ผู้ควบคุมยานพาหนะซึ่งนำน้ำมันเชื้อเพลิงติดไปกับยานพาหนะนั้น
ตามชนิดและปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอแก่การเดินทาง
และตามที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมน้ำมันหรือผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงส่งบรรจุไว้ ณ
สถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับใช้กับเครื่องบินหรือเรือที่บรรทุกสินค้าไปต่างประเทศ
ข้อ
๒๒
ผู้ใดสั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงให้แจ้งชนิด ปริมาณ
และราคา และสถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงต่อกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์
ภายในสามวันนับแต่วันที่นำน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาในราชอาณาจักร
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ผู้ควบคุมยานพาหนะซึ่งนำน้ำมันเชื้อเพลิงติดมากับยานพาหนะนั้น
ตามชนิดและปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอสำหรับการเดินทาง
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๒๒ เป็นต้นไป เว้นแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับใบสั่งจ่ายน้ำมัน
ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓ เมษายน ๒๕๒๒ เป็นต้นไป
สั่ง
ณ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒
พลเอก
เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
นายกรัฐมนตรี
[เอกสารแนบท้าย]
๑
ใบแจ้งการมีปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในครอบครอง (แบบ ก. ๑)
๒
แบบบัญชีของผู้จำหน่ายน้ำมันประจำวัน (แบบ ก. ๒)
๓.
ใบแนบ แบบ ก.๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๕/๒๕๒๒ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๓]
อภิญญา/ปรับปรุง
๙ กันยายน ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๖/ตอน ๔๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒ เมษายน ๒๕๒๒
[๒] ข้อ ๓
นิยามคำว่า คณะกรรมการ
แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๕/๒๕๒๒ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๖/ตอน ๑๓๙/หน้า ๒๓๗/๑๔ สิงหาคม ๒๕๒๒ |
317955 | คำสั่งของนายกรัฐมนตรี ที่ 6/2522 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมัน | คำสั่งของนายกรัฐมนตรี
คำสั่งของนายกรัฐมนตรี
ที่ ๖/๒๕๒๒[๑]
โดยที่ในปัจจุบันปรากฏว่า
ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกได้สูงขึ้น เนื่องจากกลุ่มประเทศผู้ส่งปิโตรเลียมออกได้ลดปริมาณการผลิตและขึ้นราคาจำหน่ายน้ำมันดิบ
ทั้งยังมีแนวโน้มว่าจะขึ้นราคาอีกเป็นระยะ ๆ ในอนาคตอันใกล้ ภาวะเช่นนี้จะมีผลกระทบต่อภาวะน้ำมันในประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
และแม้ว่ารัฐบาลจะได้กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการกักตุนน้ำมันเชื้อเพลิงและเพื่อให้น้ำมันเชื้อเพลิงได้มาถึงประชาชนผู้มีความจำเป็นต้องใช้โดยทั่วถึงกันแล้วก็ตาม
แต่ก็ยังปรากฏว่าได้มีพ่อค้าบางกลุ่มซึ่งเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม ฉวยโอกาสกักตุนน้ำมันหรือจำหน่ายน้ำมันในราคาสูงกว่าที่ทางราชการกำหนด
จนเป็นเหตุให้ประชาชนเข้าใจสถานการณ์ผิดพลาด
และรีบซื้อน้ำมันไปเก็บกักตุนไว้เกินความจำเป็นที่จะต้องใช้ตามปกติ
การกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดความปั่นป่วนต่อการขนส่งและการประกอบเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมของประเทศ
และเกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนโดยทั่วไป และโดยเฉพาะเกษตรกรที่กำลังเริ่มทำนาปรัง
สถานการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศและคุกคามความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ฉะนั้นเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ระงับและปราบปรามการกระทำดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามมาตรา ๒๐๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและสภานโยบายแห่งชาติ
จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่มียานพาหนะหรือยานยนต์อื่น เครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ หรืออุปกรณ์ต่าง
ๆ บรรดาที่ต้องใช้น้ำมันดีเซล มีน้ำมันดีเซลไว้ในครอบครองหรือรับฝากน้ำมันดีเซลจากบุคคลอื่น
เว้นแต่เป็นผู้ค้าน้ำมันหรือผู้จำหน่ายน้ำมันเฉพาะน้ำมันที่เก็บไว้ ณ สถานที่ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือตามกฎหมายว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง
ข้อ ๒
ห้ามมิให้ผู้ซึ่งมียานพาหนะหรือยานยนต์อื่น เครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ หรืออุปกรณ์ต่าง
ๆ บรรดาที่ต้องใช้น้ำมันดีเซล มีน้ำมันดีเซลไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่พึงใช้ตามปกติ
ปริมาณที่พึงใช้ตามปกติ
ให้ถือตามหลักเกณฑ์ปริมาณที่คณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง
ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๒/๒๕๒๒ ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๒๒ ได้ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ปริมาณน้ำมันที่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลพึงใช้ตามปกติ
ซึ่งจะได้กำหนดโดยคำนึงถึงสภาพและประเภทกิจการหรือธุรกิจที่บุคคลประกอบเป็นกรณี ๆ
ไป
ข้อ ๓
ห้ามมิให้ผู้จำหน่ายน้ำมันหรือสถานีบริการน้ำมันจำหน่ายน้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซลเกินราคาที่ทางราชการกำหนดหรือจำหน่ายตามราคาที่ทางราชการกำหนด
แต่ได้เพิ่มวิธีการเรียกร้อง บังคับ หรือขาย หรือขอให้ผู้ซื้อต้องซื้อผลิตภัณฑ์อื่นในขณะ
ก่อน หรือหลังการซื้อน้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซล
ข้อ ๔
ห้ามมิให้ผู้จำหน่ายน้ำมันหรือสถานีบริการน้ำมันปฏิเสธการจำหน่ายน้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซลเมื่อยังมีน้ำมันอยู่ในครอบครองเว้นแต่เป็นการซื้อเกินปริมาณที่กำหนดตามข้อ
๑๙ แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๒๒ ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๒๒
ข้อ ๕
ห้ามมิให้ผู้ใดส่งหรือนำน้ำมันดีเซลออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่ผู้ควบคุมยานพาหนะซึ่งนำน้ำมันดีเซลติดไปกับยานพาหนะนั้น
ตามชนิดและปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอแก่การเดินทาง และตามที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมน้ำมันหรือผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงส่งบรรจุไว้
ณ สถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับใช้กับเครื่องบินหรือเรือที่บรรทุกสินค้าไปต่างประเทศ
ข้อ ๖
ผู้ใดมีน้ำมันดีเซลอยู่ในความครอบครองอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๑ หรือข้อ ๒
อยู่แล้วก่อนวันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ หรือก่อนวันที่คณะกรรมการกำหนดตามข้อ ๒
ถ้าได้จำหน่ายน้ำมันนั้นเสียภายในสามวันนับแต่วันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ
หรือนับแต่วันที่คณะกรรมการกำหนดแล้วแต่กรณี ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรับโทษ
ข้อ ๗ ห้ามมิให้ผู้ค้าน้ำมันหรือผู้ควบคุมยานพาหนะประวิงการจ่ายน้ำมันจากคลังน้ำมันตามใบสั่งจ่ายน้ำมันหรือประวิงการขนส่งน้ำมัน
ทั้งนี้ โดยไม่มีเหตุอันสมควร
ข้อ ๘
ให้ข้าราชการพลเรือน ตำรวจ และทหารช่วยกันสอดส่องการปฏิบัติตามคำสั่งนี้
เมื่อปรากฏว่าผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งนี้ หรือคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๒๒ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๓๐
มีนาคม ๒๕๒๒ ให้แจ้งแก่เจ้าพนักงานตำรวจเพื่อดำเนินการจับกุมตัว
และให้ยึดหรืออายัดน้ำมันซึ่งอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำการฝ่าฝืนนั้นด้วย และให้รายงานต่อนายกรัฐมนตรีโดยตรง
เพื่อนายกรัฐมนตรีจักได้พิจารณาสั่งการลงโทษโดยเฉียบขาดต่อไป
ข้อ ๙
ในกรณีที่ต้องดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืนคำสั่งนี้ ศาลยุติธรรมให้ถือว่าเป็นผู้ฝ่าฝืนคำสั่งนี้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีซึ่งได้สั่งตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๑๖ และต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘ แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๑๖ และให้ถือว่าน้ำมันที่มีไว้ครอบครองโดยฝ่าฝืนคำสั่งเป็นน้ำมันที่ได้มาโดยการกระทำความผิด
สั่ง ณ วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๒
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
นายกรัฐมนตรี
พุทธชาด/แก้ไข
๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๕
อภิญญา/ปรับปรุง
๑๐ กันยายน ๒๕๕๗
ปุณิกา/ปรับปรุง
๑๕ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๔๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓/๒ เมษายน ๒๕๒๒ |
328304 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 5/2522 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง | คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๕/๒๕๒๒
เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลน
น้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
ตามที่ได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๒๒
เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่
๓๐ มีนาคม ๒๕๒๒ นั้น เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๑๖ นายกรัฐมนตรีจึงออกคำสั่งเพิ่มเติมไว้ ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกคำนิยามคำว่า คณะกรรมการ ในข้อ
๓ แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๒๒ ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๒๒
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันส่วนกลาง
หรือคณะกรรมการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันส่วนจังหวัด แล้วแต่กรณี
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๒
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๑๐ กันยายน ๒๕๕๗
ปุณิกา/ปรับปรุง
๑๕ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๑๓๙/หน้า ๒๓๗/๑๔ สิงหาคม ๒๕๒๒ |
318724 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2522 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะกาคขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง | คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๔/๒๕๒๒
เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะ
การขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
ตามที่ได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ๑/๒๕๒๒ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๒๒
นั้น เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๓ แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๑๖ นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๙ แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๑/๒๕๒๒ ลงวันที่ ๓๐
มีนาคม ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๙
บุคคลซึ่งมีเหตุใช้น้ำมันดีเซล ให้ซื้อน้ำมันดีเซลได้ไม่เกินปริมาณ ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่เป็นเกษตรกร
ให้ซื้อได้ตามปกติแต่ไม่เกินครั้งละ ๑๐๐ ลิตร
(๒) ในกรณีที่เป็นเกษตรกรทำประมง
ให้ซื้อได้ครั้งละไม่เกินปริมาณสำหรับถังบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงประจำเรือประมง
(๓) ในกรณีที่เป็นผู้ควบคุมยานพาหนะหรือยานยนต์อื่น
ให้ซื้อได้ครั้งละไม่เกินปริมาณสำหรับถังบรรจุน้ำมันขนาดธรรมดาที่ติดประจำอยู่กับยานพาหนะหรือยานยนต์นั้น
(๔) ผู้ประกอบธุรกิจหรืออุตสาหกรรม หรือกิจการอื่นที่คณะกรรมการกำหนด
ให้ซื้อได้ไม่เกินปริมาณที่เคยซื้อตามปกติ โดยแสดงหลักฐานต่อผู้ค้าน้ำมัน
หรือผู้จำหน่ายน้ำมัน แล้วแต่กรณี
(๕) บุคคลอื่นนอกจากที่กล่าวไว้ใน (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)
ให้ซื้อได้ครั้งละไม่เกิน ๒๐ ลิตร
ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวใน (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)
มีความจำเป็นต้องใช้น้ำมันดีเซลเกินปริมาณที่จะซื้อได้ตามวรรคหนึ่ง
ให้ขออนุญาตต่อกองควบคุมการค้า กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ สำหรับผู้ซึ่งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
หรือนายอำเภอแห่งท้องที่ที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนาหรือสถานที่ประกอบกิจการ
เมื่อผู้จำหน่ายได้ขายน้ำมันดีเซลให้แก่ผู้ซื้อรายใดแล้ว ให้จดชื่อตัวและชื่อสกุลพร้อมด้วยที่อยู่และเลขบัตรประจำตัวเป็นหลักฐานก่อนขาย
และถ้าเป็นกรณีซื้อเพื่อใช้กับยานพาหนะ ให้จดหมายเลขทะเบียนพาหนะ (ถ้ามี) ด้วย
ข้อ ๒ ให้คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๒ เมษายน ๒๕๒๒ เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๒
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๙ กันยายน ๒๕๕๗
ปุณิกา/ปรับปรุง
๑๕ มกราคม ๒๕๕๘
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๔๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑/๒ เมษายน ๒๕๒๒ |
301889 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 3/2522 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2516 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๓/๒๕๒๒
เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแก้ไขและ
ป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๑๖[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕
แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖
นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(๑ )คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร. ๔๘/๒๕๑๖ ลงวันที่ ๒๘
ธันวาคม ๒๕๑๖
(๒) คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร. ๕/๒๕๑๗ ลงวันที่ ๑๕ มกราคม
๒๕๑๗
ข้อ ๒
ให้แต่งตั้งบุคคลต่อไปนี้
เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดนี้
(๑) อธิบดีกรมทะเบียนการค้า
และบุคคลซึ่งอธิบดีกรมทะเบียนการค้ามอบหมาย
(๒) อธิบดีกรมการค้าภายใน
และบุคคลซึ่งอธิบดีกรมการค้าภายในมอบหมาย
(๓) ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด
และบุคคลซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย
(๔) นายอำเภอทุกอำเภอ และบุคคลซึ่งนายอำเภอมอบหมาย
ข้อ ๓
ในการสั่งการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๙ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๑๕๒๒
ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๒๒ ให้ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) สำหรับกรุงเทพมหานคร
ให้อธิบดีกรมทะเบียนการค้าหรืออธิบดีกรมการค้าภายในเป็นผู้มีอำนาจสั่ง และเมื่อสั่งการไปแล้วให้ส่งสำเนาให้คณะกรรมการประสานงานการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงทราบ
(๒) สำหรับจังหวัดอื่น
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งเฉพาะผู้จำหน่ายน้ำมันในเขตจังหวัด และเมื่อสั่งการไปแล้วให้ส่งสำเนาให้คณะกรรมการประสานการแก้ไขและป้องกันภาวการณ์ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงทราบ
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๒
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๙ กันยายน ๒๕๕๗
ปุณิกา/ปรับปรุง
๑๕ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๔๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐/๒ เมษายน ๒๕๒๒ |
318723 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 2/2522 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง | คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๒/๒๕๒๒
เรื่อง
แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานการแก้ไขและป้องกัน
ภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๑๖ นายกรัฐมนตรีจึงแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
ประกอบด้วยบุคคล ดังต่อไปนี้
๑. รองนายกรัฐมนตรี
(พลเอก
บุญชัย บำรุงพงศ์) เป็นประธานกรรมการ
๒. อธิบดีกรมทะเบียนการค้า เป็นกรรมการ
๓. อธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นกรรมการ
๔. อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เป็นกรรมการ
5.
ผู้แทนกระทรวงกลาโหม เป็นกรรมการ
๖. ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นกรรมการ
๗. ผู้แทนกระทรวงคมนาคม เป็นกรรมการ
๘. ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการ
๙. ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นกรรมการ
๑๐. ผู้แทนกรมตำรวจ เป็นกรรมการ
๑๑. นายจักรกฤษณ์ บูรณสัมฤทธิ์ เป็นกรรมการ
๑๒. หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล เป็นกรรมการ
๑๓. นายประเสริฐ นาสกุล เป็นกรรมการ
๑๔. ผู้อำนวยการองค์การเชื้อเพลิง
หรือผู้แทน เป็นกรรมการ
๑๕. กรรมการผู้จัดการใหญ่
บริษัทคาลเท็กซ์(ไทย) จำกัด
หรือผู้แทน เป็นกรรมการ
๑๖. กรรมการผู้จัดการใหญ่
บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด
หรือผู้แทน เป็นกรรมการ
๑๗. กรรมการผู้จัดการใหญ่
บริษัทซัมมิทออยล์ จำกัด
หรือผู้แทน เป็นกรรมการ
๑๘ กรรมการผู้จัดการใหญ่
บริษัทซัมมิทอินดัสเตรียล จำกัด
(ปานามา) หรือผู้แทน เป็นกรรมการ
๑๙. กรรมการผู้จัดการใหญ่
บริษัทโมบิลออยล์ (ไทยแลนด์) จำกัด
หรือผู้แทน เป็นกรรมการ
๒๐. กรรมการผู้จัดการใหญ่
บริษัทโรงกลั่นน้ำมันไทย จำกัด
หรือผู้แทน เป็นกรรมการ
๒๑. กรรมการผู้จัดการใหญ่
บริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ดประเทศไทย
จำกัด หรือผู้แทน เป็นกรรมการ
๒๒. นายกสมาคมผู้ค้าน้ำมัน
แห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ
๒๓. รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายการเมือง
(พันเอก สนั่น เศวตเศรณี) เป็นกรรมการและเลขานุการ
ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
๑. ประสานการปฏิบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๒๒ ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๒๒
๒. สั่งการแก้ไขปัญหาหรือขัดข้องในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่เห็นสมควร
๓. ให้ข้อมูลข่าวสารกับสถานการณ์น้ำมันที่มิใช้เป็นความลับของทางราชการ
ตลอดจนเสนอแนะแนวทางปฏิบัติให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี
๔. เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำมันให้ประชาชนทราบ
ในการดำเนินงานของคณะกรรมการให้มีอำนาจขอให้ผู้แทนของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมาให้ข้อมูล
คำอธิบายบาย คำแนะนำ หรือความเห็นเพื่อสั่งการเกี่ยวกับการแก้ไขและป้องกันภาวการณ์ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
และให้รายงานผลการปฏิบัติงานต่อนายกรัฐมนตรีเป็นระยะ ๆ
ตามความเหมาะสมแห่งสถานการณ์
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๙ กันยายน ๒๕๕๙
ปุณิกา/ปรับปรุง
๑๕ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๔๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘/๒ เมษายน ๒๕๒๒ |
724016 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 0201/9 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
| คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๐๒๐๑/๙
เรื่อง
การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
โดยที่ภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงยังคงมีอยู่
และกลุ่มประเทศผู้ส่งปิโตรเลียมออกได้ประกาศขึ้นราคาน้ำมันดิบในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ รวม ๔
ครั้ง และในปีต่อ ๆ ไปอาจมีการประกาศขึ้นราคาน้ำมันดิบในทำนองนี้อีก
ในการนี้รัฐบาลจำเป็นต้องปรับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้สอดคล้องกับต้นทุนน้ำมันดิบรวมทั้งน้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูปที่นำเข้า
มิฉะนั้น จะไม่มีผู้ค้าน้ำมันรายใดยอมขาดทุนนำเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักร
อย่างไรก็ดี การปรับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงหลายครั้งในปีเดียวกันย่อมจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชน
เพราะเมื่อกลุ่มประเทศผู้ส่งปิโตรเลียมออกประกาศขึ้นราคา
ก็จะมีการกักตุนน้ำมันเชื้อเพลิงไว้จนกว่ารัฐบาลจะประกาศขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง
ทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นที่เดือดร้อนกันทั่วไป ดังนั้น
จึงสมควรกำหนดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงครั้งหนึ่งให้มีกำหนดเวลานานพอสมควร
คือจะต้องกำหนดราคาให้ใกล้เคียงกับราคาที่จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยตลอดปี
เมื่อกระทำดังนี้แล้ว ในระยะแรกราคาเฉลี่ยที่กำหนดนี้จะสูงกว่าราคาที่เป็นจริงบ้าง
แต่รัฐบาลจะกำหนดให้โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรหรือผู้นำเข้า แล้วแต่กรณี
ส่งเงินส่วนเกินนี้เข้าเป็นกองทุน
และต่อมาในระยะหลังเมื่อราคาที่เป็นจริงขึ้นสูงกว่าราคาที่กำหนดไว้
รัฐบาลจะเอาเงินจากกองทุนดังกล่าวชดเชยให้โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรหรือผู้นำน้ำมันเข้าเพื่อมิให้ต้องขึ้นราคาขายปลีก
การกำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในลักษณะเช่นนี้จะช่วยรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงให้คงที่นานกว่าที่จะปรับปรุงราคาน้ำมันเชื้อเพลิงทุกครั้งที่มีการขึ้นราคาน้ำมันดิบ
ซึ่งจะช่วยบรรเทาความสับสนและความเดือดร้อนที่จะเกิดขึ้นแก่ประชาชนภายหลังการปรับปรุงราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงทุกครั้ง
และโดยที่สมควรชดเชยราคาน้ำมันเตาให้แก่องค์การเชื้อเพลิง
สำหรับน้ำมันเตาที่จำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
เพื่อมิให้องค์การเชื้อเพลิงต้องขึ้นราคาน้ำมันเตาซึ่งจะทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยต้องขึ้นราคากระแสไฟฟ้า
อันจะเป็นผลเพิ่มความเดือดร้อนแก่โรงงานอุตสาหกรรมและประชาชนอีก
นอกจากนี้
สมควรรวมกองทุนต่าง ๆ
ที่ได้จัดตั้งขึ้นแล้วเข้าเป็นกองทุนเดียวกันเพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นใหม่ในโอกาสเดียวกันนี้ด้วย
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามมาตรา ๓
แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖
นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งกำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันภาวการณ์ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ในคำสั่งนี้
กองทุน หมายความว่า กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งนี้
น้ำมันเชื้อเพลิง หมายความว่า น้ำมันเบนซิน
น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา และน้ำมันที่คล้ายกัน
หรือน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ที่คล้ายกัน
และหมายความรวมถึงก๊าซหุงต้มและยางมะตอยด้วย
ข้อ
๒ ให้จัดตั้งกองทุน เรียกว่า กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ประกอบด้วยเงินดังต่อไปนี้
(๑)
เงินที่ผู้มีหน้าที่ส่งเข้ากองทุนส่งตามคำสั่งนี้
(๒)
เงินที่โอนมาตามข้อ ๓ และข้อ ๔
(๓)
เงินงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นคราว ๆ (ถ้ามี)
(๔)
เงินที่โอนมาจากกองทุนอื่น (ถ้ามี)
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
ที่จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๗๘/๒๕๒๐ ลงวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๒๐
และโอนเงินที่เหลือจากการจ่ายชดเชยให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับตามคำสั่งดังกล่าวเข้ากองทุน
ในกรณีที่กองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีเงินไม่พอจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับตามคำสั่งดังกล่าว
ให้ปลัดกระทรวงการคลังหรือผู้ซึ่งปลัดกระทรวงการคลังมอบหมาย
โอนเงินจากกองทุนนี้ให้ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธินั้นด้วย
ข้อ
๔
ให้ยกเลิกกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เงินตราต่างประเทศ)
ที่จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๐๖/๒๕๒๑ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๒๑
และโอนเงินที่เหลือจากการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับตามคำสั่งดังกล่าวเข้ากองทุน
ข้อ
๕
ให้องค์การเชื้อเพลิงส่งเงินกำไรที่ได้จากการขายน้ำมันดิบเชงลีที่ซื้อจากสาธารณรัฐประชาชนจีน
เฉพาะที่นำเข้าในปี ๒๕๒๒ ซึ่งหักภาษีเงินได้แล้วเข้ากองทุน
ข้อ
๖
ให้กระทรวงการคลังกำหนดราคาน้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด
น้ำมันดีเซลและน้ำมันเตา ณ โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักร
ที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคาขายปลีกน้ำมันดังกล่าว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มกราคม ๒๕๒๒
ข้อ
๗ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีกำหนดราคาขายปลีกยางมะตอยให้กระทรวงการคลังกำหนดราคายางมะตอย
ณ
โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรโดยยังไม่รวมภาษีอากรที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคาขายปลีกยางมะตอยนั้น
ข้อ
๘
ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันดิบที่นำเข้า
อันเป็นผลทำให้กระทรวงอุตสาหกรรมต้องกำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ
โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรแล้วให้กระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ
โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรที่กำหนดขึ้นใหม่ให้กระทรวงการคลังทราบ
ข้อ
๙
ในกรณีที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กระทรวงการคลังกำหนดตามข้อ ๖ หรือข้อ ๗
แล้วแต่กรณี สูงกว่าราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งให้กระทรวงการคลังทราบตามข้อ
๘ ให้ถือราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กระทรวงการคลังกำหนดตามข้อ ๖ หรือข้อ ๗
เป็นราคาขายส่ง ณ โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรโดยยังไม่รวมภาษีอากร และให้
(๑)
ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา
หรือน้ำมันที่คล้ายกันจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
(๒
ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา หรือน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ที่คล้ายกันเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ทั้งนี้
ในอัตราต่อหน่วยของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายหรือนำเข้า แล้วแต่กรณี
ตามที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนด โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
เงินที่ส่งเข้าตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือเป็นรายจ่ายตามประมวลรัษฎากร
ข้อ
๑๐ ในการส่งเงินเข้ากองทุนตามข้อ ๙
ให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑)
ถ้าเป็นน้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา
หรือน้ำมันที่คล้ายกันที่ผลิตและจำหน่ายจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ต้องส่งให้แก่ผู้รับชำระภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งทำในราชอาณาจักร
พร้อมกับการชำระภาษีนั้น
(๒)
ถ้าเป็นน้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา
หรือน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ที่คล้ายกันที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ต้องส่งให้แก่ผู้รับชำระอากรขาเข้าพร้อมกับการชำระอากรนั้น
ข้อ
๑๑
ในกรณีที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กระทรวงการคลังกำหนดตามข้อ ๖ หรือข้อ ๗
แล้วแต่กรณี
ต่ำกว่าราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งให้กระทรวงการคลังทราบตามข้อ
๘ ให้ถือราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งให้กระทรวงการคลังทราบตามข้อ
๘ ให้ถือราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งให้กระทรวงการคลังทราบตามข้อ
๘ ให้ถือราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งให้กระทรวงการคลังทราบตามข้อ
๘ หักด้วยเงินชดเชยตามข้อนี้เป็นราคาขายส่ง ณ
โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรโดยยังไม่รวมภาษีอากร
และให้ปลัดกระทรวงการคลังมอบหมายสั่งจ่ายเงินจากกองทุนชดเชยให้แก่
(๑)
ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา
หรือน้ำมันที่คล้ายกันจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชอาณาจักรตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
(๒)
ผู้นำน้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา
หรือน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ที่คล้ายกันเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักรตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ทั้งนี้
ในอัตราต่อหน่วยของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายหรือนำเข้า แล้วแต่กรณี
ตามที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
เงินที่ได้รับตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือเป็นเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
ข้อ
๑๒
ในกรณีที่น้ำมันเตาที่ผลิตและจำหน่ายหรือนำเข้ามีลักษณะแตกต่างไปจากน้ำมันเตาที่ประกาศตามข้อ
๖
ให้กระทรวงการคลังคำนวณปรับอัตราเงินที่ต้องส่งหรือชดเชยให้สอดคล้องกับราคาน้ำมันเตาที่กำหนดตามข้อ
๖
ข้อ
๑๓
ให้ปลัดกระทรวงการคลังหรือผู้ซึ่งปลัดกระทรวงการคลังมอบหมายสั่งจ่ายเงินชดเชยจากกองทุนให้แก่
(๑)
องค์การเชื้อเพลิง สำหรับน้ำมันเตาที่ขายให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ทั้งนี้
ในอัตราต่อหน่วยของน้ำมันเตาที่ขายตามที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะมีมติให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยขึ้นราคาจำหน่ายกระแสไฟฟ้าหรือสั่งเป็นอย่างอื่น
(๒)
โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักร
สำหรับก๊าซหุงต้มที่ขายเพื่อใช้ในราชอาณาจักรในอัตราต่อหน่วยของก๊าซหุงต้มที่ขายตามที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
แต่ทั้งนี้โรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรต้องขายก๊าซหุงต้มดังกล่าวเพื่อใช้ในราชอาณาจักรในราคาโดยยังไม่รวมภาษีอากรไม่เกินกิโลกรัมละ
๓.๓๓๖๙ บาท
(๓)
ผู้นำเข้า
สำหรับก๊าซหุงต้มที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักรในอัตราต่อหน่วยของก๊าซหุงต้มที่ขายตามที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
แต่ทั้งนี้ราคาโดยไม่รวมภาษีอากรสำหรับก๊าซหุงต้มที่นำเข้าต้องไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ
๓.๓๓๖๙ บาท
ข้อ
๑๔ ในการขอรับเงินชดเชยจากกองทุน
ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชย ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑)
ถ้าเป็นน้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา
หรือน้ำมันที่คล้ายกันที่ผลิตและจำหน่ายจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ให้ยื่นรายการแจ้งชนิดและปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวแก่ผู้รับชำระภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งทำในราชอาณาจักร
พร้อมกับการชำระภาษีนั้น
(๒)
ถ้าเป็นน้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา หรือน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ที่คล้ายกันที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ให้ยื่นรายการแจ้งชนิดและปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวแก่ผู้รับชำระอากรขาเข้า
พร้อมกับการชำระอากรนั้น
(๓)
ถ้าเป็นน้ำมันเตาที่ขายให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตามข้อ ๑๓ (๑)
ให้ยื่นรายการแจ้งชนิดและปริมาณของน้ำมันต่อสำนักปลัดกระทรวงการคลัง
(๔)
ถ้าเป็นก๊าซหุงต้มตามข้อ ๑๓ (๒)
ให้ยื่นรายการแจ้งชนิดและปริมาณของก๊าซหุงต้มดังกล่าวแก่ผู้รับชำระภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งทำในราชอาณาจักร
พร้อมกับการชำระภาษีนั้น
(๕)
ถ้าเป็นก๊าซหุงต้มตามข้อ ๑๓ (๓)
ให้ยื่นรายการแจ้งชนิดและปริมาณของก๊าซหุงต้มดังกล่าวแก่ผู้รับชำระอากรขาเข้า
พร้อมกับการชำระอากรนั้น
ข้อ
๑๕ ในการส่งเงินตามข้อ ๙
หรือการสั่งจ่ายเงินชดเชยตามข้อ ๑๑
ให้ถือปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผู้มีหน้าที่ชำระภาษีหรืออากรต้องชำระภาษีอากรเป็นหลักฐานในการคำนวณ
ส่วนการสั่งจ่ายเงินชดเชยตามข้อ ๑๓
ให้ถือปริมาณน้ำมันเตาที่องค์การเชื้อเพลิงและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยร่วมกันรับรองเป็นหลักฐานในการคำนวณ
ข้อ
๑๖
ในกรณีที่มีปัญหาในการตีความเกี่ยวกับการปฏิบัติการตามคำสั่งนี้
ให้กระทรวงอุตสาหกรรมหรือกระทรวงการคลัง แล้วแต่กรณี
นำเรื่องเสนอให้คณะกรรมการปฏิบัติการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัย
และให้คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นที่สุด
ข้อ
๑๗
คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒ เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๒๗
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒
พลเอก บุญชัย บำรุงพงศ์
รองนายกรัฐมนตรี
รักษาราชการแทน
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๑๖ กันยายน ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๖/ตอน ๔๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๔/๑ เมษายน ๒๕๒๒ |
325763 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร. 0201/21 เรื่อง การกำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันส่งเงินเข้ากองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ค้าน้ำมัน | คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ สร. ๐๒๐๑/๒๑
เรื่อง
การกำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันส่งเงินเข้ากองทุนรักษาระดับราคา
น้ำมันเชื้อเพลิงและการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ค้าน้ำมัน[๑]
ตามที่ได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๑๗๘/๒๕๒๐ ลงวันที่ ๑๘
กันยายน ๒๕๒๐ เรื่อง การกำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันส่งเงินเข้ากองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ค้าน้ำมันไปแล้วนั้น
ปรากฏว่าได้มีการยกเลิกคณะกรรมการนโยบายน้ำมัน และแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันแห่งชาติขึ้นแทน
สมควรแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ดังนั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา
๓ แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖
นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งกำหนดมาตรการไว้ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความใน (๒) ของข้อ ๒ แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่
๑๗๘/๒๕๒๐ ลงวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๒๐ เรื่อง การกำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันส่งเงินเข้ากองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ค้าน้ำมัน
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๒)
นำน้ำมันเตาเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักรตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายและการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันแห่งชาติกำหนดในอัตราไม่เกินลิตรละ
๘.๘ สตางค์ (แปดจุดแปดสตางค์)
สั่ง ณ วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๑
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
นายกรัฐมนตรี
จารุวรรณ/แก้ไข
๓ ตุลาคม ๒๕๔๕
อภิญญา/ปรับปรุง
๙ กันยายน ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๕/ตอน ๓๙/หน้า ๑๖๖/๔ เมษายน ๒๕๒๑ |
317471 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 221/2520 เรื่อง การใช้มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง | คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๒๒๑/๒๕๒๐
เรื่อง
การใช้มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกัน
ภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
ตามที่ได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร. ๒/๒๕๑๗ ลงวันที่ ๗
มกราคม ๒๕๑๗ กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
โดยห้ามมิให้สถานบริการ ตามความในมาตรา ๓ (๑) แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.
๒๕๐๙ เปิดทำการในวันอาทิตย์ตั้งแต่เวลา ๐๑.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา นั้น เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
สมควรยกเลิกการใช้มาตรการดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓
แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๑๖ นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกคำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ สลร. ๒/๒๕๑๗ ลงวันที่ ๗ มกราคม
๒๕๑๗ เรื่อง การใช้มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
ข้อ ๒ ให้คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม
พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๒๐
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
นายกรัฐมนตรี
จารุวรรณ/พิมพ์
๑ ตุลาคม ๒๕๔๕
อภิญญา/ปรับปรุง
๙ กันยายน ๒๕๕๗
ปุณิกา/ปรับปรุง
๑๕ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๔/หน้า ๔/๑๐ มกราคม ๒๕๒๑ |
327527 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 178/2520 เรื่อง การกำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันส่งเงินเข้ากองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ค้าน้ำมัน | คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑๗๘ / ๒๕๒๐
เรื่อง
การกำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันส่งเงินเข้ากองทุนรักษา
ระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ค้าน้ำมัน[๑]
โดยที่ผู้ค้าน้ำมันได้ร้องเรียนว่า
ตามที่ประเทศซาอุดีอารเบียและยูไนเต็ดอารับอามิเรต ได้ประกาศขึ้นราคาน้ำมันดิบร้อยละ
๕ และประเทศอื่นในกลุ่มประเทศผู้ส่งปิโตรเลียมออกได้ประกาศขึ้นราคาน้ำมันดิบร้อยละ
๑๐ ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๒๐ และกระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรใหม่
ตั้งแต่ ๒ มีนาคม ๒๕๒๐ แล้วนั้น บัดนี้ ประเทศซาอุดีอาราเบียและยูไนเต็ดอาหรับอามิเรตได้ประกาศขึ้นราคาน้ำมันดิบอีกร้อยละ
๕ ตั้งแต่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๒๐ อีก เป็นเหตุให้ผู้ค้าน้ำมันไม่อยู่ในฐานะที่จะรับภาระขาดทุนในการนำน้ำมันดิบเข้ามากลั่นในราชอาณาจักร
หรือนำน้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูปเข้ามาจำหน่ายได้อีกต่อไป และได้ขอให้กระทรวงอุตสาหกรรมประกาศปรับปรุงราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรเสียใหม่โดยเร็วที่สุด
เพื่อให้สามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้
โดยที่กระทรวงอุตสาหกรรมเห็นว่าการประกาศกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรใหม่ย่อมจะมีผลกระทบกระเทือนไปถึงราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง
ซึ่งนอกจากจะส่งผลเป็นการเพิ่มความเดือดร้อนในเรื่องค่าครองชีพให้แก่ประชาชนยิ่งขึ้นไปอีกแล้ว
ยังจะเป็นการขัดกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงไว้ว่าจะไม่ให้มีการขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงภายในปีนี้อีกด้วย
และโดยที่กระทรวงอุตสาหกรรมเห็นว่าวิธีที่ดีที่สุดที่จะพึงเลือกปฏิบัติในภาวะการณ์ของบ้านเมืองเช่นนี้
คือ ถึงเวลาแล้วที่จะต้องกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรใหม่ให้สูงขึ้น
เพื่อให้ผู้ค้าน้ำมันสามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้ และขณะเดียวกันจะต้องตรึงราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงไว้เพื่อมิให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ประชาชนอีกระยะหนึ่ง
แต่วิธีนี้รัฐบาลจะต้องยอมสละรายได้บางส่วนจากการเก็บภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
โดยการลดอัตราภาษีสำหรับน้ำมันเบนซินชนิดพิเศษและน้ำมันเบนซินชนิดธรรมดา
และเรียกเก็บเงินส่วนหนึ่งจากผู้ค้าน้ำมันคืนในอัตราที่กำหนดตามปริมาณน้ำมันเบนซินชนิดพิเศษและน้ำมันเบนซินชนิดธรรมดาที่ผลิตและจำหน่ายจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักร
หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร
มาตั้งเป็นกองทุนเพื่อจ่ายเป็นเงินชดเชยให้แก่ผู้ค้าน้ำมันตามปริมาณน้ำมันเตาที่ผลิตและจำหน่ายจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักร
หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร เพราะขณะนี้ไม่มีภาษีสำหรับน้ำมันเตาที่จะลดลงได้อีกต่อไปแล้ว
ดังนั้น เพื่อให้การกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรครั้งนี้บังเกิดผลที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมากที่สุด
อาศัยอำนาจตามมาตรา ๓ แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๑๖ นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งกำหนดมาตรการไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้จัดตั้งกองทุน เรียกว่า กองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ประกอบด้วยเงินที่ผู้มีหน้าที่ส่งเข้ากองทุนส่งตามคำสั่งนี้
และเงินที่รัฐบาลจะจัดสรรเพิ่มเติมให้เป็นคราว ๆ ตามความจำเป็น
ข้อ ๒
ให้ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมหรือผู้ซึ่งปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมมอบหมายสั่งจ่ายเงินชดเชยจากกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ผู้ซึ่ง
(๑) ซื้อน้ำมันเตาจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักร
เพื่อใช้ในราชอาณาจักร ในอัตราลิตรละ ๘.๘ สตางค์ (แปดจุดแปดสตางค์) หรือ
(๒) นำน้ำมันเตาเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักรตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายน้ำมันกำหนด
ในอัตราไม่เกินลิตรละ ๘.๘ สตางค์ (แปดจุดแปดสตางค์)
เงินที่ได้รับตามวรรคหนึ่งให้ถือเป็นเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๓
ในการขอรับเงินชดเชยตามข้อ ๒
ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยปฏิบัติ
ดังต่อไปนี้
(๑) ถ้าเป็นน้ำมันเตาที่ซื้อหรือได้มาจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักร
ให้ยื่นรายการแจ้งชนิดและปริมาณของน้ำมันเตาที่ขอรับเงินชดเชยต่อกรมสรรพสามิต
พร้อมกับการขอชำระภาษีน้ำมันของโรงกลั่นนั้น
(๒) ถ้าเป็นน้ำมันเตาที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
ให้ยื่นรายการแจ้งชนิดและปริมาณของน้ำมันเตาที่ขอรับเงินชดเชยต่อกรมศุลกากรพร้อมกับการขอชำระอากรขาเข้า
ข้อ ๔
ให้กรมสรรพสามิตหรือกรมศุลกากรแล้วแต่กรณี ตรวจสอบชนิดและปริมาณน้ำมันเตาที่ขอรับเงินชดเชยที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยยื่นตามข้อ
๓ เมื่อกรมสรรพสามิตหรือกรมศุลกากรรับรองว่าถูกต้องแล้วให้รายงานกระทรวงอุตสาหกรรม
และให้ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมหรือผู้ซึ่งปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมมอบหมายสั่งจ่ายเงินชดเชยจากกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ผู้นั้นโดยไม่ชักช้า
ข้อ ๕
ให้ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเบนซินและน้ำมันที่คล้ายกันจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ส่งเงินเข้ากองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ตามปริมาณน้ำมันเบนซินและน้ำมันที่คล้ายกันที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ในอัตราลิตรละ ๑๒.๕ สตางค์ (สิบสองจุดห้าสตางค์)
เงินที่ต้องส่งตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือเป็นรายจ่ายตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๖
ให้ผู้นำน้ำมันเบนซินและน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ที่คล้ายกันเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักรส่งเงินเข้ากองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
ตามปริมาณน้ำมันเบนซินและน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ที่คล้ายกันที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ในอัตราลิตรละ ๑๒.๕ สตางค์ (สิบสองจุดห้าสตางค์)
เงินที่ต้องส่งตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือเป็นรายจ่ายตามประมวลรัษฎากร
ข้อ ๗
ในการส่งเงินเข้ากองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงตามข้อ ๕ หรือข้อ
๖ ให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) ถ้าเป็นน้ำมันเบนซินและน้ำมันที่คล้ายกันที่ผลิตและจำหน่ายจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักร
ต้องส่งให้แก่ผู้รับชำระภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งทำในราชอาณาจักร
พร้อมกับการชำระภาษีดังกล่าว
(๒) ถ้าเป็นน้ำมันเบนซินและน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ที่คล้ายกันที่เข้ามาในราชอาณาจักร
ต้องส่งให้แก่ผู้รับชำระอากรขาเข้า พร้อมกับการชำระอากรนั้น
ข้อ ๘
ในการคำนวณปริมาณน้ำมันเบนซินและน้ำมันเตาตามคำสั่งนี้ให้ถือปริมาตร ณ
อุณหภูมิตามที่กำหนดไว้โดยกฎหมายว่าด้วยภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งทำในราชอาณาจักร
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๒๐
ธานินทร์ กรัยวิเชียร
นายกรัฐมนตรี
ธิดาวรรณ/แก้ไข
๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๕
อภิญญา/ปรับปรุง
๙ กันยายน ๒๕๕๗
ปุณิกา/ปรับปรุง
๑๕ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๔/ตอนที่ ๘๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๔๓/๒๒ กันยายน ๒๕๒๐ |
321797 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 198/2520 เรื่อง การใช้มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง | คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑๙๘/๒๕๒๐
เรื่อง
การใช้มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกัน
การขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
อาศัยอำนาจ
ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ.
๒๕๑๖ นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งกำหนดมาตรการ ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกบทนิยามคำว่า น้ำมันเชื้อเพลิง ในข้อ ๑
ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่
สลร. ๔/๒๕๑๗ เรื่อง การใช้มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
ลงวัน
ที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๑๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
น้ำมันเชื้อเพลิง หมายความว่า น้ำมันปิโตรเลียมดิบ น้ำมันเบนซิน
น้ำมันเชื้อ
เพลิงสำหรับเครื่องบิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล และน้ำมันเตา
และหมายความรวมถึงน้ำมันหล่อลื่น
และจาระบี ด้วย
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๐
ธานินทร์ กรัยวิเชียร
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๘ กันยายน ๒๕๕๗
ปุณิกา/ปรับปรุง
๑๕ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๔/ตอนที่ ๙๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๘๓/๑๙ ตุลาคม ๒๕๒๐ |
301888 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.44/2517 เรื่อง การใช้มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง | คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ สลร. ๔๔/๒๕๑๗
เรื่อง การใช้มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกัน
การขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
ตามที่ได้มีคำสั่งกำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงไปแล้วนั้น
บัดนี้เห็นสมควรผ่อนผันให้ผู้จำหน่ายน้ำมันไม่ต้องจัดทำบัญชีแสดงชนิดและปริมาณน้ำมันกับผู้ใช้น้ำมันไม่ต้องลงลายมือชื่อเป็นหลักฐานในเอกสารที่ผู้จำหน่ายน้ำมันจัดทำไว้
แล้วส่งกองอุตสาหกรรมน้ำมันกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา ๓
แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖
นายกรัฐมนตรีจึงออกคำสั่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ และข้อ ๘
แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร.๔/๒๕๑๗ ลงวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๑๗
ข้อ ๒ ให้คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๘
กรกฎาคม ๒๕๑๗ เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๑๗
สัญญา ธรรมศักดิ์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๘ กันยายน ๒๕๕๗
ปุณิกา/ปรับปรุง
๑๕ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๑/ตอนที่ ๑๔๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๖/๒๙ สิงหาคม ๒๕๑๗ |
723998 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร. 18/2517 เรื่อง การใช้มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
| คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ สลร. ๑๘/๒๕๑๗
เรื่อง
การใช้มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกัน
การขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร. ๑/๒๕๑๗
เรื่อง การใช้มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒
มกราคม ๒๕๑๗ นั้น เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๓
แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวการณ์ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖
นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกความในข้อ ๑ (๑) แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร. ๑/๒๕๑๗ ลงวันที่
๒ มกราคม ๒๕๑๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑) ห้ามใช้ไฟฟ้าในการโฆษณาสินค้า
เว้นแต่
(ก) ป้ายชื่อร้านเกินหนึ่งป้าย
(ข)
ป้ายชื่อภาพยนตร์ที่โรงภาพยนตร์ไม่เกินหนึ่งป้าย
และให้ใช้ไฟฟ้าได้เฉพาะระหว่างเวลาที่กำหนดให้ฉายภาพยนตร์ได้เท่านั้น
ข้อ ๒
ให้ยกเลิกความในข้อ ๑ (๒) แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร. ๑/๒๕๑๗ ลงวันที่
๒ มกราคม ๒๕๑๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๒)
ห้ามฉายภาพยนตร์ในโรงมหรสพก่อนเวลา ๑๒.๓๐ นาฬิกา และหลังเวลา ๒๑.๓๐ นาฬิกา
ของทุกวัน
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกความในข้อ ๑ (๓) แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร. ๑/๒๕๑๗ ลงวันที่
๒ มกราคม ๒๕๑๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๓) ห้ามสถานบริการตามความในมาตรา ๓
(๓) แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ ซึ่งมีความหมายว่า สถานที่อาบน้ำ นวด
หรืออบตัว ซึ่งมีหญิงบริการให้แก่ลูกค้าชาย เปิดบริการในวันธรรมดาก่อนเวลา ๑๖.๐๐
นาฬิกา เฉพาะวันหยุดราชการ ให้เปิดได้ตามปกติ
ถ้าสถานบริการนั้นเป็นร้านตัดผมด้วย
ให้เปิดดำเนินการได้ระหว่างเวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา ถึง ๒๐.๐๐ นาฬิกา ตามกฎกระทรวง (พ.ศ.
๒๕๐๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙
ข้อ ๔
ให้คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๗ เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๕
กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗
สัญญา ธรรมศักดิ์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๑๑ กันยายน ๒๕๕๗
ปุณิกา/ปรับปรุง
๑๕ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๑/ตอนที่ ๒๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๕/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗ |
301887 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.17/2517 เรื่อง การใช้มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง | คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ สลร. ๑๗/๒๕๑๗
เรื่อง
การใช้มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกัน
การขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงอาศัยอำนาจตามมาตรา
๓ แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖
นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งกำหนดมาตรการเพิ่มเติมไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสอง
และวรรคสามของข้อ ๒ แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร. ๔/๒๕๑๗ ลงวันที่ ๑๕ มกราคม
๒๕๑๗
สำหรับบุคคลที่ไม่มีใบอนุญาตให้เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง
แต่มีเหตุต้องใช้และมีความจำเป็นต้องเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ไม่เกินปริมาณที่กฎหมายว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงกำหนดให้ต้องขอรับใบอนุญาต
ให้มีและเก็บรักษาไว้ใช้ได้
ส่วนบุคคลที่ไม่มีเหตุต้องใช้หรือที่ไม่มีใบอนุญาตให้เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงนอกจากที่ระบุไว้ในวรรคสอง
ถ้ามีน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในครอบครองหรือรับฝากจากบุคคลอื่นอยู่แล้วในวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ
ให้แจ้งชนิด ปริมาณ และสถานที่เก็บ ต่อกองอุตสาหกรรมน้ำมันกระทรวงอุตสาหกรรม
สำหรับบุคคลที่มีน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในครอบครองหรือรับฝากจากบุคคลอื่นในเขตกรุงเทพมหานคร
หรือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ทำการแทน หรือนายอำเภอแห่งท้องที่ของผู้มีน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ในความครอบครองหรือรับฝากไว้
ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ และให้เก็บรักษาไว้จนกว่าคณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่ง
ในการนี้ให้คณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลนั้นจำหน่ายให้แก่ผู้ใดก็ได้ในราคาที่ทางราชการกำหนดในท้องที่นั้นในวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ
โดยไม้คำนึงถึงว่าน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นจะเป็นของบุคคลนั้นหรือไม่
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ สลร. ๔/๒๕๑๗ ลงวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๑๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๔ ให้ผู้ที่มีเหตุต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งมีน้ำมันเชื้อเพลิงเกินกว่าที่กฎหมายว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงกำหนด
หรือผู้รับใบอนุญาตเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งมีเหตุต้องมีน้ำมันเชื้อเพลิงเกินกว่าชนิดและปริมาณที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตยื่นขอรับใบอนุญาตเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงหรือขออนุญาตเพิ่มชนิดและปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงแล้วแต่กรณี
ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับโดยปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการเก็บรักษานำมันเชื้อเพลิง
ในระหว่างที่รอรับใบอนุญาต
ให้ผู้ที่มีเหตุต้องใช้น้ำมันเพลิงหรือผู้รับใบอนุญาตเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง
ตามวรรคหนึ่ง
มีและเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ใช้เกินกว่าที่กฎหมายว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงกำหนด
หรือเกินกว่าชนิดและปริมาณที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตเป็นการชั่วคราวได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินชนิดและปริมาณที่ยื่นขอรับใบอนุญาตหรือขออนุญาตเพิ่มแล้วแต่กรณี
และมิให้นำข้อ ๓ มาใช้บังคับ
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ ๕ แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ สลร. ๔/๒๕๑๗ ลงวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๑๗
ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นว่าบุคคลใดมีน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวไว้ในครอบครองมากเกินสมควร
ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลนั้นจำหน่ายให้แก่ผู้ใดก็ได้ในราคาที่ทางราชการกำหนดในท้องที่นั้นในวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ ๑๐
แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่สลร. ๔/๒๕๑๗ ลงวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๑๗
สำหรับใบสั่งจ่ายน้ำมันที่ออกก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ
ถ้ามีกำหนดเวลาสิ้นอายุในวันใดวันหนึ่งภายใน ๓๐ วัน
นับแต่วันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับก็ให้สิ้นอายุในวันนั้น
แต่ถ้ามีกำหนดเวลาสิ้นอายุภายหลังกำหนดเวลาดังกล่าว หรือไม่มีกำหนดเวลาสิ้นอายุ
ให้มีอายุไม่เกิน ๓๐ วัน นับแต่วันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ และให้นำวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ ๑๗
แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่สลร. ๔/๒๕๑๗ ลงวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๑๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่
(๑) ผู้ควบคุมยานพาหนะซึ่งนำ
น้ำมันเชื้อเพลิงติดไปกับยานพาหนะนั้น ตามชนิดและปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอสำหรับการเดินทาง
(๒) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันหรือผู้ค้าน้ำมัน
ซึ่งส่งน้ำมันเชื้อเพลิงไปบรรจุไว้ในสถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับใช้กับเครื่องบินหรือเรือที่บรรทุกสินค้าไปต่างประเทศ
(๓) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน
หรือผู้ค้าน้ำมัน ซึ่งส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกนอกราชอาณาจักร
เพื่อการวิเคราะห์คุณภาพ แต่ละชนิดมีปริมาณครั้งละไม่เกินครั้งละ 20 ลิตร
สั่ง ณ วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗
สัญญา ธรรมศักดิ์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๘ กันยายน ๒๕๕๗
ปุณิกา/ปรับปรุง
๑๕ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๑/ตอนที่ ๒๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗ |
723990 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร. 4/2517 เรื่อง การใช้มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับ Update ณ วันที่ 05/02/2517)
| คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ สลร.๔/๒๕๑๗
เรื่อง
การใช้มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกัน
การขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๑]
เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
อาศัยอำนาจตามมาตรา ๓
แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖
นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งกำหนดมาตรการ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ในคำสั่งนี้
น้ำมันเชื้อเพลิง หมายความว่า น้ำมันปิโตรเลียมดิบ
น้ำมันเบนซิน น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล
และน้ำมันเตา
ผู้ประกอบอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน หมายความว่า
ผู้ทำหรือผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากน้ำมันปิโตรเลียมดิบหรือจากวัสดุใด ๆ
ผู้ค้าน้ำมัน หมายความว่า
ผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงโดยซื้อหรือได้มาจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน
และหรือโดยซื้อหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย
มีปริมาณการค้าแต่ละชนิดหรือรวมกันทุกชนิดไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนเมตริกตัน
และให้หมายความรวมถึงผู้ประกอบอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันและองค์การเชื้อเพลิงด้วย
ผู้จำหน่ายน้ำมัน หมายความว่า
สถานีบริการหรือร้านค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
โดยซื้อหรือได้มาจากผู้ค้าน้ำมันหรือผู้อื่นใดเพื่อขาย
ผู้ใช้น้ำมัน หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลใด
ผู้ซึ่งได้น้ำมันเชื้อเพลิงมาโดยการซื้อหรือวิธีอื่นจากผู้ค้าน้ำมันหรือผู้จำหน่ายน้ำมัน
ใบสั่งจ่ายน้ำมัน หมายความว่า
ใบรับสินค้าที่ผู้ค้าน้ำมันคนหนึ่งออกให้แก่ผู้ค้าน้ำมันอีกคนหนึ่งหรือผู้จำหน่ายน้ำมัน
หรือผู้ใช้น้ำมันเพื่อไปรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่คลังน้ำมัน
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการปฏิบัติการแทนนายกรัฐมนตรีที่แต่งตั้งเพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวการณ์ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๑๖
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา ๕
แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวการณ์ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖
ข้อ
๒
ห้ามบุคคลหนึ่งบุคคลใดที่ไม่มีเหตุต้องใช้หรือที่ไม่มีใบอนุญาตให้เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง
มีน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในครอบครองหรือรับฝากจากบุคคลอื่น
สำหรับบุคคลที่ไม่มีใบอนุญาตให้เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง
แต่มีเหตุต้องใช้และมีความจำเป็นต้องเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ไม่เกินปริมาณที่กฎหมายว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงกำหนดให้ต้องขอรับใบอนุญาต
ให้มีและเก็บรักษาไว้ใช้ได้[๒]
ส่วนบุคคลที่ไม่มีเหตุต้องใช้หรือที่ไม่มีใบอนุญาตให้เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงนอกจากที่ระบุไว้ในวรรคสอง
ถ้ามีน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในครอบครองหรือรับฝากจากบุคคลอื่นอยู่แล้วในวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ
ให้แจ้งชนิด ปริมาณ และสถานที่เก็บ ต่อกองอุตสาหกรรมน้ำมันกระทรวงอุตสาหกรรม
สำหรับบุคคลที่มีน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในครอบครองหรือรับฝากจากบุคคลอื่นในเขตกรุงเทพมหานคร
หรือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ทำการแทน หรือนายอำเภอแห่งท้องที่ของผู้มีน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ในความครอบครองหรือรับฝากไว้
ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ และให้เก็บรักษาไว้จนกว่าคณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่ง
ในการนี้ให้คณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลนั้นจำหน่ายให้แก่ผู้ใดก็ได้ในราคาที่ทางราชการกำหนดในท้องที่นั้นในวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ
โดยไม้คำนึงถึงว่าน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นจะเป็นของบุคคลนั้นหรือไม่[๓]
ข้อ
๓ ห้ามบุคคลหนึ่งบุคคลใดที่มีใบอนุญาตให้เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง
มีน้ำมันเชื้อเพลิงเกินกว่าชนิดและปริมาณที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต
ข้อ ๔[๔] ให้ผู้ที่มีเหตุต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งมีน้ำมันเชื้อเพลิงเกินกว่าที่กฎหมายว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงกำหนด
หรือผู้รับใบอนุญาตเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งมีเหตุต้องมีน้ำมันเชื้อเพลิงเกินกว่าชนิดและปริมาณที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตยื่นขอรับใบอนุญาตเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงหรือขออนุญาตเพิ่มชนิดและปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงแล้วแต่กรณี
ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับโดยปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการเก็บรักษานำมันเชื้อเพลิง
ในระหว่างที่รอรับใบอนุญาต
ให้ผู้ที่มีเหตุต้องใช้น้ำมันเพลิงหรือผู้รับใบอนุญาตเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง
ตามวรรคหนึ่ง
มีและเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ใช้เกินกว่าที่กฎหมายว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงกำหนด
หรือเกินกว่าชนิดและปริมาณที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตเป็นการชั่วคราวได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินชนิดและปริมาณที่ยื่นขอรับใบอนุญาตหรือขออนุญาตเพิ่มแล้วแต่กรณี
และมิให้นำข้อ ๓ มาใช้บังคับ
ข้อ
๕ ผู้ใดนอกจากผู้ค้าน้ำมัน
มีน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในครอบครองเกิน ๒๐๐ ลิตร สำหรับน้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด
หรือน้ำมันดีเซล หรือ ๑,๐๐๐ ลิตร สำหรับน้ำมันเตา
ให้แจ้งชนิดและปริมาณและสถานที่เก็บต่อกองอุตสาหกรรมน้ำมัน กระทรวงอุตสาหกรรม
สำหรับผู้ที่มีน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ในครอบครองในเขตกรุงเทพมหานคร
หรือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ทำการแทน หรือนายอำเภอแห่งท้องที่ของผู้มีน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ในความครอบครอง
พร้อมด้วยเหตุผลการมีไว้ในครอบครองเป็นประจำทุกสัปดาห์ภายในวันพุธของสัปดาห์ถัดไป
ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นว่าบุคคลใดมีน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวไว้ในครอบครองมากเกินสมควร
ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลนั้นจำหน่ายให้แก่ผู้ใดก็ได้ในราคาที่ทางราชการกำหนดในท้องที่นั้นในวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ[๕]
ข้อ
๖
ให้ผู้ค้าน้ำมันแจ้งชนิดและปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงที่รับหรือได้มา
และจัดส่งหรือจำหน่ายเป็นประจำทุกสัปดาห์ ภายในวันพุธของสัปดาห์ถัดไปต่อกองอุตสาหกรรมน้ำมัน
กระทรวงอุตสาหกรรมตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ
๗
ให้ผู้จำหน่ายน้ำมันทำบัญชีแสดงชนิดและปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับหรือได้มา
และจัดส่งหรือจำหน่ายประจำวันตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ทุกเวลา
ให้ผู้ใช้น้ำมันลงลายมือชื่อเป็นหลักฐานในเอกสารที่ผู้จำหน่ายน้ำมันจัดทำไว้ทุกครั้งที่ซื้อหรือได้รับน้ำมันไป
ข้อ
๘ ให้ผู้จำหน่ายน้ำมันส่งบัญชีตามข้อ
๗ ต่อกองอุตสาหกรรมน้ำมัน กระทรวงอุตสาหกรรม สำหรับผู้ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
หรือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ทำการแทน หรือนายอำเภอแห่งท้องที่ของตน
เป็นประจำทุกสัปดาห์ในวันพุธของสัปดาห์ถัดไป
ข้อ
๙
ในการออกใบสั่งจ่ายน้ำมันของผู้ค้าน้ำมันจะต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(๑)
ชื่อผู้ค้าน้ำมันและวันที่ออกใบสั่งจ่ายน้ำมัน
(๒)
ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อ
(๓)
ชนิดและปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงที่สั่งจ่าย
(๔)
ชื่อและที่อยู่ของผู้จำหน่ายน้ำมันหรือผู้ใช้น้ำมันซึ่งจะเป็นผู้รับน้ำมันเชื้อเพลิงปลายทาง
(๕)
พาหนะที่ใช้ในการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง
ข้อ
๑๐ ใบสั่งจ่ายน้ำมันให้มีอายุ ๓
วันนับแต่วันที่ออก หากไม่ไปรับน้ำมันเชื้อเพลิงภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
ให้ถือว่าเอกสารใบสั่งจ่ายน้ำมันนั้นเป็นอันยกเลิก
ในการรับและขนส่งน้ำมัน
จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในใบสั่งจ่ายน้ำมันเท่านั้น
และให้ทำสำเนาใบสั่งจ่ายน้ำมันหรือหลักฐานการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงติดไปกับการขนส่งด้วย
สำหรับใบสั่งจ่ายน้ำมันที่ออกก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ
ถ้ามีกำหนดเวลาสิ้นอายุในวันใดวันหนึ่งภายใน ๓๐ วัน
นับแต่วันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับก็ให้สิ้นอายุในวันนั้น
แต่ถ้ามีกำหนดเวลาสิ้นอายุภายหลังกำหนดเวลาดังกล่าว หรือไม่มีกำหนดเวลาสิ้นอายุ
ให้มีอายุไม่เกิน ๓๐ วัน นับแต่วันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ และให้นำวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม[๖]
ข้อ
๑๑
ในการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงประจำวัน
ให้ผู้รับผิดชอบคลังน้ำมันของผู้ค้าน้ำมันส่งหลักฐานการจ่ายตามแบบและวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดต่อกองอุตสาหกรรมน้ำมัน
กระทรวงอุตสาหกรรม สำหรับผู้รับน้ำมันเชื้อเพลิงปลายทางที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
หรือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ทำการแทน
หรือนายอำเภอแห่งท้องที่ของผู้รับน้ำมันเชื้อเพลิงปลายทาง ทั้งนี้ ให้จัดส่งภายใน ๒ วัน
นับจากวันที่จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงออกจากคลังน้ำมัน
ข้อ
๑๒ ห้ามมิให้ผู้ครอบครองยานพาหนะที่ใช้บรรทุกน้ำมันไปส่งแก่ผู้จำหน่ายน้ำมัน
ทำการสูบหรือถ่ายน้ำมันออกจากสถานที่เก็บน้ำมันของผู้จำหน่ายน้ำมัน
ข้อ
๑๓
คณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ค้าน้ำมัน
หรือผู้จำหน่ายน้ำมันจัดส่งหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ผู้ใด โดยจะกำหนดชนิดและปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิง
ระยะเวลาหรือเงื่อนไขอย่างใดก็ได้
ข้อ
๑๕ ภายใต้บังคับข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔
ห้ามผู้จำหน่ายน้ำมันปฏิเสธการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงแก่ผู้ใดในขณะเปิดดำเนินการ
โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
ข้อ
๑๖
ห้ามผู้จำหน่ายน้ำมันจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเกินราคาที่ทางราชการกำหนด
ข้อ
๑๗[๗]
ห้ามมิให้ผู้ใดส่งหรือนำน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ว่าจะเป็นชนิดใดหรือปริมาณเท่าใด
ออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่
(๑) ผู้ควบคุมยานพาหนะซึ่งนำ น้ำมันเชื้อเพลิงติดไปกับยานพาหนะนั้น
ตามชนิดและปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอสำหรับการเดินทาง
(๒) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันหรือผู้ค้าน้ำมัน
ซึ่งส่งน้ำมันเชื้อเพลิงไปบรรจุไว้ในสถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับใช้กับเครื่องบินหรือเรือที่บรรทุกสินค้าไปต่างประเทศ
(๓) ผู้ประกอบอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน หรือผู้ค้าน้ำมัน
ซึ่งส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกนอกราชอาณาจักร เพื่อการวิเคราะห์คุณภาพ
แต่ละชนิดมีปริมาณครั้งละไม่เกินครั้งละ 20 ลิตร
ข้อ
๑๘
ผู้ใดสั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงให้แจ้งชนิด ปริมาณ
และราคาต่อกองอุตสาหกรรมน้ำมัน กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใน ๓ วัน
นับแต่วันที่น้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาในราชอาณาจักร
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ผู้ควบคุมยานพาหนะซึ่งนำน้ำมันเชื้อเพลิงติดมากับยานพาหนะนั้น
ตามชนิดและปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอสำหรับการเดินทาง
ข้อ
๑๙ คำสั่งนี้ไม่ใช้บังคับแก่หน่วยราชการ
และรัฐวิสาหกิจที่จำเป็นแก่การสาธารณูปโภค
ข้อ
๒๐
ให้ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ทั่วพระราชอาณาจักร
ข้อ
๒๑
คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๗ เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๑๕
มกราคม ๒๕๑๗
สัญญา ธรรมศักดิ์
นายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ สลร. ๑๗/๒๕๑๗ เรื่อง
การใช้มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๘]
อภิญญา/ปรับปรุง
๘ กันยายน ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๑/ตอนที่ ๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๖ มกราคม ๒๕๑๗
[๒] ข้อ ๒
วรรคสอง เพิ่มโดยราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๑/ตอน ๒๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๕ กุมภาพันธ์
๒๕๑๗
[๓] ข้อ ๒ วรรคสาม
เพิ่มโดยราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๑/ตอน ๒๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗
[๔] ข้อ ๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๑/ตอน ๒๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๕ กุมภาพันธ์
๒๕๑๗
[๕] ข้อ ๒ วรรคสอง
เพิ่มโดยราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๑/ตอน ๒๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗
[๖] ข้อ ๑๐
วรรคสาม เพิ่มโดยราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๑/ตอน ๒๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๕ กุมภาพันธ์
๒๕๑๗
[๗] ข้อ ๑๗
วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๑/ตอน ๒๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๕
กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗
[๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๑/ตอน ๒๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗ |
723958 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร. 1/2517 เรื่อง การใช้มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับ Update ณ วันที่ 05/02/2517)
| คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ สลร. ๑/๒๕๑๗
เรื่อง
การใช้มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกัน
การขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
อาศัยอำนาจตามมาตรา ๓
แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวการณ์ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๑๖
นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งกำหนดมาตรการ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑
ให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในกิจการตามที่กล่าวในข้อนี้ ปฏิบัติดังนี้
(๑)[๑]
ห้ามใช้ไฟฟ้าในการโฆษณาสินค้า เว้นแต่
(ก)
ป้ายชื่อร้านไม่เกินหนึ่งป้าย
(ข)
ป้ายชื่อภาพยนตร์ที่โรงภาพยนตร์ไม่เกินหนึ่งป้าย และให้ใช้ไฟฟ้าได้เฉพาะระหว่างเวลาที่กำหนดให้ฉายภาพยนตร์ได้เท่านั้น
(๒)[๒]
ห้ามฉายภาพยนตร์ในโรงมหรสพก่อนเวลา ๑๒.๓๐ นาฬิกา และหลังเวลา ๒๑.๓๐ นาฬิกา
ของทุกวัน
(๓)[๓]
ห้ามสถานบริการตามความในมาตรา ๓ (๓) แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙
ซึ่งมีความหมายว่า สถานอาบน้ำ นวด หรืออบตัว ซึ่งมีหญิงบริการให้แก่ลูกค้าชาย
เปิดบริการในวันธรรมดาก่อนเวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา เฉพาะวันหยุดราชการ ให้เปิดได้ตามปกติ
ถ้าสถานบริการนั้นเป็นร้านตัดผมด้วย
ให้เปิดดำเนินการได้ระหว่างเวลา ๘.๐๐ นาฬิกา ถึง ๒๐.๐๐ นาฬิกา ตามกฎกระทรวง
(พ.ศ.๒๕๐๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙
ข้อ
๒
ให้ปฏิบัติการตามคำสั่งนี้ทั่วพระราชอาณาจักร
ข้อ
๓[๔]
ให้คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจาดวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๒
มกราคม ๒๕๑๗
สัญญา ธรรมศักดิ์
นายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร. ๑๘/๒๕๑๗ เรื่อง
การใช้มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง[๕]
ข้อ ๔
ให้คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๗ เป็นต้นไป
อภิญญา/ปรับปรุง
๑๑ กันยายน ๒๕๕๗
[๑] ข้อ ๑ (๑)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.๑๘/๒๕๑๗ เรื่อง
การใช้มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
[๒] ข้อ ๑ (๒)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.๑๘/๒๕๑๗ เรื่อง
การใช้มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
[๓] ข้อ ๑ (๓)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.๑๘/๒๕๑๗ เรื่อง
การใช้มาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
[๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๑/ตอน ๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒ มกราคม ๒๕๑๗
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๑/ตอน ๒๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๕/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗ |
723951 | คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร. 47/2516 เรื่อง มอบหมายให้คณะกรรมการปฏิบัติการแทนนายกรัฐมนตรี เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวการณ์ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516
| คำสั่งนายกรัฐมนตรี
คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ สลร. ๔๗/๒๕๑๖
เรื่อง
มอบหมายให้คณะกรรมการปฏิบัติการแทนนายกรัฐมนตรี
เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกัน
ภาวการณ์ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๑๖[๑]
อาศัยอำนาจตามมาตรา
๓ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวการณ์ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.
๒๕๑๖ นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้บุคคลต่อไปนี้
เป็นคณะกรรมการปฏิบัติการแทนนายกรัฐมนตรี
๑.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ประธานกรรมการ
๒.
อธิบดีกรมตำรวจ กรรมการ
๓.
นายเกษม จาติกวณิช กรรมการ
ในการดำเนินการของผู้รับมอบหมายนี้
ให้รายงานผลการปฏิบัติงานต่อนายกรัฐมนตรีโดยด่วน เป็นระยะ ๆ
ตามความเหมาะสมแก่สถานการณ์
สั่ง ณ วันที่ ๒๘
ธันวาคม ๒๕๑๖
สัญญา ธรรมศักดิ์
นายกรัฐมนตรี
อภิญญา/ปรับปรุง
๑๘ กันยายน ๒๕๕๗
ปุณิกา/ปรับปรุง
๑๕ มกราคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๐/ตอนที่ ๑๗๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๓๐ ธันวาคม ๒๕๑๖ |
685647 | ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2553 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๓[๑]
เพื่ออนุวัตตามความในข้อ
๔ (๔) ข้อ ๘ วรรคสอง ข้อ ๑๐ วรรคสอง ข้อ ๑๒ วรรคสอง ข้อ ๑๓ วรรคสอง ข้อ ๑๓/๑
วรรคสอง ข้อ ๒๕ วรรคสอง และข้อ ๒๖ แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒๓
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๙/๒๕๔๙ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๗
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๓ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ระเบียบกระทรวงพลังงาน ว่าด้วยการฝากและการเบิกจ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
ประกอบกับเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน เมื่อวันที่ ๑๖
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๖ มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ครั้งที่ ๓/๒๕๔๘ (ครั้งที่ ๘)
เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ และมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ครั้งที่
๓/๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒๐) เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ อธิบดีกรมสรรพสามิต
จึงวางระเบียบปฏิบัติในการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุน น้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้น การส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ
๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิก
๓.๑
ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๖
๓.๒
ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๒๔
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
๓.๓
ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๙
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
๓.๔
ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๕๐ ลงวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
๓.๕
ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๗
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
กองทุน หมายความว่า กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
น้ำมันเชื้อเพลิง หมายความว่า น้ำมันเบนซิน
น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันที่คล้ายกันหรือน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ที่คล้ายกัน
น้ำมันดิบสังเคราะห์ที่ใช้หรืออาจใช้เป็นวัตถุดิบในการกลั่นหรือผลิตให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้น
และให้หมายความรวมถึงก๊าซ ยางมะตอย และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ด้วย
ก๊าซ หมายความว่า ก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ใช้เป็นก๊าซหุงต้มหรือก๊าซไฮโดรคาร์บอนเหลว
ซึ่งได้แก่ โปรเปน โปรปิลีน นอร์มัลบิวเทน ไอโซ -
บิวเทนหรือบิวทีลีนส์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันเป็นส่วนใหญ่
ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ หมายความว่า
ก๊าซปิโตรเลียม ซึ่งประกอบด้วยมีเทนเป็นส่วนใหญ่ เพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ
โดยมีลักษณะและคุณภาพตามประกาศกรมธุรกิจพลังงานที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง หมายความว่า
ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง ณ โรงกลั่นและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
โรงกลั่น หมายความว่า โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง
สถานที่ผลิตและจำหน่าย น้ำมันเชื้อเพลิงภายในราชอาณาจักร และให้หมายความรวมถึง
(๑)
โรงแยกก๊าซในราชอาณาจักรที่ผลิตและจำหน่ายก๊าซเพื่อใช้ในราชอาณาจักรและโรงอุตสาหกรรมเคมีปิโตรเลียมและสารละลาย
(๒)
จุดจำหน่ายของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ในราชอาณาจักร
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ข้อ
๕
อัตราเงินส่งเข้ากองทุนและอัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
และอัตราเงินชดเชยสำหรับไบโอดีเซล (B100)
ที่นำมาผสมกับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร ให้ใช้อัตรา ณ
วันที่นำน้ำมันเชื้อเพลิงหรือน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ผสมจากไบโอดีเซล (B100) ออกจากโรงกลั่น
ที่คณะกรรมการประกาศกำหนดส่วนอัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากการแปรรูปขยะพลาสติกที่รับเข้าโรงกลั่นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต
ให้ใช้อัตรา ณ วันที่รับเข้าโรงกลั่นที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ข้อ ๖[๒]
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนโดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
พร้อมกับการชำระภาษีสรรพสามิต (ถ้ามี)
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตจากโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงหรือโรงแยกก๊าซธรรมชาติเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในโรงอุตสาหกรรมเคมีปิโตรเลียม
ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุน
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง[๓]
ข้อ
๗
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินชดเชยโดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินชดเชยสำหรับไบโอดีเซล
(B100) ที่นำมาผสมกับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินชดเชยโดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๕ ท้ายระเบียบนี้
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากการแปรรูปขยะพลาสติกที่รับเข้าโรงกลั่นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงที่รับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากการแปรรูปขยะพลาสติกเข้าโรงกลั่นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตขอรับเงินชดเชยโดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน
๒ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ข้อ
๘ ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงปฏิบัติ
ดังนี้
๘.๑
กรณีที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงนำน้ำมันเชื้อเพลิงออกจากโรงกลั่น
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุน
ตามชนิดและปริมาณที่นำออกจากโรงกลั่น
๘.๒
กรณีที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงนำน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งได้ส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุนแล้วมาผลิตใหม่โดยการผสมสารเติมแต่ง
(ADDITIVE) ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุนเฉพาะในส่วนของปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น
ข้อ
๙
ในกรณีมีการประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราเงินส่งเข้ากองทุนหรืออัตราเงินชดเชยหรือประกาศเปลี่ยนแปลงจากการกำหนดให้ได้รับเงินชดเชยเป็นการกำหนดให้ส่งเงินเข้ากองทุน
๙.๑
ถ้ามีการประกาศเปลี่ยนแปลงก่อนที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุน
และการเปลี่ยนแปลงนั้นกำหนดให้มีผลย้อนหลัง
(๑)
กรณีที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุน ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุน
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันประกาศเปลี่ยนแปลง
(๒)
กรณีที่ขอรับเงินชดเชย
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินชดเชยโดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
๙.๒
ถ้ามีการประกาศเปลี่ยนแปลงภายหลังจากที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงได้ส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุนแล้ว
(๑)
กรณีที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนเพิ่มหรือคืนเงินชดเชยที่ได้รับไปแล้วให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนเพิ่มหรือคืนเงินชดเชยที่ได้รับไปแล้ว
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔
ท้ายระเบียบนี้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันประกาศเปลี่ยนแปลงหรือวันที่ได้รับเงินชดเชย
แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง
(๒)
กรณีที่ขอรับเงินชดเชยเพิ่มหรือขอรับเงินคืน ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินชดเชยเพิ่มหรือขอคืนเงินที่ส่งเข้ากองทุนไปแล้ว
โดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ข้อ
๑๐
ในกรณีที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงได้รับเงินชดเชยสำหรับไบโอดีเซล (B100)
ที่นำมาผสมกับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักรเกินกว่าจำนวนที่มีสิทธิได้รับเงินชดเชย
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งคืนเงินชดเชยที่ได้รับเกินกว่าจำนวนที่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยดังกล่าว
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต
ข้อ
๑๑
การส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกนอกราชอาณาจักร
๑๑.๑
ในกรณีที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่คณะกรรมการกำหนดให้มีการส่งเงินเข้ากองทุนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ให้ผู้ส่งออกได้รับการยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุน
แต่ถ้ามีการส่งเงินเข้ากองทุนไว้แล้วให้ขอคืนได้
ตามอัตราเงินกองทุนคืนที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
โดยให้ผู้ส่งออกยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
เว้นแต่กรณีที่คณะกรรมการกำหนดให้มีการส่งเงินเข้ากองทุนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
ให้ผู้ส่งออกส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรในอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้
๑๑.๒
ในกรณีที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่คณะกรรมการกำหนดให้ได้รับเงินชดเชยจากกองทุนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ไม่ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรได้รับเงินชดเชย
แต่ถ้ามีการได้รับเงินชดเชยจากกองทุนแล้วให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุนไม่ว่าผู้ส่งออกนั้นจะเป็นผู้ได้รับเงินชดเชยหรือไม่
โดยให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุนตามอัตราเงินคืนกองทุนที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
พร้อมกับยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้
๑๑.๓
ในกรณีที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่คณะกรรมการกำหนดให้มีการส่งเงินเข้ากองทุนสำหรับนํ้ามันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
และเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับเงินชดเชยจากกองทุนแล้ว ให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุนและส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรในอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๓ ท้ายระเบียบนี้
๑๑.๔
ในการส่งเงินเข้ากองทุน และหรือการส่งเงินคืนกองทุน แล้วแต่กรณี ตามข้อ ๑๑.๑ ข้อ
๑๑.๒ และข้อ ๑๑.๓ ให้ผู้ส่งออกปฏิบัติ ดังนี้
(๑)[๔] ในกรณีที่มีการยื่นคำขอยกเว้นหรือคืนภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
ให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุน ส่งเงินเข้ากองทุน หรือทั้งส่งเงินคืนกองทุนและส่งเงินเข้ากองทุน
แล้วแต่กรณี ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกนอกราชอาณาจักร
(๒)
ในกรณีที่ไม่มีการยื่นคำขอยกเว้นหรือคืนภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
ให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุนและหรือส่งเงินเข้ากองทุน แล้วแต่กรณี
ก่อนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกนอกราชอาณาจักร และให้ผู้ส่งออกนำใบเสร็จรับเงินกองทุนไปแสดงต่อพนักงานศุลกากร
ณ ด่านศุลกากรที่จะส่งออก
โดยใบเสร็จรับเงินนั้นต้องมีลายมือชื่อของเจ้าพนักงานสรรพสามิตที่ออกใบเสร็จ
ซึ่งระบุรายละเอียด ดังนี้
(ก)
ชนิดและปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะส่งออกนอกราชอาณาจักร
(ข)
จำนวนเงินที่ส่งเงินคืนกองทุนและหรือส่งเงินเข้ากองทุน แล้วแต่กรณี
(ค)
เลขที่ใบขนสินค้าขาออกหรือเลขที่ใบกำกับสินค้า (Invoice)
(ง)
วัน เดือน ปี ที่จะส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกนอกราชอาณาจักร
ข้อ
๑๒ กรณีที่มีการขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อนำไปขายหรือจำหน่ายต่อให้แก่ชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
๑๒.๑[๕] ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุน
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว
ส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขายหรือจำหน่ายในอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบ และบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่นำน้ำมันเชื้อเพลิงออกจากโรงกลั่น
๑๒.๒
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินชดเชย ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินชดเชย
โดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
๑๒.๓[๖] ในกรณีที่ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว
มิได้นำน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับเงินชดเชยตาม ๑๒.๒ ไปขายหรือจำหน่ายต่อให้แก่ชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรให้ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นส่งเงินคืนกองทุนไม่ว่าผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นจะเป็นผู้ได้รับเงินชดเชยหรือไม่
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบ และบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงได้ขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับเงินชดเชยดังกล่าวให้แก่ผู้อื่น
ข้อ
๑๓ สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งให้แก่ผู้ซึ่งนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่น
ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุน แต่ถ้ามีการส่งเงินเข้ากองทุนแล้ว
ให้ขอคืนได้โดยให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้
ถ้าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะได้รับเงินชดเชยจากกองทุน
ไม่ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งส่งน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ผู้ซึ่งนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่นได้รับเงินชดเชย
แต่ถ้ามีการได้รับเงินชดเชยจากกองทุนแล้ว
ให้ส่งเงินคืนกองทุนพร้อมกับยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ ก่อนนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่น
หากปรากฏว่าน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่นได้สูญหายหรือขาดจำนวนไปให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงหรือผู้ซึ่งนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่น
ส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเดียวกับการชำระภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูญหายหรือขาดจำนวนไปนั้น
การส่งเงินเข้ากองทุนหรือการขอรับเงินชดเชยจากกองทุนตามวรรคสาม
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงหรือผู้ซึ่งนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่น
ส่งเงินเข้ากองทุนพร้อมกับยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ หรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุนโดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้ แล้วแต่กรณี
พร้อมกับการชำระภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งสูญหายหรือขาดจำนวนไปนั้น
การยกเว้นไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนตามวรรคแรก
ไม่รวมถึงน้ำมันเชื้อเพลิงตามข้อ ๖ วรรคสอง[๗]
ข้อ
๑๔ การส่งเงินเข้ากองทุน
ให้ยื่นใบส่งเงินและชำระเงินเข้ากองทุนต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่รับชำระภาษี
หรือธนาคารพาณิชย์ที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนดให้เป็นที่รับชำระภาษีหรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต
http://www.excise.go.th
การส่งเงินตามข้อ
๑๑.๔ (๒) ให้ผู้ส่งออกส่งเงินพร้อมกับยื่นใบส่งเงินต่อสรรพสามิตพื้นที่ ณ
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่ด่านศุลกากรที่จะส่งออกตั้งอยู่
ข้อ
๑๕ การขอรับเงินจากกองทุน
ให้ยื่นใบขอรับเงินจำนวน ๒ ชุด ต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่รับชำระภาษี
หรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต http://www.excise.go.th
กรณีผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินจากกองทุนสำหรับก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ให้ผู้ผลิตน้ำ
มันเชื้อเพลิงยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒ พร้อมหลักฐานการจำหน่ายก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์
หนังสือแสดงความยินยอมให้เจ้าพนักงานสรรพสามิตสามารถเข้าตรวจสอบภายในบริเวณโรงกลั่นได้
รวมถึงหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง และบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้ จำนวน
๒ ชุด ต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงกลั่นตั้งอยู่ หรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต
http://www.excise.go.th
กรณีผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงมีโรงกลั่นหลายแห่ง
หากมีความประสงค์ยื่นขอรับเงินรวม ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงยื่นเรื่องขออนุมัติต่อกรมสรรพสามิต
กรณีผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงยื่นใบส่งเงินและชำระเงินเข้ากองทุนสำหรับโรงกลั่นหลายแห่งรวมที่ธนาคารพาณิชย์ที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนดให้เป็นที่รับชำระภาษี
หากมีความประสงค์ยื่นขอรับเงินรวม ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงยื่นเรื่องขออนุมัติต่อกรมสรรพสามิต
ข้อ
๑๖ การขอรับเงินจากกองทุนตามข้อ ๑๕
ให้สรรพสามิตพื้นที่ที่รับคำขอรับเงินเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติให้จ่ายเงินทดรองจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชย
หรือผู้มีสิทธิได้รับเงินคืนจากกองทุน
ข้อ
๑๗ ให้สรรพสามิตพื้นที่ที่รับคำขอรับเงิน
ส่งใบขอรับเงินที่อนุมัติจ่ายเงินทดรองจ่ายแล้วจำนวน ๑ ชุด
ให้สำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี ๒
เพื่อตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
ให้สำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี
๒ ดำเนินการจัดส่งใบขอรับเงิน ซึ่งตรวจสอบแล้วให้สำนักบริหารการคลังและรายได้
เพื่อดำเนินการเขียนเช็คสั่งจ่ายเงินทดรองจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยหรือผู้มีสิทธิได้รับเงินคืนจากกองทุน
แล้วแต่กรณี
ข้อ
๑๘
เมื่อสรรพสามิตพื้นที่ได้รับเงินจากผู้มีหน้าที่ส่งเงินแล้ว
ให้นำเงินที่ได้รับชำระฝากเข้าบัญชี กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
(กระทรวงพลังงาน) ภายใน ๒
วันทำการนับแต่วันที่ได้รับเงินโดยมีสาขาที่รับฝากเงินและเลขที่บัญชี ดังนี้
๑๘.๑
ธนาคารกรุงไทย สาขาถนนศรีอยุธยา เลขที่บัญชี ๐๑๓ - ๑ - ๑๓๐๒๗ - ๗
๑๘.๒
ธนาคารกรุงไทย สาขาศรีราชา เลขที่บัญชี ๒๐๘ - ๐ - ๐๗๘๑๔ - ๓
๑๘.๓
ธนาคารกรุงไทย สาขาระยอง เลขที่บัญชี ๒๑๘ - ๐ - ๐๘๓๑๖ - ๕
เมื่อดำเนินการนำเงินส่งเข้าบัญชีกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว
ให้จัดทำรายละเอียดพร้อมแนบสำเนาใบนำฝากเงิน (Pay-In-Slip)
และสำเนาใบส่งเงินส่งให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) ภายใน ๓
วันทำการนับแต่วันที่ได้นำเงินฝากเข้าบัญชีดังกล่าว
ข้อ
๑๙ ให้สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่
ทำรายงานสรุปการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
รายงานสรุปการขอรับเงินชดเชยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
และรายงานสรุปการส่งเงินคืนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ขอคืนภาษีสรรพสามิตเป็นรายเดือน
ส่งให้สำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี ๒
โดยทางเอกสารหรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต http://www.excise.go.th ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่มีการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การรับเงินชดเชยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงหรือการส่งเงินคืนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ขอคืนภาษีสรรพสามิต
ข้อ
๒๐
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนไม่ส่งเงินเข้ากองทุน
หรือส่งเงินเข้ากองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง
หรือไม่ส่งเงินคืนกองทุนภายในเวลาที่กำหนด สำหรับผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง ณ
โรงกลั่นและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร และผู้ส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง
ให้ดำเนินการดังนี้
๒๐.๑
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนตรวจพบเองว่ามีกรณีดังกล่าวให้ผู้นั้นส่งเงินตามจำนวนที่ต้องส่ง
หรือตามจำนวนที่ขาด หรือตามจำนวนที่ต้องคืนเข้ากองทุนพร้อมทั้งเงินเพิ่ม
ในอัตราร้อยละสามต่อเดือนของจำนวนเงินดังกล่าว
นับแต่วันที่ครบกำหนดส่งเงินเข้ากองทุนจนกว่าจะครบ โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่รับชำระภาษี
หรือธนาคารพาณิชย์ที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนดให้เป็นที่รับชำระภาษี
หรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต http://www.excise.go.th
๒๐.๒
ในกรณีที่เจ้าพนักงานสรรพสามิตเป็นผู้ตรวจพบว่ามีกรณีดังกล่าว
ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเงินตามจำนวนที่ต้องส่งหรือตามจำนวนที่ขาด
หรือตามจำนวนที่ต้องส่งคืนเข้ากองทุน
พร้อมทั้งเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหกต่อเดือนของจำนวนเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ครบกำหนดส่งเงินเข้ากองทุนจนกว่าจะครบ
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ ต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่รับชำระภาษี
หรือธนาคารพาณิชย์ที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนดให้เป็นที่รับชำระภาษีหรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต
http://www.excise.go.th ภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต
หากผู้มีหน้าที่ส่งเงินไม่ดำเนินการตามข้อ
๒๐.๒ ให้สรรพสามิตพื้นที่ดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเร็ว
เงินเพิ่มตามข้อ
๒๐.๑ และข้อ ๒๐.๒ ให้ถือว่าเป็นเงินที่ต้องส่งเข้ากองทุนด้วย
และในการคำนวณระยะเวลาเพื่อการคำนวณเงินเพิ่มตามข้อ ๒๐.๑ หรือข้อ ๒๐.๒ นั้น
หากมีเศษของเดือน ให้นับเป็นหนึ่งเดือน
ข้อ
๒๑ ใบขอรับเงินใดที่ได้ยื่นไว้ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ
และยังไม่มีการสั่งจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ผู้ยื่นคำขอนั้น
ให้ถือเป็นการยื่นใบขอรับเงินตามระเบียบนี้ โดยอนุโลม
ข้อ
๒๒
ให้ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี ๒
เป็นผู้รักษาการและวินิจฉัยสั่งการ ตามระเบียบนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม
อธิบดีกรมสรรพสามิต
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แบบกองทุน ๑ ใบส่งเงิน
๒. แบบกองทุน ๒ ใบขอรับเงิน
๓. แบบกองทุน ๓ บัญชีสรุป
(ส่งเงินเข้ากองทุน/ส่งเงินคืนกองทุน) แสดงปริมาณ
และอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
๔. แบบกองทุน ๔ บัญชีสรุป
(ส่งเงิน........./ขอรับเงิน.........) แสดงชนิด ปริมาณ
อัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์น้ำมันที่นำออก/รับเข้าโรงกลั่น
๕. แบบกองทุน ๕ บัญชีสรุป (ขอรับเงินชดเชย)
แสดงชนิด ปริมาณ และอัตราของไบโอดีเซลที่นำมาผสมเป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
๖. รายงานสรุปการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่.........................ประจำเดือน..................ปีงบประมาณ...............(Oil Fund ๑)
๗.
รายงานสรุปการรับเงินชดเชยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่.........................ประจำเดือน..................ปีงบประมาณ...............(Oil Fund ๒)
๘.
รายงานสรุปการส่งเงินคืนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ขอคืนภาษีสรรพสามิต
ประจำเดือน.................................ปีงบประมาณ.................
ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่......................................................
(Oil Fund ๓)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๘]
ข้อ ๕
ในกรณีที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
มีการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนตามข้อ ๖ วรรคสอง แห่งระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๓
ลงวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบนี้
ก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุน
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ.
๒๕๕๓ ภายใน ๒๐ วัน นับแต่วันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ
ระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๖๑[๙]
ข้อ
๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
โดยระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑[๑๐]
ข้อ
๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ปริยานุช/จัดทำ
๑๕ กันยายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๑๕ กันยายน ๒๕๕๓
ณัฐพร/ปรับปรุง
๒๙
เมษายน ๒๕๕๖
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๔ มิถุนายน ๒๕๖๑
ปริญสินีย์/ตรวจ
๒๑
มิถุนายน ๒๕๖๑
พิมพ์มาดา/เพิ่มเติม
๑ ตุลาคม ๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๐๖ ง/หน้า ๑๐/๓ กันยายน ๒๕๕๓
[๒] ข้อ ๖
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๕๕
[๓] ข้อ ๖
วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๖๑
[๔] ข้อ ๑๑
๑๑.๔ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๕] ข้อ ๑๒
๑๒.๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๖] ข้อ ๑๒
๑๒.๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๗] ข้อ ๑๓
วรรคห้า เพิ่มโดยระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๑/๑๒ เมษายน ๒๕๕๕
[๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๑/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๑๕ ง/หน้า ๑/๑๖ มกราคม ๒๕๖๒ |
825865 | ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561 | ระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
(ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๖๑[๑]
เพื่ออนุวัตตามความในข้อ ๔ (๔) ข้อ ๘ วรรคสาม ข้อ ๑๐ วรรคสอง
ข้อ ๑๒ วรรคสอง ข้อ ๑๓/๑ วรรคสอง ข้อ ๒๕ วรรคสอง
และข้อ ๒๖ แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่องกำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๙/๒๕๔๙
เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๗
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๕ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
ลงวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ และระเบียบกระทรวงพลังงาน ว่าด้วยการฝากและการเบิกจ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.
๒๕๔๙ ประกอบกับเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ครั้งที่
๓๙/๒๕๕๔ (ครั้งที่ ๙๗) เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.
๒๕๕๔ อธิบดีกรมสรรพสามิตจึงวางระเบียบปฏิบัติในการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มเติมไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑
ข้อ
๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของ ๑๑.๔ ของข้อ
๑๑ แห่งระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๓ ลงวันที่
๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑) ในกรณีที่มีการยื่นคำขอยกเว้นหรือคืนภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
ให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุน ส่งเงินเข้ากองทุน หรือทั้งส่งเงินคืนกองทุนและส่งเงินเข้ากองทุน
แล้วแต่กรณี ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกนอกราชอาณาจักร
ข้อ
๔ ให้ยกเลิกความใน ๑๒.๑ ของข้อ ๑๒ แห่งระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
๑๒.๑
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุน ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว
ส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขายหรือจำหน่ายในอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบ และบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่นำน้ำมันเชื้อเพลิงออกจากโรงกลั่น
ข้อ
๕ ให้ยกเลิกความใน ๑๒.๓ ของข้อ ๑๒ แห่งระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
๑๒.๓
ในกรณีที่ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว มิได้นำน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับเงินชดเชยตาม
๑๒.๒ ไปขายหรือจำหน่ายต่อให้แก่ชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรให้ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นส่งเงินคืนกองทุนไม่ว่าผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นจะเป็นผู้ได้รับเงินชดเชยหรือไม่
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบ และบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงได้ขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับเงินชดเชยดังกล่าวให้แก่ผู้อื่น
ประกาศ
ณ วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑
พชร อนันตศิลป์
อธิบดีกรมสรรพสามิต
พิมพ์มาดา/ธนบดี/จัดทำ
๑๑ เมษายน ๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๑๕ ง/หน้า ๑/๑๖ มกราคม ๒๕๖๒ |
848804 | ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2553 (ฉบับ Update ณ วันที่ 20/02/2561) | ระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๓[๑]
เพื่ออนุวัตตามความในข้อ
๔ (๔) ข้อ ๘ วรรคสอง ข้อ ๑๐ วรรคสอง ข้อ ๑๒ วรรคสอง ข้อ ๑๓ วรรคสอง ข้อ ๑๓/๑
วรรคสอง ข้อ ๒๕ วรรคสอง และข้อ ๒๖ แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒๓
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๙/๒๕๔๙ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๗
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๓ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ระเบียบกระทรวงพลังงาน ว่าด้วยการฝากและการเบิกจ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
ประกอบกับเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน เมื่อวันที่ ๑๖
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๖ มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ครั้งที่ ๓/๒๕๔๘ (ครั้งที่ ๘)
เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ และมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ครั้งที่
๓/๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒๐) เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ อธิบดีกรมสรรพสามิต
จึงวางระเบียบปฏิบัติในการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุน น้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้น การส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ
๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิก
๓.๑
ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๖
๓.๒
ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๒๔
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
๓.๓
ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๙
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
๓.๔
ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๕๐ ลงวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
๓.๕
ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๗
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
กองทุน หมายความว่า กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
น้ำมันเชื้อเพลิง หมายความว่า น้ำมันเบนซิน
น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันที่คล้ายกันหรือน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ที่คล้ายกัน
น้ำมันดิบสังเคราะห์ที่ใช้หรืออาจใช้เป็นวัตถุดิบในการกลั่นหรือผลิตให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้น
และให้หมายความรวมถึงก๊าซ ยางมะตอย และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ด้วย
ก๊าซ หมายความว่า ก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ใช้เป็นก๊าซหุงต้มหรือก๊าซไฮโดรคาร์บอนเหลว
ซึ่งได้แก่ โปรเปน โปรปิลีน นอร์มัลบิวเทน ไอโซ -
บิวเทนหรือบิวทีลีนส์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันเป็นส่วนใหญ่
ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ หมายความว่า
ก๊าซปิโตรเลียม ซึ่งประกอบด้วยมีเทนเป็นส่วนใหญ่ เพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ
โดยมีลักษณะและคุณภาพตามประกาศกรมธุรกิจพลังงานที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง หมายความว่า
ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง ณ โรงกลั่นและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
โรงกลั่น หมายความว่า โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง
สถานที่ผลิตและจำหน่าย น้ำมันเชื้อเพลิงภายในราชอาณาจักร และให้หมายความรวมถึง
(๑)
โรงแยกก๊าซในราชอาณาจักรที่ผลิตและจำหน่ายก๊าซเพื่อใช้ในราชอาณาจักรและโรงอุตสาหกรรมเคมีปิโตรเลียมและสารละลาย
(๒)
จุดจำหน่ายของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ในราชอาณาจักร
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ข้อ
๕
อัตราเงินส่งเข้ากองทุนและอัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
และอัตราเงินชดเชยสำหรับไบโอดีเซล (B100)
ที่นำมาผสมกับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร ให้ใช้อัตรา ณ
วันที่นำน้ำมันเชื้อเพลิงหรือน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ผสมจากไบโอดีเซล (B100) ออกจากโรงกลั่น
ที่คณะกรรมการประกาศกำหนดส่วนอัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากการแปรรูปขยะพลาสติกที่รับเข้าโรงกลั่นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต
ให้ใช้อัตรา ณ วันที่รับเข้าโรงกลั่นที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ข้อ ๖[๒]
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนโดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
พร้อมกับการชำระภาษีสรรพสามิต (ถ้ามี)
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตจากโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงหรือโรงแยกก๊าซธรรมชาติเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในโรงอุตสาหกรรมเคมีปิโตรเลียม
ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุน
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง[๓]
ข้อ
๗
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินชดเชยโดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินชดเชยสำหรับไบโอดีเซล
(B100) ที่นำมาผสมกับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินชดเชยโดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๕ ท้ายระเบียบนี้
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากการแปรรูปขยะพลาสติกที่รับเข้าโรงกลั่นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงที่รับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากการแปรรูปขยะพลาสติกเข้าโรงกลั่นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตขอรับเงินชดเชยโดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน
๒ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ข้อ
๘ ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงปฏิบัติ
ดังนี้
๘.๑
กรณีที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงนำน้ำมันเชื้อเพลิงออกจากโรงกลั่น
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุน
ตามชนิดและปริมาณที่นำออกจากโรงกลั่น
๘.๒
กรณีที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงนำน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งได้ส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุนแล้วมาผลิตใหม่โดยการผสมสารเติมแต่ง
(ADDITIVE) ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุนเฉพาะในส่วนของปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น
ข้อ
๙
ในกรณีมีการประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราเงินส่งเข้ากองทุนหรืออัตราเงินชดเชยหรือประกาศเปลี่ยนแปลงจากการกำหนดให้ได้รับเงินชดเชยเป็นการกำหนดให้ส่งเงินเข้ากองทุน
๙.๑
ถ้ามีการประกาศเปลี่ยนแปลงก่อนที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุน
และการเปลี่ยนแปลงนั้นกำหนดให้มีผลย้อนหลัง
(๑)
กรณีที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุน ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุน
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันประกาศเปลี่ยนแปลง
(๒)
กรณีที่ขอรับเงินชดเชย
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินชดเชยโดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
๙.๒
ถ้ามีการประกาศเปลี่ยนแปลงภายหลังจากที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงได้ส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุนแล้ว
(๑)
กรณีที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนเพิ่มหรือคืนเงินชดเชยที่ได้รับไปแล้วให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนเพิ่มหรือคืนเงินชดเชยที่ได้รับไปแล้ว
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔
ท้ายระเบียบนี้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันประกาศเปลี่ยนแปลงหรือวันที่ได้รับเงินชดเชย
แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง
(๒)
กรณีที่ขอรับเงินชดเชยเพิ่มหรือขอรับเงินคืน ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินชดเชยเพิ่มหรือขอคืนเงินที่ส่งเข้ากองทุนไปแล้ว
โดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ข้อ
๑๐
ในกรณีที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงได้รับเงินชดเชยสำหรับไบโอดีเซล (B100)
ที่นำมาผสมกับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักรเกินกว่าจำนวนที่มีสิทธิได้รับเงินชดเชย
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งคืนเงินชดเชยที่ได้รับเกินกว่าจำนวนที่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยดังกล่าว
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต
ข้อ
๑๑
การส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกนอกราชอาณาจักร
๑๑.๑
ในกรณีที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่คณะกรรมการกำหนดให้มีการส่งเงินเข้ากองทุนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ให้ผู้ส่งออกได้รับการยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุน
แต่ถ้ามีการส่งเงินเข้ากองทุนไว้แล้วให้ขอคืนได้
ตามอัตราเงินกองทุนคืนที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
โดยให้ผู้ส่งออกยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
เว้นแต่กรณีที่คณะกรรมการกำหนดให้มีการส่งเงินเข้ากองทุนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
ให้ผู้ส่งออกส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรในอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้
๑๑.๒
ในกรณีที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่คณะกรรมการกำหนดให้ได้รับเงินชดเชยจากกองทุนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ไม่ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรได้รับเงินชดเชย
แต่ถ้ามีการได้รับเงินชดเชยจากกองทุนแล้วให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุนไม่ว่าผู้ส่งออกนั้นจะเป็นผู้ได้รับเงินชดเชยหรือไม่
โดยให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุนตามอัตราเงินคืนกองทุนที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
พร้อมกับยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้
๑๑.๓
ในกรณีที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่คณะกรรมการกำหนดให้มีการส่งเงินเข้ากองทุนสำหรับนํ้ามันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
และเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับเงินชดเชยจากกองทุนแล้ว ให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุนและส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรในอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๓ ท้ายระเบียบนี้
๑๑.๔
ในการส่งเงินเข้ากองทุน และหรือการส่งเงินคืนกองทุน แล้วแต่กรณี ตามข้อ ๑๑.๑ ข้อ
๑๑.๒ และข้อ ๑๑.๓ ให้ผู้ส่งออกปฏิบัติ ดังนี้
(๑)
ในกรณีที่มีการยื่นคำขอยกเว้นหรือคืนภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
ให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุนและหรือส่งเงินเข้ากองทุน แล้วแต่กรณีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกนอกราชอาณาจักร
(๒)
ในกรณีที่ไม่มีการยื่นคำขอยกเว้นหรือคืนภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
ให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุนและหรือส่งเงินเข้ากองทุน แล้วแต่กรณี
ก่อนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกนอกราชอาณาจักร และให้ผู้ส่งออกนำใบเสร็จรับเงินกองทุนไปแสดงต่อพนักงานศุลกากร
ณ ด่านศุลกากรที่จะส่งออก
โดยใบเสร็จรับเงินนั้นต้องมีลายมือชื่อของเจ้าพนักงานสรรพสามิตที่ออกใบเสร็จ
ซึ่งระบุรายละเอียด ดังนี้
(ก)
ชนิดและปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะส่งออกนอกราชอาณาจักร
(ข)
จำนวนเงินที่ส่งเงินคืนกองทุนและหรือส่งเงินเข้ากองทุน แล้วแต่กรณี
(ค)
เลขที่ใบขนสินค้าขาออกหรือเลขที่ใบกำกับสินค้า (Invoice)
(ง)
วัน เดือน ปี ที่จะส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกนอกราชอาณาจักร
ข้อ
๑๒
กรณีที่มีการขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อนำไปขายหรือจำหน่ายต่อให้แก่ชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
๑๒.๑
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุน
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว
ส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขายหรือจำหน่ายในอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ภายในสิบวันนับจากวันที่นำน้ำมันเชื้อเพลิงออกจากโรงกลั่น
๑๒.๒
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินชดเชย ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินชดเชย
โดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
๑๒.๓
ในกรณีที่ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว
มิได้นำน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับเงินชดเชยตาม ๑๒.๒ ไปขายหรือจำหน่ายต่อให้แก่ชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
ให้ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นส่งเงินคืนกองทุนไม่ว่าผู้ประกอบการค้านํ้ามันเชื้อเพลิงนั้นจะเป็นผู้ได้รับเงินชดเชยหรือไม่
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบ และบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงได้ขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับเงินชดเชยดังกล่าวให้แก่ผู้อื่น
ข้อ
๑๓
สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งให้แก่ผู้ซึ่งนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่น
ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุน แต่ถ้ามีการส่งเงินเข้ากองทุนแล้ว
ให้ขอคืนได้โดยให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ถ้าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะได้รับเงินชดเชยจากกองทุน
ไม่ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งส่งน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ผู้ซึ่งนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่นได้รับเงินชดเชย
แต่ถ้ามีการได้รับเงินชดเชยจากกองทุนแล้ว
ให้ส่งเงินคืนกองทุนพร้อมกับยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ ก่อนนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่น
หากปรากฏว่าน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่นได้สูญหายหรือขาดจำนวนไปให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงหรือผู้ซึ่งนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่น
ส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเดียวกับการชำระภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูญหายหรือขาดจำนวนไปนั้น
การส่งเงินเข้ากองทุนหรือการขอรับเงินชดเชยจากกองทุนตามวรรคสาม
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงหรือผู้ซึ่งนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่น
ส่งเงินเข้ากองทุนพร้อมกับยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
หรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุนโดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้ แล้วแต่กรณี
พร้อมกับการชำระภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งสูญหายหรือขาดจำนวนไปนั้น
การยกเว้นไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนตามวรรคแรก
ไม่รวมถึงน้ำมันเชื้อเพลิงตามข้อ ๖ วรรคสอง[๔]
ข้อ
๑๔ การส่งเงินเข้ากองทุน
ให้ยื่นใบส่งเงินและชำระเงินเข้ากองทุนต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่รับชำระภาษี
หรือธนาคารพาณิชย์ที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนดให้เป็นที่รับชำระภาษีหรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต
http://www.excise.go.th
การส่งเงินตามข้อ
๑๑.๔ (๒) ให้ผู้ส่งออกส่งเงินพร้อมกับยื่นใบส่งเงินต่อสรรพสามิตพื้นที่ ณ
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่ด่านศุลกากรที่จะส่งออกตั้งอยู่
ข้อ
๑๕ การขอรับเงินจากกองทุน
ให้ยื่นใบขอรับเงินจำนวน ๒ ชุด ต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่รับชำระภาษี
หรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต http://www.excise.go.th
กรณีผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินจากกองทุนสำหรับก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ให้ผู้ผลิตน้ำ
มันเชื้อเพลิงยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒ พร้อมหลักฐานการจำหน่ายก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์
หนังสือแสดงความยินยอมให้เจ้าพนักงานสรรพสามิตสามารถเข้าตรวจสอบภายในบริเวณโรงกลั่นได้
รวมถึงหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง และบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้ จำนวน
๒ ชุด ต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงกลั่นตั้งอยู่ หรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต
http://www.excise.go.th
กรณีผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงมีโรงกลั่นหลายแห่ง
หากมีความประสงค์ยื่นขอรับเงินรวม ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงยื่นเรื่องขออนุมัติต่อกรมสรรพสามิต
กรณีผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงยื่นใบส่งเงินและชำระเงินเข้ากองทุนสำหรับโรงกลั่นหลายแห่งรวมที่ธนาคารพาณิชย์ที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนดให้เป็นที่รับชำระภาษี
หากมีความประสงค์ยื่นขอรับเงินรวม ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงยื่นเรื่องขออนุมัติต่อกรมสรรพสามิต
ข้อ
๑๖ การขอรับเงินจากกองทุนตามข้อ ๑๕
ให้สรรพสามิตพื้นที่ที่รับคำขอรับเงินเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติให้จ่ายเงินทดรองจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชย
หรือผู้มีสิทธิได้รับเงินคืนจากกองทุน
ข้อ
๑๗ ให้สรรพสามิตพื้นที่ที่รับคำขอรับเงิน
ส่งใบขอรับเงินที่อนุมัติจ่ายเงินทดรองจ่ายแล้วจำนวน ๑ ชุด
ให้สำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี ๒
เพื่อตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
ให้สำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี
๒ ดำเนินการจัดส่งใบขอรับเงิน ซึ่งตรวจสอบแล้วให้สำนักบริหารการคลังและรายได้
เพื่อดำเนินการเขียนเช็คสั่งจ่ายเงินทดรองจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยหรือผู้มีสิทธิได้รับเงินคืนจากกองทุน
แล้วแต่กรณี
ข้อ
๑๘
เมื่อสรรพสามิตพื้นที่ได้รับเงินจากผู้มีหน้าที่ส่งเงินแล้ว
ให้นำเงินที่ได้รับชำระฝากเข้าบัญชี กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
(กระทรวงพลังงาน) ภายใน ๒
วันทำการนับแต่วันที่ได้รับเงินโดยมีสาขาที่รับฝากเงินและเลขที่บัญชี ดังนี้
๑๘.๑
ธนาคารกรุงไทย สาขาถนนศรีอยุธยา เลขที่บัญชี ๐๑๓ - ๑ - ๑๓๐๒๗ - ๗
๑๘.๒
ธนาคารกรุงไทย สาขาศรีราชา เลขที่บัญชี ๒๐๘ - ๐ - ๐๗๘๑๔ - ๓
๑๘.๓
ธนาคารกรุงไทย สาขาระยอง เลขที่บัญชี ๒๑๘ - ๐ - ๐๘๓๑๖ - ๕
เมื่อดำเนินการนำเงินส่งเข้าบัญชีกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว
ให้จัดทำรายละเอียดพร้อมแนบสำเนาใบนำฝากเงิน (Pay-In-Slip)
และสำเนาใบส่งเงินส่งให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) ภายใน ๓
วันทำการนับแต่วันที่ได้นำเงินฝากเข้าบัญชีดังกล่าว
ข้อ
๑๙ ให้สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่
ทำรายงานสรุปการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
รายงานสรุปการขอรับเงินชดเชยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
และรายงานสรุปการส่งเงินคืนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ขอคืนภาษีสรรพสามิตเป็นรายเดือน
ส่งให้สำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี ๒
โดยทางเอกสารหรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต http://www.excise.go.th ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่มีการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การรับเงินชดเชยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงหรือการส่งเงินคืนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ขอคืนภาษีสรรพสามิต
ข้อ
๒๐
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนไม่ส่งเงินเข้ากองทุน
หรือส่งเงินเข้ากองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง
หรือไม่ส่งเงินคืนกองทุนภายในเวลาที่กำหนด สำหรับผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง ณ
โรงกลั่นและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร และผู้ส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง
ให้ดำเนินการดังนี้
๒๐.๑
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนตรวจพบเองว่ามีกรณีดังกล่าวให้ผู้นั้นส่งเงินตามจำนวนที่ต้องส่ง
หรือตามจำนวนที่ขาด หรือตามจำนวนที่ต้องคืนเข้ากองทุนพร้อมทั้งเงินเพิ่ม
ในอัตราร้อยละสามต่อเดือนของจำนวนเงินดังกล่าว
นับแต่วันที่ครบกำหนดส่งเงินเข้ากองทุนจนกว่าจะครบ โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่รับชำระภาษี
หรือธนาคารพาณิชย์ที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนดให้เป็นที่รับชำระภาษี
หรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต http://www.excise.go.th
๒๐.๒
ในกรณีที่เจ้าพนักงานสรรพสามิตเป็นผู้ตรวจพบว่ามีกรณีดังกล่าว
ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเงินตามจำนวนที่ต้องส่งหรือตามจำนวนที่ขาด
หรือตามจำนวนที่ต้องส่งคืนเข้ากองทุน
พร้อมทั้งเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหกต่อเดือนของจำนวนเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ครบกำหนดส่งเงินเข้ากองทุนจนกว่าจะครบ
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ ต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่รับชำระภาษี
หรือธนาคารพาณิชย์ที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนดให้เป็นที่รับชำระภาษีหรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต
http://www.excise.go.th ภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต
หากผู้มีหน้าที่ส่งเงินไม่ดำเนินการตามข้อ
๒๐.๒
ให้สรรพสามิตพื้นที่ดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเร็ว
เงินเพิ่มตามข้อ
๒๐.๑ และข้อ ๒๐.๒ ให้ถือว่าเป็นเงินที่ต้องส่งเข้ากองทุนด้วย
และในการคำนวณระยะเวลาเพื่อการคำนวณเงินเพิ่มตามข้อ ๒๐.๑ หรือข้อ ๒๐.๒ นั้น
หากมีเศษของเดือน ให้นับเป็นหนึ่งเดือน
ข้อ
๒๑
ใบขอรับเงินใดที่ได้ยื่นไว้ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ
และยังไม่มีการสั่งจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ผู้ยื่นคำขอนั้น
ให้ถือเป็นการยื่นใบขอรับเงินตามระเบียบนี้ โดยอนุโลม
ข้อ
๒๒
ให้ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี ๒
เป็นผู้รักษาการและวินิจฉัยสั่งการ ตามระเบียบนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม
อธิบดีกรมสรรพสามิต
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แบบกองทุน ๑ ใบส่งเงิน
๒. แบบกองทุน ๒ ใบขอรับเงิน
๓. แบบกองทุน ๓ บัญชีสรุป
(ส่งเงินเข้ากองทุน/ส่งเงินคืนกองทุน) แสดงปริมาณ
และอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
๔. แบบกองทุน ๔ บัญชีสรุป
(ส่งเงิน........./ขอรับเงิน.........) แสดงชนิด ปริมาณ
อัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์น้ำมันที่นำออก/รับเข้าโรงกลั่น
๕. แบบกองทุน ๕ บัญชีสรุป (ขอรับเงินชดเชย)
แสดงชนิด ปริมาณ และอัตราของไบโอดีเซลที่นำมาผสมเป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
๖. รายงานสรุปการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่.........................ประจำเดือน..................ปีงบประมาณ...............(Oil Fund ๑)
๗.
รายงานสรุปการรับเงินชดเชยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่.........................ประจำเดือน..................ปีงบประมาณ...............(Oil Fund ๒)
๘.
รายงานสรุปการส่งเงินคืนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ขอคืนภาษีสรรพสามิต
ประจำเดือน.................................ปีงบประมาณ.................
ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่......................................................
(Oil Fund ๓)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๕]
ข้อ ๕
ในกรณีที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
มีการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนตามข้อ ๖ วรรคสอง แห่งระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๓
ลงวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบนี้
ก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุน
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ.
๒๕๕๓ ภายใน ๒๐ วัน นับแต่วันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ
ระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๖๑[๖]
ข้อ
๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ปริยานุช/จัดทำ
๑๕ กันยายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๑๕ กันยายน ๒๕๕๓
ณัฐพร/ปรับปรุง
๒๙
เมษายน ๒๕๕๖
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๔ มิถุนายน ๒๕๖๑
ปริญสินีย์/ตรวจ
๒๑
มิถุนายน ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๐๖ ง/หน้า ๑๐/๓ กันยายน ๒๕๕๓
[๒] ข้อ ๖
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๕๕
[๓] ข้อ ๖
วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๖๑
[๔] ข้อ ๑๓
วรรคห้า เพิ่มโดยระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๑/๑๒ เมษายน ๒๕๕๕
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๑/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
797383 | ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2561 | ระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑[๑]
เพื่ออนุวัตตามความในข้อ ๔ (๔) ข้อ ๘ วรรคสอง ข้อ ๑๐ วรรคสอง ข้อ ๒๕ วรรคสองและข้อ
๒๖ แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๙/๒๕๔๙ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
ลงวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ คำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๕๕ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
ลงวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ระเบียบกระทรวงพลังงาน
ว่าด้วยการฝากและการเบิกจ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ประกอบกับเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานครั้งที่
๓๙/๒๕๕๔ (ครั้งที่ ๙๗) เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.
๒๕๕๔ อธิบดีกรมสรรพสามิตจึงวางระเบียบปฏิบัติในการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงการขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑
ข้อ
๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ ๖ แห่งระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงินการยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ.
๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชยและการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ.
๒๕๕๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตจากโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงหรือโรงแยกก๊าซธรรมชาติเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในโรงอุตสาหกรรมเคมีปิโตรเลียม
ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุน โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน
๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้ ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑
กฤษฎา จีนะวิจารณะ
อธิบดีกรมสรรพสามิต
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๑/๒๐ กุมภาพันธ์
๒๕๖๑ |
807220 | ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2553 (ฉบับ Update ณ วันที่ 12/04/2555) | ระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๓[๑]
เพื่ออนุวัตตามความในข้อ
๔ (๔) ข้อ ๘ วรรคสอง ข้อ ๑๐ วรรคสอง ข้อ ๑๒ วรรคสอง ข้อ ๑๓ วรรคสอง ข้อ ๑๓/๑
วรรคสอง ข้อ ๒๕ วรรคสอง และข้อ ๒๖ แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒๓
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๙/๒๕๔๙ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๗
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๓ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ระเบียบกระทรวงพลังงาน ว่าด้วยการฝากและการเบิกจ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
ประกอบกับเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน เมื่อวันที่ ๑๖
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๖ มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ครั้งที่ ๓/๒๕๔๘ (ครั้งที่ ๘)
เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ และมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ครั้งที่
๓/๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒๐) เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ อธิบดีกรมสรรพสามิต
จึงวางระเบียบปฏิบัติในการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุน น้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้น การส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ
๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิก
๓.๑
ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๖
๓.๒
ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๒๔
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
๓.๓
ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๙
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
๓.๔
ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๕๐ ลงวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
๓.๕
ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๗
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
กองทุน หมายความว่า กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
น้ำมันเชื้อเพลิง หมายความว่า น้ำมันเบนซิน
น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันที่คล้ายกันหรือน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ที่คล้ายกัน
น้ำมันดิบสังเคราะห์ที่ใช้หรืออาจใช้เป็นวัตถุดิบในการกลั่นหรือผลิตให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้น
และให้หมายความรวมถึงก๊าซ ยางมะตอย และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ด้วย
ก๊าซ หมายความว่า ก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ใช้เป็นก๊าซหุงต้มหรือก๊าซไฮโดรคาร์บอนเหลว
ซึ่งได้แก่ โปรเปน โปรปิลีน นอร์มัลบิวเทน ไอโซ -
บิวเทนหรือบิวทีลีนส์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันเป็นส่วนใหญ่
ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ หมายความว่า
ก๊าซปิโตรเลียม ซึ่งประกอบด้วยมีเทนเป็นส่วนใหญ่ เพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ
โดยมีลักษณะและคุณภาพตามประกาศกรมธุรกิจพลังงานที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง หมายความว่า
ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง ณ โรงกลั่นและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
โรงกลั่น หมายความว่า โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง
สถานที่ผลิตและจำหน่าย น้ำมันเชื้อเพลิงภายในราชอาณาจักร และให้หมายความรวมถึง
(๑)
โรงแยกก๊าซในราชอาณาจักรที่ผลิตและจำหน่ายก๊าซเพื่อใช้ในราชอาณาจักรและโรงอุตสาหกรรมเคมีปิโตรเลียมและสารละลาย
(๒)
จุดจำหน่ายของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ในราชอาณาจักร
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ข้อ
๕
อัตราเงินส่งเข้ากองทุนและอัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
และอัตราเงินชดเชยสำหรับไบโอดีเซล (B100)
ที่นำมาผสมกับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร ให้ใช้อัตรา ณ
วันที่นำน้ำมันเชื้อเพลิงหรือน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ผสมจากไบโอดีเซล (B100) ออกจากโรงกลั่น
ที่คณะกรรมการประกาศกำหนดส่วนอัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากการแปรรูปขยะพลาสติกที่รับเข้าโรงกลั่นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต
ให้ใช้อัตรา ณ วันที่รับเข้าโรงกลั่นที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ข้อ ๖[๒] ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนโดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
พร้อมกับการชำระภาษีสรรพสามิต (ถ้ามี)
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตจากโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงหรือโรงแยกก๊าซธรรมชาติเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในโรงอุตสาหกรรมเคมีปิโตรเลียม
ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุน
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ ภายใน ๑๐ วัน นับแต่วันที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
ข้อ
๗
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินชดเชยโดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินชดเชยสำหรับไบโอดีเซล
(B100) ที่นำมาผสมกับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินชดเชยโดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๕ ท้ายระเบียบนี้
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากการแปรรูปขยะพลาสติกที่รับเข้าโรงกลั่นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงที่รับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากการแปรรูปขยะพลาสติกเข้าโรงกลั่นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตขอรับเงินชดเชยโดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน
๒ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ข้อ
๘ ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงปฏิบัติ
ดังนี้
๘.๑
กรณีที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงนำน้ำมันเชื้อเพลิงออกจากโรงกลั่น
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุน
ตามชนิดและปริมาณที่นำออกจากโรงกลั่น
๘.๒
กรณีที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงนำน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งได้ส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุนแล้วมาผลิตใหม่โดยการผสมสารเติมแต่ง
(ADDITIVE) ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุนเฉพาะในส่วนของปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น
ข้อ
๙
ในกรณีมีการประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราเงินส่งเข้ากองทุนหรืออัตราเงินชดเชยหรือประกาศเปลี่ยนแปลงจากการกำหนดให้ได้รับเงินชดเชยเป็นการกำหนดให้ส่งเงินเข้ากองทุน
๙.๑
ถ้ามีการประกาศเปลี่ยนแปลงก่อนที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุน
และการเปลี่ยนแปลงนั้นกำหนดให้มีผลย้อนหลัง
(๑)
กรณีที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุน ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุน
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันประกาศเปลี่ยนแปลง
(๒)
กรณีที่ขอรับเงินชดเชย
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินชดเชยโดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
๙.๒
ถ้ามีการประกาศเปลี่ยนแปลงภายหลังจากที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงได้ส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุนแล้ว
(๑)
กรณีที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนเพิ่มหรือคืนเงินชดเชยที่ได้รับไปแล้วให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนเพิ่มหรือคืนเงินชดเชยที่ได้รับไปแล้ว
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔
ท้ายระเบียบนี้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันประกาศเปลี่ยนแปลงหรือวันที่ได้รับเงินชดเชย
แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง
(๒)
กรณีที่ขอรับเงินชดเชยเพิ่มหรือขอรับเงินคืน ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินชดเชยเพิ่มหรือขอคืนเงินที่ส่งเข้ากองทุนไปแล้ว
โดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ข้อ
๑๐
ในกรณีที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงได้รับเงินชดเชยสำหรับไบโอดีเซล (B100)
ที่นำมาผสมกับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักรเกินกว่าจำนวนที่มีสิทธิได้รับเงินชดเชย
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งคืนเงินชดเชยที่ได้รับเกินกว่าจำนวนที่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยดังกล่าว
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต
ข้อ
๑๑
การส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกนอกราชอาณาจักร
๑๑.๑
ในกรณีที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่คณะกรรมการกำหนดให้มีการส่งเงินเข้ากองทุนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ให้ผู้ส่งออกได้รับการยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุน
แต่ถ้ามีการส่งเงินเข้ากองทุนไว้แล้วให้ขอคืนได้
ตามอัตราเงินกองทุนคืนที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
โดยให้ผู้ส่งออกยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
เว้นแต่กรณีที่คณะกรรมการกำหนดให้มีการส่งเงินเข้ากองทุนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
ให้ผู้ส่งออกส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรในอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้
๑๑.๒
ในกรณีที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่คณะกรรมการกำหนดให้ได้รับเงินชดเชยจากกองทุนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ไม่ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรได้รับเงินชดเชย
แต่ถ้ามีการได้รับเงินชดเชยจากกองทุนแล้วให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุนไม่ว่าผู้ส่งออกนั้นจะเป็นผู้ได้รับเงินชดเชยหรือไม่
โดยให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุนตามอัตราเงินคืนกองทุนที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
พร้อมกับยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้
๑๑.๓
ในกรณีที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่คณะกรรมการกำหนดให้มีการส่งเงินเข้ากองทุนสำหรับนํ้ามันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
และเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับเงินชดเชยจากกองทุนแล้ว
ให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุนและส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรในอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๓ ท้ายระเบียบนี้
๑๑.๔
ในการส่งเงินเข้ากองทุน และหรือการส่งเงินคืนกองทุน แล้วแต่กรณี ตามข้อ ๑๑.๑ ข้อ
๑๑.๒ และข้อ ๑๑.๓ ให้ผู้ส่งออกปฏิบัติ ดังนี้
(๑)
ในกรณีที่มีการยื่นคำขอยกเว้นหรือคืนภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
ให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุนและหรือส่งเงินเข้ากองทุน
แล้วแต่กรณีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกนอกราชอาณาจักร
(๒)
ในกรณีที่ไม่มีการยื่นคำขอยกเว้นหรือคืนภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
ให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุนและหรือส่งเงินเข้ากองทุน แล้วแต่กรณี
ก่อนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกนอกราชอาณาจักร และให้ผู้ส่งออกนำใบเสร็จรับเงินกองทุนไปแสดงต่อพนักงานศุลกากร
ณ ด่านศุลกากรที่จะส่งออก
โดยใบเสร็จรับเงินนั้นต้องมีลายมือชื่อของเจ้าพนักงานสรรพสามิตที่ออกใบเสร็จ
ซึ่งระบุรายละเอียด ดังนี้
(ก)
ชนิดและปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะส่งออกนอกราชอาณาจักร
(ข)
จำนวนเงินที่ส่งเงินคืนกองทุนและหรือส่งเงินเข้ากองทุน แล้วแต่กรณี
(ค)
เลขที่ใบขนสินค้าขาออกหรือเลขที่ใบกำกับสินค้า (Invoice)
(ง)
วัน เดือน ปี ที่จะส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกนอกราชอาณาจักร
ข้อ
๑๒
กรณีที่มีการขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อนำไปขายหรือจำหน่ายต่อให้แก่ชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
๑๒.๑
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุน
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว
ส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขายหรือจำหน่ายในอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ภายในสิบวันนับจากวันที่นำน้ำมันเชื้อเพลิงออกจากโรงกลั่น
๑๒.๒
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินชดเชย ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินชดเชย
โดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
๑๒.๓
ในกรณีที่ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว
มิได้นำน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับเงินชดเชยตาม ๑๒.๒ ไปขายหรือจำหน่ายต่อให้แก่ชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
ให้ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นส่งเงินคืนกองทุนไม่ว่าผู้ประกอบการค้านํ้ามันเชื้อเพลิงนั้นจะเป็นผู้ได้รับเงินชดเชยหรือไม่
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบ
และบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงได้ขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับเงินชดเชยดังกล่าวให้แก่ผู้อื่น
ข้อ
๑๓
สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งให้แก่ผู้ซึ่งนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่น
ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุน แต่ถ้ามีการส่งเงินเข้ากองทุนแล้ว
ให้ขอคืนได้โดยให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ถ้าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะได้รับเงินชดเชยจากกองทุน
ไม่ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งส่งน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ผู้ซึ่งนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่นได้รับเงินชดเชย
แต่ถ้ามีการได้รับเงินชดเชยจากกองทุนแล้ว
ให้ส่งเงินคืนกองทุนพร้อมกับยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ ก่อนนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่น
หากปรากฏว่าน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่นได้สูญหายหรือขาดจำนวนไปให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงหรือผู้ซึ่งนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่น
ส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเดียวกับการชำระภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูญหายหรือขาดจำนวนไปนั้น
การส่งเงินเข้ากองทุนหรือการขอรับเงินชดเชยจากกองทุนตามวรรคสาม
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงหรือผู้ซึ่งนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่น
ส่งเงินเข้ากองทุนพร้อมกับยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
หรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุนโดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้ แล้วแต่กรณี
พร้อมกับการชำระภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งสูญหายหรือขาดจำนวนไปนั้น
การยกเว้นไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนตามวรรคแรก
ไม่รวมถึงน้ำมันเชื้อเพลิงตามข้อ ๖ วรรคสอง[๓]
ข้อ
๑๔ การส่งเงินเข้ากองทุน
ให้ยื่นใบส่งเงินและชำระเงินเข้ากองทุนต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่รับชำระภาษี
หรือธนาคารพาณิชย์ที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนดให้เป็นที่รับชำระภาษีหรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต
http://www.excise.go.th
การส่งเงินตามข้อ
๑๑.๔ (๒) ให้ผู้ส่งออกส่งเงินพร้อมกับยื่นใบส่งเงินต่อสรรพสามิตพื้นที่ ณ
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่ด่านศุลกากรที่จะส่งออกตั้งอยู่
ข้อ
๑๕ การขอรับเงินจากกองทุน ให้ยื่นใบขอรับเงินจำนวน
๒ ชุด ต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่รับชำระภาษี
หรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต http://www.excise.go.th
กรณีผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินจากกองทุนสำหรับก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ให้ผู้ผลิตน้ำ
มันเชื้อเพลิงยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานการจำหน่ายก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์
หนังสือแสดงความยินยอมให้เจ้าพนักงานสรรพสามิตสามารถเข้าตรวจสอบภายในบริเวณโรงกลั่นได้
รวมถึงหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง และบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้ จำนวน
๒ ชุด ต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงกลั่นตั้งอยู่
หรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต http://www.excise.go.th
กรณีผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงมีโรงกลั่นหลายแห่ง
หากมีความประสงค์ยื่นขอรับเงินรวม ณสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงยื่นเรื่องขออนุมัติต่อกรมสรรพสามิต
กรณีผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงยื่นใบส่งเงินและชำระเงินเข้ากองทุนสำหรับโรงกลั่นหลายแห่งรวมที่ธนาคารพาณิชย์ที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนดให้เป็นที่รับชำระภาษี
หากมีความประสงค์ยื่นขอรับเงินรวม ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงยื่นเรื่องขออนุมัติต่อกรมสรรพสามิต
ข้อ
๑๖ การขอรับเงินจากกองทุนตามข้อ ๑๕
ให้สรรพสามิตพื้นที่ที่รับคำขอรับเงินเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติให้จ่ายเงินทดรองจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชย
หรือผู้มีสิทธิได้รับเงินคืนจากกองทุน
ข้อ
๑๗
ให้สรรพสามิตพื้นที่ที่รับคำขอรับเงิน
ส่งใบขอรับเงินที่อนุมัติจ่ายเงินทดรองจ่ายแล้วจำนวน ๑ ชุด
ให้สำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี ๒
เพื่อตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
ให้สำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี
๒ ดำเนินการจัดส่งใบขอรับเงิน ซึ่งตรวจสอบแล้วให้สำนักบริหารการคลังและรายได้
เพื่อดำเนินการเขียนเช็คสั่งจ่ายเงินทดรองจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยหรือผู้มีสิทธิได้รับเงินคืนจากกองทุน
แล้วแต่กรณี
ข้อ
๑๘
เมื่อสรรพสามิตพื้นที่ได้รับเงินจากผู้มีหน้าที่ส่งเงินแล้ว ให้นำเงินที่ได้รับชำระฝากเข้าบัญชี
กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กระทรวงพลังงาน) ภายใน ๒
วันทำการนับแต่วันที่ได้รับเงินโดยมีสาขาที่รับฝากเงินและเลขที่บัญชี ดังนี้
๑๘.๑
ธนาคารกรุงไทย สาขาถนนศรีอยุธยา เลขที่บัญชี ๐๑๓ - ๑ - ๑๓๐๒๗ - ๗
๑๘.๒
ธนาคารกรุงไทย สาขาศรีราชา เลขที่บัญชี ๒๐๘ - ๐ - ๐๗๘๑๔ - ๓
๑๘.๓
ธนาคารกรุงไทย สาขาระยอง เลขที่บัญชี ๒๑๘ - ๐ - ๐๘๓๑๖ - ๕
เมื่อดำเนินการนำเงินส่งเข้าบัญชีกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว
ให้จัดทำรายละเอียดพร้อมแนบสำเนาใบนำฝากเงิน (Pay-In-Slip)
และสำเนาใบส่งเงินส่งให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) ภายใน ๓
วันทำการนับแต่วันที่ได้นำเงินฝากเข้าบัญชีดังกล่าว
ข้อ
๑๙ ให้สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่
ทำรายงานสรุปการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
รายงานสรุปการขอรับเงินชดเชยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
และรายงานสรุปการส่งเงินคืนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ขอคืนภาษีสรรพสามิตเป็นรายเดือน
ส่งให้สำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี ๒
โดยทางเอกสารหรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต http://www.excise.go.th ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่มีการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การรับเงินชดเชยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงหรือการส่งเงินคืนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ขอคืนภาษีสรรพสามิต
ข้อ
๒๐
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนไม่ส่งเงินเข้ากองทุน หรือส่งเงินเข้ากองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง
หรือไม่ส่งเงินคืนกองทุนภายในเวลาที่กำหนด สำหรับผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง ณ
โรงกลั่นและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร และผู้ส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง
ให้ดำเนินการดังนี้
๒๐.๑
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนตรวจพบเองว่ามีกรณีดังกล่าวให้ผู้นั้นส่งเงินตามจำนวนที่ต้องส่ง
หรือตามจำนวนที่ขาด หรือตามจำนวนที่ต้องคืนเข้ากองทุนพร้อมทั้งเงินเพิ่ม
ในอัตราร้อยละสามต่อเดือนของจำนวนเงินดังกล่าว
นับแต่วันที่ครบกำหนดส่งเงินเข้ากองทุนจนกว่าจะครบ โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่รับชำระภาษี
หรือธนาคารพาณิชย์ที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนดให้เป็นที่รับชำระภาษี
หรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต http://www.excise.go.th
๒๐.๒
ในกรณีที่เจ้าพนักงานสรรพสามิตเป็นผู้ตรวจพบว่ามีกรณีดังกล่าว
ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเงินตามจำนวนที่ต้องส่งหรือตามจำนวนที่ขาด
หรือตามจำนวนที่ต้องส่งคืนเข้ากองทุน
พร้อมทั้งเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหกต่อเดือนของจำนวนเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ครบกำหนดส่งเงินเข้ากองทุนจนกว่าจะครบ
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ ต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่รับชำระภาษี
หรือธนาคารพาณิชย์ที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนดให้เป็นที่รับชำระภาษีหรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต
http://www.excise.go.th ภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต
หากผู้มีหน้าที่ส่งเงินไม่ดำเนินการตามข้อ
๒๐.๒
ให้สรรพสามิตพื้นที่ดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเร็ว
เงินเพิ่มตามข้อ
๒๐.๑ และข้อ ๒๐.๒ ให้ถือว่าเป็นเงินที่ต้องส่งเข้ากองทุนด้วย
และในการคำนวณระยะเวลาเพื่อการคำนวณเงินเพิ่มตามข้อ ๒๐.๑ หรือข้อ ๒๐.๒ นั้น
หากมีเศษของเดือน ให้นับเป็นหนึ่งเดือน
ข้อ
๒๑
ใบขอรับเงินใดที่ได้ยื่นไว้ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ
และยังไม่มีการสั่งจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ผู้ยื่นคำขอนั้น
ให้ถือเป็นการยื่นใบขอรับเงินตามระเบียบนี้ โดยอนุโลม
ข้อ
๒๒
ให้ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี ๒
เป็นผู้รักษาการและวินิจฉัยสั่งการ ตามระเบียบนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม
อธิบดีกรมสรรพสามิต
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แบบกองทุน ๑ ใบส่งเงิน
๒. แบบกองทุน ๒ ใบขอรับเงิน
๓. แบบกองทุน ๓ บัญชีสรุป
(ส่งเงินเข้ากองทุน/ส่งเงินคืนกองทุน) แสดงปริมาณ
และอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
๔. แบบกองทุน ๔ บัญชีสรุป
(ส่งเงิน........./ขอรับเงิน.........) แสดงชนิด ปริมาณ
อัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์น้ำมันที่นำออก/รับเข้าโรงกลั่น
๕. แบบกองทุน ๕ บัญชีสรุป (ขอรับเงินชดเชย)
แสดงชนิด ปริมาณ และอัตราของไบโอดีเซลที่นำมาผสมเป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
๖. รายงานสรุปการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่.........................ประจำเดือน..................ปีงบประมาณ...............(Oil Fund ๑)
๗.
รายงานสรุปการรับเงินชดเชยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่.........................ประจำเดือน..................ปีงบประมาณ...............(Oil Fund ๒)
๘.
รายงานสรุปการส่งเงินคืนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ขอคืนภาษีสรรพสามิต
ประจำเดือน.................................ปีงบประมาณ................. ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่......................................................
(Oil Fund ๓)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๔]
ข้อ ๕ ในกรณีที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
มีการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนตามข้อ ๖ วรรคสอง แห่งระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ.
๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบนี้ ก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุน โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ.
๒๕๕๓ ภายใน ๒๐ วัน นับแต่วันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๕ กันยายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๑๕ กันยายน ๒๕๕๓
ณัฐพร/ปรับปรุง
๒๙
เมษายน ๒๕๕๖
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๐๖ ง/หน้า ๑๐/๓ กันยายน ๒๕๕๓
[๒] ข้อ ๖
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๓] ข้อ ๑๓
วรรคห้า เพิ่มโดยระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๑/๑๒ เมษายน ๒๕๕๕ |
669047 | ระเบียบกรมธุรกิจพลังงาน ว่าด้วยการอนุญาตให้ผู้ค้าน้ำมัน ตามมาตรา 7 มอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 รายอื่น หรือผู้บรรจุก๊าซรายใด เป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนการขอรับและการแสดงเครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซ การปิดผนึกลิ้นถังก๊าซหุงต้มและการสั่งพักใช้หรือเพิกถอนการอนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน พ.ศ. 2555 | ระเบียบกรมธุรกิจพลังงาน
ระเบียบกรมธุรกิจพลังงาน
ว่าด้วยการอนุญาตให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ มอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ รายอื่น
หรือผู้บรรจุก๊าซรายใด
เป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน การขอรับและการแสดงเครื่องหมายประจำตัว
ของผู้บรรจุก๊าซ
การปิดผนึกลิ้นถังก๊าซหุงต้ม และการสั่งพักใช้หรือเพิกถอน
การอนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน
พ.ศ. ๒๕๕๕
เพื่อให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งขายหรือจำหน่ายก๊าซที่บรรจุในถังก๊าซหุงต้ม
สามารถมอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ รายอื่นหรือผู้บรรจุก๊าซรายใดเป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนได้
และจำหน่ายให้ทั่วถึงทุกท้องที่ที่มีการใช้ถังก๊าซหุงต้ม ซึ่งแสดงเครื่องหมายการค้าของตน
และเพื่อให้การบรรจุก๊าซต้องทำการปิดผนึกลิ้น (Valve) ถังก๊าซหุงต้มทุกครั้งที่บรรจุก๊าซ
และโดยต้องมีเครื่องหมายประจำตัวผู้บรรจุก๊าซแสดงไว้ที่อุปกรณ์ปิดผนึกลิ้น (Seal) ถังก๊าซหุงต้ม
และเพื่อให้การสั่งพักใช้หรือเพิกถอนการอนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้องรัดกุมและอยู่ในแนวทางเดียวกัน
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๗ ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒๓
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานจึงออกระเบียบว่าด้วยการอนุญาตให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ มอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ รายอื่น หรือผู้บรรจุก๊าซรายใด เป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน
การขอรับและการแสดงเครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซ
การปิดผนึกลิ้นถังก๊าซหุงต้ม
และการสั่งพักใช้หรือเพิกถอนการอนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน
ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบกรมธุรกิจพลังงาน ว่าด้วยการอนุญาตให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
มอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ รายอื่น หรือผู้บรรจุก๊าซรายใด
เป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนการขอรับและการแสดงเครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซ
การปิดผนึกลิ้นถังก๊าซหุงต้มและการสั่งพักใช้หรือเพิกถอนการอนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน
พ.ศ. ๒๕๕๕
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรมธุรกิจพลังงาน
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การสั่งพักใช้หรือเพิกถอนการอนุญาตให้มอบหมายดำเนินการบรรจุก๊าซแทน
พ.ศ. ๒๕๔๗ ลงวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๔ ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ซึ่งขาย
หรือจำหน่ายก๊าซที่บรรจุในถังก๊าซหุงต้มสามารถมอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
รายอื่น
หรือผู้บรรจุก๊าซรายใดที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบรรจุก๊าซตามกฎหมายว่าด้วยการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว
เป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนได้
ข้อ ๕ กรณีการมอบหมายตามข้อ
๔ ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ขอรับหนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ รายอื่น
หรือผู้บรรจุก๊าซรายใดเป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนก่อนดำเนินการมอบหมายบรรจุก๊าซแทน
โดยยื่นคำขอพร้อมเอกสารประกอบต่อกรมธุรกิจพลังงานตามแบบ นพ.ก ๑ แนบท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๖ กรมธุรกิจพลังงานจะออกหนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ รายอื่น หรือผู้บรรจุก๊าซรายใด
เป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ตามแบบ นพ.ก ๓ ที่แนบท้ายระเบียบนี้
ให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗
แสดงหนังสืออนุญาตตามวรรคหนึ่งไว้ในสถานประกอบการที่ใช้บรรจุก๊าซโดยเปิดเผยเห็นได้ชัดเจน
หนังสืออนุญาตตามวรรคหนึ่งมีอายุ ๓ ปี นับแต่วันที่ออกให้
ข้อ ๗ ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ ที่ประสงค์จะต่ออายุหนังสืออนุญาตตามข้อ ๖
ต้องยื่นคำขอต่ออายุหนังสืออนุญาตภายในสามสิบวันก่อนวันที่หนังสืออนุญาตฉบับเดิมจะหมดอายุ
พร้อมเอกสารประกอบต่อกรมธุรกิจพลังงานตามแบบ นพ.ก ๑ ที่แนบท้ายระเบียบนี้
และเมื่อได้ยื่นคำขอต่ออายุหนังสืออนุญาตแล้ว
ให้ดำเนินการต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งการไม่อนุญาต
ข้อ ๘ ให้ผู้บรรจุก๊าซทั้งผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
และผู้บรรจุก๊าซอื่นที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ ตามข้อ ๖ ยื่นคำขอรับเครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซ
โดยอาจมอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ซึ่งผู้บรรจุก๊าซเป็นตัวแทนค้าต่างตามที่แจ้งต่อกรมธุรกิจพลังงาน
ยื่นคำขอฯ แทนก็ได้ พร้อมเอกสารประกอบต่อกรมธุรกิจพลังงานก่อนดำเนินการบรรจุก๊าซ
ตามแบบ นพ.ก ๕ ที่แนบท้ายระเบียบนี้
สำหรับผู้บรรจุก๊าซตามวรรคแรก
ให้จัดทำเครื่องหมายประจำตัวที่ได้รับไว้ที่อุปกรณ์ปิดผนึกลิ้นให้แล้วเสร็จ
เพื่อปิดผนึกลิ้นถังก๊าซหุงต้มก่อนออกจำหน่าย
เครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซให้เป็นไปตามแบบที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนดซึ่งประกอบด้วยสัญลักษณ์
ธพ และหมายเลขประจำตัวในกรอบสี่เหลี่ยม ดังนี้
ข้อ ๙ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับชื่อ
สถานที่ตั้ง ตัวแทนค้าต่าง หรือการยกเลิกการมอบหมาย ให้เป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนจากที่ได้รับหนังสืออนุญาตตามข้อ
๖ ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ แจ้งการเปลี่ยนแปลงหรือการยกเลิกดังกล่าวต่อกรมธุรกิจพลังงานตามแบบ
นพ.ก ๔ ที่แนบท้ายระเบียบนี้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก
กรณีหนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ รายอื่น
หรือผู้บรรจุก๊าซรายใดเป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนตามข้อ ๖ ชำรุด หรือสูญหาย
ให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
ยื่นขอใบแทนหนังสืออนุญาตฉบับเดิมต่อกรมธุรกิจพลังงานตามแบบ นพ.ก ๑
แนบท้ายระเบียบนี้ พร้อมส่งคืนฉบับเดิมที่ชำรุดหรือหลักฐานการแจ้งความสูญหาย
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๐ ในการดำเนินการบรรจุก๊าซ
ผู้บรรจุก๊าซต้องปิดผนึกลิ้นถังก๊าซหุงต้มให้แน่นหนาด้วยอุปกรณ์ปิดผนึกลิ้นที่ไม่ฉีกขาด
หรือหลุดออกได้โดยง่าย และต้องแสดงเครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซตามข้อ ๘
วรรคสามไว้ที่อุปกรณ์ปิดผนึกลิ้นให้ติดแน่น
โดยเครื่องหมายประจำตัวที่แสดงต้องมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจน
ข้อ ๑๑ กรณีต่อไปนี้เป็นการกระทำผิดซึ่งผู้บรรจุก๊าซ
ไม่ว่าจะถูกดำเนินคดีหรือไม่
อาจถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน
๑๑.๑ บรรจุก๊าซโดยไม่ปิดผนึกลิ้น (Valve) ถังก๊าซหุงต้มด้วยอุปกรณ์ปิดผนึกลิ้น
(Seal) ที่แสดงเครื่องหมายประจำตัวผู้บรรจุก๊าซตามข้อ ๑๐
๑๑.๒
บรรจุก๊าซในถังก๊าซหุงต้มที่มีเครื่องหมายการค้าของผู้ค้าน้ำมันอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
๑๑.๓ บรรจุก๊าซในถังก๊าซหุงต้มที่ไม่เคยได้รับเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
หรือถังก๊าซหุงต้มที่ไม่ได้เป็นของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗
๑๑.๔
นำก๊าซที่ได้มาจากการเป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา ๗ ไปจำหน่าย
หรือใช้ในการอื่นโดยไม่บรรจุใส่ถังก๊าซหุงต้ม
ข้อ ๑๒ การสั่งพักใช้และเพิกถอนการอนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน
ให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
๑๒.๑ กรณีการกระทำผิดตามข้อ ๑๑.๑ หรือข้อ ๑๑.๒
ก. การกระทำผิดครั้งที่ ๑ ให้มีหนังสือแจ้งเตือนภาคทัณฑ์
ข. การกระทำผิดครั้งที่ ๒ ให้สั่งพักใช้หนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน
เป็นเวลา ๓ เดือน
ค. การกระทำผิดครั้งที่ ๓
ให้สั่งเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน
๑๒.๒ กรณีการกระทำผิดตามข้อ ๑๑.๓ หรือข้อ ๑๑.๔
ก. การกระทำผิดครั้งที่ ๑ ให้สั่งพักใช้หนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน
เป็นเวลา ๑ ปี
ข. การกระทำผิดครั้งที่ ๒
ให้สั่งเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน
หากมีการกระทำผิดตามข้อ ๑๑
เกิดขึ้นในระหว่างการถูกสั่งพักใช้หนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนตามข้อ
๑๒.๑ และข้อ ๑๒.๒ ให้อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานสั่งเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน
โดยไม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลาการสั่งพักใช้หนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน
การสั่งพักใช้หรือเพิกถอนการอนุญาตตามข้อ ๑๒.๑ และข้อ ๑๒.๒
ให้แจ้งเวลาเริ่มต้นการพักใช้หรือเพิกถอนเป็นหนังสือ
โดยให้อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานกำหนดเวลาเริ่มต้นการพักใช้หรือเพิกถอน
กรณีที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานได้เพิกถอนหนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนไม่ว่าในกรณีใด
ๆ
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานจะไม่พิจารณาออกหนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนจนกว่าจะพ้น
๑ ปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอน
ข้อ ๑๓ การตรวจพบการกระทำผิดตามข้อ ๑๑
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
และที่แก้ไขเพิ่มเติม
รายงานการตรวจพบต่อสำนักบริการธุรกิจและการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงภายในสิบห้าวันทำการนับแต่วันที่ตรวจพบ
ข้อ ๑๔ ให้สำนักบริการธุรกิจและการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงรวบรวมรายงานการตรวจสอบตามข้อ
๑๑ และเสนอต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานเพื่อพิจารณาสั่งพักใช้หรือเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน
หากเป็นการกระทำความผิดในส่วนภูมิภาค
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งพักใช้หรือเพิกถอนได้เฉพาะรายที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดของตน
โดยกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นเมื่อใดให้เป็นดุลยพินิจของผู้ว่าราชการจังหวัด
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ใช้อำนาจสั่งพักใช้หรือเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน
ให้รายงานผลการดำเนินการดังกล่าวต่อกรมธุรกิจพลังงานภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้สั่งพักใช้หรือเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๕ บรรดาคำขอรับหนังสืออนุญาตหรือคำขอรับเครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซที่ได้ยื่นไว้ก่อนที่ระเบียบนี้ใช้บังคับและยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา
ให้ถือว่าคำขอนั้นเป็นคำขอตามระเบียบนี้โดยอนุโลม
บรรดาหนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทนซึ่งผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ ได้รับก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับและยังไม่หมดอายุ
ให้ถือว่าเป็นหนังสืออนุญาตตามระเบียบนี้โดยอนุโลมและยังคงใช้ได้ต่อไปจนกว่าหนังสืออนุญาตนั้นจะหมดอายุ
เครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซซึ่งได้รับก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ
ให้ถือว่าเป็นเครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซตามระเบียบนี้โดยอนุโลม
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
วีระพล
จิรประดิษฐกุล
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. คำขอ/รับหนังสืออนุญาต/ต่ออายุหนังสืออนุญาต/รับใบแทนหนังสืออนุญาต
ให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน (นพ.ก ๑)
๒. หนังสือยืนยันการมอบหมายให้ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา
๗ รายอื่น หรือผู้บรรจุก๊าซเป็นผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน (นพ.ก ๒)
๓. หนังสืออนุญาตให้มอบหมายให้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน
(นพ.ก ๓)
๔. แบบแจ้งเปลี่ยนแปลง ชื่อ สถานที่ตั้งตัวแทนค้าต่าง
และยกเลิกผู้ดำเนินการบรรจุก๊าซแทน (นพ.ก ๔)
๕. คำขอรับเครื่องหมายประจำตัวของผู้บรรจุก๊าซ (นพ.ก ๕)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๕ มิถุนายน
๒๕๕๕
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๒๕ มิถุนายน
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๙๔ ง/หน้า ๓/๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ |
665960 | ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชยและการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 | ระเบียบกรมสรรพสามิต
ระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๕[๑]
เพื่ออนุวัติตามความในข้อ ๔ (๔) ข้อ ๘ วรรคสอง ข้อ ๒๕ วรรคสอง และข้อ
๒๖ แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒๓
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๙/๒๕๔๙ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๗ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๔๙ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๕ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๑๑
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ระเบียบกระทรวงพลังงาน ว่าด้วยการฝากและการเบิกจ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
ประกอบกับเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ครั้งที่ ๓๙/๒๕๕๔ (ครั้งที่
๙๗) เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ อธิบดีกรมสรรพสามิต
จึงวางระเบียบปฏิบัติในการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชยและการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันออกประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖
แห่งระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ.
๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๖ ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนโดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
พร้อมกับการชำระภาษีสรรพสามิต (ถ้ามี)
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตจากโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงหรือโรงแยกก๊าซธรรมชาติเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในโรงอุตสาหกรรมเคมีปิโตรเลียม
ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุน
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ ภายใน ๑๐ วัน นับแต่วันที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคห้าของข้อ
๑๓ แห่งระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงินการยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๓
ลงวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
การยกเว้นไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนตามวรรคแรก
ไม่รวมถึงน้ำมันเชื้อเพลิงตามข้อ ๖ วรรคสอง
ข้อ ๕ ในกรณีที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
มีการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนตามข้อ ๖ วรรคสอง แห่งระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ.
๒๕๕๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบนี้ ก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุน โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ.
๒๕๕๓ ภายใน ๒๐ วัน นับแต่วันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
เบญจา หลุยเจริญ
อธิบดีกรมสรรพสามิต
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ เมษายน ๒๕๕๕
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๑๙ เมษายน ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๑/๑๒ เมษายน ๒๕๕๕ |
685645 | ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2553
| ระเบียบกรมสรรพสามิต
ระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ.
๒๕๕๓[๑]
เพื่ออนุวัตตามความในข้อ ๔ (๔) ข้อ ๘ วรรคสอง
ข้อ ๑๐ วรรคสอง ข้อ ๑๒ วรรคสอง ข้อ ๑๓ วรรคสอง ข้อ ๑๓/๑ วรรคสอง ข้อ ๒๕ วรรคสอง
และข้อ ๒๖ แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒๓
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๙/๒๕๔๙ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๗
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๓ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ระเบียบกระทรวงพลังงานว่าด้วยการฝากและการเบิกจ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.
๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
ประกอบกับเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน เมื่อวันที่ ๑๖
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๖ มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ครั้งที่ ๓/๒๕๔๘ (ครั้งที่ ๘)
เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ และมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ครั้งที่
๓/๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒๐) เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ อธิบดีกรมสรรพสามิต
จึงวางระเบียบปฏิบัติในการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุน น้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชยและการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้น การส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ ๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ยกเลิก
๓.๑ ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๖
๓.๒ ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๒๔
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
๓.๓ ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๙
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
๓.๔ ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๑๙
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
๓.๕ ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๗
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๔
ในระเบียบนี้
กองทุน หมายความว่า
กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
น้ำมันเชื้อเพลิง หมายความว่า
น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันที่คล้ายกันหรือน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ที่คล้ายกัน
น้ำมันดิบสังเคราะห์ที่ใช้หรืออาจใช้เป็นวัตถุดิบในการกลั่นหรือผลิตให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้น
และให้หมายความรวมถึงก๊าซ ยางมะตอยและก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ด้วย
ก๊าซ หมายความว่า
ก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ใช้เป็นก๊าซหุงต้มหรือก๊าซไฮโดรคาร์บอนเหลว ซึ่งได้แก่
โปรเปน โปรปิลีน นอร์มัลบิวเทน ไอโซ -
บิวเทนหรือบิวทีลีนส์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันเป็นส่วนใหญ่
ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ หมายความว่า
ก๊าซปิโตรเลียม ซึ่งประกอบด้วยมีเทนเป็นส่วนใหญ่ เพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ
โดยมีลักษณะและคุณภาพตามประกาศกรมธุรกิจพลังงานที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง หมายความว่า
ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง ณ โรงกลั่นและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
โรงกลั่น หมายความว่า
โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง สถานที่ผลิตและจำหน่าย น้ำมันเชื้อเพลิงภายในราชอาณาจักร
และให้หมายความรวมถึง
(๑)
โรงแยกก๊าซในราชอาณาจักรที่ผลิตและจำหน่ายก๊าซเพื่อใช้ในราชอาณาจักรและโรงอุตสาหกรรมเคมีปิโตรเลียมและสารละลาย
(๒)
จุดจำหน่ายของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ในราชอาณาจักร
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ข้อ ๕
อัตราเงินส่งเข้ากองทุนและอัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
และอัตราเงินชดเชยสำหรับไบโอดีเซล (B100)
ที่นำมาผสมกับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร ให้ใช้อัตรา ณ
วันที่นำน้ำมันเชื้อเพลิงหรือน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ผสมจากไบโอดีเซล (B100)
ออกจากโรงกลั่น
ที่คณะกรรมการประกาศกำหนดส่วนอัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากการแปรรูปขยะพลาสติกที่รับเข้าโรงกลั่นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต
ให้ใช้อัตรา ณ วันที่รับเข้าโรงกลั่นที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ข้อ ๖
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุน
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนโดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
พร้อมกับการชำระภาษีสรรพสามิต
ข้อ ๗
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินชดเชยโดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินชดเชยสำหรับไบโอดีเซล
(B100)
ที่นำมาผสมกับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินชดเชยโดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๕ ท้ายระเบียบนี้
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากการแปรรูปขยะพลาสติกที่รับเข้าโรงกลั่นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงที่รับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากการแปรรูปขยะพลาสติกเข้าโรงกลั่นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตขอรับเงินชดเชยโดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน
๒ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๘
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงปฏิบัติ ดังนี้
๘.๑ กรณีที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงนำน้ำมันเชื้อเพลิงออกจากโรงกลั่น
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุน
ตามชนิดและปริมาณที่นำออกจากโรงกลั่น
๘.๒
กรณีที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงนำน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งได้ส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุนแล้วมาผลิตใหม่โดยการผสมสารเติมแต่ง
(ADDITIVE)
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุนเฉพาะในส่วนของปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น
ข้อ ๙
ในกรณีมีการประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราเงินส่งเข้ากองทุนหรืออัตราเงินชดเชยหรือประกาศเปลี่ยนแปลงจากการกำหนดให้ได้รับเงินชดเชยเป็นการกำหนดให้ส่งเงินเข้ากองทุน
๙.๑
ถ้ามีการประกาศเปลี่ยนแปลงก่อนที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุน
และการเปลี่ยนแปลงนั้นกำหนดให้มีผลย้อนหลัง
(๑) กรณีที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุน
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุน โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันประกาศเปลี่ยนแปลง
(๒) กรณีที่ขอรับเงินชดเชย
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินชดเชยโดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
๙.๒
ถ้ามีการประกาศเปลี่ยนแปลงภายหลังจากที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงได้ส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุนแล้ว
(๑)
กรณีที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนเพิ่มหรือคืนเงินชดเชยที่ได้รับไปแล้วให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนเพิ่มหรือคืนเงินชดเชยที่ได้รับไปแล้ว
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔
ท้ายระเบียบนี้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันประกาศเปลี่ยนแปลงหรือวันที่ได้รับเงินชดเชย
แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง
(๒)
กรณีที่ขอรับเงินชดเชยเพิ่มหรือขอรับเงินคืน
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินชดเชยเพิ่มหรือขอคืนเงินที่ส่งเข้ากองทุนไปแล้ว
โดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๑๐
ในกรณีที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงได้รับเงินชดเชยสำหรับไบโอดีเซล (B100)
ที่นำมาผสมกับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักรเกินกว่าจำนวนที่มีสิทธิได้รับเงินชดเชย
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งคืนเงินชดเชยที่ได้รับเกินกว่าจำนวนที่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยดังกล่าว
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต
ข้อ ๑๑
การส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกนอกราชอาณาจักร
๑๑.๑
ในกรณีที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่คณะกรรมการกำหนดให้มีการส่งเงินเข้ากองทุนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ให้ผู้ส่งออกได้รับการยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุน
แต่ถ้ามีการส่งเงินเข้ากองทุนไว้แล้วให้ขอคืนได้
ตามอัตราเงินกองทุนคืนที่คณะกรรมการประกาศกำหนด โดยให้ผู้ส่งออกยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน
๒ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
เว้นแต่กรณีที่คณะกรรมการกำหนดให้มีการส่งเงินเข้ากองทุนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
ให้ผู้ส่งออกส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรในอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้
๑๑.๒
ในกรณีที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่คณะกรรมการกำหนดให้ได้รับเงินชดเชยจากกองทุนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ไม่ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรได้รับเงินชดเชย
แต่ถ้ามีการได้รับเงินชดเชยจากกองทุนแล้วให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุนไม่ว่าผู้ส่งออกนั้นจะเป็นผู้ได้รับเงินชดเชยหรือไม่
โดยให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุนตามอัตราเงินคืนกองทุนที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
พร้อมกับยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
๑๑.๓
ในกรณีที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่คณะกรรมการกำหนดให้มีการส่งเงินเข้ากองทุนสำหรับนํ้ามันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
และเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับเงินชดเชยจากกองทุนแล้ว
ให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุนและส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรในอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๓ ท้ายระเบียบนี้
๑๑.๔ ในการส่งเงินเข้ากองทุน
และหรือการส่งเงินคืนกองทุน แล้วแต่กรณี ตามข้อ ๑๑.๑ ข้อ ๑๑.๒ และข้อ ๑๑.๓
ให้ผู้ส่งออกปฏิบัติ ดังนี้
(๑)
ในกรณีที่มีการยื่นคำขอยกเว้นหรือคืนภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
ให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุนและหรือส่งเงินเข้ากองทุน
แล้วแต่กรณีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกนอกราชอาณาจักร
(๒)
ในกรณีที่ไม่มีการยื่นคำขอยกเว้นหรือคืนภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
ให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุนและหรือส่งเงินเข้ากองทุน แล้วแต่กรณี
ก่อนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกนอกราชอาณาจักร
และให้ผู้ส่งออกนำใบเสร็จรับเงินกองทุนไปแสดงต่อพนักงานศุลกากร ณ
ด่านศุลกากรที่จะส่งออก
โดยใบเสร็จรับเงินนั้นต้องมีลายมือชื่อของเจ้าพนักงานสรรพสามิตที่ออกใบเสร็จ
ซึ่งระบุรายละเอียด ดังนี้
(ก)
ชนิดและปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะส่งออกนอกราชอาณาจักร
(ข)
จำนวนเงินที่ส่งเงินคืนกองทุนและหรือส่งเงินเข้ากองทุน แล้วแต่กรณี
(ค)
เลขที่ใบขนสินค้าขาออกหรือเลขที่ใบกำกับสินค้า (Invoice)
(ง) วัน เดือน ปี
ที่จะส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกนอกราชอาณาจักร
ข้อ ๑๒
กรณีที่มีการขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อนำไปขายหรือจำหน่ายต่อให้แก่ชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
๑๒.๑
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุน
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว
ส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขายหรือจำหน่ายในอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ภายในสิบวันนับจากวันที่นำน้ำมันเชื้อเพลิงออกจากโรงกลั่น
๑๒.๒ ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินชดเชย
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินชดเชย โดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
๑๒.๓
ในกรณีที่ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว
มิได้นำน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับเงินชดเชยตาม ๑๒.๒
ไปขายหรือจำหน่ายต่อให้แก่ชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
ให้ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นส่งเงินคืนกองทุนไม่ว่าผู้ประกอบการค้านํ้ามันเชื้อเพลิงนั้นจะเป็นผู้ได้รับเงินชดเชยหรือไม่
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบ
และบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงได้ขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับเงินชดเชยดังกล่าวให้แก่ผู้อื่น
ข้อ ๑๓
สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งให้แก่ผู้ซึ่งนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่น
ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุน แต่ถ้ามีการส่งเงินเข้ากองทุนแล้ว
ให้ขอคืนได้โดยให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ถ้าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะได้รับเงินชดเชยจากกองทุน
ไม่ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งส่งน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ผู้ซึ่งนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่นได้รับเงินชดเชย
แต่ถ้ามีการได้รับเงินชดเชยจากกองทุนแล้ว
ให้ส่งเงินคืนกองทุนพร้อมกับยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ก่อนนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่น
หากปรากฏว่าน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่นได้สูญหายหรือขาดจำนวนไปให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงหรือผู้ซึ่งนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่น
ส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเดียวกับการชำระภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูญหายหรือขาดจำนวนไปนั้น
การส่งเงินเข้ากองทุนหรือการขอรับเงินชดเชยจากกองทุนตามวรรคสาม
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงหรือผู้ซึ่งนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่น
ส่งเงินเข้ากองทุนพร้อมกับยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
หรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุนโดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้ แล้วแต่กรณี
พร้อมกับการชำระภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งสูญหายหรือขาดจำนวนไปนั้น
ข้อ ๑๔
การส่งเงินเข้ากองทุน
ให้ยื่นใบส่งเงินและชำระเงินเข้ากองทุนต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่รับชำระภาษี
หรือธนาคารพาณิชย์ที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนดให้เป็นที่รับชำระภาษีหรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต
http://www.excise.go.th
การส่งเงินตามข้อ ๑๑.๔ (๒)
ให้ผู้ส่งออกส่งเงินพร้อมกับยื่นใบส่งเงินต่อสรรพสามิตพื้นที่ ณ
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่ด่านศุลกากรที่จะส่งออกตั้งอยู่
ข้อ ๑๕
การขอรับเงินจากกองทุน ให้ยื่นใบขอรับเงินจำนวน ๒ ชุด
ต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่รับชำระภาษี หรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต
http://www.excise.go.th
กรณีผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินจากกองทุนสำหรับก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ให้ผู้ผลิตน้ำ
มันเชื้อเพลิงยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานการจำหน่ายก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ หนังสือแสดงความยินยอมให้เจ้าพนักงานสรรพสามิตสามารถเข้าตรวจสอบภายในบริเวณโรงกลั่นได้
รวมถึงหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง และบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้ จำนวน
๒ ชุด ต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงกลั่นตั้งอยู่
หรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต http://www.excise.go.th
กรณีผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงมีโรงกลั่นหลายแห่ง
หากมีความประสงค์ยื่นขอรับเงินรวม ณสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงยื่นเรื่องขออนุมัติต่อกรมสรรพสามิต
กรณีผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงยื่นใบส่งเงินและชำระเงินเข้ากองทุนสำหรับโรงกลั่นหลายแห่งรวมที่ธนาคารพาณิชย์ที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนดให้เป็นที่รับชำระภาษี
หากมีความประสงค์ยื่นขอรับเงินรวม ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงยื่นเรื่องขออนุมัติต่อกรมสรรพสามิต
ข้อ ๑๖
การขอรับเงินจากกองทุนตามข้อ ๑๕
ให้สรรพสามิตพื้นที่ที่รับคำขอรับเงินเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติให้จ่ายเงินทดรองจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชย
หรือผู้มีสิทธิได้รับเงินคืนจากกองทุน
ข้อ ๑๗
ให้สรรพสามิตพื้นที่ที่รับคำขอรับเงิน
ส่งใบขอรับเงินที่อนุมัติจ่ายเงินทดรองจ่ายแล้วจำนวน ๑ ชุด
ให้สำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี ๒
เพื่อตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
ให้สำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี ๒
ดำเนินการจัดส่งใบขอรับเงิน ซึ่งตรวจสอบแล้วให้สำนักบริหารการคลังและรายได้
เพื่อดำเนินการเขียนเช็คสั่งจ่ายเงินทดรองจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยหรือผู้มีสิทธิได้รับเงินคืนจากกองทุน
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๘
เมื่อสรรพสามิตพื้นที่ได้รับเงินจากผู้มีหน้าที่ส่งเงินแล้ว
ให้นำเงินที่ได้รับชำระฝากเข้าบัญชี กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
(กระทรวงพลังงาน)
ภายใน ๒ วันทำการนับแต่วันที่ได้รับเงินโดยมีสาขาที่รับฝากเงินและเลขที่บัญชี
ดังนี้
๑๘.๑ ธนาคารกรุงไทย สาขาถนนศรีอยุธยา
เลขที่บัญชี ๐๑๓ - ๑ - ๑๓๐๒๗ - ๗
๑๘.๒ ธนาคารกรุงไทย สาขาศรีราชา เลขที่บัญชี
๒๐๘ - ๐ - ๐๗๘๑๔ - ๓
๑๘.๓ ธนาคารกรุงไทย สาขาระยอง เลขที่บัญชี
๒๑๘ - ๐ - ๐๘๓๑๖ - ๕
เมื่อดำเนินการนำเงินส่งเข้าบัญชีกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว
ให้จัดทำรายละเอียดพร้อมแนบสำเนาใบนำฝากเงิน (Pay-In-Slip)
และสำเนาใบส่งเงินส่งให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) ภายใน ๓
วันทำการนับแต่วันที่ได้นำเงินฝากเข้าบัญชีดังกล่าว
ข้อ ๑๙
ให้สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่
ทำรายงานสรุปการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
รายงานสรุปการขอรับเงินชดเชยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
และรายงานสรุปการส่งเงินคืนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ขอคืนภาษีสรรพสามิตเป็นรายเดือน
ส่งให้สำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี ๒
โดยทางเอกสารหรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต http://www.excise.go.th
ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่มีการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การรับเงินชดเชยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงหรือการส่งเงินคืนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ขอคืนภาษีสรรพสามิต
ข้อ ๒๐
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนไม่ส่งเงินเข้ากองทุน
หรือส่งเงินเข้ากองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง
หรือไม่ส่งเงินคืนกองทุนภายในเวลาที่กำหนด สำหรับผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง ณ
โรงกลั่นและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร และผู้ส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง
ให้ดำเนินการดังนี้
๒๐.๑
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนตรวจพบเองว่ามีกรณีดังกล่าวให้ผู้นั้นส่งเงินตามจำนวนที่ต้องส่ง
หรือตามจำนวนที่ขาด หรือตามจำนวนที่ต้องคืนเข้ากองทุนพร้อมทั้งเงินเพิ่ม
ในอัตราร้อยละสามต่อเดือนของจำนวนเงินดังกล่าว
นับแต่วันที่ครบกำหนดส่งเงินเข้ากองทุนจนกว่าจะครบ โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่รับชำระภาษี
หรือธนาคารพาณิชย์ที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนดให้เป็นที่รับชำระภาษี
หรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต http://www.excise.go.th
๒๐.๒
ในกรณีที่เจ้าพนักงานสรรพสามิตเป็นผู้ตรวจพบว่ามีกรณีดังกล่าว
ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเงินตามจำนวนที่ต้องส่งหรือตามจำนวนที่ขาด
หรือตามจำนวนที่ต้องส่งคืนเข้ากองทุน
พร้อมทั้งเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหกต่อเดือนของจำนวนเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ครบกำหนดส่งเงินเข้ากองทุนจนกว่าจะครบ
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ ต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่รับชำระภาษี
หรือธนาคารพาณิชย์ที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนดให้เป็นที่รับชำระภาษีหรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต
http://www.excise.go.th
ภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต
หากผู้มีหน้าที่ส่งเงินไม่ดำเนินการตามข้อ
๒๐.๒
ให้สรรพสามิตพื้นที่ดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเร็ว
เงินเพิ่มตามข้อ ๒๐.๑ และข้อ ๒๐.๒
ให้ถือว่าเป็นเงินที่ต้องส่งเข้ากองทุนด้วย
และในการคำนวณระยะเวลาเพื่อการคำนวณเงินเพิ่มตามข้อ ๒๐.๑ หรือข้อ ๒๐.๒ นั้น
หากมีเศษของเดือน ให้นับเป็นหนึ่งเดือน
ข้อ ๒๑
ใบขอรับเงินใดที่ได้ยื่นไว้ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ
และยังไม่มีการสั่งจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ผู้ยื่นคำขอนั้น
ให้ถือเป็นการยื่นใบขอรับเงินตามระเบียบนี้ โดยอนุโลม
ข้อ ๒๒
ให้ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี ๒
เป็นผู้รักษาการและวินิจฉัยสั่งการ ตามระเบียบนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม
อธิบดีกรมสรรพสามิต
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แบบกองทุน ๑ ใบส่งเงิน
๒.
แบบกองทุน ๒ ใบขอรับเงิน
๓.
แบบกองทุน ๓ บัญชีสรุป (ส่งเงินเข้ากองทุน/ส่งเงินคืนกองทุน) แสดงปริมาณ
และอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
๔.
แบบกองทุน ๔ บัญชีสรุป (ส่งเงิน........./ขอรับเงิน.........) แสดงชนิด
ปริมาณ อัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์น้ำมันที่นำออก/รับเข้าโรงกลั่น
๕.
แบบกองทุน ๕ บัญชีสรุป (ขอรับเงินชดเชย) แสดงชนิด ปริมาณ
และอัตราของไบโอดีเซลที่นำมาผสมเป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
๖.
รายงานสรุปการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่.........................ประจำเดือน..................ปีงบประมาณ...............(Oil Fund ๑)
๗.
รายงานสรุปการรับเงินชดเชยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่.........................ประจำเดือน..................ปีงบประมาณ...............(Oil Fund ๒)
๘.
รายงานสรุปการส่งเงินคืนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ขอคืนภาษีสรรพสามิต
ประจำเดือน.................................ปีงบประมาณ................. ณ
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่......................................................
(Oil
Fund
๓)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๕
กันยายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๑๕
กันยายน ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๐๖ ง/หน้า ๑๐/๓ กันยายน ๒๕๕๓ |
527292 | ระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการส่งเงิน การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงการขอรับเงินชดเชยและการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550
| ระเบียบกรมสรรพสามิต
ระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๕๓[๑]
เพื่ออนุวัตตามความในข้อ
๔ (๔) ข้อ ๘ วรรคสอง ข้อ ๑๐ วรรคสอง ข้อ ๑๒ วรรคสอง ข้อ ๑๓ วรรคสอง ข้อ ๑๓/๑
วรรคสอง ข้อ ๒๕ วรรคสอง และข้อ ๒๖ แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒๓
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๙/๒๕๔๙ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๗
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๕๓ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ระเบียบกระทรวงพลังงานว่าด้วยการฝากและการเบิกจ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.
๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
ประกอบกับเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน เมื่อวันที่ ๑๖
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๖ มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ครั้งที่ ๓/๒๕๔๘ (ครั้งที่ ๘)
เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ และมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ครั้งที่
๓/๒๕๕๐ (ครั้งที่ ๒๐) เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ อธิบดีกรมสรรพสามิต
จึงวางระเบียบปฏิบัติในการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุน น้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชยและการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน การยกเว้น การส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ
๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิก
๓.๑
ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๖
๓.๒
ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๒๔
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
๓.๓
ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๙
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
๓.๔
ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๕๐ ลงวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
๓.๕
ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน
การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๗
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
กองทุน หมายความว่า กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
น้ำมันเชื้อเพลิง หมายความว่า น้ำมันเบนซิน
น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันที่คล้ายกันหรือน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ที่คล้ายกัน
น้ำมันดิบสังเคราะห์ที่ใช้หรืออาจใช้เป็นวัตถุดิบในการกลั่นหรือผลิตให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้น
และให้หมายความรวมถึงก๊าซ ยางมะตอยและก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ด้วย
ก๊าซ หมายความว่า ก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ใช้เป็นก๊าซหุงต้มหรือก๊าซไฮโดรคาร์บอนเหลว
ซึ่งได้แก่ โปรเปน โปรปิลีน นอร์มัลบิวเทน ไอโซ -
บิวเทนหรือบิวทีลีนส์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันเป็นส่วนใหญ่
ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ หมายความว่า
ก๊าซปิโตรเลียม ซึ่งประกอบด้วยมีเทนเป็นส่วนใหญ่ เพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ
โดยมีลักษณะและคุณภาพตามประกาศกรมธุรกิจพลังงานที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง หมายความว่า
ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง ณ โรงกลั่นและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
โรงกลั่น หมายความว่า โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง
สถานที่ผลิตและจำหน่าย น้ำมันเชื้อเพลิงภายในราชอาณาจักร และให้หมายความรวมถึง
(๑)
โรงแยกก๊าซในราชอาณาจักรที่ผลิตและจำหน่ายก๊าซเพื่อใช้ในราชอาณาจักรและโรงอุตสาหกรรมเคมีปิโตรเลียมและสารละลาย
(๒)
จุดจำหน่ายของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ในราชอาณาจักร
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ข้อ
๕
อัตราเงินส่งเข้ากองทุนและอัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
และอัตราเงินชดเชยสำหรับไบโอดีเซล (B100)
ที่นำมาผสมกับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร ให้ใช้อัตรา ณ
วันที่นำน้ำมันเชื้อเพลิงหรือน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ผสมจากไบโอดีเซล (B100) ออกจากโรงกลั่น
ที่คณะกรรมการประกาศกำหนดส่วนอัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากการแปรรูปขยะพลาสติกที่รับเข้าโรงกลั่นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต
ให้ใช้อัตรา ณ วันที่รับเข้าโรงกลั่นที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ข้อ
๖
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุน
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนโดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
พร้อมกับการชำระภาษีสรรพสามิต
ข้อ
๗
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินชดเชยโดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินชดเชยสำหรับไบโอดีเซล
(B100) ที่นำมาผสมกับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินชดเชยโดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๕ ท้ายระเบียบนี้
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากการแปรรูปขยะพลาสติกที่รับเข้าโรงกลั่นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงที่รับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากการแปรรูปขยะพลาสติกเข้าโรงกลั่นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตขอรับเงินชดเชยโดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน
๒ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ข้อ
๘ ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงปฏิบัติ
ดังนี้
๘.๑
กรณีที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงนำน้ำมันเชื้อเพลิงออกจากโรงกลั่น
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุน
ตามชนิดและปริมาณที่นำออกจากโรงกลั่น
๘.๒
กรณีที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงนำน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งได้ส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุนแล้วมาผลิตใหม่โดยการผสมสารเติมแต่ง
(ADDITIVE)
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุนเฉพาะในส่วนของปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น
ข้อ
๙
ในกรณีมีการประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราเงินส่งเข้ากองทุนหรืออัตราเงินชดเชยหรือประกาศเปลี่ยนแปลงจากการกำหนดให้ได้รับเงินชดเชยเป็นการกำหนดให้ส่งเงินเข้ากองทุน
๙.๑
ถ้ามีการประกาศเปลี่ยนแปลงก่อนที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุน
และการเปลี่ยนแปลงนั้นกำหนดให้มีผลย้อนหลัง
(๑)
กรณีที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุน ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุน
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันประกาศเปลี่ยนแปลง
(๒)
กรณีที่ขอรับเงินชดเชย
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินชดเชยโดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
๙.๒
ถ้ามีการประกาศเปลี่ยนแปลงภายหลังจากที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงได้ส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุนแล้ว
(๑)
กรณีที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนเพิ่มหรือคืนเงินชดเชยที่ได้รับไปแล้วให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนเพิ่มหรือคืนเงินชดเชยที่ได้รับไปแล้ว
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔
ท้ายระเบียบนี้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันประกาศเปลี่ยนแปลงหรือวันที่ได้รับเงินชดเชย
แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง
(๒)
กรณีที่ขอรับเงินชดเชยเพิ่มหรือขอรับเงินคืน
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินชดเชยเพิ่มหรือขอคืนเงินที่ส่งเข้ากองทุนไปแล้ว
โดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ข้อ
๑๐ ในกรณีที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงได้รับเงินชดเชยสำหรับไบโอดีเซล
(B100)
ที่นำมาผสมกับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักรเกินกว่าจำนวนที่มีสิทธิได้รับเงินชดเชย
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งคืนเงินชดเชยที่ได้รับเกินกว่าจำนวนที่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยดังกล่าว
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต
ข้อ
๑๑
การส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกนอกราชอาณาจักร
๑๑.๑
ในกรณีที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่คณะกรรมการกำหนดให้มีการส่งเงินเข้ากองทุนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ให้ผู้ส่งออกได้รับการยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุน
แต่ถ้ามีการส่งเงินเข้ากองทุนไว้แล้วให้ขอคืนได้
ตามอัตราเงินกองทุนคืนที่คณะกรรมการประกาศกำหนด โดยให้ผู้ส่งออกยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน
๒ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
เว้นแต่กรณีที่คณะกรรมการกำหนดให้มีการส่งเงินเข้ากองทุนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
ให้ผู้ส่งออกส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรในอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้
๑๑.๒
ในกรณีที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่คณะกรรมการกำหนดให้ได้รับเงินชดเชยจากกองทุนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
ไม่ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรได้รับเงินชดเชย
แต่ถ้ามีการได้รับเงินชดเชยจากกองทุนแล้วให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุนไม่ว่าผู้ส่งออกนั้นจะเป็นผู้ได้รับเงินชดเชยหรือไม่
โดยให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุนตามอัตราเงินคืนกองทุนที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
พร้อมกับยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
๑๑.๓
ในกรณีที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่คณะกรรมการกำหนดให้มีการส่งเงินเข้ากองทุนสำหรับนํ้ามันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
และเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับเงินชดเชยจากกองทุนแล้ว
ให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุนและส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรในอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๓ ท้ายระเบียบนี้
๑๑.๔
ในการส่งเงินเข้ากองทุน และหรือการส่งเงินคืนกองทุน แล้วแต่กรณี ตามข้อ ๑๑.๑ ข้อ
๑๑.๒ และข้อ ๑๑.๓ ให้ผู้ส่งออกปฏิบัติ ดังนี้
(๑)
ในกรณีที่มีการยื่นคำขอยกเว้นหรือคืนภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
ให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุนและหรือส่งเงินเข้ากองทุน
แล้วแต่กรณีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกนอกราชอาณาจักร
(๒)
ในกรณีที่ไม่มีการยื่นคำขอยกเว้นหรือคืนภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
ให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุนและหรือส่งเงินเข้ากองทุน แล้วแต่กรณี
ก่อนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกนอกราชอาณาจักร
และให้ผู้ส่งออกนำใบเสร็จรับเงินกองทุนไปแสดงต่อพนักงานศุลกากร ณ
ด่านศุลกากรที่จะส่งออก
โดยใบเสร็จรับเงินนั้นต้องมีลายมือชื่อของเจ้าพนักงานสรรพสามิตที่ออกใบเสร็จ
ซึ่งระบุรายละเอียด ดังนี้
(ก)
ชนิดและปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะส่งออกนอกราชอาณาจักร
(ข)
จำนวนเงินที่ส่งเงินคืนกองทุนและหรือส่งเงินเข้ากองทุน แล้วแต่กรณี
(ค)
เลขที่ใบขนสินค้าขาออกหรือเลขที่ใบกำกับสินค้า (Invoice)
(ง)
วัน เดือน ปี ที่จะส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกนอกราชอาณาจักร
ข้อ
๑๒ กรณีที่มีการขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อนำไปขายหรือจำหน่ายต่อให้แก่ชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
๑๒.๑
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุน
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว
ส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขายหรือจำหน่ายในอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ภายในสิบวันนับจากวันที่นำน้ำมันเชื้อเพลิงออกจากโรงกลั่น
๑๒.๒
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราเงินชดเชย ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินชดเชย
โดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
๑๒.๓
ในกรณีที่ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว
มิได้นำน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับเงินชดเชยตาม ๑๒.๒
ไปขายหรือจำหน่ายต่อให้แก่ชาวประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
ให้ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นส่งเงินคืนกองทุนไม่ว่าผู้ประกอบการค้านํ้ามันเชื้อเพลิงนั้นจะเป็นผู้ได้รับเงินชดเชยหรือไม่
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบ
และบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงได้ขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับเงินชดเชยดังกล่าวให้แก่ผู้อื่น
ข้อ
๑๓ สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งให้แก่ผู้ซึ่งนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่น
ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุน แต่ถ้ามีการส่งเงินเข้ากองทุนแล้ว
ให้ขอคืนได้โดยให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ถ้าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะได้รับเงินชดเชยจากกองทุน
ไม่ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งส่งน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ผู้ซึ่งนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่นได้รับเงินชดเชย
แต่ถ้ามีการได้รับเงินชดเชยจากกองทุนแล้ว
ให้ส่งเงินคืนกองทุนพร้อมกับยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ก่อนนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่น
หากปรากฏว่าน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่นได้สูญหายหรือขาดจำนวนไปให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงหรือผู้ซึ่งนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่น
ส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเดียวกับการชำระภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูญหายหรือขาดจำนวนไปนั้น
การส่งเงินเข้ากองทุนหรือการขอรับเงินชดเชยจากกองทุนตามวรรคสาม
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงหรือผู้ซึ่งนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่น
ส่งเงินเข้ากองทุนพร้อมกับยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
หรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุนโดยยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้ แล้วแต่กรณี
พร้อมกับการชำระภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งสูญหายหรือขาดจำนวนไปนั้น
ข้อ
๑๔ การส่งเงินเข้ากองทุน
ให้ยื่นใบส่งเงินและชำระเงินเข้ากองทุนต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่รับชำระภาษี
หรือธนาคารพาณิชย์ที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนดให้เป็นที่รับชำระภาษีหรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต
http://www.excise.go.th
การส่งเงินตามข้อ
๑๑.๔ (๒) ให้ผู้ส่งออกส่งเงินพร้อมกับยื่นใบส่งเงินต่อสรรพสามิตพื้นที่ ณ
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่ด่านศุลกากรที่จะส่งออกตั้งอยู่
ข้อ
๑๕ การขอรับเงินจากกองทุน
ให้ยื่นใบขอรับเงินจำนวน ๒ ชุด ต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่รับชำระภาษี
หรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต http://www.excise.go.th
กรณีผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงินจากกองทุนสำหรับก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ให้ผู้ผลิตน้ำ
มันเชื้อเพลิงยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน ๒
พร้อมหลักฐานการจำหน่ายก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ หนังสือแสดงความยินยอมให้เจ้าพนักงานสรรพสามิตสามารถเข้าตรวจสอบภายในบริเวณโรงกลั่นได้
รวมถึงหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง และบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้ จำนวน
๒ ชุด ต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่โรงกลั่นตั้งอยู่
หรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต http://www.excise.go.th
กรณีผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงมีโรงกลั่นหลายแห่ง
หากมีความประสงค์ยื่นขอรับเงินรวม ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงยื่นเรื่องขออนุมัติต่อกรมสรรพสามิต
กรณีผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงยื่นใบส่งเงินและชำระเงินเข้ากองทุนสำหรับโรงกลั่นหลายแห่งรวมที่ธนาคารพาณิชย์ที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนดให้เป็นที่รับชำระภาษี
หากมีความประสงค์ยื่นขอรับเงินรวม ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงยื่นเรื่องขออนุมัติต่อกรมสรรพสามิต
ข้อ
๑๖ การขอรับเงินจากกองทุนตามข้อ ๑๕
ให้สรรพสามิตพื้นที่ที่รับคำขอรับเงินเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติให้จ่ายเงินทดรองจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชย
หรือผู้มีสิทธิได้รับเงินคืนจากกองทุน
ข้อ
๑๗
ให้สรรพสามิตพื้นที่ที่รับคำขอรับเงิน
ส่งใบขอรับเงินที่อนุมัติจ่ายเงินทดรองจ่ายแล้วจำนวน ๑ ชุด
ให้สำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี ๒
เพื่อตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
ให้สำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี
๒ ดำเนินการจัดส่งใบขอรับเงิน ซึ่งตรวจสอบแล้วให้สำนักบริหารการคลังและรายได้
เพื่อดำเนินการเขียนเช็คสั่งจ่ายเงินทดรองจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยหรือผู้มีสิทธิได้รับเงินคืนจากกองทุน
แล้วแต่กรณี
ข้อ
๑๘
เมื่อสรรพสามิตพื้นที่ได้รับเงินจากผู้มีหน้าที่ส่งเงินแล้ว
ให้นำเงินที่ได้รับชำระฝากเข้าบัญชี กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
(กระทรวงพลังงาน) ภายใน ๒ วันทำการนับแต่วันที่ได้รับเงินโดยมีสาขาที่รับฝากเงินและเลขที่บัญชี
ดังนี้
๑๘.๑
ธนาคารกรุงไทย สาขาถนนศรีอยุธยา เลขที่บัญชี ๐๑๓ - ๑ - ๑๓๐๒๗ - ๗
๑๘.๒
ธนาคารกรุงไทย สาขาศรีราชา เลขที่บัญชี ๒๐๘ - ๐ - ๐๗๘๑๔ - ๓
๑๘.๓
ธนาคารกรุงไทย สาขาระยอง เลขที่บัญชี ๒๑๘ - ๐ - ๐๘๓๑๖ - ๕
เมื่อดำเนินการนำเงินส่งเข้าบัญชีกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว
ให้จัดทำรายละเอียดพร้อมแนบสำเนาใบนำฝากเงิน (Pay-In-Slip)
และสำเนาใบส่งเงินส่งให้สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) ภายใน ๓
วันทำการนับแต่วันที่ได้นำเงินฝากเข้าบัญชีดังกล่าว
ข้อ
๑๙ ให้สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่
ทำรายงานสรุปการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
รายงานสรุปการขอรับเงินชดเชยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
และรายงานสรุปการส่งเงินคืนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ขอคืนภาษีสรรพสามิตเป็นรายเดือน
ส่งให้สำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี ๒
โดยทางเอกสารหรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต http://www.excise.go.th
ภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่มีการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การรับเงินชดเชยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงหรือการส่งเงินคืนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ขอคืนภาษีสรรพสามิต
ข้อ
๒๐
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนไม่ส่งเงินเข้ากองทุน
หรือส่งเงินเข้ากองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง
หรือไม่ส่งเงินคืนกองทุนภายในเวลาที่กำหนด สำหรับผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง ณ
โรงกลั่นและจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร และผู้ส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง
ให้ดำเนินการดังนี้
๒๐.๑
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนตรวจพบเองว่ามีกรณีดังกล่าวให้ผู้นั้นส่งเงินตามจำนวนที่ต้องส่ง
หรือตามจำนวนที่ขาด หรือตามจำนวนที่ต้องคืนเข้ากองทุนพร้อมทั้งเงินเพิ่ม
ในอัตราร้อยละสามต่อเดือนของจำนวนเงินดังกล่าว
นับแต่วันที่ครบกำหนดส่งเงินเข้ากองทุนจนกว่าจะครบ โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑
พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่รับชำระภาษี
หรือธนาคารพาณิชย์ที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนดให้เป็นที่รับชำระภาษี
หรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต http://www.excise.go.th
๒๐.๒
ในกรณีที่เจ้าพนักงานสรรพสามิตเป็นผู้ตรวจพบว่ามีกรณีดังกล่าว
ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเงินตามจำนวนที่ต้องส่งหรือตามจำนวนที่ขาด
หรือตามจำนวนที่ต้องส่งคืนเข้ากองทุน
พร้อมทั้งเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหกต่อเดือนของจำนวนเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ครบกำหนดส่งเงินเข้ากองทุนจนกว่าจะครบ
โดยยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน ๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๔ ท้ายระเบียบนี้ ต่อสรรพสามิตพื้นที่ที่รับชำระภาษี
หรือธนาคารพาณิชย์ที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนดให้เป็นที่รับชำระภาษีหรือยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพสามิต
http://www.excise.go.th ภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต
หากผู้มีหน้าที่ส่งเงินไม่ดำเนินการตามข้อ
๒๐.๒
ให้สรรพสามิตพื้นที่ดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเร็ว
เงินเพิ่มตามข้อ
๒๐.๑ และข้อ ๒๐.๒ ให้ถือว่าเป็นเงินที่ต้องส่งเข้ากองทุนด้วย
และในการคำนวณระยะเวลาเพื่อการคำนวณเงินเพิ่มตามข้อ ๒๐.๑ หรือข้อ ๒๐.๒ นั้น
หากมีเศษของเดือน ให้นับเป็นหนึ่งเดือน
ข้อ
๒๑
ใบขอรับเงินใดที่ได้ยื่นไว้ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ
และยังไม่มีการสั่งจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ผู้ยื่นคำขอนั้น
ให้ถือเป็นการยื่นใบขอรับเงินตามระเบียบนี้ โดยอนุโลม
ข้อ
๒๒
ให้ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี ๒
เป็นผู้รักษาการและวินิจฉัยสั่งการ ตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม
อธิบดีกรมสรรพสามิต
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แบบกองทุน ๑ ใบส่งเงิน
๒. แบบกองทุน ๒ ใบขอรับเงิน
๓. แบบกองทุน ๓ บัญชีสรุป
(ส่งเงินเข้ากองทุน/ส่งเงินคืนกองทุน) แสดงปริมาณ
และอัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
๔. แบบกองทุน ๔ บัญชีสรุป
(ส่งเงิน........./ขอรับเงิน.........) แสดงชนิด ปริมาณ อัตราของน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์น้ำมันที่นำออก/รับเข้าโรงกลั่น
๕. แบบกองทุน ๕ บัญชีสรุป (ขอรับเงินชดเชย)
แสดงชนิด ปริมาณ และอัตราของไบโอดีเซลที่นำมาผสมเป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
๖.
รายงานสรุปการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่.........................ประจำเดือน..................ปีงบประมาณ...............(Oil Fund ๑)
๗.
รายงานสรุปการรับเงินชดเชยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่.........................ประจำเดือน..................ปีงบประมาณ...............(Oil Fund ๒)
๘. รายงานสรุปการส่งเงินคืนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ขอคืนภาษีสรรพสามิต
ประจำเดือน.................................ปีงบประมาณ................. ณ
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่......................................................
(Oil Fund ๓)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๕ กันยายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๑๕ กันยายน ๒๕๕๓
อภิญญา/ปรับปรุง
๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๐๖ ง/หน้า ๑๐/๓ กันยายน ๒๕๕๓ |
463099 | ระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการส่งเงิน การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงการขอรับเงินชดเชยและการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546
| ระเบียบกรมสรรพสามิต
ระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชยและการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๖[๑]
เพื่ออนุวัตตามความในข้อ
๔ (๔) ข้อ ๘ วรรคสอง ข้อ ๑๐ วรรคสอง ข้อ ๑๒ วรรคสองและข้อ ๒๔ วรรคสอง แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๑/๒๕๔๖ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖ และระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการฝากและการเบิกจ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๑ ลงวันที่๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการฝากและการเบิกจ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ ลงวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๒ ประกอบกับเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน
เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๑ มติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์
๒๕๔๖ และมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ กรมสรรพสามิตจึงวางระเบียบการปฏิบัติในการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชยและการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖
ข้อ
๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ แห่งระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชยและการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๘ ในกรณีที่คณะกรรมการประกาศกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนและอัตราเงินชดเชยจากกองทุนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดเดียวกัน
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงนำอัตราเงินชดเชยจากกองทุนหักลบกับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดและจำนวนเดียวกันได้
และให้ส่งเงินหรือขอรับเงินชดเชยตามอัตราเงินส่วนต่างที่คงเหลือจากการหักลบกัน แล้วแต่กรณี
โดยยื่นใบส่งเงินและขอรับเงินชดเชยตามแบบกองทุน ๓ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบ และบัญชีสรุปตามแบบกองทุน
๕ ท้ายระเบียบนี้ พร้อมกับการชำระภาษีสรรพสามิต และให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงปฏิบัติ
ดังนี้
(๑)
กรณีที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงนำน้ำมันเชื้อเพลิงออกจากโรงกลั่น
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุน ตามชนิดและปริมาณที่นำออกจากโรงกลั่น
(๒)
กรณีที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงนำน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งได้ส่งเงินเข้ากองทุน
หรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุนแล้วมาผลิตใหม่ โดยการผสมสารเติมแต่ง (ADDITIVE) ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุนเฉพาะในส่วนของปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น
ข้อ
๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๑ แห่งระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๑ สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุน แต่ถ้ามีการส่งเงินเข้ากองทุนไว้แล้วให้ขอคืนได้
ตามอัตราเงินกองทุนคืนที่คณะกรรมการประกาศกำหนด โดยให้ผู้ส่งออกยื่นใบขอรับเงินตามแบบกองทุน
๒ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
ถ้าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะได้รับเงินชดเชยจากกองทุน
ไม่ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรได้รับเงินชดเชย แต่ถ้ามีการได้รับเงินชดเชยจากกองทุนแล้วให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุนไม่ว่าผู้ส่งออกนั้นจะเป็นผู้ได้รับเงินชดเชยหรือไม่
โดยให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุนตามอัตราเงินคืนกองทุนที่คณะกรรมการประกาศกำหนด พร้อมกับยื่นใบส่งเงินตามแบบกองทุน
๑ พร้อมหลักฐานที่ระบุในแบบและบัญชีสรุปตามแบบกองทุน ๔ ท้ายระเบียบนี้
การส่งเงินคืนกองทุนตามวรรคสอง
ให้ผู้ส่งออกปฏิบัติ ดังนี้
(๑)
ในกรณีที่มีการยื่นคำขอยกเว้นหรือคืนภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรนั้น
ให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกนอกราชอาณาจักร
(๒)
ในกรณีที่ไม่มีการยื่นคำขอยกเว้นหรือคืนภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
ให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุนก่อนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกนอกราชอาณาจักร
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
วิจิตร วงศ์วิวัฒน์
รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพสามิต
[เอกสารแนบท้าย]
๑ ใบส่งเงินและขอรับเงินชดเชย(แบบกองทุน ๓)
๒ บัญชีสรุป(การส่งเงินและขอรับเงินชดเชย)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๘
อภิญญา/ปรับปรุง
๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอน ๘๖ ง/หน้า ๒๑/๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๘ |
321842 | ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 | ระเบียบกรมสรรพสามิต
ระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงิน
การขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย
และการขอรับเงินคืนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ.
๒๕๔๒
-----------
เพื่ออนุวัตตามความในข้อ
๘ วรรคสอง ข้อ ๑๐ วรรคสอง ข้อ ๑๒ วรรคสอง
และข้อ ๒๓ วรรคสอง แห่งคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๔๐
เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไข
และป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๑๒
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๐ และระเบียบ
กระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการฝากและการเบิกจ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๑ ลงวันที่
๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการฝากและการเบิก
จ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๔๒
ลงวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๒ ประกอบ
กับเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน
ในการประชุมเมื่อวันที่ ๑๖
ธันวาคม ๒๕๔๑
กรมสรรพสามิต จึงวางระเบียบการปฏิบัติในการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมัน
เชื้อเพลิง การขอรับเงินชดเชย การขอรับเงินคืน
และการขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมัน
เชื้อเพลิงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
"ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการส่งเงิน การขอ
ยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชย และการขอรับเงินคืนจากกองทุน
น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒"
ข้อ
๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันออกประกาศเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรมสรรพสามิต
ว่าด้วยการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมัน
เชื้อเพลิง
การขอรับเงินชดเชยและการขอยกเว้นการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.
๒๕๓๙ ลงวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๙
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
"กองทุน"
หมายความว่า กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
"น้ำมันเชื้อเพลิง"
หมายความว่า น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา
และน้ำมันที่คล้ายกันหรือน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ที่คล้ายกัน
และให้หมายความรวมถึงก๊าซด้วย
"ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง"
หมายความว่า ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง ณ โรงกลั่นและ
จำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
"โรงกลั่น"
หมายความว่า โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง สถานที่ผลิตและจำหน่ายน้ำมัน
เชื้อเพลิงภายในราชอาณาจักร
และให้หมายความรวมถึงโรงแยกก๊าซในราชอาณาจักรที่ผลิตและ
จำหน่ายก๊าซเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
และโรงอุตสาหกรรมเคมีปิโตรเลียมและสารสะลายด้วย
"ผู้ส่งออก"
หมายความว่า ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกนอก
ราชอาณาจักร
หรือผู้ที่ซื้อหรือรับน้ำมันเชื้อเพลิงจากผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อส่งออกนอก
ราชอาณาจักร แล้วแต่กรณี
"เอกสารประกอบ"
หมายความว่า บัญชีสรุปแสดงชนิด ปริมาณ อัตราเงินส่งเข้า
กองทุนหรืออัตราเงินชดเชยสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำออกจากโรงกลั่น
และเอกสารอื่น ๆ ที่
กำหนดในแนบท้ายระเบียบนี้
ข้อ
๕
อัตราเงินส่งเข้ากองทุนและอัตราเงินชดเชย สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิต
และจำหน่ายเพื่อใช้ในราชอาณาจักรให้ใช้อัตรา ณ
วันที่นำน้ำมันเชื้อเพลิงออกจากโรงกลั่น ซึ่ง
กำหนดโดยประกาศคณะกรรมการตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๑/๒๕๔๐
เรื่อง กำหนดมาตรการ
เพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
ลงวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๐
ข้อ
๖ การส่งเงิน การส่งเงินเพิ่ม
และการส่งเงินคืนเข้ากองทุน ให้ผู้ผลิตน้ำมัน
เชื้อเพลิงยื่นส่งเงินตามแบบใบส่งเงินท้ายระเบียบนี้
ข้อ
๗ การขอรับเงินชดเชย
การขอรับเงินชดเชยเพิ่ม และการขอรับเงินคืนจาก
กองทุน ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง
หรือผู้ส่งออกยื่นขอรับเงินตามแบบใบขอรับเงินท้ายระเบียบนี้
ข้อ
๘
ในกรณีที่มีการกำหนดอัตราส่งเงินเข้ากองทุนหรืออัตราเงินชดเชยให้
ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนโดยยื่นใบส่งเงินตามข้อ
๖ และเอกสารประกอบพร้อมกับ
การยื่นแบบรายการภาษีสรรพสามิต
หรือขอรับเงินชดเชยโดยยื่นใบขอรับเงินตามข้อ ๗ และ
เอกสารประกอบ แล้วแต่กรณี
ข้อ
๙
ในกรณีที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนเพิ่มหรือคืนเงินชดเชยที่ได้รับไปแล้วเมื่อ
มีการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินส่งเข้ากองทุนหรืออัตราเงินชดเชย
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้า
กองทุนเพิ่ม หรือคืนเงินชดเชยที่ได้รับไปแล้ว
พร้อมกับยื่นใบส่งเงินตามข้อ ๖ และเอกสาร
ประกอบภายในสิบห้าวันนับแต่วันประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราหรือวันที่ได้รับเงินชดเชย
แล้วแต่
วันใดจะเป็นวันหลัง
ข้อ
๑๐
ในกรณีที่ขอรับเงินชดเชยเพิ่มหรือขอคืนเงินที่ส่งเข้ากองทุนไปแล้วเมื่อมี
การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินชดเชยหรืออัตราเงินส่งเข้ากองทุน
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงขอรับเงิน
ชดเชยเพิ่ม หรือขอคืนเงินที่ส่งเข้ากองทุนไปแล้ว
โดยยื่นใบขอรับเงินตามข้อ ๗ และเอกสาร
ประกอบ
ข้อ
๑๑
สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร ให้ได้รับการยกเว้น
การส่งเงินเข้ากองทุน
แต้ถ้ามีการส่งเงินเข้ากองทุนไว้แล้วให้ขอคืนได้ โดยให้ผู้ส่งออกยื่นใบ
ขอรับเงินตามข้อ ๗ และเอกสารประกอบ
ถ้าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะได้รับเงินชดเชยจากกองทุน
ไม่ให้ผู้ส่งออกได้รับเงิน
ชดเชย
แต่ถ้ามีการได้รับเงินชดเชยจากกองทุนแล้วให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองุทน
ไม่ว่าผู้ส่งออกนั้น
จะเป็นผู้ได้รับเงินชดเชยหรือไม่
การคืนเงินชดเชยที่ได้รับไปแล้วตามวรรคสอง
ให้ผู้ส่งออกส่งเงินคืนกองทุน
พร้อมกับยื่นใบส่งเงินตามข้อ ๖
และเอกสารประกอบภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่มีการได้รับเงิน
ชดเชยจากกองทุน
หรือวันที่ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกนอกราชอาณาจักรแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง
ข้อ
๑๒
สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงส่งให้แก่ผู้ซึ่งนำน้ำมัน
เชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่น
โดยได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ให้ได้รับการยกเว้น
การส่งเงินเข้ากองทุนด้วย แต่ถ้ามีการส่งเงินเข้ากองทุนแล้ว
ให้ขอคืนได้โดยให้ผู้ผลิตน้ำมัน
เชื้อเพลิงยื่นใบขอรับเงินตามข้อ ๗ และเอกสารประกอบ
ถ้าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะได้รับเงินชดเชยจากกองทุน
ไม่ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อ
เพลิงซึ่งส่งน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ผู้ซึ่งนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่นได้รับเงิน
ชดเชย แต่ถ้ามีการได้รับเงินชดเชยจากกองทุนแล้ว
ให้ส่งเงินคืนกองทุนพร้อมกับยื่นใบส่งเงินตาม
ข้อ ๖ และเอกสารประกอบ
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับเงินชดเชยจากกองทุน
หากปรากฏว่าน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่นได้สูญหายหรือ
ขาดจำนวนไป
ให้ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงหรือผู้ซึ่งนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่น
ส่งเงินเข้ากองทุนหรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุน แล้วแต่กรณี
ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ
และเงื่อนไขเดียวกับการเสียภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูญหายหรือขาด
จำนวนไปนั้น
การส่งเงินเข้ากองทุน
หรือการขอรับเงินชดเชยจากกองทุนตามวรรคสามให้
ผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงหรือผู้ซึ่งนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่นส่งเงินเข้ากองทุน
พร้อมกับยื่นใบส่งเงินตามข้อ ๖ และเอกสารประกอบ
หรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุน โดยยื่นใบ
ขอรับเงินตามข้อ ๗ และเอกสารประกอบ แล้วแต่กรณี
พร้อมกับการยื่นเสียภาษีสรรพสามิต
สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งสูญหายหรือขาดจำนวนไปนั้น
ข้อ
๑๓
การส่งเงินเข้ากองทุนเฉพาะกรณีที่ต้องยื่นผ่านกรมสรรพสามิตในเขต
กรุงเทพมหานคร
ให้ยื่นใบส่งเงินและชำระเงินโดยตรงที่กองรายได้ หรือธนาคารพาณิชย์ ที่กรม
สรรพสามิตประกาศกำหนด และการขอรับเงินจากกองทุน
ให้ยื่นใบขอรับเงิน ณ กรมสรรพสามิต
สำหรับผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงที่ชำระในส่วนภูมิภาค
ให้ยื่นใบส่งเงินและชำระเงิน
เข้ากองทุน และยื่นใบขอรับเงินจากกองทุน ณ
สำนักงานสรรพสามิตจังหวัด สำนักงานสรรพสามิต
อำเภอหรือกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี
ข้อ
๑๔ การขอรับเงินจากกองทุนตามข้อ ๑๓
ให้ผู้อำนวยการสำนักบริหาร
การจัดเก็บภาษี ๒
เป็นผู้มีอำนาจในการสั่งจ่ายเงินทดรองจ่ายให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชย หรือผู้มี
สิทธิได้รับเงินคืนจากกองทุน และส่งให้กองคลัง
เพื่อดำเนินการเขียนเช็คสั่งจ่ายเงินทดรองจ่ายให้
แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชย หรือผู้มีสิทธิได้รับเงินคืนจากกองทุน
แล้วแต่กรณี
ข้อ
๑๕
ใบขอรับเงินใดที่ได้ยื่นไว้ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ
และยังไม่มีการสั่งจ่ายเงิน
จากกองทุนให้แก่ผู้ยื่นคำขอนั้น ให้ถือเป็นการยื่นใบขอรับเงินตามระเบียบนี้โดยอนุโลม
ข้อ
๑๖
ให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารการจัดเก็บภาษี ๒ เป็นผู้รักษาการตาม
ระเบียบนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
สมชัย ฤชุพันธุ์
อธิบดีกรมสรรพสามิต
[ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย]
[รก.๒๕๔๒/๕๑ง/๑๔/๒๙ มิถุนายน ๒๕๔๒]
พรพิมล/แก้ไข
๑๑
ก.ค ๒๕๔๔ |
773813 | พระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 (ฉบับ Update ล่าสุด) | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
กองทุนการออมแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๕๔
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ
วันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เป็นปีที่ ๖๖
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ และมาตรา ๔๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
เว้นแต่บทบัญญัติแห่งหมวด ๓
ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามร้อยหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
กองทุน หมายความว่า
กองทุนการออมแห่งชาติ
สมาชิก หมายความว่า
สมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ
เงินสะสม หมายความว่า
เงินที่สมาชิกสะสมเข้ากองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
เงินสมทบ หมายความว่า
เงินที่รัฐบาลจ่ายสมทบเงินสะสมเข้ากองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
บำนาญ หมายความว่า
เงินที่จ่ายให้แก่สมาชิกเป็นรายเดือนเมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้ว
เงินดำรงชีพ หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่สมาชิกเป็นรายเดือนแทนเงินบำนาญ
ทุพพลภาพ หมายความว่า
การสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรือของร่างกาย
หรือการสูญเสียสภาวะปกติของจิตใจ จนไม่สามารถทำงานได้ ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการแพทย์ตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมกำหนด
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ
กรรมการ หมายความว่า
กรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ
พนักงานเจ้าหน้าที่
หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
เลขาธิการ หมายความว่า
เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ
รัฐมนตรี หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้กับให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงและประกาศ
และแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
การจัดตั้งกองทุนและลักษณะของกิจการกองทุน
มาตรา ๕
ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า กองทุนการออมแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า
กอช.
ให้กองทุนเป็นหน่วยงานของรัฐและมีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
กองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิกและเพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนแก่สมาชิกเมื่อสิ้นสมาชิกภาพ
รายได้ของกองทุนไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
มาตรา ๖
กิจการของกองทุนไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
และกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม
มาตรา ๗ กองทุนประกอบด้วยทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้
(๑) เงินสะสม
(๒) เงินสมทบ
(๓) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
(๔) เงินที่รัฐบาลจัดสรรให้
(๕) รายได้อื่น
(๖) ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
มาตรา ๘
ให้กองทุนมีสำนักงานใหญ่ ณ สถานที่ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
และจะจัดตั้งสาขาหรือตัวแทนขึ้น ณ ที่อื่นใดตามความจำเป็นก็ได้
มาตรา ๙ ให้กองทุนมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ
ภายในขอบวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕ และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง
(๑) ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ
(๒) ก่อตั้งสิทธิหรือทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งในและนอกราชอาณาจักร
(๓) ลงทุนหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุน
(๔) กระทำการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
มาตรา ๑๐ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน
ให้จ่ายจากเงินของกองทุนในบัญชีเงินกองกลางตามมาตรา ๔๖ (๓) ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
หมวด ๒
การควบคุมและการบริหาร
มาตรา ๑๑ ให้มีคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติคณะหนึ่ง
เรียกโดยย่อว่า คณะกรรมการ กอช. ประกอบด้วย
ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ
ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงแรงงาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
สมาชิกที่ได้รับเลือกตามมาตรา ๑๒ จำนวนหกคน ผู้รับบำนาญที่ได้รับเลือกตามมาตรา ๑๒
จำนวนหนึ่งคน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คน โดยในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
ด้านบัญชี ด้านการเงินและการลงทุน และด้านสวัสดิการชุมชนด้านละหนึ่งคน เป็นกรรมการ
ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ
มาตรา ๑๒
การเลือกกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกและกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
โดยคำนึงถึงการกระจายตัวในทุกภูมิภาคและความเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิง ทั้งนี้
จะให้มีการขึ้นบัญชีไว้สำหรับผู้ได้รับคะแนนถัดไปจากผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกหรือกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญเพื่อประโยชน์ตามมาตรา
๑๗ วรรคหนึ่ง ด้วยก็ได้
มาตรา ๑๓ ให้ประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง
กรรมการซึ่งเป็นสมาชิกและกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญประชุมร่วมกัน
เพื่อเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
มาตรา ๑๔ กรรมการซึ่งเป็นสมาชิก
กรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีสัญชาติไทยและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๒) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(๓) เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
ไม่ว่าจะมีการรอการลงโทษหรือไม่ก็ตาม
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๔) เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษา
หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวไม่น้อยกว่าสามปี
(๕) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของกองทุน
(๖) เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับกองทุน
หรือในกิจการที่กระทำให้แก่กองทุนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม
เว้นแต่เป็นผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายให้เป็นกรรมการในบริษัทที่กองทุนเป็นผู้ถือหุ้น
(๗) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ
หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจหรือจากหน่วยงานเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่
มาตรา ๑๕ ให้กรรมการซึ่งเป็นสมาชิก
กรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี
กรรมการตามวรรคหนึ่งซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับเลือกอีกได้
แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
ในกรณีที่กรรมการซึ่งเป็นสมาชิก กรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการขึ้นใหม่ภายในหกสิบวัน
ในระหว่างที่ยังมิได้มีการเลือกกรรมการขึ้นใหม่
ให้กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไป
จนกว่ากรรมการที่ได้รับเลือกใหม่เข้ารับหน้าที่
มาตรา ๑๖ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๕
กรรมการซึ่งเป็นสมาชิกกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) พ้นจากสมาชิกภาพ กรณีกรรมการซึ่งเป็นสมาชิก
(๔) มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
กรณีกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
(๕) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๔
(๖)
คณะกรรมการมีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด
มาตรา ๑๗
ในกรณีที่กรรมการซึ่งเป็นสมาชิกหรือกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญผู้ใดพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
ให้ผู้ซึ่งได้คะแนนถัดไปซึ่งขึ้นบัญชีไว้ในการเลือกกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกหรือกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญเป็นกรรมการแทน
ในกรณีที่ไม่มีผู้ขึ้นบัญชีไว้ให้ดำเนินการเลือกกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกหรือกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญขึ้นใหม่ตามมาตรา
๑๒
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ตามมาตรา ๑๓ แทนตำแหน่งที่ว่าง
ให้กรรมการผู้ได้รับการเลือกให้ดำรงตำแหน่งแทนตามวรรคหนึ่งและวรรคสองอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่วาระการดำรงตำแหน่งเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
จะไม่เลือกกรรมการขึ้นดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
มาตรา ๑๘
การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมของคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
การออกเสียงลงมติแต่งตั้งหรือเลิกจ้างเลขาธิการต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่อยู่ในตำแหน่ง
มาตรา ๑๙
ประธานกรรมการและกรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณาให้แจ้งการมีส่วนได้เสียนั้นและห้ามมิให้เข้าร่วมพิจารณาในเรื่องนั้น
มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดนโยบาย และออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
และคำสั่งในการบริหารกิจการของกองทุน
(๒) กำหนดนโยบายการลงทุนของกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
(๓) กำกับดูแลการบริหารกิจการของกองทุน
(๔) ออกข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติงานของเลขาธิการและรองเลขาธิการด้านการลงทุนและการมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนเลขาธิการและรองเลขาธิการด้านการลงทุน
(๕) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการรับ เก็บรักษา
และจ่ายเงินของกองทุน
(๖) พิจารณามอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นจัดการเงินของกองทุน
(๗) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
(๘) ออกระเบียบ คำสั่ง และข้อบังคับเกี่ยวกับการพนักงาน
ระบบพนักงานสัมพันธ์ การบรรจุแต่งตั้ง ถอดถอน
และวินัยพนักงานและลูกจ้างของกองทุน การกำหนดเงินเดือนและเงินอื่น ๆ
รวมตลอดถึงการสงเคราะห์และสวัสดิการต่าง ๆ
(๙) เสนอแนะต่อรัฐมนตรีในการปรับปรุงอัตราเงินสะสมและเงินสมทบ
(๑๐)
ปฏิบัติงานอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๑ ให้มีคณะอนุกรรมการการลงทุน ประกอบด้วย
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นประธานอนุกรรมการ
ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย
ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เลขาธิการ
และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คนซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความสามารถและมีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ระบบไร้ดอกเบี้ยด้านการเงินและการลงทุน หรือด้านกฎหมาย เป็นอนุกรรมการ
และรองเลขาธิการด้านการลงทุน เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
มาตรา ๒๒ ให้คณะอนุกรรมการการลงทุนมีอำนาจหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(๑) ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการลงทุนต่อคณะกรรมการ
(๒) ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่จะมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุน
(๓)
ติดตามดูแลการดำเนินงานของสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุน
(๔) รายงานผลการดำเนินการด้านการลงทุนและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการ
(๕) ปฏิบัติการในเรื่องอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๒๓ ให้นำมาตรา ๑๕ มาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘
และมาตรา ๑๙ มาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
และการประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
มาตรา ๒๔ ให้ประธานกรรมการ กรรมการ
ประธานอนุกรรมการ และอนุกรรมการได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
และให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายของกองทุน
มาตรา ๒๕
ให้คณะกรรมการแต่งตั้งเลขาธิการโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีและให้คณะกรรมการแต่งตั้งรองเลขาธิการด้านการลงทุน
การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการกำหนดเงื่อนไขในการทดลองปฏิบัติงานหรือการทำงานในหน้าที่เลขาธิการและรองเลขาธิการด้านการลงทุน
ให้เป็นไปตามสัญญาจ้างที่คณะกรรมการกำหนด โดยให้มีอายุการจ้างคราวละไม่เกินสี่ปี
และเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาจ้างแล้วคณะกรรมการจะต่ออายุสัญญาจ้างอีกก็ได้แต่ต้องไม่เกินสี่ปี
การทำสัญญาจ้าง ให้ประธานกรรมการเป็นผู้มีอำนาจทำสัญญาในนามกองทุน
ให้เลขาธิการและรองเลขาธิการด้านการลงทุนได้รับเงินค่าจ้าง
ค่าตอบแทนและเงินอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
มาตรา ๒๖
เลขาธิการและรองเลขาธิการด้านการลงทุนต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์ในวันที่ได้รับการแต่งตั้ง
(๓) สามารถปฏิบัติงานให้แก่กองทุนได้เต็มเวลา
(๔) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๔ (๑) (๒) (๓) (๔) (๖) และ (๗)
มาตรา ๒๗ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามอายุการจ้าง
เลขาธิการและรองเลขาธิการด้านการลงทุนพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๖
(๔)
คณะกรรมการมีมติให้เลิกจ้างโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีสำหรับกรณีเลขาธิการและคณะกรรมการมีมติให้เลิกจ้างสำหรับกรณีรองเลขาธิการด้านการลงทุน
มาตรา ๒๘ ให้เลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของกองทุนและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
และตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายที่คณะกรรมการกำหนด
เลขาธิการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการบริหารกิจการของกองทุน
มาตรา ๒๙
ในกิจการของกองทุนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้เลขาธิการเป็นผู้แทนของกองทุน
การปฏิบัติงานของเลขาธิการและการมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนเลขาธิการให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด
นิติกรรมที่กระทำโดยฝ่าฝืนข้อบังคับตามวรรคสอง ย่อมไม่ผูกพันกองทุน
เว้นแต่คณะกรรมการจะให้สัตยาบัน
หมวด ๓
สมาชิกและสิทธิประโยชน์ของสมาชิก
มาตรา ๓๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๙
ให้บุคคลสัญชาติไทยซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์
และไม่เป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม ซึ่งส่งเงินเพื่อได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ
สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
หรือเป็นสมาชิกกองทุนหรืออยู่ในระบบบำนาญอื่นตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวงมีสิทธิเป็นสมาชิกของกองทุน
มาตรา ๓๑ บุคคลตามมาตรา ๓๐
อาจสมัครเป็นสมาชิกของกองทุนได้โดยแสดงความจำนงพร้อมกับการจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน
ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าเดือนละห้าสิบบาท แต่ไม่เกินจำนวนที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
การสมัครเป็นสมาชิกและการจ่ายเงินสะสม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
มาตรา ๓๒
ให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบตามระดับอายุของผู้เป็นสมาชิกและเป็นอัตราส่วนกับจำนวนเงินสะสมตามบัญชีเงินสมทบท้ายพระราชบัญญัตินี้
เงินสมทบตามวรรคหนึ่งเมื่อรวมกันแล้วในปีหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกินจำนวนเงินสมทบสูงสุดที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
ซึ่งต้องไม่เกินจำนวนเงินสมทบสูงสุดตามบัญชีเงินสมทบท้ายพระราชบัญญัตินี้
โดยให้มีการพิจารณาทบทวนกฎกระทรวงตามมาตรานี้ทุกห้าปี
ในกรณีที่สมาชิกไม่จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน
ให้สมาชิกรายนั้นยังคงการเป็นสมาชิกต่อไปแต่รัฐบาลไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำหรับสมาชิกรายนั้น
การจ่ายเงินสมทบ ให้จ่ายภายในสิ้นเดือนถัดจากเดือนที่สมาชิกจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน
มาตรา ๓๓ สมาชิกสิ้นสมาชิกภาพเมื่อ
(๑) อายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
(๒) ตาย
(๓) ลาออกจากกองทุน
มาตรา ๓๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๕ ในกรณีที่สมาชิกสิ้นสมาชิกภาพเพราะอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
ให้สมาชิกผู้นั้นมีสิทธิได้รับบำนาญจากกองทุนจนตลอดชีวิต
บำนาญตามวรรคหนึ่ง ให้คำนวณจากเงินสะสม เงินสมทบ
และผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบที่โอนไปเข้าบัญชีเงินบำนาญตามมาตรา ๔๗
พร้อมกับประมาณการเงินผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในภายหลังจากเงินในบัญชีเงินบำนาญนั้น
โดยให้เพียงพอกับการจ่ายบำนาญให้แก่สมาชิกได้จนถึงอายุครบแปดสิบปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
มาตรา ๓๕ ในกรณีเงินบำนาญที่คำนวณได้ตามมาตรา ๓๔
วรรคสอง มีจำนวนน้อยกว่าจำนวนเงินบำนาญขั้นต่ำที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
ให้งดจ่ายเงินบำนาญแต่ให้จ่ายเป็นเงินดำรงชีพจากเงินในบัญชีเงินบำนาญของสมาชิกเท่ากับจำนวนเงินบำนาญขั้นต่ำนั้นจนกว่าเงินในบัญชีเงินบำนาญจะหมด
มาตรา ๓๖
ในกรณีสมาชิกสิ้นสมาชิกภาพเพราะถึงแก่ความตายก่อนอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ ให้จ่ายเงินสะสม
เงินสมทบ
และผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบของผู้นั้นทั้งหมดจากกองทุนให้แก่บุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ต่อกองทุนตามแบบและวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดเว้นแต่มิได้แสดงเจตนาไว้ให้จ่ายแก่ทายาท
ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) บุตรให้ได้รับสองส่วน
แต่ถ้าผู้ตายมีบุตรตั้งแต่สามคนขึ้นไปให้ได้รับสามส่วน
(๒) สามีหรือภริยาให้ได้รับหนึ่งส่วน
(๓) บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ให้ได้รับหนึ่งส่วน
ในกรณีที่ไม่มีทายาทในอนุมาตราใด
หรือทายาทนั้นได้ถึงแก่ความตายไปก่อนให้แบ่งเงินดังกล่าวระหว่างทายาทผู้มีสิทธิในอนุมาตราที่มีทายาทผู้มีสิทธิได้รับ
ในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้และไม่มีทายาทตามวรรคหนึ่ง
หรือบุคคลนั้นได้ถึงแก่ความตายไปก่อน ให้เงินสะสม เงินสมทบ
และผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบนั้นตกเป็นของกองทุน
มาตรา ๓๗ ในกรณีที่สมาชิกทุพพลภาพก่อนอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
ซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าทุพพลภาพ
สมาชิกจะขอรับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสมทั้งหมดหรือบางส่วนจากกองทุนก็ได้
การขอรับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสมเพราะเหตุทุพพลภาพตามวรรคหนึ่ง
ให้ขอรับได้เพียงครั้งเดียว
มาตรา ๓๘
ในกรณีที่สมาชิกสิ้นสมาชิกภาพเพราะลาออกจากกองทุน
ให้สมาชิกมีสิทธิได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสมจากกองทุน
ส่วนเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบให้ตกเป็นของกองทุน
มาตรา ๓๙
เมื่อสมาชิกรายใดเป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมซึ่งส่งเงินเพื่อได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ
สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
หรือเป็นสมาชิกกองทุนหรืออยู่ในระบบบำนาญอื่นตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวงตามมาตรา ๓๐
ก่อนสิ้นสมาชิกภาพ
ให้สมาชิกรายนั้นคงการเป็นสมาชิกต่อไปได้และสมาชิกจะจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนก็ได้
แต่รัฐบาลไม่ต้องจ่ายเงินสบทบเข้ากองทุน
เมื่อสมาชิกสิ้นสมาชิกภาพ ให้กองทุนจ่ายเงินสะสมที่สมาชิกจ่ายตามวรรคหนึ่ง
พร้อมทั้งผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินดังกล่าวให้แก่สมาชิกรายนั้นทั้งจำนวน
โดยไม่ต้องนำเงินดังกล่าวไปรวมคำนวณบำนาญตามมาตรา ๓๔
และคำนวณเพื่อจ่ายเงินชดเชยตามมาตรา ๔๔ ด้วย
มาตรา ๔๐
การจ่ายเงินบำนาญที่สมาชิกจะได้รับตามมาตรา ๓๔ การจ่ายเงินดำรงชีพตามมาตรา ๓๕
การจ่ายเงินกรณีสมาชิกถึงแก่ความตายตามมาตรา ๓๖
การจ่ายเงินกรณีสมาชิกทุพพลภาพตามมาตรา ๓๗
การจ่ายเงินกรณีสมาชิกลาออกจากกองทุนตามมาตรา ๓๘
การจ่ายเงินกรณีสมาชิกสิ้นสมาชิกภาพตามมาตรา ๓๙
และการจ่ายเงินกรณีผู้รับบำนาญหรือผู้รับเงินดำรงชีพถึงแก่ความตายตามมาตรา ๔๙
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
มาตรา ๔๑
สิทธิการรับเงินทั้งปวงตามพระราชบัญญัตินี้เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่อาจโอนแก่กันได้
มาตรา ๔๒
การหาประโยชน์ของกองทุนให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการ
และกองทุนจะมอบหมายให้บุคคลใดดำเนินการแทนตามความเหมาะสมก็ได้
การมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนภายในประเทศนั้น
กองทุนจะต้องมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนไม่น้อยกว่าสองแห่ง
ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุน
ทั้งนี้ โดยให้คำนึงถึงการกระจายความเสี่ยงด้วย
และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการหาประโยชน์ของกองทุนภายในประเทศ
ให้ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนมีหน้าที่และอยู่ในบังคับบทบัญญัติต่าง
ๆ ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เสมือนหนึ่งกองทุนเป็นกองทุนส่วนบุคคล
การมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนในต่างประเทศนั้น
กองทุนจะต้องมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนในต่างประเทศ
ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ
เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุน
การให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนในประเทศหรือในต่างประเทศ
คุณสมบัติของผู้ได้รับมอบหมาย วิธีจัดการ และค่าใช้จ่ายในการจัดการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
มาตรา ๔๓
เงินของกองทุนให้ลงทุนได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยกฎกระทรวงซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบ
มาตรา ๔๔ ในวันที่สมาชิกสิ้นสมาชิกภาพตามมาตรา ๓๓
(๑) หรือ (๒)
ถ้าผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบที่ได้รับตลอดช่วงอายุการเป็นสมาชิกคำนวณได้น้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำประเภทสิบสองเดือนโดยเฉลี่ยของธนาคารออมสิน
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและธนาคารพาณิชย์แห่งใหญ่ห้าแห่งตามที่คณะกรรมการกำหนด
ให้กองทุนจ่ายชดเชยให้แก่สมาชิกเพื่อให้ได้ผลประโยชน์เท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่คำนวณได้ข้างต้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
การจ่ายชดเชยตามวรรคหนึ่ง
ให้กองทุนจ่ายจากเงินในบัญชีเงินกองกลางตามมาตรา ๔๖ (๓)
หมวด ๔
การเงินและการบัญชี
มาตรา ๔๕
กองทุนต้องจัดให้มีระบบบัญชีที่เหมาะสมเพื่อบันทึกรายการทางบัญชีและแสดงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกองทุนโดยถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี
รวมทั้งต้องจัดให้มีการตรวจสอบภายในเป็นประจำตลอดจนรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา ๔๖ ให้กองทุนจัดให้มีบัญชี ประกอบด้วย
(๑) บัญชีเงินรายบุคคลซึ่งแสดงรายการเงินสะสม เงินสมทบ
และผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบบรรดาที่เป็นของสมาชิกแต่ละคน
(๒) บัญชีเงินบำนาญซึ่งแสดงรายการเงินสะสม เงินสมทบ
และผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบที่โอนมาจากบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพสำหรับจ่ายบำนาญหรือจ่ายเงินดำรงชีพให้แก่สมาชิกผู้นั้น
(๓) บัญชีเงินกองกลางซึ่งแสดงรายการเงินที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามมาตรา ๗
(๔) เงินที่มีผู้บริจาคให้ เงินตามบัญชีเงินรายบุคคลที่ไม่มีผู้รับ
เงินและทรัพย์สินของกองทุนในส่วนที่มิใช่ของสมาชิกผู้รับบำนาญ
หรือผู้รับเงินดำรงชีพคนใด และดอกผลของเงินและทรัพย์สินดังกล่าว
มาตรา ๔๗
เมื่อสมาชิกผู้ใดสิ้นสมาชิกภาพเพราะอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
ให้โอนเงินจากบัญชีเงินรายบุคคลตามมาตรา ๔๖ (๑)
ของสมาชิกผู้นั้นมาเข้าบัญชีเงินบำนาญเพื่อใช้จ่ายเป็นบำนาญตามที่คำนวณได้ตามมาตรา
๓๔ หรือจ่ายเป็นเงินดำรงชีพตามมาตรา ๓๕ ให้แก่สมาชิกผู้นั้น
มาตรา ๔๘
ในกรณีที่เงินในบัญชีเงินบำนาญของผู้รับบำนาญผู้ใดมีคงเหลือไม่เพียงพอจ่ายบำนาญ
ให้จ่ายบำนาญจากเงินของบัญชีเงินกองกลาง
มาตรา ๔๙ ในกรณีที่ผู้รับบำนาญหรือผู้รับเงินดำรงชีพตายและยังมีเงินคงเหลือในบัญชีเงินบำนาญของผู้นั้น
ให้จ่ายเงินที่เหลือนั้นแก่บุคคลตามมาตรา ๓๖ โดยอนุโลม
มาตรา ๕๐
ดอกผลที่ได้จากการนำเงินของกองทุนในแต่ละบัญชีไปลงทุนหาผลประโยชน์เมื่อได้หักไว้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุนตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนดแล้วที่เหลือให้ดำเนินการจัดสรรดังนี้
(๑) ดอกผลของการนำเงินของบัญชีเงินรายบุคคลไปลงทุน
ให้จัดสรรเป็นผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบของเงินที่มีอยู่ในบัญชีของสมาชิกแต่ละคน
(๒) ดอกผลของการนำเงินของบัญชีเงินบำนาญของผู้รับบำนาญไปลงทุน ให้หักเข้าบัญชีเงินกองกลางตามอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนดเพื่อสำรองจ่ายเงินบำนาญในกรณีตามมาตรา
๔๘ ส่วนที่เหลือให้จัดสรรเพิ่มในบัญชีของผู้รับบำนาญแต่ละคน
(๓) ดอกผลของการนำเงินของบัญชีเงินบำนาญของผู้รับเงินดำรงชีพไปลงทุน
ให้จัดสรรเพิ่มในบัญชีของผู้รับเงินดำรงชีพแต่ละคน
(๔) ดอกผลอื่นนอกจาก (๑) (๒) และ (๓)
ให้จัดสรรเป็นรายได้ของบัญชีเงินกองกลาง
การจัดสรรดอกผลตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และระยะเวลาที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
หมวด ๕
การตรวจสอบและรายงาน
มาตรา ๕๑
ให้กองทุนแจ้งยอดเงินสะสม เงินสมทบ พร้อมทั้งผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าวในส่วนของสมาชิกแต่ละคนให้สมาชิกทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา ๕๒
ให้กองทุนยื่นรายงานแสดงการจัดการกองทุนต่อรัฐมนตรีอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๕๓ ให้กองทุนจัดทำงบการเงิน เพื่อแสดงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกองทุนเสนอผู้สอบบัญชีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
มาตรา ๕๔
ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้สอบบัญชีที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุน
มาตรา ๕๕ ให้ผู้สอบบัญชีทำรายงานการสอบบัญชีของกองทุนเสนอต่อรัฐมนตรีภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีและให้ประกาศงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบแล้วและรายงานการสอบบัญชีในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๕๖
ให้กองทุนจัดทำรายงานประจำปีเสนอรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเสนอต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
เพื่อทราบภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับจากวันสิ้นปีบัญชี
รายงานตามวรรคหนึ่งต้องแสดงประมาณการการเงินที่จะขอให้รัฐบาลจัดสรรเพื่อการดำเนินงานของกองทุนในระยะเวลาสามปีนับจากวันเสนอรายงานผลงานของกองทุนในปีที่ล่วงมาแล้ว
พร้อมทั้งงบการเงิน และรายงานของผู้สอบบัญชีด้วย
หมวด ๖
การควบคุมกำกับการจัดการกองทุน
มาตรา ๕๗
ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนกรรมการ
ผู้จัดการ
หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการเงินของกองทุนภายในระยะเวลาที่กำหนด
ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนไม่ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการเงินของกองทุนภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
หรือปรากฏว่าผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนจัดการเงินของกองทุนในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน
ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนแก้ไขหรือระงับการกระทำนั้นหรือสั่งยกเลิกการมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้นได้
เมื่อได้รับคำสั่งยกเลิกการมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนตามวรรคสองแล้วให้ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนหยุดจัดการเงินของกองทุนในทันที
และส่งมอบเงินและทรัพย์สินคืนภายในเวลาที่กำหนดในคำสั่งนั้น
มาตรา ๕๘
ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับและดูแลโดยทั่วไปซึ่งการจัดการกองทุนเพื่อประโยชน์ในการนี้จะแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนหรือจะแจ้งให้คณะกรรมการดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายงานให้รัฐมนตรีทราบด้วยก็ได้
ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นว่า
ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนจัดการเงินของกองทุนในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน
รัฐมนตรีอาจขอให้คณะกรรมการพิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๕๗ วรรคสองและวรรคสาม ได้
มาตรา ๕๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังต่อไปนี้
(๑)
เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจหรือสถานที่ตั้งของผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้นเพื่อตรวจสอบสมุดบัญชีหรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการจัดการเงินของกองทุน
(๒)
ยึดหรืออายัดเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนข้อเท็จจริงหรือดำเนินคดี
(๓) สั่งให้กรรมการ ผู้จัดการ
พนักงานหรือลูกจ้างของผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนมาให้ถ้อยคำหรือส่งสำเนาหรือแสดงสมุดบัญชี
หรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการจัดการเงินของกองทุน
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
เมื่อได้เข้าไปและลงมือทำการตรวจสอบตาม (๑) แล้ว
ถ้ายังดำเนินการไม่เสร็จจะกระทำต่อไปในเวลากลางคืนหรือนอกเวลาทำการของสถานที่นั้นก็ได้
มาตรา ๖๐
ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๖๑
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๗
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๖๒[๒] ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๕๗ วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองล้านบาท
และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสองล้านบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖๓ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ขัดขวาง
หรือไม่ให้ความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๕๙
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖๔ กรรมการ ผู้จัดการ
หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนรายใดแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งในสาระสำคัญเกี่ยวกับการจัดการเงินของกองทุนต่อคณะกรรมการต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินสองล้านห้าแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖๕ ความผิดตามมาตรา ๖๒ และมาตรา ๖๓
ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจเปรียบเทียบได้
คณะกรรมการเปรียบเทียบที่รัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งให้มีจำนวนสามคน
ซึ่งคนหนึ่งต้องเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เมื่อคณะกรรมการเปรียบเทียบได้ทำการเปรียบเทียบกรณีใด
และผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการเปรียบเทียบกำหนดแล้ว
ให้คดีนั้นเป็นอันเลิกกัน
ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบ
หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ดำเนินคดีต่อไป
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๖๖
ในวาระเริ่มแรกให้รัฐบาลจัดสรรเงินเข้าบัญชีเงินกองกลางตามมาตรา ๔๖ (๓)
เป็นจำนวนหนึ่งพันล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน
มาตรา ๖๗
ในวาระเริ่มแรกให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง
เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงแรงงาน
เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นกรรมการ
และผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
เป็นกรรมการและเลขานุการทำหน้าที่คณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ
และให้ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังทำหน้าที่เลขาธิการ
เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน
ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งดำเนินการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๑๑ เป็นกรรมการ และแต่งตั้งเลขาธิการ
ทั้งนี้ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๖๘
เมื่อได้ดำเนินการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและแต่งตั้งเลขาธิการแล้วให้กรรมการเท่าที่มีอยู่ประกอบเป็นคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน
โดยให้ดำเนินการเลือกกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๒
เพื่อให้ได้คณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้ภายในสามร้อยหกสิบวันนับแต่วันที่หมวด
๓ มีผลใช้บังคับ
ในกรณีที่ยังไม่อาจเลือกกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๑๒ ได้เนื่องจากยังไม่มีผู้รับบำนาญตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกตามวรรคหนึ่งอีกหนึ่งคน
เพื่อปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการเลือกกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๙
ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวด ๓ ใช้บังคับ
หากในวันที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกผู้ใดมีอายุห้าสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป
ให้ผู้นั้นมีสิทธิเป็นสมาชิกของกองทุนต่อไปได้อีกสิบปีนับแต่วันที่เป็นสมาชิก
และเมื่อเป็นสมาชิกของกองทุนครบสิบปีหรือเมื่อสมาชิกซึ่งมีอายุหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปลาออกจากการเป็นสมาชิกให้ถือว่าเป็นกรณีที่สมาชิกอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ตามพระราชบัญญัตินี้และให้นำบทบัญญัติในหมวด
๓ และหมวด ๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีเงินสมทบ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๘๔ (๔)
บัญญัติให้รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ คือ
จัดให้มีการออมเพื่อการดำรงชีพในยามชราแก่ประชาชน
และเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างทั่วถึง ดังนั้น
เพื่อให้มีระบบการออมเพื่อการดำรงชีพในยามชราภาพที่ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มโดยเฉพาะประชากรภาคแรงงานส่วนใหญ่ของประเทศที่เป็นแรงงานนอกระบบยังไม่ได้รับความคุ้มครองเพื่อการชราภาพอย่างทั่วถึง
จึงทำให้บุคคลเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในความยากจนในวัยสูงอายุ
อันเนื่องมาจากไม่มีช่องทางหรือโอกาสเข้าถึงระบบการออมเงินในขณะที่อยู่ในวัยทำงาน
เพื่อสร้างความมั่นคงในบั้นปลายของชีวิตตลอดจนเพื่อเป็นการสร้างวินัยในการออมของประชาชนคนไทยในวัยทำงาน
จึงสมควรจัดตั้งกองทุนเพื่อเป็นช่องทางการออมขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้ที่ยังไม่ได้รับความคุ้มครองเพื่อการชราภาพให้ได้รับผลประโยชน์ในรูปบำนาญ
อันเป็นการสร้างความเท่าเทียมและความเป็นธรรมในการดูแลจากภาครัฐ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐[๓]
มาตรา
๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕
มาตรา ๕๔ เฉพาะในส่วนที่สันนิษฐานให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
ต้องรับโทษทางอาญาร่วมกับการกระทำความผิดของนิติบุคคล
โดยไม่ปรากฏว่ามีการกระทำหรือเจตนาประการใดอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าวทำนองเดียวกัน
คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๗๔
พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๗๘
พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ มาตรา ๒๘/๔ และพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘
มาตรา ๗๒/๕ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง
เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
มาตรา ๖ ดังนั้น เพื่อแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติในลักษณะเดียวกันมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ปริยานุช/จัดทำ
๑๘ พฤษภาคม
๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๘ พฤษภาคม
๒๕๕๔
วิชพงษ์/แก้ไข
๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๘
พรวิภา/เพิ่มเติม
๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
พจนา/ตรวจ
๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๓๔ ก/หน้า ๔๗/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔
[๒] มาตรา ๖๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
พ.ศ. ๒๕๖๐
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ |
769065 | พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. 2560 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
พ.ศ. ๒๕๖๐
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
เป็นปีที่ ๒
ในรัชกาลปัจจุบัน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
พ.ศ. ๒๕๖๐
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตราแห่งประมวลกฎหมาย
พระราชบัญญัติและพระราชกำหนด จำนวนเจ็ดสิบหกฉบับ ดังต่อไปนี้
และให้ใช้ความตามที่ปรากฏในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้แทนตามลำดับ
(๑) มาตรา ๑๒ จัตวา แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช
๒๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕
(๒) มาตรา ๓๕ ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๒๕
และมาตรา ๙๐/๕ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
(๓) มาตรา ๖๒ ตรี แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔
(๔) มาตรา ๑๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ
(ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑
(๕) มาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๓๕
(๖) มาตรา ๒๘/๔ แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๖
(๗) มาตรา ๓๙ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีป้าย
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
(๘) มาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. ๒๕๑๐
(๙) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔
(๑๐) มาตรา ๗๒/๕ แห่งพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปุ๋ย
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
(๑๑) มาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๒) มาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๓) มาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๔) มาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
(๑๕) มาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๖) มาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๗) มาตรา ๓๒
แห่งพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๒๔
(๑๘) มาตรา ๒๓ แห่งพระราชกำหนดควบคุมสินค้าตามชายแดน พ.ศ. ๒๕๒๔
(๑๙) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗
(๒๐) มาตรา ๑๕
แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕
(๒๑) มาตรา ๙๒
แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘
(๒๒) มาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
(๒๓) มาตรา ๑๐๑ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓
(๒๔) มาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔
(๒๕) มาตรา ๔๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
และมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔
(๒๖) มาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕
(๒๗) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕
(๒๘) มาตรา ๑๑๑
แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕
(๒๙) มาตรา ๘๗/๒ แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
(๓๐) มาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓๑) มาตรา ๑๑๔ แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. ๒๕๓๕
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
(๓๒) มาตรา ๑๐๘ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
(๓๓) มาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.
๒๕๓๗
(๓๔) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
(๓๕) มาตรา ๘๙
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
(๓๖) มาตรา ๑๓ แห่งพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์
พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ศ. ๒๕๕๐
(๓๗) มาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒
(๓๘) มาตรา ๖๑
แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒
(๓๙) มาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
(๔๐) มาตรา ๖๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒
(๔๑) มาตรา ๘๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒
(๔๒) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒
(๔๓) มาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒
(๔๔) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔๕) มาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔๖) มาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔๗) มาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔๘) มาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔๙) มาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.
๒๕๔๓
(๕๐) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
(๕๑) มาตรา ๘๖ แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.
๒๕๔๓
(๕๒) มาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔
(๕๓) มาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม
พ.ศ. ๒๕๔๔
(๕๔) มาตรา ๔๖
แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔
(๕๕) มาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๔๕
(๕๖) มาตรา ๑๓๕ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖
(๕๗) มาตรา ๑๑๕ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖
(๕๘) มาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๖
(๕๙) มาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗
(๖๐) มาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. ๒๕๔๘
(๖๑) มาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘
(๖๒) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
(๖๓) มาตรา ๑๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐
(๖๔) มาตรา ๑๕๓ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
(๖๕) มาตรา ๘๐ แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. ๒๕๕๐
(๖๖) มาตรา ๕๔
แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑
(๖๗) มาตรา ๑๓๒ และมาตรา ๑๓๙ แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.
๒๕๕๑
(๖๘) มาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
(๖๙) มาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๖
แห่งพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๐) มาตรา ๕๐
แห่งพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๑) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๒) มาตรา ๕๘ แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๓) มาตรา ๘๕ แห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๔) มาตรา ๑๒๒ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๕) มาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๓
(๗๖) มาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔
ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
บัญชีท้ายพระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
พ.ศ. ๒๕๖๐
๑. พระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า
พุทธศักราช ๒๔๗๔
มาตรา ๑๒ จัตวา ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒. ประมวลรัษฎากร
มาตรา ๓๕ ทวิ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๒ ทวิ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย
มาตรา ๙๐/๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามหมวดนี้เป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๓. พระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑
มาตรา ๖๒ ตรี ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๖๒ ทวิ เป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๒ ทวิ ด้วย
๔. พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗
มาตรา ๑๑๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕. พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙
มาตรา ๒๕ ในกรณีที่บริษัทจำกัดใดกระทำความผิดตามมาตรา
๗ ถึงมาตรา ๒๔ ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทจำกัดนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทจำกัดนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทจำกัดนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
๖. พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙
มาตรา ๒๘/๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗. พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐
มาตรา ๓๙ ทวิ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๘. พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
พ.ศ. ๒๕๑๐
มาตรา ๓๓ ผู้ใดมิใช่ในกิจการของ
อผศ. หรือโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก อผศ.
ใช้ชื่อหรือถ้อยคำในประการที่น่าจะทำให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นกิจการของ อผศ. หรือเกี่ยวเนื่องกับกิจการของ
อผศ. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
นิติบุคคลใดมิใช่กระทรวง
ทบวง กรม หรือโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก อผศ. ใช้คำว่า อผศ. ทหารผ่านศึก ผ่านศึก นอกประจำการ หรือคำว่าทหาร เป็นชื่อหรือประกอบชื่อของนิติบุคคลนั้น
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิดผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย
๙. พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.
๒๕๑๔
มาตรา ๗๖ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิด
ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๐. พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘
มาตรา ๗๒/๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
เว้นแต่กรณีตามมาตรา ๗๒/๒ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๑.
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๘๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๒.
พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๘๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๓. พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๓๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๔ .
พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๗๑ นิติบุคคลอาคารชุดใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๓๘/๑ มาตรา ๓๘/๒ และมาตรา ๓๘/๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ในกรณีที่นิติบุคคลอาคารชุดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้น
หรือในกรณีที่ผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลอาคารชุดนั้นกระทำความผิด
ผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ตามวรรคหนึ่งด้วย
๑๕. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๕๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๖. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๗๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๗. พระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๕๒๔
มาตรา ๓๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๓๐
หรือมาตรา ๓๑ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๘. พระราชกำหนดควบคุมสินค้าตามชายแดน พ.ศ.
๒๕๒๔
มาตรา ๒๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๙. พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗
มาตรา ๗๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๐. พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
พ.ศ. ๒๕๒๗
มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลซึ่งปรากฏพยานหลักฐานว่ามีพฤติกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลด้วย
๒๑. พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน
พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๙๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๒. พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.
๒๕๓๐
มาตรา ๔๑ ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนกระทำความผิดตามมาตรา
๓๔ ถ้าการกระทำความผิดของคณะกรรมการกองทุนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด
หรือในกรณีที่กรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้คณะกรรมการกองทุนนั้นกระทำความผิด
กรรมการผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๓. พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓
มาตรา ๑๐๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคลและถูกลงโทษ
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๔. พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔
มาตรา ๒๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา
๕ หรือมาตรา ๘ เป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
๒๕. พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔
มาตรา ๔๘/๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา
๑๕ วรรคสี่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือน ถึงห้าปี
และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ในกรณีที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐกระทำผิดตามวรรคหนึ่ง
ถ้าการกระทำความผิดของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของหัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นกระทำความผิด
หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
ๆ ด้วย
มาตรา ๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๗
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๖. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.
๒๕๓๕
มาตรา ๕๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๗. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๘. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๑๑๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๙. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๘๗/๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ
ผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรเฉพาะ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๓๐. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๖๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๓๑. พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๑๑๔ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิดตามมาตรา
๒๓ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๖ หรือมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงที่ต้องบอกให้แจ้งหรือให้ทำคำชี้แจงตามมาตรา
๔๕ ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิดผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๓๒. พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๑๐๘ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิดตามมาตรา ๒๓
มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๕ หรือมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จ
หรือปกปิดความจริงที่ต้องบอกให้แจ้งหรือให้ทำคำชี้แจงตามมาตรา ๔๙
หรือไม่หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๕๒ วรรคหนึ่ง
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
๓๓. พระราชบัญญัติสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๓๗
มาตรา ๓๙ ในกรณีที่สภากระทำความผิดและถูกลงโทษ
ถ้าการกระทำความผิดของสภานั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด
หรือในกรณีที่กรรมการผู้ใดมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สภานั้นกระทำความผิด
กรรมการผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
๓๔. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๓๕. พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๘๙ ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๘๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๓๖. พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.
๒๕๔๑
มาตรา ๑๓ บริษัทบริหารสินทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๔/๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ หรือมาตรา ๑๑/๑ วรรคสอง
หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือคำสั่งหรือเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๔/๑
วรรคสอง มาตรา ๕ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๑/๑ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๑๒
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท
และปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ใดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง
ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
๓๗. พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๓๘. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๖๑ นิติบุคคลใดกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๗
มาตรา ๘ หรือมาตรา ๙ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท
ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งของนิติบุคคลเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีหรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
๓๙. พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๘๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๐. พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๖๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๑. พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๘๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๒. พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
และสำหรับนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบเท่าของอัตราโทษปรับสำหรับความผิดนั้นด้วย
๔๓. พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.
๒๕๔๒
มาตรา ๗๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๔. พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
และสำหรับนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบเท่าของอัตราโทษปรับสำหรับความผิดนั้นด้วย
๔๕. พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๔๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๖. พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๗. พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม
พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๕๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๘. พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๖๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๙. พระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี
พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๑๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๐. พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.
๒๕๔๓
มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๑. พระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๘๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๒. พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
พ.ศ. ๒๕๔๔
มาตรา ๔๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๓. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม
พ.ศ. ๒๕๔๔
มาตรา ๗๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๔. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๔๔
มาตรา ๔๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๕. พระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.
๒๕๔๕
มาตรา ๖๔ ในกรณีที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๑๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๗ มาตรา ๒๐ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๘ หรือมาตรา ๓๙
หรือฝ่าฝืนมาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๓๑ ถ้าการกระทำความผิดของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์นั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด
หรือในกรณีที่กรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์นั้นกระทำความผิด
กรรมการผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
๕๖. พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ.
๒๕๔๖
มาตรา ๑๓๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๖
มาตรา ๑๒๗ มาตรา ๑๒๘ มาตรา ๑๒๙ มาตรา ๑๓๐ มาตรา ๑๓๑ มาตรา ๑๓๓ หรือมาตรา ๑๓๘
เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ
๕๗. พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.
๒๕๔๖
มาตรา ๑๑๕ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๗๔ หรือมาตรา ๗๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท
ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนใดกระทำความผิดตามมาตรา ๗๔ หรือมาตรา
๗๕ ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการสภาสถาบัน
อธิการบดี หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๘. พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๔๖
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๙. พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗
มาตรา ๗๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๐. พระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ.
๒๕๔๘
มาตรา ๓๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๑. พระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
พ.ศ. ๒๕๔๘
มาตรา ๗๗ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามมาตรา
๗๐ หรือมาตรา ๗๑ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๒. พระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ.
๒๕๕๐
มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับอนุญาตตามมาตรา
๓๓ ซึ่งเป็นนิติบุคคลกระทำความผิด ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๓. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.
๒๕๕๐
มาตรา ๑๔๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๔. พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๑๕๓ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคลกระทำความผิดและถูกลงโทษ
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๕. พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน
พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๘๐ ผู้ใดให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ซึ่งความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในการตรวจสอบหรือการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งเป็นทรัสตี
ถ้าการกระทำความผิดของทรัสตีนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของทรัสตีนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ทรัสตีนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
๖๖. พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๕๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๗. พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.
๒๕๕๑
มาตรา ๑๓๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๑
หรือมาตรา ๑๒๓ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ
หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของนิติบุคคล
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
ภายใต้บังคับมาตรา ๑๓๙
ในกรณีที่สถาบันการเงินกระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๒ มาตรา ๑๒๔ มาตรา ๑๒๕
หรือมาตรา ๑๒๘
ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันการเงินนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
มาตรา ๑๓๙ ในกรณีที่สถาบันการเงินใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๓๖ มาตรา ๕๐ มาตรา ๖๖ มาตรา ๘๐ มาตรา ๙๓ มาตรา ๙๔ หรือมาตรา ๙๕ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ข้อกำหนด หลักเกณฑ์
หรือคำสั่งที่กำหนดตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๓ มาตรา
๓๖ มาตรา ๕๐ มาตรา ๖๖ มาตรา ๗๑ มาตรา ๘๐ มาตรา ๙๐ หรือมาตรา ๙๕ ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันการเงินนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ
หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
๖๘. พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ.
๒๕๕๑
มาตรา ๖๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคลและถูกลงโทษ
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๙. พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ.
๒๕๕๑
มาตรา ๖๕ ผู้ใดนอกจากสถาบันการเงิน ใช้ข้อความ เครื่องหมาย
หรือสัญลักษณ์ เพื่อแสดงว่าธุรกิจของตนเป็นสถาบันการเงินที่เงินฝากได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี
หรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
มาตรา ๖๖ สถาบันการเงินใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๔๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย
๗๐. พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา
พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๕๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดในส่วนที่ ๒ นี้ ยกเว้นมาตรา
๔๘ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๑. พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๗๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๒. พระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๕๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๓. พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.
๒๕๕๑
มาตรา ๘๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษอาญาตามส่วนนี้เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๔. พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๑๒๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๕. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน
พ.ศ. ๒๕๕๓
มาตรา ๔๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๖. พระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๕๔
มาตรา ๖๒ ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๕๗
วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองล้านบาท
และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสองล้านบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕
มาตรา ๕๔ เฉพาะในส่วนที่สันนิษฐานให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
ต้องรับโทษทางอาญาร่วมกับการกระทำความผิดของนิติบุคคล
โดยไม่ปรากฏว่ามีการกระทำหรือเจตนาประการใดอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าวทำนองเดียวกัน
คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๗๔
พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๗๘ พระราชบัญญัติสถานบริการ
พ.ศ. ๒๕๐๙ มาตรา ๒๘/๔ และพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๗๒/๕ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง
เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
มาตรา ๖ ดังนั้น เพื่อแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติในลักษณะเดียวกันมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ
๑๔ กุมภาพันธ์
๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๑๔ กุมภาพันธ์
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ |
648942 | พระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
กองทุนการออมแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๕๔
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ
วันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เป็นปีที่ ๖๖
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ และมาตรา ๔๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
เว้นแต่บทบัญญัติแห่งหมวด ๓
ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามร้อยหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
กองทุน หมายความว่า
กองทุนการออมแห่งชาติ
สมาชิก หมายความว่า
สมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ
เงินสะสม หมายความว่า
เงินที่สมาชิกสะสมเข้ากองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
เงินสมทบ หมายความว่า
เงินที่รัฐบาลจ่ายสมทบเงินสะสมเข้ากองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
บำนาญ หมายความว่า
เงินที่จ่ายให้แก่สมาชิกเป็นรายเดือนเมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้ว
เงินดำรงชีพ หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่สมาชิกเป็นรายเดือนแทนเงินบำนาญ
ทุพพลภาพ หมายความว่า
การสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรือของร่างกาย
หรือการสูญเสียสภาวะปกติของจิตใจ จนไม่สามารถทำงานได้ ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการแพทย์ตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมกำหนด
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ
กรรมการ หมายความว่า
กรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ
พนักงานเจ้าหน้าที่
หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
เลขาธิการ หมายความว่า
เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ
รัฐมนตรี หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้กับให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงและประกาศ
และแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
การจัดตั้งกองทุนและลักษณะของกิจการกองทุน
มาตรา ๕
ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า กองทุนการออมแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า
กอช.
ให้กองทุนเป็นหน่วยงานของรัฐและมีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
กองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิกและเพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนแก่สมาชิกเมื่อสิ้นสมาชิกภาพ
รายได้ของกองทุนไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
มาตรา ๖
กิจการของกองทุนไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
และกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม
มาตรา ๗ กองทุนประกอบด้วยทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้
(๑) เงินสะสม
(๒) เงินสมทบ
(๓) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
(๔) เงินที่รัฐบาลจัดสรรให้
(๕) รายได้อื่น
(๖) ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
มาตรา ๘ ให้กองทุนมีสำนักงานใหญ่ ณ
สถานที่ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา และจะจัดตั้งสาขาหรือตัวแทนขึ้น ณ
ที่อื่นใดตามความจำเป็นก็ได้
มาตรา ๙ ให้กองทุนมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ
ภายในขอบวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕ และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง
(๑) ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ
(๒) ก่อตั้งสิทธิหรือทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งในและนอกราชอาณาจักร
(๓) ลงทุนหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุน
(๔) กระทำการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
มาตรา ๑๐ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน
ให้จ่ายจากเงินของกองทุนในบัญชีเงินกองกลางตามมาตรา ๔๖ (๓) ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
หมวด ๒
การควบคุมและการบริหาร
มาตรา ๑๑ ให้มีคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติคณะหนึ่ง
เรียกโดยย่อว่า คณะกรรมการ กอช. ประกอบด้วย
ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ
ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงแรงงาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
สมาชิกที่ได้รับเลือกตามมาตรา ๑๒ จำนวนหกคน ผู้รับบำนาญที่ได้รับเลือกตามมาตรา ๑๒
จำนวนหนึ่งคน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คน โดยในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
ด้านบัญชี ด้านการเงินและการลงทุน และด้านสวัสดิการชุมชนด้านละหนึ่งคน เป็นกรรมการ
ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ
มาตรา ๑๒
การเลือกกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกและกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
โดยคำนึงถึงการกระจายตัวในทุกภูมิภาคและความเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิง ทั้งนี้
จะให้มีการขึ้นบัญชีไว้สำหรับผู้ได้รับคะแนนถัดไปจากผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกหรือกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญเพื่อประโยชน์ตามมาตรา
๑๗ วรรคหนึ่ง ด้วยก็ได้
มาตรา ๑๓ ให้ประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง
กรรมการซึ่งเป็นสมาชิกและกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญประชุมร่วมกัน
เพื่อเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
มาตรา ๑๔ กรรมการซึ่งเป็นสมาชิก
กรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีสัญชาติไทยและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๒) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(๓) เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
ไม่ว่าจะมีการรอการลงโทษหรือไม่ก็ตาม
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๔) เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษา
หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวไม่น้อยกว่าสามปี
(๕) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของกองทุน
(๖) เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับกองทุน
หรือในกิจการที่กระทำให้แก่กองทุนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม
เว้นแต่เป็นผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายให้เป็นกรรมการในบริษัทที่กองทุนเป็นผู้ถือหุ้น
(๗) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ
หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจหรือจากหน่วยงานเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่
มาตรา ๑๕ ให้กรรมการซึ่งเป็นสมาชิก
กรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี
กรรมการตามวรรคหนึ่งซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับเลือกอีกได้
แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
ในกรณีที่กรรมการซึ่งเป็นสมาชิก กรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการขึ้นใหม่ภายในหกสิบวัน
ในระหว่างที่ยังมิได้มีการเลือกกรรมการขึ้นใหม่
ให้กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไป
จนกว่ากรรมการที่ได้รับเลือกใหม่เข้ารับหน้าที่
มาตรา ๑๖ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๕
กรรมการซึ่งเป็นสมาชิกกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) พ้นจากสมาชิกภาพ กรณีกรรมการซึ่งเป็นสมาชิก
(๔) มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
กรณีกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
(๕) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๔
(๖)
คณะกรรมการมีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด
มาตรา ๑๗
ในกรณีที่กรรมการซึ่งเป็นสมาชิกหรือกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญผู้ใดพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
ให้ผู้ซึ่งได้คะแนนถัดไปซึ่งขึ้นบัญชีไว้ในการเลือกกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกหรือกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญเป็นกรรมการแทน
ในกรณีที่ไม่มีผู้ขึ้นบัญชีไว้ให้ดำเนินการเลือกกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกหรือกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญขึ้นใหม่ตามมาตรา
๑๒
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ตามมาตรา ๑๓ แทนตำแหน่งที่ว่าง
ให้กรรมการผู้ได้รับการเลือกให้ดำรงตำแหน่งแทนตามวรรคหนึ่งและวรรคสองอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่วาระการดำรงตำแหน่งเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
จะไม่เลือกกรรมการขึ้นดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
มาตรา ๑๘
การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมของคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
การออกเสียงลงมติแต่งตั้งหรือเลิกจ้างเลขาธิการต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่อยู่ในตำแหน่ง
มาตรา ๑๙
ประธานกรรมการและกรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณาให้แจ้งการมีส่วนได้เสียนั้นและห้ามมิให้เข้าร่วมพิจารณาในเรื่องนั้น
มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดนโยบาย และออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
และคำสั่งในการบริหารกิจการของกองทุน
(๒) กำหนดนโยบายการลงทุนของกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
(๓) กำกับดูแลการบริหารกิจการของกองทุน
(๔) ออกข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติงานของเลขาธิการและรองเลขาธิการด้านการลงทุนและการมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนเลขาธิการและรองเลขาธิการด้านการลงทุน
(๕) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการรับ เก็บรักษา
และจ่ายเงินของกองทุน
(๖) พิจารณามอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นจัดการเงินของกองทุน
(๗) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
(๘) ออกระเบียบ คำสั่ง และข้อบังคับเกี่ยวกับการพนักงาน
ระบบพนักงานสัมพันธ์ การบรรจุแต่งตั้ง ถอดถอน
และวินัยพนักงานและลูกจ้างของกองทุน การกำหนดเงินเดือนและเงินอื่น ๆ
รวมตลอดถึงการสงเคราะห์และสวัสดิการต่าง ๆ
(๙) เสนอแนะต่อรัฐมนตรีในการปรับปรุงอัตราเงินสะสมและเงินสมทบ
(๑๐)
ปฏิบัติงานอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๑ ให้มีคณะอนุกรรมการการลงทุน ประกอบด้วย
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นประธานอนุกรรมการ
ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย
ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เลขาธิการ
และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คนซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความสามารถและมีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ระบบไร้ดอกเบี้ยด้านการเงินและการลงทุน หรือด้านกฎหมาย เป็นอนุกรรมการ
และรองเลขาธิการด้านการลงทุน เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
มาตรา ๒๒ ให้คณะอนุกรรมการการลงทุนมีอำนาจหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(๑) ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการลงทุนต่อคณะกรรมการ
(๒) ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่จะมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุน
(๓)
ติดตามดูแลการดำเนินงานของสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุน
(๔) รายงานผลการดำเนินการด้านการลงทุนและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการ
(๕) ปฏิบัติการในเรื่องอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๒๓ ให้นำมาตรา ๑๕ มาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘
และมาตรา ๑๙ มาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
และการประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
มาตรา ๒๔ ให้ประธานกรรมการ กรรมการ
ประธานอนุกรรมการ และอนุกรรมการได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
และให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายของกองทุน
มาตรา ๒๕
ให้คณะกรรมการแต่งตั้งเลขาธิการโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีและให้คณะกรรมการแต่งตั้งรองเลขาธิการด้านการลงทุน
การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการกำหนดเงื่อนไขในการทดลองปฏิบัติงานหรือการทำงานในหน้าที่เลขาธิการและรองเลขาธิการด้านการลงทุน
ให้เป็นไปตามสัญญาจ้างที่คณะกรรมการกำหนด โดยให้มีอายุการจ้างคราวละไม่เกินสี่ปี
และเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาจ้างแล้วคณะกรรมการจะต่ออายุสัญญาจ้างอีกก็ได้แต่ต้องไม่เกินสี่ปี
การทำสัญญาจ้าง ให้ประธานกรรมการเป็นผู้มีอำนาจทำสัญญาในนามกองทุน
ให้เลขาธิการและรองเลขาธิการด้านการลงทุนได้รับเงินค่าจ้าง
ค่าตอบแทนและเงินอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
มาตรา ๒๖
เลขาธิการและรองเลขาธิการด้านการลงทุนต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์ในวันที่ได้รับการแต่งตั้ง
(๓) สามารถปฏิบัติงานให้แก่กองทุนได้เต็มเวลา
(๔) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๔ (๑) (๒) (๓) (๔) (๖) และ (๗)
มาตรา ๒๗ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามอายุการจ้าง
เลขาธิการและรองเลขาธิการด้านการลงทุนพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๖
(๔)
คณะกรรมการมีมติให้เลิกจ้างโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีสำหรับกรณีเลขาธิการและคณะกรรมการมีมติให้เลิกจ้างสำหรับกรณีรองเลขาธิการด้านการลงทุน
มาตรา ๒๘ ให้เลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของกองทุนและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
และตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายที่คณะกรรมการกำหนด
เลขาธิการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการบริหารกิจการของกองทุน
มาตรา ๒๙
ในกิจการของกองทุนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้เลขาธิการเป็นผู้แทนของกองทุน
การปฏิบัติงานของเลขาธิการและการมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนเลขาธิการให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด
นิติกรรมที่กระทำโดยฝ่าฝืนข้อบังคับตามวรรคสอง ย่อมไม่ผูกพันกองทุน
เว้นแต่คณะกรรมการจะให้สัตยาบัน
หมวด ๓
สมาชิกและสิทธิประโยชน์ของสมาชิก
มาตรา ๓๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๙
ให้บุคคลสัญชาติไทยซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์
และไม่เป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม ซึ่งส่งเงินเพื่อได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ
สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
หรือเป็นสมาชิกกองทุนหรืออยู่ในระบบบำนาญอื่นตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวงมีสิทธิเป็นสมาชิกของกองทุน
มาตรา ๓๑ บุคคลตามมาตรา ๓๐
อาจสมัครเป็นสมาชิกของกองทุนได้โดยแสดงความจำนงพร้อมกับการจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน
ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าเดือนละห้าสิบบาท แต่ไม่เกินจำนวนที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
การสมัครเป็นสมาชิกและการจ่ายเงินสะสม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
มาตรา ๓๒
ให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบตามระดับอายุของผู้เป็นสมาชิกและเป็นอัตราส่วนกับจำนวนเงินสะสมตามบัญชีเงินสมทบท้ายพระราชบัญญัตินี้
เงินสมทบตามวรรคหนึ่งเมื่อรวมกันแล้วในปีหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกินจำนวนเงินสมทบสูงสุดที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
ซึ่งต้องไม่เกินจำนวนเงินสมทบสูงสุดตามบัญชีเงินสมทบท้ายพระราชบัญญัตินี้
โดยให้มีการพิจารณาทบทวนกฎกระทรวงตามมาตรานี้ทุกห้าปี
ในกรณีที่สมาชิกไม่จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน
ให้สมาชิกรายนั้นยังคงการเป็นสมาชิกต่อไปแต่รัฐบาลไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำหรับสมาชิกรายนั้น
การจ่ายเงินสมทบ ให้จ่ายภายในสิ้นเดือนถัดจากเดือนที่สมาชิกจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน
มาตรา ๓๓ สมาชิกสิ้นสมาชิกภาพเมื่อ
(๑) อายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
(๒) ตาย
(๓) ลาออกจากกองทุน
มาตรา ๓๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๕ ในกรณีที่สมาชิกสิ้นสมาชิกภาพเพราะอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
ให้สมาชิกผู้นั้นมีสิทธิได้รับบำนาญจากกองทุนจนตลอดชีวิต
บำนาญตามวรรคหนึ่ง ให้คำนวณจากเงินสะสม เงินสมทบ
และผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบที่โอนไปเข้าบัญชีเงินบำนาญตามมาตรา ๔๗
พร้อมกับประมาณการเงินผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในภายหลังจากเงินในบัญชีเงินบำนาญนั้น
โดยให้เพียงพอกับการจ่ายบำนาญให้แก่สมาชิกได้จนถึงอายุครบแปดสิบปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
มาตรา ๓๕ ในกรณีเงินบำนาญที่คำนวณได้ตามมาตรา ๓๔
วรรคสอง มีจำนวนน้อยกว่าจำนวนเงินบำนาญขั้นต่ำที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
ให้งดจ่ายเงินบำนาญแต่ให้จ่ายเป็นเงินดำรงชีพจากเงินในบัญชีเงินบำนาญของสมาชิกเท่ากับจำนวนเงินบำนาญขั้นต่ำนั้นจนกว่าเงินในบัญชีเงินบำนาญจะหมด
มาตรา ๓๖
ในกรณีสมาชิกสิ้นสมาชิกภาพเพราะถึงแก่ความตายก่อนอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ ให้จ่ายเงินสะสม
เงินสมทบ
และผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบของผู้นั้นทั้งหมดจากกองทุนให้แก่บุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ต่อกองทุนตามแบบและวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดเว้นแต่มิได้แสดงเจตนาไว้ให้จ่ายแก่ทายาท
ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) บุตรให้ได้รับสองส่วน
แต่ถ้าผู้ตายมีบุตรตั้งแต่สามคนขึ้นไปให้ได้รับสามส่วน
(๒) สามีหรือภริยาให้ได้รับหนึ่งส่วน
(๓) บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ให้ได้รับหนึ่งส่วน
ในกรณีที่ไม่มีทายาทในอนุมาตราใด
หรือทายาทนั้นได้ถึงแก่ความตายไปก่อนให้แบ่งเงินดังกล่าวระหว่างทายาทผู้มีสิทธิในอนุมาตราที่มีทายาทผู้มีสิทธิได้รับ
ในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้และไม่มีทายาทตามวรรคหนึ่ง
หรือบุคคลนั้นได้ถึงแก่ความตายไปก่อน ให้เงินสะสม เงินสมทบ
และผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบนั้นตกเป็นของกองทุน
มาตรา ๓๗ ในกรณีที่สมาชิกทุพพลภาพก่อนอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
ซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าทุพพลภาพ
สมาชิกจะขอรับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสมทั้งหมดหรือบางส่วนจากกองทุนก็ได้
การขอรับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสมเพราะเหตุทุพพลภาพตามวรรคหนึ่ง
ให้ขอรับได้เพียงครั้งเดียว
มาตรา ๓๘
ในกรณีที่สมาชิกสิ้นสมาชิกภาพเพราะลาออกจากกองทุน
ให้สมาชิกมีสิทธิได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสมจากกองทุน
ส่วนเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบให้ตกเป็นของกองทุน
มาตรา ๓๙
เมื่อสมาชิกรายใดเป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมซึ่งส่งเงินเพื่อได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ
สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
หรือเป็นสมาชิกกองทุนหรืออยู่ในระบบบำนาญอื่นตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวงตามมาตรา ๓๐
ก่อนสิ้นสมาชิกภาพ
ให้สมาชิกรายนั้นคงการเป็นสมาชิกต่อไปได้และสมาชิกจะจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนก็ได้
แต่รัฐบาลไม่ต้องจ่ายเงินสบทบเข้ากองทุน
เมื่อสมาชิกสิ้นสมาชิกภาพ ให้กองทุนจ่ายเงินสะสมที่สมาชิกจ่ายตามวรรคหนึ่ง
พร้อมทั้งผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินดังกล่าวให้แก่สมาชิกรายนั้นทั้งจำนวน
โดยไม่ต้องนำเงินดังกล่าวไปรวมคำนวณบำนาญตามมาตรา ๓๔
และคำนวณเพื่อจ่ายเงินชดเชยตามมาตรา ๔๔ ด้วย
มาตรา ๔๐
การจ่ายเงินบำนาญที่สมาชิกจะได้รับตามมาตรา ๓๔ การจ่ายเงินดำรงชีพตามมาตรา ๓๕
การจ่ายเงินกรณีสมาชิกถึงแก่ความตายตามมาตรา ๓๖
การจ่ายเงินกรณีสมาชิกทุพพลภาพตามมาตรา ๓๗
การจ่ายเงินกรณีสมาชิกลาออกจากกองทุนตามมาตรา ๓๘
การจ่ายเงินกรณีสมาชิกสิ้นสมาชิกภาพตามมาตรา ๓๙
และการจ่ายเงินกรณีผู้รับบำนาญหรือผู้รับเงินดำรงชีพถึงแก่ความตายตามมาตรา ๔๙
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
มาตรา ๔๑
สิทธิการรับเงินทั้งปวงตามพระราชบัญญัตินี้เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่อาจโอนแก่กันได้
มาตรา ๔๒
การหาประโยชน์ของกองทุนให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการ
และกองทุนจะมอบหมายให้บุคคลใดดำเนินการแทนตามความเหมาะสมก็ได้
การมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนภายในประเทศนั้น
กองทุนจะต้องมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนไม่น้อยกว่าสองแห่ง
ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุน
ทั้งนี้ โดยให้คำนึงถึงการกระจายความเสี่ยงด้วย และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการหาประโยชน์ของกองทุนภายในประเทศ
ให้ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนมีหน้าที่และอยู่ในบังคับบทบัญญัติต่าง
ๆ
ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เสมือนหนึ่งกองทุนเป็นกองทุนส่วนบุคคล
การมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนในต่างประเทศนั้น
กองทุนจะต้องมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนในต่างประเทศ
ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ
เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุน
การให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนในประเทศหรือในต่างประเทศ
คุณสมบัติของผู้ได้รับมอบหมาย วิธีจัดการ และค่าใช้จ่ายในการจัดการ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
มาตรา ๔๓
เงินของกองทุนให้ลงทุนได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยกฎกระทรวงซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบ
มาตรา ๔๔ ในวันที่สมาชิกสิ้นสมาชิกภาพตามมาตรา ๓๓
(๑) หรือ (๒)
ถ้าผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบที่ได้รับตลอดช่วงอายุการเป็นสมาชิกคำนวณได้น้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำประเภทสิบสองเดือนโดยเฉลี่ยของธนาคารออมสิน
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและธนาคารพาณิชย์แห่งใหญ่ห้าแห่งตามที่คณะกรรมการกำหนด
ให้กองทุนจ่ายชดเชยให้แก่สมาชิกเพื่อให้ได้ผลประโยชน์เท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่คำนวณได้ข้างต้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
การจ่ายชดเชยตามวรรคหนึ่ง
ให้กองทุนจ่ายจากเงินในบัญชีเงินกองกลางตามมาตรา ๔๖ (๓)
หมวด ๔
การเงินและการบัญชี
มาตรา ๔๕
กองทุนต้องจัดให้มีระบบบัญชีที่เหมาะสมเพื่อบันทึกรายการทางบัญชีและแสดงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกองทุนโดยถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี
รวมทั้งต้องจัดให้มีการตรวจสอบภายในเป็นประจำตลอดจนรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา ๔๖ ให้กองทุนจัดให้มีบัญชี ประกอบด้วย
(๑) บัญชีเงินรายบุคคลซึ่งแสดงรายการเงินสะสม เงินสมทบ
และผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบบรรดาที่เป็นของสมาชิกแต่ละคน
(๒) บัญชีเงินบำนาญซึ่งแสดงรายการเงินสะสม เงินสมทบ
และผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบที่โอนมาจากบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพสำหรับจ่ายบำนาญหรือจ่ายเงินดำรงชีพให้แก่สมาชิกผู้นั้น
(๓) บัญชีเงินกองกลางซึ่งแสดงรายการเงินที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามมาตรา ๗
(๔) เงินที่มีผู้บริจาคให้ เงินตามบัญชีเงินรายบุคคลที่ไม่มีผู้รับ
เงินและทรัพย์สินของกองทุนในส่วนที่มิใช่ของสมาชิกผู้รับบำนาญ
หรือผู้รับเงินดำรงชีพคนใด และดอกผลของเงินและทรัพย์สินดังกล่าว
มาตรา ๔๗
เมื่อสมาชิกผู้ใดสิ้นสมาชิกภาพเพราะอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
ให้โอนเงินจากบัญชีเงินรายบุคคลตามมาตรา ๔๖ (๑)
ของสมาชิกผู้นั้นมาเข้าบัญชีเงินบำนาญเพื่อใช้จ่ายเป็นบำนาญตามที่คำนวณได้ตามมาตรา
๓๔ หรือจ่ายเป็นเงินดำรงชีพตามมาตรา ๓๕ ให้แก่สมาชิกผู้นั้น
มาตรา ๔๘
ในกรณีที่เงินในบัญชีเงินบำนาญของผู้รับบำนาญผู้ใดมีคงเหลือไม่เพียงพอจ่ายบำนาญ
ให้จ่ายบำนาญจากเงินของบัญชีเงินกองกลาง
มาตรา ๔๙
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญหรือผู้รับเงินดำรงชีพตายและยังมีเงินคงเหลือในบัญชีเงินบำนาญของผู้นั้น
ให้จ่ายเงินที่เหลือนั้นแก่บุคคลตามมาตรา ๓๖ โดยอนุโลม
มาตรา ๕๐ ดอกผลที่ได้จากการนำเงินของกองทุนในแต่ละบัญชีไปลงทุนหาผลประโยชน์เมื่อได้หักไว้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุนตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนดแล้วที่เหลือให้ดำเนินการจัดสรรดังนี้
(๑) ดอกผลของการนำเงินของบัญชีเงินรายบุคคลไปลงทุน
ให้จัดสรรเป็นผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบของเงินที่มีอยู่ในบัญชีของสมาชิกแต่ละคน
(๒) ดอกผลของการนำเงินของบัญชีเงินบำนาญของผู้รับบำนาญไปลงทุน
ให้หักเข้าบัญชีเงินกองกลางตามอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนดเพื่อสำรองจ่ายเงินบำนาญในกรณีตามมาตรา
๔๘ ส่วนที่เหลือให้จัดสรรเพิ่มในบัญชีของผู้รับบำนาญแต่ละคน
(๓) ดอกผลของการนำเงินของบัญชีเงินบำนาญของผู้รับเงินดำรงชีพไปลงทุน
ให้จัดสรรเพิ่มในบัญชีของผู้รับเงินดำรงชีพแต่ละคน
(๔) ดอกผลอื่นนอกจาก (๑) (๒) และ (๓)
ให้จัดสรรเป็นรายได้ของบัญชีเงินกองกลาง
การจัดสรรดอกผลตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และระยะเวลาที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
หมวด ๕
การตรวจสอบและรายงาน
มาตรา ๕๑ ให้กองทุนแจ้งยอดเงินสะสม เงินสมทบ
พร้อมทั้งผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าวในส่วนของสมาชิกแต่ละคนให้สมาชิกทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา ๕๒
ให้กองทุนยื่นรายงานแสดงการจัดการกองทุนต่อรัฐมนตรีอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๕๓ ให้กองทุนจัดทำงบการเงิน
เพื่อแสดงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกองทุนเสนอผู้สอบบัญชีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
มาตรา ๕๔
ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้สอบบัญชีที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุน
มาตรา ๕๕
ให้ผู้สอบบัญชีทำรายงานการสอบบัญชีของกองทุนเสนอต่อรัฐมนตรีภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีและให้ประกาศงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบแล้วและรายงานการสอบบัญชีในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๕๖
ให้กองทุนจัดทำรายงานประจำปีเสนอรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เพื่อทราบภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับจากวันสิ้นปีบัญชี
รายงานตามวรรคหนึ่งต้องแสดงประมาณการการเงินที่จะขอให้รัฐบาลจัดสรรเพื่อการดำเนินงานของกองทุนในระยะเวลาสามปีนับจากวันเสนอรายงานผลงานของกองทุนในปีที่ล่วงมาแล้ว
พร้อมทั้งงบการเงิน และรายงานของผู้สอบบัญชีด้วย
หมวด ๖
การควบคุมกำกับการจัดการกองทุน
มาตรา ๕๗
ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนกรรมการ
ผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการเงินของกองทุนภายในระยะเวลาที่กำหนด
ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนไม่ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการเงินของกองทุนภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
หรือปรากฏว่าผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนจัดการเงินของกองทุนในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน
ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนแก้ไขหรือระงับการกระทำนั้นหรือสั่งยกเลิกการมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้นได้
เมื่อได้รับคำสั่งยกเลิกการมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนตามวรรคสองแล้วให้ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนหยุดจัดการเงินของกองทุนในทันที
และส่งมอบเงินและทรัพย์สินคืนภายในเวลาที่กำหนดในคำสั่งนั้น
มาตรา ๕๘ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับและดูแลโดยทั่วไปซึ่งการจัดการกองทุนเพื่อประโยชน์ในการนี้จะแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนหรือจะแจ้งให้คณะกรรมการดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายงานให้รัฐมนตรีทราบด้วยก็ได้
ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นว่า ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนจัดการเงินของกองทุนในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน
รัฐมนตรีอาจขอให้คณะกรรมการพิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๕๗ วรรคสองและวรรคสาม ได้
มาตรา ๕๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังต่อไปนี้
(๑)
เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจหรือสถานที่ตั้งของผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้นเพื่อตรวจสอบสมุดบัญชีหรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการจัดการเงินของกองทุน
(๒) ยึดหรืออายัดเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนข้อเท็จจริงหรือดำเนินคดี
(๓) สั่งให้กรรมการ ผู้จัดการ
พนักงานหรือลูกจ้างของผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนมาให้ถ้อยคำหรือส่งสำเนาหรือแสดงสมุดบัญชี
หรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการจัดการเงินของกองทุน
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง
ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
เมื่อได้เข้าไปและลงมือทำการตรวจสอบตาม (๑) แล้ว
ถ้ายังดำเนินการไม่เสร็จจะกระทำต่อไปในเวลากลางคืนหรือนอกเวลาทำการของสถานที่นั้นก็ได้
มาตรา ๖๐ ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๖๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๗
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๖๒
ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๗ วรรคสาม
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองล้านบาท
และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง
กรรมการผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี
หรือปรับไม่เกินสองล้านบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้นด้วย
มาตรา ๖๓ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ขัดขวาง
หรือไม่ให้ความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๕๙
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖๔ กรรมการ ผู้จัดการ
หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนรายใดแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งในสาระสำคัญเกี่ยวกับการจัดการเงินของกองทุนต่อคณะกรรมการต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินสองล้านห้าแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖๕ ความผิดตามมาตรา ๖๒ และมาตรา ๖๓
ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจเปรียบเทียบได้
คณะกรรมการเปรียบเทียบที่รัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งให้มีจำนวนสามคน
ซึ่งคนหนึ่งต้องเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เมื่อคณะกรรมการเปรียบเทียบได้ทำการเปรียบเทียบกรณีใด
และผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการเปรียบเทียบกำหนดแล้ว
ให้คดีนั้นเป็นอันเลิกกัน
ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด
ให้ดำเนินคดีต่อไป
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๖๖
ในวาระเริ่มแรกให้รัฐบาลจัดสรรเงินเข้าบัญชีเงินกองกลางตามมาตรา ๔๖ (๓)
เป็นจำนวนหนึ่งพันล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน
มาตรา ๖๗ ในวาระเริ่มแรกให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วย
ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ
ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงแรงงาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เป็นกรรมการ และผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
เป็นกรรมการและเลขานุการทำหน้าที่คณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ
และให้ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังทำหน้าที่เลขาธิการ
เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน
ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งดำเนินการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๑๑ เป็นกรรมการ และแต่งตั้งเลขาธิการ
ทั้งนี้ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๖๘
เมื่อได้ดำเนินการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและแต่งตั้งเลขาธิการแล้วให้กรรมการเท่าที่มีอยู่ประกอบเป็นคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน
โดยให้ดำเนินการเลือกกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๒
เพื่อให้ได้คณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้ภายในสามร้อยหกสิบวันนับแต่วันที่หมวด
๓ มีผลใช้บังคับ
ในกรณีที่ยังไม่อาจเลือกกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๑๒ ได้เนื่องจากยังไม่มีผู้รับบำนาญตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกตามวรรคหนึ่งอีกหนึ่งคน
เพื่อปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการเลือกกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๙
ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวด ๓ ใช้บังคับ
หากในวันที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกผู้ใดมีอายุห้าสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป
ให้ผู้นั้นมีสิทธิเป็นสมาชิกของกองทุนต่อไปได้อีกสิบปีนับแต่วันที่เป็นสมาชิก
และเมื่อเป็นสมาชิกของกองทุนครบสิบปีหรือเมื่อสมาชิกซึ่งมีอายุหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปลาออกจากการเป็นสมาชิกให้ถือว่าเป็นกรณีที่สมาชิกอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ตามพระราชบัญญัตินี้และให้นำบทบัญญัติในหมวด
๓ และหมวด ๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีเงินสมทบ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๘๔ (๔) บัญญัติให้รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ
คือ จัดให้มีการออมเพื่อการดำรงชีพในยามชราแก่ประชาชน
และเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างทั่วถึง
ดังนั้น
เพื่อให้มีระบบการออมเพื่อการดำรงชีพในยามชราภาพที่ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มโดยเฉพาะประชากรภาคแรงงานส่วนใหญ่ของประเทศที่เป็นแรงงานนอกระบบยังไม่ได้รับความคุ้มครองเพื่อการชราภาพอย่างทั่วถึง
จึงทำให้บุคคลเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในความยากจนในวัยสูงอายุ
อันเนื่องมาจากไม่มีช่องทางหรือโอกาสเข้าถึงระบบการออมเงินในขณะที่อยู่ในวัยทำงาน
เพื่อสร้างความมั่นคงในบั้นปลายของชีวิตตลอดจนเพื่อเป็นการสร้างวินัยในการออมของประชาชนคนไทยในวัยทำงาน
จึงสมควรจัดตั้งกองทุนเพื่อเป็นช่องทางการออมขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้ที่ยังไม่ได้รับความคุ้มครองเพื่อการชราภาพให้ได้รับผลประโยชน์ในรูปบำนาญ
อันเป็นการสร้างความเท่าเทียมและความเป็นธรรมในการดูแลจากภาครัฐ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ พฤษภาคม
๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๘ พฤษภาคม
๒๕๕๔
วิชพงษ์/แก้ไข
๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๘
ภัทรวีร์/ปรับปรุง
๘
ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๓๔ ก/หน้า ๔๗/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ |
752350 | ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือกกรรมการซึ่งเป็นสมาชิก และกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง หลักเกณฑ์
และวิธีการคัดเลือกกรรมการซึ่งเป็นสมาชิก และกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญ
เพื่อให้การคัดเลือกกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกและกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญอันเป็นองค์ประกอบของคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติเป็นไปอย่างถูกต้อง
และคำนึงถึงการกระจายตัวในทุกภูมิภาคและความเท่าเทียมกันระหว่างชายหญิง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ในประกาศนี้
กองทุน หมายความว่า กองทุนการออมแห่งชาติ
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ
คณะอนุกรรมการ หมายความว่า
คณะอนุกรรมการคัดเลือกกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกและกรรมการ ซึ่งเป็นผู้รับบำนาญ
สมาชิก หมายความว่า สมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ
เลขาธิการ หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ
ข้อ
๒ หลักเกณฑ์
และวิธีการคัดเลือกกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกและกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญต้องคำนึงถึงคุณสมบัติ
และการกระจายตัวในทุกภูมิภาค และความเท่าเทียมกันระหว่างชายหญิง
ข้อ
๓ ให้กองทุนสร้างความรู้ ความเข้าใจ
สำหรับแนวทางการคัดเลือกกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกและกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญ
ด้วยสื่อประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกและผู้รับบำนาญทราบโดยทั่วกัน
การกำหนดวันรับสมัคร
แบบใบรับสมัคร ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ข้อ
๔ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
ประกอบด้วย ประธานคณะอนุกรรมการและคณะอนุกรรมการจากผู้แทนคณะกรรมการจำนวนสามคน
และผู้แทนจากกระทรวงการคลังจำนวนสองคน
ให้พนักงานกองทุนการออมแห่งชาติที่เลขาธิการมอบหมาย
เป็นเลขานุการ
ข้อ
๕ ให้คณะอนุกรรมการมีอำนาจหน้าที่คัดเลือก
ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดวันประชุมเพื่อคัดเลือกกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกและกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญ
(๒)
กำหนดวิธีการคัดเลือกกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกและกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญ
(๓) พิจารณาคัดเลือกกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกและกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญ
(๔)
รายงานผลการพิจารณาคัดเลือกกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกและกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญต่อคณะกรรมการ
(๕) ปฏิบัติการในเรื่องอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
ข้อ
๖ ภายหลังจากวันที่สิ้นสุดของการรับสมัครให้กองทุนตรวจสอบคุณสมบัติผู้เข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกและกรรมการผู้รับบำนาญแล้วรายงานให้คณะอนุกรรมการพิจารณาภายในสิบห้าวัน
ข้อ
๗ ให้คณะอนุกรรมการกำหนดวันประชุมคัดเลือกกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกและกรรมการ
ซึ่งเป็นผู้รับบำนาญที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติจากกองทุนโดยเร็วภายในไม่เกินหกสิบวันนับถัดจากวันที่ได้รับรายงานจากกองทุนการออมแห่งชาติ
เพื่อให้ได้กรรมการซึ่งเป็นสมาชิกจำนวนหกคนและกรรมการผู้รับบำนาญจำนวนหนึ่งคน
และให้ขึ้นบัญชีไว้สำหรับผู้ได้รับคะแนนในลำดับถัดไปอีกจำนวนหกคนสำหรับกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกและอีกหนึ่งคนสำหรับกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญ
ให้คณะอนุกรรมการจัดทำเป็นรายงานเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับคัดเลือกและผู้ที่ได้ขึ้นบัญชีไว้
กรณีที่มีผู้ได้รับคะแนนเท่ากันให้ตัดสินโดยวิธีการจับสลาก
ข้อ
๘ ในกรณีที่กรรมการซึ่งเป็นสมาชิกหรือกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญผู้ใดพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระให้ผู้ซึ่งได้รับคะแนนถัดไปซึ่งขึ้นบัญชีไว้ในการเลือกกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกหรือกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญเป็นกรรมการแทน
ในกรณีที่ไม่มีผู้ขึ้นบัญชีไว้ให้ดำเนินการเลือกกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกหรือกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญขึ้นใหม่ตามประกาศนี้
ข้อ
๙ วาระการดำรงตำแหน่ง
การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกหรือกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญให้เป็นไปตามกฎหมายกองทุนการออมแห่งชาติ
ข้อ
๑๐ ให้คณะกรรมการประกาศว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการซึ่งเป็นสมาชิกหรือกรรมการซึ่งเป็นผู้รับบำนาญ
ข้อ ๑๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๘
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙
อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
วริญา/ปริยานุช/จัดทำ
๒๑ มิถุนายน
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๓๕ ง/หน้า ๑๒/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๙ |
752348 | ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานแสดงการจัดการกองทุนการออมแห่งชาติ
| ประกาศกระทรวงการคลัง
ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง
รายงานแสดงการจัดการกองทุนการออมแห่งชาติ[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ และมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นรายงาน แสดงการจัดการกองทุนการออมแห่งชาติ
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้กองทุนการออมแห่งชาติจัดทำรายงานแสดงการจัดการกองทุนตามแบบที่กำหนดตามเอกสารแนบท้ายประกาศ
ข้อ
๒ ให้รายงานเป็นประจำทุกเดือน
โดยให้รายงานโดยเร็ว ทั้งนี้
ภายในวันทำการสุดท้ายของเดือนถัดไป
ข้อ
๓ ให้ยื่นรายงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
โดยส่งสำเนารายงานให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังด้วย
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๘
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙
อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายงานแสดงการจัดการกองทุนการออมแห่งชาติ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วริญา/ปริยานุช/จัดทำ
๒๑ มิถุนายน
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๓๕ ง/หน้า ๑๑/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๙ |
752346 | ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดระดับความน่าเชื่อถือของตราสารแสดงสิทธิในหนี้ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง
การกำหนดระดับความน่าเชื่อถือของตราสารแสดงสิทธิในหนี้
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๖ (๑) (ซ) ของกฎกระทรวง การจัดการเงินของกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๘
ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกประกาศกำหนดให้ระดับตราสารแสดงสิทธิในหนี้ตามข้อ
๖ (๑) (ซ) คือ
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของนิติบุคคลที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรกจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๘
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙
อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
วริญา/ปริยานุช/จัดทำ
๒๑ มิถุนายน
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๓๕ ง/หน้า ๑๐/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๙ |
749849 | ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่กองทุนการออมแห่งชาติ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง
กำหนดสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่กองทุนการออมแห่งชาติ[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงประกาศกำหนดให้สำนักงานใหญ่กองทุนการออมแห่งชาติ
ตั้งอยู่เลขที่ ๔๒๐/๑ อาคารเพ็ญศรี พิชัยสนิธ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐
ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ปริยานุช/จัดทำ
๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙
กัญฑรัตน์/ตรวจ
๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๓๓ ง/หน้า ๖/๒๘ เมษายน ๒๕๕๙ |
728179 | ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ประโยชน์ตอบแทนของกรรมการและอนุกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ | ประกาศกระทรวงการคลัง
ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง
ประโยชน์ตอบแทนของกรรมการและอนุกรรมการ
ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๕๔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงกำหนดประโยชน์ตอบแทนของกรรมการและอนุกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้กรรมการและอนุกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ
ได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุม ดังต่อไปนี้
(๑) ประธานกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ ให้ได้รับเดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท
(๒) กรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ ให้ได้รับเดือนละ ๘,๐๐๐ บาท
(๓)
ประธานอนุกรรมการการลงทุนและประธานอนุกรรมการที่คณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติแต่งตั้ง
ให้ได้รับเดือนละ ๕,๐๐๐ บาท
(๔)
อนุกรรมการการลงทุนและอนุกรรมการที่คณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติแต่งตั้งให้ได้รับเดือนละ
๔,๐๐๐ บาท
การจ่ายเบี้ยประชุมตามวรรคหนึ่ง
ให้จ่ายเป็นรายเดือนเฉพาะเดือนที่เข้าประชุม
หากเดือนใดไม่มีการประชุมหรือมีการประชุมแต่ไม่เข้าร่วมประชุมให้งดจ่าย
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
สมหมาย
ภาษี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒ มิถุนายน
๒๕๕๘
ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ
๒ มิถุนายน
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง/หน้า ๔/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘ |
786406 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ ว่าด้วยค่าตอบแทนสำหรับผู้ช่วยปฏิบัติงานให้กองทุน พ.ศ. 2560 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ
ว่าด้วยค่าตอบแทนสำหรับผู้ช่วยปฏิบัติงานให้กองทุน
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรให้กำหนดระเบียบคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ
ว่าด้วยค่าตอบแทนสำหรับผู้ช่วยปฏิบัติงานให้กองทุนการออมแห่งชาติ
เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนการออมแห่งชาติให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐ และมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔
ประกอบกับมติคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๐
เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ คณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ จึงออกระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ
ว่าด้วยค่าตอบแทนสำหรับผู้ช่วยปฏิบัติงานให้กองทุน พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
กองทุน หมายความว่า
กองทุนการออมแห่งชาติ
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ
คณะอนุกรรมการ หมายความว่า
คณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นโดยคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๕๔
เลขาธิการ หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ
พนักงาน หมายความว่า
พนักงานของกองทุนการออมแห่งชาติ
ซึ่งไม่รวมถึงเลขาธิการและรองเลขาธิการด้านการลงทุน
ลูกจ้าง หมายความว่า
ลูกจ้างของกองทุนการออมแห่งชาติ
ผู้ช่วยปฏิบัติงานให้กองทุน
หมายความว่า บุคคลภายนอกซึ่งได้รับการแต่งตั้ง หรือการขอความร่วมมือ ดังต่อไปนี้
(๑) กรรมการหรือคณะทำงานที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ
หรือที่เลขาธิการแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่กองทุนหรือตามความความร่วมมือระหว่างกองทุนกับหน่วยงานอื่น
(๒) เลขานุการในการประชุมของกรรมการหรือของคณะทำงานตาม
(๑)
(๓)
ผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงหรือให้ข้อคิดเห็นและอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการ
คณะอนุกรรมการ หรือเลขาธิการ
ขอความร่วมมือให้มาปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้กับกองทุน
ข้อ ๔
ให้เลขาธิการเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ รวมทั้งให้มีอำนาจตีความ และวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติตามระเบียบนี้
กรณีจำเป็นที่ไม่อาจปฏิบัติตามระเบียบนี้หรือต้องเบิกจ่ายค่าตอบแทนนอกเหนือจากอัตราที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
ให้เลขาธิการขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการ
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๕
ผู้ช่วยปฏิบัติงานให้กองทุนที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการปฏิบัติงาน
ตามบัญชีอัตราค่าตอบแทนท้ายระเบียบนี้ มีดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้ช่วยปฏิบัติงานให้กองทุนที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ
หรือที่เลขาธิการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ กรรมการ ประธานคณะทำงาน คณะทำงาน
ที่ปรึกษา เลขานุการ หรือผู้ช่วยเลขานุการ
(๒) ผู้ช่วยปฏิบัติงานให้กองทุนที่คณะกรรมการ
คณะอนุกรรมการ หรือเลขาธิการเชิญเข้าร่วมประชุม
เพื่อชี้แจงหรือให้ข้อคิดเห็นและอื่น ๆ ในการประชุมร่วมกับคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ
หรือที่เลขาธิการขอความร่วมมือให้ปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้กองทุน
ตามความร่วมมือระหว่างกองทุนกับหน่วยงานอื่น
ข้อ ๖ การประชุมกรรมการ
หรือคณะทำงานที่มีสิทธิเบิกค่าตอบแทนตามบัญชีอัตราค่าตอบแทนท้ายระเบียบนี้
จะต้องมีผู้เข้าร่วมประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของคณะนั้น
หมวด ๒
ค่าตอบแทนของผู้ช่วยปฏิบัติงานให้กองทุน
ค่าเช่าที่พัก และค่าพาหนะเดินทาง
ข้อ ๗ การประชุมกรรมการ
หรือคณะทำงานตามระเบียบนี้ ให้ได้รับค่าตอบแทนเป็นรายครั้ง
เฉพาะครั้งที่มาประชุม
แต่รวมแล้วคณะหนึ่งให้เบิกค่าตอบแทนได้ไม่เกินเดือนละหนึ่งครั้ง
เว้นแต่คณะกรรมการจะมีมติกำหนดเป็นอย่างอื่น
การประชุมกรรมการหรือคณะทำงานแต่ละคณะ
ให้จ่ายค่าตอบแทนได้เพียงครั้งเดียวในหนึ่งวัน
ข้อ ๘
ให้เลขานุการมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนไม่เกินหนึ่งคน และผู้ช่วยเลขานุการ มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนไม่เกินสองคน
กรรมการ หรือคณะทำงานผู้ใด เป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย
ให้เบิกค่าตอบแทนได้เพียงตำแหน่งเดียว
ข้อ ๙ ผู้ช่วยปฏิบัติงานให้กองทุนตามข้อ
๕ (๒) มีสิทธิเบิกค่าตอบแทนเป็นรายครั้ง เฉพาะครั้งที่เข้าร่วมประชุมหรือปฏิบัติงานให้กองทุน
ข้อ ๑๐
กรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น ผู้ช่วยปฏิบัติงานให้กองทุนตามระเบียบนี้
มีสิทธิเบิกค่าเช่าที่พักหรือค่าพาหนะสำหรับการไปเข้าร่วมประชุมหรือปฏิบัติงานให้กองทุนได้
โดยให้นำระเบียบคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาบังคับใช้โดยอนุโลม
และให้เลขาธิการเป็นผู้อนุมัติ
ข้อ ๑๑ คณะกรรมการ
คณะอนุกรรมการ เลขาธิการ รองเลขาธิการด้านการลงทุน พนักงาน หรือลูกจ้างของกองทุน
ที่เข้าร่วมประชุมหรือได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายจากคณะกรรมการ
หรือที่เลขาธิการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใดในการประชุมของกรรมการ
หรือคณะทำงานหรือได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใดในลักษณะเดียวกันกับผู้ช่วยปฏิบัติงานให้กองทุน
ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามระเบียบนี้
ข้อ ๑๒
หลักฐานการจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้ช่วยปฏิบัติงานให้กองทุนตามระเบียบนี้
ให้เป็นไปตามแบบที่เลขาธิการกำหนด
ประกาศ
ณ วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
สมชัย สัจจพงษ์
ปลัดกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีอัตราค่าตอบแทนผู้ช่วยปฏิบัติงานให้กองทุน
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ
๒๑ กันยายน
๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๒๓ กันยายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๒๙ ง/หน้า ๘/๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ |
834301 | พระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 | พระราชบัญญัติ
กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๖๒
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.
๒๕๖๒
เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๓๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้
เพื่อให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีสถานะที่เพียงพอต่อการดำเนินการตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
อันจะเป็นประโยชน์ต่อความมั่นคงด้านพลังงานและเศรษฐกิจของประเทศ
ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา
๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า
พระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา
๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา
๓ ในพระราชบัญญัตินี้
กองทุน
หมายความว่า กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
น้ำมันเชื้อเพลิง
หมายความว่า น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันที่คล้ายกันหรือน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ที่คล้ายกัน
น้ำมันดิบสังเคราะห์ที่ใช้หรืออาจใช้เป็นวัตถุดิบในการกลั่นหรือผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้น และให้หมายความรวมถึงก๊าซปิโตรเลียมเหลว
ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ หรือน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากสิ่งอื่นใดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หมายความว่า
ก๊าซปิโตรเลียมที่ประกอบด้วยโพรเพน โพรพิลีน
นอร์แมลบิวเทน ไอโซบิวเทน หรือบิวทิลีน อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างผสมกันเป็นส่วนใหญ่
ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์
หมายความว่า ก๊าซปิโตรเลียมที่ประกอบด้วยมีเทนเป็นส่วนใหญ่ เพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์
วิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง หมายความว่า
สถานการณ์ที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีการปรับราคาขึ้นอย่างรวดเร็วหรือผันผวนอันอาจเกิดผลกระทบต่อการดำรงชีพของประชาชน
หรือสถานการณ์ที่น้ำมันเชื้อเพลิงอาจขาดแคลนและไม่เพียงพอต่อการใช้ภายในประเทศ ทั้งนี้
ตามที่กำหนดในแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง
โรงกลั่น
หมายความว่า โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง โรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและสารละลาย สถานที่ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
และโรงแยกก๊าซธรรมชาติที่ผลิตและจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
หมายความว่า
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
คณะกรรมการ
หมายความว่า คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
กรรมการ
หมายความว่า กรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สำนักงาน
หมายความว่า สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ผู้อำนวยการ
หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
พนักงานเจ้าหน้าที่
หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรี
หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา
๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของตน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
ประกาศนั้น
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
การจัดตั้งกองทุน
มาตรา
๕ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง
เรียกว่า กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง
การดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ตามวรรคหนึ่งให้อยู่ภายใต้กรอบนโยบายการบริหารกองทุนตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติกำหนด
มาตรา
๖ กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน
ดังต่อไปนี้
(๑)
เงินและทรัพย์สินที่ได้รับโอนมาตามมาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙
(๒)
เงินอุดหนุนที่รัฐบาลอาจจัดสรรให้ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินและจำเป็น
(๓)
เงินและเงินเพิ่มที่ส่งเข้ากองทุนตามมาตรา ๒๗ มาตรา ๓๒ และมาตรา ๓๔
(๔)
เงินกู้ตามมาตรา ๒๖
(๕)
เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้
(๖)
เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนหรือที่กองทุนได้รับตามกฎหมาย
(๗)
ดอกผลหรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
(๘)
ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือรายได้จากการดำเนินงาน
(๙)
เงินที่ได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินของกองทุนหรือที่ได้จากการจัดหารายได้
มาตรา
๗ รายได้ของกองทุนไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
มาตรา
๘ เงินกองทุนให้ใช้จ่ายได้เพื่อกิจการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ค่าใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕
(๒)
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานกองทุนหรือการบริหารกองทุนและกิจการอื่นที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับการจัดการกิจการของกองทุน
หมวด ๒
การบริหารกิจการของกองทุน
มาตรา
๙ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ประกอบด้วย
(๑)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานกรรมการ
(๒)
ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นรองประธานกรรมการ
(๓)
กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา อธิบดีกรมการค้าภายใน
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน อธิบดีกรมบัญชีกลาง
และผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
(๔)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสี่คน
ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ
และประสบการณ์ในด้านการเงินและด้านธุรกิจน้ำมันเชื้อเพลิง อย่างน้อยด้านละหนึ่งคน
หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของกองทุน
ให้ผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ
และให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่สำนักงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม
(๔) ให้ดำเนินการสรรหาตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา
๑๐ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
(๑)
มีสัญชาติไทย
(๒)
มีอายุไม่เกินเจ็ดสิบปี
(๓)
ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(๔)
ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕)
ไม่เป็นบุคคลที่ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
(๖)
ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๗)
ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารในพรรคการเมือง
ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(๘)
ไม่เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
(๙)
ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน
เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติไม่เหมาะสม
มาตรา
๑๑ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี
เมื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะพ้นจากตำแหน่งเพราะครบวาระในวรรคหนึ่ง
ให้ดำเนินการเพื่อแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้แล้วเสร็จก่อนครบวาระไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
ในกรณีที่ยังไม่มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
มาตรา
๑๒ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
คณะรัฐมนตรีให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่
มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ
(๔)
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐
มาตรา
๑๓ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่
และให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่างภายในเก้าสิบวัน และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
เว้นแต่วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเหลือไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนก็ได้
มาตรา
๑๔ คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(๑)
เสนอแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและแผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
(๒)
รายงานผลการประเมินการปฏิบัติงานและการเสนอแนะมาตรการแก้ไขปัญหาอุปสรรคการปฏิบัติการตามแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและแผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
(๓)
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกองทุน
และกำกับดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับนโยบายการบริหารกองทุนตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติกำหนด
(๔)
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการส่งเงินเข้ากองทุนหรือได้รับเงินชดเชยและกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนตามมาตรา ๒๗
อัตราเงินชดเชยตามมาตรา ๒๙ อัตราเงินคืนจากกองทุนตามมาตรา ๓๑ และอัตราเงินชดเชยคืนกองทุนตามมาตรา
๓๒ โดยอาจกำหนดตามประเภท การใช้ และแหล่งที่มาของน้ำมันเชื้อเพลิง
ก็ได้ ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการรายงานการดำเนินการดังกล่าวต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเพื่อทราบ
(๕)
อนุมัติการจ่ายเงินกองทุนเพื่อดำเนินการตามแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมตามมาตรา
๕
(๖)
ให้ความเห็นชอบการกู้ยืมเงินของสำนักงานตามมาตรา ๒๖
(๗)
กำหนดระเบียบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินและการเก็บรักษาเงินกองทุนโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
(๘)
บริหารสินทรัพย์และหนี้สินของกองทุน ให้มีความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
(๙)
อนุมัติแผนงาน โครงการ และงบประมาณประจำปีของสำนักงาน
(๑๐)
ออกระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๑๑)
ออกระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับโครงสร้างองค์กร การบริหารงานบุคคล การงบประมาณ การเงินและทรัพย์สิน และการดำเนินงานอื่นของกองทุนและสำนักงาน
รวมถึงการกำหนดค่าตอบแทนสิทธิประโยชน์ หรือสวัสดิการต่าง ๆ ของผู้อำนวยการ
เจ้าหน้าที่ และลูกจ้าง ทั้งนี้
โดยสอดคล้องกับหลักเกณฑ์และแนวทางที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารทุนหมุนเวียนกำหนด
(๑๒)
ปฏิบัติการอื่นใดตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติมอบหมาย
การออกประกาศตาม (๔) ประธานกรรมการอาจมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการเป็นผู้ลงนามในประกาศแทนก็ได้
มาตรา
๑๕ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมคณะกรรมการ
ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม แต่ถ้าทั้งประธานกรรมการและรองประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้เลื่อนการประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา
๑๖ คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้
การประชุมคณะอนุกรรมการให้นำความในมาตรา
๑๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา
๑๗ ให้ประธานกรรมการ
รองประธานกรรมการ กรรมการ และอนุกรรมการ ได้รับเบี้ยประชุมหรือประโยชน์ตอบแทนอื่นตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
หมวด ๓
สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
มาตรา
๑๘ ให้มีสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลและไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น
และให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
กิจการของสำนักงานไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม
และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสำนักงานต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
มาตรา
๑๙ ให้สำนักงานมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(๑)
รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ
(๒)
จัดทำแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและแผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงรวมทั้งรายงานผลการประเมินการปฏิบัติงานและการเสนอแนะมาตรการแก้ไขปัญหาอุปสรรคการปฏิบัติการตามแผนดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการ
(๓)
กู้ยืมเงินตามมาตรา ๒๖
(๔)
เสนอแผนการเงินและงบประมาณประจำปีต่อคณะกรรมการ
(๕)
จัดทำรายงานประจำปีและความเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานด้านต่าง
ๆ ของสำนักงาน รวมทั้งรายงานการเงินและบัญชี เสนอต่อคณะกรรมการ
(๖)
ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพย์สินใด ๆ
(๗)
ก่อตั้งสิทธิหรือทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สิน
(๘)
ดำเนินคดีทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง
ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนหรือการบริหารกองทุนและกิจการอื่นที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับการจัดการกิจการของกองทุน
(๙)
ปฏิบัติการตามที่คณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือคณะกรรมการมอบหมาย
(๑๐)
ปฏิบัติการอื่นใดที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของสำนักงาน
มาตรา
๒๐ ให้สำนักงานมีผู้อำนวยการเป็นผู้รับผิดชอบบริหารกิจการของสำนักงานขึ้นตรงต่อคณะกรรมการ
และจะให้มีรองผู้อำนวยการหรือผู้ช่วยผู้อำนวยการเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติงานรองจากผู้อำนวยการก็ได้
ให้คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้ง
ถอดถอน และกำหนดอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้อำนวยการ
หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาผู้อำนวยการ
ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
มาตรา
๒๑ ผู้อำนวยการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
(๑)
มีอายุไม่เกินหกสิบห้าปี
(๒)
เป็นผู้สามารถทำงานให้แก่สำนักงานได้เต็มเวลา
(๓)
เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์เหมาะสมกับกิจการของสำนักงาน
(๔)
มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐ (๑) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) และ
(๙)
มาตรา
๒๒ ผู้อำนวยการมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี
และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
มาตรา
๒๓ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา
๒๒ ผู้อำนวยการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
คณะกรรมการให้ออก
เพราะไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงาน บกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย
หรือหย่อนความสามารถ
(๔)
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑
มติของคณะกรรมการให้ผู้อำนวยการออกจากตำแหน่งตาม
(๓) ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการเท่าที่มีอยู่
โดยไม่นับรวมผู้อำนวยการ
มาตรา
๒๔ ให้ผู้อำนวยการมีหน้าที่และอำนาจ
ดังต่อไปนี้
(๑)
บริหารกิจการของสำนักงานให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ของกองทุน ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ นโยบาย
หรือมติที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติหรือคณะกรรมการกำหนด และเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสำนักงาน
(๒)
วางระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินงานของสำนักงานโดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ นโยบาย
หรือมติที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติหรือคณะกรรมการกำหนด
(๓)
แต่งตั้งรองผู้อำนวยการ และผู้ช่วยผู้อำนวยการ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
(๔)
บรรจุ แต่งตั้ง เลื่อน ลด ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง
ลงโทษทางวินัยเจ้าหน้าที่และลูกจ้าง ตลอดจนให้เจ้าหน้าที่และลูกจ้างออกจากตำแหน่ง
ทั้งนี้ ตามระเบียบหรือข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา
๒๕ ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก
ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้แทนของสำนักงาน และเพื่อการนี้
ผู้อำนวยการจะมอบอำนาจให้บุคคลใดปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด
หมวด ๔
การดำเนินงานของกองทุน
มาตรา
๒๖ กองทุนต้องมีจำนวนเงินเพียงพอเพื่อใช้ในการบริหารจัดการกองทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งเมื่อรวมกับเงินกู้ตามวรรคสองแล้วต้องไม่เกินจำนวนสี่หมื่นล้านบาท
เมื่อกองทุนมีจำนวนเงินไม่เพียงพอเพื่อดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามมาตรา ๕ ให้สำนักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการและโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจกู้ยืมเงินเป็นจำนวนไม่เกินสองหมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
การเปลี่ยนแปลงกรอบวงเงินตามวรรคหนึ่งและกรอบวงเงินกู้ตามวรรคสองให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
ให้กระทำได้โดยการตราพระราชกฤษฎีกา
มาตรา
๒๗ ให้บุคคลดังต่อไปนี้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนตามอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
(๑)
กรณีน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตภายในราชอาณาจักร ให้ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นโรงกลั่นส่งเงินเข้ากองทุนให้แก่กรมสรรพสามิต
ตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่าย ทั้งนี้
ตามระยะเวลาและวิธีการที่กรมสรรพสามิตประกาศกำหนด
(๒)
กรณีน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
ให้ผู้นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงส่งเงินเข้ากองทุนให้แก่กรมศุลกากร ตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
ทั้งนี้
ตามระยะเวลาและวิธีการที่กรมศุลกากรประกาศกำหนด
(๓)
กรณีก๊าซปิโตรเลียมเหลวจากการแยกก๊าซธรรมชาติที่ซื้อหรือได้มาจากรัฐผู้รับสัมปทาน หรือผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
ให้ผู้ซื้อหรือได้มาซึ่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวส่งเงินเข้ากองทุนให้แก่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
ตามปริมาณก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ซื้อหรือได้มา ทั้งนี้ ตามระยะเวลาและวิธีการที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติประกาศกำหนด
มาตรา
๒๘ ในกรณีดังต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุน
(๑)
การนำน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตในโรงกลั่นมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตในโรงกลั่นของผู้ผลิต
หรือใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่นของผู้ผลิต
(๒)
การนำน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตในโรงกลั่นมาขายหรือจำหน่ายเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่นของบุคคลอื่น
(๓)
การนำน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้หรือขายหรือจำหน่ายเป็นวัตถุดิบในโรงกลั่น
(๔)
การส่งน้ำมันเชื้อเพลิงออกนอกราชอาณาจักร
หรือส่งน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปในคลังสินค้าทัณฑ์บนหรือเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
หรือเขตประกอบการเสรีตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(๕)
การขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อนำไปขายหรือจำหน่ายให้แก่เรือประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
(๖)
การขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่เรือที่มีขนาดเกินกว่าห้าร้อยตันกรอสส์เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
มาตรา
๒๙ เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ตามมาตรา
๕ ให้บุคคลดังต่อไปนี้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยจากกองทุนตามอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
และให้ผู้อำนวยการเป็นผู้สั่งจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชย
(๑)
กรณีน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตภายในราชอาณาจักร ให้ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นโรงกลั่นมีสิทธิได้รับเงินชดเชยตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อใช้ภายในราชอาณาจักร
(๒)
กรณีน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
ให้ผู้นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงมีสิทธิได้รับเงินชดเชยตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้าเพื่อใช้ภายในราชอาณาจักร
(๓)
กรณีก๊าซปิโตรเลียมเหลวจากการแยกก๊าซธรรมชาติที่ซื้อหรือได้มาจากรัฐผู้รับสัมปทานหรือผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
ให้ผู้ซื้อหรือได้มาซึ่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวมีสิทธิได้รับเงินชดเชยตามปริมาณก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ซื้อหรือได้มา
น้ำมันเชื้อเพลิงใดได้รับยกเว้นไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา
๒๘ มิให้มีการจ่ายเงินชดเชยตามมาตรานี้
การขอรับเงินชดเชย
ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยยื่นรายการแจ้งชนิดและปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงต่อกรมสรรพสามิต
กรมศุลกากร หรือกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
ภายในสามปีนับแต่วันที่มีสิทธิได้รับเงินชดเชย
และตามวิธีการที่หน่วยงานนั้นประกาศกำหนด
มาตรา
๓๐ น้ำมันเชื้อเพลิงใดที่มีการส่งเงินเข้ากองทุน
หรือมีการขอรับเงินชดเชยจากกองทุนแล้ว หากมีการนำไปผลิตใหม่โดยการผสมสารเติมแต่งและทำให้ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น
ให้ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นโรงกลั่นส่งเงินเข้ากองทุน
หรือขอรับเงินชดเชยจากกองทุน เฉพาะในส่วนของปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น
มาตรา
๓๑ น้ำมันเชื้อเพลิงใดที่มีการส่งเงินเข้ากองทุนแล้วตามมาตรา
๒๗ หากมีกรณีตามมาตรา ๒๘ เกิดขึ้นหลังจากมีการส่งเงินเข้ากองทุน
ให้บุคคลดังต่อไปนี้มีสิทธิได้รับเงินคืนจากกองทุนตามอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ไม่ว่าผู้นั้นเป็นผู้ส่งเงินเข้ากองทุนหรือไม่ก็ตาม
(๑)
ผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา ๒๗ (๑) หากนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้
ตามมาตรา
๒๘ (๑)
(๒)
ผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นเพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่นตามมาตรา
๒๘ (๒) หรือ (๓) แต่ไม่รวมถึงส่วนที่นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง
(๓)
ผู้ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นออกนอกราชอาณาจักร
หรือผู้ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นเข้าไปในคลังสินค้าทัณฑ์บนหรือเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
หรือเขตประกอบการเสรีตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ในกรณีตามมาตรา ๒๘ (๔)
(๔)
ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นให้แก่เรือประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
ในกรณีตามมาตรา ๒๘ (๕)
(๕)
ผู้ขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นให้แก่เรือที่มีขนาดเกินกว่าห้าร้อยตันกรอสส์เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
ในกรณีตามมาตรา ๒๘ (๖)
ให้บุคคลตามวรรคหนึ่งยื่นคำขอรับเงินคืนจากกองทุนต่อกรมสรรพสามิตหรือกรมศุลกากร แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
ภายในสามปีนับแต่วันที่มีสิทธิได้รับเงินคืนจากกองทุน และตามวิธีการที่หน่วยงานนั้นประกาศกำหนด
มาตรา
๓๒ น้ำมันเชื้อเพลิงใดที่มีการรับเงินชดเชยจากกองทุนแล้วตามมาตรา
๒๙ หากมีกรณีตามมาตรา ๒๘
เกิดขึ้นหลังจากได้รับเงินชดเชยจากกองทุน ให้บุคคลดังต่อไปนี้ส่งเงินชดเชยคืนกองทุนตามอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ไม่ว่าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับเงินชดเชยหรือไม่ก็ตาม
(๑)
ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยตามมาตรา ๒๙ หากนำน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นไปใช้ตามมาตรา ๒๘
(๑)
(๒)
ผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมันตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นเพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงกลั่นตามมาตรา
๒๘ (๒) หรือ (๓) แต่ไม่รวมถึงส่วนที่นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง
(๓)
ผู้ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นออกนอกราชอาณาจักร
หรือผู้ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นเข้าไปในคลังสินค้าทัณฑ์บนหรือเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
หรือเขตประกอบการเสรีตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ในกรณีตามมาตรา ๒๘ (๔)
(๔)
ผู้ประกอบการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นให้แก่เรือประมงในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
ในกรณีตามมาตรา ๒๘ (๕)
(๕)
ผู้ขายหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นให้แก่เรือที่มีขนาดเกินกว่าห้าร้อยตันกรอสส์เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
ในกรณีตามมาตรา ๒๘ (๖)
ให้บุคคลตามวรรคหนึ่งส่งเงินชดเชยคืนกองทุนแก่กรมสรรพสามิตหรือกรมศุลกากร
แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีหน้าที่ส่งเงินชดเชยคืนกองทุน และตามวิธีการที่หน่วยงานนั้นประกาศกำหนด
มาตรา
๓๓ ผู้ใดส่งเงินเข้ากองทุนโดยไม่มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุน
หรือส่งเงินเข้ากองทุนเกินกว่าจำนวนที่มีหน้าที่ต้องส่ง
ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินคืนตามระเบียบที่สำนักงานกำหนด
มาตรา
๓๔ ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนไม่ส่งเงินเข้ากองทุน
ส่งเงินเข้ากองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง
ไม่ส่งเงินชดเชยคืนกองทุน หรือส่งเงินชดเชยคืนกองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง
ภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ดำเนินคดีตามมาตรา ๔๑ เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑)
ถ้าผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนเห็นเองว่า ตนมีกรณีดังกล่าว
ให้ผู้นั้นส่งเงินตามจำนวนที่ต้องส่ง
หรือตามจำนวนที่ขาด พร้อมทั้งเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งจุดห้าต่อเดือนของจำนวนเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ครบกำหนดส่งเงินเข้ากองทุนจนกว่าจะครบ
ทั้งนี้ เงินเพิ่มต้องมีจำนวนรวมแล้วไม่เกินกว่าจำนวนเงินที่ต้องนำส่ง
(๒)
ถ้ากรมสรรพสามิต กรมศุลกากร หรือกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เป็นผู้ตรวจพบว่ามีกรณีดังกล่าว ให้กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร
หรือกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ แล้วแต่กรณี
แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุน ส่งเงินตามจำนวนที่ต้องส่ง
หรือตามจำนวนที่ขาด พร้อมทั้งเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสามต่อเดือนของจำนวนเงินดังกล่าว
นับแต่วันที่ครบกำหนดส่งเงินเข้ากองทุนจนกว่าจะครบ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ เงินเพิ่มต้องมีจำนวนรวมแล้วไม่เกินกว่าจำนวนเงินที่ต้องนำส่ง
เงินเพิ่มตามวรรคหนึ่ง
เป็นเงินที่ต้องส่งเข้ากองทุนหรือเป็นเงินชดเชยที่ต้องส่งคืนกองทุน แล้วแต่กรณี
ในการคำนวณระยะเวลาเพื่อการคำนวณเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่ง
หากมีเศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน
ให้คณะกรรมการมีอำนาจลดหรือยกเว้นการจ่ายเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งได้
ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
หมวด ๕
พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา
๓๕ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังต่อไปนี้
(๑)
เข้าไปในสถานที่ทำการ โรงกลั่น สถานที่เก็บ และสถานีจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น
เพื่อตรวจสอบเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการกระทำใดที่อาจเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๒)
มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งบัญชีเอกสารหรือหลักฐาน หรือวัตถุใด
มาเพื่อประกอบการพิจารณาตรวจสอบการกระทำที่อาจเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา
๓๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
มาตรา
๓๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานประกาศกำหนด
มาตรา
๓๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๖
การบัญชี การตรวจสอบ
และการประเมินผล
มาตรา
๓๙ การบัญชี การตรวจสอบ
และการประเมินผลของกองทุน ให้นำกฎหมายว่าด้วยการบริหารทุนหมุนเวียนมาใช้บังคับ
มาตรา
๔๐ ให้คณะกรรมการทำรายงานประจำปีของกองทุนเสนอคณะรัฐมนตรี
สภาผู้แทนราษฎร
และวุฒิสภาเพื่อทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายงานการสอบบัญชีจากผู้สอบบัญชี
รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลงานของกองทุนในปีที่ล่วงมาแล้ว พร้อมทั้งงบการเงิน
และรายงานของผู้สอบบัญชี
หมวด ๗
บทกำหนดโทษ
มาตรา
๔๑ ผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนผู้ใดไม่ส่งเงินเข้ากองทุนหรือส่งเงินเข้ากองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่งตามมาตรา
๒๗ หรือไม่ส่งเงินชดเชยคืนกองทุนหรือส่งเงินชดเชยคืนกองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่งตามมาตรา ๓๒
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือปรับไม่เกินห้าเท่าของจำนวนที่ต้องส่งหรือจำนวนที่ขาด
แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า
มาตรา
๔๒ ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา
๓๕ (๑) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา
๔๓ ผู้ใดไม่ให้ถ้อยคำ
หรือไม่ส่งบัญชี เอกสารหรือหลักฐาน
หรือวัตถุใดแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๕ (๒) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน
หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา
๔๔ ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรตามมาตรา ๓๖
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกพันบาท
มาตรา
๔๕ ผู้ใดแจ้งความเท็จหรือให้ถ้อยคำเท็จหรือตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จหรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
เพื่อให้มีการจ่ายเงินชดเชยหรือคืนเงินให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นตามข้อความ
ถ้อยคำ หรือพยานหลักฐานอันเป็นเท็จนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือปรับไม่เกินสิบเท่าของจำนวนเงินชดเชยหรือเงินคืนที่ขอ
แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา
๔๖ ความผิดตามมาตรา
๔๑ มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๔๔ ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานแต่งตั้งมีอำนาจเปรียบเทียบได้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
คณะกรรมการเปรียบเทียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง
ให้มีจำนวนสามคนซึ่งคนหนึ่งต้องเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ในกรณีที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่พบว่าผู้ใดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งและผู้นั้นยินยอมให้เปรียบเทียบ
ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วแต่กรณี ส่งเรื่องให้คณะกรรมการเปรียบเทียบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้นั้นแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบ
เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบ
ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ
หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่กำหนด
ให้ดำเนินคดีต่อไป
มาตรา
๔๗ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการ
และละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิดผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
ๆ ด้วย
บทเฉพาะกาล
มาตรา
๔๘ ให้โอนบรรดาเงิน
ทรัพย์สิน สิทธิ และหนี้สิน ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่
๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่ออกตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. ๒๕๑๖ ไปเป็นของกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา
๔๙ เมื่อพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการยุบเลิกสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน
(องค์การมหาชน) ใช้บังคับ ให้โอนบรรดาเงิน ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สิน
รวมทั้งงบประมาณของสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน
(องค์การมหาชน) ไปเป็นของกองทุน โดยให้ใช้จ่ายเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานกองทุนหรือการบริหารกองทุน
มาตรา
๕๐ ให้ผู้อำนวยการสถาบันบริหารกองทุนพลังงานตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน
(องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการยุบเลิกสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน
(องค์การมหาชน) ใช้บังคับ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการตามพระราชบัญญัตินี้
จนกว่าจะพ้นจากตำแหน่งตามสัญญาจ้างเดิมหรือพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุตามมาตรา
๒๓ และให้ได้รับเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นเท่าที่กำหนดอยู่เดิม
มาตรา
๕๑ ให้โอนเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน
(องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน
(องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการยุบเลิกสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน
(องค์การมหาชน) ใช้บังคับ ไปเป็นเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสำนักงาน
ให้เจ้าหน้าที่และลูกจ้างตามวรรคหนึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้าง
รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เท่ากับที่เคยได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อน จนกว่าจะได้บรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสำนักงาน
การโอนไปเป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของสำนักงานตามวรรคหนึ่ง
ไม่ถือว่าเป็นการออกจากงานเพราะเหตุเลิกจ้าง
และให้ถือว่าระยะเวลาทำงานในขณะที่เป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน
(องค์การมหาชน) เป็นระยะเวลาที่ทำงานให้แก่สำนักงาน
มาตรา
๕๒ ข้าราชการ พนักงานราชการ
หรือลูกจ้างของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมธุรกิจพลังงาน
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน หรือสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
ซึ่งประสงค์จะเปลี่ยนไปเป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของสำนักงาน ให้แจ้งความจำนงเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการ
พนักงานราชการ หรือลูกจ้างตามวรรคหนึ่งให้ดำรงตำแหน่งใดในสำนักงาน
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ อัตรากำลัง คุณสมบัติ และอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างตามที่คณะกรรมการกำหนด
การบรรจุและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างจากข้าราชการ
พนักงานราชการ หรือลูกจ้างตามมาตรานี้
ให้ถือว่าเป็นการให้ออกจากราชการเพราะเลิกหรือยุบตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
การให้พนักงานราชการออกจากงานโดยไม่มีความผิด
หรือการให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะทางราชการยุบตำแหน่งหรือทางราชการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด
แล้วแต่กรณี
มาตรา
๕๓ ในวาระเริ่มแรก
ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการตามมาตรา ๙ (๑) (๒) และ (๓) และให้ผู้อำนวยการตามมาตรา
๕๐ เป็นกรรมการและเลขานุการ
เพื่อปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน
และให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๙ (๔)
ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ผู้อำนวยการตามวรรคหนึ่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
มาตรา
๕๔ ให้ข้อกำหนดตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่
๔/๒๕๔๗ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
เป็นอันยกเลิก และให้นำประกาศและระเบียบที่ออกตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๔๗
เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
จนกว่าจะมีประกาศและระเบียบตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงหรือส่งเงินคืนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ถูกยกเลิกตามวรรคหนึ่ง
ยังคงมีหน้าที่ต้องส่งเงินเข้าหรือส่งเงินคืนกองทุนต่อไป
การขอรับเงินชดเชยหรือขอรับเงินคืนจากกองทุนตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ถูกยกเลิกตามวรรคหนึ่ง
หากมิได้กระทำภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้หมดสิทธิขอรับเงินชดเชยหรือขอรับเงินคืนจากกองทุน
และในกรณีที่ได้ยื่นขอรับเงินชดเชยหรือขอรับเงินคืนจากกองทุนไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
แต่ยังไม่ได้รับเงินชดเชย หรือเงินคืนจากกองทุน
ให้บุคคลดังกล่าวยังคงมีสิทธิได้รับเงินชดเชยหรือเงินคืนจากกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา
๕๕ ในกรณีที่มีการจ่ายเงินชดเชยให้แก่น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อการดำเนินการดังกล่าวต่อไปได้เป็นระยะเวลาสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ทั้งนี้ ให้นำความในหมวด ๔ การดำเนินงานของกองทุน และหมวด ๗ บทกำหนดโทษ
ที่เกี่ยวข้อง มาใช้บังคับกับการดำเนินการนี้ด้วย
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
ให้คณะกรรมการดำเนินการออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และมาตรการ
เพื่อลดการจ่ายเงินชดเชยทุกรอบระยะเวลาหนึ่งปี ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวให้นำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องดำเนินการตามวรรคหนึ่งต่อไป
ให้คณะรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติมีอำนาจขยายระยะเวลาดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้อีกไม่เกินสองครั้ง
ครั้งละไม่เกินสองปี
มาตรา
๕๖ ให้นำระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด
และประกาศที่ออกตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน
(องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๖
ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการยุบเลิกสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน
(องค์การมหาชน) ใช้บังคับ มาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
จนกว่าจะมีระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา
๕๗ การดำเนินการออกระเบียบ ข้อบังคับ
และประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
หากไม่สามารถดำเนินการได้
ให้รัฐมนตรีรายงานเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการได้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
มาตรา
๕๘ บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
หรือคำสั่งใดที่อ้างถึงกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งนั้นอ้างถึงกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอันอาจส่งผลกระทบต่อระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ หรืออาจเกิดสถานการณ์ที่น้ำมันเชื้อเพลิงขาดแคลนและไม่เพียงพอต่อการใช้ภายในประเทศ
ดังนั้น
เพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพของระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงมิให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
และเพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงด้านพลังงานและเศรษฐกิจของประเทศ
สมควรจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นโดยยกระดับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี
ที่ ๔/๒๕๔๗ เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
ลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เพื่อเป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
โดยมีคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นผู้ทำหน้าที่ในการบริหารกิจการของกองทุนให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุน รวมทั้งกำหนดโทษทางอาญาสำหรับการกระทำบางประการเพื่อให้กฎหมายมีสภาพบังคับอันจะส่งผลให้การจัดเก็บเงินเข้ากองทุนเป็นไปอย่างเสมอภาคและมีประสิทธิภาพ
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ชญานิศ/ธนบดี/จัดทำ
๒๙
พฤษภาคม ๒๕๖๒
ปริญสินีย์/ตรวจ
๔ มิถุนายน ๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๖๙ ก/หน้า ๑/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒ |
641508 | พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 (ฉบับ Update ล่าสุด) | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน
พ.ศ. ๒๕๓๙
เป็นปีที่ ๕๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
เว้นแต่บทบัญญัติแห่งหมวด ๓
ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ในพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการ[๒] หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ
ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ
ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
ข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู
ข้าราชการรัฐสภาสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ
ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร
ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญตามกฎหมายว่าด้วยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และข้าราชการซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการส่วนท้องถิ่น[๓] หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน หรือผู้ปฏิบัติงาน
ซึ่งเรียกชื่ออย่างอื่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล
กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น
พนักงานมหาวิทยาลัย[๔] หมายความว่า พนักงาน บุคลากร หรือผู้ปฏิบัติงาน
ซึ่งเรียกชื่ออย่างอื่นของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษานั้น
ๆ แต่ไม่หมายความรวมถึงลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[๕] หมายความว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล
กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น
กองทุน หมายความว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
สมาชิก หมายความว่า
สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เงินเดือน หมายความว่า
เงินเดือนที่ได้รับตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการนั้น ๆ
รวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา
สำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ สำหรับการสู้รบ
หรือสำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิดแต่ไม่รวมถึงเงินเพิ่มอย่างอื่น
เงินสะสม หมายความว่า
เงินที่สมาชิกสะสมเข้ากองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
เงินสมทบ หมายความว่า
เงินที่รัฐบาลจ่ายสมทบเงินสะสมตามพระราชบัญญัตินี้
เงินประเดิม หมายความว่า
เงินที่รัฐบาลนำส่งเข้ากองทุนเพื่อจ่ายเพิ่มให้แก่สมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการอยู่ก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวด
๓ ใช้บังคับและเลือกรับบำนาญ
เงินชดเชย หมายความว่า
เงินที่รัฐบาลนำส่งเข้ากองทุนเพื่อจ่ายเพิ่มให้แก่สมาชิกซึ่งรับบำนาญ
บำนาญ หมายความว่า
เงินที่จ่ายให้แก่สมาชิกเป็นรายเดือนเมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง
บำเหน็จ หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่สมาชิก
โดยจ่ายให้ครั้งเดียวเมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง
บำเหน็จดำรงชีพ[๖] หมายความว่า
เงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับบำนาญเพื่อช่วยเหลือการดำรงชีพโดยจ่ายให้ครั้งเดียว
บำเหน็จตกทอด หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่ทายาทโดยจ่ายให้ครั้งเดียวในกรณีที่สมาชิกหรือผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
เวลาราชการ หมายความว่า
เวลาตั้งแต่วันที่สมาชิกเริ่มรับราชการจนถึงวันสุดท้ายที่ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
และให้หมายความรวมถึงการนับเวลาราชการเป็นทวีคูณตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการด้วย
นิติบุคคล[๗] หมายความว่า นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
กรรมการ หมายความว่า
กรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เลขาธิการ หมายความว่า
เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พนักงาน หมายความว่า
พนักงานของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ลูกจ้าง หมายความว่า
ลูกจ้างของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรี หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
กับออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
การจัดตั้งกองทุน
และลักษณะของกิจการกองทุน
มาตรา ๕
ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรียกโดยย่อว่า กบข.
ให้กองทุนเป็นนิติบุคคล
มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(๑)
เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ
(๒)
เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก
(๓)
เพื่อจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิก
มาตรา ๖
กองทุนประกอบด้วยทรัพย์สินดังต่อไปนี้
(๑)
เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม และเงินชดเชย
(๒)
เงินที่ได้รับจัดสรรตามมาตรา ๗๒
(๓)
ทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
(๔)
เงินที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามความจำเป็นเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
(๕)
รายได้อื่น
(๖)
ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
มาตรา ๗
กิจการของกองทุนไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
และกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม
มาตรา ๘
ให้กองทุนมีสำนักงานใหญ่ ณ สถานที่ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
และจะตั้งสาขาหรือตัวแทนขึ้น ณ ที่อื่นใด ตามความจำเป็นก็ได้
มาตรา ๙
ให้กองทุนมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕
และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง
(๑)
ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ
(๒)
ก่อตั้งสิทธิหรือกระทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งในและนอกราชอาณาจักร
(๓)
ให้สมาชิกกู้ยืมเงิน
(๔)
ลงทุนหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุน
(๔/๑)[๘]
จัดตั้งบริษัทจำกัด
เพื่อให้บริการแก่กองทุนหรือนิติบุคคลที่กองทุนเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละเจ็ดสิบห้าของหุ้นทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น
(๕)
กระทำการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
มาตรา ๑๐
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน
ให้จ่ายจากเงินของกองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๑๑
กองทุนไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
และรายได้ของกองทุนไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
หมวด ๒
การควบคุมและการบริหาร
มาตรา ๑๒
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง อธิบดีกรมบัญชีกลาง
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ผู้แทนสมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการตามมาตรา ๓ ประเภทละหนึ่งคนซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา
๑๓ และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสามคนซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา ๑๔ เป็นกรรมการ
ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ
คณะกรรมการอาจแต่งตั้งพนักงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการได้ไม่เกินสองคน
มาตรา ๑๓
การเลือกกรรมการผู้แทนสมาชิกตามมาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา ๑๔
ให้ประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้แทนสมาชิกประชุมร่วมกัน
เพื่อเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
มาตรา ๑๕
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑)
ไม่เป็นบุคคลซึ่งทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐอื่นไล่ออก ปลดออก
ให้ออก หรือเลิกจ้างเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่าทุจริตต่อหน้าที่
(๒)
ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น
หรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
มาตรา ๑๖
ให้กรรมการผู้แทนสมาชิกมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี
แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา ๑๗
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี
แต่จะเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา ๑๘
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้แทนสมาชิก
หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
เป็นบุคคลล้มละลาย
(๔)
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕)
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๖)
พ้นจากการเป็นสมาชิกหรือพ้นจากการเป็นข้าราชการประเภทที่ตนได้รับเลือกเป็นผู้แทนในกรณีกรรมการผู้แทนสมาชิก
(๗)
มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๕ ในกรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
มาตรา ๑๙
ในกรณีที่กรรมการผู้แทนสมาชิกหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการขึ้นใหม่ภายในหกสิบวันในระหว่างที่ยังมิได้มีการเลือกกรรมการขึ้นใหม่
ให้กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไป
จนกว่ากรรมการที่ได้รับเลือกใหม่เข้ารับหน้าที่
มาตรา ๒๐
ในกรณีที่กรรมการผู้แทนสมาชิกผู้ใดพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระให้ผู้ซึ่งได้คะแนนถัดไปซึ่งขึ้นบัญชีไว้ในการเลือกผู้แทนสมาชิกของข้าราชการประเภทนั้นเป็นกรรมการแทน
ในกรณีที่ไม่มีผู้ขึ้นบัญชีไว้ ให้ดำเนินการเลือกกรรมการผู้แทนสมาชิกประเภทนั้นขึ้นใหม่ตามวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นแทนตามมาตรา ๑๔
ให้กรรมการผู้ได้รับการแต่งตั้งหรือเลือกให้ดำรงตำแหน่งแทนตามวรรคหนึ่ง
และวรรคสอง อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่วาระการดำรงตำแหน่งเหลืออยู่ไม่ถึงสามสิบวัน
จะไม่แต่งตั้งหรือเลือกกรรมการขึ้นดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
มาตรา ๒๑
ให้ประธานกรรมการและกรรมการตามมาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง
แต่งตั้งเลขาธิการจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑)
มีสัญชาติไทย
(๒)
มีอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์
(๓)
สามารถปฏิบัติงานให้แก่กองทุนได้เต็มเวลา
(๔)
ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
(๕)
ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(๖)
ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น
รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
(๗)
ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษา หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
(๘)
ไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้จัดการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
(๙)
ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับกองทุน หรือในกิจการที่กระทำให้แก่กองทุน
ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม เว้นแต่เป็นผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายให้เป็นกรรมการในบริษัทที่กองทุนเป็นผู้ถือหุ้น
มาตรา ๒๒
การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
และการกำหนดเงื่อนไขในการทดลองปฏิบัติงานหรือการทำงานในหน้าที่เลขาธิการ
ให้เป็นไปตามสัญญาจ้างที่คณะกรรมการกำหนด โดยให้มีอายุการจ้างคราวละไม่เกินสี่ปี
และเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาจ้างแล้วคณะกรรมการจะต่ออายุสัญญาจ้างอีกก็ได้
การทำสัญญาจ้างเลขาธิการ
ให้ประธานกรรมการเป็นผู้มีอำนาจทำสัญญาในนามของกองทุน
ให้เลขาธิการได้รับเงินค่าจ้าง
ค่าตอบแทนและเงินอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๒๓
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามอายุการจ้าง เลขาธิการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑
(๔)
คณะกรรมการมีมติเห็นสมควรให้เลิกจ้าง
มาตรา ๒๔
ให้เลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง
และรับผิดชอบในการบริหารกิจการของกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนและตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายที่คณะกรรมการกำหนด
เลขาธิการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการบริหารกิจการของกองทุน
มาตรา ๒๕
ในกิจการของกองทุนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้เลขาธิการเป็นผู้แทนของกองทุน
การปฏิบัติงานของเลขาธิการและการมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนเลขาธิการให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด
นิติกรรมที่กระทำโดยฝ่าฝืนข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง
ย่อมไม่ผูกพันกองทุนเว้นแต่คณะกรรมการจะให้สัตยาบัน
มาตรา ๒๖
ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดนโยบาย และออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งในการบริหารกิจการของกองทุน
(๒)
กำหนดนโยบายการลงทุนของกองทุน ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๓)
กำกับดูแลการจัดการกองทุน
(๔)
ออกข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติงานของเลขาธิการ
และการมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนเลขาธิการ
(๕)
กำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสำนักงาน
และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวกับกิจการของกองทุน
(๖)
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการรับ เก็บรักษา และจ่ายเงินของกองทุน
(๗)
ออกระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การบรรจุ แต่งตั้ง
ถอดถอน และวินัยของพนักงานและลูกจ้าง ตลอดจนการกำหนดเงินเดือนและเงินอื่น
รวมถึงการสงเคราะห์และสวัสดิการ
(๘)[๙]
พิจารณามอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นจัดการเงินของกองทุน
(๙)
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
(๑๐)
แต่งตั้งผู้แทนเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนน
ในการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทหรือหน่วยงานอื่นใดที่กองทุนถือหุ้นอยู่
(๑๑)
ปฏิบัติงานอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๗
การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมของคณะกรรมการ
ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมากกรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
การออกเสียงลงมติแต่งตั้งหรือเลิกจ้างเลขาธิการต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่อยู่ในตำแหน่ง
มาตรา ๒๘
กรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณา
ห้ามมิให้เข้าร่วมพิจารณาในเรื่องนั้น
มาตรา ๒๙
ให้กรรมการและอนุกรรมการได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๓๐
ให้มีคณะอนุกรรมการจัดการลงทุน ประกอบด้วย
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นประธานอนุกรรมการ ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย
และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คนซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้ง เป็นอนุกรรมการ
และเลขาธิการเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
มาตรา ๓๑
ให้คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการลงทุนต่อคณะกรรมการ
(๒)[๑๐]
ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่จะมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุน
(๓)[๑๑]
ติดตามดูแลการดำเนินงานของสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุน
(๔)
รายงานผลการดำเนินการด้านการลงทุนและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการ
(๕)
ปฏิบัติการในเรื่องอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๓๒
ให้มีคณะอนุกรรมการสมาชิกสัมพันธ์ ประกอบด้วยเลขาธิการ ก.พ.
เป็นประธานอนุกรรมการ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนกรมประชาสัมพันธ์
และผู้แทนสมาชิกจำนวนห้าคนเป็นอนุกรรมการ และให้เลขาธิการเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
การเลือกผู้แทนสมาชิกตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๓๓
ให้คณะอนุกรรมการสมาชิกสัมพันธ์มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นสื่อกลางระหว่างกองทุนกับสมาชิก ตลอดจนเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่สมาชิก
(๒)
เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร และรายงานความคืบหน้าของการจัดการกองทุน
(๓)
รับฟังความคิดเห็นและปัญหาต่าง ๆ จากสมาชิก
(๔)
พิจารณาเสนอแนะต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิก
(๕)
ปฏิบัติการในเรื่องอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๓๔
ให้นำมาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๒๘
มาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
และการประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
หมวด ๓
สมาชิกและสิทธิประโยชน์ของสมาชิก
มาตรา ๓๕
ให้บุคคลต่อไปนี้ เป็นสมาชิก
(๑)
ผู้ซึ่งเข้ารับราชการตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
(๒)
ผู้ซึ่งโอนมาเป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
มาตรา ๓๖
บุคคลต่อไปนี้จะสมัครเป็นสมาชิกก็ได้
(๑)
ข้าราชการซึ่งรับราชการอยู่ในวันก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
(๒)
ข้าราชการซึ่งออกจากราชการเพื่อไปปฏิบัติงานตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ
ก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับและกลับเข้ารับราชการตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
การสมัครเป็นสมาชิกให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๓๗[๑๒] บำเหน็จบำนาญ บำเหน็จดำรงชีพ
และบำเหน็จตกทอด ให้จ่ายจากเงินงบประมาณ สำหรับเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม
เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวให้จ่ายจากกองทุน ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๘
ข้าราชการซึ่งออกจากราชการ
ถ้ากลับเข้ารับราชการใหม่ตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
ให้นับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการในตอนหลังได้
เว้นแต่ข้าราชการผู้นั้นถูกปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ
เนื่องจากกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงและไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยหวัด
บำเหน็จบำนาญจากการรับราชการตอนก่อนออกจากราชการ
ข้าราชการซึ่งได้รับบำเหน็จไปแล้ว
จะนับเวลาราชการต่อเนื่องตามวรรคหนึ่งได้จะต้องคืนบำเหน็จที่ได้รับพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝากประจำของธนาคารออมสิน
ส่วนระยะเวลาในการคืนบำเหน็จให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
ข้าราชการซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติแล้ว
จะนับเวลาราชการต่อเนื่องตามวรรคหนึ่งได้ จะต้องคืนเงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่ได้รับแก่กองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
และให้งดการจ่ายบำนาญตลอดเวลาที่กลับเข้ารับราชการใหม่นั้น
แต่ถ้าผู้นั้นประสงค์จะรับบำนาญต่อไป
จะต้องมีหนังสือแจ้งความประสงค์ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดที่ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันกลับเข้ารับราชการและจะนับเวลาราชการต่อเนื่องมิได้
ทั้งนี้หากไม่คืนเงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว
ให้ถือว่าผู้นั้นประสงค์จะรับบำนาญต่อไปด้วย
ในกรณีที่รับบำนาญต่อไปถ้าเงินเดือนที่ได้รับในขณะกลับเข้ารับราชการใหม่เท่าหรือสูงกว่าเงินเดือนเดิม
เมื่อออกจากราชการให้งดการจ่ายบำนาญ
แต่ถ้าเงินเดือนใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิมให้รับบำนาญเท่ากับผลต่างของเงินเดือนใหม่และเงินเดือนเดิม
โดยให้ส่วนราชการที่ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่แจ้งไปยังเจ้าสังกัดที่ผู้นั้นรับบำนาญอยู่และกองทุน
เพื่องดหรือลดการจ่ายบำนาญ
เมื่อออกจากราชการให้มีสิทธิได้รับบำนาญโดยคำนวณจากเงินเดือนและเวลาราชการในตอนใหม่บวกเข้ากับบำนาญเดิมบำนาญในตอนหลังจะเปลี่ยนเป็นขอรับบำเหน็จแทนก็ได้[๑๓]
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้
ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่อาจมีสิทธิได้รับเงินประเดิมและเงินชดเชยตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง[๑๔]
ความในมาตรานี้ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการประเภทต่าง
ๆ ตามคำนิยามในมาตรา ๓ โดยอนุโลม
มาตรา ๓๘/๑[๑๕]
ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ ประสงค์จะส่งเงินสะสม
เงินสมทบและผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่ได้รับไปแล้วแก่กองทุนเพื่อให้กองทุนนำไปลงทุนหาผลประโยชน์ต่อไป
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๓๙[๑๖]
ให้สมาชิกส่งเงินสะสมเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่สมาชิกซึ่งรับราชการอยู่ก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนหรือไม่ก็ได้
ในกรณีที่สมาชิกผู้ใดประสงค์ที่จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราตามวรรคหนึ่ง
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด แต่ทั้งนี้ การส่งเงินสะสมตามมาตรานี้รวมกันแล้วจะต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินเดือน
ถ้าสมาชิกไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนหรือได้รับเงินเดือนไม่เต็มจำนวนสำหรับระยะเวลาใดให้ส่งเงินสะสมตามส่วนแห่งเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับ
การส่งเงินสะสมตามมาตรานี้
ให้ส่วนราชการหักจากเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับและส่งเข้ากองทุนในวันที่มีการจ่ายเงินเดือน
ให้ส่วนราชการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนให้สมาชิกในจำนวนที่เท่ากับอัตราเงินสะสมตามที่กำหนดในกฎกระทรวงพร้อมการส่งเงินสะสมนั้น
แต่ถ้าสมาชิกไม่ได้รับเงินเดือนหรือได้รับเงินเดือนไม่เต็มจำนวน ให้ส่งเงินสมทบตามอัตราส่วนแห่งเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับ
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้
เงินเดือนไม่รวมถึงเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา
สำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ สำหรับการสู้รบ
สำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิด หรือเงินเพิ่มอย่างอื่น
มาตรา ๔๐
ให้กระทรวงการคลังคำนวณเงินประเดิมสำหรับสมาชิกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อนำส่งเข้ากองทุน
การส่งเงินประเดิมตามวรรคหนึ่ง
ให้จ่ายจากเงินคงคลัง
มาตรา ๔๑
ให้ส่วนราชการส่งเงินชดเชยเข้ากองทุนให้แก่สมาชิกตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินเดือนให้แก่สมาชิก
ในการนี้ให้นำมาตรา ๓๙ วรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม[๑๗]
ถ้าสมาชิกไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนหรือได้รับเงินเดือนไม่เต็มจำนวนสำหรับระยะเวลาใด
ให้ส่งเงินชดเชยตามส่วนแห่งเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับ
มาตรา ๔๒
สมาชิกมีสิทธิได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นจากกองทุนตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๓
สมาชิกมีสิทธิกู้เงินจากกองทุนไม่เกินจำนวนเงินสะสม เงินสมทบ
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่บันทึกไว้ในบัญชีเงินรายบุคคลเพื่อใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์
หลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๔
สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่อผู้นั้นออกจากราชการ
เว้นแต่เป็นการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการนั้น ๆ
หรือการออกจากราชการของผู้ไปปฏิบัติงานตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ
มาตรา ๔๕
สมาชิกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง
มาตรา ๔๖
สมาชิกซึ่งส่งเงินสะสมเข้ากองทุน ให้มีสิทธิได้รับเงินสะสม เงินสมทบ
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวจากกองทุน
มาตรา ๔๗
สมาชิกซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่สิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป
แต่ไม่ถึงยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จ
มาตรา ๔๘
สมาชิกตามมาตรา ๓๕ ซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไปให้มีสิทธิได้รับบำนาญ
เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว เว้นแต่จะเลือกรับบำเหน็จแทน
สำหรับสมาชิกตามมาตรา
๓๖ (๑) หรือ (๒) ซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไป
ให้มีสิทธิได้รับบำนาญ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว
เว้นแต่จะเลือกรับบำเหน็จแทน
มาตรา ๔๙
นอกจากกรณีที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘
สมาชิกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑)
เหตุทุพพลภาพ
(๒)
เหตุทดแทน
(๓)
เหตุสูงอายุ
มาตรา ๕๐
บำเหน็จบำนาญเหตุทุพพลภาพให้จ่ายให้แก่สมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะป่วยเจ็บทุพพลภาพ
ซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่า
ไม่สามารถที่จะรับราชการในตำแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นต่อไปได้
มาตรา ๕๑
บำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนให้จ่ายให้แก่สมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่ง
หรือมีคำสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิด หรือทหารซึ่งออกจากกองหนุนเบี้ยหวัด
มาตรา ๕๒
บำเหน็จบำนาญเหตุสูงอายุให้จ่ายให้แก่สมาชิกซึ่งออกจากราชการเมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้ว
หรือลาออกเมื่อมีอายุครบห้าสิบปีบริบูรณ์แล้ว
มาตรา ๕๓
สมาชิกซึ่งมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญด้วยเหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน
หรือเหตุสูงอายุ จะได้รับเงินตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑)
ถ้ามีเวลาราชการตั้งแต่หนึ่งปีบริบูรณ์ขึ้นไปแต่ไม่ถึงสิบปีบริบูรณ์มีสิทธิได้รับบำเหน็จ
(๒)
ถ้ามีเวลาราชการตั้งแต่สิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป
(ก)
สมาชิกตามมาตรา ๓๕ ให้มีสิทธิตามมาตรา ๔๘ วรรคหนึ่ง
(ข)
สมาชิกตามมาตรา ๓๖ (๑) หรือ (๒) ให้มีสิทธิตามมาตรา ๔๘ วรรคสอง
มาตรา ๕๔
สมาชิกซึ่งถูกไล่ออกจากราชการ หรือถึงแก่ความตาย
เนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนเอง
ผู้นั้นหรือทายาทไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว
มาตรา ๕๕
สิทธิในการรับบำนาญให้เริ่มมีตั้งแต่เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงจนกระทั่งผู้นั้นถึงแก่ความตาย
มาตรา ๕๖[๑๘] (ยกเลิก)
มาตรา ๕๗
ให้ผู้รับบำนาญตามพระราชบัญญัตินี้มีสิทธิได้รับสวัสดิการและเงินช่วยเหลือต่าง
ๆ เช่นเดียวกับผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
มาตรา ๕๗/๑[๑๙]
ผู้รับบำนาญมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพตามอัตราและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
แต่ต้องไม่เกินสิบห้าเท่าของบำนาญรายเดือนที่ผู้นั้นได้รับ
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญเป็นผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการด้วย
ให้นำบำนาญและบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพรวมเป็นบำนาญรายเดือนเพื่อคำนวณจ่ายเป็นบำเหน็จดำรงชีพแก่ผู้นั้น
เมื่อได้รับบำเหน็จดำรงชีพแล้ว
ผู้รับบำนาญไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จดำรงชีพอีกถ้าภายหลังผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่และได้ออกจากราชการในครั้งหลังโดยเลือกรับบำนาญ
ผู้รับบำนาญผู้ใดได้รับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้ว
ถ้าภายหลังผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่
โดยมีสิทธินับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการในตอนหลังตามมาตรา
๓๘ และเมื่อออกจากราชการในครั้งหลังโดยเลือกรับบำเหน็จ
การจ่ายบำเหน็จในกรณีเช่นว่านี้
ให้หักเงินออกจากบำเหน็จที่จะได้รับเท่ากับเงินบำเหน็จดำรงชีพเสียก่อน
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญได้แสดงเจตนาขอรับบำเหน็จดำรงชีพไว้แล้ว
แต่ได้ถึงแก่ความตายก่อนได้รับเงินบำเหน็จดำรงชีพ ให้การจ่ายเงินดังกล่าวเป็นอันระงับไป
มาตรา ๕๗/๒[๒๐]
ผู้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพอาจนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพได้รับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้ว
หากประสงค์จะนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงิน
ให้หักบำเหน็จดำรงชีพออกจากสิทธิในบำเหน็จตกทอดเสียก่อน
มาตรา ๕๗/๓[๒๑] ในกรณีที่ผู้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพซึ่งได้นำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินถึงแก่ความตายหรือผิดสัญญากู้เงินจนต้องบังคับเอากับสิทธิในบำเหน็จตกทอดที่นำไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงิน
ให้กระทรวงการคลังจ่ายเงินให้แก่สถาบันการเงินที่ผู้นั้นได้นำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินเท่ากับจำนวนที่ถูกบังคับแต่ไม่เกินจำนวนที่นำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงิน
การจ่ายเงินให้แก่สถาบันการเงินตามวรรคหนึ่ง
ให้กระทรวงการคลังจ่ายจากงบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับการเบิกจ่ายบำเหน็จตกทอด
มาตรา ๕๗/๔[๒๒]
ในกรณีที่กระทรวงการคลังได้จ่ายเงินแก่สถาบันการเงินไปแล้วตามมาตรา ๕๗/๓
ให้กระทรวงการคลังหักจำนวนเงินนั้นออกจากสิทธิในบำเหน็จตกทอดเท่ากับจำนวนที่จ่ายให้แก่สถาบันการเงิน
ในกรณีที่กระทรวงการคลังไม่อาจหักจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่สถาบันการเงินจากสิทธิในบำเหน็จตกทอดตามวรรคหนึ่งได้
ให้กระทรวงการคลังเรียกเงินคืนจากผู้รับบำนาญปกติ
หรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพหรือจากกองมรดกของผู้นั้น แล้วแต่กรณี
เป็นจำนวนเท่ากับจำนวนที่กระทรวงการคลังได้จ่ายให้แก่สถาบันการเงิน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
มาตรา ๕๗/๕[๒๓]
ผู้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพผู้ใดได้นำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินแล้ว
หากภายหลังผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่โดยใช้สิทธินับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการในตอนหลังตามมาตรา
๓๘ และเมื่อออกจากราชการในครั้งหลังได้เลือกรับบำเหน็จ
ให้จ่ายบำเหน็จแก่ผู้นั้นตามสิทธิที่จะได้รับ
แต่ต้องไม่เกินจำนวนที่เหลือจากสิทธิในบำเหน็จตกทอดที่นำไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินโดยให้กระทรวงการคลังกันเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนดังกล่าวไว้
และเมื่อสัญญากู้เงินสิ้นสุดลงโดยไม่มีการบังคับเอากับสิทธิในบำเหน็จตกทอดที่นำไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงิน
ให้กระทรวงการคลังคืนเงินบำเหน็จที่กันไว้
ในกรณีที่ผู้รับบำเหน็จถึงแก่ความตายหรือสัญญากู้เงินสิ้นสุดลง
ถ้ามีการบังคับเอากับสิทธิในบำเหน็จตกทอดที่นำไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงิน
ให้กระทรวงการคลังจ่ายเงินให้แก่สถาบันการเงิน
โดยกระทรวงการคลังมีสิทธิหักจากเงินบำเหน็จที่กันไว้ตามวรรคหนึ่งก่อน
ถ้ามีเงินเหลือให้จ่ายคืนแก่ผู้รับบำเหน็จหรือทายาท แล้วแต่กรณี
มาตรา ๕๘
ในกรณีที่สมาชิกผู้ใดถึงแก่ความตายในระหว่างรับราชการและความตายนั้นมิได้เกิดขึ้นเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนเอง
หรือในกรณีที่ผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
ให้จ่ายบำเหน็จตกทอดแก่ทายาทของสมาชิกหรือผู้รับบำนาญตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑)
บุตรให้ได้รับสองส่วน ถ้าสมาชิกผู้ตายมีบุตรตั้งแต่สามคนขึ้นไปให้ได้รับสามส่วน
(๒)
สามีหรือภริยาให้ได้รับหนึ่งส่วน
(๓)
บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ให้ได้รับหนึ่งส่วน
ในกรณีที่ไม่มีทายาทในอนุมาตราใด
หรือทายาทนั้นได้ตายไปเสียก่อนให้แบ่งเงินดังกล่าวระหว่างทายาทผู้มีสิทธิในอนุมาตราที่มีทายาทผู้มีสิทธิได้รับ
ในกรณีที่ไม่มีทายาททั้งสามอนุมาตราดังกล่าว
ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายแสดงเจตนาไว้ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
ในกรณีที่ไม่มีทายาทและบุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ตามวรรคสาม
หรือบุคคลนั้นได้ตายไปก่อน ให้สิทธิในบำเหน็จตกทอดนั้นเป็นอันยุติลง
ในกรณีที่ได้มีการจ่ายบำเหน็จตกทอดไปแล้วหากปรากฏว่ามีบุตรซึ่งได้มีคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย
ซึ่งได้มีการฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรก่อนหรือภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่บิดาตายหรือนับแต่วันที่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของบิดาเพิ่มขึ้น
ให้แบ่งบำเหน็จตกทอดนั้นใหม่ระหว่างทายาทผู้มีสิทธิโดยถือว่าบุตรชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษานั้นเป็นทายาทผู้มีสิทธิตั้งแต่วันตาย
ในกรณีเช่นนี้ให้กระทรวงการคลังเรียกคืนบำเหน็จตกทอดจากทายาทซึ่งรับบำเหน็จตกทอดไปก่อนแล้วตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด
ในกรณีที่ไม่สามารถเรียกคืนบำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้ทายาทซึ่งรับเกินไปในส่วนของตนตามวรรคห้าได้
กระทรวงการคลังไม่ต้องรับผิดชอบจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดให้แก่บุตรซึ่งได้มีคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายย้อนหลังไปถึงวันเกิดสิทธิรับบำเหน็จตกทอดแต่อย่างใด
มาตรา ๕๙
ในกรณีที่สมาชิกผู้ถึงแก่ความตายได้ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนให้จ่ายเงินสะสม
เงินสมทบ
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวแก่ผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๖๐
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
นอกจากทายาทจะมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดตามมาตรา ๕๘ แล้ว
ให้มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี
บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกันด้วย
มาตรา ๖๑
สิทธิการรับเงินต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่อาจโอนแก่กันได้
มาตรา ๖๒
การคำนวณบำเหน็จให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการ
มาตรา ๖๓
การคำนวณบำนาญให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการ
หารด้วยห้าสิบ แต่ต้องไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้าย
การคำนวณบำนาญของผู้กลับเข้ารับราชการใหม่ตามมาตรา
๓๘
หากเวลาราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ยังไม่ครบห้าปีอัตราเงินเดือนเฉลี่ยที่จะนำมาคำนวณบำนาญให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๖๔
บำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้แก่ทายาทของสมาชิก
ให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการของผู้ตาย
มาตรา ๖๕
บำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้แก่ทายาทของผู้รับบำนาญ
ให้จ่ายสามสิบเท่าของอัตราบำนาญที่ผู้ตายมีสิทธิได้รับ
ในกรณีที่ได้มีการรับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้ว
เมื่อผู้รับบำนาญถึงแก่ความตายการจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดตามวรรคหนึ่ง
ให้หักเงินออกจากบำเหน็จตกทอดที่จะได้รับเท่ากับเงินบำเหน็จดำรงชีพเสียก่อน[๒๔]
มาตรา ๖๕/๑[๒๕] ภายใต้บังคับมาตรา ๖๕
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพได้นำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงิน
หากสัญญากู้เงินสิ้นสุดลงโดยไม่มีการบังคับเอากับสิทธิในบำเหน็จตกทอดที่นำไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงิน
ทายาทมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดเต็มตามจำนวนที่มีสิทธิ
หากผู้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพถึงแก่ความตายหรือสัญญากู้เงินสิ้นสุดลงโดยมีการบังคับเอากับสิทธิในบำเหน็จตกทอดที่นำไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงิน
ทายาทมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดเท่ากับจำนวนที่เหลือหลังจากที่กระทรวงการคลังได้หักจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่สถาบันการเงินออกจากสิทธิในบำเหน็จตกทอดตามมาตรา
๕๗/๔ วรรคหนึ่ง
มาตรา ๖๖
การนับเวลาราชการเพื่อให้เกิดสิทธิรับบำเหน็จบำนาญให้นับจำนวนปี
เศษของปีถ้าถึงครึ่งปีให้นับเป็นหนึ่งปี
การนับเวลาราชการเพื่อคำนวณจำนวนบำเหน็จบำนาญให้นับจำนวนปีรวมทั้งเศษของปีด้วย
การนับเศษของปีซึ่งเป็นเดือนหรือวันให้คำนวณตามวิธีการจ่ายเงินเดือนและให้นับสิบสองเดือนเป็นหนึ่งปี
สำหรับจำนวนวันถ้ามีรวมกันหลายระยะให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน
มาตรา ๖๗
เมื่อมีผู้ยื่นคำขอรับเงินตามมาตรา ๔๕
ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดที่ได้รับคำขอนั้นตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินสะสม
เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวของผู้ยื่นคำขอ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จและแจ้งให้กองทุนทราบภายในสิบห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้รับคำขอรับเงินดังกล่าว
เว้นแต่กรณีที่มีเหตุอันสมควร
การจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่ง
ให้กองทุนจ่ายภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากส่วนราชการเจ้าสังกัด
และได้ปรากฏหลักฐานถูกต้องครบถ้วน[๒๖]
มาตรา ๖๗/๑[๒๗] ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินสะสม เงินสมทบ
เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวตามมาตรา ๔๕
ผู้ใดที่ยังไม่ขอรับเงินคืน หรือขอทยอยรับเงินคืน
ให้กองทุนบริหารเงินที่ยังไม่รับคืนต่อไปได้
แต่ถ้าผู้นั้นขอโอนเงินไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการออกจากงานหรือการชราภาพ
ให้กองทุนโอนเงินไปยังกองทุนดังกล่าวภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ผู้นั้นแสดงความประสงค์
และได้ปรากฏหลักฐานถูกต้องครบถ้วน
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๖๗/๒[๒๘]
เงินประเดิมตามบัญชีเงินรายตัวสมาชิกซึ่งกระทรวงการคลังส่งเข้ากองทุนตามมาตรา
๔๐ นั้น หากต่อมามีข้อมูลเพิ่มเติมทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงยอดเงินประเดิมและดอกผลของเงินดังกล่าวของสมาชิกรายใดแล้ว
ให้กองทุนคำนวณผลการเปลี่ยนแปลงสุทธิเป็นรายเดือน
ในกรณีที่ผลการเปลี่ยนแปลงสุทธิเป็นการรับเงินเกิน
ให้กองทุนส่งเงินดังกล่าวคืนแก่กระทรวงการคลัง
แต่ในกรณีที่ผลการเปลี่ยนแปลงสุทธิเป็นการรับเงินขาด ให้กองทุนทดรองจ่ายออกจากบัญชีเงินกองกลางเพื่อเข้าบัญชีรายตัวสมาชิกก่อน
หลังจากนั้นให้แจ้งกระทรวงการคลังทราบ
และให้กระทรวงการคลังดำเนินการส่งเงินเท่าจำนวนเงินที่ทดรองจ่ายไปคืนแก่บัญชีเงินกองกลางภายในปีงบประมาณถัดไป
มาตรา ๖๘
ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๙[๒๙]
การหาประโยชน์ของกองทุนให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการและจะมอบหมายให้บุคคลใดดำเนินการแทนตามความเหมาะสมก็ได้
การมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนภายในประเทศนั้น
กองทุนจะต้องมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนไม่น้อยกว่าสองแห่ง
ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หรือผู้ได้รับอนุญาตจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน ทั้งนี้
โดยให้คำนึงถึงการกระจายความเสี่ยงด้วย
และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการหาประโยชน์ของกองทุนภายในประเทศ
ให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนมีหน้าที่และอยู่ในบังคับบทบัญญัติต่าง
ๆ ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หรือกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เสมือนหนึ่งกองทุนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี
การมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนในต่างประเทศนั้น
กองทุนจะต้องมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนในต่างประเทศ
ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ
เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน
การให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนในประเทศหรือในต่างประเทศ
คุณสมบัติของผู้รับดำเนินการ วิธีดำเนินการ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๗๐[๓๐]
เงินของกองทุนนอกจากส่วนที่นำไปลงทุนตามแผนการลงทุนในวรรคสอง ให้ลงทุนได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง
ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบ
ยกเว้นเงินสำรองตามมาตรา ๗๒
ต้องนำไปลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจก่อน
กองทุนอาจจัดให้มีแผนการลงทุนสำหรับเงินที่อยู่ในบัญชีเงินรายบุคคลเฉพาะในส่วนของเงินสะสม
เงินสมทบ และดอกผลของเงินดังกล่าว ตามมาตรา ๗๑ (๓) เพื่อให้สมาชิกเลือก
โดยในแต่ละแผนอาจกำหนดให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงแตกต่างจากอัตราที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่งได้
การจัดให้มีแผนการลงทุน
การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุนแก่สมาชิก
และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
หมวด ๓/๑
การรับข้าราชการซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นเป็นสมาชิก[๓๑]
มาตรา ๗๐/๑[๓๒]
ในกรณีที่มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ให้สมาชิกซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
ยังคงมีสมาชิกภาพของสมาชิกต่อไป
ให้นำบทบัญญัติในหมวด
๓ ว่าด้วยสมาชิกและสิทธิประโยชน์ของสมาชิกมาใช้บังคับกับสมาชิกตามหมวดนี้โดยอนุโลม
เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งหมวดนี้
มาตรา ๗๐/๒[๓๓] ในกรณีที่สมาชิกตามมาตรา ๗๐/๑
ได้เคยเป็นข้าราชการและสมาชิกมาก่อนที่จะโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น
ให้สมาชิกผู้นั้นมีสมาชิกภาพต่อเนื่องกับสมาชิกภาพเดิมได้ ในการนี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญปกติ
บำเหน็จตกทอด เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว แล้วแต่กรณี
ต่อเนื่องจากสิทธิที่เคยมีอยู่เดิมต่อไป
และให้นับเวลาราชการต่อเนื่องกับการเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๘
มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่บำเหน็จดำรงชีพและบำเหน็จบำนาญพิเศษให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๗๐/๓[๓๔]
การส่งเงินสะสมเข้ากองทุนของสมาชิกตามมาตรา ๗๐/๑
และการส่งเงินสมทบและเงินชดเชยเข้ากองทุน ให้นำมาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๑
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๗๐/๔[๓๕] บำเหน็จบำนาญของสมาชิกตามมาตรา ๗๐/๑
ให้จ่ายจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
การคำนวณบำเหน็จบำนาญ
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
การขอรับบำเหน็จบำนาญให้นำระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๗๐/๕[๓๖] การดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
ในส่วนที่กล่าวถึงส่วนราชการให้หมายความรวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย
หมวด ๓/๒
การรับพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเป็นสมาชิก[๓๗]
มาตรา ๗๐/๖[๓๘]
ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ
ให้สมาชิกซึ่งเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยและประสงค์จะเป็นสมาชิกตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
ยังคงมีสมาชิกภาพของสมาชิกต่อไป
ให้นำบทบัญญัติในหมวด
๓ ว่าด้วยสมาชิกและสิทธิประโยชน์ของสมาชิกมาใช้บังคับกับสมาชิกตามหมวดนี้โดยอนุโลม
เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งหมวดนี้
มาตรา ๗๐/๗[๓๙] ในกรณีที่สมาชิกตามมาตรา ๗๐/๖
ได้เคยเป็นข้าราชการและสมาชิกมาก่อนที่จะเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย
ให้สมาชิกผู้นั้นมีสมาชิกภาพต่อเนื่องกับสมาชิกภาพเดิมได้ ในการนี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญปกติ
บำเหน็จดำรงชีพ บำเหน็จตกทอด เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว แล้วแต่กรณี
ต่อเนื่องจากสิทธิที่เคยมีอยู่เดิมต่อไป
และให้นับเวลาราชการต่อเนื่องกับการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๘
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๗๐/๘[๔๐] ให้สมาชิกตามมาตรา ๗๐/๖
ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนโดยคำนวณตามบัญชีอัตราเงินเดือนและตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
แต่ทั้งนี้ การส่งเงินสะสมดังกล่าวจะต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินเดือน
เงินสะสมตามวรรคหนึ่ง
ให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐที่สมาชิกผู้นั้นสังกัดหักส่งและจ่ายสมทบในจำนวนที่เท่ากับอัตราเงินสะสมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
พร้อมการส่งเงินสะสมนั้น
ให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐที่สมาชิกผู้นั้นสังกัดส่งเงินชดเชยเข้ากองทุน
โดยคำนวณตามบัญชีอัตราเงินเดือนตามวรรคหนึ่ง และตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๗๐/๙[๔๑]
ให้คำนวณบำเหน็จบำนาญโดยนำบัญชีอัตราเงินเดือนตามมาตรา ๗๐/๘ วรรคหนึ่ง
มาใช้บังคับ
การจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญ
บำเหน็จดำรงชีพ และบำเหน็จตกทอด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
หมวด ๔
การเงิน การบัญชี
และการตรวจสอบ
มาตรา ๗๑
ให้กองทุนจัดให้มีบัญชี ประกอบด้วย
(๑)
บัญชีเงินสำรองซึ่งแสดงรายการเงินสำรอง และดอกผลของเงินดังกล่าว
(๒)
บัญชีเงินกองกลางซึ่งแสดงรายการเงินที่มีผู้บริจาคให้ เงินตามบัญชี
เงินรายบุคคลที่ไม่มีผู้รับ เงินส่วนกลางที่มิใช่ของสมาชิกคนใด
และดอกผลของเงินดังกล่าว
(๓)
บัญชีเงินรายบุคคลซึ่งแสดงรายการเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และดอกผลของเงินดังกล่าวบรรดาที่เป็นของสมาชิกแต่ละคน
มาตรา ๗๒
ให้รัฐตั้งงบประมาณรายจ่ายเป็นรายปีเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำปีเข้าบัญชีเงินสำรองทุกปีจนกว่าเงินสำรอง
เงินกองกลาง
และดอกผลของเงินดังกล่าวจะมีจำนวนสามเท่าของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำปี
หลังจากนั้นให้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อให้เงินสำรอง เงินกองกลาง
และดอกผลของเงินดังกล่าวคงระดับสามเท่าของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการในแต่ละปี
และถ้าเงินสำรอง เงินกองกลาง
และดอกผลของเงินดังกล่าวมีจำนวนเกินสามเท่าของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำปี
ให้นำเงินส่วนที่เกินนั้นส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
ในกรณีเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศ
รัฐอาจสั่งให้กองทุนส่งเงินออกจากบัญชีเงินสำรองกลับคืนเป็นรายได้แผ่นดินเพื่อจ่ายเป็นบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
แต่รัฐจะต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยส่วนของเงินดังกล่าวที่นำไปใช้ส่งคืนกองทุนในปีงบประมาณถัดไป
มาตรา ๗๓[๔๒]
ดอกผลที่ได้จากการนำเงินของกองทุนในแต่ละบัญชีไปลงทุนหาผลประโยชน์ตามมาตรา
๗๐ เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามส่วนของการลงทุนในแต่ละบัญชีแล้ว
ดอกผลที่ได้จากการนำเงินสำรองไปลงทุนให้บันทึกไว้ในบัญชีเงินสำรอง ดอกผลที่ได้จากการนำเงินกองกลางไปลงทุนให้บันทึกไว้ในบัญชีเงินกองกลาง
ดอกผลที่ได้จากการนำเงินรายบุคคลไปลงทุนให้บันทึกไว้ในบัญชีรายบุคคล
สำหรับดอกผลที่ได้จากการนำเงินรายบุคคลในส่วนของเงินสะสม เงินสมทบ
และดอกผลของเงินดังกล่าวไปลงทุนตามแผนการลงทุนให้บันทึกแยกตามผลประกอบการของแต่ละแผนการลงทุน
โดยให้จัดสรรผลประโยชน์ตอบแทนไว้ในบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกตามอัตราผลตอบแทนของแต่ละแผนการลงทุนที่เลือกไว้ตามสัดส่วนของเงินแยกต่างหากจากกัน ทั้งนี้ การคำนวณดอกผล
ค่าใช้จ่ายและการจัดสรรผลประโยชน์ตอบแทน
ให้ทำเป็นประจำตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
สมาชิกไม่มีสิทธิเรียกร้องผลตอบแทนจากแผนการลงทุนอื่นที่สมาชิกมิได้เลือก
มาตรา ๗๓/๑[๔๓]
ในกรณีที่ไม่มีการจ่ายเงินประเดิมหรือเงินชดเชยของสมาชิก
เพราะเหตุสมาชิกไม่มีสิทธิได้รับเนื่องจากการออกจากราชการ
หรือเพราะเหตุการรับบำเหน็จ หรือบำเหน็จตกทอด แล้วแต่กรณี
ให้กองทุนส่งเงินประเดิมหรือเงินชดเชยของสมาชิกรายนั้น
พร้อมดอกผลของเงินดังกล่าวคืนแก่กระทรวงการคลังโดยเร็ว ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
มาตรา ๗๔
ให้กองทุนแจ้งยอดเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม และเงินชดเชย
พร้อมทั้งผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวในส่วนของสมาชิกแต่ละคนให้สมาชิกทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา ๗๕
ให้กองทุนยื่นรายงานแสดงการจัดการกองทุนต่อรัฐมนตรีอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๗๖
กองทุนต้องวางและถือไว้ซึ่งระบบการบัญชีที่เหมาะสมแก่กิจการแยกตามประเภทงานส่วนที่สำคัญ
มีสมุดบัญชีลงรายการรับและจ่ายเงินสินทรัพย์และหนี้สินที่แสดงกิจการที่เป็นอยู่ตามความจริงและตามที่ควร
ตามประเภทงาน พร้อมด้วยข้อความอันเป็นที่มาของรายการนั้น ๆ
และให้มีการตรวจสอบบัญชีภายในเป็นประจำ
มาตรา ๗๗
กองทุนต้องจัดทำงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน
ส่งผู้สอบบัญชีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
มาตรา ๗๘
ทุกปีให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีทำการตรวจสอบรับรองบัญชีทุกประเภทของกองทุน
มาตรา ๗๙
ผู้สอบบัญชีมีอำนาจตรวจสอบสรรพสมุด บัญชี และเอกสารหลักฐานของกองทุน
เพื่อการนี้ให้มีอำนาจสอบถามประธานกรรมการ กรรมการ พนักงานและลูกจ้างได้
มาตรา ๘๐
ผู้สอบบัญชีต้องทำรายงานผลการสอบบัญชีของกองทุนเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการ
มาตรา ๘๑
กองทุนต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
เพื่อพิจารณารายงานผลการดำเนินงาน ฐานะการเงินและการรับจ่ายเงินของกองทุน
การประชุมใหญ่และการเลือกผู้แทนสมาชิกตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด
ให้ที่ประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกมีอำนาจแสดงข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนต่อคณะกรรมการ
มาตรา ๘๒
เมื่อได้รับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนจากที่ประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกแล้ว
ให้คณะกรรมการทำรายงานการสอบบัญชีพร้อมทั้งข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี
และประกาศรายงานการสอบบัญชีในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
หมวด ๕
การควบคุมกำกับการจัดการกองทุน
มาตรา ๘๓
ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน
กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนภายในระยะเวลาที่กำหนด
ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนไม่ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
หรือปรากฏว่าผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนจัดการกองทุนในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน
ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนแก้ไขหรือระงับการกระทำนั้น
หรือสั่งยกเลิกการมอบหมายให้เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นได้
มาตรา ๘๔
ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับและดูแลโดยทั่วไป ซึ่งการจัดการกองทุน
เพื่อประโยชน์ในการนี้จะสั่งแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนก็ได้
และให้รัฐมนตรีแจ้งให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายงานให้รัฐมนตรีทราบด้วย
ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นว่า
ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน
จัดการกองทุนในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน
รัฐมนตรีอาจขอให้คณะกรรมการพิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๘๓ วรรคสอง
มาตรา ๘๕
เมื่อได้รับคำสั่งตามมาตรา ๘๓ วรรคสองแล้ว
ให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนหยุดจัดการกองทุนในทันที
และส่งมอบทรัพย์สินคืนภายในเวลาที่กำหนดในคำสั่งนั้น
มาตรา ๘๖
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่
มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑)
เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจหรือสถานที่ตั้งของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้นเพื่อตรวจสอบสมุดบัญชีหรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการจัดการกองทุน
(๒)
ยึดหรืออายัดเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนข้อเท็จจริงหรือดำเนินคดี
(๓)
สั่งให้กรรมการ ผู้จัดการ
พนักงานหรือลูกจ้างของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนมาให้ถ้อยคำหรือส่งสำเนาหรือแสดงสมุดบัญชี
หรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการจัดการกองทุน
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง
ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
เมื่อได้เข้าไปและลงมือทำการตรวจสอบตาม
(๑) แล้ว ถ้ายังดำเนินการไม่เสร็จ
จะกระทำต่อไปในเวลากลางคืนหรือนอกเวลาทำการของสถานที่นั้นก็ได้
มาตรา ๘๗
ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘๘
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๖
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๘๙[๔๔] ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๘๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙๐
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา
๘๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙๑
กรรมการ ผู้จัดการ
หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนรายใดแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริง
ซึ่งควรบอกให้แจ้งในสาระสำคัญเกี่ยวกับการจัดการกองทุนต่อคณะกรรมการต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
หรือปรับไม่เกินสองล้านห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙๒
ความผิดตามมาตรา ๘๙ และมาตรา ๙๐ ให้คณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบได้
เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว
ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ
หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ดำเนินคดีต่อไป
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๙๓
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการผู้แทนสมาชิกและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
และแต่งตั้งเลขาธิการเพื่อให้ได้คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้
ภายในสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วยปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นกรรมการ
และอธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นกรรมการและเลขานุการ
ทำหน้าที่คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
และให้อธิบดีกรมบัญชีกลางทำหน้าที่เลขาธิการ
เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน
ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
อธิบดีกรมบัญชีกลางอาจแต่งตั้งบุคคลใดเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
บรรหาร ศิลปอาชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่ให้รัฐต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำทุกปี
โดยไม่มีการกันเงินสำรองไว้ล่วงหน้าสำหรับจ่ายบำเหน็จบำนาญในอนาคตนั้น
ไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเงินการคลังของประเทศในปัจจุบัน
ทำให้ไม่อาจวางแผนเชิงบริหารการเงินการคลังของประเทศในระยะยาวและไม่อาจวางแผนพัฒนาบุคลากรของรัฐได้ดังนั้นสมควรปรับปรุงระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการดังกล่าวเสียใหม่โดยจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการขึ้นมีฐานะเป็นนิติบุคคล
เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ
และเพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์
และจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่ข้าราชการที่เป็นสมาชิกของกองทุน
รวมทั้งให้เป็นสถาบันเงินออมที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเงินออมภายในประเทศ
และการส่งเสริมการลงทุนอันเป็นการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยส่วนรวมอีกด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒[๔๕]
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระ
ซึ่งได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
เพื่อจัดตั้งสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นหน่วยธุรการของศาลรัฐธรรมนูญ
มีฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระโดยบุคลากรมีฐานะเป็นข้าราชการ ฉะนั้น
เพื่อให้ข้าราชการเหล่านั้นได้รับสิทธิในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
รวมทั้งข้าราชการของส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระอื่น ๆ ที่จะมีการจัดตั้งขึ้นด้วย
สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า ข้าราชการ
ในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙ ให้มีความหมายรวมถึงข้าราชการดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖[๔๖]
มาตรา
๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๗
ผู้รับบำนาญซึ่งได้รับบำนาญอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จดำรงชีพตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ด้วย
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงเป็นอันมาก
อันมีผลกระทบต่อการดำรงชีพของข้าราชการบำนาญซึ่งได้รับบำนาญเป็นรายเดือนในจำนวนที่คงที่ ดังนั้น
เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้รับบำนาญให้สามารถดำรงชีพอย่างเหมาะสมและพอเพียงกับเศรษฐกิจในปัจจุบัน
สมควรกำหนดให้ผู้รับบำนาญมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพจำนวนหนึ่งในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่
โดยเงินจำนวนที่ได้รับดังกล่าวจะนำไปหักออกจากบำเหน็จตกทอดซึ่งจะจ่ายให้แก่ทายาทหรือบุคคลที่ผู้รับบำนาญได้แสดงเจตนาให้เป็นผู้มีสิทธิที่จะได้รับตามกฎหมายเมื่อผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้เป็นการนำเงินที่รัฐจะต้องจัดสรรเป็นงบประมาณรายจ่ายอยู่แล้วในอนาคตมาจ่ายให้แก่ผู้รับบำนาญส่วนหนึ่งก่อน
โดยมิได้เป็นการเพิ่มภาระงบประมาณรายจ่ายของรัฐแต่อย่างใด จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙[๔๗]
มาตรา
๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๕
ข้าราชการซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นเพราะมีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวด
๓/๑ ใช้บังคับ ถ้าก่อนโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้นั้นเป็นสมาชิก
ให้ผู้นั้นยังคงมีสมาชิกภาพของสมาชิกกองทุนต่อไป
และให้ผู้นั้นส่งเงินสะสมเข้ากองทุน
และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำส่งเงินสมทบและเงินชดเชยเข้ากองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๖
ข้าราชการซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นเพราะมีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามมาตรา
๕ แห่งพระราชบัญญัตินี้ ผู้ใดออกจากราชการก่อนวันที่พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ผู้นั้นมีสิทธิในการรับบำเหน็จบำนาญ บำเหน็จดำรงชีพ บำเหน็จตกทอด เงินสะสม
เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ด้วย
มาตรา
๗
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่นโยบายของรัฐหรือกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ทำให้ต้องมีการถ่ายโอนข้าราชการของราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น
รวมทั้งได้มีกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกำหนดให้มหาวิทยาลัยของรัฐเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐอันมีผลทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการของบุคคลดังกล่าวสิ้นสุดลงด้วย ดังนั้น
เพื่อให้ระบบสิทธิประโยชน์ของบุคคลดังกล่าวยังคงอยู่เช่นเดิม
สมควรกำหนดให้บุคคลดังกล่าวยังคงเป็นสมาชิกและได้รับสิทธิประโยชน์ของสมาชิกต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐[๔๘]
มาตรา
๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่การจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญ
และให้ผลประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ
รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก
และจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิกโดยกองทุนจะนำเงินไปลงทุนเพื่อหาผลประโยชน์ตอบแทนคืนสู่สมาชิก
แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ดังนั้น
เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินกิจการของกองทุนและเพื่อประโยชน์ของสมาชิก สมควรกำหนดให้กองทุนสามารถดำเนินกิจการของกองทุนได้ทั้งในประเทศและในต่างประเทศ
โดยอาจมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการกองทุน
รวมทั้งสามารถจัดตั้งบริษัทจำกัด
เพื่อให้บริการแก่กองทุนหรือนิติบุคคลที่กองทุนเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละเจ็ดสิบห้าของหุ้นทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น
และให้สมาชิกสามารถส่งเงินสะสมเข้ากองทุนได้ตามความสามารถของแต่ละคน
รวมทั้งสามารถเลือกแผนการลงทุนในหลักทรัพย์ที่กองทุนจัดทำขึ้น
ซึ่งสมาชิกจะได้รับผลตอบแทนตามอัตราตอบแทนของแต่ละแผนการลงทุน นอกจากนั้น สมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในกรณีที่กองทุนบริหารเงินของผู้ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินคืนแต่ยังไม่ขอรับเงินหรือทยอยขอรับเงินคืนและกรณีที่ผู้มีสิทธิรับเงินคืนขอโอนเงินไปยังกองทุนอื่น
รวมทั้งการส่งเงินประเดิมหรือเงินชดเชยคืนแก่กระทรวงการคลัง
ในกรณีที่ไม่มีการจ่ายเงินประเดิมหรือเงินชดเชย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑[๔๙]
มาตรา
๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา
๖
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ปัจจุบันกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไม่มีบทบัญญัติให้ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่
และประสงค์จะนับเวลาราชการต่อเนื่อง คืนเงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าวที่ได้รับเมื่อออกจากราชการโดยรับบำนาญในครั้งแรก
ส่งผลให้ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่ได้รับไปในคราวออกจากราชการในครั้งแรกเมื่อได้ออกจากราชการและประสงค์เลือกรับบำเหน็จในภายหลัง
รวมทั้งไม่มีบทบัญญัติให้สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่กลับเข้ารับราชการใหม่
คืนเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว
ทำให้กองทุนไม่สามารถนำเงินดังกล่าวไปลงทุนตามความประสงค์ของข้าราชการผู้นั้นได้
นอกจากนี้สมควรยกเลิกบทบัญญัติที่ให้ผู้รับบำนาญปกติหรือบำนาญตกทอดที่กระทำความผิดถึงต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาโทษจำคุกหรือตกเป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายหมดสิทธิรับบำนาญปกติหรือบำนาญตกทอดนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้รับบำเหน็จหรือรับบำนาญโดยเสมอกัน
รวมทั้งไม่กระทบสิทธิของบุคคลที่สามในเรื่องการรับบำเหน็จตกทอด จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๓[๕๐]
มาตรา
๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา
๕
ผู้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพซึ่งยังคงมีสิทธิได้รับบำนาญอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้มีสิทธินำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินได้ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ด้วย
มาตรา
๖
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
ได้บัญญัติให้ผู้รับบำนาญมีสิทธินำบำเหน็จดำรงชีพมาใช้ได้ก่อนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและเพื่อให้ผู้รับบำนาญสามารถดำรงชีพอยู่ได้
โดยเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ แต่การดำเนินการดังกล่าวสามารถช่วยเหลือผู้รับบำนาญได้เพียงบางส่วน
และปรากฏว่ายังมีผู้รับบำนาญอีกจำนวนมากที่ได้รับบำนาญรายเดือนในอัตราต่ำ
ทำให้ได้รับบำเหน็จดำรงชีพในอัตราที่ไม่เพียงพอต่อการครองชีพ ดังนั้น
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้รับบำนาญและจะเป็นการส่งเสริมการลงทุนอันเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมอีกทางหนึ่ง
สมควรกำหนดให้ผู้รับบำนาญสามารถนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๐[๕๑]
มาตรา
๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕
มาตรา ๕๔ เฉพาะในส่วนที่สันนิษฐานให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
ต้องรับโทษทางอาญาร่วมกับการกระทำความผิดของนิติบุคคล
โดยไม่ปรากฏว่ามีการกระทำหรือเจตนาประการใดอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖
และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าวทำนองเดียวกัน คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๗๔ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๗๘
พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ มาตรา ๒๘/๔ และพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘
มาตรา ๗๒/๕ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ ดังนั้น เพื่อแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติในลักษณะเดียวกันมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗
วริญา/เพิ่มเติม
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
วิชพงษ์/ตรวจ
๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๔๒ ก/หน้า ๑/๒๗ กันยายน ๒๕๓๙
[๒] มาตรา ๓
นิยามคำว่า ข้าราชการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
[๓] มาตรา ๓ นิยามคำว่า
ข้าราชการส่วนท้องถิ่น เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๔] มาตรา ๓
นิยามคำว่า พนักงานมหาวิทยาลัย เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๕] มาตรา ๓
นิยามคำว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๖] มาตรา ๓
นิยามคำว่า บำเหน็จดำรงชีพ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๗] มาตรา ๓
นิยามคำว่า นิติบุคคล เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๘] มาตรา ๙ (๔/๑)
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๙] มาตรา ๒๖ (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๐] มาตรา ๓๑ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๑] มาตรา ๓๑ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๒] มาตรา ๓๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๑๓] มาตรา ๓๘ วรรคสาม
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๔] มาตรา ๓๘ วรรคสี่
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๕] มาตรา ๓๘/๑
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๖] มาตรา ๓๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๗] มาตรา ๔๑
วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๘] มาตรา ๕๖
ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๙] มาตรา ๕๗/๑
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๒๐] มาตรา ๕๗/๒
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๓
[๒๑] มาตรา ๕๗/๓
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๓
[๒๒] มาตรา ๕๗/๔
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๓
[๒๓] มาตรา ๕๗/๕
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๓
[๒๔] มาตรา ๖๕ วรรคสอง
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๒๕] มาตรา ๖๕/๑
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๓
[๒๖] มาตรา ๖๗ วรรคสอง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๒๗] มาตรา ๖๗/๑
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๒๘] มาตรา ๖๗/๒
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๒๙] มาตรา ๖๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๓๐] มาตรา ๗๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๓๑] หมวด ๓/๑ การรับข้าราชการซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นเป็นสมาชิก
มาตรา ๗๐/๑ ถึง มาตรา ๗๐/๕ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓๒] มาตรา ๗๐/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓๓] มาตรา ๗๐/๒
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓๔] มาตรา ๗๐/๓
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓๕] มาตรา ๗๐/๔
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓๖] มาตรา ๗๐/๕
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓๗] หมวด ๓/๒ การรับพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเป็นสมาชิก
มาตรา ๗๐/๖ ถึง มาตรา ๗๐/๙ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓๘] มาตรา ๗๐/๖ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓๙] มาตรา ๗๐/๗
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๔๐] มาตรา ๗๐/๘
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๔๑] มาตรา ๗๐/๙
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๔๒] มาตรา ๗๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๔๓] มาตรา ๗๓/๑
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๔๔] มาตรา ๘๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
พ.ศ. ๒๕๖๐
[๔๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๒๕ ก/หน้า ๘/๘ เมษายน ๒๕๔๒
[๔๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๐/ตอนที่ ๑๑๓ ก/หน้า ๔/๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
[๔๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔ ก/หน้า ๘/๑๗ มกราคม ๒๕๔๙
[๔๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๕/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๑/๙ มกราคม ๒๕๕๑
[๔๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๕/ตอนที่ ๓๓ ก/หน้า ๖/๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
[๕๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๙ ก/หน้า ๑/๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๓
[๕๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ |
768983 | พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ. 2560 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
พ.ศ. ๒๕๖๐
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
เป็นปีที่ ๒
ในรัชกาลปัจจุบัน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
พ.ศ. ๒๕๖๐
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตราแห่งประมวลกฎหมาย
พระราชบัญญัติและพระราชกำหนด จำนวนเจ็ดสิบหกฉบับ ดังต่อไปนี้
และให้ใช้ความตามที่ปรากฏในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้แทนตามลำดับ
(๑) มาตรา ๑๒ จัตวา แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช
๒๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕
(๒) มาตรา ๓๕ ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๒๕
และมาตรา ๙๐/๕ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
(๓) มาตรา ๖๒ ตรี แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๔
(๔) มาตรา ๑๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ
(ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑
(๕) มาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๓๕
(๖) มาตรา ๒๘/๔ แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๖
(๗) มาตรา ๓๙ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีป้าย
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
(๘) มาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. ๒๕๑๐
(๙) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔
(๑๐) มาตรา ๗๒/๕ แห่งพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปุ๋ย
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
(๑๑) มาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๒) มาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๓) มาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๔) มาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
(๑๕) มาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๖) มาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑๗) มาตรา ๓๒
แห่งพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๒๔
(๑๘) มาตรา ๒๓ แห่งพระราชกำหนดควบคุมสินค้าตามชายแดน พ.ศ. ๒๕๒๔
(๑๙) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗
(๒๐) มาตรา ๑๕
แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
พ.ศ. ๒๕๒๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕
(๒๑) มาตรา ๙๒
แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘
(๒๒) มาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
(๒๓) มาตรา ๑๐๑ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓
(๒๔) มาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔
(๒๕) มาตรา ๔๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
และมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔
(๒๖) มาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕
(๒๗) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๓๕
(๒๘) มาตรา ๑๑๑
แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕
(๒๙) มาตรา ๘๗/๒ แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
(๓๐) มาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓๑) มาตรา ๑๑๔ แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. ๒๕๓๕
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
(๓๒) มาตรา ๑๐๘ แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
(๓๓) มาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.
๒๕๓๗
(๓๔) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
(๓๕) มาตรา ๘๙
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
(๓๖) มาตรา ๑๓ แห่งพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์
พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ศ. ๒๕๕๐
(๓๗) มาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒
(๓๘) มาตรา ๖๑
แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒
(๓๙) มาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
(๔๐) มาตรา ๖๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒
(๔๑) มาตรา ๘๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒
(๔๒) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒
(๔๓) มาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒
(๔๔) มาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔๕) มาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔๖) มาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔๗) มาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔๘) มาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔๙) มาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.
๒๕๔๓
(๕๐) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓
(๕๑) มาตรา ๘๖ แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.
๒๕๔๓
(๕๒) มาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔
(๕๓) มาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม
พ.ศ. ๒๕๔๔
(๕๔) มาตรา ๔๖
แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔
(๕๕) มาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๔๕
(๕๖) มาตรา ๑๓๕ แห่งพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ๒๕๔๖
(๕๗) มาตรา ๑๑๕ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖
(๕๘) มาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๖
(๕๙) มาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗
(๖๐) มาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. ๒๕๔๘
(๖๑) มาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. ๒๕๔๘
(๖๒) มาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
(๖๓) มาตรา ๑๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐
(๖๔) มาตรา ๑๕๓ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
(๖๕) มาตรา ๘๐ แห่งพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. ๒๕๕๐
(๖๖) มาตรา ๕๔
แห่งพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑
(๖๗) มาตรา ๑๓๒ และมาตรา ๑๓๙ แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.
๒๕๕๑
(๖๘) มาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
(๖๙) มาตรา ๖๕ และมาตรา ๖๖
แห่งพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๐) มาตรา ๕๐
แห่งพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๑) มาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๒) มาตรา ๕๘ แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๓) มาตรา ๘๕ แห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๔) มาตรา ๑๒๒ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๑
(๗๕) มาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๓
(๗๖) มาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔
ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
บัญชีท้ายพระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล
พ.ศ. ๒๕๖๐
๑. พระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า
พุทธศักราช ๒๔๗๔
มาตรา ๑๒ จัตวา ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒. ประมวลรัษฎากร
มาตรา ๓๕ ทวิ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๒ ทวิ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย
มาตรา ๙๐/๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามหมวดนี้เป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๓. พระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑
มาตรา ๖๒ ตรี ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๖๒ ทวิ เป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๒ ทวิ ด้วย
๔. พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗
มาตรา ๑๑๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕. พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙
มาตรา ๒๕ ในกรณีที่บริษัทจำกัดใดกระทำความผิดตามมาตรา
๗ ถึงมาตรา ๒๔ ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทจำกัดนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทจำกัดนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทจำกัดนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
๖. พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙
มาตรา ๒๘/๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗. พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐
มาตรา ๓๙ ทวิ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๘. พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
พ.ศ. ๒๕๑๐
มาตรา ๓๓ ผู้ใดมิใช่ในกิจการของ
อผศ. หรือโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก อผศ.
ใช้ชื่อหรือถ้อยคำในประการที่น่าจะทำให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นกิจการของ อผศ. หรือเกี่ยวเนื่องกับกิจการของ
อผศ. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
นิติบุคคลใดมิใช่กระทรวง
ทบวง กรม หรือโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก อผศ. ใช้คำว่า อผศ. ทหารผ่านศึก ผ่านศึก นอกประจำการ หรือคำว่าทหาร เป็นชื่อหรือประกอบชื่อของนิติบุคคลนั้น
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิดผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย
๙. พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.
๒๕๑๔
มาตรา ๗๖ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิด
ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๐. พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘
มาตรา ๗๒/๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
เว้นแต่กรณีตามมาตรา ๗๒/๒ ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๑.
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๘๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๒.
พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๘๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๓. พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๓๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๔ .
พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๗๑ นิติบุคคลอาคารชุดใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๓๘/๑ มาตรา ๓๘/๒ และมาตรา ๓๘/๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ในกรณีที่นิติบุคคลอาคารชุดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้น
หรือในกรณีที่ผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลอาคารชุดนั้นกระทำความผิด
ผู้จัดการของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ตามวรรคหนึ่งด้วย
๑๕. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๕๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๖. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๗๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๗. พระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๕๒๔
มาตรา ๓๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๓๐
หรือมาตรา ๓๑ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๘. พระราชกำหนดควบคุมสินค้าตามชายแดน พ.ศ.
๒๕๒๔
มาตรา ๒๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๑๙. พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗
มาตรา ๗๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๐. พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
พ.ศ. ๒๕๒๗
มาตรา ๑๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลซึ่งปรากฏพยานหลักฐานว่ามีพฤติกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลด้วย
๒๑. พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน
พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๙๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๒. พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.
๒๕๓๐
มาตรา ๔๑ ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนกระทำความผิดตามมาตรา
๓๔ ถ้าการกระทำความผิดของคณะกรรมการกองทุนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด
หรือในกรณีที่กรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้คณะกรรมการกองทุนนั้นกระทำความผิด
กรรมการผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๓. พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓
มาตรา ๑๐๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคลและถูกลงโทษ
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๔. พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. ๒๕๓๔
มาตรา ๒๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา
๕ หรือมาตรา ๘ เป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
๒๕. พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔
มาตรา ๔๘/๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา
๑๕ วรรคสี่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือน ถึงห้าปี
และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ในกรณีที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐกระทำผิดตามวรรคหนึ่ง
ถ้าการกระทำความผิดของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของหัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นกระทำความผิด
หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
ๆ ด้วย
มาตรา ๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๗
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๖. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.
๒๕๓๕
มาตรา ๕๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๗. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๘. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๑๑๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๒๙. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๘๗/๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ
ผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรเฉพาะ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๓๐. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๖๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๓๑. พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๑๑๔ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิดตามมาตรา
๒๓ มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๖ หรือมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงที่ต้องบอกให้แจ้งหรือให้ทำคำชี้แจงตามมาตรา
๔๕ ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิดผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๓๒. พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๑๐๘ ในกรณีที่บริษัทใดกระทำความผิดตามมาตรา ๒๓
มาตรา ๒๘ มาตรา ๓๕ หรือมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จ
หรือปกปิดความจริงที่ต้องบอกให้แจ้งหรือให้ทำคำชี้แจงตามมาตรา ๔๙
หรือไม่หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวตามมาตรา ๕๒ วรรคหนึ่ง
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวของบริษัทนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
๓๓. พระราชบัญญัติสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๓๗
มาตรา ๓๙ ในกรณีที่สภากระทำความผิดและถูกลงโทษ
ถ้าการกระทำความผิดของสภานั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด
หรือในกรณีที่กรรมการผู้ใดมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สภานั้นกระทำความผิด
กรรมการผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
๓๔. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๓๕. พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๘๙ ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๘๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทำความผิดของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๓๖. พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.
๒๕๔๑
มาตรา ๑๓ บริษัทบริหารสินทรัพย์ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๔/๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ หรือมาตรา ๑๑/๑ วรรคสอง
หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือคำสั่งหรือเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๔/๑
วรรคสอง มาตรา ๕ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๑/๑ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๑๒
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท
และปรับอีกไม่เกินวันละสามพันบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ใดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง
ถ้าการกระทำความผิดของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้บริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
๓๗. พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๓๘. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๖๑ นิติบุคคลใดกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๗
มาตรา ๘ หรือมาตรา ๙ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท
ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งของนิติบุคคลเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีหรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
๓๙. พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๘๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๐. พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๖๙ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๑. พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๘๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๒. พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
และสำหรับนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบเท่าของอัตราโทษปรับสำหรับความผิดนั้นด้วย
๔๓. พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.
๒๕๔๒
มาตรา ๗๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๔. พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
และสำหรับนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบเท่าของอัตราโทษปรับสำหรับความผิดนั้นด้วย
๔๕. พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๔๓ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๖. พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๔๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๗. พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม
พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๕๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๘. พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๖๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๔๙. พระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี
พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๑๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๐. พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.
๒๕๔๓
มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๑. พระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๘๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๒. พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
พ.ศ. ๒๕๔๔
มาตรา ๔๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๓. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม
พ.ศ. ๒๕๔๔
มาตรา ๗๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๔. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๔๔
มาตรา ๔๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๕. พระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.
๒๕๔๕
มาตรา ๖๔ ในกรณีที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๑๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๗ มาตรา ๒๐ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๘ หรือมาตรา ๓๙
หรือฝ่าฝืนมาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๓๑ ถ้าการกระทำความผิดของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์นั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการผู้ใด
หรือในกรณีที่กรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์นั้นกระทำความผิด
กรรมการผู้นั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
๕๖. พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ.
๒๕๔๖
มาตรา ๑๓๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๖
มาตรา ๑๒๗ มาตรา ๑๒๘ มาตรา ๑๒๙ มาตรา ๑๓๐ มาตรา ๑๓๑ มาตรา ๑๓๓ หรือมาตรา ๑๓๘
เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ
๕๗. พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.
๒๕๔๖
มาตรา ๑๑๕ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๗๔ หรือมาตรา ๗๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท
ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนใดกระทำความผิดตามมาตรา ๗๔ หรือมาตรา
๗๕ ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการสภาสถาบัน
อธิการบดี หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๘. พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๔๖
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๕๙. พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๗
มาตรา ๗๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๐. พระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ.
๒๕๔๘
มาตรา ๓๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๑. พระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
พ.ศ. ๒๕๔๘
มาตรา ๗๗ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามมาตรา
๗๐ หรือมาตรา ๗๑ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๒. พระราชบัญญัติโรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ.
๒๕๕๐
มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับอนุญาตตามมาตรา
๓๓ ซึ่งเป็นนิติบุคคลกระทำความผิด ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๓. พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.
๒๕๕๐
มาตรา ๑๔๑ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๔. พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๑๕๓ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคลกระทำความผิดและถูกลงโทษ
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นหรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๕. พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน
พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๘๐ ผู้ใดให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ซึ่งความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในการตรวจสอบหรือการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งเป็นทรัสตี
ถ้าการกระทำความผิดของทรัสตีนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของทรัสตีนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ทรัสตีนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
๖๖. พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๕๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๗. พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.
๒๕๕๑
มาตรา ๑๓๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๑
หรือมาตรา ๑๒๓ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ
หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของนิติบุคคล
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
ภายใต้บังคับมาตรา ๑๓๙
ในกรณีที่สถาบันการเงินกระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๒ มาตรา ๑๒๔ มาตรา ๑๒๕
หรือมาตรา ๑๒๘
ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันการเงินนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
มาตรา ๑๓๙ ในกรณีที่สถาบันการเงินใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๓๖ มาตรา ๕๐ มาตรา ๖๖ มาตรา ๘๐ มาตรา ๙๓ มาตรา ๙๔ หรือมาตรา ๙๕ หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ข้อกำหนด หลักเกณฑ์
หรือคำสั่งที่กำหนดตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๓ มาตรา
๓๖ มาตรา ๕๐ มาตรา ๖๖ มาตรา ๗๑ มาตรา ๘๐ มาตรา ๙๐ หรือมาตรา ๙๕ ถ้าการกระทำความผิดของสถาบันการเงินนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ
หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
๖๘. พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ.
๒๕๕๑
มาตรา ๖๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคลและถูกลงโทษ
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ หรือผู้จัดการ
หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๖๙. พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ.
๒๕๕๑
มาตรา ๖๕ ผู้ใดนอกจากสถาบันการเงิน ใช้ข้อความ เครื่องหมาย
หรือสัญลักษณ์ เพื่อแสดงว่าธุรกิจของตนเป็นสถาบันการเงินที่เงินฝากได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี
หรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
มาตรา ๖๖ สถาบันการเงินใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๔๐ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบันการเงินนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งด้วย
๗๐. พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา
พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๕๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดในส่วนที่ ๒ นี้ ยกเว้นมาตรา
๔๘ เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๑. พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๗๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๒. พระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๕๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๓. พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.
๒๕๕๑
มาตรา ๘๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษอาญาตามส่วนนี้เป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๔. พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๑๒๒ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๕. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน
พ.ศ. ๒๕๕๓
มาตรา ๔๘ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล
ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
๗๖. พระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๕๔
มาตรา ๖๒ ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา
๕๗
วรรคสาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองล้านบาท
และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่การกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการ
หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้น
หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้นกระทำความผิด
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสองล้านบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕
มาตรา ๕๔ เฉพาะในส่วนที่สันนิษฐานให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น
ต้องรับโทษทางอาญาร่วมกับการกระทำความผิดของนิติบุคคล
โดยไม่ปรากฏว่ามีการกระทำหรือเจตนาประการใดอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖ และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าวทำนองเดียวกัน
คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๗๔
พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ มาตรา ๗๘ พระราชบัญญัติสถานบริการ
พ.ศ. ๒๕๐๙ มาตรา ๒๘/๔ และพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๗๒/๕ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง
เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
มาตรา ๖ ดังนั้น เพื่อแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติในลักษณะเดียวกันมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ
๑๔ กุมภาพันธ์
๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๑๔ กุมภาพันธ์
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ |
769973 | พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 (ฉบับ Update ณ วันที่ 22/12/2553) | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน
พ.ศ. ๒๕๓๙
เป็นปีที่ ๕๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
เว้นแต่บทบัญญัติแห่งหมวด ๓
ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ในพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการ[๒] หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ
ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ
ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
ข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู
ข้าราชการรัฐสภาสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ
ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร
ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญตามกฎหมายว่าด้วยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และข้าราชการซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการส่วนท้องถิ่น[๓] หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน หรือผู้ปฏิบัติงาน
ซึ่งเรียกชื่ออย่างอื่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล
กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น
พนักงานมหาวิทยาลัย[๔] หมายความว่า พนักงาน บุคลากร หรือผู้ปฏิบัติงาน
ซึ่งเรียกชื่ออย่างอื่นของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษานั้น
ๆ แต่ไม่หมายความรวมถึงลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[๕] หมายความว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล
กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น
กองทุน หมายความว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
สมาชิก หมายความว่า
สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เงินเดือน หมายความว่า
เงินเดือนที่ได้รับตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการนั้น ๆ
รวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา
สำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ สำหรับการสู้รบ
หรือสำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิดแต่ไม่รวมถึงเงินเพิ่มอย่างอื่น
เงินสะสม หมายความว่า
เงินที่สมาชิกสะสมเข้ากองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
เงินสมทบ หมายความว่า
เงินที่รัฐบาลจ่ายสมทบเงินสะสมตามพระราชบัญญัตินี้
เงินประเดิม หมายความว่า
เงินที่รัฐบาลนำส่งเข้ากองทุนเพื่อจ่ายเพิ่มให้แก่สมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการอยู่ก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวด
๓ ใช้บังคับและเลือกรับบำนาญ
เงินชดเชย หมายความว่า
เงินที่รัฐบาลนำส่งเข้ากองทุนเพื่อจ่ายเพิ่มให้แก่สมาชิกซึ่งรับบำนาญ
บำนาญ หมายความว่า
เงินที่จ่ายให้แก่สมาชิกเป็นรายเดือนเมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง
บำเหน็จ หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่สมาชิก
โดยจ่ายให้ครั้งเดียวเมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง
บำเหน็จดำรงชีพ[๖] หมายความว่า
เงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับบำนาญเพื่อช่วยเหลือการดำรงชีพโดยจ่ายให้ครั้งเดียว
บำเหน็จตกทอด หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่ทายาทโดยจ่ายให้ครั้งเดียวในกรณีที่สมาชิกหรือผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
เวลาราชการ หมายความว่า
เวลาตั้งแต่วันที่สมาชิกเริ่มรับราชการจนถึงวันสุดท้ายที่ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
และให้หมายความรวมถึงการนับเวลาราชการเป็นทวีคูณตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการด้วย
นิติบุคคล[๗] หมายความว่า นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
กรรมการ หมายความว่า
กรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เลขาธิการ หมายความว่า
เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พนักงาน หมายความว่า
พนักงานของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ลูกจ้าง หมายความว่า
ลูกจ้างของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรี หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
กับออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
การจัดตั้งกองทุน
และลักษณะของกิจการกองทุน
มาตรา ๕
ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรียกโดยย่อว่า กบข.
ให้กองทุนเป็นนิติบุคคล
มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(๑)
เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ
(๒)
เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก
(๓)
เพื่อจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิก
มาตรา ๖
กองทุนประกอบด้วยทรัพย์สินดังต่อไปนี้
(๑)
เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม และเงินชดเชย
(๒)
เงินที่ได้รับจัดสรรตามมาตรา ๗๒
(๓)
ทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
(๔)
เงินที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามความจำเป็นเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
(๕)
รายได้อื่น
(๖)
ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
มาตรา ๗
กิจการของกองทุนไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
และกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม
มาตรา ๘
ให้กองทุนมีสำนักงานใหญ่ ณ สถานที่ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
และจะตั้งสาขาหรือตัวแทนขึ้น ณ ที่อื่นใด ตามความจำเป็นก็ได้
มาตรา ๙
ให้กองทุนมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕
และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง
(๑)
ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ
(๒)
ก่อตั้งสิทธิหรือกระทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งในและนอกราชอาณาจักร
(๓)
ให้สมาชิกกู้ยืมเงิน
(๔)
ลงทุนหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุน
(๔/๑)[๘]
จัดตั้งบริษัทจำกัด
เพื่อให้บริการแก่กองทุนหรือนิติบุคคลที่กองทุนเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละเจ็ดสิบห้าของหุ้นทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น
(๕)
กระทำการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
มาตรา ๑๐
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน
ให้จ่ายจากเงินของกองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๑๑
กองทุนไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
และรายได้ของกองทุนไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
หมวด ๒
การควบคุมและการบริหาร
มาตรา ๑๒
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง อธิบดีกรมบัญชีกลาง
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ผู้แทนสมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการตามมาตรา ๓ ประเภทละหนึ่งคนซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา
๑๓ และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสามคนซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา ๑๔ เป็นกรรมการ
ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ
คณะกรรมการอาจแต่งตั้งพนักงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการได้ไม่เกินสองคน
มาตรา ๑๓
การเลือกกรรมการผู้แทนสมาชิกตามมาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา ๑๔
ให้ประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้แทนสมาชิกประชุมร่วมกัน
เพื่อเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
มาตรา ๑๕
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑)
ไม่เป็นบุคคลซึ่งทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐอื่นไล่ออก ปลดออก
ให้ออก หรือเลิกจ้างเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่าทุจริตต่อหน้าที่
(๒)
ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น
หรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
มาตรา ๑๖
ให้กรรมการผู้แทนสมาชิกมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี
แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา ๑๗
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี
แต่จะเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา ๑๘
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้แทนสมาชิก
หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
เป็นบุคคลล้มละลาย
(๔)
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕)
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๖)
พ้นจากการเป็นสมาชิกหรือพ้นจากการเป็นข้าราชการประเภทที่ตนได้รับเลือกเป็นผู้แทนในกรณีกรรมการผู้แทนสมาชิก
(๗)
มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๕ ในกรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
มาตรา ๑๙
ในกรณีที่กรรมการผู้แทนสมาชิกหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการขึ้นใหม่ภายในหกสิบวันในระหว่างที่ยังมิได้มีการเลือกกรรมการขึ้นใหม่
ให้กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไป
จนกว่ากรรมการที่ได้รับเลือกใหม่เข้ารับหน้าที่
มาตรา ๒๐
ในกรณีที่กรรมการผู้แทนสมาชิกผู้ใดพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระให้ผู้ซึ่งได้คะแนนถัดไปซึ่งขึ้นบัญชีไว้ในการเลือกผู้แทนสมาชิกของข้าราชการประเภทนั้นเป็นกรรมการแทน
ในกรณีที่ไม่มีผู้ขึ้นบัญชีไว้ ให้ดำเนินการเลือกกรรมการผู้แทนสมาชิกประเภทนั้นขึ้นใหม่ตามวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นแทนตามมาตรา ๑๔
ให้กรรมการผู้ได้รับการแต่งตั้งหรือเลือกให้ดำรงตำแหน่งแทนตามวรรคหนึ่ง
และวรรคสอง อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่วาระการดำรงตำแหน่งเหลืออยู่ไม่ถึงสามสิบวัน
จะไม่แต่งตั้งหรือเลือกกรรมการขึ้นดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
มาตรา ๒๑
ให้ประธานกรรมการและกรรมการตามมาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง
แต่งตั้งเลขาธิการจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑)
มีสัญชาติไทย
(๒)
มีอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์
(๓)
สามารถปฏิบัติงานให้แก่กองทุนได้เต็มเวลา
(๔)
ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
(๕)
ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(๖)
ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น
รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
(๗)
ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษา หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
(๘)
ไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้จัดการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
(๙)
ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับกองทุน หรือในกิจการที่กระทำให้แก่กองทุน
ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม เว้นแต่เป็นผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายให้เป็นกรรมการในบริษัทที่กองทุนเป็นผู้ถือหุ้น
มาตรา ๒๒
การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
และการกำหนดเงื่อนไขในการทดลองปฏิบัติงานหรือการทำงานในหน้าที่เลขาธิการ
ให้เป็นไปตามสัญญาจ้างที่คณะกรรมการกำหนด โดยให้มีอายุการจ้างคราวละไม่เกินสี่ปี
และเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาจ้างแล้วคณะกรรมการจะต่ออายุสัญญาจ้างอีกก็ได้
การทำสัญญาจ้างเลขาธิการ
ให้ประธานกรรมการเป็นผู้มีอำนาจทำสัญญาในนามของกองทุน
ให้เลขาธิการได้รับเงินค่าจ้าง
ค่าตอบแทนและเงินอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๒๓
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามอายุการจ้าง เลขาธิการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑
(๔)
คณะกรรมการมีมติเห็นสมควรให้เลิกจ้าง
มาตรา ๒๔
ให้เลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง
และรับผิดชอบในการบริหารกิจการของกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนและตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายที่คณะกรรมการกำหนด
เลขาธิการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการบริหารกิจการของกองทุน
มาตรา ๒๕
ในกิจการของกองทุนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้เลขาธิการเป็นผู้แทนของกองทุน
การปฏิบัติงานของเลขาธิการและการมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนเลขาธิการให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด
นิติกรรมที่กระทำโดยฝ่าฝืนข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง
ย่อมไม่ผูกพันกองทุนเว้นแต่คณะกรรมการจะให้สัตยาบัน
มาตรา ๒๖
ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดนโยบาย และออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งในการบริหารกิจการของกองทุน
(๒)
กำหนดนโยบายการลงทุนของกองทุน ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๓)
กำกับดูแลการจัดการกองทุน
(๔)
ออกข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติงานของเลขาธิการ
และการมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนเลขาธิการ
(๕)
กำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสำนักงาน
และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวกับกิจการของกองทุน
(๖)
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการรับ เก็บรักษา และจ่ายเงินของกองทุน
(๗)
ออกระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การบรรจุ แต่งตั้ง
ถอดถอน และวินัยของพนักงานและลูกจ้าง ตลอดจนการกำหนดเงินเดือนและเงินอื่น
รวมถึงการสงเคราะห์และสวัสดิการ
(๘)[๙]
พิจารณามอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นจัดการเงินของกองทุน
(๙)
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
(๑๐)
แต่งตั้งผู้แทนเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนน
ในการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทหรือหน่วยงานอื่นใดที่กองทุนถือหุ้นอยู่
(๑๑)
ปฏิบัติงานอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๗
การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมของคณะกรรมการ
ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมากกรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
การออกเสียงลงมติแต่งตั้งหรือเลิกจ้างเลขาธิการต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่อยู่ในตำแหน่ง
มาตรา ๒๘
กรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณา
ห้ามมิให้เข้าร่วมพิจารณาในเรื่องนั้น
มาตรา ๒๙
ให้กรรมการและอนุกรรมการได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๓๐
ให้มีคณะอนุกรรมการจัดการลงทุน ประกอบด้วย
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นประธานอนุกรรมการ ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย
และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คนซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้ง เป็นอนุกรรมการ
และเลขาธิการเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
มาตรา ๓๑
ให้คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการลงทุนต่อคณะกรรมการ
(๒)[๑๐]
ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่จะมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุน
(๓)[๑๑]
ติดตามดูแลการดำเนินงานของสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุน
(๔)
รายงานผลการดำเนินการด้านการลงทุนและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการ
(๕)
ปฏิบัติการในเรื่องอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๓๒
ให้มีคณะอนุกรรมการสมาชิกสัมพันธ์ ประกอบด้วยเลขาธิการ ก.พ.
เป็นประธานอนุกรรมการ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนกรมประชาสัมพันธ์
และผู้แทนสมาชิกจำนวนห้าคนเป็นอนุกรรมการ และให้เลขาธิการเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
การเลือกผู้แทนสมาชิกตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๓๓
ให้คณะอนุกรรมการสมาชิกสัมพันธ์มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นสื่อกลางระหว่างกองทุนกับสมาชิก ตลอดจนเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่สมาชิก
(๒)
เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร และรายงานความคืบหน้าของการจัดการกองทุน
(๓)
รับฟังความคิดเห็นและปัญหาต่าง ๆ จากสมาชิก
(๔)
พิจารณาเสนอแนะต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิก
(๕)
ปฏิบัติการในเรื่องอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๓๔
ให้นำมาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๒๘
มาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
และการประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
หมวด ๓
สมาชิกและสิทธิประโยชน์ของสมาชิก
มาตรา ๓๕
ให้บุคคลต่อไปนี้ เป็นสมาชิก
(๑)
ผู้ซึ่งเข้ารับราชการตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
(๒)
ผู้ซึ่งโอนมาเป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
มาตรา ๓๖
บุคคลต่อไปนี้จะสมัครเป็นสมาชิกก็ได้
(๑)
ข้าราชการซึ่งรับราชการอยู่ในวันก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
(๒)
ข้าราชการซึ่งออกจากราชการเพื่อไปปฏิบัติงานตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ
ก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับและกลับเข้ารับราชการตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
การสมัครเป็นสมาชิกให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๓๗[๑๒] บำเหน็จบำนาญ บำเหน็จดำรงชีพ
และบำเหน็จตกทอด ให้จ่ายจากเงินงบประมาณ สำหรับเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม
เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวให้จ่ายจากกองทุน ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๘
ข้าราชการซึ่งออกจากราชการ
ถ้ากลับเข้ารับราชการใหม่ตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
ให้นับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการในตอนหลังได้
เว้นแต่ข้าราชการผู้นั้นถูกปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ
เนื่องจากกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงและไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยหวัด
บำเหน็จบำนาญจากการรับราชการตอนก่อนออกจากราชการ
ข้าราชการซึ่งได้รับบำเหน็จไปแล้ว
จะนับเวลาราชการต่อเนื่องตามวรรคหนึ่งได้จะต้องคืนบำเหน็จที่ได้รับพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝากประจำของธนาคารออมสิน
ส่วนระยะเวลาในการคืนบำเหน็จให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
ข้าราชการซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติแล้ว
จะนับเวลาราชการต่อเนื่องตามวรรคหนึ่งได้ จะต้องคืนเงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่ได้รับแก่กองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
และให้งดการจ่ายบำนาญตลอดเวลาที่กลับเข้ารับราชการใหม่นั้น
แต่ถ้าผู้นั้นประสงค์จะรับบำนาญต่อไป
จะต้องมีหนังสือแจ้งความประสงค์ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดที่ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันกลับเข้ารับราชการและจะนับเวลาราชการต่อเนื่องมิได้
ทั้งนี้หากไม่คืนเงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว
ให้ถือว่าผู้นั้นประสงค์จะรับบำนาญต่อไปด้วย
ในกรณีที่รับบำนาญต่อไปถ้าเงินเดือนที่ได้รับในขณะกลับเข้ารับราชการใหม่เท่าหรือสูงกว่าเงินเดือนเดิม
เมื่อออกจากราชการให้งดการจ่ายบำนาญ
แต่ถ้าเงินเดือนใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิมให้รับบำนาญเท่ากับผลต่างของเงินเดือนใหม่และเงินเดือนเดิม
โดยให้ส่วนราชการที่ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่แจ้งไปยังเจ้าสังกัดที่ผู้นั้นรับบำนาญอยู่และกองทุน
เพื่องดหรือลดการจ่ายบำนาญ
เมื่อออกจากราชการให้มีสิทธิได้รับบำนาญโดยคำนวณจากเงินเดือนและเวลาราชการในตอนใหม่บวกเข้ากับบำนาญเดิมบำนาญในตอนหลังจะเปลี่ยนเป็นขอรับบำเหน็จแทนก็ได้[๑๓]
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้
ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่อาจมีสิทธิได้รับเงินประเดิมและเงินชดเชยตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง[๑๔]
ความในมาตรานี้ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการประเภทต่าง
ๆ ตามคำนิยามในมาตรา ๓ โดยอนุโลม
มาตรา ๓๘/๑[๑๕]
ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ ประสงค์จะส่งเงินสะสม
เงินสมทบและผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่ได้รับไปแล้วแก่กองทุนเพื่อให้กองทุนนำไปลงทุนหาผลประโยชน์ต่อไป
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๓๙[๑๖]
ให้สมาชิกส่งเงินสะสมเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่สมาชิกซึ่งรับราชการอยู่ก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนหรือไม่ก็ได้
ในกรณีที่สมาชิกผู้ใดประสงค์ที่จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราตามวรรคหนึ่ง
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด แต่ทั้งนี้ การส่งเงินสะสมตามมาตรานี้รวมกันแล้วจะต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินเดือน
ถ้าสมาชิกไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนหรือได้รับเงินเดือนไม่เต็มจำนวนสำหรับระยะเวลาใดให้ส่งเงินสะสมตามส่วนแห่งเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับ
การส่งเงินสะสมตามมาตรานี้
ให้ส่วนราชการหักจากเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับและส่งเข้ากองทุนในวันที่มีการจ่ายเงินเดือน
ให้ส่วนราชการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนให้สมาชิกในจำนวนที่เท่ากับอัตราเงินสะสมตามที่กำหนดในกฎกระทรวงพร้อมการส่งเงินสะสมนั้น
แต่ถ้าสมาชิกไม่ได้รับเงินเดือนหรือได้รับเงินเดือนไม่เต็มจำนวน ให้ส่งเงินสมทบตามอัตราส่วนแห่งเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับ
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้
เงินเดือนไม่รวมถึงเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา
สำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ สำหรับการสู้รบ
สำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิด หรือเงินเพิ่มอย่างอื่น
มาตรา ๔๐
ให้กระทรวงการคลังคำนวณเงินประเดิมสำหรับสมาชิกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อนำส่งเข้ากองทุน
การส่งเงินประเดิมตามวรรคหนึ่ง
ให้จ่ายจากเงินคงคลัง
มาตรา ๔๑
ให้ส่วนราชการส่งเงินชดเชยเข้ากองทุนให้แก่สมาชิกตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินเดือนให้แก่สมาชิก
ในการนี้ให้นำมาตรา ๓๙ วรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม[๑๗]
ถ้าสมาชิกไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนหรือได้รับเงินเดือนไม่เต็มจำนวนสำหรับระยะเวลาใด
ให้ส่งเงินชดเชยตามส่วนแห่งเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับ
มาตรา ๔๒
สมาชิกมีสิทธิได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นจากกองทุนตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๓
สมาชิกมีสิทธิกู้เงินจากกองทุนไม่เกินจำนวนเงินสะสม เงินสมทบ
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่บันทึกไว้ในบัญชีเงินรายบุคคลเพื่อใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์
หลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๔
สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่อผู้นั้นออกจากราชการ
เว้นแต่เป็นการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการนั้น ๆ
หรือการออกจากราชการของผู้ไปปฏิบัติงานตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ
มาตรา ๔๕
สมาชิกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง
มาตรา ๔๖
สมาชิกซึ่งส่งเงินสะสมเข้ากองทุน ให้มีสิทธิได้รับเงินสะสม เงินสมทบ
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวจากกองทุน
มาตรา ๔๗
สมาชิกซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่สิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป
แต่ไม่ถึงยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จ
มาตรา ๔๘
สมาชิกตามมาตรา ๓๕ ซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไปให้มีสิทธิได้รับบำนาญ
เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว เว้นแต่จะเลือกรับบำเหน็จแทน
สำหรับสมาชิกตามมาตรา
๓๖ (๑) หรือ (๒) ซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไป
ให้มีสิทธิได้รับบำนาญ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว
เว้นแต่จะเลือกรับบำเหน็จแทน
มาตรา ๔๙
นอกจากกรณีที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘
สมาชิกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑)
เหตุทุพพลภาพ
(๒)
เหตุทดแทน
(๓)
เหตุสูงอายุ
มาตรา ๕๐
บำเหน็จบำนาญเหตุทุพพลภาพให้จ่ายให้แก่สมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะป่วยเจ็บทุพพลภาพ
ซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่า
ไม่สามารถที่จะรับราชการในตำแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นต่อไปได้
มาตรา ๕๑
บำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนให้จ่ายให้แก่สมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่ง
หรือมีคำสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิด หรือทหารซึ่งออกจากกองหนุนเบี้ยหวัด
มาตรา ๕๒
บำเหน็จบำนาญเหตุสูงอายุให้จ่ายให้แก่สมาชิกซึ่งออกจากราชการเมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้ว
หรือลาออกเมื่อมีอายุครบห้าสิบปีบริบูรณ์แล้ว
มาตรา ๕๓
สมาชิกซึ่งมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญด้วยเหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน
หรือเหตุสูงอายุ จะได้รับเงินตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑)
ถ้ามีเวลาราชการตั้งแต่หนึ่งปีบริบูรณ์ขึ้นไปแต่ไม่ถึงสิบปีบริบูรณ์มีสิทธิได้รับบำเหน็จ
(๒)
ถ้ามีเวลาราชการตั้งแต่สิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป
(ก)
สมาชิกตามมาตรา ๓๕ ให้มีสิทธิตามมาตรา ๔๘ วรรคหนึ่ง
(ข)
สมาชิกตามมาตรา ๓๖ (๑) หรือ (๒) ให้มีสิทธิตามมาตรา ๔๘ วรรคสอง
มาตรา ๕๔
สมาชิกซึ่งถูกไล่ออกจากราชการ หรือถึงแก่ความตาย
เนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนเอง
ผู้นั้นหรือทายาทไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว
มาตรา ๕๕
สิทธิในการรับบำนาญให้เริ่มมีตั้งแต่เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงจนกระทั่งผู้นั้นถึงแก่ความตาย
มาตรา ๕๖[๑๘] (ยกเลิก)
มาตรา ๕๗
ให้ผู้รับบำนาญตามพระราชบัญญัตินี้มีสิทธิได้รับสวัสดิการและเงินช่วยเหลือต่าง
ๆ เช่นเดียวกับผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
มาตรา ๕๗/๑[๑๙]
ผู้รับบำนาญมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพตามอัตราและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
แต่ต้องไม่เกินสิบห้าเท่าของบำนาญรายเดือนที่ผู้นั้นได้รับ
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญเป็นผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการด้วย
ให้นำบำนาญและบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพรวมเป็นบำนาญรายเดือนเพื่อคำนวณจ่ายเป็นบำเหน็จดำรงชีพแก่ผู้นั้น
เมื่อได้รับบำเหน็จดำรงชีพแล้ว
ผู้รับบำนาญไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จดำรงชีพอีกถ้าภายหลังผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่และได้ออกจากราชการในครั้งหลังโดยเลือกรับบำนาญ
ผู้รับบำนาญผู้ใดได้รับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้ว
ถ้าภายหลังผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่
โดยมีสิทธินับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการในตอนหลังตามมาตรา
๓๘ และเมื่อออกจากราชการในครั้งหลังโดยเลือกรับบำเหน็จ
การจ่ายบำเหน็จในกรณีเช่นว่านี้
ให้หักเงินออกจากบำเหน็จที่จะได้รับเท่ากับเงินบำเหน็จดำรงชีพเสียก่อน
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญได้แสดงเจตนาขอรับบำเหน็จดำรงชีพไว้แล้ว
แต่ได้ถึงแก่ความตายก่อนได้รับเงินบำเหน็จดำรงชีพ ให้การจ่ายเงินดังกล่าวเป็นอันระงับไป
มาตรา ๕๗/๒[๒๐]
ผู้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพอาจนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพได้รับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้ว
หากประสงค์จะนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงิน
ให้หักบำเหน็จดำรงชีพออกจากสิทธิในบำเหน็จตกทอดเสียก่อน
มาตรา ๕๗/๓[๒๑] ในกรณีที่ผู้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพซึ่งได้นำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินถึงแก่ความตายหรือผิดสัญญากู้เงินจนต้องบังคับเอากับสิทธิในบำเหน็จตกทอดที่นำไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงิน
ให้กระทรวงการคลังจ่ายเงินให้แก่สถาบันการเงินที่ผู้นั้นได้นำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินเท่ากับจำนวนที่ถูกบังคับแต่ไม่เกินจำนวนที่นำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงิน
การจ่ายเงินให้แก่สถาบันการเงินตามวรรคหนึ่ง
ให้กระทรวงการคลังจ่ายจากงบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับการเบิกจ่ายบำเหน็จตกทอด
มาตรา ๕๗/๔[๒๒]
ในกรณีที่กระทรวงการคลังได้จ่ายเงินแก่สถาบันการเงินไปแล้วตามมาตรา ๕๗/๓
ให้กระทรวงการคลังหักจำนวนเงินนั้นออกจากสิทธิในบำเหน็จตกทอดเท่ากับจำนวนที่จ่ายให้แก่สถาบันการเงิน
ในกรณีที่กระทรวงการคลังไม่อาจหักจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่สถาบันการเงินจากสิทธิในบำเหน็จตกทอดตามวรรคหนึ่งได้
ให้กระทรวงการคลังเรียกเงินคืนจากผู้รับบำนาญปกติ
หรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพหรือจากกองมรดกของผู้นั้น แล้วแต่กรณี
เป็นจำนวนเท่ากับจำนวนที่กระทรวงการคลังได้จ่ายให้แก่สถาบันการเงิน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
มาตรา ๕๗/๕[๒๓]
ผู้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพผู้ใดได้นำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินแล้ว
หากภายหลังผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่โดยใช้สิทธินับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการในตอนหลังตามมาตรา
๓๘ และเมื่อออกจากราชการในครั้งหลังได้เลือกรับบำเหน็จ
ให้จ่ายบำเหน็จแก่ผู้นั้นตามสิทธิที่จะได้รับ
แต่ต้องไม่เกินจำนวนที่เหลือจากสิทธิในบำเหน็จตกทอดที่นำไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินโดยให้กระทรวงการคลังกันเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนดังกล่าวไว้
และเมื่อสัญญากู้เงินสิ้นสุดลงโดยไม่มีการบังคับเอากับสิทธิในบำเหน็จตกทอดที่นำไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงิน
ให้กระทรวงการคลังคืนเงินบำเหน็จที่กันไว้
ในกรณีที่ผู้รับบำเหน็จถึงแก่ความตายหรือสัญญากู้เงินสิ้นสุดลง
ถ้ามีการบังคับเอากับสิทธิในบำเหน็จตกทอดที่นำไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงิน
ให้กระทรวงการคลังจ่ายเงินให้แก่สถาบันการเงิน
โดยกระทรวงการคลังมีสิทธิหักจากเงินบำเหน็จที่กันไว้ตามวรรคหนึ่งก่อน
ถ้ามีเงินเหลือให้จ่ายคืนแก่ผู้รับบำเหน็จหรือทายาท แล้วแต่กรณี
มาตรา ๕๘
ในกรณีที่สมาชิกผู้ใดถึงแก่ความตายในระหว่างรับราชการและความตายนั้นมิได้เกิดขึ้นเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนเอง
หรือในกรณีที่ผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
ให้จ่ายบำเหน็จตกทอดแก่ทายาทของสมาชิกหรือผู้รับบำนาญตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑)
บุตรให้ได้รับสองส่วน ถ้าสมาชิกผู้ตายมีบุตรตั้งแต่สามคนขึ้นไปให้ได้รับสามส่วน
(๒)
สามีหรือภริยาให้ได้รับหนึ่งส่วน
(๓)
บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ให้ได้รับหนึ่งส่วน
ในกรณีที่ไม่มีทายาทในอนุมาตราใด
หรือทายาทนั้นได้ตายไปเสียก่อนให้แบ่งเงินดังกล่าวระหว่างทายาทผู้มีสิทธิในอนุมาตราที่มีทายาทผู้มีสิทธิได้รับ
ในกรณีที่ไม่มีทายาททั้งสามอนุมาตราดังกล่าว
ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายแสดงเจตนาไว้ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
ในกรณีที่ไม่มีทายาทและบุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ตามวรรคสาม
หรือบุคคลนั้นได้ตายไปก่อน ให้สิทธิในบำเหน็จตกทอดนั้นเป็นอันยุติลง
ในกรณีที่ได้มีการจ่ายบำเหน็จตกทอดไปแล้วหากปรากฏว่ามีบุตรซึ่งได้มีคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย
ซึ่งได้มีการฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรก่อนหรือภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่บิดาตายหรือนับแต่วันที่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของบิดาเพิ่มขึ้น
ให้แบ่งบำเหน็จตกทอดนั้นใหม่ระหว่างทายาทผู้มีสิทธิโดยถือว่าบุตรชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษานั้นเป็นทายาทผู้มีสิทธิตั้งแต่วันตาย
ในกรณีเช่นนี้ให้กระทรวงการคลังเรียกคืนบำเหน็จตกทอดจากทายาทซึ่งรับบำเหน็จตกทอดไปก่อนแล้วตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด
ในกรณีที่ไม่สามารถเรียกคืนบำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้ทายาทซึ่งรับเกินไปในส่วนของตนตามวรรคห้าได้
กระทรวงการคลังไม่ต้องรับผิดชอบจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดให้แก่บุตรซึ่งได้มีคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายย้อนหลังไปถึงวันเกิดสิทธิรับบำเหน็จตกทอดแต่อย่างใด
มาตรา ๕๙
ในกรณีที่สมาชิกผู้ถึงแก่ความตายได้ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนให้จ่ายเงินสะสม
เงินสมทบ
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวแก่ผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๖๐
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
นอกจากทายาทจะมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดตามมาตรา ๕๘ แล้ว
ให้มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี
บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกันด้วย
มาตรา ๖๑
สิทธิการรับเงินต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่อาจโอนแก่กันได้
มาตรา ๖๒
การคำนวณบำเหน็จให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการ
มาตรา ๖๓
การคำนวณบำนาญให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการ
หารด้วยห้าสิบ แต่ต้องไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้าย
การคำนวณบำนาญของผู้กลับเข้ารับราชการใหม่ตามมาตรา
๓๘
หากเวลาราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ยังไม่ครบห้าปีอัตราเงินเดือนเฉลี่ยที่จะนำมาคำนวณบำนาญให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๖๔
บำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้แก่ทายาทของสมาชิก
ให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการของผู้ตาย
มาตรา ๖๕
บำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้แก่ทายาทของผู้รับบำนาญ
ให้จ่ายสามสิบเท่าของอัตราบำนาญที่ผู้ตายมีสิทธิได้รับ
ในกรณีที่ได้มีการรับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้ว
เมื่อผู้รับบำนาญถึงแก่ความตายการจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดตามวรรคหนึ่ง
ให้หักเงินออกจากบำเหน็จตกทอดที่จะได้รับเท่ากับเงินบำเหน็จดำรงชีพเสียก่อน[๒๔]
มาตรา ๖๕/๑[๒๕] ภายใต้บังคับมาตรา ๖๕
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพได้นำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงิน
หากสัญญากู้เงินสิ้นสุดลงโดยไม่มีการบังคับเอากับสิทธิในบำเหน็จตกทอดที่นำไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงิน
ทายาทมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดเต็มตามจำนวนที่มีสิทธิ
หากผู้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพถึงแก่ความตายหรือสัญญากู้เงินสิ้นสุดลงโดยมีการบังคับเอากับสิทธิในบำเหน็จตกทอดที่นำไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงิน
ทายาทมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดเท่ากับจำนวนที่เหลือหลังจากที่กระทรวงการคลังได้หักจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่สถาบันการเงินออกจากสิทธิในบำเหน็จตกทอดตามมาตรา
๕๗/๔ วรรคหนึ่ง
มาตรา ๖๖
การนับเวลาราชการเพื่อให้เกิดสิทธิรับบำเหน็จบำนาญให้นับจำนวนปี
เศษของปีถ้าถึงครึ่งปีให้นับเป็นหนึ่งปี
การนับเวลาราชการเพื่อคำนวณจำนวนบำเหน็จบำนาญให้นับจำนวนปีรวมทั้งเศษของปีด้วย
การนับเศษของปีซึ่งเป็นเดือนหรือวันให้คำนวณตามวิธีการจ่ายเงินเดือนและให้นับสิบสองเดือนเป็นหนึ่งปี
สำหรับจำนวนวันถ้ามีรวมกันหลายระยะให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน
มาตรา ๖๗
เมื่อมีผู้ยื่นคำขอรับเงินตามมาตรา ๔๕
ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดที่ได้รับคำขอนั้นตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินสะสม
เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวของผู้ยื่นคำขอ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จและแจ้งให้กองทุนทราบภายในสิบห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้รับคำขอรับเงินดังกล่าว
เว้นแต่กรณีที่มีเหตุอันสมควร
การจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่ง
ให้กองทุนจ่ายภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากส่วนราชการเจ้าสังกัด
และได้ปรากฏหลักฐานถูกต้องครบถ้วน[๒๖]
มาตรา ๖๗/๑[๒๗] ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินสะสม เงินสมทบ
เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวตามมาตรา ๔๕
ผู้ใดที่ยังไม่ขอรับเงินคืน หรือขอทยอยรับเงินคืน
ให้กองทุนบริหารเงินที่ยังไม่รับคืนต่อไปได้
แต่ถ้าผู้นั้นขอโอนเงินไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการออกจากงานหรือการชราภาพ
ให้กองทุนโอนเงินไปยังกองทุนดังกล่าวภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ผู้นั้นแสดงความประสงค์
และได้ปรากฏหลักฐานถูกต้องครบถ้วน
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๖๗/๒[๒๘]
เงินประเดิมตามบัญชีเงินรายตัวสมาชิกซึ่งกระทรวงการคลังส่งเข้ากองทุนตามมาตรา
๔๐ นั้น หากต่อมามีข้อมูลเพิ่มเติมทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงยอดเงินประเดิมและดอกผลของเงินดังกล่าวของสมาชิกรายใดแล้ว
ให้กองทุนคำนวณผลการเปลี่ยนแปลงสุทธิเป็นรายเดือน
ในกรณีที่ผลการเปลี่ยนแปลงสุทธิเป็นการรับเงินเกิน
ให้กองทุนส่งเงินดังกล่าวคืนแก่กระทรวงการคลัง
แต่ในกรณีที่ผลการเปลี่ยนแปลงสุทธิเป็นการรับเงินขาด ให้กองทุนทดรองจ่ายออกจากบัญชีเงินกองกลางเพื่อเข้าบัญชีรายตัวสมาชิกก่อน
หลังจากนั้นให้แจ้งกระทรวงการคลังทราบ
และให้กระทรวงการคลังดำเนินการส่งเงินเท่าจำนวนเงินที่ทดรองจ่ายไปคืนแก่บัญชีเงินกองกลางภายในปีงบประมาณถัดไป
มาตรา ๖๘
ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๙[๒๙]
การหาประโยชน์ของกองทุนให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการและจะมอบหมายให้บุคคลใดดำเนินการแทนตามความเหมาะสมก็ได้
การมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนภายในประเทศนั้น
กองทุนจะต้องมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนไม่น้อยกว่าสองแห่ง
ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หรือผู้ได้รับอนุญาตจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน ทั้งนี้
โดยให้คำนึงถึงการกระจายความเสี่ยงด้วย
และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการหาประโยชน์ของกองทุนภายในประเทศ
ให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนมีหน้าที่และอยู่ในบังคับบทบัญญัติต่าง
ๆ ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หรือกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เสมือนหนึ่งกองทุนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี
การมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนในต่างประเทศนั้น
กองทุนจะต้องมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนในต่างประเทศ
ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ
เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน
การให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนในประเทศหรือในต่างประเทศ
คุณสมบัติของผู้รับดำเนินการ วิธีดำเนินการ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๗๐[๓๐]
เงินของกองทุนนอกจากส่วนที่นำไปลงทุนตามแผนการลงทุนในวรรคสอง
ให้ลงทุนได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบ
ยกเว้นเงินสำรองตามมาตรา ๗๒
ต้องนำไปลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจก่อน
กองทุนอาจจัดให้มีแผนการลงทุนสำหรับเงินที่อยู่ในบัญชีเงินรายบุคคลเฉพาะในส่วนของเงินสะสม
เงินสมทบ และดอกผลของเงินดังกล่าว ตามมาตรา ๗๑ (๓) เพื่อให้สมาชิกเลือก
โดยในแต่ละแผนอาจกำหนดให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงแตกต่างจากอัตราที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่งได้
การจัดให้มีแผนการลงทุน
การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุนแก่สมาชิก
และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
หมวด ๓/๑
การรับข้าราชการซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นเป็นสมาชิก[๓๑]
มาตรา ๗๐/๑[๓๒]
ในกรณีที่มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ให้สมาชิกซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
ยังคงมีสมาชิกภาพของสมาชิกต่อไป
ให้นำบทบัญญัติในหมวด
๓ ว่าด้วยสมาชิกและสิทธิประโยชน์ของสมาชิกมาใช้บังคับกับสมาชิกตามหมวดนี้โดยอนุโลม
เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งหมวดนี้
มาตรา ๗๐/๒[๓๓] ในกรณีที่สมาชิกตามมาตรา ๗๐/๑
ได้เคยเป็นข้าราชการและสมาชิกมาก่อนที่จะโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น
ให้สมาชิกผู้นั้นมีสมาชิกภาพต่อเนื่องกับสมาชิกภาพเดิมได้ ในการนี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญปกติ
บำเหน็จตกทอด เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว แล้วแต่กรณี
ต่อเนื่องจากสิทธิที่เคยมีอยู่เดิมต่อไป
และให้นับเวลาราชการต่อเนื่องกับการเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๘
มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่บำเหน็จดำรงชีพและบำเหน็จบำนาญพิเศษให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๗๐/๓[๓๔]
การส่งเงินสะสมเข้ากองทุนของสมาชิกตามมาตรา ๗๐/๑
และการส่งเงินสมทบและเงินชดเชยเข้ากองทุน ให้นำมาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๑
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๗๐/๔[๓๕] บำเหน็จบำนาญของสมาชิกตามมาตรา ๗๐/๑
ให้จ่ายจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
การคำนวณบำเหน็จบำนาญ
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
การขอรับบำเหน็จบำนาญให้นำระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๗๐/๕[๓๖] การดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
ในส่วนที่กล่าวถึงส่วนราชการให้หมายความรวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย
หมวด ๓/๒
การรับพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเป็นสมาชิก[๓๗]
มาตรา ๗๐/๖[๓๘]
ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ
ให้สมาชิกซึ่งเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยและประสงค์จะเป็นสมาชิกตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
ยังคงมีสมาชิกภาพของสมาชิกต่อไป
ให้นำบทบัญญัติในหมวด
๓ ว่าด้วยสมาชิกและสิทธิประโยชน์ของสมาชิกมาใช้บังคับกับสมาชิกตามหมวดนี้โดยอนุโลม
เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งหมวดนี้
มาตรา ๗๐/๗[๓๙] ในกรณีที่สมาชิกตามมาตรา ๗๐/๖
ได้เคยเป็นข้าราชการและสมาชิกมาก่อนที่จะเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย
ให้สมาชิกผู้นั้นมีสมาชิกภาพต่อเนื่องกับสมาชิกภาพเดิมได้ ในการนี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญปกติ
บำเหน็จดำรงชีพ บำเหน็จตกทอด เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว แล้วแต่กรณี
ต่อเนื่องจากสิทธิที่เคยมีอยู่เดิมต่อไป
และให้นับเวลาราชการต่อเนื่องกับการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๘
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๗๐/๘[๔๐] ให้สมาชิกตามมาตรา ๗๐/๖
ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนโดยคำนวณตามบัญชีอัตราเงินเดือนและตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
แต่ทั้งนี้ การส่งเงินสะสมดังกล่าวจะต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินเดือน
เงินสะสมตามวรรคหนึ่ง
ให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐที่สมาชิกผู้นั้นสังกัดหักส่งและจ่ายสมทบในจำนวนที่เท่ากับอัตราเงินสะสมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
พร้อมการส่งเงินสะสมนั้น
ให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐที่สมาชิกผู้นั้นสังกัดส่งเงินชดเชยเข้ากองทุน
โดยคำนวณตามบัญชีอัตราเงินเดือนตามวรรคหนึ่ง และตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๗๐/๙[๔๑]
ให้คำนวณบำเหน็จบำนาญโดยนำบัญชีอัตราเงินเดือนตามมาตรา ๗๐/๘ วรรคหนึ่ง
มาใช้บังคับ
การจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญ
บำเหน็จดำรงชีพ และบำเหน็จตกทอด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
หมวด ๔
การเงิน การบัญชี
และการตรวจสอบ
มาตรา ๗๑
ให้กองทุนจัดให้มีบัญชี ประกอบด้วย
(๑)
บัญชีเงินสำรองซึ่งแสดงรายการเงินสำรอง และดอกผลของเงินดังกล่าว
(๒)
บัญชีเงินกองกลางซึ่งแสดงรายการเงินที่มีผู้บริจาคให้ เงินตามบัญชี
เงินรายบุคคลที่ไม่มีผู้รับ เงินส่วนกลางที่มิใช่ของสมาชิกคนใด
และดอกผลของเงินดังกล่าว
(๓)
บัญชีเงินรายบุคคลซึ่งแสดงรายการเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และดอกผลของเงินดังกล่าวบรรดาที่เป็นของสมาชิกแต่ละคน
มาตรา ๗๒
ให้รัฐตั้งงบประมาณรายจ่ายเป็นรายปีเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำปีเข้าบัญชีเงินสำรองทุกปีจนกว่าเงินสำรอง
เงินกองกลาง
และดอกผลของเงินดังกล่าวจะมีจำนวนสามเท่าของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำปี
หลังจากนั้นให้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อให้เงินสำรอง เงินกองกลาง
และดอกผลของเงินดังกล่าวคงระดับสามเท่าของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการในแต่ละปี
และถ้าเงินสำรอง เงินกองกลาง
และดอกผลของเงินดังกล่าวมีจำนวนเกินสามเท่าของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำปี
ให้นำเงินส่วนที่เกินนั้นส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
ในกรณีเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศ
รัฐอาจสั่งให้กองทุนส่งเงินออกจากบัญชีเงินสำรองกลับคืนเป็นรายได้แผ่นดินเพื่อจ่ายเป็นบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
แต่รัฐจะต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยส่วนของเงินดังกล่าวที่นำไปใช้ส่งคืนกองทุนในปีงบประมาณถัดไป
มาตรา ๗๓[๔๒]
ดอกผลที่ได้จากการนำเงินของกองทุนในแต่ละบัญชีไปลงทุนหาผลประโยชน์ตามมาตรา
๗๐ เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามส่วนของการลงทุนในแต่ละบัญชีแล้ว
ดอกผลที่ได้จากการนำเงินสำรองไปลงทุนให้บันทึกไว้ในบัญชีเงินสำรอง ดอกผลที่ได้จากการนำเงินกองกลางไปลงทุนให้บันทึกไว้ในบัญชีเงินกองกลาง
ดอกผลที่ได้จากการนำเงินรายบุคคลไปลงทุนให้บันทึกไว้ในบัญชีรายบุคคล
สำหรับดอกผลที่ได้จากการนำเงินรายบุคคลในส่วนของเงินสะสม เงินสมทบ
และดอกผลของเงินดังกล่าวไปลงทุนตามแผนการลงทุนให้บันทึกแยกตามผลประกอบการของแต่ละแผนการลงทุน
โดยให้จัดสรรผลประโยชน์ตอบแทนไว้ในบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกตามอัตราผลตอบแทนของแต่ละแผนการลงทุนที่เลือกไว้ตามสัดส่วนของเงินแยกต่างหากจากกัน ทั้งนี้ การคำนวณดอกผล
ค่าใช้จ่ายและการจัดสรรผลประโยชน์ตอบแทน
ให้ทำเป็นประจำตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
สมาชิกไม่มีสิทธิเรียกร้องผลตอบแทนจากแผนการลงทุนอื่นที่สมาชิกมิได้เลือก
มาตรา ๗๓/๑[๔๓]
ในกรณีที่ไม่มีการจ่ายเงินประเดิมหรือเงินชดเชยของสมาชิก
เพราะเหตุสมาชิกไม่มีสิทธิได้รับเนื่องจากการออกจากราชการ
หรือเพราะเหตุการรับบำเหน็จ หรือบำเหน็จตกทอด แล้วแต่กรณี
ให้กองทุนส่งเงินประเดิมหรือเงินชดเชยของสมาชิกรายนั้น
พร้อมดอกผลของเงินดังกล่าวคืนแก่กระทรวงการคลังโดยเร็ว ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
มาตรา ๗๔
ให้กองทุนแจ้งยอดเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม และเงินชดเชย
พร้อมทั้งผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวในส่วนของสมาชิกแต่ละคนให้สมาชิกทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา ๗๕
ให้กองทุนยื่นรายงานแสดงการจัดการกองทุนต่อรัฐมนตรีอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๗๖
กองทุนต้องวางและถือไว้ซึ่งระบบการบัญชีที่เหมาะสมแก่กิจการแยกตามประเภทงานส่วนที่สำคัญ
มีสมุดบัญชีลงรายการรับและจ่ายเงินสินทรัพย์และหนี้สินที่แสดงกิจการที่เป็นอยู่ตามความจริงและตามที่ควร
ตามประเภทงาน พร้อมด้วยข้อความอันเป็นที่มาของรายการนั้น ๆ
และให้มีการตรวจสอบบัญชีภายในเป็นประจำ
มาตรา ๗๗
กองทุนต้องจัดทำงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน
ส่งผู้สอบบัญชีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
มาตรา ๗๘
ทุกปีให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีทำการตรวจสอบรับรองบัญชีทุกประเภทของกองทุน
มาตรา ๗๙
ผู้สอบบัญชีมีอำนาจตรวจสอบสรรพสมุด บัญชี และเอกสารหลักฐานของกองทุน
เพื่อการนี้ให้มีอำนาจสอบถามประธานกรรมการ กรรมการ พนักงานและลูกจ้างได้
มาตรา ๘๐
ผู้สอบบัญชีต้องทำรายงานผลการสอบบัญชีของกองทุนเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการ
มาตรา ๘๑
กองทุนต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
เพื่อพิจารณารายงานผลการดำเนินงาน ฐานะการเงินและการรับจ่ายเงินของกองทุน
การประชุมใหญ่และการเลือกผู้แทนสมาชิกตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด
ให้ที่ประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกมีอำนาจแสดงข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนต่อคณะกรรมการ
มาตรา ๘๒
เมื่อได้รับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนจากที่ประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกแล้ว
ให้คณะกรรมการทำรายงานการสอบบัญชีพร้อมทั้งข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี
และประกาศรายงานการสอบบัญชีในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
หมวด ๕
การควบคุมกำกับการจัดการกองทุน
มาตรา ๘๓
ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน
กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนภายในระยะเวลาที่กำหนด
ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนไม่ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
หรือปรากฏว่าผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนจัดการกองทุนในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน
ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนแก้ไขหรือระงับการกระทำนั้น
หรือสั่งยกเลิกการมอบหมายให้เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นได้
มาตรา ๘๔
ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับและดูแลโดยทั่วไป ซึ่งการจัดการกองทุน
เพื่อประโยชน์ในการนี้จะสั่งแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนก็ได้
และให้รัฐมนตรีแจ้งให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายงานให้รัฐมนตรีทราบด้วย
ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นว่า
ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน
จัดการกองทุนในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน
รัฐมนตรีอาจขอให้คณะกรรมการพิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๘๓ วรรคสอง
มาตรา ๘๕
เมื่อได้รับคำสั่งตามมาตรา ๘๓ วรรคสองแล้ว
ให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนหยุดจัดการกองทุนในทันที
และส่งมอบทรัพย์สินคืนภายในเวลาที่กำหนดในคำสั่งนั้น
มาตรา ๘๖
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่
มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑)
เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจหรือสถานที่ตั้งของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้นเพื่อตรวจสอบสมุดบัญชีหรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการจัดการกองทุน
(๒)
ยึดหรืออายัดเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนข้อเท็จจริงหรือดำเนินคดี
(๓)
สั่งให้กรรมการ ผู้จัดการ
พนักงานหรือลูกจ้างของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนมาให้ถ้อยคำหรือส่งสำเนาหรือแสดงสมุดบัญชี
หรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการจัดการกองทุน
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง
ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
เมื่อได้เข้าไปและลงมือทำการตรวจสอบตาม
(๑) แล้ว ถ้ายังดำเนินการไม่เสร็จ
จะกระทำต่อไปในเวลากลางคืนหรือนอกเวลาทำการของสถานที่นั้นก็ได้
มาตรา ๘๗
ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘๘
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๖
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๘๙
ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๕
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนบาท
จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง
กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านห้าแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นด้วย
มาตรา ๙๐
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา
๘๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙๑
กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนรายใดแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริง
ซึ่งควรบอกให้แจ้งในสาระสำคัญเกี่ยวกับการจัดการกองทุนต่อคณะกรรมการต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
หรือปรับไม่เกินสองล้านห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙๒
ความผิดตามมาตรา ๘๙ และมาตรา ๙๐ ให้คณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบได้
เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว
ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ
หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ดำเนินคดีต่อไป
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๙๓
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการผู้แทนสมาชิกและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
และแต่งตั้งเลขาธิการเพื่อให้ได้คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้
ภายในสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วยปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นกรรมการ
และอธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นกรรมการและเลขานุการ
ทำหน้าที่คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และให้อธิบดีกรมบัญชีกลางทำหน้าที่เลขาธิการ
เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน
ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
อธิบดีกรมบัญชีกลางอาจแต่งตั้งบุคคลใดเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
บรรหาร ศิลปอาชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้
คือ
เนื่องจากระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่ให้รัฐต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำทุกปี
โดยไม่มีการกันเงินสำรองไว้ล่วงหน้าสำหรับจ่ายบำเหน็จบำนาญในอนาคตนั้น
ไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเงินการคลังของประเทศในปัจจุบัน
ทำให้ไม่อาจวางแผนเชิงบริหารการเงินการคลังของประเทศในระยะยาวและไม่อาจวางแผนพัฒนาบุคลากรของรัฐได้ดังนั้นสมควรปรับปรุงระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการดังกล่าวเสียใหม่โดยจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการขึ้นมีฐานะเป็นนิติบุคคล
เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ
และเพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์
และจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่ข้าราชการที่เป็นสมาชิกของกองทุน
รวมทั้งให้เป็นสถาบันเงินออมที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเงินออมภายในประเทศ
และการส่งเสริมการลงทุนอันเป็นการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยส่วนรวมอีกด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒[๔๔]
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระ
ซึ่งได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
เพื่อจัดตั้งสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นหน่วยธุรการของศาลรัฐธรรมนูญ
มีฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระโดยบุคลากรมีฐานะเป็นข้าราชการ ฉะนั้น
เพื่อให้ข้าราชการเหล่านั้นได้รับสิทธิในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
รวมทั้งข้าราชการของส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระอื่น ๆ ที่จะมีการจัดตั้งขึ้นด้วย
สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า ข้าราชการ
ในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ให้มีความหมายรวมถึงข้าราชการดังกล่าว
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖[๔๕]
มาตรา ๗
ผู้รับบำนาญซึ่งได้รับบำนาญอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จดำรงชีพตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ด้วย
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงเป็นอันมาก
อันมีผลกระทบต่อการดำรงชีพของข้าราชการบำนาญซึ่งได้รับบำนาญเป็นรายเดือนในจำนวนที่คงที่ ดังนั้น
เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้รับบำนาญให้สามารถดำรงชีพอย่างเหมาะสมและพอเพียงกับเศรษฐกิจในปัจจุบัน
สมควรกำหนดให้ผู้รับบำนาญมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพจำนวนหนึ่งในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่
โดยเงินจำนวนที่ได้รับดังกล่าวจะนำไปหักออกจากบำเหน็จตกทอดซึ่งจะจ่ายให้แก่ทายาทหรือบุคคลที่ผู้รับบำนาญได้แสดงเจตนาให้เป็นผู้มีสิทธิที่จะได้รับตามกฎหมายเมื่อผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้เป็นการนำเงินที่รัฐจะต้องจัดสรรเป็นงบประมาณรายจ่ายอยู่แล้วในอนาคตมาจ่ายให้แก่ผู้รับบำนาญส่วนหนึ่งก่อน
โดยมิได้เป็นการเพิ่มภาระงบประมาณรายจ่ายของรัฐแต่อย่างใด จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙[๔๖]
มาตรา ๕
ข้าราชการซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นเพราะมีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวด
๓/๑ ใช้บังคับ ถ้าก่อนโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้นั้นเป็นสมาชิก
ให้ผู้นั้นยังคงมีสมาชิกภาพของสมาชิกกองทุนต่อไป และให้ผู้นั้นส่งเงินสะสมเข้ากองทุน
และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำส่งเงินสมทบและเงินชดเชยเข้ากองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๖
ข้าราชการซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นเพราะมีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามมาตรา
๕ แห่งพระราชบัญญัตินี้
ผู้ใดออกจากราชการก่อนวันที่พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ผู้นั้นมีสิทธิในการรับบำเหน็จบำนาญ บำเหน็จดำรงชีพ บำเหน็จตกทอด เงินสะสม
เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ด้วย
มาตรา
๗
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่นโยบายของรัฐหรือกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ทำให้ต้องมีการถ่ายโอนข้าราชการของราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น
รวมทั้งได้มีกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกำหนดให้มหาวิทยาลัยของรัฐเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐอันมีผลทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการของบุคคลดังกล่าวสิ้นสุดลงด้วย ดังนั้น
เพื่อให้ระบบสิทธิประโยชน์ของบุคคลดังกล่าวยังคงอยู่เช่นเดิม สมควรกำหนดให้บุคคลดังกล่าวยังคงเป็นสมาชิกและได้รับสิทธิประโยชน์ของสมาชิกต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐[๔๗]
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่การจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญ
และให้ผลประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ
รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก
และจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิกโดยกองทุนจะนำเงินไปลงทุนเพื่อหาผลประโยชน์ตอบแทนคืนสู่สมาชิก
แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ดังนั้น
เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินกิจการของกองทุนและเพื่อประโยชน์ของสมาชิก
สมควรกำหนดให้กองทุนสามารถดำเนินกิจการของกองทุนได้ทั้งในประเทศและในต่างประเทศ
โดยอาจมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการกองทุน
รวมทั้งสามารถจัดตั้งบริษัทจำกัด
เพื่อให้บริการแก่กองทุนหรือนิติบุคคลที่กองทุนเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละเจ็ดสิบห้าของหุ้นทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น
และให้สมาชิกสามารถส่งเงินสะสมเข้ากองทุนได้ตามความสามารถของแต่ละคน
รวมทั้งสามารถเลือกแผนการลงทุนในหลักทรัพย์ที่กองทุนจัดทำขึ้น
ซึ่งสมาชิกจะได้รับผลตอบแทนตามอัตราตอบแทนของแต่ละแผนการลงทุน นอกจากนั้น
สมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในกรณีที่กองทุนบริหารเงินของผู้ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินคืนแต่ยังไม่ขอรับเงินหรือทยอยขอรับเงินคืนและกรณีที่ผู้มีสิทธิรับเงินคืนขอโอนเงินไปยังกองทุนอื่น
รวมทั้งการส่งเงินประเดิมหรือเงินชดเชยคืนแก่กระทรวงการคลัง
ในกรณีที่ไม่มีการจ่ายเงินประเดิมหรือเงินชดเชย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑[๔๘]
มาตรา
๖
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ปัจจุบันกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไม่มีบทบัญญัติให้ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่
และประสงค์จะนับเวลาราชการต่อเนื่อง คืนเงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าวที่ได้รับเมื่อออกจากราชการโดยรับบำนาญในครั้งแรก
ส่งผลให้ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่ได้รับไปในคราวออกจากราชการในครั้งแรกเมื่อได้ออกจากราชการและประสงค์เลือกรับบำเหน็จในภายหลัง
รวมทั้งไม่มีบทบัญญัติให้สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่กลับเข้ารับราชการใหม่
คืนเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว
ทำให้กองทุนไม่สามารถนำเงินดังกล่าวไปลงทุนตามความประสงค์ของข้าราชการผู้นั้นได้
นอกจากนี้สมควรยกเลิกบทบัญญัติที่ให้ผู้รับบำนาญปกติหรือบำนาญตกทอดที่กระทำความผิดถึงต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาโทษจำคุกหรือตกเป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายหมดสิทธิรับบำนาญปกติหรือบำนาญตกทอดนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้รับบำเหน็จหรือรับบำนาญโดยเสมอกัน
รวมทั้งไม่กระทบสิทธิของบุคคลที่สามในเรื่องการรับบำเหน็จตกทอด จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๓[๔๙]
มาตรา
๕ ผู้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพซึ่งยังคงมีสิทธิได้รับบำนาญอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้มีสิทธินำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินได้ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ด้วย
มาตรา
๖
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
ได้บัญญัติให้ผู้รับบำนาญมีสิทธินำบำเหน็จดำรงชีพมาใช้ได้ก่อนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและเพื่อให้ผู้รับบำนาญสามารถดำรงชีพอยู่ได้
โดยเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ
แต่การดำเนินการดังกล่าวสามารถช่วยเหลือผู้รับบำนาญได้เพียงบางส่วน
และปรากฏว่ายังมีผู้รับบำนาญอีกจำนวนมากที่ได้รับบำนาญรายเดือนในอัตราต่ำ
ทำให้ได้รับบำเหน็จดำรงชีพในอัตราที่ไม่เพียงพอต่อการครองชีพ ดังนั้น
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้รับบำนาญและจะเป็นการส่งเสริมการลงทุนอันเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมอีกทางหนึ่ง
สมควรกำหนดให้ผู้รับบำนาญสามารถนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๔๒ ก/หน้า ๑/๒๗ กันยายน ๒๕๓๙
[๒] มาตรา ๓
นิยามคำว่า ข้าราชการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
[๓] มาตรา ๓
นิยามคำว่า ข้าราชการส่วนท้องถิ่น เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๔] มาตรา ๓
นิยามคำว่า พนักงานมหาวิทยาลัย เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๕] มาตรา ๓
นิยามคำว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๖] มาตรา ๓
นิยามคำว่า บำเหน็จดำรงชีพ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๗] มาตรา ๓
นิยามคำว่า นิติบุคคล เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๘] มาตรา ๙ (๔/๑)
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๙] มาตรา ๒๖ (๘)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๐] มาตรา ๓๑ (๒)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๑] มาตรา ๓๑ (๓)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๒] มาตรา ๓๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๑๓] มาตรา ๓๘ วรรคสาม
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๔] มาตรา ๓๘ วรรคสี่
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๕] มาตรา ๓๘/๑
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๖] มาตรา ๓๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๗] มาตรา ๔๑
วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๘] มาตรา ๕๖
ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๙] มาตรา ๕๗/๑
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๒๐] มาตรา ๕๗/๒
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๓
[๒๑] มาตรา ๕๗/๓
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๓
[๒๒] มาตรา ๕๗/๔
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๓
[๒๓] มาตรา ๕๗/๕
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๓
[๒๔] มาตรา ๖๕ วรรคสอง
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๒๕] มาตรา ๖๕/๑
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๓
[๒๖] มาตรา ๖๗ วรรคสอง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๒๗] มาตรา ๖๗/๑
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๒๘] มาตรา ๖๗/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๒๙] มาตรา ๖๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๓๐] มาตรา ๗๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๓๑] หมวด ๓/๑ การรับข้าราชการซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นเป็นสมาชิก
มาตรา ๗๐/๑ ถึง มาตรา ๗๐/๕ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓๒] มาตรา ๗๐/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓๓] มาตรา ๗๐/๒
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓๔] มาตรา ๗๐/๓
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓๕] มาตรา ๗๐/๔
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓๖] มาตรา ๗๐/๕ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓๗] หมวด ๓/๒ การรับพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเป็นสมาชิก
มาตรา ๗๐/๖ ถึง มาตรา ๗๐/๙ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓๘] มาตรา ๗๐/๖ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓๙] มาตรา ๗๐/๗
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๔๐] มาตรา ๗๐/๘
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๔๑] มาตรา ๗๐/๙
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๔๒] มาตรา ๗๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๔๓] มาตรา ๗๓/๑
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๔๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๒๕ ก/หน้า ๘/๘ เมษายน ๒๕๔๒
[๔๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๐/ตอนที่ ๑๑๓ ก/หน้า ๔/๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
[๔๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔ ก/หน้า ๘/๑๗ มกราคม ๒๕๔๙
[๔๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๕/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๑/๙ มกราคม ๒๕๕๑
[๔๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๕/ตอนที่ ๓๓ ก/หน้า ๖/๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
[๔๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๙ ก/หน้า ๑/๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ |
641420 | พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2553
| พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๗)
พ.ศ. ๒๕๕๓
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๕๓
เป็นปีที่ ๖๕
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา
๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๓
มาตรา
๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา
๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา
๕๗/๒ มาตรา ๕๗/๓ มาตรา ๕๗/๔ และมาตรา ๕๗/๕
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๕๗/๒
ผู้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพอาจนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพได้รับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้ว
หากประสงค์จะนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงิน
ให้หักบำเหน็จดำรงชีพออกจากสิทธิในบำเหน็จตกทอดเสียก่อน
มาตรา
๕๗/๓
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพซึ่งได้นำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินถึงแก่ความตายหรือผิดสัญญากู้เงินจนต้องบังคับเอากับสิทธิในบำเหน็จตกทอดที่นำไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงิน
ให้กระทรวงการคลังจ่ายเงินให้แก่สถาบันการเงินที่ผู้นั้นได้นำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินเท่ากับจำนวนที่ถูกบังคับแต่ไม่เกินจำนวนที่นำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงิน
การจ่ายเงินให้แก่สถาบันการเงินตามวรรคหนึ่ง
ให้กระทรวงการคลังจ่ายจากงบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับการเบิกจ่ายบำเหน็จตกทอด
มาตรา
๕๗/๔
ในกรณีที่กระทรวงการคลังได้จ่ายเงินแก่สถาบันการเงินไปแล้วตามมาตรา ๕๗/๓
ให้กระทรวงการคลังหักจำนวนเงินนั้นออกจากสิทธิในบำเหน็จตกทอดเท่ากับจำนวนที่จ่ายให้แก่สถาบันการเงิน
ในกรณีที่กระทรวงการคลังไม่อาจหักจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่สถาบันการเงินจากสิทธิในบำเหน็จตกทอดตามวรรคหนึ่งได้
ให้กระทรวงการคลังเรียกเงินคืนจากผู้รับบำนาญปกติ
หรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพหรือจากกองมรดกของผู้นั้น แล้วแต่กรณี
เป็นจำนวนเท่ากับจำนวนที่กระทรวงการคลังได้จ่ายให้แก่สถาบันการเงิน ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
มาตรา
๕๗/๕ ผู้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพผู้ใดได้นำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินแล้ว
หากภายหลังผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่โดยใช้สิทธินับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการในตอนหลังตามมาตรา
๓๘ และเมื่อออกจากราชการในครั้งหลังได้เลือกรับบำเหน็จ
ให้จ่ายบำเหน็จแก่ผู้นั้นตามสิทธิที่จะได้รับ
แต่ต้องไม่เกินจำนวนที่เหลือจากสิทธิในบำเหน็จตกทอดที่นำไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินโดยให้กระทรวงการคลังกันเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนดังกล่าวไว้
และเมื่อสัญญากู้เงินสิ้นสุดลงโดยไม่มีการบังคับเอากับสิทธิในบำเหน็จตกทอดที่นำไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงิน
ให้กระทรวงการคลังคืนเงินบำเหน็จที่กันไว้
ในกรณีที่ผู้รับบำเหน็จถึงแก่ความตายหรือสัญญากู้เงินสิ้นสุดลง
ถ้ามีการบังคับเอากับสิทธิในบำเหน็จตกทอดที่นำไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงิน
ให้กระทรวงการคลังจ่ายเงินให้แก่สถาบันการเงิน
โดยกระทรวงการคลังมีสิทธิหักจากเงินบำเหน็จที่กันไว้ตามวรรคหนึ่งก่อน
ถ้ามีเงินเหลือให้จ่ายคืนแก่ผู้รับบำเหน็จหรือทายาท แล้วแต่กรณี
มาตรา
๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา
๖๕/๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๖๕/๑
ภายใต้บังคับมาตรา ๖๕
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพได้นำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงิน
หากสัญญากู้เงินสิ้นสุดลงโดยไม่มีการบังคับเอากับสิทธิในบำเหน็จตกทอดที่นำไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงิน
ทายาทมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดเต็มตามจำนวนที่มีสิทธิ
หากผู้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพถึงแก่ความตายหรือสัญญากู้เงินสิ้นสุดลงโดยมีการบังคับเอากับสิทธิในบำเหน็จตกทอดที่นำไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงิน
ทายาทมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดเท่ากับจำนวนที่เหลือหลังจากที่กระทรวงการคลังได้หักจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่สถาบันการเงินออกจากสิทธิในบำเหน็จตกทอดตามมาตรา
๕๗/๔ วรรคหนึ่ง
มาตรา
๕
ผู้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพซึ่งยังคงมีสิทธิได้รับบำนาญอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้มีสิทธินำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินได้ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ด้วย
มาตรา
๖
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
ได้บัญญัติให้ผู้รับบำนาญมีสิทธินำบำเหน็จดำรงชีพมาใช้ได้ก่อนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและเพื่อให้ผู้รับบำนาญสามารถดำรงชีพอยู่ได้
โดยเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ
แต่การดำเนินการดังกล่าวสามารถช่วยเหลือผู้รับบำนาญได้เพียงบางส่วน
และปรากฏว่ายังมีผู้รับบำนาญอีกจำนวนมากที่ได้รับบำนาญรายเดือนในอัตราต่ำ
ทำให้ได้รับบำเหน็จดำรงชีพในอัตราที่ไม่เพียงพอต่อการครองชีพ ดังนั้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้รับบำนาญและจะเป็นการส่งเสริมการลงทุนอันเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมอีกทางหนึ่ง
สมควรกำหนดให้ผู้รับบำนาญสามารถนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงิน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๓
กฤษดายุทธ/ปรับปรุง
๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
ปณตภร/ตรวจ
๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๙ ก/หน้า ๑/๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ |
571409 | พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 (Update ณ วันที่ 13/02/2551) | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน
พ.ศ. ๒๕๓๙
เป็นปีที่ ๕๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
เว้นแต่บทบัญญัติแห่งหมวด ๓
ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ในพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการ[๒] หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ
ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ
ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
ข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู
ข้าราชการรัฐสภาสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ
ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร
ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญตามกฎหมายว่าด้วยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และข้าราชการซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการส่วนท้องถิ่น[๓] หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน หรือผู้ปฏิบัติงาน
ซึ่งเรียกชื่ออย่างอื่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล
กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น
พนักงานมหาวิทยาลัย[๔] หมายความว่า พนักงาน บุคลากร หรือผู้ปฏิบัติงาน
ซึ่งเรียกชื่ออย่างอื่นของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษานั้น
ๆ แต่ไม่หมายความรวมถึงลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[๕] หมายความว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล
กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น
กองทุน หมายความว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
สมาชิก หมายความว่า
สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เงินเดือน หมายความว่า
เงินเดือนที่ได้รับตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการนั้น ๆ
รวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา
สำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ สำหรับการสู้รบ
หรือสำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิดแต่ไม่รวมถึงเงินเพิ่มอย่างอื่น
เงินสะสม หมายความว่า
เงินที่สมาชิกสะสมเข้ากองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
เงินสมทบ หมายความว่า
เงินที่รัฐบาลจ่ายสมทบเงินสะสมตามพระราชบัญญัตินี้
เงินประเดิม หมายความว่า
เงินที่รัฐบาลนำส่งเข้ากองทุนเพื่อจ่ายเพิ่มให้แก่สมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการอยู่ก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวด
๓ ใช้บังคับและเลือกรับบำนาญ
เงินชดเชย หมายความว่า
เงินที่รัฐบาลนำส่งเข้ากองทุนเพื่อจ่ายเพิ่มให้แก่สมาชิกซึ่งรับบำนาญ
บำนาญ หมายความว่า
เงินที่จ่ายให้แก่สมาชิกเป็นรายเดือนเมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง
บำเหน็จ หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่สมาชิก
โดยจ่ายให้ครั้งเดียวเมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง
บำเหน็จดำรงชีพ[๖] หมายความว่า
เงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับบำนาญเพื่อช่วยเหลือการดำรงชีพโดยจ่ายให้ครั้งเดียว
บำเหน็จตกทอด หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่ทายาทโดยจ่ายให้ครั้งเดียวในกรณีที่สมาชิกหรือผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
เวลาราชการ หมายความว่า
เวลาตั้งแต่วันที่สมาชิกเริ่มรับราชการจนถึงวันสุดท้ายที่ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
และให้หมายความรวมถึงการนับเวลาราชการเป็นทวีคูณตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการด้วย
นิติบุคคล[๗] หมายความว่า นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
กรรมการ หมายความว่า
กรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เลขาธิการ หมายความว่า
เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พนักงาน หมายความว่า
พนักงานของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ลูกจ้าง หมายความว่า
ลูกจ้างของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรี หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
กับออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
การจัดตั้งกองทุน
และลักษณะของกิจการกองทุน
มาตรา ๕
ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรียกโดยย่อว่า กบข.
ให้กองทุนเป็นนิติบุคคล
มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(๑)
เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ
(๒)
เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก
(๓)
เพื่อจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิก
มาตรา ๖
กองทุนประกอบด้วยทรัพย์สินดังต่อไปนี้
(๑)
เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม และเงินชดเชย
(๒)
เงินที่ได้รับจัดสรรตามมาตรา ๗๒
(๓)
ทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
(๔)
เงินที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามความจำเป็นเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
(๕)
รายได้อื่น
(๖)
ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
มาตรา ๗
กิจการของกองทุนไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
และกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม
มาตรา ๘
ให้กองทุนมีสำนักงานใหญ่ ณ สถานที่ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
และจะตั้งสาขาหรือตัวแทนขึ้น ณ ที่อื่นใด ตามความจำเป็นก็ได้
มาตรา ๙
ให้กองทุนมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕
และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง
(๑)
ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ
(๒)
ก่อตั้งสิทธิหรือกระทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งในและนอกราชอาณาจักร
(๓)
ให้สมาชิกกู้ยืมเงิน
(๔)
ลงทุนหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุน
(๔/๑)[๘]
จัดตั้งบริษัทจำกัด
เพื่อให้บริการแก่กองทุนหรือนิติบุคคลที่กองทุนเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละเจ็ดสิบห้าของหุ้นทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น
(๕)
กระทำการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
มาตรา ๑๐
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน
ให้จ่ายจากเงินของกองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๑๑
กองทุนไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
และรายได้ของกองทุนไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
หมวด ๒
การควบคุมและการบริหาร
มาตรา ๑๒
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง อธิบดีกรมบัญชีกลาง
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ผู้แทนสมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการตามมาตรา ๓ ประเภทละหนึ่งคนซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา
๑๓ และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสามคนซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา ๑๔ เป็นกรรมการ
ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ
คณะกรรมการอาจแต่งตั้งพนักงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการได้ไม่เกินสองคน
มาตรา ๑๓
การเลือกกรรมการผู้แทนสมาชิกตามมาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา ๑๔
ให้ประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้แทนสมาชิกประชุมร่วมกัน
เพื่อเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
มาตรา ๑๕
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑)
ไม่เป็นบุคคลซึ่งทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐอื่นไล่ออก ปลดออก
ให้ออก หรือเลิกจ้างเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่าทุจริตต่อหน้าที่
(๒)
ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น
หรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
มาตรา ๑๖
ให้กรรมการผู้แทนสมาชิกมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี
แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา ๑๗
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี
แต่จะเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา ๑๘
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้แทนสมาชิก
หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
เป็นบุคคลล้มละลาย
(๔)
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕)
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๖)
พ้นจากการเป็นสมาชิกหรือพ้นจากการเป็นข้าราชการประเภทที่ตนได้รับเลือกเป็นผู้แทนในกรณีกรรมการผู้แทนสมาชิก
(๗)
มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๕ ในกรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
มาตรา ๑๙
ในกรณีที่กรรมการผู้แทนสมาชิกหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการขึ้นใหม่ภายในหกสิบวันในระหว่างที่ยังมิได้มีการเลือกกรรมการขึ้นใหม่
ให้กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไป
จนกว่ากรรมการที่ได้รับเลือกใหม่เข้ารับหน้าที่
มาตรา ๒๐
ในกรณีที่กรรมการผู้แทนสมาชิกผู้ใดพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระให้ผู้ซึ่งได้คะแนนถัดไปซึ่งขึ้นบัญชีไว้ในการเลือกผู้แทนสมาชิกของข้าราชการประเภทนั้นเป็นกรรมการแทน
ในกรณีที่ไม่มีผู้ขึ้นบัญชีไว้ ให้ดำเนินการเลือกกรรมการผู้แทนสมาชิกประเภทนั้นขึ้นใหม่ตามวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นแทนตามมาตรา ๑๔
ให้กรรมการผู้ได้รับการแต่งตั้งหรือเลือกให้ดำรงตำแหน่งแทนตามวรรคหนึ่ง
และวรรคสอง อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่วาระการดำรงตำแหน่งเหลืออยู่ไม่ถึงสามสิบวัน
จะไม่แต่งตั้งหรือเลือกกรรมการขึ้นดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
มาตรา ๒๑
ให้ประธานกรรมการและกรรมการตามมาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง
แต่งตั้งเลขาธิการจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑)
มีสัญชาติไทย
(๒)
มีอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์
(๓)
สามารถปฏิบัติงานให้แก่กองทุนได้เต็มเวลา
(๔)
ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
(๕)
ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(๖)
ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น
รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
(๗)
ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษา หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
(๘)
ไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้จัดการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
(๙)
ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับกองทุน หรือในกิจการที่กระทำให้แก่กองทุน
ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม เว้นแต่เป็นผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายให้เป็นกรรมการในบริษัทที่กองทุนเป็นผู้ถือหุ้น
มาตรา ๒๒
การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
และการกำหนดเงื่อนไขในการทดลองปฏิบัติงานหรือการทำงานในหน้าที่เลขาธิการ
ให้เป็นไปตามสัญญาจ้างที่คณะกรรมการกำหนด โดยให้มีอายุการจ้างคราวละไม่เกินสี่ปี
และเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาจ้างแล้วคณะกรรมการจะต่ออายุสัญญาจ้างอีกก็ได้
การทำสัญญาจ้างเลขาธิการ
ให้ประธานกรรมการเป็นผู้มีอำนาจทำสัญญาในนามของกองทุน
ให้เลขาธิการได้รับเงินค่าจ้าง
ค่าตอบแทนและเงินอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๒๓
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามอายุการจ้าง เลขาธิการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑
(๔)
คณะกรรมการมีมติเห็นสมควรให้เลิกจ้าง
มาตรา ๒๔
ให้เลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง
และรับผิดชอบในการบริหารกิจการของกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนและตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายที่คณะกรรมการกำหนด
เลขาธิการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการบริหารกิจการของกองทุน
มาตรา ๒๕
ในกิจการของกองทุนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้เลขาธิการเป็นผู้แทนของกองทุน
การปฏิบัติงานของเลขาธิการและการมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนเลขาธิการให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด
นิติกรรมที่กระทำโดยฝ่าฝืนข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง
ย่อมไม่ผูกพันกองทุนเว้นแต่คณะกรรมการจะให้สัตยาบัน
มาตรา ๒๖
ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดนโยบาย และออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งในการบริหารกิจการของกองทุน
(๒)
กำหนดนโยบายการลงทุนของกองทุน ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๓)
กำกับดูแลการจัดการกองทุน
(๔)
ออกข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติงานของเลขาธิการ
และการมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนเลขาธิการ
(๕)
กำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสำนักงาน
และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวกับกิจการของกองทุน
(๖)
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการรับ เก็บรักษา และจ่ายเงินของกองทุน
(๗)
ออกระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การบรรจุ แต่งตั้ง
ถอดถอน และวินัยของพนักงานและลูกจ้าง ตลอดจนการกำหนดเงินเดือนและเงินอื่น
รวมถึงการสงเคราะห์และสวัสดิการ
(๘)[๙]
พิจารณามอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นจัดการเงินของกองทุน
(๙)
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
(๑๐)
แต่งตั้งผู้แทนเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนน
ในการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทหรือหน่วยงานอื่นใดที่กองทุนถือหุ้นอยู่
(๑๑)
ปฏิบัติงานอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๗
การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมของคณะกรรมการ
ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมากกรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
การออกเสียงลงมติแต่งตั้งหรือเลิกจ้างเลขาธิการต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่อยู่ในตำแหน่ง
มาตรา ๒๘
กรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณา
ห้ามมิให้เข้าร่วมพิจารณาในเรื่องนั้น
มาตรา ๒๙
ให้กรรมการและอนุกรรมการได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๓๐
ให้มีคณะอนุกรรมการจัดการลงทุน ประกอบด้วย
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นประธานอนุกรรมการ ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย
และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คนซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้ง เป็นอนุกรรมการ
และเลขาธิการเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
มาตรา ๓๑
ให้คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการลงทุนต่อคณะกรรมการ
(๒)[๑๐]
ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่จะมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุน
(๓)[๑๑]
ติดตามดูแลการดำเนินงานของสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุน
(๔)
รายงานผลการดำเนินการด้านการลงทุนและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการ
(๕)
ปฏิบัติการในเรื่องอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๓๒
ให้มีคณะอนุกรรมการสมาชิกสัมพันธ์ ประกอบด้วยเลขาธิการ ก.พ.
เป็นประธานอนุกรรมการ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนกรมประชาสัมพันธ์
และผู้แทนสมาชิกจำนวนห้าคนเป็นอนุกรรมการ และให้เลขาธิการเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
การเลือกผู้แทนสมาชิกตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๓๓
ให้คณะอนุกรรมการสมาชิกสัมพันธ์มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นสื่อกลางระหว่างกองทุนกับสมาชิก ตลอดจนเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่สมาชิก
(๒)
เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร และรายงานความคืบหน้าของการจัดการกองทุน
(๓)
รับฟังความคิดเห็นและปัญหาต่าง ๆ จากสมาชิก
(๔)
พิจารณาเสนอแนะต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิก
(๕)
ปฏิบัติการในเรื่องอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๓๔
ให้นำมาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๒๘
มาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
และการประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
หมวด ๓
สมาชิกและสิทธิประโยชน์ของสมาชิก
มาตรา ๓๕
ให้บุคคลต่อไปนี้ เป็นสมาชิก
(๑)
ผู้ซึ่งเข้ารับราชการตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
(๒)
ผู้ซึ่งโอนมาเป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
มาตรา ๓๖
บุคคลต่อไปนี้จะสมัครเป็นสมาชิกก็ได้
(๑)
ข้าราชการซึ่งรับราชการอยู่ในวันก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
(๒)
ข้าราชการซึ่งออกจากราชการเพื่อไปปฏิบัติงานตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ
ก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับและกลับเข้ารับราชการตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
การสมัครเป็นสมาชิกให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา
๓๗[๑๒] บำเหน็จบำนาญ บำเหน็จดำรงชีพ
และบำเหน็จตกทอด ให้จ่ายจากเงินงบประมาณ สำหรับเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม
เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวให้จ่ายจากกองทุน ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๘
ข้าราชการซึ่งออกจากราชการ
ถ้ากลับเข้ารับราชการใหม่ตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
ให้นับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการในตอนหลังได้
เว้นแต่ข้าราชการผู้นั้นถูกปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ
เนื่องจากกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงและไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยหวัด
บำเหน็จบำนาญจากการรับราชการตอนก่อนออกจากราชการ
ข้าราชการซึ่งได้รับบำเหน็จไปแล้ว
จะนับเวลาราชการต่อเนื่องตามวรรคหนึ่งได้จะต้องคืนบำเหน็จที่ได้รับพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝากประจำของธนาคารออมสิน
ส่วนระยะเวลาในการคืนบำเหน็จให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
ข้าราชการซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติแล้ว
จะนับเวลาราชการต่อเนื่องตามวรรคหนึ่งได้ จะต้องคืนเงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่ได้รับแก่กองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
และให้งดการจ่ายบำนาญตลอดเวลาที่กลับเข้ารับราชการใหม่นั้น
แต่ถ้าผู้นั้นประสงค์จะรับบำนาญต่อไป
จะต้องมีหนังสือแจ้งความประสงค์ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดที่ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันกลับเข้ารับราชการและจะนับเวลาราชการต่อเนื่องมิได้
ทั้งนี้หากไม่คืนเงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว
ให้ถือว่าผู้นั้นประสงค์จะรับบำนาญต่อไปด้วย
ในกรณีที่รับบำนาญต่อไปถ้าเงินเดือนที่ได้รับในขณะกลับเข้ารับราชการใหม่เท่าหรือสูงกว่าเงินเดือนเดิม
เมื่อออกจากราชการให้งดการจ่ายบำนาญ
แต่ถ้าเงินเดือนใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิมให้รับบำนาญเท่ากับผลต่างของเงินเดือนใหม่และเงินเดือนเดิม
โดยให้ส่วนราชการที่ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่แจ้งไปยังเจ้าสังกัดที่ผู้นั้นรับบำนาญอยู่และกองทุน
เพื่องดหรือลดการจ่ายบำนาญ
เมื่อออกจากราชการให้มีสิทธิได้รับบำนาญโดยคำนวณจากเงินเดือนและเวลาราชการในตอนใหม่บวกเข้ากับบำนาญเดิมบำนาญในตอนหลังจะเปลี่ยนเป็นขอรับบำเหน็จแทนก็ได้[๑๓]
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้
ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่อาจมีสิทธิได้รับเงินประเดิมและเงินชดเชยตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง[๑๔]
ความในมาตรานี้ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการประเภทต่าง
ๆ ตามคำนิยามในมาตรา ๓ โดยอนุโลม
มาตรา
๓๘/๑[๑๕]
ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ ประสงค์จะส่งเงินสะสม
เงินสมทบและผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่ได้รับไปแล้วแก่กองทุนเพื่อให้กองทุนนำไปลงทุนหาผลประโยชน์ต่อไป
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา
๓๙[๑๖]
ให้สมาชิกส่งเงินสะสมเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่สมาชิกซึ่งรับราชการอยู่ก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนหรือไม่ก็ได้
ในกรณีที่สมาชิกผู้ใดประสงค์ที่จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราตามวรรคหนึ่ง
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด แต่ทั้งนี้ การส่งเงินสะสมตามมาตรานี้รวมกันแล้วจะต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินเดือน
ถ้าสมาชิกไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนหรือได้รับเงินเดือนไม่เต็มจำนวนสำหรับระยะเวลาใดให้ส่งเงินสะสมตามส่วนแห่งเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับ
การส่งเงินสะสมตามมาตรานี้
ให้ส่วนราชการหักจากเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับและส่งเข้ากองทุนในวันที่มีการจ่ายเงินเดือน
ให้ส่วนราชการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนให้สมาชิกในจำนวนที่เท่ากับอัตราเงินสะสมตามที่กำหนดในกฎกระทรวงพร้อมการส่งเงินสะสมนั้น
แต่ถ้าสมาชิกไม่ได้รับเงินเดือนหรือได้รับเงินเดือนไม่เต็มจำนวน ให้ส่งเงินสมทบตามอัตราส่วนแห่งเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับ
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้
เงินเดือนไม่รวมถึงเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา
สำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ สำหรับการสู้รบ
สำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิด หรือเงินเพิ่มอย่างอื่น
มาตรา ๔๐
ให้กระทรวงการคลังคำนวณเงินประเดิมสำหรับสมาชิกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อนำส่งเข้ากองทุน
การส่งเงินประเดิมตามวรรคหนึ่ง
ให้จ่ายจากเงินคงคลัง
มาตรา
๔๑
ให้ส่วนราชการส่งเงินชดเชยเข้ากองทุนให้แก่สมาชิกตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินเดือนให้แก่สมาชิก
ในการนี้ให้นำมาตรา ๓๙ วรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม[๑๗]
ถ้าสมาชิกไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนหรือได้รับเงินเดือนไม่เต็มจำนวนสำหรับระยะเวลาใด
ให้ส่งเงินชดเชยตามส่วนแห่งเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับ
มาตรา ๔๒
สมาชิกมีสิทธิได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นจากกองทุนตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๓
สมาชิกมีสิทธิกู้เงินจากกองทุนไม่เกินจำนวนเงินสะสม เงินสมทบ
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่บันทึกไว้ในบัญชีเงินรายบุคคลเพื่อใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์
หลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๔
สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่อผู้นั้นออกจากราชการ
เว้นแต่เป็นการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการนั้น ๆ
หรือการออกจากราชการของผู้ไปปฏิบัติงานตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ
มาตรา ๔๕
สมาชิกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง
มาตรา ๔๖
สมาชิกซึ่งส่งเงินสะสมเข้ากองทุน ให้มีสิทธิได้รับเงินสะสม เงินสมทบ
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวจากกองทุน
มาตรา ๔๗
สมาชิกซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่สิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป
แต่ไม่ถึงยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จ
มาตรา ๔๘
สมาชิกตามมาตรา ๓๕ ซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไปให้มีสิทธิได้รับบำนาญ
เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว เว้นแต่จะเลือกรับบำเหน็จแทน
สำหรับสมาชิกตามมาตรา
๓๖ (๑) หรือ (๒) ซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไป
ให้มีสิทธิได้รับบำนาญ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว
เว้นแต่จะเลือกรับบำเหน็จแทน
มาตรา ๔๙
นอกจากกรณีที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘
สมาชิกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑)
เหตุทุพพลภาพ
(๒)
เหตุทดแทน
(๓)
เหตุสูงอายุ
มาตรา ๕๐
บำเหน็จบำนาญเหตุทุพพลภาพให้จ่ายให้แก่สมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะป่วยเจ็บทุพพลภาพ
ซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่า
ไม่สามารถที่จะรับราชการในตำแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นต่อไปได้
มาตรา ๕๑
บำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนให้จ่ายให้แก่สมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่ง
หรือมีคำสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิด หรือทหารซึ่งออกจากกองหนุนเบี้ยหวัด
มาตรา ๕๒
บำเหน็จบำนาญเหตุสูงอายุให้จ่ายให้แก่สมาชิกซึ่งออกจากราชการเมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้ว
หรือลาออกเมื่อมีอายุครบห้าสิบปีบริบูรณ์แล้ว
มาตรา ๕๓
สมาชิกซึ่งมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญด้วยเหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน
หรือเหตุสูงอายุ จะได้รับเงินตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑)
ถ้ามีเวลาราชการตั้งแต่หนึ่งปีบริบูรณ์ขึ้นไปแต่ไม่ถึงสิบปีบริบูรณ์มีสิทธิได้รับบำเหน็จ
(๒)
ถ้ามีเวลาราชการตั้งแต่สิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป
(ก)
สมาชิกตามมาตรา ๓๕ ให้มีสิทธิตามมาตรา ๔๘ วรรคหนึ่ง
(ข)
สมาชิกตามมาตรา ๓๖ (๑) หรือ (๒) ให้มีสิทธิตามมาตรา ๔๘ วรรคสอง
มาตรา ๕๔
สมาชิกซึ่งถูกไล่ออกจากราชการ หรือถึงแก่ความตาย
เนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนเอง
ผู้นั้นหรือทายาทไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว
มาตรา ๕๕
สิทธิในการรับบำนาญให้เริ่มมีตั้งแต่เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงจนกระทั่งผู้นั้นถึงแก่ความตาย
มาตรา ๕๖[๑๘] (ยกเลิก)
มาตรา ๕๗
ให้ผู้รับบำนาญตามพระราชบัญญัตินี้มีสิทธิได้รับสวัสดิการและเงินช่วยเหลือต่าง
ๆ เช่นเดียวกับผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
มาตรา
๕๗/๑[๑๙]
ผู้รับบำนาญมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพตามอัตราและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
แต่ต้องไม่เกินสิบห้าเท่าของบำนาญรายเดือนที่ผู้นั้นได้รับ
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญเป็นผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการด้วย
ให้นำบำนาญและบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพรวมเป็นบำนาญรายเดือนเพื่อคำนวณจ่ายเป็นบำเหน็จดำรงชีพแก่ผู้นั้น
เมื่อได้รับบำเหน็จดำรงชีพแล้ว
ผู้รับบำนาญไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จดำรงชีพอีกถ้าภายหลังผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่และได้ออกจากราชการในครั้งหลังโดยเลือกรับบำนาญ
ผู้รับบำนาญผู้ใดได้รับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้ว
ถ้าภายหลังผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่
โดยมีสิทธินับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการในตอนหลังตามมาตรา
๓๘ และเมื่อออกจากราชการในครั้งหลังโดยเลือกรับบำเหน็จ
การจ่ายบำเหน็จในกรณีเช่นว่านี้
ให้หักเงินออกจากบำเหน็จที่จะได้รับเท่ากับเงินบำเหน็จดำรงชีพเสียก่อน
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญได้แสดงเจตนาขอรับบำเหน็จดำรงชีพไว้แล้ว
แต่ได้ถึงแก่ความตายก่อนได้รับเงินบำเหน็จดำรงชีพ ให้การจ่ายเงินดังกล่าวเป็นอันระงับไป
มาตรา ๕๘
ในกรณีที่สมาชิกผู้ใดถึงแก่ความตายในระหว่างรับราชการและความตายนั้นมิได้เกิดขึ้นเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนเอง
หรือในกรณีที่ผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
ให้จ่ายบำเหน็จตกทอดแก่ทายาทของสมาชิกหรือผู้รับบำนาญตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑)
บุตรให้ได้รับสองส่วน ถ้าสมาชิกผู้ตายมีบุตรตั้งแต่สามคนขึ้นไปให้ได้รับสามส่วน
(๒)
สามีหรือภริยาให้ได้รับหนึ่งส่วน
(๓)
บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ให้ได้รับหนึ่งส่วน
ในกรณีที่ไม่มีทายาทในอนุมาตราใด
หรือทายาทนั้นได้ตายไปเสียก่อนให้แบ่งเงินดังกล่าวระหว่างทายาทผู้มีสิทธิในอนุมาตราที่มีทายาทผู้มีสิทธิได้รับ
ในกรณีที่ไม่มีทายาททั้งสามอนุมาตราดังกล่าว
ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายแสดงเจตนาไว้ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
ในกรณีที่ไม่มีทายาทและบุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ตามวรรคสาม
หรือบุคคลนั้นได้ตายไปก่อน ให้สิทธิในบำเหน็จตกทอดนั้นเป็นอันยุติลง
ในกรณีที่ได้มีการจ่ายบำเหน็จตกทอดไปแล้วหากปรากฏว่ามีบุตรซึ่งได้มีคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย
ซึ่งได้มีการฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรก่อนหรือภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่บิดาตายหรือนับแต่วันที่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของบิดาเพิ่มขึ้น
ให้แบ่งบำเหน็จตกทอดนั้นใหม่ระหว่างทายาทผู้มีสิทธิโดยถือว่าบุตรชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษานั้นเป็นทายาทผู้มีสิทธิตั้งแต่วันตาย
ในกรณีเช่นนี้ให้กระทรวงการคลังเรียกคืนบำเหน็จตกทอดจากทายาทซึ่งรับบำเหน็จตกทอดไปก่อนแล้วตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด
ในกรณีที่ไม่สามารถเรียกคืนบำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้ทายาทซึ่งรับเกินไปในส่วนของตนตามวรรคห้าได้
กระทรวงการคลังไม่ต้องรับผิดชอบจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดให้แก่บุตรซึ่งได้มีคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายย้อนหลังไปถึงวันเกิดสิทธิรับบำเหน็จตกทอดแต่อย่างใด
มาตรา ๕๙
ในกรณีที่สมาชิกผู้ถึงแก่ความตายได้ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนให้จ่ายเงินสะสม
เงินสมทบ
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวแก่ผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๖๐
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
นอกจากทายาทจะมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดตามมาตรา ๕๘ แล้ว
ให้มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี
บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกันด้วย
มาตรา ๖๑
สิทธิการรับเงินต่าง ๆ
ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่อาจโอนแก่กันได้
มาตรา ๖๒
การคำนวณบำเหน็จให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการ
มาตรา ๖๓
การคำนวณบำนาญให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการ
หารด้วยห้าสิบ แต่ต้องไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้าย
การคำนวณบำนาญของผู้กลับเข้ารับราชการใหม่ตามมาตรา
๓๘
หากเวลาราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ยังไม่ครบห้าปีอัตราเงินเดือนเฉลี่ยที่จะนำมาคำนวณบำนาญให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๖๔
บำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้แก่ทายาทของสมาชิก
ให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการของผู้ตาย
มาตรา ๖๕
บำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้แก่ทายาทของผู้รับบำนาญ
ให้จ่ายสามสิบเท่าของอัตราบำนาญที่ผู้ตายมีสิทธิได้รับ
ในกรณีที่ได้มีการรับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้ว
เมื่อผู้รับบำนาญถึงแก่ความตายการจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดตามวรรคหนึ่ง
ให้หักเงินออกจากบำเหน็จตกทอดที่จะได้รับเท่ากับเงินบำเหน็จดำรงชีพเสียก่อน[๒๐]
มาตรา ๖๖
การนับเวลาราชการเพื่อให้เกิดสิทธิรับบำเหน็จบำนาญให้นับจำนวนปี
เศษของปีถ้าถึงครึ่งปีให้นับเป็นหนึ่งปี
การนับเวลาราชการเพื่อคำนวณจำนวนบำเหน็จบำนาญให้นับจำนวนปีรวมทั้งเศษของปีด้วย
การนับเศษของปีซึ่งเป็นเดือนหรือวันให้คำนวณตามวิธีการจ่ายเงินเดือนและให้นับสิบสองเดือนเป็นหนึ่งปี
สำหรับจำนวนวันถ้ามีรวมกันหลายระยะให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน
มาตรา ๖๗
เมื่อมีผู้ยื่นคำขอรับเงินตามมาตรา ๔๕
ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดที่ได้รับคำขอนั้นตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินสะสม
เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวของผู้ยื่นคำขอ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จและแจ้งให้กองทุนทราบภายในสิบห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้รับคำขอรับเงินดังกล่าว
เว้นแต่กรณีที่มีเหตุอันสมควร
การจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่ง
ให้กองทุนจ่ายภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากส่วนราชการเจ้าสังกัด
และได้ปรากฏหลักฐานถูกต้องครบถ้วน[๒๑]
มาตรา
๖๗/๑[๒๒] ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินสะสม เงินสมทบ
เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวตามมาตรา ๔๕
ผู้ใดที่ยังไม่ขอรับเงินคืน หรือขอทยอยรับเงินคืน
ให้กองทุนบริหารเงินที่ยังไม่รับคืนต่อไปได้
แต่ถ้าผู้นั้นขอโอนเงินไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการออกจากงานหรือการชราภาพ
ให้กองทุนโอนเงินไปยังกองทุนดังกล่าวภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ผู้นั้นแสดงความประสงค์
และได้ปรากฏหลักฐานถูกต้องครบถ้วน
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๖๗/๒[๒๓] เงินประเดิมตามบัญชีเงินรายตัวสมาชิกซึ่งกระทรวงการคลังส่งเข้ากองทุนตามมาตรา
๔๐ นั้น
หากต่อมามีข้อมูลเพิ่มเติมทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงยอดเงินประเดิมและดอกผลของเงินดังกล่าวของสมาชิกรายใดแล้ว
ให้กองทุนคำนวณผลการเปลี่ยนแปลงสุทธิเป็นรายเดือน ในกรณีที่ผลการเปลี่ยนแปลงสุทธิเป็นการรับเงินเกิน
ให้กองทุนส่งเงินดังกล่าวคืนแก่กระทรวงการคลัง
แต่ในกรณีที่ผลการเปลี่ยนแปลงสุทธิเป็นการรับเงินขาด
ให้กองทุนทดรองจ่ายออกจากบัญชีเงินกองกลางเพื่อเข้าบัญชีรายตัวสมาชิกก่อน
หลังจากนั้นให้แจ้งกระทรวงการคลังทราบ และให้กระทรวงการคลังดำเนินการส่งเงินเท่าจำนวนเงินที่ทดรองจ่ายไปคืนแก่บัญชีเงินกองกลางภายในปีงบประมาณถัดไป
มาตรา ๖๘
ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
มาตรา
๖๙[๒๔]
การหาประโยชน์ของกองทุนให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการและจะมอบหมายให้บุคคลใดดำเนินการแทนตามความเหมาะสมก็ได้
การมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนภายในประเทศนั้น
กองทุนจะต้องมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนไม่น้อยกว่าสองแห่ง
ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หรือผู้ได้รับอนุญาตจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน ทั้งนี้ โดยให้คำนึงถึงการกระจายความเสี่ยงด้วย
และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการหาประโยชน์ของกองทุนภายในประเทศ
ให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนมีหน้าที่และอยู่ในบังคับบทบัญญัติต่าง
ๆ ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หรือกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เสมือนหนึ่งกองทุนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี
การมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนในต่างประเทศนั้น
กองทุนจะต้องมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนในต่างประเทศ
ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ
เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน
การให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนในประเทศหรือในต่างประเทศ
คุณสมบัติของผู้รับดำเนินการ วิธีดำเนินการ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา
๗๐[๒๕]
เงินของกองทุนนอกจากส่วนที่นำไปลงทุนตามแผนการลงทุนในวรรคสอง
ให้ลงทุนได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง
ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบ
ยกเว้นเงินสำรองตามมาตรา ๗๒ ต้องนำไปลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจก่อน
กองทุนอาจจัดให้มีแผนการลงทุนสำหรับเงินที่อยู่ในบัญชีเงินรายบุคคลเฉพาะในส่วนของเงินสะสม
เงินสมทบ และดอกผลของเงินดังกล่าว ตามมาตรา ๗๑ (๓) เพื่อให้สมาชิกเลือก
โดยในแต่ละแผนอาจกำหนดให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงแตกต่างจากอัตราที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่งได้
การจัดให้มีแผนการลงทุน
การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุนแก่สมาชิก
และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
หมวด ๓/๑
การรับข้าราชการซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นเป็นสมาชิก[๒๖]
มาตรา ๗๐/๑[๒๗]
ในกรณีที่มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ให้สมาชิกซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
ยังคงมีสมาชิกภาพของสมาชิกต่อไป
ให้นำบทบัญญัติในหมวด
๓ ว่าด้วยสมาชิกและสิทธิประโยชน์ของสมาชิกมาใช้บังคับกับสมาชิกตามหมวดนี้โดยอนุโลม
เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งหมวดนี้
มาตรา ๗๐/๒[๒๘] ในกรณีที่สมาชิกตามมาตรา ๗๐/๑
ได้เคยเป็นข้าราชการและสมาชิกมาก่อนที่จะโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น
ให้สมาชิกผู้นั้นมีสมาชิกภาพต่อเนื่องกับสมาชิกภาพเดิมได้ ในการนี้
ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญปกติ บำเหน็จตกทอด เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม
เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว แล้วแต่กรณี
ต่อเนื่องจากสิทธิที่เคยมีอยู่เดิมต่อไป
และให้นับเวลาราชการต่อเนื่องกับการเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๘
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
เว้นแต่บำเหน็จดำรงชีพและบำเหน็จบำนาญพิเศษให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๗๐/๓[๒๙] การส่งเงินสะสมเข้ากองทุนของสมาชิกตามมาตรา
๗๐/๑ และการส่งเงินสมทบและเงินชดเชยเข้ากองทุน ให้นำมาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๑
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๗๐/๔[๓๐] บำเหน็จบำนาญของสมาชิกตามมาตรา ๗๐/๑
ให้จ่ายจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
การคำนวณบำเหน็จบำนาญ
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
การขอรับบำเหน็จบำนาญให้นำระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๗๐/๕[๓๑] การดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
ในส่วนที่กล่าวถึงส่วนราชการให้หมายความรวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย
หมวด ๓/๒
การรับพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเป็นสมาชิก[๓๒]
มาตรา ๗๐/๖[๓๓]
ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ
ให้สมาชิกซึ่งเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยและประสงค์จะเป็นสมาชิกตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
ยังคงมีสมาชิกภาพของสมาชิกต่อไป
ให้นำบทบัญญัติในหมวด
๓ ว่าด้วยสมาชิกและสิทธิประโยชน์ของสมาชิกมาใช้บังคับกับสมาชิกตามหมวดนี้โดยอนุโลม
เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งหมวดนี้
มาตรา ๗๐/๗[๓๔] ในกรณีที่สมาชิกตามมาตรา ๗๐/๖
ได้เคยเป็นข้าราชการและสมาชิกมาก่อนที่จะเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย
ให้สมาชิกผู้นั้นมีสมาชิกภาพต่อเนื่องกับสมาชิกภาพเดิมได้ ในการนี้
ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญปกติ บำเหน็จดำรงชีพ บำเหน็จตกทอด เงินสะสม เงินสมทบ
เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว แล้วแต่กรณี
ต่อเนื่องจากสิทธิที่เคยมีอยู่เดิมต่อไป
และให้นับเวลาราชการต่อเนื่องกับการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๘
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๗๐/๘[๓๕] ให้สมาชิกตามมาตรา ๗๐/๖
ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนโดยคำนวณตามบัญชีอัตราเงินเดือนและตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
แต่ทั้งนี้ การส่งเงินสะสมดังกล่าวจะต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินเดือน
เงินสะสมตามวรรคหนึ่ง
ให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐที่สมาชิกผู้นั้นสังกัดหักส่งและจ่ายสมทบในจำนวนที่เท่ากับอัตราเงินสะสมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
พร้อมการส่งเงินสะสมนั้น
ให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐที่สมาชิกผู้นั้นสังกัดส่งเงินชดเชยเข้ากองทุน
โดยคำนวณตามบัญชีอัตราเงินเดือนตามวรรคหนึ่ง และตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๗๐/๙[๓๖]
ให้คำนวณบำเหน็จบำนาญโดยนำบัญชีอัตราเงินเดือนตามมาตรา ๗๐/๘ วรรคหนึ่ง
มาใช้บังคับ
การจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญ
บำเหน็จดำรงชีพ และบำเหน็จตกทอด
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
หมวด ๔
การเงิน การบัญชี
และการตรวจสอบ
มาตรา ๗๑
ให้กองทุนจัดให้มีบัญชี ประกอบด้วย
(๑)
บัญชีเงินสำรองซึ่งแสดงรายการเงินสำรอง และดอกผลของเงินดังกล่าว
(๒)
บัญชีเงินกองกลางซึ่งแสดงรายการเงินที่มีผู้บริจาคให้ เงินตามบัญชี
เงินรายบุคคลที่ไม่มีผู้รับ เงินส่วนกลางที่มิใช่ของสมาชิกคนใด
และดอกผลของเงินดังกล่าว
(๓)
บัญชีเงินรายบุคคลซึ่งแสดงรายการเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และดอกผลของเงินดังกล่าวบรรดาที่เป็นของสมาชิกแต่ละคน
มาตรา ๗๒
ให้รัฐตั้งงบประมาณรายจ่ายเป็นรายปีเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำปีเข้าบัญชีเงินสำรองทุกปีจนกว่าเงินสำรอง
เงินกองกลาง และดอกผลของเงินดังกล่าวจะมีจำนวนสามเท่าของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำปี
หลังจากนั้นให้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อให้เงินสำรอง เงินกองกลาง
และดอกผลของเงินดังกล่าวคงระดับสามเท่าของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการในแต่ละปี
และถ้าเงินสำรอง เงินกองกลาง และดอกผลของเงินดังกล่าวมีจำนวนเกินสามเท่าของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำปี
ให้นำเงินส่วนที่เกินนั้นส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
ในกรณีเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศ
รัฐอาจสั่งให้กองทุนส่งเงินออกจากบัญชีเงินสำรองกลับคืนเป็นรายได้แผ่นดินเพื่อจ่ายเป็นบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
แต่รัฐจะต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยส่วนของเงินดังกล่าวที่นำไปใช้ส่งคืนกองทุนในปีงบประมาณถัดไป
มาตรา
๗๓[๓๗]
ดอกผลที่ได้จากการนำเงินของกองทุนในแต่ละบัญชีไปลงทุนหาผลประโยชน์ตามมาตรา
๗๐ เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามส่วนของการลงทุนในแต่ละบัญชีแล้ว
ดอกผลที่ได้จากการนำเงินสำรองไปลงทุนให้บันทึกไว้ในบัญชีเงินสำรอง
ดอกผลที่ได้จากการนำเงินกองกลางไปลงทุนให้บันทึกไว้ในบัญชีเงินกองกลาง
ดอกผลที่ได้จากการนำเงินรายบุคคลไปลงทุนให้บันทึกไว้ในบัญชีรายบุคคล สำหรับดอกผลที่ได้จากการนำเงินรายบุคคลในส่วนของเงินสะสม
เงินสมทบ
และดอกผลของเงินดังกล่าวไปลงทุนตามแผนการลงทุนให้บันทึกแยกตามผลประกอบการของแต่ละแผนการลงทุน
โดยให้จัดสรรผลประโยชน์ตอบแทนไว้ในบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกตามอัตราผลตอบแทนของแต่ละแผนการลงทุนที่เลือกไว้ตามสัดส่วนของเงินแยกต่างหากจากกัน ทั้งนี้ การคำนวณดอกผล
ค่าใช้จ่ายและการจัดสรรผลประโยชน์ตอบแทน
ให้ทำเป็นประจำตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
สมาชิกไม่มีสิทธิเรียกร้องผลตอบแทนจากแผนการลงทุนอื่นที่สมาชิกมิได้เลือก
มาตรา
๗๓/๑[๓๘] ในกรณีที่ไม่มีการจ่ายเงินประเดิมหรือเงินชดเชยของสมาชิก
เพราะเหตุสมาชิกไม่มีสิทธิได้รับเนื่องจากการออกจากราชการ
หรือเพราะเหตุการรับบำเหน็จ หรือบำเหน็จตกทอด แล้วแต่กรณี
ให้กองทุนส่งเงินประเดิมหรือเงินชดเชยของสมาชิกรายนั้น
พร้อมดอกผลของเงินดังกล่าวคืนแก่กระทรวงการคลังโดยเร็ว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
มาตรา ๗๔
ให้กองทุนแจ้งยอดเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม และเงินชดเชย
พร้อมทั้งผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวในส่วนของสมาชิกแต่ละคนให้สมาชิกทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา ๗๕
ให้กองทุนยื่นรายงานแสดงการจัดการกองทุนต่อรัฐมนตรีอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๗๖
กองทุนต้องวางและถือไว้ซึ่งระบบการบัญชีที่เหมาะสมแก่กิจการแยกตามประเภทงานส่วนที่สำคัญ
มีสมุดบัญชีลงรายการรับและจ่ายเงินสินทรัพย์และหนี้สินที่แสดงกิจการที่เป็นอยู่ตามความจริงและตามที่ควร
ตามประเภทงาน พร้อมด้วยข้อความอันเป็นที่มาของรายการนั้น ๆ
และให้มีการตรวจสอบบัญชีภายในเป็นประจำ
มาตรา ๗๗
กองทุนต้องจัดทำงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน
ส่งผู้สอบบัญชีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
มาตรา ๗๘
ทุกปีให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีทำการตรวจสอบรับรองบัญชีทุกประเภทของกองทุน
มาตรา ๗๙
ผู้สอบบัญชีมีอำนาจตรวจสอบสรรพสมุด บัญชี และเอกสารหลักฐานของกองทุน
เพื่อการนี้ให้มีอำนาจสอบถามประธานกรรมการ กรรมการ พนักงานและลูกจ้างได้
มาตรา ๘๐
ผู้สอบบัญชีต้องทำรายงานผลการสอบบัญชีของกองทุนเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการ
มาตรา ๘๑
กองทุนต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
เพื่อพิจารณารายงานผลการดำเนินงาน ฐานะการเงินและการรับจ่ายเงินของกองทุน
การประชุมใหญ่และการเลือกผู้แทนสมาชิกตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด
ให้ที่ประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกมีอำนาจแสดงข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนต่อคณะกรรมการ
มาตรา ๘๒
เมื่อได้รับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนจากที่ประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกแล้ว
ให้คณะกรรมการทำรายงานการสอบบัญชีพร้อมทั้งข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี
และประกาศรายงานการสอบบัญชีในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
หมวด ๕
การควบคุมกำกับการจัดการกองทุน
มาตรา ๘๓
ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน
กรรมการ ผู้จัดการ
หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนภายในระยะเวลาที่กำหนด
ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนไม่ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
หรือปรากฏว่าผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนจัดการกองทุนในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน
ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนแก้ไขหรือระงับการกระทำนั้น
หรือสั่งยกเลิกการมอบหมายให้เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นได้
มาตรา ๘๔
ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับและดูแลโดยทั่วไป ซึ่งการจัดการกองทุน
เพื่อประโยชน์ในการนี้จะสั่งแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนก็ได้
และให้รัฐมนตรีแจ้งให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายงานให้รัฐมนตรีทราบด้วย
ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นว่า
ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน
จัดการกองทุนในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน
รัฐมนตรีอาจขอให้คณะกรรมการพิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๘๓ วรรคสอง
มาตรา ๘๕
เมื่อได้รับคำสั่งตามมาตรา ๘๓ วรรคสองแล้ว
ให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนหยุดจัดการกองทุนในทันที
และส่งมอบทรัพย์สินคืนภายในเวลาที่กำหนดในคำสั่งนั้น
มาตรา ๘๖
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่
มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑)
เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจหรือสถานที่ตั้งของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้นเพื่อตรวจสอบสมุดบัญชีหรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการจัดการกองทุน
(๒)
ยึดหรืออายัดเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนข้อเท็จจริงหรือดำเนินคดี
(๓)
สั่งให้กรรมการ ผู้จัดการ พนักงานหรือลูกจ้างของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนมาให้ถ้อยคำหรือส่งสำเนาหรือแสดงสมุดบัญชี
หรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการจัดการกองทุน
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง
ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
เมื่อได้เข้าไปและลงมือทำการตรวจสอบตาม
(๑) แล้ว ถ้ายังดำเนินการไม่เสร็จ จะกระทำต่อไปในเวลากลางคืนหรือนอกเวลาทำการของสถานที่นั้นก็ได้
มาตรา ๘๗
ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘๘
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๖
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๘๙
ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๕
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนบาท
จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง
กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านห้าแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นด้วย
มาตรา ๙๐
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา
๘๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙๑
กรรมการ ผู้จัดการ
หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนรายใดแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริง
ซึ่งควรบอกให้แจ้งในสาระสำคัญเกี่ยวกับการจัดการกองทุนต่อคณะกรรมการต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
หรือปรับไม่เกินสองล้านห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙๒
ความผิดตามมาตรา ๘๙ และมาตรา ๙๐ ให้คณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบได้
เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว
ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ
หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ดำเนินคดีต่อไป
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๙๓
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการผู้แทนสมาชิกและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
และแต่งตั้งเลขาธิการเพื่อให้ได้คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้
ภายในสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วยปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นกรรมการ
และอธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นกรรมการและเลขานุการ
ทำหน้าที่คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
และให้อธิบดีกรมบัญชีกลางทำหน้าที่เลขาธิการ
เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน
ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
อธิบดีกรมบัญชีกลางอาจแต่งตั้งบุคคลใดเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
บรรหาร ศิลปอาชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่ให้รัฐต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำทุกปี
โดยไม่มีการกันเงินสำรองไว้ล่วงหน้าสำหรับจ่ายบำเหน็จบำนาญในอนาคตนั้น
ไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเงินการคลังของประเทศในปัจจุบัน
ทำให้ไม่อาจวางแผนเชิงบริหารการเงินการคลังของประเทศในระยะยาวและไม่อาจวางแผนพัฒนาบุคลากรของรัฐได้ดังนั้นสมควรปรับปรุงระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการดังกล่าวเสียใหม่โดยจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการขึ้นมีฐานะเป็นนิติบุคคล
เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ
และเพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ และจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่ข้าราชการที่เป็นสมาชิกของกองทุน
รวมทั้งให้เป็นสถาบันเงินออมที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเงินออมภายในประเทศ
และการส่งเสริมการลงทุนอันเป็นการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยส่วนรวมอีกด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒[๓๙]
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระ
ซึ่งได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
เพื่อจัดตั้งสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นหน่วยธุรการของศาลรัฐธรรมนูญ
มีฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระโดยบุคลากรมีฐานะเป็นข้าราชการ ฉะนั้น
เพื่อให้ข้าราชการเหล่านั้นได้รับสิทธิในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
รวมทั้งข้าราชการของส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระอื่น ๆ
ที่จะมีการจัดตั้งขึ้นด้วย สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า ข้าราชการ ในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ให้มีความหมายรวมถึงข้าราชการดังกล่าว
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖[๔๐]
มาตรา
๗
ผู้รับบำนาญซึ่งได้รับบำนาญอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จดำรงชีพตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ด้วย
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงเป็นอันมาก
อันมีผลกระทบต่อการดำรงชีพของข้าราชการบำนาญซึ่งได้รับบำนาญเป็นรายเดือนในจำนวนที่คงที่ ดังนั้น
เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้รับบำนาญให้สามารถดำรงชีพอย่างเหมาะสมและพอเพียงกับเศรษฐกิจในปัจจุบัน
สมควรกำหนดให้ผู้รับบำนาญมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพจำนวนหนึ่งในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่
โดยเงินจำนวนที่ได้รับดังกล่าวจะนำไปหักออกจากบำเหน็จตกทอดซึ่งจะจ่ายให้แก่ทายาทหรือบุคคลที่ผู้รับบำนาญได้แสดงเจตนาให้เป็นผู้มีสิทธิที่จะได้รับตามกฎหมายเมื่อผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้เป็นการนำเงินที่รัฐจะต้องจัดสรรเป็นงบประมาณรายจ่ายอยู่แล้วในอนาคตมาจ่ายให้แก่ผู้รับบำนาญส่วนหนึ่งก่อน
โดยมิได้เป็นการเพิ่มภาระงบประมาณรายจ่ายของรัฐแต่อย่างใด จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙[๔๑]
มาตรา
๕
ข้าราชการซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นเพราะมีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวด
๓/๑ ใช้บังคับ ถ้าก่อนโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้นั้นเป็นสมาชิก
ให้ผู้นั้นยังคงมีสมาชิกภาพของสมาชิกกองทุนต่อไป
และให้ผู้นั้นส่งเงินสะสมเข้ากองทุน
และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำส่งเงินสมทบและเงินชดเชยเข้ากองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา
๖ ข้าราชการซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นเพราะมีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามมาตรา
๕ แห่งพระราชบัญญัตินี้
ผู้ใดออกจากราชการก่อนวันที่พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ผู้นั้นมีสิทธิในการรับบำเหน็จบำนาญ บำเหน็จดำรงชีพ บำเหน็จตกทอด เงินสะสม
เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ด้วย
มาตรา
๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่นโยบายของรัฐหรือกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ทำให้ต้องมีการถ่ายโอนข้าราชการของราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น
รวมทั้งได้มีกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกำหนดให้มหาวิทยาลัยของรัฐเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐอันมีผลทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการของบุคคลดังกล่าวสิ้นสุดลงด้วย ดังนั้น
เพื่อให้ระบบสิทธิประโยชน์ของบุคคลดังกล่าวยังคงอยู่เช่นเดิม
สมควรกำหนดให้บุคคลดังกล่าวยังคงเป็นสมาชิกและได้รับสิทธิประโยชน์ของสมาชิกต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐[๔๒]
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่การจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญ
และให้ผลประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ
รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก
และจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิกโดยกองทุนจะนำเงินไปลงทุนเพื่อหาผลประโยชน์ตอบแทนคืนสู่สมาชิก
แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินกิจการของกองทุนและเพื่อประโยชน์ของสมาชิก
สมควรกำหนดให้กองทุนสามารถดำเนินกิจการของกองทุนได้ทั้งในประเทศและในต่างประเทศ
โดยอาจมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการกองทุน
รวมทั้งสามารถจัดตั้งบริษัทจำกัด เพื่อให้บริการแก่กองทุนหรือนิติบุคคลที่กองทุนเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละเจ็ดสิบห้าของหุ้นทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น
และให้สมาชิกสามารถส่งเงินสะสมเข้ากองทุนได้ตามความสามารถของแต่ละคน
รวมทั้งสามารถเลือกแผนการลงทุนในหลักทรัพย์ที่กองทุนจัดทำขึ้น
ซึ่งสมาชิกจะได้รับผลตอบแทนตามอัตราตอบแทนของแต่ละแผนการลงทุน นอกจากนั้น
สมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในกรณีที่กองทุนบริหารเงินของผู้ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินคืนแต่ยังไม่ขอรับเงินหรือทยอยขอรับเงินคืนและกรณีที่ผู้มีสิทธิรับเงินคืนขอโอนเงินไปยังกองทุนอื่น
รวมทั้งการส่งเงินประเดิมหรือเงินชดเชยคืนแก่กระทรวงการคลัง
ในกรณีที่ไม่มีการจ่ายเงินประเดิมหรือเงินชดเชย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑[๔๓]
มาตรา
๖
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ปัจจุบันกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไม่มีบทบัญญัติให้ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่
และประสงค์จะนับเวลาราชการต่อเนื่อง คืนเงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าวที่ได้รับเมื่อออกจากราชการโดยรับบำนาญในครั้งแรก
ส่งผลให้ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่ได้รับไปในคราวออกจากราชการในครั้งแรกเมื่อได้ออกจากราชการและประสงค์เลือกรับบำเหน็จในภายหลัง
รวมทั้งไม่มีบทบัญญัติให้สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่กลับเข้ารับราชการใหม่
คืนเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว
ทำให้กองทุนไม่สามารถนำเงินดังกล่าวไปลงทุนตามความประสงค์ของข้าราชการผู้นั้นได้
นอกจากนี้สมควรยกเลิกบทบัญญัติที่ให้ผู้รับบำนาญปกติหรือบำนาญตกทอดที่กระทำความผิดถึงต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาโทษจำคุกหรือตกเป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายหมดสิทธิรับบำนาญปกติหรือบำนาญตกทอดนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้รับบำเหน็จหรือรับบำนาญโดยเสมอกัน
รวมทั้งไม่กระทบสิทธิของบุคคลที่สามในเรื่องการรับบำเหน็จตกทอด จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๔๒ ก/หน้า ๑/๒๗ กันยายน ๒๕๓๙
[๒] มาตรา ๓
นิยามคำว่า ข้าราชการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
[๓] มาตรา ๓ นิยามคำว่า
ข้าราชการส่วนท้องถิ่น เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๔] มาตรา ๓
นิยามคำว่า พนักงานมหาวิทยาลัย เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๕] มาตรา ๓
นิยามคำว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๖] มาตรา ๓
นิยามคำว่า บำเหน็จดำรงชีพ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๗] มาตรา ๓
นิยามคำว่า นิติบุคคล เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๘] มาตรา ๙ (๔/๑)
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๙] มาตรา ๒๖ (๘)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๐] มาตรา ๓๑ (๒)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๑] มาตรา ๓๑ (๓)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๒] มาตรา ๓๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๑๓] มาตรา ๓๘ วรรคสาม
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๔] มาตรา ๓๘ วรรคสี่
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๕] มาตรา ๓๘/๑
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๖] มาตรา ๓๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๗] มาตรา ๔๑
วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๘] มาตรา ๕๖
ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๙] มาตรา ๕๗/๑
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๒๐] มาตรา ๖๕ วรรคสอง
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๒๑] มาตรา ๖๗ วรรคสอง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๒๒] มาตรา ๖๗/๑
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๒๓] มาตรา ๖๗/๒
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๒๔] มาตรา ๖๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๒๕] มาตรา ๗๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๒๖] หมวด ๓/๑ การรับข้าราชการซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นเป็นสมาชิก
มาตรา ๗๐/๑ ถึง มาตรา ๗๐/๕ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๒๗] มาตรา ๗๐/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๒๘] มาตรา ๗๐/๒
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๒๙] มาตรา ๗๐/๓
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓๐] มาตรา ๗๐/๔
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓๑] มาตรา ๗๐/๕
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓๒] หมวด ๓/๒ การรับพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเป็นสมาชิก
มาตรา ๗๐/๖ ถึง มาตรา ๗๐/๙ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓๓] มาตรา ๗๐/๖ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓๔] มาตรา ๗๐/๗
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓๕] มาตรา ๗๐/๘
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓๖] มาตรา ๗๐/๙
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓๗] มาตรา ๗๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๓๘] มาตรา ๗๓/๑
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๓๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๒๕ ก/หน้า ๘/๘ เมษายน ๒๕๔๒
[๔๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๐/ตอนที่ ๑๑๓ ก/หน้า ๔/๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
[๔๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔ ก/หน้า ๘/๑๗ มกราคม ๒๕๔๙
[๔๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๕/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๑/๙ มกราคม ๒๕๕๑
[๔๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๕/ตอนที่ ๓๓ ก/หน้า ๖/๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ |
571414 | พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2551 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๖)
พ.ศ. ๒๕๕๑
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๖
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
เป็นปีที่ ๖๓
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิกความในวรรคสามและวรรคสี่ของมาตรา ๓๘
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้าราชการซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติแล้ว
จะนับเวลาราชการต่อเนื่องตามวรรคหนึ่งได้ จะต้องคืนเงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่ได้รับแก่กองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
และให้งดการจ่ายบำนาญตลอดเวลาที่กลับเข้ารับราชการใหม่นั้น แต่ถ้าผู้นั้นประสงค์จะรับบำนาญต่อไป
จะต้องมีหนังสือแจ้งความประสงค์ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดที่ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันกลับเข้ารับราชการและจะนับเวลาราชการต่อเนื่องมิได้
ทั้งนี้หากไม่คืนเงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว ให้ถือว่าผู้นั้นประสงค์จะรับบำนาญต่อไปด้วย
ในกรณีที่รับบำนาญต่อไปถ้าเงินเดือนที่ได้รับในขณะกลับเข้ารับราชการใหม่เท่าหรือสูงกว่าเงินเดือนเดิม
เมื่อออกจากราชการให้งดการจ่ายบำนาญ
แต่ถ้าเงินเดือนใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิมให้รับบำนาญเท่ากับผลต่างของเงินเดือนใหม่และเงินเดือนเดิม
โดยให้ส่วนราชการที่ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่แจ้งไปยังเจ้าสังกัดที่ผู้นั้นรับบำนาญอยู่และกองทุน
เพื่องดหรือลดการจ่ายบำนาญ
เมื่อออกจากราชการให้มีสิทธิได้รับบำนาญโดยคำนวณจากเงินเดือนและเวลาราชการในตอนใหม่บวกเข้ากับบำนาญเดิมบำนาญในตอนหลังจะเปลี่ยนเป็นขอรับบำเหน็จแทนก็ได้
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้
ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่อาจมีสิทธิได้รับเงินประเดิมและเงินชดเชยตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๔
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๓๘/๑
ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ ประสงค์จะส่งเงินสะสม
เงินสมทบและผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่ได้รับไปแล้วแก่กองทุนเพื่อให้กองทุนนำไปลงทุนหาผลประโยชน์ต่อไป
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๕
ให้ยกเลิกมาตรา ๕๖ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๖
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก
สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ปัจจุบันกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไม่มีบทบัญญัติให้ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่
และประสงค์จะนับเวลาราชการต่อเนื่อง คืนเงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าวที่ได้รับเมื่อออกจากราชการโดยรับบำนาญในครั้งแรก
ส่งผลให้ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่ได้รับไปในคราวออกจากราชการในครั้งแรกเมื่อได้ออกจากราชการและประสงค์เลือกรับบำเหน็จในภายหลัง
รวมทั้งไม่มีบทบัญญัติให้สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่กลับเข้ารับราชการใหม่
คืนเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว
ทำให้กองทุนไม่สามารถนำเงินดังกล่าวไปลงทุนตามความประสงค์ของข้าราชการผู้นั้นได้
นอกจากนี้สมควรยกเลิกบทบัญญัติที่ให้ผู้รับบำนาญปกติหรือบำนาญตกทอดที่กระทำความผิดถึงต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาโทษจำคุกหรือตกเป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายหมดสิทธิรับบำนาญปกติหรือบำนาญตกทอดนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้รับบำเหน็จหรือรับบำนาญโดยเสมอกัน
รวมทั้งไม่กระทบสิทธิของบุคคลที่สามในเรื่องการรับบำเหน็จตกทอด จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
กฤษดายุทธ/ปรับปรุง
๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
ปณตภร/ตรวจ
๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๓๓ ก/หน้า ๖/๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ |
567275 | พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 (Update ณ วันที่ 09/01/2551) | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน
พ.ศ. ๒๕๓๙
เป็นปีที่ ๕๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
เว้นแต่บทบัญญัติแห่งหมวด ๓
ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ในพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการ[๒] หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ
ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ
ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
ข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู
ข้าราชการรัฐสภาสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ
ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร
ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญตามกฎหมายว่าด้วยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และข้าราชการซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการส่วนท้องถิ่น[๓] หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน หรือผู้ปฏิบัติงาน
ซึ่งเรียกชื่ออย่างอื่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล
กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น
พนักงานมหาวิทยาลัย[๔] หมายความว่า พนักงาน บุคลากร หรือผู้ปฏิบัติงาน
ซึ่งเรียกชื่ออย่างอื่นของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษานั้น
ๆ แต่ไม่หมายความรวมถึงลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[๕] หมายความว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล
กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น
กองทุน หมายความว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
สมาชิก หมายความว่า
สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เงินเดือน หมายความว่า
เงินเดือนที่ได้รับตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการนั้น ๆ
รวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา
สำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ สำหรับการสู้รบ
หรือสำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิดแต่ไม่รวมถึงเงินเพิ่มอย่างอื่น
เงินสะสม หมายความว่า
เงินที่สมาชิกสะสมเข้ากองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
เงินสมทบ หมายความว่า
เงินที่รัฐบาลจ่ายสมทบเงินสะสมตามพระราชบัญญัตินี้
เงินประเดิม หมายความว่า
เงินที่รัฐบาลนำส่งเข้ากองทุนเพื่อจ่ายเพิ่มให้แก่สมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการอยู่ก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวด
๓ ใช้บังคับและเลือกรับบำนาญ
เงินชดเชย หมายความว่า
เงินที่รัฐบาลนำส่งเข้ากองทุนเพื่อจ่ายเพิ่มให้แก่สมาชิกซึ่งรับบำนาญ
บำนาญ หมายความว่า
เงินที่จ่ายให้แก่สมาชิกเป็นรายเดือนเมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง
บำเหน็จ หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่สมาชิก
โดยจ่ายให้ครั้งเดียวเมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง
บำเหน็จดำรงชีพ[๖] หมายความว่า
เงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับบำนาญเพื่อช่วยเหลือการดำรงชีพโดยจ่ายให้ครั้งเดียว
บำเหน็จตกทอด หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่ทายาทโดยจ่ายให้ครั้งเดียวในกรณีที่สมาชิกหรือผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
เวลาราชการ หมายความว่า
เวลาตั้งแต่วันที่สมาชิกเริ่มรับราชการจนถึงวันสุดท้ายที่ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
และให้หมายความรวมถึงการนับเวลาราชการเป็นทวีคูณตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการด้วย
นิติบุคคล[๗] หมายความว่า นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
กรรมการ หมายความว่า
กรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เลขาธิการ หมายความว่า
เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พนักงาน หมายความว่า
พนักงานของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ลูกจ้าง หมายความว่า
ลูกจ้างของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรี หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
กับออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
การจัดตั้งกองทุน
และลักษณะของกิจการกองทุน
มาตรา ๕
ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรียกโดยย่อว่า กบข.
ให้กองทุนเป็นนิติบุคคล
มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(๑)
เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ
(๒)
เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก
(๓)
เพื่อจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิก
มาตรา ๖
กองทุนประกอบด้วยทรัพย์สินดังต่อไปนี้
(๑)
เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม และเงินชดเชย
(๒)
เงินที่ได้รับจัดสรรตามมาตรา ๗๒
(๓)
ทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
(๔)
เงินที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามความจำเป็นเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
(๕)
รายได้อื่น
(๖)
ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
มาตรา ๗
กิจการของกองทุนไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
และกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม
มาตรา ๘
ให้กองทุนมีสำนักงานใหญ่ ณ สถานที่ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
และจะตั้งสาขาหรือตัวแทนขึ้น ณ ที่อื่นใด ตามความจำเป็นก็ได้
มาตรา ๙
ให้กองทุนมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕
และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง
(๑)
ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ
(๒)
ก่อตั้งสิทธิหรือกระทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งในและนอกราชอาณาจักร
(๓)
ให้สมาชิกกู้ยืมเงิน
(๔)
ลงทุนหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุน
(๔/๑)[๘]
จัดตั้งบริษัทจำกัด
เพื่อให้บริการแก่กองทุนหรือนิติบุคคลที่กองทุนเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละเจ็ดสิบห้าของหุ้นทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น
(๕)
กระทำการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
มาตรา ๑๐
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน
ให้จ่ายจากเงินของกองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๑๑
กองทุนไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
และรายได้ของกองทุนไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
หมวด ๒
การควบคุมและการบริหาร
มาตรา ๑๒
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง อธิบดีกรมบัญชีกลาง
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ผู้แทนสมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการตามมาตรา ๓ ประเภทละหนึ่งคนซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา
๑๓ และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสามคนซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา ๑๔ เป็นกรรมการ
ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ
คณะกรรมการอาจแต่งตั้งพนักงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการได้ไม่เกินสองคน
มาตรา ๑๓
การเลือกกรรมการผู้แทนสมาชิกตามมาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา ๑๔
ให้ประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้แทนสมาชิกประชุมร่วมกัน
เพื่อเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
มาตรา ๑๕
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑)
ไม่เป็นบุคคลซึ่งทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐอื่นไล่ออก ปลดออก
ให้ออก หรือเลิกจ้างเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่าทุจริตต่อหน้าที่
(๒)
ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น
หรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
มาตรา ๑๖
ให้กรรมการผู้แทนสมาชิกมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี
แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา ๑๗
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี
แต่จะเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา ๑๘
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้แทนสมาชิก
หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
เป็นบุคคลล้มละลาย
(๔)
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕)
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๖)
พ้นจากการเป็นสมาชิกหรือพ้นจากการเป็นข้าราชการประเภทที่ตนได้รับเลือกเป็นผู้แทนในกรณีกรรมการผู้แทนสมาชิก
(๗)
มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๕ ในกรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
มาตรา ๑๙
ในกรณีที่กรรมการผู้แทนสมาชิกหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการขึ้นใหม่ภายในหกสิบวันในระหว่างที่ยังมิได้มีการเลือกกรรมการขึ้นใหม่
ให้กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไป
จนกว่ากรรมการที่ได้รับเลือกใหม่เข้ารับหน้าที่
มาตรา ๒๐
ในกรณีที่กรรมการผู้แทนสมาชิกผู้ใดพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระให้ผู้ซึ่งได้คะแนนถัดไปซึ่งขึ้นบัญชีไว้ในการเลือกผู้แทนสมาชิกของข้าราชการประเภทนั้นเป็นกรรมการแทน
ในกรณีที่ไม่มีผู้ขึ้นบัญชีไว้ ให้ดำเนินการเลือกกรรมการผู้แทนสมาชิกประเภทนั้นขึ้นใหม่ตามวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นแทนตามมาตรา ๑๔
ให้กรรมการผู้ได้รับการแต่งตั้งหรือเลือกให้ดำรงตำแหน่งแทนตามวรรคหนึ่ง
และวรรคสอง อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่วาระการดำรงตำแหน่งเหลืออยู่ไม่ถึงสามสิบวัน
จะไม่แต่งตั้งหรือเลือกกรรมการขึ้นดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
มาตรา ๒๑
ให้ประธานกรรมการและกรรมการตามมาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง
แต่งตั้งเลขาธิการจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑)
มีสัญชาติไทย
(๒)
มีอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์
(๓)
สามารถปฏิบัติงานให้แก่กองทุนได้เต็มเวลา
(๔)
ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
(๕)
ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(๖)
ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น
รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
(๗)
ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษา หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
(๘)
ไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้จัดการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
(๙)
ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับกองทุน หรือในกิจการที่กระทำให้แก่กองทุน
ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม เว้นแต่เป็นผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายให้เป็นกรรมการในบริษัทที่กองทุนเป็นผู้ถือหุ้น
มาตรา ๒๒
การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
และการกำหนดเงื่อนไขในการทดลองปฏิบัติงานหรือการทำงานในหน้าที่เลขาธิการ
ให้เป็นไปตามสัญญาจ้างที่คณะกรรมการกำหนด โดยให้มีอายุการจ้างคราวละไม่เกินสี่ปี
และเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาจ้างแล้วคณะกรรมการจะต่ออายุสัญญาจ้างอีกก็ได้
การทำสัญญาจ้างเลขาธิการ
ให้ประธานกรรมการเป็นผู้มีอำนาจทำสัญญาในนามของกองทุน
ให้เลขาธิการได้รับเงินค่าจ้าง
ค่าตอบแทนและเงินอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๒๓
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามอายุการจ้าง เลขาธิการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑
(๔)
คณะกรรมการมีมติเห็นสมควรให้เลิกจ้าง
มาตรา ๒๔
ให้เลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง
และรับผิดชอบในการบริหารกิจการของกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนและตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายที่คณะกรรมการกำหนด
เลขาธิการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการบริหารกิจการของกองทุน
มาตรา ๒๕
ในกิจการของกองทุนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้เลขาธิการเป็นผู้แทนของกองทุน
การปฏิบัติงานของเลขาธิการและการมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนเลขาธิการให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด
นิติกรรมที่กระทำโดยฝ่าฝืนข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง
ย่อมไม่ผูกพันกองทุนเว้นแต่คณะกรรมการจะให้สัตยาบัน
มาตรา ๒๖
ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดนโยบาย และออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งในการบริหารกิจการของกองทุน
(๒)
กำหนดนโยบายการลงทุนของกองทุน ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๓)
กำกับดูแลการจัดการกองทุน
(๔)
ออกข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติงานของเลขาธิการ
และการมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนเลขาธิการ
(๕)
กำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสำนักงาน
และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวกับกิจการของกองทุน
(๖)
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการรับ เก็บรักษา และจ่ายเงินของกองทุน
(๗)
ออกระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การบรรจุ แต่งตั้ง
ถอดถอน และวินัยของพนักงานและลูกจ้าง ตลอดจนการกำหนดเงินเดือนและเงินอื่น
รวมถึงการสงเคราะห์และสวัสดิการ
(๘)[๙]
พิจารณามอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นจัดการเงินของกองทุน
(๙)
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
(๑๐)
แต่งตั้งผู้แทนเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนน
ในการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทหรือหน่วยงานอื่นใดที่กองทุนถือหุ้นอยู่
(๑๑)
ปฏิบัติงานอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๗
การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมของคณะกรรมการ
ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมากกรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
การออกเสียงลงมติแต่งตั้งหรือเลิกจ้างเลขาธิการต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่อยู่ในตำแหน่ง
มาตรา ๒๘
กรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณา
ห้ามมิให้เข้าร่วมพิจารณาในเรื่องนั้น
มาตรา ๒๙
ให้กรรมการและอนุกรรมการได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๓๐
ให้มีคณะอนุกรรมการจัดการลงทุน ประกอบด้วย
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นประธานอนุกรรมการ ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย
และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คนซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้ง เป็นอนุกรรมการ
และเลขาธิการเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
มาตรา ๓๑
ให้คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการลงทุนต่อคณะกรรมการ
(๒)[๑๐]
ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่จะมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุน
(๓)[๑๑]
ติดตามดูแลการดำเนินงานของสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุน
(๔)
รายงานผลการดำเนินการด้านการลงทุนและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการ
(๕)
ปฏิบัติการในเรื่องอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๓๒
ให้มีคณะอนุกรรมการสมาชิกสัมพันธ์ ประกอบด้วยเลขาธิการ ก.พ.
เป็นประธานอนุกรรมการ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนกรมประชาสัมพันธ์
และผู้แทนสมาชิกจำนวนห้าคนเป็นอนุกรรมการ และให้เลขาธิการเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
การเลือกผู้แทนสมาชิกตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๓๓
ให้คณะอนุกรรมการสมาชิกสัมพันธ์มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นสื่อกลางระหว่างกองทุนกับสมาชิก ตลอดจนเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่สมาชิก
(๒)
เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร และรายงานความคืบหน้าของการจัดการกองทุน
(๓)
รับฟังความคิดเห็นและปัญหาต่าง ๆ จากสมาชิก
(๔)
พิจารณาเสนอแนะต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิก
(๕)
ปฏิบัติการในเรื่องอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๓๔
ให้นำมาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๒๘
มาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
และการประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
หมวด ๓
สมาชิกและสิทธิประโยชน์ของสมาชิก
มาตรา ๓๕
ให้บุคคลต่อไปนี้ เป็นสมาชิก
(๑)
ผู้ซึ่งเข้ารับราชการตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
(๒)
ผู้ซึ่งโอนมาเป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
มาตรา ๓๖
บุคคลต่อไปนี้จะสมัครเป็นสมาชิกก็ได้
(๑)
ข้าราชการซึ่งรับราชการอยู่ในวันก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
(๒)
ข้าราชการซึ่งออกจากราชการเพื่อไปปฏิบัติงานตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ
ก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับและกลับเข้ารับราชการตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
การสมัครเป็นสมาชิกให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา
๓๗[๑๒] บำเหน็จบำนาญ บำเหน็จดำรงชีพ
และบำเหน็จตกทอด ให้จ่ายจากเงินงบประมาณ สำหรับเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม
เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวให้จ่ายจากกองทุน ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๘
ข้าราชการซึ่งออกจากราชการ
ถ้ากลับเข้ารับราชการใหม่ตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
ให้นับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการในตอนหลังได้
เว้นแต่ข้าราชการผู้นั้นถูกปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ
เนื่องจากกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงและไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยหวัด
บำเหน็จบำนาญจากการรับราชการตอนก่อนออกจากราชการ
ข้าราชการซึ่งได้รับบำเหน็จไปแล้ว
จะนับเวลาราชการต่อเนื่องตามวรรคหนึ่งได้จะต้องคืนบำเหน็จที่ได้รับพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝากประจำของธนาคารออมสิน
ส่วนระยะเวลาในการคืนบำเหน็จให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
ข้าราชการซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติแล้ว
ให้งดการจ่ายบำนาญตลอดเวลาที่กลับเข้ารับราชการใหม่นั้น แต่ถ้าผู้นั้นประสงค์จะรับบำนาญต่อไป
จะต้องมีหนังสือแจ้งความประสงค์ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดที่ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันกลับเข้ารับราชการ
และจะนับเวลาราชการต่อเนื่องมิได้
กรณีนี้ถ้าเงินเดือนที่ได้รับในขณะกลับเข้ารับราชการใหม่เท่าหรือสูงกว่าเงินเดือนเดิมเมื่อออกจากราชการให้งดการจ่ายบำนาญ
แต่ถ้าเงินเดือนใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิมให้รับบำนาญเท่ากับผลต่างของเงินเดือนใหม่และเงินเดือนเดิม
โดยให้ส่วนราชการที่ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่แจ้งไปยังเจ้าสังกัดที่ผู้นั้นรับบำนาญอยู่เพื่องดหรือลดการจ่ายบำนาญ
เมื่อออกจากราชการให้มีสิทธิได้รับบำนาญโดยคำนวณจากเงินเดือน
และเวลาราชการในตอนใหม่บวกเข้ากับบำนาญเดิม
บำนาญในตอนหลังจะเปลี่ยนเป็นขอรับบำเหน็จแทนก็ได้
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้
ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่อาจมีสิทธิได้รับเงินประเดิมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ความในมาตรานี้ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการประเภทต่าง
ๆ ตามคำนิยามในมาตรา ๓ โดยอนุโลม
มาตรา
๓๙[๑๓]
ให้สมาชิกส่งเงินสะสมเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
เว้นแต่สมาชิกซึ่งรับราชการอยู่ก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนหรือไม่ก็ได้
ในกรณีที่สมาชิกผู้ใดประสงค์ที่จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราตามวรรคหนึ่ง
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด แต่ทั้งนี้
การส่งเงินสะสมตามมาตรานี้รวมกันแล้วจะต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินเดือน
ถ้าสมาชิกไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนหรือได้รับเงินเดือนไม่เต็มจำนวนสำหรับระยะเวลาใดให้ส่งเงินสะสมตามส่วนแห่งเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับ
การส่งเงินสะสมตามมาตรานี้
ให้ส่วนราชการหักจากเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับและส่งเข้ากองทุนในวันที่มีการจ่ายเงินเดือน
ให้ส่วนราชการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนให้สมาชิกในจำนวนที่เท่ากับอัตราเงินสะสมตามที่กำหนดในกฎกระทรวงพร้อมการส่งเงินสะสมนั้น
แต่ถ้าสมาชิกไม่ได้รับเงินเดือนหรือได้รับเงินเดือนไม่เต็มจำนวน
ให้ส่งเงินสมทบตามอัตราส่วนแห่งเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับ
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้
เงินเดือนไม่รวมถึงเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา
สำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ สำหรับการสู้รบ
สำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิด หรือเงินเพิ่มอย่างอื่น
มาตรา ๔๐
ให้กระทรวงการคลังคำนวณเงินประเดิมสำหรับสมาชิกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อนำส่งเข้ากองทุน
การส่งเงินประเดิมตามวรรคหนึ่ง
ให้จ่ายจากเงินคงคลัง
มาตรา
๔๑
ให้ส่วนราชการส่งเงินชดเชยเข้ากองทุนให้แก่สมาชิกตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินเดือนให้แก่สมาชิก
ในการนี้ให้นำมาตรา ๓๙ วรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม[๑๔]
ถ้าสมาชิกไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนหรือได้รับเงินเดือนไม่เต็มจำนวนสำหรับระยะเวลาใด
ให้ส่งเงินชดเชยตามส่วนแห่งเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับ
มาตรา ๔๒
สมาชิกมีสิทธิได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นจากกองทุนตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๓
สมาชิกมีสิทธิกู้เงินจากกองทุนไม่เกินจำนวนเงินสะสม เงินสมทบ
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่บันทึกไว้ในบัญชีเงินรายบุคคลเพื่อใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์
หลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๔
สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่อผู้นั้นออกจากราชการ
เว้นแต่เป็นการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการนั้น ๆ
หรือการออกจากราชการของผู้ไปปฏิบัติงานตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ
มาตรา ๔๕
สมาชิกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง
มาตรา ๔๖
สมาชิกซึ่งส่งเงินสะสมเข้ากองทุน ให้มีสิทธิได้รับเงินสะสม เงินสมทบ
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวจากกองทุน
มาตรา ๔๗
สมาชิกซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่สิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป
แต่ไม่ถึงยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จ
มาตรา ๔๘
สมาชิกตามมาตรา ๓๕
ซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไปให้มีสิทธิได้รับบำนาญ เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว เว้นแต่จะเลือกรับบำเหน็จแทน
สำหรับสมาชิกตามมาตรา
๓๖ (๑) หรือ (๒) ซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไป
ให้มีสิทธิได้รับบำนาญ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว
เว้นแต่จะเลือกรับบำเหน็จแทน
มาตรา ๔๙
นอกจากกรณีที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘
สมาชิกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑)
เหตุทุพพลภาพ
(๒)
เหตุทดแทน
(๓)
เหตุสูงอายุ
มาตรา ๕๐
บำเหน็จบำนาญเหตุทุพพลภาพให้จ่ายให้แก่สมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะป่วยเจ็บทุพพลภาพ
ซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่า
ไม่สามารถที่จะรับราชการในตำแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นต่อไปได้
มาตรา ๕๑
บำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนให้จ่ายให้แก่สมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่ง
หรือมีคำสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิด หรือทหารซึ่งออกจากกองหนุนเบี้ยหวัด
มาตรา ๕๒
บำเหน็จบำนาญเหตุสูงอายุให้จ่ายให้แก่สมาชิกซึ่งออกจากราชการเมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้ว
หรือลาออกเมื่อมีอายุครบห้าสิบปีบริบูรณ์แล้ว
มาตรา ๕๓
สมาชิกซึ่งมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญด้วยเหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน
หรือเหตุสูงอายุ จะได้รับเงินตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑)
ถ้ามีเวลาราชการตั้งแต่หนึ่งปีบริบูรณ์ขึ้นไปแต่ไม่ถึงสิบปีบริบูรณ์มีสิทธิได้รับบำเหน็จ
(๒)
ถ้ามีเวลาราชการตั้งแต่สิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป
(ก)
สมาชิกตามมาตรา ๓๕ ให้มีสิทธิตามมาตรา ๔๘ วรรคหนึ่ง
(ข)
สมาชิกตามมาตรา ๓๖ (๑) หรือ (๒) ให้มีสิทธิตามมาตรา ๔๘ วรรคสอง
มาตรา ๕๔
สมาชิกซึ่งถูกไล่ออกจากราชการ หรือถึงแก่ความตาย
เนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนเอง
ผู้นั้นหรือทายาทไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว
มาตรา ๕๕
สิทธิในการรับบำนาญให้เริ่มมีตั้งแต่เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงจนกระทั่งผู้นั้นถึงแก่ความตาย
มาตรา ๕๖
ผู้รับบำนาญผู้ใด
(๑)
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือ
(๒)
เป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
ผู้นั้นหมดสิทธิรับบำนาญตั้งแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด
มาตรา ๕๗
ให้ผู้รับบำนาญตามพระราชบัญญัตินี้มีสิทธิได้รับสวัสดิการและเงินช่วยเหลือต่าง
ๆ เช่นเดียวกับผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
มาตรา
๕๗/๑[๑๕]
ผู้รับบำนาญมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพตามอัตราและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
แต่ต้องไม่เกินสิบห้าเท่าของบำนาญรายเดือนที่ผู้นั้นได้รับ
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญเป็นผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการด้วย
ให้นำบำนาญและบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพรวมเป็นบำนาญรายเดือนเพื่อคำนวณจ่ายเป็นบำเหน็จดำรงชีพแก่ผู้นั้น
เมื่อได้รับบำเหน็จดำรงชีพแล้ว
ผู้รับบำนาญไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จดำรงชีพอีกถ้าภายหลังผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่และได้ออกจากราชการในครั้งหลังโดยเลือกรับบำนาญ
ผู้รับบำนาญผู้ใดได้รับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้ว
ถ้าภายหลังผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่
โดยมีสิทธินับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการในตอนหลังตามมาตรา
๓๘ และเมื่อออกจากราชการในครั้งหลังโดยเลือกรับบำเหน็จ การจ่ายบำเหน็จในกรณีเช่นว่านี้
ให้หักเงินออกจากบำเหน็จที่จะได้รับเท่ากับเงินบำเหน็จดำรงชีพเสียก่อน
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญได้แสดงเจตนาขอรับบำเหน็จดำรงชีพไว้แล้ว
แต่ได้ถึงแก่ความตายก่อนได้รับเงินบำเหน็จดำรงชีพ
ให้การจ่ายเงินดังกล่าวเป็นอันระงับไป
มาตรา ๕๘
ในกรณีที่สมาชิกผู้ใดถึงแก่ความตายในระหว่างรับราชการและความตายนั้นมิได้เกิดขึ้นเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนเอง
หรือในกรณีที่ผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
ให้จ่ายบำเหน็จตกทอดแก่ทายาทของสมาชิกหรือผู้รับบำนาญตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑)
บุตรให้ได้รับสองส่วน ถ้าสมาชิกผู้ตายมีบุตรตั้งแต่สามคนขึ้นไปให้ได้รับสามส่วน
(๒)
สามีหรือภริยาให้ได้รับหนึ่งส่วน
(๓)
บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ให้ได้รับหนึ่งส่วน
ในกรณีที่ไม่มีทายาทในอนุมาตราใด
หรือทายาทนั้นได้ตายไปเสียก่อนให้แบ่งเงินดังกล่าวระหว่างทายาทผู้มีสิทธิในอนุมาตราที่มีทายาทผู้มีสิทธิได้รับ
ในกรณีที่ไม่มีทายาททั้งสามอนุมาตราดังกล่าว
ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายแสดงเจตนาไว้ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
ในกรณีที่ไม่มีทายาทและบุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ตามวรรคสาม
หรือบุคคลนั้นได้ตายไปก่อน ให้สิทธิในบำเหน็จตกทอดนั้นเป็นอันยุติลง
ในกรณีที่ได้มีการจ่ายบำเหน็จตกทอดไปแล้วหากปรากฏว่ามีบุตรซึ่งได้มีคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย
ซึ่งได้มีการฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรก่อนหรือภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่บิดาตายหรือนับแต่วันที่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของบิดาเพิ่มขึ้น
ให้แบ่งบำเหน็จตกทอดนั้นใหม่ระหว่างทายาทผู้มีสิทธิโดยถือว่าบุตรชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษานั้นเป็นทายาทผู้มีสิทธิตั้งแต่วันตาย
ในกรณีเช่นนี้ให้กระทรวงการคลังเรียกคืนบำเหน็จตกทอดจากทายาทซึ่งรับบำเหน็จตกทอดไปก่อนแล้วตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด
ในกรณีที่ไม่สามารถเรียกคืนบำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้ทายาทซึ่งรับเกินไปในส่วนของตนตามวรรคห้าได้
กระทรวงการคลังไม่ต้องรับผิดชอบจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดให้แก่บุตรซึ่งได้มีคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายย้อนหลังไปถึงวันเกิดสิทธิรับบำเหน็จตกทอดแต่อย่างใด
มาตรา ๕๙
ในกรณีที่สมาชิกผู้ถึงแก่ความตายได้ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนให้จ่ายเงินสะสม
เงินสมทบ
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวแก่ผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๖๐
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย นอกจากทายาทจะมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดตามมาตรา
๕๘ แล้ว ให้มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน
เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกันด้วย
มาตรา ๖๑
สิทธิการรับเงินต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่อาจโอนแก่กันได้
มาตรา ๖๒
การคำนวณบำเหน็จให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการ
มาตรา ๖๓
การคำนวณบำนาญให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการ
หารด้วยห้าสิบ แต่ต้องไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้าย
การคำนวณบำนาญของผู้กลับเข้ารับราชการใหม่ตามมาตรา
๓๘
หากเวลาราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ยังไม่ครบห้าปีอัตราเงินเดือนเฉลี่ยที่จะนำมาคำนวณบำนาญให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๖๔
บำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้แก่ทายาทของสมาชิก ให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการของผู้ตาย
มาตรา ๖๕
บำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้แก่ทายาทของผู้รับบำนาญ
ให้จ่ายสามสิบเท่าของอัตราบำนาญที่ผู้ตายมีสิทธิได้รับ
ในกรณีที่ได้มีการรับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้ว
เมื่อผู้รับบำนาญถึงแก่ความตายการจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดตามวรรคหนึ่ง ให้หักเงินออกจากบำเหน็จตกทอดที่จะได้รับเท่ากับเงินบำเหน็จดำรงชีพเสียก่อน[๑๖]
มาตรา ๖๖
การนับเวลาราชการเพื่อให้เกิดสิทธิรับบำเหน็จบำนาญให้นับจำนวนปี
เศษของปีถ้าถึงครึ่งปีให้นับเป็นหนึ่งปี
การนับเวลาราชการเพื่อคำนวณจำนวนบำเหน็จบำนาญให้นับจำนวนปีรวมทั้งเศษของปีด้วย
การนับเศษของปีซึ่งเป็นเดือนหรือวันให้คำนวณตามวิธีการจ่ายเงินเดือนและให้นับสิบสองเดือนเป็นหนึ่งปี
สำหรับจำนวนวันถ้ามีรวมกันหลายระยะให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน
มาตรา ๖๗
เมื่อมีผู้ยื่นคำขอรับเงินตามมาตรา ๔๕
ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดที่ได้รับคำขอนั้นตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินสะสม
เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวของผู้ยื่นคำขอ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จและแจ้งให้กองทุนทราบภายในสิบห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้รับคำขอรับเงินดังกล่าว
เว้นแต่กรณีที่มีเหตุอันสมควร
การจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่ง
ให้กองทุนจ่ายภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากส่วนราชการเจ้าสังกัด
และได้ปรากฏหลักฐานถูกต้องครบถ้วน[๑๗]
มาตรา
๖๗/๑[๑๘] ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินสะสม เงินสมทบ
เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวตามมาตรา ๔๕
ผู้ใดที่ยังไม่ขอรับเงินคืน หรือขอทยอยรับเงินคืน
ให้กองทุนบริหารเงินที่ยังไม่รับคืนต่อไปได้
แต่ถ้าผู้นั้นขอโอนเงินไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการออกจากงานหรือการชราภาพ
ให้กองทุนโอนเงินไปยังกองทุนดังกล่าวภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ผู้นั้นแสดงความประสงค์
และได้ปรากฏหลักฐานถูกต้องครบถ้วน
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๖๗/๒[๑๙]
เงินประเดิมตามบัญชีเงินรายตัวสมาชิกซึ่งกระทรวงการคลังส่งเข้ากองทุนตามมาตรา
๔๐ นั้น
หากต่อมามีข้อมูลเพิ่มเติมทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงยอดเงินประเดิมและดอกผลของเงินดังกล่าวของสมาชิกรายใดแล้ว
ให้กองทุนคำนวณผลการเปลี่ยนแปลงสุทธิเป็นรายเดือน
ในกรณีที่ผลการเปลี่ยนแปลงสุทธิเป็นการรับเงินเกิน
ให้กองทุนส่งเงินดังกล่าวคืนแก่กระทรวงการคลัง
แต่ในกรณีที่ผลการเปลี่ยนแปลงสุทธิเป็นการรับเงินขาด
ให้กองทุนทดรองจ่ายออกจากบัญชีเงินกองกลางเพื่อเข้าบัญชีรายตัวสมาชิกก่อน
หลังจากนั้นให้แจ้งกระทรวงการคลังทราบ
และให้กระทรวงการคลังดำเนินการส่งเงินเท่าจำนวนเงินที่ทดรองจ่ายไปคืนแก่บัญชีเงินกองกลางภายในปีงบประมาณถัดไป
มาตรา ๖๘
ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
มาตรา
๖๙[๒๐]
การหาประโยชน์ของกองทุนให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการและจะมอบหมายให้บุคคลใดดำเนินการแทนตามความเหมาะสมก็ได้
การมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนภายในประเทศนั้น
กองทุนจะต้องมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนไม่น้อยกว่าสองแห่ง
ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หรือผู้ได้รับอนุญาตจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน ทั้งนี้
โดยให้คำนึงถึงการกระจายความเสี่ยงด้วย
และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการหาประโยชน์ของกองทุนภายในประเทศ
ให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนมีหน้าที่และอยู่ในบังคับบทบัญญัติต่าง
ๆ ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หรือกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เสมือนหนึ่งกองทุนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคล แล้วแต่กรณี
การมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนในต่างประเทศนั้น
กองทุนจะต้องมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนในต่างประเทศ
ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ
เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน
การให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนในประเทศหรือในต่างประเทศ
คุณสมบัติของผู้รับดำเนินการ วิธีดำเนินการ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา
๗๐[๒๑]
เงินของกองทุนนอกจากส่วนที่นำไปลงทุนตามแผนการลงทุนในวรรคสอง
ให้ลงทุนได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง
ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบ
ยกเว้นเงินสำรองตามมาตรา ๗๒
ต้องนำไปลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจก่อน
กองทุนอาจจัดให้มีแผนการลงทุนสำหรับเงินที่อยู่ในบัญชีเงินรายบุคคลเฉพาะในส่วนของเงินสะสม
เงินสมทบ และดอกผลของเงินดังกล่าว ตามมาตรา ๗๑ (๓) เพื่อให้สมาชิกเลือก
โดยในแต่ละแผนอาจกำหนดให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงแตกต่างจากอัตราที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่งได้
การจัดให้มีแผนการลงทุน
การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุนแก่สมาชิก
และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
หมวด ๓/๑
การรับข้าราชการซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นเป็นสมาชิก[๒๒]
มาตรา ๗๐/๑[๒๓] ในกรณีที่มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ให้สมาชิกซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
ยังคงมีสมาชิกภาพของสมาชิกต่อไป
ให้นำบทบัญญัติในหมวด
๓ ว่าด้วยสมาชิกและสิทธิประโยชน์ของสมาชิกมาใช้บังคับกับสมาชิกตามหมวดนี้โดยอนุโลม
เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งหมวดนี้
มาตรา ๗๐/๒[๒๔] ในกรณีที่สมาชิกตามมาตรา ๗๐/๑
ได้เคยเป็นข้าราชการและสมาชิกมาก่อนที่จะโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น
ให้สมาชิกผู้นั้นมีสมาชิกภาพต่อเนื่องกับสมาชิกภาพเดิมได้ ในการนี้
ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญปกติ บำเหน็จตกทอด เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม
เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว แล้วแต่กรณี
ต่อเนื่องจากสิทธิที่เคยมีอยู่เดิมต่อไป และให้นับเวลาราชการต่อเนื่องกับการเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๘
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
เว้นแต่บำเหน็จดำรงชีพและบำเหน็จบำนาญพิเศษให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๗๐/๓[๒๕]
การส่งเงินสะสมเข้ากองทุนของสมาชิกตามมาตรา ๗๐/๑
และการส่งเงินสมทบและเงินชดเชยเข้ากองทุน ให้นำมาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๑
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๗๐/๔[๒๖] บำเหน็จบำนาญของสมาชิกตามมาตรา ๗๐/๑
ให้จ่ายจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
การคำนวณบำเหน็จบำนาญ
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
การขอรับบำเหน็จบำนาญให้นำระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๗๐/๕[๒๗] การดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
ในส่วนที่กล่าวถึงส่วนราชการให้หมายความรวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย
หมวด ๓/๒
การรับพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเป็นสมาชิก[๒๘]
มาตรา ๗๐/๖[๒๙]
ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ
ให้สมาชิกซึ่งเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยและประสงค์จะเป็นสมาชิกตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
ยังคงมีสมาชิกภาพของสมาชิกต่อไป
ให้นำบทบัญญัติในหมวด
๓ ว่าด้วยสมาชิกและสิทธิประโยชน์ของสมาชิกมาใช้บังคับกับสมาชิกตามหมวดนี้โดยอนุโลม
เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งหมวดนี้
มาตรา ๗๐/๗[๓๐] ในกรณีที่สมาชิกตามมาตรา ๗๐/๖
ได้เคยเป็นข้าราชการและสมาชิกมาก่อนที่จะเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย
ให้สมาชิกผู้นั้นมีสมาชิกภาพต่อเนื่องกับสมาชิกภาพเดิมได้ ในการนี้
ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญปกติ บำเหน็จดำรงชีพ บำเหน็จตกทอด เงินสะสม เงินสมทบ
เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว แล้วแต่กรณี ต่อเนื่องจากสิทธิที่เคยมีอยู่เดิมต่อไป
และให้นับเวลาราชการต่อเนื่องกับการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๘
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๗๐/๘[๓๑] ให้สมาชิกตามมาตรา ๗๐/๖
ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนโดยคำนวณตามบัญชีอัตราเงินเดือนและตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
แต่ทั้งนี้ การส่งเงินสะสมดังกล่าวจะต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินเดือน
เงินสะสมตามวรรคหนึ่ง
ให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐที่สมาชิกผู้นั้นสังกัดหักส่งและจ่ายสมทบในจำนวนที่เท่ากับอัตราเงินสะสมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
พร้อมการส่งเงินสะสมนั้น
ให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐที่สมาชิกผู้นั้นสังกัดส่งเงินชดเชยเข้ากองทุน
โดยคำนวณตามบัญชีอัตราเงินเดือนตามวรรคหนึ่ง และตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๗๐/๙[๓๒]
ให้คำนวณบำเหน็จบำนาญโดยนำบัญชีอัตราเงินเดือนตามมาตรา ๗๐/๘ วรรคหนึ่ง
มาใช้บังคับ
การจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญ
บำเหน็จดำรงชีพ และบำเหน็จตกทอด
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
หมวด ๔
การเงิน การบัญชี
และการตรวจสอบ
มาตรา ๗๑
ให้กองทุนจัดให้มีบัญชี ประกอบด้วย
(๑)
บัญชีเงินสำรองซึ่งแสดงรายการเงินสำรอง และดอกผลของเงินดังกล่าว
(๒)
บัญชีเงินกองกลางซึ่งแสดงรายการเงินที่มีผู้บริจาคให้ เงินตามบัญชี
เงินรายบุคคลที่ไม่มีผู้รับ เงินส่วนกลางที่มิใช่ของสมาชิกคนใด
และดอกผลของเงินดังกล่าว
(๓)
บัญชีเงินรายบุคคลซึ่งแสดงรายการเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และดอกผลของเงินดังกล่าวบรรดาที่เป็นของสมาชิกแต่ละคน
มาตรา ๗๒
ให้รัฐตั้งงบประมาณรายจ่ายเป็นรายปีเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำปีเข้าบัญชีเงินสำรองทุกปีจนกว่าเงินสำรอง
เงินกองกลาง และดอกผลของเงินดังกล่าวจะมีจำนวนสามเท่าของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำปี
หลังจากนั้นให้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อให้เงินสำรอง เงินกองกลาง
และดอกผลของเงินดังกล่าวคงระดับสามเท่าของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการในแต่ละปี
และถ้าเงินสำรอง เงินกองกลาง
และดอกผลของเงินดังกล่าวมีจำนวนเกินสามเท่าของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำปี
ให้นำเงินส่วนที่เกินนั้นส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
ในกรณีเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศ
รัฐอาจสั่งให้กองทุนส่งเงินออกจากบัญชีเงินสำรองกลับคืนเป็นรายได้แผ่นดินเพื่อจ่ายเป็นบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
แต่รัฐจะต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยส่วนของเงินดังกล่าวที่นำไปใช้ส่งคืนกองทุนในปีงบประมาณถัดไป
มาตรา
๗๓[๓๓]
ดอกผลที่ได้จากการนำเงินของกองทุนในแต่ละบัญชีไปลงทุนหาผลประโยชน์ตามมาตรา
๗๐ เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามส่วนของการลงทุนในแต่ละบัญชีแล้ว
ดอกผลที่ได้จากการนำเงินสำรองไปลงทุนให้บันทึกไว้ในบัญชีเงินสำรอง
ดอกผลที่ได้จากการนำเงินกองกลางไปลงทุนให้บันทึกไว้ในบัญชีเงินกองกลาง
ดอกผลที่ได้จากการนำเงินรายบุคคลไปลงทุนให้บันทึกไว้ในบัญชีรายบุคคล
สำหรับดอกผลที่ได้จากการนำเงินรายบุคคลในส่วนของเงินสะสม เงินสมทบ และดอกผลของเงินดังกล่าวไปลงทุนตามแผนการลงทุนให้บันทึกแยกตามผลประกอบการของแต่ละแผนการลงทุน
โดยให้จัดสรรผลประโยชน์ตอบแทนไว้ในบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกตามอัตราผลตอบแทนของแต่ละแผนการลงทุนที่เลือกไว้ตามสัดส่วนของเงินแยกต่างหากจากกัน ทั้งนี้ การคำนวณดอกผล ค่าใช้จ่ายและการจัดสรรผลประโยชน์ตอบแทน
ให้ทำเป็นประจำตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
สมาชิกไม่มีสิทธิเรียกร้องผลตอบแทนจากแผนการลงทุนอื่นที่สมาชิกมิได้เลือก
มาตรา
๗๓/๑[๓๔]
ในกรณีที่ไม่มีการจ่ายเงินประเดิมหรือเงินชดเชยของสมาชิก
เพราะเหตุสมาชิกไม่มีสิทธิได้รับเนื่องจากการออกจากราชการ
หรือเพราะเหตุการรับบำเหน็จ หรือบำเหน็จตกทอด แล้วแต่กรณี
ให้กองทุนส่งเงินประเดิมหรือเงินชดเชยของสมาชิกรายนั้น
พร้อมดอกผลของเงินดังกล่าวคืนแก่กระทรวงการคลังโดยเร็ว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
มาตรา ๗๔
ให้กองทุนแจ้งยอดเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม และเงินชดเชย
พร้อมทั้งผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวในส่วนของสมาชิกแต่ละคนให้สมาชิกทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา ๗๕
ให้กองทุนยื่นรายงานแสดงการจัดการกองทุนต่อรัฐมนตรีอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๗๖
กองทุนต้องวางและถือไว้ซึ่งระบบการบัญชีที่เหมาะสมแก่กิจการแยกตามประเภทงานส่วนที่สำคัญ
มีสมุดบัญชีลงรายการรับและจ่ายเงินสินทรัพย์และหนี้สินที่แสดงกิจการที่เป็นอยู่ตามความจริงและตามที่ควร
ตามประเภทงาน พร้อมด้วยข้อความอันเป็นที่มาของรายการนั้น ๆ
และให้มีการตรวจสอบบัญชีภายในเป็นประจำ
มาตรา ๗๗
กองทุนต้องจัดทำงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน
ส่งผู้สอบบัญชีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
มาตรา ๗๘
ทุกปีให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีทำการตรวจสอบรับรองบัญชีทุกประเภทของกองทุน
มาตรา ๗๙
ผู้สอบบัญชีมีอำนาจตรวจสอบสรรพสมุด บัญชี และเอกสารหลักฐานของกองทุน
เพื่อการนี้ให้มีอำนาจสอบถามประธานกรรมการ กรรมการ พนักงานและลูกจ้างได้
มาตรา ๘๐
ผู้สอบบัญชีต้องทำรายงานผลการสอบบัญชีของกองทุนเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการ
มาตรา ๘๑
กองทุนต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
เพื่อพิจารณารายงานผลการดำเนินงาน ฐานะการเงินและการรับจ่ายเงินของกองทุน
การประชุมใหญ่และการเลือกผู้แทนสมาชิกตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด
ให้ที่ประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกมีอำนาจแสดงข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนต่อคณะกรรมการ
มาตรา ๘๒
เมื่อได้รับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนจากที่ประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกแล้ว
ให้คณะกรรมการทำรายงานการสอบบัญชีพร้อมทั้งข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี
และประกาศรายงานการสอบบัญชีในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
หมวด ๕
การควบคุมกำกับการจัดการกองทุน
มาตรา ๘๓
ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน
กรรมการ ผู้จัดการ
หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนภายในระยะเวลาที่กำหนด
ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนไม่ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
หรือปรากฏว่าผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนจัดการกองทุนในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน
ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนแก้ไขหรือระงับการกระทำนั้น
หรือสั่งยกเลิกการมอบหมายให้เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นได้
มาตรา ๘๔
ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับและดูแลโดยทั่วไป ซึ่งการจัดการกองทุน
เพื่อประโยชน์ในการนี้จะสั่งแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนก็ได้
และให้รัฐมนตรีแจ้งให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายงานให้รัฐมนตรีทราบด้วย
ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นว่า
ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน
จัดการกองทุนในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน
รัฐมนตรีอาจขอให้คณะกรรมการพิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๘๓ วรรคสอง
มาตรา ๘๕
เมื่อได้รับคำสั่งตามมาตรา ๘๓ วรรคสองแล้ว
ให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนหยุดจัดการกองทุนในทันที
และส่งมอบทรัพย์สินคืนภายในเวลาที่กำหนดในคำสั่งนั้น
มาตรา ๘๖
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่
มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑)
เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจหรือสถานที่ตั้งของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้นเพื่อตรวจสอบสมุดบัญชีหรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการจัดการกองทุน
(๒)
ยึดหรืออายัดเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนข้อเท็จจริงหรือดำเนินคดี
(๓)
สั่งให้กรรมการ ผู้จัดการ
พนักงานหรือลูกจ้างของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนมาให้ถ้อยคำหรือส่งสำเนาหรือแสดงสมุดบัญชี
หรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการจัดการกองทุน
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง
ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
เมื่อได้เข้าไปและลงมือทำการตรวจสอบตาม
(๑) แล้ว ถ้ายังดำเนินการไม่เสร็จ
จะกระทำต่อไปในเวลากลางคืนหรือนอกเวลาทำการของสถานที่นั้นก็ได้
มาตรา ๘๗
ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘๘
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๖
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๘๙
ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๕
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนบาท
จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง
กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านห้าแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นด้วย
มาตรา ๙๐
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา
๘๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙๑
กรรมการ ผู้จัดการ
หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนรายใดแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริง
ซึ่งควรบอกให้แจ้งในสาระสำคัญเกี่ยวกับการจัดการกองทุนต่อคณะกรรมการต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
หรือปรับไม่เกินสองล้านห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙๒
ความผิดตามมาตรา ๘๙ และมาตรา ๙๐ ให้คณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบได้
เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว
ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ
หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ดำเนินคดีต่อไป
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๙๓
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการผู้แทนสมาชิกและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
และแต่งตั้งเลขาธิการเพื่อให้ได้คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้
ภายในสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วยปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นกรรมการ
และอธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นกรรมการและเลขานุการ
ทำหน้าที่คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
และให้อธิบดีกรมบัญชีกลางทำหน้าที่เลขาธิการ
เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน
ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
อธิบดีกรมบัญชีกลางอาจแต่งตั้งบุคคลใดเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
บรรหาร ศิลปอาชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่ให้รัฐต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำทุกปี
โดยไม่มีการกันเงินสำรองไว้ล่วงหน้าสำหรับจ่ายบำเหน็จบำนาญในอนาคตนั้น
ไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเงินการคลังของประเทศในปัจจุบัน
ทำให้ไม่อาจวางแผนเชิงบริหารการเงินการคลังของประเทศในระยะยาวและไม่อาจวางแผนพัฒนาบุคลากรของรัฐได้ดังนั้นสมควรปรับปรุงระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการดังกล่าวเสียใหม่โดยจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการขึ้นมีฐานะเป็นนิติบุคคล
เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ
และเพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์
และจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่ข้าราชการที่เป็นสมาชิกของกองทุน รวมทั้งให้เป็นสถาบันเงินออมที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเงินออมภายในประเทศ
และการส่งเสริมการลงทุนอันเป็นการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยส่วนรวมอีกด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒[๓๕]
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระ
ซึ่งได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
เพื่อจัดตั้งสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นหน่วยธุรการของศาลรัฐธรรมนูญ
มีฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระโดยบุคลากรมีฐานะเป็นข้าราชการ ฉะนั้น
เพื่อให้ข้าราชการเหล่านั้นได้รับสิทธิในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
รวมทั้งข้าราชการของส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระอื่น ๆ
ที่จะมีการจัดตั้งขึ้นด้วย สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า ข้าราชการ ในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ให้มีความหมายรวมถึงข้าราชการดังกล่าว
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖[๓๖]
มาตรา
๗
ผู้รับบำนาญซึ่งได้รับบำนาญอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จดำรงชีพตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ด้วย
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงเป็นอันมาก
อันมีผลกระทบต่อการดำรงชีพของข้าราชการบำนาญซึ่งได้รับบำนาญเป็นรายเดือนในจำนวนที่คงที่ ดังนั้น
เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้รับบำนาญให้สามารถดำรงชีพอย่างเหมาะสมและพอเพียงกับเศรษฐกิจในปัจจุบัน
สมควรกำหนดให้ผู้รับบำนาญมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพจำนวนหนึ่งในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่
โดยเงินจำนวนที่ได้รับดังกล่าวจะนำไปหักออกจากบำเหน็จตกทอดซึ่งจะจ่ายให้แก่ทายาทหรือบุคคลที่ผู้รับบำนาญได้แสดงเจตนาให้เป็นผู้มีสิทธิที่จะได้รับตามกฎหมายเมื่อผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้เป็นการนำเงินที่รัฐจะต้องจัดสรรเป็นงบประมาณรายจ่ายอยู่แล้วในอนาคตมาจ่ายให้แก่ผู้รับบำนาญส่วนหนึ่งก่อน
โดยมิได้เป็นการเพิ่มภาระงบประมาณรายจ่ายของรัฐแต่อย่างใด จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙[๓๗]
มาตรา
๕ ข้าราชการซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นเพราะมีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวด
๓/๑ ใช้บังคับ ถ้าก่อนโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้นั้นเป็นสมาชิก
ให้ผู้นั้นยังคงมีสมาชิกภาพของสมาชิกกองทุนต่อไป
และให้ผู้นั้นส่งเงินสะสมเข้ากองทุน
และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำส่งเงินสมทบและเงินชดเชยเข้ากองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา
๖
ข้าราชการซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นเพราะมีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามมาตรา
๕ แห่งพระราชบัญญัตินี้
ผู้ใดออกจากราชการก่อนวันที่พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นมีสิทธิในการรับบำเหน็จบำนาญ
บำเหน็จดำรงชีพ บำเหน็จตกทอด เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ด้วย
มาตรา
๗
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้
คือ
โดยที่นโยบายของรัฐหรือกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ทำให้ต้องมีการถ่ายโอนข้าราชการของราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น
รวมทั้งได้มีกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกำหนดให้มหาวิทยาลัยของรัฐเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐอันมีผลทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการของบุคคลดังกล่าวสิ้นสุดลงด้วย ดังนั้น เพื่อให้ระบบสิทธิประโยชน์ของบุคคลดังกล่าวยังคงอยู่เช่นเดิม
สมควรกำหนดให้บุคคลดังกล่าวยังคงเป็นสมาชิกและได้รับสิทธิประโยชน์ของสมาชิกต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐[๓๘]
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญ
และให้ผลประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ
รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก
และจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิกโดยกองทุนจะนำเงินไปลงทุนเพื่อหาผลประโยชน์ตอบแทนคืนสู่สมาชิก
แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ดังนั้น
เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินกิจการของกองทุนและเพื่อประโยชน์ของสมาชิก
สมควรกำหนดให้กองทุนสามารถดำเนินกิจการของกองทุนได้ทั้งในประเทศและในต่างประเทศ
โดยอาจมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการกองทุน
รวมทั้งสามารถจัดตั้งบริษัทจำกัด
เพื่อให้บริการแก่กองทุนหรือนิติบุคคลที่กองทุนเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละเจ็ดสิบห้าของหุ้นทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น
และให้สมาชิกสามารถส่งเงินสะสมเข้ากองทุนได้ตามความสามารถของแต่ละคน
รวมทั้งสามารถเลือกแผนการลงทุนในหลักทรัพย์ที่กองทุนจัดทำขึ้น
ซึ่งสมาชิกจะได้รับผลตอบแทนตามอัตราตอบแทนของแต่ละแผนการลงทุน นอกจากนั้น สมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในกรณีที่กองทุนบริหารเงินของผู้ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินคืนแต่ยังไม่ขอรับเงินหรือทยอยขอรับเงินคืนและกรณีที่ผู้มีสิทธิรับเงินคืนขอโอนเงินไปยังกองทุนอื่น
รวมทั้งการส่งเงินประเดิมหรือเงินชดเชยคืนแก่กระทรวงการคลัง
ในกรณีที่ไม่มีการจ่ายเงินประเดิมหรือเงินชดเชย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๔๒ ก/หน้า ๑/๒๗ กันยายน ๒๕๓๙
[๒] มาตรา ๓
นิยามคำว่า ข้าราชการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
[๓] มาตรา ๓
นิยามคำว่า ข้าราชการส่วนท้องถิ่น เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๔] มาตรา ๓
นิยามคำว่า พนักงานมหาวิทยาลัย เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๕] มาตรา ๓ นิยามคำว่า
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๖] มาตรา ๓
นิยามคำว่า บำเหน็จดำรงชีพ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๗] มาตรา ๓
นิยามคำว่า นิติบุคคล เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๘] มาตรา ๙ (๔/๑)
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๙] มาตรา ๒๖ (๘)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๐] มาตรา ๓๑ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๑] มาตรา ๓๑ (๓)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๒] มาตรา ๓๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๑๓] มาตรา ๓๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๔] มาตรา ๔๑
วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๕] มาตรา ๕๗/๑
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๑๖] มาตรา ๖๕ วรรคสอง
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๑๗] มาตรา ๖๗ วรรคสอง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๘] มาตรา ๖๗/๑
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๙] มาตรา ๖๗/๒
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๒๐] มาตรา ๖๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๒๑] มาตรา ๗๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๒๒] หมวด ๓/๑ การรับข้าราชการซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นเป็นสมาชิก
มาตรา ๗๐/๑ ถึง มาตรา ๗๐/๕ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๒๓] มาตรา ๗๐/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๒๔] มาตรา ๗๐/๒
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๒๕] มาตรา ๗๐/๓
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๒๖] มาตรา ๗๐/๔
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๒๗] มาตรา ๗๐/๕
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๒๘] หมวด ๓/๒ การรับพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเป็นสมาชิก
มาตรา ๗๐/๖ ถึง มาตรา ๗๐/๙ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๒๙] มาตรา ๗๐/๖ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓๐] มาตรา ๗๐/๗
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓๑] มาตรา ๗๐/๘
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓๒] มาตรา ๗๐/๙
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๓๓] มาตรา ๗๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๓๔] มาตรา ๗๓/๑
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๓๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๒๕ ก/หน้า ๘/๘ เมษายน ๒๕๔๒
[๓๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๐/ตอนที่ ๑๑๓ ก/หน้า ๔/๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
[๓๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔ ก/หน้า ๘/๑๗ มกราคม ๒๕๔๙
[๓๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๕/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๑/๙ มกราคม ๒๕๕๑ |
567277 | พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2550 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๕๐
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๕๐
เป็นปีที่ ๖๒
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า นิติบุคคล
ระหว่างบทนิยามคำว่า เวลาราชการ และ คณะกรรมการ ในมาตรา ๓
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๔๖
นิติบุคคล หมายความว่า
นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ
มาตรา ๔
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๔/๑) ของมาตรา ๙
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
(๔/๑) จัดตั้งบริษัทจำกัด
เพื่อให้บริการแก่กองทุนหรือนิติบุคคลที่กองทุนเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละเจ็ดสิบห้าของหุ้นทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น
มาตรา ๕
ให้ยกเลิกความใน (๘) ของมาตรา ๒๖
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๘) พิจารณามอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นจัดการเงินของกองทุน
มาตรา ๖
ให้ยกเลิกความใน (๒) และ (๓) ของมาตรา ๓๑
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๒) ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่จะมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุน
(๓)
ติดตามดูแลการดำเนินงานของสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุน
มาตรา ๗
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๓๙
ให้สมาชิกส่งเงินสะสมเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
เว้นแต่สมาชิกซึ่งรับราชการอยู่ก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนหรือไม่ก็ได้
ในกรณีที่สมาชิกผู้ใดประสงค์ที่จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราตามวรรคหนึ่ง
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด แต่ทั้งนี้
การส่งเงินสะสมตามมาตรานี้รวมกันแล้วจะต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินเดือน
ถ้าสมาชิกไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนหรือได้รับเงินเดือนไม่เต็มจำนวนสำหรับระยะเวลาใดให้ส่งเงินสะสมตามส่วนแห่งเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับ
การส่งเงินสะสมตามมาตรานี้
ให้ส่วนราชการหักจากเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับและส่งเข้ากองทุนในวันที่มีการจ่ายเงินเดือน
ให้ส่วนราชการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนให้สมาชิกในจำนวนที่เท่ากับอัตราเงินสะสมตามที่กำหนดในกฎกระทรวงพร้อมการส่งเงินสะสมนั้น
แต่ถ้าสมาชิกไม่ได้รับเงินเดือนหรือได้รับเงินเดือนไม่เต็มจำนวน
ให้ส่งเงินสมทบตามอัตราส่วนแห่งเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับ
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้
เงินเดือนไม่รวมถึงเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา สำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ
สำหรับการสู้รบ สำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิด หรือเงินเพิ่มอย่างอื่น
มาตรา ๘
ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๔๑
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๔๑ ให้ส่วนราชการส่งเงินชดเชยเข้ากองทุนให้แก่สมาชิกตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินเดือนให้แก่สมาชิก
ในการนี้ให้นำมาตรา ๓๙ วรรคหก มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๙
ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๖๗
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
การจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่ง
ให้กองทุนจ่ายภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากส่วนราชการเจ้าสังกัด
และได้ปรากฏหลักฐานถูกต้องครบถ้วน
มาตรา ๑๐
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๖๗/๑ และมาตรา ๖๗/๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๖๗/๑
ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวตามมาตรา ๔๕ ผู้ใดที่ยังไม่ขอรับเงินคืน
หรือขอทยอยรับเงินคืน ให้กองทุนบริหารเงินที่ยังไม่รับคืนต่อไปได้ แต่ถ้าผู้นั้นขอโอนเงินไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการออกจากงานหรือการชราภาพ
ให้กองทุนโอนเงินไปยังกองทุนดังกล่าวภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ผู้นั้นแสดงความประสงค์
และได้ปรากฏหลักฐานถูกต้องครบถ้วน
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๖๗/๒
เงินประเดิมตามบัญชีเงินรายตัวสมาชิกซึ่งกระทรวงการคลังส่งเข้ากองทุนตามมาตรา
๔๐ นั้น
หากต่อมามีข้อมูลเพิ่มเติมทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงยอดเงินประเดิมและดอกผลของเงินดังกล่าวของสมาชิกรายใดแล้ว
ให้กองทุนคำนวณผลการเปลี่ยนแปลงสุทธิเป็นรายเดือน
ในกรณีที่ผลการเปลี่ยนแปลงสุทธิเป็นการรับเงินเกิน
ให้กองทุนส่งเงินดังกล่าวคืนแก่กระทรวงการคลัง
แต่ในกรณีที่ผลการเปลี่ยนแปลงสุทธิเป็นการรับเงินขาด
ให้กองทุนทดรองจ่ายออกจากบัญชีเงินกองกลางเพื่อเข้าบัญชีรายตัวสมาชิกก่อน
หลังจากนั้นให้แจ้งกระทรวงการคลังทราบ
และให้กระทรวงการคลังดำเนินการส่งเงินเท่าจำนวนเงินที่ทดรองจ่ายไปคืนแก่บัญชีเงินกองกลางภายในปีงบประมาณถัดไป
มาตรา ๑๑
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๖๙ การหาประโยชน์ของกองทุนให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการและจะมอบหมายให้บุคคลใดดำเนินการแทนตามความเหมาะสมก็ได้
การมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนภายในประเทศนั้น
กองทุนจะต้องมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนไม่น้อยกว่าสองแห่ง
ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หรือผู้ได้รับอนุญาตจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน ทั้งนี้ โดยให้คำนึงถึงการกระจายความเสี่ยงด้วย
และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการหาประโยชน์ของกองทุนภายในประเทศ
ให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนมีหน้าที่และอยู่ในบังคับบทบัญญัติต่าง
ๆ ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หรือกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เสมือนหนึ่งกองทุนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคล
แล้วแต่กรณี
การมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนในต่างประเทศนั้น
กองทุนจะต้องมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนในต่างประเทศ
ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ
เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน
การให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนในประเทศหรือในต่างประเทศ
คุณสมบัติของผู้รับดำเนินการ วิธีดำเนินการ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๒
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๗๐
เงินของกองทุนนอกจากส่วนที่นำไปลงทุนตามแผนการลงทุนในวรรคสอง ให้ลงทุนได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง
ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบ
ยกเว้นเงินสำรองตามมาตรา ๗๒
ต้องนำไปลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจก่อน
กองทุนอาจจัดให้มีแผนการลงทุนสำหรับเงินที่อยู่ในบัญชีเงินรายบุคคลเฉพาะในส่วนของเงินสะสม
เงินสมทบ และดอกผลของเงินดังกล่าว ตามมาตรา ๗๑ (๓) เพื่อให้สมาชิกเลือก
โดยในแต่ละแผนอาจกำหนดให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงแตกต่างจากอัตราที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่งได้
การจัดให้มีแผนการลงทุน
การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุนแก่สมาชิก
และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๑๓
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๗๓
ดอกผลที่ได้จากการนำเงินของกองทุนในแต่ละบัญชีไปลงทุนหาผลประโยชน์ตามมาตรา
๗๐ เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามส่วนของการลงทุนในแต่ละบัญชีแล้ว
ดอกผลที่ได้จากการนำเงินสำรองไปลงทุนให้บันทึกไว้ในบัญชีเงินสำรอง ดอกผลที่ได้จากการนำเงินกองกลางไปลงทุนให้บันทึกไว้ในบัญชีเงินกองกลาง
ดอกผลที่ได้จากการนำเงินรายบุคคลไปลงทุนให้บันทึกไว้ในบัญชีรายบุคคล
สำหรับดอกผลที่ได้จากการนำเงินรายบุคคลในส่วนของเงินสะสม เงินสมทบ และดอกผลของเงินดังกล่าวไปลงทุนตามแผนการลงทุนให้บันทึกแยกตามผลประกอบการของแต่ละแผนการลงทุน
โดยให้จัดสรรผลประโยชน์ตอบแทนไว้ในบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกตามอัตราผลตอบแทนของแต่ละแผนการลงทุนที่เลือกไว้ตามสัดส่วนของเงินแยกต่างหากจากกัน ทั้งนี้ การคำนวณดอกผล ค่าใช้จ่ายและการจัดสรรผลประโยชน์ตอบแทน
ให้ทำเป็นประจำตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
สมาชิกไม่มีสิทธิเรียกร้องผลตอบแทนจากแผนการลงทุนอื่นที่สมาชิกมิได้เลือก
มาตรา ๑๔
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๗๓/๑
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๗๓/๑
ในกรณีที่ไม่มีการจ่ายเงินประเดิมหรือเงินชดเชยของสมาชิก
เพราะเหตุสมาชิกไม่มีสิทธิได้รับเนื่องจากการออกจากราชการ
หรือเพราะเหตุการรับบำเหน็จ หรือบำเหน็จตกทอด แล้วแต่กรณี
ให้กองทุนส่งเงินประเดิมหรือเงินชดเชยของสมาชิกรายนั้น
พร้อมดอกผลของเงินดังกล่าวคืนแก่กระทรวงการคลังโดยเร็ว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก
สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่การจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญ
และให้ผลประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ
รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก
และจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิกโดยกองทุนจะนำเงินไปลงทุนเพื่อหาผลประโยชน์ตอบแทนคืนสู่สมาชิก
แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ดังนั้น
เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินกิจการของกองทุนและเพื่อประโยชน์ของสมาชิก
สมควรกำหนดให้กองทุนสามารถดำเนินกิจการของกองทุนได้ทั้งในประเทศและในต่างประเทศ
โดยอาจมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการกองทุน
รวมทั้งสามารถจัดตั้งบริษัทจำกัด
เพื่อให้บริการแก่กองทุนหรือนิติบุคคลที่กองทุนเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละเจ็ดสิบห้าของหุ้นทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น
และให้สมาชิกสามารถส่งเงินสะสมเข้ากองทุนได้ตามความสามารถของแต่ละคน
รวมทั้งสามารถเลือกแผนการลงทุนในหลักทรัพย์ที่กองทุนจัดทำขึ้น
ซึ่งสมาชิกจะได้รับผลตอบแทนตามอัตราตอบแทนของแต่ละแผนการลงทุน นอกจากนั้น
สมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในกรณีที่กองทุนบริหารเงินของผู้ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินคืนแต่ยังไม่ขอรับเงินหรือทยอยขอรับเงินคืนและกรณีที่ผู้มีสิทธิรับเงินคืนขอโอนเงินไปยังกองทุนอื่น
รวมทั้งการส่งเงินประเดิมหรือเงินชดเชยคืนแก่กระทรวงการคลัง
ในกรณีที่ไม่มีการจ่ายเงินประเดิมหรือเงินชดเชย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๒๔ มกราคม ๒๕๕๑
กฤษดายุทธ/ปรับปรุง
๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
ปณตภร/ตรวจ
๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๑/๙ มกราคม ๒๕๕๑ |
306677 | พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 (Update ณ วันที่ 17/01/2549) | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน
พ.ศ. ๒๕๓๙
เป็นปีที่ ๕๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
เว้นแต่บทบัญญัติแห่งหมวด ๓
ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ในพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการ[๒] หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ
ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ
ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
ข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู
ข้าราชการรัฐสภาสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ
ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร
ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญตามกฎหมายว่าด้วยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และข้าราชการซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการส่วนท้องถิ่น[๓] หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน หรือผู้ปฏิบัติงาน
ซึ่งเรียกชื่ออย่างอื่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล
กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น
พนักงานมหาวิทยาลัย[๔] หมายความว่า พนักงาน บุคลากร หรือผู้ปฏิบัติงาน
ซึ่งเรียกชื่ออย่างอื่นของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษานั้น
ๆ แต่ไม่หมายความรวมถึงลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[๕] หมายความว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล
กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น
กองทุน หมายความว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
สมาชิก หมายความว่า
สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เงินเดือน หมายความว่า
เงินเดือนที่ได้รับตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการนั้น ๆ
รวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา
สำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ สำหรับการสู้รบ
หรือสำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิดแต่ไม่รวมถึงเงินเพิ่มอย่างอื่น
เงินสะสม หมายความว่า
เงินที่สมาชิกสะสมเข้ากองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
เงินสมทบ หมายความว่า
เงินที่รัฐบาลจ่ายสมทบเงินสะสมตามพระราชบัญญัตินี้
เงินประเดิม หมายความว่า
เงินที่รัฐบาลนำส่งเข้ากองทุนเพื่อจ่ายเพิ่มให้แก่สมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการอยู่ก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวด
๓ ใช้บังคับและเลือกรับบำนาญ
เงินชดเชย หมายความว่า
เงินที่รัฐบาลนำส่งเข้ากองทุนเพื่อจ่ายเพิ่มให้แก่สมาชิกซึ่งรับบำนาญ
บำนาญ หมายความว่า
เงินที่จ่ายให้แก่สมาชิกเป็นรายเดือนเมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง
บำเหน็จ หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่สมาชิก
โดยจ่ายให้ครั้งเดียวเมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง
บำเหน็จดำรงชีพ[๖] หมายความว่า
เงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับบำนาญเพื่อช่วยเหลือการดำรงชีพโดยจ่ายให้ครั้งเดียว
บำเหน็จตกทอด หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่ทายาทโดยจ่ายให้ครั้งเดียวในกรณีที่สมาชิกหรือผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
เวลาราชการ หมายความว่า
เวลาตั้งแต่วันที่สมาชิกเริ่มรับราชการจนถึงวันสุดท้ายที่ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
และให้หมายความรวมถึงการนับเวลาราชการเป็นทวีคูณตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการด้วย
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
กรรมการ หมายความว่า
กรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เลขาธิการ หมายความว่า
เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พนักงาน หมายความว่า
พนักงานของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ลูกจ้าง หมายความว่า
ลูกจ้างของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรี หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
กับออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
การจัดตั้งกองทุน และลักษณะของกิจการกองทุน
มาตรา ๕
ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรียกโดยย่อว่า กบข.
ให้กองทุนเป็นนิติบุคคล
มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(๑)
เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ
(๒)
เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก
(๓)
เพื่อจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิก
มาตรา ๖
กองทุนประกอบด้วยทรัพย์สินดังต่อไปนี้
(๑)
เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม และเงินชดเชย
(๒)
เงินที่ได้รับจัดสรรตามมาตรา ๗๒
(๓)
ทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
(๔)
เงินที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามความจำเป็นเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
(๕)
รายได้อื่น
(๖)
ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
มาตรา ๗
กิจการของกองทุนไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
และกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม
มาตรา ๘
ให้กองทุนมีสำนักงานใหญ่ ณ สถานที่ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
และจะตั้งสาขาหรือตัวแทนขึ้น ณ ที่อื่นใด ตามความจำเป็นก็ได้
มาตรา ๙
ให้กองทุนมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕
และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง
(๑)
ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ
(๒)
ก่อตั้งสิทธิหรือกระทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งในและนอกราชอาณาจักร
(๓)
ให้สมาชิกกู้ยืมเงิน
(๔)
ลงทุนหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุน
(๕)
กระทำการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
มาตรา ๑๐
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน
ให้จ่ายจากเงินของกองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๑๑
กองทุนไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
และรายได้ของกองทุนไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
หมวด ๒
การควบคุมและการบริหาร
มาตรา ๑๒
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง อธิบดีกรมบัญชีกลาง
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ผู้แทนสมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการตามมาตรา
๓ ประเภทละหนึ่งคนซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา ๑๓
และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสามคนซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา ๑๔ เป็นกรรมการ
ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ
คณะกรรมการอาจแต่งตั้งพนักงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการได้ไม่เกินสองคน
มาตรา ๑๓ การเลือกกรรมการผู้แทนสมาชิกตามมาตรา ๑๒
วรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา ๑๔
ให้ประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้แทนสมาชิกประชุมร่วมกัน
เพื่อเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
มาตรา ๑๕
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑)
ไม่เป็นบุคคลซึ่งทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐอื่นไล่ออก ปลดออก
ให้ออก หรือเลิกจ้างเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่าทุจริตต่อหน้าที่
(๒)
ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
มาตรา ๑๖
ให้กรรมการผู้แทนสมาชิกมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี
แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา ๑๗
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี แต่จะเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา ๑๘
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้แทนสมาชิก
หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
เป็นบุคคลล้มละลาย
(๔)
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕)
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๖)
พ้นจากการเป็นสมาชิกหรือพ้นจากการเป็นข้าราชการประเภทที่ตนได้รับเลือกเป็นผู้แทนในกรณีกรรมการผู้แทนสมาชิก
(๗)
มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๕ ในกรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
มาตรา ๑๙
ในกรณีที่กรรมการผู้แทนสมาชิกหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการขึ้นใหม่ภายในหกสิบวันในระหว่างที่ยังมิได้มีการเลือกกรรมการขึ้นใหม่
ให้กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไป
จนกว่ากรรมการที่ได้รับเลือกใหม่เข้ารับหน้าที่
มาตรา ๒๐
ในกรณีที่กรรมการผู้แทนสมาชิกผู้ใดพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระให้ผู้ซึ่งได้คะแนนถัดไปซึ่งขึ้นบัญชีไว้ในการเลือกผู้แทนสมาชิกของข้าราชการประเภทนั้นเป็นกรรมการแทน
ในกรณีที่ไม่มีผู้ขึ้นบัญชีไว้ ให้ดำเนินการเลือกกรรมการผู้แทนสมาชิกประเภทนั้นขึ้นใหม่ตามวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นแทนตามมาตรา ๑๔
ให้กรรมการผู้ได้รับการแต่งตั้งหรือเลือกให้ดำรงตำแหน่งแทนตามวรรคหนึ่ง
และวรรคสอง อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่วาระการดำรงตำแหน่งเหลืออยู่ไม่ถึงสามสิบวัน
จะไม่แต่งตั้งหรือเลือกกรรมการขึ้นดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
มาตรา ๒๑
ให้ประธานกรรมการและกรรมการตามมาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง
แต่งตั้งเลขาธิการจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑)
มีสัญชาติไทย
(๒)
มีอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์
(๓)
สามารถปฏิบัติงานให้แก่กองทุนได้เต็มเวลา
(๔)
ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
(๕)
ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(๖)
ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น
รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
(๗)
ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษา
หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
(๘)
ไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้จัดการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
(๙)
ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับกองทุน หรือในกิจการที่กระทำให้แก่กองทุน ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม
เว้นแต่เป็นผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายให้เป็นกรรมการในบริษัทที่กองทุนเป็นผู้ถือหุ้น
มาตรา ๒๒
การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
และการกำหนดเงื่อนไขในการทดลองปฏิบัติงานหรือการทำงานในหน้าที่เลขาธิการ
ให้เป็นไปตามสัญญาจ้างที่คณะกรรมการกำหนด โดยให้มีอายุการจ้างคราวละไม่เกินสี่ปี
และเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาจ้างแล้วคณะกรรมการจะต่ออายุสัญญาจ้างอีกก็ได้
การทำสัญญาจ้างเลขาธิการ
ให้ประธานกรรมการเป็นผู้มีอำนาจทำสัญญาในนามของกองทุน
ให้เลขาธิการได้รับเงินค่าจ้าง
ค่าตอบแทนและเงินอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๒๓
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามอายุการจ้าง เลขาธิการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑
(๔)
คณะกรรมการมีมติเห็นสมควรให้เลิกจ้าง
มาตรา ๒๔
ให้เลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง และรับผิดชอบในการบริหารกิจการของกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนและตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายที่คณะกรรมการกำหนด
เลขาธิการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการบริหารกิจการของกองทุน
มาตรา ๒๕
ในกิจการของกองทุนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้เลขาธิการเป็นผู้แทนของกองทุน การปฏิบัติงานของเลขาธิการและการมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนเลขาธิการให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด
นิติกรรมที่กระทำโดยฝ่าฝืนข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง
ย่อมไม่ผูกพันกองทุนเว้นแต่คณะกรรมการจะให้สัตยาบัน
มาตรา ๒๖
ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดนโยบาย และออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งในการบริหารกิจการของกองทุน
(๒)
กำหนดนโยบายการลงทุนของกองทุน ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๓)
กำกับดูแลการจัดการกองทุน
(๔)
ออกข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติงานของเลขาธิการ และการมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนเลขาธิการ
(๕)
กำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสำนักงาน
และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวกับกิจการของกองทุน
(๖)
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการรับ เก็บรักษา และจ่ายเงินของกองทุน
(๗)
ออกระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การบรรจุ แต่งตั้ง
ถอดถอน และวินัยของพนักงานและลูกจ้าง ตลอดจนการกำหนดเงินเดือนและเงินอื่น
รวมถึงการสงเคราะห์และสวัสดิการ
(๘)
พิจารณามอบหมายให้สถาบันการเงินจัดการเงินของกองทุน
(๙)
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
(๑๐)
แต่งตั้งผู้แทนเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนน
ในการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทหรือหน่วยงานอื่นใดที่กองทุนถือหุ้นอยู่
(๑๑)
ปฏิบัติงานอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๗
การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมของคณะกรรมการ
ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมากกรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
การออกเสียงลงมติแต่งตั้งหรือเลิกจ้างเลขาธิการต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่อยู่ในตำแหน่ง
มาตรา ๒๘
กรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณา
ห้ามมิให้เข้าร่วมพิจารณาในเรื่องนั้น
มาตรา ๒๙
ให้กรรมการและอนุกรรมการได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๓๐
ให้มีคณะอนุกรรมการจัดการลงทุน ประกอบด้วย
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นประธานอนุกรรมการ
ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คนซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้ง
เป็นอนุกรรมการ และเลขาธิการเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
มาตรา ๓๑
ให้คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการลงทุนต่อคณะกรรมการ
(๒)
ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกสถาบันการเงินที่จะมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุน
(๓)
ติดตามดูแลการดำเนินงานของสถาบันการเงินที่ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุน
(๔)
รายงานผลการดำเนินการด้านการลงทุนและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการ
(๕)
ปฏิบัติการในเรื่องอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๓๒
ให้มีคณะอนุกรรมการสมาชิกสัมพันธ์ ประกอบด้วยเลขาธิการ ก.พ.
เป็นประธานอนุกรรมการ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนกรมประชาสัมพันธ์
และผู้แทนสมาชิกจำนวนห้าคนเป็นอนุกรรมการ
และให้เลขาธิการเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
การเลือกผู้แทนสมาชิกตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๓๓
ให้คณะอนุกรรมการสมาชิกสัมพันธ์มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นสื่อกลางระหว่างกองทุนกับสมาชิก ตลอดจนเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่สมาชิก
(๒)
เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร และรายงานความคืบหน้าของการจัดการกองทุน
(๓)
รับฟังความคิดเห็นและปัญหาต่าง ๆ จากสมาชิก
(๔)
พิจารณาเสนอแนะต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิก
(๕)
ปฏิบัติการในเรื่องอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๓๔
ให้นำมาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๒๘
มาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
และการประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
หมวด ๓
สมาชิกและสิทธิประโยชน์ของสมาชิก
มาตรา ๓๕
ให้บุคคลต่อไปนี้ เป็นสมาชิก
(๑)
ผู้ซึ่งเข้ารับราชการตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
(๒)
ผู้ซึ่งโอนมาเป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
มาตรา ๓๖
บุคคลต่อไปนี้จะสมัครเป็นสมาชิกก็ได้
(๑)
ข้าราชการซึ่งรับราชการอยู่ในวันก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
(๒)
ข้าราชการซึ่งออกจากราชการเพื่อไปปฏิบัติงานตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ
ก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับและกลับเข้ารับราชการตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
การสมัครเป็นสมาชิกให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา
๓๗[๗] บำเหน็จบำนาญ บำเหน็จดำรงชีพ
และบำเหน็จตกทอด ให้จ่ายจากเงินงบประมาณ สำหรับเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม
เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวให้จ่ายจากกองทุน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๘
ข้าราชการซึ่งออกจากราชการ
ถ้ากลับเข้ารับราชการใหม่ตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
ให้นับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการในตอนหลังได้
เว้นแต่ข้าราชการผู้นั้นถูกปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ
เนื่องจากกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงและไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยหวัด
บำเหน็จบำนาญจากการรับราชการตอนก่อนออกจากราชการ
ข้าราชการซึ่งได้รับบำเหน็จไปแล้ว
จะนับเวลาราชการต่อเนื่องตามวรรคหนึ่งได้จะต้องคืนบำเหน็จที่ได้รับพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝากประจำของธนาคารออมสิน
ส่วนระยะเวลาในการคืนบำเหน็จให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
ข้าราชการซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติแล้ว
ให้งดการจ่ายบำนาญตลอดเวลาที่กลับเข้ารับราชการใหม่นั้น
แต่ถ้าผู้นั้นประสงค์จะรับบำนาญต่อไป จะต้องมีหนังสือแจ้งความประสงค์ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดที่ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันกลับเข้ารับราชการ
และจะนับเวลาราชการต่อเนื่องมิได้
กรณีนี้ถ้าเงินเดือนที่ได้รับในขณะกลับเข้ารับราชการใหม่เท่าหรือสูงกว่าเงินเดือนเดิมเมื่อออกจากราชการให้งดการจ่ายบำนาญ
แต่ถ้าเงินเดือนใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิมให้รับบำนาญเท่ากับผลต่างของเงินเดือนใหม่และเงินเดือนเดิม
โดยให้ส่วนราชการที่ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่แจ้งไปยังเจ้าสังกัดที่ผู้นั้นรับบำนาญอยู่เพื่องดหรือลดการจ่ายบำนาญ
เมื่อออกจากราชการให้มีสิทธิได้รับบำนาญโดยคำนวณจากเงินเดือน
และเวลาราชการในตอนใหม่บวกเข้ากับบำนาญเดิม
บำนาญในตอนหลังจะเปลี่ยนเป็นขอรับบำเหน็จแทนก็ได้
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้
ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่อาจมีสิทธิได้รับเงินประเดิมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ความในมาตรานี้ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการประเภทต่าง
ๆ ตามคำนิยามในมาตรา ๓ โดยอนุโลม
มาตรา ๓๙
ให้สมาชิกส่งเงินสะสมเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
เว้นแต่สมาชิกซึ่งรับราชการอยู่ก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนหรือไม่ก็ได้
ถ้าสมาชิกไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนหรือได้รับเงินเดือนไม่เต็มจำนวนสำหรับระยะเวลาใด
ให้ส่งเงินสะสมตามส่วนแห่งเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับ
เงินสะสมตามวรรคหนึ่ง
ให้ส่วนราชการหักจากเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับและส่งเข้ากองทุนในวันที่มีการจ่ายเงินเดือน
และให้ส่วนราชการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนให้สมาชิกผู้นั้นในจำนวนที่เท่ากันพร้อมการส่งเงินสะสมนั้น
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้
เงินเดือนไม่รวมถึงเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา
สำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ สำหรับการสู้รบ
สำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิด หรือเงินเพิ่มอย่างอื่น
มาตรา ๔๐
ให้กระทรวงการคลังคำนวณเงินประเดิมสำหรับสมาชิกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อนำส่งเข้ากองทุน
การส่งเงินประเดิมตามวรรคหนึ่ง
ให้จ่ายจากเงินคงคลัง
มาตรา ๔๑
ให้ส่วนราชการส่งเงินชดเชยเข้ากองทุนให้แก่สมาชิกตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
ทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินเดือนให้แก่สมาชิก ในการนี้ให้นำมาตรา ๓๙ วรรคสี่
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ถ้าสมาชิกไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนหรือได้รับเงินเดือนไม่เต็มจำนวนสำหรับระยะเวลาใด
ให้ส่งเงินชดเชยตามส่วนแห่งเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับ
มาตรา ๔๒
สมาชิกมีสิทธิได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นจากกองทุนตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๓
สมาชิกมีสิทธิกู้เงินจากกองทุนไม่เกินจำนวนเงินสะสม เงินสมทบ
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่บันทึกไว้ในบัญชีเงินรายบุคคลเพื่อใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์
หลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๔
สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่อผู้นั้นออกจากราชการ
เว้นแต่เป็นการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการนั้น ๆ
หรือการออกจากราชการของผู้ไปปฏิบัติงานตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ
มาตรา ๔๕
สมาชิกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง
มาตรา ๔๖
สมาชิกซึ่งส่งเงินสะสมเข้ากองทุน ให้มีสิทธิได้รับเงินสะสม เงินสมทบ
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวจากกองทุน
มาตรา ๔๗
สมาชิกซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่สิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป
แต่ไม่ถึงยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จ
มาตรา ๔๘
สมาชิกตามมาตรา ๓๕
ซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไปให้มีสิทธิได้รับบำนาญ เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว เว้นแต่จะเลือกรับบำเหน็จแทน
สำหรับสมาชิกตามมาตรา
๓๖ (๑) หรือ (๒) ซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไป
ให้มีสิทธิได้รับบำนาญ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว
เว้นแต่จะเลือกรับบำเหน็จแทน
มาตรา ๔๙
นอกจากกรณีที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘
สมาชิกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑)
เหตุทุพพลภาพ
(๒)
เหตุทดแทน
(๓)
เหตุสูงอายุ
มาตรา ๕๐
บำเหน็จบำนาญเหตุทุพพลภาพให้จ่ายให้แก่สมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะป่วยเจ็บทุพพลภาพ
ซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่า
ไม่สามารถที่จะรับราชการในตำแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นต่อไปได้
มาตรา ๕๑
บำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนให้จ่ายให้แก่สมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่ง
หรือมีคำสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิด หรือทหารซึ่งออกจากกองหนุนเบี้ยหวัด
มาตรา ๕๒
บำเหน็จบำนาญเหตุสูงอายุให้จ่ายให้แก่สมาชิกซึ่งออกจากราชการเมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้ว
หรือลาออกเมื่อมีอายุครบห้าสิบปีบริบูรณ์แล้ว
มาตรา ๕๓
สมาชิกซึ่งมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญด้วยเหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน
หรือเหตุสูงอายุ จะได้รับเงินตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑)
ถ้ามีเวลาราชการตั้งแต่หนึ่งปีบริบูรณ์ขึ้นไปแต่ไม่ถึงสิบปีบริบูรณ์มีสิทธิได้รับบำเหน็จ
(๒)
ถ้ามีเวลาราชการตั้งแต่สิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป
(ก)
สมาชิกตามมาตรา ๓๕ ให้มีสิทธิตามมาตรา ๔๘ วรรคหนึ่ง
(ข)
สมาชิกตามมาตรา ๓๖ (๑) หรือ (๒) ให้มีสิทธิตามมาตรา ๔๘ วรรคสอง
มาตรา ๕๔
สมาชิกซึ่งถูกไล่ออกจากราชการ หรือถึงแก่ความตาย เนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนเอง
ผู้นั้นหรือทายาทไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว
มาตรา ๕๕
สิทธิในการรับบำนาญให้เริ่มมีตั้งแต่เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงจนกระทั่งผู้นั้นถึงแก่ความตาย
มาตรา ๕๖
ผู้รับบำนาญผู้ใด
(๑)
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือ
(๒)
เป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
ผู้นั้นหมดสิทธิรับบำนาญตั้งแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด
มาตรา ๕๗
ให้ผู้รับบำนาญตามพระราชบัญญัตินี้มีสิทธิได้รับสวัสดิการและเงินช่วยเหลือต่าง
ๆ เช่นเดียวกับผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
มาตรา
๕๗/๑[๘]
ผู้รับบำนาญมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพตามอัตราและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
แต่ต้องไม่เกินสิบห้าเท่าของบำนาญรายเดือนที่ผู้นั้นได้รับ
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญเป็นผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการด้วย
ให้นำบำนาญและบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพรวมเป็นบำนาญรายเดือนเพื่อคำนวณจ่ายเป็นบำเหน็จดำรงชีพแก่ผู้นั้น
เมื่อได้รับบำเหน็จดำรงชีพแล้ว
ผู้รับบำนาญไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จดำรงชีพอีกถ้าภายหลังผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่และได้ออกจากราชการในครั้งหลังโดยเลือกรับบำนาญ
ผู้รับบำนาญผู้ใดได้รับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้ว
ถ้าภายหลังผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่
โดยมีสิทธินับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการในตอนหลังตามมาตรา
๓๘ และเมื่อออกจากราชการในครั้งหลังโดยเลือกรับบำเหน็จ
การจ่ายบำเหน็จในกรณีเช่นว่านี้
ให้หักเงินออกจากบำเหน็จที่จะได้รับเท่ากับเงินบำเหน็จดำรงชีพเสียก่อน
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญได้แสดงเจตนาขอรับบำเหน็จดำรงชีพไว้แล้ว
แต่ได้ถึงแก่ความตายก่อนได้รับเงินบำเหน็จดำรงชีพ
ให้การจ่ายเงินดังกล่าวเป็นอันระงับไป
มาตรา ๕๘
ในกรณีที่สมาชิกผู้ใดถึงแก่ความตายในระหว่างรับราชการและความตายนั้นมิได้เกิดขึ้นเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนเอง
หรือในกรณีที่ผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
ให้จ่ายบำเหน็จตกทอดแก่ทายาทของสมาชิกหรือผู้รับบำนาญตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑)
บุตรให้ได้รับสองส่วน ถ้าสมาชิกผู้ตายมีบุตรตั้งแต่สามคนขึ้นไปให้ได้รับสามส่วน
(๒)
สามีหรือภริยาให้ได้รับหนึ่งส่วน
(๓)
บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ให้ได้รับหนึ่งส่วน
ในกรณีที่ไม่มีทายาทในอนุมาตราใด
หรือทายาทนั้นได้ตายไปเสียก่อนให้แบ่งเงินดังกล่าวระหว่างทายาทผู้มีสิทธิในอนุมาตราที่มีทายาทผู้มีสิทธิได้รับ
ในกรณีที่ไม่มีทายาททั้งสามอนุมาตราดังกล่าว
ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายแสดงเจตนาไว้ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
ในกรณีที่ไม่มีทายาทและบุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ตามวรรคสาม
หรือบุคคลนั้นได้ตายไปก่อน ให้สิทธิในบำเหน็จตกทอดนั้นเป็นอันยุติลง
ในกรณีที่ได้มีการจ่ายบำเหน็จตกทอดไปแล้วหากปรากฏว่ามีบุตรซึ่งได้มีคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย
ซึ่งได้มีการฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรก่อนหรือภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่บิดาตายหรือนับแต่วันที่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของบิดาเพิ่มขึ้น
ให้แบ่งบำเหน็จตกทอดนั้นใหม่ระหว่างทายาทผู้มีสิทธิโดยถือว่าบุตรชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษานั้นเป็นทายาทผู้มีสิทธิตั้งแต่วันตาย
ในกรณีเช่นนี้ให้กระทรวงการคลังเรียกคืนบำเหน็จตกทอดจากทายาทซึ่งรับบำเหน็จตกทอดไปก่อนแล้วตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด
ในกรณีที่ไม่สามารถเรียกคืนบำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้ทายาทซึ่งรับเกินไปในส่วนของตนตามวรรคห้าได้
กระทรวงการคลังไม่ต้องรับผิดชอบจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดให้แก่บุตรซึ่งได้มีคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายย้อนหลังไปถึงวันเกิดสิทธิรับบำเหน็จตกทอดแต่อย่างใด
มาตรา ๕๙
ในกรณีที่สมาชิกผู้ถึงแก่ความตายได้ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนให้จ่ายเงินสะสม
เงินสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวแก่ผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๖๐
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
นอกจากทายาทจะมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดตามมาตรา ๕๘ แล้ว
ให้มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ
บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกันด้วย
มาตรา ๖๑
สิทธิการรับเงินต่าง ๆ
ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่อาจโอนแก่กันได้
มาตรา ๖๒
การคำนวณบำเหน็จให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการ
มาตรา ๖๓
การคำนวณบำนาญให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการ
หารด้วยห้าสิบ
แต่ต้องไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้าย
การคำนวณบำนาญของผู้กลับเข้ารับราชการใหม่ตามมาตรา
๓๘ หากเวลาราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ยังไม่ครบห้าปีอัตราเงินเดือนเฉลี่ยที่จะนำมาคำนวณบำนาญให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๖๔
บำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้แก่ทายาทของสมาชิก
ให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการของผู้ตาย
มาตรา ๖๕
บำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้แก่ทายาทของผู้รับบำนาญ
ให้จ่ายสามสิบเท่าของอัตราบำนาญที่ผู้ตายมีสิทธิได้รับ
ในกรณีที่ได้มีการรับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้ว
เมื่อผู้รับบำนาญถึงแก่ความตายการจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดตามวรรคหนึ่ง
ให้หักเงินออกจากบำเหน็จตกทอดที่จะได้รับเท่ากับเงินบำเหน็จดำรงชีพเสียก่อน[๙]
มาตรา ๖๖
การนับเวลาราชการเพื่อให้เกิดสิทธิรับบำเหน็จบำนาญให้นับจำนวนปี
เศษของปีถ้าถึงครึ่งปีให้นับเป็นหนึ่งปี
การนับเวลาราชการเพื่อคำนวณจำนวนบำเหน็จบำนาญให้นับจำนวนปีรวมทั้งเศษของปีด้วย
การนับเศษของปีซึ่งเป็นเดือนหรือวันให้คำนวณตามวิธีการจ่ายเงินเดือนและให้นับสิบสองเดือนเป็นหนึ่งปี
สำหรับจำนวนวันถ้ามีรวมกันหลายระยะให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน
มาตรา ๖๗
เมื่อมีผู้ยื่นคำขอรับเงินตามมาตรา ๔๕
ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดที่ได้รับคำขอนั้นตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินสะสม
เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวของผู้ยื่นคำขอ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จและแจ้งให้กองทุนทราบภายในสิบห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้รับคำขอรับเงินดังกล่าว
เว้นแต่กรณีที่มีเหตุอันสมควร
การจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่ง
ให้กองทุนจ่ายภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากส่วนราชการเจ้าสังกัด
มาตรา ๖๘
ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๙
การหาประโยชน์ของกองทุน ให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการ
และจะมอบหมายให้บุคคลใดดำเนินการแทนตามความเหมาะสมก็ได้
แต่การมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้นจะต้องมอบหมายให้สถาบันการเงินที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนไม่น้อยกว่าสองแห่ง
ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือผู้ได้รับอนุญาตจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน ทั้งนี้ โดยให้คำนึงถึงการกระจายความเสี่ยงด้วย
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการหาประโยชน์ของกองทุนตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนมีหน้าที่และอยู่ในบังคับบทบัญญัติต่าง
ๆ
ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เสมือนหนึ่งกองทุนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคล
แล้วแต่กรณี
การให้สถาบันการเงินเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนตามวรรคหนึ่ง
คุณสมบัติของผู้รับดำเนินการ วิธีดำเนินการ
และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๗๐
เงินของกองทุนให้ลงทุนได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง
ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบ
ยกเว้นเงินสำรองตามมาตรา ๗๒
ต้องนำไปลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจก่อน
หมวด ๓/๑
การรับข้าราชการซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นเป็นสมาชิก[๑๐]
มาตรา ๗๐/๑[๑๑]
ในกรณีที่มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ให้สมาชิกซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
ยังคงมีสมาชิกภาพของสมาชิกต่อไป
ให้นำบทบัญญัติในหมวด
๓ ว่าด้วยสมาชิกและสิทธิประโยชน์ของสมาชิกมาใช้บังคับกับสมาชิกตามหมวดนี้โดยอนุโลม
เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งหมวดนี้
มาตรา ๗๐/๒[๑๒] ในกรณีที่สมาชิกตามมาตรา ๗๐/๑
ได้เคยเป็นข้าราชการและสมาชิกมาก่อนที่จะโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น
ให้สมาชิกผู้นั้นมีสมาชิกภาพต่อเนื่องกับสมาชิกภาพเดิมได้ ในการนี้
ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญปกติ บำเหน็จตกทอด เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม
เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว แล้วแต่กรณี ต่อเนื่องจากสิทธิที่เคยมีอยู่เดิมต่อไป
และให้นับเวลาราชการต่อเนื่องกับการเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๘
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
เว้นแต่บำเหน็จดำรงชีพและบำเหน็จบำนาญพิเศษให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๗๐/๓[๑๓] การส่งเงินสะสมเข้ากองทุนของสมาชิกตามมาตรา
๗๐/๑ และการส่งเงินสมทบและเงินชดเชยเข้ากองทุน ให้นำมาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๑
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๗๐/๔[๑๔] บำเหน็จบำนาญของสมาชิกตามมาตรา ๗๐/๑
ให้จ่ายจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
การคำนวณบำเหน็จบำนาญ
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
การขอรับบำเหน็จบำนาญให้นำระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๗๐/๕[๑๕] การดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
ในส่วนที่กล่าวถึงส่วนราชการให้หมายความรวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย
หมวด ๓/๒
การรับพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเป็นสมาชิก[๑๖]
มาตรา ๗๐/๖[๑๗]
ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ
ให้สมาชิกซึ่งเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยและประสงค์จะเป็นสมาชิกตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
ยังคงมีสมาชิกภาพของสมาชิกต่อไป
ให้นำบทบัญญัติในหมวด
๓ ว่าด้วยสมาชิกและสิทธิประโยชน์ของสมาชิกมาใช้บังคับกับสมาชิกตามหมวดนี้โดยอนุโลม
เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งหมวดนี้
มาตรา ๗๐/๗[๑๘] ในกรณีที่สมาชิกตามมาตรา ๗๐/๖
ได้เคยเป็นข้าราชการและสมาชิกมาก่อนที่จะเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย
ให้สมาชิกผู้นั้นมีสมาชิกภาพต่อเนื่องกับสมาชิกภาพเดิมได้ ในการนี้
ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญปกติ บำเหน็จดำรงชีพ บำเหน็จตกทอด เงินสะสม เงินสมทบ
เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว แล้วแต่กรณี ต่อเนื่องจากสิทธิที่เคยมีอยู่เดิมต่อไป
และให้นับเวลาราชการต่อเนื่องกับการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๘
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๗๐/๘[๑๙] ให้สมาชิกตามมาตรา ๗๐/๖
ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนโดยคำนวณตามบัญชีอัตราเงินเดือนและตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
แต่ทั้งนี้ การส่งเงินสะสมดังกล่าวจะต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินเดือน
เงินสะสมตามวรรคหนึ่ง
ให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐที่สมาชิกผู้นั้นสังกัดหักส่งและจ่ายสมทบในจำนวนที่เท่ากับอัตราเงินสะสมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
พร้อมการส่งเงินสะสมนั้น
ให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐที่สมาชิกผู้นั้นสังกัดส่งเงินชดเชยเข้ากองทุน
โดยคำนวณตามบัญชีอัตราเงินเดือนตามวรรคหนึ่ง และตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๗๐/๙[๒๐]
ให้คำนวณบำเหน็จบำนาญโดยนำบัญชีอัตราเงินเดือนตามมาตรา ๗๐/๘ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับ
การจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญ
บำเหน็จดำรงชีพ และบำเหน็จตกทอด
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
หมวด ๔
การเงิน การบัญชี
และการตรวจสอบ
มาตรา ๗๑
ให้กองทุนจัดให้มีบัญชี ประกอบด้วย
(๑)
บัญชีเงินสำรองซึ่งแสดงรายการเงินสำรอง และดอกผลของเงินดังกล่าว
(๒)
บัญชีเงินกองกลางซึ่งแสดงรายการเงินที่มีผู้บริจาคให้ เงินตามบัญชี
เงินรายบุคคลที่ไม่มีผู้รับ เงินส่วนกลางที่มิใช่ของสมาชิกคนใด
และดอกผลของเงินดังกล่าว
(๓)
บัญชีเงินรายบุคคลซึ่งแสดงรายการเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และดอกผลของเงินดังกล่าวบรรดาที่เป็นของสมาชิกแต่ละคน
มาตรา ๗๒
ให้รัฐตั้งงบประมาณรายจ่ายเป็นรายปีเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำปีเข้าบัญชีเงินสำรองทุกปีจนกว่าเงินสำรอง
เงินกองกลาง และดอกผลของเงินดังกล่าวจะมีจำนวนสามเท่าของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำปี
หลังจากนั้นให้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อให้เงินสำรอง เงินกองกลาง
และดอกผลของเงินดังกล่าวคงระดับสามเท่าของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการในแต่ละปี
และถ้าเงินสำรอง เงินกองกลาง และดอกผลของเงินดังกล่าวมีจำนวนเกินสามเท่าของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำปี
ให้นำเงินส่วนที่เกินนั้นส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
ในกรณีเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศ
รัฐอาจสั่งให้กองทุนส่งเงินออกจากบัญชีเงินสำรองกลับคืนเป็นรายได้แผ่นดินเพื่อจ่ายเป็นบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
แต่รัฐจะต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยส่วนของเงินดังกล่าวที่นำไปใช้ส่งคืนกองทุนในปีงบประมาณถัดไป
มาตรา ๗๓
ดอกผลที่ได้จากการนำเงินของกองทุนในแต่ละบัญชีไปลงทุนหาผลประโยชน์
เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามส่วนของการลงทุนในแต่ละบัญชีแล้ว
ดอกผลที่ได้จากการนำเงินสำรองไปลงทุนให้บันทึกไว้ในบัญชีเงินสำรอง
สำหรับดอกผลที่ได้จากการนำเงินอื่นไปลงทุนให้จัดสรรเป็นผลประโยชน์ตอบแทนไว้ในบัญชีเงินกองกลางและบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกตามสัดส่วนของเงินที่มีอยู่ในแต่ละบัญชีเป็นประจำตามระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๗๔
ให้กองทุนแจ้งยอดเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม และเงินชดเชย
พร้อมทั้งผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวในส่วนของสมาชิกแต่ละคนให้สมาชิกทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา ๗๕
ให้กองทุนยื่นรายงานแสดงการจัดการกองทุนต่อรัฐมนตรีอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๗๖
กองทุนต้องวางและถือไว้ซึ่งระบบการบัญชีที่เหมาะสมแก่กิจการแยกตามประเภทงานส่วนที่สำคัญ
มีสมุดบัญชีลงรายการรับและจ่ายเงินสินทรัพย์และหนี้สินที่แสดงกิจการที่เป็นอยู่ตามความจริงและตามที่ควร
ตามประเภทงาน พร้อมด้วยข้อความอันเป็นที่มาของรายการนั้น ๆ
และให้มีการตรวจสอบบัญชีภายในเป็นประจำ
มาตรา ๗๗
กองทุนต้องจัดทำงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน
ส่งผู้สอบบัญชีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
มาตรา ๗๘
ทุกปีให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีทำการตรวจสอบรับรองบัญชีทุกประเภทของกองทุน
มาตรา ๗๙
ผู้สอบบัญชีมีอำนาจตรวจสอบสรรพสมุด บัญชี และเอกสารหลักฐานของกองทุน
เพื่อการนี้ให้มีอำนาจสอบถามประธานกรรมการ กรรมการ พนักงานและลูกจ้างได้
มาตรา ๘๐
ผู้สอบบัญชีต้องทำรายงานผลการสอบบัญชีของกองทุนเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการ
มาตรา ๘๑
กองทุนต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
เพื่อพิจารณารายงานผลการดำเนินงาน ฐานะการเงินและการรับจ่ายเงินของกองทุน
การประชุมใหญ่และการเลือกผู้แทนสมาชิกตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด
ให้ที่ประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกมีอำนาจแสดงข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนต่อคณะกรรมการ
มาตรา ๘๒
เมื่อได้รับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนจากที่ประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกแล้ว
ให้คณะกรรมการทำรายงานการสอบบัญชีพร้อมทั้งข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี
และประกาศรายงานการสอบบัญชีในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
หมวด ๕
การควบคุมกำกับการจัดการกองทุน
มาตรา ๘๓
ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน
กรรมการ ผู้จัดการ
หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนภายในระยะเวลาที่กำหนด
ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนไม่ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
หรือปรากฏว่าผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนจัดการกองทุนในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน
ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนแก้ไขหรือระงับการกระทำนั้น
หรือสั่งยกเลิกการมอบหมายให้เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นได้
มาตรา ๘๔
ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับและดูแลโดยทั่วไป ซึ่งการจัดการกองทุน
เพื่อประโยชน์ในการนี้จะสั่งแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนก็ได้
และให้รัฐมนตรีแจ้งให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายงานให้รัฐมนตรีทราบด้วย
ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นว่า
ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน
จัดการกองทุนในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน รัฐมนตรีอาจขอให้คณะกรรมการพิจารณาดำเนินการตามมาตรา
๘๓ วรรคสอง
มาตรา ๘๕
เมื่อได้รับคำสั่งตามมาตรา ๘๓ วรรคสองแล้ว
ให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนหยุดจัดการกองทุนในทันที
และส่งมอบทรัพย์สินคืนภายในเวลาที่กำหนดในคำสั่งนั้น
มาตรา ๘๖
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่
มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑)
เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจหรือสถานที่ตั้งของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้นเพื่อตรวจสอบสมุดบัญชีหรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการจัดการกองทุน
(๒)
ยึดหรืออายัดเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนข้อเท็จจริงหรือดำเนินคดี
(๓)
สั่งให้กรรมการ ผู้จัดการ
พนักงานหรือลูกจ้างของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนมาให้ถ้อยคำหรือส่งสำเนาหรือแสดงสมุดบัญชี
หรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการจัดการกองทุน
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง
ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
เมื่อได้เข้าไปและลงมือทำการตรวจสอบตาม
(๑) แล้ว ถ้ายังดำเนินการไม่เสร็จ จะกระทำต่อไปในเวลากลางคืนหรือนอกเวลาทำการของสถานที่นั้นก็ได้
มาตรา ๘๗
ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘๘
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๖
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๘๙
ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๕
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนบาท
จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง
กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นด้วย
มาตรา ๙๐
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา
๘๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙๑
กรรมการ ผู้จัดการ
หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนรายใดแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริง
ซึ่งควรบอกให้แจ้งในสาระสำคัญเกี่ยวกับการจัดการกองทุนต่อคณะกรรมการต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
หรือปรับไม่เกินสองล้านห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙๒
ความผิดตามมาตรา ๘๙ และมาตรา ๙๐ ให้คณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบได้
เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว
ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ
หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ดำเนินคดีต่อไป
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๙๓
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการผู้แทนสมาชิกและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
และแต่งตั้งเลขาธิการเพื่อให้ได้คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้
ภายในสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วยปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นกรรมการ
และอธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นกรรมการและเลขานุการ
ทำหน้าที่คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
และให้อธิบดีกรมบัญชีกลางทำหน้าที่เลขาธิการ
เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน
ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
อธิบดีกรมบัญชีกลางอาจแต่งตั้งบุคคลใดเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
บรรหาร ศิลปอาชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่ให้รัฐต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำทุกปี
โดยไม่มีการกันเงินสำรองไว้ล่วงหน้าสำหรับจ่ายบำเหน็จบำนาญในอนาคตนั้น
ไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเงินการคลังของประเทศในปัจจุบัน
ทำให้ไม่อาจวางแผนเชิงบริหารการเงินการคลังของประเทศในระยะยาวและไม่อาจวางแผนพัฒนาบุคลากรของรัฐได้ดังนั้นสมควรปรับปรุงระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการดังกล่าวเสียใหม่โดยจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการขึ้นมีฐานะเป็นนิติบุคคล
เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ
และเพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ และจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่ข้าราชการที่เป็นสมาชิกของกองทุน
รวมทั้งให้เป็นสถาบันเงินออมที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเงินออมภายในประเทศ
และการส่งเสริมการลงทุนอันเป็นการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยส่วนรวมอีกด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒[๒๑]
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระ
ซึ่งได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดตั้งสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นหน่วยธุรการของศาลรัฐธรรมนูญ
มีฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระโดยบุคลากรมีฐานะเป็นข้าราชการ ฉะนั้น
เพื่อให้ข้าราชการเหล่านั้นได้รับสิทธิในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
รวมทั้งข้าราชการของส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระอื่น ๆ
ที่จะมีการจัดตั้งขึ้นด้วย สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า ข้าราชการ ในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ให้มีความหมายรวมถึงข้าราชการดังกล่าว
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖[๒๒]
มาตรา
๗
ผู้รับบำนาญซึ่งได้รับบำนาญอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จดำรงชีพตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ด้วย
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงเป็นอันมาก
อันมีผลกระทบต่อการดำรงชีพของข้าราชการบำนาญซึ่งได้รับบำนาญเป็นรายเดือนในจำนวนที่คงที่ ดังนั้น
เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้รับบำนาญให้สามารถดำรงชีพอย่างเหมาะสมและพอเพียงกับเศรษฐกิจในปัจจุบัน
สมควรกำหนดให้ผู้รับบำนาญมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพจำนวนหนึ่งในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่
โดยเงินจำนวนที่ได้รับดังกล่าวจะนำไปหักออกจากบำเหน็จตกทอดซึ่งจะจ่ายให้แก่ทายาทหรือบุคคลที่ผู้รับบำนาญได้แสดงเจตนาให้เป็นผู้มีสิทธิที่จะได้รับตามกฎหมายเมื่อผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้เป็นการนำเงินที่รัฐจะต้องจัดสรรเป็นงบประมาณรายจ่ายอยู่แล้วในอนาคตมาจ่ายให้แก่ผู้รับบำนาญส่วนหนึ่งก่อน
โดยมิได้เป็นการเพิ่มภาระงบประมาณรายจ่ายของรัฐแต่อย่างใด จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙[๒๓]
มาตรา
๕
ข้าราชการซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นเพราะมีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวด
๓/๑ ใช้บังคับ ถ้าก่อนโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้นั้นเป็นสมาชิก
ให้ผู้นั้นยังคงมีสมาชิกภาพของสมาชิกกองทุนต่อไป
และให้ผู้นั้นส่งเงินสะสมเข้ากองทุน
และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำส่งเงินสมทบและเงินชดเชยเข้ากองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา
๖ ข้าราชการซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นเพราะมีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามมาตรา
๕ แห่งพระราชบัญญัตินี้
ผู้ใดออกจากราชการก่อนวันที่พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ผู้นั้นมีสิทธิในการรับบำเหน็จบำนาญ บำเหน็จดำรงชีพ บำเหน็จตกทอด เงินสะสม
เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ด้วย
มาตรา
๗
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่นโยบายของรัฐหรือกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ทำให้ต้องมีการถ่ายโอนข้าราชการของราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น
รวมทั้งได้มีกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกำหนดให้มหาวิทยาลัยของรัฐเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐอันมีผลทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการของบุคคลดังกล่าวสิ้นสุดลงด้วย ดังนั้น เพื่อให้ระบบสิทธิประโยชน์ของบุคคลดังกล่าวยังคงอยู่เช่นเดิม
สมควรกำหนดให้บุคคลดังกล่าวยังคงเป็นสมาชิกและได้รับสิทธิประโยชน์ของสมาชิกต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๔๒ ก/หน้า ๑/๒๗ กันยายน ๒๕๓๙
[๒] มาตรา ๓
นิยามคำว่า ข้าราชการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
[๓] มาตรา ๓
นิยามคำว่า ข้าราชการส่วนท้องถิ่น เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๔] มาตรา ๓
นิยามคำว่า พนักงานมหาวิทยาลัย เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๕] มาตรา ๓
นิยามคำว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๖] มาตรา ๓
นิยามคำว่า บำเหน็จดำรงชีพ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๗] มาตรา ๓๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๘] มาตรา ๕๗/๑
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๙] มาตรา ๖๕ วรรคสอง
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๑๐] หมวด ๓/๑ การรับข้าราชการซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นเป็นสมาชิก
มาตรา ๗๐/๑ ถึง มาตรา ๗๐/๕ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๑๑] มาตรา ๗๐/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๑๒] มาตรา ๗๐/๒
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๑๓] มาตรา ๗๐/๓
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๑๔] มาตรา ๗๐/๔
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๑๕] มาตรา ๗๐/๕
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๑๖] หมวด ๓/๒ การรับพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเป็นสมาชิก
มาตรา ๗๐/๖ ถึง มาตรา ๗๐/๙ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๑๗] มาตรา ๗๐/๖ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๑๘] มาตรา ๗๐/๗
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๑๙] มาตรา ๗๐/๘
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๒๐] มาตรา ๗๐/๙
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๒๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๒๕ ก/หน้า ๘/๘ เมษายน ๒๕๔๒
[๒๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๐/ตอนที่ ๑๑๓ ก/หน้า ๔/๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
[๒๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔ ก/หน้า ๘/๑๗ มกราคม ๒๕๔๙ |
475185 | พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2549
| พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๔๙
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ มกราคม
พ.ศ. ๒๕๔๙
เป็นปีที่ ๖๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า ข้าราชการส่วนท้องถิ่น พนักงานมหาวิทยาลัย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระหว่างบทนิยามคำว่า ข้าราชการ และ กองทุน ในมาตรา ๓
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๔๖
ข้าราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า ข้าราชการ
พนักงาน หรือผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเรียกชื่ออย่างอื่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น
พนักงานมหาวิทยาลัย หมายความว่า พนักงาน บุคลากร
หรือผู้ปฏิบัติงาน
ซึ่งเรียกชื่ออย่างอื่นของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษานั้น
ๆ แต่ไม่หมายความรวมถึงลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายความว่า
องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น
มาตรา ๔
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด ๓/๑
การรับข้าราชการซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นเป็นสมาชิก มาตรา ๗๐/๑ มาตรา
๗๐/๒ มาตรา ๗๐/๓ มาตรา ๗๐/๔ และมาตรา ๗๐/๕ และหมวด ๓/๒
การรับพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเป็นสมาชิก มาตรา ๗๐/๖ มาตรา ๗๐/๗ มาตรา ๗๐/๘
และมาตรา ๗๐/๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
หมวด ๓/๑
การรับข้าราชการซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นเป็นสมาชิก
มาตรา ๗๐/๑
ในกรณีที่มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ให้สมาชิกซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
ยังคงมีสมาชิกภาพของสมาชิกต่อไป
ให้นำบทบัญญัติในหมวด
๓ ว่าด้วยสมาชิกและสิทธิประโยชน์ของสมาชิกมาใช้บังคับกับสมาชิกตามหมวดนี้โดยอนุโลม
เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งหมวดนี้
มาตรา ๗๐/๒ ในกรณีที่สมาชิกตามมาตรา ๗๐/๑
ได้เคยเป็นข้าราชการและสมาชิกมาก่อนที่จะโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น
ให้สมาชิกผู้นั้นมีสมาชิกภาพต่อเนื่องกับสมาชิกภาพเดิมได้ ในการนี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญปกติ
บำเหน็จตกทอด เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว แล้วแต่กรณี
ต่อเนื่องจากสิทธิที่เคยมีอยู่เดิมต่อไป
และให้นับเวลาราชการต่อเนื่องกับการเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๘
มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่บำเหน็จดำรงชีพและบำเหน็จบำนาญพิเศษให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๗๐/๓
การส่งเงินสะสมเข้ากองทุนของสมาชิกตามมาตรา ๗๐/๑
และการส่งเงินสมทบและเงินชดเชยเข้ากองทุน ให้นำมาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๑
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๗๐/๔ บำเหน็จบำนาญของสมาชิกตามมาตรา ๗๐/๑
ให้จ่ายจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
การคำนวณบำเหน็จบำนาญ
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
การขอรับบำเหน็จบำนาญให้นำระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๗๐/๕ การดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
ในส่วนที่กล่าวถึงส่วนราชการให้หมายความรวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย
หมวด ๓/๒
การรับพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเป็นสมาชิก
มาตรา ๗๐/๖
ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ
ให้สมาชิกซึ่งเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยและประสงค์จะเป็นสมาชิกตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
ยังคงมีสมาชิกภาพของสมาชิกต่อไป
ให้นำบทบัญญัติในหมวด
๓ ว่าด้วยสมาชิกและสิทธิประโยชน์ของสมาชิกมาใช้บังคับกับสมาชิกตามหมวดนี้โดยอนุโลม
เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งหมวดนี้
มาตรา ๗๐/๗ ในกรณีที่สมาชิกตามมาตรา ๗๐/๖
ได้เคยเป็นข้าราชการและสมาชิกมาก่อนที่จะเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย
ให้สมาชิกผู้นั้นมีสมาชิกภาพต่อเนื่องกับสมาชิกภาพเดิมได้ ในการนี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญปกติ
บำเหน็จดำรงชีพ บำเหน็จตกทอด เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว แล้วแต่กรณี
ต่อเนื่องจากสิทธิที่เคยมีอยู่เดิมต่อไป
และให้นับเวลาราชการต่อเนื่องกับการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๗๐/๘ ให้สมาชิกตามมาตรา ๗๐/๖
ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนโดยคำนวณตามบัญชีอัตราเงินเดือนและตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
แต่ทั้งนี้ การส่งเงินสะสมดังกล่าวจะต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินเดือน
เงินสะสมตามวรรคหนึ่ง
ให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐที่สมาชิกผู้นั้นสังกัดหักส่งและจ่ายสมทบในจำนวนที่เท่ากับอัตราเงินสะสมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
พร้อมการส่งเงินสะสมนั้น
ให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐที่สมาชิกผู้นั้นสังกัดส่งเงินชดเชยเข้ากองทุน
โดยคำนวณตามบัญชีอัตราเงินเดือนตามวรรคหนึ่ง และตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๗๐/๙
ให้คำนวณบำเหน็จบำนาญโดยนำบัญชีอัตราเงินเดือนตามมาตรา ๗๐/๘ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับ
การจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญ
บำเหน็จดำรงชีพ และบำเหน็จตกทอด
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
มาตรา ๕ ข้าราชการซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นเพราะมีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวด
๓/๑ ใช้บังคับ ถ้าก่อนโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้นั้นเป็นสมาชิก
ให้ผู้นั้นยังคงมีสมาชิกภาพของสมาชิกกองทุนต่อไป
และให้ผู้นั้นส่งเงินสะสมเข้ากองทุน
และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำส่งเงินสมทบและเงินชดเชยเข้ากองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๖
ข้าราชการซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นเพราะมีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามมาตรา
๕ แห่งพระราชบัญญัตินี้ ผู้ใดออกจากราชการก่อนวันที่พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ผู้นั้นมีสิทธิในการรับบำเหน็จบำนาญ บำเหน็จดำรงชีพ บำเหน็จตกทอด เงินสะสม
เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ด้วย
มาตรา ๗
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท
ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่นโยบายของรัฐหรือกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจการให้บริการสาธารณะที่รัฐดำเนินการอยู่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ทำให้ต้องมีการถ่ายโอนข้าราชการของราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น
รวมทั้งได้มีกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกำหนดให้มหาวิทยาลัยของรัฐเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐอันมีผลทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการของบุคคลดังกล่าวสิ้นสุดลงด้วย ดังนั้น
เพื่อให้ระบบสิทธิประโยชน์ของบุคคลดังกล่าวยังคงอยู่เช่นเดิม
สมควรกำหนดให้บุคคลดังกล่าวยังคงเป็นสมาชิกและได้รับสิทธิประโยชน์ของสมาชิกต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๔ มกราคม ๒๕๔๙
กฤษดายุทธ/ปรับปรุง
๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
ปณตภร/ตรวจ
๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔ ก/หน้า ๘/๑๗ มกราคม ๒๕๔๙ |
487906 | พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 (Update ณ วันที่ 10/11/2546) | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน
พ.ศ. ๒๕๓๙
เป็นปีที่ ๕๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
เว้นแต่บทบัญญัติแห่งหมวด ๓
ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ในพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการ[๒] หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ
ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ
ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
ข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู
ข้าราชการรัฐสภาสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ
ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร
ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญตามกฎหมายว่าด้วยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และข้าราชการซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้
กองทุน หมายความว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
สมาชิก หมายความว่า
สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เงินเดือน หมายความว่า
เงินเดือนที่ได้รับตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการนั้น ๆ รวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา
สำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ สำหรับการสู้รบ
หรือสำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิดแต่ไม่รวมถึงเงินเพิ่มอย่างอื่น
เงินสะสม หมายความว่า
เงินที่สมาชิกสะสมเข้ากองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
เงินสมทบ หมายความว่า เงินที่รัฐบาลจ่ายสมทบเงินสะสมตามพระราชบัญญัตินี้
เงินประเดิม หมายความว่า
เงินที่รัฐบาลนำส่งเข้ากองทุนเพื่อจ่ายเพิ่มให้แก่สมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการอยู่ก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวด
๓ ใช้บังคับและเลือกรับบำนาญ
เงินชดเชย หมายความว่า เงินที่รัฐบาลนำส่งเข้ากองทุนเพื่อจ่ายเพิ่มให้แก่สมาชิกซึ่งรับบำนาญ
บำนาญ หมายความว่า
เงินที่จ่ายให้แก่สมาชิกเป็นรายเดือนเมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง
บำเหน็จ หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่สมาชิก
โดยจ่ายให้ครั้งเดียวเมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง
บำเหน็จดำรงชีพ[๓] หมายความว่า
เงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับบำนาญเพื่อช่วยเหลือการดำรงชีพโดยจ่ายให้ครั้งเดียว
บำเหน็จตกทอด หมายความว่า
เงินที่จ่ายให้แก่ทายาทโดยจ่ายให้ครั้งเดียวในกรณีที่สมาชิกหรือผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
เวลาราชการ หมายความว่า
เวลาตั้งแต่วันที่สมาชิกเริ่มรับราชการจนถึงวันสุดท้ายที่ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
และให้หมายความรวมถึงการนับเวลาราชการเป็นทวีคูณตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการด้วย
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
กรรมการ หมายความว่า กรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เลขาธิการ หมายความว่า
เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พนักงาน หมายความว่า
พนักงานของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ลูกจ้าง หมายความว่า
ลูกจ้างของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรี หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
การจัดตั้งกองทุน
และลักษณะของกิจการกองทุน
มาตรา ๕
ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรียกโดยย่อว่า กบข.
ให้กองทุนเป็นนิติบุคคล
มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(๑)
เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ
(๒)
เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก
(๓)
เพื่อจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิก
มาตรา ๖
กองทุนประกอบด้วยทรัพย์สินดังต่อไปนี้
(๑)
เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม และเงินชดเชย
(๒)
เงินที่ได้รับจัดสรรตามมาตรา ๗๒
(๓)
ทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
(๔)
เงินที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามความจำเป็นเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
(๕)
รายได้อื่น
(๖)
ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
มาตรา ๗
กิจการของกองทุนไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
และกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม
มาตรา ๘
ให้กองทุนมีสำนักงานใหญ่ ณ สถานที่ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
และจะตั้งสาขาหรือตัวแทนขึ้น ณ ที่อื่นใด ตามความจำเป็นก็ได้
มาตรา ๙
ให้กองทุนมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕
และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง
(๑)
ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ
(๒)
ก่อตั้งสิทธิหรือกระทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งในและนอกราชอาณาจักร
(๓)
ให้สมาชิกกู้ยืมเงิน
(๔)
ลงทุนหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุน
(๕)
กระทำการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
มาตรา ๑๐
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน ให้จ่ายจากเงินของกองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๑๑
กองทุนไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
และรายได้ของกองทุนไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
หมวด ๒
การควบคุมและการบริหาร
มาตรา ๑๒
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ผู้แทนสมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการตามมาตรา ๓ ประเภทละหนึ่งคนซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา
๑๓ และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสามคนซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา ๑๔ เป็นกรรมการ
ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ
คณะกรรมการอาจแต่งตั้งพนักงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการได้ไม่เกินสองคน
มาตรา ๑๓
การเลือกกรรมการผู้แทนสมาชิกตามมาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา ๑๔
ให้ประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้แทนสมาชิกประชุมร่วมกัน
เพื่อเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
มาตรา ๑๕
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑)
ไม่เป็นบุคคลซึ่งทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐอื่นไล่ออก ปลดออก
ให้ออก หรือเลิกจ้างเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่าทุจริตต่อหน้าที่
(๒)
ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น
หรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
มาตรา ๑๖
ให้กรรมการผู้แทนสมาชิกมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา ๑๗
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี
แต่จะเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา ๑๘
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้แทนสมาชิก
หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
เป็นบุคคลล้มละลาย
(๔)
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕)
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๖)
พ้นจากการเป็นสมาชิกหรือพ้นจากการเป็นข้าราชการประเภทที่ตนได้รับเลือกเป็นผู้แทนในกรณีกรรมการผู้แทนสมาชิก
(๗)
มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๕ ในกรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
มาตรา ๑๙
ในกรณีที่กรรมการผู้แทนสมาชิกหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการขึ้นใหม่ภายในหกสิบวันในระหว่างที่ยังมิได้มีการเลือกกรรมการขึ้นใหม่
ให้กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไป
จนกว่ากรรมการที่ได้รับเลือกใหม่เข้ารับหน้าที่
มาตรา ๒๐
ในกรณีที่กรรมการผู้แทนสมาชิกผู้ใดพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระให้ผู้ซึ่งได้คะแนนถัดไปซึ่งขึ้นบัญชีไว้ในการเลือกผู้แทนสมาชิกของข้าราชการประเภทนั้นเป็นกรรมการแทน
ในกรณีที่ไม่มีผู้ขึ้นบัญชีไว้
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการผู้แทนสมาชิกประเภทนั้นขึ้นใหม่ตามวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นแทนตามมาตรา ๑๔
ให้กรรมการผู้ได้รับการแต่งตั้งหรือเลือกให้ดำรงตำแหน่งแทนตามวรรคหนึ่ง
และวรรคสอง อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่วาระการดำรงตำแหน่งเหลืออยู่ไม่ถึงสามสิบวัน
จะไม่แต่งตั้งหรือเลือกกรรมการขึ้นดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
มาตรา ๒๑
ให้ประธานกรรมการและกรรมการตามมาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง
แต่งตั้งเลขาธิการจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑)
มีสัญชาติไทย
(๒)
มีอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์
(๓)
สามารถปฏิบัติงานให้แก่กองทุนได้เต็มเวลา
(๔)
ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
(๕)
ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(๖)
ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น
รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
(๗)
ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษา
หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
(๘)
ไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้จัดการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
(๙)
ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับกองทุน หรือในกิจการที่กระทำให้แก่กองทุน
ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม
เว้นแต่เป็นผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายให้เป็นกรรมการในบริษัทที่กองทุนเป็นผู้ถือหุ้น
มาตรา ๒๒
การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
และการกำหนดเงื่อนไขในการทดลองปฏิบัติงานหรือการทำงานในหน้าที่เลขาธิการ
ให้เป็นไปตามสัญญาจ้างที่คณะกรรมการกำหนด โดยให้มีอายุการจ้างคราวละไม่เกินสี่ปี
และเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาจ้างแล้วคณะกรรมการจะต่ออายุสัญญาจ้างอีกก็ได้
การทำสัญญาจ้างเลขาธิการ
ให้ประธานกรรมการเป็นผู้มีอำนาจทำสัญญาในนามของกองทุน
ให้เลขาธิการได้รับเงินค่าจ้าง
ค่าตอบแทนและเงินอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๒๓
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามอายุการจ้าง เลขาธิการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑
(๔)
คณะกรรมการมีมติเห็นสมควรให้เลิกจ้าง
มาตรา ๒๔
ให้เลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง
และรับผิดชอบในการบริหารกิจการของกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนและตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายที่คณะกรรมการกำหนด
เลขาธิการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการบริหารกิจการของกองทุน
มาตรา ๒๕
ในกิจการของกองทุนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้เลขาธิการเป็นผู้แทนของกองทุน
การปฏิบัติงานของเลขาธิการและการมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนเลขาธิการให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด
นิติกรรมที่กระทำโดยฝ่าฝืนข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง
ย่อมไม่ผูกพันกองทุนเว้นแต่คณะกรรมการจะให้สัตยาบัน
มาตรา ๒๖
ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดนโยบาย และออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งในการบริหารกิจการของกองทุน
(๒)
กำหนดนโยบายการลงทุนของกองทุน ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๓)
กำกับดูแลการจัดการกองทุน
(๔)
ออกข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติงานของเลขาธิการ
และการมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนเลขาธิการ
(๕)
กำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสำนักงาน
และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวกับกิจการของกองทุน
(๖)
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการรับ เก็บรักษา และจ่ายเงินของกองทุน
(๗)
ออกระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การบรรจุ แต่งตั้ง
ถอดถอน และวินัยของพนักงานและลูกจ้าง ตลอดจนการกำหนดเงินเดือนและเงินอื่น
รวมถึงการสงเคราะห์และสวัสดิการ
(๘)
พิจารณามอบหมายให้สถาบันการเงินจัดการเงินของกองทุน
(๙)
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
(๑๐)
แต่งตั้งผู้แทนเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนน
ในการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทหรือหน่วยงานอื่นใดที่กองทุนถือหุ้นอยู่
(๑๑)
ปฏิบัติงานอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๗
การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมของคณะกรรมการ
ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมากกรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
การออกเสียงลงมติแต่งตั้งหรือเลิกจ้างเลขาธิการต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่อยู่ในตำแหน่ง
มาตรา ๒๘
กรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณา
ห้ามมิให้เข้าร่วมพิจารณาในเรื่องนั้น
มาตรา ๒๙
ให้กรรมการและอนุกรรมการได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๓๐
ให้มีคณะอนุกรรมการจัดการลงทุน ประกอบด้วย
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นประธานอนุกรรมการ
ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คนซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้ง
เป็นอนุกรรมการ และเลขาธิการเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
มาตรา ๓๑
ให้คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการลงทุนต่อคณะกรรมการ
(๒)
ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกสถาบันการเงินที่จะมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุน
(๓)
ติดตามดูแลการดำเนินงานของสถาบันการเงินที่ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุน
(๔)
รายงานผลการดำเนินการด้านการลงทุนและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการ
(๕)
ปฏิบัติการในเรื่องอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๓๒
ให้มีคณะอนุกรรมการสมาชิกสัมพันธ์ ประกอบด้วยเลขาธิการ ก.พ.
เป็นประธานอนุกรรมการ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนกรมประชาสัมพันธ์
และผู้แทนสมาชิกจำนวนห้าคนเป็นอนุกรรมการ
และให้เลขาธิการเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
การเลือกผู้แทนสมาชิกตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๓๓
ให้คณะอนุกรรมการสมาชิกสัมพันธ์มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นสื่อกลางระหว่างกองทุนกับสมาชิก ตลอดจนเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่สมาชิก
(๒)
เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร และรายงานความคืบหน้าของการจัดการกองทุน
(๓)
รับฟังความคิดเห็นและปัญหาต่าง ๆ จากสมาชิก
(๔)
พิจารณาเสนอแนะต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิก
(๕)
ปฏิบัติการในเรื่องอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๓๔
ให้นำมาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๒๘
มาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
และการประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
หมวด ๓
สมาชิกและสิทธิประโยชน์ของสมาชิก
มาตรา ๓๕
ให้บุคคลต่อไปนี้ เป็นสมาชิก
(๑)
ผู้ซึ่งเข้ารับราชการตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
(๒)
ผู้ซึ่งโอนมาเป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
มาตรา ๓๖
บุคคลต่อไปนี้จะสมัครเป็นสมาชิกก็ได้
(๑)
ข้าราชการซึ่งรับราชการอยู่ในวันก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
(๒)
ข้าราชการซึ่งออกจากราชการเพื่อไปปฏิบัติงานตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ
ก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับและกลับเข้ารับราชการตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
การสมัครเป็นสมาชิกให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา
๓๗[๔] บำเหน็จบำนาญ บำเหน็จดำรงชีพ
และบำเหน็จตกทอด ให้จ่ายจากเงินงบประมาณ สำหรับเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม
เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวให้จ่ายจากกองทุน ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๘
ข้าราชการซึ่งออกจากราชการ
ถ้ากลับเข้ารับราชการใหม่ตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
ให้นับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการในตอนหลังได้
เว้นแต่ข้าราชการผู้นั้นถูกปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ
เนื่องจากกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงและไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยหวัด
บำเหน็จบำนาญจากการรับราชการตอนก่อนออกจากราชการ
ข้าราชการซึ่งได้รับบำเหน็จไปแล้ว
จะนับเวลาราชการต่อเนื่องตามวรรคหนึ่งได้จะต้องคืนบำเหน็จที่ได้รับพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝากประจำของธนาคารออมสิน
ส่วนระยะเวลาในการคืนบำเหน็จให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
ข้าราชการซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติแล้ว
ให้งดการจ่ายบำนาญตลอดเวลาที่กลับเข้ารับราชการใหม่นั้น
แต่ถ้าผู้นั้นประสงค์จะรับบำนาญต่อไป
จะต้องมีหนังสือแจ้งความประสงค์ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดที่ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันกลับเข้ารับราชการ
และจะนับเวลาราชการต่อเนื่องมิได้
กรณีนี้ถ้าเงินเดือนที่ได้รับในขณะกลับเข้ารับราชการใหม่เท่าหรือสูงกว่าเงินเดือนเดิมเมื่อออกจากราชการให้งดการจ่ายบำนาญ
แต่ถ้าเงินเดือนใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิมให้รับบำนาญเท่ากับผลต่างของเงินเดือนใหม่และเงินเดือนเดิม
โดยให้ส่วนราชการที่ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่แจ้งไปยังเจ้าสังกัดที่ผู้นั้นรับบำนาญอยู่เพื่องดหรือลดการจ่ายบำนาญ
เมื่อออกจากราชการให้มีสิทธิได้รับบำนาญโดยคำนวณจากเงินเดือน
และเวลาราชการในตอนใหม่บวกเข้ากับบำนาญเดิม
บำนาญในตอนหลังจะเปลี่ยนเป็นขอรับบำเหน็จแทนก็ได้
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้
ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่อาจมีสิทธิได้รับเงินประเดิมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ความในมาตรานี้ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการประเภทต่าง
ๆ ตามคำนิยามในมาตรา ๓ โดยอนุโลม
มาตรา ๓๙
ให้สมาชิกส่งเงินสะสมเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
เว้นแต่สมาชิกซึ่งรับราชการอยู่ก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนหรือไม่ก็ได้
ถ้าสมาชิกไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนหรือได้รับเงินเดือนไม่เต็มจำนวนสำหรับระยะเวลาใด
ให้ส่งเงินสะสมตามส่วนแห่งเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับ
เงินสะสมตามวรรคหนึ่ง
ให้ส่วนราชการหักจากเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับและส่งเข้ากองทุนในวันที่มีการจ่ายเงินเดือน
และให้ส่วนราชการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนให้สมาชิกผู้นั้นในจำนวนที่เท่ากันพร้อมการส่งเงินสะสมนั้น
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้
เงินเดือนไม่รวมถึงเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา
สำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ สำหรับการสู้รบ
สำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิด หรือเงินเพิ่มอย่างอื่น
มาตรา ๔๐
ให้กระทรวงการคลังคำนวณเงินประเดิมสำหรับสมาชิกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อนำส่งเข้ากองทุน
การส่งเงินประเดิมตามวรรคหนึ่ง
ให้จ่ายจากเงินคงคลัง
มาตรา ๔๑
ให้ส่วนราชการส่งเงินชดเชยเข้ากองทุนให้แก่สมาชิกตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
ทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินเดือนให้แก่สมาชิก ในการนี้ให้นำมาตรา ๓๙ วรรคสี่
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ถ้าสมาชิกไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนหรือได้รับเงินเดือนไม่เต็มจำนวนสำหรับระยะเวลาใด
ให้ส่งเงินชดเชยตามส่วนแห่งเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับ
มาตรา ๔๒
สมาชิกมีสิทธิได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นจากกองทุนตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๓
สมาชิกมีสิทธิกู้เงินจากกองทุนไม่เกินจำนวนเงินสะสม เงินสมทบ
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่บันทึกไว้ในบัญชีเงินรายบุคคลเพื่อใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์
หลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๔
สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่อผู้นั้นออกจากราชการ
เว้นแต่เป็นการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการนั้น ๆ
หรือการออกจากราชการของผู้ไปปฏิบัติงานตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ
มาตรา ๔๕
สมาชิกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง
มาตรา ๔๖
สมาชิกซึ่งส่งเงินสะสมเข้ากองทุน ให้มีสิทธิได้รับเงินสะสม เงินสมทบ
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวจากกองทุน
มาตรา ๔๗
สมาชิกซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่สิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป
แต่ไม่ถึงยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จ
มาตรา ๔๘
สมาชิกตามมาตรา ๓๕
ซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไปให้มีสิทธิได้รับบำนาญ เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว เว้นแต่จะเลือกรับบำเหน็จแทน
สำหรับสมาชิกตามมาตรา
๓๖ (๑) หรือ (๒) ซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไป
ให้มีสิทธิได้รับบำนาญ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว
เว้นแต่จะเลือกรับบำเหน็จแทน
มาตรา ๔๙ นอกจากกรณีที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๗ และมาตรา
๔๘ สมาชิกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑)
เหตุทุพพลภาพ
(๒)
เหตุทดแทน
(๓)
เหตุสูงอายุ
มาตรา ๕๐
บำเหน็จบำนาญเหตุทุพพลภาพให้จ่ายให้แก่สมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะป่วยเจ็บทุพพลภาพ
ซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่า
ไม่สามารถที่จะรับราชการในตำแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นต่อไปได้
มาตรา ๕๑
บำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนให้จ่ายให้แก่สมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่ง
หรือมีคำสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิด หรือทหารซึ่งออกจากกองหนุนเบี้ยหวัด
มาตรา ๕๒
บำเหน็จบำนาญเหตุสูงอายุให้จ่ายให้แก่สมาชิกซึ่งออกจากราชการเมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้ว
หรือลาออกเมื่อมีอายุครบห้าสิบปีบริบูรณ์แล้ว
มาตรา ๕๓
สมาชิกซึ่งมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญด้วยเหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน หรือเหตุสูงอายุ
จะได้รับเงินตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑)
ถ้ามีเวลาราชการตั้งแต่หนึ่งปีบริบูรณ์ขึ้นไปแต่ไม่ถึงสิบปีบริบูรณ์มีสิทธิได้รับบำเหน็จ
(๒)
ถ้ามีเวลาราชการตั้งแต่สิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป
(ก)
สมาชิกตามมาตรา ๓๕ ให้มีสิทธิตามมาตรา ๔๘ วรรคหนึ่ง
(ข)
สมาชิกตามมาตรา ๓๖ (๑) หรือ (๒) ให้มีสิทธิตามมาตรา ๔๘ วรรคสอง
มาตรา ๕๔
สมาชิกซึ่งถูกไล่ออกจากราชการ หรือถึงแก่ความตาย
เนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนเอง
ผู้นั้นหรือทายาทไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว
มาตรา ๕๕
สิทธิในการรับบำนาญให้เริ่มมีตั้งแต่เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงจนกระทั่งผู้นั้นถึงแก่ความตาย
มาตรา ๕๖
ผู้รับบำนาญผู้ใด
(๑)
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือ
(๒)
เป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
ผู้นั้นหมดสิทธิรับบำนาญตั้งแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด
มาตรา ๕๗
ให้ผู้รับบำนาญตามพระราชบัญญัตินี้มีสิทธิได้รับสวัสดิการและเงินช่วยเหลือต่าง
ๆ เช่นเดียวกับผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
มาตรา
๕๗/๑[๕]
ผู้รับบำนาญมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพตามอัตราและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
แต่ต้องไม่เกินสิบห้าเท่าของบำนาญรายเดือนที่ผู้นั้นได้รับ
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญเป็นผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการด้วย
ให้นำบำนาญและบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพรวมเป็นบำนาญรายเดือนเพื่อคำนวณจ่ายเป็นบำเหน็จดำรงชีพแก่ผู้นั้น
เมื่อได้รับบำเหน็จดำรงชีพแล้ว
ผู้รับบำนาญไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จดำรงชีพอีกถ้าภายหลังผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่และได้ออกจากราชการในครั้งหลังโดยเลือกรับบำนาญ
ผู้รับบำนาญผู้ใดได้รับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้ว
ถ้าภายหลังผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่
โดยมีสิทธินับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการในตอนหลังตามมาตรา
๓๘ และเมื่อออกจากราชการในครั้งหลังโดยเลือกรับบำเหน็จ การจ่ายบำเหน็จในกรณีเช่นว่านี้
ให้หักเงินออกจากบำเหน็จที่จะได้รับเท่ากับเงินบำเหน็จดำรงชีพเสียก่อน
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญได้แสดงเจตนาขอรับบำเหน็จดำรงชีพไว้แล้ว
แต่ได้ถึงแก่ความตายก่อนได้รับเงินบำเหน็จดำรงชีพ
ให้การจ่ายเงินดังกล่าวเป็นอันระงับไป
มาตรา ๕๘
ในกรณีที่สมาชิกผู้ใดถึงแก่ความตายในระหว่างรับราชการและความตายนั้นมิได้เกิดขึ้นเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนเอง
หรือในกรณีที่ผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
ให้จ่ายบำเหน็จตกทอดแก่ทายาทของสมาชิกหรือผู้รับบำนาญตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑)
บุตรให้ได้รับสองส่วน ถ้าสมาชิกผู้ตายมีบุตรตั้งแต่สามคนขึ้นไปให้ได้รับสามส่วน
(๒)
สามีหรือภริยาให้ได้รับหนึ่งส่วน
(๓)
บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ให้ได้รับหนึ่งส่วน
ในกรณีที่ไม่มีทายาทในอนุมาตราใด
หรือทายาทนั้นได้ตายไปเสียก่อนให้แบ่งเงินดังกล่าวระหว่างทายาทผู้มีสิทธิในอนุมาตราที่มีทายาทผู้มีสิทธิได้รับ
ในกรณีที่ไม่มีทายาททั้งสามอนุมาตราดังกล่าว
ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายแสดงเจตนาไว้ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
ในกรณีที่ไม่มีทายาทและบุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ตามวรรคสาม
หรือบุคคลนั้นได้ตายไปก่อน ให้สิทธิในบำเหน็จตกทอดนั้นเป็นอันยุติลง
ในกรณีที่ได้มีการจ่ายบำเหน็จตกทอดไปแล้วหากปรากฏว่ามีบุตรซึ่งได้มีคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย
ซึ่งได้มีการฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรก่อนหรือภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่บิดาตายหรือนับแต่วันที่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของบิดาเพิ่มขึ้น
ให้แบ่งบำเหน็จตกทอดนั้นใหม่ระหว่างทายาทผู้มีสิทธิโดยถือว่าบุตรชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษานั้นเป็นทายาทผู้มีสิทธิตั้งแต่วันตาย
ในกรณีเช่นนี้ให้กระทรวงการคลังเรียกคืนบำเหน็จตกทอดจากทายาทซึ่งรับบำเหน็จตกทอดไปก่อนแล้วตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด
ในกรณีที่ไม่สามารถเรียกคืนบำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้ทายาทซึ่งรับเกินไปในส่วนของตนตามวรรคห้าได้
กระทรวงการคลังไม่ต้องรับผิดชอบจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดให้แก่บุตรซึ่งได้มีคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายย้อนหลังไปถึงวันเกิดสิทธิรับบำเหน็จตกทอดแต่อย่างใด
มาตรา ๕๙
ในกรณีที่สมาชิกผู้ถึงแก่ความตายได้ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนให้จ่ายเงินสะสม
เงินสมทบ
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวแก่ผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๖๐
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
นอกจากทายาทจะมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดตามมาตรา ๕๘ แล้ว
ให้มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี
บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกันด้วย
มาตรา ๖๑
สิทธิการรับเงินต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่อาจโอนแก่กันได้
มาตรา ๖๒
การคำนวณบำเหน็จให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการ
มาตรา ๖๓
การคำนวณบำนาญให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการ
หารด้วยห้าสิบ แต่ต้องไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้าย
การคำนวณบำนาญของผู้กลับเข้ารับราชการใหม่ตามมาตรา
๓๘
หากเวลาราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ยังไม่ครบห้าปีอัตราเงินเดือนเฉลี่ยที่จะนำมาคำนวณบำนาญให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๖๔
บำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้แก่ทายาทของสมาชิก ให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการของผู้ตาย
มาตรา ๖๕
บำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้แก่ทายาทของผู้รับบำนาญ
ให้จ่ายสามสิบเท่าของอัตราบำนาญที่ผู้ตายมีสิทธิได้รับ
ในกรณีที่ได้มีการรับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้ว
เมื่อผู้รับบำนาญถึงแก่ความตายการจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดตามวรรคหนึ่ง
ให้หักเงินออกจากบำเหน็จตกทอดที่จะได้รับเท่ากับเงินบำเหน็จดำรงชีพเสียก่อน[๖]
มาตรา ๖๖
การนับเวลาราชการเพื่อให้เกิดสิทธิรับบำเหน็จบำนาญให้นับจำนวนปี
เศษของปีถ้าถึงครึ่งปีให้นับเป็นหนึ่งปี
การนับเวลาราชการเพื่อคำนวณจำนวนบำเหน็จบำนาญให้นับจำนวนปีรวมทั้งเศษของปีด้วย
การนับเศษของปีซึ่งเป็นเดือนหรือวันให้คำนวณตามวิธีการจ่ายเงินเดือนและให้นับสิบสองเดือนเป็นหนึ่งปี
สำหรับจำนวนวันถ้ามีรวมกันหลายระยะให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน
มาตรา ๖๗
เมื่อมีผู้ยื่นคำขอรับเงินตามมาตรา ๔๕
ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดที่ได้รับคำขอนั้นตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินสะสม
เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวของผู้ยื่นคำขอ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จและแจ้งให้กองทุนทราบภายในสิบห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้รับคำขอรับเงินดังกล่าว
เว้นแต่กรณีที่มีเหตุอันสมควร
การจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่ง
ให้กองทุนจ่ายภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากส่วนราชการเจ้าสังกัด
มาตรา ๖๘
ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๙
การหาประโยชน์ของกองทุน ให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการ
และจะมอบหมายให้บุคคลใดดำเนินการแทนตามความเหมาะสมก็ได้
แต่การมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้นจะต้องมอบหมายให้สถาบันการเงินที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนไม่น้อยกว่าสองแห่ง
ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือผู้ได้รับอนุญาตจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน ทั้งนี้ โดยให้คำนึงถึงการกระจายความเสี่ยงด้วย
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการหาประโยชน์ของกองทุนตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนมีหน้าที่และอยู่ในบังคับบทบัญญัติต่าง
ๆ
ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เสมือนหนึ่งกองทุนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคล
แล้วแต่กรณี
การให้สถาบันการเงินเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนตามวรรคหนึ่ง
คุณสมบัติของผู้รับดำเนินการ วิธีดำเนินการ
และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๗๐
เงินของกองทุนให้ลงทุนได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง
ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบ
ยกเว้นเงินสำรองตามมาตรา ๗๒ ต้องนำไปลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจก่อน
หมวด ๔
การเงิน การบัญชี
และการตรวจสอบ
มาตรา ๗๑
ให้กองทุนจัดให้มีบัญชี ประกอบด้วย
(๑)
บัญชีเงินสำรองซึ่งแสดงรายการเงินสำรอง และดอกผลของเงินดังกล่าว
(๒)
บัญชีเงินกองกลางซึ่งแสดงรายการเงินที่มีผู้บริจาคให้ เงินตามบัญชี
เงินรายบุคคลที่ไม่มีผู้รับ เงินส่วนกลางที่มิใช่ของสมาชิกคนใด
และดอกผลของเงินดังกล่าว
(๓)
บัญชีเงินรายบุคคลซึ่งแสดงรายการเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และดอกผลของเงินดังกล่าวบรรดาที่เป็นของสมาชิกแต่ละคน
มาตรา ๗๒
ให้รัฐตั้งงบประมาณรายจ่ายเป็นรายปีเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำปีเข้าบัญชีเงินสำรองทุกปีจนกว่าเงินสำรอง
เงินกองกลาง
และดอกผลของเงินดังกล่าวจะมีจำนวนสามเท่าของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำปี
หลังจากนั้นให้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อให้เงินสำรอง เงินกองกลาง
และดอกผลของเงินดังกล่าวคงระดับสามเท่าของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการในแต่ละปี
และถ้าเงินสำรอง เงินกองกลาง
และดอกผลของเงินดังกล่าวมีจำนวนเกินสามเท่าของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำปี
ให้นำเงินส่วนที่เกินนั้นส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
ในกรณีเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศ
รัฐอาจสั่งให้กองทุนส่งเงินออกจากบัญชีเงินสำรองกลับคืนเป็นรายได้แผ่นดินเพื่อจ่ายเป็นบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
แต่รัฐจะต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยส่วนของเงินดังกล่าวที่นำไปใช้ส่งคืนกองทุนในปีงบประมาณถัดไป
มาตรา ๗๓
ดอกผลที่ได้จากการนำเงินของกองทุนในแต่ละบัญชีไปลงทุนหาผลประโยชน์
เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามส่วนของการลงทุนในแต่ละบัญชีแล้ว
ดอกผลที่ได้จากการนำเงินสำรองไปลงทุนให้บันทึกไว้ในบัญชีเงินสำรอง
สำหรับดอกผลที่ได้จากการนำเงินอื่นไปลงทุนให้จัดสรรเป็นผลประโยชน์ตอบแทนไว้ในบัญชีเงินกองกลางและบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกตามสัดส่วนของเงินที่มีอยู่ในแต่ละบัญชีเป็นประจำตามระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๗๔
ให้กองทุนแจ้งยอดเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม และเงินชดเชย
พร้อมทั้งผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวในส่วนของสมาชิกแต่ละคนให้สมาชิกทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา ๗๕
ให้กองทุนยื่นรายงานแสดงการจัดการกองทุนต่อรัฐมนตรีอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๗๖
กองทุนต้องวางและถือไว้ซึ่งระบบการบัญชีที่เหมาะสมแก่กิจการแยกตามประเภทงานส่วนที่สำคัญ
มีสมุดบัญชีลงรายการรับและจ่ายเงินสินทรัพย์และหนี้สินที่แสดงกิจการที่เป็นอยู่ตามความจริงและตามที่ควร
ตามประเภทงาน พร้อมด้วยข้อความอันเป็นที่มาของรายการนั้น ๆ
และให้มีการตรวจสอบบัญชีภายในเป็นประจำ
มาตรา ๗๗
กองทุนต้องจัดทำงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน
ส่งผู้สอบบัญชีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
มาตรา ๗๘
ทุกปีให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีทำการตรวจสอบรับรองบัญชีทุกประเภทของกองทุน
มาตรา ๗๙
ผู้สอบบัญชีมีอำนาจตรวจสอบสรรพสมุด บัญชี และเอกสารหลักฐานของกองทุน
เพื่อการนี้ให้มีอำนาจสอบถามประธานกรรมการ กรรมการ พนักงานและลูกจ้างได้
มาตรา ๘๐
ผู้สอบบัญชีต้องทำรายงานผลการสอบบัญชีของกองทุนเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการ
มาตรา ๘๑
กองทุนต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
เพื่อพิจารณารายงานผลการดำเนินงาน ฐานะการเงินและการรับจ่ายเงินของกองทุน
การประชุมใหญ่และการเลือกผู้แทนสมาชิกตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด
ให้ที่ประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกมีอำนาจแสดงข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนต่อคณะกรรมการ
มาตรา ๘๒
เมื่อได้รับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนจากที่ประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกแล้ว
ให้คณะกรรมการทำรายงานการสอบบัญชีพร้อมทั้งข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี
และประกาศรายงานการสอบบัญชีในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
หมวด ๕
การควบคุมกำกับการจัดการกองทุน
มาตรา ๘๓
ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน
กรรมการ ผู้จัดการ
หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนภายในระยะเวลาที่กำหนด
ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนไม่ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
หรือปรากฏว่าผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนจัดการกองทุนในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน
ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนแก้ไขหรือระงับการกระทำนั้น
หรือสั่งยกเลิกการมอบหมายให้เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นได้
มาตรา ๘๔
ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับและดูแลโดยทั่วไป ซึ่งการจัดการกองทุน
เพื่อประโยชน์ในการนี้จะสั่งแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนก็ได้
และให้รัฐมนตรีแจ้งให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายงานให้รัฐมนตรีทราบด้วย
ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นว่า
ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน
จัดการกองทุนในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน
รัฐมนตรีอาจขอให้คณะกรรมการพิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๘๓ วรรคสอง
มาตรา ๘๕
เมื่อได้รับคำสั่งตามมาตรา ๘๓ วรรคสองแล้ว ให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนหยุดจัดการกองทุนในทันที
และส่งมอบทรัพย์สินคืนภายในเวลาที่กำหนดในคำสั่งนั้น
มาตรา ๘๖
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่
มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑)
เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจหรือสถานที่ตั้งของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้นเพื่อตรวจสอบสมุดบัญชีหรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการจัดการกองทุน
(๒)
ยึดหรืออายัดเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนข้อเท็จจริงหรือดำเนินคดี
(๓)
สั่งให้กรรมการ ผู้จัดการ
พนักงานหรือลูกจ้างของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนมาให้ถ้อยคำหรือส่งสำเนาหรือแสดงสมุดบัญชี
หรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการจัดการกองทุน
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง
ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
เมื่อได้เข้าไปและลงมือทำการตรวจสอบตาม
(๑) แล้ว ถ้ายังดำเนินการไม่เสร็จ
จะกระทำต่อไปในเวลากลางคืนหรือนอกเวลาทำการของสถานที่นั้นก็ได้
มาตรา ๘๗
ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘๘
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๖
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๘๙
ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๕
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนบาท
จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง
กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านห้าแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นด้วย
มาตรา ๙๐
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา
๘๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙๑
กรรมการ ผู้จัดการ
หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนรายใดแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริง
ซึ่งควรบอกให้แจ้งในสาระสำคัญเกี่ยวกับการจัดการกองทุนต่อคณะกรรมการต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
หรือปรับไม่เกินสองล้านห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙๒
ความผิดตามมาตรา ๘๙ และมาตรา ๙๐ ให้คณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบได้
เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว
ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ
หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ดำเนินคดีต่อไป
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๙๓
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการผู้แทนสมาชิกและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
และแต่งตั้งเลขาธิการเพื่อให้ได้คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้
ภายในสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วยปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นกรรมการ
และอธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นกรรมการและเลขานุการ
ทำหน้าที่คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
และให้อธิบดีกรมบัญชีกลางทำหน้าที่เลขาธิการ
เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน
ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
อธิบดีกรมบัญชีกลางอาจแต่งตั้งบุคคลใดเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
บรรหาร ศิลปอาชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่ให้รัฐต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำทุกปี
โดยไม่มีการกันเงินสำรองไว้ล่วงหน้าสำหรับจ่ายบำเหน็จบำนาญในอนาคตนั้น
ไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเงินการคลังของประเทศในปัจจุบัน ทำให้ไม่อาจวางแผนเชิงบริหารการเงินการคลังของประเทศในระยะยาวและไม่อาจวางแผนพัฒนาบุคลากรของรัฐได้ดังนั้นสมควรปรับปรุงระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการดังกล่าวเสียใหม่โดยจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการขึ้นมีฐานะเป็นนิติบุคคล
เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ
และเพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์
และจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่ข้าราชการที่เป็นสมาชิกของกองทุน
รวมทั้งให้เป็นสถาบันเงินออมที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเงินออมภายในประเทศ
และการส่งเสริมการลงทุนอันเป็นการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยส่วนรวมอีกด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒[๗]
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระ
ซึ่งได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
เพื่อจัดตั้งสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นหน่วยธุรการของศาลรัฐธรรมนูญ
มีฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระโดยบุคลากรมีฐานะเป็นข้าราชการ ฉะนั้น เพื่อให้ข้าราชการเหล่านั้นได้รับสิทธิในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
รวมทั้งข้าราชการของส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระอื่น ๆ
ที่จะมีการจัดตั้งขึ้นด้วย สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า ข้าราชการ ในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ให้มีความหมายรวมถึงข้าราชการดังกล่าว
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖[๘]
มาตรา
๗
ผู้รับบำนาญซึ่งได้รับบำนาญอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จดำรงชีพตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ด้วย
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงเป็นอันมาก
อันมีผลกระทบต่อการดำรงชีพของข้าราชการบำนาญซึ่งได้รับบำนาญเป็นรายเดือนในจำนวนที่คงที่ ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้รับบำนาญให้สามารถดำรงชีพอย่างเหมาะสมและพอเพียงกับเศรษฐกิจในปัจจุบัน
สมควรกำหนดให้ผู้รับบำนาญมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพจำนวนหนึ่งในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่
โดยเงินจำนวนที่ได้รับดังกล่าวจะนำไปหักออกจากบำเหน็จตกทอดซึ่งจะจ่ายให้แก่ทายาทหรือบุคคลที่ผู้รับบำนาญได้แสดงเจตนาให้เป็นผู้มีสิทธิที่จะได้รับตามกฎหมายเมื่อผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้เป็นการนำเงินที่รัฐจะต้องจัดสรรเป็นงบประมาณรายจ่ายอยู่แล้วในอนาคตมาจ่ายให้แก่ผู้รับบำนาญส่วนหนึ่งก่อน
โดยมิได้เป็นการเพิ่มภาระงบประมาณรายจ่ายของรัฐแต่อย่างใด จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๔๒ ก/หน้า ๑/๒๗ กันยายน ๒๕๓๙
[๒] มาตรา ๓
นิยามคำว่า ข้าราชการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
[๓] มาตรา ๓
นิยามคำว่า บำเหน็จดำรงชีพ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๔] มาตรา ๓๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๕] มาตรา ๕๗/๑
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๖] มาตรา ๖๕ วรรคสอง
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๒๕ ก/หน้า ๘/๘ เมษายน ๒๕๔๒
[๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๐/ตอนที่ ๑๑๓ ก/หน้า ๔/๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ |
412177 | พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2546
| พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๔๖
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๔
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖
เป็นปีที่ ๕๘
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า บำเหน็จดำรงชีพ
ระหว่างบทนิยามคำว่า บำเหน็จ และ บำเหน็จตกทอด ในมาตรา ๓
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
บำเหน็จดำรงชีพ หมายความว่า
เงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับบำนาญเพื่อช่วยเหลือการดำรงชีพโดยจ่ายให้ครั้งเดียว
มาตรา ๔
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๓๗ บำเหน็จบำนาญ
บำเหน็จดำรงชีพ และบำเหน็จตกทอด ให้จ่ายจากเงินงบประมาณ สำหรับเงินสะสม เงินสมทบ
เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวให้จ่ายจากกองทุน ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๗/๑
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๕๗/๑
ผู้รับบำนาญมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพตามอัตราและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
แต่ต้องไม่เกินสิบห้าเท่าของบำนาญรายเดือนที่ผู้นั้นได้รับ
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญเป็นผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการด้วย
ให้นำบำนาญและบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพรวมเป็นบำนาญรายเดือนเพื่อคำนวณจ่ายเป็นบำเหน็จดำรงชีพแก่ผู้นั้น
เมื่อได้รับบำเหน็จดำรงชีพแล้ว
ผู้รับบำนาญไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จดำรงชีพอีกถ้าภายหลังผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่และได้ออกจากราชการในครั้งหลังโดยเลือกรับบำนาญ
ผู้รับบำนาญผู้ใดได้รับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้ว
ถ้าภายหลังผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่
โดยมีสิทธินับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการในตอนหลังตามมาตรา
๓๘ และเมื่อออกจากราชการในครั้งหลังโดยเลือกรับบำเหน็จ
การจ่ายบำเหน็จในกรณีเช่นว่านี้
ให้หักเงินออกจากบำเหน็จที่จะได้รับเท่ากับเงินบำเหน็จดำรงชีพเสียก่อน
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญได้แสดงเจตนาขอรับบำเหน็จดำรงชีพไว้แล้ว
แต่ได้ถึงแก่ความตายก่อนได้รับเงินบำเหน็จดำรงชีพ
ให้การจ่ายเงินดังกล่าวเป็นอันระงับไป
มาตรา ๖
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของมาตรา ๖๕
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ในกรณีที่ได้มีการรับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้ว
เมื่อผู้รับบำนาญถึงแก่ความตายการจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดตามวรรคหนึ่ง
ให้หักเงินออกจากบำเหน็จตกทอดที่จะได้รับเท่ากับเงินบำเหน็จดำรงชีพเสียก่อน
มาตรา ๗
ผู้รับบำนาญซึ่งได้รับบำนาญอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จดำรงชีพตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ด้วย
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงเป็นอันมาก
อันมีผลกระทบต่อการดำรงชีพของข้าราชการบำนาญซึ่งได้รับบำนาญเป็นรายเดือนในจำนวนที่คงที่ ดังนั้น
เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้รับบำนาญให้สามารถดำรงชีพอย่างเหมาะสมและพอเพียงกับเศรษฐกิจในปัจจุบัน
สมควรกำหนดให้ผู้รับบำนาญมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพจำนวนหนึ่งในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่
โดยเงินจำนวนที่ได้รับดังกล่าวจะนำไปหักออกจากบำเหน็จตกทอดซึ่งจะจ่ายให้แก่ทายาทหรือบุคคลที่ผู้รับบำนาญได้แสดงเจตนาให้เป็นผู้มีสิทธิที่จะได้รับตามกฎหมายเมื่อผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้เป็นการนำเงินที่รัฐจะต้องจัดสรรเป็นงบประมาณรายจ่ายอยู่แล้วในอนาคตมาจ่ายให้แก่ผู้รับบำนาญส่วนหนึ่งก่อน
โดยมิได้เป็นการเพิ่มภาระงบประมาณรายจ่ายของรัฐแต่อย่างใด จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
มยุรี/พิมพ์
เกียรติก้อง/ยงยุทธ/ธรรมนิตย์/ตรวจ
๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๖
สุนันทา/ผู้จัดทำ
๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
กฤษดายุทธ/ปรับปรุง
๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
ปณตภร/ตรวจ
๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๑๑๓ ก/หน้า ๔/๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ |
487905 | พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 (Update ณ วันที่ 08/04/2542) | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน
พ.ศ. ๒๕๓๙
เป็นปีที่ ๕๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
เว้นแต่บทบัญญัติแห่งหมวด ๓
ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ในพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการ[๒] หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ
ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ
ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
ข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู
ข้าราชการรัฐสภาสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ
ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร
ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญตามกฎหมายว่าด้วยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และข้าราชการซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้
กองทุน หมายความว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
สมาชิก หมายความว่า
สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เงินเดือน หมายความว่า
เงินเดือนที่ได้รับตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการนั้น ๆ รวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา
สำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ สำหรับการสู้รบ
หรือสำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิดแต่ไม่รวมถึงเงินเพิ่มอย่างอื่น
เงินสะสม หมายความว่า
เงินที่สมาชิกสะสมเข้ากองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
เงินสมทบ หมายความว่า เงินที่รัฐบาลจ่ายสมทบเงินสะสมตามพระราชบัญญัตินี้
เงินประเดิม หมายความว่า
เงินที่รัฐบาลนำส่งเข้ากองทุนเพื่อจ่ายเพิ่มให้แก่สมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการอยู่ก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวด
๓ ใช้บังคับและเลือกรับบำนาญ
เงินชดเชย หมายความว่า เงินที่รัฐบาลนำส่งเข้ากองทุนเพื่อจ่ายเพิ่มให้แก่สมาชิกซึ่งรับบำนาญ
บำนาญ หมายความว่า
เงินที่จ่ายให้แก่สมาชิกเป็นรายเดือนเมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง
บำเหน็จ หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่สมาชิก
โดยจ่ายให้ครั้งเดียวเมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง
บำเหน็จตกทอด หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่ทายาทโดยจ่ายให้ครั้งเดียวในกรณีที่สมาชิกหรือผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
เวลาราชการ หมายความว่า
เวลาตั้งแต่วันที่สมาชิกเริ่มรับราชการจนถึงวันสุดท้ายที่ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
และให้หมายความรวมถึงการนับเวลาราชการเป็นทวีคูณตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการด้วย
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
กรรมการ หมายความว่า
กรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เลขาธิการ หมายความว่า
เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พนักงาน หมายความว่า
พนักงานของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ลูกจ้าง หมายความว่า
ลูกจ้างของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
กับออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
การจัดตั้งกองทุน
และลักษณะของกิจการกองทุน
มาตรา ๕
ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรียกโดยย่อว่า กบข.
ให้กองทุนเป็นนิติบุคคล
มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(๑)
เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ
(๒)
เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก
(๓)
เพื่อจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิก
มาตรา ๖
กองทุนประกอบด้วยทรัพย์สินดังต่อไปนี้
(๑)
เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม และเงินชดเชย
(๒)
เงินที่ได้รับจัดสรรตามมาตรา ๗๒
(๓)
ทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
(๔)
เงินที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามความจำเป็นเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
(๕)
รายได้อื่น
(๖)
ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
มาตรา ๗
กิจการของกองทุนไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
และกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม
มาตรา ๘
ให้กองทุนมีสำนักงานใหญ่ ณ สถานที่ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
และจะตั้งสาขาหรือตัวแทนขึ้น ณ ที่อื่นใด ตามความจำเป็นก็ได้
มาตรา ๙
ให้กองทุนมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕
และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง
(๑)
ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ
(๒)
ก่อตั้งสิทธิหรือกระทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งในและนอกราชอาณาจักร
(๓)
ให้สมาชิกกู้ยืมเงิน
(๔)
ลงทุนหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุน
(๕)
กระทำการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
มาตรา ๑๐
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน
ให้จ่ายจากเงินของกองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๑๑
กองทุนไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
และรายได้ของกองทุนไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
หมวด ๒
การควบคุมและการบริหาร
มาตรา ๑๒
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง อธิบดีกรมบัญชีกลาง
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ผู้แทนสมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการตามมาตรา ๓ ประเภทละหนึ่งคนซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา
๑๓ และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสามคนซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา ๑๔ เป็นกรรมการ
ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ
คณะกรรมการอาจแต่งตั้งพนักงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการได้ไม่เกินสองคน
มาตรา ๑๓
การเลือกกรรมการผู้แทนสมาชิกตามมาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา ๑๔
ให้ประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้แทนสมาชิกประชุมร่วมกัน
เพื่อเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
มาตรา ๑๕
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑)
ไม่เป็นบุคคลซึ่งทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐอื่นไล่ออก ปลดออก
ให้ออก หรือเลิกจ้างเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่าทุจริตต่อหน้าที่
(๒)
ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น
หรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
มาตรา ๑๖
ให้กรรมการผู้แทนสมาชิกมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี
แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา ๑๗
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี แต่จะเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา ๑๘
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้แทนสมาชิก
หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
เป็นบุคคลล้มละลาย
(๔)
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕)
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๖)
พ้นจากการเป็นสมาชิกหรือพ้นจากการเป็นข้าราชการประเภทที่ตนได้รับเลือกเป็นผู้แทนในกรณีกรรมการผู้แทนสมาชิก
(๗)
มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๕ ในกรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
มาตรา ๑๙
ในกรณีที่กรรมการผู้แทนสมาชิกหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการขึ้นใหม่ภายในหกสิบวันในระหว่างที่ยังมิได้มีการเลือกกรรมการขึ้นใหม่
ให้กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไป
จนกว่ากรรมการที่ได้รับเลือกใหม่เข้ารับหน้าที่
มาตรา ๒๐
ในกรณีที่กรรมการผู้แทนสมาชิกผู้ใดพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระให้ผู้ซึ่งได้คะแนนถัดไปซึ่งขึ้นบัญชีไว้ในการเลือกผู้แทนสมาชิกของข้าราชการประเภทนั้นเป็นกรรมการแทน
ในกรณีที่ไม่มีผู้ขึ้นบัญชีไว้ ให้ดำเนินการเลือกกรรมการผู้แทนสมาชิกประเภทนั้นขึ้นใหม่ตามวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นแทนตามมาตรา ๑๔
ให้กรรมการผู้ได้รับการแต่งตั้งหรือเลือกให้ดำรงตำแหน่งแทนตามวรรคหนึ่ง
และวรรคสอง อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่วาระการดำรงตำแหน่งเหลืออยู่ไม่ถึงสามสิบวัน
จะไม่แต่งตั้งหรือเลือกกรรมการขึ้นดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
มาตรา ๒๑
ให้ประธานกรรมการและกรรมการตามมาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง
แต่งตั้งเลขาธิการจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑)
มีสัญชาติไทย
(๒)
มีอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์
(๓)
สามารถปฏิบัติงานให้แก่กองทุนได้เต็มเวลา
(๔)
ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
(๕)
ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(๖)
ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น
รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
(๗)
ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
หรือกรรมการหรือที่ปรึกษา หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
(๘)
ไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้จัดการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
(๙)
ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับกองทุน หรือในกิจการที่กระทำให้แก่กองทุน
ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม
เว้นแต่เป็นผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายให้เป็นกรรมการในบริษัทที่กองทุนเป็นผู้ถือหุ้น
มาตรา ๒๒
การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
และการกำหนดเงื่อนไขในการทดลองปฏิบัติงานหรือการทำงานในหน้าที่เลขาธิการ
ให้เป็นไปตามสัญญาจ้างที่คณะกรรมการกำหนด โดยให้มีอายุการจ้างคราวละไม่เกินสี่ปี
และเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาจ้างแล้วคณะกรรมการจะต่ออายุสัญญาจ้างอีกก็ได้
การทำสัญญาจ้างเลขาธิการ
ให้ประธานกรรมการเป็นผู้มีอำนาจทำสัญญาในนามของกองทุน
ให้เลขาธิการได้รับเงินค่าจ้าง
ค่าตอบแทนและเงินอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๒๓
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามอายุการจ้าง เลขาธิการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑
(๔)
คณะกรรมการมีมติเห็นสมควรให้เลิกจ้าง
มาตรา ๒๔
ให้เลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง และรับผิดชอบในการบริหารกิจการของกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนและตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายที่คณะกรรมการกำหนด
เลขาธิการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการบริหารกิจการของกองทุน
มาตรา ๒๕
ในกิจการของกองทุนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้เลขาธิการเป็นผู้แทนของกองทุน
การปฏิบัติงานของเลขาธิการและการมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนเลขาธิการให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด
นิติกรรมที่กระทำโดยฝ่าฝืนข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง
ย่อมไม่ผูกพันกองทุนเว้นแต่คณะกรรมการจะให้สัตยาบัน
มาตรา ๒๖
ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดนโยบาย และออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งในการบริหารกิจการของกองทุน
(๒)
กำหนดนโยบายการลงทุนของกองทุน ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๓)
กำกับดูแลการจัดการกองทุน
(๔)
ออกข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติงานของเลขาธิการ และการมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนเลขาธิการ
(๕)
กำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสำนักงาน
และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวกับกิจการของกองทุน
(๖)
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการรับ เก็บรักษา และจ่ายเงินของกองทุน
(๗)
ออกระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การบรรจุ แต่งตั้ง
ถอดถอน และวินัยของพนักงานและลูกจ้าง ตลอดจนการกำหนดเงินเดือนและเงินอื่น
รวมถึงการสงเคราะห์และสวัสดิการ
(๘)
พิจารณามอบหมายให้สถาบันการเงินจัดการเงินของกองทุน
(๙)
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
(๑๐)
แต่งตั้งผู้แทนเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนน
ในการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทหรือหน่วยงานอื่นใดที่กองทุนถือหุ้นอยู่
(๑๑)
ปฏิบัติงานอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๗
การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมของคณะกรรมการ
ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมากกรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
การออกเสียงลงมติแต่งตั้งหรือเลิกจ้างเลขาธิการต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่อยู่ในตำแหน่ง
มาตรา ๒๘
กรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณา
ห้ามมิให้เข้าร่วมพิจารณาในเรื่องนั้น
มาตรา ๒๙
ให้กรรมการและอนุกรรมการได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๓๐
ให้มีคณะอนุกรรมการจัดการลงทุน ประกอบด้วย
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นประธานอนุกรรมการ
ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คนซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้ง
เป็นอนุกรรมการ และเลขาธิการเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
มาตรา ๓๑
ให้คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการลงทุนต่อคณะกรรมการ
(๒)
ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกสถาบันการเงินที่จะมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุน
(๓)
ติดตามดูแลการดำเนินงานของสถาบันการเงินที่ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุน
(๔)
รายงานผลการดำเนินการด้านการลงทุนและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการ
(๕)
ปฏิบัติการในเรื่องอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๓๒
ให้มีคณะอนุกรรมการสมาชิกสัมพันธ์ ประกอบด้วยเลขาธิการ ก.พ.
เป็นประธานอนุกรรมการ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนกรมประชาสัมพันธ์
และผู้แทนสมาชิกจำนวนห้าคนเป็นอนุกรรมการ
และให้เลขาธิการเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
การเลือกผู้แทนสมาชิกตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๓๓
ให้คณะอนุกรรมการสมาชิกสัมพันธ์มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นสื่อกลางระหว่างกองทุนกับสมาชิก ตลอดจนเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่สมาชิก
(๒)
เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร และรายงานความคืบหน้าของการจัดการกองทุน
(๓)
รับฟังความคิดเห็นและปัญหาต่าง ๆ จากสมาชิก
(๔)
พิจารณาเสนอแนะต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิก
(๕)
ปฏิบัติการในเรื่องอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๓๔
ให้นำมาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๒๘
มาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
และการประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
หมวด ๓
สมาชิกและสิทธิประโยชน์ของสมาชิก
มาตรา ๓๕
ให้บุคคลต่อไปนี้ เป็นสมาชิก
(๑)
ผู้ซึ่งเข้ารับราชการตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
(๒)
ผู้ซึ่งโอนมาเป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
มาตรา ๓๖
บุคคลต่อไปนี้จะสมัครเป็นสมาชิกก็ได้
(๑)
ข้าราชการซึ่งรับราชการอยู่ในวันก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
(๒)
ข้าราชการซึ่งออกจากราชการเพื่อไปปฏิบัติงานตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ
ก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับและกลับเข้ารับราชการตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
การสมัครเป็นสมาชิกให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๓๗
บำเหน็จบำนาญและบำเหน็จตกทอดให้จ่ายจากเงินงบประมาณสำหรับเงินสะสม เงินสมทบ
เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทน เงินดังกล่าวให้จ่ายจากกองทุน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๘
ข้าราชการซึ่งออกจากราชการ
ถ้ากลับเข้ารับราชการใหม่ตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
ให้นับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการในตอนหลังได้
เว้นแต่ข้าราชการผู้นั้นถูกปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ
เนื่องจากกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงและไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยหวัด
บำเหน็จบำนาญจากการรับราชการตอนก่อนออกจากราชการ
ข้าราชการซึ่งได้รับบำเหน็จไปแล้ว
จะนับเวลาราชการต่อเนื่องตามวรรคหนึ่งได้จะต้องคืนบำเหน็จที่ได้รับพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝากประจำของธนาคารออมสิน
ส่วนระยะเวลาในการคืนบำเหน็จให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
ข้าราชการซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติแล้ว
ให้งดการจ่ายบำนาญตลอดเวลาที่กลับเข้ารับราชการใหม่นั้น
แต่ถ้าผู้นั้นประสงค์จะรับบำนาญต่อไป จะต้องมีหนังสือแจ้งความประสงค์ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดที่ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันกลับเข้ารับราชการ
และจะนับเวลาราชการต่อเนื่องมิได้
กรณีนี้ถ้าเงินเดือนที่ได้รับในขณะกลับเข้ารับราชการใหม่เท่าหรือสูงกว่าเงินเดือนเดิมเมื่อออกจากราชการให้งดการจ่ายบำนาญ
แต่ถ้าเงินเดือนใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิมให้รับบำนาญเท่ากับผลต่างของเงินเดือนใหม่และเงินเดือนเดิม
โดยให้ส่วนราชการที่ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่แจ้งไปยังเจ้าสังกัดที่ผู้นั้นรับบำนาญอยู่เพื่องดหรือลดการจ่ายบำนาญ
เมื่อออกจากราชการให้มีสิทธิได้รับบำนาญโดยคำนวณจากเงินเดือน
และเวลาราชการในตอนใหม่บวกเข้ากับบำนาญเดิม
บำนาญในตอนหลังจะเปลี่ยนเป็นขอรับบำเหน็จแทนก็ได้
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้
ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่อาจมีสิทธิได้รับเงินประเดิมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ความในมาตรานี้ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการประเภทต่าง
ๆ ตามคำนิยามในมาตรา ๓ โดยอนุโลม
มาตรา ๓๙
ให้สมาชิกส่งเงินสะสมเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
เว้นแต่สมาชิกซึ่งรับราชการอยู่ก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนหรือไม่ก็ได้
ถ้าสมาชิกไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนหรือได้รับเงินเดือนไม่เต็มจำนวนสำหรับระยะเวลาใด
ให้ส่งเงินสะสมตามส่วนแห่งเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับ
เงินสะสมตามวรรคหนึ่ง
ให้ส่วนราชการหักจากเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับและส่งเข้ากองทุนในวันที่มีการจ่ายเงินเดือน
และให้ส่วนราชการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนให้สมาชิกผู้นั้นในจำนวนที่เท่ากันพร้อมการส่งเงินสะสมนั้น
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้
เงินเดือนไม่รวมถึงเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา
สำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ สำหรับการสู้รบ
สำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิด หรือเงินเพิ่มอย่างอื่น
มาตรา ๔๐
ให้กระทรวงการคลังคำนวณเงินประเดิมสำหรับสมาชิกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อนำส่งเข้ากองทุน
การส่งเงินประเดิมตามวรรคหนึ่ง
ให้จ่ายจากเงินคงคลัง
มาตรา ๔๑
ให้ส่วนราชการส่งเงินชดเชยเข้ากองทุนให้แก่สมาชิกตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
ทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินเดือนให้แก่สมาชิก ในการนี้ให้นำมาตรา ๓๙ วรรคสี่
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ถ้าสมาชิกไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนหรือได้รับเงินเดือนไม่เต็มจำนวนสำหรับระยะเวลาใด
ให้ส่งเงินชดเชยตามส่วนแห่งเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับ
มาตรา ๔๒
สมาชิกมีสิทธิได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นจากกองทุนตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๓
สมาชิกมีสิทธิกู้เงินจากกองทุนไม่เกินจำนวนเงินสะสม เงินสมทบ
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่บันทึกไว้ในบัญชีเงินรายบุคคลเพื่อใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์
หลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๔
สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่อผู้นั้นออกจากราชการ
เว้นแต่เป็นการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการนั้น ๆ
หรือการออกจากราชการของผู้ไปปฏิบัติงานตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ
มาตรา ๔๕
สมาชิกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง
มาตรา ๔๖
สมาชิกซึ่งส่งเงินสะสมเข้ากองทุน ให้มีสิทธิได้รับเงินสะสม เงินสมทบ
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวจากกองทุน
มาตรา ๔๗
สมาชิกซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่สิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป
แต่ไม่ถึงยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จ
มาตรา ๔๘
สมาชิกตามมาตรา ๓๕
ซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไปให้มีสิทธิได้รับบำนาญ เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว เว้นแต่จะเลือกรับบำเหน็จแทน
สำหรับสมาชิกตามมาตรา
๓๖ (๑) หรือ (๒) ซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไป
ให้มีสิทธิได้รับบำนาญ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว
เว้นแต่จะเลือกรับบำเหน็จแทน
มาตรา ๔๙
นอกจากกรณีที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘
สมาชิกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑)
เหตุทุพพลภาพ
(๒)
เหตุทดแทน
(๓)
เหตุสูงอายุ
มาตรา ๕๐
บำเหน็จบำนาญเหตุทุพพลภาพให้จ่ายให้แก่สมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะป่วยเจ็บทุพพลภาพ
ซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่า
ไม่สามารถที่จะรับราชการในตำแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นต่อไปได้
มาตรา ๕๑
บำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนให้จ่ายให้แก่สมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่ง
หรือมีคำสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิด หรือทหารซึ่งออกจากกองหนุนเบี้ยหวัด
มาตรา ๕๒
บำเหน็จบำนาญเหตุสูงอายุให้จ่ายให้แก่สมาชิกซึ่งออกจากราชการเมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้ว
หรือลาออกเมื่อมีอายุครบห้าสิบปีบริบูรณ์แล้ว
มาตรา ๕๓
สมาชิกซึ่งมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญด้วยเหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน
หรือเหตุสูงอายุ จะได้รับเงินตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑)
ถ้ามีเวลาราชการตั้งแต่หนึ่งปีบริบูรณ์ขึ้นไปแต่ไม่ถึงสิบปีบริบูรณ์มีสิทธิได้รับบำเหน็จ
(๒)
ถ้ามีเวลาราชการตั้งแต่สิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป
(ก)
สมาชิกตามมาตรา ๓๕ ให้มีสิทธิตามมาตรา ๔๘ วรรคหนึ่ง
(ข)
สมาชิกตามมาตรา ๓๖ (๑) หรือ (๒) ให้มีสิทธิตามมาตรา ๔๘ วรรคสอง
มาตรา ๕๔
สมาชิกซึ่งถูกไล่ออกจากราชการ หรือถึงแก่ความตาย เนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนเอง
ผู้นั้นหรือทายาทไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว
มาตรา ๕๕
สิทธิในการรับบำนาญให้เริ่มมีตั้งแต่เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงจนกระทั่งผู้นั้นถึงแก่ความตาย
มาตรา ๕๖
ผู้รับบำนาญผู้ใด
(๑)
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือ
(๒)
เป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
ผู้นั้นหมดสิทธิรับบำนาญตั้งแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด
มาตรา ๕๗
ให้ผู้รับบำนาญตามพระราชบัญญัตินี้มีสิทธิได้รับสวัสดิการและเงินช่วยเหลือต่าง
ๆ เช่นเดียวกับผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
มาตรา ๕๘
ในกรณีที่สมาชิกผู้ใดถึงแก่ความตายในระหว่างรับราชการและความตายนั้นมิได้เกิดขึ้นเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนเอง
หรือในกรณีที่ผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
ให้จ่ายบำเหน็จตกทอดแก่ทายาทของสมาชิกหรือผู้รับบำนาญตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑)
บุตรให้ได้รับสองส่วน ถ้าสมาชิกผู้ตายมีบุตรตั้งแต่สามคนขึ้นไปให้ได้รับสามส่วน
(๒)
สามีหรือภริยาให้ได้รับหนึ่งส่วน
(๓)
บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ให้ได้รับหนึ่งส่วน
ในกรณีที่ไม่มีทายาทในอนุมาตราใด
หรือทายาทนั้นได้ตายไปเสียก่อนให้แบ่งเงินดังกล่าวระหว่างทายาทผู้มีสิทธิในอนุมาตราที่มีทายาทผู้มีสิทธิได้รับ
ในกรณีที่ไม่มีทายาททั้งสามอนุมาตราดังกล่าว
ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายแสดงเจตนาไว้ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
ในกรณีที่ไม่มีทายาทและบุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ตามวรรคสาม
หรือบุคคลนั้นได้ตายไปก่อน ให้สิทธิในบำเหน็จตกทอดนั้นเป็นอันยุติลง
ในกรณีที่ได้มีการจ่ายบำเหน็จตกทอดไปแล้วหากปรากฏว่ามีบุตรซึ่งได้มีคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย
ซึ่งได้มีการฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรก่อนหรือภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่บิดาตายหรือนับแต่วันที่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของบิดาเพิ่มขึ้น
ให้แบ่งบำเหน็จตกทอดนั้นใหม่ระหว่างทายาทผู้มีสิทธิโดยถือว่าบุตรชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษานั้นเป็นทายาทผู้มีสิทธิตั้งแต่วันตาย
ในกรณีเช่นนี้ให้กระทรวงการคลังเรียกคืนบำเหน็จตกทอดจากทายาทซึ่งรับบำเหน็จตกทอดไปก่อนแล้วตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด
ในกรณีที่ไม่สามารถเรียกคืนบำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้ทายาทซึ่งรับเกินไปในส่วนของตนตามวรรคห้าได้
กระทรวงการคลังไม่ต้องรับผิดชอบจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดให้แก่บุตรซึ่งได้มีคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายย้อนหลังไปถึงวันเกิดสิทธิรับบำเหน็จตกทอดแต่อย่างใด
มาตรา ๕๙
ในกรณีที่สมาชิกผู้ถึงแก่ความตายได้ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนให้จ่ายเงินสะสม
เงินสมทบ
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวแก่ผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๖๐
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
นอกจากทายาทจะมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดตามมาตรา ๕๘ แล้ว
ให้มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี
บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกันด้วย
มาตรา ๖๑
สิทธิการรับเงินต่าง ๆ
ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่อาจโอนแก่กันได้
มาตรา ๖๒
การคำนวณบำเหน็จให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการ
มาตรา ๖๓
การคำนวณบำนาญให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการ
หารด้วยห้าสิบ
แต่ต้องไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้าย
การคำนวณบำนาญของผู้กลับเข้ารับราชการใหม่ตามมาตรา
๓๘ หากเวลาราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ยังไม่ครบห้าปีอัตราเงินเดือนเฉลี่ยที่จะนำมาคำนวณบำนาญให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๖๔
บำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้แก่ทายาทของสมาชิก
ให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการของผู้ตาย
มาตรา ๖๕
บำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้แก่ทายาทของผู้รับบำนาญ ให้จ่ายสามสิบเท่าของอัตราบำนาญที่ผู้ตายมีสิทธิได้รับ
มาตรา ๖๖
การนับเวลาราชการเพื่อให้เกิดสิทธิรับบำเหน็จบำนาญให้นับจำนวนปี
เศษของปีถ้าถึงครึ่งปีให้นับเป็นหนึ่งปี
การนับเวลาราชการเพื่อคำนวณจำนวนบำเหน็จบำนาญให้นับจำนวนปีรวมทั้งเศษของปีด้วย
การนับเศษของปีซึ่งเป็นเดือนหรือวันให้คำนวณตามวิธีการจ่ายเงินเดือนและให้นับสิบสองเดือนเป็นหนึ่งปี
สำหรับจำนวนวันถ้ามีรวมกันหลายระยะให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน
มาตรา ๖๗
เมื่อมีผู้ยื่นคำขอรับเงินตามมาตรา ๔๕
ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดที่ได้รับคำขอนั้นตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินสะสม
เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวของผู้ยื่นคำขอ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จและแจ้งให้กองทุนทราบภายในสิบห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้รับคำขอรับเงินดังกล่าว
เว้นแต่กรณีที่มีเหตุอันสมควร
การจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่ง
ให้กองทุนจ่ายภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากส่วนราชการเจ้าสังกัด
มาตรา ๖๘
ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๙ การหาประโยชน์ของกองทุน
ให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการ
และจะมอบหมายให้บุคคลใดดำเนินการแทนตามความเหมาะสมก็ได้
แต่การมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้นจะต้องมอบหมายให้สถาบันการเงินที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนไม่น้อยกว่าสองแห่ง
ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือผู้ได้รับอนุญาตจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน ทั้งนี้ โดยให้คำนึงถึงการกระจายความเสี่ยงด้วย
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการหาประโยชน์ของกองทุนตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนมีหน้าที่และอยู่ในบังคับบทบัญญัติต่าง
ๆ
ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เสมือนหนึ่งกองทุนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคล
แล้วแต่กรณี
การให้สถาบันการเงินเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนตามวรรคหนึ่ง
คุณสมบัติของผู้รับดำเนินการ วิธีดำเนินการ
และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๗๐
เงินของกองทุนให้ลงทุนได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง
ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบ
ยกเว้นเงินสำรองตามมาตรา ๗๒
ต้องนำไปลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจก่อน
หมวด ๔
การเงิน การบัญชี
และการตรวจสอบ
มาตรา ๗๑ ให้กองทุนจัดให้มีบัญชี ประกอบด้วย
(๑)
บัญชีเงินสำรองซึ่งแสดงรายการเงินสำรอง และดอกผลของเงินดังกล่าว
(๒)
บัญชีเงินกองกลางซึ่งแสดงรายการเงินที่มีผู้บริจาคให้ เงินตามบัญชี
เงินรายบุคคลที่ไม่มีผู้รับ เงินส่วนกลางที่มิใช่ของสมาชิกคนใด
และดอกผลของเงินดังกล่าว
(๓)
บัญชีเงินรายบุคคลซึ่งแสดงรายการเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และดอกผลของเงินดังกล่าวบรรดาที่เป็นของสมาชิกแต่ละคน
มาตรา ๗๒
ให้รัฐตั้งงบประมาณรายจ่ายเป็นรายปีเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำปีเข้าบัญชีเงินสำรองทุกปีจนกว่าเงินสำรอง
เงินกองกลาง
และดอกผลของเงินดังกล่าวจะมีจำนวนสามเท่าของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำปี
หลังจากนั้นให้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อให้เงินสำรอง เงินกองกลาง
และดอกผลของเงินดังกล่าวคงระดับสามเท่าของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการในแต่ละปี
และถ้าเงินสำรอง เงินกองกลาง
และดอกผลของเงินดังกล่าวมีจำนวนเกินสามเท่าของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำปี
ให้นำเงินส่วนที่เกินนั้นส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
ในกรณีเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศ
รัฐอาจสั่งให้กองทุนส่งเงินออกจากบัญชีเงินสำรองกลับคืนเป็นรายได้แผ่นดินเพื่อจ่ายเป็นบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
แต่รัฐจะต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยส่วนของเงินดังกล่าวที่นำไปใช้ส่งคืนกองทุนในปีงบประมาณถัดไป
มาตรา ๗๓
ดอกผลที่ได้จากการนำเงินของกองทุนในแต่ละบัญชีไปลงทุนหาผลประโยชน์
เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามส่วนของการลงทุนในแต่ละบัญชีแล้ว
ดอกผลที่ได้จากการนำเงินสำรองไปลงทุนให้บันทึกไว้ในบัญชีเงินสำรอง
สำหรับดอกผลที่ได้จากการนำเงินอื่นไปลงทุนให้จัดสรรเป็นผลประโยชน์ตอบแทนไว้ในบัญชีเงินกองกลางและบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกตามสัดส่วนของเงินที่มีอยู่ในแต่ละบัญชีเป็นประจำตามระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๗๔
ให้กองทุนแจ้งยอดเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม และเงินชดเชย
พร้อมทั้งผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวในส่วนของสมาชิกแต่ละคนให้สมาชิกทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา ๗๕
ให้กองทุนยื่นรายงานแสดงการจัดการกองทุนต่อรัฐมนตรีอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๗๖
กองทุนต้องวางและถือไว้ซึ่งระบบการบัญชีที่เหมาะสมแก่กิจการแยกตามประเภทงานส่วนที่สำคัญ
มีสมุดบัญชีลงรายการรับและจ่ายเงินสินทรัพย์และหนี้สินที่แสดงกิจการที่เป็นอยู่ตามความจริงและตามที่ควร
ตามประเภทงาน พร้อมด้วยข้อความอันเป็นที่มาของรายการนั้น ๆ
และให้มีการตรวจสอบบัญชีภายในเป็นประจำ
มาตรา ๗๗
กองทุนต้องจัดทำงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน ส่งผู้สอบบัญชีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
มาตรา ๗๘
ทุกปีให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีทำการตรวจสอบรับรองบัญชีทุกประเภทของกองทุน
มาตรา ๗๙
ผู้สอบบัญชีมีอำนาจตรวจสอบสรรพสมุด บัญชี และเอกสารหลักฐานของกองทุน
เพื่อการนี้ให้มีอำนาจสอบถามประธานกรรมการ กรรมการ พนักงานและลูกจ้างได้
มาตรา ๘๐
ผู้สอบบัญชีต้องทำรายงานผลการสอบบัญชีของกองทุนเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการ
มาตรา ๘๑
กองทุนต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
เพื่อพิจารณารายงานผลการดำเนินงาน ฐานะการเงินและการรับจ่ายเงินของกองทุน
การประชุมใหญ่และการเลือกผู้แทนสมาชิกตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด
ให้ที่ประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกมีอำนาจแสดงข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนต่อคณะกรรมการ
มาตรา ๘๒
เมื่อได้รับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนจากที่ประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกแล้ว
ให้คณะกรรมการทำรายงานการสอบบัญชีพร้อมทั้งข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี
และประกาศรายงานการสอบบัญชีในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
หมวด ๕
การควบคุมกำกับการจัดการกองทุน
มาตรา ๘๓
ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน
กรรมการ ผู้จัดการ
หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนภายในระยะเวลาที่กำหนด
ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนไม่ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
หรือปรากฏว่าผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนจัดการกองทุนในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน
ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนแก้ไขหรือระงับการกระทำนั้น
หรือสั่งยกเลิกการมอบหมายให้เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นได้
มาตรา ๘๔
ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับและดูแลโดยทั่วไป ซึ่งการจัดการกองทุน
เพื่อประโยชน์ในการนี้จะสั่งแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนก็ได้
และให้รัฐมนตรีแจ้งให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายงานให้รัฐมนตรีทราบด้วย
ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นว่า
ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน
จัดการกองทุนในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน
รัฐมนตรีอาจขอให้คณะกรรมการพิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๘๓ วรรคสอง
มาตรา ๘๕
เมื่อได้รับคำสั่งตามมาตรา ๘๓ วรรคสองแล้ว
ให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนหยุดจัดการกองทุนในทันที
และส่งมอบทรัพย์สินคืนภายในเวลาที่กำหนดในคำสั่งนั้น
มาตรา ๘๖
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่
มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑)
เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจหรือสถานที่ตั้งของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้นเพื่อตรวจสอบสมุดบัญชีหรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการจัดการกองทุน
(๒)
ยึดหรืออายัดเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนข้อเท็จจริงหรือดำเนินคดี
(๓)
สั่งให้กรรมการ ผู้จัดการ
พนักงานหรือลูกจ้างของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนมาให้ถ้อยคำหรือส่งสำเนาหรือแสดงสมุดบัญชี
หรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการจัดการกองทุน
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง
ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
เมื่อได้เข้าไปและลงมือทำการตรวจสอบตาม
(๑) แล้ว ถ้ายังดำเนินการไม่เสร็จ
จะกระทำต่อไปในเวลากลางคืนหรือนอกเวลาทำการของสถานที่นั้นก็ได้
มาตรา ๘๗
ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘๘
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๖
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๘๙
ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท
และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง
กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านห้าแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นด้วย
มาตรา ๙๐
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา
๘๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙๑
กรรมการ ผู้จัดการ
หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนรายใดแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริง
ซึ่งควรบอกให้แจ้งในสาระสำคัญเกี่ยวกับการจัดการกองทุนต่อคณะกรรมการต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
หรือปรับไม่เกินสองล้านห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙๒
ความผิดตามมาตรา ๘๙ และมาตรา ๙๐ ให้คณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบได้
เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว
ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ
หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ดำเนินคดีต่อไป
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๙๓
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการผู้แทนสมาชิกและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
และแต่งตั้งเลขาธิการเพื่อให้ได้คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้
ภายในสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วยปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นกรรมการ
และอธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นกรรมการและเลขานุการ
ทำหน้าที่คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
และให้อธิบดีกรมบัญชีกลางทำหน้าที่เลขาธิการ เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน
ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
อธิบดีกรมบัญชีกลางอาจแต่งตั้งบุคคลใดเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
บรรหาร ศิลปอาชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่ให้รัฐต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำทุกปี
โดยไม่มีการกันเงินสำรองไว้ล่วงหน้าสำหรับจ่ายบำเหน็จบำนาญในอนาคตนั้น
ไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเงินการคลังของประเทศในปัจจุบัน
ทำให้ไม่อาจวางแผนเชิงบริหารการเงินการคลังของประเทศในระยะยาวและไม่อาจวางแผนพัฒนาบุคลากรของรัฐได้ดังนั้นสมควรปรับปรุงระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการดังกล่าวเสียใหม่โดยจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการขึ้นมีฐานะเป็นนิติบุคคล
เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ
และเพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์
และจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่ข้าราชการที่เป็นสมาชิกของกองทุน
รวมทั้งให้เป็นสถาบันเงินออมที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเงินออมภายในประเทศ
และการส่งเสริมการลงทุนอันเป็นการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยส่วนรวมอีกด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒[๓]
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระ
ซึ่งได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
เพื่อจัดตั้งสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นหน่วยธุรการของศาลรัฐธรรมนูญ
มีฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระโดยบุคลากรมีฐานะเป็นข้าราชการ ฉะนั้น
เพื่อให้ข้าราชการเหล่านั้นได้รับสิทธิในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
รวมทั้งข้าราชการของส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระอื่น ๆ
ที่จะมีการจัดตั้งขึ้นด้วย สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า ข้าราชการ ในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ให้มีความหมายรวมถึงข้าราชการดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๔๒ ก/หน้า ๑/๒๗ กันยายน ๒๕๓๙
[๒] มาตรา ๓
นิยามคำว่า ข้าราชการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๒๕ ก/หน้า ๘/๘ เมษายน ๒๕๔๒ |
307271 | พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๒
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๕ เมษายน
พ.ศ. ๒๕๔๒
เป็นปีที่ ๕๔
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า ข้าราชการ
ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้าราชการ หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ
ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ
ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
ข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู
ข้าราชการรัฐสภาสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ
ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร
ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญตามกฎหมายว่าด้วยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
และข้าราชการซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระ
ซึ่งได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
เพื่อจัดตั้งสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นหน่วยธุรการของศาลรัฐธรรมนูญ
มีฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระโดยบุคลากรมีฐานะเป็นข้าราชการ ฉะนั้น เพื่อให้ข้าราชการเหล่านั้นได้รับสิทธิในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
รวมทั้งข้าราชการของส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระอื่น ๆ
ที่จะมีการจัดตั้งขึ้นด้วย สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า ข้าราชการ ในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ให้มีความหมายรวมถึงข้าราชการดังกล่าว
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
สุนันทา/แก้ไข
๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
วศิน/แก้ไข
๓ มีนาคม ๒๕๕๒
กฤษดายุทธ/ปรับปรุง
๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
ปณตภร/ตรวจ
๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๒๕ ก/หน้า ๘/๘ เมษายน ๒๕๔๒ |
326982 | พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน
พ.ศ. ๒๕๓๙
เป็นปีที่ ๕๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
เว้นแต่บทบัญญัติแห่งหมวด ๓
ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ในพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการ หมายความว่า
ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ
ข้าราชการฝ่ายอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ
ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
ข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู
ข้าราชการรัฐสภาสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ
และข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร
กองทุน หมายความว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
สมาชิก หมายความว่า
สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เงินเดือน หมายความว่า
เงินเดือนที่ได้รับตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการนั้น ๆ
รวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา
สำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ สำหรับการสู้รบ
หรือสำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิดแต่ไม่รวมถึงเงินเพิ่มอย่างอื่น
เงินสะสม หมายความว่า
เงินที่สมาชิกสะสมเข้ากองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
เงินสมทบ หมายความว่า
เงินที่รัฐบาลจ่ายสมทบเงินสะสมตามพระราชบัญญัตินี้
เงินประเดิม หมายความว่า
เงินที่รัฐบาลนำส่งเข้ากองทุนเพื่อจ่ายเพิ่มให้แก่สมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการอยู่ก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวด
๓ ใช้บังคับและเลือกรับบำนาญ
เงินชดเชย หมายความว่า
เงินที่รัฐบาลนำส่งเข้ากองทุนเพื่อจ่ายเพิ่มให้แก่สมาชิกซึ่งรับบำนาญ
บำนาญ หมายความว่า
เงินที่จ่ายให้แก่สมาชิกเป็นรายเดือนเมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง
บำเหน็จ หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่สมาชิก
โดยจ่ายให้ครั้งเดียวเมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง
บำเหน็จตกทอด หมายความว่า
เงินที่จ่ายให้แก่ทายาทโดยจ่ายให้ครั้งเดียวในกรณีที่สมาชิกหรือผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
เวลาราชการ หมายความว่า เวลาตั้งแต่วันที่สมาชิกเริ่มรับราชการจนถึงวันสุดท้ายที่ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
และให้หมายความรวมถึงการนับเวลาราชการเป็นทวีคูณตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการด้วย
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
กรรมการ หมายความว่า
กรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เลขาธิการ หมายความว่า
เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พนักงาน หมายความว่า
พนักงานของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ลูกจ้าง หมายความว่า
ลูกจ้างของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รัฐมนตรี หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
การจัดตั้งกองทุน
และลักษณะของกิจการกองทุน
มาตรา ๕
ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรียกโดยย่อว่า กบข.
ให้กองทุนเป็นนิติบุคคล
มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(๑)
เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ
(๒)
เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก
(๓)
เพื่อจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิก
มาตรา ๖
กองทุนประกอบด้วยทรัพย์สินดังต่อไปนี้
(๑)
เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม และเงินชดเชย
(๒)
เงินที่ได้รับจัดสรรตามมาตรา ๗๒
(๓)
ทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
(๔)
เงินที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามความจำเป็นเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
(๕)
รายได้อื่น
(๖)
ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
มาตรา ๗
กิจการของกองทุนไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
และกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม
มาตรา ๘
ให้กองทุนมีสำนักงานใหญ่ ณ สถานที่ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
และจะตั้งสาขาหรือตัวแทนขึ้น ณ ที่อื่นใด ตามความจำเป็นก็ได้
มาตรา ๙
ให้กองทุนมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕
และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง
(๑)
ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ
(๒)
ก่อตั้งสิทธิหรือกระทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งในและนอกราชอาณาจักร
(๓)
ให้สมาชิกกู้ยืมเงิน
(๔)
ลงทุนหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุน
(๕)
กระทำการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
มาตรา ๑๐
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน
ให้จ่ายจากเงินของกองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๑๑
กองทุนไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
และรายได้ของกองทุนไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
หมวด ๒
การควบคุมและการบริหาร
มาตรา ๑๒
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ผู้แทนสมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการตามมาตรา ๓ ประเภทละหนึ่งคนซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา
๑๓ และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสามคนซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา ๑๔ เป็นกรรมการ
ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ
คณะกรรมการอาจแต่งตั้งพนักงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการได้ไม่เกินสองคน
มาตรา ๑๓
การเลือกกรรมการผู้แทนสมาชิกตามมาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา ๑๔
ให้ประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้แทนสมาชิกประชุมร่วมกัน
เพื่อเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
มาตรา ๑๕
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑)
ไม่เป็นบุคคลซึ่งทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐอื่นไล่ออก ปลดออก
ให้ออก หรือเลิกจ้างเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่าทุจริตต่อหน้าที่
(๒)
ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
หรือกรรมการหรือที่ปรึกษาหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
มาตรา ๑๖
ให้กรรมการผู้แทนสมาชิกมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี
แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา ๑๗
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี
แต่จะเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา ๑๘
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้แทนสมาชิก หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง
เมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
เป็นบุคคลล้มละลาย
(๔)
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕)
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๖)
พ้นจากการเป็นสมาชิกหรือพ้นจากการเป็นข้าราชการประเภทที่ตนได้รับเลือกเป็นผู้แทนในกรณีกรรมการผู้แทนสมาชิก
(๗)
มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๕ ในกรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
มาตรา ๑๙
ในกรณีที่กรรมการผู้แทนสมาชิกหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการขึ้นใหม่ภายในหกสิบวันในระหว่างที่ยังมิได้มีการเลือกกรรมการขึ้นใหม่
ให้กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไป
จนกว่ากรรมการที่ได้รับเลือกใหม่เข้ารับหน้าที่
มาตรา ๒๐
ในกรณีที่กรรมการผู้แทนสมาชิกผู้ใดพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระให้ผู้ซึ่งได้คะแนนถัดไปซึ่งขึ้นบัญชีไว้ในการเลือกผู้แทนสมาชิกของข้าราชการประเภทนั้นเป็นกรรมการแทน
ในกรณีที่ไม่มีผู้ขึ้นบัญชีไว้
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการผู้แทนสมาชิกประเภทนั้นขึ้นใหม่ตามวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นแทนตามมาตรา ๑๔
ให้กรรมการผู้ได้รับการแต่งตั้งหรือเลือกให้ดำรงตำแหน่งแทนตามวรรคหนึ่ง
และวรรคสอง อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่วาระการดำรงตำแหน่งเหลืออยู่ไม่ถึงสามสิบวัน
จะไม่แต่งตั้งหรือเลือกกรรมการขึ้นดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
มาตรา ๒๑
ให้ประธานกรรมการและกรรมการตามมาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง
แต่งตั้งเลขาธิการจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑)
มีสัญชาติไทย
(๒)
มีอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์
(๓)
สามารถปฏิบัติงานให้แก่กองทุนได้เต็มเวลา
(๔)
ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
(๕)
ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(๖)
ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น
รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
(๗)
ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือกรรมการหรือที่ปรึกษา
หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
(๘)
ไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้จัดการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
(๙)
ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับกองทุน หรือในกิจการที่กระทำให้แก่กองทุน
ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม
เว้นแต่เป็นผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายให้เป็นกรรมการในบริษัทที่กองทุนเป็นผู้ถือหุ้น
มาตรา ๒๒
การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
และการกำหนดเงื่อนไขในการทดลองปฏิบัติงานหรือการทำงานในหน้าที่เลขาธิการ
ให้เป็นไปตามสัญญาจ้างที่คณะกรรมการกำหนด โดยให้มีอายุการจ้างคราวละไม่เกินสี่ปี
และเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาจ้างแล้วคณะกรรมการจะต่ออายุสัญญาจ้างอีกก็ได้
การทำสัญญาจ้างเลขาธิการ
ให้ประธานกรรมการเป็นผู้มีอำนาจทำสัญญาในนามของกองทุน
ให้เลขาธิการได้รับเงินค่าจ้าง
ค่าตอบแทนและเงินอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๒๓
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามอายุการจ้าง เลขาธิการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑
(๔)
คณะกรรมการมีมติเห็นสมควรให้เลิกจ้าง
มาตรา ๒๔
ให้เลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง
และรับผิดชอบในการบริหารกิจการของกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนและตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายที่คณะกรรมการกำหนด
เลขาธิการต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการในการบริหารกิจการของกองทุน
มาตรา ๒๕
ในกิจการของกองทุนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้เลขาธิการเป็นผู้แทนของกองทุน
การปฏิบัติงานของเลขาธิการและการมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนเลขาธิการให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด
นิติกรรมที่กระทำโดยฝ่าฝืนข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง
ย่อมไม่ผูกพันกองทุนเว้นแต่คณะกรรมการจะให้สัตยาบัน
มาตรา ๒๖
ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดนโยบาย และออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งในการบริหารกิจการของกองทุน
(๒)
กำหนดนโยบายการลงทุนของกองทุน ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๓)
กำกับดูแลการจัดการกองทุน
(๔)
ออกข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติงานของเลขาธิการ
และการมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนเลขาธิการ
(๕)
กำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสำนักงาน
และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวกับกิจการของกองทุน
(๖)
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการรับ เก็บรักษา และจ่ายเงินของกองทุน
(๗)
ออกระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การบรรจุ แต่งตั้ง
ถอดถอน และวินัยของพนักงานและลูกจ้าง ตลอดจนการกำหนดเงินเดือนและเงินอื่น รวมถึงการสงเคราะห์และสวัสดิการ
(๘)
พิจารณามอบหมายให้สถาบันการเงินจัดการเงินของกองทุน
(๙)
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
(๑๐)
แต่งตั้งผู้แทนเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนน
ในการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทหรือหน่วยงานอื่นใดที่กองทุนถือหุ้นอยู่
(๑๑)
ปฏิบัติงานอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๗
การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมของคณะกรรมการ
ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมากกรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
การออกเสียงลงมติแต่งตั้งหรือเลิกจ้างเลขาธิการต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่อยู่ในตำแหน่ง
มาตรา ๒๘
กรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณา
ห้ามมิให้เข้าร่วมพิจารณาในเรื่องนั้น
มาตรา ๒๙
ให้กรรมการและอนุกรรมการได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๓๐
ให้มีคณะอนุกรรมการจัดการลงทุน ประกอบด้วย
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นประธานอนุกรรมการ
ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คนซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้ง
เป็นอนุกรรมการ และเลขาธิการเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
มาตรา ๓๑
ให้คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการลงทุนต่อคณะกรรมการ
(๒)
ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกสถาบันการเงินที่จะมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุน
(๓)
ติดตามดูแลการดำเนินงานของสถาบันการเงินที่ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุน
(๔)
รายงานผลการดำเนินการด้านการลงทุนและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการ
(๕)
ปฏิบัติการในเรื่องอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๓๒
ให้มีคณะอนุกรรมการสมาชิกสัมพันธ์ ประกอบด้วยเลขาธิการ ก.พ.
เป็นประธานอนุกรรมการ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนกรมประชาสัมพันธ์
และผู้แทนสมาชิกจำนวนห้าคนเป็นอนุกรรมการ
และให้เลขาธิการเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
การเลือกผู้แทนสมาชิกตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๓๓
ให้คณะอนุกรรมการสมาชิกสัมพันธ์มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นสื่อกลางระหว่างกองทุนกับสมาชิก ตลอดจนเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่สมาชิก
(๒)
เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร และรายงานความคืบหน้าของการจัดการกองทุน
(๓)
รับฟังความคิดเห็นและปัญหาต่าง ๆ จากสมาชิก
(๔)
พิจารณาเสนอแนะต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิก
(๕)
ปฏิบัติการในเรื่องอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๓๔
ให้นำมาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๗ และมาตรา ๒๘
มาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
และการประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
หมวด ๓
สมาชิกและสิทธิประโยชน์ของสมาชิก
มาตรา ๓๕
ให้บุคคลต่อไปนี้ เป็นสมาชิก
(๑)
ผู้ซึ่งเข้ารับราชการตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
(๒)
ผู้ซึ่งโอนมาเป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
มาตรา ๓๖
บุคคลต่อไปนี้จะสมัครเป็นสมาชิกก็ได้
(๑)
ข้าราชการซึ่งรับราชการอยู่ในวันก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
(๒)
ข้าราชการซึ่งออกจากราชการเพื่อไปปฏิบัติงานตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ
ก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับและกลับเข้ารับราชการตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
การสมัครเป็นสมาชิกให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๓๗
บำเหน็จบำนาญและบำเหน็จตกทอดให้จ่ายจากเงินงบประมาณสำหรับเงินสะสม เงินสมทบ
เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทน เงินดังกล่าวให้จ่ายจากกองทุน ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๘
ข้าราชการซึ่งออกจากราชการ
ถ้ากลับเข้ารับราชการใหม่ตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
ให้นับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการในตอนหลังได้
เว้นแต่ข้าราชการผู้นั้นถูกปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ เนื่องจากกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงและไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยหวัด
บำเหน็จบำนาญจากการรับราชการตอนก่อนออกจากราชการ
ข้าราชการซึ่งได้รับบำเหน็จไปแล้ว
จะนับเวลาราชการต่อเนื่องตามวรรคหนึ่งได้จะต้องคืนบำเหน็จที่ได้รับพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝากประจำของธนาคารออมสิน
ส่วนระยะเวลาในการคืนบำเหน็จให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
ข้าราชการซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติแล้ว
ให้งดการจ่ายบำนาญตลอดเวลาที่กลับเข้ารับราชการใหม่นั้น
แต่ถ้าผู้นั้นประสงค์จะรับบำนาญต่อไป
จะต้องมีหนังสือแจ้งความประสงค์ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดที่ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันกลับเข้ารับราชการ
และจะนับเวลาราชการต่อเนื่องมิได้
กรณีนี้ถ้าเงินเดือนที่ได้รับในขณะกลับเข้ารับราชการใหม่เท่าหรือสูงกว่าเงินเดือนเดิมเมื่อออกจากราชการให้งดการจ่ายบำนาญ
แต่ถ้าเงินเดือนใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิมให้รับบำนาญเท่ากับผลต่างของเงินเดือนใหม่และเงินเดือนเดิม
โดยให้ส่วนราชการที่ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการใหม่แจ้งไปยังเจ้าสังกัดที่ผู้นั้นรับบำนาญอยู่เพื่องดหรือลดการจ่ายบำนาญ
เมื่อออกจากราชการให้มีสิทธิได้รับบำนาญโดยคำนวณจากเงินเดือน
และเวลาราชการในตอนใหม่บวกเข้ากับบำนาญเดิม
บำนาญในตอนหลังจะเปลี่ยนเป็นขอรับบำเหน็จแทนก็ได้
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้
ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่อาจมีสิทธิได้รับเงินประเดิมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ความในมาตรานี้ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการประเภทต่าง
ๆ ตามคำนิยามในมาตรา ๓ โดยอนุโลม
มาตรา ๓๙
ให้สมาชิกส่งเงินสะสมเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
เว้นแต่สมาชิกซึ่งรับราชการอยู่ก่อนวันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ
จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนหรือไม่ก็ได้
ถ้าสมาชิกไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนหรือได้รับเงินเดือนไม่เต็มจำนวนสำหรับระยะเวลาใด
ให้ส่งเงินสะสมตามส่วนแห่งเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับ
เงินสะสมตามวรรคหนึ่ง
ให้ส่วนราชการหักจากเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับและส่งเข้ากองทุนในวันที่มีการจ่ายเงินเดือน
และให้ส่วนราชการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนให้สมาชิกผู้นั้นในจำนวนที่เท่ากันพร้อมการส่งเงินสะสมนั้น
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้
เงินเดือนไม่รวมถึงเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา
สำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ สำหรับการสู้รบ
สำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิด หรือเงินเพิ่มอย่างอื่น
มาตรา ๔๐
ให้กระทรวงการคลังคำนวณเงินประเดิมสำหรับสมาชิกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อนำส่งเข้ากองทุน
การส่งเงินประเดิมตามวรรคหนึ่ง
ให้จ่ายจากเงินคงคลัง
มาตรา ๔๑
ให้ส่วนราชการส่งเงินชดเชยเข้ากองทุนให้แก่สมาชิกตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
ทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินเดือนให้แก่สมาชิก ในการนี้ให้นำมาตรา ๓๙ วรรคสี่
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ถ้าสมาชิกไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนหรือได้รับเงินเดือนไม่เต็มจำนวนสำหรับระยะเวลาใด
ให้ส่งเงินชดเชยตามส่วนแห่งเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับ
มาตรา ๔๒
สมาชิกมีสิทธิได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นจากกองทุนตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๓
สมาชิกมีสิทธิกู้เงินจากกองทุนไม่เกินจำนวนเงินสะสม เงินสมทบ
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่บันทึกไว้ในบัญชีเงินรายบุคคลเพื่อใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์
หลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๔๔
สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่อผู้นั้นออกจากราชการ
เว้นแต่เป็นการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการนั้น ๆ
หรือการออกจากราชการของผู้ไปปฏิบัติงานตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ
มาตรา ๔๕
สมาชิกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง
มาตรา ๔๖
สมาชิกซึ่งส่งเงินสะสมเข้ากองทุน ให้มีสิทธิได้รับเงินสะสม เงินสมทบ
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวจากกองทุน
มาตรา ๔๗
สมาชิกซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่สิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป
แต่ไม่ถึงยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จ
มาตรา ๔๘
สมาชิกตามมาตรา ๓๕
ซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไปให้มีสิทธิได้รับบำนาญ เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว เว้นแต่จะเลือกรับบำเหน็จแทน
สำหรับสมาชิกตามมาตรา
๓๖ (๑) หรือ (๒) ซึ่งมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไป ให้มีสิทธิได้รับบำนาญ
เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว
เว้นแต่จะเลือกรับบำเหน็จแทน
มาตรา ๔๙
นอกจากกรณีที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘
สมาชิกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑)
เหตุทุพพลภาพ
(๒)
เหตุทดแทน
(๓)
เหตุสูงอายุ
มาตรา ๕๐
บำเหน็จบำนาญเหตุทุพพลภาพให้จ่ายให้แก่สมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะป่วยเจ็บทุพพลภาพ
ซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่า
ไม่สามารถที่จะรับราชการในตำแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นต่อไปได้
มาตรา ๕๑
บำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนให้จ่ายให้แก่สมาชิกซึ่งออกจากราชการเพราะทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่ง
หรือมีคำสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิด หรือทหารซึ่งออกจากกองหนุนเบี้ยหวัด
มาตรา ๕๒
บำเหน็จบำนาญเหตุสูงอายุให้จ่ายให้แก่สมาชิกซึ่งออกจากราชการเมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้ว
หรือลาออกเมื่อมีอายุครบห้าสิบปีบริบูรณ์แล้ว
มาตรา ๕๓
สมาชิกซึ่งมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญด้วยเหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน หรือเหตุสูงอายุ
จะได้รับเงินตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑)
ถ้ามีเวลาราชการตั้งแต่หนึ่งปีบริบูรณ์ขึ้นไปแต่ไม่ถึงสิบปีบริบูรณ์มีสิทธิได้รับบำเหน็จ
(๒)
ถ้ามีเวลาราชการตั้งแต่สิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป
(ก)
สมาชิกตามมาตรา ๓๕ ให้มีสิทธิตามมาตรา ๔๘ วรรคหนึ่ง
(ข)
สมาชิกตามมาตรา ๓๖ (๑) หรือ (๒) ให้มีสิทธิตามมาตรา ๔๘ วรรคสอง
มาตรา ๕๔
สมาชิกซึ่งถูกไล่ออกจากราชการ หรือถึงแก่ความตาย
เนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนเอง
ผู้นั้นหรือทายาทไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ เงินประเดิม เงินชดเชย
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว
มาตรา ๕๕
สิทธิในการรับบำนาญให้เริ่มมีตั้งแต่เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงจนกระทั่งผู้นั้นถึงแก่ความตาย
มาตรา ๕๖
ผู้รับบำนาญผู้ใด
(๑)
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือ
(๒)
เป็นบุคคลล้มละลายทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
ผู้นั้นหมดสิทธิรับบำนาญตั้งแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด
มาตรา ๕๗
ให้ผู้รับบำนาญตามพระราชบัญญัตินี้มีสิทธิได้รับสวัสดิการและเงินช่วยเหลือต่าง
ๆ เช่นเดียวกับผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
มาตรา ๕๘
ในกรณีที่สมาชิกผู้ใดถึงแก่ความตายในระหว่างรับราชการและความตายนั้นมิได้เกิดขึ้นเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนเอง
หรือในกรณีที่ผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
ให้จ่ายบำเหน็จตกทอดแก่ทายาทของสมาชิกหรือผู้รับบำนาญตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑)
บุตรให้ได้รับสองส่วน ถ้าสมาชิกผู้ตายมีบุตรตั้งแต่สามคนขึ้นไปให้ได้รับสามส่วน
(๒)
สามีหรือภริยาให้ได้รับหนึ่งส่วน
(๓)
บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ให้ได้รับหนึ่งส่วน
ในกรณีที่ไม่มีทายาทในอนุมาตราใด
หรือทายาทนั้นได้ตายไปเสียก่อนให้แบ่งเงินดังกล่าวระหว่างทายาทผู้มีสิทธิในอนุมาตราที่มีทายาทผู้มีสิทธิได้รับ
ในกรณีที่ไม่มีทายาททั้งสามอนุมาตราดังกล่าว
ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายแสดงเจตนาไว้ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
ในกรณีที่ไม่มีทายาทและบุคคลซึ่งสมาชิกผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ตามวรรคสาม
หรือบุคคลนั้นได้ตายไปก่อน ให้สิทธิในบำเหน็จตกทอดนั้นเป็นอันยุติลง
ในกรณีที่ได้มีการจ่ายบำเหน็จตกทอดไปแล้วหากปรากฏว่ามีบุตรซึ่งได้มีคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย
ซึ่งได้มีการฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรก่อนหรือภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่บิดาตายหรือนับแต่วันที่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของบิดาเพิ่มขึ้น
ให้แบ่งบำเหน็จตกทอดนั้นใหม่ระหว่างทายาทผู้มีสิทธิโดยถือว่าบุตรชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษานั้นเป็นทายาทผู้มีสิทธิตั้งแต่วันตาย
ในกรณีเช่นนี้ให้กระทรวงการคลังเรียกคืนบำเหน็จตกทอดจากทายาทซึ่งรับบำเหน็จตกทอดไปก่อนแล้วตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด
ในกรณีที่ไม่สามารถเรียกคืนบำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้ทายาทซึ่งรับเกินไปในส่วนของตนตามวรรคห้าได้
กระทรวงการคลังไม่ต้องรับผิดชอบจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดให้แก่บุตรซึ่งได้มีคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายย้อนหลังไปถึงวันเกิดสิทธิรับบำเหน็จตกทอดแต่อย่างใด
มาตรา ๕๙
ในกรณีที่สมาชิกผู้ถึงแก่ความตายได้ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนให้จ่ายเงินสะสม
เงินสมทบ
และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวแก่ผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๖๐
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
นอกจากทายาทจะมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดตามมาตรา ๕๘ แล้ว
ให้มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี
บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกันด้วย
มาตรา ๖๑
สิทธิการรับเงินต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่อาจโอนแก่กันได้
มาตรา ๖๒
การคำนวณบำเหน็จให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการ
มาตรา ๖๓
การคำนวณบำนาญให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการ
หารด้วยห้าสิบ แต่ต้องไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบของอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้าย
การคำนวณบำนาญของผู้กลับเข้ารับราชการใหม่ตามมาตรา
๓๘
หากเวลาราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ยังไม่ครบห้าปีอัตราเงินเดือนเฉลี่ยที่จะนำมาคำนวณบำนาญให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๖๔
บำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้แก่ทายาทของสมาชิก ให้คำนวณจากอัตราเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยเวลาราชการของผู้ตาย
มาตรา ๖๕
บำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้แก่ทายาทของผู้รับบำนาญ
ให้จ่ายสามสิบเท่าของอัตราบำนาญที่ผู้ตายมีสิทธิได้รับ
มาตรา ๖๖
การนับเวลาราชการเพื่อให้เกิดสิทธิรับบำเหน็จบำนาญให้นับจำนวนปี
เศษของปีถ้าถึงครึ่งปีให้นับเป็นหนึ่งปี
การนับเวลาราชการเพื่อคำนวณจำนวนบำเหน็จบำนาญให้นับจำนวนปีรวมทั้งเศษของปีด้วย
การนับเศษของปีซึ่งเป็นเดือนหรือวันให้คำนวณตามวิธีการจ่ายเงินเดือนและให้นับสิบสองเดือนเป็นหนึ่งปี
สำหรับจำนวนวันถ้ามีรวมกันหลายระยะให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน
มาตรา ๖๗
เมื่อมีผู้ยื่นคำขอรับเงินตามมาตรา ๔๕
ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดที่ได้รับคำขอนั้นตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินสะสม
เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวของผู้ยื่นคำขอ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จและแจ้งให้กองทุนทราบภายในสิบห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้รับคำขอรับเงินดังกล่าว
เว้นแต่กรณีที่มีเหตุอันสมควร
การจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่ง
ให้กองทุนจ่ายภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากส่วนราชการเจ้าสังกัด
มาตรา ๖๘
ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖๙
การหาประโยชน์ของกองทุน ให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการ
และจะมอบหมายให้บุคคลใดดำเนินการแทนตามความเหมาะสมก็ได้ แต่การมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนนั้นจะต้องมอบหมายให้สถาบันการเงินที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนไม่น้อยกว่าสองแห่ง
ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือผู้ได้รับอนุญาตจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน ทั้งนี้
โดยให้คำนึงถึงการกระจายความเสี่ยงด้วย
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการหาประโยชน์ของกองทุนตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนมีหน้าที่และอยู่ในบังคับบทบัญญัติต่าง
ๆ ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เสมือนหนึ่งกองทุนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนส่วนบุคคล
แล้วแต่กรณี
การให้สถาบันการเงินเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนตามวรรคหนึ่ง
คุณสมบัติของผู้รับดำเนินการ วิธีดำเนินการ
และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๗๐
เงินของกองทุนให้ลงทุนได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง
ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบ
ยกเว้นเงินสำรองตามมาตรา ๗๒
ต้องนำไปลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจก่อน
หมวด ๔
การเงิน การบัญชี
และการตรวจสอบ
มาตรา ๗๑
ให้กองทุนจัดให้มีบัญชี ประกอบด้วย
(๑)
บัญชีเงินสำรองซึ่งแสดงรายการเงินสำรอง และดอกผลของเงินดังกล่าว
(๒)
บัญชีเงินกองกลางซึ่งแสดงรายการเงินที่มีผู้บริจาคให้ เงินตามบัญชี
เงินรายบุคคลที่ไม่มีผู้รับ เงินส่วนกลางที่มิใช่ของสมาชิกคนใด
และดอกผลของเงินดังกล่าว
(๓)
บัญชีเงินรายบุคคลซึ่งแสดงรายการเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย
และดอกผลของเงินดังกล่าวบรรดาที่เป็นของสมาชิกแต่ละคน
มาตรา ๗๒
ให้รัฐตั้งงบประมาณรายจ่ายเป็นรายปีเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำปีเข้าบัญชีเงินสำรองทุกปีจนกว่าเงินสำรอง
เงินกองกลาง และดอกผลของเงินดังกล่าวจะมีจำนวนสามเท่าของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำปี
หลังจากนั้นให้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อให้เงินสำรอง เงินกองกลาง
และดอกผลของเงินดังกล่าวคงระดับสามเท่าของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการในแต่ละปี
และถ้าเงินสำรอง เงินกองกลาง
และดอกผลของเงินดังกล่าวมีจำนวนเกินสามเท่าของงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำปี
ให้นำเงินส่วนที่เกินนั้นส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
ในกรณีเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศ
รัฐอาจสั่งให้กองทุนส่งเงินออกจากบัญชีเงินสำรองกลับคืนเป็นรายได้แผ่นดินเพื่อจ่ายเป็นบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
แต่รัฐจะต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยส่วนของเงินดังกล่าวที่นำไปใช้ส่งคืนกองทุนในปีงบประมาณถัดไป
มาตรา ๗๓
ดอกผลที่ได้จากการนำเงินของกองทุนในแต่ละบัญชีไปลงทุนหาผลประโยชน์
เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามส่วนของการลงทุนในแต่ละบัญชีแล้ว
ดอกผลที่ได้จากการนำเงินสำรองไปลงทุนให้บันทึกไว้ในบัญชีเงินสำรอง
สำหรับดอกผลที่ได้จากการนำเงินอื่นไปลงทุนให้จัดสรรเป็นผลประโยชน์ตอบแทนไว้ในบัญชีเงินกองกลางและบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกตามสัดส่วนของเงินที่มีอยู่ในแต่ละบัญชีเป็นประจำตามระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๗๔
ให้กองทุนแจ้งยอดเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม และเงินชดเชย
พร้อมทั้งผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวในส่วนของสมาชิกแต่ละคนให้สมาชิกทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา ๗๕
ให้กองทุนยื่นรายงานแสดงการจัดการกองทุนต่อรัฐมนตรีอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๗๖
กองทุนต้องวางและถือไว้ซึ่งระบบการบัญชีที่เหมาะสมแก่กิจการแยกตามประเภทงานส่วนที่สำคัญ
มีสมุดบัญชีลงรายการรับและจ่ายเงินสินทรัพย์และหนี้สินที่แสดงกิจการที่เป็นอยู่ตามความจริงและตามที่ควร
ตามประเภทงาน พร้อมด้วยข้อความอันเป็นที่มาของรายการนั้น ๆ
และให้มีการตรวจสอบบัญชีภายในเป็นประจำ
มาตรา ๗๗
กองทุนต้องจัดทำงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน
ส่งผู้สอบบัญชีภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
มาตรา ๗๘
ทุกปีให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีทำการตรวจสอบรับรองบัญชีทุกประเภทของกองทุน
มาตรา ๗๙
ผู้สอบบัญชีมีอำนาจตรวจสอบสรรพสมุด บัญชี และเอกสารหลักฐานของกองทุน
เพื่อการนี้ให้มีอำนาจสอบถามประธานกรรมการ กรรมการ พนักงานและลูกจ้างได้
มาตรา ๘๐
ผู้สอบบัญชีต้องทำรายงานผลการสอบบัญชีของกองทุนเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการ
มาตรา ๘๑
กองทุนต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
เพื่อพิจารณารายงานผลการดำเนินงาน ฐานะการเงินและการรับจ่ายเงินของกองทุน
การประชุมใหญ่และการเลือกผู้แทนสมาชิกตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด
ให้ที่ประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกมีอำนาจแสดงข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนต่อคณะกรรมการ
มาตรา ๘๒
เมื่อได้รับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนจากที่ประชุมใหญ่ผู้แทนสมาชิกแล้ว
ให้คณะกรรมการทำรายงานการสอบบัญชีพร้อมทั้งข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี
และประกาศรายงานการสอบบัญชีในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
หมวด ๕
การควบคุมกำกับการจัดการกองทุน
มาตรา ๘๓
ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน
กรรมการ ผู้จัดการ
หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนภายในระยะเวลาที่กำหนด
ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนไม่ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
หรือปรากฏว่าผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนจัดการกองทุนในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน
ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนแก้ไขหรือระงับการกระทำนั้น
หรือสั่งยกเลิกการมอบหมายให้เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นได้
มาตรา ๘๔
ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับและดูแลโดยทั่วไป ซึ่งการจัดการกองทุน
เพื่อประโยชน์ในการนี้จะสั่งแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการกองทุนก็ได้
และให้รัฐมนตรีแจ้งให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายงานให้รัฐมนตรีทราบด้วย
ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นว่า
ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน
จัดการกองทุนในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน
รัฐมนตรีอาจขอให้คณะกรรมการพิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๘๓ วรรคสอง
มาตรา ๘๕
เมื่อได้รับคำสั่งตามมาตรา ๘๓ วรรคสองแล้ว
ให้ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนหยุดจัดการกองทุนในทันที
และส่งมอบทรัพย์สินคืนภายในเวลาที่กำหนดในคำสั่งนั้น
มาตรา ๘๖
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑)
เข้าไปในสถานที่ประกอบธุรกิจหรือสถานที่ตั้งของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้นเพื่อตรวจสอบสมุดบัญชีหรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการจัดการกองทุน
(๒)
ยึดหรืออายัดเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนข้อเท็จจริงหรือดำเนินคดี
(๓)
สั่งให้กรรมการ ผู้จัดการ
พนักงานหรือลูกจ้างของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนมาให้ถ้อยคำหรือส่งสำเนาหรือแสดงสมุดบัญชี
หรือเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการจัดการกองทุน
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง
ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
เมื่อได้เข้าไปและลงมือทำการตรวจสอบตาม
(๑) แล้ว ถ้ายังดำเนินการไม่เสร็จ
จะกระทำต่อไปในเวลากลางคืนหรือนอกเวลาทำการของสถานที่นั้นก็ได้
มาตรา ๘๗
ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘๘
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๖
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๘๙
ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนรายใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๕
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งแสนบาท
จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง
กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้น
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านห้าแสนบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนนั้นด้วย
มาตรา ๙๐
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา
๘๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙๑
กรรมการ ผู้จัดการ
หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุนรายใดแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริง
ซึ่งควรบอกให้แจ้งในสาระสำคัญเกี่ยวกับการจัดการกองทุนต่อคณะกรรมการต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
หรือปรับไม่เกินสองล้านห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙๒
ความผิดตามมาตรา ๘๙ และมาตรา ๙๐ ให้คณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบได้
เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว
ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ
หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ดำเนินคดีต่อไป
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๙๓
ให้ดำเนินการเลือกกรรมการผู้แทนสมาชิกและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
และแต่งตั้งเลขาธิการเพื่อให้ได้คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้
ภายในสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วยปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นกรรมการ
และอธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นกรรมการและเลขานุการ
ทำหน้าที่คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
และให้อธิบดีกรมบัญชีกลางทำหน้าที่เลขาธิการ
เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน
ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
อธิบดีกรมบัญชีกลางอาจแต่งตั้งบุคคลใดเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
บรรหาร ศิลปอาชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่ให้รัฐต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายบำเหน็จบำนาญของข้าราชการประจำทุกปี
โดยไม่มีการกันเงินสำรองไว้ล่วงหน้าสำหรับจ่ายบำเหน็จบำนาญในอนาคตนั้น
ไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเงินการคลังของประเทศในปัจจุบัน ทำให้ไม่อาจวางแผนเชิงบริหารการเงินการคลังของประเทศในระยะยาวและไม่อาจวางแผนพัฒนาบุคลากรของรัฐได้ดังนั้นสมควรปรับปรุงระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการดังกล่าวเสียใหม่โดยจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการขึ้นมีฐานะเป็นนิติบุคคล
เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ
และเพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์
และจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่ข้าราชการที่เป็นสมาชิกของกองทุน
รวมทั้งให้เป็นสถาบันเงินออมที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเงินออมภายในประเทศ
และการส่งเสริมการลงทุนอันเป็นการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยส่วนรวมอีกด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
วศิน/แก้ไข
๓ มีนาคม ๒๕๕๒
กฤษดายุทธ/ปรับปรุง
๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
ปณตภร/ตรวจ
๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๔๒ ก/หน้า ๑/๒๗ กันยายน ๒๕๓๙ |
509144 | กฎกระทรวง (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
(พ.ศ. ๒๕๔๐)
ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ มาตรา ๓๘ วรรคสี่ และมาตรา ๔๐ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ สมาชิกดังต่อไปนี้มีสิทธิได้รับเงินประเดิม
(๑)
ข้าราชการซึ่งรับราชการอยู่ก่อนวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐
(๒)
ข้าราชการซึ่งออกจากราชการแล้วกลับเข้ารับราชการใหม่ก่อนวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐
โดยบอกเลิกรับบำนาญเดิมเพื่อขอนับเวลาราชการต่อเนื่อง
(๓)
ข้าราชการซึ่งออกจากราชการไปและกลับเข้ารับราชการใหม่หลังวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๐
เนื่องจาก
(ก)
ไปปฏิบัติงานตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ
(ข)
ไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
(ค)
ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
(ง)
ถูกคำสั่งให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก
และอยู่ในระหว่างร้องทุกข์หรืออุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว
(๔)[๒]
ข้าราชการซึ่งออกจากราชการและกลับเข้ารับราชการใหม่ด้วยเหตุอื่นนอกจาก (๓)
โดยมีบัญชีเงินประเดิมและมีสิทธินับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับเวลารับราชการในตอนหลังตามมาตรา
๓๘
โดยให้มีสิทธิได้รับเงินประเดิมและผลประโยชน์ของเงินประเดิมตอนก่อนออกจากราชการตามจำนวนที่ปรากฏในบัญชีรายบุคคลของสมาชิกผู้นั้น
ข้อ
๒ เงินประเดิมให้คำนวณโดยวิธีการดังต่อไปนี้
เงินประเดิม
= ๒๕ x เงินเดือน [(๑.๐๙)เวลาราชการ - (๑.๐๘)เวลาราชการ]
(๑.๐๘)เวลาราชการ-๑
เพื่อประโยชน์ในการคำนวณเงินประเดิมตามวรรคหนึ่ง
(๑)
เงินเดือน คือ
อัตราเงินเดือนที่ข้าราชการได้รับตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการนั้น ๆ
ในเดือนมีนาคม ๒๕๔๐ โดยไม่รวมเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา สำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ
สำหรับการสู้รบ สำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิด หรือเงินเพิ่มอย่างอื่น
(๒)
เวลาราชการ คือ เวลาราชการที่คำนวณตามบทบัญญัติไว้ในมาตรา ๖๖ วรรคสอง
และให้คำนวณเศษของปีโดยใช้ทศนิยมสี่ตำแหน่ง ทั้งนี้ ไม่รวมเวลาราชการทวีคูณ
(๓)
จำนวนเงินประเดิม หากมีเศษของบาทให้คิดเป็นหนึ่งบาท
ข้อ
๓ ในกรณีตามข้อ ๑ (๑)
ให้นับเวลาราชการตั้งแต่วันที่เริ่มเข้ารับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือน
ต่อเนื่องกันจนถึงวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๐
ข้อ
๔ ในกรณีตามข้อ ๑ (๒)
ให้นับเวลาราชการตอนก่อนออกจากราชการรวมกับเวลาราชการที่กลับเข้ารับราชการใหม่จนถึงวันก่อนวันเข้าเป็นสมาชิกโดยตัดเวลาระหว่างรับบำนาญออกเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณเงินประเดิม
ข้อ
๕ ในกรณีตามข้อ ๑ (๓)
ให้นับเวลาราชการตอนก่อนออกจากราชการรวมกับเวลาราชการที่กลับเข้ารับราชการใหม่จนถึงวันก่อนเข้าเป็นสมาชิก
โดยรวมเวลาซึ่งออกจากราชการไปเพราะเหตุดังกล่าวด้วย เป็นเวลาราชการ
และให้นำเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนวันที่เข้าเป็นสมาชิก เป็นเงินเดือน
สำหรับคำนวณเงินประเดิม
ข้อ
๖ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ เป็นต้นไป
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘
เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๐
อำนวย วีรวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๓๘ วรรคสี่ และมาตรา ๔๐
วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ กำหนดให้ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่อาจมีสิทธิได้รับเงินประเดิมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
และกำหนดให้กระทรวงการคลังคำนวณเงินประเดิมสำหรับสมาชิกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อนำส่งเข้ากองทุน
จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
กฎกระทรวง ฉบับที่
๖ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙[๓]
ข้อ
๒
กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๓๘ วรรคสี่
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
กำหนดให้ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่อาจมีสิทธิได้รับเงินประเดิมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
และโดยที่ข้อ ๑ (๓) แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙
กำหนดเหตุที่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการผู้ซึ่งออกจากราชการไปและกลับเข้ารับราชการใหม่
หลังวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๐ มีสิทธิได้รับเงินประเดิมเพียง ๔ กรณี
ซึ่งยังไม่ครอบคลุมถึงการออกจากราชการด้วยเหตุอื่นและขณะที่ลาออกยังไม่มีสิทธิรับบำเหน็จบำนาญซึ่งไม่สามารถนำเวลาราชการเดิมมานับต่อเนื่องเพื่อสิทธิในเงินประเดิมทั้งที่บทบัญญัติมาตรา
๓๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
กำหนดให้ข้าราชการซึ่งออกจากราชการและต่อมากลับเข้ารับราชการใหม่ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ
สามารถนับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการในตอนหลังได้
อีกทั้งเจตนารมณ์ในการให้เงินประเดิมแก่สมาชิกก็เพื่อชดเชยสูตรบำนาญที่เปลี่ยนไปซึ่งทำให้เงินบำนาญลดลง
ประกอบกับกฎหมายบังคับว่าผู้ที่กลับเข้ารับราชการใหม่
ต้องเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ดังนั้น
เพื่อมิให้ข้าราชการที่เข้าเงื่อนไขดังกล่าว
ต้องเสียสิทธิและผลประโยชน์ในเงินประเดิมที่ควรมีสิทธิได้รับเมื่อเริ่มเป็นสมาชิกโดยผลของช่องว่างของกฎหมาย
สมควรกำหนดเหตุแห่งสิทธิที่จะได้รับเงินประเดิมเพิ่มเติมเพื่อให้ข้าราชการผู้นั้นได้รับเงินประเดิมในส่วนที่เคยมีสิทธิต่อเนื่องไปด้วย
จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
สัญชัย/ปรับปรุง
๗ กันยายน ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๘ เมษายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๑๕ ก/หน้า ๑/๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๐
[๒] ข้อ ๑ (๔)
เพิ่มโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๘/๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
509152 | กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๐)
ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ มาตรา ๖๙ วรรคสาม และมาตรา ๗๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ในกฎกระทรวงนี้
สถาบันการเงิน หมายความว่า
สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตให้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หรือได้รับอนุญาตให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หมายความว่า
รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือประกาศของคณะปฏิวัติ
ธนาคาร หมายความว่า
ธนาคารพาณิชย์และธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
ซึ่งประกอบกิจการภายในราชอาณาจักร
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ หมายความว่า พันธบัตร ตั๋วแลกเงิน
ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นกู้ รวมทั้งตราสารอื่น ๆ ที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน
บริษัทจัดการกองทุน หมายความว่า
สถาบันการเงินที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน
กองทุนย่อย หมายความว่า
เงินของกองทุนที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยเพื่อให้บริษัทจัดการกองทุนแต่ละรายรับไปดำเนินการจัดหาผลประโยชน์
บริษัทเงินทุน หมายความว่า บริษัทเงินทุน
หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน
ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
หน่วยลงทุน หมายความว่า
หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ
๒[๒]
เงินของกองทุนให้นำไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของเงินของกองทุน
และจะนำไปลงทุนในหุ้น หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกโดยบริษัทใดเกินกว่าร้อยละสิบของเงินของกองทุนหรือเกินกว่าจำนวนที่คณะกรรมการกำหนดมิได้
ข้อ
๓
คณะกรรมการอาจแบ่งเงินของกองทุนออกเป็นกองทุนย่อย
โดยแต่ละกองทุนย่อยให้มีมูลค่าตามที่กำหนดก็ได้
ในการจัดการเงินของกองทุน
คณะกรรมการอาจดำเนินการจัดการเอง หรืออาจมอบหมายให้บริษัทจัดการกองทุนเป็นผู้จัดการเงินของกองทุนย่อยกองทุนหนึ่งหรือหลายกองทุนก็ได้
ข้อ
๔[๓]
ในกรณีที่คณะกรรมการมอบหมายให้บริษัทจัดการกองทุนเป็นผู้จัดการเงินของกองทุนย่อย
ให้บริษัทจัดการกองทุนดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้
(๑)
บริษัทจัดการกองทุนจะนำเงินของกองทุนย่อยไปซื้อหุ้น
หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทจัดการกองทุนนั้นมิได้
(๒)
ต้องลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่มีความมั่นคงสูงอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของเงินกองทุนย่อย
(ก)
เงินสด เงินฝากธนาคาร หรือบัตรเงินฝากที่ธนาคารเป็นผู้ออก
(ข)
พันธบัตรของรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
(ค)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก
(ง)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย
(จ)
ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้รับรอง สลักหลังหรือรับอาวัล
หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้สลักหลังหรือรับอาวัล
โดยไม่มีข้อจำกัดความรับผิด
(ฉ)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ธนาคารเป็นผู้ออก
(ช)
ตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นผู้ออก
รับรอง สลักหลัง หรือรับอาวัล โดยไม่มีข้อจำกัดความรับผิด
(ซ)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกหรือค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวนโดยบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้
โดยลงทุนได้ไม่เกินร้อยละสิบของเงินของกองทุนย่อยหรือตามที่คณะกรรมการกำหนด
การจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามวรรคหนึ่งจะต้องกระทำโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างประเทศซึ่งเป็นที่ยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ฌ)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่มีการประกันการจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวนของบริษัท
หรือนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
ในกรณีที่เป็นการสมควร
คณะกรรรมการอาจให้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งน้อยกว่าร้อยละหกสิบของเงินของกองทุนย่อยก็ได้
แต่เมื่อรวมกับส่วนที่คณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินการจัดการเองต้องไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของเงินของกองทุน
(๓)
บริษัทจัดการกองทุนอาจนำเงินของกองทุนย่อยไปลงทุนในทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ได้
แต่ต้องไม่เกินร้อยละสี่สิบของเงินของกองทุนย่อยหรือตามที่คณะกรรมการกำหนด
(ก)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณนอกจากตราสารตาม
(๒) (ค) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นผู้ออก
(ข)
หน่วยลงทุนหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน
(ค)
หุ้นหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
(ง)
หุ้นกู้หรือหุ้นแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ
นอกจากตราสารแสดงสิทธิในหนี้ตามที่ได้กำหนดไว้แล้วในข้ออื่น
(จ)
บัตรเงินฝากที่บริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก
(ฉ)
ตั๋วแลกเงินที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้รับรองสลักหลัง
หรือรับอาวัล
หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้สลักหลังหรือรับ
อาวัลโดยไม่มีข้อจำกัดความรับผิด
(ช)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์จำกัดเป็นผู้ออก
(ซ)
ทรัพย์สินอื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจนุเบกษา
โดยอาจกำหนดหลักเกณฑ์ให้ถือปฏิบัติด้วยก็ได้
การลงทุนในทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดตาม
(๓) (ค) และ (ง) ที่ออกโดยบริษัทใดบริษัทหนึ่ง
ต้องไม่เกินร้อยละสองของเงินของกองทุนย่อย และเมื่อรวมกันทุกบริษัทต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินของกองทุนย่อย
ข้อ
๕
การจัดการเงินของกองทุนที่คณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินการจัดการเอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามข้อ
๔
ข้อ
๖
การตีราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อ ๒ ข้อ ๓ และข้อ ๔ ให้ถือราคาทุนรวมทั้งค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปเพื่อให้ได้ทรัพย์สินนั้นมา
โดยให้มีการปรับราคาทรัพย์สินอย่างน้อยทุกสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีของกองทุน
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ข้อ
๗ การซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน
นอกจากหลักทรัพย์จดทะเบียนตาม ข้อ ๔ (๒) (ข) และ (ค)
ต้องกระทำในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ข้อ
๘
การจัดการกองทุนนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ ๔
คณะกรรมการอาจมอบหมายให้บริษัทจัดการกองทุนดำเนินการดังต่อไปนี้
ตามที่เห็นสมควรก็ได้
(๑)
ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก จำนอง ปลดจำนองให้แก่ผู้จำนอง
หรือโอนสิทธิจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(๒)
ก่อตั้งหรือระงับทั้งหมดหรือบางส่วน
ซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือตามกฎหมายอื่น
(๓)
จำหน่ายหรือทำข้อผูกพันที่จะให้จำหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะมุ่งก่อตั้งหรือโอนไปซึ่งทรัพยสิทธิในที่ดิน
หรือที่จะให้ที่ดินปลอดจากทรัพยสิทธิดังกล่าว
(๔)
ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี หรือให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์
(๕)
ขายหรือแลกเปลี่ยนสังหาริมทรัพย์ที่มีทะเบียนแสดงกรรมสิทธิ์หรือเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์
ข้อ
๙ เงินสำรองตามมาตรา ๗๒
ให้นำไปลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจก่อน
แต่หากขณะใดขณะหนึ่งไม่มีตราสารดังกล่าวให้ลงทุน
คณะกรรมการจะประกาศกำหนดให้นำเงินของกองทุนไปลงทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการในข้อ ๔
ก็ได้
ข้อ
๑๐
ในกรณีที่ปรากฏว่าบริษัทจัดการกองทุนบริษัทใดได้จัดการเงินของกองทุนย่อยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อ
๒ และข้อ ๔
ให้บริษัทจัดการกองทุนนั้นดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าวโดยไม่ชักช้าแต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ไม่เป็นไปตามนั้น
ข้อ
๑๑
ให้กำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดการกองทุนไว้ ดังต่อไปนี้
(๑)
ค่าตอบแทนสำหรับบริษัทจัดการกองทุนปีละไม่เกินร้อยละ ๕
ของผลประโยชน์ที่กองทุนได้รับจากการลงทุน
(๒)
ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ตามที่จ่ายจริง
ข้อ
๑๒
ให้บริษัทจัดการกองทุนยื่นรายงานแสดงการจัดการกองทุนประจำเดือนต่อคณะอนุกรรมการจัดการลงทุน
ภายในวันที่ ๒๐ ของเดือนถัดจากเดือนที่จะต้องรายงาน
โดยให้ยื่นตามแบบที่คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนกำหนด
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
ทนง พิทยะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๖๙ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙ กำหนดให้คุณสมบัติของผู้รับดำเนินการ วิธีดำเนินการ
และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการหาประโยชน์ของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
และมาตรา ๗๐ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้เงินของกองทุนให้ลงทุนได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง
จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
กฎกระทรวง ฉบับที่
๕ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙[๔]
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่หลักเกณฑ์ในการนำเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปลงทุนหาผลประโยชน์ยังไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ดังนั้น
เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการลงทุนและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกของกองทุน
สมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ดังกล่าวโดยกำหนดให้คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมีอำนาจกำหนดสัดส่วนในการนำเงินของกองทุนไปลงทุนในทรัพย์สินบางประเภท
รวมทั้งเพิ่มประเภททรัพย์สินที่มีความมั่นคงสูงที่บริษัทจัดการกองทุนอาจเลือกลงทุนได้ ทั้งนี้
เพื่อให้บริษัทจัดการกองทุนสามารถลงทุนในทรัพย์สินประเภทต่าง ๆ
ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
สัญชัย/ปรับปรุง
๗ กันยายน ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๘ เมษายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๔๗ ก/หน้า ๓๔/๑๒ กันยายน ๒๕๔๐
[๒] ข้อ ๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๔๓)
ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
[๓] ข้อ ๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๔๓)
ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
[๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๘๙ ก/หน้า ๔/๒๘ กันยายน ๒๕๔๓ |
573314 | กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2546 (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๖[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ มาตรา ๖๙ วรรคสาม และมาตรา ๗๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิก
(๑)
กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๐)
ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
(๒)
กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๔๓)
ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ข้อ ๒
ในกฎกระทรวงนี้
สถาบันการเงิน หมายความว่า
สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตให้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หรือได้รับอนุญาตให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
หมายความว่า รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือประกาศของคณะปฏิวัติ
ธนาคาร หมายความว่า
ธนาคารพาณิชย์และธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
ซึ่งประกอบกิจการภายในราชอาณาจักร
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ หมายความว่า พันธบัตร
ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นกู้ รวมทั้งตราสารอื่น ๆ
ที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน
บริษัทจัดการกองทุน หมายความว่า
สถาบันการเงินที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน
กองทุนย่อย หมายความว่า
เงินของกองทุนที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยเพื่อให้บริษัทจัดการกองทุนแต่ละรายรับไปดำเนินการจัดหาผลประโยชน์
บริษัทเงินทุน หมายความว่า บริษัทเงินทุน
หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน
ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
หน่วยลงทุน หมายความว่า
หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
หลักทรัพย์ หมายความว่า
ทรัพย์สินและให้หมายความรวมถึงหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ด้วย
ข้อ ๓
เงินของกองทุนให้นำไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง
ไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของเงินของกองทุน และจะนำไปลงทุนในหุ้น หุ้นกู้
หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกโดยบริษัทใดเกินกว่าร้อยละสิบของเงินของกองทุน
หรือเกินกว่าจำนวนที่คณะกรรมการกำหนดมิได้
การลงทุนในหุ้น
หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นตามวรรคหนึ่ง
เมื่อรวมกันทุกบริษัทต้องไม่เกินร้อยละสามสิบห้าของเงินของกองทุน[๒]
ข้อ ๔
คณะกรรมการอาจแบ่งเงินของกองทุนออกเป็นกองทุนย่อย
โดยแต่ละกองทุนย่อยให้มีมูลค่าตามที่กำหนดก็ได้
ในการจัดการเงินของกองทุน
คณะกรรมการอาจให้ กบข. ดำเนินการจัดการเอง
หรือมอบหมายให้บริษัทจัดการกองทุนเป็นผู้จัดการเงินของกองทุนย่อยกองทุนหนึ่งหรือหลายกองทุนก็ได้
ข้อ ๕
ในกรณีที่คณะกรรมการมอบหมายให้บริษัทจัดการกองทุนเป็นผู้จัดการเงินของกองทุนย่อย
ให้บริษัทจัดการกองทุนดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้
(๑)
บริษัทจัดการกองทุนจะนำเงินของกองทุนย่อยไปซื้อหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทจัดการกองทุนนั้นมิได้
(๒)
ต้องลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
ไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของเงินของกองทุนย่อย
(ก)
เงินสด เงินฝากธนาคาร หรือบัตรเงินฝากที่ธนาคารเป็นผู้ออก
(ข)
พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
(ค)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก
(ง)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย
(จ)
ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้รับรอง สลักหลังหรือรับอาวัล
หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้สลักหลัง หรือรับอาวัล
โดยไม่มีข้อจำกัดความรับผิด
(ฉ)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ธนาคารเป็นผู้ออก
(ช)
ตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นผู้ออก
รับรอง สลักหลัง หรือรับอาวัล โดยไม่มีข้อจำกัดความรับผิด
(ซ)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออก
อาวัลหรือค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวนโดยบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้
โดยลงทุนได้ไม่เกินร้อยละสิบของเงินของกองทุนย่อย หรือตามที่คณะกรรมการกำหนด
การจัดอันดับความน่าเชื่อถือตาม
(ซ) จะต้องกระทำโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือของต่างประเทศ
ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ฌ)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่มีการประกันการจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวนของบริษัท
หรือนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
ในกรณีที่เป็นการสมควร
คณะกรรมการอาจให้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ตาม (ก) ถึง (ฌ)
น้อยกว่าร้อยละหกสิบของเงินของกองทุนย่อยก็ได้ แต่เมื่อรวมกับส่วนที่ กบข.
เป็นผู้ดำเนินการจัดการเองต้องไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของเงินของกองทุน
(๓)
บริษัทจัดการกองทุนอาจนำเงินของกองทุนย่อยไปลงทุนในหลักทรัพย์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ได้
ตามที่คณะกรรมการกำหนด
(ก)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณนอกจากตราสารตาม
(๒) (ค) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นผู้ออก
(ข)
หน่วยลงทุนหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน
(ค)
หุ้นหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
(ง)
หุ้นกู้หรือหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ
นอกจากตราสารแสดงสิทธิในหนี้ตามที่ได้กำหนดไว้แล้วในข้ออื่น
(จ)
บัตรเงินฝากที่บริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก
(ฉ)
ตั๋วแลกเงินที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้รับรอง
สลักหลังหรือรับอาวัล หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้สลักหลัง
หรือรับอาวัลโดยไม่มีข้อจำกัดความรับผิด
(ช)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์จำกัดเป็นผู้ออก
(ซ)[๓] อสังหาริมทรัพย์ ให้ลงทุนได้ไม่เกินร้อยละแปดของเงินของกองทุน โดยคณะกรรมการอาจกำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขด้วยก็ได้
(ฌ)
หลักทรัพย์อื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
โดยอาจกำหนดหลักเกณฑ์ให้ถือปฏิบัติด้วยก็ได้
(๔)
บริษัทจัดการกองทุนอาจนำเงินของกองทุนย่อยไปทำธุรกรรมดังต่อไปนี้ได้
(ก)
ซื้อโดยมีสัญญาขายคืนหรือขายโดยมีสัญญาซื้อคืน ซึ่งหลักทรัพย์ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
(ข)
ยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์
ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์หรือหลักทรัพย์ซึ่งกระทำผ่านระบบรับฝากหลักทรัพย์ของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
การขายโดยมีสัญญาซื้อคืน
และการยืมหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ ๖[๔] การจัดการเงินของกองทุนที่ กบข.
ดำเนินการจัดการเอง ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) การลงทุนในประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามข้อ ๕
(๒) การลงทุนในต่างประเทศ ให้ลงทุนได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของเงินของกองทุน ทั้งนี้
การกำหนดประเภทหลักทรัพย์ที่ลงทุนได้และการแยกประเภทหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงและหลักทรัพย์อื่น
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ ๗
การตีราคาหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕
ให้ถือราคาทุนรวมทั้งค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปเพื่อให้ได้หลักทรัพย์นั้นมา
โดยให้มีการปรับราคาหลักทรัพย์อย่างน้อยทุกสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีของกองทุน
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ข้อ ๘[๕]
การซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
นอกจากหลักทรัพย์จดทะเบียนตามข้อ ๕ (๒) (ข) และ (ค)
ต้องกระทำในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือตามที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ ๙
การจัดการกองทุนนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ ๕
คณะกรรมการอาจมอบหมายให้บริษัทจัดการกองทุนดำเนินการดังต่อไปนี้ก็ได้
(๑)
ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก จำนอง ปลดจำนองให้แก่ผู้จำนอง
หรือโอนสิทธิจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(๒)
ก่อตั้งหรือระงับทั้งหมดหรือบางส่วน
ซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือตามกฎหมายอื่น
(๓)
จำหน่ายหรือทำข้อผูกพันที่จะให้จำหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะมุ่งก่อตั้ง
หรือโอนไปซึ่งทรัพยสิทธิในที่ดิน หรือที่จะให้ที่ดินปลอดจากทรัพย์สิทธิดังกล่าว
(๔)
ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี หรือให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์
(๕)
ขายหรือแลกเปลี่ยนสังหาริมทรัพย์ที่มีทะเบียนแสดงกรรมสิทธิ์หรือเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์
ข้อ ๑๐
เงินสำรองตามมาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.
๒๕๓๙ ให้นำไปลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจก่อน
แต่หากขณะใดขณะหนึ่งไม่มีตราสารดังกล่าวให้ลงทุน คณะกรรมการจะประกาศกำหนดให้นำเงินของกองทุนไปลงทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการในข้อ
๕ ก็ได้
ข้อ ๑๑
ในกรณีที่ปรากฏว่าบริษัทจัดการกองทุนใดได้จัดการเงินของกองทุนย่อย
ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อ ๓ และข้อ ๕
ให้บริษัทจัดการกองทุนนั้นดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าวโดยไม่ชักช้า
แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ไม่เป็นไปตามนั้น
ข้อ ๑๒
ให้กำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดการกองทุนไว้ ดังต่อไปนี้
(๑)
ค่าตอบแทนสำหรับบริษัทจัดการกองทุนปีละไม่เกินร้อยละ ๒.๕
ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนย่อยที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการกองทุน
(๒)
ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ตามที่จ่ายจริง
ข้อ ๑๓
ให้บริษัทจัดการกองทุนยื่นรายงานแสดงการจัดการกองทุนประจำเดือนต่อคณะอนุกรรมการจัดการลงทุน
ภายในวันที่ ๒๐ ของเดือนถัดจากเดือนที่จะต้องรายงาน
โดยให้ยื่นตามแบบที่คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนกำหนด
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๖
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมากตรา ๖๙ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
กำหนดให้คุณสมบัติของผู้รับดำเนินการ วิธีดำเนินการ
และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการหาประโยชน์ของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง และมาตรา ๗๐
แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดให้เงินของกองทุนให้ลงทุนได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง
โดยที่หลักเกณฑ์ในการนำเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปลงทุนหาผลประโยชน์ยังไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ดังนั้น
เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการลงทุนและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกของกองทุน
สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าว
โดยกำหนดให้คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมีอำนาจกำหนดสัดส่วนในการนำเงินของกองทุนไปลงทุนในหลักทรัพย์บางประเภท
และเพิ่มประเภทหลักทรัพย์ที่บริษัทจัดการกองทุนอาจเลือกลงทุนได้ ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัทจัดการกองทุนสามารถลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่าง
ๆ ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
รวมทั้งมีการกำหนดขอบเขตและประเภทของหลักทรัพย์ที่จะนำเงินของกองทุนไปลงทุนและกำหนดให้บริษัทจัดการกองทุนทำธุรกรรมบางประเภทเพิ่มเติมได้เพื่อให้กองทุนลงทุนได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
และปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าตอบแทนในการจัดการกองทุนให้เป็นธรรมมากขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗[๖]
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
เนื่องจากหลักเกณฑ์และวิธีการในการนำเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปลงทุนหาผลประโยชน์ตามที่กำหนดในข้อ
๖ และข้อ ๘
แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ ยังไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการนำเงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปลงทุนหาผลประโยชน์
โดยให้สามารถนำเงินของกองทุนไปลงทุนในต่างประเทศได้
และให้คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการลงทุนเพื่อให้กองทุนลงทุนได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น
รวมทั้งปรับปรุงหลักเกณฑ์ในเรื่องการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
โดยให้คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ในการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนได้เพื่อให้กองทุนสามารถทำการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้
เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการลงทุนและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกของกองทุน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐[๗]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้
คือ เนื่องจากหลักเกณฑ์และวิธีการในการนำเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ไปลงทุนหาผลประโยชน์ตามที่กำหนดในข้อ
๓ ข้อ ๕ และข้อ ๖ แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ ยังไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการนำเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปลงทุนหาผลประโยชน์
โดยเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการลงทุนและเกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกของกองทุน
จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑[๘]
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากหลักเกณฑ์และวิธีการในการนำเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปลงทุนหาผลประโยชน์ตามที่กำหนดในข้อ
๓ และข้อ ๖
แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๖
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการนำเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปลงทุนหาผลประโยชน์
โดยเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ
หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ตลอดจนเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศ ทั้งนี้
เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการลงทุนและเกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกของกองทุน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
กีรติกิติ์/ปรับปรุง
๑๕ กันยายน ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๘ เมษายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๑๐ ก/หน้า ๗/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
[๒] ข้อ ๓ วรรคสอง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๓] ข้อ ๕ (๓) (ซ)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๔] ข้อ ๖
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๕] ข้อ ๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๗๐ ก/หน้า ๖๐/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๗ ก/หน้า ๔/๒๖ มกราคม ๒๕๕๐
[๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๖ ก/หน้า ๕๑/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ |
588981 | กฎกระทรวงกำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จดำรงชีพ พ.ศ. 2546 (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จดำรงชีพ
พ.ศ. ๒๕๔๖[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และมาตรา ๕๗/๑ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๒] บำเหน็จดำรงชีพให้จ่ายในอัตราสิบห้าเท่าของบำนาญรายเดือนที่ได้รับแต่ไม่เกินสี่แสนบาท
โดยให้มีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ตามวิธีการดังนี้
(๑) ผู้รับบำนาญซึ่งมีอายุต่ำกว่าหกสิบห้าปีบริบูรณ์
ให้มีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ไม่เกินสองแสนบาท
(๒)
ผู้รับบำนาญซึ่งมีอายุตั้งแต่หกสิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไป
ให้มีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ไม่เกินสี่แสนบาท
แต่ถ้าผู้รับบำนาญนั้นได้ใช้สิทธิตาม (๑) ไปแล้ว ให้ขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ไม่เกินส่วนที่ยังไม่ครบตามสิทธิของผู้นั้น
แต่รวมกันแล้วไม่เกินสี่แสนบาท
ข้อ ๒
ผู้รับบำนาญซึ่งประสงค์จะขอรับบำเหน็จดำรงชีพ ให้ขอรับได้ตั้งแต่วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน
๒๕๔๖ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗ ในกรณีที่ผู้รับบำนาญคนใดมิได้ขอรับภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
ให้ขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคมถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ของทุกปี
สมาชิกซึ่งออกจากราชการและเลือกรับบำนาญ
จะขอรับบำเหน็จดำรงชีพพร้อมกับการขอรับบำนาญก็ได้
ในกรณีที่ยังไม่ขอรับบำเหน็จดำรงชีพพร้อมกับการขอรับบำนาญ หากภายหลังจะขอรับบำเหน็จดำรงชีพ
ให้ขอรับได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง
ข้อ ๓
ในกรณีที่ผู้รับบำนาญหรือสมาชิกซึ่งออกจากราชการมีกรณีหรือต้องหาว่ากระทำความผิดวินัยหรืออาญาก่อนออกจากราชการ
จะขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้เมื่อกรณีหรือคดีถึงที่สุดและมีสิทธิรับบำนาญ
โดยให้ขอรับตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อ ๒
ข้อ ๔ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๑
พฤศจิกายน ๒๕๔๖ เป็นต้นไป
ให้ไว้ ณ วันที่ ๙
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ร้อยเอก
สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้
คือ โดยที่มาตรา ๕๗/๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๔๖
กำหนดให้ผู้รับบำนาญมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ตามอัตราและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
กฎกระทรวงกำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จดำรงชีพ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑[๓]
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราบำเหน็จดำรงชีพไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
สมควรปรับปรุงอัตราบำเหน็จดำรงชีพให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน
จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
กีรติกิติ์/ปรับปรุง
๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๘ เมษายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๑๒๒ ก/หน้า ๓/๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๖
[๒] ข้อ ๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จดำรงชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๕๑
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๑๐๐ ก/หน้า ๒๔/๑๙ กันยายน ๒๕๕๑ |
748116 | กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2553 (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๓[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และมาตรา ๖๙ วรรคสี่
และมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.
๒๕๕๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิก
(๑)
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.
๒๕๔๖
(๒)
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๔๗
(๓)
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่
๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
(๔)
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ
๒ ในกฎกระทรวงนี้
ธนาคาร หมายความว่า
ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
และธนาคารต่างประเทศ
บริษัทจัดการกองทุน หมายความว่า
สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการให้ดำเนินการจัดการเงินของกองทุน
หลักทรัพย์ หมายความว่า ทรัพย์สิน
หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และกฎหมายต่างประเทศ
และให้หมายความรวมถึงส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วนหรือการเข้าลงทุนเพื่อแบ่งสรรผลประโยชน์แบบจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนหรือนิติบุคคลที่มีลักษณะทำนองเดียวกันและตราสารอนุพันธ์ด้วย
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ หมายความว่า พันธบัตร
ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นกู้ รวมทั้งตราสารอื่นที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน
ตราสารทุน หมายความว่า หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ
ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น รวมทั้งตราสารอื่นที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน
ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน หมายความว่า หุ้นกู้แปลงสภาพ
รวมทั้งตราสารอื่นที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน
หน่วยลงทุน หมายความว่า
หน่วยลงทุนของกองทุนและหน่วยลงทุนของกองทุนในต่างประเทศ
ข้อ
๓ การจัดการเงินของกองทุนในประเทศหรือต่างประเทศ
คณะกรรมการอาจให้ กบข. ดำเนินการ
หรือมอบหมายให้บริษัทจัดการกองทุนเป็นผู้รับดำเนินการก็ได้
บริษัทจัดการกองทุนต้องมีคุณสมบัติ
ดังต่อไปนี้
(๑)
บริษัทจัดการกองทุนผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนในประเทศต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด
และต้องมีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุน มีความพร้อมด้านระบบงาน
มีบุคลากรและผู้บริหารที่มีประสบการณ์ด้านการลงทุน
มีระบบควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ
รวมทั้งไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีฐานะการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อกองทุน
(๒)
บริษัทจัดการกองทุนผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนในต่างประเทศต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลตามกฎหมายของประเทศนั้นและมีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนในต่างประเทศ
หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบริษัทจัดการกองทุน
ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนดโดยการคัดเลือกต้องมีการเปรียบเทียบคุณสมบัติของบริษัทจัดการกองทุนไม่น้อยกว่าสองแห่ง
บริษัทจัดการกองทุนจะนำเงินของกองทุนไปลงทุนในตราสารทุนหรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนของบริษัทจัดการกองทุนนั้นมิได้
ข้อ
๔ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดการกองทุนของบริษัทจัดการกองทุน
ดังต่อไปนี้
(๑)
ค่าตอบแทนสำหรับบริษัทจัดการกองทุนภายในประเทศ
ปีละไม่เกินร้อยละสองจุดห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของเงินทุนที่บริษัทจัดการกองทุนนั้นรับดำเนินการให้แก่กองทุน
(๒)
ค่าตอบแทนสำหรับบริษัทจัดการกองทุนต่างประเทศ
ให้กำหนดตามแนวทางปฏิบัติของตลาดที่เป็นสากล
โดยให้ขออนุมัติต่อคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการจัดการลงทุนเป็นรายกรณี
(๓)
ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ตามที่จ่ายจริง
ข้อ
๕ ภายใต้บังคับข้อ ๖
การจัดการเงินของกองทุน ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน
ดังต่อไปนี้
(ก)
เงินสด เงินฝากธนาคาร หรือบัตรเงินฝากที่ธนาคารเป็นผู้ออก
(ข)
พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
(ค)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย
(ง)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณเป็นผู้ออก
(จ)
ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้รับรอง สลักหลัง หรือรับอาวัล
หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้สลักหลังหรือรับอาวัล
โดยไม่มีข้อจำกัดความรับผิด
(ฉ)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ธนาคารเป็นผู้ออก
(ช)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ออก ตามที่คณะกรรมการกำหนด
(ซ)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่รัฐบาลต่างประเทศ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ
องค์การระหว่างประเทศ สถาบันการเงินของรัฐบาลต่างประเทศ
หรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศเป็นผู้ออกหรือค้ำประกัน
ซึ่งดำเนินการภายใต้ข้อผูกพันที่กำหนดและอนุญาตโดยกระทรวงการคลัง
(ฌ)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
ที่ออกโดยนิติบุคคลเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(ญ)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออก
อาวัลหรือค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวนโดยนิติบุคคลที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
ทั้งนี้
การจัดอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวจะต้องกระทำโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือของต่างประเทศซึ่งเป็นที่ยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ฎ)
ตราสารอนุพันธ์ที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์เฉพาะตาม (ก) - (ญ)
ที่คณะกรรมการกำหนด
(ฏ)
หน่วยลงทุนหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลงทุนในหลักทรัพย์เฉพาะตาม
(ก)-(ฎ)
(๒)
อาจลงทุนในหลักทรัพย์อื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ดังต่อไปนี้
(ก)
บัตรเงินฝากที่บริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก
(ข)
ตั๋วแลกเงินที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้รับรอง
สลักหลังหรือรับอาวัล
หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้สลักหลังหรือรับอาวัล
โดยไม่มีข้อจำกัดความรับผิด
(ค)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
บริษัทหลักทรัพย์บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดเป็นผู้ออก
(ง)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่นิติบุคคลต่างประเทศที่อยู่ภายใต้อำนาจการควบคุมหรือการบริหารของนิติบุคคลไทยเป็นผู้ออก
(จ)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่นิติบุคคลผู้ออกมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยแต่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ในประเทศไทย
(ฉ)
ตราสารทุน
(ช)
ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน
(ซ)
อสังหาริมทรัพย์
(ฌ)
ตราสารอนุพันธ์ที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์เฉพาะตาม (ก) - (ช)
ที่คณะกรรมการกำหนด
(ญ)
หน่วยลงทุนหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลงทุนในหลักทรัพย์เฉพาะตาม
(ก) - (ฌ)
(๓)
อาจลงทุนในหลักทรัพย์ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
โดยต้องกำหนดว่าเป็นหลักทรัพย์ตาม (๑) หรือ (๒)
และอาจกำหนดหลักเกณฑ์อื่นให้ถือปฏิบัติด้วยก็ได้
(๔)
การลงทุนในต่างประเทศ คณะกรรมการอาจกำหนดให้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงหรือหลักทรัพย์อื่นแตกต่างจากที่กำหนดไว้ใน
(๑) หรือ (๒) หรือกำหนดประเภทหลักทรัพย์เพิ่มเติม
รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดการเงินของกองทุนในต่างประเทศด้วยก็ได้
(๕)
คณะกรรมการอาจกำหนดให้ทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนดังต่อไปนี้ได้โดยให้คำนึงถึงประโยชน์ของกองทุนเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
(ก)
ซื้อโดยมีสัญญาขายคืน หรือขายโดยมีสัญญาซื้อคืนซึ่งหลักทรัพย์ใน (๑) หรือ (๒)
(ข)
ยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์
(ค)
ธุรกรรมเพื่อป้องกันความเสี่ยง
(ง)
ธุรกรรมหรือสัญญาอนุพันธ์
(จ)
ขายหลักทรัพย์ที่ไม่ได้ถือครอง (short sell)
ข้อ
๖ การจัดการเงินของกองทุนนอกจากส่วนที่นำไปลงทุนตามแผนการลงทุนให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)[๒]
ลงทุนในหลักทรัพย์ตามข้อ ๕ (๑) ไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบ และอาจลงทุนในหลักทรัพย์ตามข้อ
๕ (๒) ไม่เกินร้อยละสี่สิบ เว้นแต่การลงทุนในต่างประเทศ
ให้นำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ตามข้อ ๕ (๔) ได้ไม่เกินร้อยละสามสิบ
(๒)
ลงทุนในตราสารทุน ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน
หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ซึ่งไม่รวมถึงพันธบัตร ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตราสารอย่างอื่นที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน
ที่ออกโดยนิติบุคคลใดนิติบุคคลหนึ่งไม่เกินร้อยละสิบหรือไม่เกินจำนวนที่คณะกรรมการกำหนด
การลงทุนในตราสารทุนและตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน
เมื่อรวมกันทุกนิติบุคคลต้องไม่เกินร้อยละสามสิบห้า
(๓)[๓]
ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ได้ไม่เกินร้อยละสิบสอง
โดยคณะกรรมการอาจกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขด้วยก็ได้
ข้อ
๗ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้
การบันทึกมูลค่าหลักทรัพย์
ให้ถือราคาทุนรวมทั้งค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปเพื่อให้ได้หลักทรัพย์นั้นมา
โดยให้มีการวัดมูลค่าหลักทรัพย์ทุกสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีของกองทุน
ยกเว้นอสังหาริมทรัพย์ ให้วัดมูลค่าหลักทรัพย์อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ข้อ
๘ การซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ต้องกระทำในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
หรือตามที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ
๙ การจัดการเงินของกองทุนนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ
๕ คณะกรรมการอาจให้ กบข. หรือบริษัทจัดการกองทุน ดำเนินการดังต่อไปนี้ด้วยก็ได้
(๑)
ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก จำนอง ปลดจำนองให้แก่ผู้จำนอง
หรือโอนสิทธิจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(๒)
ก่อตั้งหรือระงับทั้งหมดหรือบางส่วน
ซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือตามกฎหมายอื่น
(๓)
จำหน่ายหรือทำข้อผูกพันที่จะให้จำหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะมุ่งก่อตั้ง
หรือโอนไปซึ่งทรัพยสิทธิในที่ดินหรือที่จะให้ที่ดินปลอดจากทรัพยสิทธิดังกล่าว
(๔)
ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์
(๕)
ขายหรือแลกเปลี่ยนสังหาริมทรัพย์ที่มีทะเบียนแสดงกรรมสิทธิ์หรือเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์
ข้อ
๑๐ เงินสำรองตามมาตรา ๗๒
ให้นำไปลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจก่อน
แต่หากขณะใดขณะหนึ่งไม่มีตราสารดังกล่าวให้ลงทุน
คณะกรรมการจะประกาศกำหนดให้นำเงินสำรองไปลงทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการในข้อ ๕
และข้อ ๖ ก็ได้
ข้อ
๑๑ การจัดการเงินของกองทุน
หากผู้ออกตราสารหรือลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้หรือมีพฤติการณ์ว่าจะไม่สามารถชำระหนี้ได้
ให้กองทุนรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นแทนได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ
๑๒ ในกรณีที่ปรากฏว่าบริษัทจัดการกองทุนใดจัดการเงินของกองทุนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้
ให้บริษัทจัดการกองทุนนั้นดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการในกฎกระทรวงนี้โดยไม่ชักช้า
แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ไม่เป็นไปตามนั้น
เว้นแต่สัดส่วนการลงทุนให้เป็นไปตามที่กำหนดในวรรคสอง
ในกรณีที่สัดส่วนการลงทุนของกองทุนไม่เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้อันเนื่องมาจากการปรับแผนการลงทุน
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดเปลี่ยนแปลงไปหรือเหตุการณ์อื่นที่มิใช่การลงทุนเพิ่มเติม
เว้นแต่การเปลี่ยนแปลงมูลค่าหลักทรัพย์ที่มีผลทำให้มูลค่าหลักทรัพย์ลดลง
และการปรับสัดส่วนภายในเวลาอันสั้นอาจส่งผลกระทบต่อตลาดเงินตลาดทุนหรือส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของสมาชิก
คณะกรรมการอาจขยายระยะเวลาให้ กบข. หรือบริษัทจัดการกองทุนดำเนินการปรับสัดส่วนการลงทุนเพื่อดำรงสถานะของกองทุนได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
ทั้งนี้
โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของสมาชิกเป็นสำคัญ
ข้อ
๑๓ ให้บริษัทจัดการกองทุนยื่นรายงานแสดงการจัดการกองทุนประจำเดือนต่อคณะอนุกรรมการจัดการลงทุนภายในวันที่ยี่สิบของเดือนถัดจากเดือนที่จะต้องรายงาน
โดยให้ยื่นตามแบบที่คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนกำหนด
ข้อ
๑๔ บรรดาประกาศ ระเบียบ
หรือมติคณะกรรมการที่ออกตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงนี้
จนกว่าจะมีประกาศ ระเบียบหรือมติคณะกรรมการตามกฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓
กรณ์ จาติกวณิช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๖๙ วรรคสี่ และมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.
๒๕๕๐ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการสามารถมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ดำเนินการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินการดังกล่าว และเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการลงทุน
การจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกระทำได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๙[๔]
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
เนื่องจากการกำหนดสัดส่วนการนำเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปลงทุนหาผลประโยชน์ตามข้อ
๖ (๑) และ (๓) แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๓ ยังไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ตลาดเงินและตลาดทุนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
สมควรแก้ไขเพิ่มเติมโดยเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศและการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
เพื่อให้การจัดการเงินของกองทุนกระทำได้กว้างขวางยิ่งขึ้นและสามารถกระจายความเสี่ยงของการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อันจะทำให้เกิดความคล่องตัวในการลงทุนและเกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกของกองทุน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
นุสรา/ปรับปรุง
๒๘ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๔ ก/หน้า ๑๔/๓ ธันวาคม ๒๕๕๓
[๒] ข้อ ๖ (๑)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๓] ข้อ ๖ (๓)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๒๒ ก/หน้า ๔๙/๑๑ มีนาคม ๒๕๕๙ |
832581 | กฎกระทรวงกำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จดำรงชีพ พ.ศ. 2562 | กฎกระทรวง
กำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จดำรงชีพ
พ.ศ. ๒๕๖๒
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และมาตรา ๕๗/๑
วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก
(๑)
กฎกระทรวงกำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จดำรงชีพ พ.ศ. ๒๕๔๖
(๒) กฎกระทรวงกำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จดำรงชีพ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๓ บำเหน็จดำรงชีพให้จ่ายในอัตราสิบห้าเท่าของบำนาญรายเดือนที่ได้รับแต่ไม่เกินห้าแสนบาท
โดยให้มีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ตามวิธีการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้รับบำนาญซึ่งมีอายุต่ำกว่าหกสิบห้าปี
ให้มีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ไม่เกินสองแสนบาท
(๒)
ผู้รับบำนาญซึ่งมีอายุตั้งแต่หกสิบห้าปีขึ้นไปแต่ไม่ถึงเจ็ดสิบปี
ให้มีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ไม่เกินสี่แสนบาท แต่ถ้าผู้รับบำนาญนั้นได้ใช้สิทธิตาม
(๑) ไปแล้ว ให้ขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ไม่เกินส่วนที่ยังไม่ครบตามสิทธิของผู้นั้น แต่รวมกันแล้วไม่เกินสี่แสนบาท
(๓) ผู้รับบำนาญซึ่งมีอายุตั้งแต่เจ็ดสิบปีขึ้นไป
ให้มีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ไม่เกินห้าแสนบาท
แต่ถ้าผู้รับบำนาญนั้นได้ใช้สิทธิตาม (๑) หรือ (๒) ไปแล้ว ให้ขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ไม่เกินส่วนที่ยังไม่ครบตามสิทธิของผู้นั้น
แต่รวมกันแล้วไม่เกินห้าแสนบาท
ในกรณีที่ได้มีการนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงินไปแล้ว
ให้จ่ายบำเหน็จดำรงชีพแก่ผู้รับบำนาญตามสิทธิที่จะได้รับ แต่ต้องไม่เกินจำนวนที่เหลือจากสิทธิในบำเหน็จตกทอดที่นำไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงิน
ข้อ ๔ ในกรณีที่ผู้รับบำนาญหรือสมาชิกซึ่งออกจากราชการมีกรณีหรือต้องหาว่ากระทำความผิดวินัยหรืออาญาก่อนออกจากราชการ จะขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้เมื่อกรณีหรือคดีถึงที่สุดและมีสิทธิรับบำนาญ
ข้อ ๕ การขอรับบำเหน็จดำรงชีพของผู้รับบำนาญตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จดำรงชีพ
พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จดำรงชีพ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่ได้ดำเนินการไว้ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับและยังอยู่ระหว่างการพิจารณาให้ถือว่าเป็นการขอรับบำเหน็จดำรงชีพตามกฎกระทรวงนี้
ข้อ ๖ ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางมีอำนาจกำหนดวิธีปฏิบัติเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ.
๒๕๖๒
อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้
คือ โดยที่ค่าครองชีพภายใต้เศรษฐกิจในปัจจุบันมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเป็นลำดับ
ทำให้ผู้รับบำนาญได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีพ สมควรปรับปรุงอัตราบำเหน็จดำรงชีพ
เพื่อให้ผู้รับบำนาญสามารถดำรงชีพอยู่ได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ชญานิศ/จัดทำ
๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๓
ปริญสินีย์/ตรวจ
๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๕๘ ก/หน้า ๔/๒ พฤษภาคม ๒๕๖๒ |
747265 | กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๙[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙ และมาตรา ๖๙ วรรคสี่ และมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของข้อ ๖
แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑) ลงทุนในหลักทรัพย์ตามข้อ ๕ (๑) ไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบ
และอาจลงทุนในหลักทรัพย์ตามข้อ ๕ (๒) ไม่เกินร้อยละสี่สิบ
เว้นแต่การลงทุนในต่างประเทศ ให้นำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ตามข้อ ๕ (๔) ได้ไม่เกินร้อยละสามสิบ
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของข้อ ๖
แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๓) ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ได้ไม่เกินร้อยละสิบสอง
โดยคณะกรรมการอาจกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขด้วยก็ได้
ให้ไว้ ณ วันที่ ๗
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
เนื่องจากการกำหนดสัดส่วนการนำเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปลงทุนหาผลประโยชน์ตามข้อ
๖ (๑) และ (๓)
แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๓ ยังไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ตลาดเงินและตลาดทุนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
สมควรแก้ไขเพิ่มเติมโดยเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศและการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
เพื่อให้การจัดการเงินของกองทุนกระทำได้กว้างขวางยิ่งขึ้นและสามารถกระจายความเสี่ยงของการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อันจะทำให้เกิดความคล่องตัวในการลงทุนและเกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกของกองทุน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ปุณิกา/ปริยานุช/จัดทำ
๑๔ มีนาคม ๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๒๔ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๒๒ ก/หน้า ๔๙/๑๑ มีนาคม ๒๕๕๙ |
651843 | กฎกระทรวงการนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดของผู้รับบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปเป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงิน พ.ศ. 2554 | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
การนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดของผู้รับบำนาญตามกฎหมาย
ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปเป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงิน
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และมาตรา ๕๗/๒ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.
๒๕๕๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้
ผู้รับบำนาญ หมายความว่า
ผู้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙
หนังสือรับรอง หมายความว่า
หนังสือรับรองสิทธิในบำเหน็จตกทอดเพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงิน
สถาบันการเงิน หมายความว่า
ธนาคารพาณิชย์ที่อยู่ในกำกับของกระทรวงการคลัง ธนาคารพาณิชย์ของเอกชน
หรือสถาบันการเงินอื่น
ซึ่งได้ทำบันทึกข้อตกลงกับกรมบัญชีกลางเพื่อให้ผู้รับบำนาญขอกู้เงินตามกฎกระทรวงนี้
ข้อ ๒ ให้กรมบัญชีกลางจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างกรมบัญชีกลางกับสถาบันการเงิน
เพื่อให้ผู้รับบำนาญนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงิน
ข้อ ๓ ผู้รับบำนาญซึ่งประสงค์จะขอกู้เงินให้ยื่นคำร้องขอรับหนังสือรับรองต่อส่วนราชการผู้เบิกเบี้ยหวัดบำนาญ
เพื่อให้ส่วนราชการผู้เบิกเบี้ยหวัดบำนาญตรวจสอบสิทธิในบำเหน็จตกทอด
ให้ผู้รับบำนาญขอรับแบบคำร้องขอรับหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่ง
ได้ที่กรมบัญชีกลาง สำนักงานคลังเขต สำนักงานคลังจังหวัด
หรือสถานที่อื่นตามที่อธิบดีกรมบัญชีกลางกำหนด
คำร้องขอรับหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกรมบัญชีกลางกำหนด
ข้อ ๔ ให้ส่วนราชการผู้เบิกเบี้ยหวัดบำนาญตรวจสอบและรับรองความถูกต้องและความครบถ้วนของข้อมูลในคำร้องขอรับหนังสือรับรอง
และส่งไปยังกรมบัญชีกลางหรือสำนักงานคลังจังหวัด แล้วแต่กรณี
ข้อ ๕ เมื่อกรมบัญชีกลางหรือสำนักงานคลังจังหวัดได้รับคำร้องขอรับหนังสือรับรองตามข้อ
๔ แล้ว ให้ออกหนังสือรับรองแก่ผู้รับบำนาญ
หนังสือรับรองตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกรมบัญชีกลางกำหนด
ข้อ ๖ ผู้รับบำนาญสามารถนำหนังสือรับรองตามข้อ
๕ ไปใช้เป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงินได้
ในการขอกู้เงินตามวรรคหนึ่ง
ผู้รับบำนาญต้องแจ้งให้บุคคลผู้มีสิทธิจะได้รับบำเหน็จตกทอดได้ทราบถึงการนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินด้วย
ข้อ ๗ เมื่อสถาบันการเงินและผู้รับบำนาญได้ทำสัญญากู้เงิน
และสถาบันการเงินได้จ่ายเงินให้แก่ผู้รับบำนาญรายใดแล้ว
ให้สถาบันการเงินแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องไปยังกรมบัญชีกลาง
เพื่อดำเนินการหักเงินบำนาญรายเดือนตามสัญญากู้เงินต่อไป
วิธีการแจ้งข้อมูลและการหักเงินบำนาญตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมบัญชีกลางกำหนด
ข้อ ๘ ผู้รับบำนาญต้องยินยอมให้ส่วนราชการผู้เบิกเบี้ยหวัดบำนาญหักเงินบำนาญรายเดือนเพื่อชำระคืนเงินกู้ให้แก่สถาบันการเงินตามสัญญากู้เงิน
ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้รับบำนาญไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญากู้เงินได้
ให้กรมบัญชีกลางและสถาบันการเงินดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) กรณีที่ผู้รับบำนาญผิดสัญญากู้เงิน
ให้สถาบันการเงินตรวจสอบจำนวนเงินที่ผู้รับบำนาญต้องชำระคืน
และแจ้งกรมบัญชีกลางเพื่อที่จะชำระคืนเงินกู้ในส่วนที่เหลือตามสัญญากู้เงิน
แต่ต้องไม่เกินจำนวนที่นำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินตามที่ระบุในหนังสือรับรอง
(๒) กรณีที่ผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
ให้กรมบัญชีกลางแจ้งสถาบันการเงินเพื่อให้สถาบันการเงินตรวจสอบจำนวนเงินที่ผู้รับบำนาญต้องชำระคืน
และให้กรมบัญชีกลางชำระคืนเงินกู้ในส่วนที่เหลือตามสัญญากู้เงิน
แต่ต้องไม่เกินจำนวนที่นำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินตามที่ระบุในหนังสือรับรอง
วิธีการชำระคืนเงินกู้ตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมบัญชีกลางกำหนด
ข้อ ๑๐ ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางมีอำนาจกำหนดวิธีปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
กรณ์ จาติกวณิช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕๗/๒ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.
๒๕๕๓
บัญญัติให้ผู้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพอาจนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงิน
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๙ สิงหาคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๙ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๖๒ ก/หน้า ๑๓/๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ |
648336 | กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงิน พ.ศ. 2554
| กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข
ในการนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงิน
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๔๙๔ และมาตรา ๔๗/๒ แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๓
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้
ผู้รับบำนาญ หมายความว่า
ผู้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๔๙๔
หนังสือรับรอง หมายความว่า
หนังสือรับรองสิทธิในบำเหน็จตกทอดเพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงิน
สถาบันการเงิน หมายความว่า
ธนาคารพาณิชย์ที่อยู่ในกำกับของกระทรวงการคลัง ธนาคารพาณิชย์ของเอกชน
หรือสถาบันการเงินอื่น ซึ่งได้ทำบันทึกข้อตกลงกับกรมบัญชีกลางเพื่อให้ผู้รับบำนาญขอกู้เงินตามกฎกระทรวงนี้
ข้อ ๒ ให้กรมบัญชีกลางจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างกรมบัญชีกลางกับสถาบันการเงิน
เพื่อให้ผู้รับบำนาญนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงิน
ข้อ ๓ ผู้รับบำนาญซึ่งประสงค์จะขอกู้เงิน
ให้ยื่นคำร้องขอรับหนังสือรับรองต่อส่วนราชการผู้เบิกเบี้ยหวัดบำนาญ
เพื่อให้ส่วนราชการผู้เบิกเบี้ยหวัดบำนาญตรวจสอบสิทธิในบำเหน็จตกทอด
ให้ผู้รับบำนาญขอรับแบบคำร้องขอรับหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่ง
ได้ที่กรมบัญชีกลาง สำนักงานคลังเขต สำนักงานคลังจังหวัด
หรือสถานที่อื่นตามที่อธิบดีกรมบัญชีกลางกำหนด
คำร้องขอรับหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกรมบัญชีกลางกำหนด
ข้อ ๔ ให้ส่วนราชการผู้เบิกเบี้ยหวัดบำนาญตรวจสอบและรับรองความถูกต้องและความครบถ้วนของข้อมูลในคำร้องขอรับหนังสือรับรอง
และส่งไปยังกรมบัญชีกลางหรือสำนักงานคลังจังหวัด แล้วแต่กรณี
ข้อ ๕ เมื่อกรมบัญชีกลางหรือสำนักงานคลังจังหวัดได้รับคำร้องขอรับหนังสือรับรองตามข้อ
๔ แล้ว ให้ออกหนังสือรับรองแก่ผู้รับบำนาญ
หนังสือรับรองตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกรมบัญชีกลางกำหนด
ข้อ ๖ ผู้รับบำนาญสามารถนำหนังสือรับรองตามข้อ
๕ ไปใช้เป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงินได้
ในการขอกู้เงินตามวรรคหนึ่ง
ผู้รับบำนาญต้องแจ้งให้บุคคลผู้มีสิทธิจะได้รับบำเหน็จตกทอดได้ทราบถึงการนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินด้วย
ข้อ ๗ เมื่อสถาบันการเงินและผู้รับบำนาญได้ทำสัญญากู้เงิน
และสถาบันการเงินได้จ่ายเงินให้แก่ผู้รับบำนาญรายใดแล้ว
ให้สถาบันการเงินแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องไปยังกรมบัญชีกลาง เพื่อดำเนินการหักเงินบำนาญรายเดือนตามสัญญากู้เงินต่อไป
วิธีการแจ้งข้อมูลและการหักเงินบำนาญตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมบัญชีกลางกำหนด
ข้อ ๘ ผู้รับบำนาญต้องยินยอมให้ส่วนราชการผู้เบิกเบี้ยหวัดบำนาญหักเงินบำนาญรายเดือน
เพื่อชำระคืนเงินกู้ให้แก่สถาบันการเงินตามสัญญากู้เงิน
ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้รับบำนาญไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญากู้เงินได้
ให้กรมบัญชีกลางและสถาบันการเงินดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) กรณีที่ผู้รับบำนาญผิดสัญญากู้เงิน
ให้สถาบันการเงินตรวจสอบจำนวนเงินที่ผู้รับบำนาญต้องชำระคืน
และแจ้งกรมบัญชีกลางเพื่อที่จะชำระคืนเงินกู้ในส่วนที่เหลือตามสัญญากู้เงิน
แต่ต้องไม่เกินจำนวนที่นำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินตามที่ระบุในหนังสือรับรอง
(๒) กรณีที่ผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย
ให้กรมบัญชีกลางแจ้งสถาบันการเงินเพื่อให้สถาบันการเงินตรวจสอบจำนวนเงินที่ผู้รับบำนาญต้องชำระคืน
และให้กรมบัญชีกลางชำระคืนเงินกู้ในส่วนที่เหลือตามสัญญากู้เงิน
แต่ต้องไม่เกินจำนวนที่นำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินตามที่ระบุในหนังสือรับรอง
วิธีการชำระคืนเงินกู้ตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมบัญชีกลางกำหนด
ข้อ ๑๐ ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางมีอำนาจกำหนดวิธีปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔
กรณ์ จาติกวณิช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๔๗/๒
แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๕๓
บัญญัติให้ผู้รับบำนาญปกติหรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ
อาจนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข
ที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๓๐ ก/หน้า ๔/๒๙ เมษายน ๒๕๕๔ |
648334 | กฎกระทรวงกำหนดบัญชีอัตราเงินเดือน เพื่อใช้ในการคำนวณเงินสะสม เงินสมทบ เงินชดเชย และบำเหน็จบำนาญ ของพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2554
| กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดบัญชีอัตราเงินเดือน
เพื่อใช้ในการคำนวณเงินสะสม
เงินสมทบ เงินชดเชย และบำเหน็จบำนาญ
ของพนักงานมหาวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๕๔
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และมาตรา ๗๐/๘
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔ ) พ.ศ. ๒๕๔๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑]
กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในกฎกระทรวงนี้
พนักงาน หมายความว่า
พนักงานมหาวิทยาลัยซึ่งประสงค์จะเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการต่อไปตามมาตรา
๗๐/๖
ปี หมายความว่า ปีงบประมาณ
เงินเดือนอ้างอิง หมายความว่า
อัตราเงินเดือนที่ใช้ในการคำนวณเงินสะสม เงินสมทบ เงินชดเชยและบำเหน็จบำนาญของพนักงาน
บัญชีอัตราเงินเดือนอ้างอิง หมายความว่า
บัญชีอัตราเงินเดือนที่ใช้ในการคำนวณเงินสะสม เงินสมทบ เงินชดเชย
และบำเหน็จบำนาญของพนักงาน
ข้อ ๓ ให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนท้ายกฎกระทรวงนี้เป็นบัญชีอัตราเงินเดือนอ้างอิง
ในกรณีที่มีการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนเพิ่มขึ้น
ให้กระทรวงการคลังปรับบัญชีอัตราเงินเดือนอ้างอิงให้สอดคล้องกับการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ข้อ ๔ การเทียบอัตราเงินเดือนของพนักงานเข้าสู่บัญชีอัตราเงินเดือนอ้างอิง
ให้เทียบอัตราเงินเดือนที่พนักงานได้รับอยู่ในวันก่อนเปลี่ยนสถานภาพหรือในวันก่อนปรับบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนเข้าสู่บัญชีอัตราเงินเดือนอ้างอิงในอัตราและอันดับที่ตรงกัน
ในกรณีที่อัตราเงินเดือนที่พนักงานได้รับอยู่ในวันก่อนเปลี่ยนสถานภาพหรือในวันก่อนปรับบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนไม่ตรงตามบัญชีอัตราเงินเดือนอ้างอิง
ให้เทียบเข้าสู่บัญชีอัตราเงินเดือนอ้างอิงในอัตราและอันดับที่ใกล้เคียงที่สุดแต่ไม่ต่ำกว่าอัตราเงินเดือนที่ได้รับอยู่ในวันก่อนเปลี่ยนสถานภาพหรือในวันก่อนปรับบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน
ข้อ ๕ กรณีที่มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐได้พิจารณาเลื่อนเงินเดือนแก่พนักงานในปีใด
ให้เลื่อนเงินเดือนอ้างอิงของพนักงานผู้นั้นเพิ่มขึ้น ๑.๕
ขั้นของบัญชีอัตราเงินเดือนอ้างอิงโดยเลื่อนเงินเดือนอ้างอิงในวันที่ ๑
ตุลาคมของปีถัดไป เว้นแต่ในกรณีเลื่อนเงินเดือนเพราะเหตุเกษียณอายุราชการหรือถึงแก่ความตาย
ให้เลื่อนเงินเดือนอ้างอิงในวันที่ ๓๐ กันยายนของปีนั้นหรือในวันที่ถึงแก่ความตาย
แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแห่งใดเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐหลังวันที่
๑ เมษายน และได้มีการเลื่อนเงินเดือนให้แก่พนักงานในวันก่อนเปลี่ยนสถานภาพไปแล้ว
หากหน่วยงานในกำกับของรัฐได้เลื่อนเงินเดือนให้พนักงานในปีนั้นอีก
ให้เลื่อนเงินเดือนอ้างอิงในวันที่ ๑ ตุลาคมได้อีก ๑ ขั้น
ในปีใดหากพนักงานรายใดไม่ได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนก็จะไม่ได้รับการเลื่อนเงินเดือนอ้างอิงในปีนั้น
ข้อ ๖ กรณีพนักงานรายใดได้รับการเลื่อนเงินเดือนอ้างอิงถึงขั้นสูงสุดของอันดับนั้นแล้วให้สามารถเลื่อนเงินเดือนอ้างอิงในอันดับถัดไปได้ในอัตราที่ตรงกันหรือในอัตราที่ใกล้เคียงที่สุดแต่ไม่ต่ำกว่าเงินเดือนอ้างอิงขั้นสูงสุดของอันดับเดิม
เว้นแต่พนักงานรายนั้นจะได้รับการเลื่อนเงินเดือนอ้างอิงถึงขั้นสูงสุดของอันดับ ท.
๑๑ แล้ว
ข้อ ๗ ให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐที่พนักงานผู้นั้นสังกัดอยู่บันทึกการเลื่อนหรือไม่ได้เลื่อนเงินเดือนอ้างอิงของพนักงานไว้ในสมุดประวัติหรือแฟ้มประวัติ
ข้อ ๘ การหักเงินและการส่งเงินสะสม
เงินสมทบ และเงินชดเชยของพนักงานเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ให้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการหักเงินสะสมการเบิกจ่าย เงินสมทบ
เงินชดเชย
และการนำส่งเงินเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการโดยอนุโลมโดยให้หักเงินและส่งเงินเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามระเบียบนั้นได้
นับแต่วันที่มีกฎหมายบัญญัติให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแห่งใดเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔
กรณ์ จาติกวณิช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราเงินเดือนอ้างอิงของพนักงานมหาวิทยาลัย
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๗๐/๘
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๔๙ บัญญัติให้สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการซึ่งเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐและประสงค์จะเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการต่อไปตามมาตรา
๗๐/๖ ส่งเงินสะสมเข้ากองทุน
และให้มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐที่สมาชิกผู้นั้นสังกัดส่งเงินชดเชยเข้ากองทุน
โดยคำนวณตามบัญชีอัตราเงินเดือนและตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๓๐ ก/หน้า ๑/๒๙ เมษายน ๒๕๕๔ |
643282 | กฎกระทรวงกำหนดสิทธิการได้รับเงินชดเชยของสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการซึ่งออกจากราชการและกลับเข้ารับราชการใหม่ พ.ศ. 2554 | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดสิทธิการได้รับเงินชดเชยของสมาชิก
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการซึ่งออกจากราชการและกลับเข้ารับราชการใหม่
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และมาตรา ๓๘ วรรคสี่
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.
๒๕๕๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้สมาชิกซึ่งออกจากราชการและกลับเข้ารับราชการใหม่
โดยมีบัญชีเงินชดเชยอยู่ก่อนออกจากราชการและมีสิทธินับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับเวลารับราชการในตอนหลังตามมาตรา
๓๘ มีสิทธิได้รับเงินชดเชยและผลประโยชน์ของเงินชดเชยตอนก่อนออกจากราชการตามจำนวนที่ปรากฏในบัญชีรายบุคคลของสมาชิกผู้นั้น
ในกรณีที่สมาชิกผู้ใดออกจากราชการและกลับเข้ารับราชการใหม่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑ ใช้บังคับ
สมาชิกผู้นั้นจะมีสิทธิได้รับเงินชดเชยและผลประโยชน์ของเงินชดเชยตามวรรคหนึ่ง
ต่อเมื่อยังคงเป็นสมาชิกอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับด้วย
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔
กรณ์ จาติกวณิช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๓๘ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑
บัญญัติให้ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่อาจมีสิทธิได้รับเงินชดเชยตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๗ กุมภาพันธ์
๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๗ กุมภาพันธ์
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๗ ก/หน้า ๑/๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ |
640685 | กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2553 | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๓[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และมาตรา ๖๙ วรรคสี่
และมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.
๒๕๕๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิก
(๑)
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.
๒๕๔๖
(๒)
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๔๗
(๓)
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่
๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
(๔)
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ
๒ ในกฎกระทรวงนี้
ธนาคาร หมายความว่า
ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
และธนาคารต่างประเทศ
บริษัทจัดการกองทุน หมายความว่า
สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการให้ดำเนินการจัดการเงินของกองทุน
หลักทรัพย์ หมายความว่า ทรัพย์สิน
หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และกฎหมายต่างประเทศ
และให้หมายความรวมถึงส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วนหรือการเข้าลงทุนเพื่อแบ่งสรรผลประโยชน์แบบจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนหรือนิติบุคคลที่มีลักษณะทำนองเดียวกันและตราสารอนุพันธ์ด้วย
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ หมายความว่า พันธบัตร
ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นกู้ รวมทั้งตราสารอื่นที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน
ตราสารทุน หมายความว่า หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ
ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น รวมทั้งตราสารอื่นที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน
ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน หมายความว่า หุ้นกู้แปลงสภาพ
รวมทั้งตราสารอื่นที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน
หน่วยลงทุน หมายความว่า
หน่วยลงทุนของกองทุนและหน่วยลงทุนของกองทุนในต่างประเทศ
ข้อ
๓ การจัดการเงินของกองทุนในประเทศหรือต่างประเทศ
คณะกรรมการอาจให้ กบข. ดำเนินการ
หรือมอบหมายให้บริษัทจัดการกองทุนเป็นผู้รับดำเนินการก็ได้
บริษัทจัดการกองทุนต้องมีคุณสมบัติ
ดังต่อไปนี้
(๑)
บริษัทจัดการกองทุนผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนในประเทศต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด
และต้องมีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุน มีความพร้อมด้านระบบงาน
มีบุคลากรและผู้บริหารที่มีประสบการณ์ด้านการลงทุน
มีระบบควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ
รวมทั้งไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีฐานะการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อกองทุน
(๒)
บริษัทจัดการกองทุนผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนในต่างประเทศต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลตามกฎหมายของประเทศนั้นและมีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนในต่างประเทศ
หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบริษัทจัดการกองทุน
ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนดโดยการคัดเลือกต้องมีการเปรียบเทียบคุณสมบัติของบริษัทจัดการกองทุนไม่น้อยกว่าสองแห่ง
บริษัทจัดการกองทุนจะนำเงินของกองทุนไปลงทุนในตราสารทุนหรือตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนของบริษัทจัดการกองทุนนั้นมิได้
ข้อ
๔ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดการกองทุนของบริษัทจัดการกองทุน
ดังต่อไปนี้
(๑)
ค่าตอบแทนสำหรับบริษัทจัดการกองทุนภายในประเทศ
ปีละไม่เกินร้อยละสองจุดห้าของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของเงินทุนที่บริษัทจัดการกองทุนนั้นรับดำเนินการให้แก่กองทุน
(๒)
ค่าตอบแทนสำหรับบริษัทจัดการกองทุนต่างประเทศ
ให้กำหนดตามแนวทางปฏิบัติของตลาดที่เป็นสากล
โดยให้ขออนุมัติต่อคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการจัดการลงทุนเป็นรายกรณี
(๓)
ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ตามที่จ่ายจริง
ข้อ
๕ ภายใต้บังคับข้อ ๖
การจัดการเงินของกองทุน ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน
ดังต่อไปนี้
(ก)
เงินสด เงินฝากธนาคาร หรือบัตรเงินฝากที่ธนาคารเป็นผู้ออก
(ข)
พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
(ค)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย
(ง)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณเป็นผู้ออก
(จ)
ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้รับรอง สลักหลัง หรือรับอาวัล
หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้สลักหลังหรือรับอาวัล
โดยไม่มีข้อจำกัดความรับผิด
(ฉ)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ธนาคารเป็นผู้ออก
(ช)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ออก ตามที่คณะกรรมการกำหนด
(ซ)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่รัฐบาลต่างประเทศ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ
องค์การระหว่างประเทศ สถาบันการเงินของรัฐบาลต่างประเทศ
หรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศเป็นผู้ออกหรือค้ำประกัน
ซึ่งดำเนินการภายใต้ข้อผูกพันที่กำหนดและอนุญาตโดยกระทรวงการคลัง
(ฌ)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
ที่ออกโดยนิติบุคคลเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
(ญ)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออก
อาวัลหรือค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวนโดยนิติบุคคลที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
ทั้งนี้
การจัดอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวจะต้องกระทำโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือของต่างประเทศซึ่งเป็นที่ยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ฎ)
ตราสารอนุพันธ์ที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์เฉพาะตาม (ก) - (ญ)
ที่คณะกรรมการกำหนด
(ฏ)
หน่วยลงทุนหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลงทุนในหลักทรัพย์เฉพาะตาม
(ก)-(ฎ)
(๒)
อาจลงทุนในหลักทรัพย์อื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ดังต่อไปนี้
(ก)
บัตรเงินฝากที่บริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก
(ข)
ตั๋วแลกเงินที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้รับรอง
สลักหลังหรือรับอาวัล
หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้สลักหลังหรือรับอาวัล
โดยไม่มีข้อจำกัดความรับผิด
(ค)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
บริษัทหลักทรัพย์บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดเป็นผู้ออก
(ง)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่นิติบุคคลต่างประเทศที่อยู่ภายใต้อำนาจการควบคุมหรือการบริหารของนิติบุคคลไทยเป็นผู้ออก
(จ)
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่นิติบุคคลผู้ออกมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยแต่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ในประเทศไทย
(ฉ)
ตราสารทุน
(ช)
ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน
(ซ)
อสังหาริมทรัพย์
(ฌ)
ตราสารอนุพันธ์ที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์เฉพาะตาม (ก) - (ช)
ที่คณะกรรมการกำหนด
(ญ)
หน่วยลงทุนหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลงทุนในหลักทรัพย์เฉพาะตาม
(ก) - (ฌ)
(๓)
อาจลงทุนในหลักทรัพย์ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
โดยต้องกำหนดว่าเป็นหลักทรัพย์ตาม (๑) หรือ (๒)
และอาจกำหนดหลักเกณฑ์อื่นให้ถือปฏิบัติด้วยก็ได้
(๔)
การลงทุนในต่างประเทศ คณะกรรมการอาจกำหนดให้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงหรือหลักทรัพย์อื่นแตกต่างจากที่กำหนดไว้ใน
(๑) หรือ (๒) หรือกำหนดประเภทหลักทรัพย์เพิ่มเติม
รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดการเงินของกองทุนในต่างประเทศด้วยก็ได้
(๕)
คณะกรรมการอาจกำหนดให้ทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนดังต่อไปนี้ได้โดยให้คำนึงถึงประโยชน์ของกองทุนเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
(ก)
ซื้อโดยมีสัญญาขายคืน หรือขายโดยมีสัญญาซื้อคืนซึ่งหลักทรัพย์ใน (๑) หรือ (๒)
(ข)
ยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์
(ค)
ธุรกรรมเพื่อป้องกันความเสี่ยง
(ง)
ธุรกรรมหรือสัญญาอนุพันธ์
(จ)
ขายหลักทรัพย์ที่ไม่ได้ถือครอง (short sell)
ข้อ
๖ การจัดการเงินของกองทุนนอกจากส่วนที่นำไปลงทุนตามแผนการลงทุนให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ลงทุนในหลักทรัพย์ตามข้อ ๕ (๑) ไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบ และอาจลงทุนในหลักทรัพย์ตามข้อ
๕ (๒) ไม่เกินร้อยละสี่สิบ เว้นแต่การลงทุนในต่างประเทศ ให้นำเงินไปลงทุนตามข้อ ๕
(๔) ได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้า
(๒)
ลงทุนในตราสารทุน ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน
หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ซึ่งไม่รวมถึงพันธบัตร ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน
หรือตราสารอย่างอื่นที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน
ที่ออกโดยนิติบุคคลใดนิติบุคคลหนึ่งไม่เกินร้อยละสิบหรือไม่เกินจำนวนที่คณะกรรมการกำหนด
การลงทุนในตราสารทุนและตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน
เมื่อรวมกันทุกนิติบุคคลต้องไม่เกินร้อยละสามสิบห้า
(๓)
ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ได้ไม่เกินร้อยละแปด
โดยคณะกรรมการอาจกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขด้วยก็ได้
ข้อ
๗ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้
การบันทึกมูลค่าหลักทรัพย์
ให้ถือราคาทุนรวมทั้งค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปเพื่อให้ได้หลักทรัพย์นั้นมา
โดยให้มีการวัดมูลค่าหลักทรัพย์ทุกสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีของกองทุน
ยกเว้นอสังหาริมทรัพย์ ให้วัดมูลค่าหลักทรัพย์อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ข้อ
๘ การซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ต้องกระทำในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
หรือตามที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ
๙ การจัดการเงินของกองทุนนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ
๕ คณะกรรมการอาจให้ กบข. หรือบริษัทจัดการกองทุน ดำเนินการดังต่อไปนี้ด้วยก็ได้
(๑)
ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก จำนอง ปลดจำนองให้แก่ผู้จำนอง หรือโอนสิทธิจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(๒)
ก่อตั้งหรือระงับทั้งหมดหรือบางส่วน
ซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือตามกฎหมายอื่น
(๓)
จำหน่ายหรือทำข้อผูกพันที่จะให้จำหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะมุ่งก่อตั้ง
หรือโอนไปซึ่งทรัพยสิทธิในที่ดินหรือที่จะให้ที่ดินปลอดจากทรัพยสิทธิดังกล่าว
(๔)
ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์
(๕)
ขายหรือแลกเปลี่ยนสังหาริมทรัพย์ที่มีทะเบียนแสดงกรรมสิทธิ์หรือเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์
ข้อ
๑๐ เงินสำรองตามมาตรา ๗๒ ให้นำไปลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจก่อน
แต่หากขณะใดขณะหนึ่งไม่มีตราสารดังกล่าวให้ลงทุน
คณะกรรมการจะประกาศกำหนดให้นำเงินสำรองไปลงทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการในข้อ ๕
และข้อ ๖ ก็ได้
ข้อ
๑๑ การจัดการเงินของกองทุน
หากผู้ออกตราสารหรือลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้หรือมีพฤติการณ์ว่าจะไม่สามารถชำระหนี้ได้
ให้กองทุนรับชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นแทนได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ
๑๒ ในกรณีที่ปรากฏว่าบริษัทจัดการกองทุนใดจัดการเงินของกองทุนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้
ให้บริษัทจัดการกองทุนนั้นดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการในกฎกระทรวงนี้โดยไม่ชักช้า
แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ไม่เป็นไปตามนั้น
เว้นแต่สัดส่วนการลงทุนให้เป็นไปตามที่กำหนดในวรรคสอง
ในกรณีที่สัดส่วนการลงทุนของกองทุนไม่เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้อันเนื่องมาจากการปรับแผนการลงทุน
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดเปลี่ยนแปลงไปหรือเหตุการณ์อื่นที่มิใช่การลงทุนเพิ่มเติม
เว้นแต่การเปลี่ยนแปลงมูลค่าหลักทรัพย์ที่มีผลทำให้มูลค่าหลักทรัพย์ลดลง
และการปรับสัดส่วนภายในเวลาอันสั้นอาจส่งผลกระทบต่อตลาดเงินตลาดทุนหรือส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของสมาชิก
คณะกรรมการอาจขยายระยะเวลาให้ กบข. หรือบริษัทจัดการกองทุนดำเนินการปรับสัดส่วนการลงทุนเพื่อดำรงสถานะของกองทุนได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
ทั้งนี้
โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของสมาชิกเป็นสำคัญ
ข้อ
๑๓ ให้บริษัทจัดการกองทุนยื่นรายงานแสดงการจัดการกองทุนประจำเดือนต่อคณะอนุกรรมการจัดการลงทุนภายในวันที่ยี่สิบของเดือนถัดจากเดือนที่จะต้องรายงาน
โดยให้ยื่นตามแบบที่คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนกำหนด
ข้อ
๑๔ บรรดาประกาศ ระเบียบ
หรือมติคณะกรรมการที่ออกตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงนี้
จนกว่าจะมีประกาศ ระเบียบหรือมติคณะกรรมการตามกฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓
กรณ์ จาติกวณิช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๖๙ วรรคสี่ และมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.
๒๕๕๐
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการสามารถมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ดำเนินการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินการดังกล่าว และเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการลงทุน
การจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกระทำได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๔ ก/หน้า ๑๔/๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ |
587548 | กฎกระทรวงกำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จดำรงชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
| กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จดำรงชีพ
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และมาตรา ๕๗/๑
วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความในข้อ
๑ แห่งกฎกระทรวงกำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จดำรงชีพ พ.ศ. ๒๕๔๖
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑ บำเหน็จดำรงชีพให้จ่ายในอัตราสิบห้าเท่าของบำนาญรายเดือนที่ได้รับแต่ไม่เกินสี่แสนบาท
โดยให้มีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ตามวิธีการดังนี้
(๑) ผู้รับบำนาญซึ่งมีอายุต่ำกว่าหกสิบห้าปีบริบูรณ์
ให้มีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ไม่เกินสองแสนบาท
(๒) ผู้รับบำนาญซึ่งมีอายุตั้งแต่หกสิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไป
ให้มีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ไม่เกินสี่แสนบาท
แต่ถ้าผู้รับบำนาญนั้นได้ใช้สิทธิตาม (๑) ไปแล้ว
ให้ขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ไม่เกินส่วนที่ยังไม่ครบตามสิทธิของผู้นั้น
แต่รวมกันแล้วไม่เกินสี่แสนบาท
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราบำเหน็จดำรงชีพไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
สมควรปรับปรุงอัตราบำเหน็จดำรงชีพให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน
จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๒๒ กันยายน ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๘ เมษายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๑๐๐ ก/หน้า ๒๔/๑๙ กันยายน ๒๕๕๑ |
573312 | กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551
| กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และมาตรา ๖๙ วรรคสี่
และมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.
๒๕๕๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ ๓
แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้อราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๖
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
การลงทุนในหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ
หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นตามวรรคหนึ่ง
เมื่อรวมกันทุกบริษัทต้องไม่เกินร้อยละสามสิบห้าของเงินของกองทุน
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖
แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๖
การจัดการเงินของกองทุนที่ กบข. ดำเนินการจัดการเอง ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑)
การลงทุนในประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามข้อ ๕
(๒)
การลงทุนในต่างประเทศ ให้ลงทุนได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของเงินของกองทุน ทั้งนี้
การกำหนดประเภทหลักทรัพย์ที่ลงทุนได้และการแยกประเภทหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงและหลักทรัพย์อื่น
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
เนื่องจากหลักเกณฑ์และวิธีการในการนำเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปลงทุนหาผลประโยชน์ตามที่กำหนดในข้อ
๓ และข้อ ๖ แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๖
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ ยังไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการนำเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปลงทุนหาผลประโยชน์
โดยเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ
หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ตลอดจนเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศ ทั้งนี้
เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการลงทุนและเกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกของกองทุน จึงจำเป็นต้องออกฎกระทรวงนี้
โชติกานต์/จัดทำ
๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๖ ก/หน้า ๕๑/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ |
526146 | กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550
| กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของ
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๕๐[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ มาตรา ๖๙ วรรคสาม และมาตรา ๗๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.
๒๕๓๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ ๓ แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
การลงทุนในหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นตามวรรคหนึ่ง
เมื่อรวมกันทุกบริษัทต้องไม่เกินร้อยละสามสิบของเงินของกองทุน
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกความใน (ซ) ของ (๓) ของข้อ
๕ แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(ซ) อสังหาริมทรัพย์ ให้ลงทุนได้ไม่เกินร้อยละแปดของเงินของกองทุน โดยคณะกรรมการอาจกำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขด้วยก็ได้
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๖ การจัดการเงินของกองทุนที่
กบข. ดำเนินการจัดการเอง ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑)
การลงทุนในประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามข้อ ๕
(๒)
การลงทุนในต่างประเทศ ให้ลงทุนได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินของกองทุน ทั้งนี้ การกำหนดประเภทหลักทรัพย์ที่ลงทุนได้และการแยกประเภทหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงและหลักทรัพย์อื่น
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ปรีดิยาธร เทวกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้
คือ เนื่องจากหลักเกณฑ์และวิธีการในการนำเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ไปลงทุนหาผลประโยชน์ตามที่กำหนดในข้อ
๓ ข้อ ๕ และข้อ ๖ แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ ยังไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการนำเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปลงทุนหาผลประโยชน์
โดยเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการลงทุนและเกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกของกองทุน
จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๓๐ มกราคม ๒๕๕๐
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๘ เมษายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๗ ก/หน้า ๔/๒๖ มกราคม ๒๕๕๐ |
464487 | กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2548) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539
| กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ และมาตรา ๓๘ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๔) ของข้อ
๑ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙
(๔) ข้าราชการซึ่งออกจากราชการและกลับเข้ารับราชการใหม่ด้วยเหตุอื่นนอกจาก
(๓) โดยมีบัญชีเงินประเดิมและมีสิทธินับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับเวลารับราชการในตอนหลังตามมาตรา
๓๘ โดยให้มีสิทธิได้รับเงินประเดิมและผลประโยชน์ของเงินประเดิมตอนก่อนออกจากราชการตามจำนวนที่ปรากฏในบัญชีรายบุคคลของสมาชิกผู้นั้น
ข้อ
๒ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นไป
ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ ตุลาคม
พ.ศ. ๒๕๔๘
ทนง พิทยะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้
คือ เนื่องจากมาตรา ๓๘ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.
๒๕๓๙ กำหนดให้ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่อาจมีสิทธิได้รับเงินประเดิมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
และโดยที่ข้อ ๑ (๓) แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙ กำหนดเหตุที่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการผู้ซึ่งออกจากราชการไปและกลับเข้ารับราชการใหม่หลังวันที่
๒๖ มีนาคม ๒๕๔๐ มีสิทธิได้รับเงินประเดิมเพียง ๔ กรณี ซึ่งยังไม่ครอบคลุมถึงการออกจากราชการด้วยเหตุอื่นและขณะที่ลาออกยังไม่มีสิทธิรับบำเหน็จบำนาญซึ่งไม่สามารถนำเวลาราชการเดิมมานับต่อเนื่องเพื่อสิทธิในเงินประเดิมทั้งที่บทบัญญัติมาตรา
๓๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ กำหนดให้ข้าราชการซึ่งออกจากราชการและต่อมากลับเข้ารับราชการใหม่ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ
สามารถนับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการในตอนหลังได้
อีกทั้งเจตนารมณ์ในการให้เงินประเดิมแก่สมาชิกก็เพื่อชดเชยสูตรบำนาญที่เปลี่ยนไปซึ่งทำให้เงินบำนาญลดลง
ประกอบกับกฎหมายบังคับว่าผู้ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ ต้องเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ดังนั้น เพื่อมิให้ข้าราชการที่เข้าเงื่อนไขดังกล่าว
ต้องเสียสิทธิและผลประโยชน์ในเงินประเดิมที่ควรมีสิทธิได้รับเมื่อเริ่มเป็นสมาชิกโดยผลของช่องว่างของกฎหมาย
สมควรกำหนดเหตุแห่งสิทธิที่จะได้รับเงินประเดิมเพิ่มเติมเพื่อให้ข้าราชการผู้นั้นได้รับเงินประเดิมในส่วนที่เคยมีสิทธิต่อเนื่องไปด้วย
จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๘ เมษายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๘/๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.